การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2554
ข้อสอบกระบวนวิชา RAM1000 ความรู้คู่คุณธรรม
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
- “ความหลง ความสงสัย วนเวียนพัวพันด้วยความโง่” มีความหมายสอดคล้องกับข้อใด
- โลภะ
- โทสะ
- โมหะ
- ราคะ
ตอบ 3 (คำบรรยาย) อกุศลมูล หมายถึง รากเหง้าหรือเหตุแห่งความชั่ว มีอยู่ 3 ประการ ดังนี้
- โลภะ (ความอยากได้) คือ ความเป็นผู้มีความทะยานอยาก อยากได้ของที่ไม่ใช่ของตน
- โทสะ (การคิดประทุษร้าย) คือ ความโกรธหรือไม่พอใจอย่างแรง ผูกพยาบาท คิดร้ายต่อผู้อื่น
- โมหะ (ความหลง) คือ ความประมาท ความหลง ความสงสัย ความโง่งมงาย มัวเมาในอบายมุขอันเป็นสาเหตุให้เกิดความชั่วทั้งปวง
- หลักคุณธรรมพื้นฐานของความสำเร็จคือข้อใด
- มีความตั้งใจ
- รู้จักใช้ความคิด
- สวดมนต์ไหว้พระ
- รู้จักเมตตา
ตอบ 1 หน้า 356, 135 (H), 149 (H), 216 (H) อิทธิบาท 4 คือ คุณธรรมที่เป็นพื้นฐานนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิต การทำงาน และการศึกษา ประกอบด้วย
- ฉันทะ (มีใจรัก) คือ รักงาน พอใจจะทำ ทำด้วยใจรัก ต้องการทำให้เสร็จอย่างดี ซึ่งถือเป็นแรงจูงใจที่ดีอันดับแรกในการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ด้วยความกระตือรือร้น
- วิริยะ (มีความเพียร) คือ สู้งาน ขยันหมั่นกระทำด้วยความพยายาม มีความตั้งใจ เข้มแข็ง อดทน ไม่ท้อถอย
- จิตตะ (มีความฝักใฝ่) คือ ใส่ใจงาน เอาใจใส่ในสิ่งที่ทำด้วยความอุทิศตัวและใจ
- วิมังสา (ใช้ปัญญาสอบสวน) คือ ทำงานด้วยปัญญา รู้จักไตร่ตรองพิจารณา ใคร่ครวญหาเหตุผล ตรวจสอบข้อบกพร่อง รู้จักทดลอง วางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง
- “ไม่ทะเยอทะยานอย่างบ้าๆ” หมายความตามข้อใด
- ความเข้มแข็ง
- เอาชนะอุปสรรค
- ระงับความฟุ้งซ่าน
- ดีใจแต่พอดี
ตอบ 3 (คำ บรรยาย) คำว่า “ไม่ทะเยอทะยานอย่างบ้าๆ” หมายถึง ให้รู้จักสงบใจ และระงับความฟุ้งซ่านหวั่นไหวในใจให้ได้ ในเมื่อมีเหตุที่ทำให้เกิดความทะเยอทะยานอยากจนเกินพอดี กลายเป็นกิเลสที่ทำให้คนเราอยากได้อยากมี ไม่มีความพอดีในชีวิต ก็รู้จักระงับความอยากความฟุ้งซ่านนั้น เพื่อเป็นเครื่องช่วยให้เกิดความยั้งคิดได้
- วิชิตขับรถด้วยความเร็วเกินกว่า 80 กิโลเมตร จึงพุ่งชนไหล่ทางบนทางด่วน บ่งชี้พฤติกรรมที่ไม่พึงปฏิบัติข้อใด
- หลงตัว
- ลืมตัว
- อวดดี
- ประมาท
ตอบ 4 (คำบรรยาย) ความ ประมาท หมายถึง การขาดความรอบคอบ ขาดความระมัดระวังเพราะทะนงตน โดยเฉพาะผู้ที่ชอบขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือผู้ที่ดื่มสุราแล้วเมาก็จะทำให้ขาดสติสัมปชัญญะ ขาดความระมัดระวัง ซึ่งจะทำให้ประสบอุบัติเหตุ เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
- ผู้บริหารและนักการเมืองพึงมีคุณธรรมข้อใดเป็นสำคัญที่สุด
- ไม่ริษยา
- ไม่คดโกง
- ไม่เกียจคร้าน
- ไม่ผิดศีลธรรม
ตอบ 4 (คำบรรยาย) คุณธรรม สำคัญที่สุดที่ผู้บริหารและนักการเมืองพึงมี คือ ความเป็นผู้มีศีลธรรมซึ่งจะส่งผลให้บุคคลผู้นั้นมีความประพฤติ การกระทำ และความคิดที่ถูกต้อง สามารถทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างสมบูรณ์ รู้จักเว้นในสิ่งที่ควรเว้น กระทำในสิ่งที่ควรกระทำ โดยมีสำนึกที่มุ่งประโยชน์ของคนส่วนใหญ่เป็นหลัก
- คนช่างสังเกตมักฝึกตนตามข้อใดเป็นสำคัญที่สุด
- ค้นหาคำตอบจากตำรา
- ฟังผู้รู้บรรยาย
- ค้นคว้าจากพจนานุกรม
- ซักถามปัญหา
ตอบ 4 หน้า 230, 22 (H), (คำบรรยาย) วิธีฝึกให้เป็นคนช่างสังเกตมีดังนี้
- พยายาม ดูสิ่งต่างๆ อย่างถี่ถ้วน ไม่มองผ่านสิ่งใด โดยใช้ปัญญาช่วยดูเพื่อให้เห็นสิ่งนั้นๆ ตามที่เป็นจริง และต้องหมั่นเป็นคนช่างสงสัย ช่างซักถามปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งที่ตนได้พบเจอ
- พยายามทำให้การสังเกตของตนถูกต้อง โดยจะต้องทำเสมือนว่าจะต้องถูกใครสอบถามเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตและพร้อมที่จะตอบคำถาม
- ข้อใดบ่งชี้ความเป็นผู้มีคุณธรรมอย่างชัดเจนที่สุด
- พิจารณาใคร่ครวญ
- ปฏิบัติดีอยู่เสมอ
- เป็นพลเมืองดี
- ทราบข่าวสารของบ้านเมือง
ตอบ 2 หน้า 229 (H), (คำบรรยาย) คุณธรรม (Virtue) คือ ความประพฤติปฏิบัติตนดีอยู่เสมอทั้งทางกาย วาจา และจิตใจจนเคยชินเป็นนิสัย หรือหมายถึงการประพฤติปฏิบัติด้านกาย วาจา ใจ ที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติหรือผู้อื่นไม่เดือดร้อน และสังคมมีความสุข
- นักศึกษาจะมีส่วนร่วมเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศได้ตามข้อใดเป็นสำคัญที่สุด
- รู้ว่าตนเป็นคนไทย
- รับประทานข้าวหมดจาน
- มิให้มีนิสัยมักง่าย
- รักชาติ ศาสนา กษัตริย์
ตอบ 4 หน้า 258, 275 – 276, (คำบรรยาย) แนว ทางปฏิบัติในการมีส่วนร่วมเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศที่สำคัญที่สุด คือ มีความรักชาติ ศาสนา กษัตริย์ ซึ่งหมายถึง มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ โดยยอมสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของชาติมีความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจ รักวินัย ซื่อตรงต่อหน้าที่ ช่วยทะนุบำรุงส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ ให้ความร่วมมือเผยแพร่และเทิดทูนเกียรติคุณของชาติ
- การอยู่ร่วมกัน เห็นอกเห็นใจกัน เป็นหลักของพลเมืองดีที่พึงเข้าใจอย่างถ่องแท้ที่สุดตามข้อใด
- นิ้วของเรายาวไม่เท่ากัน
- การเรียกชื่อนิ้วไม่เหมือนกัน
- นิ้วแต่ละนิ้วย่อมมีหน้าที่ไม่เหมือนกัน
- ไม่สามารถทำให้นิ้วเท่ากันและทำหน้าที่เท่ากัน
ตอบ 1 (คำบรรยาย) หลัก ของพลเมืองดีประการหนึ่ง คือ บุคคลพึงปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่แบ่งพวกเขาพวกเรา เพราะถึงแม้ว่านิ้วมือของคนเราจะยาวไม่เท่ากันหรือทุกคนต่างมีความแตกต่าง กัน มีฐานะความเป็นอยู่ไม่เท่าเทียมกัน แต่ก็ต้องอยู่ร่วมกันด้วยความเห็นอกเห็นใจกัน และปฏิบัติต่อกันด้วยความเป็นธรรมอย่างเสมอภาค ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและมีความสุข
- คุณธรรมข้อใดเสริมสร้างความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติได้ในภาวะวิกฤต
- ความสามัคคี
- การอยู่ร่วมกัน
- เมตตาต่อผู้มีฐานะต่ำกว่า
- รู้สิทธิหน้าที่ของตนเองและต่อเพื่อนร่วมชาติ
ตอบ 1 หน้า 123 (H) ความ สามัคคี ถือเป็นคุณธรรมที่ช่วยเสริมสร้างความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติได้ในภาวะ วิกฤต ดังพระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า “…คราวใดที่ชาวไทยมีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อประเทศชาติแล้ว ชาติก็ได้รอดพ้นจากภัยพิบัติสู่ความสุขความเจริญ แต่คราวใดที่ขาดความสามัคคีกลมเกลียวกัน ก็ต้องประสบเคราะห์กรรมกันทั้งชาติ…”
- ทุกศาสนามีคำสอนที่สอดคล้องตรงกันตามข้อใดเป็นสำคัญที่สุด
- จิตใจใสสะอาด
- ปฏิบัติตามหลักศีลธรรม
- มีขันติธรรม
- มีอุปนิสัยงดงาม
ตอบ 2 หน้า 168, 159 (H), (คำบรรยาย) ศาสนา ทุกศาสนาต่างมีคำสั่งสอนที่แตกต่างกันไปในรายละเอียด แต่มีสิ่งที่เหมือนกันคือ ทุกศาสนาล้วนมุ่งอบรมสั่งสอนให้บุคคลทุกคนเป็นคนดีมีคุณธรรมและมีความเมตตา กรุณาเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ โดยมีคำสอนที่สอดคล้องตรงกันเป็นสำคัญที่สุดก็คือ สอนให้บุคคลปฏิบัติตามหลักศีลธรรมของแต่ละศาสนา
- สมถะ สันโดษ เป็นการปฏิบัติที่สอดคล้องตามข้อใด
- พอใจในสิ่งที่เรียบง่าย
- ได้ทำ ได้ปฏิบัติ
- ได้เกิดความเข้าใจ
- ได้มีชีวิตที่เจริญและสุขสงบ
ตอบ 1 หน้า 137 (H) พระพุทธเจ้าได้แสดงมงคล 38 ประการไว้ข้อหนึ่งว่า ให้มีความสันโดษ ซึ่งหมายถึง การพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ พอใจในสิ่งที่เรียบง่าย หรือเป็นอยู่อย่างสมถะ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
- ยถาลาภสันโดษ หมายถึง ความยินดีตามมีตามเกิด มีแค่ไหนก็พอใจเท่านั้น
- ยถาพลสันโดษ หมายถึง ความยินดีตามกำลัง มีกำลังแค่ไหนก็พอใจเท่านั้น
- ยถาสารูปสันโดษ หมายถึง ความยินดีตามควรในรูปลักษณ์ของตนเอง และฐานะที่เป็นอยู่
- นักกีฬาพิการได้รับเหรียญรางวัลในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก บ่งชี้ความมีคุณธรรมข้อใด
- ความตั้งใจ
- ความคิด
- ความเข้มแข็ง
- ความไม่พ่ายแพ้แก่ชีวิต
ตอบ 4 (คำบรรยาย) ความ ไม่พ่ายแพ้แก่ชีวิต หมายถึง การไม่ย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรคต่างๆ ไม่ยอมพ่ายแพ้ต่อโชคชะตาหรือความบกพร่องทางร่างกาย และพยายามยืนหยัดลุกขึ้นต่อสู้ชีวิต โดยมีความมุ่งมั่นมานะพยายาม ไม่ท้อแท้หรือไม่ท้อถอย เพื่อพิสูจน์ตัวเอง หรือเพื่อให้ได้รับผลสำเร็จตามที่ตนได้ตั้งเป้าหมายไว้
- นิโรธ หมายความตามข้อใด
- ความพลัดพราก
- ดิ้นรนทะยานอยาก
- ดับตัณหา
- ดำริชอบ
ตอบ 3 หน้า 170-171, 176, 672-673, 75 (H) อริยสัจ 4 หมาย ถึง ความจริงหรือสัจธรรมอันประเสริฐ 4 ประการ ซึ่งพุทธศาสนาได้มุ่งเน้นถึงการแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยปัญญาและเหตุผลอย่างเป็นระบบ และเป็นขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้
- ทุกข์ คือ ปัญหาที่ทำให้บุคคลรู้สึกไม่สบายกายหรือไม่สบายใจ อันเป็นรูปธรรมที่ทุกคนควรกำหนดรู้ตามความเป็นจริง
- สมุทัย คือ สาเหตุของปัญหาหรือบ่อเกิดแห่งทุกข์ ได้แก่ ตัณหาหรือความอยาก (โลภะ โทสะ โมหะ) ของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรละเลิกหรือละทิ้ง
- นิโรธ คือ หนทางในการดับทุกข์ (ดับตัณหา) หรือความพ้นทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรทำให้รู้แจ้ง
- มรรค คือ ทางแก้ทุกข์หรือวิธีการดับทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรนำไปปฏิบัติให้เกิดหรือเจริญขึ้น
- เมื่อถูกนินทาว่าร้าย ควรยึดหลักคุณธรรมข้อใด
- วิริยะ
- ขันติ
- จาคะ
- ทาน
ตอบ 2 หน้า 384-385, 137 (H), 193 (H) หลักขันติ (ความอดทน) แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ดังนี้
- ความอดทนต่อความลำบากตรากตรำ คือ อดทนต่อการทำหน้าที่การงาน ไม่ย่อท้อหรือเกียจคร้าน
- ความอดทนต่อทุกขเวทนา คือ อดทนต่อการเจ็บไข้ได้ป่วย หรือ ทุกข์ที่เกิดจากสังขารของเราเอง
- ความอดทนต่อความเจ็บใจ คือ อดทนต่อการที่คนอื่นทำให้เราต้องผิดหวัง หรือพูดจานินทาว่าร้าย ต่อว่าให้เจ็บช้ำใจ
- ความอดทนต่ออำนาจกิเลศ คือ อดทนต่อความอยากต่างๆ ที่เป็นกิเลศทั้งทางใจและทางกาย
- อวิโรธนํ ในทศพิธราชธรรม หมายความตามข้อใด
- การสละ
- ความไม่โกรธ
- ความไม่ผิดคำสอน
- ความไม่เบียดเบียน
ตอบ 3 หน้า 96-99 (H), 108-109 (H) หลักทศพิธราชธรรม 10 ประกอบด้วย
- ทานัง (ทาน) คือ การให้ปันช่วยประชา
- สีลัง (ศีล) คือ รักษาความสุจริต
- ปะริจจาคัง (บริจาค) คือ บำเพ็ญกิจด้วยความเสียสละ
- อาชชะวัง (ความซื่อตรง) คือ ปฏิบัติภาระโดยซื่อตรง
- มัททะวัง (ความอ่อนโยน) คือ ทรงความอ่อนโยนเข้าถึงธรรม
- ตะปัง (ความพากเพียร) คือ พ้นมัวเมาด้วยเผากิเลส
- อักโกธัง (ไม่โกรธ) คือ ถือเหตุผลไม่โกรธา
- อวิหิงสา (ไม่เบียดเบียน) คือ มีอหิงสานำร่มเย็น
- ขันติ (อดทน) คือ ชำนะเข็ญด้วยขันติ
- อวิโรธนัง (อวิโรธนํ – ไม่มีอะไรพิรุธ ไม่ผิดไปจากคำสอน) คือ มิปฏิบัติคลาดจากธรรม
- หัวหน้าส่วนราชการนำเจ้าหน้าที่ไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เป็นการปฏิบัติที่สอดคล้องตามคุณธรรมข้อใด
- ใช้ลาภยศในทางที่ถูก
- ถึงคราวจะเสียก็ไม่เสียใจ
- รักษาความดี
- รู้โทษของความผิด
ตอบ 1 (คำบรรยาย) การ ใช้ลาภยศในทางที่ถูก หมายถึง เมื่อได้ลาภยศมาแล้วก็ไม่หลงใหลในลาภยศที่ตนได้มา ไม่หลงตัวลืมตัว ใช้ลาภยศและตำแหน่งหน้าที่ในทางที่ถูกเพื่อประโยชน์สุขแก่ตนเองและผู้อื่น ไม่ใช้ลาภยศนั้นในทางที่เสียหาย หรือใช้ทรัพย์และอำนาจไปในทางคุกคามข่มเหงรังแกผู้อื่น ตลอดจนสร้างความเดือดร้อนเบียดเบียน ทำความเสียหายแก่โลกและชีวิตได้
- ความสุขที่แท้คือหลักคิดตามข้อใด
- จะมีความสุขดีไม่ช้านัก
- จะมีความสุขยิ่งกว่าผู้อื่นออกจะยาก
- เชื่อว่าคนอื่นๆ เป็นสุขยิ่งกว่าที่เขาเป็นจริงๆ
- สุขยิ่งกว่าความสงบไม่มี
ตอบ 4 หน้า 171 (H) พุทธศาสนาได้สอนถึงธรรมที่จะนำไปสู่ความสุขที่แท้จริงไว้ดังนี้
- สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี 2. การไม่เบียดเบียนกันเป็นสุขในโลก 3. ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง คือความพอใจจะทำให้เรามีความสุขซึ่งเป็นทรัพย์อันลำค่าของมนุษย์ 4. ฆ่าความโกธรได้เป็นสุข 5. ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขทั้งโลกนี้โลกหน้า
- ข้อใดหมายความถึงการมีอวิชชา
- ทุกคนเกิดมาแต่ตัวเท่ากันหมด
- ยศบรรดาศักดิ์เป็นของสมบัติ
- ระลึกถึงความจริงได้ว่าชีวิตที่แท้จริงเป็นอย่างไร
- รู้อะไรเหมือน ๆ กัน แต่รู้ผิดจากความจริง
ตอบ 4 หน้า 106 (H) การมี “อวิชชา” ที่แปลว่า ไม่รู้ มิได้หมายความว่าไม่รู้อะไรเลยเหมือนอย่างก้อนดินแต่หมายถึง รู้อะไรเหมือน ๆ กัน แต่รู้ผิดจากความจริง หรือรู้ไม่จริงเท่ากับไม่รู้
- การไม่รู้จักตนเอง หมายความตามข้อใด
- ยกพวกไปตีกันต้องการแสดงว่าเก่งกล้า
- ขวนขวายจะได้ฐานะสูงกว่าที่ตนควรจะได้
- ต้องการให้ทุกคนเสมอกันไปหมด
- เห็นผู้อื่นได้รับผลดีจากความดีเกิดความริษยา
ตอบ 2 หน้า 106 (H) การไม่รู้จักตนเอง หมายถึง ความไม่รู้จักตนเองโดยฐานะต่าง ๆ เกี่ยวแก่ความรู้ ความสามารถ และตำแหน่งหน้าที่อันควรแก่ตน ซึ่งจะเป็นเหตุให้ขวนขวายจะได้ฐานะที่สูงกว่าที่ตนควรจะได้ หรือน้อยใจในเมื่อไม่ได้ฐานะที่คิดเอาเองว่าตนควรจะได้
- ข้อใดไม่ใช่ทุจริตทางกาย
- ลักทรัพย์
- ฆ่าสัตว์
- ละเมิดคู่ครองผู้อื่น
- พูดส่อเสียด
ตอบ 4 หน้า 132 (H) , (คำบรรยาย) ลักษณะของคนพาลมี 3 ประการ ได้แก่
- คิดชั่ว (ทุจริตทางใจ) คือ การมีจิตคิดอยากได้ในทางมโนทุจริต มีความพยาม คิดปองร้ายผู้อื่น และมีมิจฉาทิฐิ (เห็นผิดเป็นชอบ)
- พูดชั่ว (ทุจริตทางวาจา) คือ คำพูดที่ประกอบไปด้วยวจีทุจริต เช่น พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ
- ทำ ชั่ว (ทุจริตทางกาย) คือ ทำอะไรที่ประกอบด้วยกายทุจริต เช่น การฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฉ้อโกง ฉุดคร่าอนาจาร และพฤติกรรมผิดในกามหรือละเมิดคู่ครองผู้อื่น
- สำนวนสุภาษิตในข้อใดตรงกับคำว่า “พอประมาณ”
- กบในกะลาครอบ
- นกน้อยทำรังแต่พอตัว
- ตักน้ำรดหัวตอ
- ดินพอกหางหมู
ตอบ 2 หน้า 198 (H) , 206 (H), 209 (H) ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่มากและไม่น้อยเกินไป พอควรแก่อัตภาพโดยไม่เบียดตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ หรือตรงกับสำนวนสุภาษิตไทยว่า “นกน้อยทำรังแต่พอตัว” (ทำอะไรให้พอเหมาะกับฐานะหรือความสามารถของตน)
- ปัจฉิมโอวาทของพระพุทธองค์ในเรื่อง การยังประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทสอดคล้องกับมรรค 8 ในข้อใด
- สัมมาสติ
- สัมมาทิฐิ
- สัมมาสมาธิ
- สัมมาวายามะ
ตอบ 1 หน้า 675,81 (H) , (คำบรรยาย) สัมมาสติ (ระลึกชอบ) คือ ระลึกไปในที่ตั้งของสติที่ดีทั้งหลาย หรือการมีสติระลึกอยู่เป็นนิจว่าเราเป็นใคร มีหน้าที่อะไร และกำลังทำอะไรอยู่ไม่เป็นเผลอ ไม่ประมาท ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ ตามหลักธรรมที่เรียกว่า “สติปัฏฐาน 4” ได้แก่ 1. ระลึกได้เมื่อรู้สึกสบาย หรือไม่สบาย 2. ระลึกได้เมื่อรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ 3. ลึกได้ว่าจิตกำลังเสร้าหมอง หรือผ่องแผ้ว 4. ระลึกได้ว่าอารมณ์อะไรกำลังผ่านเข้ามาในจิตใจ
- ข้อใดเป็นคุณธรรมสู่ความสำเร็จในชีวิต การทำงาน และการศึกษา
- หิริ โอตตัปปะ
- เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
- ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
- ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตา
ตอบ 3 ดูคำตอบข้อ 2. ประกอบ
- ข้อใดมิใช่ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป ไม่สามารถฟื้นฟูและสร้างใหม่ได้
- ปิโตรเลียม
- ถ่านหิน
- แร่ธาตุ
- ป่าไม้
ตอบ 4 หน้า 462 – 463 , 240 – 241 (H) ทรัพยากรธรรมชาติประเภทที่ใช้แล้วหมดสิ้นไปแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1. ประเภทที่ใช้แล้วหมดไป ตาสามารถกลับพื้นตัวใหม่ได้ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า น้ำเสียจากโรงงาน น้ำในดิน ฯลฯ 2. ประเภทที่ใช้แล้วหมดไปแต่ไม่อาจสร้างหรือทำให้มีใหม่ได้ เช่น คุณสมบัติทางธรรมชาติของดิน แร่ธาตุ ฯลฯ 3. ประเภทใช้แล้วหมดไป แต่ยังสามารถนำมายุบให้กลับมาเป็นวัตถุเช่นเดิม แล้วนำกลับมาประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เช่น สังกะสี ทองแดง ทองคำ เหล็ก เงิน ฯลฯ 4. ประเภทใช้แล้วหมดสิ้นไปฟื้นฟูและนำกลับมาใช้อีกไม่ได้ เช่น ถ่านหิน น้ำมัน (ปิโตรเลียม) ก๊าซ ฯลฯ
- ข้อใดมิใช่วิธีการอนุรักษ์ดิน
- การปลูกพืชคลุมดิน
- การปลูกพืชหมุนเวียน
- การใช้ปุ๋ยอินทรีย์
- การเผาทำลายซากพืชในพื้นที่เกษตร
ตอบ 4 (คำบรรยาย) การอนุรักษ์ดินทำได้หลายวิธีดังนี้ 1. ปลูกพืชคลุมดิน จะเป็นการช่วยยึดดิน ลดแรงปะทะของลมและฝน 2. ปลุกพืชหมุนเวียน เป็นการปลูกพืชมากกว่าสองชนิดสลับเปลี่ยนลงในที่ดินแปลงเดียวกัน เพื่อรักษาธาตุอาหารในดินในสมดุล 3. ปรับปรุงดิน เป็นการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงในดินเพื่อเพิ่มแร่ธาตุสารอาหารในดิน 4. ใช้วิธีการไถกลบซากพืชเพื่อคืนแร่ธาตุกลับสู่ดินและเพิ่มอินทรียวัตถุ แทนการเผาทำลายซากพืช ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายแต่ทำลายสิ่งแวดล้อม
- ข้อใดเป็นประโยชน์ของป่าโกงกาง
- ป้องกันภัยจากคลื่นสึนามิ
- ช่วยย่อยสารพิษที่จมอยู่ในโคลน
- ป้องกันแสงแดดให้แก่สัตว์น้ำ
- ดูดซับเกลือแร่ที่เจือปนในน้ำเค็ม
ตอบ 1 (คำบรรยาย) ประโยชน์ของป่าชายเลน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ป่าโกงกาง” มีดังนี้
- ช่วยป้องกันรักษาชายฝั่งทะเลจากการกัดเซาะของกระแสน้ำ 2. เป็นแนวกำบังคลื่นลมที่เคลื่อนเข้าปะทะชายฝั่ง และช่วยป้องกันภัยจากคลื่นสึนามิ 3. เป็นที่วางไข่และฟักตัวอ่อนของสัตว์ทะเล 4. เป็นแนวกำบังกระแสน้ำเชี่ยวที่ปากแม่น้ำและพายุหมุน 5. ช่วยทำให้เกิดการงอกของแผ่นดินขยายออกไปสู่ทะเล ฯลฯ
- ข้อใดกล่าวถึงสิ่งแวดล้อมไม่ถูกต้อง
- เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
- เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
- สิ่งแวดล้อมทางสังคมก่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
- สิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
ตอบ 3 หน้า 462 – 463 , 240 (H) สิ่งแวดล้อมคือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเราทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
- สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ ดิน แหล่งน้ำ ลักษณะ ภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ ภูเขา ทะเลสาบ มหาสมุทร อุทยานธรรมชาติ ความเจริญเติบโตของสวนป่า ตลอดจนสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงมนุษย์
- สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ สิ่งก่อสร้างโบราณวัตถุ เครื่องมือเครื่องใช้ ศิลปกรรม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และศาสนา
- ข้อใดเป็นสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น
- ขนบธรรมเนียม ประเพณี
- ศิลปกรรม แหล่งน้ำ
- โบราณวัตถุ อุทยานธรรมชาติ
- ความเจริญเติบโตของสวนป่า
ตอบ 1 ดุคำอธิบายข้อ 28. ประกอบ
- ข้อใดเป็นวิธีการหรือแนวทางในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืนที่สุด
- การใช้บทโทษที่รุนแรง
- การนำเทคโนโลยีมาใช้
- การให้การศึกษาแก่ประชาชน
- การจ้างต่างชาติมาแก้ไขปัญหา
ตอบ 3 หน้า 243 (H) (คำ บรรยาย) ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมนั้นส่วนใหญ่จะเกิดมาจากการกระทำของมนุษย์ทั้งสิ้นไม่ ว่าจะเป็นการตัดไม้ทำลายป่า ปัญหาขยะมูลฝอย ปัญหามลพิษ ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เกิดมาจากการกระทำที่ไม่อยู่บนพื้นบานของความสมดุลพอดี รวมทั้งความเห็นแก่ตัวและขาดความรับผิดชอบของมนุษย์ ดังนั้นการแก้ปัญหา สิ่งแวดล้อมให้ได้ผลและยั่งยืนที่สุดจึงต้องแก้ที่พฤติกรรมของประชาชนใน สังคมก่อนเป็นสำคัญ เช่น การให้การศึกษา และการปลูกฝังจิตสำนึก เป็นต้น
- กิจกรรมใดต่อไปนี้ส่งผลต่อระบบนิเวศน้อยที่สุด
- การนั่งเรือชมหิ่งห้อย
- การให้อาหารสัตว์ข้างทาง
- การไปตั้งค่ายพักแรมกลางป่า
- การสร้างสนามกอล์ฟใกล้เนินเขา
ตอบ 1 (คำบรรยาย) การนั่งเรือชมหิ่งห้อย เป็น กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน้อยที่สุด โดยนักท่องเที่ยวควรใช้เรือพายแทนการใช้เรือยนต์ และควรพายไปเงียบ ๆ กับตะเตียงส่องทางแทนการใช้สปอตไลท์ ระหว่างที่ชมก็ไม่ควรส่งเสียงดังหรือถ่ายรูปเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับระบบนิเวศและวิถีชีวิตชุมชน
- ปัญหาสิ่งแวดล้อมในข้อใดเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นๆ
- ภาวะโลกร้อน
- ป่าไม้ถูกทำลาย
- ประชากรเพิ่มมากขึ้น
- การเสียสมดุลทางธรรมชาติ
ตอบ 2 (คำบรรยาย) ป่าไม้ เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต หากป่าไม้ถูกทำลายลงไปมาก ๆ ย่อมเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ตามมา เนื่องจากป่าไม้มีความสัมพันธ์กับทรัพยากรน้ำ ดิน อากาศ สัตว์ป่า และมนุษย์ ซึ่งผลกระทบจากการทำลายป่าไม้ได้แก่ 1. เกิดการชะล้างพังทลายของดิน 2. เกิดน้ำท่วมในฤดูฝน และเกิดความแห้งแล้งในฤดูแล้ง 3. เกิดปัญหาภาวะโลกร้อน 4. พืชและสัตว์ป่ามีจำนวนและชนิดลดลง ฯลฯ
- อุปกรณ์ไฟฟ้าในข้อใดมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด
- พัดลม
- ตู้เย็น
- เตาถ่าน
- โทรทัศน์
ตอบ 2 หน้า 467 – 468, (คำบรรยาย) ตู้เย็น เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก เพราะตู้เย็นมีสารคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (CFC) เป็นสารที่ใช้ความเย็นซึ่งมีผลทำให้ชั้นโอโซนเบาบางลงและเกิดรูรั่ว ส่งผลให้รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) สามารถแผ่เข้ามาสู่ผิวโลกได้อย่างเข้มข้น จนทำให้โลกมีอุณหภูมิที่ร้อนจัดและก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก
- โครงการแก้มลิงเป็นโครงการในพระราชดำริเกี่ยวข้องกับด้านใด
- การบริหารจัดการป่าไม้
- การบริหารจัดการสัตว์ป่า
- การบริหารจัดการดิน
- การบริหารจัดการน้ำ
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) โครงการแก้มลิง เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ เกี่ยวกับพื้นที่หน่วงน้ำ (Detention Area) หรือขุดบ่อน้ำพัก ซึ่งเป็นการบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เขต ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โดยจะประกอบด้วยการขุดลอกและกำจัดวัชพืชตามคูคลองต่าง ๆ รวมทั้งปรับปรุงและก่อสร้างสถานีสูบน้ำ เพื่อระบายน้ำส่วนเกินออกจากพื้นที่ลุ่มให้ไหลมารวมกันในบ่อพักน้ำ (ลักษณะเดียวกับที่ลิงสะสมกล้วยไว้ที่กระพุ้งแก้ม) จนเมื่อในทะเลลดลงจึงค่อยระบายน้ำลงทะเล
- ข้อใดเป็นต้นเหตุแห่งความดี
- โลภะ โทสะ โมหะ
- อโลภะ อโทสะ อโมหะ
- โลภ โกธร หลง
- กิเลส ตัณหา อุปาทาน
ตอบ 2 (คำบรรยาย) กุศลมูล หมายถึง รากเหง้าหรือต้นเหตุแห่งความดีทั้งปวง ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ตรงกันข้ามกับอกุศลมูล มีอยู่ 3 ประการดังนี้ 1 อโลภะ (ความไม่อยากได้) คือ ความเป็นผู้ไม่มีความทะยานอยาก ไม่อยากได้ของที่ไม่ใช่ของตน 2. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย) คือ ความไม่โกธร ไม่ผูกพยาบาท 3. อโมหะ (ความไม่หลง) คือ ความไม่หลงงมงายไม่มัวเมาในอบายมุข อันเป็นเหตุให้เกิดความชั่วทั้งปวง ให้เป็นผู้มีสติปัญญามั่นคง
- ข้อใดมิใช่บ่อเกิดแห่งปัญญา
- สุตมยปัญญา
- จินตมยปัญญา
- ภาวนามยปัญญา
- กายกรรมปัญญา
ตอบ 4 หน้า 200 – 201 , 185 – 186 (H), (คำบรรยาย) ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้ซึ่งจะเกิดประกอบกับจิต โดยที่มาหรือบ่อเกิดของหลักปัญญา มีอยู่ 3 ระดับ ได้แก่
- สุตมยปัญญา คือ ปัญญาความรอบรู้ที่เกิดจากการฟัง
- จินตมยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการคิด
- ภาวนามยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนา
- ปัจจัยในข้อใดที่ฟังแล้วไม่ก่อให้เกิดปัญญา
- ฟังแล้วจดบันทึก
- ฟังเพราะสนใจใฝ่รู้
- ฟังเพื่อต้องการจับผิด
- ฟังแล้วมีคำถามข้อสงสัย
ตอบ 3 หน้า 200, 185 (H), (ดูคำอธิบายข้อ 36. ประกอบ) สุตมยปัญญา คือ ปัญญา ความรอบรู้ที่เกิดจากการฟังธรรม ฟังครูสอนวิชาการต่าง ๆ หรือศึกษาเล่าเรียนจากการอ่านหนังสือค้นคว้าวิชาการ โดยการฟังที่ก่อให้เกิดปัญญาต้องเป็นการฟังเพราะสนใจใฝ่รู้ เมื่อฟังแล้วก็ต้องจดบันทึกหรือเกิดคำถามข้อสงสัย แต่ต้องไม่ใช่การฟังเพื่อต้องการจับผิดผู้อื่น หรือฟังสิ่ง ที่ทำให้เกิดกิเลส (โลภะ โทสะ โมหะ) อันเป็นเหตุให้เกิดความไม่สบายใจ หรือเป็นเหตุให้ผู้ฟังเกิดอกุศลมูลนิธิจิตคิดทำชั่ว ซึ่งหากฟังสิ่งไม่ดี จิตก็จะไม่ดีไปด้วย
- การคบคนดีมีความหมายตรงกับข้อใด
- กัลยาณมิตตตา
- สมชีวิตา
- รูปขันธ์
- สัญญาขันธ์
ตอบ 1 หน้า 408, 87 (H), 132 (H) กัลยาณมิตตตา คือ รู้จักคบคนดีหรือคบบัณฑิต ซึ่งหมายถึงผู้ทรงความรู้ มีปัญญา มีจิตใจดีงาม และมีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง อันเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยชักนำเราให้ไปในทางที่ถูกที่ควร ทำ ให้เรามีความเจริญก้าวหน้าในชีวิต ทำให้รู้เห็นช่องทางและโอกาสต่าง ๆ ในการทำงาน และรู้จักปฏิบัติต่อทรัพย์ของตนอย่างถูกต้อง ไปถูกบาปมิตรชักจูงไปในทางอบายมุข ซึ่งจะทำให้ทรัพย์สินไม่เพิ่มพูนหรือมีแต่จะหดหายลง
- ข้อใดเป็นผลกระทบน้อยที่สุดจากการสร้างเขื่อน
- สัตว์ป่าจำนวนมากไร้ที่อยู่อาศัย
- ทรัพยากรป่าไม้ถูกทำลาย
- สัตว์น้ำวางไข่ได้ยากเพราะบริเวณแหล่งน้ำกว้าง
- สัตว์ป่าจำนวนมากต้องอพยพไปหาที่อยู่ใหม่
ตอบ 3 (คำบรรยาย) การ สร้างเขื่อน เป็นสิ่งวิธีการพัฒนาแหล่งน้ำให้มีน้ำใช้ในเวลาที่ขาดแคลนแต่อีกด้านหนึ่งก็ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก เพราะการก่อสร้างเขื่อนจำเป็นต้องใช้พื้นที่จำนวนมาก ทำให้ต้องตัดไม้ทำลายป่า พอสร้างเขื่อนเสร็จ ป่าส่วนหนึ่งก็จะจมหายไปในอ่างเก็บน้ำ ซึ่งทำให้แหล่งอาหารและแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหายไป เป็นผลให้สัตว์ป่าต้องอพยพไปหาที่อยู่ใหม่ หรือบางชนิดก็อาจสูญพันธุ์และส่งผลให้จำนวนสัตว์ป่าลดน้อยลงไป
- ข้อใดหมายถึงสัมมาอาชีวะ
- กระทำชอบ
- เลี้ยงชีพชอบ
- เพียรชอบ
- ระลึกกชอบ
ตอบ 2 หน้า 674 – 675, 81 (H) มรรคมีองค์ 8 ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่
- สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) 2. สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) 3. สัมมาวาจา (วาจาชอบ) 4. สัมมากัมมันตะ (การชอบงาน) 5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพ) 6. สัมมาวายามะ (เพียรพยายามชอบ) 7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) 8. สัมมาสมาธิ (ตั้งใจชอบ)
- ใครมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์เอกลักษณ์ของชาติ
- เต้ยแต่งกายแบบสากลนิยม
- ติ๋มชอบรับประทานอาหารจีน
- เกษไหว้พ่อแม่ก่อนไปทำงาน
- แก้วพูดภาษาถิ่นกับเพื่อน ๆ
ตอบ 3 หน้า 361 , 369 – 370 , 214 – 215 (H) , 230 (H) เอกลักษณ์ ของชาตินั้นนอกจากจะเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงความเป็นชาติและลักษณะไทยว่าแตก ต่างจากชาติอื่นแล้ว ยังมีความสำคัญต่อความอยู่รอดความมั่งคง และความเจริญก้าวหน้าของชาติไทยอีกด้วย ซึ่งการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์เอกลักษณ์ของชาติที่คนไทยควรธำรงรักษาไว้ก็ คือ การพูดและเขียนภาษาไทยได้ถูกต้อง การไหว้ทำความเคารพผู้มีพระคุณหรืออาวุโสกว่า การแต่งกายแบบไทย การกินอาหารไทย ฯลฯ
- ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของวัฒนธรรม
- เป็นสิ่งที่ถ่ายทอดกันได้
- เป็นสิ่งที่ห้ามเปลี่ยนแปลง
- เกิดจากการอบรมสั่งสอน
- ช่วยให้มนุษย์ดำเนินชีวิตอย่างมีแบบแผน
ตอบ 2 หน้า 420, (บรรยาย) วัฒนธรรม คือ สิ่ง ที่มนุษย์สร้างขึ้น ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาจากการเรียนรู้ การอบรมสั่งสอน และประสบการณ์ โดยถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงามมีคุณค่าควรที่คนในสังคมจะประพฤติปฏิบัติเพื่อ ช่วยให้มนุษย์ดำเนินชีวิตอย่างมีแบบแผน ทั้งนี้วัฒนธรรมจะมีการถ่ายทอดสืบต่อกันมาเป็นขนบธรรมเนียมประเพณี และมีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาตามสภาวะแวดล้อมของสังคมมนุษย์
- “ไฟในอย่านำออก” มีความหมายว่าอย่างไร
- อย่านำความลับต่าง ๆ ไปเล่าให้ผู้อื่นฟัง
- อย่านำความทุกข์ในใจไปเล่าให้ผู้อื่นฟัง
- อย่านำความลับหรือความทุกข์ร้อนมาวิจารณ์ภายในครอบครัว
- อย่านำความลับหรือความไม่ดีในครอบครัวไปเล่าให้คนภายนอกฟัง
ตอบ 4 (คำบรรยาย) พระพุทธเจ้าได้ให้โอวาทในการเป็นแม่ศรีเรือนไว้ประการหนึ่ง คือ “ไฟในอย่านำออก” หมายถึง อย่านำความลับหรือความไม่ดีงามภายในครอบครัวไปบอกเล่าให้คนภายนอกได้รับรู้ และ “ไฟนอกอย่านำเข้า” หมาย ถึง อย่านำคำนินทาว่าร้ายเสียดสีด้วยความอิจฉาริษยาจากบุคคลภายนอกมาสู่ครอบครัว อันจะเป็นเหตุทำให้เกิดเรื่องไม่ดีงามและความบาดหมาง
- เมื่อเรามีความทุกข์เกิดขึ้น ควรปฏิบัติอย่างไรเป็นอันดับแรก
- ดับทุกข์
- หาสาเหตุแห่งทุกข์
- หาวิธีการดับทุกข์
- แก้ไขสาเหตุแห่งทุกข์
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 14. ประกอบ
- คุณพ่อไม่อนุญาตให้มาลีไปชมการแสดงคอนเสิร์ตของเบิร์ด มาลีเสียใจมาก สาเหตุความทุกข์ที่แท้จริงของมาลีคืออะไร
- กรรม
- ตัณหา
- หิริ
- จิต
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 14. ประกอบ
- ข้อใดจัดเป็นมโนกรรม
- นิ่มช่วยพยุงคนแก่ข้ามถนน
- น้อยพูดปลอมใจเพื่อนที่สอบตก
- นวลรู้สึกสงสารเด็กที่นั่งร้องไห้
- นกเล่นกีฬากับน้องอย่างสนุกสนาน
ตอบ 3 (คำบรรยาย) มโนกรรม 3 คือ การ ทำความดีทางใจ ซึ่งจะส่งผลให้บุคคลมีจิตใจบริสุทธิ์มองโลกในแง่ดี มีความสงสารและปรารถนาให้คนอื่นพันทุกข์ และประสบแต่ความสุขมีอยู่ 3 ประการ ได้แก่ 1. การไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์ของคนอื่นมาเป็นของตนเอง 2. การไม่อาฆาตพยาบาทหรือจองเวรกับใคร 3. มีความเห็นถูกต้องตามทำนองคลองธรรมและตรงตามความเป็นจริง
- ความเป็นคนไทยพิจารณาได้จาก ยกเว้นสิ่งใด
- ชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย
- ความเป็นผู้มีคุณธรรมในจิตใจ
- ความเป็นอิสระไม่ชอบขึ้นกับใคร
- การประพฤติปฏิบัติที่มีลักษณะกดขี่ข่มเหง
ตอบ 4 หน้า 230 (H) ความเป็นไทย หรือความเป็นคนไทย พิจารณาได้จากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
- เอกลักษณ์เฉพาะของคนไทย ภาษาไทย เครื่องแต่งกาย กิริยามารยาท ศิลปะ ดนตรีไทยกีฬา และขนบธรรมเนียมประเพณี 2. การดำเนินชีวิตความเป็นอยู่เรียบง่าย สงบชอบช่วยเหลือ 3. ความเป็นผู้มีคุณธรรมในจิตใจ ใจดี อดทน เสียสละ จริงใจ 4. รักความเป็นอิสระ ไม่ชอบขึ้นกับใคร
- การทตัวหรูหรา ฟุ่มเฟือย เที่ยวกลางคืน เป็นสาเหตุของปัญหาในข้อใด
- สุขภาพเสื่อมโทรม
- อาชญากรรม
- อบายมุข
4.ทุจริต
ตอบ 3 หน้า 661, 145 (H), 171 (H) อบายมุข เป็นหนทางแห่งความเสื่อม มีอยู่ 6 ประการ คือ
- ติดสุรายาเมา เสพสิ่งเสพติด 2. เอาแต่เที่ยวกลางคืน เที่ยวไม่รู้เวลา เป็นนักเลงผู้หญิง หรือนักเลงผู้ชาย 3. จ้องหาแต่รายการบันเทิง เที่ยวดุการละเล่น 4. เหลิงไปหาการพนัน 5. พัวพันมั่วสุมมิตรชั่ว หรือคบคนชั่วเป็นมิตร 6. มัวจมอยู่ในความเกียจคร้าน ไม่ทำการงาน
- ธนูชอบประดิษฐ์ของใช้จากเศษวัสดุ การกระทำของธนูเป็นการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีอย่างไร
- ใฝ่หาความรู้
- ปฏิบัติตามกฎหมาย
- สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น
- อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ตอบ 4 (คำบรรยาย) พลเมืองดีมีลักษณะที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ได้แก่ การลดความเห็นแก่ตัว และเสียสละแรงกายและใจเพื่อทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม ช่วย กันดูแลรักษาทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติ รวมทั้งช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การประดิษฐ์ของใช้จากเศษวัสดุ เพื่อช่วยลดปัญหาขยะมูลฝอย เป็นต้น
- การกระทำในข้อใดเป็นการรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบบประชาธิปไตย
- เป็นสมาชิกชมรม
- ผลิตเครื่องใช้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น
- เสียภาษีอาการทุกปีตามกำหนดเวลา
- นำเสนอชิ้นงานแสดงความเป็นเอกลักษณ์ของประเทศ
ตอบ 3 (คำบรรยาย) หน้าที่สำคัญของชนชาวไทยในการรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบบประชาธิปไตย คือ การเสียภาษีอากรให้รัฐทุกปีตามกำหนดเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด เพื่อ ที่รัฐจะได้นำเงินรายได้จากการจัดเก็บมาใช้ในการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ และจัดบริการขั้นพื้นฐานให้แก่ประชาชน ซึ่งภาษีที่รัฐกำหนดให้เก็บมีหลายประเภท เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภาษีได้นิติบุคคล ภาษีการค้า ค่าอาการแสตมป์ ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต ฯลฯ
- หลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยมีหลายประการ ยกเว้นข้อใด
- อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
- มีกฎหมายเป็นบรรทัดฐานในการปกครอง
- ประชาชนใช้อำนาจปกครองด้วยตนเอง
- รัฐบาลต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพขั้นมูลฐานของประชาชน
ตอบ 3 หน้า 190 (H), (บรรยาย) หลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยที่สำคัญมีดังนี้
- อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน และผู้ที่จะได้อำนาจปกครองจะต้องได้รับความยินยอมจากประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ
- ประชาชนมีสิทธิที่จะมอบอำนาจปกครองให้แก่ประชาชนกันเอง โดยการออกเสียงเลือกตั้งตัวแทนเพื่อไปใช้สิทธิใช่เสียงแทนตน
- รัฐบาลจะต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพขั้นมูลฐานของประชาชน
- รัฐบาลถือกฎหมายและความเป็นธรรมเป็นบรรทัดฐานในการปกครอง ฯลฯ
- ข้อใดเป็นข้อดีของการปกครองระบบประชาธิปไตย
- ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ
- สามารถตัดสินใจในการดำเนินการต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
- เหมาะสมกับประเทศที่ยากจนหรือประเทศที่กำลังพัฒนา
- เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนใช้สิทธิเสรีภาพได้เสมอกัน
ตอบ 4 (คำบรรยาย) ข้อดีของการปกครองระบบประชาธิปไตยมีดังนี้
- เปิด โอกาสให้ประชาชนส่วนข้างมากดำเนินการปกครองประเทศ โดยประชาชนาส่วนข้างน้อยมีสิทธิที่จะดำรงอยู่และทำการคัดค้านการปกครองของ ฝ่ายข้างมากได้
- เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนใช้สิทธิเสรีภาพได้อย่างเสมอกัน
- ถือกฎหมายเป็นมาตรฐานในการดำเนินการปกครอง โดยใช้กฎหมายบังคับแก่ทุกคนส่งผลให้ทุกคนเสมอกันโดยกฎหมาย ฯลฯ
- เก๋แอบหยิบรองเท้าคู่ใหม่ของผู้มาทำบุญ ซึ่งวางไว้หน้าโบสถ์ แล้วเอารองเท้าคู่เก่าของเธอวางไว้แทนการกระทำของเก๋ขาดคุณธรรมข้อใด
1 . ศีล
- ความซื่อสัตย์สุจริต
- ความเมตตากรุณา
- สังคหวัตถุ 4
ตอบ 2 หน้า 191 – 192 (H), (คำบรรยาย) ความ ซื่อสัตย์สุจริต หมายถึง การประพฤติปฏิบัติอย่างเหมาะสมและตรงต่อความเป็นจริง ทำทุกอย่างตรงไปตรงมา มีความซื่อตรงจริงใจทั้งทางความคิด คำพูด และการกระทำทั้งต่อตนเองและผู้อื่น จริงใจในสิ่งที่ถูกที่ควรถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกง ไม่หลอกลวง ซึ่งถือเป็นคุณธรรมสำคัญที่จะช่วยขจัดปัญหาต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น
- ประเพณีในข้อใดแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ
- พิธีสืบชะตา
- พิธีบายศรีสู่ขวัญ
- ประเพณีสารทเดือนสิบ
- การทำขวัญข้าว
ตอบ 4 (คำบรรยาย) ภูมิปัญญา ชาวบ้านที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ คือ การที่ชาวบ้านเชื่อว่ามีเทพเจ้าสถิตอยู่ในดิน น้ำ ป่าเขา และสถานที่ทุกแห่ง ดังนั้นเวลาจะทำอะไรต้องขออนุญาตและทำด้วยความเคารพ จึงได้มีประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆ ที่แสดงออกถึงการรู้คุณของธรรมชาติที่ได้ให้ชีวิตแก่ตน เช่น ประเพณีทำขวัญข้าวหรือสู่ขวัญข้าว เพื่อเป็นการขอขมาและขอบคุณพระแม่โพสพหรือเทพีแห่งข้าว เป็นต้น
- การกระทำในข้อใดเป็นการระลึกชอบ
- แดงตั้งใจอ่านหนังสือให้จบเล่ม
- แมวรู้ว่าตนเป็นนักศึกษาจึงตั้งใจเรียน
- ชายพยายามเก็บเงินเพื่อซื้อมอเตอร์ไซค์
- มุกหลีกเลี่ยงการพูดกับเหมี่ยวที่มีนิสัยก้าวร้าว
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 23. ประกอบ
- การประสบความสำเร็จในการงานนั้น จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนใด
- วิริยะ ฉันทะ วิมังสา จิตตะ
- ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
- ฉันทะ จิตตะ วิริยะ วิมังสา
- จิตตะ วิริยะ ฉันทะ วิมังสา
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ
- เจตนาชอบชวนเดือนฉานไปอ่านหนังสือทุกเช้าก่อนเข้าเรียน ทำให้เดือนฉายมีความรู้รอบตัวหลายอย่างเหตุการณ์นี้สอดคล้องกับข้อใด
- กายกรรม
- ความพยายาม
- ความเอาใจใส่
- คบบัณฑิต
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 38. ประกอบ
- ข้อใดสอดคล้องกับคุณของอริยสัจ 4
- การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
- การแก้ปัญหาด้วยปัญญาและเหตุผล
- การแก้ปัญหาร่วมกันเป็นหมู่คณะ
- การแก้ปัญหาที่เกิดจากธรรมชาติ
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 14. ประกอบ
- วิทย์ ไปเล่นไพ่กับเพื่อนเป็นการสังสรรค์หลังเลิกงาน และมีการดื่มสุราเพื่อความเพลิดเพลิน การกระทำของวิทย์จะเป็นเหตุทำให้เกิดทุกข์ในเรืองใด
- เสียทรัพย์ เสียสุขภาพ
- เสียทรัพย์ เสียมิตร
- เสียสุขภาพ เสียทรัพย์ เสียเวลา
- เสียทรัพย์ เสียสุขภาพ เสียชื่อเสียง
ตอบ 4 หน้า 136 (H), (คำบรรยาย) , (ดูคำอธิบายข้อ 48. ประกอบ) โทษ ของการเล่นการพนัน ได้แก่ทำให้เสียทรัพย์ ทำให้ไม่มีใครเชื่อถือถ้อยคำ ทำให้เสียชื่อเสียงและเป็นที่หมิ่นประมาทของเพื่อนทำให้ไม่มีใครประสงค์จะ แต่งงานด้วย นอกจากนี้เมื่อเล่นชนะย่อมก่อเวร และเมื่อเล่นแพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป ส่วนโทษของการดื่มสุรายาเมา ได้แก่ ทำให้เสียทรัพย์ ทำให้เสียสุขภาพทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท ทำให้เสียชื่อเสียงผู้คนติเตียน ทำให้ลืมไม่รู้จักอาย และบั่นทอนกำลังปัญญา
- ข้อความคู่ใดที่มีความสัมพันธ์กันถูกต้องที่สุด
- ฉันทะ – การเอาใจใส่
- จิตตะ – การใช้ปัญญาประกอบการทำงาน
- วิมังสา – การไตร่ตรองพิจารณา
- วิริยะ – ความสนใจในสิ่งที่กระทำ
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ
- “มนุษย์ แปลว่า ผู้มีใจสูง” ใจมนุษย์จะสูงได้เพราะมีสิ่งต่าง ๆ บรรจุอยู่ภายใน ข้อใดไม่ใช่
- ความรู้
- คุณธรรม
- ฐานะดี
- ความสงบสุข
ตอบ 3 หน้า 64 (H) คำว่า “มนุษย์” แปลว่า ผู้มีใจสูง ซึ่งใจมนุษย์จะได้สูง เพราะมีสิ่งเหล่านี้บรรจุอยู่ภายใน ได้แก่ 1. ความรู้ 2. ความสามารถ 3. คุณธรรม 4. อุดมคติ 5. อุดมการณ์ 6. ความสงบสุข
- นวล ผ่องเป็นคนผิวคล้ำ ซ้ำหน้าตาไม่สวย แต่เธอไม่รู้สึกเดือนร้อน พอใจในรูปร่างหน้าตาของตนเองและไม่คิดจะไปทำศัลยกรรมตกแต่งใบหน้า การกระทำของนวลผ่อง ตรงกับมงคลในข้อใดมากที่สุด
- อดทน
- สันโดษ
- มีวินัย
- ว่านอนสอนง่าย
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 12. ประกอบ
- การปฏิบัติในข้อใดที่แสดงว่าผู้ปฏิบัติยึดสิ่งที่เป็นมงคลผิดไปจากที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ในมงคลสูตร
- การไหว้ศาลพระภูมิ
- การทำบุญกระดูกบรรพบุรุษ
- การบวชในช่วงปิดภาคฤดูร้อน
- การอุทิศศพให้โรงพยาบาล
ตอบ 1 หน้า 132 (H), (คำบรรยาย) มงคลสูตร หรือ มงคล 38 ประการ เป็นพระสูตรหรือหลักธรรมของพระพุทธเจ้าที่มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธมงคลภาย นอกที่นับถือเหตุการณ์หรือสิ่งต่างๆ ว่าเป็นมงคลหรือมีมงคล โดยอธิบายว่ามงคลของมนุษย์และเทวดาย่อมเกิดจากการกระทำซึ่งถือเป็นมงคลภายใน คือ ต้องกระทำความดี และความดีนั้นจะเป็นสิ่งที่เรียกว่ามงคลได้โดยไม่ต้องไปอ้อนวอนกราบไหว้ศาล พระภูมิหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการขอมงคลจากนอกตัว
- คำ คมจากเรื่องสามก๊ก “เพราะแสวงหามิใช่เพราะรอคอย เพราะเชี่ยวชาญมิใช่เพราะโอกาส เพราะสามารถมิใช่เพราะโชคช่วย” คำคมนี้เตือนเราในเรื่องใด
- ความมานะอดทน
- อย่าแข่งบุญแข่งวาสนา
- การศึกษาเล่าเรียน
- การรู้จักกาลเทศะ
ตอบ 1 (คำบรรยาย) ปรัชญา คำคมตอนหนึ่งของท่านขงเบ้งในเรื่องสามก๊ก ได้เตือนสติเราให้รู้จักมีความมานะอดทนไว้ว่า “เพราะแสวงหามิใช่เพราะรอคอย เพราะเชี่ยวชาญมิใช่เพราะโอกาสเพราะสามารถมิใช่เพราะโชคช่วย ดังนี้แล้วลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน”
- สำนวนไทยในข้อใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการไม่คบคนพาล
- เอาทองไปรู่กระเบื้อง
- เอาเนื้อไปแลกกับหนัง
- เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ
- เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน
ตอบ 4 (คำบรรยาย) สำนวน ไทยที่ว่า “เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน” หมายถึง แสดงความรู้หรืออวดรู้กับผู้ที่รู้เรื่องดีกว่า (ส่วนสำนวนไทยที่ว่า เอาทองไปรู่กระเบื้อง เอาเนื้อไปแลกกับหนัง และเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ จะเกี่ยวข้องกับการไม่คบคนพาล และมีความหมายไปในทางเดียวกัน คือ โต้ตอบหรือทะเลาะกับคนพาลหรือมีคนที่มีฐานะต่ำกว่า เป็นการไม่สมควร)
- สำนวนไทยในข้อใดเตือนสติเรื่อง ความพอประมาณ
- นกน้อยทำรังแต่พอตัว
- ฝนทั้งให้เป็นเข็ม
- ขี่ช้างจับตั๊กแตน
- เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 22. ประกอบ
- หลักคิดข้อใดที่ตรงข้ามกับหลักคิดของเศรษฐกิจพอเพียง
- ประชานิยม
- บริโภคนิยม
- ทุนนิยม
- สังคมนิยม
ตอบ 2 หน้า 205 (H), (คำบรรยาย) ลัทธิบริโภคนิยม หมายถึง การนิยมบริโภคสิ่งต่าง ๆ ฟุ่มเฟือยเกินความต้องการที่จำเป็นในชีวิต และเกินกว่ามาตรฐานะรายได้ของตนหรือของประเทศ ซึ่งถือเป็นลัทธิที่ตรงข้ามกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการดำเนินชีวิตบนทางสายกลาง คือ พอเหมาะพอดีไม่มากไม่น้อยเกินไป ไม่สุดโต่ง ไม่โลภมาก ไม่ฟุ้งเฟ้อจนเกินฐานะ แต่ให้ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลและคุณธรรม ดังนั้นเศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นหลักคิดที่อยู่ตรงกลางระหว่างความตระหนี่ถี่เหนียว (ไม่ใช่แม้จะเป็นสิ่งจำเป็น) และความสุลุ่ยสุราย (ใช้จนไม่เหลือ ใช้เกินความจำเป็น)
- เศรษฐกิจพอเพียงต่างจากความตระหนี่ในข้อใด
- ใช้จ่ายให้น้อยที่สุด
- หากำไรสูงสุด
- ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลและคุณธรรม
- เก็บออมให้ได้มากที่สุด
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 67. ประกอบ
- “ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ” เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับอาชีพใด
- นักธุรกิจ
- ประชาชนทั่วไป
- ข้าราชการ
- เกษตรกร
ตอบ 4 หน้า 201 (H) ทฤษฎีใหม่ หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ถือเป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เด่นชัดที่สุด ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานพระราชดำรินี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่มักประสบปัญหา ทั้งภัยธรรมชาติและปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการทำการเกษตรให้สามารถผ่าน พ้นช่วงเวลาวิกฤติโดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำได้โดยที่ไม่เดือนร้อนและยากลำบากนัก
- นักปราชญ์กล่าวว่า “เราไม่ต้องกลัวคำวิพากษ์วิจารณ์” เหตุผลในข้อใดที่ไม่สนับสนุนคำกล่าวนี้
- คำวิจารณ์เป็นกระจกวิเศษสำหรับผู้ถูกวิจารณ์
- การรับฟังคำวิจารณ์อย่างมีสติ คือ โอกาสในการพัฒนาตนเอง
- การไม่ถูกวิจารณ์เลย แสดงว่าสิ่งที่เราทำไม่มีคุณค่าพอ
- ผู้วิจารณ์คนอื่นจะถูกกลืนหายไปจากกาลเวลา
ตอบ 4 (คำบรรยาย) นัก ปราชญ์กล่าวว่า “เราไม่ต้องกลัวคำวิพากษ์วิจารณ์” เพราะการไม่ถูกวิจารณ์เลยแสดงว่าสิ่งที่เราทำไปไม่มีคุณค่าพอที่เขาจะ วิจารณ์เรา และคำวิจารณ์ก็ถือเป็นกระจกวิเศษสำหรับผู้ถูกวิจารณ์ให้ได้รับทราบข้อดีและ ข้อด้อยของตน ซึ่งหากเรารับฟังคำวิจารณ์อย่างมีสติก็จะถือเป็นโอกาสที่ดีในการพัฒนาและ ปรับปรุงตนเองให้ดียิ่งขึ้น
- การแก้ปัญหาในข้อใดไม่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา
- จงระงับความโกธรด้วยความเมตตา
- จงระงับความโลภด้วยการให้
- จงระงับความฟุ้งซ่านด้วยสมาธิ
- จงระงับความสุรุ่ยสุร่ายด้วยความตระหนี่
ตอบ 4 (คำบรรยาย) พุทธศาสนาได้ให้แนวทางการแก้ปัญหาชีวิตไว้ดังนี้
- พึงระงับความโลภและความตระหนี่ด้วยการให้ทาน 2. พึงระงับความโกธรด้วยความเมตตา 3. พึงระงับความหลงด้วยวิชชา (ปัญญา) 4. พึงระงับความฟุ้งซ่านด้วยการเจริญสมาธิ 5. พึงระงับความสุรุ่ยสุร่ายฟุ่มเฟือยด้วยความมัธยัสถ์ (จำเป็นใช้ ไม่จำเป็นไม่ใช้) ฯลฯ
- บริษัทยา คิดค้นผลิตวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ได้ แต่จำหน่ายในราคาแพงมาก ๆ จนผู้ป่วยโรคเอดส์ไม่มีโอกาสเข้าถึงยาได้ การกระทำดังกล่าวตรงกับบาป 7 อย่างต่อสังคม ของมหาตมะ คานธี ในข้อใด
- หาความสำราญโดยไม่ยั้งคิด
- ร่ำรวยเป็นอกนิษฐ์โดยไม่ต้องทำงาน
- มีความรู้มหาศาลแต่ความประพฤติไม่ดี
- วิทยาศาสตร์เลิศล้ำแต่ไม่มีธรรมแห่งมนุษย์
ตอบ 4 หน้า 109 – 110 (H), (คำบรรยาย) ท่านมหาตมะ คานธี กล่าวว่าสิ่งต่อไปนี้ธรรมแห่งมนุษย์ซึ่งมีอยู่ 7 ประการ 1. เล่นการเมืองโดยไม่มีอุดมการณ์หรือหลักการ 2. หาความสำราญโดยไม่ยั้งคิด 3. ร่ำรวยเป็นอกนิษฐ์โดยไม่ต้องทำงาน 4. มีความรู้มหาศาลแต่ความประพฤติไม่ดี 5. ค้าขายโดยไม่มีหลักศีลหลักธรรม 6. วิทยาศาสตร์เลิศล้ำแต่ไม่มีธรรมแห่งมนุษย์ 7. บูชาสูงสุดแต่ไม่มีความเสียสละ
- ภูมิปัญญาชาวบ้าน เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด
- การทำมาหากิน
- สืบสานวัฒนธรรม
- ความรู้ความสามารถของบุคคล
- ความอดทนอดกลั้นต่อสู้ชีวิต
ตอบ 1 หน้า 431 ,221 (H), (คำบรรยาย) ภูมิปัญญาชาวบ้าน (Popular Wisdom) หมายถึง ความ รู้ของชาวบ้าน ซึ่งเรียนรู้มาจากบรรพบุรุษที่ได้สร้างสรรค์และถ่ายทอดสืบต่อกันมาซึ่ง ภูมิปัญญาชาวบ้านมักจะเกี่ยวข้องกับเรื่องการทำมาหากิน เช่น การจับปลา การปลูกพืชการเลี้ยงสัตว์ การทอผ้า การทำเครื่องมือการเกษตร ฯลฯ
- แนวคิดพื้นฐานภูมิปัญญาชาวบ้านเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย “ร่างกายมีความสมดุลระหว่างธาตุทั้ง 4” หมายถึงอะไร
- ปัจจัย 4
- แร่ธาตุ 4 ชนิด
- อากาศ อาหาร เครื่องนุ่งห่มปัจจัย 4
- ดิน น้ำ ลม ไฟ
ตอบ 4 (คำบรรยาย) แนว คิดพื้นฐานของภูมิปัญญาชาวบ้านเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย หรือที่เรียกกันว่าการแพทย์แผนโบราณนั้น มีหลักการเรื่องความสมดุลของชีวิตว่า คนมีสุขภาพดีเมื่อร่างกายมีความสมดุลระหว่างาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งเมื่อคนเจ็บไข้ได้ป่วยเนื่องจากธาตุขาดความสมดุลก็จะมีการปรับธาตุโดย ใช้ยาสมุนไพรหรือวิธีการอื่น ๆ เพื่อให้ร่างกายมีความสมดุลขึ้น เช่น คนเป็นไข้ตัวร้อน หมอยาพื้นบ้านจะให้ยาเย็นเพื่อลดไข้ เป็นต้น
- จะมีวิธีการอย่างไรกับความสัมพันธ์เหนือสิ่งธรรมชาติ
- ทำบุญ
- บูชายัญ
- ตั้งจิตอธิษฐาน
- สวดมนต์อ้อนวอน
ตอบ 1 (คำบรรยาย) ภูมิปัญญา ชาวบ้านที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ คือ การที่ชาวบ้านรู้ว่ามนุษย์เป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของจักรวาล ซึ่งเต็มไปด้วยความเร้นลับ มีพลังและอำนาจที่เขาไม่อาจจะหาคำอธิบายได้ และความเร้นลับดังกล่าวยังรวมไปถึงญาติพี่น้องและผู้คนที่ล่วงลับไปแล้ว ดังนั้นชาวบ้านจึงมีวิธีการรักษาความสัมพันธ์กับพวกเขา โดยการทำบุญและรำลึกถึงอย่างสม่ำเสมอทุกวัน หรือในโอกาสสำคัญ
- ภูมิปัญญาของผู้มีความรู้ความสามารถ การถ่ายทอดความรู้ในชนรุ่นหลังมีจุดประสงค์อย่างไร
- เพื่อค้าขาย
- เพื่ออนุชนรุ่นหลัง
- เพื่อประโยชน์ส่วนตน
- เพื่อประโยชน์แก่สังคม
ตอบ 4 หน้า 431 , 211 (H), (คำบรรยาย) ภูมิปัญญาไทย (Wisdom) หมายถึง ความ รู้ ความสามารถและวิธีการที่คนไทยค้นคว้า รวบรวม ปรับปรุง เพื่อถ่ายทอดมาสู่คนอีกรุ่นหนึ่งหรืออนุชนรุ่นหลังโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้ชนรุ่นหลังนำไปใช้เพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมจนเกิดมีคุณค่า
- ปัญหาภูมิปัญญาไทยที่สำคัญที่สุดคือเรื่องใด
- สูญหาย
- ถูกนำไปดัดแปลง
- ถูกนำไปใช้ผิดเป้าหมาย
- ถูกชาวต่างชาตินำไปใช้เป็นของตน
ตอบ 4 (คำบรรยาย) ปัญหาภูมิปัญญาไทยที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีดังนี้
- สูญหายและถูกทำลายเพราะภัยสงครามในอดีต และความขัดแย้งทางการเมือง
- ถูกชาวต่างชาตินำไปใช้เป็นของตนโดยไม่ขออนุญาต ซึ่งนับเป็นปัญหาภูมิปัญญาไทยที่
สำคัญที่สุด 3. ไม่มีข้อตกลงระหว่างประเทศในการวางมาตรการคุ้มครองที่มีประสิทธิภาพ 4. ฐานข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยมีอยู่กระจัดกระจาย 5. ไม่มีหน่วยงานกำกับดูแลโดยตรง
- พระราชดำรัชของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” พอเพียงหมายความว่าอย่างไร
- ไม่ละโมบ โลภมาก
- ความพอประมาณ ความมีเหตุผล
- ไม่ฟุ่มเฟือย ประหยัด
- การดำรงชีวิตอย่างมั่นคง
ตอบ 2 หน้า 197 (H) ความพอเพียง หมาย ถึง ความประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผล กระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า “ความพอเพียงนี้ อาจจะมีของหรูหราก็ได้แต่ว่าต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียงปฏิบัติตนก็พอเพียง”
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่ออะไรเป็นสำคัญที่สุด
- เพื่อให้ปรากฏแก่สายตาชาวโลก
- เป็นพระราชภารกิจเพื่อการเกษตร
- เพื่อแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของราษฎร
- เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่พสกนิกร
ตอบ 4 (คำบรรยาย) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงไว้ซึ่งธรรม หมายความว่า ทรง ปกครองประชาชนโดยปฏิบัติพระองค์ตามหลักธรรมราชาสำหรับกษัตริย์และทรงปฏิบัติ พระราชากรณียกิจเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่พสกนิกรชาวไทย ทำให้ทรงเป็นศูนย์รวมจิตของประชาชนตลอดจนมาถึงปัจจุบัน
- หลักการทำงานร่วมกันที่สำคัญที่สุดคือเรื่องใด
- ต้องช่วยกันทำงาน
- ต้องกล้าเผชิญหน้าร่วมกัน
- ต้องร่วมกันรับผิดชอบ
- ต้องระดมความคิดเห็นด้วยกัน
ตอบ 3 (คำบรรยาย) หลักปฏิบัติในการทำงานร่วมกันเป็นทีมมีดังนี้ 1. ต้องช่วยกันทำงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบของตน 2. มี การแลกเปลี่ยนหรือระดมความคิดเห็นร่วมกันในการทำงาน 3. เมื่อมีปัญหาหรืออุปสรรคในการทำงาน ต้องกล้าเผชิญหน้าเพื่อจัดการปัญหาร่วมกัน 4. ต้องถือกฎกติกาและกรอบในการทำงานเดียวกัน 5. ต้องร่วมกันรับผิดชอบในความสำเร็จและความล้มเหลวของงานเป็นสำคัญที่สุด
- ช่วงเวลาใดที่ถือเป็นเวลาที่สำคัญที่สุด
- อดีต
- ปัจจุบัน
- อนาคต
- ปัจจุบัน อนาคต
ตอบ 2 (คำบรรยาย) พระพุทธเจ้าทรงสอนให้อยู่กับปัจจุบัน ที่นี่และเดี๋ยวนี้ ไม่ ใช่อยู่กับอดีตหรืออนาคต ทั้งนี้ก็เพื่อให้อยู่กับความจริงที่กำลังเกิดขึ้น โดยเน้นให้บุคคลรู้จักฝึกสติให้อยู่กับเนื้อกับตัว อย่าไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ อย่าไปคิดเรื่องอดีตเรื่องอนาคต พยายามให้อยู่กับปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด และให้อยู่กับสิ่งที่เรากำลังกระทำอยู่
- ทุกศาสนาต่างมีคำสั่งสอนที่แตกต่างกันไปในรายละเอียด แต่มีสิ่งที่เหมือนกันคือเรื่องใด
- ละเว้นความชั่ว
- บริจาคทาน
- สอนให้เป็นคนดี
- มีความขยันอดทน
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 11. ประกอบ
- ภูมิปัญญาท้องถิ่น คือสิ่งของใดต่อไปนี้
- งอบ
- เตาถ่าน
- รองเท้า
- เครื่องนุ่งห่ม
ตอบ 1 หน้า 431 , 211 (H), (คำบรรยาย) ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย หมายถึง องค์ความรู้ของกลุ่มบุคคลในท้องถิ่น รวมถึงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีอยู่ ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่มพื้นบ้าน ผลิตภัณฑ์ในการทำมาหากิน เช่น สุ่ม ข้อง ไซ งอบ กะโล่ ฯลฯ
- การสร้าง “ฝาย” เป็นภูมิปัญญาเกี่ยวกับเรื่องใด
- การป้องกันน้ำท่วม
- การคมนาคม
- การเก็บกักน้ำ
- การระบายน้ำ
ตอบ 3 (คำบรรยาย) การสร้างฝ่าย (Check Dam) เป็นภูมิปัญญาของภาคเหนือเพื่อเก็บกักน้ำที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ราบ โดยมีลักษณะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ขวางหรือกั้นทางน้ำ ซึ่งปกติมักจะกั้นลำหัวหรือธารขนาดเล็กในบริเวณที่เป็นน้ำ หรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงให้สามารถกักตะกอนอยู่ได้ และหากเป็นช่วงที่น้ำไหลแรงก็สามารถชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลง และกักเก็บตะกอนเอาไว้ไม่ให้ไปทับถมน้ำตอนล่าง จึงถือเป็นวิธีเป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำได้ดีมากวิธีการหนึ่ง
- บุคคลใดต่อไปนี้คือผู้อนุรักษ์ร้องเพลงพื้นบ้าน (เพลงอีแซว)
- พุ่มพวง ดวงจันทร์
- ขวัญจิต ศรีประจันต์
- สุทธิราช วงษ์เทวัญ
- หวังเต๊ะ
ตอบ 2 (คำบรรยาย) ขวัญจิต ศรีประจันต์ ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน – อีแซว) ถือ เป็นผู้มีบทบาทอย่างมากในการอนุรักษ์เพลงพื้นบ้านภาคกลาง เนื่องจากท่านได้อุทิศชีวิตในการอนุรักษ์ เผยแพร่ และถ่ายทอดเพลงอีแซวให้กับลูกศิษย์และผู้สนใจมาโดยตลอด นอกจากนี้ท่านยังได้ใช้ความรู้ความสามารถช่วยเหลือสถาบันการศึกษาและหน่วย งานราชการในการเป็นวิทยากรสาธิต รวมทั้งรับแขกบ้านแขกเมืองด้วยการแสดงำพื้นบ้านติดต่อกันมาอย่างยาวนาน
- ปฏิจจสมุปบาท ท่านเข้าใจว่าอย่างไร
- การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยซึ่งกันและกัน
- กฎที่ว่าด้วยความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย
- กระบวนการแห่งการเกิดทุกข์
- เหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดทุกข์
ตอบ 1 หน้า 85 (H), (คำบรรยาย) ปฏิจจสมุปทาน เป็น หลักธรรมข้อหนึ่งในพุทธศาสนาที่อธิบายถึงการเกิดขึ้นพร้อมกันแห่งธรรมทั้ง หลายเพราะอาศัยกัน หรือการที่สิ่งทั้งหลายอาศัยซึ่งกันและกันจึงเกิดมีขึ้น โดยพุทธศาสนาสอนว่าทุกชีวิตมีส่วนเป็นเหตุเป็นผลเกิดขึ้นต่อเนื่องกันไม่ขาด สายเมื่อมีสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ก็เป็นเหตุให้อีกสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นสืบต่อกันเป็นลูกโซ่ ไม่รู้จักจบสิ้น
- ข้อใดแสดงว่าเป็นผู้ “เกิดปัญญา”
- รู้เห็นสิ่งทั้งหลายตามที่เป็น
- ทุกอย่างเกิดจากเหตุปัจจัยอาศัยกันและกัน
- เข้าใจชีวิตตามความเป็นจริง
- มีโลกทัศน์และชีวทัศน์ที่ถูกต้อง
ตอบ 1 (คำบรรยาย) ภาวะ ทางปัญญาของผู้บรรลุนิพพานนั้น เมื่อกลายเป็นผู้ที่ “เกิดปัญญา” คือ ผู้ที่รู้เห็นสิ่งทั้งหลายตามที่เป็น เห็นอาการที่มันเกิดจากเหตุปัจจัยอาศัยซึ่งกันและกันจึงมีขึ้นก็จะเข้าใจโลก และชีวิตตามที่เป็นจริง หรือเรียกว่าเกิดมีโลกทัศน์และชีวทัศน์ที่ถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลให้ความยืดถือทิฐิและทฤษฎีทั้งหลายในทางอภิปรัชญา รวม ทั้งความสงสัยในปัญหาต่าง ๆที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ (อัพยากตปัญหา) เช่น โลกเที่ยงหรือไม่เที่ยง เป็นต้น ก็พลอยหายหมดไปด้วยพร้อมกันอย่างเป็นไปเอง
- บุคคลใดมี “สติ” ควบคุมตนได้ เรียกว่าคนประเภทใด
- คนหลุดพ้น
- คนพ้นจากอำนาจครอบงำของกิเลส
- คนผู้ชนะตนเอง
- คนที่ฝึกแล้ว
ตอบ 4 (คำบรรยาย) ผู้มี “สติ” ควบคุมตนได้ เรียกว่าเป็นคนที่ฝึกแล้ว หรือผู้ชนะตนเอง ซึ่งเป็นยอดของผู้ชนะสงคราม มีจิตหนักแน่นมั่นคง ไม่หวั่นไหวโยกคลอนไปตามอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์เปรียบเหมือนภูเขาหินใหญ่ไม่ หวั่นไหวด้วยแรงลม หรือเหมือนผืนแผ่นดินที่รองรับทุกสิ่งไม่ขัดเคืองผูกใจเจ็บต่อใคร ไม่ว่าใครจะทิ้งของดีของเสีย หรือของสะอาดไม่สะอาดลงไป
- การเปรียบเทียบใบบัวที่ไม่เปียกน้ำ และดอกที่เกิดในโคลน แต่สะอาดสวยงามบริสุทธิ์ไม่เปื้อนโคลนท่านเข้าใจอย่างไร
- เปรียบกับคนอื่นที่ไม่ติดความชั่ว
- เปรียบกับความหลุดพ้นเป็นอิสระ
- เปรียบกับการไม่ติดในกาม ไม่ติดบุญบาป ไม่ติดอารมณ์
- เปรียบกับคนที่มีจิตใจสะอาด
ตอบ 2 (คำบรรยาย) ภาวะ ทางจิตของผู้บรรลุนิพานที่สำคัญเป็นพื้นฐาน คือ ความหลุดพ้นเป็นอิสระ หมายถึง ความไม่ติดในสิ่งที่ต่าง ๆ เริ่มต้นตั้งแต่ไม่ติดในกาม ไม่ติดในบาปบุญ ไม่ติดในอารมณ์อันจะเป็นเหตุให้ต้องรำพึงหลังหวังอนาคต ซึ่งความหลุดพ้นเป็นอิสระนี้มักเปรียบเทียบกับใบบัวที่ไม่เปียกน้ำ และดอกบัวที่เกิดในโคลนตม แต่สะอาดสวยงามบริสุทธิ์ไม่เปื้อนโคลน
- คำตรงข้ามของปุถุชนคือข้อใด
- วิญญูชน
- อนารยชน
- อริยชน
- ปัญญาชน
ตอบ 3 (คำบรรยาย) คำว่า “ปุถุชน” หมายถึง คนธรรมดาทั่ว ๆ ไป ที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส ดังที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า “..ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชน หมายถึง ผู้ที่มีจิตเต็มเปี่ยมไปด้วยกิเลสตัณหา อุปาทาน อกุศลธรรม..” ส่วนคำว่า “อริยชน” หมายถึง บุคคลผู้เป็นอริยะ เป็นผู้ที่ได้ความพอใจไม่พอใจ ไม่หลงไปตามอารมณ์ที่เข้ามาตกกระทบสัมผัสได้
- ข้อใดเป็นปัจจัยให้คนประพฤติชั่วมากที่สุด
- ตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
- ความโลภ ความโกธร ความหลง
- อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
- ขาดสติ
ตอบ 3 (คำบรรยาย) ปัจจัยที่ทำให้คนประพฤติชั่วมากที่สุด ได้แก่
- อวิชชา หมายถึง ความไม่รู้ตามความเป็นจริง หรือตามสภาวะที่ทำให้เกิดอัตตาหรือตัวตนขึ้นมาเป็นที่ข้องขัด
- ตัณหา หมายถึง ความ อยากที่จะให้อัตตาหรือตัวตนเกี่ยวข้องกับสภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งโดยอาการที่ สนองความขาดความพร่องของอัตตา หรือหล่อเลี้ยงเสริมขยายอัตตานั้น
- อุปาทาน หมายถึง ความยึดติดกับสิ่งหรือภาวะอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีคามหมายสำคัญต่อการสนองอัตตา ทั้งนี้เพื่อความยิ่งใหญ่เข้มแข็งมั่นคงอัตตาหรือตัวตนนั้น
- ข้อใดไม่ใช่งานหลักของผู้หลุดพ้น (นิพพาน)
- ประพฤติตัวเป็นแบบอย่างในคุณธรรม
- การให้ความรู้ ส่งเสริมสติปัญญา
- การแนะนำสั่งสอนให้ความเข้าใจแก่ผู้อื่น
- ปลีกวิเวกอยู่คนเดียว ละทิ้งทุกอย่าง
ตอบ 4 (คำบรรยาย) ผู้ที่บรรลุนิพพาน (ผู้หลุดพ้น) ถือ เป็นผู้ที่ทำประโยชน์ตนเสร็จสิ้นแล้วก็จะต้องดำเนินชีวิตที่เหลืออยู่เพื่อ ปฏิบัติประโยชน์แก่ผู้อื่น ซึ่งงานหลักของผู้ที่บรรลุนิพพานแล้วได้แก่ การแนะนำสั่งสอน การให้ความรู้ การส่งเสริมสติปัญญาและคุณธรรมต่าง ๆ ตลอดจนการดำเนินชีวิตและการประพฤติตัวเป็นแบบอย่างในทางที่มีความสุข มีคุณธรรม และเป็นชีวิต ที่ดีงาม ซึ่งคนภายหลังจะถือเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตามได้
- โรคของสัตว์แบ่งเป็นกี่ชนิด ประกอบด้วยอะไรบ้าง
- 3 ชนิด คือ โรคทางกาย โรคทางใจ และโรคทางวิญญาณ
- 2 ชนิด คือ โรคทางกาย และโรคทางใจ
- ในปัจจุบันมีโรคมากมายนับไม่ได้
- 2 ชนิด โรคที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม
ตอบ 1 (คำบรรยาย) ท่านพุทธทาสภิกขุได้แบ่งโรคของสัตว์โลกออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่
- โรคทางกาย คือ การเจ็บป่วยทางร่างกาย ก็ไปหาโรงพยาบาลตามธรรมดา
- โรคทางใจ คือ การเจ็บป่วยทางใจ จิตไม่สมประกอบหรือโรคทางจิตก็ไปหาโรงพยาบาลประสาทหรือโรงพยาบาลประสาทหรือโรงพยาบาลโรคจิต
- โรคทางวิญญาณ คือ โรคทางสติปัญญา ก็ต้องไปหาโรงพยาบาลของพระพุทธเจ้าซึ่งจะรักษาด้วย “ธรรม” เพื่อช่วยขจัดโรคทางวิญญาณ
- ข้อใดเป็นส่วนประกอบของขันธ์ห้า
- รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
- รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
- ตา หู จมูก ลิ้น กาย
- สุข ทุกข์ ไม่สุข มาทุกข์
ตอบ 1 หน้า 209 – 210 , (คำบรรยาย) ขันธ์ 5 (เบญจขันธ์ หรือ ขันธ์ปัญญา) หมายถึง ร่างกายของคนเรา ซึ่งแยกร่างกายออกเป็นส่วน ๆ ตามสภาพได้ 5 ส่วน ได้แก่
- รูป ได้แก่ ส่วนที่ผสมกันของธาตุดิน น้ำ ลม และไฟ เช่น ผม หนัง กระดูก โลหิต ฯลฯ
- เวทนา ได้แก่ ความรู้สึกต่อสิ่งที่สัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
- สัญญา ได้แก่ ความจำในสิ่งที่ได้รับและรู้สึก
- สังขาร ได้แก่ ระบบคิดปรุงแต่ง แยกแยะสิ่งที่ได้รับ รู้สึก และจำได้
- วิญญาณ ได้แก่ ระบบการรับรู้สิ่งนั้น ๆ หลังจากแยกแยะแล้ว
- ยาป้องกันไม่ให้เกิดโรค ทางธรรมเรียกว่าอะไร
- ธรรมารมณ์
- เทพโอสถ
- ธรรมโอสถ
- อโรคาโอสถ
ตอบ 3 (คำบรรยาย) ท่าน พุทธทาสภิกขุได้กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นนายแพทย์ผู้เยียวยาโรคทั้งหลายของสัตว์โลกทั้งปวง ได้ทรงประทาน “ธรรมโอสถ” เพื่อความมีจิตปกติ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งจะเป็นยาที่ช่วยรักษา แก้ไข และป้องกันไม่ให้เกิดโรคทั้งปวง เพราะถ้าจิตปกติแล้วโรคทางกาย โรคทางใจ และโรคทางวิญญาณก็จะไม่เกิดขึ้น ที่สูงกว่านั้นก็คือ จะพ้นจากอารมณ์ร้ายที่มาบีบคั้นจิตใจ ปลอดภัยจากความโลภ ความโกธร และความหลง
- พระพุทธศาสนาทรงให้สัมมาทิฐิเป็นข้อแรกในมรรค 8 เพราะเหตุใด
- ความยุ่งยากต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทุกระดับล้วนมีสาเหตุจากการขาดสติสัมมาทิฐิ
- สัตว์ทั้งปวงล่วงพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงด้วยสัมมาทิฐิ
- สัมมาทิฐิเป็นรุ่งอรุณแห่งกุศลกรรมทั้งหลาย
- สัมมาทิฐิเป็นตัวนำให้เกิดธรรมะข้ออื่นอย่างครบถ้วน
ตอบ 4 หน้า 674 , (คำบรรยาย), (ดูคำอธิบายข้อ 40. ประกอบ) สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงจัดให้สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) เป็นธรรมะข้อแรกของมรรค 8 ก็เนื่องมาจากสัมมาทิฐิเป็นตัวนำร่องให้เกิดองค์มรรคอื่น ๆ อย่างครบถ้วน ดังพุทธพจน์ที่ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสวงอรุณขึ้นมาก่อนเป็นบุพนิมิตฉันใด สัมมาทิฐิก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตเพื่อการตรัสรู้ตามที่เป็นจริงซึ่งอริยสัจ 4 ประการฉันนั้น… สัมมาทิฐิเป็นหัวหน้าอย่างไร เมื่อมาสัมมาทิฐิสัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวาจาจึงพอเหมาะสมได้….”
- หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีพื้นฐานมาจากคำตอบในข้อใดต่อไปนี้
- ความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
- การปรับตัวของสังคมไทย
- วิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย
- วิถีชีวิตยุคใหม่ของสังคมไทย
ตอบ 3 หน้า 58 (H), 198 (H) กรอบ แนวคิดจองปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทยซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกในเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยมุ่งเน้นให้รอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
- คุณลักษณะของการมีภูมิคุ้มกัน ตรงกับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
- การคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสภาพการณ์
- การเตรียมตัวให้พร้อมที่จะรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
- การคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
- การตั้งรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
ตอบ 2 หน้า 58 (H), 198 (H), (คำบรรยาย) คุณลักษณะของ “การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตังเอง” ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง การ เตรียมตัวให้พร้อมที่ตะรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้ง ใกล้และไกล เช่น การเตรียมความพร้อมของประเทศไทยสำหรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เป็นต้น
- การเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) นับได้ว่าเป็นการปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงข้อใด
- ความพอประมาณ
- ความมีเหตุผล
- การมีภูมิคุ้มกัน
- การมีส่วนร่วม
ตอบ 3 ดุคำอธิบายข้อ 98. ประกอบ
- ข้อใดต่อไปนี้เป็นเงื่อนไขของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- พอประมาณ
- คุณธรรม
- ภูมิคุ้มกัน
- มีเหตุผล
ตอบ 2 หน้า 58 (H), 199 (H) การตันสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยเงื่อนไขของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐาน ดังนี้ 1. เงื่อนไข ความรู้ ประกอบด้วยความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนการปฏิบัติ 2. เงื่อนไขคุณธรรม ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความอดทนมีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ไม่โลภ ไม่ตระหนี่
- เป้าประสงค์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเหมาะสมกับประชาชนกลุ่มใด
- ระดับผู้บริหาร
- ระดับปฏิบัติการ
- ประชาชนทั่วไป
- ประชาชนทุกระดับ
ตอบ 4 หน้า 200 (H) เป้า ประสงค์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะมุ่งเน้นถึงแนวทางการดำรงอยู่และการปฏิบัติตนที่เหมาะสมกับประชาชนใน ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จงถึงระดับรัฐ ซึ่งจะครอบคลุมทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดย เฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
- ข้อใดกล่าวถึงประโยชน์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงครอบคลุมมากที่สุด
- พึ่งพาตนเองได้
- ความสมดุลด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
- ความมั่นคงปลอดภัย
- การอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข
ตอบ 2 หน้า 200 (H) ประโยชน์ ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ครอบคลุมมากที่สุด คือ ความสมดุลด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
- จุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงตรงกับข้อใดต่อไปนี้
- การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น
- การต่อยอดทางเศรษฐกิจยุคปัจจุบัน
- การแก้ปัญหาหนี้สินของชาติ
- การสร้างเครือข่ายทางเศรษฐกิจ
ตอบ 3 หน้า 195 – 197 (H), 205 (H) , (คำบรรยาย) พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นครั้งแรกในงานพระราช ทานปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 แต่ จุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ที่แท้จริงจะเริ่มขึ้น เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 ทั้งนี้เพื่อให้เป็นแนวทางใหม่ในการแก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและปัญหา หนี้สินของชาติ
- ทฤษฏีอันเกิดจากแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ คือทฤษฏีใดต่อไปนี้
- ทฤษฏีระบบ
- ทฤษฎีใหม่
- ทฤษฎีจูงใจ
- ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 69. ประกอบ
- ความรู้อันเกิดจากการทดลองปฏิบัติ เป็นความรู้ที่มาจากส่วนใดต่อไปนี้
- ตำรา
- ประสบการณ์
- คำบอกเล่า
- การคิดไตร่ตรอง
ตอบ 2 หน้า 185 (H) ความรู้มีบ่อเกิดหรือที่มาดังนี้
- ประสบการณ์ คือ ความรู้อันเกิดจากการทดลองปฏิบัติ หรือความรู้ที่ได้จากการสรุปบทเรียน
- คำบอกเล่า คือ ความรู้อันเกิดจากการแลกเปลี่ยนความรู้
- ตำรา คือ ความรู้อันเกิดจากนักวิชาการในสาขาต่าง ๆ
- การคิดไตรตรองจากที่มาของความรู้ 3 ข้อข้างต้น
- ข้อใดไม่ใช่ที่มาของปัญญาตามหลักปัญญา 3
- การฟัง
- ความรู้ฝังลึก
- ความรู้นามธรรม
- ความรู้รูปธรรม
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 36. ประกอบ
- ความรู้ที่อยู่ในรูปของตำรา เอกสาร คู่มือ จัดเป็นความรู้ประเภทใด
- ความรู้ชัดแจ้ง
- ความรู้ฝังลึก
- ความรู้นามธรรม
- ความรู้รูปธรรม
ตอบ 1 หน้า 186 (H) ความรู้แบ่งได้ 2 ประเภทดังนี้
- ความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) คือ ความรู้ที่ฝังอยู่ในสมองของคน โดยเชื่อมโยงกับประสบการณ์ ความเชื่อ ค่านิยม ซึ่งจะไม่สามารถถ่ายทอดออกมาได้ทั้งหมด
- ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) คือ ความรู้ที่อยู่ในรูปของตำรา เอกสาร วารสาร คู่มือ คำอธิบาย และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น วีซีดี คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และฐานข้อมูล
- ลักษณะของความรู้สำคัญ ตรงกับข้อใดต่อไปนี้
- ความรู้ทั่วไป
- ความรู้เฉพาะทาง
- ความรู้ที่เป็นสัจจะ
- ความรู้ใหม่ๆ
ตอบ 3 หน้า 65 (H), 186 (H) ลักษณะของความรู้ที่สำคัญ คือ ความรู้ที่เป็นสัจจะ หมายถึง รู้ในสิ่งที่ควรรู้ โดยมนุษย์จะแสวงหาสัจจะจาก 2 ส่วน ได้แก่
- ความรู้ที่เป็นสัจจะโลก คือ การหาความรู้ตามศาสตร์สาขาวิชาต่าง ๆ หรือตามสรรพวิชาต่าง ๆ
- ความ รู้ที่เป็นสัจจะธรรม คือ การหาความรู้ตามหลักความเชื่อของแต่ละลัทธิศาสนาซึ่งมีเป้าหมายสูงสุดในการ แสวงหาความรู้เพื่อทำให้เกิดความสงสุข
- เป้าหมายสูงสุดในการแสวงหาความรู้ตามหลักความเชื่อ ตรงกับข้อใดต่อไปนี้
- ทำให้เข้าใจตนเอง
- ทำให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
- ทำให้เกิดความสงสุข
- ทำให้เกิดการยอมรับทางสังคม
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 108. ประกอบ
- ความรู้ที่มีลักษณะเป็นสัจจะ ตรงกับข้อใดต่อไปนี้
- รู้ในเรื่องทั่ว ๆ ไป
- รู้ในสิ่งที่ควรรู้
- รู้ในทุก ๆ เรื่อง
- รู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 108. ประกอบ
- ความรู้ที่เป็นสัจจะธรรม คือความรู้ในลักษณะใด
- ความรู้ตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติ
- ความรู้ตามศาสตร์ต่าง ๆ
- ความรู้ตามหลักความเชื่อ
- ความรู้ตามแนวคิดทฤษฎี
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 108. ประกอบ
- ความรู้ที่เป็นสัจจะโลก คือความรู้ในลักษณะใด
- ความรู้ตามหลักความเชื่อ
- ความรู้ตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติ
- ความรู้ตามศาสตร์สาขาวิชาต่าง ๆ
- ความรู้ตามสมัยนิยม
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 108. ประกอบ
- ข้อใดไม่ใช่แนวคิดด้านคุณธรรมทางการเมืองของโสเครติส
- เป้าหมายแห่งชาติ
- ความรอบคอบ
- ความรู้เกี่ยวกับความดี
- ปราชญ์เป็นผู้มีความรู้จึงเป็นผู้มีคุณธรรม
ตอบ 2 หน้า 189 (H), (คำบรรยาย) แนวคิดที่สำคัญเกี่ยวกับคุณธรรมทางการเมืองของโสเครติส (Socrates) มีดังนี้
- เป้าหมายแห่งชีวิตมนุษย์ คือ การได้อยู่ในสังคมที่ดีงามเหมาะสม และได้รับความยุติธรรม ซึ่งถือเป็นเป้าหมายสูงสุดของการได้เกิดมาเป็นมนุษย์
- ความรู้เกี่ยวกับความดีที่สังคมพึงกระทำให้กันหรือแสดงออกต่อกัน
- ปราชญ์เป็นผู้ที่มีความรู้จึงเป็นผู้มีคุณธรรม
- “อำนาจและความยุติธรรม” เป็นแนวคิดคุณธรรมทางการเมืองของใคร
- อริสโตเติล (Aristotle)
- เพลโต (Plato)
- โสเครติส (Socrates)
- โคลเบิร์ก (Kohlberk)
ตอบ 2 หน้า 189 (H) แนวคิดด้านคุณธรรมทางการเมืองของเพลโต (Plato) ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ อุตมรัฐ (The Republic) ซึ่งประกอบด้วยแนวความคิดที่สำคัญดังนี้ 1. อำนาจและความยุติธรรม 2. การปกครองเป็นศิลปะ 3. ราชาปราชญ์ควรเป็นผู้ทรงคุณธรรม คือ เป็นผู้เสียสละ และเป็นผู้ที่ไม่ควรมีทรัพย์สินและครอบครัว 6. ผู้ปกครองเป็นปราชญ์ที่ทรงคุณธรรมจึงปกครองด้วยปัญญา
- “การกระทำความดีและยกย่องคนดี” เป็นแนวคิดด้านคุณธรรมทางการเมืองของใคร
- โสเครติส (Socrates)
- เพลโต (Plato)
- อริสโตเติล (Aristotle)
- ออกัสก๊อง (Orguskong)
ตอบ 1 หน้า 189 (H) แนวคิดคุณธรรมทางการเมืองของโสเครติส (Socrates) มีดังนี้
- ปัญญา (Wisdom) 2. ความกล้าหาญ (Courage) 3. การควบคุมตนเอง (Temperance) 4. ความยุติธรรม (Justice) 5. การกระทำความดีและยกย่องคนดี (Piety)
- ข้อใดกล่าวถึงความหมายของเศรษฐกิจได้ครอบคลุมมากที่สุด
- ระบบการผลิตที่ครบวงจร
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า
- งานอันเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่าย การบริโภค
- การลงทุนที่ต้องการผลกำไร
ตอบ 3 หน้า 388 , 191 (H) ราชบัณฑิตสถานได้ให้ความหมายของ “เศรษฐกิจ” ที่ครอบคลุมมากที่สุด คือ งานอันเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ในชุมชนและในสังคมทั่วไป
- ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจ
- ความมีวินัย
- ความซื่อสัตย์
- ความเกรงใจ
- ความมีน้ำใจ
ตอบ 3 หน้า 191 – 192 (H) หลักคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจ มีอยู่ 8 ประการ ได้แก่
- ความขยัน 2. ความประหยัด 3. ความซื่อสัตย์ 4. ความมีวินัย
- ความสุภาพ 6. ความสะอาด 7. ความสามัคคี 8. ความมีน้ำใจ
- คำตอบในข้อใดคือหลักธรรมที่ทำให้โลกดำรงอยู่ได้
- อิทธิบาท
- พรหมวิหาร
- โลกบาลธรรม
- สังคหวัตถุ
ตอบ 3 หน้า 193 (H), 238 (H) โลกบาล ธรรม คือ ธรรมะสำหรับคุ้มครองโลก ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ทำให้โลกดำรงอยู่ได้ เพราะจะเป็นแนวทางปฏิบัติที่ช่วยควบคุมจิตใจของมนุษย์ให้อยู่ในความดี ทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและมีระเบียบไม่สับสน มีอยู่ 2 ประการ ได้แก่ 1. หิริ หมายถึง ความละอายแก่ใจต่อการที่จะทำความชั่วหรือบาปทุกชนิด เมื่อคิดจะทำชั่วแล้วไม่กล้าทำ 2. โอตตัปปะ หมายถึง ความเกรงกลัวต่อบาป เกรงกลัวต่อผลจากการทำชั่วกลัวว่าความชั่วจะทำให้เกิดผลร้ายต่อตนเองและผู้อื่น
- เพราะเหตุใดจึงจัดความละอายแก่ใจและความเกรงกลัว เป็นคุณธรรมที่คุ้มครองโลก
- กุศโลบายให้เกิดความกลัว
- สร้างจิตสำนึกที่ถูกต้อง
- แนวทางให้คนปฏิบัติ
- ปรับวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 118. ประกอบ
- คุณธรรมในข้อใดที่ทำให้ผู้ปฏิบัติมีความงดงาม
- การให้
- การวางตัวเสมอต้นเสมอปลาย
- การบำเพ็ญตนเป็นประโยชน์
- ความอดทน
ตอบ 4 หน้า 193 (H) คุณธรรมที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติมีความงดงาม หรืออันทำให้งาม มีอยู่ 2 ประการได้แก่ 1. ขันติ คือ ความอดทน ซึ่งมีหลายอย่าง เช่น อดทนต่อราคะ (ความกำหนัดยินดี) อดทนต่อโทสะ (การประทุษร้ายผู้อื่น) อดทนต่อโมหะ (ความโง่เขลาเบาปัญญาที่เกิดขึ้น) อดทนต่อการล่วงเกินหรือคำด่าของผู้อื่น อดทนต่อความยากลำบาก ฯลฯ (ดูคำอธิบายข้อ 15. ประกอบ) 2. โสรัจจะ คือ ความเสงี่ยมทางกาย วาจา และใจ ซึ่งบางครั้งจะใช้คำว่า “อวิโรธนัง” (ความไม่มีอะไรพิรุธ) นอกจากนี้ความโกธรหรือใจเย็นก็ทำให้งดงามได้เหมือนกัน