การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2552

ข้อสอบกระบวนวิชา SOC1003 สังคมวิทยาและมนุษยวิทยาเบื้องต้น

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1 เพราะเหตุใด ผู้ที่เรียนแพทย์แผนไทยของมหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงต้องเรียน วิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเบื้องต้น (SO 103)

1 เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

2 เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับคนและสังคม

3 เพื่อเป็นไปตามแผนการศึกษาทั่วไป

4 เพื่อสร้างดุลยภาพแก่สังคม

5 ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 ถูกทั้งหมด

เหตุผลสำคัญที่กำหนดให้กระบวนวิชา “สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเบื้องต้น” หรือ SO 103 เป็นวิชาบังคับพื้นฐานของนักศึกษาคณะต่างๆในมหาวิทยาลัยรามคำแหง ก็คือ เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ซึ่งเป็นไปตามแผนการศึกษาทั่วไป และเพื่อสร้างดุลภาพให้แก่สังคมในการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาสามารถทำงานที่เกี่ยวข้องกับคนและสังคมได้เมื่อสำเร็จการศึกษาออกไป

2 ออกัส ค้องท์ (Auguste Comte) และเฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ (Herbert Spencer) เป็นผู้บุกเบิกในการแสวงหาความรู้และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมนุษย์และสังคมอย่างเป็นระบบจนทำให้ความรู้ด้านนี้ เรียกว่าอะไร

1 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2 วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ 3 วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์

4 วิทยาศาสตร์ทางสังคม 5 วิทยาศาสตร์เฉพาะ

ตอบ 4 วิทยาศาสตร์ทางสังคม

ออกัส ค้องท์ (Auguste Comte) และเฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ (Herbert Spencer) เป็นนักคิดนักวิชาการกลุ่มแรกที่ได้พยายามทำให้ความรู้เกี่ยวกับคนและสังคมให้กลายเป็น “วิทยาศาสตร์ทางสังคม” ขึ้นมา โดยพยายามใช้วิธีการศึกษาทุกขั้นตอนเหมือนกับการทดลองวิทยาศาสตร์ธรรมชาติในการแสวงหาความรู้และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมนุษย์และสังคมมนุษย์อย่างเป็นระบบ

3 นักปราชญ์ท่านใดกล่าวว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม

1 เพลโต (Plato) 2 อริสโตเติล (Aristotle) 3 ดาร์วิน (Darwin)

4 ค้องท์ (Comte) 5 เดอร์ไคม์ (Durkheim)

ตอบ 2 อริสโตเติล (Aristotle)

อริสโตเติล (Aristotle) นักปรัชญาชาวกรีก ได้กล่าวว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” (Social Animal) ซึ่งหมายความว่า มนุษย์จะมีชีวิตอยู่รวมกันเป็นหมู่เหล่า มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันในหมู่สมาชิก มีความจำเป็นต้องติดต่อและเกี่ยวข้องกับผู้อื่นอยู่เสมอ

4 เอ็ดมันด์ ลีช (Edmund Leach) นำเสนอแนวคิดใดที่ได้จากการศึกษาสังคมชาวกะฉิ่นในประเทศพม่า

1 สังคมไม่จำเป็นต้องมีดุลยภาพเสมอไป 2 สังคมจะต้องมีความสมดุล

3 การขัดแย้งจะเกิดขึ้นพร้อมกับการประนีประนอม 4 สังคมอยู่รอดเพราะการประนีประนอม

5 การขัดแย้งก่อให้เกิดความสมดุล

ตอบ 1 สังคมไม่จำเป็นต้องมีดุลยภาพเสมอไป

เอ็ดมันด์ ลีช (Edmund Leach) กล่าวว่า สังคมไม่จำเป็นต้องมีดุลยภาพเสมอไป ทั้งนี้เพราะสังคมอาจเกิดความไม่สงบและเปลี่ยนจากรูปแบบหนึ่งไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่งแล้วอาจเปลี่ยนกลับคืนมาเป็นลักษณะเดิมอีก เช่น สังคมชาวกะฉิ่นในประเทศพม่า ซึ่งเขาได้ใช้เวลาในการศึกษาอยู่ที่นั่นเป็นเวลานานหลายปี

5 แนวคิดของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) เกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในโลก มีอิทธิพลต่อนักวิชาการทางสังคมวิทยาท่านใด

1 เพลโต (Plato) 2 ค้องท์ (Comte) 3 สเปนเซอร์ (Spencer)

4 มาร์กซ์ (Marx) 5 ข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 ข้อ 2 และ 3

ค้องท์ (Comte) และสเปนเซอร์ (Spencer) เป็นนักสังคมวิทยารุ่นแรกที่สนใจศึกษาถึงการกำเนิดของสังคม วิวัฒนาการของสังคม และความน่าจะเป็นของสังคมในอนาคต ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับอิทธิพลมาจากแนวการศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในโลกของชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) นักชีววิทยาชาวอังกฤษ

6 ข้อใดที่ไม่ใช่ลักษณะของ “ศาสตร์ทางสังคม”

1 มีการสังเกต ตรวจสอบ ทดลอง

2 อธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างเป็นระบบและมีหลักเกณฑ์

3 ใช้สามัญสำนึก

4 มีหลักการสามารถอธิบายบนพื้นฐานของทฤษฎี

5 มีความรู้สนับสนุน

ตอบ 3 ใช้สามัญสำนึก

ลักษณะของ “ศาสตร์ทางสังคม” มีดังนี้

1 มีการสังเกต ยืนยันข้อเท็จจริง อธิบาย ตรวจสอบ ทดลอง และอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างเป็นระบบและมีหลักเกณฑ์

2 มีหลักการ มีวิทยาการ โดยอาศัยพื้นฐานของทฤษฎีที่มีระบบระเบียบ

3 ต้องมาจากการศึกษาและค้นคว้า

4 มีความรู้สนับสนุน

7 ข้อใดเป็นวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์

1 ฟิสิกส์ 2 รัฐศาสตร์ 3 สังคมวิทยา 4 เคมี 5 ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 ถูกทั้งหมด วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ ได้แก่ ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ เคมี รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา ฯลฯ (ส่วนวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ได้แก่ วิศวกรรมศาสตร์ การบัญชี เภสัชกรรม การแพทย์ การเมือง กฎหมาย บริหารธุรกิจ การสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ)

8 คำว่า Socius ในภาษาละตินหมายถึง

1 สังคม 2 เพื่อน 3 วัฒนธรรม 4 ถ้อยคำ 5 ชาติพันธุ์

ตอบ 2 เพื่อน

คำว่า Sociology (สังคมวิทยา) มาจากศัพท์ 2 คำ คือ คำว่า Socius ซึ่งเป็นภาษาละตินมีความหมายว่า “เพื่อน”” (Companion) และคำว่า Logos ซึ่งเป็นภาษากรีก มีความหมายว่า “ถ้อยคำ” (Word) เมื่อรวมคำทั้ง 2 นี้เข้าด้วยกันก็จะแปลว่า การพูดคุยเกี่ยวกับสังคม

9 เพลโตเขียนหนังสือชื่ออะไรที่บรรยายสภาพสังคมที่เลอเลิศที่สุด

1 อุตมรัฐ 2 กลไกของสังคม 3 ประชาธิปไตยของปวงชน

4 รัฏฐาธิปัตย์ 5 เสนาสมาคม

ตอบ 1 อุตมรัฐ

ผลงานของเพลโต (Plato) ในหนังสือชื่อ The Republic (อุตมรัฐ) ได้บรรยายถึงสภาพสังคมที่เลอเลิศที่สุด เป็นสังคมที่มีแต่ความผาสุก เพราะผู้ปกครองเป็นราชาปราชญ์ (Philosopher King) คือ เป็นทั้งราชาที่มีอำนาจและเป็นปราชญ์ (ทรงไว้ซึ่งความรู้)

10 นักสังคมวิทยาชื่อ แม็กซ์ เวเบอร์ เป็นคนชนชาติใด

1 ฝรั่งเศส 2 อังกฤษ 3 เยอรมัน 4 สหรัฐอเมริกา 5 สเปน

ตอบ 3 เยอรมัน

แม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เป็นนักสังคมวิทยาชาวเยอรมันที่สนับสนุนการใช้วิธีการศึกษาที่เรียกเป็นภาษาเยอรมันว่า “แวร์สเตเฮ็น” (Verstehen) แปลว่า Understanding (ความเข้าใจ) ซึ่งเป็นวิธีการที่เน้นความเข้าใจรวมๆกันมากกว่าในรายละเอียดของปรากฏการณ์ทางสังคม

11 สังคมวิทยาแนวใหม่ เน้นศึกษาเรื่องอะไร

1 ปัญหาสังคม

2 การจัดระเบียบทางสังคม

3 การแก้ไขปัญหา มุ่งให้สังคมดีขึ้น

4 ข้อ 1 และ 3

5 ผิดทั้งหมด

ตอบ 5 ผิดทั้งหมด

สังคมวิทยาแนวใหม่เน้นศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลง โดยศาสตราจารย์ซีไรท์ มิลส์ (C. Wright Mills) ได้ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงแทนที่จะย้ำเรื่องการอยู่คงที่หรือการมีเสถียรภาพในสังคม

12 หลักตรรกศาสตร์ในทางสังคมศาสตร์ได้แก่วิธีการแบบใดที่นำมาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม

1 นิรนัย 2 อุปนัย 3 ตรรกนัย 4 ข้อ 1 และ 2 5 ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 ข้อ 1 และ 2

ในทางสังคมศาสตร์ได้นำเอาหลักตรรกวิทยา (ตรรกศาสตร์) มาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม ดังนี้

1 วิธีนิรนัย (Deductive Method) เป็นการอธิบายส่วนใหญ่มาหาส่วนน้อย

2 วิธีอุปนัย (Inductive Method) เป็นการอธิบายในเชิงเป็นไปได้ เมื่อรู้ว่าส่วนน้อยเป็นอย่างไรก็นำไปอธิบายส่วนใหญ่

13 ข้อใดคือความหมายของวัฒนธรรมตามรากศัพท์เดิม

1 ดนตรีของบีโธเฟน 2 การสมรส 3 การเข้าแถวเคารพธงชาติ

4 วรรณกรรมล้อการเมือง 5 การแห่นางแมว

ตอบ 1 ดนตรีของบีโธเฟน

ตัวอย่างของวัฒนธรรมตามรากศัพท์เดิม ได้แก่

1 ภาพวาดของจิตรกรที่มีชื่อเสียง เช่น แองเจโล โกแก็ง ปิกัสโซ ฯลฯ รวมถึงภาพวาดหรือจิตรกรรมฝาผนังตามระเบียงในโบสถ์วิหารของวัดวาอารามต่างๆ

2 ดนตรีของคีตกวีเอก เช่น บีโธเฟน โมสาร์ต และดรตรีไทยของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ฯลฯ

3 วรรณคดีอมตะ เช่น บทละครของเชกส์เปียร์ วรรณกรรมของสุนทรภู่ ฯลฯ

14 วัฒนธรรมตามนัยแห่งสังคมศาสตร์ครอบคลุมถึงพฤติกรรมใด

1 พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ 2 ขนบธรรมเนียมประเพณี 3 สถาบันทางสังคม

4 ข้อ 1 และ 2 5 ข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 ข้อ 1, 2 และ 3

วัฒนธรรมตามนัยแห่งสังคมศาสตร์ครอบคลุมถึงพฤติกรรมหรือทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งมีลักษณะดังนี้

1 พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ ด้วยการสื่อสารต่อกัน

2 ขนบธรรมเนียมประเพณีหรือจารีตที่มีการประพฤติปฏิบัติต่อกันมา

3 สถาบันทางสังคมต่างๆ เช่น สถาบันศาสนา การศึกษา การเมือง ฯลฯ

15 ข้อใดไม่จัดว่าคือวัฒนธรรม

1 สัญชาตญาณ 2 เครื่องคอมพิวเตอร์ 3 ความศรัทธา

4 ของเล่นเด็ก 5 แฟชั่น

ตอบ 1 สัญชาตญาณ

ตัวอย่างวัฒนธรรมของมนุษย์ ได้แก่

1 วัฒนธรรมทางวัตถุ เช่น กระดานชนวน สมุด สายไฟฟ้า เครื่องวิทยุ เครื่องคอมพิวเตอร์ ของเล่นเด็ก แฟชั่น ฯลฯ

2 วัฒนธรรมทางอวัตถุ เช่น ศาสนา ศีลธรรม ศรัทธา ความเป็นผู้นำ ฯลฯ (ส่วนสัตว์ที่ต่ำกว่ามนุษย์นั้นจะไม่มีหรือไม่สามารถมีวัฒนธรรมได้ เนื่องจากสัตว์ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยสัญชาตญาณ)

16 ข้อใดไม่ใช่วัฒนธรรมสากล

1 ภาษาเขียน 2 ภาษาพูด 3 ครอบครัว 4 ระบบเศรษฐกิจ 5 ศาสนา

ตอบ 1 ภาษาเขียน

สภาวะแห่งการเป็นวัฒนธรรมสากลหรือความเหมือนกันของวัฒนธรรมต่างๆที่มีในทุกสังคม ได้แก่ 1 ภาษาพูด 2 ระบบการสมรส ระบบครอบครัว และระบบเครือญาติ 3 การแบ่งมนุษย์ตามอายุและเพศ 4 การปกครองหรือมีรัฐบาล 5 ศาสนา 6 ระบบความรู้ 7 ระบบเศรษฐกิจ 8 กิจกรรมเกี่ยวกับการนันทนาการ 9 ศิลปะ

17 ข้อใดคือลักษณะของ “กระสวน” (Pattern)

1 การแปรงฟัน 2 การทักทายกัน 3 การขับรถตามช่องทางจราจร

4 การยื่นแบบเสียภาษีอากร 5 ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 ถูกทั้งหมด

กระสวน (Pattern) หมายถึง รูปแบบอันเกิดขึ้นจากการกระทำซ้ำๆกัน เช่น การทักทายกัน การแปรงฟัน การเขียนหนังสือ การเข้าแถว การขับรถตามช่องทางจราจร การยื่นแบบเสียภาษีอากร การเข้านั่งสอบตามระเบียบของสถาบัน ฯลฯ

18 ลักษณะของกลุ่มชนบางกลุ่มที่ “ต่อต้าน” วัฒนธรรมส่วนใหญ่ของสังคม อาจเรียกในทางสังคมวิทยาว่าอะไร

1 อนุวัฒนธรรม 2 สัมพันธภาพทางวัฒนธรรม 3 ความล้าทางวัฒนธรรม

4 ปฏิวัฒนธรรม 5 ทวิมาตรฐาน

ตอบ 4 ปฏิวัฒนธรรม

ปฏิวัฒนธรรม (Counterculture) หมายถึง ลักษณะของกลุ่มชนบางกลุ่มที่ “ต่อต้าน” วัฒนธรรมส่วนใหญ่ของสังคม เช่น การอยู่ร่วมกันของหนุ่มสาวโดยมิได้สมรส กลุ่มเด็กวัยรุ่นสร้างวัฒนธรรมในระบบความสัมพันธ์ในกลุ่มตน (แก๊งเด็กแว้น หรือพฤติกรรมฮิปปี้ในยุค 1960) ฯลฯ

19 ผู้ใดบัญญัติศัพท์คำว่า “วัฒนธรรม”

1 พระมหาพูล 2 กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 3 จอมพล ป. พิบูลสงคราม

4 ม.ล.ปิ่น มาลากุล 5 กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

ตอบ 5 กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

ในปี พ.ศ. 2475 พระวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ขณะทรงพระยศเป็นพระองค์เจ้าวรรณไวทยากรทรงเป็นผู้บัญญัติศัพท์คำว่า “วัฒนธรรม”

20 ข้อใดไม่ใช่กลุ่มทุติยภูมิ

1 เพื่อนเล่น เพื่อนบ้าน 2 กลุ่มชาติพันธุ์ 3 กลุ่มชนชั้น

4 สมาคม 5 องค์การ

ตอบ 1 เพื่อนเล่น เพื่อนบ้าน

กลุ่มทุติยภูมิ (Secondary Group) เป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ มีการติดต่อทางสังคมที่ห่างเหินและระยะสั่น การติดต่อสัมพันธ์เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่สังคมกำหนดหรือตามหน้าที่ การติดต่อมุ่งให้ได้ประโยชน์มากกว่าความรู้สึกส่วนตัว โดยกลุ่มทุติยภูมิแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ 1 กลุ่มสมาคมหรือองค์กร 2 กลุ่มชาติพันธุ์ 3 กลุ่มชนชั้น (ส่วนกลุ่มปฐมภูมินั้นเป็นกลุ่มที่มีขนาดเล็ก มีการติดต่อใกล้ชิดสนิทสนม กระทำกิจกรรมต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน และมักจะใช้ความรู้สึก อารมณ์ มากกว่าเหตุผล ตัวอย่างของกลุ่ม เช่น เพื่อนเล่น เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมก๊วน ฯลฯ)

21 ข้องใดคือความหมายของกลุ่มสังคม

1 กลุ่มคนจำนวนหนึ่ง

2 มีการกระทำตอบโต้ซึ่งกันและกัน

3 มีความรู้สึกเป็นพวกพ้องเดียวกัน

4 ข้อ 1 และ 3

5 ข้อ 1 , 2 และ 3

ตอบ 5 ข้อ 1 , 2 และ 3

กลุ่มสังคม หมายถึง กลุ่มคนจำนวนหนึ่งมาอยู่รวมกัน มีความรู้สึกสำนึกเป็นพวกเดียวกัน มีแบบแผนบางอย่างร่วมกัน มีการกระทำโต้ตอบซึ่งกันและกัน มีการติดต่อสัมพันธ์กันตามสถานภาพและบทบาท และมีความเชื่อในด้านคุณค่าร่วมกันหรือคล้ายคลึงกัน เช่น ครอบครัว กลุ่มเพื่อน กลุ่มอาชีพ กลุ่มเชื้อชาติ ฯลฯ

22 “นายเอกตัดผมทรงดาราเกาหลีตามแบบนายต้น ซึ่งเป็นเพื่อนซี้ร่วมก๊วนเดียวกัน นายต้นเลียนแบบทรงผมนี้จากละครซีรีย์เกาหลีในทีวี” ข้อความดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของกลุ่มสังคมชนิดใด

1 กลุ่มปฐมภูมิ 2 กลุ่ม ทุติยภูมิ 3 กลุ่มอ้างอิง 4 ข้อ 1 และ 3 5 ข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 ข้อ 1 และ 3

กลุ่มอ้างอิง (Reference Group) หมายถึง กลุ่มคนที่เป็นแบบแผนของพฤติกรรม ซึ่งอาจเป็นอะไรหรือใครก็ได้ที่เป็นแบบอย่างหรือแนวทางที่คนยึดถือเป็นหลักในการตัดสินใจหรือเป็นแนวทางในการแสดงออกของพฤติกรรม เช่น ดารา นักร้อง นักแสดง ภาพยนตร์ ลัทธิความเชื่อ คำสอน สุภาษิต คติพจน์ วีรบุรุษ สิ่งของ หรือแม้กระทั่งบุคคลที่เก่งกล้า แต่มีพฤติกรรมที่ละเมิดบรรทัดฐานของสังคม เช่น หัวหน้าโจร หัวหน้าแก๊งวัยรุ่น ฯลฯ (ดูคำอธิบายข้อ 20 ประกอบ)

23 ข้อใดไม่สอดคล้องกับ Gemeinschaft

1 ยึดมั่นในประเพณี 2 ไม่เป็นทางการ 3 ใกล้ชิดสนิทสนม

4 การตัดสินใจใช้ความรู้สึกและอารมณ์ 5 ขึ้นกับการต่อรองผลประโยชน์

ตอบ 5 ขึ้นกับการต่อรองผลประโยชน์

Gemeinschaft (เกไมน์ชาฟท์) มีลักษณะความสัมพันธ์ที่สำคัญ ดังนี้ 1 ใกล้ชิดตัวต่อตัว 2 การติดต่อเป็นแบบไม่เป็นทางการ 3 ยึดมั่นในประเพณี 4 การตัดสินใจใช้ความรู้สึกและอารมณ์ 5 สัมพันธ์สนิทสนมในทุกเรื่อง (ส่วน Gesellschaft เกเซลล์ซาฟท์) มีลักษณะความสัมพันธ์ที่สำคัญ ดังนี้ 1 ห่างเหินไม่สนิทสนม 2 การติดต่อเป็นแบบทางการ 3 ขึ้นอยู่กับการต่อรองผลประโยชน์ 4 ใช้เหตุผลเป็นหลัก 5 สัมพันธ์เฉพาะเรื่อง เฉพาะหน้าที่

24 การแบ่งขั้วทางการเมือง การเป็นศัตรู และใช้ความรุนแรงกับฝ่ายตรงข้าม ลักษณะทั้งสามแบบนี้อธิบายด้วยแนวความคิดใด

1 กลุ่มชนชั้น 2 กลุ่มเราและกลุ่มเขา 3 Gesellschaft

4 ระยะห่างทางสังคม 5 กลุ่มทุติยภูมิ

ตอบ 2 กลุ่มเราและกลุ่มเขา

กลุ่มเรา คือ กลุ่มที่เรามีความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกับเรา มีลักษณะสำคัญคือ มีความรู้สึกผูกพันและยึดเหนี่ยวระหว่างสมาชิก มีความซื่อสัตย์และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความรู้สึกเป็นมิตร ส่วนกลุ่มเขา คือ กลุ่มที่ไม่ใช่พวกเรา มีลักษณะสำคัญคือ มีความรู้สึกห่างเหิน หลีกเลี่ยง มีความรู้สึกมุ่งร้าย ไม่ร่วมมือ มีความรู้สึกเป็นศัตรู

25 ระบบครอบครัวที่ชายหญิงมีคู่สมรสมากกว่า 1 คน คือข้อใด

1 ครอบครัวซ้อน 2 ชายมีภรรยาหลายคน 3 หญิงมีสามีหลายคน

4 ครอบครัวที่เกิดจากการสมรสหมู่ 5 ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 ครอบครัวซ้อน

ครอบครัวประกอบร่วมหรือครอบครัวซ้อน เป็นระบบครอบครัวที่ชายหญิงสามารถมีคู่สมรสได้มากกว่า 1 คน ที่เรียกว่าหลายผัวหลายเมียหรือพหุคู่ครอง (Polygamy) ซึ่งแยกออกเป็น 1 ชายมีภรรยาหลายคน (พหุภรรยา) ซึ่งมีในสังคมชาวมุสลิม 2 หญิงมีสามีหลายคน (พหุสามี) ซึ่งยังปรากฏอยู่ในชาวทิเบตบางกลุ่ม 3 ครอบครัวที่เกิดจากการสมรสหมู่ ซึ่งปัจจุบันได้สูญหายไปจากโลกนี้แล้ว ยังคงเหลือแต่เพียงหลักฐานว่าเคยมีอยู่เท่านั้น 4 ครอบครัวภาระหรือครอบครัวภาวะจำยอม

26 ครอบครัวที่เราถือกำเนิดมาจัดว่าเป็นครอบครัวประเภทใด

1 ครอบครัวเล็ก 2 ครอบครัวสร้างสมาชิกใหม่ 3 ครอบครัวปฐมนิเทศ

4 ครอบครัวขยาย 5 ถูกทั้งหมด

ตอบ 3 ครอบครัวปฐมนิเทศ

ประเภทครอบครัวจัดตามลักษณะและหน้าที่ มี 2 ประการ ดังนี้

1 ครอบครัวปฐมนิเทศ (Family of Orientation) เป็นครอบครัวอาศัยเกิด (ถือกำเนิด) คือ ครอบครัวของบิดามารดาของเรานั่นเอง

2 ครอบครัวสร้างสมาชิกใหม่ (Family of Procreation) คือครอบครัวที่เกิดจากตัวของเราเอง โดยการสมรส และการมีบุตรสืบสกุล

27 ครอบครัวประเภทใดที่สูญหายไปแล้ว เหลือเพียงหลักฐานว่าเคยมีอยู่เท่านั้น

1 ครอบครัวสมรสหมู่ 2 ครอบครัวปฐมนิเทศ 3 ครอบครัวภาวะจำยอม

4 ครอบครัวหลายสามี 5 ครอบครัวประกอบร่วม

ตอบ 1 ครอบครัวสมรสหมู่ ดูคำอธิบายข้อ 25 ประกอบ

28 ข้อใดคือลักษณะที่สำคัญของครอบครัวขยาย

1 ปรากฏทั่วไปเป็นสากล 2 อำนาจภายในครอบครัวขึ้นอยู่กับระบบอาวุโส

3 ประกอบด้วยสมาชิกเพียง 2 ช่วงวัย 4 เป็นครอบครัวที่มีสามีหลายคนแต่มีภรรยาคนเดียว

5 เป็นครอบครัวที่มีภรรยาหลายคนแต่มีสามีคนเดียว

ตอบ 2 อำนาจภายในครอบครัวขึ้นอยู่กับระบบอาวุโส

ครอบครัวขยาย (Extended Family) มีลักษณะที่สำคัญดังนี้

1 เป็นครอบครัวร่วม (Join Family) ซึ่งประกอบด้วยครอบครัวเล็กตั้งแต่ 2 ครอบครัวขึ้นไป

2 อำนาจสิทธิ์ขาดภายในครอบครัวขึ้นอยู่กับระบบอาวุโส

3 ส่วนใหญ่มักปรากฏในสังคมเกษตรหรือสังคมดั้งเดิม

29 การศึกษาวิวัฒนาการของครอบครัว เช่น การมีบุตรสืบสกุล จักเป็นแนวการศึกษาอะไร

1 มานุษยวิทยา 2 สังคมวิทยา 3 จิตวิทยา 4 เพศศึกษา 5 กายวิภาค

ตอบ 1 มานุษยวิทยา

การศึกษาครอบครัวตามแนวมานุษยวิทยา เป็นการศึกษาครอบครัวโดยเริ่มจากการที่หญิงหนึ่งคนหรือมากกว่านั้นอยู่ร่วมกับชายหนึ่งคนหรือมากกว่านั้นและมีบุตรด้วยกัน มีความสัมพันธ์ทางเพศอันเป็นที่ยอมรับกันทางสังคม โดยมีวัตถุประสงค์ในการอยู่ร่วมกันเพื่อต้องการมีบุตรไว้สืบสกุล อันเป็นเรื่องของวิวัฒนาการของมนุษย์เอง

30 ศาสนามีความสำคัญต่อสังคมของมนุษย์ โดยเป็นตัวเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาวะเหนือธรรมชาติ คำว่าสภาวะเหนือธรรมชาติตรงกับศัพท์ใด

1 Human Beings 2 Religion 3 Function 4 Supernature 5 Structure

ตอบ 4 Supernature

ศาสนา (Religion) นั้นมีความสำคัญต่อสังคมของมนุษย์มาแต่ยุคดึกดำบรรพ์ เพราะเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาวะเหนือธรรมชาติ (Supernature) และเพื่อความสบายใจของมนุษย์

31 การนับถือไสยศาสตร์ เครื่องราง จัดเป็นศาสนาแบบใด

1 ศาสนาหลัก

2 ศาสนาจุลภาค

3 ศาสนามหัพภาค

4 ประเพณี

5 ศาสนาธรรมชาติ

ตอบ 2 ศาสนาจุลภาค

ศาสนาโดยการยอมรับ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ

1 ศาสนามหัพภาค เป็นระบบศาสนาอันเป็นที่ยอมรับกันของคนส่วนใหญ่หรือทั้งสังคม มักเป็นศาสนาของโลกหรือเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก เช่น ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ฯลฯ

2 ศาสนาจุลภาค เป็นระบบศาสนาย่อยอันเป็นที่ยอมรับนับถือกันเฉพาะคนบางกลุ่มบางเหล่าเท่านั้น เช่น การนับถือผีบรรพบุรุษ การนับถือวิญญาณ การนับถือไสยศาสตร์ เครื่องราง ฯลฯ

32 โดยหลักการทั่วไป ศาสนา แปลว่าอะไร

1 ความจงรักภักดี 2 พระ 3 ศาสดา 4 สมณเพศ 5 คำสอน

ตอบ 5 คำสอน

ตามหลักการทั่วไปแล้ว ศาสนา แปลว่า “คำสอน” ดังนั้นจึงถืออย่างเคร่งครัดว่า ลัทธิที่จะยอมเรียกว่าศาสนานั้นต้องปรากฏตัวผู้สอน ผู้ตั้ง ผู้ประกาศ หรือศาสดา ที่รู้จักกันแน่นอน และยอมรับว่าเป็นความจริงทางประวัติศาสตร์

33 ผู้ใดให้ทัศนะว่า “ศาสนาก่อให้เกิดความงมงาย เป็นอุปสรรคต่อการปฏิวัติทางการเมืองและเป็นยาเสพติด”

1 ฟรอยด์ (Freud) 2 มาร์กซ์ (Marx) 3 มาลินนอฟสกี้ (Malinowski)

4 เรดคลิฟฟ์ – บราวน์ (Radcliffe – Brown) 5 มีด (Mead)

ตอบ 2 มาร์กซ์ (Marx)

ความสำคัญของศาสนาในทางสังคมวิทยานั้น ได้มีผู้แสดงความเห็นไว้ดังนี้

1 ฟรอยด์ (Freud) เห็นว่า ศาสนามีประโยชน์ในด้านเป็นเครื่องปลอบประโลมใจในยามทุกข์ยาก

2 มาร์กซ์ (Marx) ถือว่า ศาสนาเป็นยาเสพติด เพราะก่อให้เกิดความงมงาย และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิวัติทางการเมือง ซึ่งเป็นการมองศาสนาไปในแง่ร้าย

3 มาลินนอฟสกี้ (Malinowski) เห็นว่า ศาสนาและพิธีกรรมมักเกี่ยวพันกับความไม่แน่ใจในเรื่องธรรมชาติ ความเกรงกลัวในสิ่งที่ไม่แน่นอนหรือสิ่งที่คาดการณ์ไม่ได้ ทำให้คนมุ่งไปที่ศาสนาหรือพิธีกรรม

34 “พระเจ้าและจักรวาลเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่อาจแยกจากกัน ทุกอย่างอยู่ในความดูแลของพระเจ้า” เป็นระบบความเชื่อแบบใด

1 สัพพัตถเทวนิยม 2 พหุเทวนิยม 3 เอกเทวนิยม 4 อเทวนิยม 5 เทวนิยม

ตอบ 1 สัพพัตถเทวนิยม

เทวนิยม เป็นระบบความเชื่อที่ว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก แบ่งเป็น 3 ประการ คือ

1 เอกเทวนิยม เชื่อว่า ทุกสิ่งในโลกเกิดจากการสร้างสรรค์ของพระเจ้าเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น เช่น ศาสนาคริสต์ อิสลาม ซิกข์ ยิว ฯลฯ

2 พหุเทวนิยม เชื่อว่า โลกนี้เกิดจากพระเจ้าหลายพระองค์ที่ทรงบัญชาให้เป็นไป โดยแต่ละพระองค์ทรงปฏิบัติหน้าที่ต่างๆกัน เช่น ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ฯลฯ

3 สัพพัตถเทวนิยม เชื่อว่า พระเจ้าและจักรวาลเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่อาจแยกออกจากกันได้ ทุกอย่างอยู่ในความดูแลของพระเจ้าทั้งสิ้น เช่น แผ่นดินพระแม่ธรณีเป็นผู้ดูแลรักษา ฯลฯ

35 การศึกษาในเชิงพุทธศาสตร์เน้นอะไร

1 การศึกษาผูกพันกับคุณธรรม 2 ความรู้คืออำนาจ 3 การศึกษาสร้างพลเมืองดี

4 การหลุดพ้นจากอวิชา 5 การศึกษามีผลกระทบต่อชะตากรรม

ตอบ 4 การหลุดพ้นจากอวิชา

การศึกษาในเชิงพุทธศาสตร์ คือ เน้นการหลุดพ้นจากอวิชา (ความไม่รู้) เพื่อชีวิตจะได้ล่วงพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด โดยในทางพุทธศาสนาถือว่าความรู้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำให้มนุษย์พ้นจากความทุกข์ การเวียนว่ายตายเกิดจะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อพ้นจากอวิชา

36 มหาวิทยาลัยสหประชาชาติแตกต่างจากมหาวิทยาลัยทั่วไปด้านใด

1 ห้องสมุด 2 อาจารย์ 3 นักศึกษา 4 อาคารเรียน 5 การประสาทปริญญา

ตอบ 5 การประสาทปริญญา

มหาวิทยาลัยสหประชาชาติ เป็นสถาบันที่มีรูปแบบของมหาวิทยาลัยทั่วๆไป คือ อาคารเรียน ห้องสมุด อาจารย์ และนักศึกษา แต่จะมีลักษณะคล้ายกันกับสถาบันวิจัยมากกว่าสถานศึกษา ดังนั้นจะไม่มีการสอนและไม่มีการประสาทปริญญา

37 White Collar Workers มีมากในสังคมยุคใด

1 สังคมเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม 2 สังคมเกษตรกรรมในยุคอุตสาหกรรม

3 สังคมอุตสาหกรรมแบบผลิต 4 สังคมอุตสาหกรรมบริการ

5 ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 สังคมอุตสาหกรรมบริการ

ในยุคอุตสาหกรรมบริการ (Service Industry) มีความจำเป็นที่จะให้มีการศึกษาที่ค่อนข้างสูงขึ้นสำหรับคนทั่วไปเพื่อเป็น “ผู้ทำงานคอเสื้อขาว” (White Collar Workers) ส่วนในยุคอุสาหกรรมแบบผลิต (Manufacturing Industry) คนทำงานจำนวนมากมักจะมีลักษณะเป็นกรรมกรหรือเป็น “ผู้ทำงานคอเสื้อสีน้ำเงิน” (Blue Collar Workers)

38 “Holocaust” หมายถึงข้อใด

1 สติปัญญาของคนเชื้อชาติต่างๆไม่แตกต่างกัน 2 การสังหารหมู่คนเยอรมันเชื้อสายยิว

3 คนเยอรมันสูญเสียคนที่มีความรู้ความสามารถ 4 การต่อต้านคนเชื้อสายเซไมท์

5 คนเชื้อสายยิวมีสติปัญญาเหนือกว่าคนชาติอื่น

ตอบ 2 การสังหารหมู่คนเยอรมันเชื้อสายยิว

ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดปรากฏการณ์ Holocaust ในเยอรมันยุคเผด็จการฟาสซิสต์โดยพรรคนาซีของฮิตเลอร์ คือ การสังหารหมู่คนเยอรมันเชื้อสายยิว อันเป็นส่วนหนึ่งลัทธิต่อต้านยิว ส่งผลให้สหรัฐอเมริกาเป็นฝ่าย “ได้ประโยชนจากมันสมอง” จากคนยิวที่มีความรู้ความสามารถที่หลบหนีมาเรียกว่า สมองรับ (Brain Gain) ส่วนฝ่ายเยอรมันเป็นฝ่ายสูญเสียประโยชน์เรียกว่า สมองล่องหรือสมองไหล (Brain Drain)

39 ลัทธิต่อต้านยิว ส่งผลให้สหรัฐอเมริกาได้รับประโยชน์จากคนที่มีความรู้ความสามารถที่หลบหนีมาซึ่งถือว่า “ได้ประโยชน์จากมันสมอง” นั้นเรียกว่าอะไร

1 สมองล่อง 2 สมองไหล (Brain Drain) 3 สมองรับ (Brain Gain)

4 ข้อ 1 และ 2 5 ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 สมองรับ (Brain Gain) ดูคำอธิบายข้อ 38 ประกอบ

40 ปรัชญาการศึกษาที่มีลักษณะเชิง “สัมฤทธิคติ” มีลักษณะอย่างไร

1 เน้นการประยุกต์วิชาการ 2 เน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ 3 เคร่งทฤษฎี

4 ขาดการสัมผัสกับโลกภายนอก 5 ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 เน้นการประยุกต์วิชาการ

ปรัชญาการศึกษาที่มีลักษณะในเชิงเล็งผลปฏิบัติหรือเชิง “สัมฤทธิคติ” (Pragmatic) นั้น จะเน้นการประยุกต์วิชาการและเริ่มเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป โดยจะถือว่าสถาบันอุดมศึกษาเป็นแหล่งประสาทวิทยาการ ซึ่งมุ่งหนักไปในทางที่จะใช้ให้เป็นประโยชน์ได้

41 อะไรคือปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในขนาดของประชากร

1 ภาวะเจริญพันธ์

2 อัตราการเกิด

3 อัตราการตาย

4 การอพยพ

5 ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 ถูกทั้งหมด

กระบวนการทางประชากรอันเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในขนาดของประชากร ได้แก่

1 ภาวะการเจริญพันธุ์ หมายถึง จำนวนประชากรที่ให้กำเนิดบุตรได้จริงๆ โดยวัดได้จากการหาอัตราการเกิดของประชากร ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุเมื่อแรกสมรส การอยู่เป็นโสดอย่างถาวร การไม่สมรสใหม่ของหญิงหม้ายและหย่าร้าง การงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิด และการตายของเด็กทารก

2 อัตราการตาย

3 อัตราการอพยพหรือย้ายถิ่น

42 ประชากรโลกมีอัตราการเพิ่มสูงสุดในภูมิภาคใด

1 เอเชีย 2 ยุโรป 3 อเมริกา 4 ออสเตรเลีย 5 นิวซีแลนด์

ตอบ 1 เอเชีย

การเพิ่มของประชากรโลกหลังปี ค.ศ.1950 เป็นต้นมา มีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างสูงในบริเวณภาคแถบเอเชีย ลาตินอเมริกา และแอฟริกา ซึ่งในปัจจุบันการเพิ่มของประชากรโลกก็ยังอยู่ในอัตราที่สูง โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียและลาตินอเมริกา

43 อะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางประชากรก่อนปี ค.ศ.1950 ในภูมิภาคยุโรป

1 การเกิด 2 การตาย 3 การย้ายถิ่น 4 สงครามและภัยพิบัติ 5 ข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 ข้อ 1 และ 2

สาเหตุหรือปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางประชากรก่อนปี ค.ศ.1950 ในบริเวณภูมิภาคแถบยุโรป คือ

1 การปฏิวัติด้านการเกษตรในศตวรรษที่ 17 และการปฏิวัติด้านอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 18

2 การเปลี่ยนแปลงด้านการเกิดและการตาย

44 นักประชากรศาสตร์ได้ชี้ปัญหาใด คือปัญหาร่วมระหว่างประเทศในปัจจุบัน

1 การเติบโตของเมืองขนาดยักษ์ 2 การลดลงของประชากร 3 การขยายตัวของชนบท

4 ความอดอยากหิวโหย 5 อัตราการตายเพิ่มขึ้น

ตอบ 1 การเติบโตของเมืองขนาดยักษ์

นักประชากรศาสตร์ได้ชี้ให้เห็นปัญหาร่วมระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาในปัจจุบัน คือ ปัญหาการเติบโตของเมืองต่างๆซึ่งจะนำไปสู่เมืองขนาดยักษ์

45 ประเทศกำลังพัฒนามีการเปลี่ยนแปลงทางประชากรลักษณะใด

1 อัตราการเกิดและอัตราการตายต่ำเท่าเทียมกัน 2 อัตราการเกิดและอัตราการตายสูง

3 อัตราการเกิดสูงและอัตราการตายลดลง 4 อัตราการตายสูงกว่าอัตราการเกิด

5 ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 อัตราการเกิดสูงและอัตราการตายลดลง

ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงทางประชากรในลักษณะอัตราการเกิดสูงและอัตราการตายลดลง ในขณะที่ประเทศพัฒนาส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงทางประชากรในลักษณะอัตราการเกิดและอัตราการตายลดลงอยู่ในระดับต่ำเท่าเทียมกัน

46 ข้อใดคือตัวอย่างของสถานภาพที่ติดมาแต่กำเนิด (Ascribed Status)

1 อายุ 2 เพศ 3 ระดับการศึกษา 4 ข้อ 1 และ 2 5 ข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 ข้อ 1 และ 2

สถานภาพของบุคคล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1 สถานภาพที่ติดตัวมาแต่กำเนิด (Ascribed Status) เช่น เพศ อายุ ผิวพรรณ รูปร่างหน้าตา ชาติตระกูล วรรณะ ศาสนา ฯลฯ

2 สถานภาพสัมฤทธิ์ (Achieved Status) เป็นผลสำเร็จจากการกระทำตามวิถีทางของแต่ละบุคคลที่ขึ้นอยู่กับความสามารถ เช่น การศึกษา อาชีพ อำนาจ รายได้ ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ฯลฯ

47 ผู้ใดมีแนวคิดว่า “อำนาจ” ทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองเป็นพื้นฐานในการอธิบายถึงระบบชนชั้น

1 มาร์กซ์ (Marx) 2 เวเบอร์ (Weber) 3 วอร์เนอร์ (Warner)

4 กอฟฟ์แมน (Goffman) 5 เบอร์แทรนด์ (Bertrand)

ตอบ 2 เวเบอร์ (Weber)

การจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคมตามแนวทัศนะของเวเบอร์ (Weber) ขึ้นอยู่กับ “อำนาจ” โดยเขาได้อ้างถึงอำนาจที่มีประสิทธิภาพที่จะควบคุมการกระทำของมนุษย์ ซึ่งอำนาจพื้นฐานนี้สามารถแยกโดยลักษณะพฤติกรรมได้ 3 ลักษณะ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง

48 ตัวเลือกใดนำมาใช้วิเคราะห์ในการจัดช่วงชั้นทางสังคมแบบวัตถุวิสัย (Objective Approach)

1 ความรู้สึก 2 ความสำนึก 3 ชื่อเสียง 4 ศักดิ์ศรี 5 อาชีพ

ตอบ 5 อาชีพ

หลักเกณฑ์ที่ใช้ศึกษาการจัดลำดับช่วงชั้นของคนในสังคมมี 3 วิธี คือ

1 การศึกษาแบบวัตถุวิสัย (Objective Approach) จะกระทำได้โดยการวิเคราะห์ปัจจัยอันเกี่ยวข้องกับรายได้ อาชีพ อำนาจ ตำแหน่ง และทรัพย์สมบัติ

2 การศึกษาแบบอัตวิสัย (Subjective Approach) ซึ่งขึ้นอยู่กับความรู้สึกของบุคคลที่คิดว่าตนเองอยู่ในชนชั้นใดของสังคม

3 การศึกษาโดยดูจากชื่อเสียง (Reputational Approach) ซึ่งขึ้นอยู่กับการประเมินค่าบุคคลโดยบุคคลอื่น

49 ข้อใดใช้เป็นเกณฑ์การจัดช่วงชั้นทางสังคม

1 เกียรติยศ 2 ความมั่งคั่ง 3 ความเป็นเจ้าของอำนาจ 4 ข้อ 1 และ 2 5 ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 ถูกทั้งหมด

เกณฑ์ที่ใช้วัดการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม ได้แก่ เกียรติยศศักดิ์ศรีของครอบครัว อาชีพ ความเป็นเจ้าของความมั่งคั่ง ความเป็นเจ้าของในอำนาจ การมีเวลาว่าง สภาพการศึกษาและการประสบความสำเร็จ ถิ่นที่อยู่อาศัย รสนิยม เป็นต้น

50 ระบบวรรณะปรากฏใช้ในที่ใดบ้าง

1 อินเดีย 2 อียิปต์ 3 ฝรั่งเศส 4 ข้อ 1 และ 2 5 ข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 ข้อ 1 และ 2

วรรณะ (Caste) เป็นระบบการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคมโดยเน้นถึงความสัมพันธ์ของสถานภาพ ซึ่งจำกัดบุคคลที่จะให้ได้รับสถานภาพสูงขึ้นกว่าเมื่อเขาเกิด ตัวอย่างของระบบวรรณะที่เห็นได้ชัดเจน ได้แก่ อินเดีย นอกจากนี้ยังมีปรากฏในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เช่น อียิปต์ เปอร์เซีย กรีก และโรม ซึ่งไม่เข้มงวดนัก

51 ข้อใดคือจุดมุ่งหมายของระบบการควบคุมทางสังคม

1 เพื่อให้บุคคลประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่สังคมคาดหวัง

2 เพื่อควบคุมภาวะทางการเมือง

3 เพื่อควบคุมภาวะทางเศรษฐกิจ

4 เพื่อความเป็นธรรมในสังคม

5 เพื่อแก้ปัญหาในสังคม

ตอบ 1 เพื่อให้บุคคลประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่สังคมคาดหวัง

จุดมุ่งหมายของระบบการควบคุมทางสังคม คือ เพื่อให้บุคคลประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่สังคมคาดหวัง โดยระบบการควบคุมทางสังคมอาจจำแนกออกได้เป็น 2 ประการ คือ

1 เป็นระบบของกฎระเบียบและค่านิยมที่ต้องยอมรับไปปฏิบัติ และระบบของความเชื่อที่เป็นเหตุผลของกฎระเบียบและค่านิยมดังกล่าว

2 ระบบการให้รางวัลและการลงโทษ เพื่อจูงใจให้บุคคลประพฤติปฏิบัติตามในสิ่งที่สังคมยอมรับ

52 กลไกควบคุมทางสังคมข้อใดมีผลต่อการจัดระเบียบทางสังคม

1 กลไกทางวัฒนธรรม 2 กลไกกฎระเบียบ 3 กลไกบังคับ

4 กลไกกลอุบาย 5 ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 กลไกทางวัฒนธรรม

กลไกทางวัฒนธรรมที่ใช้ในการควบคุมทางสังคมแต่ละประเภทจะมีผลต่อหรือมีบทบาทสำคัญทั้งในกระบวนการจัดระเบียบสังคมและพัฒนาบุคคล

53 กลไกการบังคับใช้ ทั้งการให้รางวัลและการลงโทษจะเกี่ยวพันกับตัวเลือกใด

1 บทบาท 2 สถานภาพ 3 บรรทัดฐานทางสังคม

4 เครือข่ายทางสังคม 5 การขัดเกลาทางสังคม

ตอบ 3 บรรทัดฐานทางสังคม

การบังคับใช้ (Sanctions) การให้การตอบแทน เช่น รางวัลและการลงโทษ โดยจะมีความเกี่ยวพันกับบรรทัดฐานทางสังคม (Norms) กล่าวคือ บุคคลที่ปฏิบัติตามบรรทัดฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในสังคมย่อมคาดได้ว่าจะได้รับผลตอบแทนเป็นรางวัล แต่หากละเว้นที่จะปฏิบัติตามบรรทัดฐานดังกล่าวย่อมคาดได้ว่าจะได้รับการลงโทษ

54 การประนีประนอมและการมีผู้ชี้ขาด เป็นกลไกการควบคุมทางสังคมแบบใด

1 บังคับ 2 กฎระเบียบ 3 แลกเปลี่ยนสมานลักษณ์

4 การถอนตัว 5 การรวมกำลัง

ตอบ 3 แลกเปลี่ยนสมานลักษณ์

กลไกแลกเปลี่ยนประเภทการสมานลักษณ์ ประกอบด้วย

1 การประนีประนอม 2 การมีผู้ชี้ขาดหรือคนกลาง 3 การอดกลั้น

55 กลุ่มสังคมที่ไม่เป็นทางการ (Informal Groups) จะใช้กลไกควบคุมสังคมแบบใด

1 กลไกกฎระเบียบ 2 กลไกการแลกเปลี่ยน 3 กลไกทางวัฒนธรรม

4 ข้อ 1 และ 2 5 ข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 ข้อ 2 และ 3

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ (Informal Groups) และกลุ่มที่เป็นทางการ (formal Groups) คือ กลุ่มที่มีโครงสร้างแบบไม่เป็นทางการจะไม่ใช้กลไกกฎระเบียบ แต่กลุ่มทางการมักใช้กลไกเกี่ยวกับกฎระเบียบเสมอ ส่วนกลไกที่มักใช้กับทั้งกลุ่มทางการและกลุ่มไม่เป็นทางการ เช่น กลไกการแลกเปลี่ยน กลไกทางวัฒนธรรม กลไกบังคับใช้ เป็นต้น

56 ปัจจัยทางสังคมอะไรที่ไม่มีผลต่อการกำหนดนโยบายทางการเมือง

1 เพศและอายุ 2 เชื้อชาติและศาสนา 3 ภาษาและอาชีพ

4 การศึกษา 5 ผิดทั้งหมด

ตอบ 5 ผิดทั้งหมด

ปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อการกำหนดระบบ รูปแบบ และนโยบายทางการเมือง ได้แก่ มิติทางสังคม เช่น กลุ่มประชากร สถานภาพ ครอบครัว เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา เพศ อายุ ฯลฯ และมิติทางเศรษฐกิจ เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจ ลำดับชั้น อาชีพ รายได้ ระดับการศึกษา ฯลฯ

57 สังคมที่พัฒนาแล้ว ดังเช่นประเทศต่างๆในยุโรปและดินแดนที่ชาวยุโรปอพยพไปตั้งถิ่นฐาน (เช่นประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) มักใช้การจัดองค์กรทางการเมืองเป็นแบบใด

1 เบ็ดเสร็จเผด็จการ 2 คอมมิวนิสต์ 3 ประชาธิปไตย 4 ลัทธิฟาสซิสม์ 5 ลัทธินาซี

ตอบ 3 ประชาธิปไตย

ลักษณะวัฒนธรรมในสังคมตะวันตกหรือสังคมที่พัฒนาแล้วดังเช่นประเทศต่างๆในทวีปยุโรปและดินแดนที่ชาวยุโรปอพยพไปตั้งถิ่นฐาน เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฯลฯ มักจะให้ความสำคัญกับระบอบประชาธิปไตย ยกย่องผู้ประสบความสำเร็จด้วยตนเอง เน้นความสำคัญของตัวบุคคล (Individualism) มีประชาธิปไตย ทำงานตามระเบียบกฎเกณฑ์หรือหน้าที่อย่างเคร่งครัด และนิยมวัตถุ (Materialism)

58 การเมืองมีบทบาทที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของการพัฒนาต่อสิ่งใด

1 การเจริญเติบโตของเมือง 2 การวางผังเมือง

3 การกระจายตัวของประชากรและการใช้อำนาจในสังคม 4 ข้อ 1 และ 2

5 ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 ถูกทั้งหมด

ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมกับการเมืองที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของการพัฒนา เช่น การขยายตัวของเมือง (การเจริญเติบโตของเมือง) การวางผังเมือง การกระจายตัวของประชากร ภาวะความเป็นผู้นำ การใช้อำนาจในสังคม การจัดองค์การทางการเมือง ฯลฯ

59 ผู้ใดเห็นว่ารัฐ (State) สำคัญกว่าสังคม (Society)

1 มาร์กซ์ (Marx) 2 โบแดง (Bodin) 3 เฮเกล (Hegel)

4 โบแดงและเฮเกล 5 มาร์กซ์ โบแดงและเฮเกล

ตอบ 4 โบแดงและเฮเกล

โบแดง (Bodin) และเฮเกล (Hegel) เป็นนักสังคมวิทยาที่มีทัศนะว่า “รัฐมีอำนาจและมีความสำคัญมากกว่าสังคม” ส่วนมาร์กซ์ (Marx) เป็นผู้ที่เห็นตรงกันข้ามว่า “สังคมมีอำนาจและมีความสำคัญมากว่ารัฐ”

60 ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการปกครองระบอบประชาธิปไตย จากการค้นพบของมิเชลส์ (Robert Michels) คืออะไร

1 สหจิต (Consensus) 2 ความขัดแย้ง (Conflict)

3 กฎเหล็กแห่งคณาธิปไตย (Iron Law of Oligarchy)

4 การจัดระเบียบบริหารแบบราชการ (Bureaucracy) 5 การจัดองค์การ (Organization)

ตอบ 3 กฎเหล็กแห่งคณาธิปไตย (Iron Law of Oligarchy)

มิเชลส์ (Michels) พบว่า ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยก็คือ กฎเหล็กแห่งคณาธิปไตย (Iron Law of Oligarchy) ซึ่งมีปรากฏอยู่ในพรรคการเมืองแบบสังคมนิยมที่อำนาจอยู่ในมือบุคคลกลุ่มน้อย ผู้บริหารมีอำนาจมาก และไม่ต้องการจะถูกออกจากตำแหน่งเดิม เพราะเกรงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะทำให้ตนเองเกิดความเดือดร้อนและปราศจากการมีตำแหน่งอำนาจ

61 พฤติกรรมรวมหมู่ (Collective Behavior) มีความหมายเป็นเช่นเดียวกันกับอะไร

1 กลุ่มปฐมภูมิ

2 กลุ่มทุติยภูมิ

3 เกไมน์ชาฟท์

4 เกเซลล์ชาฟท์

5 ผิดทั้งหมด

ตอบ 5 ผิดทั้งหมด

พฤติกรรมรวมหมู่ (Collective Behavior) เป็นพฤติกรรมการแสดงออกของฝูงชนในลักษณะที่บุคคลทั้งหลายภายในกลุ่มนั้น กระทำด้วยแรงจูงใจ ความรู้สึก และทัศนคติที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เสมือนว่ากลุ่มนั้นคือคนคนเดียว ดังนั้นสภาพแห่งการเป็นพฤติกรรมรวมหมู่จึงมีผลทางจิตวิทยาสังคม ทำให้เกิดความรู้สึกร่วมกันว่าทุกๆคนจะมีอารมณ์ ความหวัง และวัตถุประสงค์เดียวกันในการกระทำใดๆ (ดูคำอธิบายข้อ 20 และ 23 ประกอบ)

62 ลักษณะของฝูงชนได้แก่ตัวเลือกใด

1 เกิดกะทันหันแบบทันทีทันใด

2 จำนวนสมาชิกมากน้อยขึ้นอยู่กับสถานที่และเวลา

3 ปราศจากโครงสร้าง เช่น สถานภาพและบทบาท

4 ข้อ 1 และ 2

5 ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 ถูกทั้งหมด

ลักษณะของพฤติกรรมฝูงชน มีดังนี้

1 เกิดขึ้นแบบทันทีทันใดและดำรงอยู่ในระยะเวลาอันสั้น

2 ไม่มีโครงสร้าง (เช่น สถานภาพและบทบาท) เกิดขึ้นแบบไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า

3 สมาชิกที่เข้าร่วมมีจำนวนไม่แน่นอน อาจมีจำนวนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสถานที่และเวลา

4 ไม่มีบรรทัดฐานทางสังคมควบคุม

5 ไม่มีตัวตน

6 ไม่มีการเจาะจงตัวบุคคล

7 อยู่ในสภาวะที่ชักจูงได้ง่าย

8 มีการระบาดทางอารมณ์

63 การระบาดทางอารมณ์เป็นไปอย่างรวดเร็วมีสาเหตุมาจากอะไร

1 ความใกล้ชิดทางร่างกาย 2 ความสนใจทางอารมณ์ร่วมกัน

3 บรรทัดฐานทางอารมณ์ที่เข้มงวด 4 ข้อ 1 และ 2

5 ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 ถูกทั้งหมด

การระบาดทางอารมณ์ (Emotional Contagion) มักจะเป็นไปได้ง่ายและรวดเร็วสาเหตุเป็นเพราะฝูงชนเป็นกลุ่มคนที่อยู่ใกล้ชิดกันทางด้านร่างกาย ซึ่งทำให้อารมณ์รุนแรงยิ่งขึ้น โดยการระบาดทางอารมณ์จะเป็นกลไกที่สำคัญที่ทำให้เกิดพฤติกรรมฝูงชน

64 ฝูงชนแสดงออก (Expressive Crowd) มีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่นว่าอย่างไร

1 ฝูงชนบังเอิญ (Casual Crowd) 2 ฝูงชนเต้นรำ (Dancing Crowd)

3 ม็อบ (Mob) 4 ฝูงชนลงมือกระทำ (Active Crowd)

5 ฝูงชนลงประชาทัณฑ์ (Lynching Mob)

ตอบ 2 ฝูงชนเต้นรำ (Dancing Crowd)

ฝูงชนแสดงออก (Expressive Crowd) เป็นฝูงชนที่แสดงออกถึงอารมณ์ที่ตื่นเต้น สนุกสนาน เฮฮา ป่าเถื่อน และมัวเมา การเต้นรำ กระทืบเท้า หรือปรบมือให้จังหวะ และการมั่วสุมทางเพศ เป้นต้น ซึ่งฝูงชนประเภทนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ฝูงชนเต้นรำ (Dancing Crowd)

65 ฝูงชนวุ่นวาย (Mob) ได้แก่อะไร

1 ฝูงชนลงประชาทัณฑ์ (Lynching Mob) 2 การจลาจล (Riot)

3 ออร์จี (Orgy) 4 ความแตกตื่น (Panic) 5 ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 ถูกทั้งหมด

ประเภทฝูงชนที่บ้าคลั่งหรือฝูงชนวุ่นวาย (Mob) สามารถแบ่งออกตามจุดประสงค์และความรุนแรง ได้ดังนี้

1 Lynching Mob เช่น การรุมประชาทัณฑ์ การจับผู้ที่คิดว่ากระทำผิดแขวนคอ ฯลฯ

2 การจลาจล (Riot) เช่น การจลาจลด้านเชื้อชาติ ศาสนา และความยุติธรรม ฯลฯ

3 Orgy เช่น การมั่วสุ่มทางเพศ การคลั่งเต้นรำ กินเหล้า ฯลฯ

4 ฝูงชนที่แตกตื่น (Panic) เช่น ไฟไหม้ เรือล่ม น้ำท่วม ฯลฯ

66 ข้อใดเป็นปัญหาสังคมที่เป็นต้นเหตุของปัญหาอื่นๆ

1 ความยากจน 2 การว่างงาน 3 แหล่งเสื่อมโทรม 4 การค้ามนุษย์ 5 วัยรุ่นติดตาม

ตอบ 1 ความยากจน

ความยากจน หมายถึง การขาดแคลนปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิต ซึ่งถือเป็นปัญหาสังคมที่เป็นต้นเหตุของปัญหาอื่นๆ หรือเชื่อมโยงไปสู่ปัญหาอื่นๆ

67 กรณีใดจัดเป็นปัญหาสังคม

1 “แสวง”ดำรงชีวิตเป็นขอทาน 2 “สวย” ขายตัวเพื่อเลี้ยงลูก

3 “สดใส” หลอกหญิงสาวค้าประเวณี 4 “แสง” ร่วมขบวนการแบ่งแยกดินแดน

5 ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 ถูกทั้งหมด

ปัญหาสังคม (Social Problems) หมายถึง ภาวะหรือสถานการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนจำนวนหนึ่งและเป็นจำนวนมากพอที่จะคิดว่าไม่อาจทนอยู่ในสภาพเช่นนั้นได้ตลอดไป ต้องมีการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขปัญหาร่วมกัน เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหามลพิษ ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง ปัญหาการทำแท้ง ปัญหาความยากจน ปัญหาการขาดดุลการค้า ปัญหาโรคจิตโรคประสาท ฯลฯ

68 การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ เรียกว่าอะไร

1 การฉ้อราษฎร์ 2 การบังหลวง 3 การฉ้อราษฎร์บังหลวง

4 การโกงประชาชนโดยชอบ 5 ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 การฉ้อราษฎร์

การฉ้อราษฎร์ หมายถึง การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐแสวงหาผลประโยชน์หรือเบียดบังเอาผลประโยชน์ของราษฎร์ (ประชาชน) ไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (การโกงราษฎร์) ส่วนการบังหลวง หมายถึง การกระทำด้วยวิธีหนึ่งวิธีใดที่นำเอาผลประโยชน์จากราชการไปใช้ส่วนตัว หรือการเบียดบังของหลวงไปเป็นสมบัติของตนเอง

69 แนวทางใดที่นิยมใช้แก้ปัญหาสังคม

1 การแก้ปัญหาแบบย่อยหรือระยะสั้น 2 การแก้ปัญหาแบบรวมถ้วนทั่วหรือระยะยาว

3 การแก้ปัญหาแบบสหวิทยาการ 4 ข้อ 1 และ 2

5 ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 ข้อ 1 และ 2

แนวทางในการแก้ไขปัญหาสังคม อาจแบ่งออกเป็นหลักใหญ่ๆได้ 2 ประเภท คือ

1 การแก้ไขปัญหาแบบย่อย (Piecemeal) เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้นหรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยไม่มีการวางแผนมาก่อน เช่น การแก้ปัญหาความยากจน ความอดอยากขาดแคลน และช่วยผู้ประสบภัยด้วยการแจกสิ่งของ เสื้อผ้า อาหาร และยารักษาโรค ฯลฯ

2 การแก้ไขปัญหาแบบรวมถ้วนทั่ว (Wholesale) เป็นการแก้ปัญหาระยะยาวแบบมีการวางแผนมาก่อน (แก้ปัญหาที่ต้นตอหรือสาเหตุของปัญหา) มีการประเมินผล มีการตรวจสอบ และปัญหานั้นๆจะไม่เกิดขึ้นมาอีก เช่น การแก้ปัญหาความยากจนด้วยการฝึกอาชีพให้ ฯลฯ

70 “ปัญหาสังคมไทยเกี่ยวพันประดุจลูกโซ่” เป็นทัศนะของนักวิชาการท่านใด

1 พระพยอม กัลป์ยาโน 2 ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช 3 ท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวนิช

4 นายแพทย์ประเวศ วะสี 5 ด.ร.สิปปนนท์ เกตุทัต

ตอบ 2 ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช มีทัศนะว่า ปัญหาสังคมของไทยเราในปัจจุบันจะเกี่ยวพันประดุจลูกโซ่ การที่จะแก้ปัญหาสังคมไทยให้อยู่ดีกินดีมีความสุข ควรจะแก้ปัญหาชาวนา

71 ประเทศใดในทวีปเอเชียเป็นสมาชิกขององค์การประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออกหรือโอเปค

1 พม่า

2 มาเลเซีย

3 ฟิลิปปินส์

4 ไต้หวัน

5 อินโดนีเซีย

ตอบ 5 อินโดนีเซีย

องค์การของประเทศผู้ส่งออกน้ำมันเป็นสินค้าออกหรือโอเปค (OPEC) ในปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 11 ประเทศ โดยเป็นประเทศในทวีปเอเชีย 7 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย ซาอุดิอาระเบีย อิรัก อิหร่าน คูเวต กาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นประเทศในทวีปแอฟริกา 3 ประเทศ คือ แอลจีเรีย ลิเบีย และไนจีเรีย เป็นประเทศในทวีปอเมริกาใต้ 1 ประเทศ คือ เวเนซุเอลา

72 ข้อใดคือคำที่ใช้แทน “ชนต่างวัฒนธรรม”

1 กลุ่มครอบครอง 2 กลุ่มอิทธิพล 3 ชนกลุ่มใหญ่ 4 ชนกลุ่มน้อย 5 ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 ชนกลุ่มน้อย

ชนกลุ่มน้อย (Minority Group) หรือชนต่างวัฒนธรรม หมายถึง กลุ่มชนที่มีการยึดถือวัฒนธรรมในรูปแบบที่แตกต่างไปจากชนกลุ่มใหญ่ (Majority Group) หรือกลุ่มอิทธิพล (Dominant Group) และเพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิดในเรื่องจำนวน นักวิชาการบางท่านจึงเรียกชนกลุ่มใหญ่ว่า “กลุ่มครอบครอง” และเรียกชนกลุ่มน้อยว่า “กลุ่มใต้ครอบครอง” เพราะชนกลุ่มใหญ่จะเป้นกลุ่มที่มีอิทธิพลและมีบทบาททั้งทางสังคมการเมือง และเศรษฐกิจ ดังนั้นชนกลุ่มใหญ่จึงเป็นกลุ่มที่กำหนดว่ากลุ่มใดเป็นชนกลุ่มน้อย

73 ข้อใดคือกลุ่มผู้กำหนดว่าชนกลุ่มใดคือชนกลุ่มน้อย

1 ชนกลุ่มใหญ่ 2 กลุ่มอิทธิพล 3 กลุ่มครอบครอง 4 ข้อ 1 และ 2 5 ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 ถูกทั้งหมด ดูคำอธิบายข้อ 72 ประกอบ

74 เกณฑ์ใดเป็นที่นิยมใช้ในการจำแนกชนกลุ่มน้อย

1 เชื้อชาติ พันธุกรรม 2 วัฒนธรรมที่ยึดถือปฏิบัติ 3 กลุ่มโลหิต

4 ข้อ 1 และ 2 5 ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 ข้อ 1 และ 2

เกณฑ์ที่ใช้จำแนกชนกลุ่มน้อยพิจารณาได้จากองค์ประกอบ 3 ลักษณะ คือ

1 ความแตกต่างด้านเชื้อชาติหรือเผ่าพันธุ์ (Race) ซึ่งเป็นความแตกต่างด้านพันธุกรรมที่แสดงออกมาเป็นลักษณะทางกายภาพ เช่น รูปร่าง สีผิว สีผม ฯลฯ

2 ความแตกต่างด้านวัฒนธรรมที่ยึดถือปฏิบัติ (Ethnicity) เช่น ภาษา ศาสนา ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี รูปแบบความสัมพันธ์ การจัดลำดับชั้นทางสังคม ฯลฯ

3 ความแตกต่างด้านกลุ่มโลหิต (Blood Group) ซึ่งถูกกำหนดโดยพันธุกรรม แต่เนื่องจากเป็นเกณฑ์ที่ไม่สะดวกในการนำมาใช้ปฏิบัติจึงไม่เป็นที่นิยมกัน (ส่วนใหญ่จึงพิจารณาจากเกณฑ์ที่ 1 และ 2 เป็นสำคัญ)

75 ตัวอย่างของสังคมใดที่มีลักษณะเป็นแบบทวิวัฒนธรรม

1 สหรัฐอเมริกา 2 สวิตเซอร์แลนด์ 3 แคนาดา 4 ข้อ 1 และ 2 5 ถูกทั้งหมด

ตอบ 3 แคนาดา

สังคมลักษณะต่างๆที่เกิดจากการมีชนต่างวัฒนธรรม มีดังนี้

1 สังคมหลากหลายหรือพหุสังคม (Plural Society) คือ สังคมที่มีชนหลายเชื้อชาติ หลายภาษา หลานศาสนา และหลายวัฒนธรรม หรือมีลักษณะแบบพหุวัฒนธรรม (Plural Culture) อาศัยรวมอยู่ปะปนกัน เช่น สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ เป็นต้น

2 สังคมแบบทวิวัฒนธรรม (Cultural Dualism) คือ สังคมที่มีประชากรส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจาก 2 เชื้อชาติหรือ 2 วัฒนธรรม เช่น แคนาดา ประชากรส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากอังกฤษและฝรั่งเศส เป็นต้น

76 ประเทศไทยใช้นโยบายใดในการแก้ปัญหาชาวเขา

1 การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม 2 การแยกพวก 3 การรวมพวก

4 การผสมผสานชาติพันธุ์ 5 การยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม

ตอบ 1 การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม

การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม (Assimilation) เป็นนโยบายที่ประเทศไทยใช้ในการแก้ไขปัญหาชาวเขา ซึ่งมีข้อดีคือ ทำให้เกิดความเข้าใจและใกล้ชิดติดต่อกันมากขึ้น ทำให้ชาวเขาไม่เกิดความรู้สึกแตกแยกโดดเดี่ยว และทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคม

77 ชนกลุ่มน้อยใดในประเทศไทยที่มีระยะห่างทางสังคมกับชนกลุ่มใหญ่มากที่สุด

1 ชาวจีน 2 ชาวไทยมุสลิม 3 ชาวเขา 4 จังหวัดภาคใต้ 5 ชาวเวียดนาม

ตอบ 4 จังหวัดภาคใต้

ในการศึกษาเกี่ยวกับชาวไทยมุสลิมโดยเฉพาะใน 4 จังหวัดภาคใต้นั้น พบว่า มีการยึดถือวัฒนธรรมที่ยึดมั่นและเคร่งครัดในหลักการและคุณค่าแห่งศาสนามาก มีความเชื่อและพฤติกรรมวิถีการดำเนินชีวิตเป็นไปตามครรลองแห่งศาสนา จนทำให้เกิดความรู้สึกว่าตนเองเป็นคนละกลุ่มคนละพวกกับชาวไทยพุทธ กลายเป็นความรู้สึกแยกพวกซึ่งเมื่อเทียบกับชาวจีน ชาวเขา ชาวเวียดนาม ชาวไทยมุสลิม ฯลฯ ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคอื่นๆของประเทศไทยแล้ว ถือได้ว่าชาวไทยมุสลิมใน 4 จังหวัดภาคใต้จะมีระยะห่างทางสังคมกับชนกลุ่มใหญ่ของประเทศมากที่สุด

78 คำกล่าวในข้อใดที่สนับสนุนเรื่องการเปลี่ยนแปลง

1 ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ 2 การเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมชาติของทุกอย่างทั้งกายภาพและนามธรรม

3 น้ำขึ้นให้รีบตัก 4 ข้อ 1 และ 2 5 ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 ข้อ 1 และ 2

คำกล่าวของนักปราชญ์ที่สนับสนุนเรื่องการเปลี่ยนแปลง มีดังนี้

1 เฮอราไคลตูส (Heraclitus) กล่าวว่า “ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ” ดังทัศนะที่ว่า “ไม่มีใครสามารถกระโดดลงไปในแม่น้ำได้สองครั้ง”

2 ไวท์เฮด (Whitehead) กล่าวว่า “การเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมชาติของทุกอย่าง” ซึ่งการเปลี่ยนแปลงมีปรากฏทั้งในส่วนที่เป็นโลกแห่งกายภาพและโลกแห่งนามธรรม

79 สังคมแบบใดที่มีการเปลี่ยนแปลงง่ายที่สุด

1 หมู่บ้าน 2 สถาบัน 3 องค์การ 4 ประเทศ 5 ทวีป

ตอบ 1 หมู่บ้าน

การเปลี่ยนแปลง หมายถึง การที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งแปรเปลี่ยนสภาพจากเดิมไปสู่สภาพใหม่ที่แตกต่าง โดยอาศัยองค์ประกอบของเวลาเป็นเครื่องกำหนด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นง่ายหรือยากนั้นก็ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของสังคมนั้นๆ จากตัวเลือกที่โจทย์ให้มาจะเห็นว่าสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงง่ายที่สุดคือ หมู่บ้าน รองลงมาได้แก่ สถาบัน องค์การ ประเทศ และทวีป ตามลำดับ

80 แนวความคิดแบบใดไม่นิยมการเปลี่ยนแปลง

1 สังคมนิยม 2 ทุนนิยม 3 อนุรักษ์นิยม 4 ชาตินิยม 5 อรัฐนิยม

ตอบ 3 อนุรักษ์นิยม

แนวความคิดแบบอนุรักษ์นิยม เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่น่าสะพรึงกลัวซึ่งเกิดจากความเชื่อที่ว่า การเปลี่ยนแปลงย่อมนำไปสู่ความไม่ดีหรือนำไปสู่ความเสื่อม ดังนั้นพวกที่มีแนวคิดอนุรักษ์นิยมจึงไม่นิยมการเปลี่ยนแปลง

81 การเปลี่ยนแปลงตามความคิดของเพลโต (Plato) จาก “ราชาธิปไตย วีรชนาธิปไตย คณาธิปไตย ประชาธิปไตย และทุชนาธิปไตย” เป็นไปตามทฤษฎีใด

1 ทฤษฎีวัฏจักร

2 ทฤษฎีวิวัฒนาการ

3 ทฤษฎีขัดแย้ง

4 ทฤษฎีโครงสร้าง – หน้าที่

5 ทฤษฎีมาร์กซ์

ตอบ 1 ทฤษฎีวัฏจักร

ตามทฤษฎีวัฏจักรหรือการหมุนเวียนนั้น เพลโต (Plato) ได้แบ่งการเปลี่ยนแปลงของรัฐออกเป็น 5 ยุค ดังนี้

1 อภิชนาธิปไตยหรือราชาธิปไตย 2 วีรชนาธิปไตย 3 คณาธิปไตย 4 ประชาธิปไตย 5 ทุชนาธิปไตย

82 แนวความคิดของโซโรคิน (Sorokin) ที่ว่า “สังคมมนุษย์วนเวียนอยู่กับสังคมสามระบบ อายตนะ เหนืออายตนะและอุดมคติ” จัดเป็นการเปลี่ยนแปลงตามทฤษฎีใด

1 วัฏจักร

2 วิวัฒนาการ

3 ขัดแย้ง

4 โครงสร้างหน้าที่

5 เรียนรู้

ตอบ 1 วัฏจักร

โซโรคิน (Sorokin) เป็นนักทฤษฎีวัฏจักรที่มีแนวความคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงว่า สังคมมนุษย์วนเวียนอยู่กับสังคมสามระบบ ซึ่งเขาเรียกว่า “มหาระบบ (Supersystem) ได้แก่ อายตนะ เหนืออายตนะ และอุดมคติ

83 ทฤษฎีวิวัฒนาการของชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) เน้นกระบวนการแบบใด

1 การแข่งขัน 2 การร่วมมือ 3 การขัดแย้ง 4 การปรับปรนเข้าหากัน 5 การผสมกลมกลืน

ตอบ 1 การแข่งขัน

ทฤษฎีวิวัฒนาการของชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) เน้นกระบวนการแบบการแข่งขัน โดยถือว่าในโลกของสิ่งมีชีวิตหรอการวิวัฒนาการทางธรรมชาตินั้น การเจริญเติบโตขึ้นอยู่กับการแข่งขันและเป็นผลให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “ผู้รอดอยู่คือผู้ชนะ” (Survival of the Fittest)

84 ข้อใดคือกลุ่มเป้าหมายของการศึกษาสังคมวิทยาชนบท

1 ชาวไร่ 2 ชาวนาและชาวสวน 3 ชาวประมง

4 ข้อ 1 และ 2 5 ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 ถูกทั้งหมด

สังคมวิทยาชนบท (Rural Sociology) หมายถึง สังคมวิทยาเฉพาะทางที่มีกลุ่มเป้าหมายของการศึกษา คือ ชาวไร่ ชาวสวน ชาวประมง ตลอดถึงลักษณะความสัมพันธ์และปรากฏการณ์ทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นในสังคมชนบท

85 สังคมวิทยาชนบทมักศึกษาเปรียบเทียบกับสาขาวิชาใด

1 สังคมวิทยาการเมือง 2 สังคมวิทยาอาชีพ 3 มานุษยวิทยา

4 สังคมวิทยาอุตสาหกรรม 5 สังคมวิทยาอาชีพ

ตอบ 1 สังคมวิทยาการเมือง

สังคมวิทยาชนบทมักจะนิยมศึกษาเปรียบเทียบกับสังคมวิทยาเมือง โดยจะศึกษาถึงความเกี่ยวพันกับสังคมเมือง เพราะปรากฏการณ์ในสังคมเมืองอาจจะส่งผลสะท้อนไปสู่ชนบททำให้ชนบทเปลี่ยนแปลงไป เป็นการหาวิธีเสริมสร้างชีวิตชนบทให้มั่นคง

86 ข้อใดคือคุณสมบัติ “ดั้งเดิม” ของชนบท

1 ตั้งถิ่นฐานแบบอยู่โดดเดี่ยว 2 มีความเหมือนในวิถีชีวิต 3 ครอบครัวเป็นทั้งแหล่งผลิตและบริโภค

4 ข้อ 1 และ 3 5 ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 ถูกทั้งหมด

คุณสมบัติดั้งเดิมของชุมชนชนบท มีลักษณะดังนี้

1 ความโดดเดี่ยว (Isolation) ในการตั้งถิ่นฐาน ซึ่งมักกระจัดกระจายกันอยู่ตามไร่นา

2 ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Homogeneity) ทั้งในด้านเชื้อชาติ ประเพณี และภูมิหลังทางวัฒนธรรม

3 การใช้แรงงานเพื่อการเกษตร (Agricultural Employment) ทำให้มีความเหมือนในวิถีชีวิตความเป้นอยู่ ซึ่งจะเกี่ยวพันกับการเกษตรกรรมไม่ทางตรงก็ทางอ้อม

4 การเศรษฐกิจเพื่อการบริโภค (Subsistence Economy) หรือเศรษฐกิจพอเพียง โดยครอบรัวจะเป็นทั้งหน่วยผลิตและหน่วยบริโภค

87 ผู้ใดได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาหรือปรมาจารย์คนแรกของสังคมวิทยาชนบท

1 ค้องท์ (Comte) 2 สเปนเซอร์ (Spencer) 3 เดอร์ไคม์ (Durkheim)

4 เวเบอร์ (Weber) 5 ผิดทั้งหมด

ตอบ 5 ผิดทั้งหมด

ผู้ได้รับยกย่องว่าเป็นนักสังคมวิทยาชนบทคนแรกของโลกคือ เลอเปล (Le Piay) นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส ซึ่งได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับครอบครัวชนบท และองค์การต่างๆในชนบท โดยการใช้หลักสังเกตการณ์ การเก็บ และการรวบรวมข้อมูลต่างๆด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

88 ข้อใดคือสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจาก “ปัจจัยภายใน ของสังคมชนบท

1 นวัตกรรมภูมิปัญญาชาวบ้าน 2 การแพร่กระจายทาวัฒนธรรม

3 การขอยืมวัฒนธรรม 4 ข้อ 2 และ 3 5 ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 นวัตกรรมภูมิปัญญาชาวบ้าน

สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงในสังคมชนบทเกิดจากปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ

1 สาเหตุจากภายในสังคมชนบทเอง เช่น การเกิด การตาย การย้ายถิ่น การแปรปรวนของธรรมชาติ ผู้ร้ายหรือการสู้รบ การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ (นวัตกรรมภูมิปัญญาชาวบ้าน) ฯลฯ

2 สาเหตุจากภายนอกสังคมชนบท เช่น การผสมผสานทางวัฒนธรรม การแพร่กระจายทางวัฒนธรรม การคมนาคมติดต่อสื่อสาร การเลียนแบบ การพัฒนา ฯลฯ

89 สิ่งที่ทุกเมืองมีคล้ายคลึงกันได้แก่อะไร

1 ภาระหน้าที่ (Function) 2 รูปแบบ (Pattern)

3 วัฒนธรรม (Culture) ที่เป็นอย่างเดียวกัน 4 ข้อ 1 และ 2

5 ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 ข้อ 1 และ 2

เมืองแต่ละเมืองจะมีภาระหน้าที่ (Function) และรูปแบบ (Pattern) ที่คล้ายคลึงกันแต่จะมีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่แตกต่างกันไป

90 พัฒนาการของการขนส่งที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของนครต่างๆในประเทศสหรัฐอเมริกา จากอดีตถึงปัจจุบันตามแนวคิดของ แมคเคนซี (Mackenzie) ได้แก่ตัวเลือกใด (กำหนดให้ ก = ทางรถยนต์ ข = ทางน้ำ และ ค = ทางรถไฟ)

1 ก. ข. ค. 2 ค. ข. ก. 3 ข. ก. ค. 4 ข. ค. ก. 5 ค. ก. ข.

ตอบ 4 ข. ค. ก.

พัฒนาการของการขนส่งที่สำคัญซึ่งมีอิทธิพลต่อการเติบโตของนครต่างๆในประเทศสหรัฐอเมริกา เรียงตามลำดับจากอดีตถึงปัจจุบันตามแนวความคิดของแมคเคนซี (Mackenzie) ได้แก่ พัฒนาการของการขนส่งทางน้ำ ทางรถไฟ และทางรถยนต์

91 สิ่งช่วยค้ำจุนเมืองหรือสนับสนุนให้เกิดเมือง (The Support of Cities) ได้แก่อะไร

1 การเป็นศูนย์กลางคอยรับสิ่งบริการจากอาณาบริเวณรอบๆเมือง

2 เส้นทางคมนาคมขนส่ง (Transport Centers)

3 การหน้าที่พิเศษ (Specialized Function Cities)

4 ข้อ 1 และ 2

5 ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 ถูกทั้งหมด

สิ่งที่ช่วยค้ำจุนเมืองหรือสนับสนุนให้เกิดเมือง (The Support of Cities) ได้แก่ 1 การเป็นศูนย์กลางคอยรับสิ่งบริการต่างๆจากอาณาบริเวณรอบๆเมือง 2 เมืองที่เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่ง (Transport Centers) 3 เมืองที่เกิดจากหน้าที่พิเศษ (Specialized Function Cities) 4 การผสมผสานกันของปัจจัยทั้ง 3 ดังได้กล่าวมาแล้ว

92 เมืองอะไรเกิดจากการหน้าที่พิเศษ (Specialized Function Cities)

1 ไมอามี่ พัทยา 2 สแกนตัน 3 พิทส์เบิร์ก 4 ข้อ 1 และ 3 5 ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 ถูกทั้งหมด

เมืองซึ่งเกิดจากหน้าที่พิเศษ คือ เมืองที่เกิดขึ้นเนื่องจากการให้บริการบางอย่าง เช่น เหมืองแร่ โรงงานอุตสาหกรรม หรือการพักผ่อน ฯลฯ หรือเป็นเมืองที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติเฉพาะอย่าง เช่น เมืองไมอามี่ พัทยา สแกนตัน พิทส์เบิร์ก ฯลฯ

93 ตัวเลือกใดจัดเป็นทฤษฎีการขยายตัวของเมือง

1 ทฤษฎีรูปดาว (Star Theory) 2 ทฤษฎีรูปวงกลม (Concentric Zone Theory)

3 ทฤษฎีรูปพาย (Sector Theory) 4 ทฤษฎีพหุศูนย์กลาง (Multiple Nuclei)

5 ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 ถูกทั้งหมด

ทฤษฎีการขยายตัวของเมือง มีดังนี้ 1 ทฤษฎีรูปดาว (Star Theory) 2 ทฤษฎีรูปวงกลม (Concentric Zone Theory) 3 ทฤษฎีรูปพาย (Sector Theory) 4 ทฤษฎีหลายศูนย์กลางหรือพหุศูนย์กลาง (Multiple Nuclei)

94 มนุษยนิเวศวิทยา จัดเป็นสาขาในศาสตร์ใด

1 สังคมวิทยา 2 ชีววิทยาพันธุกรรม 3 สมุทรศาสตร์ 4 ฟิสิกส์ 5 เคมี

ตอบ 1 สังคมวิทยา

มนุษยนิเวศวิทยา เป็นวิชาหนึ่งในแขนงสาขาสังคมวิทยาที่เน้นการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม โดยได้นำเอาความรู้และประสบการณ์จากหลายสาขาวิชาเข้ามารวมในศาสตร์นี้ เช่น เศรษฐศาสตร์ การเมือง สังคม สังคมวิทยา จริยศาสตร์ เคมี และชีววิทยา (ซึ่งเป็นวิชาที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องมากที่สุด)

95 “วนอุทยาน สวนสาธารณะ” เป็นตัวอย่างของระบบนิเวศน์ประเภทใด

1 ประเภทที่มนุษย์ได้เกี่ยวข้องโดยดัดแปลงปรับปรุง 2 ประเภทธรรมชาติที่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์

3 ประเภทที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์จริง 4 ประเภทที่มนุษย์อาศัยและประกอบกิจการงาน

5 ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 ประเภทที่มนุษย์ได้เกี่ยวข้องโดยดัดแปลงปรับปรุง

ระบบนิเวศน์ของมนุษย์ (มนุษยนิเวศวิทยา) แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ

1 Mature Natural Ecosystems เป็นระบบนิเวศน์ที่อยู่ในสภาพธรรมชาติอย่างแท้จริง ไม่มีคนอยู่อาศัย เช่น ป่า ภูเขา ทะเลทราย ฯลฯ

2 Managed Natural Ecosystems เป็นระบบนิเวศน์ที่มนุษย์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องและดัดแปลงปรับปรุง เช่น วนอุทยาน สวนสาธารณะ ฯลฯ

3 Productive Ecosystems เป็นระบบนิเวศน์ที่มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง เพื่อให้ได้ผลผลิตต่างๆ เช่น ฟาร์ม ปศุสัตว์ เหมืองแร่ ฯลฯ

4 Urban Ecosystems เป็นระบบนิเวศน์ที่มนุษย์ได้อาศัยประกอบกิจการทำงานต่างๆ เช่น บริเวณย่านอุตสาหกรรม บริเวณเมืองเล็กและเมืองใหญ่ ฯลฯ

96 ปัญหาอากาศเสีย เกิดจากสาเหตุใดมากที่สุด

1 สิ่งปฏิกูล 2 สารหนู 3 สารจากรถยนต์ 4 ยาฆ่าแมลง 5 ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 สารจากรถยนต์

ปัญหาของอากาศเสียมากที่สุดมาจากสารรถยนต์ คือ ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ 73 % ไฮโดรคาร์บอน 56 % ไนโตรเจนออกไซด์ 50 % และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 3.4 %

97 พลังงานไฮโดรอิเล็กตริก เกิดจากข้อใด

1 ถ่านหิน 2 ก๊าซธรรมชาติ 3 พลังงานจากแสงอาทิตย์

4 การสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า 5 ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 การสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า

พลังงานไฮโดรอิเล็กตริก เป็นพลังงานที่ได้จากการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งพลังงานนี้ถูกนำมาใช้ในโลกได้เพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นเมื่อเปรียบเทียบกับพลังงานที่ได้จากน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ทั้งนี้เพราะการสร้างเขื่อนมีข้อจำกัดอยู่ที่สถานที่ที่จะต้องเลือกใช้และอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ของป่าไม้ได้

98 ข้อใดคือตัวอย่างของดินเสียที่เกิดจากสาเหตุทางสังคม

1 การใช้ดีดีที 2 การใช้ยาปราบศัตรูพืช 3 การตัดไม้ทำลายป่า

4 การเผาหญ้า 5 ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 ถูกทั้งหมด

สาเหตุทางสังคมที่ทำให้เกิดดินเสีย ได้แก่ 1 การใช้สารเคมีในเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เช่น กรด ด่าง ดีดีที ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช ฯลฯ 2 การทิ้งสิ่งปฏิกูลและอินทรียวัตถุ เช่น ขยะมูลฝอย ซากสัตว์ ฯลฯ 3 การทำลายป่าไม้ด้วยการตัดและการเผาป่า 4 การเปิดหน้าดินโดยไม่ได้มีการรักษาสภาพดิน เช่น การทำเหมืองแร่

99 มานุษยวิทยากายภาพศึกษาด้านใด

1 โบราณคดี 2 ศึกษาสรีรวิทยาของคน 3 ชาติพันธุ์วิทยา

4 ชาติพันธุ์วรรณนา 5 ภาษาศาสตร์

ตอบ 2 ศึกษาสรีรวิทยาของคน

มานุษยวิทยากายภาพ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการกำเนิดของมนุษย์ในแง่สรีรวิทยาโดยมุ่งเน้นศึกษาสัตว์ตระกูล Homo Sapiens ชนิดต่างๆ ในด้านโครงสร้างของอวัยวะทางร่างกายอย่างละเอียด ซึ่งได้พยายามค้นคว้าศึกษาวิวัฒนาการจากจุดเริ่มต้นที่เรียกกันว่า ไพรเมท (Primate) หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มาจนกระทั่งถึงการมีลักษณะที่เป็นรูปร่างเหมือนกับมนุษย์ในปัจจุบัน

100 “มนุษย์ชวา มนุษย์ปักกิ่ง” เป็นขั้นใดของวิวัฒนาการของมนุษย์

1 Australopithecines 2 Pithecanthropus Erectus 3 Neanderthal Man

4 Cro – Magnon Man 5 Anthropoidea

ตอบ 2 Pithecanthropus Erectus

Pithecanthropus Erectus จะมีลักษณะเป็นมนุษย์ที่คล้ายกับวานรและเดินตัวตรง ตัวอย่างของมนุษย์วานรนี้ ได้แก่ มนุษย์ชวา มนุษย์ปักกิ่ง มนุษย์ไฮเดลเบอร์ก ฯลฯ

101 ข้อใดเป็นตัวอย่างของมนุษย์ชาติพันธุ์ผิวขา

1 พวกเอสกิโม

2 พวกมาลายัน

3 พวกอารยัน

4 พวกปิ๊กมี่

5 พวกปาปัวนิวกินี

ตอบ 3 พวกอารยัน

โดยปกติมนุษย์อาจจำแนกออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ คือ

1 มนุษย์ชาติพันธ์ผิวขาวหรือคอเคซอยด์ (Caucasoid) ได้แก่ พวกอารยัน แฮมิติก และเซมิติก

2 มนุษย์ชาติพันธุ์ผิวเหลืองหรือมองโกลอยด์ (Mongoloid) ได้แก่ พวกมองโกลอยด์ มาลายัน อินเดียแดง และเอสกิโม

3 มนุษย์ชาติพันธุ์ผิวดำหรือนีกรอยด์ (Negroid) ได้แก่ พวกแอฟริกัน ปาปัวนิวกีนี และปิ๊กมี่

102 “การให้การศึกษา” เป็นการโต้ตอบทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับความต้องการของมนุษย์ด้านใด

1 การถ่ายทอดทางวัฒนธรรม 2 การติดต่อสื่อสาร 3 ความพอใจด้านวัตถุ

4 การกระทำกิจกรรมร่วมกัน 5 การควบคุมทางสังคม

ตอบ 1 การถ่ายทอดทางวัฒนธรรม

มาลินอฟสกี้ (Malinowski) ได้กล่าวถึงความสอดคล้องระหว่างความต้องการของมนุษย์กับสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ดังนี้คือ การให้การศึกษาเป็นการโต้ตอบทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับความต้องการด้านการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม ภาษาเป็นการโต้ตอบทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับความต้องการด้านการสื่อสาร ระบบเศรษฐกิจและวัฒนธรรมทางวัตถุเป็นการโต้ตอบทางวัฒนธรรมกับความต้องการด้านความพอใจทางด้านวัตถุ ฯลฯ

103 ปรมาจารย์ทางมานุษยวิทยาวัฒนธรรมท่านใดที่สอนลูกศิษย์ให้ทำหน้าที่เสมือน “กล้องถ่ายรูป” ในการจับภาพวัฒนธรรมของสังคมแต่ละสังคม

1 เบเนดิกท์ (Benedict) 2 เรดคลิฟฟ์ – บราวน์ (Radcliffe – Brown)

3 มาลินอฟสกี้ (Malinowski) 4 โบแอส (Boas) 5 ไทเลอร์ (Tylor)

ตอบ 4 โบแอส (Boas)

โบแอส (Boas) ถือเป็นปรมาจารย์ทางมานุษยวิทยาวัฒนธรรม ซึ่งเขาได้สอนลูกศิษย์ให้ทำหน้าที่เสมือนเป็น “กล้องถ่ายรูป” ในการจับภาพวัฒนธรรมของสังคมแต่ละสังคมโดยย้ำว่านักมานุษยวิทยาควรจะเรียนรู้ภาษาพื้นเมืองของกลุ่มคนที่ต้องการไปศึกษา เพื่อจะได้รับความรู้จากสังคมนั้นๆอย่างละเอียดลึกซึ้ง

104 การศึกษาวัฒนธรรม โดยการเปรียบเทียบวัฒนธรรมของสังคมต่างๆเป็นการศึกษาของสาขาวิชามานุษยวิทยาวัฒนธรรมสาขาใด

1 โบราณวิทยาวัฒนธรรมสาขาใด 2 โบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ 3 มานุษยวิทยาภาษาศาสตร์

4 ชาติพันธุ์วรรณนา 5 มานุษยวิทยาสังคม

ตอบ 3 มานุษยวิทยาภาษาศาสตร์

ชาติพันธุ์วิทยา (Ethnology) เป็นวิชาที่ศึกษาเปรียบเทียบวัฒนธรรมของสังคมต่างๆว่าเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งจะเกี่ยวพันธุ์กับมานุษยวิทยาวัฒนธรรมมากจนนักวิชาการบางท่านถึงกับกล่าวว่าชาติพันธุ์วิทยาก็คือมานุษยวิทยาวัฒนธรรมนั่นเอง

105 ข้อใดที่ไม่ใช่ลักษณะวัฒนธรรมตะวันตก

1 การปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย 2 ยกย่องผู้ประสบความสำเร็จ

3 เชื่อฟังผู้สูงอายุ 4 นิยมวัตถุ 5 เน้นความสำคัญของตัวบุคคล

ตอบ 3 เชื่อฟังผู้สูงอายุ ดูคำอธิบายข้อ 57 ประกอบ

106 วัฒนธรรมใดที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของประเทศสเปน และโปรตุเกส

1 วัฒนธรรมยุโรป 2 วัฒนธรรมเอเชีย 3 วัฒนธรรมอเมริกาเหนือ

4 วัฒนธรรมอเมริกาใต้ 5 วัฒนธรรมแอฟริกา

ตอบ 4 วัฒนธรรมอเมริกาใต้

วัฒนธรรมอเมริกาใต้ส่วนใหญ่นั้นได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของประเทศสเปนและโปรตุเกส แม้ว่าทั้งสองประเทศจะเข้าครอบครองดินแดนแถบนี้และนำวัฒนธรรมยุโรปมาเผยแพร่ แต่ประชาชนทั่วไปก็ยังนิยมยึดถือแนวความคิดของพวกอินคาอยู่

107 ประเทศไทยอยู่ในทวีปเอเชียกลุ่มใด

1 เอเชียเหนือ 2 เอเชียใต้ 3 เอเชียตะวันตก

4 เอเชียตะวันออก 5 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ตอบ 5 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประชากรในเอเชียอาจจำแนกได้เป็น 6 กลุ่ม ดังนี้ 1 เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ (ตะวันออกกลาง) เช่น อิสราเอล ซาอุดิอารเบีย ฯลฯ 2 เอเชียใต้ เช่น อินเดีย บังคลาเทศ ฯลฯ 3 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย มาเลเซีย ฯลฯ 4 เอเชียตะวันออก เช่น จีน ญี่ปุ่น ฯลฯ 5 เอเชียใน เช่น ทิเบต ฯลฯ 6 เอเชียเหนือ เช่น ไซบีเรีย ฯลฯ

108 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของวัฒนธรรมแอฟริกา

1 แต่งงานกับภรรยาได้หลายๆคน 2 ร่วมมือกันทำงานเป็นกลุ่ม 3 ชอบดูการต่อสู้วัวกระทิง

4 ชอบดนตรีประเภทตึงตังโครมคราม 5 เคารพเครือญาติผู้ใหญ่

ตอบ 3 ชอบดูการต่อสู้วัวกระทิง

ลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมแอฟริกา ได้แก่

1 ให้เกียรติผู้สูงอายุ เคารพญาติผู้ใหญ่

2 ชอบดนตรีและเพลงประเภทตึงตังโครมครา (Jazz)

3 การทำงานเพื่อประโยชน์ของสาธารณชนมักมีการร่วมมือกันเป็นกลุ่ม

4 ชายชาวแอฟริกันคนหนึ่งอาจแต่งงานกับภรรยาได้หลายๆคน

5 ผู้หญิงเมื่อแต่งงานแล้วจะต้องมาอยู่บ้านสามีและทำงานให้ครอบครัวของสามี ฯลฯ

109 ประเภทใดที่มีประชากรที่เป็น “ชนชั้นกลาง” มากที่สุด

1 จีน 2 ญี่ปุ่น 3 รัสเซีย 4 สหรัฐอเมริกา 5 อินเดีย

ตอบ 4 สหรัฐอเมริกา

สหรัฐอเมริกา มีประชากรที่เป็นชนชั้นกลางมากที่สุด สถานภาพทางสังคมของบุคคลขึ้นอยู่กับทรัพย์สมบัติของบุคคล และให้โอกาสบุคคลในการแสวงหาความก้าวหน้าของชีวิตโดยเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเกิดในชาติตระกูลสูงหรือต่ำ ยากจนหรือร่ำรวย

110 “คนไทยมีโครงสร้างทางบุคลิกภาพและทางสังคมหลวมๆคือ ขาดวินัย” เป็นทัศนะของใคร

1 รัสเซลล์ (Russell) 2 เอมบรี (Embree) 3 สเปนเซอร์ (Spencer)

4 ค้องท์ (Comte) 5 ฟิลลิปส์ (Phillips)

ตอบ 2 เอมบรี (Embree)

จอห์น เอมบรี (Embree) นักมานุษยวิทยาตะวันตก กล่าวว่า “คนไทยชอบสนุกและมีโครงสร้างทางบุคลิกภาพและทางสังคมหลวมๆ คือ ขาดวินัย”

111 ตามทัศนะของสมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ ตัวเลือกใดคือลักษณะอุปนิสัยประจำชาติของคนไทย

1 รักความเป็นไท

2 มีความอดกลั้น

3 รู้จักประนีประนอม

4 ข้อ 1 และ 2

5 ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 ถูกทั้งหมด

ลักษณะอุปนิสัยประจำชาติของคนไทยตามทัศนะของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มี 3 ประการ ได้แก่

1 การรักความเป็นไท คือ การรักอิสรภาพเสรี ดังคำกล่าวที่ว่า “พูดได้ตามใจคือไทยแท้”

2 การปราศจากวิหิงสา คือ การไม่ชอบเบียดเบียน มีความอดกลั้น

3 การประสานประโยชน์ คือ กรรู้จักประนีประนอม มีการโอนอ่อนและอะลุ่มอล่วย มีลักษณะเล็งผลปฏิบัติหรือสัมฤทธิคติ

112 ตามทัศนะของไพฑูรย์ เครือแก้ว ค่านิยมประการหนึ่งของคนไทยคือ “การเป็นเจ้านาย” มีความหมายตามตัวเลือกใด

1 การมียศฐาบรรดาศักดิ์ 2 การมีอำนาจหน้าที่ 3 การมีใจกว้าง

4 ข้อ 1 และ 2 5 ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 ข้อ 1 และ 2

ตามทัศนะของไพฑูรย์ เครือแก้ว ลักษณะของ “การเป็นเจ้านาย” ของคนไทยมีความหมาย 3 ประการ คือ

1 การได้รับการแต่งตั้งให้มีเกียรติและตำแหน่งในสังคม รวมถึงการได้ยศฐาบรรดาศักดิ์

2 การทำงานเบาหรือมีอาชีพที่ต้องนั่งโต๊ะหรือมีอยู่มีกินโดยไม่ต้องทำอะไร

3 การมียศฐาบรรดาศักดิ์ การมีอำนาจหน้าที่

113 ตามทัศนะของ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ ตัวเลือกใดเป็นค่านิยมเฉพาะของสังคมไทย

1 ระบบครอบครัวเดี่ยว 2 การรักความเป็นอิสระ 3 การถือความสามารถ

4 ข้อ 1 และ 2 5 ข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 ข้อ 1 และ 2

ค่านิยมซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของคนไทย ตามทัศนะของ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ มีดังนี้ 1 การรักความเป็นอิสระ 2 การนิยมระบบครอบครัวเดี่ยวหรือครอบครัวเล็ก 3 การเล็งผลปฏิบัติหรือสัมฤทธิคติ 4 การยกย่องฐานะและบทบาทของสตรี

114 ตามทัศนะของทอคเกอวิลล์ (Tocqueville) คนอเมริกันมีอุปนิสัยอย่างไร

1 รักความเป็นปัจเจก 2 ชอบการรวมกลุ่ม 3 รักความเสมอภาค

4 ข้อ 1 และ 2 5 ข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 ข้อ 2 และ 3

ตามทัศนะของทอคเกอวิลล์ (Tocqueville) คนอเมริกันมีอุปนิสัยรักความเสมอภาคและชอบการรวมกลุ่ม คือ ชอบการจัดตั้งสมาคมหรือองค์การต่างๆตามความสมัครใจ ซึ่งอุปนิสัยดังกล่าว ทอคเกอวิลล์ถือว่าเอื้อต่อความเป็นประชาธิปไตยให้สหรัฐอเมริกา

115 ผลงานใดของเบเนดิกท์ (Benedict) ที่ศึกษาอุปนิสัยของคนญี่ปุ่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

1 โกโบริและดาบซามูไร 2 โกโบริและฮิเดโกะ 3 ดอกเบญจมาศและดาบซามูไร

4 ดอกมะลิและดาบซามูไร 5 เพิร์ล ฮาร์เบอร์ (Pearl Harbour) และดาบซามูไร

ตอบ 3 ดอกเบญจมาศและดาบซามูไร

รุธ เบเนดิกท์ (Benedict) นักมานุษยวิทยาทางวัฒนธรรมชาวอเมริกันได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับอุปนิสัยประจำชาติของคนญี่ปุ่นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นมาชื่อว่า “ดอกเบญจมาศและดาบ(ซามูไร)” โดยเขาเห็นว่า บุคลิกภาพของคนญี่ปุ่นนั้นจะเป็นเสมือนดอกเบญจมาศและดาบซามูไร คือ จะอ่อนน้อมภายนอกแต่แข็งแกร่งภายใน

116 การสังคมสงเคราะห์ถือกำเนิดขึ้นในประเทศใด

1 อังกฤษ 2 สหรัฐอเมริกา 3 ฝรั่งเศส 4 ญี่ปุ่น 5 แคนาดา

ตอบ 1 อังกฤษ

ประเทศอังกฤษนับว่าเป็นประเทศแรกที่ริเริ่มและถือเป็นแม่แบบในการจัดการสังคมสงเคราะห์ โดยจะเห็นได้จากการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความผาสุกของส่วนนวมเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ในปี ค.ศ. 1601 พระนางเจ้าอลิซาเบธที่ 1 ได้ทรงออกกฎหมายเพื่อช่วยเหลือคนจนที่เรียกว่า Elizabethan Poor Law ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายแม่บทในการวางรากฐานด้านการสังคมสงเคราะห์

117 ข้อใดจัดว่าคือวิธีการสังคมสงเคราะห์ที่ให้บริการโดยตรง

1 การจัดระเบียบชุมชน 2 การสำรวจวิจัยทางสังคมสงเคราะห์

3 การสังคมสงเคราะห์กลุ่ม 4 ข้อ 1 และ 2 5 ข้อ 1 และ 3

ตอบ 5 ข้อ 1 และ 3

วิธีการของสังคมสงเคราะห์ มี 5 วิธีการ ได้แก่

1 การสังคมสงเคราะห์เฉพาะราย (Social Case Work)

2 การสังคมสงเคราะห์กลุ่ม (Social Group Work)

3 การจัดระเบียบชุมชน (Community Organization)

4 การสำรวจวิจัยทางสังคมสงเคราะห์ (Social Research)

5 การบริหารงานสวัสดิการสังคม (Social Welfare Administration)

โดย 3 วิธีการแรกจัดเป็นการให้บริการโดยตรง (Direct Service) ส่วน 2 วิธีการหลังจัดเป็นการให้บริการทางอ้อม (Indirect Service)

118 ข้อใดไม่ใช่หลักการสำคัญในงานสังคมสงเคราะห์

1 หลักในการยอมรับ 2 หลักการให้ Client มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา

3 หลักการรักษาความลับของ Client 4 หลักการถือความสัมพันธ์ส่วนตัว

5 หลักการให้ความสำคัญต่อตัวบุคคล

ตอบ 4 หลักการถือความสัมพันธ์ส่วนตัว

หลักการสำคัญในงานสังคมสงเคราะห์ มีดังนี้ 1 หลักในการยอมรับและเข้าใจผู้มีปัญหาหรือผู้รับบริการ Client 2 หลักในการติดต่อสื่อสารให้เข้าใจซึ่งกันและกัน 3 หลักในการให้ความสำคัญต่อตัวบุคคล 4 หลักการให้ Client เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา 5 หลักการเก็บปัญหาของ Client ให้เป็นความลับ 6 หลักการตระหนักในตัวเองของนักสังคมสงเคราะห์ คือ การสร้างความสัมพันธ์ด้านวิชาชีพแต่ไม่สร้างความสัมพันธ์ส่วนตัวกับผู้รับบริการ

119 ข้อใดคือขั้นตอนการปฏิบัติงานขั้นแรกที่นักสังคมสงเคราะห์ต้องทำก่อนขั้นอื่น

1 การวิเคราะห์และวินิจฉัย 2 การค้นคว้าหาข้อเท็จจริง 3 การให้การแก้ไข

4 การประเมินผล 5 การสื่อความหมาย

ตอบ 2 การค้นคว้าหาข้อเท็จจริง

การค้นคว้าหาข้อเท็จจริง (Fact Finding เป็นขั้นตอนการปฏิบัติงานขั้นแรก ที่นักสังคมสงเคราะห์จะต้องทำก่อนงานอื่น โดยพยายามรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้มีปัญหา (Client) ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ไม่ว่าจะเป็นประวัติความเป็นมาหรือปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งข้อเท็จจริงที่ได้จะเป็นแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับปัญหาของ Client

120 นักสังคมสงเคราะห์ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มบุคคล และจัดบุคคลเข้าเป็นสมาชิกในกลุ่มใด

1 กลุ่มครอบครัว 2 กลุ่มเพื่อน 3 สังคมที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน

4 ข้อ 1 และ 2 5 ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 ถูกทั้งหมด

นักสังคมสงเคราะห์ได้พยายามศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มกับบุคคลและจัดบุคคลให้เข้าอยู่ใน 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1 กลุ่มครอบครัว 2 กลุ่มเพื่อน 3 สังคมที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน

Advertisement