การสอบไล่ภาค  1  ปีการศึกษา  2552
ข้อสอบกระบวนวิชา  PSY1001 จิตวิทยาทั่วไป
 
คำสั่ง  ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว  (ข้อสอบมีทั้งหมด  120  ข้อ)
 
ข้อ  1 – 3 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม
(1)  การสังเกต (Observation)                   (2)  การสำรวจ  (Survey)
(3)  การทดลอง  (Experimentation)          (4)  การทดสอบทางจิตวิทยา  (Psychological  Testing)
(5)  การศึกษาประวัติรายกรณี  (Case  Study)
 
1 เป็นวิธีที่ทำให้แน่ใจได้ว่าเป็นสาเหตุให้เกิดพฤติกรรม
ตอบ  (3)  การทดลอง  (Experimentation)          
เป็นวิธีการศึกษาที่ทำให้วิชาจิตวิทยาได้รับการยอมรับว่าเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง  เพราะเป็นการศึกษาถึงเหตุและผล  โดยผู้ทดลองจะสร้างเหตุการณ์บางอย่างขึ้นมาหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมตามที่ต้องการศึกษาซึ่งเรียกว่า  “ตัวแปรอิสระ”  หรือ  “ตัวแปรต้น”  (สาเหตุของพฤติกรรม”  แล้วคอยสังเกตพฤติกรรมหรือศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ  ซึ่งเรียกว่า  “ตัวแปรตาม”  (ผลของพฤติกรรม)  ข้อดีของการทดลองคือ สามารถควบคุมตัวแปรต่างๆที่เป็นสาเหตุของพฤติกรรม  ทำให้แน่ใจได้ว่าอะไรเป็นสาเหตุ  อะไรเป็นผล
2 นักจิตวิทยาสนใจพฤติกรรมใดก็จะเฝ้าติดตามไปเรื่อยๆ
ตอบ  (1)  การสังเกต (Observation)                   
เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงโดยการเฝ้ามองปรากฏการณ์หรือสถานการณ์ตามที่เป็นจริง  โดยที่ผู้ถูกสังเกตไม่รู้สึกตัว  แล้วจึงบันทึกรายละเอียดไว้  ซึ่งเป็นวิธีที่จะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของคนในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติมากที่สุด
 
3 นักจิตวิทยาทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง  แทนการศึกษาจากประชากรทั้งหมด
ตอบ  (2)  การสำรวจ  (Survey)
เป็นวิธีการศึกษาทางจิตวิทยาที่เน้นการศึกษาลักษณะบางลักษณะของบุคคลบางกลุ่มที่ถูกเลือกให้เป็นตัวแทนของประชากรที่ต้องการศึกษาด้วยการออกแบบสอบถามให้ตอบหรือโดยการสัมภาษณ์  และนำคำตอบที่ได้ไปประมวลผลด้วยวิธีการทางสถิติ
 
ข้อ  4 – 7 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม
(1)  กลุ่มโครงสร้างของจิต                        (2)  กลุ่มพฤติกรรมนิยม                      (3)  กลุ่มจิตวิเคราะห์
(4)  กลุ่มมนุษยนิยม                                   (5)  กลุ่มหน้าที่ของจิต
 
4 นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้เชื่อว่ามนุษย์ต้องการพัฒนาตนเองให้ถึง  Self – actualization
ตอบ  (4)  กลุ่มมนุษยนิยม  (Humanistic  Psychology)
จะเน้นในเรื่องของเสรีภาพ  ความต้องการความรัก  ความมีศักดิ์ศรีในตนเอง  การมีความคิดสร้างสรรค์  และที่สำคัญที่สุดก็คือ  มนุษย์มีความต้องการเข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้  (Self – actualization)  ซึ่งเป็นความต้องการที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเองให้ถึงขีดสูงสุด  ซึ่งนักจิตวิทยาในกลุ่มนี้  ได้แก่  คาร์ล  โรเจอร์และอับราฮัม  มาสโลว์
 
5 นักจิตวิทยาที่สำคัญในกลุ่มนี้คือ  จอห์น  บี. วัตสัน
ตอบ  (2)  กลุ่มพฤติกรรมนิยม  (Behaviorism)
จะปฏิเสธเรื่องจิตโดยสิ้นเชิง  แต่จะให้ความสำคัญในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง  และเชื่อว่าการวิเคราะห์พฤติกรรมภายนอกให้กระจ่างจะช่วยให้เข้าใจบุคคล  ซึ่งนักจิตวิทยาที่สำคัญในกลุ่มนี้  คือ  จอห์น  บี. วัตสัน  และ  บี.เอฟ. สกินเนอร์
 
6 กลุ่มนี้เชื่อว่าจิตประกอบด้วย  Sensation,  Feeling  และ  Image
ตอบ  (1)  กลุ่มโครงสร้างของจิต  (Structuralism)
จะให้ความสนใจศึกษาองค์ประกอบของจิตสำนึก  3  ลักษณะ  คือ  การรับสัมผัส  (Sensation)  ความรู้สึก  (Image)  และมโนภาพ  (Image)  โดยใช้วิธีการศึกษาที่เรียกว่า  การมองภายใน  (Introspection)  และวิธีการสังเกต – ทดลอง
 
7 การเสนอวิธีบำบัดจิตโดยให้ความสำคัญจิตไร้สำนึก  (จิตใต้สำนึก)
ตอบ  (3)  กลุ่มจิตวิเคราะห์  (Psychoanalysis)  
เกิดจากแนวความคิดของซิกมันด์  ฟรอยด์  โดยเขาได้อธิบายว่า  บุคลิกภาพของบุคคลพัฒนามาจากแรงจูงใจไร้สำนึก  ซึ่งสิ่งที่อยู่ในจิตส่วนที่ไร้สำนึกนี้  ได้แก่  ความปรารถนา  แรงขับทางเพศ  และความก้าวร้าว  เมื่อถูกเก็บกดจะปรากฏออกมาในรูปของความฝัน  ความขัดแย้งใจ  และการพูดพลั้งปาก  ซึ่งฟรอยด์ได้เสนอวิธีบำบัดรักษาทางจิตที่เรียกว่า  จิตวิเคราะห์  โดยให้ความสำคัญกับจิตใต้สำนึกว่าเป็นแหล่งของความคิด  แรงกระตุ้น  และความปรารถนาที่ซ่อนเร้นอยู่ของมนุษย์
 
8 จิตวิทยาคือ  ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเรื่องใด
1  การโน้มน้าวจิตใจ                            2  การทำงานของร่างกาย                        3  คุณธรรมจริยธรรม
4  พฤติกรรมของมนุษย์                       5  การทำงานของระบบประสาท
ตอบ  4  พฤติกรรมของมนุษย์                       
จิตวิทยา  (Psychology)  คือ  วิชาหรือศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์และกระบวนการของจิต  ซึ่งต้องอาศัยวิธีการศึกษาเชิงจิตวิทยาศาสตร์ในการค้นหาความรู้ด้วย  การสังเกต  ทดลอง  สำรวจ  ศึกษาสหสัมพันธ์  ใช้วิธีการทางคลินิก  และสรุปสิ่งที่ค้นพบอย่างเป็นระบบ  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำความรู้นั้นมาอธิบาย  ทำความเข้าใจ  พยากรณ์หรือทำนายควบคุม  และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นๆ
 
9 การกะพริบตาเมื่อถูกลมพัด  การถอยเท้าหนีเมื่อเหยียบก้นบุหรี่  เป็นลักษณะของอะไร
1  วงจรปฏิกิริยาสะท้อนที่เล็กที่สุด                               2  การตอบสนองอัตโนมัติของระบบประสาท
3  เป็นการเรียนรู้จากสภาพที่เกิดขึ้นจริง                       4  เป็นการแสดงออกทางกายโดยการสั่งของสมอง
5  เป็นการทำงานของระบบกล้ามเนื้อ
ตอบ  1  วงจรปฏิกิริยาสะท้อนที่เล็กที่สุด                               
วงจรปฏิกิริยาสะท้อน (Simple  Reflex  Action)  ถือว่าเป็นวงจรที่เล็กที่สุดของกลไกการตอบสนอง  ซึ่งเป็นการแสดงออกทางร่างกายโดยอัตโนมัติโดยที่สมองไม่ต้องสั่งงาน  แต่วงจรของกระแสประสาทจะผ่านเฉพาะไขสันหลังเท่านั้น  เช่น  การกะพริบตาเมื่อถูกลมพัด  การถอยเท้าหนีเมื่อเหยียบก้นบุหรี่  การยกมือออกเมื่อจับโดนกาน้ำร้อน  เป็นต้น
 
10 อวัยวะภายในร่างกาย  เช่น  กระเพาะอาหาร  ลำไส้  เป็นกล้ามเนื้อและมีลักษณะการทำงานแบบใด
1  กล้ามเนื้อลายทำงานภายใต้อำนาจจิตใจ                   2  กล้ามเนื้อเรียบทำงานนอกอำนาจจิตใจ
3  กล้ามเนื้อหัวใจทำงานนอกอำนาจจิตใจ                   4  กล้ามเนื้อลายทำงานนอกอำนาจจิตใจ
5  กล้ามเนื้อเรียบทำงานภายใต้อำนาจจิตใจ
ตอบ  2  กล้ามเนื้อเรียบทำงานนอกอำนาจจิตใจ
กล้ามเนื้อเรียบ  (Smooth  Muscle)  ประกอบด้วยเซลล์ซึ่งมีลักษณะคล้ายกระสวยทอผ้า  คือ  หัวและท้ายของเซลล์เล็กและแหลมแต่ป่องตรงกลาง  โดยตัวอย่างของกล้ามเนื้อเรียบ  ได้แก่  กล้ามเนื้อกระเพาะอาหาร  กระเพาะปัสสาวะ  ลำไส้  ไต  กะบังลม  มดลูก  ท่อนำไข่  และอวัยวะภายในอื่นๆ  ซึ่งการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบจะอยู่นอกอำนาจจิตใจ  (Involuntary  Control)  เพราะถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ

11           ระบบประสาทชนิดใดที่ทำให้ร่างกายมีความสงบและพักผ่อน  การย่อยดี  ความดันโลหิตต่ำ

1  ระบบประสามอัตโนมัติ                                          2  ระบบประสาทโซมาติก

Advertisement

3  ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก                              4  ระบบประสาทซิมพาเธติก

5  ระบบประสาทส่วนกลาง

ตอบ  3  ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก          

ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก  (Parasympathetic  Nervous  System) เป็นระบบประสาทที่ทำให้ร่างกายมีความสงบและพักผ่อน  การย่อยดี  ความดันโลหิตต่ำ  ซึ่งการทำงานของระบบนี้จะช่วยทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะสงบ

12           จุดที่  Dendrite  ของตัวหนึ่งรับกระแสประสาทจาก  Axon  ของอีกเซลล์หนึ่งเรียกว่าอะไร

1  Simple  Reflex  Action         2  Neurotransmitter          3  Dendrite

4  Synapse                                5  Nerve  Cell

ตอบ  4  Synapse   

ซีแนปส์ (Synapse)  คือ  จุดที่เดนไดรท์  (Dendrite)  ของเซลล์ประสาทตัวหนึ่งรับกระแสประสาทจากแอ๊กซอน  (Axon)  ของอีกเซลล์หนึ่ง  ซึ่งถือว่าเป็นตัวกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่ของกระแสประสาท

 

13           คนที่เป็นโรค  Alzheimer  แสดงว่าขาดการสื่อประสาทชนิดใด

1  Gaba                                     2  Dopamine                  3  Selotonin                     

4  Norepinephrin                      5  Acetylcholin

ตอบ  5  Acetylcholin

อะซีทิลโคลีน (Acetylcholin)  เป็นการสื่อประสาทที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นความจำ  ถ้าสมองส่วนที่ผลิตสารสื่อประสาทนี้เสียไป  จะทำให้เกิดโรคความจำเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์  (Alzheimer’s  Disease)  ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการหลงลืมและบุคลิกภาพเลื่อนลอย  โดยเฉพาะในคนชราที่มีอายุ  90  ปี

 

14           ในช่วงเวลาที่ลมพัดฝุ่นเข้าตาเราจะหลับตาอย่างรวดเร็ว  เป็นผลมาจากการเชื่อมโยงของอวัยวะใด

1  สมอง             2  เซลล์ประสาท               3  ก้านสมอง               4  ไขสันหลัง             5  ระบบประสาทลิมบิก

ตอบ   4  ไขสันหลัง            

ไขสันหลัง  (Spinal  Cord)  เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลาง  ซึ่งอยู่ภายในโพรงกระดูกสันหลังที่ติดต่อกับสมองโดยตรง  และเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของระบบประสาทที่บริเวณลำตัวและแขนขา  ซึ่งจะทำงานอย่างรวดเร็วมาก  เช่น  เวลาที่ลมพัดฝุ่นเข้าตา  เราจะหลับตาอย่างรวดเร็ว  เป็นต้น

 

15           “หนีตำรวจโดยการวิ่งข้ามประตูรั้วสูงๆ  หรือกระโดดลงมาจากชั้น  2”  เป็นผลมาจากการทำงานของต่อมใด

1  Pituitary            2  Gonad            3  Adrenal          4  Thyroid          5  Parathyroid

ตอบ   3  Adrenal         

ต่อมหมวกไต่หรือต่อมแอดรีนัล (Adrenal)  มี  2  ชั้น  คือ  เปลือกต่อมหมวกไต  และแกนในต่อมหมวกไต  โดยแกนในต่อมหมวกไตจะสร้างฮอร์โมนสำคัญชนิดหนึ่งคือ  แอดรีนาลิน  (Adrenalin)  ซึ่งจะหลั่งออกมาเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะฉุกเฉินตื่นเต้น  เคร่งเครียด  ต่อสู้  ตกใจกลัว  หิวกระหาย  เจ็บปวด  หรือเมื่อออกกำลังกาย

 

16           “ฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้มีความคงที่พอดี”  คือต่อมใด

1  Pituitary           2  Pancreas           3  Adrenal          4  Gonad            5  Thyroid

ตอบ  2  Pancreas          

ตับอ่อนหรือต่อมแพนเครียส  (Pancreas)  จะทำหน้าที่เป็นทั้งต่อมมีท่อและต่อมไร้ท่อโดยจะผลิตฮอร์โมนที่สำคัญคือ  อินซูลิน  (Insulin)  ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เข้มข้นพอดี  ถ้าตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินในระดับต่ำ  จะทำให้เกิดอาการของโรคเบาหวานขึ้นมาได้

 

17           ฮอร์โมนที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้ฮอร์โมนจากต่อมอื่นภายในร่างกายทำงานคือต่อมใด

1  Pituitary           2  Pancreas           3  Adrenal          4  Gonad            5  Thyroid

ตอบ  1  Pituitary          

ต่อมใต้สมอง  (Pituitary  Gland)  เป็นต่อมไร้ท่อที่มีความสำคัญที่สุดของร่างกายเพราะสร้างฮอร์โมนหลายชนิดเพื่อไปควบคุมการทำงานหรือควบคุมการผลิตฮอร์โมนของต่อมไร้ท่ออื่นๆ  ซึ่งเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า  มาสเตอร์แกลนด์  (Master  Gland)  โดยมีฮอร์โมนที่สำคัญคือ  โกร๊ธฮอร์โมน  ซึ่งจะทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกายและต่อมน้ำนม

 

18           กระบวนการรับสัมผัสมีความสำคัญอย่างไร

1  เป็นจุดเริ่มต้นของแรงจูงใจ                                       2  ทำการเปลี่ยนข้อมูลดิบเพื่อส่งให้สมอง

3  เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ                                          4  เกี่ยวข้องกับการตอบสนอง

5  เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหา

ตอบ  2  ทำการเปลี่ยนข้อมูลดิบเพื่อส่งให้สมอง

กระบวนการรับสัมผัส  เป็นกระบวนการที่ประสาทสัมผัสทั้ง  5  คือ  ตา  หู  จมูก  ลิ้น  และผิวหนัง  รับสิ่งเร้าจากภายนอกมาสู่ระบบประสาท  แล้วทำการเปลี่ยนข้อมูลดิบ  เพื่อส่งให้สมองและเปลี่ยนเป็นการรับรู้

 

19           กระบวนการรับรู้ทำงานอย่างไร

1  จัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ                                    2  เลือก  จัด  และตีความข้อมูลจากการสัมผัส

3  ตัดสินใจเพื่อตอบสนอง                                          4  เกี่ยวข้องกับการรับข้อมูลที่สัมผัส

5  ถูกทุกข้อ

ตอบ  2  เลือก  จัด  และตีความข้อมูลจากการสัมผัส

กระบวนการรับรู้  เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องจากการสัมผัสโดยการรับรู้จะมุ่งไปที่ความเข้าใจและการแปลความหมายของสิ่งเร้าที่มากระทบประสาทสัมผัส  ดังนั้นกระบวนการรับรู้จึงเป็นการเลือก  จัด  และตีความข้อมูลจากการสัมผัส  ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในอดีต  การเรียนรู้  สภาพจิตใจในปัจจุบัน  ตลอดจนการจัดรูปแบบของสิ่งเร้านั้นๆ

 

20           ธรรมชาติของการรับสัมผัสและการรับรู้ของเราเป็นอย่างไร

1              เราไม่สามารถรับสัมผัสทุกอย่างในโลกได้เนื่องจากมนุษย์มีข้อจำกัด

2              การรับสัมผัสจะไม่เกิดขึ้นกับคลื่นแสงที่มีขนาด  500  นาโนมิเตอร์

3              เราเลือกที่จะรับสัมผัสได้

4              เราเลือกที่จะรับรู้ไม่ได้

5              สัมผัสผิวกายของเรา  ได้แก่  กด  เจ็บ  ร้อน  เย็น

ตอบ  1  เราไม่สามารถรับสัมผัสทุกอย่างในโลกได้เนื่องจากมนุษย์มีข้อจำกัด

ธรรมชาติของการรับสัมผัสและการรับรู้ของเรานั้น  เราไม่สามารถรับสัมผัสทุกอย่างในโลกได้เนื่องจากคลื่นที่สายตามนุษย์รับได้มีขีดจำกัดอยู่เพียงระยะประมาณ  380 – 780  นาโนมิเตอร์  (นม.)  เท่านั้น  นอกจากนี้เราเลือกที่จะรับสัมผัสไม่ได้  แต่เราเลือกที่จะรับรู้ได้

21           การทำงานของเซลล์ประสาทรอดส์กับโคนส์เป็นอย่างไร

1              รอดส์กับโคนจะทำงานพร้อมกันในเวลากลางวัน

2              รอดส์จะเหมาะกับการทำงานในที่สว่างจ้ามากกว่าโคนส์

3              รอดส์จะเหมาะกับการทำงานในขณะที่แสงสลัวมากกว่าโคนส์

4              รอดส์จะทำงานกับคลื่นแสงน้ำเงิน – เหลือง ขณะที่โคนส์ทำงานกับคลื่นแสงแดง – เขียว

5              ข้อ  1  และ  2

ตอบ  3 รอดส์จะเหมาะกับการทำงานในขณะที่แสงสลัวมากกว่าโคนส์

ที่ผนังของเรตินา  (Retina)  จะมีเซลล์ประสาทอยู่  2  ชนิดคือ

1              รอดส์  (Rods)  มีลักษณะเป็นแท่งยาว  และไวต่อแสงขาวดำ  จึงเป็นเซลล์ที่รับแสงสลัวในเวลากลางคืน

2              โคนส์  (Cones)  มีลักษณะสั้น  เป็นรูปกรวย  และไวต่อแสงที่เป็นสี  ช่วยทำให้รับภาพสีได้ดี  จึงเป็นเซลล์ที่รับแสงจ้าในเวลากลางวัน  ดังนั้นคนตาบอดสีจึงไม่มีโคนส์อยู่ที่เรตินาเลย

22           นักจิตวิทยาพบปรากฏการณ์ความคงที่ในการรับรู้เรื่องใด

1  สี                    2  ขนาด                  3  รูปร่าง                   4  ข้อ  1  และ  2              5  ข้อ  1 ,  2  และ  3

ตอบ  5  ข้อ  1 ,  2  และ  3        

ปรากฏการณ์คงที่  (Constancy)  เป็นธรรมชาติของเรื่องการรับรู้และการเห็นนั่นคือ  การที่ตาเห็นเพียงส่วนหนึ่ง  แต่ความเข้าใจในการรับรู้ยังอยู่ในสภาพเดิม  ซึ่งแบ่งเป็น  3  ชนิดคือ

1              การคงที่ของสี  เช่น  การที่เรามองเห็นหาดทรายในเวลากลางคืนยังคงเป็นสีขาว  ฯลฯ

2              การคงที่ของขนาด  เช่น  มองจากตึกสูงเห็นคนตัวเท่ามด  แต่เราก็ยังรู้ว่าคนมีขนาดเท่าเดิม  ฯลฯ

3              การคงที่ของรูปร่าง  เช่น  การเห็นเพียงแค่สันหนังสือ  เราก็ยังรับรู้ว่าเป็นหนังสือ  ฯลฯ 

23           คีเนสเตซีสคือสัมผัสในเรื่องใด

1  ความเจ็บปวด             2  การเคลื่อนไหว            3  การทรงตัว              4  ความลึก              5  ความคงที่

ตอบ  2  การเคลื่อนไหว           

สัมผัสคีเนสเตซีส  (Kinesthesis  Sense)  8อ  ประสาทเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว  และกล้ามเนื้อรับสัมผัสต่างๆ  ซึ่งทำให้เราทราบถึงการเคลื่อนไหวของร่างกายว่าอยู่ในสภาพตำแหน่ง  ท่วงท่า  หรือทิศทางใด

24           คลื่นเสียงมีคุณสมบัติอย่างไร

1  ความถี่และเฮิรตซ์                               2  ความแรงและเดซิเบล                        3  ความถี่และความแรง

4  ความดังและความเข้ม                         5  ข้อ  1  และ  2

ตอบ  3  ความถี่และความแรง

กระแสเสียงหรือคลื่นเสียง  (Sound  Wave)  มีคุณสมบัติ  2  ประการ  คือ  ความถี่  (Frequency)  และความแรง  (Amplitude)  ของคลื่น

25           เราจะรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดมากหรือน้อยได้เกี่ยวข้องกับอะไร

1  ทฤษฎีคุมด่าน                                   2  หลักของภาพและพื้น                          3  ทฤษฎีปรปักษ์

4  หลักของเพอร์สเปคทีพ                    5  ทฤษฎีปฏิกิริยาสะท้อน

ตอบ  1  ทฤษฎีคุมด่าน                                  

ทฤษฎีคุมด่าน  (Gate  Control  Theory)  เป็นทฤษฎีการเจ็บปวดที่เชื่อว่า  ไขสันหลังเป็นที่รวมของประสาทใหญ่น้อยที่จะส่งไปยังสมองและที่มาจากกล้ามเนื้อและผิวหนังอื่นๆของร่างกาย  ซึ่งหากบุคคลมีอาการกลัวความเจ็บปวดในสมอง  จะทำให้เกิดกระแสไปเร้าด่านที่ไขสันหลังทำให้ด่านเปิดและส่งกระแสที่เจ็บปวดไปยังสมองได้

26           นักจิตวิทยานำหน้าผามายา  (Visual  Cliff)  มาใช้ในการทดลองเกี่ยวกับอะไร

1  ปรากฏการณ์คงที่                       2  การรับรู้ระยะทาง/ความลึก                   3  การล่วงรู้เหตุการณ์ในอนาคต

4  การกะระยะโดยไม่ต้องอาศัยดวงตา                        5  ผิดทุกข้อ

ตอบ  2  การรับรู้ระยะทาง/ความลึก                  

จากการทดลองเกี่ยวกับการรับรู้ความลึกและระยะทางโดยอาศัยเครื่องมือที่เรียกว่า  หน้าผามายา”  (Visual  Cliff)  พบว่าเมื่อทารกคลานไปถึงกึ่งกลางโต๊ะที่เป็นรอยต่อระหว่างกระจกโปร่งใสกับที่ทาสีตาหมากรุก  (ทำให้แลเห็นเป็นพื้นที่  2  ระดับที่มีความสูงต่ำต่างกัน)  เด็กจะไม่กล้าคลานออกไป  แสดงว่าการรับรู้ความลึกเกิดขึ้นได้เองโดยไม่ต้องเรียนรู้

27           สัมปชัญญะเกี่ยวข้องกับเรื่องใด

1  อารมณ์                                         2 สัญชาตญาณ                                     3  พันธุกรรม

4  การตอบสนองต่อสิ่งเร้า               5  สภาวะรู้ตัวในขณะปัจจุบัน

ตอบ  5  สภาวะรู้ตัวในขณะปัจจุบัน

สัมปชัญญะ  หมายถึง  การรู้ตัวทั่วพร้อมว่ากำลังทำ  พูด  คิด  หรือมีพฤติกรรมใดอยู่  โดยสภาวะที่ร่างกายของบุคคลออกจากสัมปชัญญะหรือขาดสัมปชัญญะ  (การรู้ตัวต่ำ)  ได้แก่  การนอนหลับ  การหมดสติ  การสะกดจิต  การใช้ยาเสพติด  และการนั่งสมาธิภาวนา

28           สภาพจิตใจที่มีความเครียด  สับสนวุ่นวาย  คิดมาก  ฟุ้งซ่าน  คลื่นสมองจะมีคลื่นแบบใด

1  แอลฟา                     2  เดลตา                    3  บีตา                    4  แกมมา                     5  ซิกมา

ตอบ  3  บีตา                   

ในช่วงตื่น  กระแสคลื่นสมองของมนุษย์จะสั้นและถี่  เรียกว่า  คลื่นบีตา (Beta)  โดยเฉพาะในคนที่มีความเครียด  สับสนวุ่นวาย  คิดมาก  ฟุ้งซ่าน  จะมีแต่คลื่นสมองบีตาเท่านั้น  ส่วนในช่วงเคลิ้มหลับหรือก่อนนอนหลับ  หรือในขณะที่ร่างกายมีการผ่อนคลายเต็มที่  หรือในช่วงเวลาที่นั่งเจริญภาวนา  กระแสคลื่นสมองจะยางและห่างขึ้น  เรียกว่า  คลื่นแอลฟา  (Alpha)

29           การขัดขวางไม่ให้มีการนอนหลับทั้งในมนุษย์และสัตว์  จะทำให้เกิดอาการชนิดใด 

1  REM                             2  Non – REM                            3  Microsleep

4  Day  Dreaming             5  ฝันร้าย

ตอบ  3  Microsleep

โดยปกติแล้วร่างกายของมนุษย์และสัตว์ต้องการนอนหลับพักผ่อนตามปกติ  แต่ถ้าการนอนหลับนั้นถูกขัดขวางไม่ให้เกิดขึ้น  ทั้งคนและสัตว์จะมีการสัปหงกเป็นพักๆหรือมีการหลับเป็นช่วงสั้นๆ  ซึ่งเรียกว่า  Microsleep

30           แบบแผนการนอนหลับที่ผิดปกติอันเนื่องมาจากเดินทางข้ามทวีปจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่งเรียกว่าอะไร

1  Fatigue                          2  Sleep  Spindle                     3  EEG             

4  Jet  Lag                         5  MRI

ตอบ  4  Jet  Lag                        

นักเดินทางที่ต้องขึ้นเครื่องบินเดินทางข้ามทวีปจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่งมักจะเกิดสภาวะที่เรียกว่า  Jet  Lag  คือ  ต้องปรับตัวกับเวลาของประเทศที่เดินทางไปถึงใหม่เนื่องจากแบบแผนการนอนตามธรรมชาติถูกรบกวน

31           กาแฟ  บุหรี่  มีผลต่อภาวะการรู้สึกตัวอย่างไร

1  กดประสาท                                 2  กระตุ้นประสาท                              3  กล่อมประสาท

4  หลอนประสาท                            5  ทำลายประสาท

ตอบ  2  กระตุ้นประสาท    

ยาเสพติดแบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางได้  4  กลุ่ม  คือ

1              ประเภทกดประสาท  ได้แก่  ฝิ่น  มอร์ฟีน  เฮโรอีน  ยาระงับประสาท  ยากล่อมประสาท

2              ประเภทกระตุ้นประสาท  ได้แก่  พวกแอมเฟตามีน  (ยาบ้า)  กระท่อม  โคเคอีน  สารนิโคตรรินในบุหรี่  สารคาเฟอีนในกาแฟหรือชา  และยาแก้ปวด

3              ประเภทหลอนประสาท  ได้แก่  แอลเอสดี  (LSD)  ดีเอ็มที  (DMT)  และเห็ดขี้ควาย

4              ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน  อาจกด  กระตุ้น  หรือหลอนประสาทร่วมกัน  ได้แก่  กัญชา

32           คลื่นสมองชนิดใดปรากฏขณะที่บุคคลกำลังเจริญสมาธิ

1  ควอนตัม                    2  แกมมา                     3  บีตา                     4 แอลฟา                       5  ถูกทุกข้อ

ตอบ   4 แอลฟา                       ดูคำอธิบายข้อ  28  ประกอบ

33           LSD  เป็นยาเสพติดลักษณะใด       

1  กระตุ้นประสาท                                    2  กดประสาท                                    3  หลอนประสาท

4  ออกฤทธิ์ผสมผสาน                              5  ถูกทุกข้อ

ตอบ  3  หลอนประสาท           ดูคำอธิบายข้อ  31  ประกอบ

34           แอลแลน  ฮอบซัน  และคณะ  อธิบายเกี่ยวกับความฝันไว้อย่างไร

1              เป็นการแสดงออกของความต้องการในระดับจิตใต้สำนึก

2              เป็นเรื่องของความวิตกกังวลและความแปรปรวนของธาตุ

3              เป็นเรื่องของความคิดคำนึงและความรู้สึกที่ต่อเนื่องจากกลางวัน

4              เป็นเรื่องของกระบวนการทางสรีรวิทยาล้วนๆ  ไม่เกี่ยวกับจิตใต้สำนึก

5              เป็นการส่งผ่านของประสบการณ์ย้อนยุคจากบรรพบุรุษที่นอกเหนือจากการรับรู้ในปัจจุบัน

ตอบ   4  เป็นเรื่องของกระบวนการทางสรีรวิทยาล้วนๆ  ไม่เกี่ยวกับจิตใต้สำนึก

Activation – synthesis  Hypothesis  เป็นทฤษฎีความฝันในปัจจุบันที่กำเนิดโดยนักวิทยาศาสตร์ 2  คน  คือ  แอลแลน  ฮอบซัน  และโรเบิร์ต  แมคคาเลย์  ซึ่งเชื่อว่า  ความฝันเป็นกระบวรการทางสรีรวิทยาล้วนๆ  ไม่เกี่ยวกับจิตใต้สำนึกแต่อย่างใด  กล่าวคือ  ในช่วงของการนอนหลับที่มี  REM  เกิดขึ้น  เซลล์ในสมองจะถูกกระตุ้นให้ทำงานตลอดช่วงเวลาที่บุคคลกำลังฝันอยู่

35           เอาสติมาจับที่ลมหายใจ  เมื่อหายใจเข้าภาวนาว่า  พุท”  เมื่อหายใจออกภาวนาว่า  โธ”  เป็นวิธีการฝึกสมาธิแบบใด

1  พอง – ยุบ                     3  ธรรมกาย                   4  เซน                  5  เต๋า

ตอบ  2  อานาปานสติ                

วิธีอานาปานสติ  หมายถึง  การเอาจิตมาจับที่ลมหายใจของผู้ปฏิบัติ  ซึ่งอาจเอาสติมาตั้งไว้ที่ปลายจมูก  เมื่อหายใจเข้าก็ใช้คำบริกรรมภาวนาว่า  พุท”  และเมื่อหายใจออกก็ให้ภาวนาว่า  โธ”  และให้มีสติอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกตลอดเวลา  เพื่อไม่ให้จิตส่งส่ายออกไปภายนอก

36           กรณีที่มีโครโมโซมเพศผิดปกติจะส่งผลอย่างไร

1  อาการปัญญาอ่อน                             2  รูปร่างแคระแกร็น                         3  รูปร่างใหญ่ผิดปกติ

4  เป็นหมัน                                           5  ถูกทุกข้อ

ตอบ  5  ถูกทุกข้อ

กรณีที่มีโครโมโซมเพศผิดปกติจะส่งผลหรือมีอิทธิพลต่อบุคคลในด้านต่างๆ  คือ 

1              ด้านร่างกาย  เช่น  ทำให้มีรูปร่างเล็กแคระแกร็นหรือมีรูปร่างใหญ่ผิดปกติ  ผู้หญิงบางคนอาจไม่มีหน้าอก  ไม่มีประจำเดือน  และเป็นหมัน ฯลฯ

2              ด้านสติปัญญา  เช่น  ทำให้มีอาการของโรคปัญญาอ่อน  ฯลฯ

37           การขาดออกซิเจนเป็นเวลาเท่าใดที่มีผลให้เซลล์สมองของทารกถูกทำลาย

1  18  วินาที                      2  30  วินาที                    3  1  นาที                  4  4  นาที                5  10  นาที

ตอบ  1  18  วินาที                     

สภาวะของการขาดออกซิเจนขณะคลอดมีสาเหตุมาจากการที่ทารกคลอดยากหรือรกไม่เปิด  ทำให้ออกซิเจนเข้าสู่กระแสโลหิตของทารกไม่ได้  ซึ่งหากทารกขาดออกซิเจนประมาณ  18  วินาทีเท่านั้น  จะมีผลต่อเซลล์สมองทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย  และถ้าขาดนานๆอาจทำให้ทารกตายได้

38           สุขภาพจิตของแม่ส่งผลต่อเด็กในครรภ์ได้อย่างไร

1  ทำให้เด็กปัญญาอ่อน                                    2  เด็กเกิดความพิการหูหนวกตาบอด

3  เด็กเป็นโรคภูมิแพ้                                        4  ร่างกายอ่อนแอติดเชื้อง่าย

5  ขาดฮอร์โมนบางชนิด

ตอบ  1  ทำให้เด็กปัญญาอ่อน                        

สุขภาพจิตของแม่ในด้านอารมณ์จะส่งผลต่อเด็กในครรภ์เป็นอย่างมาก  เพราะถ้าแม่มีอารมณ์เครียดมากๆหรือนานๆ  จะทำให้ฮอร์โมนในเลือดไม่สมดุล  ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคปัญญาอ่อนชนิด  Mongolism

39           กีเซลล์ได้ทำการศึกษาในเรื่องใด

1  การเรียนรู้ของฝาแฝด                          2  วุฒิภาวะ                         3  ระยะสำคัญของวุฒิภาวะ

4  ประสบการณ์ในระยะฝังใจ                 5  ถูกทุกข้อ

ตอบ  2  วุฒิภาวะ                        

กีเซลล์ (Gesell)  เป็นนักจิตวิทยาที่ศึกษาเรื่องวุฒิภาวะหรือความพร้อมของบุคคล  (Maturation)  และลักษณะพัฒนาการของทารก  โดยเขาเชื่อว่า  ภาวะบุคคลเพียงอย่างเดียวที่มีส่วนรับผิดชอบต่อการเจริญเติบโตและความสามารถของบุคคล”  และ  การเรียนรู้ไม่ว่าลักษณะใดจะไม่ก่อประโยชน์หากร่างกายไม่พร้อมหรือยังไม่มีวุฒิภาวะ

40           ลอเรนซ์ทำการทดลองที่พบความสำคัญในเรื่องใด  (ใช้ตัวเลือกข้อ  39)

ตอบ  4  ประสบการณ์ในระยะฝังใจ                

ลอเรนซ์  (Lorenz)  เป็นผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบฝังใจ  (Imprinting)  โดยเขาได้ทดลองกับห่าน  ซึ่งผลปรากฏว่าเมื่อลูกห่านฟักตัวออกจากไข่มาแล้ว  ลูกห่านจะฝังใจตามสิ่งแรกที่เคลื่อนไหวที่มันได้เห็น  ทั้งนี้ประสบการณ์การเรียนรู้แบบฝังใจจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ  และเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ยาก

41           นักจิตวิทยาท่านใดที่กล่าวถึงความสำคัญของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างเด็กกับบุคลใกล้ชิด

1  ฟรอยด์                   2  อิริคสัน                 3  เพียเจท์                      4  บรูเนอร์                     5  โคลเบิร์ก

ตอบ  2  อิริคสัน                

อิริคสัน  (Erikson)  เป็นผู้ที่ศึกษาในเรื่องเกี่ยวกับพัฒนาการทางจิตสังคม  (Psychosocial  Stages)  โดยเน้นความสำคัญของความสัมพันธ์และความต้องการทางสังคม  (ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม)  ระหว่างเด็กกับบุคคลใกล้ชิด  ด้วยการศึกษาว่าพัฒนาการทางจิตและสังคมของมนุษย์เกิดขึ้นตั้งแต่แรกคลอดจนกระทั่งการสิ้นสุดของชีวิต  ซึ่งเขาได้แบ่งระยะพัฒนาการของคนในแต่ละวัยออกเป็น  8  ระยะด้วยกัน

42           โครโทโซมคู่ใดปกติ

1  XO                  2  XY                 3  XX                  4  YY                    5  ข้อ  2  และ  3

ตอบ  5  ข้อ  2  และ  3

โดยปกติโครโมโซมเพศของมนุษย์จะเป็นดังนี้

1              เพศชาย  มีโครโมโซมเป็น  XY            

2              เพศหญิง  มีโครโมโซมเป็น  XX

43           เหตุใดจึงเกิดฝาแฝดเหมือน

1              เกิดเซลล์ปฏิสนธิพร้อมกันมากกว่า  1  เซลล์                 

2              เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ปฏิสนธิผิดพลาด

3              สภาพร่างกายของแม่สมบูรณ์มาก

4              แม่มีอายุน้อยเกินไป

5              เป็นไปได้ทุกกรณี

ตอบ  2  เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ปฏิสนธิผิดพลาด

ฝาแฝด  (Twins)  แบ่งเป็น  2  ชนิด  คือ

1              ฝาแฝดเหมือนหรือแฝดแท้  (Identical  Twins)  เกิดจากไข่  1  ใบ  ผสมกับเสปิร์มหรืออสุจิ  1  ตัว  แล้วเซลล์เกิดการแบ่งตัวเป็นตัวอ่อน  2  ตัว  (เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ปฏิสนธิผิดพลาด) ฝาแฝดเหมือนจึงเป็นเพศเดียวกัน

2              ฝาแฝดคล้ายหรือแฝดเทียม  (Fraternal  Twins)  เกิดจากไข่  2  ใบ  ผสมกับเสปิร์มหรืออสุจิ  2  ตัว  เซลล์แบ่งตัวเป็นอิสระจากกัน  (เกิดจากเซลล์ปฏิสนธิพร้อมกันมากกว่า  1  เซลล์ฝาแฝดค้ลายจึงอาจมีเพศเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้

 

44           ยีนส์จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง  ยกเว้นข้อใด

1  Rh  แฟคเตอร์                                 2  สุขภาพจิตของมารดา                          3  การได้รับรังสีบางชนิด

4  การมีโครโมโซมเพศแบบ  XXY                 5  การมีโครโมโซมเพศแบบ  XYY

ตอบ  3  การได้รับรังสีบางชนิด

โดยทั่วไปแล้วยีนส์ที่อยู่ในร่างกายของคนเรานั้นจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในสภาพการณ์ที่เป็นปกติ  แต่อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ด้วยการใช้รังสีเอกเรย์  (X_ray)  หรือการใช้ยาบางชนิด

 

45           การเปรียบเทียบค่าสหสัมพันธ์ของคะแนนสติปัญญาระหว่างกลุ่มฝาแฝดเหมือน  พ่อกับลูก  ฝาแฝดคล้าย  พี่กับน้อง  เพื่อตอบคำถามใด

1  ความสำคัญของพัฒนาการ                  2  ความสำคัญของพันธุกรรม               3  ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม

4  ความสำคัญของดารอบรมเลี้ยงดู         5  ความสำคัญของสติปัญญา

ตอบ  2  ความสำคัญของพันธุกรรม              

การเปรียบเทียบค่าสหสัมพันธ์ของคะแนนสติปัญญาในบุคคลที่มีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมต่างๆกัน  เช่น  ระหว่างกลุ่มฝาแฝดเหมือน  ฝาแฝดคล้าย  พ่อแม่กับลูก  พี่กับน้อง  ฯลฯ  เพื่อตอบคำถามในเรื่องความสำคัญของพันธุกรรมหรืออิทธิพลของพันธุกรรมที่มีต่อการพัฒนาทางด้านสติปัญญา

46           พฤติกรรมอะไรเกิดมาจากการเรียนรู้

1              การถ่ายภาพกระแสน้ำเพื่อวางไข่ของปลาบางชนิด

2              การไอ

3              การชักใยของแมงมุม

4              การแยกแยะความแตกต่างของกลิ่นของสุนัข

5              การกระตุกมือ

ตอบ  4  การแยกแยะความแตกต่างของกลิ่นของสุนัข

การเรียนรู้  หมายถึง  การเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างถาวรของพฤติกรรมอันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ในอดีต  เช่น  สุนัขดมกลิ่นสามารถแยกความแตกต่างของยาเสพติดหรือวัตถุระเบิดออกจากสิ่งอื่นๆได้  แต่พฤติกรรมบางอย่างของมนุษย์และสัตว์ก็ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้  แต่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนซึ่งเป็นพฤติกรรมการตอบสนองตามธรรมชาติมาแต่กำเนิด  เช่น  การกะพริบตา  การกระตุกมือ  การไอหรือจาม  ฯลฯ  และเกิดจาก

สัญชาตญาณซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ซับซ้อน  ไม้องเรียนรู้และเป็นลักษณะเฉพาะเผ่าพันธุ์  เช่น  การว่ายน้ำของปลา  การชักใยของแมงมุม  การบินได้ของนก ฯลฯ

 

47           การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกค้นพบโดยท่านใด

1  สกินเนอร์                2  แบนดูรา             3  ธอร์นไดค์               4  พาฟลอฟ               5  เซียร์ส

ตอบ   4  พาฟลอฟ              

ต้นศตวรรษที่  20  นักสรีรวิทยาชาวรัสเซียชื่อ  อีวาน  พาฟลอฟ  (Ivan  Pavlov)  ได้ค้นพบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคซึ่งเกิดขึ้นโดยมีการให้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขควบคู่กับสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข  จนก่อให้เกิดการตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไขขึ้น  และเมื่อให้สิ่งเร้าทั้ง  2  ลักษณะบ่อยๆเข้า  สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขจะก่อให้เกิดการตอบสนองขึ้นมาได้เองเรียกว่า  การตอบสนองที่วางเงื่อนไข”  ซึ่งเป็นการตอบสนองที่เกิดจากการเรียนรู้

 

ข้อ  48 – 51  พิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้

1  สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข  (CS)                               2  สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข  (US)

3  การตอบสนองที่วางเงื่อนไข  (CR)                   4  การสรุปความเหมือน  (Generalization)

5  การหยุดยั้ง  (Extinction)

 

48           แมวเห็นปลาย่างแล้วน้ำลายไหล

ตอบ  2  สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข  (US)

สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข  (Unconditioned  Stimulus  :  US)  เป็นสิ่งเร้าที่ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ที่จะตอบสนองต่อสิ่งนั้น  และมักทำให้เกิดการตอบสนองแบบปฏิกิริยาสะท้อนเช่น  แมวเห็นปลาย่างแล้วน้ำลายไหล  ดังนั้นปลาย่างจึงเป็นสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข  เนื่องจากทำให้แมวหลั่งน้ำลายซึ่งเป็นปฏิกิริยาสะท้อน 

 

49           ปลาเลิกช่วยมดทำขนม  เพราะมดไม่ยอมแบ่งขนมให้ปลาอีกต่อไป

ตอบ  5  การหยุดยั้ง  (Extinction)

การหยุดยั้งพฤติกรรม   (Extinction)  คือ  การลดลงของการตอบสนองที่เรียนรู้แล้ว  เนื่องจากไม่ได้รับการเสริมแรงเป็นเวลานานก่อนที่จะเกิดการหยุดยั้งของพฤติกรรม  เช่น  ปรากฏการณ์ที่เด็กเลิกงอแงหลังจากที่แม่ทำเป็นเฉยๆ  แลไม่สนใจต่อการร้องไห้ของเขาซึ่งเมื่อทำเช่นนี้หลายๆครั้ง  พฤติกรรมการร้องงอแงของเด็กก็จะลดลงและหมดไปในที่สุด

 

50           เล็กเบื่อบ้าน  ทุกครั้งที่เข้าบ้านมีแต่เรื่อง

ตอบ  3  การตอบสนองที่วางเงื่อนไข  (CR)                  

การตอบสนองที่วางเงื่อนไข  (Conditioned  Response  :  CR)  เป็นการตอบสนองที่เกิดจากการเรียนรู้  ไม่ใช้ปฏิกิริยาสะท้อนธรรมดา  เช่น  เด็กจะเกิดอาการเบื่อบ้าน  เพราะทุกครั้งที่เข้าบ้านจะพบกับเหตุการณ์พ่อแม่ทะเลาะกันเสมอ  เป็นต้น

51           ผู้หญิงเหมือนไม้เลื้อยทุกคน

ตอบ  4  การสรุปความเหมือน  (Generalization)

การสรุปความเหมือน  (Generalization)  หมายถึง  การตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่คล้ายกันกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเอาไว้ แล้ว  หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเป็นการขยายผลของการเรียนรู้ไปยังสถานการณ์ใหม่ๆ  ที่คล้ายกัน  เช่น  เด็กที่ถูกไฟไหม้นิ้วโดยบังเอิญขณะเล่นไม้ขีดไฟก็จะกลัวเปลวไฟที่เห็นจากที่จุดบุหรี่  เตาไฟ  เตาผิง  และอื่นๆ  เป็นต้น

ข้อ  52 – 54  พิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้

1  อัตราส่วนคงที่              2  อัตราส่วนไม่แน่นอน              3  ช่วงเวลาคงที่               4  ช่วงเวลาไม่แน่นอน

52           พนักงานขายประกัน  ขายได้มากได้ส่วนแบ่งมาก

ตอบ  1  อัตราส่วนคงที่             

การเสริมแรงแบบอัตราส่วนคงที่  (Fixed  Ratio)  คือ  การให้การเสริมแรงตามอัตราส่วนของการตอบสนองที่คงที่  โดยจะดูจำนวนครั้งของการตอบสนอง  เช่น  ให้รางวัลเมื่อมีการตอบสนองทุก  3  ครั้ง  ซึ่งการเสริมแรงแบบนี้จะทำให้เกิดอัตราการตองสนองสูงที่สุด  เช่น  การที่พนักงานขายได้รับค่าตอบแทนตามจำนวนของสินค้าที่ขายได้  ดังนั้นพนักงานขายจึงเร่งทำยอดขายเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนมากขึ้น

53           ปีใหม่ปีที่แล้วประชาไม่ได้ของขวัญจากใครเลย

ตอบ  2  อัตราส่วนไม่แน่นอน             

การเสริมแรงแบบอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน  (Variable  Ratio)  คือ  การให้แรงเสริมต่อการตอบสนองในอัตราที่ไม่แน่นอน  จึงทำให้ยากแก่การทำนายว่าจะได้รับรางวัลเมื่อใด  เช่น  บางครั้งตอบสนอง  2  ครั้งจึงได้รางวัล  แต่บางครั้งต้องตอบสนองถึง  5  ครั้ง  จึงจะได้รางวัล  ซึ่งการเสริมแรงแบบนี้จะทำให้เกิดการตอบสนองในอัตราสูงแต่น้อยกว่าแบบอัตราส่วนคงที่  เช่น  การเล่นพนันตู้สล็อตแมชีน  การซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล  เป็นต้น

 

54           DJ  เพลงประกาศว่า  ใครโทรศัพท์เข้าสถานีเป็นรายที่  100  จะได้ไปเที่ยวเชียงใหม่ฟรี

ตอบ  1  อัตราส่วนคงที่              ดูคำอธิบายที่  52  ประกอบ

 

55           มานะตกวิชาเลขคณิต  ทำให้มานะไม่มีกำลังใจที่จะเรียนหนังสืออีกต่อไป  และคิดว่าตนคงไม่สามารถเรียนหนังสือได้

1  การเสริมแรง                                 2  การลงโทษ                                  3  การหยุดยั้ง

4  การแยกความแตกต่าง                  5  การสรุปความเหมือน

ตอบ   2  การลงโทษ                         

การลงโทษ  หมายถึง  การปรากฏของสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาหรือการนำสิ่งที่พึงปรารถนาออกไป  จึงมีผลให้การตอบสนองลดลง  เช่น  การตี  การเสียสิทธิ์  การจำคุก  การสอบตก  ฯลฯ  ซึ่งการลงโทษจะทำให้เกิดผลข้างเคียง  คือ  เกิดการวางเงื่อนไขเกี่ยวกับความกลัวต่อบุคคล  สถานการณ์  หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลงโทษ  กระตุ้นให้เกิดความก้าวร้าวปละเกิดการเรียนรู้ที่จะหนี้และหลีกเลี่ยง  เช่น  นักเรียนที่สอบตกมักจะเกิดความรู้สึกท้อแท้ในการเรียนจนไม่อยากเรียนหนังสืออีกต่อไป

 

56           ความจำระยะสั้นจะมีลักษณะเป็นอย่างไร

1  เก็บข้อมูลไม่จำกัดจำนวน                      2  จำในสิ่งที่มีความหมาย                  3  จำในสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริง

4  จำในสิ่งที่เป็นเรื่องของชีวิตตนเอง         5  ทำงานอยู่ในระดับปฏิบัติการ

ตอบ  5  ทำงานอยู่ในระดับปฏิบัติการ

ความจำระยะสั้น  ทำหน้าที่คล้ายคลังข้อมูลชั่วคราวที่เก็บข้อมูลได้ในจำนวนจำกัดโดยจะเก็บข้อมูลในลักษณะจิรตภาพ  เป็นความจำที่ช่วยป้องกันไม่ให้เราสับสนเกี่ยวกับชื่อ  วันที่  หมายเลขโทรศัพท์  และเรื่องเล็กๆน้อยๆ  นออกจากนี้ยังเป็นความจำในส่วนที่ปฏิบัติงาน  (Working  Memory)  การหมุนโทรศัพท์  การคิดเลขในใจ  การจำรายการสั่งของที่จะซื้อ ฯลฯ

 

57           ภาพติดตาหรือจินตภาพจะคงอยู่ได้กี่วินาที

1  2  วินาที                   2  1  ½  วินาที                3  1  วินาที               4  ½  วินาที            5  ขึ้นอยู่กับบุคคล

ตอบ   4  ½  วินาที           

ความจำจากการรับสัมผัส  คือ  ระบบการจำขั้นแรกที่จะเก็บข้อมูลไว้ในช่วงสั้นๆเพื่อถ่ายข้อมูลไปยังระบบการจำอื่นๆ  เช่น  ถ้าได้เห็นข้อมูล  ภาพติดตา  (Icon)  หรือจินตภาพจะคงอยู่ได้ครึ่งวินาที  แต่ถ้าเป็นการได้ยิน  เสียงก้องหู  (Echo) ของสิ่งที่ได้ยินจะคงอยู่ประมาณ  2  วินาที

 

58           ความจำระยะยาวมีลักษณะเป็นอย่างไร

1  การเกิดจินตภาพ                      2  จำในสิ่งที่มีความหมาย                          3  การได้ยินเสียง

4  ข้อมูลมีจำกัด                            5  ทำงานอยู่ในระดับปฏิบัติการ

ตอบ  2  จำในสิ่งที่มีความหมาย                         

ความจำระยะยาว  จะทำหน้าที่เสมือนคลังข้อมูลถาวรซึ่งบรรจุทุกอย่างที่เรารู้เกี่ยวกับโลกเอาไว้  โดยมีความสามารถในการเก็บข้อมูลไม่จำกัด  และจะเก็บข้อมูลไว้บนพื้นฐานของความหมายและความสำคัญของข้อมูล  ซึ่งความจำระยะยาวนี้มี  2  ประเภท  คือ

1              การจำความหมาย  เป็นการจำความรู้พื้นฐานที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโลก  เช่น  ชื่อวัน  เดือน  ภาษา  และทักษะการคำนวณง่ายๆ  ฯลฯ

2              การจำเหตุการณ์  เป็นการจำเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของตนเอง  เป็นการบันทึกเหตุการณ์ในชีวิต

 

59           ข้อใดไม่ใช่วิธีการรักษาความทรงจำให้คงอยู่ได้

1  จำในสิ่งที่มีความหมาย          2  จำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน         3  การสร้างความจำขึ้นมาใหม่

4  มีการบริหารจัดการข้อมูล                        5  สร้างข้อมูลในลักษณะจินตภาพ

ตอบ  5  สร้างข้อมูลในลักษณะจินตภาพ

วิธีการรักษาความทรงจำให้คงอยู่ได้  ได้แก่

1              การจำความหมายและการจำเหตุการณ์

2              กาสร้างความจำขึ้นมาใหม่

3              การบริหารจัดการข้อมูล

 

60           บอกได้ว่า  ร่มนี้เป็นของฉันหายไปเมื่อ  2  เดือนที่แล้ว”  เป็นการวัดความจำแบบใด

1  การระลึกได้  (Recall)                            2  การจำได้  (Recognition)

3  การเรียนซ้ำ  (Relearning)                     4  การบูรณาการใหม่  (Reintegration)

5  การสร้างความจำ  (Construct)

ตอบ  2  การจำได้  (Recognition)

การจำได้  (Recognition)  เป็นการวัดความจำโดยมีสื่อกระตุ้นหรือชี้แนะให้จำได้  เช่น  ข้อสอบแบบเลือกตอบ  หรือการเห็นร่มก็จำได้ว่าเป็นของตนเองที่เคยทำหายไป  การจำได้จะได้ผลดีถ้ามีรูปถ่ายหรือการได้เห็นสิ่งอื่นๆ  มาช่วย  เช่น  การที่ตำรวจนิยมให้พยานชี้ตัวผู้ต้องสงสัยจากภาพถ่ายหรือสเก็ตภาพให้พยานดู  เป็นต้น

61           ใช้เวลาท่องอาขยานถึง  20  ครั้ง  แต่หลังจาก  20  ปีผ่านไป  สามารถท่องอาขยานใช้เวลาเพียง  2  ครั้งก็จำได้เรียกว่าอะไร

1  การระลึกได้  (Recall)                            2  การจำได้  (Recognition)

3  การเรียนซ้ำ  (Relearning)                     4  การบูรณาการใหม่  (Reintegration)

5  การสร้างความจำ  (Construct)

ตอบ  3  การเรียนซ้ำ  (Relearning)                    

การเรียนซ้ำ  (Relearning)  เป็นการวัดความจำในสิ่งที่เราเคยเรียนรู้มาแล้ว  แต่ไม่อาจระลึกหรือจำได้  แต่เมื่อให้เรียนซ้ำอีกก็ปรากฏว่าเราเรียนได้เร็วขึ้นและใช้เวลาเรียนน้อยกว่าเดิมทั้งนี้เพราะเคยมีคะแนนสะสมไว้แล้ว

62           เรียนรู้และจดจำเฉพาะการเรียนสิ่งใหม่และลืมสิ่งที่เคยเรียนมาก่อนเรียกว่าอะไร

1  Retroactive  Inhibition            2  Proactive  Inhibition            3  Repression

4  Decay                                      5  Encoding  Failure

ตอบ  1  Retroactive                    

การรบกวน  (Inhibition)  มักเป็นสาเหตุสำคัญของการลืม  โดยแบ่งออกเป็น  2  ประเภท  คือ

1              Retroactive  Inhibition  คือ  การที่การเรียนรู้ใหม่รบกวน  (ความจำของ)  การเรียนรู้เดิม

2              Proactive  Inhibition  คือ  การเรียนรู้เดิมรบกวน  (ความจำของ)  การเรียนรู้ใหม่

63           การแก้ปัญหาโดยมีการรับรู้  มองเห็นความสัมพันธ์  และคิดได้อย่างฉับพลันเรียกว่าอะไร

1  หยั่งเห็นคำตอบในทันที                   2  ทำความเข้าใจ                  3  ใช้เครื่องจักร

4  ใช้ความใหม่ของคำถาม                   5  แรงจูงใจของผู้แก้ปัญหา

ตอบ  1  หยั่งเห็นคำตอบในทันที                   

การแก้ปัญหาโดยการหยั่งเห็นคำตอบในทันที  เป็นการแก้ปัญหาแบบปรากฏการณ์มองเห็นคำตอบโดยฉับพลัน  ซึ่งมักเกิดขึ้นหลังจากคิดแก้ปัญหาแล้วแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ  การหยั่งเห็นคำตอบในทันทีมักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน  และผู้คิดมักสงสัยว่าทำไมความคิดเช่นนี้จึงไม่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้

64           จากการศึกษาของ  Miller  พบว่าความจำระยะสั้นของคนปกติจะเป็นแบบใด

1  5  หน่วย                2  6  หน่วย                3  7  หน่วย               4  8  หน่วย              5  9  หน่วย

ตอบ  3  7  หน่วย              

จอร์จ  มิลเลอร์  ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการทดสอบช่วงการจำตัวเลข  (Digit – span  Test)  โดยเขาเห็นว่า  ความจำระยะสั้นของคนปกติสามารถจำข้อมูลได้ประมาณ  7  +-  2   หน่วย

 

65           ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้บุคคลมีการแสดงพฤติกรรม  คืออะไร

1  สิ่งเร้า                   2  สิ่งแวดล้อม               3 แรงจูงใจ             4  ความรัก              5  การเรียนรู้

ตอบ    3 แรงจูงใจ            

แรงจูงใจ  (Motive)  หมายถึง  สภาวะหรือกระบวนการที่สร้างและเป็นแรงกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมา  ทั้งที่เป็นพฤติกรรมโดยสัญชาตญาณและพฤติกรรมจากการเรียนรู้  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่แรงจูงใจนั้นต้องการ  ทั้งนี้แรงจูงใจจะอยู่ในภาวะที่ไม่หยุดนิ่ง  (Dynamic)  และเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา  เพื่อสร้างให้ร่างกายอยู่ในสภาวะที่สมดุล

 

66           ได้มีผู้นำแนวคิดและทฤษฎีแรงจูงใจไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ  ยกเว้นด้านใด

1  ศาสนา                                                 2  การเมือง                                   3  การโฆษณาประชาสัมพันธ์

4  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม                    5  ธุรกิจและการตลาด

ตอบ  4  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม                   

ในปัจจุบันมีผู้ที่นำแนวคิดและทฤษฎีแรงจูงใจไปประยุกต์ใช้เพื่อเป็นประโยชน์ในงานด้านต่างๆ  มากมาย  ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองการปกครอง  การบริหารธุรกิจและการตลาด  การโฆษณาประชาสัมพันธ์  การศึกษา  รวมถึงการศาสนา  โดยนำวิธีการจูงใจไปใช้เพื่อสร้างสภาวะให้บุคคลอันเป็นกลุ่มเป้าหมายได้มีพฤติกรรมไปในแนวทางที่ตนต้องการ

 

67           ข้อใดไม่ใช่กระบวนการของแรงจูงใจ

1  การตอบสนอง  (Response)              2  มโนทัศน์  (Concept)              3  แรงขับ  (Drive)                 4  ความต้องการ  (Need)                      5  เป้าหมาย  (Goal)

ตอบ  2  มโนทัศน์  (Concept)             

กระบวนการของการเกิดแรงจูงใจ  ประกอบด้วยองค์ประกอบ  4  ประการ  คือ

1 ความต้องการ  (Need)        2  แรงขับ  (Drive)    3  การตอบสนอง  (Response)  หรือพฤติกรรม                                                4  เป้าหมาย  (Goal)

 

68           ข้อใดถูกต้อง

A  แรงจูงใจ  (Motive)  หมายถึง  สภาวะที่เป็นแรงกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมา  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่แรงจูงใจนั้นต้องการ

 

B  การจูงใจ  (Motivation)  หมายถึง  กระบวนการของการนำปัจจัยต่างๆ  ที่เป็นแรงจูงใจมากระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมไปอย่างมีทิศทางเพื่อบรรลุเป้าหมาย

 

C  แรงจูงใจ  เป็นภาวะที่ไม่หยุดนิ่ง  (Dynamic)  และเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเวลา  เพื่อสร้างให้ร่างกายเกิดภาวะสมดุล

 

1  ข้อ  A  และ  B                              2  ข้อ  A  และ  C                          3  ข้อ  B  และ  C

4  ถูกทุกข้อ                                                  5  ผิดทุกข้อ

ตอบ   4  ถูกทุกข้อ                                                 

(ดูคำอธิบายข้อ  65  ประกอบ)  การจูงใจ  (Motivation)  หมายถึง  กระบวนการของการนำปัจจัยต่างๆ  ที่เป็นแรงจูงใจมากระตุ้นหรือผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมไปอย่างมีทิศทาง  เพื่อบรรลุเป้าหมายหรือเงื่อนไขที่ผู้จูงใจต้องการ

 

69           ข้อใดไม่ใช่แรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์

1  หลีกเลี่ยงความเจ็บปวด                       2  ความสุข                                      3  ความหิว

4  ความกระหาย                                      5  ความต้องการทางเพศ 

ตอบ  2  ความสุข                    

แรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์  เป็นแรงจูงใจที่เกิดขึ้นเพื่อความอยู่รอดของชีวิต  แบ่งเป็น  3  ชนิด  ดังนี้

1              แรงจูงใจทางชีวิภาพ  ได้แก่  ความหิวและความกระหาย

2              แรงจูงใจเพื่อการสืบเผ่าพันธุ์  ได้แก่  ความต้องการทางเพศ

3              แรงจูงใจเพื่อหลีกหนีอันตราย  ได้แก่  ความต้องการหลีกหนีความเจ็บปวด

 

70           ทฤษฎีอะไรเกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ

1  ทฤษฎีหลักการมีเหตุผล                  2  ทฤษฎีแรงขับ                    3  ทฤษฎีลำดับขั้นของความต้องการ

4  ทฤษฎีสัญชาตญาณ                         5  ถูกทุกข้อ

ตอบ  5  ถูกทุกข้อ

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ  ได้แก่

1  ทฤษฎีความต้องการความสุขส่วนตัว                        2  ทฤษฎีสัญชาตญาณ                        

3  ทฤษฎีหลักการมีเหตุผล                                            4  ทฤษฎีแรงขับ                    

5  ทฤษฎีลำดับขั้นของความต้องการ

71           ข้อใดไม่ใช่แรงขับที่จำแนกตามระบบชีววิทยา

1  แรงขับฉุกเฉิน                                2  แรงขับเพื่อการศึกษา                       3  แรงขับเพื่อการอยู่รอดของชีวิต

4  แรงขับเพื่อการสืบพันธุ์                  5  แรงขับเพื่อได้รับการยอมรับ

ตอบ    5  แรงขับเพื่อได้รับการยอมรับ

แรงขับ  (Drive)  สามารถจำแนกตามระบบทางชีววิทยา  ได้เป็น  4  ประเภท  คือ

1  แรงขับเพื่อการอยู่รอดของชีวิต                         2  แรงขับฉุกเฉิน

3  แรงขับเพื่อการสืบพันธุ์                                     4  แรงขับเพื่อการศึกษา

72           ข้อใดเรียงลำดับความต้องการของมาสโลว์  (Maslow)  ได้ถูกต้อง

A  ความต้องการประจักษ์ในตน                                   B  ความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่น

C  ความต้องการความรักและการเป็นเจ้าของ               D  ความต้องการทางด้านร่างกาย

E  ความต้องการความปลอดภัยและมั่นคง

1  D  A  E  C  B                     2  A  B  C  D  E                     3  A  B  C  E  D 

4  D  E  A  B  C                     5  D  E  C  B  A

ตอบ  5  D  E  C  B  A

ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์  มี  5  ขั้น  ดังนี้

1  ความต้องการทางด้านร่างกาย                             2  ความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง

3  ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ        4  ความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่น

5  ความต้องการประจักษ์ตน

 

73           ข้อใดถูก

1              แรงจูงใจภายนอกเป็นแรงจูงใจที่สร้างให้บุคคลเกิดสัมพันธภาพกับผู้อื่น

2              แรงจูงใจภายในจำเป็นและสำคัญเท่ากับแรงจูงใจพื้นฐาน

3              แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เริ่มเกิดเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น

4              แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตเผ่าพันธุ์ของตนได้ต่อไป

5              แรงจูงใจจากการเรียนรู้ที่มีมาตั้งแต่เกิด

ตอบ  1  แรงจูงใจภายนอกเป็นแรงจูงใจที่สร้างให้บุคคลเกิดสัมพันธภาพกับผู้อื่น

แรงจูงใจภายนอก  (Extrinsic  Motive)  หรือแรงจูงใจจากการเรียนรู้  เป็นแรงจูงใจของบุคคลที่เกิดจากการได้รับกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายนอก  ทำให้คนเราเกิดจุดมุ่งหมาย  จนนำไปสู่การแสดงพฤติกรรมเพื่อนำตนไปสู่จุดมุ่งหมายนั้น  ซึ่งนับว่าเป็นแรงจูงใจทางสังคมที่สร้างให้บุคคลเกิดสัมพันธภาพกับผู้อื่น

 

74           ทฤษฎีหลักการมีเหตุผล

1  อำมาตยาธิปไตย                                 2  คณาธิปไตย                                     3  เผด็จการ                 

4  สมบูรณาญาสิทธิราชย์                       5  ประชาธิปไตย

ตอบ  5  ประชาธิปไตย

ทฤษฎีหลักการมีเหตุผลจะมีความคล้ายคลึงกับความเชื่อในระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย  นั่นคือ  ผู้นำและสมาชิกของการปกครองระบอบประชาธิปไตยจะมีความเชื่อมั่นในการที่จะแสดงพฤติกรรมและความคิดเห็นระหว่างสมาชิกด้วยกัน  สามารถยอมรับความคิดเห็นของบุคคลอื่นได้  เพราะมีความเชื่อว่าบุคคลทุกคนมีอิสระที่จะกระทำหรือตัดสินใจในสิ่งต่างๆได้อย่างมีเหตุผล

 

75           อารมณ์สำคัญอย่างไร

1              เป็นแรงผลักดันหรือจูงใจให้เกิดความกระตือรือร้น

2              เป็นสัญญาณเตือนภัยให้รู้จักการต่อสู้

3              ทำให้เรียนรู้จักตนเองและผู้อื่น

4              ทำให้มีมนุษยสัมพันธ์

5              ถูกทุกข้อ

ตอบ  5  ถูกทุกข้อ

อารมณ์เป็นเครื่องชี้ถึงความรู้สึกนึกคิด  ช่วยให้เราเรียนรู้จักตนเองและผู้อื่น  เป็นแรงผลักดันหรือแรงจูงใจทำให้เกิดความกระตือรือร้นมีชีวิตชีวา  ทำให้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีให้การช่วยเหลือผู้อื่น  และเป็นสัญญาณเตือนภัยให้รู้จักการต่อสู้  การเอาตัวรอด  และอื่นๆ

 

76           สมองส่วนใดควบคุมระบบประสาทส่วนลิมบิก  (Limbic)

1  โซมาติก              2  ธาลามัส               3  ไฮโปธาลามัส              4  ไคเนสติก               5  คอปัสคอร์ลูซัม

ตอบ  3  ไฮโปธาลามัส             

จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางสรีระร่างกาย  เมื่อเกิดอารมณ์  พบว่าศูนย์กลางของการเกิดอารมณ์อยู่ที่การทำงานของระบบประสาทลิมบิก  (Limbic  System)  ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่สมองส่วนที่เรียกว่าไฮโปธาลามัส  (Hypothalamus)  ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทอัตโนมัติ  ถ้าสมองส่วนไฮโปธาลามัสถูกกระตุ้นจะทำให้เกิดอาการคลั่ง  ดุ  อาละวาด  แต่ถ้าถูกทำลายจะเกิดอาการสงบเฉย

 

77           ศูนย์กลางที่ทำให้เกิดอารมณ์อยู่ที่ใด

1  ระบบประสาทลิมบิก                        2  ระบบประสาทส่วนกลาง                 3  ระบบประสาทมอเตอร์

4  ระบบประสาทกึ่งอัตโนมัติ               5  ระบบประสาทปฏิกิริยาสะท้อน

ตอบ   1  ระบบประสาทลิมบิก             ดูคำอธิบายข้อ  76  ประกอบ

 

78           แอดรีนาลินจะถูกหลั่งออกมาเมื่อใด

1  หัวเราะ                    2  ร้องไห้                    3  ตกใจ                   4  นั่งสมาธิ                  5  นอนหลับ

ตอบ    3  ตกใจ                   

(ดูคำอธิบายข้อ  15  ประกอบ)  อารมณ์หวาดกลัวหรือตกใจกลัวจะก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนแอดรีนาลินจากต่อมหมวกไต  ส่วนอารมณ์โกรธจะก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนนอร์แอดรีนาลิน  ส่วนอารมณ์อื่นๆนักจิตวิทยายังไม่สามารถระบุแบบแผนของการเปลี่ยนแปลงทางสรีระได้อย่างแน่นอน

79           ใครกล่าวว่า  ร่างกายจะแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบก่อน  แล้วจึงเกิดอารมณ์ตามมา

1  จุง               2  วิลเลียม  เจมส์               3  ฟรอยด์                 4  ฟิลิป  บาร์ด              5  พระนันทาจารย์ 

ตอบ   2  วิลเลียม  เจมส์              

วิลเลียม  เจมส์  (William  James)  นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน  อธิบายว่า  ร่างกายของเราจะต้องแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบเป็นอันดับแรกก่อน  แล้วอารมณ์จึงจะเกิดตามมา  ประสบการณ์ทางอารมณ์เป็นผลมาจากการรับรู้การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย  ดังนั้นหลังจากที่เกิดการเร้าทางกายและพฤติกรรม  จะรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ  หายใจหอบ  หน้าแดง  เหงื่อออก  และนำไปสู่ประสบการณ์ทางอารมณ์

80           พลูทชิค  เชื่อว่า  อารมณ์กลัวทำหน้าที่อะไร

1  ทำลาย                 2  ปฏิเสธ                 3  ปกป้อง                  4  ความร่วมมือ                 5  เสียใจ

ตอบ     3  ปกป้อง              

พลูทชิค  กล่าวว่า  อารมณ์แรกเกิดของมนุษย์คือความกลัว  ซึ่งอารมณ์กลัวจะทำหน้าที่ช่วยปกป้องอันตรายที่จะเข้ามากล้ำกราย

81           ชาร์ลส์  ดาร์วิน  กล่าวว่า  อารมณ์มีความสำคัญอย่างไร

1              การแสดงออกทางอารมณ์ของมนุษย์ไม่แตกต่างไปจากสัตว์

2              บุคคลมีประสบการณ์มากขึ้น  การดัดแปลงอารมณ์ก็จะมีมากขึ้นด้วย

3              บุคคลที่มีอารมณ์ดีจะมีชีวิตยืนยาว

4              อารมณ์ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ

5              อารมณ์คือสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อกรดำรงชีวิตและเผ่าพันธุ์

ตอบ  5  อารมณ์คือสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อกรดำรงชีวิตและเผ่าพันธุ์

ชาร์ลส์  ดาร์วิน  (Charles  Darwin)  กล่าวว่า  อารมณ์เป็นสิ่งที่ค่อยๆพัฒนาขึ้นมาและเกิดอยู่เรื่อยๆในมนุษย์  เพราะอารมณ์คือสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตและเผ่าพันธุ์ของมนุษย์  นอกจากนี้ในผลงานเขียนชื่อ  The  Expression  of  Emotion  in  Man  and  Animal  เขาได้กล่าวไว้ว่า  การแสดงออกทางอารมณ์เป็นสิ่งจำเป็นต่อการอยู่รอดของชีวิตมนุษย์

82           การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติส่วนใด  ทำให้เกิดการเตรียมพร้อมร่างกายในภาวะฉุกเฉินเพื่อให้สู้หรือหนี

1  ลิมบิก               2  ซิมพาเธติก                 3  พาราซิมพาเธติก              4  ธาลามัส                 5  ไฮโปธาลามัส

ตอบ  2  ซิมพาเธติก                

การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติจะเกี่ยวข้องกับการเกิดอารมณ์  โดยระบบประสาทซิมพาเธติกจะเตรียมร่างกายในภาวะฉุกเฉินให้สู้หรือหนี  และทำให้ระบบต่างๆในร่างกายมีอาการตื่นตัวเพื่อเตรียมรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น  ส่วนระบบประสาทพาราซิมพาเธติกจะทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะสงบและผ่อนคลาย

83           ข้อใดไม่ใช่แนวทางของการควบคุมอารมณ์

1              อย่ากังวลกับสิ่งที่ทำผิดพลาดไปแล้ว

2              แยกอารมณ์ออกจากสถานการณ์

3              ทำเป็นไม่สนใจกับอารมณ์

4              ยอมรับอารมณ์ที่เกิดขึ้น

5              พยายามเข้าใจความกลัวของอารมณ์

ตอบ  3  ทำเป็นไม่สนใจกับอารมณ์

มุกดา  สุขสมาน  ได้ให้แนวทางในการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในภาวะปกติ  ดังนี้

1              พยายามทำความเข้าใจและหาสาเหตุของความกลัวและความวิตกกังวล  เพื่อนนำมาใช้พิจารณาว่าควรมีการแสดงออกทางอารมณ์อย่างไร

2              ต้องยอมรับอารมณ์ที่เกิดขึ้นและควบคุมให้มีอิทธิพลเหนือตัวเรา

3              แยกอารมณ์ออกจากสถานการณ์

4              อย่ากังวลกับสิ่งที่ผิดพลาดมาแล้ว

5              ใช้ปฏิกิริยาโดยตรงต่อการควบคุมอารมณ์  โดยขจัดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทันที

 

ข้อ  84 – 86  จงเลือกคำตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

1  Freud  จิตวิเคราะห์                       2  Skinner  พฤติกรรมนิยม                     3  Rogers  มนุษยนิยม

4  Sheldon  โครงสร้างร่างกาย         5  Jung  ประเภทบุคลิกภาพ

84           มะปรางทำทุกอย่างให้มะไฟเข้ามาสนใจตน  แม้จะรู้ว่ามะไฟมีเจ้าของแล้วแต่คิดว่าใครดีใครได้

ตอบ  1  Freud  จิตวิเคราะห์                      

ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์  ได้แบ่งโครงสร้างของบุคลิกภาพเป็น  3  ส่วน  คือ

1              อิด  (Id)  เป็นสัญชาตญาณของจิตใต้สำนึกที่มีมาตั้งแต่แรกเกิด  โดยเป็นพลังจิตที่ขาดการขัดเกลาไม่รับรู้ระเบียบแบบแผนของสังคม  และจะทำตามความพึงพอใจของตัวเองโดยไม่สนใจกับความเป็นจริงภายนอก  เช่น  ความอยากได้สิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง

2              อีโก้  (Ego)  จะทำงานโดยยึดหลักแห่งความเป็นจริง  ด้วยการทำความเข้าใจพฤติกรรมควรมีการแสดงออกอย่างไรถึงเป็นที่ยอมรับและเหมาะสมกับสังคม

3              ซูเปอร์อีโก้  (Superego)  จะทำหน้าที่คล้ายมโนธรรมที่คอยตักเตือนให้บุคคลมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี

85           ปราณีขยันทำการบ้านเพราะคุณแม่ฝึกให้ทำการบ้านให้เสร็จก่อนจะเล่นและดูโทรทัศน์

ตอบ  2  Skinner  พฤติกรรมนิยม                

สกินเนอร์  (Skinner)  นักจิตวิทยาพฤติกรรมนิยมหรือจิตวิทยาการเรียนรู้จะเน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมภายนอกว่าสามารถกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ได้  อีกทั้งเชื่อว่าบุคลิกภาพของมนุษย์จะเกิดจากกระบวนการวางเงื่อนไข  โดยมีรางวัลเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมนั่นคือ  หากทำพฤติกรรมใดแล้วได้รางวัล  บุคคลหรือสัตว์ก็จะทำพฤติกรรมนั้นๆให้ปรากฏบ่อยครั้งขึ้น  ซึ่งแนวคิดนี้นิยมนำมาใช้ในการฝึกเด็กหรือฝึกสัตว์ให้มีพฤติกรรมตามที่เราต้องการได้

 

86           กัลยารูปร่างอ้วนท้วม  ความสุขของเธอคือการรับประทาน  กัลยาเป็นคนสนุกสนานเป็นที่ชอบพอของเพื่อนๆ

ตอบ  4  Sheldon  โครงสร้างร่างกาย        

เชลดอน  (Sheldon)  ได้แบ่งบุคลิกภาพตามโครงสร้างทางร่างกายออกเป็น  3  กลุ่ม  คือ 

1              กลุ่มคนอ้วน  (Endomorphy)  มักจะมีนิสัยร่าเริง  อารมณ์ดี  สนุกสนาน  รักความสบาย  และสนใจการกินหรือชอบกินๆนอนๆ

 

2              กลุ่มที่มีกล้ามเนื้อแข็งแรง  (Mesomorphy)  มักจะมีนิสัยกล้าแสดงออก  มีพลังงานมาก  รักกิจกรรมกลางแจ้ง  และมีลักษณะคล้ายนักกีฬา

 

3              กลุ่มผอมสูง  (Ectomorphy)  มักจะมีลักษณะขี้อาย  กลัว  ไม่กล่าแสดงออก  เป็นคนเฉยๆ  สนใจตนเอง  และรักสันโดษ

 

ข้อ  87 – 90  จงเลือกคำตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

 

1  Oral                2  Anal              3  Phallic              4  Latency             5  Genital

 

87           ประไพเป็นคนปากตะไกร  ชอบพูดวิพากษ์วิจารณ์คนรอบตัว  ทำให้เกิดมลภาวะ

ตอบ  1  Oral 

ขั้นความสุขอยู่ที่ปาก  (Oral  Stage)  เป็นพัฒนาการของเด็กแรกเกิดถึงอายุ  18  เดือน  เป็นช่วงที่เด็กได้รับความสุขจากการดูดกลืน  หรือได้รับความพึงพอใจจากการกระตุ้นทางปาก  หากเด็กไม่ได้รับความพึงพอใจทางปากในช่วงนี้  เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่จะทำให้มีพฤติกรรมก้าวร้าวทางปาก  เช่น  ชอบโต้เถียง  ปากคอเราะร้าย  ชอบเย้ยถากถางผู้อื่น  เป็นต้น

 

88           การเลียนแบบบทบาททางเพศของเด็กเกิดในพัฒนาการระยะใด

ตอบ  3  Phallic             

ขั้นอวัยวะเพศ  (Phallic  Stage)  เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุระหว่าง  3 – 5 ปี  ซึ่งในระยะนี้เด็กจะมีความรักในพ่อแม่เพศตรงข้ามกับตน  และอิจฉาพ่อแม่เพศเดียวกับตน  รวมทั้งมีการเลียนแบบบทบาทพ่อแม่เพศเดียวกับตนอีกด้วย

 

89           เด็กชายและเด็กหญิงวัย  11  ปี  มักจะเล่นแต่กับเพื่อนเพศเดียวกัน

ตอบ  4  Latency            

ขั้นแอบแฝง  (Latency  Stage)  เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุประมาณ  6  ปีจนถึงวัยรุ่น  ซึ่งในระยะนี้

สัญชาตญาณทางเพศของเด็กจะถูกซ่อนเร้นไว้  เด็กมักจะเล่นกับเพื่อนเพศเดียวกันและมีพฤติกรรมในทางที่ให้สังคมยอมรับมากขึ้น

90           พ่อแม่จะฝึกขับถ่ายให้ลูกในพัฒนาการระยะใด

ตอบ  2  Anal             

ขั้นความสุขอยู่ที่ทวารหนัก  (Anal  Stage)  เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กที่มีอายุราว  2 – 3  ปี  ซึ่งศูนย์กลางความพึงพอใจของเด็กจะอยู่ที่ทวารหนัก  ซึ่งเด็กจะพอใจที่ได้ปลดปล่อยหากในช่วงนี้บิดามารดาที่เคร่งครัดกับเด็กมากเกินไปในเรื่องการขับถ่าย  เมื่อเด็กโตขึ้นจะเกิดความขัดแย้งใจ  เป็นบุคลิกภาพที่จู้จี้  เจ้าระเบียบ  รักษาความสะอาดจนเกินเหตุ  และบางครั้งอาจมีพฤติกรรมประเภทดันทุรังได้ 

91           ทฤษฎี  Self – concept  ของโรเจอร์  เชื่อว่าการที่บุคคลจะมีความสมดุลในบุคลิกภาพขึ้นอยู่กับอะไร

1  การมีแบบอย่างที่เหมาะสม                                            2  การได้รับการตอบสนองความต้องการ

3  การได้รับความรักและการยอมรับอย่างไม่มีเงื่อนไข  โดยเฉพาะจากบุคคลที่มีความสำคัญ

4  การได้รับการเสริมแรงพฤติกรรมที่พึงประสงค์            5  การปลูกฝังคุณธรรมจากพ่อแม่

ตอบ  3  การได้รับความรักและการยอมรับอย่างไม่มีเงื่อนไข  โดยเฉพาะจากบุคคลที่มีความสำคัญ

ทฤษฎีอัตมโนทัศน์  (Self – concept)  ของโรเจอร์  (Rogers)  เชื่อว่า  บุคคลทุกคนสามารถบรรลุถึงความสมดุลในบุคลิกภาพของเขาได้  ซึ่งการที่บุคคลใดก็ตามจะมีความเจริญงอกงามได้เช่นนี้  เขามักเป็นผู้ที่เปิดใจกว้างต่อการรับรู้ในด้านความนึกคิด  ความรู้สึกและประสบการณ์  เมื่อเขามีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น  เขาจะต้องได้รับการยอมรับ  ความรัก  และความเอื้ออาทรจากผู้อื่นที่ให้เขาอย่างไม่มีเงื่อนไข

92           แบบทดสอบวัดบุคลิกภาพแบบใดเป็นการฉายภาพจิต

1  TAT               2  MMPI               3  CPI               4  16  PF                5  MBTI

ตอบ  1  TAT              

การฉายภาพจิต  (Projective  Tests)  จะแบ่งออกเป็นแบบทดสอบ  2  ชนิด  คือ

1              แบบทดสอบรอร์ชาค  คือ  แบบวัดบุคลิกภาพโดยใช้ภาพหยดหมึก  10  ภาพ

2              แบบทดสอบ  TAT  คือ  แบบวัดบุคลิกภาพโดยใช้ภาพเหตุการณ์ของชีวิตในแง่มุมต่างๆ  20  ภาพ  โดยนักจิตวิทยาจะถือภาพแล้วให้ผู้ถูกทดสอบเล่าเรื่องอะไรก็ได้ที่ประกอบเป็นคำบรรยายภาพแต่ละภาพ  ซึ่งภาพเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีลักษณะคลุมเครือ  ทำให้มองได้หลายแง่มุม

93           การทดสอบที่เสนอสิ่งเร้าที่คลุมเครือและให้ผู้รับการทดสอบบรรยายหรือเล่าเรื่องราวจากสิ่งเร้าที่เห็น  (ใช้ตัวเลือกข้อ  92)

ตอบ  1  TAT          ดูคำอธิบายข้อ  92  ประกอบ

 

94           การศึกษาเกี่ยวกับสติปัญญาได้เริ่มเป็นครั้งแรกโดยใคร

1  Simon           2  Binet           3  Galton           4  Spearman          5  Thurstone

ตอบ  3  Galton          

การวัดสติปัญญาริเริ่มขึ้นโดยฟรานซิส  กัลตัน  (Francis  Galton)  ซึ่งให้ความสนใจศึกษาการสืบทอดทางพันธุกรรมเกี่ยวกับความสามารถทางสติปัญญา  โดยนำวิธีการทางสถิติมาใช้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางสติปัญญาและความสามารถด้านอื่นๆของบุคคล

 

95           ทฤษฎีองค์ประกอบที่เน้น  G – factor  และ  S – factor  เป็นแนวคิดของใคร

1  Simon           2  Binet           3  Galton           4  Spearman          5  Thurstone

ตอบ  4  Spearman         

ชาร์ล  สเปียร์แมน  (Charles  Spearman)  ผู้ตั้งทฤษฎีตัวปะกอบสองปัจจัยได้อธิบายว่า  สติปัญญาของคนเรานั้นมีองค์ประกอบ  2  ประการ  คือ

1              ตัวประกอบทั่วไป  (G – factor)  เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผลโดยทั่วๆไป  ซึ่งทุกคนจะมีเหมือนกันหมด 

2              ตัวประกอบเฉพาะ  (S – Factor)  เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับความสามารถเฉพาะตัวของบุคคล  ซึ่งแต่ละคนจะมีไม่เหมือนกัน  เช่น  ความสามารถด้านศิลปะ  การคำนวณ  การใช้มือ  การออกแบบ  (Design)  ฯลฯ

96           ทฤษฎีองค์ประกอบหลายปัจจัย  เป็นแนวคิดของใคร

1  Simon           2  Binet           3  Galton           4  Spearman          5  Thurstone

ตอบ  5  Thurstone

เทอร์สโตน  และกิลฟอร์ด  (Thurstone  and  Guilford)  ผู้คิดค้นทฤษฎีตัวประกอบหลายปัจจัย  ได้อธิบายว่า  ความสามารถขั้นพื้นฐานที่เป็นส่วนประกอบของสติปัญญามีอยู่  7  ชนิด  คือ  1  ความเข้าใจภาษา

2  ความสามารถใช้คำได้คล่องแคล่ว           3  ความสามารถในการใช้ตัวเลข         4  ความสามารถในการมองเห็นภาพมิติ       5  ความสามารถในการจำ         6  ความสามารถในการรับรู้สิ่งต่างๆ        7  ความสามารถที่จะเข้าใจเหตุผล

 

97           แบบทดสอบที่ดีนั้น  ไม่ว่าจะเป็นใครมาตรวจให้คะแนนจะมีเกณฑ์การให้คะแนนเหมือนกัน”  เรียกว่าอะไร

1  ความเป็นปรนัย  (Objectivity)                     2  ความเชื่อถือได้  (Reliability)

3  ความเที่ยงตรง  (Validity)                           4  ความเป็นมาตรฐาน  (Standardization)

5  เกณฑ์ปกติ  (Norm)

ตอบ  1  ความเป็นปรนัย  (Objectivity)

ความเป็นปรนัย  (Objectivity)  โดยผู้รับการทดสอบจะเป็นใครก็ตามภายใต้สภาพการณ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันนั้น  แบบทดสอบที่ดีจะต้องให้ผลของคะแนนเหมือนเดิม  ไม่ว่าใครจะเป็นคนตรวจให้คะแนนก็ตาม  โดยจะไม่มีความลำเอียงเข้ามาเกี่ยวข้อง

 

98           แบบทดสอบที่ดีนั้น  ไม่ว่าจะทดสอบกี่ครั้งจะได้คะแนนทดสอบเท่าเดิมหรือใกล้เคียงกัน”  เรียกว่าอะไร

1  ความเป็นปรนัย  (Objectivity)                     2  ความเชื่อถือได้  (Reliability)

3  ความเที่ยงตรง  (Validity)                           4  ความเป็นมาตรฐาน  (Standardization)

5  เกณฑ์ปกติ  (Norm)

ตอบ   2  ความเชื่อถือได้  (Reliability)                  

ความเชื่อถือได้  (Reliability)  เป็นความเที่ยงของแบบทดสอบที่ให้ความคงที่ของคะแนน  โดยแบบทดสอบที่ดีนั้นผู้รับการทดสอบจะต้องทำคะแนนได้ตรงกันทั้งสองครั้งในวันและเวลาต่างกัน

 

99           แบบทดสอบที่ดีนั้นจะต้องมีการกำหนดเวลาในการทดสอบที่ชัดเจน  เรียกว่าอะไร

1  ความเป็นปรนัย  (Objectivity)                     2  ความเชื่อถือได้  (Reliability)

3  ความเที่ยงตรง  (Validity)                           4  ความเป็นมาตรฐาน  (Standardization)

5  เกณฑ์ปกติ  (Norm)

ตอบ  4  ความเป็นมาตรฐาน  (Standardization)

ความเป็นมาตรฐาน  (Standardization)  จะต้องมีลักษณะดังนี้ 

1  กำหนดเวลาในการทดสอบที่แน่นอน         2  กำหนดคำสั่งหรือคำแนะนำในการสอบไว้ชัดเจน

3  แสดงตัวอย่างในการตอบข้อทดสอบ          4  มีวิธีการให้คะแนนที่แน่นอน

5  มีเกณฑ์ปกติ  (Norms)  หรือค่าเฉลี่ยของกลุ่มคนปกติทั่วๆไป

 

100         แบบทดสอบที่ใช้วัดกับผู้ใหญ่  เรียกว่าอะไร

1  WPPSI           2  Colour  PM         3  WISC        4  Verbal  Scale         5  WAIS

ตอบ  5  WAIS

ปัจจุบันนี้แบบทดสอบวัดระดับสติปัญญาของเวคสเลอร์  (Wechsler)  มี  3  ฉบับ  คือ

1              WAIS  ใช้ทดอบกับผู้ใหญ่อายุ  16  ปี  –  75  ปี

2              WISC  ใช้ทดสอบกับเด็กอายุ  5  ปี  –  15  ปี  11  เดือน

3              WPPSI  ใช้ทดสอบกับเด็กอายุ  4  ปี –  6  ปี  6  เดือน

101         ถ้าคะแนนที่ได้จากการทดสอบทางจิตวิทยามีค่าเท่ากับอายุปฏิทินแสดงว่าผู้นั้นมีสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ใด

1  ปัญญาทึบ              2  ค่อนข้างฉลาด               3  ปกติ                 4  คาบเส้น                 5  ค่อนข้างต่ำ

ตอบ  3  ปกติ                

การวัดความสามารถทางสติปัญญาจะถูกวัดออกมาในอัตราส่วนที่เรียกว่า  I.Q.  (Intelligence  Quotient)  ซึ่งเป็นอัตราส่วนระหว่างอายุสมอง  (M.A.)  กับอายุจริงตามปฏิทิน  (C.A.)  คูณด้วย  100  ถ้าคะแนนที่ได้จากการทดสอบทางจิตวิทยามีค่าเท่ากับอายุตามปฏิทินแสดงว่าผู้นั้นมีสติปัญญาอยู่ในระดับไอคิว  100  ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ

102         ข้อใดเป็นลักษณะโครงสร้างแบบทดสอบ  Wechsler

1  การทดสอบเชิงภาษา  +  ประกอบการ                         2  การทดสอบความรู้ทั่วไป  +  การลำดับภาพ

3  การใช้สัญลักษณ์  +  การจำตัวเลข                               4  การลงมือปฏิบัติ  +  ความเข้าใจศัพท์

5  การใช้คำศัพท์  +  การรับรู้เชิงระวางที่

ตอบ  1  การทดสอบเชิงภาษา  +  ประกอบการ                        

ลักษณะโครงสร้างแบบทดสอบสติปัญญาของ  Wechsler  แบ่งออกเป็น  2  หมวด  คือ

1              แบบทดสอบที่วัดความสามารถเชิงภาษา  (Verbal  Scale)

2              แบบทดสอบประกอบการ  (Performance  Scale)

103         ข้อใดไม่ถูกต้องของแบบทดสอบ  Progressive  Matrices

1  หาความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงเรขาคณิต                 2  ใช้ถ้อยคำภาษา  (Verbal)

3  ปัญหาแต่ละข้อจะมีส่วนขาดหายไป                          4  เรียงจากง่ายไปหายาก

5  ใช้แนวคิดการให้เหตุผลของ  Spearman

ตอบ  2  ใช้ถ้อยคำภาษา  (Verbal)

แบบทดสอบโปรเกรสซีฟ  เมตริซีส  (Progressive  Matrices  Test)  เป็นแบบทดสอบที่ไม่ใช้ถ้อยคำภาษา  (Nonverbal)  ที่  J.G. Raven  สร้างขึ้นมาเพื่อใช้วัดความสามารถของบุคคลในการหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงเลขาคณิต  โดยปัญหาของแบบทดสอบจะอยู่ในรูปของเมตริก  ซึ่งปัญหาแต่ละข้อจะมีส่วนที่ขาดหายไป  เรียงลำดับจากง่ายไปหายาก  ไม่จำกัดเวลาในการดำเนินการ  และใช้แนวคิดการใช้เหตุผลตามทฤษฎีของสเปียร์แมนคือ  G – factor

 

104         ข้อใดเป็นโรคที่มีสาเหตุทางจิตใจ

1  ไตวายเฉียบพลัน                                    2  เบาหวาน                                    3  นอนไม่หลับ

4  ปวดประจำเดือน                                   5  ลมชัก

ตอบ  3  นอนไม่หลับ

โรคทางกายที่เกิดจากความเครียด  (Psychosomatic  Diseases)  มักเกิดขึ้นกับคนที่มีความเครียดอยู่เสมอๆ  หรือเครียดต่อเนื่องเป็นเวลานาน  โดยไม่ได้รับการแก้ไข  ซึ่งจะส่งผลให้เกิดโรคต่างๆแก่ร่างกาย  เช่น  โรคแผลในกระเพาะอาหาร  โรคหัวใจ  โรคความดัน  โรคปวดศีรษะข้างเดียว  (ไมเกรน)  โรคนอนไม่หลับ  เป็นต้น

 

ข้อ  105 – 108  จงเลือกคำตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

 

1  ถดถอย  Regression           2  หาเหตุผลเข้าข้างตนเอง  Rationalization

3  ปฏิเสธ  Denial                  4  ชดเชย  Compensation                  5  โยนความผิด  Projection

 

105         สมศรีตรวจพบมะเร็งแต่ไม่ตัดสินใจว่าจะรักษาหรือไม่  ใช้เวลาส่วนใหญ่ศึกษาเรื่องโรคมะเร็ง  และคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านนี้

ตอบ  3  ปฏิเสธ  Denial                 

การไม่รับรู้ความจริงหรือปฏิเสธ  (Denial)  คือ  การไม่ยอมรับความจริง  หรือปฏิเสธเพราะสภาพจิตใจยอมรับไม่ได้  เช่น  ผู้ป่วยที่รู้ว่าตนเป็นโรคร้าย  แต่ยอมรับสภาพความจริงไม่ได้ก็จะปฏิเสธการเข้ารับการรักษา  ซึ่ง ฟรอยด์ถือว่าการปฏิเสธไม่รับรู้ความจริงนี้จัดเป็นกลไกทางจิตที่มีระดับความรุนแรงที่สุด

 

106         มาลัยไปเยี่ยมเด็กที่สถานเลี้ยงเด็กกำพร้าพบว่าเด็กชอบเอาศีรษะโขกกับเตียง  ดูดนิ้ว  ปัสสาวะรดที่นอน

ตอบ  1  ถดถอย  Regression          

การถอยหลังเข้าคลอง  (Regression)  เป็นการปรับตัวของบุคคลที่รับสภาพปัจจุบันที่ถูกคุกคามไม่ได้  จึงถอยหลังไปแสดงพฤติกรรมเหมือนกับเด็กๆ  อีกครั้งหนึ่งทั้งที่ผ่านพ้นช่วงพฤติกรรมนั้นมานานแล้ว  เช่น  การกระทืบเท้า  การปัสสาวะรดที่นอน  การดูดนิ้ว  การเอาหัวโขกพื้น  เป็นต้น

 

107         ทุกครั้งที่งานผิดพลาดมานะจะต้องไล่เบี้ยเอากับลูกน้อง

ตอบ  5  โยนความผิด  Projection

การโยนความผิดหรือการกล่าวโทษผู้อื่น  (Projection)  คือ  การโทษผู้อื่นในความผิดที่ตนเองกระทำ  เพื่อให้ความรู้สึกผิดของตนเองมีน้อยลง  จนกระทั่งดูไปว่าสิ่งที่ตนเองทำนั้นเป็นเรื่องเล็กน้อย

 

108         ธานีชอบผู้หญิงฉลาดแต่มาแต่งงานกับมาลีซึ่งจบเพียงชั้นประถม  ธานีคุยเสมอว่ามาลีเก่งการเรือน  ทำอาหารอร่อย  แม้จะคิดไม่ค่อยทันใคร

ตอบ  2  หาเหตุผลเข้าข้างตนเอง  Rationalization

การเข้าข้างตัวเอง  (Rationalization)  เป็นกลไกป้องกันทางจิตที่บุคคลพยายามหาเหตุผลมาเข้าข้างตนเอง  ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาหน้าหรือภาพพจน์ของตัวเองเอาไว้  ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการปลอบใจตัวเอง  เช่น  บอกว่าแม้ภรรยาของตนจะไม่สวย  แต่ก็นิสัยดี  เหตุที่ตนสอบตกเพราะข้อสอบยากเกินไป  ฯลฯ

 

ข้อ  109 – 111  จงเลือกคำตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

 

1  Existentialism                   2  Humanism                       3  Behaviorism

4  Psychoanalysis                  5  Neo – Freudian

 

109         การที่บุคคลเผชิญกับความเป็นจริงแห่งชีวิตและรับผิดชอบต่อชีวิต  สามารถตัดสินใจเลือกได้อย่างเหมาะสม  ยืนหยัดตามความเชื่อของตน

ตอบ  1  Existentialism                  

กลุ่มทฤษฎีเพื่อการอยู่รอด  (Existentialism)  เชื่อว่า  ใครก็ตามที่ก้าวพ้นออกมาจากความกลัว  และสามารถแสดงความเด็ดเดี่ยวในการตัดสินใจในชีวิตของเขาเอง  รับผิดชอบต่อชีวิตที่เขาเป็นผู้เลือก  ยืนหยัดอยู่กับความเชื่อ  และเผชิญกับความเป็นจริงแห่งชีวิตได้  เขาเหล่านั้นจะพบกับความหมายที่แท้จริงของชีวิตและเป็นผู้ที่ปรับตัวได้

 

110         การที่บุคคลตระหนักถึงเอกลักษณ์แห่งตน  เช่น  บทบาททางเพศ  อาชีพ  และสามารถพัฒนาความสัมพันธ์ที่มีความหมาย

ตอบ  5  Neo – Freudian

กลุ่มลูกศิษย์ของฟรอยด์ (Neo – Freudian)  มีความเห็นว่า  การปรับตัวจะดีได้นั้นบุคคลจะต้องสามารถพัฒนาตนเอง  สร้างเสริมเอกลักษณ์ที่มั่นคง  ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่มีความหมายกับคนอื่นๆได้

 

111         การที่บุคคลตระหนักถึงตนเองอย่างแท้จริง  สามารถพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพแห่งตน  ยอมรับจุดด้อยรู้ถึงจุดแข็ง

ตอบ  2  Humanism                      

กลุ่มมนุษยนิยม  (Humanism)  เชื่อว่า  มนุษย์ควรมีการพัฒนาไปถึงที่สุดเท่าที่ศักยภาพจะอำนวย  โดยเรียกกระบวนการพัฒนาเข้าไปถึงที่สุดของศักยภาพนี้ว่า  การประจักษ์ในตน”  ซึ่งควรจะเป็นเป้าหมายของการงอกงามเติบโตที่แท้จริงของมนุษย์

ข้อ  112 – 113  จงเลือกคำตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

1  Approach – Approach  Conflicts        2  Avoidance – Avoidance  Conflicts

3  Approach – Avoidance  Conflicts      4  Double – Approach – Avoidance  Conflicts

5  ผิดทั้งหมด

 

112         ประชาต้องตัดสินใจว่าจะลงแข่งในรายการนี้หรือไม่  ถ้าไม่ลงจะถูกตัดสิทธิไม่ให้แข่งอีกทั้งปี  ถ้าลงอาจต้องพิการไปตลอดชีวิต  เพราะหมอบอกให้พักช่วงระยะเวลาหนึ่ง

ตอบ  3  Approach – Avoidance  Conflicts     

ความขัดแย้งใจมี  4  ประเภท  คือ

1              อยากได้ทั้งคู่  (Approach – Approach  Conflicts)  เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ  รักพี่เสียดายน้อง”  คือ  ตัวเลือกทั้งสองเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาทั้งคู่  แต่ต้องเลือกของชอบอย่างใดอย่างหนึ่งในเวลาเดียวกัน

2              อยากหนีทั้งคู่  (Avoidance – Avoidance  Conflicts)  เป้นความขัดแย้งใจในลักษณะ  หนีเสือปะจระเข้)  คือ  เป็นความกดดันที่จะต้องเลือกตัวเลือกที่ไม่พึงปรารถนาทั้งคู่

3              ทั้งรักทั้งชัง  (Approach – Avoidance  Conflicts)  เป้นความขัดแย้งใจในลักษณะ  กลืนไม่เข้าคายไม่ออก”  คือ  ตัวเลือกนั้นเป็นทั้งสิ่งที่ชอบและไม่ชอบในขณะเดียวกันจึงทำให้เกิดความลังเล  เช่น  อยากทานขนมหวานแต่กลัวฟันผุ  อยากทำงานได้เงินแต่กลัวเรียนไม่จบ  เป็นต้น

4              ทั้งชอบและชังในตัวเลือกทั้งคู่  (Double – Approach – Avoidance  Conflicts)  คือ  ตัวเลือกทั้ง  2  มีทั้งดีและไม่ดีในเวลาเดียวกัน  เช่น  เราจะต้องเลือกระหว่างงานใหม่  2  แห่ง  แห่งแรกนั้นถูกใจหมดทุกอย่างแต่เงินเดือนต่ำ  แต่อีกแห่งไม่ถูกใจเลยแต่เงินเดือนสูง  เราจะเลือกแห่งใดเป็นต้น

113         ปราณีอยู่ๆก็ได้งานหลายแห่งในเวลาเดียวกัน  งานดีเงินเดือนมากแต่งานหนักมาก  งานสบายแต่เงินไม่น่าสนใจ  งานน่าสนใจเงินดีแต่ไม่แน่ใจในความมั่นคง  เป็นการตัดสินใจที่ยากมากสำหรับปราณี

ตอบ  4  Double – Approach – Avoidance  Conflicts      ดูคำอธิบายข้อ  112  ประกอบ

ข้อ  114 – 116  จงเลือกตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

1  อคติ                                                      2  เจตคติ                                            3  ความก้าวร้าว                

4  พฤติกรรมแสดงออกเหมาะสม            5  พฤติกรรมช่วยเหลือ

114         มีลักษณะการตัดสินใจล่วงหน้า  เกลียดชังอย่างขาดเหตุผล  นำไปสู่การแบ่งแยก

ตอบ  1  อคติ                                                     

อคติ  เป็นเจตคติทางลบหรือการตัดสินใจล่วงหน้า  เกิดจากความสงสัย  ความกลัว  และความเกลียดอย่างไม่สมเหตุสมผล  บ่อยครั้งที่เจตคติเกิดจากโครงสร้างของอำนาจทางสังคมซึ่งมักเป็นอคติเกี่ยวกับเชื้อชาติ  เพศ  หรืออายุ  และนำมาสู่การแบ่งแยก  (Discrimination)  ในที่สุด

115         เป็นพฤติกรรมที่กล้าแสดงความคิดเห็น  ความรู้สึกอย่างตรงไปตรงมา  ก่อประโยชน์แก่ตนและคู่สนทนา

ตอบ  5  พฤติกรรมช่วยเหลือ

พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสมนั้น  ไม่ใช่พฤติกรรมก้าวร้าวแต่เป็นพฤติกรรมที่กล้าแสดงความคิดเห็น  ความรู้สึก  ความปรารถนา  และความเชื่อของตนอย่างตรงไปตรงมา  ซื่อสัตย์ต่อกัน  และเหมาะสมกับกาลเทศะ  ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นด้วย  ดังนั้นการแสดงออกที่เหมาะสมจึงเป็นการแสดงออกที่ก่อประโยชน์แก่ตนเองและแก่คู่สนทนา

116         เป็นท่าทีความพร้อมที่ประกอบด้วย  ความเชื่อ  ความรู้สึก  และแนวโน้มการกระทำ

ตอบ  2  เจตคติ

เจตคติ  มีองค์ประกอบ  3  อย่าง  คือ

1              องค์ประกอบทางความเชื่อ

2              องค์ประกอบทางอารมณ์หรือความรู้สึก

3              องค์ประกอบทางการกระทำหรือพฤติกรรม

117         การที่เรายอมรับการพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ของ  พ.ญ.  คุณหญิงพรทิพย์  โรจนสุนันท์  แสดงถึงอำนาจทางสังคมกรณีใด

1  อำนาจในการให้รางวัล                       2  อำนาจในการบังคับ                    3  อำนาจตามการอ้างอิง

4  อำนาจตามความเชี่ยวชาญ                  5  อำนาจตามกฎหมาย

ตอบ  4  อำนาจตามความเชี่ยวชาญ                 

อำนาจตามความเชี่ยวชาญ  (Expert  Power)  คือ  อำนาจที่มีพื้นฐานมาจากการยอมรับว่าบุคคลที่เรายอมทำตามนั้นเป็นผู้ที่มีความสามารถ  มีความเชี่ยวชาญ  และนำไปสู่จุดหมายปลายทางได้

118         Group  Sanction  เกิดจากอะไร

1  การคล้อยตามกลุ่ม                            2  การไม่คล้อยตามกลุ่ม                    3  การแสดงมติเอกฉันท์

4  การขาดการหล่อหลอมทางสังคม     5  ผิดทั้งหมด

ตอบ  2  การไม่คล้อยตามกลุ่ม                    

เมื่ออยู่ในกลุ่ม  บุคคลมักได้รับรางวัลจากการคล้อยตามกลุ่ม  และได้รับการปฏิเสธเมื่อไม่คล้อยตาม  การปฏิเสธนี้เรียกว่า  Group  Sanction  ซึ่งมีตั้งแต่การหัวเราะเยาะ  การจ้องมองหรือการไม่ยอมรับ  จนถึงการเนรเทศออกจากกลุ่ม

119         ข้อใดแสดงถึงอิทธิพลทางสังคม

1  การชักจูง             2  การเสนอแนะ              3  การล้างสมอง             4  การอภิปรายกลุ่ม          5  ถูกทุกข้อ

ตอบ  5  ถูกทุกข้อ

อิทธิพลทางสังคม  หมายถึง  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากพฤติกรรมของผู้อื่น  โดยแมคไกวร์  (McGuire)  ได้แบ่งสถานการณ์ที่อาจเกิดอิทธิพลทางสังคมขึ้น  5  สถานการณ์  คือ

1  การเสนอแนะ            2  การคล้อยตาม            3  การอภิปรายกลุ่ม            4  การใช้สารชักจูง         5  การยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น  หรือการล้างสมอง  เป็นสถานการณ์ที่ใช้ทั้ง  4  ลักษณะข้างต้นพร้อมๆกัน

120         บริบททางสังคมคืออะไร

1  อาณาจักรส่วนบุคคล                  2  กลุ่มทุกกลุ่มที่ห้อมล้อมบุคคล                3  ขอบเขตของแต่ละกลุ่ม

4  รอยต่อระหว่างกลุ่มสังคม          5  ถูกทุกข้อ

ตอบ  2  กลุ่มทุกกลุ่มที่ห้อมล้อมบุคคล               

บริบททางสังคม  (สิ่งแวดล้อมทางสังคม)  คือ  กลุ่มทุกกลุ่มที่บุคคลเป็นสมาชิกอยู่  ซึ่งบุคคลแต่ละคนเป็นสมาชิกของหลายกลุ่มในขณะเดียวกัน  โดยในแต่ละกลุ่มจะมีตำแหน่งเป็นสิ่งชี้ให้เห็นบทบาทและสถานภาพของบุคคล

Advertisement