การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2553
ข้อสอบกระบวนวิชา PSY1001 จิตวิทยาทั่วไป
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
ข้อ 1. – 5. จงตอบคำถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์
(2) กลุ่มจิตวิเคราะห์
(3) กลุ่มหน้าที่ของจิต
(4) กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(5) กลุ่มโครงสร้างทางจิต
1. กลุ่มใดศึกษาองค์ประกอบของจิตสำนึกได้แก่ การรับสัมผัส ความรู้สึก และมโนภาพ
ตอบ (5) กลุ่มโครงสร้างทางจิต
2. กลุ่มใดปฏิเสธการศึกษาเรื่องจิต พร้อมกับรับแนวคิดเรื่องการตอบสนองแบบมีเงื่อนไข เน้นการสังเกตและบันทึกเพื่อความเป็นวิทยาศาสตร์
ตอบ (4) กลุ่มพฤติกรรมนิยม
3. กลุ่มใดเน้นการศึกษาทางจิตวิทยาที่พฤติกรรมและประสบการณ์ทางจิตจะต้องได้รับการพิจารณาเป็นส่วนรวมแยกจากกันไม่ได้
ตอบ (1) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์
4. กลุ่มอธิบายว่าความด้วยผิดปกติของบุคลิกภาพเนื่องมาจากแรงจูงใจไร้สำนักและการเก็บกดในวัยเด็ก
ตอบ (2) กลุ่มจิตวิเคราะห์
5. กลุ่มใดสนใจการทำงานของจิตสำนึกและการปรับตัวของอินทรีย์กับสิ่งแวดล้อม
ตอบ (3) กลุ่มหน้าที่ของจิต
ข้อ 6. – 9. จงตอบคำถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) การสังเกต (2) การสำรวจ (3) การทดลอง
(4) การทดสอบทางจิตวิทยา (5) การศึกษาประวัติรายกรณี
6. วิธีใดอาศัยการสร้างเหตุการณ์บางอย่างแล้วศึกษาตัวแปรตาม (3)
ตอบ (3) การทดลอง
7. วิธีใดทำการศึกษาภูมิหลังของบุคคลเพื่อเข้าใจสาเหตุของพฤติกรรมได้ละเอียดขึ้น (5)
ตอบ (5) การศึกษาประวัติรายกรณี
8. วิธีใดที่เฝ้ามองสภาพการณ์ตามที่เป็นจริง ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมในสภาพธรรมชาติ (1)
ตอบ (1) การสังเกต
9. วิธีใดที่ใช้ศึกษาประชามติ (2)
ตอบ (2) การสำรวจ
10. มิลแกรมอธิบายว่า การลงโทษผู้อื่นจนถึงขั้นรุนแรงเป็นเพราะอะไร
(1) ผู้ลงโทษขาดมนุษยธรรม
(2) ผู้ลงโทษสติปัญญาต่ำ
(3) ผู้ลงโทษมีนิสัยก้าวร้าวเป็นทุนเดิม
(4) เกิดการกระจายความรับผิดชอบไปทั่วๆ กัน
(5) ผู้ลงโทษรู้สึกว่าตนไม่ต้องรับผิดชอบผลที่เกิดขึ้น
ตอบ (5) ผู้ลงโทษรู้สึกว่าตนไม่ต้องรับผิดชอบผลที่เกิดขึ้น
11. ระบบใดที่ทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะของการผ่อนคลาย ไม่ตึงเครียด
(1) ระบบประสาทซิมพาเธติก
(2) ระบบกล้ามเนื้อ
(3) ระบบอัตโนมัติ
(4) ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก
(5) ระบบประสารทส่วนกลาง
ตอบ (4) ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก
12. ต่อมใดที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงาของฮอร์โมนของต่อมไร้ท่ออื่นๆ
(1) ตอม Gonad (2) ต่อม Thyriod (3) ต่อม Parathyroid
(4) ต่อม Pituitary (5) ต่อม Thymus
ตอบ (4) ต่อม Pituitary
13. ต่อมใดผลิตฮอร์โมนเพศ (ใช้ตัวเลือกข้อ 12
(1) ตอม Gonad (2) ต่อม Thyriod (3) ต่อม Parathyroid
(4) ต่อม Pituitary (5) ต่อม Thymus
ตอบ (1) ตอม Gonad
14. ข้อใดเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่รับส่งกระแสประสาท ประกอบด้วย Cell Body, Dendrite และ Axon
(1) Neurotransmitters (2) Cerebrum (3) Cerebellum
(4) Spinal Cord (5) Neuron
ตอบ (5) Neuron
ข้อ 15. – 17. จงตอบคำถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) ธาลามัส (2) ซีรีบรัม (3) ซีรีเบลลัม (4) ไฮโปธาลามัส (5) ฮิบโปแคมพัส
15. สมองส่วนใดเป็นที่รวมของสันประสาท ควบคุมอวัยวะสัมผัส อวัยวะมอเตอร์ และวิเคราะห์ข้อมูล
ตอบ (2) ซีรีบรัม
16. สมองส่วนใดมีขนาดเล็กแต่การทำงานมีอิทธิพลมาก
ตอบ (4) ไฮโปธาลามัส
17. สมองส่วนใดที่ควบคุมการทรงตัว
ตอบ (3) ซีรีเบลลัม
18. โรคพาร์กินสัน เกิดจากความบกพร่องของสารสื่อประสาทใด
(1) กาบา (2) โดปามาย (3) ซีโรโทนิน (4) อะซีทิลโคลีน (5) นอร์อีพิเนฟฟริน
ตอบ (2) โดปามาย
19. สารสื่อประสาทใดที่ช่วยเหลือในการกระตุ้นความจำ ถ้าบกพร่องทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้(ใช้ตัวเลือกข้อ 18.)
(1) กาบา
(2) โดปามาย
(3) ซีโรโทนิน
(4) อะซีทิลโคลีน
(5) นอร์อีพิเนฟฟริน
ตอบ (4) อะซีทิลโคลีน
20. วงจรที่เล็กที่สุดหรือที่เรียกว่า Simple Reflex Action ได้แก่อาการใด
(1) การกะพริบตาเมื่อลมกรรโชก
(2) การเดินก้าวยาวๆ
(3) เก็บความไม่พอใจเมื่อถูกครูตี
(4) การยิ้มทักทาย
(5) นั่งเรียนด้วยความตั้งใจ
ตอบ (1) การกะพริบตาเมื่อลมกรรโชก
21. ข้อใดคือคุณสมบัติของกระแสเสียงหรือคลื่นเสียง
(1) ความดังและความถี่
(2) ความถี่และความแรงของคลื่น
(3) ความกดและความแรงของคลื่น
(4) จำนวนรอบคลื่นต่อวินาที
(5) ความกดและความคลายของอากาศ
ตอบ (2) ความถี่และความแรงของคลื่น
22. การทำงานของโคนส์มีความสำคัญอย่างไร
(1) รับคลื่นแสงสีต่างๆ (2) ช่วยให้ปรับตัวต่อความมืด (3) การรับภาพขาวและดำ
(4) รับคำสั่งการรับรู้ภาพ (5) ปรับเรตินาให้รับคลื่นแสงสูงกว่า 782 นาโนมิเตอร์
ตอบ (1) รับคลื่นแสงสีต่างๆ
23. ข้อใดเป็นเรื่องของการจัดหมวดหมู่การรับรู้ของกลุ่มเกสตัลท์
(1) คล้ายคลึงคลึง (2) โทรจิต (3) ภาพหลอน (4) แสดงและเงา (5) ESP
ตอบ (1) คล้ายคลึงคลึง
24. จำนวนพลังงานความถี่ต่ำสุดที่อินทรีย์สามารถรับรู้ได้เมื่อสิ่งเร้าปรากฏ เรียกว่าอะไร
(1) ระดับเทรซโฮลด์ (2) เทรซโฮลด์ความรู้สึก (3) เทรซโฮลด์สมบูรณ์
(4) เทรซโฮลด์ความแตกต่าง (5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (3) เทรซโฮลด์สมบูรณ์
25. สัมผัสคีเนสเตซีส อธิบายเรื่องใด
(1) การทรงตัวและการเคลื่อนไหวต่อเนื่อง (2) การทรงตัว
(3) การทราบถึงการเคลื่อนไหวทางกาย (4) การสัมผัสของอวัยวะภายใน
(5) การทำงานของอวัยวะภายใน
ตอบ (3) การทราบถึงการเคลื่อนไหวทางกาย
26. การมอบด้วยดวงตา 2 ข้าง ทำให้เราสามารถรับรู้ความลึกได้ และดวงตาแต่ละข้างจะเห็นภาพในแง่มุมที่ต่างออกไปเล็กน้อย เรียกว่าอะไร
(1) Stereoscopic Vision (2) Convergence (3) Perspective
(4) การรับรู้ภาพ 2 นัย (4) ประสาททิพย์ (Clairvoyance)
ตอบ (1) Stereoscopic Vision
27. การล่วงรู้ถึงแหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง เรียกว่าอะไร
(1) โทรจิต (Telepathy) (2) Convergence (3) Precognition
(4) Clairvoyance (5) Illusion
ตอบ (3) Precognition
28. การตีความหมายในสิ่งที่มากระทบด้วยความเข้าใจและการแปลความหมายของสิ่งนั้น เรียกว่าอะไร
(1) การสัมผัส (2) การรับรู้ (3) การเรียนรู้
(4) ภาพหลอน (5) ภาพลวงตา
ตอบ (2) การรับรู้
29. ข้อใดถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับสัมปชัญญะ
(1) การมีสมาชิกแน่วแน่ (2) การตั้งใจเรียนอย่างจริงจัง (3) การนอนหลับเพื่อทำสมาธิ
(4) การมีจิตใจแน่วแน่ (5) การรู้ตัวทั่วพร้อมว่า กำลังทำ พูด คิดสิ่งใดอยู่
ตอบ (5) การรู้ตัวทั่วพร้อมว่า กำลังทำ พูด คิดสิ่งใดอยู่
30. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับ “การนอนหลับ”
(1) มีการโต้ตอบง่ายๆ ได้ (2) ขาดสัมปชัญญะโดยสิ้นเชิง (3) รับรู้ผิดพลาดในระยะหลับลึก
(4) ไม่มีการฝันตลอดคืน (5) มีความฝันเกิดขึ้นในระยะช่วงเวลาของการหลับลึก
ตอบ (1) มีการโต้ตอบง่ายๆ ได้
31. การนอนหลับเป็นช่วงระยะสั้น เรียกอะไร
(1) ความอ่อนเพลีย
(2) Microsleep
(3) ฝันกลางวัน
(4) เข้าฌาน
(5) การระลึกรู้
ตอบ (2) Microsleep
32. มนุษย์ใช้เวลาสำหรับการนอนหลับเท่าใดโดยประมาณ
(1) 1 ใน 2 ของชีวิต (2) 1 ใน 2 ของชีวิต (3) 1 ใน 4 ของชีวิต
(4) ขึ้นอยู่กับภารกิจประจำวัน (5) ขึ้นอยู่กับนิสัยส่วนตัว
ตอบ (2) 1 ใน 2 ของชีวิต
ข้อ 33. – 36. จงตอบคำถามโดยพิจารราจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) กดประสาท (2) กระตุ้นประสาท (3) หลอนประสาท (4) ออกฤทธิ์ผสมผสาน
33. แอลเอสดี เห็ดขี้ควาย จัดอยู่ในสารประเภทใด
ตอบ (3) หลอนประสาท
34. กัญชา สามารถออกฤทธิ์แบบใด
ตอบ (4) ออกฤทธิ์ผสมผสาน
35. คาเฟอีน กระท่อม มีคุณสมบัติใด
ตอบ (2) กระตุ้นประสาท
36. ฝิ่น มอร์ฟีน มีผลอย่างไร
ตอบ (1) กดประสาท
37. คลื่นสมองชนิดใดที่ปรากฏในการนอนหลับระยะที่ 3 และระยะที่ 4
(1) แอลฟ่า (2) บีตา (1) กดประสาท (4) ธีตา (5) แกมมา
ตอบ (1) กดประสาท
38. ผู้ใดอธิบายว่า ความฝันเกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากการแสดงออกของจิตใจสำนึก
(1) Freud (2) Hobson & McCarley (3) Adler
(4) Mesmer (5) Carl Jung
ตอบ (1) Freud
39. สิ่งที่จะบอกได้ว่าคนที่นอนหลับกำลังฝัน คืออะไร
(1) REM (2) MER (3) การร้องโวยวาย
(4) การขยับร่างกายไปมา (5) Polygraph
ตอบ (1) REM
40. ยีนส์ มีการเปลี่ยนแปลงได้ในกรณีใด
(1) ตั้งครรภ์นอกมดลูก
(2) ได้รับรังสีหรือยาชนิด
(3) การผสมเทียมในหลอดแก้ว
(4) รับโครโมโซมเพศแบบ XYY
(5) แม่ได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจอย่างรุนแรง
ตอบ (2) ได้รับรังสีหรือยาชนิด
41. ข้อใดไม่ใช่โรคที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
(1) เบาหวาน (2) ตาบอดสี (3) ลมบ้าหมู (4) กามโรค (5) ภูมิแพ้
ตอบ (4) กามโรค
42. โครโมโซมของมนุษย์มีลักษณะอย่างไร
(1) ได้รับจากพ่อและแม่คนละ 23 โครโมโซม
(2) เรามีโครโมโซมเพศ 2 คู่
(3) พี่น้องท้องเดียวกันจะได้รับโครโมโซมเหมือนกัน
(4) โครโมโซมจะจะจับคู่กันเมื่อแม่ตั้งครรภ์ได้ 15 วัน
(5) โครโมโซมทำให้เรามีอายุขัยเท่าพ่อแม่
ตอบ (1) ได้รับจากพ่อและแม่คนละ 23 โครโมโซม
43. ในการอธิบายความสำคัญของพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อม นักจิตวิทยาอาศัยกลุ่มใดช่วยได้มากที่สุด
(1) พ่อแม่กับลูก
(2) พี่กับน้อง
(3) ฝาแฝดคล้าย
(4) ฝาแฝดเหมือน
(5) พ่อแม่กับบุตรบุญธรรม
ตอบ (4) ฝาแฝดเหมือน
44. ลักษณะใดที่เกิดจากพันธุกรรมเป็นตัวกำหนดอย่างชัดเจน
(1) ศีรษะล้าน (2) ใจอ่อน (3) เครียด
(4) กระตือรือร้น (5) เก็บกด
ตอบ (1) ศีรษะล้าน
45. คนที่ได้รับโครโมโซมเพศผิดแบบปกติ XXY มีโอกาสเกิดความผิดปกติแบบใด
(1) ตัวแคระแกรน (2) โรคลมบ้าหมู (3) Turner’s Syndrome
(4) ปัญญาอ่อน Mongolism (5) ตาบอดสี
ตอบ (4) ปัญญาอ่อน Mongolism
ข้อ 46. – 48. จงตอบคำถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) เฮสส์ (2) เพียเจท์ (3) กีเซลล์ (4) ลอเรนซ์ (5) โคลเบอร์ก
46. ผู้ใดย้ำเน้นความสำคัญของวุฒิภาวะเพียงอย่างเดียวในการอธิบายการเจริญเติบโตและความสามารถของบุคคล
ตอบ (3) กีเซลล์
47. ผู้ใดศึกษาและเสนอทฤษฎีพัฒนาการทางความคิดความเข้าใจ
ตอบ (3) กีเซลล์
48. ผู้ใดทำการทดลองเรื่องประสบการณ์ในระยะฝังใจกับลูกเป็ด
ตอบ (3) กีเซลล์
ข้อ 49. – 51. จงตอบคำถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) Reinforcement (2) การหยุดยั้ง (3) การสรุปความเหมือน
(4) การฟื้นกลับของพฤติกรรม (5) การแยกความแตกต่าง
49. “นอกจากแสดงอาการน้ำลายไหลต่อเสียงกระดิ่งแล้ว พบว่า เสียงที่คล้ายกระดิ่งก็ทำให้สุนัขน้ำลายไหลได้ เช่นกัน”
ตอบ (3) การสรุปความเหมือน
50. “หลังจากการเรียนรู้การกดคานว่า ได้อาหาร แต่เมื่องดอาหารในการกดคานต่อๆ มาในที่สุด พบว่าหนูหยุดกดคาน”
ตอบ (2) การหยุดยั้ง
51. “ข้าวหอมเรียกแม่อีกหลายครั้ง หลังจากการเรียกครั้งแรกแล้วแม่เข้ามากอด”
ตอบ (1) Reinforcement
ข้อ 52. – 54. จงตอบคำถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) อัตราส่วนคงที่ (2) อัตราส่วนไม่แน่นอน (3) ช่วงเวลาคงที่
(4) ช่วงเวลาไม่แน่นอน (5) แบบต่อเนื่อง
52. การะเวกมักจะเอาใจใส่หน้าที่การงานเป็นพิเศษเมื่อใกล้วันเงินเดือนออกเป็นการเสริมแรงแบบใด
ตอบ (3) ช่วงเวลาคงที่
53. ทุกครั้งที่วิ่งลอดบ่วงไฟ สุนัขจะได้รับรางวัล ใช้การเสริมแรงแบบใด
ตอบ (1) อัตราส่วนคงที่
54. การเสริมแรงแบบใดที่จะช่วยให้คนงานเร่งเย็บเสื้อแต่ละตัวให้เสร็จเร็วๆ เท่าที่จะทำได้
ตอบ (4) ช่วงเวลาไม่แน่นอน
55. การเสริมแรงแบบใดที่จะช่วยให้คนงานเย็บเนื้อแต่ละตัวให้เสร็จเร็วๆ เท่าที่จะทำได้
ตอบ (1) อัตราส่วนคงที่
56. การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก เสียงกระดิ่งจัดเป็นอะไร
(1) สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) (2) สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (US)
(3) การตอบสนองที่วางเงื่อนไข (CR) (4) การแยกความแตกต่าง (Discrimination)
(5) การฟื้นกลับของพฤติกรรม (Spontaneous)
ตอบ (5) การฟื้นกลับของพฤติกรรม (Spontaneous)
57. นักโทษได้รับการลดโทษหลังจากมีความประพฤติดี น่าพอใจ อธิบายได้ว่าตรงกับหลักการใด
(1) การเสริมแรงบวก (2) การเสริมแรงลบ (3) การลงโทษ
(4) การวางเงื่อนไขบวก (5) การวางเงื่อนไขลบ
ตอบ (1) การเสริมแรงบวก
58. ความจำระยะสั้นจะมีลักษณะเป็นอย่างไร
(1) เก็บข้อมูลไม่จำกัดจำนวน (2) จำในสิ่งที่มีความหมาย (3) จำในสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริงของโลก
(4) จำในสิ่งที่เป็นเรื่องของชีวิตตนเอง (5) ทำงานอยู่ในระดับปฏิบัติการ
ตอบ (5) ทำงานอยู่ในระดับปฏิบัติการ
59. ภาพติดตาหรือจินตภาพจะคงอยู่ได้กี่วินาที
(1) 2 วินาที (2) 1½ วินาที (3) 1 วินาที (4) ½ วินาที (5) ขึ้นอยู่กับบุคคล
60. ความจำระยะยาวมีลักษณะเป็นอย่างไร
(1) การเกิดจินตภาพ (2) จำในสิ่งที่มีความหมาย (3) การได้ยินเสียง
(4) ข้อมูลมีจำกัด (5) ทำงานอยู่ในระดับปฏิบัติการ
ตอบ (2) จำในสิ่งที่มีความหมาย
61. สาเหตุของการลืม เกิดจาก
(1) การไม่ลงรหัส (2) การเสื่อมสลาย (3) การขาดสิ่งชี้แนะ (4) การรบกวน (5) ถูกทั้งหมด
ตอบ (5) ถูกทั้งหมด
62. บอกได้ว่า “ร่มนี้เป็นของฉันหายไปเมื่อ 2 เดือนที่แล้ว” เป็นการวัดความจำแบบใด
(1) การระลึกได้ (Recall) (2) การจำได้ (Recognition) (3) การเรียนซ้ำ (Relearning)
(4) การบูรณาการใหม่ (Reintegration) (5) การสร้างความจำ (Construct)
ตอบ (2) การจำได้ (Recognition)
63. ใช้เวลาท่องอาขยานถึง 20 ครั้ง แต่หลังจาก 20 ปีผ่านไป สามารถท่องอาขยานใช้เวลาเพียง 2 ครั้ง ก็จำได้เรียกว่าอะไร
(1) การระลึกได้ (Recall) (2) การจำได้ (Recognition) (3) การเรียนซ้ำ (Relearning)
(4) การบูรณาการใหม่ (Reintegration) (5) การสร้างความจำ (Construct)
ตอบ (3) การเรียนซ้ำ (Relearning)
64. การลืมเนื่องจากการไม่ได้ลงรหัสเป็นอย่างไร
(1) ลืมเพราะระหว่างที่เราพยายามจำถูกรบกวนสมาธิ (2) ลืมเพราะไม่ได้กำหนดการจำสิ่งนั้น
(3) ดึงความจำกลับมาไม่ได้เพราะขาดสิ่งชี้แนะ (4) ลืมในสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกขมขื่น
(5) ลืมเพราะมีสิ่งที่ต้องจำมากเกินไป
ตอบ (2) ลืมเพราะไม่ได้กำหนดการจำสิ่งนั้น
65. เรียนรู้และจดจำเฉพาะการเรียนสิ่งใหม่และลืมสิ่งที่เคยเคยเรียนมาก่อน เรียกว่าอะไร
(1) Retroactive Inhibition
(2) Proactive Inhibition
(3) Repression
(4) Decay
(5) Encoding Failure
ตอบ (1) Retroactive Inhibition
66. การแก้ปัญหาโดยมีการรับรู้ มองเห็นความสัมพันธ์ และคิดได้อย่างฉับพลัน เรียกว่าอะไร
(1) หยั่งเห็นคำตอบในทันที (2) ทำความเข้าใจ (3) ใช้เครื่องจักร
(4) ใช้ความใหม่ของคำถาม (5) แรงจูงใจของผู้แก้ปัญหา
ตอบ (1) หยั่งเห็นคำตอบในทันที
67. จากการศึกษาของ Miller พบว่าความจำระยะสั้นของคนปกติจะเป็นแบบใด
(1) 5 หน่วย (2) 6 หน่วย (3) 7 หน่วย (4) 8 หน่วย (5) 9 หน่วย
68. ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้บุคคลมีการแสดงพฤติกรรม คืออะไร
(1) สิ่งเร้า (2) สิ่งแวดล้อม (3) แรงจูงใจ (4) ความรัก (5) การเรียนรู้
ตอบ (3) แรงจูงใจ
69. Marray แบ่งความต้องการออกเป็นกี่ชนิด
(1) 5 ชนิด (2) 10 ชนิด (3) 15 ชนิด (4) 20 ชนิด (5) 25 ชนิด
ตอบ (4) 20 ชนิด
70. ข้อใดไม่ใช่กระบวนการของแรงจูงใจ
(1) การตอบสนอง (Response) (2) มโนทัศน์ (Concept) (3) แรงขับ (Drive)
(4) ความต้องการ (Need) (4) เป้าหมาย (Goal)
ตอบ (2) มโนทัศน์ (Concept)
ข้อ 71. – 74. จงตอบคำถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) แรงจูงใจพื้นฐาน (2) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (3) แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์
(4) แรงขับพื้นการศึกษา (5) ผิดทั้งหมด
71. ความปรารถนาที่จะประสบความสำเร็จในด้านการงานหรือการเรียน
ตอบ (2) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
72. ความปรารถนาที่จะมีเพื่อนมาสนิทสนมด้วย
ตอบ (3) แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์
73. ความอยากรู้อยากเห็น
ตอบ (4) แรงขับพื้นการศึกษา
74. ความกดดันจากภาวะเศรษฐกิจ
ตอบ (1) แรงจูงใจพื้นฐาน
75. ความหิวและความกระหาย เป็นแรงจูงใจชนิดใด
(1) การสืบเผ่าพันธุ์ (2) การหลีกหนีอันตราย (3) ชีวภาพ
(4) สังคม (5) ความมั่นคง
ตอบ (3) ชีวภาพ
76. ทฤษฎีอะไรเกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ
(1) ทฤษฎีหลักการมีเหตุผล (2) ทฤษฎีแรงขับ (3) ทฤษฎีลำดับขั้นของความต้องการ
(4) ทฤษฎีสัญชาตญาณ (5) ถูกทั้งหมด
ตอบ (5) ถูกทั้งหมด
77. ตามทรรศนะของมาสโลว์ Basic Needs ได้แก่ความต้องการด้านใด
(1) ร่างกายและความมั่นคงปลอดภัย (2) ความมั่นคงปลอดภัยและความรัก
(3) ความรัก ได้รับการยกย่องและประจักษ์ตน (4) การได้รับการยกย่องและประจักษ์ตน
(5) การเป็นเจ้าของกลุ่มและมีส่วนร่วม
ตอบ (1) ร่างกายและความมั่นคงปลอดภัย
78. ข้อใดที่เป็นองค์ประกอบการของการเกิดแรงจูงใจ
(1) สิ่งเร้า ความต้องการ แรงขับ การตอบสนอง
(2) ความต้องการ แรงขับ การตอบสนอง เป้าหมาย
(3) แรงขับ การตอบสนอง เป้าหมาย สิ่งเร้า
(4) เป้าหมาย สิ่งเร้า ความต้องการ
(5) การตอบสนอง เป้าหมาย สิ่งเร้า ความต้องการ
ตอบ (2) ความต้องการ แรงขับ การตอบสนอง เป้าหมาย
79. ข้อใดเป็นลักษณะทางอารมณ์ซึ่งนักจิตวิทยาได้จำแนกไว้
(1) อารมณ์ทางบวก เฉยๆ และทางลบ
(2) อารมณ์ที่พึงพอใจและไม่พึงพอใจ
(3) อารมณ์ที่เกิดจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
(4) อารมณ์สงบและรุนแรง
(5) อารมณ์รักและโกรธ
ตอบ (2) อารมณ์ที่พึงพอใจและไม่พึงพอใจ
80. ชาร์ลส์ ดาร์วิน กล่าวถึงความสำคัญของอารมณ์ว่าอย่างไร
(1) มนุษย์มีอารมณ์ก้าวร้าวเนื่องจากสถานการณ์บีบบังคับ
(2) อารมณ์มีความสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตและเผ่าพันธุ์
(3) พัฒนาการทางอารมณ์สัมพันธ์กับวัฒนธรรมท้องถิ่น
(4) มนุษย์สามารถควบคุอารมณ์ได้ดีกว่าสัตว์ชนิดอื่น
(5) คนอารมณ์ดีจะมีชีวิตที่ยืนยัน
ตอบ (2) อารมณ์มีความสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตและเผ่าพันธุ์
ข้อ 82. – 84. จงตอบคำถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) เจมส์ – แลง (2) แคนนอน-บาร์ด (3) แชคเตอร์-ซิงเกอร์ (4) พลูทซิค (5) แอช
82. ทฤษฎีใดอธิบายว่า อารมณ์เกิดขึ้นเมื่อบุคคลเผชิญหน้ากับสิ่งกระตุ้นแล้วสมองส่วนธาลามัสจะแยกส่งแรงกระตุ้นไปทำให้เกิดอารมณ์ พร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
ตอบ (2) แคนนอน-บาร์ด
83. ทฤษฎีใดกล่าวว่า การเกิดอารมณ์ต้องอาศัยการตีความสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบ (3) แชคเตอร์-ซิงเกอร์
84. ทฤษฎีใดอธิบายว่า ก่อนเกิดอารมณ์ร่างกายมีการแสดงปฏิกิริยาต่อสิ่งกระตุ้นไปล่วงหน้าแล้ว
ตอบ (1) เจมส์ – แลง
85. การใช้เครื่องจับเท็จ ดำเนินการอย่างไร
(1) เครื่องสามารถจับโกหกได้จากการบันทึกภาพการแสดงสีหน้าขณะโกหก
(2) พนักงานสอบสวนจะตั้งคำถามพร้อมกับวัดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระและแปลผล
(3) ขณะกล่าวเท็จการพูดของผู้นั้นจะตะกุกตะกัก เครื่องบันทึกภาพและเสียงจะนำมาตรวจสอบได้
(4) การศึกษาเรื่องการทำงานของระบบซิมพาเธติก ช่วยให้เข้าใจภาวะร่างกายขณะเกิดอารมณ์กลัว
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ (2) พนักงานสอบสวนจะตั้งคำถามพร้อมกับวัดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระและแปลผล
86. เด็กพัฒนาอารมณ์ต่างๆ จนสมบูรณ์ เมื่ออายุประมาณกี่ปี
(1) 6 เดือน (2) 1 ปี (3) 2 ปี (4) 6 ปี (5) 12 ปี
ตอบ (3) 2 ปี
87. การศึกษาบุคลิกภาพ มีความสำคัญอย่างไร
(1) บุคลิกภาพเริ่มปรากฏในวัยผู้ใหญ่
(2) บุคลิกภาพช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออก
(3) บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงได้ง่าย จึงไม่ควรคาดหวังพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
(4) คนที่มีบุคลิกภาพเหมือนกันเมื่อรวมกันจะเป็นพลังอันยิ่งใหญ่
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ (5) ถูกทั้งหมด
88. ทฤษฎีการเรียนรู้ อธิบายเรื่องบุคลิกภาพอย่างไร
(1) บุคลิกภาพเกิดจากการเรียนรู้โดยการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ
(2) บุคลิกภาพเกิดจากการสังเกตตัวแบบได้
(3) พฤติกรรมที่ได้รับการเสริมแรงจะถูกสะสมไว้และกลายมาเป็นบุคลิกภาพ
(4) สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการเกิดการเรียนรู้รวมถึงบุคลิกภาพ
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ (5) ถูกทั้งหมด
89. ทฤษฎีบุคลิกภาพใดเชื่อว่า คนเรามีความคิดสร้างสรรค์ เป็นอิสระ และสามารถรับผิดชอบการกระทำของตนเอง
(1) จิตวิเคราะห์
(2) พฤติกรรมนิยม
(3) มนุษยนิยม
(4) บุคลิกภาพที่แบ่งเป็นประเภท
(5) บุคลิกภาพที่แบ่งตามโครงสร้าง
ตอบ (3) มนุษยนิยม
90. ฟรอยด์ได้กล่าวถึงหลักแห่งความพึงพอใจ หมายถึงการทำงานของอะไร
(1) มโนธรรม
(2) Ego
(3) Id
(4) การทำงานของอิด ขั้นที่ 2
(5) ตัวตนในอุดมคติ
ตอบ (3) Id
91. คนที่มีสุขภาพจิตดีในทัศนะของ โรเจอร์ส มีลักษณะอย่างไร
(1) ไม่มีการชะงักของพฤติกรรมบางช่วง
(2) ยอมรับตนเอง
(3) มีการมองคนอื่นด้านบวก
(4) มีมนุษยสัมพันธ์ดี
(4) ตัวตนที่แท้จริงและในอุดมคติมีความสอดคล้องกัน
ตอบ (4) ตัวตนที่แท้จริงและในอุดมคติมีความสอดคล้องกัน
92. การประจักษ์ในตน และทฤษฎีลำดับขั้นของความต้องการเป็นแนวความคิดของใคร
(1) Rogers (2) Maslow (3) Bandura (4) Freud (5) Jung
ตอบ (2) Maslow
93. “การกินจุบ กินจิบ ปากคอเราะร้าย” เป็นบุคลิกภาพที่เกิดจากการชะงักงันของพัฒนาการในระยะใด
(1) Orial (2) Phallic Stage (3) Genital Stage
(4) Anal Stage (5) Latency Stage
ตอบ (1) Orial
94. “การแปลความหมายของความฝัน” เป็นความเชื่อของนักจิตวทยากลุ่มใด
(1) พฤติกรรมนิยม (2) มนุษยนิยม (3) พุทธนิยม
(4) จิตวิเคราะห์ (5) เกสตัลท์
ตอบ (4) จิตวิเคราะห์
95. ข้อใดเป็นแบบทดสอบบุคลิกภาพแบบฉายภาพจิต (Projective Techniques)
(1) WAIS (2) Rorschach (3) WISC
(4) MMPI (5) SCLL
ตอบ (2) Rorschach
96. ข้อใดแสดงถึงค่าสหสัมพันธ์ของระดับสติปัญญาสูงสุด
(1) พ่อกับแม่ (2) พี่กับน้องเลี้ยงด้วยกัน (3) แม่เลี้ยงกับลูกที่เลี้ยงมาแต่เกิด
(4) แฝดเหมือนที่เลี้ยงด้วยกัน (5) แฝดคล้ายที่เลี้ยงด้วยกัน
ตอบ (4) แฝดเหมือนที่เลี้ยงด้วยกัน
97. การที่แบบทดสอบมีแนวทางในการตรวจคำตอบ การแปลความหมายอย่างชัดเจน เรียกว่าอะไร
(1) ความเชื่อถือได้ (2) ความเที่ยงตรง (3) ความเป็นมาตรฐาน
(4) ความเป็นปรนัย (5) ความสามารถแยกแยะ
ตอบ (3) ความเป็นมาตรฐาน
98. เชาวน์ปัญญาได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งใด
(1) พันธุกรรม (2) สิ่งแวดล้อม (3) การเลี้ยงดู
(4) การเรียนรู้ (5) พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
ตอบ (5) พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
99. เด็กปัญญาอ่อนมีเกณฑ์ภาคเชาวน์เท่าใดลงไป
(1) 80 (2) 70 (3) 60 (4) 50 (5) 40
ตอบ (2) 70
100. แบบทดสอบวัดเชาวน์ปัญญาสำหรับผู้ใหญ่เรียกว่าอะไร
(1) WAIS (2) WISC (3) WPPSI
(4) Army Alpha (5) Army Beta
ตอบ (1) WAIS
101. ข้อใดเป็นแบบทดสอบวัด I.Q. สำหรับเด็ก
(1) WAIS
(2) Standard PM
(3) Coloured PM
(4) Advanced PM
(5) Stanford Binet
ตอบ (3) Coloured PM
102. จากการศึกษาวิจัยหลายเรื่องเกี่ยวกับฐานะทางเศรษฐกิจสังคม พบว่า คนกลุ่มใดมีระดับสติปัญญาโดยเฉลี่ยต่ำที่สุด
(1) คนที่อยู่ในเมือง (2) คนที่อยู่ในชนบท (3) คนฐานะเศรษฐกิจระดับกลาง
(4) คนฐานะเศรษฐกิจระดับสูง (5) คนฐานะเศรษฐกิจระดับต่ำ
ตอบ (5) คนฐานะเศรษฐกิจระดับต่ำ
103. ข้อใดเป็นลักษณะคนที่มีการปรับตัวเหมาะสมในทัศนะของจิตวิเคราะห์
(1) มีมโนธรรมสูง ตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดี (2) มีความชัดเจนเกี่ยวกับตนเอง
(3) มีความสมดุลของอิด อีโก้ ซูเปอร์อีโก้ (5) สามารถควบคุมจิตฝ่ายต่ำ
(5) กล้าแสดงออก
ตอบ (3) มีความสมดุลของอิด อีโก้ ซูเปอร์อีโก้
ข้อ 104. – 108. จงตอบคำถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) ถอยหลังเข้าคลอง (2) ชดเชยสิ่งที่ขาด (3) ไม่รับรู้ความจริง
(4) การโยนความผิด (5) เข้าข้างตนเอง
104. มานีกระทืบเท้าเดินออกไป พร้อมกับปิดประตูดังปังเมื่อมานิตย์ไม่ตามใจ
ตอบ (1) ถอยหลังเข้าคลอง
105. ประชาบอกว่า ห้องตนแม้จะไม่ใช่ห้องคิง แต่ทุกคนมีน้ำใจดีมาก
ตอบ (5) เข้าข้างตนเอง
106. ปรียาโกรธที่หมอบอกว่า เธอเป็น HIV Positive เพราะเธอไม่เคยยุ่งกับใครนอกจากสามี และพูดว่าเธอยังสบายดี ไม่ได้ป่วยอะไร
ตอบ (3) ไม่รับรู้ความจริง
107. กิ่งกมลไม่รู้ตัวว่าอยากมีกิ๊ก แต่เที่ยวไปพูดว่าคนโน้นคนนี้มีกิ๊ก
ตอบ (4) การโยนความผิด
108. พากเพียรเรียนไม่เก่งเหมือนพี่ๆ ก็เลยหันไปเอาดีทางกีฬาแทน
ตอบ (2) ชดเชยสิ่งที่ขาด
109. เจตคติประกอบด้วยองค์ประกอบอะไรบ้าง
(1) ความเชื่อและการกระทำ (2) ความเชื่อ ความเข้าใจ และความรู้สึก
(3) อารมณ์ ความรู้สึก และการกระทำ (4) ความเชื่อ ความรู้สึก และแนวโน้มพฤติกรรม
(5) การแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา
ตอบ (4) ความเชื่อ ความรู้สึก และแนวโน้มพฤติกรรม
110. ข้อใดเป็นคำอธิบายเพื่อให้เข้าใจว่า พฤติกรรมช่วยเหลือเกิดขึ้นน้อยในสังคมเมือง
(1) มีความรู้สึกว่าธุระไม่ใช่ (2) กลัวว่าช่วยแล้วอาจเกิดปัญหา (3) คำนึงถึงผลได้ผลเสีย
(4) การกระจายความรับผิดชอบ (5) ไม่มีเวลาพอที่จะช่วย
ตอบ (4) การกระจายความรับผิดชอบ
111. ปัจจุบันวิชาจิตวิทยามีความมุ่งหมายเพื่ออะไร
(1) ศึกษาเรื่องจิตวิญญาณในฐานะที่ส่งผลต่อพฤติกรรม
(2) ศึกษาพฤติกรรมภายใน โดยเฉพาะความคิด ความจำ การตัดสินใจ
(3) อธิบาย ทำความเข้าใจ ทำนาย และควบคุมพฤติกรรม
(4) ควบคุมพฤติกรรมก้าวร้าวในสังคม
(5) ศึกษาการพิสูจน์ DNA
ตอบ (3) อธิบาย ทำความเข้าใจ ทำนาย และควบคุมพฤติกรรม
112. พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม (Assertive Behavior) ตรงกับข้อใด
(1) พฤติกรรมที่เป็นเครื่องหมายของผู้นำ
(2) พฤติกรรมเพื่อคลี่คลาอคติ
(3) พฤติกรรมก้าวร้าว
(4) พฤติกรรมที่เชื่อว่าจะได้รับการยอมรบจากกลุ่ม
(5) พฤติกรรมที่แสดงออกความรู้สึกความคิดตรงๆ เพื่อพิทักษ์สิทธิของตน
ตอบ (5) พฤติกรรมที่แสดงออกความรู้สึกความคิดตรงๆ เพื่อพิทักษ์สิทธิของตน
113. พื้นที่รอบๆ บุคคลที่มองไม่เห็น เรียกว่าอะไร
(1) ระยะห่างระหว่างบุคคล
(2) การแสวงหาอิสรภาพ
(3) การครอบครอง
(4) ระยะห่างมายา
(4) ระยะส่วนตัว
ตอบ (1) ระยะห่างระหว่างบุคคล
114. ในการเปรียบเทียบทางสังคม เราต้องการเปรียบเทียบกับอะไร
(1) เกณฑ์มาตรฐานที่มีอยู่
(2) บุคคลที่มีความสามารถเหนือกว่าเรา
(3) คนที่ด้อยกว่าเรา
(4) ทุกคนที่เรามีโอกาสเปรียบเทียบด้วย
(5) บุคคลที่มีความสามารถใกล้เคียงและตกอยู่ในสภาวะคล้ายกับเรา
ตอบ (5) บุคคลที่มีความสามารถใกล้เคียงและตกอยู่ในสภาวะคล้ายกับเรา
115. การที่บุคคลมีความชอบพอดึงดูดใจระหว่างกัน เกิดขึ้นได้ในกรณีใด
(1) ความใกล้ชิด (2) ความต้องการพื้นฐาน (3) ความรับผิดชอบ
(4) ความบังเอิญ (4) การเปรียบเทียบทางสังคม
ตอบ (1) ความใกล้ชิด
116. การสร้างมิตรภาพที่แน่นแฟ้นได้ ควรปฏิบัติอย่างไร
(1) ให้การเสริมแรงตนเอง (2) ไม่เปรียบเทียบทางสังคม (3) ไม่คำนึงถึงผลได้
(4) ไม่คำนึงถึงการแลกเปลี่ยน (5) แลกเปลี่ยนความคิด ความรู้สึก และเปิดเผยตนเอง
ตอบ (5) แลกเปลี่ยนความคิด ความรู้สึก และเปิดเผยตนเอง
117. ในการทดลองเรื่อง ผลได้-ผลเสีย พบอะไร
(1) กลุ่มตัวอย่างไม่ชอบคนติ แม้จะกล่าวชมภายหลัง
(2) กลุ่มตัวอย่างชอบคนที่ชมแล้วติ มากกว่าคนที่ติแล้วกลับมาชม
(3) กลุ่มตัวอย่างจะเรียกร้องในกรณีที่ตนรู้สึกสูญเสีย
(4) กลุ่มตัวอย่างจะชอบคนที่ติแล้วกลับมาชมมากกว่าคนที่ชมอย่างเดียว
(5) กลุ่มตัวอย่างที่ไม่ชอบคนที่ติไม่ว่ากรณีใดๆ
ตอบ (4) กลุ่มตัวอย่างจะชอบคนที่ติแล้วกลับมาชมมากกว่าคนที่ชมอย่างเดียว
118. การคล้อยตามกลุ่มจะเกิดขึ้นในกรณีใด
(1) คนอื่นในกลุ่มลงความเห็นตรงกันหมด (2) บุคคลเชื่อมั่นในตนเองสูง
(3) บุคคลถูกเนรเทศออกจากกลุ่ม (4) ขนาดของกลุ่มมีจำนวน 8 คนขึ้นไป
(5) ขนาดของกลุ่มมีจำนวน 10 คนขึ้นไป
ตอบ (1) คนอื่นในกลุ่มลงความเห็นตรงกันหมด
119. บทบาทของสมาชิกแต่ละตำแหน่ง มีความสำคัญอย่างไร
(1) สมาชิกของแต่ละกลุ่มอาจมีหลายบทบาท
(2) สมาชิกจะต้องปรับบทบาทให้คล้อยตามกลุ่ม
(3) บทบาทของผู้นำสำคัญกว่าบทบาทของสมาชิก
(4) บุคคลที่มีหลายบทบาทอาจนำไปสู่ความขัดแย้งได้
(5) บทบาทช่วยให้ทราบแบบแผนของพฤติกรรมที่ถูกคาดหวัง
ตอบ (5) บทบาทช่วยให้ทราบแบบแผนของพฤติกรรมที่ถูกคาดหวัง
120. นักจิตวิทยาสังคมเรียกความเกลียดชังรุนแรงที่ขาดเหตุผล นำไปสู่การแบ่งแยกว่าอะไร
(1) อคติ
(2) ความก้าวร้าว
(3) เจตคติ
(4) ภาพพจน์เกินจริง
(5) ปฏิกิริยาทางลบ
ตอบ (1) อคติ