การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2100 (MC 210) การประชาสัมพันธ์เบื้องต้น

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1.         เพราะเหตุใดวิชาการประชาสัมพันธ์จึงมุ่งให้ผู้ศึกษามีความเข้าใจในมนุษย์และสังคม

(1)       แก้ไขสิ่งร้ายให้กลายเป็นดี

(2)       สร้างชื่อเสียงทางด้านการตลาดให้สถาบัน

(3)       ส่งผลความไพบูลย์ให้กับธุรกิจขององค์กร

(4)       ให้ประชาชนมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน

ตอบ 4 หน้า 27คำนำ วิชาการประชาสัมพันธ์จะช่วยให้ผู้ศึกษามีความรู้ความเข้าใจในมนุษย์และสังคม ได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ความคิดกว้างไกลและมองปัญหาต่าง ๆ ด้วยความเที่ยงธรรมและสุขุมรอบคอบ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เข้าใจถึงรากฐานของการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลต่อบุคคล บุคคลต่อหน่วยงาน หรือระหว่างสถาบันกับสังคมภายนอก (สาธารณชนทั่วไป) ฯลฯ อันมีผลให้ประชาชน มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน และเกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อสถาบัน

2.         วิธีการประชาสัมพันธ์มุ่งให้นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับใคร

(1)       สาธารณชน     

(2) อาจารย์ – เจ้าหน้าที่

(3) กลุ่มชมรมต่าง ๆ    

(4) นักศึกษาสื่อสารมวลชน

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

3.         งานประชาสัมพันธ์ในเชิงรุกเกี่ยวข้องกับสิ่งใดมากที่สุด

(1)       สร้างยอดขายทะลุเป้า 

(2) เผยแพร่การโฆษณาผลิตภัณฑ์อย่างแปลกใหม่

(3) จับประเด็นช่วยเหลือสังคมตามสถานการณ์โลก 

(4) สร้างบทบาททางเศรษฐกิจและการเมือง

ตอบ 3 หน้า 55, (คำบรรยาย) ความมุ่งหมายของงานประชาสัมพันธ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.         เพื่อสร้างความนิยม (Goodwill) คือ การประชาสัมพันธ์เชิงรุกที่แสดงออกให้ประชาชน เห็นถึงการดำเนินกิจการของสถาบัน เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนกับ สถาบัน เช่น การรณรงค์เรื่องต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือสังคม ฯลฯ

2.         เพื่อป้องกันชื่อเสียง (Reputation) คือ การประชาสัมพันธ์เชิงรับที่พยายามขจัดความขัดแย้ง ต่าง ๆ อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดแก่ประชาชน ดังที่ Sam Black ได้กล่าวว่าการประชาสัมพันธ์ คือ การกระทำเพื่อค้นหาและทำลายเสียซึ่งที่มาของความเข้าใจผิด

4.         การประชาสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับข้อใด

(1)       Public Information (2) Psychology (3) Public Relation (4) Public Relations

ตอบ 4 หน้า 79 – 10 การประชาสัมพันธ์ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “Public Relations”หมายถึง วิธีการของสถาบันที่มีแผนการและกระทำต่อเนื่องกันไปในอันที่จะสร้างหรือรักษาไร้ ซึ่งความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มประชาชน เพื่อให้สถาบันกับกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจ ให้ความสนับสนุนร่วมมือซึ่งกับและกัน และเพื่อให้งานของสถาบันดำเนินไปด้วยดี โดยมีประชามติเป็นแนวบรรทัดฐาน

5.         ข้อใดคือคุณสมบัติขององค์กรในลักษณะการประชาสัมพันธ์

(1)       นักเรียนมัธยมสาธิต ม.ร. ได้รับเลือกเป็นอันดับหนึ่งสุดยอดดีเจ         (2) จาง ซื่อยี่ จอมใจบ้านมีดบิน

(3) ไทสัน หมดลายโดนน็อก    (4) กะเทาะชีวิตวัยรุ่นยุค X

ตอบ 1 หน้า 8 ระดับหรือคุณสมบัติของสถาบันหรือองค์กร คือ การใช้ถ้อยคำเพื่อแสดงระดับหรือ คุณสมบัติของสถาบันหนึ่ง ๆ ว่าดีหรือเลวแค่ไหน เพียงไร ในสายตาและความนิยมของ ประชาชน โดยถ้าชื่อเสียง กิจกรรม หรือผลงานของสถาบันมีประขาขนนิยมเลื่อมใสและรู้จัก กันอย่างกว้างขวางก็นับเป็นการประชาสัมพันธ์ที่ดี แต่ถ้าประชาชนไม่รู้จัก ไม่ใคร่นิยมเลื่อมใส หรือไม่สนใจในสถาบันก็นับเป็นการประชาสัมพันธ์ที่ไม่ดี

6.         ผู้บริหารมีภาระหน้าที่ตัดสินใจวางแผนในเรื่องใดให้องค์กร

(1)       บริการต้อนรับ  (2) ประชาสัมพันธ์       (3) ติดต่อสอบถาม      (4) โฆษณาผลิตภัณฑ์

ตอบ 2 หน้า 1220, (คำบรรยาย) ฝ่ายบริหาร (Executive) หรือฝ่ายจัดการ จะถือว่าการประชาสัมพันธ์ เป็นส่วนหนึ่งของงานในภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของตน ดังนั้นในการดำเนินงาน ประชาสัมพันธ์ ผู้ที่เป็นฝ่ายบริหารสูงสุดขององค์กรจะเป็นฝ่ายตัดสินใจวางแผนกำหนดนโยบาย และมอบหมายนโยบายนั้นให้นักประชาสัมพันธ์วางแผนงานไปสู่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ได้รับผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์

7.         การชักจูงใจให้ประชาชนสนับสนุนร่วมมือในการประหยัดพลังงานอย่างจริงจัง คือการสื่อสารในข้อใด

(1)       การโฆษณาชวนเชื่อ (2) การโฆษณาสินค้า     (3) การเผยแพร่           (4) การส่งเสริมการจำหน่าย

ตอบ 3 หน้า 16, (คำบรรยาย) การเผยแพร่ (Publicity) หรือการโฆษณาเผยแพร่ เป็นการป่าวประกาศปลุกความสนใจ และความนิยมในบุคคลหรืออุดมการณ์ โดยมีจุดมุ่งหมายที่แท้จริง คือ การเผยแพร่ข่าวสาร ความรู้ความเข้าใจ ชักจูงใจให้ประชาชนเกิดความสนใจ นิยมเลื่อมใส และเพื่อขอความสนับสนุนร่วมมือจากประชาชน ซึ่งคำขวัญจูงใจการเผยแพร่ส่วนใหญ่มักขึ้นตัน ด้วยคำว่า โปรด” เช่น โปรดช่วยกันประหยัดพลังงาน ประหยัดน้ำ และประหยัดไฟ เป็นต้น

8.         บางกรณีการโฆษณาขายสินค้าถูกนำไปใช้ร่วมกับอะไร

(1)       การโฆษณาชวนเชื่อ    (2) ภาพลักษณ์

(3) การโฆษณาประชาสัมพันธ์            (4) การส่งเสริมการจำหน่าย

ตอบ 1 หน้า 14-15 การโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) คือ การเผยแพร่ลัทธินิยมโดยเจตนา จะโน้มน้าวชักจูงใจคนด้วยกลวิธีต่าง ๆ ให้หลงเชื่อ เห็นดีเห็นงาม โดยมีลักษณะสำคัญคือ พูดเอาแต่ได้ เรื่องเท็จก็ว่าจริง พยายามปิดซ่อนที่มาของแหล่งข่าว จึงเป็นการสื่อสารทิศทางเดียว เพราะเสนอข่าวแต่เพียงด้านเดียวและเป็นไปทางด้านดีทั้งนั้น ซึ่งในปัจจุบันการโฆษณาชวนเชื่อ ถูกนำมาใช้เป็นสื่อร่วมกับการโฆษณาขายสินค้าเพราะทำแล้วได้ผลดี

9.         มีข้อใดถูกต้องเมื่อเกี่ยวข้องกับงานประชาสัมพันธ์

(1)       การสื่อสารส่วนบุคคล  (2) การสื่อสารจากผู้นำไปสู่มวลชน

(3) รับโทรศัพท์และบอกทาง   (4) กำกับดูแล เสนอแนะองค์กร

ตอบ 4 หน้า 3653 – 55, (คำบรรยาย) ลักษณะของงานประชาสัมพันธ์ มีดังนี้

1.         เป็นงานระดับบริหาร ซึ่งเกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลและเสนอแนะองค์กร จึงไม่ใช่ งานต้อนรับที่คอยรับโทรศัพท์และบอกทางให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ

2.         เป็นงานที่ต้องอาศัยการติดต่อไปมาทั้งสองฝ่าย คือ เป็นการสื่อสารจากสถาบันไปสู่มวลชน และจากมวลชนมาสู่สถาบันควบคู่กันไปตลอดเวลา

3.         เป็นงานที่ต้องเปิดเผยข้อเท็จจริง 100% โดยไม่ปิดกั้นข้อมูลข่าวสารเรื่องราว

4.         เป็นงานที่ช่วยบ้องกันและแก้ไขความเข้าใจผิด เอาชนะกันด้วยความคิดและความถูกต้อง ฯลฯ

10.       เมื่อท่านไปสมัครประกวดร้องเพลงที่บริษัทสยามกลการ ด่านแรกที่จะต้องเข้าไปติดต่อด้วยคือข้อใด

(1)       Publicity  (2) Public Relations

(3) Public Relations Advertising        (4) Information

ตอบ 4 หน้า 95 – 98 แผนกติดต่อสอบถาม (Information) ถือเป็นบริการของหน่วยงานด่านแรก ที่ได้จัดไว้ให้กับประชาชน โดยเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการจะคอยชี้แจงเรื่องราวต่าง ๆ ตอบคำถาม ผู้มาติดต่อที่ไม่เข้าใจ และพร้อมที่จะให้บริการที่ดี มีคุณภาพ ดังนั้นจึงทำหน้าที่เป็นเหมือน ผู้ต้อนรับ (Receptionist) ที่ไม่ต้องมีส่วนร่วมในการบริหารงานองค์กร ไม่ต้องวางแผนงาน สำรวจวิจัย และปฏิบัติการสื่อสารเพื่องานประชาสัมพันธ์ ตลอดจนไม่ต้องมาประเมินผลงาน เหมือนกับนักประชาสัมพันธ์ระดับบริหาร

11.       ข้อใดคือคำขวัญจูงใจการเผยแพร่

(1) ดอกผลจะเพิ่มพูน เมื่อฝากเงินกับซิตี้แบงก์           

(2) น้ำใสได้ด้วยน้ำใจ โรงแรมแม่น้ำ

(3) โปรดช่วยกันประหยัดไฟเสียแต่วันนี้          

(4) การบินไทย สายการบินของคนไทย

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ

12.       เพราะเหตุใดจึงนำประชามติมาใช้ในงานประชาสัมพันธ์

(1) ให้เกิดความรู้สึกคล้อยตาม           

(2) เกิดผลตอบแทนโดยเร็ว

(3) มุ่งเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 

(4) รับฟังความคิดเห็นของพลเมือง

ตอบ 4 หน้า 22 – 23 วิธีการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ต้องเป็นการติดต่อไปมาทั้งสองฝ่าย(Two Way Communication) กล่าวคือ เป็นการกระทำที่มีไปจากสถาบันไปสู่ประชาชน วิถีทางหนึ่ง ในขณะเดียวกันก็คอยรับฟังความคิดเห็นของมวลชนหรือพลเมือง ซึ่งเรียกว่า การสำรวจตรวจสอบประชามติ” เพื่อนำกระแสประชามตินั้นให้สถาบันทราบและนำมา พิจารณาแก้ไขปรับปรุง

13.       วัตถุประสงค์ของปรัชญาการบริหารงานประชาสัมพันธ์ คืออะไร

(1) สร้างสรรค์ความคิดในงานโฆษณา            

(2) สร้างความเลื่อมใสศรัทธา

(3) ปกป้องข้อผิดพลาดขององค์กร     

(4) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 2 หน้า 19-20 Paul WGarrett นักประชาสัมพันธ์ชาวอเมริกันรุ่นบุกเบิก ได้กล่าวว่า ปรัชญาการบริหารของงานประชาสัมพันธ์นั้นจะเน้นในเรื่องของจิตใจที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ นึกถึงผู้อื่นมากกว่าตนเอง ให้ความสนใจต่อประชาชนเป็นอันดับแรก…” ดังนั้นธุรกิจใดก็ตาม สามารถสร้างความพอใจให้แก่ชุมชน ย่อมได้รับความไว้วางใจ ความร่วมมือร่วมใจ ตลอดจน ความเชื่อถือเลื่อมใสศรัทธาจากประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งสิ่งนี้เองเป็นวัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุด ของการประชาสัมพันธ์

14.       สมาคมนักประชาสัมพันธ์สหรัฐอเมริกามีบทบาทอย่างไร

(1) กำหนดจรรยาบรรณนักประชาสัมพันธ์      (2) ควบคุมการจัดทำข่าวโทรทัศน์นานาชาติ

(3) กำหนดมาตรฐานการโฆษณาทางโทรทัศน์            (4) ที่ปรึกษาสำนักข่าวโลก ซีเอ็นเอ็น.

ตอบ 1 หน้า 42 – 43 สมาคมนักประชาสัมพันธ์ของสหรัฐอเมริกา (PRSA) ได้ริเริ่มก่อตั้งเพื่อกำหนด หลักจรรยาบรรณของนักประชาสัมพันธ์ (The PRSA Code) ขึ้นมาในปี ค.ศ. 1954 โดยได้ วางหลักการเพื่อให้บริการในระดับที่ดีเด่นกับประชาชนและมวลชนนานาชาติ จนเป็นที่ ยอมรับนับถือเป็นหลักในการปฏิบัติงานโดยทั่วไป

15.       การสารนิเทศโดยกรมประชาสัมพันธ์ในต่างประเทศ คือข้อใด

(1) สำนักข่าวไทย        (2) สำนักข่าวไทยภาคโพ้นทะเล

(3) สำนักงานโฆษณาประชาสัมพันธ์  (4) สำนักงานแถลงข่าวไทย

ตอบ 4 หน้า 17-18 การสารนิเทศ (Information Service) คือ การให้ข่าวสารข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพื่อเผยแพรให้ชาวต่างชาติได้รู้จักประเทศไทย เช่น นโยบายของรัฐบาล ศิลปวัฒนธรรมไทย รวมทั้งการให้ความสะดวก ช่วยเหลือ ปรับความเข้าใจ แก้ไขความเข้าใจผิด และการแสดง อัธยาศัยไมตรีหรือผูกสัมพันธไมตรี ฯลฯ ซึ่งประเทศไทยได้ทำการสารนิเทศมานานแล้ว โดยมีสำนักงานแถลงข่าวไทยในสังกัดของกรมประชาสัมพันธ์ อยู่ที่กรุงวอชิงตัน ลอนดอน ฯลฯ

16.       สถาบันใดได้ส่งเสริมบทบาทของสตรีในวงการประชาสัมพันธ์นานาชาติ

(1) สมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งเคมบริดจ์    (2) กองทุนพัฒนาสตรีแห่งสหประชาชาติ

(3) สมาคมนักประชาสัมพันธ์ภาคตะวันออกสหรัฐฯ (4) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 32 – 33 สมาคมนักประชาสัมพันธ์ของสหรัฐอเมริกา (PRSA) ได้ให้ความร่วมมือกับ หน่วยงานธุรกิจเอกชนที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง เพื่อจัดทำโครงการให้ความช่วยเหลือสตรี ส่งเสริมสถานภาพและบทบาทของสตรีเพื่อประกอบอาชีพในงานประชาสัมพันธ์ โดยมีการ จัดพิมพ์คู่มือแนะแนวอาชีพและให้คำแนะนำที่มีประโยชน์หลายอย่าง ดังนั้นจึงนับได้ว่า เป็นการเปิดโอกาสอันดีที่จะทำให้สตรีก้าวเข้าสู่อาชีพนี้มากขึ้น

17.       สำนักงานที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์ มีลักษณะตามข้อใด

(1) วิจัยการตลาด        (2) สร้างสรรค์ความคิดในงานโฆษณา

(3) รัฐวิสาหกิจ (4) บริหาร ให้คำแนะนำ

ตอบ 4 หน้า 35 – 36 สำนักงานที่ปรึกษาทางด้านการประชาสัมพันธ์ หรือเรียกว่า บริษัทรับจ้างทำประชาสัมพันธ์ (Public Relations Agency) หมายถึง หน่วยงานธุรกิจของเอกชนที่รับจ้าง ทำประชาสัมพันธ์ให้แก่สถาบันและองค์กรต่าง ๆ โดยดำเนินงานด้านการบริหาร ให้คำแนะนำ ปรึกษา วางแผนงานนโยบาย สำรวจค้นคว้าวิจัย สร้างความสัมพันธ์อันดีกับประชาชนและสถาบันที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งดำเนินงานทางด้านประชาสัมพันธ์ เช่น เขียนข่าว บทความ จัดทำภาพข่าว ฯลฯ โดยอาศัยเครื่องมือหรือสื่อมวลชนต่าง ๆ

18.       “Press Agent” เกี่ยวข้องกับงานประชาสัมพันธ์ตามข้อใด

(1) วางแผนประชาสัมพันธ์ระยะสั้น    (2) วิจัย วางแผนประชาสัมพันธ์ในเชิงรับ

(3) รับจ้างสถาบันธุรกิจเขียนข่าว        (4) สำรวจประชามติ

ตอบ 3 หน้า 36 สำนักงานของนักหนังสือพิมพ์ หรือสำนักงานเผยแพร่ (Press Agent) มีชื่อเรียก อีกอย่างหนึ่งว่า ตัวแทนเผยแพร่ข่าว หรือสำนักบริการเผยแพร่ข่าว คือ หน่วยงานรับจ้าง สถาบันธุรกิจเขียนข่าว บทความ จัดทำภาพข่าว เพื่อเผยแพร่ความเคลื่อนไหวและ ความก้าวหน้าในกิจการต่าง ๆ ขององค์กรให้ประชาชนได้ทราบ

19.       จรรยาบรรณของนักประชาสัมพันธ์ใบประเทศสหรัฐฯ และประเทศญี่ปุ่น เกี่ยวข้องกับข้อใด

(1) กฎหมายรัฐธรรมนูญ         (2) พระราชบัญญัติการพิมพ์

(3) กฎหมายสื่อสารมวลชน     (4) การควบคุมตัวเอง

ตอบ 4 หน้า 42, (คำบรรยาย) จรรยาบรรณของนักประชาสัมพันธ์ในประเทศสหรัฐฯ และประเทศ ญี่ปุ่นนั้น จะเกี่ยวข้องกับการใช้ศีลธรรมหรือจริยธรรมในใจของนักประชาสัมพันธ์แต่ละคน ทั้งนี้เพราะจรรยาบรรณไม่ได้ถูกควบคุมและลงโทษด้วยกฎหมาย แต่เป็นการควบคุมตัวเองว่า สิ่งไหนควรทำหรือไม่ควรทำ

20.       เพราะเหตุใดองค์กรที่ปรึกษาการประชาสัมพันธ์จึงเริ่มต้นจากสำนักงานหนังสือพิมพ์

(1) ประชาชนให้ความเชื่อถือ   (2) นักหนังสือพิมพ์ติดต่อกับสื่อมวลชนได้ดี

(3) อาชีพประชาสัมพันธ์ยังไม่เกิดขึ้น  (4) รัฐสภาให้การรับรอง

ตอบ 2 หน้า 36 บริษัทรับจ้างทำประชาสัมพันธ์ หรือสำนักงานที่ปรึกษาทางด้านการประชาสัมพันธ์ เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1920 โดยมีกำเนิดและวิวัฒนาการมาจากสำนักงานของนักหนังสือพิมพ์ (Press Agent) หรือสำนักงานเผยแพร่ ซึ่งจะรับจ้างบริษัทห้างร้านหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเป็นตัวแทนเผยแพร่ข่าว เนื่องจากสำนักงานของนักหนังสือพิมพ์สามารถติดต่อสัมพันธ์กับ สื่อหนังสือพิมพ์ หรือสื่อมวลชนต่าง ๆ ได้ดี

21.       ผู้ก่อตั้งสำนักงานที่ปรึกษาการประชาสัมพันธ์ที่มีชื่อเสียงเป็นอันดับหนึ่งของโลกคือ

(1) John WHill 

(2) John D. Rockefeller

(3) Paul Garrett 

(4) Benjamin Franklin

ตอบ 1 หน้า 353869 John WHill อดีตนักหนังสือพิมพ์อเมริกัน ได้ก่อตั้งสำนักงานที่ปรึกษา ทางด้านการประชาสัมพันธ์ หรือบริษัทรับจ้างทำประชาสัมพันธ์ที่ใหญ่โตมีชื่อเสียงเป็นอันดับหนึ่ง ของโลกชื่อว่า Hill and Knowlton (H & K) ซึ่งได้รับการยอมรับและให้บริการปรึกษาแนะนำ หน่วยงานของรัฐบาล ธุรกิจเอกชน ตลอดจนสถาบันชั้นนำนับร้อยกว่าแห่งด้วยกัน

22.       เพราะเหตุใดสถาบันรับจ้างประชาสัมพันธ์จึงคิดค่าบริการแตกต่างกัน

(1) ระดับความรู้ที่แตกต่างกันของนักประชาสัมพันธ์ 

(2) ระยะเวลาที่ว่าจ้าง

(3) ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า  

(4) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 89 – 90 อัตราค่าบริการในการดำเนินงานประชาสัมพันธ์นั้นจะขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญดังนี้คือ         1. จำนวนนักประชาสัมพันธ์ในโครงการ 2. ระยะเวลาที่ต้องให้คำปรึกษาแนะนำ 3. ค่าใช้จ่ายและงบประมาณที่ต้องจัดเตรียมไว้ล่วงหน้า           4. เงินทดรองจ่ายไปก่อน เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าเดินทาง ฯลฯ 5. ผลกำไรที่ควรได้รับ

23.       การปฏิวัติเปลี่ยนรูปโฉมการประชาสัมพันธ์ใหม่เกี่ยวข้องกับข้อใด

(1) ประกาศหลักการ”        

(2) ศักราชของแจคสัน

(3) เสียงของประชาชนคือเสียงของพระผู้เป็นเจ้า       

(4) ลูกค้าของเรานั้นเป็นฝ่ายถูกเสมอ

ตอบ 1 หน้า 67 ไอวี่ ลี (Ivy Lee) ถือเป็นบุคคลที่ได้ริเริ่มเสนอบริการเอกสารข่าวแจก (Press Releases) ไปให้หนังสือพิมพ์เป็นคนแรก รวมทั้งได้ ประกาศหลักการ” (Declaration of Principles) ไว้ในจดหมายที่มีไปถึงหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ว่า “…แผนงานของเราเปิดเผยทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความเกี่ยวพันกับธุรกิจหรือประชาชนทั่วไป…” ซึ่งข้อความในประกาศหลักการนี้ถือได้ว่า เป็นการปฏิวัติเปลี่ยนรูปโฉมการประชาสัมพันธ์ใหม่เลยทีเดียว

24.       จากข้อ 23. ใครคือผู้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงรูปโฉมการประชาสัมพันธ์ใหม่

(1)       Amos Kendall (2) Gutenberg    (3) Ivy Lee (4) William Vanderbilt

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 23. ประกอบ

25.       ปัญหาขาดการประชาสัมพันธ์ภายในองค์กรเกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร

(1)       นัดหยุดงาน     (2) ประชาชนไม่ยอมรับสถาบัน

(3) ผู้ใช้บริการขาดความรู้ในนโยบายของบริษัท         (4) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 50 ปัญหาขาดการประชาสัมพันธ์ภายในสถาบันหรือองค์กรจะเกิดขึ้น เมื่อปรากฏว่า

1.         พนักงานขาดความรู้ความเข้าใจในนโยบาย กิจการ และผลงานของสถาบัน

2.         พนักงานแตกแยกไม่สามัคคีกัน 3. เกิดการนัดหยุดงาน         4. ขาดความยุติธรรม

5.         มาทำงานน้อย ขาดงานและลาออกจากงานกันมาก   6. ไม่รักงาน ทำงานอย่างเสียไม่ได้

7. ผลิตผลตกต่ำ          8. ขาดการติดต่อสัมพันธ์กับระหว่างฝ่ายบริหารกับคนงาน

9.         พนักงานเอาเรื่องไม่ดีงามไปพูดกับคนภายนอก

10.       พนักงานไม่รู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของสถาบัน

26.       ตั้งที่ติดต่อสอบถาม เป็นกิจกรรมตามข้อใด

(1)       การประชาสัมพันธ์ธุรกิจ          (2) การสารนิเทศ

(3) โฆษณาประชาสัมพันธ์      (4) การประชาสัมพันธ์ภายใน

ตอบ 4 หน้า 50, (คำบรรยาย) กิจกรรมประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร คือ กิจกรรมที่สร้าง ความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันกับกลุ่มมวลชนภายในองค์กร ได้แก่

1.         กำหนดแผนงานประชาสัมพันธ์           2. ตั้งที่ติดต่อสอบถาม (Information)

3.         ตั้งแผงปิดประกาศ     4. ออกวารสารข่าวภายใน

5.         จัดงานพิเศษ เช่น งานพบปะสังสรรค์ในเทศกาลต่าง ๆ จัดแข่งขันกีฬา ฯลฯ

6.         ให้หยุดพักผ่อน ให้ทุนการศึกษาแก่บุตรของพนักงาน ฯลฯ

27.       ชุมชนในท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยรามคำแหง คืออะไร

(1)       โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า

(2)       นักศึกษา – อาจารย์ – เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง

(3)       ประชาชนคลองกุ่ม     (4) การกีฬาแห่งประเทศไทย

ตอบ 4 หน้า 51 กลุ่มประชาชนในท้องถิ่น หมายถึง กลุ่มประชาชนภายนอกสถาบันที่อาศัยอยู่ใน ท้องถิ่นเดียวกันกับสถาบัน หรือที่กิจการของสถาบันได้ดำเนินอยู่ โดยจะมีสภาพทั่วไปคล้าย เพื่อนบ้าน ซึ่งจะมีขอบเขตแค่ไหน อย่างไร ย่อมขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้งดำเนินกิจการ ตลอดจน รัศมีแห่งความสัมพันธ์ที่มีไปโดยรอบ เช่น ถ้าสถาบันคือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อนบ้านก็คือ การกีฬาแห่งประเทศไทย วัดเทพลีลา ฯลฯ

28.       ข้อใดคือกิจกรรมประชาสัมพันธ์ภายนอกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง

(1)       จัดฝึกอบรมพนักงานเรื่องการเขียนข่าว          (2) จัดงานขอบคุณสื่อมวลชน

(3) ออกวารสารข่าวรามคำแหง            (4) ตั้งป้ายเผยแพร่ข่าวการเลือกตั้ง อ.ศ.ม.ร.

ตอบ 2 หน้า 52, (คำบรรยาย) กิจกรรมประชาสัมพันธ์ภายนอกองค์กร คือ กิจกรรมที่สร้าง ความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันกับชุมชน หรือกลุ่มมวลชนภายนอกองค์กร ได้แก่

1.         ออกหนังสือพิมพ์ วารสาร ฯลฯ เพื่อเผยแพร่

2.         เขียนข่าวและบทความ จัดรายการเพื่อเผยแพร่สถาบัน โดยเสนอผ่านสื่อมวลชน

3.         จัดประชุมผู้สื่อข่าว จัดงานขอบคุณสื่อมวลชน

4.         จัดงานพิเศษ งานแข่งขันกีา นิทรรศการ จัดอบรมบรรยายพิเศษ และปาฐกถา

5.         บริการให้ประชาชนเข้าชมหน่วยงาน

6.         ถ่ายภาพ สไลด์ จัดทำภาพยนตร์ออกเผยแพร่ ฯลฯ

29.       แถลงข่าวรายวัน” ของชาวโรมันเกี่ยวข้องกับข้อใด

(1) ข่าวจากอียิปต์ จีน อินเดีย

(2)       การประกาศกฎหมาย            (3) บันเทิง       (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 59 ในสมัยโรมันโบราณมีการนำเสนอแถลงข่าวรายวัน หรือมีชื่อเรียกสั้น ๆ ว่า “Album” และมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “Acta Diuna” โดยเอกสารข่าวฉบับนี้มีลักษณะเป็น ป้ายกระดาษสีขาวที่เขียนประกาศข่าวของทางราชการติดไว้ที่หน้าสภาซีเนตในกรุงโรม เช่น ข่าวประกาศกฎหมาย ประกาศการคลังเกี่ยวกับรายรับรายจ่าย ภาษีอากร ข่าวไฟไหม้ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ข่าวการเกิด การตาย เป็นต้น

30.       ใบปลิวประกาศพระบรมราชโองการห้ามสูบฝิ่น เป็นการเผยแพร่ข่าวสารสู่ประชาชนเป็นครั้งแรกในสมัยใด

(1) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว       (2) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

(3)       พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     (4) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 1 หน้า 78 ในปี พ.ศ. 2382 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ได้ทรงว่าจ้าง หมอบรัดเลย์ให้พิมพ์ใบปลิวประกาศพระบรมราชโองการห้ามสูบฝิ่นเป็นจำนวน 9.000 ฉบับ จึงนับเป็นครั้งแรกที่ทางราชการได้เริ่มใช้การพิมพ์เอกสารโฆษณาเผยแพร่ไปสู่ประชาชน

31.       การประชาสัมพันธ์ในสหรัฐฯ ยุคก่อนไอวี่ ลี มีวิธีการสื่อสารตามข้อใด

(1) การสื่อสารระหว่างบุคคล  

(2) การสื่อสารสองทิศทาง

(3) การสื่อสารทิศทางเดียว     

(4) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 3 หน้า 1668 ในระยะก่อนการปฏิบัติงานของไอวี่ ลี สังคมอเมริกันมีวิธีการดำเนินการประชาสัมพันธ์แบบการสื่อสารทิศทางเดียว (One Way Process) คือ เผยแพร่แต่ฝ่ายเดียว ไม่ได้คิดแก้ไขและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งแตกต่างกับการประชาสัมพันธ์สมัยใหม่ แบบการสื่อสารสองทิศทาง หรือระบบยุคลวิถี (Two Way Process) ของไอวี่ ลี คือ เผยแพร่ ข่าวสารจากสถาบันไปสู่สังคมและสะท้อนความคิดของสังคมกลับสู่สถาบันด้วย

32.       ช่วงระยะเวลาแรกในกำเนิดการประชาสัมพันธ์สมัยใหม่ วงการธุรกิจเอกชนมีลักษณะตามข้อใด

(1) นายทุนอเมริกันจ้างนักหนังสือพิมพ์เขียนข่าวเท็จ 

(2) แนวทางการประชาสัมพันธ์ยังสับสนอยู่ 

(3) ประชาชนควรรู้ข่าวสารต่าง ๆ  

(4) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 65 ในปี ค.ศ. 1865 – 1900 ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาแรกของกำเนิดการประชาสัมพันธ์ สมัยใหม่ วงการธุรกิจเอกชนได้ถูกกล่าวหาว่าดำเนินกิจการเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้นายทุน แต่เพียงอย่างเดียว โดยฝ่ายนายทุนอเมริกันได้ว่าจ้างนักหนังสือพิมพ์ให้เขียนข่าวเท็จขึ้น เพื่อเผยแพร่คุณความดีของบริษัทต่าง ๆ ดังนั้นแนวทางการประชาสัมพันธ์ในสมัยนี้จึงยังคง สับสนอยู่ แต่ก็มีผู้ให้ความสนใจเพิ่มขึ้น

33.       งานประชาสัมพันธ์ในสมัยไอวี่ ลี มีข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) งานของเราเปิดเผยเว้นแต่ความลับทางธุรกิจ        

(2) ลดการขัดแย้ง เน้นการแก้ปัญหา

(3) ให้ความสำคัญกับประชาชน         

(4) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 23. ประกอบ

34.       การสื่อสารประชาสัมพันธ์จากอดีตไปสู่การประชาสัมพันธ์สมัยใหม่เรียกว่าอะไร

(1)       ระบบทิศทางเดียว      (2) สองทิศทาง            (3) พหุภาพ      (4) กระบวนการดูดซึมความคิด

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 31. ประกอบ

35.       ข้อใดไม่ใช่ความหมายของนักประชาสัมพันธ์

(1) Receptionist

(2)       Public Relations Man     (3) P.R. Counselor     (4) P.R. Officer

ตอบ 1 หน้า 71, (คำบรรยาย), (ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ) ความหมายของนักประชาสัมพันธ์ (Public Relations Man : P.R. Man) อาจมีชื่อเรียกได้อีกหลายอย่าง ได้แก่

1.         เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ (Public Relations Officer : P.R. Officer)

2.         ที่ปรึกษาการประชาสัมพันธ์ (Public Relations Counselor : P.R. Counselor)

36.       องค์กรใดในสหรัฐๆ ได้เปิดสอนวิชาประชาสัมพันธ์ขึ้นเป็นครั้งแรก   

(1) มหาวิทยาลัยคอร์แนล

(2)       สถาบัน เอ็ม. ไอ. ที.     (3) มหาวิทยาลัยบอสตัน         (4) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 7072 ในปี ค.ศ. 1923 Edward L. Bernays ได้เปิดสอนหลักสูตรวิชาการประชาสัมพันธ์ ขึ้นที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์กเป็นแห่งแรก ซึ่งนับว่าเป็นการเปิดบรรยายวิซาการประชาสัมพันธ์ ขึ้นเป็นครั้งแรกในระดับมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกา โดยมีนักวิชาการเขียนตำราเกี่ยวกับ การประชาสัมพันธ์ไว้มากมายหลายเล่มด้วยกัน

37.       ใครคือผู้นำวิธีการโฆษณากิจการแบบสร้างข่าวมาเผยแพรในประเทศอังกฤษ

(1) ผู้บริหารฟาร์มโคนม           (2) ผู้อำนวยการโรงงานผลิตรถยนต์

(3)       ประธานบริษัทประกันชีวิต     (4) เจ้าของโรงงานทำเนย

ตอบ 4 หน้า 74, (คำบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1881 Thomas J. Lipton เจ้าของโรงงานทำเนย ชาวสกอตแลนด์ได้นำวิธีการโฆษณากิจการแบบสร้างข่าวเกี่ยวกับบริษัทของตนเข้ามา ดำเนินการเผยแพร่ที่เมืองกลาสโกลว์ ประเทศอังกฤษ เพื่อให้หนังสือพิมพ์ลงข่าวเป็นครั้งแรก ดังนั้นวิธีการโฆษณากิจการแบบสร้างข่าว (ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า การประชาสัมพันธ์) จึงถือเป็น ข่าวการประชาสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ

38.       หลังสงครามประกาศอิสรภาพของสหรัฐฯ แหล่งชุมนุมของหนุ่มสาวชาวฝรั่งเศสผู้สนใจประชามติคือที่ใด

(1) โรงละคร    (2) ร้านกาแฟ   (3) ศูนย์การค้า            (4) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 2 หน้า 75 หลังจากสงครามประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกาสิ้นสุดลง ทหารฝรั่งเศสที่กลับ จากการรบได้เผยแพร่ความคิดในเรื่องสิทธิเสรีภาพ และความเป็นธรรมในการเสียภาษีของอเมริกา ไปยังประชาชน ทำให้หนุ่มสาวชาวฝรั่งเศสตื่นตัวในเรื่องประชามติและสิทธิเสรีภาพอย่าง กว้างขวาง โดยสถานที่ซึ่งประชาชนชอบไปชุมนุมพบปะเพื่อสนทนาแลกเปลี่ยนทัศนคติกันคือ ที่ Salons (ร้านกาแฟ) หรือในประเทศอังกฤษคือ Coffee House

39.       การประชาสัมพันธ์ในประเทศไทยได้เกิดขึ้นเมื่อใด

(1) กำเนิดของชนชาติไทย       (2) ภาพสัญลักษณ์ในถ้ำ

(3)       ชุมชนบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา (4) อาณาจักรสุโขทัย

ตอบ 1 หน้า 5876 – 77 ประวัติความเป็นมาของงานประชาสัมพันธ์มีมาพร้อมกับมนุษย์ดังนั้นการประชาสัมพันธ์ในประเทศไทยจึงเกิดขึ้นมา

พร้อมกับการกำเนิดของชนชาติไทย โดยสื่อประชาสัมพันธ์ของไทยในสมัยดั้งเดิม ได้แก่ การใช้คำพูดปลุกใจ การประชุมป่าวร้อง การใช้เพลงปลุกใจและสรรเสริญวีรกรรมของบรรพบุรุษ และการสร้างนิยายที่แสดงถึง ชาติกำเนิดของชนชาติไทย ฯลฯ

40.       สื่อประชาสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมในสมัยสุโขทัยคือข้อใด

(1) จารลงบนสมุดข่อย            (2) วรรณคดีสรรเสริญพระมหากษัตริย์

(3) ภาพฝาผนังชีวิตชาวบ้านที่วัดพนัญเชิง      (4) ผูกใบลาน

ตอบ 2 หน้า 77 สื่อประชาสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมในสมัยสุโขทัย ได้แก่ งานก่อสร้างสถานที่สำคัญ ทางศาสนา ปราสาทราชวัง การจัดระเบียบการปกครอง การสร้างวรรณคดีทางศาสนา การประชุมราษฎร การสร้างนิยายปรัมปราเพื่อสรรเสริญคุณความดีและความสามารถของผู้เป็นประมุข ซึ่งตัวอย่างที่สำคัญก็คือ หลักฐานที่ปรากฏในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง

41.       หนังสือแถลงการณ์” พิมพ์ในท้ายหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์เดอร์ฉบับแรกว่าด้วยเรื่องอะไร

(1) ข่าวการเมือง          

(2) คอลัมน์สตรีและเด็ก 

(3) ข่าวสังคม 

(4) รับจ้างแปลไทยเป็นอังกฤษ

ตอบ 1 หน้า 78 – 79 ในปี พ.ค. 2408 หมอบรัดเลย์ได้ลงพิมพ์ หนังสือแถลงการณ์” ในท้ายหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์เดอร์ฉบับแรก โดยมีข้อความว่า “…ตั้งแต่นี้ไปจะไมให้ติดอยู่กับ หน้าจดหมายเหตุที่เป็นภาษาอังกฤษนั้นต่อไป แต่จะให้มีที่ต่างหากเป็นสองใบสี่หน้าเต็ม ๆ เช่นอย่างฉบับนี้ และหนังสือนั้นจะจุความที่ว่าด้วยการบ้านการเมืองและความรอบรู้ตามหนังสือ…

42.       ผู้นำวิชาถ่ายรูปมาเผยแพร่ในประเทศไทยเป็นคนแรก คือใคร

(1) ปาลเลอกัว 

(2) เซอร์ริชชาร์ด          

(3) แหม่มแอนนา         

(4) โหมด อมาตยกุล

ตอบ 1 หน้า 79 ปาลเลอกัว (Pallegois) นักถ่ายรูปสมัครเล่นชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นสังฆราซแห่งลัทธิ โรมันคาทอลิกในประเทศไทย ได้นำวิชาถ่ายรูปเข้ามาเผยแพร่สู่ประเทศไทยเป็นคนแรก และ ได้สอนวิชาถ่ายรูปให้แก่บรรดาข้าราชการไทย โดยมีพระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) เป็นช่างภาพคนไทยคนแรก

43.       การจัดทำรายงานประจำปี บ้ายนิเทศ ภาพโฆษณา นับว่าเป็นหน้าที่นักประชาสัมพันธ์ในข้อใด

(1) การติดต่อสื่อสาร   

(2) การแก้ไขตกแต่งต้นฉบับ

(3) จัดทำรายการ         

(4) การโฆษณาสถาบัน

ตอบ 2 หน้า 85 การแก้ไขตกแต่งต้นฉบับ (Editing) หมายถึง ก่อนที่จะเผยแพร่สิ่งพิมพ์ของสถาบัน เช่น อนุสาร รายงานประจำปี จดหมาย สมุดคู่มือ เอกสารข่าว ป้ายนิเทศ ภาพโฆษณา ฯลฯ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ควรจะแก้ไขให้ถูกต้องเหมาะสม

44.       งานฉลองสงกรานต์ ถนนข้าวสาร เป็นกิจกรรมประชาสัมพันธ์ในข้อใด

(1)       Placement       (2) Promotion   (3) Communication  (4) Production

ตอบ 2 หน้า 85303 – 308 การส่งเสริมเผยแพร่ (Promotion) หมายถึง การจัดงานพิเศษเพื่อผลงานประชาสัมพันธ์ หรือเพื่อช่วยส่งเสริมเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของสถาบัน เช่น การจัดเฉลิมฉลองวันครบรอบปี วันสัปดาห์หรือเดือนพิเศษ การเปิดให้ชมกิจการ การจัดแสดง ต่าง ๆ นิทรรศการ ปีใหม่ เทศกาล การจัดงานเลี้ยงขอบคุณสื่อมวลชน งานแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ งานประกวดและให้รางวัลผู้มีเกียรติ งานรางวัลพนักงานดีเด่นประจำปี ฯลฯ

45.       ข้อใดไม่อยู่ในความรับผิดชอบของนักประชาสัมพันธ์

(1) สร้างสรรค์ความคิดในงานโฆษณา

(2)       กำหนดนโยบาย         (3) เหตุการณ์พิเศษ     (4) สถาบันการพูด

ตอบ 1 หน้า 88 ความรับผิดชอบของแผนกประชาสัมพันธ์ เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ได้ดังนี้

1.         หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์      2. สิ่งพิมพ์ของพนักงาน           3. เหตุการณ์พิเศษ

4.         กำหนดนโยบาย          5. แผ่นปลิวและหนังสือคู่มือต่าง ๆ

6. การตกแต่งต้นฉบับและการเขียน 7. รายงานประจำปี       8. การถ่ายภาพ

9. ความสัมพันธ์กับชุมชน        10. สถาบันการพูด ฯลฯ

46.       ความสัมพันธ์กับชุมชน เป็นงานประชาสัมพันธ์ในเรื่องใด     

(1) ประชาสัมพันธ์ภายใน

(2)       ประชาสัมพันธ์ภายนอก         (3) ประชาสัมพันธ์กับหนังสือพิมพ์      (4) ข้อ 1 และ 3

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 28. ประกอบ

47.       ประโยชน์ของแผนกประชาสัมพันธ์

(1)       ทำยอดขายให้บริษัทได้สูงสุด (2) มีความสามารถในทุกสถานการณ์

(3)       ใช้สื่อทีวีเพื่อการโฆษณาอย่างได้ผล   (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 92 – 93 ประโยชน์ของแผนกประชาสัมพันธ์ แบ่งออกเป็น 4 ประการ คือ

1.         ทำให้ผู้ร่วมงานสามัคคีกัน       2. ทำให้มีความรอบรู้ในกิจกรรมของสถาบันเป็นอย่างดียิ่ง

3.         นำผลประโยชน์มาสู่องค์กร 4. มีความสามารถสูงในทุกสถานการณ์

48.       ข้อใดเกี่ยวข้องกับหน่วยงาน “Information” 

(1) บริการดี มีคุณภาพ

(2)       จัดงานพบปะสังสรรค์            (3) แผนกการพูด         (4) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ

49.       นักประชาสัมพันธ์อิสระ คือใคร         

(1) ผู้โฆษณาเผยแพร่

(2)       นักประชาสัมพันธ์ภายนอกองค์กร      (3) ดารานักแสดง        (4) นักประชาสัมพันธ์เชิงธุรกิจ

ตอบ 2 หน้า 4294 นักประชาสัมพันธ์อิสระ คือ นักประชาสัมพันธ์ของบริษัทรับจ้างทำงานประชาสัมพันธ์ หรือนักประชาสัมพันธ์ภายนอกสถาบันหรือองค์กร ซึ่งได้รับการว่าจ้างให้ทำ หน้าที่วางแผนงานประชาสัมพันธ์ให้แก่องค์กรและสถาบันต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานธุรกิจหรือบริษัทห้างร้าน รวมทั้งองค์กรสาธารณกุศล และสมาคมต่าง ๆ

50.       เครื่องมือในการค้นหาคำตอบของแผนกติดต่อสอบถาม คืออะไร

(1) เครื่องมือสื่อสารดาวเทียม  (2) วิทยุโทรทัศน์

(3)       โทรศัพท์           (4) การจัดงานพิเศษ

ตอบ 3 หน้า 96 เครื่องมือในการค้นหาคำตอบของแผนกติดต่อสอบถามที่เป็นหน่วยงานใหญ่ ควรมีการจัดทำบัตรค้นหรือแฟ้มคู่มือค้นหาคำตอบของเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ แฟ้มรายชื่อราชการ เรียงตามตัวอักษร พร้อมหน่วยงาน บ้านที่อยู่ เลขหมายโทรศัพท์ติดต่อภายในและภายนอกแฟ้มหน้าที่ส่วนราชการภายในแฟ้มระเบียบ คำสั่ง ประกาศ นอกจากนี้ควรมีเครื่องมือ ติดต่อสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ เพื่อใช้ติดต่อทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน

51.       ผู้ใดไม่ต้องมีส่วนร่วมในการบริหารงานองค์กรของโรงแรมชิดทราย

(1) นักประชาสัมพันธ์  

2) ผู้สร้างสรรค์ความคิดในงานโฆษณา

(3)       ผู้ต้อนรับ          

(4) ผู้วิจัยการตลาด

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ

52.       นักประชาสัมพันธ์เป็นผู้วางแผนงานประชาสัมพันธ์ มีข้อดไม่ถูกต้อง

(1) ผู้วิจัยและให้คำปรึกษาแนะนำ      

(2) ผู้ติดต่อสื่อสาร

(3)       ผู้ประเมินผล    

(4) ผู้ตัดสินใจส่งเสริมแผนการตลาด

ตอบ 4 หน้า 99 กรรมวิธีของการวางแผนงานประชาสัมพันธ์ เพื่อดำเนินโครงการให้ได้รับผลสำเร็จ มีหลักพื้นฐานอยู่ 4 ขั้นตอน คือ      1. เป็นผู้วิจัยค้นคว้าและรับฟัง (Research Listening)

2. เป็นผู้วางแผนและตัดสินใจ (Planning Decision Making) หรือผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ (Counselor) 3. เป็นผู้ติดต่อสื่อสาร (Communication) 4. เป็นผู้ประเมินผล (Evaluation)

53.       การค้นคว้าวิจัยให้ประโยชน์กับงานประชาสัมพันธ์อย่างไร

(1) ได้หัวข้อโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสม           

(2) กำหนดงบประมาณได้ใกล้ความเป็นจริง

(3) สามารถเข้าถึงกลุ่มเบ้าหมาย        

(4) ตรวจสอบปฏิกิริยาของผู้ซื้อ

ตอบ 3 หน้า 109113 การค้นคว้าวิจัยให้ประโยชน์กับงานประชาสัมพันธ์ คือ เป็นเครื่องมือที่มี ประสิทธิภาพที่สุดในการเข้าถึงกลุ่มประชาชนเป้าหมาย ทั้งนี้เพราะการค้นคว้าวิจัยทำให้ นักประชาสัมพันธ์ได้พบผู้นำกลุ่ม ได้เรียนรู้ค่านิยมและแนวโน้มของความสนใจว่ามุ่งไปใน ทิศทางใด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ย่อมเป็นหลักฐานที่จะทำให้งานค้นคว้าวิจัยดำเนินไปสู่การทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

54.       การวิจัยงานประชาสัมพันธ์ได้อาศัยพื้นฐานการศึกษาค้นคว้าในด้านใด

(1) วิทยาศาสตร์          (2) ศิลปะพื้นบ้าน        (3) การเมือง    (4) ธุรกิจ

ตอบ 1 หน้า 103 การวิจัยงานประชาสัมพันธ์ได้อาศัยพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เข้าช่วยในการศึกษา ค้นคว้าและวัดผลข้อมูลนั้น ๆ ตลอดจนนำมาใช้ในการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ของ งานด้านการประชาสัมพันธ์ เช่น การสุ่มหาตัวอย่าง หลักการสัมภาษณ์ และโครงสร้างของ การตั้งคำถาม ฯลฯ

55.       การวิจัยประชาสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับ การรับฟัง” มวลชนอย่างไร

(1) ลูกค้าเป็นฝ่ายถูกเสมอ      (2) ดำเนินการอย่างบริสุทธิ

(3) เอาใจเขามาใส่ใจเรา          (4) ให้ความเป็นธรรม

ตอบ 3 หน้า 107 การวิจัยประชาสัมพันธ์จะเกี่ยวข้องกับการรับฟัง (Listening) ให้มีสัมฤทธิผล คือ การพูดคุยอย่างเป็นกันเองด้วยความจริงใจ 

ไม่มีความลับต่อกัน และรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Empathy)

56.       การวิจัยทำให้สถาบันมีโอกาส………ดูตัวเอง

(1) สร้างผลกระทบ     (2) ยอมรับปัญหา

(3) รับมือกับความรู้สึกโกรธ    (4) ส่องกระจก

ตอบ 4 หน้า 107 การวิจัยทำให้สถาบันมีโอกาส ส่องกระจก” ดูตัวเอง กล่าวคือ งานประชาสัมพันธ์ เปรียบเสมือนดังกระจกเงาที่สะท้อนภาพความรู้สึกนึกคิดของประชาชนที่มีต่อสถาบันให้เห็นได้ อย่างเด่นชัด และในทำนองเดียวกันกระจกเงาอันนั้นย่อมสะท้อนกลับถึงพฤติกรรมของสถาบันว่า มีผลกระทบต่อมวลชนอย่างไรบ้าง

57.       Fact File เป็นแหล่งข่าวสารด้านใด

(1) วรรณคดีเปรียบเทียบ        (2) เอกสารข่าว            (3) นวนิยายยอดเยี่ยม            (4) บทละคร

ตอบ 2 หน้า 110 Fact File คือแหล่งของข้อมูลและหลักฐานต่างๆที่ได้รวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ โดยอาจมีรูปเป็นห้องสมุดขนาดย่อมที่เรียกว่า ห้องสมุดเฉพาะ” หรือห้องสมุดขององค์กร ซึ่งมีลักษณะเป็นที่สะสมตำรา เอกสารวิชาการ เอกสารข่าว และข้อมูลอ้างอิงอื่น ๆ เพื่อใช้ เป็นศูนย์สำหรับค้นคว้าและสอบถามข้อเท็จจริงได้ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้ทันสมัยและรู้เท่าทัน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

58.       จุดมุ่งหมายอันดับแรกของการวางแผนประชาสัมพันธ์คืออะไร

(1) ตรวจสอบข่าวพิเศษจากสื่อมวลชน            (2) กำหนดกลุ่มเป้าหมาย

(3) วิเคราะห์แผนงาน  (4) สร้างชื่อเสียงความมั่นคงให้องค์กร

ตอบ4 หน้า 126 วัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายอันดับแรกของการวางแผนประชาสัมพันธ์ คือ การสร้างจินตภาพที่ดีของสถาบัน ดังนั้นในการวางแผนระยะยาวทางสถาบันหรือองค์กร จึงมุ่งสร้างชื่อเสียง ความมั่นคง และความน่าเชื่อถือไว้ในความทรงจำของประชาชนทั้งมวล

59.       การกำหนดหัวข้อประชาสัมพันธ์ควรใช้อย่างไร

(1) สำนวนนักประพันธ์ (2) ประโยคยาวเร้าใจ            (3) คำพูดสั้น ๆ ง่าย ๆ (4) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 3 หน้า 129 – 130 การกำหนดหัวข้อประชาสัมพันธ์ (Themes) ควรใช้คำพูดสั้น ๆ ง่าย ๆ เมื่อผู้ใดเห็นสามารถจดจำได้ง่าย อาจใช้คำพูดที่กินใจหรือเป็นภาพสัญลักษณ์ก็ได้ เพื่อเป็น การเตือนใจและติดตามกลุ่มเป้าหมาย เช่น จงรักษาความสะอาด ด้วยความปรารถนาดีจาก ธนาคาร เป็นต้น

60.       การกำหนดสื่อเพื่อวางแผนงานประชาสัมพันธ์คืออะไร

(1) สื่อชนิดใดเหมาะสมที่สุด   (2) สื่อประเภทใดประชาชนสนใจมากที่สุด

(3) สื่อประเภทใดมีสีสันจูงใจมากที่สุด           (4) ข้อ 1 และ 3

ตอบ 1 หน้า 130 การกำหนดสื่อ (Media) คือ การกำหนดว่าสื่อมวลชนชนิดใดเหมาะสมที่สุดที่จะใช้ เผยแพร่ข่าวสารไปยังประชาชนเป้าหมาย ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ หรือ สิ่งตีพิมพ์อื่น ๆ เช่น สื่อที่เหมาะสมที่สุดในชนบท คือ วิทยุ ซึ่งหาซื้อได้ง่าย มีราคาพอสมควร ส่วนหนังสือพิมพ์ถ้าใช้กับประชาชนที่อ่านหนังสือไม่ออก การใช้สิ่งนั้นก็สูญเปล่า

61.       แนวคิดในการวางแผนมี……..ระยะด้วยกัน

(1)       สอง     

(2) สาม           

(3) สี่    

(4) หก

ตอบ 1 หน้า 126133144 แนวความคิดในการวางแผนประชาสัมพันธ์ มีอยู่ 2 ระยะ คือ

1.         การวางแผนระยะสั้น เหมาะสำหรับแผนงานที่ใช้เวลาไม่นาน เป็นโครงการพิเศษหรือโครงการที่ต้องการคำตอบโดยรีบด่วน เช่น การวางแผนงานในกรณีเกิดอุบัติหตุและ ฉุกเฉิน การจัดงานพิธี งานประกวด การแข่งขันกีฬา และงานเฉลิมฉลองในโอกาสต่าง ๆ ฯลฯ

2.         การวางแผนระยะยาว เหมาะสำหรับโครงการที่มีรายละเอียดมากมายหลายขั้นตอน ถือเป็น งานสำคัญยิ่งของสถาบัน เป็นงานที่กว้างขวางและไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งข้อมูลที่ได้รับจะเป็น แนวทางค้นคว้าและวิเคราะห์สภาพปัญหาของการวางแผนในครั้งต่อ ๆ ไป

62.       การจัดงานแข่งเรือที่จังหวัดพิษณุโลก เป็นการวางแผนประชาสัมพันธ์ในข้อใด

(1) ระยะสั้น     

(2) ระยะยาว   

(3) ระยะกลาง 

(4) ระยะต่อเนื่อง

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ

63.       การขายความคิดด้วยวิธีอธิบายให้ผู้บริหารทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและไม่เป็นการเสียหน้า คือข้อใด

(1) ให้เป็นความคิดของเขาเอง            

(2) ยกย่องให้กำลังใจ

(3) เสนอความรู้ทางเทคนิค    

(4) ชี้แจงตามข้อเท็จจริง

ตอบ 1 หน้า 140-141 เดล คาร์เนกีได้เสนอการขายความคิดโดยวิธีชนะมิตรและจูงใจคนไว้ดังนี้

1.         ให้โอกาสเขารักษาหน้า โดยพยายามพูดตะล่อมความคิดให้เข้าจุดที่เราต้องการ เพื่อให้ เขารู้สึกว่าความคิดนั้นเป็นของเขา แต่ถ้า

ความคิดในการแก้ปัญหานั้นตรงกับสิ่งที่เรา คิดเอาไว้ก็ให้รีบยอมรับทันที

2.         อ้างความรู้ทางเทคนิคหรือวิชาการ     3. สร้างเครดิตและความเป็นผู้นำให้น่าเชื่อถือ

4.         ในกรณีที่ไม่มีเวลาพอและเป็นเรื่องรีบด่วน ให้ใช้วิธีออกคำสั่งเพื่อให้ปฏิบัติตาม

64.       การสื่อสารในรูป……เป็นข่าวสารที่สมาชิกในกลุ่มได้แลกเปลี่ยนทัศนคติและได้ตัดสินใจร่วมกัน

(1) ป้องกันตัวเอง        (2) ปากต่อปาก           (3) ศิลปะการแสดง     (4) โฆษณาสินค้า

ตอบ 2 หน้า 158 การสื่อสารในรูปของปากต่อปาก (Word of Mouth Communications)เป็นข่าวสารที่สมาชิกในกลุ่มได้แลกเปลี่ยนทัศนคติ และได้ตัดสินใจร่วมกันที่จะปฏิบัติตาม มติของมวลสมาชิก

65.       ข้อใดในกรรมวิธีเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนความคิดและการตัดสินใจ

(1) Awareness   (2) Evaluation   (3) Trail     (4) Adoption

ตอบ 2 หน้า 159 – 161 กรรมวิธีเผยแพร่ข่าวสารในขั้นการประเมินค่า (Evaluation) คือ การนำ ข้อมูลมาวิเคราะห์ดูว่าเหมาะสมที่จะนำไปถือปฏิบัติหรือไม่ ดังนั้นในขั้นตอนนี้เพื่อนฝูงและ เพื่อนบ้านจะมีส่วนสำคัญในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และการตัดสินใจ

66.       ความหมายในด้านนามธรรม คือข้อใด

(1) โรงแรมท้องทราย   (2) หมู่บ้านชาวเล

(3) ทะเลยามมีคลื่นลม            (4) ใจนิ่งใส

ตอบ 4 หน้า 150165 – 166 Semantics หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของคำหรือภาษา ซึ่งจะมีความหมายแตกต่างกันใน 2 ลักษณะ คือ

1.         ความหมายด้านวัตถุ (Denotative) เป็นความหมายตามพจนานุกรมที่มีลักษณะแท้จริง คงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งแน่นอนตายตัว เช่น โรงแรม หมู่บ้าน ทะเล ฯลฯ

2.         ความหมายด้านนามธรรม (Connotative) จะเกี่ยวข้องกับจิตใจของมนุษย์ มีการเปลี่ยนแปลง ไม่คงที่ ทำให้มีความหมายหลายรูปแบบแล้วแต่จินตนาการ ศาลนา วัฒนธรรมประเพณี ความรู้สึกนึกคิด และสิ่งแวดล้อมของแต่ละสังคม เช่น ใจนิ่งใส ความกดดัน ฯลฯ

67.       ข่าวสารที่มีลักษณะยุ่งยากซับซ้อนควรจัดทำในรูปสัญลักษณ์หรือคำขวัญเตือนใจ เกี่ยวข้องกับข้อใด

(1)       เข้ากันได้กับสภาพแวดล้อม    (2) ช่องทางในการสื่อสาร

(3) ความต่อเนื่องและความสม่ำเสมอ (4) ความชัดเจน

ตอบ 4 หน้า 171 ความชัดเจน (Clarity) คือ ข่าวสารควรใช้ภาษาหรือภาพในรูปแบบง่าย ๆ ชัดเจน และสั้น มีความหมายที่แน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง สามารถเข้าใจได้ดีทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร สำหรับข่าวสารที่มีลักษณะยุ่งยากซับซ้อนควรจัดทำในรูปของสัญลักษณ์ (Symbols)หัวข้อโฆษณา (Themes) หรือคำขวัญเตือนใจ (Slogans) เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ชัดแจ้ง

68.       การสื่อสารมีผลสมบูรณ์ได้ย่อมเกี่ยวข้องกับขีดความสามารถของผู้รับสารในเรื่องใด

(1)       พื้นความรู้        (2) การอ่าน     (3) การฟัง       (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 170172 กระบวนการสื่อสารจะให้ผลสมบูรณ์ได้ จะต้องพิจารณาอย่างละเอียดถึง ขีดความสามารถของผู้รับสาร (Capability of Audience) เช่น พื้นฐานความรู้ การอ่าน การฟัง และความเข้าใจของผู้รับสาร ซึ่งถ้าหากผู้รับสารหรือกลุ่มเบ้าหมายมีคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว การติดต่อสื่อสารย่อมประสบผลสำเร็จ

69.       การสำรวจประชามติโดยจดหมายถึงบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ เป็นการสำรวจประชามติอย่างไร

(1)       ตั้งหน่วยรับฟังความคิดเห็น     (2) บันทึกความเห็นของประชาชน

(3) การสำรวจทางอ้อม            (4) รณรงค์ขอความร่วมมือ

ตอบ 3 หน้า 202 – 203, (คำบรรยาย) การสำรวจประชามติทางอ้อม (Indirect Survey) คือการวิเคราะห์ความคิดของมวลชนจากการอ่าน ดู และฟัง เช่น การตรวจสอบจากข่าว บทวิจารณ์ จดหมายถึงบรรณาธิการหนังลือพิมพ์ การตัดข่าวหรือบทความ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีวิธีการ สำรวจทางอ้อมที่ยากมากขึ้นกว่าวิธีอื่น ๆ คือ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content) และรายละเอียด จากข้อมูลของการสัมมนา สุนทรพจน์ การโต้วาที ภาพยนตร์ เอกสารข่าว ฯลฯ

70.       การวิเคราะห์ความคิดของมวลชนจากการโต้วาที ข้อมูลการสัมมนา ภาพยนตร์ เรียกว่าวิธีสำรวจประชามติ อย่างไร

(1) การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือ          (2) การรวบรวมข้อเท็จจริง

(3) การวิเคราะห์ถึงเนื้อหา       (4) การคัดเลือกจากกลุ่มจำลอง

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 69. ประกอบ

ข้อ 71. – 80. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1)       การประชาสัมพันธ์ (2) การย้ำข่าวสาร            (3) The Two-way Street Concept

(4)       เทพีแห่งสันติภาพ        (5) ไม่ถูก

71.       Repetition of Message

ตอบ 2 หน้า 154 การย้ำข่าวสาร (Repetition of Message) คือ การติดต่อสื่อสารในกรณีที่ผู้รับฟัง ได้ยินไม่ชัดเจนหรือขาดการติดต่อกับไป หรือต้องการย้ำเพื่อความแน่ใจว่าข่าวสารนั้นถึงเป้าหมาย แน่นอนหรือไม่ โดยในบางครั้งจะใช้ในกรณีเตือนความจำผู้รับสารให้มั่นใจ เชื่อถือ และยอมรับ ในข่าวสารจนนำไปปฏิบัติการในที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่มักจะนำไปใช้ในการโฆษณาสินค้า

72.       เอาชนะกันด้วยความคิดและความถูกต้อง

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 9. ประกอบ

73.       เป็นสัญลักษณ์ที่ง่ายแก่การจดจำ

ตอบ 4 หน้า 168 – 169 สัญลักษณ์ของสถาบันเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้แทนภาษาได้อย่างดียิ่ง เมื่อผู้ได้เห็น ย่อมเข้าใจอย่างลึกซึ้ง โดยควรมีลักษณะที่สำคัญ คือ ควรอยู่ในความทรงจำของคนทั่วไปให้นาน ที่สุด เป็นสัญลักษณ์ที่ง่ายแก่การจดจำ เหมาะสมกับสถานการณ์ และมีเอกลักษณ์ให้เห็น เด่นชัด เช่น อนุสาวรีย์เทพีแห่งสันติภาพที่นิวยอร์ก เป็นต้น

74.       ไม่ปิดกั้นข้อมูลข่าวสารเรื่องราว

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 9. ประกอบ

75.       เป็นภาระหน้าที่ของฝ่ายจัดการ ฝ่ายตัดสินใจ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

76.       ในกรณีเตือนผู้รับสารให้มั่นใจ เชื่อถือ และยอมรับข่าวสารยิ่งขึ้น

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 71. ประกอบ

77.       นำไปใช้กับการโฆษณาสินค้า

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 71. ประกอบ

78.       การรับฟังข้อมูลย้อนกลับตามแนวทางการติดต่อสื่อสารแบบยุคลวิถี

ตอบ 3 หน้า 106 ผลสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของประธานาธิบดีแฟรงกินส์ รุสเวลส์ ในการวิจัยทัศนคติของ ชาวอเมริกัน คือ การเปิดรับฟังความคิดเห็นโดยการติดต่อสื่อสารกับประชาชนผ่านสื่อมวลชน เช่น การแสดงประชามติ และการได้พูดคุยโดยตรงกับประชาชนชาวอเมริกัน ดังนั้นวิธีการวิจัย ที่มีประสิทธิภาพก็คือ การสื่อสารแบบสองทิศทาง (The Two-way Street Concept) หรือ การรับฟังข้อมูลย้อนกลับตามแนวทางการติดต่อสื่อสารแบบยุคลวิถี

79.       ผลสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของประธานาธิบดีแฟรงกินส์ รูสเวลส์ จากการได้พูดคุยโดยตรงกับประชาชนชาวอเมริกัน

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 78. ประกอบ

80.       มีเอกลักษณ์ให้เห็นเด่นชัด

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 73. ประกอบ

ข้อ 81. – 90. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) ประชาสัมพันธ์กรณีอุบัติเหตุฉุกเฉิน          (2) ข่าวประชาสัมพันธ์

(3) ใบแทรกและเอกสารข่าว   (4) ข้อบกพร่องของข่าวแจก

(5)       บรรณาธิการเอกสารประชาสัมพันธ์

81.       บริษัทเซลล์แห่งประเทศไทยแจกรูปบุคคลสำคัญในหนังสือพิมพ์แนวหน้า

ตอบ 3 หน้า 284 ใบแทรกและเอกสารข่าว มักถูกสอดมาในหนังสือพิมพ์หรือใบเสร็จต่าง ๆ และจะใช้เมื่อบริษัทต้องการเผยแพร่นโยบายหรือเกิดปัญหาสำคัญที่จะมีผลกระทบกระเทือนต่อการ ดำเนินงานขององค์กร หรือในบางครั้งก็อาจจะเป็นการโฆษณาสถาบัน เช่น แจกรูปบุคคลสำคัญ รูปภาพฉลองวันพิเศษขององค์กร ฯลฯ ซึ่งมีข้อดีคือ ราคาถูก น้ำหนักเบา ประหยัดค่าไปรษณีย์ และมักถูกนำมาใช้ในกิจกรรมขององค์กรสาธารณประโยชน์ การรณรงค์ทางการเมืองและสังคม

82.       ความนำคือจุดเด่นที่สุดของเรื่อง

ตอบ 2 หน้า 268 ข่าวประชาสัมพันธ์จะมีเนื้อหาประกอบไปด้วยความนำ (Lead) ซึ่งจะต้องกล่าวถึง ส่วนที่สำคัญที่สุด หรือเป็นจุดเด่นที่สุดของเรื่อง (Climax) ให้อยู่ในย่อหน้าแรกหรืออยู่ที่ความนำนั่นเอง โดยผู้เขียนต้องยึดหลักเกณฑ์การเขียนความนำจากเนื้อหาข่าวที่มีลักษณะสำคัญอย่าง เด่นชัดที่สุดที่มีต่อผู้อ่าน หรือสิ่งที่ผู้อ่านให้ความสนใจใคร่รู้

83.       จัดแถลงข่าวสื่อมวลชน

ตอบ 1 หน้า 144 – 146 การวางแผนประชาสัมพันธ์ในกรณีอุบัติเหตุและฉุกเฉินของบริษัท G.C. Reitinger มีดังนี้

1.         ส่งเจ้าหน้าที่มายังที่เกิดเหตุภายใน 7 ซม. หลังจากเกิดอุบัติเหตุ

2.         จัดแถลงข่าวผ่านสื่อมวลชน

3.         ส่งคณะกรรมการของบริษัทไปเยี่ยมครอบครัวของผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ

4.         ให้เงินช่วยเหลือตามความจำเป็น

5.         จดหมายฉบับพิเศษเขียนด้วยลายมือประธานบริษัท ส่งไปถึงครอบครัวของผู้เสียชีวิต ฯลฯ

84.       ข้อดีคือราคาถูก น้ำหนักเบา ประหยัดค่าไปรษณีย์ นักประชาสัมพันธ์นำไปใช้ในการรณรงค์ทางการเมือง

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ

85.       จดหมายฉบับพิเศษเซียนด้วยลายมือประธานบริษัท ส่งไปถึงครอบครัวเป้าหมาย

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 83. ประกอบ

86.       ตรวจสอบข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ทุกวัน เพื่อหลีกเลี่ยงการส่งข่าวในวันที่มีข่าวสำคัญ เช่น ข่าวปฏิวัติ

ตอบ 4 หน้า 330 – 331 ข้อบกพรองของข่าวแจก มีดังนี้ 1. ส่งไม่ทันเวลาปิดข่าว

2. ส่งผิดโรงพิมพ์         3. ข่าวที่ส่งไม่มีความสดของข่าว

4.         ไม่ควรใช้สำนวนนักประพันธ์ คำฟุ่มเฟือย และสำนวนหรูหราใด ๆ

5.         ส่งข่าวโดยไม่ได้เปรียบเทียบกับข่าวอื่น ๆ ดังนั้นจึงควรตรวจสอบข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ทุกวัน เพื่อหลีกเลี่ยงการส่งข่าวในวันที่มีข่าวสำคัญ เช่น ข่าวปฏิวัติ ฯลฯ

87.       มีหน้าที่เผยแพร่ข่าวสาร ดำเนินงานประชาสัมพันธ์

ตอบ 5 หน้า 276 – 277 กองบรรณาธิการของเอกสารประชาสัมพันธ์ ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยเป็น หลักในการเผยแพร่ข่าวสารและดำเนินงานประชาสัมพันธ์ขององค์กรให้เป็นไปด้วยดี ดังนั้น หน้าที่และตำแหน่งบรรณาธิการจึงเปรียบเสมือนนักประชาสัมพันธ์ระดับสูง ซึ่งต้องทำหน้าที่ หลายฝ่ายตั้งแต่วางแผนประชาสัมพันธ์ จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์ ไปจนถึงการให้คำปรึกษา แนะนำกับฝ่ายบริหาร

88.       เมื่อต้องการล้อเลียน หรือเสียดสี ใช้วิธีสมมติตัวละคร หรือสถานการณ์ขึ้น

ตอบ 2 หน้า 269 การเขียนข่าวประชาสัมพันธ์เพื่อล้อเลียนหรือเสียดสี (Satire) โดยมีความประสงค์ ที่จะตำหนิหรือทักท้วง ควรใช้วิธีการที่นุ่มนวล ไม่ตำหนิโดยตรง อาจใช้วิธีสมมุติตัวละครหรือ สมมุติสถานการณ์ขึ้น เพราะวิธีดังกล่าวอาจได้ผลเท่ากับการกล่าวติเตียนหรือเสนอแนะ โดยตรง ทั้งยังเป็นการรักษาน้ำใจระหว่างผู้เขียนและผู้ถูกกล่าวถึงได้อีกด้วย

89.       ไม่ควรใช้สำนวนนักประพันธ์ คำฟุ่มเฟือย สำนวนหรูหราใด ๆ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 86. ประกอบ

90.       นักประชาสัมพันธ์ระดับสูงต้องทำหน้าที่หลายฝ่าย

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 87. ประกอบ

91.       คุณสมบัตินักประชาสัมพันธ์ในเรื่องควรมีบุคลิกดี คืออะไร

(1) ซื่อสัตย์      

(2) อดทน ยินดีบริการ 

(3) เชื่อมั่นในตนเอง     

(4) ไม่อยู่นิ่งเฉย

ตอบ 3 หน้า 228 – 229 Cutlip and Center ได้กล่าวถึงคุณสมบัติของนักประชาสัมพันธ์ทีดีไว้ประการหนึ่ง ได้แก่ ควรมีบุคลิกที่ดี ซึ่งสิ่งสำคัญคือ ควรมีความเชื่อมั่นในตัวเอง ยิ้มแย้มแจ่มใส แต่งกายสะอาดเรียบร้อย สง่าผ่าเผย สามารถทำตัวให้เป็นที่น่าสนใจ และเป็นที่ชื่นชอบของ บุคคลทั่วไป เพราะนักประชาสัมพันธ์คือ The Man in the middle.

92.       ความชำนาญพิเศษสูงสุดของวัยหนุ่มสาว จากการสำรวจของสมาคมนักประชาสัมพันธ์สหรัฐฯ คือข้อใด

(1) การเขียน    

(2) สนใจกิจกรรมต่าง ๆ 

(3) การบริหารองค์กร            

(4) ศิลปะการแสดง

ตอบ 1 หน้า 229 สมาคมนักประชาสัมพันธ์ของสหรัฐๆ (PRSA) ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของกำลังคนวัยหนุ่มสาวว่า ควรจะมีความรู้ความชำนาญพิเศษอะไรบ้าง โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ดังนี้ 1. ความสามารถในการเขียน 70%            2. ความชำนาญงานในสาขาประชาสัมพันธ์ 42%

3.         ความสามารถในกรพูด 30% 4. ความสามารถในทางสร้างสรรค์ 28%

5. ความเฉลียวฉลาดรอบรู้ 28%         6. พื้นฐานความรู้ทั่วไป 27%

7.         ความสามารถในการวินิจฉัย และตัดสินใจอย่างสุขุม 25%

8.         ความสามารถในการบริหารองค์กร 11%

93.       ข้อใดคือข่าวประชาสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดการณ์ไว้ก่อน

(1)       เนสท์เล่ไทยจัดการแสดงกาแฟบัลเลต์ ครั้งที่ 3

(2)       โฟล์คสวาเกนจัดแข่งกอล์ฟการกุศล รายได้มอบให้มูลนิธิสายใจไทย

(3)       รัฐบาลฟิลิปปินส์ให้ความช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้ายจากพายุไต้ฝุ่นลีโอ

(4)       กวี วสุวัต บริจาคเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าสำหรับผู้ติดยาเสพติด

ตอบ 3 หน้า 267 ลักษณะพิเศษของข่าวประชาสัมพันธ์ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

1.         ข่าวที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดการณ์ไว้ก่อน หรือไม่ได้คาดหวังว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งจะปรากฏขึ้น อย่างฉับพลันหรือไม่คาดคิด เช่น เกิดระเบิด น้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุร้ายแรง ไฟไหม้ และภัยพิบัติต่าง ๆ ฯลฯ

2.         ข่าวที่ได้เตรียมการดำเนินงานไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะถูกนำมาเขียนเป็นข่าวประชาสัมพันธ์บ่อยมาก เช่น ข่าวการจัดประชุม ข่าวการบริจาคเงินหรือแจกทุน ข่าวกิจกรรมพิเศษของสถาบัน ฯลฯ

94.       ข้อใดคือเอกสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ภายนอก      

(1) หนังสือคู่มือพนักงานใหม่

(2)       วารสารผู้ถือหุ้น           (3) วารสารมูลนิธิคนพิการ       (4) วารสารผู้บริโภค

ตอบ 4 หน้า 271 – 275 ลักษณะที่สำคัญของเอกสารประชาสัมพันธ์ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้ 1. เอกสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ภายใน ได้แก่ วารสารของพนักงาน หนังสือคู่มือพนักงานใหม่ วารสารผู้ถือหุ้น วารสารมูลนิธิคนพิการ ฯลฯ 2. เอกสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ภายนอก ได้แก่ วารสารผู้บริโภค วารสารผู้จัดจำหน่ายส่งและจำหน่ายปลีก ฯลฯ

3.         เอกสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอก ได้แก่ วารสารข้าราชการพลเรือน วารสารรามคำแหง ฯลฯ

95.       ภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์เรื่องใดได้ช่วยส่งเสริมวิวัฒนาการภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์ในสหรัฐฯ

(1) What Uncle Sam Will Do for Two Cents (2) The Parents Survival Guide

(3)       Accidental Tourist   (4) ข้อ 1 และ 3

ตอบ 1 หน้า 289 บริษัทผลิตรถยนต์ฟอร์ด เป็นองค์กรที่ให้ความสนใจและบุกเบิกวงการภาพยนตร์ เพื่อการประชาสัมพันธ์ไว้มาก ซึ่งภาพยนตร์ของบริษัทฟอร์ดที่มีบทบาทช่วยส่งเสริมวิวัฒนาการ ภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์ในระยะแรกของสหรัฐฯ ได้แก่ เรื่อง “What Uncle Sam Will Do for Two Cents” และ “The Truth about the Liberty Motor”

96.       ข้อใดเกี่ยวข้องกับการโฆษณาเพื่องานประชาสัมพันธ์

(1)       เดอะมอลล์ มอบของขวัญขึ้นพิเศษสำหรับวันแห่งความรัก

(2)       โตโยต้า ให้บริการครบทุกรูปแบบ

(3)       บริษัท ไอบีเอ็ม. ส่งเสริมกิจกรรมพิทักษ์สิ่งแวดล้อม

(4)       สร้างสรรค์บ้านที่คุณรักและภูมิใจเพื่อชีวิตที่นครนายก

ตอบ 3 หน้า 314321 การโฆษณาเพื่องานประชาสัมพันธ์ (Public Relations Advertising)หรือเรียกว่า การโฆษณาสถาบันหรือการโฆษณาองค์กร เป็นการโฆษณาที่ไม่ได้คาดหวัง ในการขายสินค้าหรือมุ่งหวังที่จะหาผลกำไรและผลประโยชน์ แต่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างชื่อเสียง ความเชื่อถือศรัทธา และเกียรติคุณให้ปรากฏกับสถาบัน ซึ่งในบางกรณีก็ถูกนำมาใช้โฆษณา ส่งเสริมสวัสดิการของสังคม หรือการโฆษณาบริการสาธารณะด้วย เพื่อช่วยเหลือและบริการสังคม หรือเพื่อแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม

97.       ภาระหน้าที่สำคัญของโฆษกรัฐบาลไทย คืออะไร

(1)       เผยแพร่ข่าวสาร ผลงานของรัฐ

(2)       ตอบโต้ข้อกล่าวหาของสื่อมวลชน

(3)       ตั้งสำนักข่าวกลางเพื่อข้าราชการและประชาชนติดต่อกันโดยสะดวก

(4)       การโฆษณาชวนเชื่อช่วยเสริมงานพี.อาร์. ของรัฐบาล

ตอบ 1 หน้า 357, (คำบรรยาย) โฆษกสำนักนายกรัฐมนตริ หรือโฆษกของรัฐบาล (Press Secretary) คือ ผู้ที่อยู่ในฐานะนักประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล ซึ่งมีหน้าที่แถลงข่าว เผยแพร่ข่าวสาร/ผลงาน ของรัฐ และเสนอนโยบายของรัฐบาลหรือหน่วยงานผ่านทางสื่อมวลชนไปให้ประชาชนได้รับทราบ ตามที่นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้าใหญ่ในการประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลได้มอบหมาย โดยมี จุดประสงค์พื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มประชากรให้เกิดความเข้าใจและให้การสนับสนุน

98.       โครงการประชาสัมพันธ์ภายในของกรมตำรวจ คือข้อใด

(1)       เจ้าหน้าที่นำชมกิจการของกรมตำรวจในวันเด็ก

(2)       บรรยายวิธีป้องกันอาชญากรรมให้นักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบ

(3)       จัดแข่งขันกีฬาโปโลน้ำกับทีมทหารเรือ

(4)       ให้ทุนการศึกษาต่อกับตำรวจชั้นประทวน

ตอบ 4 หน้า 379 – 380, (ดูคำอธิบายข้อ 26. ประกอบ) โครงการประชาสัมพันธ์ภายในของกรมตำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจง แถลงข่าว และบำรุงขวัญให้ตำรวจทุกระดับมีกำลังใจที่ดี มีความมั่นใจ ในตัวเอง อันมีผลทางอ้อมต่อการทำงานเพื่อรับใช้ประชาชนให้มีประสิทธิภาพ เช่น จัดงานเผยแพร่เกียรติคุณของนายตำรวจผู้ปฏิบัติงานดีเด่นประจำปี ให้ทุนการศึกษาต่อกับตำรวจ ชั้นประทวน ฯล

99.       สถาบันธุรกิจและอุตสาหกรรมในประเทศใดได้สร้างความรู้สึกในการเป็นครอบครัวเดียวกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง

(1) ฮ่องกง       (2) แคนาดา     (3) เยอรมนี      (4) ญี่ปุ่น

ตอบ 4 หน้า 428 สถาบันธุรกิจและอุตสาหกรรมในประเทศญี่ปุ่นจะไม่มีการแบ่งแยกหน่วยงานว่า เป็นฝ่ายบริหารหรือลูกจ้าง แต่ทุกคนจะถูกเรียกชื่อว่าเป็นผู้ร่วมงานที่อยู่ในครอบครัวเดียวกัน ดังนั้นสถาบันในความรู้สึกนึกคิดของพนักงานจึงเปรียบเสมือนบ้านแห่งที่สอง ซึ่งเป็นแหล่งทำรายได้ ไม่ใช่สถาบันที่บีบบังคับประชาชน

100.    มหาวิทยาลัยใดในประเทศแคนาดา ได้มีส่วนริเริ่มเปิดสอนและอบรมวิชาการประชาสัมพันธ์สำหรับผู้สนใจ

(1) McGill  (2) Torino (3) Brigham Young    (4) Saint Gall

ตอบ 1 หน้า 436 มหาวิทยาลัยแมคกิล (McGill University) ที่เมืองมอนทรีล ประเทศแคนาดาได้ริเริ่มเปิดสอนและจัดอบรมวิชาการประชาสัมพันธ์สำหรับผู้ที่สนใจต้องการศึกษาเพื่อหา ประสบการณ์เพิ่มขึ้น และมหาวิทยาลัยของกรุงออตตาวา (University of Ottawa) ก็ได้ เปิดบรรยายพิเศษในวิชาการประชาสัมพันธ์เช่นเดียวกัน โดยมีสมาคมนักประชาสัมพันธ์ แคนาดาให้การสนับสนุนกิจกรรมของมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่ง

Advertisement