การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2100 (MCS 2150) การประชาสัมพันธ์เบื้องต้น

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1.         ข้อใดคือ การประเมินระหว่างดำเนินการประชาสัมพันธ์

(1)       การตรวจสอบกิจกรรมที่กำหนด          

(2) ตรวจสอบกิจกรรมที่เสร็จสิ้นแล้วบางส่วน

(3) ตรวจสอบสื่อที่อยู่ระหว่างเผยแพร่ 

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คำบรรยาย) การประเมินระหว่างดำเนินการประชาสัมพันธ์ หมายถึง การตรวจสอบผลการ ปฏิบัติงานในขณะดำเนินการประชาสัมพันธ์ ทำให้ทราบประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร ความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานตามแผน ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในระหว่างการปฏิบัติงาน เช่น การตรวจสอบกิจกรรมที่กำหนดตามแผน การตรวจสอบกิจกรรมที่เสร็จสิ้นแล้วบางส่วน และการตรวจสอบสื่อที่อยู่ระหว่างการเผยแพร่ เป็นต้น

2.         การประเมินโครงการประชาสัมพันธ์ คือข้อใด

(1)       ประเมินก่อนดำเนินการประชาสัมพันธ์           

(2) ประเมินระหว่างดำเนินการประชาสัมพันธ์

(3) ประเมินเมื่อโครงการเสร็จสิ้นแล้ว  

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 176, (คำบรรยาย) การประเมินโครงการประชาสัมพันธ์ คือ การวิเคราะห์ดูว่าผลของ การดำเนินงานและผลการใช้เทคนิคตามแผนเป็นอย่างไร ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1.         การประเมินก่อนดำเนินการประชาสัมพันธ์ 2. การประเมินระหว่างดำเนินการประชาสัมพันธ์

3.         การประเมินเมื่อโครงการเสร็จสิ้นแล้ว

3.         สื่อประชาสัมพันธ์มีกี่ประเภท เมื่อจำแนกตามหนังลือเรียน MC 311

(1)       สองประเภท    (2) สามประเภท          (3) สี่ประเภท   (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 242 – 243 เครื่องมือหรือสื่อประชาสัมพันธ์นอกจากคำพูด การประชุมพบปะกัน สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ภาพโฆษณา ภาพยนตร์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และการจัดแสดง ในวาระพิเศษต่าง ๆ แล้ว นักประชาสัมพันธ์ยังต้องเลือกใช้สื่อประขาสัมพันธ์อื่นๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่        1. สื่อประเภทวัสดุ

2.         สื่อประเภทครื่องมือหรืออุปกรณ์       3. สื่อประเภทกิจกรรม

4.         ข้อใดคือ สื่อที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์

(1)       ผู้กำหนดวันปฐมนิเทศนักศึกษา          (2) ป้ายประกาศวันปฐมนิเทศนักศึกษา

(3) นักศึกษาผู้รับการปฐมนิเทศ          (4) กำหนดวัน เวลา สถานที่ปฐมนิเทศนักศึกษา

ตอบ 2 หน้า 151153 – 155, (คำบรรยาย) องค์ประกอบที่สำคัญของกรรมวิธีการติดต่อเพื่องาน ประชาสัมพันธ์ มีดังนี้ 1. ต้นตอหรือผู้ส่งสาร (Source or Sender) ถือเป็นองค์ประกอบที่มี ความสำคัญในการส่งสาร เช่น ผู้กำหนดวันปฐมนิเทศนักศึกษา อาจารย์ผู้กำหนดวันจัดกิจกรรม ปลูกต้นไม้ของนักศึกษา ๆลา 2. ข่าวสาร (Message) คือ เนื้อหาสาระของสาร เช่น กำหนดวัน เวลา สถานที่ปฐมนิเทศนักศึกษา ฯลฯ 3. สื่อหรือช่องทาง (Media or Channel) คือ เครื่องมือ หรือช่องทางถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร เช่น ป้ายประกาศวันปฐมนิเทศนักศึกษา ฯลฯ 4. ผู้รับสาร (Receiver) คือ บุคคลหรือกลุ่มเป้าหมายที่รับข่าวสาร เช่น นักศึกษาผู้รับการปฐมนิเทศ ฯลฯ

5.         Message คือข้อใด

(1)       ผู้รับสาร           (2) ผู้ส่งสาร     (3) สื่อ/ช่องทาง            (4) ข่าวสาร

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

6.         ข้อใดที่เป็นสื่อวัสดุอุปกรณ์

(1)       ของตัวอย่าง แบบจำลอง         (2) เครื่องคอมพิวเตอร์

(3) แผ่นดิสเก็ต            (4) จดหมายข่าว

ตอบ 3 หน้า 242 – 243, (คำบรรยาย) สื่อโสตทัศน์ เป็นสื่อที่สามารถรับส่งได้ทั้งภาพและเสียง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. สื่อวัสดุ ได้แก่ สื่อวัสดุที่สามารถใช้ได้ด้วยตัวเองโดยตรง เช่น ของตัวอย่าง แบบจำลอง จดหมายข่าว ฯลฯ และสื่อวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องนำไปใช้ร่วมกัน เช่น เทปวีดิทัศน์ แผ่นดิสเก็ต แผ่นซีดีรอม ฯลฯ 2. สื่ออุปกรณ์หรือเครื่องมือ เช่น เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ ฯลฯ

7.         เหตุใดจึงมีการพัฒนาทำสารผ่านสื่อมวลชน

(1)       สื่อมวลชนมีประสิทธิภาพในการโน้มน้าวสูง    (2) สามารถเข้าถึงบุคคลจำนวนมากได้รวดเร็ว

(3) กำหนดกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายกว่าสื่ออื่น     (4) เป็นสื่อที่มีความน่าเชื่อถือสูง

ตอบ 2 (คำบรรยาย) การสื่อสารมวลชน หมายถึง การสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ฯลฯ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนาทำ สารประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชนอย่างแพร่หลาย เนื่องจากการสื่อสารมวลชนมีคุณสมบัติเด่น คือ สามารถเข้าถึงบุคคลจำนวนมากที่มีความแตกต่างกัน และอยู่ในที่ต่าง ๆ กันทั่วประเทศ หรือทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว

8.         อินเทอร์เน็ต คือข้อใด

(1)       เครือข่ายการรับส่งข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

(2)       การติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียม

(3)       การเดินทางติดต่อระหว่างประเทศต่อประเทศ

(4)       เครือข่ายการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศ

ตอบ 1 (คำบรรยาย) อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายการรับส่งข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้มีบทบาทสำคัญต่อการประชาสัมพันธ์เป็นอย่างมาก เนื่องจาก มีคุณสมบัติพิเศษ ดังนี้ 1. สามารถสื่อสารได้ตลอดเวลา และดึงดูดความในใจได้ดีเพราะ นำเสนอเนื้อหาสาระได้หลากหลาย เช่น ภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง และเสียง 2. ถ่ายทอด ข้อมูลข่าวสารถึงผู้รับได้เร็ว ทำให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้ข่าวสารได้ทั่วถึงและรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.         การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทำได้ง่ายและสะดวก

4.         เป็นการสื่อสารสองทางที่ทั้งสองฝ่ายสามารถพูดคุยโต้ตอบกันได้ ฯลฯ

9.         เหตุใดอินเทอร์เน็ตจึงมีบทบาทสำคัญต่อการประชาสัมพันธ์

(1)       เพราะถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารถึงผู้รับได้เร็ว     (2) การเข้าถึงทำได้ง่าย สะดวก

(3) เป็นการสื่อสารสองทาง     (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ

10.       ทำไม ม.ร. ต้องใช้การประชาสัมพันธ์ทางอินเทอร์เน็ต

(1)       เพื่อให้ข่าวสารมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

(2)       เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

(3)       เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้ข่าวสารได้ทั่วถึงและรวดเร็วยิ่งขึ้น

(4)       เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้มากขึ้น

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ

11.       สื่อข้อใดที่นำเสนอเนื้อหาสาระที่หลากหลาย เช่น ภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง และเสียง

(1)       หนังสือพิมพ์    

(2) วิทยุกระจายเสียง  

(3) อินเทอร์เน็ต            

(4) จดหมายข่าว

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ

12.       ข้อใดคือ ความหมายของ การประชาสัมพันธ์

(1)       การให้ความร่วมมือกันของประชาชน

(2)       การสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างหน่วยงานกับประชาชน

(3)       ความผูกพันเกี่ยวข้องระหว่างกันของประชาชน

(4)       การสร้างความร่วมมือซึ่งกันและกันของประชาชน

ตอบ 2 หน้า 10 การประชาสัมพันธ์ หมายถึง วิธีการของหน่วยงานที่มีแผนการและกระทำต่อเนื่องกันไป ในอันที่จะสร้างหรือรักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างหน่วยงานกับ กลุ่มประชาชน เพื่อให้หน่วยงานกับกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจ ให้ความ สนับสนุนร่วมมือซึ่งกันและกัน และเพื่อห้งานของสถาบันดำเนินไปด้วยดี โดยมีประชามติเป็นแนวบรรทัดฐาน เช่น การจัดงานวันครบรอบ ม.ร. 42 ปี เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรม เป็นต้น

13.       คำว่า Public สอดคล้องกับข้อใด

(1) สาธารณรัฐ            

(2) เครือสหพันธรัฐ      

(3) ประชาชน   

(4) ประชารัฐ

ตอบ 3 หน้า 79 คำว่า การประซาสัมพันธ์” ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Public Relations ถ้าหากจะพิจารณาดูศัพท์ที่เราใช้ทางภาษาไทยเทียบกับภาษาอังกฤษจะเห็นว่ากลมกลืนกันได้อย่าง เหมาะสม กล่าวคือ คำว่า ประชา” แปลว่า กลุ่มคนหรือประชาชน ซึ่งตรงกับคำว่า Public และคำว่า สัมพันธ์” แปลว่า ความเกี่ยวข้องผูกพัน หรือความสัมพันธ์ ซึ่งตรงกับคำว่า Relations

14.       คำว่า Relations สอดคล้องกับข้อใด

(1) ความสัมพันธ์         (2) ความเห็นอกเห็นใจ            (3) ความเมตตา           (4) ความเข้าใจ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 13. ประกอบ

15.       ข้อใดสอดคล้องกับความหมาย ประชาสัมพันธ์” มากที่สุด

(1)       สถานีโทรทัศน์ทุกช่องเสนอข่าวเครื่องบินตกในรายการข่าวด่วน

(2)       การประชาสัมพันธ์จะทำเมื่อมีเหตุการณ์ที่เป็นข่าวเท่านั้น

(3)       เครื่องดื่มชูกำลังประชาสัมพันธ์ส่วนประกอบโดยประมาณไว้ที่ข้างขวด

(4)       งานวันครบรอบ ม.ร. 42 ปี จัดขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรม

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 12. ประกอบ

16.       การประชาสัมพันธ์ในข้อใดจึงจะได้ผลดี

(1) การสื่อสารแบบกลุ่มไปสู่บุคคล     (2) การสื่อสารแบบทางเดียว

(3) การสื่อสารจากจุดศูนย์กลางไปสู่วงกว้าง  (4) การสื่อสารแบบสองทาง

ตอบ 4 หน้า 22 – 23 วิธีการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ให้ได้ผลดีจะต้องเป็นการสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication) คือ เป็นการกระทำที่มีไปจากองค์กรสู่ประชาชนวิถีทางหนึ่ง ในขณะเดียวกันก็ต้องคอยสดับตรับฟังความคิดเห็น หรือสำรวจตรวจสอบประชามติของประชาชน ที่มีต่อองค์กรอีกวิถีทางหนึ่งควบคู่กันไปตลอดเวลา เพื่อนำมาพิจารณาแก้ไขปรับปรุงการทำงาน ขององค์กรให้ครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน

17.       ข้อใดเป็นการสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่ดี

(1)       สำนักงานอนามัยติดป้ายรณรงค์เรื่องการป้องกันโรคเอดส์

(2)       เว็บไซต์โรงเรียนเสนอข่าวกิจกรรมวันพบผู้ปกครอง

(3)       เว็บไซต์เปิดหน้ากระดานสนทนา พร้อมกับการเสนอข่าวกิจกรรม      (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คำบรรยาย) การสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่ดีนอกจากจะกระทำขึ้นเพื่อสร้างบรรยากาศแห่ง การรับรู้ ในกรณีที่มีข่าวสารทั้งต่อหน่วยงาน ผู้เกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไปเกิดขึ้นแล้ว ยังเป็นการสื่อสารที่กระทำขึ้นเพื่อต้องการสร้างความเข้าใจ ป้องกัน และแก้ไขความเข้าใจผิด ตลอดจนเพื่อช่วยเหลือสนับสนุนชุมชน โดยอาศัยสื่อต่าง ๆในการเผยแพร่ เช่นสำนักงานอนามัย ติดป้ายรณรงค์เรื่องการป้องกันโรคเอดส์เว็บไซต์โรงเรียนเปิดหน้ากระดานสนทนา พร้อมกับ เสนอข่าวกิจกรรมวันพบผู้ปกครอง เป็นต้น

18.       เหตุใดจึงต้องการทราบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อองค์กร

(1)       เพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็นองค์กรที่สนับสนุนประชาธิปไตย

(2)       เพื่อนำมาใช้ปรับปรุงการทำงานขององค์กรให้ครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน

(3)       เพื่อให้ประชาชนไต้ตรวจสอบประเมินผลการทำงานขององค์กร

(4)       เพื่อให้ประชาชนสามารถเสนอนโยบายให้องค์กรนำไปปฏิบัติ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 16. ประกอบ

19.       ภาพพจน์ที่ดีขององค์กร คือข้อใด

(1) เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับประชาชน    (2) ทำให้ประชาชนเห็นคุณค่าขององค์กร

(3) ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน  (4) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ภาพพจน์ที่ดีขององค์กร คือ ภาพขององค์กรที่เป็นไปในแนวทางที่ดีงาม ทำให้ประชาชนเห็นคุณค่าขององค์กร เกิดความเชื่อถือศรัทธา ไว้เนื้อเชื่อใจ และอยากจะ ติดต่อสัมพันธ์ด้วย ซึ่งหากองค์กรใดมีจินตภาพที่ดีย่อมไต้รับการสนับสนุนและความร่วมมือ จากประชาชน

20.       ข้อใดคือ กรณีที่เหมาะสมในการนำไปประชาสัมพันธ์

(1)       มีข่าวหรือเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานจำเป็นต้องรับทราบ

(2)       บุคลากรของหน่วยงานลาออก

(3)       มีข่าวสารทั้งต่อหน่วยงาน ผู้เกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไป    (4) ผิดทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 17. ประกอบ

21.       ข้อใดคือ ความสำคัญของการประชาสัมพันธ์ที่มีต่อองค์กร

(1) องค์กรมีภาพพจน์ที่ดีในสายตาประชาชน 

(2) ประชาชนทราบถึงประโยชน์ที่จะได้จากองค์กร

(3) ประชาชนให้การสนับสนุนกิจการขององค์กร        

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ความสำคัญของการประชาสัมพันธ์ที่มีต่อองค์กร มีดังนี้

1.         องค์กรมีภาพพจน์ที่ดีในสายตาประชาชน 2. ประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจในนโยบาย และการดำเนินกิจการ ตลอดจนทราบถึงประโยชน์ที่จะได้จากองค์กร 3. ประชาชนเต็มใจ ให้การสนับสนุนร่วมมือในกิจการขององค์กร ฯลฯ

22.       การสื่อสารช่วยในด้านการประชาสัมพันธ์หน่วยงาน คือข้อใด

(1) สร้างบรรยากาศแห่งการรับรู้         

(2) ช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีในกลุ่มต่าง ๆ

(3) ช่วยสร้างความคิดอยากจะมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น            

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 17. ประกอบ

23.       ข้อใดคือ ผู้ส่งสาร

(1)       อาจารย์ผู้กำหนดวันจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ของนักกีฬา

(2)       เจ้าหน้าที่ผู้จัดทำป้ายติดประกาศกำหนดวัน เวลา ในการจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้

(3)       ผู้ประกาศเสียงตามสายประกาศกำหนดวัน เวลา ในการจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้

(4)       นักศึกษา

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

24.       องค์ประกอบข้อใดมีความสำคัญในการส่งสาร

(1) ผู้ส่งสาร     (2) ข่าวสาร      (3) สื่อ/ช่องทาง            (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

25.       Receiver คืออะไร

(1) ผู้รับสาร     (2) ผู้ส่งสาร     (3) สื่อ/ช่องทาง            (4) ข่าวสาร

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

26.       ข้อใดคือ Message

(1) อาจารย์ผู้กำหนดวันปฐมนิเทศนักศึกษา    (2) ป้ายประกาศวันปฐมนิเทศนักศึกษา

(3) กำหนดวัน เวลา สถานที่ปฐมนิเทศนักศึกษา         (4) นักศึกษาผู้เข้ารับการปฐมนิเทศ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

27.       ข้อใดจัดเป็นสื่ออุปกรณ์

(1) เครื่องคอมพิวเตอร์ (2) จดหมายข่าว

(3) แผ่นดินเก็ต            (4) ของตัวอย่าง แบบจำลอง

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

28.       ข้อใดจัดเป็นสื่อมวลชน

(1) เทปบันทึกเสียง     (2) หนังสือพิมพ์           (3) แผ่นพับ      (4) วีซีดีละครซีรีย์เกาหลี

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ

29.       จงบอกความหมายของคำว่า สื่อโสตทัศน์

(1) สื่อใช้เฉพาะกับผู้พิการทางการมองเห็น    (2) สื่อใช้เฉพาะกับผู้พิการทางการได้ยิน

(3) สื่อที่สามารถส่งได้ทั้งภาพและเสียง          (4) สื่อที่ใช้ส่งภาพนิ่ง

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

30.       การสื่อมวลชนมีคุณสมบัติเด่นตามข้อใด

(1) สื่อมวลชนมีประสิทธิภาพในการโน้มน้าวได้สูง      (2) สามารถเข้าถึงบุคคลจำนวนมากได้รวดเร็ว

(3) กำหนดกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายกว่าสื่ออื่น     (4) มีความน่าเชื่อถือสูง

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ

31.       เครือข่ายการรับส่งข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คือข้อใด

(1) Web page (เว็บเพจ) 

(2) Web site (เว็บไซต์)

(3) Internet (อินเทอร์เน็ต)           

(4) E-mail (อีเมล์)

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ

32.       ข้อใดคือ ความสำคัญของอินเทอร์เน็ตในการประชาสัมพันธ์

(1) ถ่ายทอดข่าวสารถึงผู้รับได้รวดเร็ว 

(2) การเข้าถึงทำได้ง่าย

(3) การสื่อสารสองทาง            

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ

33.       เหตุใดอินเทอร์เน็ตจึงเป็นการสื่อสารสองทาง

(1) สื่อได้ทั้งภาพและเสียง      

(2) สื่อได้ทั้งภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่ง

(3) สื่อสารที่ทั้งสองฝ่ายสามารถพูดคุยโต้ตอบกันได้   

(4) สื่อสารได้ทุกเวลา และทุกสถานที่

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ

34.       การสนทนาโดยการพิมพ์โต้ตอบกันเป็นการส่วนตัวผ่านทางอินเทอร์เน็ต ทำได้โดยวิธีใด

(1) Web page    (2) Web board  (3) Chat     (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 (คำบรรยาย) การสนทนาออนไลน์ (Internet Relay Chat : IRC) หมายถึง โปรแกรมที่ถูก สร้างขึ้นมาเพื่อการสนทนาโดยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันเป็นการส่วนตัวผ่านทางเครือข่าย อินเทอร์เน็ต ในลักษณะของการโต้ตอบอย่างทันทีทันใด (Real Time) ซึ่งในปัจจุบัน

โปรแกรม การสนทนาออนไลน์ (Chat) มีอยู่หลากหลาย เช่น MSN, Google Talk, Yahoo Messenger, Skype ฯลฯ

35.       หน่วยงานสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการประชาสัมพันธ์ตามข้อใด

(1)       รวบรวมข่าวสารนำเสนอทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน

(2)       ส่งข้อมูลข่าวสารด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)

(3)       ทำหน้าเว็บบอร์ดเพื่อให้ผู้รับเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะได้   (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ในปัจจุบันหน่วยงานต่าง ๆ ได้ใช้การประซาสัมพันธ์ผ่านอินเทอร์เน็ตกันอย่าง กว้างขวาง ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกันไป เช่น การรวบรวมข่าวสารนำเสนอทาง เว็บไซต์ (Web site) ของหน่วยงานการส่งข้อมูลข่าวสารด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail), การทำหน้าเว็บบอร์ด (Web board) เพื่อให้ผู้รับเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะได้ ฯลฯ

36.       เหตุใดหน่วยงานจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรต้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

(1)       ให้บุคลากรสามารถสร้างเครื่องมือสื่อสารใช้ในหน่วยงานได้

(2)       ให้บุคลากรผลิตและซ่อมแซมเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ ได้อย่างชำนาญ

(3)       ให้บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร

(4)       ให้บุคลากรมีความมั่นใจในการเลือกใช้ช่องทางในการสื่อสาร

ตอบ 3 (คำบรรยาย) เทคโนโลยีสารสนเทศนับว่ามีความสำคัญมากในการประชาสัมพันธ์ปัจจุบัน เพราะได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งที่จำเป็นต่อการดำเนินกิจกรรมด้านต่าง ๆ ของหน่วยงาน ทำให้หน่วยงานมีความจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้บุคลากร มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารไปสู่ กลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

37.       จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ต่างจากจดหมายธรรมดาตามข้อใด

(1)       ตัวอักษร          (2) เนื้อหา        (3) ช่องทางการส่ง       (4) ผิดทุกข้อ

ตอบ 3 (คำบรรยาย) จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล์ (Electronic Mail ะ E-mail) หมายถึง การส่ง ข้อความหรือข่าวสารจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่น ๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยจะมี ลักษณะเป็นการรับส่งจดหมายถึงกันเหมือนกับการส่งจดหมายธรรมดา แต่ต่างกันตรงที่ช่องทาง การส่งของอีเมล์จะอยู่ในรูปแบบของสัญญาณข้อมูลที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และสามารถติดต่อกันได้อย่างทั่วถึงทุกภูมิภาคที่ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

38.       การส่งข่าวสารประชาสัมพันธ์ไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว มีประโยชน์ในข้อใด

(1)       ลดความผิดพลาดเนื่องจากการรับข่าวสารไม่ทันตามเวลาที่กำหนด

(2)       แสดงให้เห็นศักยภาพด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรในหน่วยงาน

(3)       ช่วยให้ผู้รับสารเข้าใจข่าวสารได้ง่ายขึ้น          (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 (คำบรรยาย) การนำเทคโนโลยีสารสบเทศทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี ด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมาใช้ในการส่งข่าวสารประชาสัมพันธ์มีประโยชน์ประการหนึ่ง คือ ทำให้ส่งข่าวสารประชาสัมพันธ์ไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยลดความผิดพลาด เนื่องจากการรับข่าวสารไม่ทันตามเวลาที่กำหนด

39.       การประชาสัมพันธ์ทางอินเทอร์เน็ตมีความพิเศษตามข้อใด

(1)       สามารถใช้ทั้งภาพและเสียง โดยสามารถสื่อสารได้ตลอดเวลา

(2)       ใช้ได้ทุกที่ทั่วโลภไม่มีข้อยกเว้น

(3)       ข้อมูลที่ได้มีความเที่ยงธรรม ถูกต้องกว่าการประชาสัมพันธ์ด้วยวิธีอื่น         

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ

40.       เหตุใด ม.ร. ใช้การประชาสัมพันธ์ทางอินเทอร์เน็ต

(1) เพื่อความทันสมัย   (2) เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ

(3) เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้ข่าวสารได้รวดเร็ว           (4) เพื่อให้ข่าวสารมีความน่าเชื่อถือ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ

41.       ประชาสัมพันธ์มีหน้าที่ตามข้อใด

(1) ประกาศโฆษณาสินค้า      

(2) ตอบคำถามทั่วไป 

(3) ปรากฏตัวในงานกุศล 

(4) สร้างความเข้าใจ

ตอบ 4 หน้า 83, (คำบรรยาย) หน้าที่ของนักประซาสัมพันธ์โดยตรง คือ เป็นผู้ที่ให้คำปรึกษาแนะนำ แก่ผู้บริหาร ผู้ร่วมงาน ตลอดจนสร้างความเข้าใจอันดีกับประชาชนที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งถือเป็นกลุ่มเป้าหมายที่นักประชาสัมพันธ์ให้ความสำคัญมากที่สุด

42.       ถ้านักประชาสัมพันธ์คือผู้ส่งสาร ใครคือกลุ่มเป้าหมาย

(1) คณะรัฐบาล           

(2) สื่อมวลชน  

(3) พรรคการเมือง       

(4) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 41. ประกอบ

43.       วิชาการประชาสัมพันธ์มุ่งให้ผู้ศึกษามีความเข้าใจอย่างแท้จริงในข้อใด

(1) บุคลิกภาพ 

(2) การพูด       

(3) มวลชน       

(4) ความน่าเชื่อถือ

ตอบ 3 หน้า 27 ผู้ที่จะทำงานเป็นนักประชาสัมพันธ์จะต้องศึกษาวิชาต่าง ๆ ที่เป็นพื้นฐานเพื่อ

เป็นการปูพื้นไว้ให้แก่ตนเอง เช่น วิชาสังคมวิทยา ภาษาศาสตร์ จิตวิทยา ปรัชญา รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ฯลฯ เพราะวิชาการประชาสัมพันธ์จะช่วยให้ผู้ศึกษามีความรู้ความเข้าใจ อย่างแท้จริงในมนุษย์ (มวลชน) และสังคมได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ความคิดกว้างไกล และมองปัญหา ต่าง ๆ ด้วยความเที่ยงธรรมและสุขุมรอบคอบ

44.       ข้อใดเสมือนสะพานเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานกับมวลชนที่เกี่ยวข้อง

(1) การสารนิเทศ         (2) การประชาสัมพันธ์

(3) การส่งเสริมการจำหน่าย    (4) กิจการสาธารณะ

ตอบ 2 หน้า 8353, (คำบรรยาย) การประชาสัมพันธ์เปรียบเสมือนสะพานที่คอยเชื่อมโยงหรือประสานความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันหรือหน่วยงานกับกลุ่มประชาชนหรือมวลชนที่เกี่ยวข้อง ทังนี้เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันและถ้อยทีถ้อยอาศัยต่อกัน เพื่อความกลมกลืนของระบบสังคม

45.       การประชาสัมพันธ์คือ กระบวนการสื่อสารขององค์กรข้อใด

(1) การดำเนินงานทางธุรกิจกับสังคม (2) สาธารณชนกับสังคม

(3) สถาบันทางการสื่อสารมวลชน       (4) งานโฆษณาและงานประชาสัมพันธ์

ตอบ 1 หน้า 8 การประชาสัมพันธ์เป็นกระบวนการสื่อสารที่มีทิศทางสวนกลับกันสองทิศทาง(Two-way Process) กล่าวคือ สุดทางด้านหนึ่งของกระบวนการนี้คือ สถาบันใด ๆ ในสังคม ซึ่งอาจเป็นกลุ่มชนเล็ก ๆ องค์กรรัฐวิสาหกิจ หน่วยราชการ หรือองค์กรทางธุรกิจการค้าใด ๆ ก็ได้ แต่สุดทางอีกด้านหนึ่งคือ มวลชนหรือประชาชนกลุ่มใหญ่ในสังคม

46.       ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับงานประชาสัมพันธ์

(1) การดำเนินการเพื่อสถาบันและมวลชน      (2) มีการกระทำที่ต่อเนื่องยาวนานไม่ลดละ

(3) ไม่มีการกำหนดกลุ่มชน     (4) มีการวางแผนงาน

ตอบ 3 หน้า 10 – 121453129, (คำบรรยาย) ลักษณะสำคัญของงานประชาสัมพันธ์ มีดังนี้

1.         เป็นงานขั้นบริหารที่รับผิดชอบโดยฝ่ายบริหาร (Executive) หรือฝ่ายจัดการ

2.         ดำเนินการเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันกับมวลชน

3.         มีการวางแผนงาน และกำหนดกลุ่มประชาชนเป้าหมาย

4.         มีการกระทำอย่างต่อเนื่องโดยใช้ระยะเวลายาวนานไม่มีที่สิ้นสุด ไม่หยุดนิ่ง ไม่ลดละ

5.         มีการวัดหรือตรวจสอบกระแสประชามติ (ความคิดเห็น) ของกลุ่มประชาชน ฯลฯ

47.       ข้อใดคือ การสารนิเทศ

(1) การให้ข่าวสาร       (2) การโฆษณา           (3) การป่าวประกาศ    (4) การสร้างแรงจูงใจ

ตอบ 1 หน้า 17-18 การสารนิเทศ (Information Service) คือ การให้ข่าวสารข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ให้ชาวต่างชาติได้รู้จักประเทศไทย เช่น นโยบายของรัฐบาล ศิลปวัฒนธรรมไทย รวมทั้งการให้ความสะดวก ช่วยเหลือ ปรับความเข้าใจ แก้ไขความเข้าใจผิด และการแสดง อัธยาศัยไมตรีหรือผูกสัมพันธไมตรี ฯลฯ ซึ่งประเทศไทยได้ทำการสารนิเทศมานานแล้ว โดยมีสำนักงานแถลงข่าวไทยในสังกัดของกรมประชาสัมพันธ์ อยู่ที่กรุงวอชิงตัน ลอนดอน ฯลฯ

48.       ข้อใดคือ ข้อแรกขององค์ประกอบพื้นฐานของการประชาสัมพันธ์

(1) กระบวนการสื่อสารศิลปนิเทศน์    (2) ปรัชญาการบริหารสังคม

(3) กำหนดแผนงานประชาสัมพันธ์     (4) หมายถึง การติดต่อสื่อสาร

ตอบ 2 หน้า 18 – 21 องค์ประกอบพื้นฐานของการประชาสัมพันธ์มี 4 ประการ คือ

1.         เป็นพื้นฐานของปรัชญาการบริหารสังคม

2.         เป็นปรัชญาทางสังคมที่แสดงออกในการตัดสินใจอย่างถูกต้อง

3.         เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องมาจากการกำหนดนโยบายที่ดี

4.         การประชาสัมพันธ์ หมายถึง การติดต่อสื่อสาร

49.       นักประชาสัมพันธ์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรอบรู้ตามข้อใด

(1) สุนทรียศาสตร์       (2) สังคมศาสตร์          (3) วิทยาศาสตร์          (4) ประชากรศาสตร์

ตอบ 2 หน้า 28 นักประชาสัมพันธ์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรอบรู้อย่างกว้างขวางทางด้านสังคมคาสตร์ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีทักษะในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะ ด้านการเขียน พูด อ่าน ฟัง หรือคิด

50.       จุดเด่นของนักประชาสัมพันธ์สตรีในการปฏิบัติงานได้ดีเท่าเทียมชาย คือข้อใด

(1) ตรงไปตรงมา         (2) เข้มแข็ง หนักแน่น  (3) มีความคล่องตัว     (4) ไม่ก้าวก่ายงานบริหาร

ตอบ 3 หน้า 34 นักประชาสัมพันธ์สตรีจะประสบความสำเร็จก้าวหน้าได้ง่าย เพราะมีความสามารถ เฉพาะตัวมาแต่กำเนิด และก้าวออกมาสู่สังคมภายนอกอย่างมั่นใจ ปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี เท่าเทียมกับผู้ชาย มีความรับผิดชอบ อ่อนโยน รอบคอบ รู้จักผ่อนหนักเป็นเบา ละเอียดถี่ถ้วน มีความคล่องตัว พบปะสื่อมวลชนได้อย่างมีเสน่ห์และน่าประทับใจ

51.       ข้อใดไม่ใช่บริษัทรับจ้างดำเนินงานประชาสัมพันธ์ที่มีชื่อเสียง

(1) Ruder & Finn 

(2) Hill & Knowlton 

(3) PRSA   

(4) Carl Byoir& Assocs

ตอบ 3 หน้า 23 – 2437 บริษัทรับจ้างทำประชาสัมพันธ์ที่มีชื่อเสียงของโลก ได้แก่

1.         Hill & Knowlton       2. Ruder & Finn

3. Carl Byoir & Assocs        4. J. Walter Thompson P.R.

5.         Burson – Marsteller         6. Harshe – Rotman & Druck ฯลฯ (ส่วน PRSA คือ สมาคมนักประชาสัมพันธ์ของสหรัฐอเมริกา)

52.       แรงผลักดันให้เกิดกระแส ศักราชของแจคสัน” ส่งให้พัฒนาการของสื่อใดเพิ่มขึ้น

(1) แผ่นปลิวประชาสัมพันธ์    

(2) จดหมายข่าว

(3) วารสารประชาสัมพันธ์       

(4) หนังสือพิมพ์

ตอบ 4 หน้า 63 Amos Kendall ซึ่งเป็นอดีตนักหนังสือพิมพ์มาก่อน ได้เป็นที่ปรึกษาคนสำคัญใน การบริหารงานสมัยประธานาธิบดีแจคสันของสหรัฐฯ โดยเขาเป็นผู้ช่วยขั้นมันสมองในการ จัดวางนโยบายระดับลง และใช้หนังสือพิมพ์เป็นสื่อสำคัญในการเผยแพร่ผลงานของรัฐบาล เพื่อที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายชาวอเมริกันให้มากที่สุด ซึ่งส่งผลให้มีหนังสือพิมพ์เพิ่มขึ้น อย่างมากมายในสมัยนั้น ดังนั้นเขาจึงเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการสร้างความสำเร็จให้กับ ประธานาธิบดีแจคสัน หรือที่เรียกกันว่า ศักราชของแจคสัน

53.       นักประชาสัมพันธ์ผู้แนะนำไม่ให้สวนกระแสประชามติคือใคร

(1) พอล การ์เรท          (2) ไอวี่ ลี         (3) จอห์น ฮิล   (4) จอร์จ ครีล

ตอบ 2 หน้า 67 ไอวี่ ลี เป็นคนแรกที่เชื่อว่าการปกปิดไม่ยอมเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับสถาบันให้ ประชาชนได้ทราบนั้นเป็นความคิดที่ผิด เพราะหน้าที่ของนักประชาสัมพันธ์ คือ คอยแนะนำ ไม่ให้องค์กรหรือบุคคลกระทำตนสวนกระแสหรือขัดกับประชามติ ซึ่งถ้าหากบุคคลและสถาบัน สามารถปรับตัวให้เข้ากับประชาชนได้เรื่องยุ่งยากก็จะไม่เกิดขึ้น และถ้าจะให้ประชาชนเข้าใจ บริษัทแล้วก็ต้องใช้วิธีเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา

54.       สื่อประชาสัมพันธ์ที่พัฒนาการต่อจากสัญญาณที่ทำด้วยวัสดุพื้นบ้าน คือข้อใด

(1) ภาษาพูด    (2) ภาษาเขียน            (3) ก่อสร้างเทวสถาน  (4) ลัทธิบูชาวิญญาณ

ตอบ 1 หน้า 57 – 58 สื่อประชาสัมพันธ์ของมนุษย์มีพัฒนาการตามลำดับ ดังนี้

1.         ภาษาใบ้

2.         สัญญาณที่ทำด้วยวัสดุพื้นบ้าน หรือข้าวของที่หามาได้ง่าย ๆ เช่น การตีเกราะเคาะไม้ สัญญาณควันไฟ จังหวะเสียงกลอง การเป่าเขาควาย ฯลฯ

3.         ภาษาพูด

4.         ภาษาเขียน

5.         การพิมพ์หนังสือ การส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

55.       “Amos Kendall” มีความชำนาญใช้สื่อประชาสัมพันธ์ในข้อใด

(1) นักโฆษณา            (2) นักหนังสือพิมพ์      (3) นักการเมือง           (4) อาจารย์มหาวิทยาลัย

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 52. ประกอบ

56.       ผู้อำนวยความสะดวกแก่ผู้มาติดต่อ คือความหมายข้อใด

(1) Group Interview  (2) Interpersonal Communication

(3) Information (4) Information Service

ตอบ 3 หน้า 79597 แผนกติดต่อสอบถาม (Information) หรือที่ชาวอังกฤษและประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษนิยมใช้คำว่า “Enquiry” คือ งานต้อนรับ หรือติดต่อสอบถาม เรื่องราวทั่วไปของสถาบันนั้น ๆ ซึ่งเป็นบริการของหน่วยงานด่านแรกที่ได้ให้กับประชาชน โดยเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการจะต้องมีความรู้ในสถาบันของเขาเป็นอย่างดียิ่ง หรือทำหน้าที่เป็น เหมือนผู้ต้อนรับ (Receptionist) ที่คอยชี้แจงเรื่องราวต่าง ๆ และพร้อมที่จะช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกแก่แขกหรือผู้มาติดต่อด้วยความเต็มใจ

57.       หน้าที่หลักที่เป็นหัวใจของนักประชาสัมพันธ์มีกี่ข้อ

(1) สาม           (2) ห้า  (3) แปด           (4) สิบ

ตอบ 3 หน้า 85 – 86 ภาระหน้าที่หลักอันเป็นหัวใจสำคัญของนักประชาสัมพันธ์มี 8 ประการ ได้แก่

1.         การเขียน (Writing)         2. การแก้ไขตกแต่งต้นฉบับ (Editing)

3. การติดต่อสื่อสาร (Placement) 4. การส่งเสริมเผยแพร่ (Promotion)

5. การปาฐกถา (Speaking)       6. การผลิตอุปกรณ์และเผยแพร่ผลงาน (Production)

7. การจัดทำรายการ (Programming) 8. การโฆษณาสถาบัน (Institutional Advertising)

58.       วิธีการเขียนข่าวในปัจจุบันได้รับแบบอย่างมาจากข้อใด

(1) ข่าวกีฬาสมัยโรมัน (2) ข่าวย่อยของบางกอกรีคอร์เดอร์

(3) ข่าวสังคมสมัยนโปเลียน    (4) ข่าวสงครามกลางเมืองสหรัฐฯ

ตอบ 4 หน้า 62 – 63 การส่งข่าวในช่วงสงครามกู้อิสรภาพและสงครามกลางเมืองของสหรัฐฯ(สงครามเลิกทาส) ต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วฉับไว จึงได้มีการคิดหาวิธีการเขียนข่าวหรือ รายงานข่าวอย่างสั้น ๆ และสรุปใจความสำคัญ ๆ ให้ได้มากที่สุด คือ การเขียนถึงหัวใจสำคัญ ของเรื่องในข่าวนำ ส่วนข่าวที่มีความสำคัญต่อมาก็เขียนไว้ตอนท้าย ซึ่งถือเป็นแบบอย่างของ วิธีการเขียนข่าวใบปัจจุบัน

59.       การสื่อสารด้วยวิธีการ ต่อสู้กับไฟ” ตรงกับข้อใด

(1) การแก้ปัญหาด้วยการแลกเปลี่ยนทัศนคติ            (2) ทฤษฎีประชาสัมพันธ์แก้ปัญหาได้ทุกกรณี

(3) การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งด้วยการสร้างไมตรี     (4) การละเลยต่อปัญหาจนถึงจุดอันตราย

ตอบ 4 หน้า 108 การวางแผนประชาสัมพันธ์มี 2 วิธี ได้แก่

1.         วิธีการต่อสู้กับไฟ (Fire Fighting) คือ การละเลยหรือปล่อยให้ปัญหาถึงจุดอันตราย และระเบิดขึ้นในรูปของวิกฤติการณ์อันร้ายแรงจนไม่สามารถยับยั้งหรือแก้ไขได้ เช่น การนัดหยุดงาน การประท้วงของนักศึกษา ฯลฯ

2.         วิธีป้องกันไฟ (Fire Prevention) คือ การศึกษาวิจัยเพื่อรวบรวมข้อมูลจากทัศนคติ ของมหาชน ซึ่งจำเป็นต้องใช้การวางแผนระยะยาว และเป็นแผนงานที่ต้องกระทำ ต่อเนื่องกับไปไม่มีที่สิ้นสุด

60.       ความหมายของภาษาตามข้อใด ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในงานประชาสัมพันธ์บ่อย

(1) ความหมายด้านวัตถุ          (2) ความหมายไม่เปลี่ยนแปลง

(3) ความหมายขึ้นกับจินตนาการ        (4) การสื่อความหมายทางการเมือง

ตอบ 3 หน้า 150165 – 166 Semantics หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของคำหรือภาษา ซึ่งจะมีความหมายแตกต่างกันใน 2 ลักษณะ คือ 1. ความหมายด้านวัตถุ (Denotative) เป็นความหมาย ตามพจนานุกรมที่มีลักษณะแท้จริง คงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และเป็นสิ่งที่แน่นอนตายตัว

2.         ความหมายด้านนามธรรม (Connotative) จะเกี่ยวข้องกับจิตใจของมนุษย์ มีการเปลี่ยนแปลง ไม่คงที่ ทำให้มีความหมายหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับจินตนาการ ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี ความรู้สึกนึกคิด และสิ่งแวดล้อมของแต่ละสังคม จึงก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในงานประชาสัมพันธ์บ่อยมาก

61.       จุดมุ่งหมายของงานประชาสัมพันธ์ คือข้อใด

(1) สร้างภาพ   

(2) ความนิยมเชื่อถือ

(3) จัดฉากผังงานโฆษณา       

(4) ขยายขอบเขตการตลาด

ตอบ 2 หน้า 1021, (คำบรรยาย) การประชาสัมพันธ์มีจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสร้าง และดำรงไว้ซึ่งความเข้าใจอันดีระหว่างองค์กรกับประชาชน โดยการสร้างความนิยมเชื่อถือ ความเลื่อมใส ไว้เนื้อเชื่อใจ ให้เกิดขึ้นกับประชาชนหรือผู้ที่บริษัทและองค์กรต้องการ ซึ่งมี เป้าหมายของการประชาสัมพันธ์ที่ต้องการอย่างแท้จริง คือ ความสนับสนุนและเป็นที่ยอมรับ ของประชาชนในสังคม

62.       ข้อใดคือ นักประชาสัมพันธ์

(1) นางงามยิ้มหวาน ๆ ทำหน้าที่ต้อนรับ         

(2) ผู้กำกับภาพยนตร์สารคดี

(3) ดาราเด่นละครทีวี  

(4) ผู้โฆษณาสินค้าทางโทรทัศน์

ตอบ 2 หน้า 26 – 27208, (คำบรรยาย) อาชีพของนักประชาสัมพันธ์ที่มุ่งหวังให้เป็นวิชาชีพหลัก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. นักประชาสัมพันธ์ที่เรียกโดยตรง เช่น นักประชาสัมพันธ์ ตามบริษัทต่าง ๆ ที่อยู่ในตำแหน่งโดยตรง 2. นักประชาสัมพันธ์ที่ไม่ได้เรียกโดยตรง แต่เป็น ผู้ที่มีอาชีพบริหารสื่อในวงการสื่อสารมวลชน เช่น นักหนังสือพิมพ์ ผู้ทำงานด้านวิทยุและโทรทัศน์ ผู้กำกับภาพยนตร์ ฯลฯ

63.       ข้อใดคือ ความเข้าใจผิดในทางลบเกี่ยวกับความหมายของการประชาสัมพันธ์

(1) การท่องเที่ยว         

(2) การโฆษณาประชาสัมพันธ์

(3) การโฆษณาชวนเชื่อ           

(4) การโฆษณา

ตอบ 3 หน้า 46 คำว่า การประชาสัมพันธ์” เป็นคำที่คนเข้าใจผิดกันมากคำหนึ่ง คือ เข้าใจ สับสน ไขว้เขว ไปทั้งในทางบวกและทางลบ ซึ่งความเข้าใจผิดในทางลบที่หนักที่สุดก็คือ การเข้าใจว่า การประชาสัมพันธ์เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) หรือล้างสมอง ที่เบาลงหน่อยก็คือ เข้าใจว่าเป็นการโฆษณา (Advertising) จึงมักเรียกชื่อรวม ๆ กันว่า การโฆษณาประชาสัมพันธ์ แต่แท้จริงแล้วการขายบริการของการประชาสัมพันธ์กับการขายสินค้าของการโฆษณาเป็น คนละเรื่องกันโดยสิ้นเชิง

64.       โฆษกรัฐบาลในฐานะนักประชาสัมพันธ์ต้องยึดถือการเผยแพร่ข่าวสารตามข้อใด

(1) เปิดเผยข้อเท็จจริง (2) รักษาเรื่องลับเฉพาะไว้อย่างดี

(3) เรื่องยังมาไม่ถึงขอศึกษาดูก่อน      (4) สื่อสารอย่างเป็นกันเองจนผู้สื่อข่าวจับประเด็นไม่ได้

ตอบ 1 หน้า 54357, (คำบรรยาย) โฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี หรือโฆษกของรัฐบาล (Press Secretary) คือ ผู้ที่อยู่ในฐานะนักประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล ซึ่งมีหน้าที่แถลงข่าว เผยแพร่ข่าวสาร/ผลงาน ของรัฐ และเสนอนโยบายของรัฐบาลผ่านทางสื่อมวลชนไปให้ประชาชนได้รับทราบ ตามที่นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้าใหญ่ในการประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลได้มอบหมาย โดยจะต้อง เปิดเผยข้อเท็จจริง 100% และไม่บอกปัดหรือให้เหตุผลว่า เป็นเรื่องลับเฉพาะ” เพราะจะทำให้ การสร้างความเข้าใจกับปวงชนนั้นน้อยลงไป

65.       คุณสมบัติขององค์กร เช่น บริษัทน้ำมัน เกี่ยวข้องกับงานประชาสัมพันธ์ตามข้อใด

(1)       มีความดีหรือเลวเพียงไร

(2)       เป็นหน่วยงานอิสระมากน้อยเพียงใด

(3)       ปฏิบัติการตามเป้าหมายเพียงพอหรือเปล่า

(4)       สามารถบันทึกปฏิกิริยาโต้ตอบของมหาชนได้มากหรือไม่

ตอบ 1 หน้า 8 ระดับหรือคุณสมบัติของสถาบันหรือองค์กร คือ การใช้ถ้อยคำเพื่อแสดงระดับหรือคุณสมบัติของสถาบันหนึ่ง ๆ ว่าดีหรือเลวแค่ไหน เพียงไร ในสายตาและความนิยมของประชาชน โดยถ้าขอเสียง กิจกรรม หรือผลงานของสถาบันมีประชาชนนิยมเลื่อมใสและรู้จักกันอย่าง กว้างขวางก็นับเป็นการประชาสัมพันธ์ที่ดี แต่ถ้าประชาชนไม่รู้จัก ไม่ใคร่นิยมเลื่อมใส หรือ ไม่สนใจในสถาบันก็นับเป็นการประชาสัมพันธ์ที่ไม่ได้ผล

66.       จุดมุ่งหมายในการสร้างความเข้าใจอันดีในงานประชาสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มในข้อใด

(1) ฝ่ายประชาสัมพันธ์กับฝ่ายโฆษณา           (2) องค์กรกับประชาชน

(3) สื่อมวลชนกับรัฐบาล         (4) องค์กรของรัฐบาลกับฝ่ายโฆษณาประชาสัมพันธ์

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ

67.       ผู้ที่จะทำงานประชาสัมพันธ์ควรมีความเข้าใจได้ดียิ่งขั้น ทำให้ความคิดกว้างไกล คือข้อใด

(1) มนุษย์และสังคม    (2) อารมณ์และความรู้สึก

(3)       วัฒนธรรมและภาษา   (4) การศึกษาและประสบการณ์

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 43. ประกอบ

68.    ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับงานฝึกหัดอบรมงานประชาสัมพันธ์

(1) สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท.     (2) สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5

(4)       มูลนิธิเพื่อกิจกรรม      (4) บริษัทส่งเสริมการขายตรง

ตอบ 4 หน้า 28 การฝึกหัดอบรมงานประชาสัมพันธ์ตามสถาบันหรือองค์กรต่าง ๆ เช่น สถานวิทยุ- กระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ สถาบันหนังสือพิมพ์ องค์กรสาธารณกุศล องค์กรธุรกิจ ฯลฯ ก็เพื่อให้รู้จักการวางตัวให้เข้ากับภาวะต่าง ๆ ในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะการเข้ากับประชาชน ให้ได้เป็นอย่างดี

69.       ข้อใดไม่ใช้คำขวัญโฆษณาเพื่องานประชาสัมพันธ์

(1) ภรรยา คือ ศรีบ้าน (2) ขับช้าอีกนิดชีวิตจะปลอดภัย

(3) น้ำให้ชีวิต   (4) พรรคการเมืองเป็นหลักชัยของประชาชน

ตอบ 4 หน้า 129 – 130314 – 315 คำขวัญประชาสัมพันธ์ หรือคำขวัญโฆษณาเพื่องานประชาสัมพันธ์ หรือการวางแผนกำหนดหัวข้อประชาสัมพันธ์ (Themes) คือ คำขวัญที่มีเนื้อหาเพื่อช่วยเหลือ สังคม ซึ่งจะต้องไม่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการขององค์กร โดยอาจใช้คำพูดสั้น ๆ ที่กินใจ และจดจำได้ง่าย หรืออาจใช้เป็นภาพสัญลักษณ์เพื่อเตือนใจและติดตามกลุ่มเป้าหมาย

70.       การบริหารงานประชาสัมพันธ์ ข้อใดผิด

(1) สำรวจหาข้อเท็จจริง           (2) ตรวจสอบผลงาน

(3) ลด แลก แจก แถม ณ จุดขาย        (4) วางกลยุทธ์

ตอบ 3 หน้า 9097 – 99 ในการบริหารงานประชาสัมพันธ์ นักประชาสัมพันธ์ระดับบริหารจะต้อง ดำเนินงานตามแต่ละขั้นตอนของการวางแผนประชาสัมพันธ์ คือ เริ่มจากการค้นคว้าวิจัยเพื่อ สำรวจหาข้อเท็จจริง วางแผนกลยุทธ์เพื่อปฏิบัติการ ดำเนินการติดต่อเผยแพร่ข่าวสาร และ ขั้นตอนสุดท้ายก็คือ ประเมินผลหรือตรวจสอบผลงาน

71.       ข้อใดไมใช่กิจกรรมส่วนย่อยของงานประชาสัมพันธ์บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์อินดีส

(1) การโฆษณา           

(2) ติดต่อสอบถาม 

(3) การเผยแพร่    

(4) การสารนิเทศ

ตอบ 1 หน้า 716 – 18, (คำบรรยาย) กิจกรรมส่วนย่อยของงานประชาสัมพันธ์ ได้แก่ 1. ติดต่อสอบถาม (Information)   2. การเผยแพร่ (Publicity)     3.   การสารนิเทศ (Information Service)        4. กิจการสาธารณะ (Public Affairs)  5. การส่งเสริมการจำหน่าย (Sale Promotion) ในรูปแบบงานประชาสัมพันธ์

72        ……….เป็นหน่วยงานรับจ้างสถาบันธุรกิจจัดทำภาพข่าวความก้าวหน้าในกิจการต่าง ๆ ขององค์กรให้ประชาชนได้ทราบ

(1) สำนักงานเผยแพร่ 

(2) สำนักงานที่ปรึกษาทางธุรกิจ

(3) สำนักงานผลิตรายการโทรทัศน์     

(4) สำนักงานสารนิเทศ

ตอบ 1 หน้า 36 สำนักงานของนักหนังสือพิมพ์ หรือสำนักงานเผยแพร่ (Press Agent) เป็นหน่วยงาน รับจ้างสถาบันธุรกิจเขียนข่าว บทความ จัดทำภาพข่าว เพื่อเผยแพร่ความเคลื่อนไหวและ ความก้าวหน้าในกิจการต่าง ๆ ขององค์กรให้ประชาชนได้ทราบ

73.       เจ้าของบริษัทรับจ้างทำประชาสัมพันธ์อันดับหนึ่งของโลกในสหรัฐอเมริกาในอดีตมีอาชีพอะไร

(1) ดาราภาพยนตร์จากฮอลลีวู้ด 

(2) ทนายความ 

(3) นักหนังสือพิมพ์            

(4) เกษตรกร

ตอบ 3 หน้า 3869 John WHill อดีตนักหนังสือพิมพ์อเมริกันผู้เคยร่วมบุกเบิกในยุคของการประชาสัมพันธ์สมัยใหม่ ได้ก่อตั้งสำนักงานที่ปรึกษาทางด้านการประชาสัมพันธ์ หรือบริษัท รับจ้างทำประชาสัมพันธ์ (Public Relations Agency) ที่ใหญ่โตเป็นอันดับหนึ่งของโลกชื่อว่า Hill and Knowlton หรือเรียกชื่อสั้น ๆ ว่า H & K โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ New York

74.       ปรัชญาการบริหารงาน ….. เน้นในเรื่องของจิตใจที่เอื้อเพื่อ นึกถึงผู้อื่นมากกว่าตนเอง

(1) การประชาสัมพันธ์ (2) การเผยแพร่

(3)       การสื่อสารรูปตัวที      (4) การสื่อสารป้องกันตนเอง

ตอบ 1 หน้าคำนำ19 Paul พ. Garrett นักประชาสัมพันธ์ชาวอเมริกันรุ่นบุกเบิก ได้กล่าวไว้ว่า ปรัชญาการบริหารของงานประชาสัมพันธ์นั้น เน้นในเรื่องของจิตใจที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ นึกถึงผู้อื่นมากกว่าตนเอง ให้ความสนใจต่อประชาชนเป็นอันดับแรก ซึ่งเกี่ยวข้องอย่างสำคัญกับ การตัดสินใจในการดำเนินงานของสถาบัน

75.       สมาคมการประชาสัมพันธ์อเมริกันมีสองสมาคม ต่อมาได้รวมเป็นสมาคมเดียวกัน เรียกว่าอะไร

(1)       PCNN        (2) BBC      (3) BOAR   (4) PRSA

ตอบ 4 หน้า 23 – 24 ในสหรัฐอเมริกามีสมาคมการประชาสัมพันธ์สองสมาคม คือ Public Relations Society of America และ America Public Relations Association ซึ่งต่อมาได้รวมเป็น สมาคมเดียวกัน เรียกว่า Public Relations Society of America (PRSA) ทั้งนี้ถือว่า สมาคมนักประชาสัมพันธ์ของสหรัฐอเมริกาได้เริ่มงานอย่างจริงจังก่อนประเทศอื่น

76.       องค์กรใดมีบทบาทในการส่งเสริมสถานภาพสตรี ได้จัดพิมพ์คู่มือเกี่ยวกับงานอาชีพประชาสัมพันธ์ให้คำแนะนำที่มีประโยชน์มาก        

(1) องค์กรสื่อมวลชนประเทศเยอรมนี ร่วมกับสายการบินลุฟแฮนซา

(2)       สมาคมนักประชาสัมพันธ์สหรัฐฯ (3) สายการบินนอร์ทอิส สหรัฐฯ

(4)       สมาคมนักประชาสัมพันธ์ประเทศอังกฤษ

ตอบ 2 หน้า 32 – 33 สมาคมนักประชาสัมพันธ์ของสหรัฐอเมริกา (PRSA) ได้ให้ความร่วมมือกับ หน่วยงาบธุรกิจเอกชนที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง เพื่อจัดทำโครงการให้ความช่วยเหลือสตรีให้ได้ ประกอบอาชีพในงานประชาสัมพันธ์ และมีการจัดพิมพ์คู่มือเกี่ยวกับงานอาชีพประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีคำแนะนำที่มีประโยชน์อย่างมาก นอกจากนี้ยังวางแผนส่งเสริมสถานภาพสตรีในแวดวง งานประชาสัมพันธ์ระดับสากลทำให้สตรีมีโอกาสทำงานประชาสัมพันธ์กันมากขึ้น

77.       ข้อใดคือ กิจกรรมประชาสัมพันธ์ภายในของมหาวิทยาลัยรามคำแหง

(1) เป็นเจ้าภาพจัดกีฬามหาวิทยาลัย  (2) จัดประชุมผู้สื่อข่าวเรื่องหลักสูตรรัฐศาสตร์ภาคพิเศษ

(3)       จัดทำแผ่นปลิวประชาสัมพันธ์ (4) ข้อ 1 และ 3 ถูก

ตอบ 3 หน้า 50, (คำบรรยาย) กิจกรรมประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร คือ กิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์ อันดีระหว่างสถาบันกับกลุ่มมวลชนภายในองค์กร ได้แก่ 1. กำหนดแผนงานประชาสัมพันธ์

2.         ตั้งที่ติดต่อสอบถาม (Information)     3. ตั้งแผงปิดประกาศ

4.         ออกวารสารข่าวภายใน เช่น ข่าวรามคำแหง แผ่นปลิวประชาสัมพันธ์ ฯลฯ

5.         จัดงานพิเศษที่เกี่ยวข้องกับมวลชนภายในองค์กร

6.         ให้หยุดพักผ่อน ให้ประกันสุขภาพ หรือให้ทุนการศึกษาแก่บุตรของพนักงาน

78        …..เป็นกิจกรรมประชาสัมพันธ์ภายนอกของมหาวิทยาลัยรามคำแหงในโอกาสครบรอบ 37 ปี ม.ร.

(1)       ออกแผ่นปลิวในโอกาส 37 ปี ม.ร.

(2)       ให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาทำกิจกรรมด้านสื่อสารมวลชน 30 ทุน

(3)       แข่งขันฟุตบอลนัดพิเศษอาจารย์ ม.ร. กับอาจารย์จุฬาฯ

(4)       ตั้งแผงปิดประกาศขนาดใหญ่หน้าสระน้ำ ม.ร.

ตอบ 3 หน้า 52, (คำบรรยาย), (ดูคำอธิบายข้อ 77. ประกอบ) กิจกรรมประชาสัมพันธ์ภายนอกองค์กร คือ กิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันกับกลุ่มมวลชนภายนอกองค์กร ได้แก่ 1. ออกหนังสือพิมพ์ วารสาร ฯลฯ เพื่อเผยแพร่ภายนอก 2. จัดประชุมผู้สื่อข่าว

3.         จัดงานพิเศษ งานแข่งขันกิพา นิทรรศการ ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับมวลชนภายนอกองค์กร

4.         บริการให้ประชาชนเข้าชมหน่วยงาน

5.         ถ่ายภาพ สไลด์ ทำภาพโปสเตอร์ และจัดทำภาพยนตร์ออกเผยแพร่ ฯลฯ

79.       จุดมุ่งหมายของงานประชาสัมพันธ์ในการแสดงออกให้ประชาชนเห็นการดำเนินกิจการของสถาบัน หรือ พี.อาร์. เชิงรุก คืออะไร

(1) Opinion Giver (2) Coordinator     (3) Reputation  (4) Goodwill

ตอบ 4 หน้า 55, (คำบรรยาย) ความมุ่งหมายของงานประชาสัมพันธ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.         เพื่อสร้างความนิยม (Goodwill) คือ การประชาสัมพันธ์เชิงรุกที่แสดงออกให้ประชาชน เห็นถึงการดำเนินกิจการของสถาบัน เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนกับ สถาบัน เช่น การจัดกิจกรรมช่วยเหลือสังคม หรือกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ ฯลฯ

2.         เพื่อป้องกันชื่อเสียง (Reputation) คือ การประชาสัมพันธ์เชิงรับที่พยายามขจัดความขัดแย้ง ต่าง ๆ อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดแก่ประชาชน ดังที่ Sam Black ได้กล่าวว่าการประชาสัมพันธ์ คือ การกระทำเพื่อค้นหาและทำลายเสียซึ่งที่มาของความเข้าใจผิด” เช่น การแถลงข่าวแสดงความเสียใจเมื่อเกิดวิกฤติการณ์ร้ายแรงในองค์กร “’ลฯ

80.       เพราะเหตุใดจึงต้องมี แถลงข่าวรายวัน” ในสมัยโรมัน

(1) ออกข่าวทางราชการ          (2) หอกระจายข่าวของผู้นำ

(3) ข่าวความมั่นคงทางทหารเพื่อครอบครองอียิปต์ (4) สรุปปรัชญาทางการเมือง

ตอบ 1 หน้า 59 ในสมัยโรมันโบราณมีการนำเสนอแถลงข่าวรายวัน หรือมีชื่อเรียกสั้น ๆ ว่า “Album” และมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “Acta Diuna” โดยเอกสารข่าวฉบับนี้มีลักษณะเป็น ป้ายกระดานสีขาวที่เขียนประกาศข่าวของทางราชการติดไว้ที่หน้าสภาซีเนตในกรุงโรม เช่น ข่าวประกาศกฎหมาย ประกาศการคลังเกี่ยวกับรายรับรายจ่าย ภาษีอากร ข่าวไฟไหม้ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ข่าวการเกิด การตาย เป็นต้น

81.       สื่อประชาสัมพันธ์ของสหรัฐฯ เมื่อเริ่มตั้งถิ่นฐาน คืออะไร

(1) ชุมนุมนักปาฐกถา  

(2) หนังสือพิมพ์

(3) ภาพยนตร์กลางแจ้ง          

(4) เครื่องรับวิทยุแบบเครื่องแร่ใช้หูฟัง

ตอบ 2 หน้า 60 หนังสือพิมพ์ถือเป็นสื่อแรกในงานประชาสัมพันธ์ของสหรัฐฯ เมื่อเริมตั้งถิ่นฐาน โดยหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของสหรัฐฯ ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นดินแดนอาณานิคมของอังกฤษอยู่ คือ บอสตัน นิวส์เลตเตอร์ (The Boston News Letter) เป็นหนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก 4 หน้า มี 2 คอลัมน์ และออกจำหน่ายสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยเริ่มออกในปี ค.ศ. 1704 ส่วนมากลงข่าว เกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ ในยุโรป

82.       แผนการประชาสัมพันธ์ในช่วงสงครามกลางเมืองของสหรัฐฯ ทำให้เกิดประชามติขึ้นกี่กลุ่ม

(1) สอง            

(2) สาม           

(3) สี่    

(4) ห้า

ตอบ 1 หน้า 61-62 แผนการประชาสัมพันธ์ในช่วงสงครามกลางเมืองหรือสงครามเลิกทาสของสหรัฐฯ ทำให้เกิดประชามติขึ้น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่นิยมระบบทาส (รัฐฝ่ายใต้) และกลุ่มที่คัดค้านระบบทาส (รัฐฝ่ายเหนือ)โดยทั้งสองกลุ่มได้ใช้การประชาสัมพันธ์ทุกอย่างเท่าที่จะทำได้เพื่อให้ประชามติ เข้าข้างตน แต่ด้วยวิธีการประชาสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพของสมาชิกรัฐฝ่ายเหนือ จึงทำให้ ชนะสงครามในที่สุด

83.       หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัย สมาคม มูลนิธิต่าง ๆ ของสหรัฐฯ ต่างจัดตั้งแผนกประชาสัมพันธ์ขึ้น เรียกว่าอะไร

(1) Publicity Department 

(2) Information Service

(3) Opinion Seeker    

(4) Recorder

ตอบ 1 หน้า 71-72 หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 บริษัทเงินทุน โรงงานอุตสาหกรรม และสถาบันเพื่อสาธารณประโยชน์หลายแห่งของสหรัฐฯ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย สมาคม และมูลนิธิช่วยเหลือด้านต่าง ๆ ฯลฯ ต่างจัดตั้งแผนกประชาสัมพันธ์ขึ้น โดยให้ชื่อว่า “Press Bureau” หรือเรียกว่า “Publicity Department” (สำนักงานหนังสือพิมพ์ หรือแผนกโฆษณาเผยแพร่)

84.       สมาคมนักประชาสัมพันธ์ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้จัดพิมพ์ตำราประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่หลายภาษา ยกเว้นข้อใด

(1) อิตาเลียน   (2) โปรตุเกส    (3) ฝรั่งเศส      (4) เยอรมัน

ตอบ 2 หน้า 423 สมาคมนักประชาสัมพันธ์ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1957 มีสมาชิกประมาณ 300 คน โดยทางสมาคมได้จัดพิมพ์ตำราหรือหนังสือประชาสัมพันธ์เพื่อ เผยแพร่ ซึ่งแปลเป็น 3 ภาษา คือ ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอิตาเลียน นอกจากนี้ ยังพิมพ์ตำราการประชาสัมพันธ์เป็นภาษาอังกฤษชื่อว่า “Public Relations Practice”เพื่อนำไปเผยแพร่ยังนานาประเทศ

85.       สื่อการพิมพ์ได้เริ่มเข้ามาในประเทศไทย ตรงกับรัชสมัยใดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

(1) รัชกาลที่ 2  (2) รัชกาลที่ 3  (3) รัชกาลที่ 4  (4) รัชกาลที่ 5

ตอบ 2 หน้า 77 ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทยได้ก้าวหน้าสู่ความเจริญในสมัยปัจจุบันอย่างเต็มที่ และเริ่มรับวิวัฒนาการใหม่จากตะรับตก เช่น การพิมพ์ ซึ่งได้เริ่มเข้ามาในประเทศไทยสมัย รัชกาลที่ 3 โดยมิชชันนารีชาวอเมริกันเป็นผู้นำเข้ามาเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2378

86.       …อยู่ตรงพระที่นั่งภานุมาศจำรูญ ได้เริ่มพิมพ์ประกาศของทางราชการเป็นครั้งแรกเมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2401

(1) โรงอักษรหน้าพระลาน (2) โรงอักษรพิมพ์การ        (3) โรงพิมพ์สยามมินทร์ (4) พระตำหนักสวนหงส์

ตอบ 2 หน้า 78 รัชกาลที่ 4 โปรดให้ตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง โดยพระราชทานนามว่าโรงอักษรพิมพ์การ” อยู่ตรงพระที่นั่งภาณุมาศจำรูญ ได้เริ่มพิมพ์ประกาศของทางราชการ เป็นครั้งแรกเมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2401 และในปีเดียวกันนี้โปรดให้พิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษา (Government Gazette) ฉบับปฐมฤกษ์ขึ้นด้วย ซึ่งนับเป็นวารสารประชาสัมพันธ์ของทางราชการฉบับแรก

87.       ข้อใดคือ ภาระหน้าที่ของนักประชาสัมพันธ์ในการเป็นที่ปรึกษาผู้บริหารระดับสูง

(1) ส่งเสริมการขาย     (2) การโฆษณา           (3) การปาฐกถา          (4) การจัดทำรายการ

ตอบ 4 หน้า 86, (คำบรรยาย) การจัดทำรายการ (Programming) คือ การวางแผนในเรื่องการบริหารสื่อ หรือวางกลยุทธ์ทางด้านการประชาสัมพันธ์ ซึ่งควรพิจารณาให้รอบคอบถึงจุดมุ่งหมาย นโยบาย ความต้องการของการดำเนินงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน โดยวางแผนเขียน โครงการที่แน่นอน เชื่อถือได้ และดำเนินงานตามแผนประชาสัมพันธ์ทั้งปัจจุบันและอนาคต ดังนั้นงานที่นับว่าสำคัญที่สุดของนักประชาสัมพันธ์ คือ การอยู่ในฐานะให้คำปรึกษาแนะนำ และช่วยเหลือด้านการประชาสัมพันธ์แก่ฝ่ายบริหารระดับสูงได้เป็นอย่างดี

88.       การส่งเสริมเผยแพร่ของนักประชาสัมพันธ์มีข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) รายงานประจำปี    (2) นิทรรศการอาหารไทยสี่ภาค

(3) ครบรอบ 60 ปี ขององค์กร (4) ปีแห่งการส่งเสริมวัฒนธรรมไทย อเมซิ่งไทยแลนด์

ตอบ 1 หน้า 85303 – 308 การส่งเสริมเผยแพร่ (Promotion) หมายถึง การจัดงานพิเศษเพื่อผลงานประชาสัมพันธ์ หรือเพื่อช่วยส่งเสริมเผย

แพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของสถาบัน เช่น การจัดเฉลิมฉลองวันครบรอบปี วันสัปดาห์หรือเดือนพิเศษ การเปิดให้ชมกิจการ การจัดแสดง ต่าง ๆ นิทรรศการ ปีใหม่ เทศกาล การจัดงานเลี้ยงขอบคุณสื่อมวลชน งานแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ งานประกวดและให้รางวัลผู้มีเกียรติ ตลอดจนงานออกร้านและอื่น ๆ

89.       พี.อาร์. บริษัทน้ำมันคาลเท็กซ์ จะต้องติดต่อโดยตรงกับสื่อมวลชนในข้อใดมากที่สุด

(1) บรรณาธิการข่าวโทรทัศน์  (2) ผู้ผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง

(3) ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์         (4) ผู้สร้างความคิดในงานโฆษณา

 ตอบ3 หน้า 85 การติดต่อสื่อสาร (Placement) คือ การที่นักประชาสัมพันธ์ติดต่อสร้างความสัมพันธ์ โดยตรงกับผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ตลอดจนวารสาร อนุสาร หนังสือพิมพ์ฉบับพิเศษ บรรณาธิการข่าวพาณิชย์ และอื่น ๆ เพื่อศึกษาถึงนโยบาย ลักษณะการดำเนินงาน จำนวนจำหน่าย ความสนใจ และมวลขนเป้าหมายของสื่อมวลชนดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกัน ในการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ให้ได้รับผลอย่างสมบูรณ์

90.       ประชามติ” ในประเทศฝรั่งเศสเริ่มต้น ณ ที่ใด

(1) สวนสาธารณะ       (2) ร้านกาแฟ   (3) โรงละคร    (4) คาเพเทอเรีย

ตอบ 2 หน้า 75 หลังจากสงครามประกาศอิสรภาพของสหรัฐฯ สิ้นสุดลง ทหารฝรั่งเศสที่กลับจากการรบได้เผยแพร่ความคิดในเรื่องสิทธิเสรีภาพ และความเป็นธรรมในการเสียภาษีของอเมริกา ไปยังประชาชน ทำให้หนุ่มสาวชาวฝรั่งเศสเริ่มตื่นตัวและสนใจในเรื่องประชามติและสิทธิเสรีภาพ อย่างกว้างขวาง โดยสถานที่ซึ่งประชาชนชอบไปชุมนุมพบปะเพื่อสนทนาแลกเปลี่ยนทัศนคติกัน คือ ที่ Salons (ร้านกาแฟ) หรือในประเทศอังกฤษคือ Coffee House

91.       ประโยชน์ของแผนกประชาสัมพันธ์ในขั้นตอนแรก คืออะไร

(1) มีความรอบรู้ในกิจกรรมของสถาบัน          

(2) มีความสามารถสูงในทุกสถานการณ์

(3) นำผลประโยชน์มาสู่องค์กร           

(4) ทำให้ผู้ร่วมงานสามัคคีกัน

ตอบ 4 หน้า 92 – 93 ประโยชน์ของแผนกประชาสัมพันธ์แบ่งออกเป็น 4 ประการ คือ

1. ทำให้ผู้ร่วมงานสามัคคีกัน   2. ทำให้มีความรอบรู้ในกิจกรรมของสถาบันเป็นอย่างดียิ่ง

3.         นำผลประโยชน์มาสู่องค์กร     4. มีความสามารถสูงในทุกสถานการณ์

92.       เพราะเหตุใดการวิจัยจึงช่วยให้นักประชาสัมพันธ์ได้ส่องกระจกมองดูตัวเอง

(1) มองปัญหาจากการเอาใจเขามาใส่ใจเรา   

(2) ทดสอบการสื่อสารระหว่างกลุ่มที่ใกล้ชิด

(3) เสริมกำลังเพื่อให้ได้มติของกลุ่ม    

(4) เชื่อมโยงความไม่เป็นกลุ่มก้อนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน

ตอบ 1 หน้า 107 การวิจัยทำให้สถาบันมีโอกาสส่องกระจกดูตัวเอง โดยการมองถึงปัญหาต่าง ๆ จากความรู้สึกนักคิดของประชาชน หรือที่เรียกว่าการมองถึงปัญหาอย่างทะลุปรุโปร่งด้วย วิธีการเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Empathy) ไม่ใช่เป็นการนำเสนอจากทัศนคติส่วนตัวของ นักประชาสัมพันธ์เอง

93.       ข้อใดคือ การวิจัยอย่างเป็นทางการในการเลือกตั้งผู้ว่า กทม.

(1) ให้สัมภาษณ์อย่างเป็นกันเอง        

(2) จัดเลี้ยงอาหารกลางวันสมาชิกเป็นกรณีพิเศษ

(3) วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากสื่อมวลชน        

(4) ปรึกษาแนะนำทางจดหมาย

ตอบ 3 หน้า 114, (คำบรรยาย) วิธีการวิจัยแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1.         การวิจัยอย่างเป็นทางการ คือ การวิจัยความคิดของมวลชนด้วยวิธีสั่งการลงมาโดยตรง เช่น การส่งบันทึกหรือแถลงการณ์ การใช้แผ่นปลิวประชาสัมพันธ์ให้ข่าว การวิเคราะห์ข้อมูลที่ ได้รับจากสื่อมวลชน ฯลฯ

2.         การวิจัยอย่างไม่เป็นทางการ คือ การวิจัยความคิดของมวลชนด้วยการสร้างความสัมพันธ์ ใกล้ชิดเป็นกับเอง เช่น การจัดเลี้ยง การพูดคุยหรือให้สัมภาษณ์อย่างเป็นกันเอง การเขียน จดหมายปรึกษาแนะนำกัน ฯลฯ

94        …….. แบ่งช่วงเวลาเป็นอย่างดีที่สุดในการวางแผนประชาสัมพันธ์ของโครงการป้องกันยาเสพติด

(1) กำหนดจุดมุ่งหมาย            (2) กำหนดหัวข้อประชาสัมพันธ์

(3) กำหนดกลุ่มประชาชน       (4) กำหนดจังหวะ

ตอบ 4 หน้า 130 การกำหนดจังหวะ (Timing) คือ การวางแผนประชาสัมพันธ์เพื่อแบ่งช่วงเวลาให้เหมาะสมเป็นอย่างดีที่สุด เช่น เริ่มทำโฆษณาล่วงหน้าเพื่อปูพื้นฐานประชามติ กำหนดเวลา การใช้สื่อแต่ละชนิด และเริ่มลงมือปฏิบัติตามแผนอย่างเต็มที่ เมื่อไร วัน เวลาใด ?

95.       การขายความคิดโดยพยายามพูดตะล่อมให้เข้าจุดที่เราต้องการ เกี่ยวข้องกับหลักการจูงใจของผู้ใด

(1) ไอวี่ ลี         (2) จอห์น รอคกี้เฟลเลอร์

(3) เบนจามิน แฟรงคลิน         (4) เดล คาร์เนกี

ตอบ 4 หน้า 140 – 141 เดล คาร์เนกี ได้เสนอการขายความคิดโดยวิธีชนะมิตรและจูงใจคนไว้ดังนี้

1.         ให้โอกาสเขารักษาหน้า โดยพยายามพูดตะล่อมความคิดให้เข้าจุดที่เราต้องการ เพื่อให้เขา รู้สึกว่าความคิดนั้นเป็นของเขา แต่ถ้าความคิดในการแก้ปัญหานั้นตรงกับสิ่งที่เราคิดเอาไว้ ก็ให้รีบยอมรับทันที

2.         อ้างความรู้ทางเทคนิคหรือวิชาการ     3. สร้างเครดิตและความเป็นผู้นำให้น่าเชื่อถือ

4.         ในกรณีที่ไม่มีเวลาพอและเป็นเรื่องรีบด่วน ให้ใช้วิธีออกคำสั่งเพื่อให้ปฏิบัติตาม

96.       แผนงานประชาสัมพันธ์ของปากกาพาร์คเกอร์สื่อความหมายว่า ความเข้าใจอันดีต่อกัน ย่อมนำมาซึ่ง สันติภาพ” หมายถึงการกำหนดวางแผน พี.อาร์. ข้อใด

(1) Aim and Objective (2) Media        (3) Audiences   (4) Themes

ตอบ 4 หน้า 134, (ดูคำอธิบายข้อ 69. ประกอบ) แผนงานประชาสัมพันธ์ของบริษัทปากกาพาร์คเกอร์ ได้มีการกำหนดหัวข้อประชาสัมพันธ์ (Themes) โดยใช้คำขวัญว่า ความเข้าใจอันดีต่อกัน ย่อมนำมาซึ่งสันติภาพ” และเมื่อประชาชนนึกถึงปากกาพาร์คเกอร์เมื่อใดมักจะขาดไม่ได้ที่จะ พูดถึงคำขวัญดังกล่าวด้วยความชื่นชอบ

97.       ใครคือผู้วางแผนประชาสัมพันธ์ของสายการบินทีนาแอร์เมื่อเครื่องบีบโบอิ้ง 709 ตกที่เกาะกวม

(1) ประธานบริษัท       (2) นักโฆษณาเผยแพร่

(3) นักประชาสัมพันธ์  (4) ผู้แทนบริษัทประกันภัยทางอากาศ

ตอบ 3 หน้า 126144 – 145 การวางแผนประชาสัมพันธ์ในกรณีเกิดอุบัติเหตุและฉุกเฉิน เช่นภูเขาไฟระเบิด รถไฟชนกัน เครื่องบินตก น้ำท่วม เกิดระเบิด ไฟไหม้ ฯลฯ นักประชาสัมพันธ์ ย่อมไม่มีเวลามากนักที่จะวางแผนหรือใช้เวลาปรึกษาหารือผู้ใด ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น นักประชาสัมพันธ์จึงมีเวลาตัดสินใจวางแผนประชาสัมพันธ์เพียงไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่นาทีที่ จะตัดสินใจอย่างเด็ดขาดแทนผู้บริหารระดับสูงได้

98.       การสื่อสารในงานประชาสัมพันธ์เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนไปเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทำได้ง่ายขึ้น เมื่อผู้ดำเนินการสื่อสารกับผู้รับสารมีความรู้และประสบการณ์อย่างไร

(1) ตรงกันข้ามกัน       (2) คล้ายคลึงกัน

(3) ขัดแย้งอย่างมีสาระหรือซ่อนเงื่อน  (4) ข้อ 1 และ 3 ถูก

ตอบ 2 หน้า 152 การสื่อสารในงานประชาสัมพันธ์นั้น ถ้าผู้ส่งสารหรือผู้ดำเนินการสื่อสารกับผู้รับสาร มีความรู้และประสบการณ์คล้ายคลึงกัน หรือใกล้เคียงกันมากเท่าใด การสื่อความหมายก็ย่อม ทำได้ง่ายมากขึ้นเท่านั้น แต่ในทางตรงกันข้ามเมื่อใดที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารขาดประสบการณ์ ร่วมกับ การสื่อสารอาจจะประสบปัญหาหรือล้มเหลวได้ เช่น ขาดความเข้าใจกัน ฟังไม่เข้าใจ หรือไม่แน่ใจในการส่งสาร

99.       คุณสมบัติที่สำคัญของบรรณาธิการข่าวประชาสัมพันธ์ของโรงแรมทับทิมสยาม คืออะไร

(1) ผู้แสวงหาความคิดเห็น      (2) ดำเนินการกำหนดเป้าหมายใหม่

(3) กำหนดจุดยืนและสรุปทิศทาง       (4) ผู้รอบรู้เกี่ยวกับธุรกิจขององค์กร

ตอบ 4 หน้า 277 คุณสมบัติที่สำคัญของบรรณาธิการข่าวประชาสัมพันธ์ คือ เป็นผู้รอบรู้เกี่ยวกับ ธุรกิจขององค์กร (Know your organization) ซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นที่บรรณาธิการจะต้อง ศึกษาหาความรู้ให้มากจากประสบการณ์ของการปฏิบัติงานหลาย ๆ ปี เพื่อให้มีความเข้าใจ ถึงปัญหาหลายแง่หลายมุมของทุกหน่วยงาน

100     ศูนย์กลางของข่าวสารสถาบัน เช่น ห้องสมุดเฉพาะของสถานีโทรทัศน์ ยูบีซี.

(1) Dale—Chall (2) Cloze   (3) Fact Flech    (4) Fact File

ตอบ 4 หน้า 110 Fact File คือ แหล่งของข้อมูลและหลักฐานต่าง ๆ ที่ได้รวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ โดยอาจเป็นห้องสมุดขนาดย่อมที่เรียกว่า ห้องสมุดเฉพาะ หรือห้องสมุดขององค์กรซึ่งมีลักษณะเป็นที่สะสมตำรา เอกสารวิชาการ เอกสารข่าว และข้อมูลอ้างอิงอื่น ๆ ดังนั้น หน่วยงานนี้จึงเป็นเหมือนกับศูนย์กลางของข่าวสารสถาบันที่หน่วยงานอื่น ๆ ในสถาบันสามารถ พึงพาอาศัยสอบถามได้ตลอดเวลา

Advertisement