การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2556
ข้อสอบกระบวนวิชา SOC 1003 สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเบื้องต้น
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
1. เพราะเหตุใดมนุษย์จึงต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
(1) เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานของชีวิต
(2) เพื่อการมีอำนาจเหนือกลุ่มอื่น
(3) เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้อื่น
(4) เพื่อรวบรวมกำลังไว้ต่อสู้ศัตรู
(5) เพื่อแสดงให้เห็นว่ามนุษย์ต่างจากสัตว์เพราะมีวัฒนธรรม
ตอบ 1 หน้า 1-2 สาเหตุที่มนุษย์จึงต้องมาอยู่รวมกับเป็นสังคม เพราะ
1. มนุษย์มีระยะแห่งการเป็นทารกนานและช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ในระยะเริ่มต้นของชีวิต ทำให้ มนุษย์จำเป็นต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันและสร้างแบบแผนความสัมพันธ์ในรูปของครอบครัวขึ้น
2. มนุษย์มีความสามารถด้านสมอง สามารถคิดค้นและควบคุมธรรมชิาติได้ ก็เป็นสาเหตุสำคัญ ที่มนุษย์จะต้องอยู่รวมกับเป็นกลุ่ม เพื่อทำกิจกรรมตอบสนองความต้องการพื้นฐานของชีวิต
3. มนุษย์สามารถสร้างและถ่ายทอดวัฒนธรรม เพื่อตอบสนองความต้องการด้านความรัก ความอบอุ่น ฯลฯ
2. ตัวเลือกใดเป็นผลจากการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสังคมมนุษย์
(1) เข้าใจสังคมของตน
(2) เข้าใจกฎเกณฑ์ของสังคม
(3) เข้าใจสังคมอื่นที่สัมพันธ์ด้วย
(4) เข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคม
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 หน้า 4-5 ผลที่ได้รับจากการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสังคมมนุษย์ มีดังนี้
1. เข้าใจลักษณะ รูปแบบ และโครงสร้างสังคมของตนและสังคมอื่นที่สัมพันธ์ด้วย ทำให้ทราบถึง กลไกการทำงานของสังคม และแนวทางประพฤติปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่สังคมกำหนดขึ้น
2. สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อสมาชิกรวมสังคมและสมาชิกร่วมโลก เข้าใจสถานภาพ และบทบาทของตนเองและผู้อื่น ทั้งนี้ก็เนื่องจากมนุษย์จะแยกตัวอยู่โดดเดี่ยวไม่ได้
3. เข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมที่เป็นโทษและสาเหตุที่กำหนดพฤติกรรมเบี่ยงเบน
4. เกิดประโยชน์ต่อทุกวิชาชีพ โดยใช้เป็นวิชาความรู้ควบคู่กับการศึกษาวิชาอื่น ๆ เพราะ ทุกฝ่ายต่างจะต้องใช้วิชาชีพนั้น ๆ กับคนในสังคมทั้งสิ้น
3. ผู้ใดสร้างหลักการและกฎเกณฑ์การศึกษาสังคมโดยเน้นวิเคราะห์ “การกระทำทางสังคม”
(1) เดอร์ไคม์ (Durkheim) (2) เวเบอร์ (Weber) (3) มาร์กซ์ (Marx)
(4) ข้อ 1 และ 2 (5) ข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 6 เดอร์ไคม์ (Durkheim) และเวเบอร์ (Weber) ได้พยายามสร้างหลักการและกฎเกณฑ์ ของการศึกษาสังคมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยพิจารณารายละเอียดหรือระบบความสัมพันธ์’ของคน ในแง่ต่าง ๆ กัน ในรูปของสถาบันทางสังคม และศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสังคม ตลอดจน เน้นวิเคราะห์ “การกระทำทางสังคม”
4. การศึกษาสังคมวิทยาด้วยสามัญสำนึกเกิดขึ้นเมื่อใด
(1) ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม (2) ก่อนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18
(3) หลังปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 (4) ข้อ 1 และ 2 (5) ข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 หน้า 2-3 การศึกษาสังคมวิทยาด้วยสามัญสำนึก (Common Sense) เกิดขึ้นก่อนปลาย คริสต์ศตวรรษที่ 18 หรือก่อนการปฎิวิติอุตสาหกรรม ต่อมาในราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 การศึกษาสังคมวิทยาก็ได้แปรเปลี่ยนไปใช้วิธีการแบบวิทยาศาสตร์ (Science) ซึ่งเป็นผล มาจากอิทธิพลของการปฏิวั้ติอุตสาหกรรมในปี ค.ศ. 1767
5 ผู้ใดไม่เห็นด้วยกับแนวคิดที่ว่า “ทุกสังคมต้องมีดุลยภาพทางสังคม”
(1) มาลินอฟสกี้ (Malinowski) (2) ลีช (Leach)
(3) แรดคลิฟ-บราวน์ (Raddiffe-Brown) (4) ข้อ 1 และ 2 (5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 2 หน้า 7 ลีช (Leach) ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดที่ว่า “ทุกสังคมต้องมีดุลยภาพทางสังคม”โดยเขากล่าวว่า สังคมไม่จำเป็นต้องมีดุลยภาพเสมอไป ทั้งนี้เพราะสังคมอาจจะเกิด ความไม่สงบและเปลี่ยนจากรูปแบบหนึ่งไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง แล้วอาจเปลี่ยนกลับคืนมา เป็นลักษณะเดิมอิก เช่น สังคมชาวกะฉิ่นในประเทศพม่า ซึ่งเขาได้ใช้เวลาในการศึกษาอยู่ที่นั่น เป็นเวลานานหลายปี
6 ในการศึกษาสังคม การใช้เหตุผลและทฤษฎีทำการวินิจฉัยข้อเท็จจริงและนำมาแยกเป็นหมวดหมู่เรียกว่า วิธีอะไร
(1) Abstract
(2) Empiricism (3) Rationalism (4) General Law (5) Proposition
ตอบ 3 หน้า 15 สังคมวิทยาเป็นศาสตร์ที่มีเหตุผล เนื่องจากมีวิธีการศึกษา 2 วิธีการ คือ
1. Empiricism เป็นวิธีการศึกษาที่ได้มาจากประสบการณ์และข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการสังเกตพิจารณาและการทดลอง ดังนั้นพวก Empiricist จะออกไปรวบรวมข้อเท็จจริง จากประสบการณ์เพื่อใช้ประกอบการศึกษาสังคม
2. Rationalism เป็นวิธีการที่เน้นถึงเหตุผลและทฤษฎีซึ่งได้มาจากการวินิจฉัยตามหลักตรรกวิทยา (Logic) โดยพวก Rationalist จะทำการวินิจฉัยข้อเท็จจริงแล้วนำมาแยกแยะ ผสมผสานเข้าเป็นหมวดหมู่
7 สาขาวิขาใดเป็นศาสตร์ประยุกต์
(1) ฟิลิกส์
(2) สังคมวิทยา (3) บริหารธุรกิจ (4) คณิตศาสตร์ (5) เศรษฐศาสตร์
ตอบ 3 หน้า 14, (คำบรรยาย) วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ได้แก่ วิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ เภสัชกรรม บริหารธุรกิจ การบัญชี การเมือง กฎหมาย การสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ (ส่วนวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ ได้แก่ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา ฯลฯ)
8 คำว่า Socius ใบภาษาละตินหมายถึงอะไร
(1) สังคม
(2) เพื่อน (3) วัฒนธรรม (4) ถ้อยคำ (5) ชาติพันธุ์
ตอบ 2 หน้า 16 สังคมวิทยา (Sociology) มาจากศัพท์ 2 คำ คือ คำว่า Socius ซึ่งเป็นภาษาละดิน มีความหมายว่า “เพื่อน” (Companion) และคำว่า Logos ซึ่งเป็นภาษากรีก มีความหมายว่า “ถ้อยคำ” (Word) เมื่อรวมคำทั้ง 2 เข้าด้วยกันก็จะแปลว่า การพูดคุยเกี่ยวกับสังคม
9 ผู้ใดแบ่งการศึกษาทางสังคมวิทยาออกเป็นสังคมสถิตและสังคมพลวัต
(1) ค้องท์ (Comte) (2) เดอร์ไคม์ (Durkheim) (3) เวเบอร์ (Weber)
(4) มาร์กซ์ (Marx) (5) สเปนเซอร์ (Spencer)
ตอบ 1 หน้า 18 – 19 ค้องท์ (Comte) ได้แบ่งการศึกษาทางสังคมวิทยาออกเป็น 2 สาขา ได้แก่
1. สังคมสถิต (Social Statics) เป็นการศึกษาเรื่องราวภายในสังคม คือ ศึกษาส่วนย่อย ได้แก่ สถาบันต่าง ๆ ทางสังคม เช่น สถาบันเศรษฐกิจ สถาบันครอบครัว สถาบันการเมือง สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา ฯลฯ
2. สังคมพลวัต (Social Dynamics) เป็นการศึกษาสังคมทั้งสังคม โดยเน้นการศึกษาในเรื่อง ที่ว่าสังคมเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และมีวิวัฒนาการความเป็นมาหรือเป็นไปอย่างไร ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
10. ผู้ใดได้รับการยกย่องว่าเป็นปฐมาจารย์ของสังคมวิทยาปัจจุบัน
(1) ค้องท์ (Comte) (2) เวเบอร์ (Weber) (3) มาร์กซ์ (Marx)
(4) เพลโต (Plato) (5) เดอร์ไคม์ (Durkheim)
ตอบ 1 หน้า 18 ค้องท์ (Comte) ถือกันว่าเป็นปฐมาจารย์ (อาจารย์คนแรก) ของสังคมวิทยาในสมัย ปัจจุบัน คือ สังคมวิทยาในฐานะที่เป็นวิทยาศาสตร์แห่งสังคม
11. สาระของวิชาสังคมวิทยาได้แก่ตัวเลือกใด
(1) สังคมมนุษย์
(2) จักรวาล
(3) สถาบันทางสังคม
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 หน้า 21-22 สาระของวิชาสังคมวิทยา มีดังนี้ 1. ศึกษาความสัมพันธ์ของบุคคลในสังคม
2. ศึกษาสังคมมนุษย์ทั้งสังคม 3. ศึกษาสถาบันทางสังคม
12. การออกไปรวบรวมข้อเท็จจริงจากประสบการณ์เพื่อใช้ในการศึกษาสังคม เรียกว่าวิธีการอะไร
(1) Abstract
(2) Empiricism
(3) Rationalism
(4) General Law
(5) Proposition
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ
13. ผู้ใดบัญญัติศัพท์ “วัฒนธรรม” ขึ้นในปี พ.ศ. 2475
(1) พระมหาพูล
(2) เสฐียรโกเศศ
(3) นาคประทีป
(4) พระศรีสุนทร
(5) พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร
ตอบ 5 หน้า 56 พ.ศ. 2475 พระวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ขณะทรงพระยศเป็น พระองศ์เจ้าวรรณไวทยากรทรงเป็นผู้ริเริ่มบัญญัติศัพท์คำว่า “วัฒนธรรม” ขึ้นเป็นคนแรก
14. งานเขียนเรื่อง “ขุนข้างขนแผน” เป็นตัวอย่างของวัฒนธรรมตามความหมายในแง่ใด
(1) สิ่งดีงามหรือได้รับการปรุงแต่งให้ดีแล้ว (2) ความหมายตามรากศัพท์เดิม
(3) ตามนัยทางสังคมศาสตร์ (4) ข้อ 1 และ 2 (5) ข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 หน้า 56 – 57, (คำบรรยาย) วัฒนธรรมตามรากศัพท์เติม หมายถึง สิ่งที่ดีงามหรือสิ่งที่ได้รับ การปรุงแต่งให้ดีแล้วหรือสิ่งที่ได้รับการยอมรับและยกย่องมาเป็นเวลานานแล้ว ตัวอย่างเช่น
1. ภาพวาดของจิตรกรที่มืชื่อเสียง เช่น แองเจโล โกแก็ง ปิกัสโซ ฯลฯ รวมถึงภาพวาดหรือ จิตรกรรมฝาผนังตามระเบียงในโบสถ์วิหารของวัดวาอารามต่าง ๆ
2. ดนตรีของคีตกวีเอก เช่น บีโธเฟน โมสาร์ต และดนตรีไทยของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ฯลฯ
3. วรรณคดีอมตะ เช่น บทละครของเชกส์เปียร์ พระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์และอิเหนา งานเขียนเรื่องขุนข้างขุนแผนของสุนทรภู่ ฯลฯ
15. ความหมายของคำว่า “วัฒนธรรม’’ ที่กว้างขวางครอบคลุมทุกสิ่งที่เป็นผลผลิตของมนุษย์ได้แก่ความหมายของวัฒนธรรมในข้อใด
(1) รากศัพท์เดิม (2) สิ่งดีงาม
(3) ขนบธรรมเนียมประเพณี (4) นัยทางสังคมศาสตร์ (5) ข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 58 – 59 วัฒนธรรมตามนัยแห่งสังคมศาสตร์มีความหมายกว้างขวางมากที่สุด คือ ครอบคลุมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นผลผลิตหรือผลงานหรือผลแห่งการกระทำของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมทางวัตถุหรือทางอวัตถุ และมีขอบเขตเกินกว่าการเป็นสิ่งที่ดีงามหรือ เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ
16. ตัวเลือกใดเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวงจรชีวิตของมนุษย์
(1) การเกิด การตาย
(2) สงกรานต์ (3) แห่นางแมวขอฝน (4) ทอดกฐิน (5) เทศน์มหาชาติ
ตอบ 1 หน้า 57 – 58 วัฒนธรรมที่หมายถึงขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ จะเกี่ยวข้องกับ
1. ขนบธรรมเนียมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวาระสำคัญ ๆ ของการดำเนินชีวิตของ “บุคคล” ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย อันเป็นวงจรชีวิตของมนุษย์
2. ประเพณีที่เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของ “คนในสังคม” เช่น ประเพณีสงกรานต์ แห่นางแมวขอฝน ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า เทศน์มหาชาติ เข้าพรรษา ออกพรรษา ลอยกระทง ฯลฯ
17. ตัวเลือกใดคือลักษณะของวัฒนธรรม
(1) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ
(2) คือพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้
(3) มองเห็นสัมผัสได้
(4) ปรากฏในสิ่งมีชีวิตทุกหนทุกแห่ง
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 2 หน้า 61 ลักษณะของวัฒนธรรมตามคำนิยามมาตรฐาน มี 6 ลักษณะ คือ
1. เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ (ไม่ไช่ปรากฏการณ์ธรรมชาติ)
2. เป็นรูปแบบหรือกระสวนแห่งพฤติกรรมอันเกิดจากการเรียนรู้
3. เป็นผลหรือผลิตผลของพฤติกรรม (ทั้งที่มองไม่เห็นสัมผัสไม่ได้หรือมองเห็นสัมผัสได้)
4. เป็นสิงที่สมาชิกของสังคมรู้สึกว่ามีส่วนร่วมเป็นเจ้าของไม่มากก็น้อย
5. มีการถูกส่งต่อหรือได้รับการถ่ายทอดมา
6. มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นนิจศีล
18. ตัวเลือกใดเป็นตัวอย่างของรูปแบบหรือกระสวนแห่งพฤติกรรม (Pattern)
(1) ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ แม่ ลูก (2) การปะทะสังสรรค์ระหว่างครูกับศิษย์
(3) มือกระตุกกลับเมื่อสัมผัสของร้อนจัด (4) ข้อ 1 และ 2 (5) ข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 64 ตัวอย่างของรูปแบบหรือกระสวนแห่งพฤติกรรม (Pattern) ในความหมายว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เมื่อมีการติดต่อกันหรือที่เรียกว่า มีการปะทะสังสรรค์กัน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ แม่ ลูก การปะทะสังสรรค์กันระหว่าง ครูกับศิษย์ นายจ้างกับลูกจ้าง ฯลฯ
19. ตะปู ไขควง ดินสอ เป็นตัวอย่างของโครงสร้างวัฒนธรรมประเภทใด
(1) Culture Complex
(2) Culture Trait (3) Culture Lae (4) Subculture (5) Counterculture
ตอบ 2 หน้า 91 โครงสร้างของวัฒนธรรมประกอบด้วย 2 หน่วยใหญ่ ๆ ได้แก่
1. หน่วยเล็กที่สุด (Culture Trait) คือ พฤติกรรมอันเกิดจากการเรียนรู้หรือผลผลิตทางวัตถุ ซึ่งย่อยที่สุดจนเชื่อว่าแยกให้เล็กลงกว่านั้นโดยมีลักษณะแบบเดิมไม่ได้ ได้แก่ วัฒนธรรม ทางวัตถุ เช่น ตะปู ไขควง ดินสอ ผ้าเข็ดหน้า ฯลฯ และวัฒนธรรมทางอวัตถุ เช่น การไหว้ การจับมือ การขับรถ การวิ่ง ฯลฯ
2. หน่วยที่สลับซับซ้อน (Culture Complex) คือ การรวมกลุ่มหรือการรวมเป็นชุดของ หน่วยย่อยที่สุดที่เกี่ยวพันกัน เช่น การเต้นรำ การสวดมนต์ ครอบครัว ศาสนา ฯลฯ
20. ตัวเลือกใดคือความหมายของคำว่า “กลุ่มสังคม”
(1) กลุ่มคนที่มีสำนึกเป็นพวกเดียวกัน
(2) กลุ่มคนที่กำลังรอคอยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
(3) กลุ่มคนที่มีลักษณะบางอย่างเหมือนกัน
(4) กลุ่มคนที่ขาดระเบียบ
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 98 กลุ่มสังคม หมายถึง กลุ่มคนที่มีการกระทำโต้ตอบซึ่งกันและกัน มีการติดต่อสัมพันธ์กัน ตามสถานภาพและบทบาท มีความรู้ลืกสำนึกเป็นพวกเดียวกัน และมีความเชื่อในด้านคุณค่า ร่วมกันหรือคล้ายคลึงกัน เช่น ครอบครัว กลุ่มเพื่อน กลุ่มอาชีพ กลุ่มเชื้อชาติ ฯลฯ
21. การติดต่อสัมพันธ์กันโดยใช้ความรู้สึกอารมณ์ ปรากฏในกลุ่มใด
(1) ปฐมภูมิ
(2) ทุติยภูมิ
(3) ตติยภูมิ
(4) จตุภูมิ
(5) ไตรภูมิ
ตอบ 1 หน้า 98 กลุ่มปฐมภูมิ (Primary Group) เป็นกลุ่มคนที่มีขนาดเล็ก มีการติดต่อสัมพันธ์กัน ทางสังคมใกล้ชิดสนิทสนม กระทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยมีจุดหมายร่วมกัน และมักใช้อารมณ์ ความรู้สึกมากกว่าเหตุผล ตัวอย่างเช่น ครอบครัว เพือนสนิท เพื่อนเล่น เพื่อนบ้าน ฯลฯ โดยผู้บัญญัติศัพท์คำว่า Primary Group ก็คือ คูลีย์ (Cooley) นักสังคมวิทยาชาวอเมริกัน
22. กลุ่มสังคมชนิดใดเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน
(1) กลุ่มปฐมภูมิ
(2) กลุมทุติยภูมิ
(3) กลุ่มปฐมฐาน
(4) กลุ่มอ้างอิง
(5) กลุ่มเขา
ตอบ 1 หน้า 98 – 99 กลุ่มปฐมภูมิ (Primary Group) มีความสำคัญดังนี้
1. เป็นกลุ่มแรกที่มนุษย์ เป็นสมาชิก คือ ครอบครัว 2. เป็นกลุ่มที่ทำหน้าที่อบรมขัดเกลาทางสังคม (Socialization)
3. เป็นกลุ่มสำคัญที่ส่งเสริมหรือต่อต้านการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้ เช่น เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนที่อยูห่างไกล
4. เป็นประโยชน์ในด้านการสร้างขวัญกำลังใจ
23. ตัวเลือกใดคือลักษณะความสัมพันธ์ของกลุ่มทุติยภูมิ
(1) สัมพันธ์กันทุกด้าน
(2) สัมพันธ์กันยาวนาน
(3) สัมพันธ์กันเฉพาะด้าน
(4) เน้นความรู้สึกอารมณ์
(5) เน้นความใกล้ชิดทางกายภาพ
ตอบ 3 หน้า 99, 101 กลุ่มทุติยภูมิ (Secondary Group) เป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ มีการติดต่อทางสังคมห่างเหินระยะสั้น การติดต่อสัมพันธ์เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่สังคมกำหนดหรือตามหน้าที่ ขาดความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ขาดความสนิทสนมคุ้นเคยเป็นส่วนตัว สัมพันธ์กันเฉพาะด้าน หรือเฉพาะส่วน มีกฎเกณฑ์การควบคุมทางสังคมอย่างเป็นทางการ ความคิดเห็นของกลุ่มมุ่งที่เหตุผลและเน้นด้านประสิทธิภาพ เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย กองทัพ สมาคม องค์กร บริษัท ฯลฯ
24. นักวิชาการท่านใดเป็นผู้บัญญัติศัพท์คำว่า “กลุ่มปฐมภูมิ”
(1) มาร์กซ์(Marx)
(2) เวเบอร์ (Weber) (3) คูลีย์ (Cooley) (4) ทอนนี่ (Tonnies) (5) ค้องท์ (Comte)
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 21. ประกอบ
25. “แก๊งเด็กแว้น” จัดเป็นกลุ่มสังคมประเภทใด
(1) ทุติยภูมิ
(2) ปฐมภูมิ (3) อ้างอิง (4) กลุ่มเขา (5) ข้อ 3 และ 4
ตอบ 3 หน้า 100 กลุ่มอ้างอิง (Reference Group) หมายถึง กลุ่มคนที่เป็นแบบแผนของพฤติกรรม ซึ่งอาจเป็นอะไรหรือใครก็ได้ที่เป็นแบบอย่างหรือแนวทางที่คนยึดถือเป็นหลักในการตัดสินใจ หรือเป็นแนวทางในการแสดงออกของพฤติกรรม เช่น ดารา นักร้อง นักแสดง ละครโทรทัคน์ ภาพยนตร์ ลัทธิความเชื่อ คำสอน สุภาษิต คติพจน์ วีรบุรุษ สิ่งของ หรือบุคคล/กลุ่มบุคคลที่เก่งกล้าแต่มีพฤติกรรมที่ละเมิดบรรทัดฐานของสังคม เช่น หัวหน้าโจร แก๊งเด็กแว้น ฯลฯ
26. ครอบครัวที่มีคู่สมรสมากกว่า 1 คน จัดเป็นครอบครัวรูปแบบใด
(1) ครอบครัวขยาย
(2) ครอบครัวปฐมนิเทศ (3) ครอบครัวเดี่ยว (4) ครอบครัวหน่วยกลาง (5) ครอบครัวประกอบร่วม
ตอบ 5 หน้า 115 – 116 ครอบครัวประกอบร่วมหรือครอบครัวซ้อน เป็นระบบครอบครัวที่ชายหญิง สามารถมีคู่สมรสได้มากกว่า 1 คนที่เรียกว่าหลายผัวหลายเมีย (พหุคู่ครอง) ซึ่งแยกออกเป็น
1. ชายมีภรรยาหลายคน (พหุภรรยา) 2. หญิงมีสามีหลายคน (พหุสามี) ซึ่งยังปรากฏอยู่ในชาวทิเบตบางกลุ่ม 3. ครอบครัวที่เกิดจากการสมรสหมู่ ซึ่งปัจจุบันได้สูญหายไปจากโลกนี้แล้ว เหลือเพียงหลักฐานเพื่อการศึกษาเท่านั้น 4. ครอบครัวภาระหรือครอบครัวภาวะจำยอม
27. ตัวเลือกใดไม่ใช่การจำแนกครอบครัวตามขนาดและรูปแบบ
(1) ครอบครัวปฐมนิเทศ (2) ครอบครัวหน่วยกลาง (3) ครอบครัวขยาย
(4) ครอบครัวประกอบร่วม (5) ครอบครัวเดี่ยว
ตอบ 1 หน้า 114-115 การจำแนกครอบครัวตามขนาดและรูปแบบ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. ครอบครัวหน่วยกลางหรือครอบครัวเดี่ยว 2. ครอบครัวขยาย 3. ครอบครัวประกอบร่วม
28. ข้อใดคือลักษณะสำคัญของครอบครัวขยาย
(1) ปรากฏทั่วไปเป็นสากล
(2) อำนาจขึ้นอยู่กับผู้อาวุโส (3) หญิงมีสามีได้หลายคน
(4) สามีมีภรรยาได้หลายคน (5) ประกอบด้วยสมาชิกเพียง 2 ช่วงวัย
ตอบ 2 หน้า 114 – 115 ครอบครัวขยาย (Extended Family) มีลักษณะสำคัญดังนี้
1. เป็นครอบครัวร่วม ประกอบด้วยครอบครัวเดี่ยวตั้งแต่ 2 ครอบครัวขึ้นไป
2. อำนาจสิทธิ์ขาดภายในครอบครัวขึ้นอยู่กับผู้อาวุโส/ระบบอาวุโส
3. ส่วนใหญ่มักปรากฏในสังคมเกษตรกรรมหรือสังคมดั้งเดิมอันเป็นสังคมล้าหลัง
29. การมีคู่สมรสต่างพวกหรือต่างวงศ์วานกันเรียกว่าอะไร
(1) Endogamy
(2) Exogamy (3) Homogamy (4) Heterogamy (5) Polygamy
ตอบ 2 หน้า 119 การเลือกคู่สมรสโดยพิจารณาจากเกณฑ์บุคคลที่เป็นคู่สมรสด้วย มีข้อที่
ควรพิจารณาอยู่ 2 ประเภท คือ 1. คู่สมรสเป็นพวกเดียวกันหรือวงศ์วานเดียวกัน
(Endogamy) ซึ่งมุ่งความสนิทสนมกันภายในวงศ์วานเป็นหลัก เช่น มีเชื้อชาติเดียวกัน เป็นคนท้องถิ่นเดียวกัน นับถือศาสนาเดียวกัน นิยมลัทธิการเมืองเดียวกัน ฯลฯ 2. คู่สมรสต่างพวกหรือต่างวงศ์วานกัน (Exogamy) แต่เป็นความพอใจของคู่สมรส ซึ่งต่างฝ่ายต่างมีความพอใจในกันและกันจนเกิดสภาพการแต่งงานกันขึ้น
30. ข้อใดกล่าวถึงศาสนาไม่ถูกต้อง
(1) ปรากฏเฉพาะในสังคมที่เจริญแล้ว
(2) เป็นความเชื่อโดยปราศจากการเคารพบูชา (3) มีการกวดขันเรื่องความจงรักภักดี
(4) ข้อ 1 และ 2 (5) ข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 128, 131 โดยทัวไปศาสนาจะมีปรากฏในทุกสังคมทั้งสังคมที่เจริญแล้วและ ยังด้อยความเจริญ ศาสนาเป็นความเชื่อถือโดยมีความศักดิ์สิทธิ์และการเคารพบูชา ศาสนาต้องมีคำสอนทางศีลธรรมจรรยาและต้องมีการกวดขันเรื่องความจงรักภักดี
31. “ความเกรงกลัวสิ่งที่ไมีแน่นอน สิ่งที่คาดการณ์ไม่ได้ ทำให้คนมุ่งไปที่ศาสนาหรือพิธีกรรม” เป็นความเห็น ของนักวิชาการท่านใด
(1) ฟรอยด์ (Freud)
(2) มาร์กซ์ (Marx)
(3) เวเบอร์ (Weber)
(4) ค้องท์ (Comte)
(5) มาลินอฟสกี้ (Malinowski)
ตอบ 5 หน้า 133, 350 ความสำคัญของศาสนาในทางสังคมวิทยานั้น ได้มีผู้แสดงความเห็นไว้ดังนี้
1. ฟรอยด์ (Freud) เห็นว่า ศาสนามีประโยชน์ในด้านเป็นเครื่องปลอบประโลมใจในยามทุกข์ยาก
2. มาร์กซ์ (Marx) ถือว่า ศาสนาเป็นยาเสพติด เพราะก่อให้เกิดความงมงาย และเป็นอุปสรรค ต่อการปฏิวิตทางการเมือง ซึ่งเป็นการมองศาสนาไปในแง่ร้าย
3. มาลินอฟสกี้ (Malinowski) เห็นว่า ศาสนาและพิธีกรรมมักเกี่ยวพันกับความไม่แน่ใจ ในเรื่องธรรมชาติ ความเกรงกลัวในสิ่งที่ไม่แน่นอน/สิ่งที่คาดการณ์ไม่ได้ ทำให้คนมุ่งไปที่ ศาสนาหรือพิธีกรรม
32. เพราะเหตุใด มนุษย์จึงบนบานศาลกล่าวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ
(1) มนุษย์มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง
(2) มนุษย์ไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง
(3) มนุษย์ใช้หลักเหตุผล
(4) มนุษย์ศรัทธาในสิ่งเหนือธรรมชาติ
(5) ข้อ 2 และ 4
ตอบ 2 หน้า 133 – 134 ความจำเป็นที่มนุษย์ต้องมีศาสนา เกิดจากสาเหตุ 3 ประการ คือ
1. มนุษย์ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง มนุษย์จึงบนบานศาลกล่าวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเคารพนับถือ เพื่อขอให้ตนได้รับในสิ่งที่ต้องการหรือสิ่งอันพึงประสงค์
2. มนุษย์ไม่เข้าใจสภาวะแวดล้อมที่แท้จริง มนุษย์จึงพยายามหาสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ
3. มนุษย์ต้องการนำศาสนามาควบคุมพฤติกรรมของสังคม เพื่อให้สังคมอยู่ด้วยความสงบสุข
33. ศาสนาใดมีความเชื่อประเภทพหุเทวนิยม
(1) คริสต์
(2) อิสลาม (3) ฮินดู (4) พุทธ (5) เต่า
ตอบ 3 หน้า 139 – 140 ความเชื่อทางศาสนา มี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. เทวนิยม (Theism) เป็นระบบความเชื่อที่ว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก แบ่งออกเป็น เอกเทวนิยม (เชื่อว่ามีพระเจ้าเพียงพระองค์เดียว) เช่น ศาสนาคริสต์ อิสลาม ฯลฯ, พหุเทวนิยม (นับถือ พระเจ้าหลายพระองค์) เช่น ศาสนาฮินดู ฯลฯ, สัพพัตถเทวนิยม (เชื่อว่าพระเจ้าและจักรวาล เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน) เช่น เชื่อว่าแผ่นดินมีแม่พระธรณีเป็นผู้ดูแลปกปักรักษา ฯลฯ
2. อเทวนิยม (Atheism) เป็นระบบความเชื่อที่อาศัยเหตุผลและความเป็นจริงเป็นสำคัญ โดยไม่ผูกพันอยู่กับเทพเจ้า เช่น ศาสนาพุทธ เซนช เต๋า ฯลฯ
34. นักวิชาการท่านใดพิจารณาว่าศาสนามีอิทธิพลตอความก้าวหน้าของระบบอุตสาหกรรม
(1) ฟรอยต์ (Freud) (2) มาร์กซ์ (Marx) (3) เวเบอร์ (Weber)
(4) เดอร์ไคม์ (Durkheim) (5) มาลินอฟสกี้ (Malinowski)
ตอบ 3 หน้า 136, (คำบรรยาย) เวเบอร์ (Weber) เป็นนักวิชาการที่พิจารณาว่า ความเชื่อทางศาสนามีอิทธิพลต่อความเจริญก้าวหน้าของระบบอุตสาหกรรม เพราะศาสนาเป็นตัวกระตุ้นหรือประคับประคองให้มนุษย์ในสังคมเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการ
35. อะไรคือสาระสำคัญของการศึกษาสาขาสังคมวิทยาการศึกษา
(1) ความเชื่อของมนุษย์ (2) การจัดองค์การของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
(3) สถานภาพและบทบาทของครู (4) ข้อ 1 และ 2 (5) ข้อ 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 151 สังคมวิทยาการศึกษาเน้นศึกษาสาระสำคัญ 4 ประการ ได้แก่
1. ความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษากันสังคม เช่น สถานภาพและบทบาทของครู ฯลฯ
2. สถาบันต่าง ๆ ทางการศึกษา ทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา
3. การจัดองค์การทางการศึกษา เช่น การจัดองค์การของ ม.รามคำแหง ฯลฯ
4. การศึกษาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันอื่น ๆ
36. พระพุทธศาสนาถือว่า วัฏสงสารจะสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อพ้นจากอวิชชา ซึ่งเป็นกระบวนการเกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่ที่เรียกว่าอะไร
(1) ไตรลักษณ์
(2) ไตรสิกขา (3) ปฏิจจสมุปบาท (4) กรรมบถ (5) ธรรมนิยาม
ตอบ 3 หน้า 152 พระพุทธศาสนาถือว่าความรู้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำให้มนุษย์หลุดพ้นจาก ความทุกข์ พระพุทธองค์ทรงถือว่าอวิชชา (ความไม่รู้) เป็นต้นเหตุแห่งวัฏสงสารอันเป็นการ เวียนว่ายตายเกิดในห้วงแห่งทุกข์ วัฏสงสารจะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อพ้นจากอวิชชาอันเป็นจุดเริ่มต้น แห่งกระบวนการอันเกี่ยวเนื่องเป็นลูกโซ่ที่เรียกว่า “ปฏิจจสมุปบาท” (การที่สิ่งทั้งหลายอาศัย ซึ่งกันและกัน) ดังนั้นการศึกษาในเชิงพุทธศาสตร์จึงมีความหมายเพื่อให้หลุดพ้นจากอวิชชา หรือความไม่รู้เพื่อชีวิตจะได้ไม่เวียนว่ายตายเกิดอีก
37. การศึกษาในสมัยอารยธรรมกรีกโบราณเน้นเรื่องใด
(1) คุณธรรม
(2) การเกษตร (3) การปกครอง (4) คุณลักษณะ (5) การสงคราม
ตอบ 1 หน้า 152 – 153 ในสมัยอารยธรรมกรีกโบราณ การศึกษาผูกพันกับคุณธรรม ซึ่งคำว่าการศึกษาในภาษากรีก เรียกว่า Paedeia หมายถึง การเรียนคุณธรรม โดยสรุปการศึกษา ในทัศนะกรีกโบราณ หมายถึง การเป็นคนดีและเป็นพลเมืองดี่นั่นเอง
38. ผลิตผลของปรัชญาการศึกษาระดับอุดนศึกษาที่เน้นความเลอเลิศทางปัญญาโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ที่มีต่อสังคมสอดคล้องกับตัวเลือกใด
(1) นักวิชาการด้านการพัฒนา (2) นักวิชาการนํ้านิ่งไหลลึก
(3) นักวีชาการเคร่งทฤษฎี (4) นักวิชาการพายเรือในอ่าง
(5) นักวิชาการเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ
ตอบ 3 หน้า 166 ผลิตผลของปรัชญาการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เน้นความเลอเลิศทางปัญญาโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ที่มีต่อสังคม คือ การสร้างนักคิดและนักวีชาการประเภทเคร่งทฤษฎี จนกระทั้งมีฉายาเรียกว่าเป็นนักวิชาเกินที่ติดอยู่กับหลักวิชาแนะแนวคิดเชิงนิรนัย (การตั้ง สมมุติฐานหรือหลักที่ถือว่าเป็นจริงอยู่แล้วไว้เป็นเกณฑ์) มากกว่าอุปนัย (การพิจารณาข้อมูล ให้แน่ชัด/พยายามดูสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและน่าไปประยุกต์ในภาคปฏิบัติ)
39. มหาวิทยาลัยเปิดหรือตลาดวิชาแห่งแรกของประเทศไทยจัดการศึกษาในระยะเริ่มแรกแบบใด
(1) ใครใคร่ค้าค้า (2) ใครใคร่เรียนเรียน (3) มุกติศึกษา (4) เน้นการปฏิบัติ (5) เน้นการวิจัย
ตอบ 2 หน้า 174 – 175 มหาวิทยาลัยเปิดหรือตลาดวิชาแห่งแรกของไทย คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และการเมือง ซึ่งได้รับการสถาปนาเมื่อ พ.ศ. 2476 โดยจัดการศึกษาในระยะเริ่มแรกเป็นแบบ “ใครใคร่เรียนเรียน” คือ ผู้ที่ประสงค์จะเรียนสามารถเข้าเรียนได้โดยไม่จำกัดวุฒิการศึกษา
40. ตัวเลือกใดคือปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสหประชาชาติ
(1) มุ่งให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง (2) มุ่งความเป็นเลิศทางวิชาการ
(3) มุ่งให้มนุษยชาติแสวงหาความรู้ (4) ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมของโลก
(5) แก้ปัญหาและสรรค์สร้างสวัสดิการของมนุษยชาติ
ตอบ 5 หน้า 177 – 178 ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสหประชาชาติจะเน้นในเรื่องความเข้าใจกัน ระหว่างมวลมนุษย์ การอยู่ร่วมกับของคนต่างชาติต่างภาษาและต่างวัฒนธรรม การดำรงรักษาไว้ ซึ่งสันติภาพและความมั่นคง โดยมีปรัชญาหลัก คือ การมุ่งแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความเป็น ความตายของมนุษยชาติ และเพื่อสรรค์สร้างสวัสดิการของปวงชน
41. วิชาประชากรศาสตร์ถือกำเนิดขึ้นเมื่อใด
(1) คริสต์ศตวรรษที่ 17
(2) คริสต์ศตวรรษที่ 18
(3) กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19
(4) ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20
(5) กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20
ตอบ 5 หน้า 185 ประชากรศาสตร์ เป็นศาสตร์สาขาใหม่ของสังคมศาสตร์ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อประมาณ กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 นี้เอง สืบเนื่องจากในปี ค.ศ. 1949 องค์การสหประชาชาติได้จัดประชุมสัมมนาเกี่ยวกับทรัพยากรของโลก และมีการสำรวจประชากรในฐานะผู้บริโภคด้วย ซึ่งผลจากการประชุมพบว่าทรัพยากรต่าง ๆ ของโลกได้ถูกทำลายอย่างมากมาย ทั้งนี้เนื่องมาจากการที่ ประชากรมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงทำให้เกิดการตื่นตัวศึกษาเกี่ยวกับประชากรมากขึ้น
42. การปะทุทางประชากร (Population Explosion) ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กำเนิดขึ้นในภูมิภาคใด
(1) เอเชีย
(2) แอฟริกา
(3) ยุโรป
(4) อเมริกาเหนือ
(5) ข้อ 1 และ 2
ตอบ 5 หน้า 189 การปะทุทางประชากร (Population Explosion) ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2เกิดขึ้นในภูมิภาคแถบเอเชีย ลาตินอเมริกา และแอฟริกา ทั้งนี้เพราะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา เหล่านี้มีนโยบายพัฒนาประเทศ โดยได้นำเอาความเจริญด้านการแพทย์และด้านวิทยาการ ยารักษาโรคจากประเทศพัฒนาแล้วมาเผยแพร่ ทำให้อัตราการตายลดลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่อัตราการเกิดยังอยู่ในระดับสูง จึงเป็นผลให้อัตราการเพิ่มของประชากรสูงขึ้น อย่างรวดเร็ว
43. ในปี ค.ศ. 2020 อัตราการเกิดอย่างหยาบของประเทศหนึ่งมีค่าเท่ากับ 20 หมายความอย่างไร
(1) ภาวะเจริญพันธุ์อยู่ในระดับทดแทน (2) ปีนั้นมีเด็กเกิดใหม่ร้อยละ 20
(3) ปีนั้นมีเด็กเกิดรอด 20 คน (4) ปีนั้นเด็กชายเกิดมากกว่าเด็กหญิง 20 คน
(5) ในปีนั้น ประชากร 1,000 คน มีเด็กเกิดมีชีวิต 20 คน
ตอบ 5 หน้า 185 อัตราการเกิดอย่างหยาบ (Crude Birth Rate : CBR) เป็นการคำนวณหาจำนวน คนเกิด/ประชากร 1,000 คน/ปี ดังนั้นอัตราการเกิดอย่างหยาบของประชากรมีค่าเท่ากับ 20 ก็หมายความว่า ใบปีนั้น ประชากร 1,000 คน มีคนเกิดรอดชีวิต 20 คน
44. หากพิจารณาในภาพรวม อัตราการเกิดและอัตราการตายของประเทศที่พัฒนาแล้วมีลักษณะเช่นไร
(1) อัตราการเกิดต่ำ อัตราการตายต่ำ (2) อัตราการเกิดสูง อัตราการตายต่ำ
(3) อัตราการเกิดตํ่า อัตราการตายสูง (4) อัตราการเกิดสูง อัตราการตายสูง
(5) อัตราการเกิดมากกว่าอัตราการตาย
ตอบ 1 หน้า 190, 195, (คำบรรยาย) หากพิจารณาในภาพรวม ประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ จะมีการเปลี่ยนแปลงทางประชากรในลักษณะที่อัตราการเกิตและอัตราการตายลดลงอยู่ใน ระดับต่ำเท่าเทียมกัน ส่วนประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงทางประชากร ในลักษณะที่อัตราการเกิดยังสูงอยู่แต่อัตราการตายลดตํ่าลง
45. ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Baby Boom หมายถึงตัวเลือกใด
(1) มีเด็กชายเกิดมากกว่าเด็กหญิง
(2) มีเด็กหญิงเกิดมากกว่าเด็กชาย (3) อัตราการเกิดเท่ากับอัตราการตาย
(4) มีเด็กเกิดมากในประเทศกำลังพัฒนา (5) อัตราการตายมากกว่าอัตราการเกิด
ตอบ 4 หน้า 190 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดปรากฏการณ์ Baby Boom คือ มีเด็กเกิดอย่างมากมายในประเทคต่าง ๆ ทำให้ประเทศแถบที่กำลังพัฒนา เช่น เอเชีย และลาตินอเมริกา ประมาณ 40% ของประชากรทั้งประเทศเป็นเด็กอายุตํ่ากว่า 15 ปี และส่วนหนึ่งได้เข้าสู่วัย ที่สามารถให้กำเนิดบุตรได้
46. ตัวกำหนดช่วงชั้นทางสังคมได้แก่ตัวเลือกใด
(1) สีผิว
(2) ชาดิตระกูล (3) หน้าที่การงาน (4) ข้อ 1 และ 2 (5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 หน้า 197, (คำบรรยาย) ตัวกำหนดช่วงชั้นทางสังคมที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันของบุคคล ได้แก่ ตัวแปรที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้หรือแก้ไขได้ยากมาก เช่น อายุ เพศ สีผิว ความสามารถของร่างกายและสมอง ฯลฯ และตัวแปรที่ได้มาโดยการสร้างขึ้น เช่น วรรณะ ชาติตระกูล หน้าที่การงาน และยศฐาบรรดาศักดิ์ ฯลฯ
47. ผู้ใดมีแนวคิดว่า “อำนาจทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง” เป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดชนชั้น
(1) มาร์กซ์ (Marx) (2) เวเบอร์ (Weber) (3) วอร์เนอร์ (Warner)
(4) เพลโต (Plato) (5) ค้องท์ (Comte)
ตอบ 2 หน้า 203 เวเบอร์ (Weber) มีแนวคิดว่า “อำนาจทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง”เป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดชนชั้น โดยเวเบอร์ใช้ตัวกำหนด “ชนชั้น สถานภาพ และพรรค” ศึกษาการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม
48. ตัวเลือกใดนำมาใช้วิเคราะห์การจัดช่วงชั้นทางสังคมแบบวัตถุวิสัย (Objective Approach)
(1) ความรู้สึก (2) ความสำนึก (3) ชื่อเสียง (4) ศักดิ์ศรี (5) อาชีพ
ตอบ 5 หน้า 201 – 202 หลักเกณฑ์ที่ใช้ศึกษาการจัดลำดับช่วงชั้นของคนในสังคมมี 3 วิธี คือ
1. การศึกษาแบบวัตถุวิสัย (Objective Approach) จะกระทำได้โดยการวิเคราะห์ปัจจัย อันเกี่ยวข้องกับรายได้ อาชีพ อำนาจ ตำแหน่ง และทรัพย์สมบัติ
2. การศึกษาแบบอัตวิสัย (Subjective Approach) ซึ่งขึ้นอยู่กับความรู้สึกสำนึกของบุคคลที่ คิดว่าตนเองอยู่ในชนชั้นใดของสังคม
3. การศึกษาโดยดูจากชื่อเสียง/เกียรติยศ/ศักดิ์ศรี (Reputational Approach) ซึ่งขึ้นอยู่กับการประเมินค่าโดยบุคคลต่อบุคคลอื่น
49. นักวิชาการท่านใดเน้นว่าชนชั้นถูกกำหนดโดยปัจจัยทางเศรษฐกิจ
(1) มาร์กซ์ (Marx)
(2) เวเบอร์ (Weber) (3) วอร์เนอร์ (Warner) (4) เพลโต (Plato) (5) ค้องท์ (Comte)
ตอบ 1 หน้า 202 – 203 มาร์กซ์ (Marx) เป็นนักวิชาการที่อธิบายการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคมด้วยทฤษฎี “ตัวกำหนดทางเศรษฐกิจ” เช่น ระบบการผลิต การแลกเปลี่ยน ผู้ผลิต ผู้บริโภค ฯลฯ โดยมาร์กซ์ให้ทัศนะว่า ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนมีบทบาท ได้แก่ ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ
50. ตัวอย่างของฐานันดรได้แก่ตัวเลือกใด
(1) ผู้ที่ได้รับสมญาตามพฤติกรรมประจำเพศ
(2) โสเภณีที่ประสบความสำเร็จในอาชีพ
(3) บุคคลที่มีสถานะเท่าเทียมกันในสังคม
(4) พระและขุนนางในยุโรปสมัยกลาง
(5) คนวรรณะศูทรแต่งงานกับคนวรรณะพราหมณ์
ตอบ 4 หน้า 199 ฐานันดร (Estate) เป็นระบบการแบ่งช่วงชั้นทางสังคมที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกลางของ ยุโรป เดิมมีเพียง 2 ฐานันดร ได้แก่ นักบวช (พระ) และขุนนาง ต่อมามีเพิ่มขึ้นอีก เช่น พ่อค้า สามัญชน เป็นระบบที่มีกฎหมายกำหนดสิทธิหน้าที่ของคนแตกต่างกันไป ซึ่งขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ ของบุคคลต่อที่ดิน โดยการเขยิบฐานะเป็นไปได้ และไม่มีศาสนาคํ้าจุนเหมือนระบบวรรณะ
51. สังคมต้องสนองตอบความด้องการในเรื่องใดให้กับสมาชิก
(1) ความต้องการทางร่างกาย
(2) ความต้องการการรวมกลุ่ม
(3) ความต้องการที่เกิดจากสัญชาตญาณ
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 หน้า 211 สังคมต้องสนองตอบความต้องการให้กับสมาชิกของสังคมในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1. ความต้องการทางร่างกาย ซึ่งเน้นความต้องการพื้นฐานขั้นต่ำสุดของมนุษย์
2. ความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคงในชีวิต
3. ความต้องการการรวมกลุ่มความต้องการความรัก และการได้รับการยอมรับ
4. ความต้องการได้รับการเคารพนับถือและความต้องการเกียรติยศชื่อเสียง
5. ความต้องการที่แท้จริงของตนเอง
52. ข้อใดเป็นตัวอย่างของรูปแบบการอบรมชั้นปฐมภูมิ (Primary Socialization)
(1) ครอบครัวอบรมสั่งสอนเรื่องหน้าที่ให้กับสมาชิก
(2) หน่วยงานจัดอบรมความรู้และทักษะเฉพาะตำแหน่งให้พนักงาน
(3) โรงเรียนจัดหลักสูตรพระพุทธศาสนาในชีวิตประจำวันให้นักเรียน
(4) กรรมกรรวมกลุ่มกันเพื่อเรียกร้องให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสูงขึ้น
(5) ประเทศต่าง ๆ รวมตัวกันเพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้า
ตอบ 1 หน้า 241 การอบรมทางสังคม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. การอบรมชั้นปฐมภูมิ (Primary Socialization) เริ่มตั้งแต่ครอบครัวทำหน้าที่ให้การอบรม สั่งสอนเด็กในเรื่องความรัก หน้าที่ และสิทธิต่าง ๆ เพื่อให้เด็กเข้ากับคนอื่น ๆ ในสังคมได้
2. การอบรมชั้นทุติยภูมิ (Secondary Socialization) จะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลได้ผ่านกระบวนการ อบรมทางสังคมชั้นปฐมภูมิแล้ว และต้องการเข้ากลุ่มสังคมหรือเปลี่ยนสภาพทางสังคม
53. กลไกการบังคับใช้ ทั้งการให้รางวัลและการลงโทษมีความเกี่ยวข้องกับตัวเลือกใด
(1) บทบาท (2) เครือข่ายทางสังคม (3) สถานภาพ
(4) บรรทัดฐานทางสังคม (5) การขัดเกลาทางสังคม
ตอบ 4 หน้า 224 กลไกการบังคับใช้ (Sanctions) คือ การให้การตอบแทน เช่น รางวัล (Rewards) และการลงโทษ (Punishment) มีความเกี่ยวพันกับบรรทัดฐานทางสังคม (Norms) กล่าวคือ บุคคลที่ปฏิบัติตามบรรทัดฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในสังคมย่อมคาดได้ว่าจะได้รับผลตอบแทน หรือรางวัล แต่ถ้าละเว้นหรือไม่ปฏิบัติตามบรรทัดฐานย่อมคาดได้ว่าจะได้รับการลงโทษ
54. “มารยาททางสังคมหรือสมบัติผู้ดี” เป็นกลไกควบคุมทางสังคมตามตัวเลือกใด
(1) กลไกการแลกเปลี่ยน
(2) กลไกกฎระเบียบ (3) กลไกทางวัฒนธรรม (4) กลไกกลอุบาย (5) กลไกการถอนตัว
ตอบ 3 หน้า 222 – 223 กลไกทางวัฒนธรรมที่ใช้ในการควบคุมทางสังคม ประกอบด้วย
1. บรรทัดฐาน ได้แก่ กฎหมาย ข้อบังคับ ข้อห้าม จารีต ประเพณี วิถีประชา (เช่น มารยาท ทางสังคมต่าง ๆ หรือสมบัติผู้ดี) ฯลฯ
2. การบังคับใช้
3. สถานภาพและบทบาท
4. การเข้ากลุ่มและการเข้าสังคม 5. ความแตกต่างทางสังคมและชั้นทางสังคม
55. ตัวอย่างการควบคุมทางสังคมด้วยกลไกการบังคับแบบไม่รุนแรงได้แก่ตัวเลือกใด
(1) การก่อการร้าย
(2) การปฏิวัติ (3) การจลาจล (4) การระงับการให้บริการ (5) การสลายม็อบ
ตอบ 4 หน้า 237 – 238 กลไกการบังคับ (Coercive Strategies) เป็นกลไกการควบคุมทางสังคมที่จะนำมาใช้ก็ต่อเมื่อได้พยายามใช้กลไกอื่น ๆ แล้วประสบความล้มเหลว แบ่งเป็น 2 วิธี คือ
1. การบังคับแบบไม่รุนแรง เช่น การใช้คำขู่ การประณาม การระงับการให้บริการ ฯลฯ
2. การบังคับแบบรุนแรง เช่น การปฏิวัติ การจลาจล การสลายม็อบ การก่อการร้าย ฯลฯ
56. ปัจจัยทางสังคมที่ไม่มีผลต่อการกำหนดนโยบายทางการเมือง ได้แก่ตัวเลือกใด
(1) เพศและอายุ
(2) ภาษาและอาชีพ (3) การศึกษา (4) เชื้อชาติและศาสนา (5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 5 หน้า 248 สังคมวิทยาการเมืองจะศึกษาปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อการจัดหรือกำหนดระบบ/ รูปแบบองค์กรและนโยบายทางการเมือง ได้แก่ มิติทางสังคม เช่น กลุ่มประชากร สถานภาพ เพศ วัย (อายุ) เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ระดับการศึกษา ฯลฯ และมิติทางเศรษฐกิจ เช่น การผลิต อาชีพ รายได้ ฐานะ ฯลฯ
57. พฤติกรรมการเมืองได้แก่ตัวเลือกใด
(1) การเกิดอุดมการณ์ทางการเมือง
(2) การจัดองค์การทางการเมือง (3) การขยายตัวของเมือง
(4) การอพยพเข้าสู่เมือง (5) การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ตอบ 5 หน้า 248 สังคมวิทยาการเมืองศึกษาถึงปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมทางการเมือง เช่น การออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. การแสดงความคิดเห็นทางการเมือง การเข้าร่วม กิจกรรมทางการเมือง รวมทั้งการสนับสนนหรือคัดค้านกลุ่มการเมืองและพรรคการเมือง ฯลฯ
58. ทอคเกอวิลล์ (Tocqueville) ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างทฤษฏีเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย จากสังคมใด
(1) ฮังการี (2) ออสเตรีย (3) อังกฤษ (4) อเมริกัน (5) เยอรมัน
ตอบ 4 หน้า 250, 459 ทอคเกอวิลล์ (Tocqueville) ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับ การปกครองระบอบประชาธิปไตยจากสังคมอเมริกันโดยเขาต้องการสนับสนุนให้มีระบบการเมือง แบบกลุ่มหลากหลายขึ้นในสังคม คือ ให้มีความแตกต่างและอิสระในการปกครองท้องถิ่น ไม่ใช่ปล่อยให้อำนาจไปรวมอยู่ที่รัฐซึ่งเป็นศูนย์กลางแต่เพียงแห่งเดียว
59. ในสมัยกลางของยุโรป ผู้มีอำนาจมากทั้งทางธรรมและทางโลกได้แก่ผู้ใด
(1) จักรพรรดิ (2) พระ (3) ขุนนาง (4) พ่อค้า (5) ชนชั้นกลาง
ตอบ 2 หน้า 248 ในสมัยกลางของยุโรปซึ่งเป็นยุคของการรวมตัวกันเป็นจักรวรรดิ พระเป็นผู้มี บทบาทสำคัญมากทั้งทางโลก (อาณาจักร) และทางธรรม (ศาลนจักร) ซึ่งทั้ง 2 องค์กรนี้ รวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มิได้แยกจากกัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า พระในศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะสันตะปาปามีบทบาทมากทั้งทางสังคม การเมืองการปกครอง และการศาสนา มีหน้าที่ควบคุมดูแลประชาชน และบริหารงานบ้านเมืองไปด้วยในขณะเดียวกัน
60. ตามทัศนะของมาร์กซ์ (Marx) ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมคือตัวเลือกใด
(1) ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ (2) ความขัดแย้งระหว่างเพศ
(3) ความขัดแย้งระหว่างอาชีพ (4) ความขัดแย้งระหว่างชนชั้น
(5) ความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติ
ตอบ 4 หน้า 250, 320 – 322 ตามทัศนะของมาร์กซ์ (Marx) ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางสังคม คือ ความขัดแย้งระหว่างชนชั้น โดยสังคมจะปราศจากการขัดแย้งก็ต่อเมื่อเป็น สังคมคอมมิวนิลต์ที่แท้จริง น้นคือ ไม่มีรัฐ ไม่มีรัฐบาล เพราะตราบใดที่มีรัฐนั่นก็จะหมายถึง มีการใซ้อำนาจรัฐบังคับกดขี่
61. ฝูงชนที่บ้าคลั่ง (Mob) มีลักษณะอย่างไร
(1) มีสถานการณ์ทำให้เกิดความตื่นเต้น
(2) มีการแสดงออกถึงพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
(3) มีจุดสนใจอยู่ที่สิ่งเร้าภายนอก
(4) มีจุดประสงค์สร้างแบบแผนใหม่
(5) มีการมั่วสุมในด้านต่าง ๆ
ตอบ 2 หน้า 256 ฝูงชนที่บ้าคลั่ง (Mob) เป็นฝูงชนที่ถูกกระตุ้นหรือเร้าอารมณ์ให้แสดงออกถึง พฤติกรรมที่ก้าวร้าว รุนแรง เชิงทำลาย และเร่งด่วนในการปฏิบัติการ โดยมีจุดมุงหมาย เพื่อระบายความเครียด ความอัดอั้นตันใจ ความเคียดแค้น และความกลัว
62. ตัวเลือกใดจัดว่าเป็นพฤติกรรมฝูงชน
(1) นักเรียนยืนรอรถประจำทางอยู่ที่ป้ายจอดรถหน้าโรงเรียน
(2) นักเรียนชายกลุ่มใหญ่แอบเล่นไพ่หลังห้องเรียน
(3) นักเรียนยืนเข้าแถวยาวเพื่อซื้ออาหารกลางวันรับประทาน
(4) นักเรียนจำนวนมากเข้าชมการแสดงนาฏศิลป์ในหอประชุม
(5) นักเรียนทั้งหมดออกกำลังกายหน้าเสาธงหลังเคารพธงชาติ
ตอบ 2 หน้า 253 พฤติกรรมฝูงชน เป็นปรากฏการณ์หนึ่งทางสังคม เป็นพฤติกรรมที่เป็นไปเอง โดยปกติวิสัย ซึ่งเกิดจากกลุ่มคนที่ขาดระเบียบอย่างทันทีทันใด โดยไม่มีการวางแผน และ ไม่ได้มีการคาดหมายหรอทำนายไว้ล่วงหน้า แต่สภาวการณ์ต่าง ๆ ทางสังคมขณะนั้นส่งเสริม
63. การควบคุมฝูงชนโดยวิธีธรรมชาติได้แก่ตัวเลือกใด
(1) แยกผู้นำกลุ่ม
(2) การมีโครงสร้างของกลุ่มที่มั่นคง (3) สภาพดินฟ้าอากาศ
(4) ความก้าวหน้าของระบบการสื่อสาร (5) การกระชับพื้นที่
ตอบ 3 หน้า 258, (คำบรรยาย) การควบคุมฝูงชนโดยวิธีธรรมชาติ ได้แก่ การอาศัยสภาพดินฟ้าอากาศ ที่เป็นอุปสรรคทำให้พฤติกรรมฝูงชนเกิดขึ้นได้ยาก เช่น ฝนตก อากาศหนาวจัด ร้อนจัด ฯลฯ
64. ฝูงชนแสดงออก (Expressive Crowd) มีชื่อเรียกอย่างอื่นว่าอะไร
(1) ฝูงชนบังเอิญ (Casual Crowd) (2) ฝูงชนเต้นรำ (Dancing Crowd)
(3) ฝูงชนที่บ้าคลั่ง (Mob)
(4) ฝูงชนลงมือกระทำ (Acting Crowd) (5) ฝูงชนลงประชาทัณฑ์ (Lynching Mob)
ตอบ 2 หน้า 256 ฝูงชนแสดงออก (Expressive Crowd) เป็นฝูงชนที่แสดงออกถึงอารมณ์ที่ตื่นเต้น สนุกสนาน เฮฮา ป่าเถื่อน และมัวเมา เช่น การเต้นรำ กระทืบเท้า หรือปรบมือให้จังหวะ และการมั่วสุมทางเพศ ฯลฯ ซึ่งฝูงชนประเภทนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ฝูงชนเต้นรำ (Dancing Crowd)
65. นักสังคมวิทยาสนใจพฤติกรรมฝูงชนประเภทใดมากที่สุด
(1) ฝูงชนบังเอิญ
(2) ฝูงชนแสดงออก (3) ฝูงชนลงมือกระทำ (4) ผู้ดูหรือผู้ฟัง (5) ข้อ 2 และ 3
ตอบ 3 หน้า 255 ฝูงชนลงมือกระทำ (Acting Crowd) เป็นฝูงชนที่มีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ และ พร้อมที่จะแสดงออกถึงความก้าวร้าว รุนแรง เชิงทำลาย ซึ่งฝูงชนประเภทนี้จะได้รับความสนใจ จากนักสังคมวิทยาและนักรัฐศาสตร์มาก เพราะการระบาดทางอารมณ์จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว และเร่งด่วนในการปฏิบัติการ โดยฝูงชนประเภทนี้ได้แก่ Mob ประเภทต่าง ๆ
66. จากคำกล่าวที่ว่า “มบุษย์เกิดความคับแค้นเพราะมีความต้องการมากแต่สมปรารถนาน้อย” จัดเป็นคำกล่าวที่บ่งถึงสิ่งใด
(1) ความหมายของปัญหาสังคม
(2) ประเภทปัญหาสังคม (3) แนวทางแก้ไขปัญหาสังคม
(4) แนวทางป้องกันปัญหาสังคม (5) สาเหตุของปัญหาสังคม
ตอบ 5 หน้า 261, (คำบรรยาย) อุดม โปษะกฤษณะ ได้กล่าวถึงสาเหตุของปัญหาสังคมไว้ว่าความรุนแรงและความคุกรุ่นของคนต่อปัญหาต่างๆ จะแอบแฝงอยู่กับผู้ที่มีความคับแค้นเพราะ มีความต้องการมากแต่ได้รับความสมปรารถนาน้อย การจะบรรเทาเบาบางปัญหาหรือลดปัญหา ต่าง ๆ ลง คนเราจะต้องตัดไฟความปรารถนา ตัณหา ความโลภ และพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่
67. จากคำกล่าวของสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ว่า “การแก้ป้ญหาชาติโดยประหยัด งดใช้สินค้าฟุ่มเฟือย เพื่อความอยู่รอด ของตนและประเทศชาติ” คือวิธีการแก้ไขปัญหาสังคมที่มีสาเหตุมาจากตัวเลือกใด
(1) ความยากจน
(2) การว่างงาน (3) พฤติกรรมเบี่ยงเบน (4) สถานภาพขัดกัน (5) บรรทัดฐานขัดกัน
ตอบ 1 หน้า 262 สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เห็นว่า ความยากจนทำให้เกิดปัญหาสังคม และในการพัฒนา ต้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ควรพัฒนาในแบบไทย ๆ ไม่ควรลอกเลียนต่างชาติมากเกินไป ในการที่จะแก้ปัญหาของชาติบ้านเมืองได้นั้น คนเราควรเริ่มประหยัด งดใช้สินค้าฟุ่มเฟือย เพื่อความอยู่รอดของตัวเองและประเทศชาติ
68. ผู้ที่ได้รับความกระทบกระเทือนจากภาวะเงินเฟ้อมากที่สุดคือใคร
(1) นายทุน
(2) เกษตรกร (3) นักบริหาร (4) นักธุรกิจ (5) นักการธนาคาร
ตอบ 2 หน้า 266 เงินเฟ้อ หมายถึง ปรากฏการณ์ที่ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
เป็นระยะเวลาติดต่อกันยาวนานพอสมควร ซึ่งเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น คนยากจนที่มีรายได้น้อย จะได้รับผลกระทบกระเทือนมากที่สุด เพราะรายได้ของประชาชนไม่ได้เพิ่มขึ้นในสัดส่วนเดียวกัน ส่วนคนรํ่ารวยมีกิจการอุตสาหกรรมใหญ่โต มีที่ดินและอาคารมากมาย จะไม่ได้รับผลกระทบ เพราะเมื่อเงินเสื่อมค่าลงก็สามารถขึ้นราคาสินค้าและค่าเช่าได้
69. ตัวเลือกใดเป็นการแก้ปัญหาสังคมแบบรวมถ้วนทั่ว
(1) การแก้ไขปัญหาแบบย่อย
(2) การแก้ไขปัญหาระยะสั้น (3) การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
(4) การแก้ไขปัญหาแบบมีการวางแผน (5) การแก้ไขปัญหาแบบไม่มีการวางแผน
ตอบ 4 หน้า 261 แนวทางในการแก้ไขปัญหาสังคม แบ่งออกเป็นหลักใหญ่ ๆ ได้ 2 ประการ คือ
1. การแก้ไขปัญหาแบบย่อย (Piecemeal) เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้นหรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยไมมีการวางแผนมาก่อน เช่น การแก้ปัญหาความยากจน ความอดอยากขาดแคลน และช่วยผู้ประสบภัยด้วยการแจกสิ่งของ เสื้อผ้า อาหาร และยารักษาโรค ฯลฯ
2. การแก้ไขปัญหาแบบรวมถ้วนทั่ว (Wholesale) เป็นการแก้ปัญหาระยะยาวแบบมีการวางแผน มาก่อน (แก้ปัญหาที่ต้นตอหรือสาเหตุของปัญหา) มีการประเมินผล มีการตรวจสอบ และ ปัญหานั้น ๆ จะไม่เกิดขึ้นมาอีก เช่น การแก้ป้ญหาความยากจนด้วยการฝึกอาชีพให้ ฯลฯ
70. ในอดีต ปัญหาความยากจนไม่จัดเป็นปัญหาสังคมเพราะสอดคล้องกับความเชื่อใด
(1) ความไม่เสมอภาคทางอาชีพ (2) ความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ
(3) เทคโนโลยีของคนยากจนไมก้าวหน้า (4) คนยากจนด้อยศักดิ์ศรี
(5) คนยากจนประพฤติผิดกฎเกณฑ์ของระเบียบประเพณีศีลธรรม
ตอบ 5 หน้า 268 ในอดีต ปัญหาความยากจนไม่จัดเป็นปัญหาสังคม เพราะมีความเชื่อกันว่า ผู้ยากจนนั้น ได้เคยประพฤติในสิ่งที่ไม่ดี ประพฤติผิดกฎเกณฑ์ของระเบียบประเพณีศีลธรรม เช่น อกตัญญู ต่อผู้มีคุณ ฆ่าคนตาย พระเจ้าจึงลงโทษให้เกิดมาไม่เหมือนผู้อื่น ดังนั้นคนยากจนจึงต้องไปเกิด กลางป่ากลางเขา หนาวเย็นและไม่มีเสื้อผ้าให้ความอบอุ่นเพียงพอ
71. การศึกษาชนต่างวัฒนธรรมควรจะต้องพิจารณาจากอะไร
(1) ความสัมพันธ์ระหว่างชนกลุ่มน้อยกับชนกลุ่มใหญ่
(2) ความขัดแย้ง ปฏิกิริยาระหว่างชนกลุ่มใต้ครอบครองและกลุ่มครอบครอง
(3) กฎหมายของคนกลุ่มใหญ่หรือกลุ่มครอบครอง
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 287 – 288 ลักษณะที่ควรนำมาพิจารณาในการศึกษาเรื่องชนกลุ่มน้อย มีดังนี้
1. ความสัมพันธ์ระหว่างชนกลุ่มน้อยกับชนกลุ่มใหญ่
2. ชนกลุ่มน้อยมักด้อยอิทธิพลทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง
3. ความขัดแย้ง/ปฏิกิริยาตอบโต้ระหว่างชนทั้ง 2 กลุ่ม
4. การมีอคติต่อเชื้อชาติ/เผ่าพันธ์ หรือชาติพันธ์นิยม (Ethnocentrism) ระหว่างกัน ฯลา
72. “ชนกลุ่มน้อย” มีความหมายเช่นเดียวกับตัวเลือกใด
(1) กลุ่มใต้ครอบครอง
(2) ชนต่างวัฒนธรรม
(3) กลุ่มอิทธิพล
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 285 ชนกลุ่มน้อย (Minority Group) หรือชนต่างวัฒนธรรม หมายถึง กลุ่มชนที่มีการยึดถือ วัฒนธรรมในรูปแบบที่แตกต่างไปจากชนกลุ่มใหญ่ (Majority Group) หรือกลุ่มอิทธิพล (Dominant Group) และเพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิดในเรื่องจำนวน นักวิชาการบางท่าน จึงเรียกชนกลุ่มใหญ่ว่า “กลุ่มครอบครอง” และเรียกชนกลุ่มน้อยว่า “กลุ่มใต้ครอบครอง” เพราะชนกลุ่มใหญ่จะเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลและมีบทบาททั้งทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ดังนั้นชนกลุ่มใหญ่จึงเป็นผู้ที่กำหนดว่ากลุ่มใดเป็นชนกลุ่มน้อย เช่น ชนกลุ่มน้อยที่อพยพเข้ามา อาศัยรวมอยู่กับเจ้าของถิ่นหรือเจ้าของประเทศจัดเป็นชนกลุ่มน้อย ส่วนเจ้าของถิ่นหรือ เจ้าของประเทศจัดเป็นชนกลุ่มใหญ่ ฯลฯ
73. เกณฑ์ที่ใข้จำแนกชนกลุ่มน้อยได้แก่ตัวเลือกใด
(1) ความแตกต่างด้านชาติพันธุ์
(2) ความแตกต่างทางวัฒนธรรม (3) ความแตกต่างทางกลุ่มโลหิต
(4) ข้อ 1 และ 2 (5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 หน้า 286 – 287 เกณฑ์ที่ใช้จำแนกชนกลุ่มน้อยพิจารณาได้จากองค์ประกอบ 3 ลักษณะ คือ
1. องค์ประกอบด้านเชื้อชาติ/เผ่าพันธ์/ชาติพันธ์ (Race) ซึ่งเป็นความแตกต่างด้านพันธุกรรม ที่แสดงออกมาเป็นลักษณะทางกายภาพ เช่น รูปร่าง สีผิว สีผม ฯลฯ
2. ความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่ยึดถือปฏิบัติ (Ethnicity) เช่น ภาษา ศาสนา ความเชื่อ ชนบธรรมเนียมประเพณี รูปแบบความสัมพันธ์ การจัดลำดับชั้นทางสังคม ฯลา
3. ความแตกต่างของกลุ่มโลหิต (Blood Group) ซึ่งถูกกำหนดโดยพันธุกรรม แต่เนื่องจาก เป็นเกณฑ์ที่ไม่สะดวกในการนำมาใช้ปฏิบัติจึงไม่เป็นที่นิยมใช้กัน (ส่วนใหญ่จึงพิจารณา จากเกณฑ์ที่ 1 และ 2 เป็นสำคัญ)
74. ตัวเลือกใดเป็นนโยบายแก้ไขปัญหาชนกลุ่มน้อยที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
(1) การแยกพวก (2) การทำลายล้างเผ่าพันธุ์ (3) การกักบริเวณ
(4) การกีดกันให้แยกอยู่ (5) การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม
ตอบ5 หน้า 293 – 294 นโยบายที่ใช้แก้ปัญหาชนกลุ่มน้อย แบ่งออกได้เป็น 2 แนว ดังนี้
1. นโยบายที่ค่อนข้างรุนแรง ขัดกับหลักมนุษยธรรม และไม่นิยมใช้ ได้แก่ นโยบายแยกพวก นโยบายทำลายล้าง นโยบายเนรเทศ นโยบายกีดกันให้อยู่แยก นโยบายแบ่งแยกดินแดน และนโยบายเอาเป็นเชลย
2. นโยบายที่นุ่มนวล ตรงตามหลักศีลธรรม หลักเสมอภาค และนิยมใช้ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ได้แก่ นโยบายรวมพวก นโยบายการผสมผสานชาติพันธุ์ นโยบายการยอมรับความหลากหลาย ทางวัฒนธรรม และนโยบายการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม
75. มาตรการขั้นสูงสุดที่ฮิตเลอร์ปฏิบัติต่อชาวยิวและยิปซีคือข้อได
(1) แยกพวก (2) ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (3) กีดกันให้อยู่แยก
(4) รวมพวก (5) เนรเทศ
ตรบ 2 หน้า 293, (คำบรรยาย) มาตรการขั้นสูงสุดที่ฮิตเลอร์ปฏิบัติต่อชาวยิวและยิปซีในระหว่าง ปี ค.ศ. 1933 – 1945 คือ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide)
76. ตามแนวคิดของริสแมน (Riesman) รูปแบบการเปลี่ยนแบ่ลงของสังคมไทยเป็นอย่างไร
(1) เปลี่ยนแปลงจากสำนึกนำสู่ผู้อื่นนำ (2) เปลี่ยนแปลงจากประเพณีนำสู่สำนึกนำ
(3) เปลี่ยนแปลงจากผู้อื่นนำสู่สำนึกนำ (4) เปลี่ยนแปลงจากประเพณีนำสู่ผู้อื่นนำ
(5) เปลี่ยนแปลงจากผู้อื่นนำสู่ประเพณีนำ
ตอบ4 หน้า 331 – 332 รูปแบบสังคมตามทัศนะของริสแมน (Riesman) แบ่งเป็น 3 รูปแบบและ เปลี่ยนแปลงเป็นขั้นตอนดังนี้ 1. สังคมประเพณีนำ 2. สังคมสำนึกนำ 3. สังคมผู้อื่นนำ ซึ่งสังคมอเมริกันจะเป็นไปตามรูปแบบที่ริสแมนได้กล่าวไว้ ส่วนสังคมไทยข้ามขั้นตอนจาก รูปแบบสังคมประเพณีนำไปสู่สังคมผู้อื่นนำ โดยขาดขั้นสังคมสำนึกนำ
77. ในทัศนะของเพลโต (Plato) พัฒนาการขั้นแรกของรัฐคือข้อใด (1) ทุชนาธิปไตย
(2) ไร้อธิปไตย (3) คณาธิปไตย (4) รัฐธิปไตย (5) อภิชนาธิปไตย
ตอบ 5 หน้า310-311 ในทัศนะของเพลโต (Plato) การเปลี่ยนแปลงของรัฐมีพัฒนาการแบ่งออกเป็น 5 ยุค ดังนี้ 1. อภิชนาธิปไตยหรือราชาธิปไตย 2. วีรชนาธิปไตย 3. คณาธิปไตย 4. ประชาธิปไตย 5. ทุชนาธิปไตย
78. ทฤษฎีใดมีแนวคิดว่า “สภาพสังคมที่สลับซับซ้อน ถือว่าเป็นความก้าวหน้า”
(1) ทฤษฎีวัฏจักร (2) ทฤษฎีวิวัฒนาการ (3) ทฤษฎีการหน้าที่
(4) ทฤษฎีการขัดแย้ง (5) ทฤษฎีจิตวิทยาสังคม
ตอบ 2 หน้า 313 ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolutionary Theory) เป็นทฤษฎีที่นิยมกันมากในโลกตะวันตก โดยเชื่อว่า สังคมก้าวหน้าขึ้นจากสภาพที่อยูกันง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อนและขยายตัวไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งมีความซับซ้อนหรือสภาวะเชิงซ้อนสูงขึ้น ซึ่งการมีสภาพสังคมที่สลับซับซ้อนขึ้นนั้น ถือว่าเป็นความก้าวหน้า
79. กระบวนการเปลี่ยนแปลง 3 ขั้นตอน “จุดยืน จุดแย้ง จุดยุบ” เป็นแนวความคิดของใคร
(1) มาร์กซ์ (Marx) (2) ค้องท์ (Comte) (3) ทอยน์บี (Toynbee)
(4) พาร์สัน (Parson) (5) สเปนเซอร์ (Spencer)
ตอบ1 หน้า 320 – 321 ทฤษฎีการขัดแย้งเป็นแนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx)ซึ่งได้อธิบายการเปลี่ยนแปลงหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยกระบวนการ 3 อย่าง คือ
1. Thesis (จุดยืน) ได้แก่ สภาพที่เป็นอยู่แล้ว
2. Antithesis (จุดแย้ง) ได้แก่ สภาพที่ตรงข้ามหรือขัดแย้งกับสิ่งที่มีอยู่หรือเป็นอยู่แล้ว
3. Synthesis (จุดยุบ) ได้แก่ ผลแห่งการปะทะกันหรือขัดแย้งกันของ 2 กระบวนการแรก
80. แนวความคิดแบบใดไม่นิยมการเปลี่ยนแปลง
(1) อนุรักษนิยม
(2) สังคมนิยม (3) ทุนนิยม (4) ชาตินิยม (5) ลัทธินิยม
ตอบ 1 (คำบรรยาย) อนุรักษนิยม (Conservatism) เป็นแนวความคิดที่ไม่นิยมการเปลี่ยนแปลง ตองการอนุรักษ์หรือรักษาของเดิมเอาไว้ จัดเป็นอุดมคติทางการเมือง/เศรษฐกิจ/สังคมที่มี แนวโน้มเป็นไปในทางต่อต้านการเปลี่ยนแปลง โดยยึดถือสนับสนุนระเบียบแบบแผนเดิม ที่ตั้งมั่นอยู่แล้ว
81. สังคมลักษณะใดเปลี่ยนแปลงได้ง่าย
(1) สังคมยึดถือประเพณี
(2) สังคมยกย่องผู้อาวุโส
(3) สังคมบูชาบรรพบุรุษ
(4) สังคมยึดถือปัจเจกบุคคล
(5) สังคมที่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ตอบ 4 หน้า 328, (คำบรรยาย) โครงสร้างสังคมและวัฒนธรรมมีผลต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงในสังคม ที่อำนาจส่วนใหญ่ตกอยู่กับผู้อาวุโส เช่น สังคมจีนที่ยึดถือประเพณีและบูชาบรรพบุรุษจะมี แนวโน้มเปลี่ยนแปลงน้อย หรือในสังคมที่เน้นรูปแบบความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและฝึกให้ บุคคลรับผิดชอบต่อกลุ่มจะยอมรับการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ซึ่งจะตรงกันข้ามกับสังคม ที่เน้นปัจเจกบุคคลจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายมาก
82. ตัวเลือกใดที่ไม่จัดว่าเป็นคุณสมบัติดั้งเดิมของชุมชนชนบท
(1) ความโดดเดี่ยว (2) อาชีพเกษตรกรรม (3) การผลิตเพื่อการค้า
(4) การผลิตเพื่อบริโภค (5) ความสัมพันธ์แน่นแฟ้น
ตอบ 3 หน้า 340 – 341, (คำบรรยาย) คุณสมบัติดั้งเดิมของชุมชนชนบท มีลักษณะดังนี้
1. ความโดดเดี่ยว (Isolation) มีการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนกระจัดกระจายกันอยู่ตามไร่นา
2. ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Homogeneity) หรือความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นทั้งในด้าน เชื้อชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณี และภูมิหลังทางวัฒนธรรม
3. การใช้แรงงานเพื่อการเกษตร (Agricultural Employment) ทำให้มีความเหมือนในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งจะเกี่ยวพันกับการเกษตรกรรมไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
4. การเศรษฐกิจเพื่อการบริโภค (Subsistence Economy) หรือเศรษฐกิจพอเพียง โดยครอบครัวจะเป็นทั้งหน่วยผลิตและหน่วยบริโภค มีทั้งปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์
83. ในการพัฒนาชนบทต้องพัฒนาอะไรเป็นอันดับแรก
(1) สภาพแวดล้อม
(2) คุณภาพคน (3) การศึกษา (4) บทบาทผู้นำ (5) เศรษฐกิจ
ตอบ 2 หน้า 338 ในการพัฒนาชนบทนั้น ต้องมุ่งพัฒนาคน (คุณภาพของคน) เป็นอันดับแรกและการพัฒนาคนนั้นต้องพัฒนาความคิดของเขา อะไรคือตัวบงการให้คนชนบทคิดเช่นนั้น ทำเช่นนั้น ค่านิยมหรือวัฒนธรรม ซึ่งการศึกษาสังคมชนบทจะช่วยให้เราเข้าใจได้
84. “ชนบทคือชีวิต ส่วนเมืองนั้นคือกาฝาก” หมายถึงตัวเลือกใด
(1) เมืองไม่ต้องพึ่งพาชนบท (2) ชาวเมืองชอบไปเที่ยวชนบท
(3) ชนบทต้องพึ่งพาเมืองเพื่อความอยู่รอด (4) ชนบทและเมืองต่างพึ่งตนเองได้
(5) เมืองต้องพึ่งพาผลผลิตทางเกษตรกรรมจากชนบท
ตอบ 5 หน้า 366 มีคำโบราณกล่าวว่า ชนบทคือชีวิต ส่วนเมืองนั้นคือกาฝาก หมายความว่า เมืองคือที่รวมของมนุษย์ที่ต้องพึงพาผลผลิตทางเกษตรกรรมและแรงงานจากชนบท เพื่อการอยู่รอดของตนเอง ความต้องการอาหารทุกวันทำให้เมืองต้องขึ้นอยู่กับเขตชนบท
85. ครอบครัวชนบทไทยมีแนวโน้มเป็นแบบใดมากขึ้น
(1) ครอบครัวขยาย
(2) ครอบครัวเดียว (3) ครอบครัวร่วม (4) ครอบครัวใหญ่ (5) ครอบครัวขยายตัวคราว
ตอบ 2 หน้า 348 – 349 ครอบครัวชนบทไทยมีลักษณะเด่นดังนี้ 1. เป็นครอบครัวขยายชั่วคราวแต่ปัจจุบันมีแนวโน้มเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น 2. เป็นครอบครัวแบบผัวเดียวเมียเดียว การสืบสกุลถือข้างฝ่ายบิดาเป็นหลัก 3. มีความเข้มข้นของความสัมพันธ์ทางสายโลหิต
4. ยึดมั่นในขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และไม่ค่อยสนใจกิจการบ้านเมือง ฯลฯ
86. เพราะเหตุใดจึงต้องคึกษาชุมชนชนบท
(1) เพื่อเข้าใจวิถีชีวิตของชาวชนบท
(2) เพื่อเปลี่ยนแปลงชนบทให้เป็นเมือง (3) เพื่อให้รัฐบาลควบคุมได้ทั่วถึง
(4) ข้อ 1 และ 2 (5) ข้อ 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 337 – 338 สาเหตุที่ต้องมีการศึกษาสังคมวิทยาชนบท มีดังนี้
1. เนื่องจากชาวโลกส่วนใหญ่เป็นชาวชนบท ประกอบอาชีพทางการเกษตร
2. เพื่อต้องการทราบและเข้าใจในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่แท้จริง ประเพณี วัฒนธรรม
สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของชาวชนบท
3. เพื่อประโยชน์ในด้านการพัฒนาชนบท
4. เพื่อจะได้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกับชนบท เช่น ชาวเมืองต้องพึ่งพาชนบทในด้านผลิตผล- การเกษตร ส่วนชาวชนบทก็ต้องพึ่งพาเมืองในด้านการซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ด้านการเกษตร ฯลฯ
87. ตัวเลือกใดคือสาเหตุการเปลี่ยนแปลงจากภายในสังคมชนบท
(1) การเลียนแบบ (2) การพัฒนา (3) การประดิษฐ์
(4) การติดต่อสื่อสาร (5) การกระจายทางวัฒนธรรม
ตอบ 3 หน้า 358 – 359 สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมชนบทเกิดจาก 2 ปัจจัย คือ
1. ปัจจัยภายในสังคมชนบทเอง เช่น การเกิด การตาย การย้ายถิ่น การแปรปรวนของธรรมชาติ ผู้ร้ายหรือการสู้รบ การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ (ภูมิปัญญาชาวบ้านที่เกิดจากนวัตกรรม) ฯลฯ
2. ปัจจัยภายนอกสังคมซนบท เช่น การผสมผสานทางวัฒนธรรม การแพร่กระจายทางวัฒนธรรม การคมนาคมติดต่อสื่อสาร การเลียนแบบ (การขอยืมวัฒนธรรม) การพัฒนา ฯลฯ
88. สิ่งที่ช่วยคํ้าจุนเมือง (The Support of Cities) ได้แก่ตัวเลือกใด
(1) วัตถุดิบ
(2) การคมนาคมทั่วถึง (3) ความอุดมสมบูรณ์ (4) การให้บริการ (5) ถูกทั้งหมด ตอบ 5 หน้า 368 สิ่งที่ช่วยคํ้าจุนเมือง (The Support of Cities) ได้แก่ 1. วัตถุดิบ
2. การคมนาคมขนส่ง 3. ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นดิน
4. การให้บริการ เช่น ร้านค้า ธนาคาร โรงพยาบาล ฯลฯ
89. ทฤษฎีการขยายตัวของเมืองทฤษฎีใดที่เก่าแก่ที่สุด
(1) รูปดาว
(2) รูปพาย (3) รูปวงกลม (4) รูปคันธนู (5) รูปสามเหลี่ยม
ตอบ 1 หน้า 374 ทฤษฎีรูปดาว (Star Theory) เป็นทฤษฎีการขยายตัวของเมืองที่เก่าแก่ที่สุด เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1903โดย อาร์.เอ็ม. เฮิร์ด (R.M. Hurd) ได้ศึกษาพบว่า เมืองจะขยายตัว ออกจากศูนย์กลางไปตามเส้นทางการคมนาคมขนส่ง ซึ่งทำให้เป็นรูปคล้ายดาวหรือแมงกะพรุน
90. เมืองอันดับ 2 ที่นำมาเปรียบเทียบกับความเป็นเอกนครของกรุงเทพมหานครได้แก่ตัวเลือกใด
(1) สงขลา (2) เชียงราย (3) เชียงใหม่ (4) นครราชสีมา (5) ขอนแก่น
ตอบ 3 หน้า 381 เมืองอันดับ 2 ที่นำมาเปรียบเทียบกับความเป็นเอกนครของกรุงเทพมหานคร
ได้แก่ เชียงใหม่ โดยเขตเมืองของกรุงเทพฯ มีขนาดใหญ่กว่าเมืองเชียงใหม่ถึงประมาณ 35 เท่าตัว
91. การขยายตัวของกรุงเทพมหานครเป็นไปตามทฤษฎีใด
(1) รูปดาว
(2) รูปวงกลม
(3) รูปพาย
(4) หลายศูนย์กลาง
(5) หลายรูปแบบ
ตอบ 4 หน้า 382 การขยายตัวของกรุงเทพฯ เป็นไปตามทฤษฎีหลายศูนย์กลาง (Multiple Nuclei) คือ มีศูนย์กลางอยู่หลายแห่ง ซึ่งในสมัยก่อนศูนย์การค้าอยู่ที่บางรัก บางลำพู ฯลฯ แต่ต่อมา ก็เกิดศูนย์กลางขึ้นอีกหลายแห่ง เช่น ราชประสงค์ ประตูนํ้า ราชดำริ ศูนย์การค้าสยาม ฯลฯ และปัจจุบันได้เกิดศูนย์กลางขึ้นตามย่านชานเมือง เช่น ลาดพร้าว รามคำแหง บางแค ฯลฯ
92. ตัวเลือกใดคือลักษณะความเป็นเมืองของประเทศที่กำลังพัฒนา
(1) ประชากรในเมืองหลวงเพิ่มขึ้นน้อย (2) มีสาธารณูปโภคกระจายทุกภูมิภาค
(3) มีความเป็นเอกนคร (4) ขนาดของเมืองต่าง ๆ ใกล้เคียงกัน
(5) มีศูนย์กลางความเจริญกระจายอยู่ตามเมืองต่าง ๆ
ตอบ 3 หน้า 380 – 381 ลักษณะความเป็นเมืองของประเทศที่กำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา ทั้งในทวีปเอเขีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา จะมีความเป็นเอกนคร (Primate City)โดยที่ประเทศนั้น ๆ จะมีเมือง ๆ หนึ่งที่มีขนาดใหญ่มาก ใหญ่กว่าเมืองในขนาดรอง ๆ ลงไป อย่างมากเหลือเกิน
93. “มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางกะปิ” จัดอยู่ในเขตใด
(1) เขตเมือง
(2) เขตขนบท (3) เขตค้าขาย (4) เขตปริมณฑล (5) เขตชานเมือง
ตอบ 1 หน้า 383, (คำบรรยาย) แต่เดิมนั้นย่านหัวหมาก เขตบางกะปิ ลาดพร้าว จัดเป็นเขตชานเมืองแต่ปัจจุบันบริเวณแถบนี้กลายสภาพเป็นเขตเมืองหมดแล้ว
94. นิเวศวิทยา (Ecology) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับอะไร
(1) สิ่งแวดล้อม (2) วัฒนธรรม (3) การเมือง (4) ประวัติศาสตร์ (5) เศรษฐกิจ
ตอบ 1 หน้า 391 นิเวศวิทยา (Ecology) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับ สิ่งแวดล้อม เพราะสิ่งมีชีวิตไม่สามารถอยู่ได้โดยลำพัง จะต้องมีบทบาทและเกี่ยวข้องกับ สิ่งแวดล้อม จึงทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่เป็นระบบนิเวศน์ (Ecosystem) ขึ้นมา โดยปกติ วิชานี้ถือเป็นสาขาหนึ่งของชีววิทยา บางครั้งจึงเรียกว่า ชีววิทยาทางสิ่งแวดล้อม
95. ตัวอย่างของ Managed Natural Ecosystems ได้แก่ตัวเลือกใด
(1) ป่าทุ่งใหญ่ (2) ทะเลทราย (3) นิคมอุตสาหกรรม
(4) อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (5) ฟาร์มเลี้ยงไก่ของบริษัทขนาดใหญ่
ตอบ 4 หน้า 391 – 392 ระบบนิเวศน์ของมนุษย์ (มนุษยนิเวศวิทยา) แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
1. Mature Natural Ecosystems เป็นระบบนิเวศน์ที่อยู่ในสภาพธรรมชาติอย่างแท้จริง ไม่มีคนอยู่อาศัย เช่น ป่า ภูเขา ทะเลทราย ฯลฯ
2. Managed Natural Ecosystems เป็นระบบนิเวศน์ที่มนุษย์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง และดัดแปลง เช่น สวนสาธารณะ อุทยาน อุทยานแห่งชาติ ฯลฯ
3. Productive Ecosystems เป็นระบบนิเวศน์ที่มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง เพื่อให้ได้ผลิตผลและทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ฟาร์ม ปศุสัตว์ เหมืองแร่ ฯลฯ
4. Urban Ecosystems เป็นระบบนิเวศน์ที่มนุษย์ได้อาศัยประกอบกิจการทำงานต่าง ๆ เช่น บริเวณย่านอุตสาหกรรม บริเวณเมืองเล็กและเมืองใหญ่ ฯลฯ
96. สาเหตุใดทำให้เกิดอากาศเสียมากที่สุด
(1) โรงงานพลังงาน
(2) อุตสาหกรรม (3) การขนส่ง (4) ขยะมูลฝอย (5) มูลสัตว์เลี้ยง
ตอบ 3 หน้า 399 สาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะจากอากาศเสียมากที่สุด คือ การขนส่ง 55%รองลงมา ได้แก่ โรงงานพลังงาน 17% อุตสาหกรรม 14% ขยะมูลฝอย 4% และอื่น ๆ 10%
97. สัดส่วนของน้ำตามธรรมชาติชนิดใดมีมากที่สุดในโลก
(1) นํ้าจืด
(2) นํ้าทะเล (3) นํ้ากร่อย (4) นํ้าฝน (5) น้ำบาดาล
ตอบ 2 หน้า 398 ทรัพยากรนํ้าที่มนุษย์ใช้หมุนเวียนอยู่ในโลกนี้ส่วนใหญ่เป็นนํ้าทะเล (97%)ส่วนที่เหลือเป็นนํ้าจืด (3%) โดยนํ้าธรรมชาติที่มนุษย์ใข้สอยเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ นํ้าฝน, นํ้าท่า (นํ้าที่อยู่ผิวดิน), นํ้าบาดาล (น้ำใต้ดิน) และนํ้าทะเล
98. ข้อใดคือแหล่งน้ำธรรมชาติที่อยู่ใต้ผืนดิน
(1) น้ำฝน
(2) น้ำบาดาล (3) น้ำท่า (4) ข้อ 1 และ 2 (5) ข้อ 2 และ 3
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 97. ประกอบ
99. มานุษยวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับอะไร
(1) สังคม
(2) วิวัฒนาการของมนุษย์ (3) มนุษย์
(4) ประเพณีของมนุษย์ (5) วัฒนธรรมของมนุษย์
ตอบ 3 หน้า 409, 411 มานุษยวิทยา (Anthropology) หมายถึง ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์ (ตัวมนุษย์และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น) โดยคำว่า Anthropology มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ ได้แก่ Anthropos แปลว่า มนุษย์ และ Logia แปลว่า ศาสตร์หรือความรู้ที่จัดไว้เป็นระเบียบ แบบแผนแล้ว ทั้งนี้มานุษยวิทยาจะจำแนกออกเป็น 2 สาขาใหญ่ คือ มานุษยวิทยากายภาพ (ศึกษาเกี่ยวกับตัวมนุษย์) และมานุษยวิทยาวัฒนธรรม (ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่มบุษย์สร้างขึ้น)
100. ตัวเลือกใดไม่ใช่จุดเน้นของการศึกษาวิชามานุษยวิทยากายภาพ
(1) วิวัฒนาการของมนุษย์ (2) กำเนิดของมนุษย์
(3) ความแตกต่างของมนุษย์ยุคปัจจุบัน (4) การแบ่งกลุ่มชาติพันธุ์ของมนุษย์
(5) เทคโนโลยีและวัฒนธรรมทางวัตถุของมนุษย์ในอดีต
ดอน 5 หน้า 412 – 422 จุดเน้นของการศึกษาวิชามานุษยวิทยากายภาพ มีดังนี้ 1. กำเนิดของมนุษย์ 2. วิวัฒนาการของมนุษย์ 3. ปัจจัยที่ทำให้มนุษย์ยุคปัจจุบันมีความแตกต่างกัน 4. การแบ่งกลุ่มชาติพันธุของมนุษย์ 5. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
101. ตัวเลือกใดเป็นตัวอย่างของมนุษย์ชาติพันธุ์ผิวขาว
(1) เอลกิโม
(2) มาลายัน
(3) อารยัน
(4) ปิ๊กมี่
(5) ปาปัวนิวกินี
ตอบ 3 หน้า 420 มนุษย์ชาติพันธุ์ผิวขาว (Caucasoid) แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้ดังนี้ 1. พวกอารยัน เช่น กรีก 2. พวกแฮมิติก เช่น อียิปต์โบราณ 3. พวกเซมิติก เช่น บาบิโลเนีย และอัสสิเริย ซึ่งพวกเซมิติกนี้อาจแบ่งออกเป็นกลุ่มนอร์ดิก (สแกนดิเนเวีย) และกลุ่มเมดิเตอร์เรเนียน
102. มนุษย์จำพวกใดมีลักษณะทางกายภาพคล้ายคลึงกับมนุษย์ปัจจุบัน
(1) มนุษย์ชวา
(2) มนุษย์ปักกิ่ง
(3) มนุษย์สุมาตรา
(4) มนุษย์โครมันยอง
(5) มนุษย์นีแอนเดอร์ธัล
ตอบ 4 หน้า 417 – 418 มนุษย์โครมันยอง (Cro-Magnon Man) มีชีวิตอยู่ราว 40,000 ปีมานี้เอง และเชื่อกันว่ามีลักษณะทางกายภาพคล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกับมนุษย์ปัจจุบันมากที่สุด ดังนั้น จึงมีลักษณะเป็นตัวแทนหรือเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ในปัจจุบันโดยมนุษย์เหล่านี้จะมีชื่อเรียก ต่าง ๆ กันตามระยะเวลาของการมีชีวิตอยู่ เช่น Swanscombe Man, Fontechevade Man, Kanam Man และ Kanjera Man เป็นต้น
103. ตัวอย่างของมนุษย์กลุ่มผิวเหลือง (Mongoloid) ได้แก่ตัวเลือกใด
(1) อารยัน
(2) เอสกิโม (3) แฮมิติก (4) เซมิติก (5) นอร์ดิก
ตอบ 2 หน้า 420 มนุษย์ชาติพันธุ์ผิวเหลือง (Mongoloid) แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้ดังนี้
1. พวกมองโกลอยด์ อยู่แถบทวีปเอเชียตะวันออก เช่น จีน ทิเบต และมองโกเลีย
2. พวกอินเดียนแดง อยู่แถบทวีปอเมริกาเหนือและใต้
3. พวกเอสกิโม อยู่แถบเหนือสุดของทวีปอเมริกา (รัฐอลาสก้าและตอนเหนือของแคนาดา)
4. พวกมาลายัน เช่น มลายู ชวา ไทย และบาหลี
104. ตัวเลือกใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษามานุษยวิทยาวัฒนธรรม
(1) กำเนิดในสังคมตะวันตก (2) ช่วงแรก ๆ เน้นการศึกษาสังคมดั้งเดิม
(3) เน้นการศึกษาสังคมขนาดเล็ก (4) เน้นการศึกษาสังคมในเชิงวิถีชีวิต
(5) เน้นการศึกษาสังคมโดยใช้วิธีการเชิงปริมาณ
ตอบ 5 หน้า 423, 434, (คำบรรยาย) นักมานุษยวิทยาวัฒนธรรมเน้นศึกษาและวิเคราะห์ขนบธรรมเนียม ประเพณี และลักษณะวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสังคมต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน สังคมดั้งเดิมและสังคมขนาดเล็กที่โครงสร้างทางสังคมไม่สลับซับซ้อน ซึ่งสาเหตุที่นักมานุษยวิทยา ให้ความสนใจศึกษาสังคมดั้งเดิม ก็เพราะสามารถศึกษาถึงต้นกำเนิดของวัฒนธรรมนั้น ๆ ได้ และสามารถเข้าใจถึงหน้าที่ประโยชน์ฃองวัฒนธรรมแต่ละประเภทได้ง่าย แต่ปัจจุบันสังคม เหล่านี้ได้สูญหายไปเกือบหมด นักมานุษยวิทยาวัฒนธรรมจึงหันไปสนใจศึกษาสังคมชนบท และแม้กระทั่งสังคมเมืองแทน แต่ก็เน้นการใช้วิธีการทางมานุษยวิทยาเป็นเครื่องมือใช้ศึกษา
105. ศาสนาอิสลามมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตประจำวันของผู้คนในบริเวณใดมากที่สุด
(1) ตะวันออกไกล
(2) ตะวันออกใกล้ (3) ตะวันออกกลาง (4) เอเชียใต้ (5) เอเชียเหนือ
ตอบ 3 หน้า 451, 452 ศาสนาอิสลามมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตประจำวันของผู้คนในบริเวณตะวันออกกลาง มากที่สุด โดยประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับ เช่น อิรัก อิหร่าน ซาอุดิอาระเบีย คูเวต กาตาร์ ฯลฯ
106. วัฒนธรรมใดที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของประเทศสเปนและโปรตุเกส
(1) วัฒนธรรมยุโรป (2) วัฒนธรรมอเมริกาเหนือ (3) วัฒนธรรมเอเชีย
(4) วัฒนธรรมอเมริกาใต้ (5) วัฒนธรรมแอฟริกัน
ตอบ 4 หน้า 446 วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมในภูมิภาคอเมริกาใต้ (ลาตินอเมริกา) คือ สเปนและโปรตุเกส ซึ่งแต่เดิมนั้นประเทศในภูมิภาคนี้ได้รับวัฒนธรรมจากพวกอินเดียนแดง ที่เรียกตัวเองว่า อินคา หรือลูกพระอาทิตย์
107. ประเทศไทยอยู่ในบริเวณใดของทวีปเอเชีย
(1) เอเชียตะวันตกเฉียงเหนือ
(2) เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ (3) เอเชียกลาง
(4) เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ (5) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตอบ 5 หน้า 451 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย ไทย เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน
108. วัฒนธรรมใดมีการแบ่งคนออกเป็นวรรณะ
(1) จีน (2) ญี่ปุ่น (3) มาเลเซีย (4) รัสเซีย (5) อินเดีย
ตอบ 5 หน้า 452 วัฒนธรรมอินเดียมีการแบ่งคนในสังคมออกเป็นชนชั้นต่าง ๆ 4 วรรณะ คือวรรณะพราหมณ์ (เป็นวรรณะสูงสุด) วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร จึงทำให้ เกิดความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ถ้าในกรณีที่คนต่างวรรณะสมรสกัน บุตรที่เกิดมาจะเป็นจัณฑาล ซึ่งถือเป็นพวกที่ต่ำต้อยที่สุด
109. ประเทศใดมีสัดส่วนประชากรชนชั้นกลางมากที่สุด
(1) จีน (2) ญี่ปุ่น (3) เยอรมนี (4) สหรัฐอเมริกา (5) รัสเซีย
ตอบ 4 หน้า 443 สหรัฐอเมริกา สถานภาพทางสังคมของบุคคลขึ้นอยู่กับทรัพย์สมบัติ ให้โอกาสบุคคลในการแสวงหาความก้าวหน้าของชีวิตเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเกิดในชาติตระกูลสูงหรือต่ำ ยากจนหรือร่ำรวย สัตส่วนประชากรอยู่ในระดับชนชั้นกลางมากที่สุด ยกย่องค่าของคน ดังนั้น ค่าจ้างแรงงานจึงสูง ถือทัศนคติที่ว่า ความนิยมชมชอบของคนขึ้นอยู่กับความสำเร็จในชีวิต
110. การศึกษาลักษณะอุปนิสัยประจำชาติมีความสัมพันธ์กับตัวเลือกใด
(1) บุคลิกภาพ (2) ทัศนคติ (3) วัฒนธรรม (4) ค่านิยม (5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 หน้า 458 ลักษณะอุปนิสัยประจำชาติ หมายถึง ลักษณะทางบุคลิกภาพที่ค่อนข้างจะมีอยู่ เป็นประจำ รวมทั้งองค์ประกอบทางวัฒนธรรมและโครงสร้างทางสถาบันต่าง ๆ ซึ่งพอจะเห็บ เด่นชัดอันทำให้สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างสังคมหนึ่งกับอีกสังคมหนึ่ง โดยบุคลิกภาพนี้ จะรวมถึงค่านิยม ทัศนคติ และความนึกคิดหรือมโนภาพโดยทั่วไป ซึ่งแสดงออกมาในรูปของ พฤติกรรมต่าง ๆ
111. ผู้ใดกล่าวว่า “สังคมไทยมีโครงสร้างแบบหลวม ๆ (Loosely Structured)”
(1) ทอคเกอวิลล์ (Tocqueville)
(2) เบนเนดิกต์ (Benedict)
(3) เอมบรี (Embree)
(4) ดร.อดุล วิเชียรเจริญ
(5) สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ตอบ 3 หน้า 464 จอห์น เอมบรี (Embree) นักมานุษยวิทยาตะวันตก กล่าวว่า “คนไทยชอบสนุก และมีโครงสร้างทางบุคลิกภาพและทางสังคมหลวม ๆ คือ ขาดวินัย”
112. ลักษณะอุปนิสัยของคนไทยตามทัศนะของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพคือตัวเลือกใด
(1) รักความเป็นไท
(2) เคร่งครัดระเบียบวินัย
(3) วัตถุนิยม
(4) มักน้อย
(5) ปัจเจกบุคคลนิยม
ตอบ 1 หน้า 464 ลักษณะอุปนิสัยของคนไทยตามทัศนะของสมเด็จกรมพระยาดำรงราขานุภาพ มี 3 ประการ คือ การรักความเป็นไท ปราศจากวิหิงสา และการรู้จักประสานประโยชน์
113. ตัวเลือกใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับค่านิยมซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสังคมไทย
(1) รักความเป็นอิสระ (2) นิยมมีครอบครัวเดี่ยว (3) เล็งผลปฎิบัติ
(4) ชอบสนุกสนาน (5) ยกย่องฐานะและบทบาทของสตรี
ตอบ 4 หน้า 471 – 472 ค่านิยมซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสังคมไทยตามทัศนะของ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ มี 4 ประการ คือ การรักความเป็นอิสระ นิยมมีครอบครัวเดี่ยว การเล็งผลปฏิบัติ (เป็นค่านิยม ที่ไม่ส่งเสริมให้คนไทยเป็นนักคิดแบบนามธรรม) และยกย่องฐานะและบทบาทของสตรี
114. ตามทัศนะของ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ ค่านิยมที่ไม่ส่งเสริมให้คนไทยเป็นนักคิดแบบนามธรรมได้แก่ตัวเลือกใด
(1) การถือฐานานุรูป (2) การเล็งผลปฏิบัติ (3) ความเฉื่อย
(4) การถือหลักเกณฑ์ (5) การถือประโยชน์ตนเอง
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 113. ประกอบ
115. ตามทัศนะของ ดร.ไพฑูรย์ เครือแก้ว ผู้ที่ถูกตำหนิว่าเป็น “ลูกทรพี” หมายถึงผู้ที่ขาดคุณสมบัติค่านิยม ตามตัวเลือกใด
(1) ใจนักเลง
(2) การศึกษา (3) ความกตัญญู (4) การรู้จักที่ต่ำที่สูง (5) อำนาจ
ตอบ 3 หน้า 475 – 478 ค่านิยมของคนไทยตามทัศนะของ ดร.ไพฑูรย์ เครือแก้ว มี 9 ประเภท ได้แก่ ความมั่งคั่ง (มีอิทธิพลเป็นตัวกำหนดรูปแบบพฤติกรรมของคนไทย) อำนาจ ความเป็นผู้ใหญ่ จิตใจนักเลง การเป็นเจ้านาย การมีใจกว้าง ความกตัญญูรู้คุณ (ผู้ที่ขาดคุณสมบัติค่านิยมนี้ จะถูกตำหนิว่าเป็นลูกทรพี) การยกย่องปราชญ์ และความเคารพนบนอบรู้จักที่ตํ่าที่สูง
116. ประเทศใดริเริ่มงานด้านสังคมสงเคราะห์
(1) เยอรมนี (2) โปแลนด์ (3) อังกฤษ (4) สเปน (5) ฝรั่งเศส
ตอบ 3 หน้า 481 – 482, (คำบรรยาย) ประเทศอังกฤษนับว่าเป็นประเทศแรกที่ริ่เริ่มและถือเป็น แม่แบบในการจัดการสังคมสงเคราะห์ โดยจะเห็นได้จากการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ ความผาสุกของส่วนรวมเป็นลายลักษณ์อักษร เช่นในปีค.ศ. 1601 พระนางเจ้าอลิซาเบธที่ 1 ได้ทรงออกกฎหมายเพื่อช่วยเหลือคนจนที่เรียกว่า Elizabethan Poor Law ซึ่งถือเป็น กฎหมายแม่บทในการวางรากฐานด้านการสังคมสงเคราะห์
117. ตัวเลือกใดจัดเป็นวิธีการสังคมสงเคราะห์ที่ให้บริการโดยตรง
(1) การจัดระเบียบชุมชน (2) การวิจัยทางสังคมสงเคราะห์
(3) การสังคมสงเคราะห์กลุ่ม (4) ข้อ 1 และ 2 (5) ข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 หน้า 482 – 483 วิธีการสังคมสงเคราะห์ มี 5 วิธีการ ได้แก่ 1. การสังคมสงเคราะห์เฉพาะราย
2. การสังคมสงเคราะห์กลุ่ม 3. การจัดระเบียบชุมชน (โดย 3 วิธีแรกนี้จัดเป็การให้บริการโดยตรง)
4. การวิจัยทางสังคมสงเคราะห์ 5. การบริหารงานสวัสดิการสังคม
(และ 2 วิธีหลังจัดเนินการให้บริการทางอ้อม)
118. ตัวเลือกใดไม่ใช่หลักการสำคัญในงานสังคมสงเคราะห์
(1) หลักการยอมรับ (2) หลักการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
(3) หลักการรักษาความลับ (4) หลักการถือความสัมพันธ์ส่วนตัว
(5) หลักการให้ความสำคัญต่อตัวบุคคล
ตอบ 4 หน้า 487 – 488 หลักการสำคัญในงานสังคมสงเคราะห์ มีดังนี้
1. หลักการยอมรับ 2. หลักการติดต่อสื่อสารให้เข้าใจกันและกัน
3. หลักการให้ความสำคัญต่อตัวบุคคล 4. หลักการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
5. หลักการรักษาความลับ 6. หลักการไม่ถือความสัมพันธ์ส่วนตัว
119. ขั้นตอนการปฏิบัติงานของนักสังคมสงเคราะห์ขั้นตอนใดที่จะพิจารณาดูว่า สิ่งที่ทำไปแล้วตั้งแต่ต้นถูกต้องหรือไม่
(1) การหาข้อเท็จจริง (2) การวิเคราะห์
(3) การวินิจฉัย (4) การวางแผน (5) การประเมินผล
ตอบ 5 หน้า 488 – 490 ขั้นตอนในการปฏิบัติงานของนักสังคมสงเคราะห์ มี 4 ประการ ดังนี้
1. ต้องมีหลักการค้นคว้าหาข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นขั้นตอนเริ่มแรกหรือขั้นตอนเบื้องต้น
2. การวิเคราะห์และวินิจฉัยปัญหา 3. การให้การแก้ไขปัญหา
4. การประเมินผล โดยจะพิจารณาดูว่าสิ่งท็ทำไปแล้วตั้งแต่ต้นถูกต้องหรือไม่
120. การสังคมสงเคราะห์เกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่สมัยใด
(1) หลังสงครามอินโดจีน (2) กรุงศรีอยุธยาตอนต้น (3) สุโขทัย
(4) กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย (5) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ตอบ 3 หน้า 482 สำหรับในประเทศไทยอาจกล่าวได้ว่า การสังคมสงเคราะห์เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัย สุโขทัย คือ พ่อเมืองจะแจกอาหารและเครื่องนุ่งห่มให้แก่คนชรา นอกจากนั้นศาสนาพุทธก็ มีอิทธิพลต่อการสังคมสงเคราะห์ด้วย เพราะหลักธรรมของพระพุทธเจ้าอบรมสั่งสอนให้มีใจ เมตตากรุณา ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน