51. การแบ่งมนุษยชาติด้วยลักษณะตามธรรมชาติที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนคืออะไร
(1) วิชามานุษยวิทยา
(2) ลักษณะมนุษย์เบื้องต้น
(3) ชาติพันธุ์ (สีผิว)
(4) ผิดทั้งหมด
ตอบ 3 หน้า 102 – 103 นักมานุษยวิทยา กล่าวว่า ชาติพันธุ์หรือเชื้อชาติ (The race of man)คือ “การแบ่งมนุษยชาติ โดยอาลัยลักษณะตามธรรมชาติที่สามารถมองเห็นได้ชัด ลักษณะที่แตกต่างกันนี้สามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานโดยผ่านทางพันธุ์กรรม”
52. กลุ่มเลือดใดที่ผู้หญิงญี่ปุ่นส่วนใหญ่พึงพอใจที่สุด
(1) A
(2) B
(3) AB
(4) O
ตอบ 1 (คำบรรยาย) คนญี่ปุ่นจะตระหนักถึงเรื่องของกลุ่มเลือดเสมอ เมื่อเจอกันก็จะถามว่ากลุ่มเลือดอะไร โดยคนญี่ปุ่นมักเชื่อว่าคนในกลุ่มเลือด A ดีที่สุดและฉลาดที่สุด ซึ่งความเชื่อเรื่องกลุ่มเลือดกับบุคลิกของคนในทัศนะของคนญี่ปุ่นนั้น มีดังนี้
1. กลุ่มเลือด A เป็นคนจริงจัง ขยัน พึ่งพาได้ คิดก่อนพูด (ผู้หญิงญี่ปุ่นส่วนใหญ่พึงพอใจที่สุด)
2. กลุ่มเลือด B เป็นคนเห็นแก่ตัว เอาแต่ใจตัวเอง แปลก ๆ มีอัตราการหย่าร้างสูง (ผู้หญิงญี่ปุ่นเกลียดที่สุด)
3. กลุ่มเลือด AB เป็นคนมีเหตุผล ใจเย็น
4. กลุ่มเลือด O เป็นคนเอื้ออาทร รักจริง มีฐานะการเงินดี
53. มานุษยวิทยาวัฒนธรรม มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับข้อใด
(1) วิชาชาติพันธุ์วรรณา
(2) วิชาชาติพันธุ์วิทยา
(3) มองวัฒนธรรมทุกอย่างทั้งหมดเป็นภาพรวม
(4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 118, 136 การศึกษาวิชามานุษยวิทยาวัฒนธรรมของชาวอเมริกัน จะใช้วิธีการคือมองวัฒนธรรมทุกอย่างทั้งหมดเป็นภาพรวม (Holistic Approach) และต้องเข้าไปเก็บข้อมูล ด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) ซึ่งในการศึกษาวิจัยนั้น ทำได้ 2 กรณี คือ 1. ใช้วิชาชาติพันธุ์วรรณา (Ethnography) คือ การศึกษาสังคมวัฒนธรรมของแต่ละสังคม 2. ใช้วิชาชาติพันธุ์วิทยา (Ethnology) คือ การศึกษาสังคมและวัฒนธรรม ของชนกลุ่มต่าง ๆ แล้วนำมาเปรียบเทียบ เพื่อหาแบบแผนและกฎของวัฒนธรรม
54. มานุษยวิทยาสังคม มีจุดเริ่มแรกมาจากใคร
(1) ออกัส ค้องท์ (2) อีมิล เดอร์ไคม์ (3) อัลเฟรด เรดคลิฟ-บราวน์ (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 118, 120 การศึกษาสาขามานุษยวิทยาสังคม ที่มีเป้าหมายหลักคือ การศึกษาเกี่ยวกับ “สังคม” (Society) มีจุดกำเนิดหรือได้นำเอาความคิดพื้นฐานเริ่มแรกมาจากนักปรัชญา ชาวฝรั่งเศสชื่อ ออกัส ค้องท์ (August Comte) และเฮอร์เบอร์ท สเปนเซอร์ (Herbert Spencer) ชาวอังกฤษ
55. วิชาชาติพันธุ์วรรณา เป็นวิชาที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับอะไร
(1) สังคมวัฒนธรรมของชนกลุ่มต่าง ๆ และนำมาเปรียบเทียบ
(2.) ความสัมพันธุ์ในสังคม (3) สังคมวัฒนธรรมของแต่ละสังคม (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 53. ประกอบ
56. เหมืองถ่านหินในอังกฤษที่ทำการขุดเป็นครั้งแรกชื่อเหมืองอะไร
(1) แอชตัน (2) แมนตัส (3) กลอสสอบ (4) คาริบู
ตอบ 2 หน้า 154 เมืองแอชตัน มีที่ตั้งอยู่บริเวณเวสต์ไรดิง ในมณฑลยอร์คเชีย ประเทศอังกฤษถือเป็นแหล่งอุตสาหกรรมที่มีการผลิตถ่านหินเป็นจำนวนมาก ซึ่งเหมืองถ่านหินที่ทำการขุด เป็นครั้งแรก (ในปี ค.ศ. 1868) มีชื่อว่า “แมนตัส” ทั้งนี้การทำเหมืองถ่านหินทำให้ประชากร เมืองแอชตันทวีจำนวนสูงขึ้นจากเดิม นันคือ ขยายตัวขึ้นจาก 600 – 700 คนในปี ด.ศ. 1851 มาเป็น 13,925 คน ในปี ศ.ศ. 1951
57. ชาร์ลล์ ดาร์วิน ไค้ทำการศึกษาชีวิตของนกกระจาบที่บริเวณใด
(1) หลังบ้านของเขาในอังกฤษ (2) หมู่เกาะซามัว
(3) หมู่เกาะกาลาปาโกส (4) บนเริอ H.M.S. Beagle
ตอบ 3 หน้า 35 ชาร์ลส๎ ดาร์วิน (Charles Darwin) ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบนกกระจาบ 13 ชนิด ที่อาศัยอยู่บนเกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะกาลาปาโกส ซึ่งจากการเปรียบเทียบก็พบว่า นกดังกล่าว มีความแตกต่างกันทั้ง ๆ ที่สภาพแวดล้อมของแต่ละเกาะไม่ได้แตกต่างกันทั้งทางด้าน ภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ
58. สารทางชีวภาพหลักที่สำคัญที่สุดของเซลล์คือสารอะไร
(1) คาร์โบไฮเดรต (2) ไขมัน (3) กรดนิวคลิอิก (4) โปรตีน
ตอบ 4 หน้า 49 เซลล์ประกอบด้วยสารทางชีวภาพหลัก 4 ชนิด คือ
1. คาร์โบ ไฮเดรต (Carbohydrates) 2.ไขมัน (Lipid)
3. กรดนิวคลิอิก (Nucleic Acids) 4. โปรตีน (Proteins) (สำคัญที่สุด)
59. ข้อใดต่อไปนี้ที่อยู่ในวงศ์โฮมินอยดิ
(1) Hylobatidae (2) Pongidae (3) Hominidae (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 72 – 73 วงศ์ใหญ่โฮมินอยดิ (Super-family : Hominoidae) จำแนกออกเป็น 3 วงศ์ (Family) คือ 1. Hylobatidac เป็นสัตว์จำพวกชะนีที่ว่องไวผาดโผน สามารถปีนป่ายห้อยโหน บนต้นไม้ได้อย่างคล่องแคล่ว และมีความสูงไม่เกิน 3 ฟุต 2. Pongidae ซึ่งอาจเรียกว่า เอปหรือวานร เป็นลิงชั้นสูงสุด ได้แก่ ชิมแปนซี กอริลลา และอุรังอุตัง 3. Hominidae ถือเป็นวงศ์ที่วิวัฒนาการมาเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์โบราณและจะเป็นมนุษย์ปัจจุบัน
60. ตัวอย่างของ “วัฒนธรรม” คือข้อใดต่อไปนี้
(1) ชิมแปนซีใช้ไม้แหย่รังปลวก (2) อุรังอุตังสอนลูกปีนต้นไม้
(3) กอริลลาสร้างรังสำหรับหลับนอน (4) ผิดทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 7 เราเรียกสิ่งที่มนุษย์คิดค้นและทำขึ้นว่า “วัฒนธรรม” (Culture) ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็น ผลผลิตรูปธรรมและผลงานทางนามธรรมที่มนุษย์สร้างและผลิตขึ้น ตลอดจนแต่งเติมเสริมต่อ สิ่งที่เป็นธรรมชาติเพื่อนำมาใช้ตอบสนองความต้องการของมนุษย์