การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2554
ข้อสอบกระบวนวิชา ANT1013 มานุษยวิทยาเบื้องต้น
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
1. บทใดในหนังสือเรียนที่กล่าวถึง การนำวิชามานุษยวิทยาไปใช้ประโยชน์
(1) บทที่ 1
(2) บทที่ 5
(3) บทที่ 10
(4) บทที่ 16
ตอบ 4 หน้า 271 หนังสือเรียนวิชามานุษยวิทยาเบื้องต้น (AN 113) บทที่ 16 เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ มานุษยวิทยาปฏิบัติการ (Practicing Anthropology) หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า มานุษยวิทยาประยุกต์ (Applied Anthropology) ซึ่งกล่าวถึง การนำวิชามานุษยวิทยา ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ
2. ผู้ใดเขียนหนังสือเรื่อง “มานุษยวิทยาเบื้องต้น” (หนังสือเรียนของมหาวิทยาลัยรามคำแหง)
(1) รศ.ดำรง ฐานดี
(2) รศ.ดำรงค์ ฐานดี
(3) รศ.ณรงค์ ทำดี
(4) รศ.ณรงค์ หนุนดี
ตอบ.2 หน้า 323, (คำนำ) หนังสือเรียนของมหาวิทยาลัยรามคำแหง เรื่อง มานุษยวิทยาเบื้องต้น(Introduction to Anthropology) เขียนโดย รศ.ดร.ดำรงค์ ฐานดี ผู้อำนวยการศูนย์เกาหลีศึกษา ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์
3. Anthropos แปลว่า มนุษย์ มีรากศัพท์มาจากภาษาใด
(1) โรมัน
(2) กรีก
(3) สเปน
(4) เยอรมัน
ตอบ 2 หน้า 6 มานุษยวิทยา (Anthropology) คือ วิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ในทุกแง่ทุกมุม โดยคำว่า Anthropology เป็นคำผสมที่มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกสองคำ คือ
1. Anthropos แปลว่า มนุษย์หรือคน
2. Logos แปลว่า การศึกษาหรือศาสตร์หรือความรู้ที่ได้รับการจัดให้เป็นระบบ
4. คำว่า Logos หมายถึงอะไร
(1) การศึกษา
(2) ศาสตร์ (3) ความรู้ที่ได้รับการจัดให้เป็นระบบ (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ
5. คำใดที่มีความหมายตรงกับคำว่า Physical Anthropology
(1) Cultural Anthropology (2) Social Anthropology
(3) Biological Anthropology (4) Sociological Anthropology
ตอบ 3 ทน้า 6-7 มานุษยวิทยากายภาพ (Physical Anthropology) หรือมานุษยวิทยาเชิงชีววิทยา (Biological Anthropology) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับตัวมนุษย์ ซึ่งหมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับ สรีรวิทยาทางชีวภาพที่ประกอบกันขึ้นเป็นตัวมนุษย์
6. Evolution หมายถึงอะไร
(1) การวิวัฒนาการ (2) การกำเนิด (3) การลองผิดลองถูก (4) ความแตกต่าง
ตอบ 1 หน้า 336 การวิวัฒนาการ (Evolution) เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ดำเนินไปทีละขั้นซึ่งแต่ละขั้นที่สืบต่อจะมีความเกี่ยวพันกันกับขั้นก่อนหน้านั้น หรือหมายถึงความเจริญเติบโต หรือการพัฒนาที่เกี่ยวพันต่อเนื่องกัน
7. “สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น” หรือผลงานอันเกิดจากการกระทำของมนุษย์ เรียกว่าอะไร
(1) มนุษย์ (2) วัฒนธรรม (3) สังคม (4) กายภาพ
ตอบ 2 หน้า 7 “สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น” หรือผลงานอันเกิดจากการกระทำของมนุษย์ ไม่ว่าสิ่งนั้น จะเป็นผลผลิตรูปธรรมและผลงานของนามธรรม เรียกว่า วัฒนธรรม .(Culture)
8. “มนุษย์มาจากไหน” “ใครคือบรรพบุรุษของมนุษย์” “มนุษย์กับสัตว์คล้ายคลึงหรือแตกต่างกันอย่างไร”และ “เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น” เป็นการศึกษาเกี่ยวกับอะไร
(1) การอยู่ร่วมกันเป็นสังคม (2) มนุษย์คิดขึ้นและทำขึ้น
(3) ความแตกต่างระหว่างมนุษย์ยุคปัจจุบัน (4) การวิวัฒนาการของมนุษย์
ตอบ 4 หน้า 6 การศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของมนุษย์ (Human Evolution) เป็นการมุ่งเน้นที่จะตอบคำถามว่า “มนุษย์มาจากไหน” “ใครคือบรรพบุรุษของมนุษย์”, “มนุษย์กับสัตว์คล้ายคลึง หรือแตกต่างกันอย่างไร” และ “เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น”
9. ผู้ใดกล่าวว่า “สิ่งที่เราศึกษาต้องมีกรอบเป็นเครื่องรองรับ จึงจะทำให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้และเป็นเหตุผล”
(1) พระยาอนุมานราชธน
(2) สุเทพ สุนทรเภสัช (3) ชนัญ วงศ์วิพากษ์ (4) อนันต์ กาญจนพันธ์
ตอบ 1 หน้า 3, 8 พระยาอนุมานราชธน (เสถียรโกเศศ) ได้กล่าวอยู่เสมอว่า “สิ่งที่เราศึกษาต้องมีกรอบเป็นเครื่องรองรับ จึงจะทำให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้และเป็นเหตุผลอันง่ายต่อการเสริมเติมแต่ง ความรู้ต่อไปในอนาคต” ซึ่งหมายความว่า ท่านได้เริ่มให้ความสนใจที่จะใช้กรอบความคิด และระเบียบวิธีศึกษาทางมานุษยวิทยาตะวันตกมาเป็นแนวทางในการศึกษาสังคมและวัฒนธรรม จึงเป็นผลทำให้สาขามานุษยวิทยาในประเทศไทยเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและก้าวหน้ามา จนถึงทุกวันนี้
10. ผู้ใดถือว่าเป็นนักมานุษยวิทยาคนแรกของโลก
(1) ทาซิตัส (2) ฮีโรโดตัส (3) รูโบรค (4) มาร์โคโปโล
ตอบ 2 หน้า 4 ในช่วงปี 484 – 426 ก่อนคริสตกาล ฮีโรโดตัส (Herodotus) ถือว่าเป็นนักประวัติศาสตร์คนสำคัญของกรีก ที่ได้ออกเดินทางไปยังประเทศอียิปต์ ปาเลสไตน์ บาบิโลน แม็คคาโดเนีย และตราช แล้วทำการจดบันทึกเรื่องราวของผู้คนที่ได้พบเห็น เช่น เรื่องราวเกี่ยวกับข้อแตกต่างระหว่างชาวอียิบต์กับชาวกรีก เป็นต้น ซึ่งจากผลงานเหล่านี้เอง ที่ทำให้นักมานุษยวิทยาสังคมชาวอังกฤษได้ยกยองเขาว่าเป็นนักมานุษยวิทยาคนแรกของโลก