81.       ข้อใดที่มีความสัมพันธ์กับช่วงโฮโม อีเรคตัส  

Advertisement

(1) มีชีวิตอยู่ในช่วง 700,000 ปี

(2)       วัฒนธรรมอาชูเลียน    

(3) รู้จักใช้ไฟ    

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 18. ประกอบ

82.       ใครคือผู้ที่ให้ความสนใจในการศึกษาและให้ทัศนะต่าง ๆ เกี่ยวกับการจำแนกชาติพันธุ์ของมนุษย์

(1) ลินเน่          

(2) โธมัส ฮักซ์เล่ห์       

(3) Johann Blumenbach 

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 102 ผู้ที่ให้ความสนใจในการศึกษาและให้ทัศนะต่าง ๆ เกี่ยวกับการจำแนกชาติพันธ์ ของมนุษย์ คือ 1. ลินเน่ (ค.ศ. 1758)            2. โธมัส ฮักซ์เล่ห์ (ค.ศ. 1870)

3.         Johann Blumenbach (ค.ศ. 1781)

83.       นักมานุษยวิทยาสังคมสนใจทำการศึกษาสังคมมนุษย์ เพื่อเหตุผลใด

(1)       ศึกษาวัฒนธรรมเฉพาะของสังคมนั้น ๆ

(2)       เพื่อเก็บข้อมูลของสังคมนั้นมาทำการวิเคราะห์

(3)       ทำความเข้าใจเรื่องราวของสังคมทั้งสังคมอย่างละเอียด

(4)       เพื่อมีส่วนร่วมกับคนในสังคม

ตอบ 3 หน้า 120 – 121123134 สิ่งที่นักมานุษยวิทยาสังคมสนใจศึกษาก็คือ สังคมมนุษย์ ทั้งนี้ เพื่อทำความเข้าใจเรื่องราวของสังคมทั้งสังคมอย่างละเอียด โดยมีการแบ่งลำดับขั้นของการศึกษา ดังนี้ 1. ยุคต้น        2. ยุคแห่งการวางรากฐานแห่งวิชา    3. ยุคแห่งการแสวงหาทางเลือกใหม่   4. ยุคปัจจุบัน

84.       แอดเดรียน แมยร์ ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับอะไรที่อำเภอเดวาล ประเทศอินเดีย ในปี ค.ศ. 1961

(1)       การขุดบ่อนํ้าที่มีปัญหา            (2) การท่าเหมืองแร่

(3)       ลักษณะการแลกเปลี่ยนของสังคม     (4) การเลือกตั้ง

ตอบ 4 หน้า 127 ในปี ค.ศ. 1961 แอดเตรียน แมยร์ (Adrian Mayer) นักวิจัยของมหาวิทยาลัยลอนดอน ได้ทำการศึกษาการเลือกตั้งที่อำเภอเดวาล แห่งรัฐมัดยาปราเดส ประเทศอินเดีย ซึ่งมีจำนวนพลเมือง 446,901 คน โดยอำเภอนี้ตั้งอยู่ห่างจากเมืองหลวง ของรัฐไปทางทิศตะวันตก 75 ไมล์ และพื้นที่บางส่วนมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับ การเพาะปลูก โดยพืชสำคัญที่ทำรายได้ให้คือ ฝ้าย และข้าววีท

85.       ในปี พ.ศ. 2530 รองศาสตราจารย์ชนัญ วงษ์วิภาค ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับด้านใดของชนเผ่าผีตองเหลือง

(1) วัฒนธรรม (2) ความเชื่อเกี่ยวกับผี            (3) ความเป็นอยู่ของสังคม      (4) ระบบเศรษฐกิจ

ตอบ 4 หน้า 159 ในปี พ.ศ. 2530 รองศาสตราจารย์ชนัญ วงษ์วิภาค แห่งภาควิชามานุษยวิทยามหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ทำการศึกษาระบบเศรษฐกิจการเข้าป่าล่าสัตว์ของชนเผ่าผีตองเหลือง ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ตรงแถบอำเภอสา (เวียงสา) จังหวัดน่าน และอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่

86.       “Total Prestation” (กระบวนการการแลกเปลี่ยน) มีหลักอย่างไร

(1) หลักความจำเป็นที่ต้องให้  (2) หลักความจำเป็นที่ต้องรับ

(3)       หลักความจำเป็นที่จะต้องตอบแทนแกผูให้     (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 175185 มาว์เซล มอสล์ (Marcel Mauss) นักมานุษยวิทยาชาวฝรั่งเศส กล่าวว่า กระบวนการการแลกเปลี่ยนในสังคมดั้งเดิมจะอยู่ภายใต้ระบบทางสังคมที่เรียกว่า “Total Prestation” โดยมีหลักการสำคัญดังนี้     1. หลักความจำเป็นที่จะต้องให้(The Obligation to Give) 2. หลักความจำเป็นที่จะต้องรับ (The Obligation to Receive)  3.            หลักความจำเป็นที่จะต้องตอบแทนแกผู้ห้ (The Obligation to Return)

87.       สังคมไทยในชนบทส่วนใหญ่เป็นครอบครัวประเภทใด

(1) ครอบครัวเดี่ยว       (2) ครอบครัวขยาย      (3) ครอบครัวกลุ่ม       (4) ครอบครัวผสม

ตอบ 1 หน้า 189 จากการศึกษาเรื่องครอบครัวในชนบทของไทยพบว่า ครอบครัวส่วนใหญ่เป็น ครอบครัวเดี่ยว ดังเช่นในหมู่บ้านเขตสำรวจของจังหวัดเชียงใหม่ที่มีจำนวนครอบครัวเดี่ยว ถึง 61% จังหวัดอยุธยามี 70% จังหวัดขอนแก่นมี 56% และจังหวัดสงขลามี 46%

88.       กลุ่มใดต่อไปนี้ที่ระบบความสัมพันธ์ทางเครือญาติเป็นพื้นฐานสำคัญทางการเมือง

(1) พวกบุชแมน           (2) พวกฮอทเตนทอทล์ (3) เผ่านานดี มาไซ     (4) เผ่าคิคูยู

ตอบ 1 หน้า 214 พวกบุชแมน เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงระบบความสัมพันธ์ทางเครือญาติเป็น พื้นฐานสำคัญทางการเมือง โดยคนพวกนี้จะรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ๆ ประกอบด้วยจำนวนคน ประมาณเผ่าละ 25 – 50 คน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสมาชิกครอบครัวขยายเดียวกัน ดังนั้น ตำแหน่งหัวหน้าก็คือ หัวหน้าของกลุ่มครอบครัวขยายนั่นเอง ทั้งนี้ตำแหน่งหัวหน้าจะสืบต่อกัน โดยอาคัยเพศชายเป็นหลัก

89.       ในหนังสือมานุษยวิทยาเบื้องต้น (AN 113) ได้ยกตัวอย่าง ลัทธิความเชื่อของชาวเขาเผ่าเย้า” มาแสดงไว้ เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงสิ่งสำคัญข้อใด

(1)       เห็นความเป็นอยู่ของชาวเขาเผ่าเย้า

(2)       ให้รู้ถึงประวัติศาสตร์ของชาวเขาเผ่าเย้า

(3)       ประเพณีความเชื่อเป็นกฎเกณฑ์การควบคุมทางสังคม

(4)       ความเชื่อถือเกี่ยวกับผีในรูปแบบต่าง ๆ

ตอบ 3 หน้า 221 ส่วนท้องถิ่นตามชนบทที่อยู่ห่างไกลซึ่งศาสนาหลักยังเข้าไปไมถึงหรือลัทธิความเชื่อ ยังไมพัฒนาถึงขั้นที่เรียกว่าเป็นศาสนาได้นั้น สมาชิกของสังคมเหล่านั้นก็จะมีประเพณีความเชื่อ ที่น่าสนใจและมีแบบแผนที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละสังคม ซึ่งลัทธิประเพณีความเชื่อเหล่านี้ จะมีอิทธิพลต่อวิถีทางการดำเนินชีวิต และเป็นเสมือนกฎเกณฑ์การควบคุมทางสังคมเพื่อป้องกัน มิให้มีการประพฤติตนออกนอกลู่นอกทาง เช่น ลัทธิความเชื่อของชาวเขาเผ่าเย้า ฯลฯ

90.       ศาสนาจะทำหน้าที่อย่างไรให้สังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขในสังคมที่ปราศจากกฎหมาย

(1) ทำให้เกิดการรวมกันแบบสมัครใจ

(2) กำหนดค่านิยมให้สังคมทำตามหรือไม่กระทำ

(3)       เป็นวัฒนธรรมที่ใช้อบรมสั่งสอนคนรุ่นหลัง

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 68. ประกอบ

Advertisement