การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2555
ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1201 พื้นฐานวัฒนธรรมไทย
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
1. กษัตริย์สุโขทัยพระองค์ใดที่ส่งพระเถระผู้ใหญ่ไปเผยแผ่พุทธศาสนาในล้านนา
(1) พ่อขุนรามคำแหง
(2) พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
(3) พระมหาธรรมราชาลิไทย
(4) พ่อขุนบานเมือง
ตอบ 3 หน้า 27, 105, 584 ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย สุโขทัยมีความรุ่งเรืองทางพุทธศาลนา และวรรณกรรมเป็นอย่างมาก เช่น ทรงเป็นกษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จออกผนวชเป็น พระภิกษุเมื่อ พ.ศ. 1905 และทรงเป็นนักปราชญ์แต่งคัมภีร์ทางพุทธศาสนาเรื่องไตรภูมิพระร่วง หรือไตรภูมิกถา นอกจากนี้ยังทรงส่งพระเถระผู้ใหญ่ คือ พระสุมณเถระไปเผยแผ่พุทธศาสนา ในอาณาจักรล้านนาด้วย
2. ข้อใดไมใช่ชาติพันธุ์ที่เคยอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของประเทศไทย
(1) มองโกลอยด์
(2) คอเคซอยด์
(3) ออสโตรลอยด์
(4) นิกรอยด์
ตอบ 2 หน้า 8 นักวิชาการเชื่อว่ามนุษย์ที่เคยอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของประเทศไทยประกอบด้วยชาติพันธุ์ใหญ่ ๆ 3 กลุ่ม ดังนี้ 1. มองโกลอยด์ (Mongoloid)
2. ออสโตรลอยด์ (Australoid) 3. นิโกรลอยด์ (Nigroloid) หรือนิกรอยด์ (Nigroid)
3. ข้อใดคือเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของแคว้นศรีวิชัย
(1) นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน
(2) ใช้ช้างเป็นพาหนะ
(3) มีนิสัยดุร้าย
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 15 แคว้นศรีวิชัย เจริญขึ้นตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 – 18 ในบริเวณที่เป็น จังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน โดยมีฐานะเป็นศูนย์กลางทางการค้า ที่สำคัญที่สุดในช่วงเวลานั้น ทำหน้าที่เป็นคนกลางติดต่อระหว่างอินเดียและจีน จึงทำให้ รับวัฒนธรรมอินเดียเอาไว้หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพุทธศาสนานิกายมหายาน เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ส่วนศาสนาฮินดูก็มีผู้นับถือเช่นกัน
4. ข้อใดไม่ใช่แว่นแคว้นที่อยู่ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
(1) หริภุญไชย (2) โยนกเชียงแสน (3) พะเยา (4) ศรีจนาศะ
ตอบ 4 หน้า 14 – 15, 20 แว่นแคว้นที่อยู่ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยในสมัย พุทธศตวรรษที่ 16 – 18 มีดังนี้ 1. แคว้นหริภุญไชย 2. แคว้นโยนกเชียงแสน
3. แคว้นเงินยางเชียงแสน 4. แคว้นพะเยา (ส่วนแคว้นศรีจนาศะ เป็นแว่นแคว้นบริเวณ จ.นครราชสีมา จนถึงบริเวณบุรีรัมย์ มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 13 – 15)
5. พ่อขุนศรีนาวนำถม มีความเกี่ยวข้องกับพ่อขุนผาเมืองในฐานะอะไร
(1) พระบิดา (2) พระโอรส (3) พระเชษฐา (4) สหาย
ตอบ 1 หน้า 23, (คำบรรยาย) หลักฐานสุโขทัยเท่าที่มีปรากฏ ได้กล่าวถึงกษัตริย์พระองค์แรกของ กรุงสุโขทัย คือ พ่อขุนศรีนาวนำถม ซงเป็นพระราชบิดาของพ่อขุนผาเมือง ผู้ปกครองเมืองราด ส่วนกษัตริย์สุโขทัยพระองค์ต่อมา คือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ หรือพ่อขุนบางกลางหาว ซึ่งเป็นพระสหายของพ่อขุนผาเมือง
6. ข้อใดคือเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมเยว่
(1) ใช้ม้าเป็นพาหนะ (2) ทำไร่เลื่อนลอย
(3) ทำกลองมโหระทึก (4) ปลูกข้าวนาหว่าน
ตอบ 3 หน้า 5-7 ชนชาติไทเผ่าต่าง ๆ เช่น จ้วง ฯลฯ จัดอยู่ในกลุ่มชนที่พูดภาษาไทยที่จีนเรียก รวมกันว่า “เยว่” ซึ่งเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมเยว่ ได้แก่ การสักตามร่างกาย ทาฟันเป็นสีดำ ทำกลองมโหระทึก ปลูกข้าวนาดำ ใช้ช้างเป็นพาหนะ และอยู่บ้านใต้ถุนสูง
7. ยุคทองของล้านนา ตรงกับสมัยของกษัตริย์พระองค์ใด
(1) พระยามังราย (2) พระยาติโลกราช
(3) พระยากือนา (4) พระยาสามฝั่งแกน
ตอบ 2 หน้า 32 สมัยของพระยาติโลกราช (พ.ศ. 1984 – 2030) ถือได้ว่าเป็นยุคทองของล้านนา เพราะสามารถฟื้นฟูอำนาจของล้านนาขึ้นมาได้อีกครั้งหนี้ง และเนื่องจากพระยาติโลกราชเป็น ผู้มีความสามารถในการรบและขยันรบ จึงมีนโยบายขยายอำนาจออกไปอย่างกว้างขวาง เช่น ทางเหนือขึ้นไปถึงเขตไทยใหญ่ คือ เมืองเชียงรุ้ง ส่วนทางใต้ลงมาถึงเมืองแพร่และน่าน
8. อาณาจักรสุโขทัยถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาในสมัยกษัตริย์อยุธยาพระองค์ใด
(1) เจ้าสามพระยา (2) สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
(3) พระนเรศวรมหาราช (4) สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
ตอบ 2 หน้า 39, 161 ในสมัยที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเป็นกษัตริย์อยุธยานั้น พระองค์ได้เสด็จ มาปกครองอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก เมื่อ พ.ศ. 2006 – 2031 เพื่อใช้เป็นฐานในการทำสงคราม กับล้านนาและคุมดินแดนหัวเมืองเหนือ ทำให้อาณาจักรสุโขทัยถูกผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่ง ของอยุธยาได้อย่างแท้จริง
9. พระมหากษัตริย์พระองค์ใดในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ที่มีความสามารถในงานช่างและกวีนิพนธ์
(1) รัชกาลที่ 1 (2) รัชกาลที่ 2 (3) รัชกาลที่ 3 (4) รัชกาลที่ 4
ตอบ 2 หน้า 51 – 52, (คำบรรยาย) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2)ทรงเป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) ที่ประสูติ จากกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ โดยพระองค์ทรงมีความสามารถในงานช่างและกวีนิพนธ์ จนอาจถวายพระสมญานามว่า “กษัตริย์ศิลปิน”
10. ข้อใดคือผลที่ได้รับจากการปกครองแบบนครรัฐ
(1) เจ้านายเท่านั้นที่จะเป็นเจ้าเมืองได้
(2) เจ้าเมืองชั้นนอกมีอิสระมากจากการควบคุมของเมืองหลวง
(3) อาณาจักรรวมตัวกันอย่างแน่นแฟ้น (4) แก้ปัญหาการกบฏของเมืองลูกหลวงได้
ตอบ 2 หน้า 104 – 105, 273 การปกครองแบบนครรัฐ (City State) คือ การปกครองส่วนภูมิภาค ในลักษณะที่เมืองหรือนครมีอิสระดุจเป็นรัฐของตัวเอง แว่นแคว้นจึงรวมตัวกันแต่เพียงหลวม ๆ ในลักษณะสมาพันธรัฐ โดยกษัตริย์คงจะยินยอมให้ลูกเจ้าลูกขุน ดังเช่นพระราชโอรสได้เป็น เจ้าเมืองชั้นนอกหรือเมืองลูกหลวงที่สำคัญ ซึ่งเจ้าเมืองเหล่านี้จะมีอำนาจเป็นอิสระมาก จากการควบคุมของเมืองหลวง ทำให้สามารถก่อกบฏขึ้นอยู่บ่อยครั้ง
11. ประเทศไทยได้เข้าร่วมการทำสงครามโลกครั้งที่ 1 ในสมัยกษัตริย์พระองค์ใด
(1) รัชกาลที่ 5
(2) รัชกาลที่ 6
(3) รัชกาลที่ 7
(4) รัชกาลที่ 8
ตอบ 2 หน้า 54 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์แรกที่ได้เสด็จไปศึกษาต่อต่างประเทศ จึงทำให้พระองค์ทรงนำลัทธิชาตินิยมแบบตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย และทรงนำประเทศไทยเข้าร่วมการทำสงครามโลก ครั้งที่ 1 เพื่อหาทางแก้ไขสัญญาไม่เสมอภาคที่ไทยทำไว้กับนานาประเทศตะวันตก
12. ข้อใดคือหลักฐานที่ใช้ศึกษาลักษณะการบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลางสมัยพระบรมไตรโลกนาถ
(1) พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนและพระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง
(2) โองการแช่งน้ำ
(3) กฎมณเฑียรบาล
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 149 การศึกษาลักษณะการบริหารราชการแผ่นดินในส่วนกลางภายหลังการปฏิรูปของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปรากฏหลักฐานอยู่ในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนและ พระไอยการตำแหนงนาทหารหัวเมือง ซึ่งเป็นกฎหมายที่เชื่อว่าได้ตราขึ้นในสมัยของพระองค์
13. ข้อใดถูก
(1) สุโขทัยไม่มีการปกครองแบบทหาร
(2) การปกครองแบบทหารแก้ปัญหาประชากรมีมากเกินไปได้
(3) อยุธยาสามารถรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางได้ในบางช่วงเวลา
(4) อยุธยาไม่มีปัญหาจากการกบฏของเมืองพระยามหานคร
ตอบ 3 หน้า 148, 163 – 164 ในสมัยอยุธยา เมืองหลวงสามารถรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง(Centralization) ได้ในบางช่วงเวลา เช่น ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และสมัยสมเด็จพระนเรศวร แต่การปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางก็มิได้มีผลอย่างถาวร เพราะ ภายหลังต่อมาเมืองในเขตชั้นนอกก็ค่อย ๆ มีอิสระจากเมืองหลวงมากขึ้น และกลับไปสู่การปกครอง แบบเมืองพระยามหานครหรือนครรัฐอีก
14. ข้อใดคือที่มาของการที่พระมหากษัตริย์เสด็จขึ้นประทับบนพระที่นั่งอัฐทิศ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนทิศทั้ง 8ในจักรวาล
(1) แนวความคิดเรื่องพระจักรพรรดิราชตามคติพุทธศาสนา (2) คติทางศาสนาพราหมณ์
(3) อิทธิพลของระบอบพ่อปกครองลูก (4) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 120, 123 แนวความคิดเรื่องพระจักรพรรดิราชตามคติธรรมราชาทางพุทธศาสนานั้น ถือเป็นที่มาของการที่พระมหากษัตริย์เสด็จขึ้นประทับบนพระที่นังอัฐทิศ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ แทนทิศทั้ง 8 ในจักรวาล ในพระราชพิธิบรมราชาภิเษก รวมทั้งยังเป็นที่มาของพระราชพิธี เสด็จเลียบพระนครทั้งทางชลมารคและสถลมารคภายหลังพระราชพิธีราชาภิเษก ซึ่งเป็น การแสดงว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงครอบครองดินแดนทั่วทุกทิศแล้ว
15. ข้อใดคือกฎหมายสำคัญที่รองรับสถานะเทวราชาของพระมหากษัตริย์อยุธยา
(1) พระราชศาสตร์ (2) กฎมณเฑียรบาล (3) พระธรรมศาสตร์ (4) พระราชกำหนด
ตอบ 2 หน้า 124 กฎหมายสำคัญที่รองรับสถานะอันสูงส่งดุจเทวะของพระมหากษัตริย์อยุธยาก็คือ “กฎมณเฑียรบาล” ที่ตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งถือเป็นเอกสารฉบับแรก ที่บันทึกเกี่ยวกับสถานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์อยุธยาลงไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดหลักปฏิบัติที่บุคคลทั้งหลายต้องกระทำต่อพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ จึงถือเป็นหลักฐานที่แสดงถึงการเป็นเทวราชาของกษัตริย์อยุธยาได้อย่างดี
16. เหตุใดการแบ่งงานตามลักษณะหน้าที่ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถจึงไม่สมบูรณ์
(1) กรมใหญ่มีงานในความรับผิดชอบหลายประเภท
(2) กรมที่มีลักษณะงานเป็นแบบทหาร ถูกจัดไว้ฝ่ายพลเรือน
(3) เวลาเกิดศึกสงคราม ข้าราชการทุกกรมกองต้องออกไปรบได้
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 155 – 156 สาเหตุที่ทำให้ระบบแบ่งงานตามลักษณะหน้าที่เฉพาะอย่างในสมัย
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถไม่สมบูรณ์ มีดังนี้
1. กรมใหญ่ เช่น กรมพระคลังมีงานในความรับผิดชอบหลายประเภทในเวลาเดียวกัน
2. เวลาเกิดศึกสงคราม ข้าราชการทุกกรมกองต้องออกไปรบได้เหมือนกันหมดถ้าได้รับคำสั่ง
3. กรมที่มีลักษณะงานเป็นแบบทหารถูกจัดไว้ในฝ่ายพลเรือน ส่วนกรมที่มีลักษณะงาบนเป็นพลเรือนกลับถูกจัดไว้ในฝ่ายทหาร
17. ในสมัยอยุธยา คดีศาลรับสั่งหมายถึงคดีอะไร
(1) คดีที่พระมหากษัตริย์จะทรงตัดสินเองโดยไม่ผ่านกรมลูกขุน
(2) คดีนครบาล (3) คดีที่พระมหากษัตริย์ทรงมอบให้ศาลตัดสิน
(4) คดีพิพาทระหว่างคนไทยและคนต่างชาติ
ตอบ 1 หน้า 135 – 136 คดีที่พระมหากษัตริย์ทรงมีส่วนร่วมในการพิจารณาด้วย จะเรียกว่า “ความรับสั่ง” แต่ถ้าเป็นคดีที่ราษฎรถวายฎีกาขึ้นมา โดยพระมหากษัตริย์ทรงมอบให้ กรมพระตำรวจเป็นผู้สอบสวน และพระองค์จะทรงตัดสินเองโดยไม่ผ่านกรมลูกขุน คดีเช่นนี้จะเรียกว่า “คดีศาลรับสั่ง”
18. การแบ่งหน้าที่บริหารราชการออกเป็นภูมิภาคเกิดขึ้นในสมัยใด
(1) ต้นอยุธยา (2) อยุธยาตอนปลาย
(3) ต้นรัตนโกสินทร์ (4) สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตอบ 2 หน้า 157 – 158 ในสมัยอยุธยาตอนบ่ลาย ระบบบริหารราชการส่วนกลางจะเป็นการบริหารแบบแบ่งหน้าที่กันตามเขตแดนหรือภูมิภาค (Territorial Basis) ดังนี้
1. กรมกลาโหมปกครองทหารและพลเรือนในหัวเมืองภาคใต้
2. กรมมหาดไทยปกครองทหารและพลเรือนในหัวเมืองภาคเหนือ
3. กรมพระคลังปกครองทหารและพลเรือนในหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก
19. การปฏิรูปการปกครองสมัยพระบรมไตรโลกนาถ มีหลักการสำคัญอย่างไร
(1) รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง (2) กระจายอำนาจออกจากศูนย์กลาง
(3) เสริมสร้างอำนาจให้เมืองลูกหลวงในเขตหัวเมืองชั้นใน (4) แบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้นเอก โท ตรี
ตอบ 1 หน้า 148 นโยบายการปฏิรูปการปกครองและระบบบริหารราชการชองสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีดังนี้
1. แบ่งแยกงานบริหารออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือน รวมทั้งตั้งกรมสำคัญขึ้นใหม่ 2 กรม คือ กรมกลาโหมทำหน้าที่ดูแลฝ่ายทหาร และกรมมหาดไทยทำหน้าที่ดูแลฝ่ายพลเรือน
2. จัดการปกครองในรูปรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง และยกเลิกระบบเมืองลูกหลวงในเขต หัวเมืองชั้นใน (แต่มิได้ยกเลิกเด็ดขาด) โดยจัดให้เขตเมืองชั้นในเป็นเขตมณฑลราชธานี ซึ่งเมืองหลวงเข้าไปควบคุมโดยตรง
20. ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ข้อใดหมายถึงเขตมณฑลราชธานี
(1) เมืองลูกหลวง (2) เขตเมืองชั้นในที่เมืองหลวงควบคุมโดยตรง
(3) เมืองประเทศราช (4) เขตหัวเมืองชั้นนอก
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 19. ประกอบ
21. การปรับปรุงระบบการบริหารราชการส่วนภูมิภาคสมัยสมเด็จพระนเรศวร มีผลอย่างไร
(1) มีการกระจายอำนาจสู่ส่วนภูมิภาค
(2) มีการจัดตั้งเมืองพระยามหานคร
(3) เมืองหลวงสามารถควบคุมส่วนภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพชั่วระยะเวลาหนึ่ง
(4) ให้ขุนนางในเมืองหลวงเป็นผู้แต่งตั้งกรมการเมืองส่วนภูมิภาค
ตอบ 3 หน้า 162 – 164 การปรับปรุงระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคในสมัยสมเด็จพระนเรศวร มีดังนี้
1. รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง เพื่อเพิ่มอำนาจให้เมืองหลวงควบคุมส่วนภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ (แต่มีผลเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง มิได้มีผลถาวร)
2. ยกเลิกระบบเมืองลูกหลวงและเมืองพระยามหานครในเขตเมืองชั้นนอก และจัดแบ่งหัวเมืองในเขตชั้นนอกเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี ตามลำดับ
3. จัดส่งขุนนางออกไปเป็นเจ้าเมืองเหล่านี้ และให้แต่ละเมืองขึ้นตรงต่อเมืองหลวง ฯลฯ
22. ข้อใดคือลักษณะสำคัญของสถาบันกษัตริย์ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์
(1) ไม่เน้นบทบาทพระมหากษัตริย์ในฐานะพระโพธิสัตว์
(2) ไม่ให้ความสำคัญเรื่องบารมีของผู้ปกครอง
(3) ลดความสำคัญของเทวราชา และทำให้สถาบันกษัตริย์มีลักษณะเป็นมนุษย์มากขึ้น
(4) เน้นอุดมการณ์พ่อปกครองลูก
ตอบ 3 หน้า 183 – 189, 197 ลักษณะสำคัญของสถาบันกษัตริย์ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีดังนี้
1. การเน้นอุดมการณ์ธรรมราชา เช่น เน้นบทบาทพระมหากษัตริย์ในฐานะพระโพธิสัตว์ ผู้ทรงธรรมและปกครองโดยธรรม รวมทั้งให้ความสำคัญเรื่องบารมีของผู้ปกครอง
2. การลดความสำคัญของเทวราชา และทำให้สถาบันกษัตริย์มีลักษณะเป็นมนุษย์มากขึ้น
3. มีร่องรอยของคติความเชื่อดั้งเดิม คือ ระบบพ่อปกครองลูก แต่จะเห็นได้อย่างชัดเจน ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นไป
23. ข้อใดคือลักษณะสำคัญของสถาบันกษัตริย์ในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย
(1) ลักษณะเทวราชามีความสำคัญมากขึ้น
(2) ลดความเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์
(3) ลดความสำคัญในเรื่องผู้นำที่มีบารมีสูง
(4) เน้นคติธรรมราชาและพ่อปกครองลูก
ตอบ 4 หน้า 197, 202 – 204 ลักษณะสำคัญของสถาบันกษัตริย์ในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย มีดังนี้
1. การเน้นคติธรรมราชาและพ่อปกครองลูก 2. ความเชื่อในเรื่องบารมีของพระมหากษัตริย์ยังคง มีอยู่ 3. ความเสื่อมของลักษณะเทวราขา 4. ความเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างสมบูรณ์
24. ราชกิจจานุเบกษาเริ่มพิมพ์เผยแพร่ในรัชกาลใดของสมัยรัตนโกสินทร์
(1) รัชกาลที่ 4 (2) รัชกาลที่ 5 (3) รัชกาลที่ 6 (4) รัชกาลที่ 7
ตอบ 1 หน้า 199 – 200 รัชกาลที่ 4 ทรงจัดพิมพ์หนังสือทางราชการออกเผยแพร่เป็นรายสัปดาห์ ที่เรียกว่า “ราชกิจจานุเบกษา” โดยได้ความคิดและแบบอย่างมาจากตะวันตก ทั้งนี้เพื่อให้ข้อมูล แก่ประชาชนเกี่ยวกับประกาศราชการและกฎหมายต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และปิดหนทางที่ขุนนางจะทำดวงตราปลอมเพื่ออ้างรับสั่งกับราษฎร
25. ข้อใดคือปัญหาในระบบบริหารราชการส่วนกลางในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ก่อนปฏิรูปการปกครอง สมัยรัชกาลที่ 5
(1) กรมกองต่าง ๆ มีงานหลายประเภทอยู่ในความรับผิดชอบ
(2) กรมกองต่าง ๆ ได้รับงบประมาณมากเกินไป
(3) เสนาบดีกรมวังและนครบาลมีรายได้มากเกินไป
(4) กองทัพประจำการมีอำนาจมากเกินไป
ตอบ 1 หน้า 222 – 225 ปัญหาในระบบบริหารราชการส่วนกลางในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ก่อนการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 มีดังนี้
1. กรมกองต่าง ๆ มีงานหลายประเภทอยู่ในความรับผิดชอบ
2. กรมกองตาง ๆ ไม่สามารถพัฒนาความชำนาญเฉพาะอย่างขึ้นได้
3. การปฏิบัติราชการก้าวก่ายสับสน ไม่มีประสิทธิภาพ และข้าราชการทุจริตกันแพร่หลาย
4. ไม่มีการจัดสรรงบประมาณให้แต่ละกรมกอง และไม่มีเงินเดือนให้ข้าราชการ
26. ข้อใดคือปัญหาในระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคก่อนการปฏิรูปการปกครอง
(1) เจ้าเมืองและกรมการเมืองไม่มีอำนาจในการเก็บภาษี
(2) หัวเมืองชั้นนอกมีความเป็นอิสระมากเกินไป
(3) ระบบมณฑลเทศาภิบาลขาดประสิทธิภาพ
(4) เมืองประเทศราชไม่มีอำนาจปกครองตนเอง
ตอบ 2 หน้า 225 – 226 ปัญหาในระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคและเขตประเทศราช ก่อนการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 มีดังนี้
1. หัวเมืองชั้นนอกมีความเป็นอิสระมากเกินไป ทำให้เมืองหลวงไม่สามารถควบคุมได้อย่างใกล้ชิด
2. เจ้าเมืองและกรมการเมืองไม่มีเงินเดือน ทำให้ต้องหารายได้จากการ “กินเมือง”
3. ราชธานีให้เขตประเทศราชปกครองตนเอง จึงเปิดโอกาสให้มหาอำนาจเข้าแทรกแซงได้ง่าย
27. ข้อใดคือผลงานสำคัญในการปฏิรูประบบบริหารส่วนกลางในระยะแรก
(1) การจัดตั้งกระทรวงแบบใหม่ 12 กระทรวง (2) ระบบทาสถูกยกเลิกโดยเด็ดขาด
(3) มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน 2 สภา (4) มีการปฏิรูประบบการศาลอย่างแท้จริง
ตอบ 3 หน้า 227 – 228 รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูประบบบริหารส่วนกลางในระยะแรก (พ.ศ. 2417 – 2418) โดยมีผลงานที่สำคัญ คือ การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินขึ้นมา 2 สภา ได้แก่ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (State Council หรือ Council of State) และสภาองคมนตรี (Privy Council)
28. ข้อใดถูกในสมัยรัตนโกสินทร์
(1) มีการยกเลิกระบบเมืองประเทศราชโดยเด็ดขาดในสมัยรัชกาลที่ 5
(2) ระบบมณฑลเทศาภิบาลสามารถแก้ปัญหาระบบนครรัฐได้
(3) การจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลไม่ได้ทำพร้อมกันทีเดียวทั้งหมด
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 56, 234 – 235 รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูประบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคแบบรวมศูนย์ อำนาจ โดยการจัดตั้งระบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้น แต่มิได้จัดทำพร้อมกันทีเดียวทั่วประเทศ ส่งผลให้ระบบเมืองพระยามหานครหรือนครรัฐสิ้นสุดลง และระบบเมืองประเทศราชถูกยกเลิก โดยเด็ดขาด ทำให้ประเทศไทยสามารถรวมกันเป็นปึกแผ่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในลักษณะ รัฐประชาชาติ (National State) ได้สำเร็จ
29. ข้อใดคืออุปสรรคในการปฏิรูประบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
(1) การต่อต้านของฝ่ายอนุรักษนิยมในหัวเมือง
(2) ขุนนางในเมืองหลวงไม่ต้องการยกเลิกระบบกินเมือง
(3) รัฐบาลไม่สามารถปราบการจลาจลตามหัวเมืองได้
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 236 – 237 อุปสรรคในการปฏิรูประบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคในสมัยรัชกาลที่ 5 นอกจากจะมีปัญหาเรื่องบุคลากรและเงินที่จะใช้ในระบบราชการแบบใหม่แล้ว ยังเกิดปัญหา การต่อต้านของฝ่ายอนุรักษนิยมในหัวเมือง ซึ่งได้แก่ พวกเจ้าเมืองและเจ้าประเทศราชเดิม ทั้งในมณฑลอีสาน พายัพ และปัตตานีในช่วงปี พ.ศ. 2444 – 2445 แต่รัฐบาลก็สามารถ ปราบปรามลงได้สำเร็จ
30. ข้อใดคือความแตกต่างในการปกครองส่วนท้องถิ่นระหวางสมัยรัตนโกสินทร์กับอยุธยา
(1) มีการเปลี่ยนแปลงหน่วยการปกครองแบบเดิม
(2) ประชาชนได้เลือกผู้ใหญ่บ้าน และผู้ใหญ่บ้านร่วมกันเลือกกำนัน
(3) ผู้ใหญ่บ้านและกำนันไม่มีสิทธิเป็นกรรมการสุขาภิบาลตำบล
(4) มีการจัดตั้งสุขาภิบาลตำบลสมัยอยุธยา และเทศบาลในสมัยรัตนโกสินทร์
ตอบ 2 หน้า 168 – 169, 236 การปกครองส่วนท้องถิ่นในสมัยรัตนโกสินทร์ จะมีหน่วยการปกครอง แบบเดิมเหมือนสมัยอยุธยา คือ เป็นหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ แต่มีการเปลี่ยนแปลงที่มาของผู้ปกครอง โดยให้ประชาชนได้เลือกผู้ใหญ่บ้าน และผู้ใหญ่บ้านร่วมกันเลือกกำนัน ส่วนนายอำเภอนั้นแต่งตั้งมาโดยมหาดไทย นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งสุขาภิบาลตำบล ซึ่งกรรมการสุขาภิบาลตำบลจะมาจากผู้ใหญ่บ้านและกำนันที่มาจากการเลือกตั้งนั่นเอง
31. พระมหากษัตริย์สุโขทัยมิวิธีควบคุมอำนาจของลูกเจ้าลูกขุนอย่างไร
(1) ไม่ให้ลูกเจ้าลูกขุนครองเมือง
(2) ไม่ให้ลูกเจ้าลูกขุนเป็นแม่ทัพ
(3) ให้ราษฎรฟ้องร้องลูกเจ้าลูกขุนได้
(4) ออกกฎหมายให้ลูกเจ้าลูกขุนเป็นขุนธรรม
ตอบ 3 หน้า 276 พระมหากษัตริย์สุโขทัยทรงควบคุมอำนาจของลูกเจ้าลูกขุนด้วยวิธีการดังนี้
1. ให้ไพร่หรือราษฎรฟ้องร้องกล่าวโทษลูกเจ้าลูกขุนได้โดยตรงต่อพระมหากษัตริย์ และ พยายามตัดสินความให้อย่างยุติธรรม
2. ปลูกฝังให้ลูกเจ้าลูกขุนทำตัวเป็นขุนธรรม มิใช่ขุนมาร เพราะขุนธรรมเท่านั้นจึงจะอยู่ในอำนาจได้นาน (แต่ไม่ได้ออกเป็นกฎหมายบังคับ)
32. เหตุใดลูกเจ้าลูกขุนต้องมีความรู้ดีทางศาสนา
(1) เพื่อประโยชน์ในการปกครอง
(2) ลูกเจ้าลูกขุนมีหน้าที่สนับสนุนพุทธศาสนา
(3) ลูกเจ้าลูกขุนมีหน้าที่สั่งสอน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 272, (คำบรรยาย) ความรู้ทางศาสนาเป็นศาสตร์อีกด้านหนึ่งที่สำคัญสำหรับลูกเจ้าลูกขุน เนื่องจากศาสนามีอิทธิพลสำคัญและมีประโยชน์ต่อแนวทางการปกครองของสุโขทัยเป็นอย่างมาก เช่น หลักทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร และราชจรรยานุวัตร ทั้งนี้เพราะหน้าที่สำคัญของกษัตริย์ และลูกเจ้าลูกขุน คือ เป็นผู้สั่งสอนประชาชนให้รู้บุญรู้ศีลธรรม และเสริมสร้างบารมีด้วยการ บำรุงและสนับสนุนพุทธศาสนา
33. ข้อใดถูกต้องตามกฎหมายล้านนา
(1) ลูกเจ้าลูกขุนทำผิดมีโทษหนักกว่าสามัญชน
(2) ทรัพย์สินของลูกเจ้าลูกขุนถูกตีค่าให้ต่ำกว่าสามัญชน
(3) นายช้างต้องหลีกทางให้นายม้า
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 275, 295 กฎหมายล้านนาได้กำหนดสิทธิและวิธีคานอำนาจของลูกเจ้าลูกขุนไว้ดังนี้
1. มีสิทธิหาผลประโยชน์จากนาขุมราขการหรือนาขุมการเมือง แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น อย่างแท้จริง 2. ทรัพย์สินของลูกเจ้าลูกขุนถูกตีค่าหรือตีราคาสูงกว่าของสามัญชน
3. เมื่อทำความผิดลูกเจ้าลูกขุนจะถูกลงโทษปรับหนักกว่าสามัญชน แม้จะเป็นความผิดชนิดเดียวกัน
4. มีกฎหมายกำหนดให้ผู้น้อยต้องหลีกทางให้แก่ผู้ใหญ่กว่าตน เช่น ให้นายม้าหลีกให้นายช้าง ผู้มียศสูงกว่าตน ฯลฯ
34. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับระบบไพร่ของสุโขทัยและล้านนา
(1) ทำให้รัฐได้ใช้แรงงานไพร่ได้เต็มที่ (2) ทำให้ไพร่ไม่ต้องเสียภาษี
(3) ทำให้ไพร่มีเสรีภาพในการเคลื่อนไหว (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 273, 283 ระบบไพร่ของสุโขทัยและล้านนา คือ การจัดไพร่ให้สังกัดมูลนายที่เป็น ลูกเจ้าลูกขุน โดยมูลนายจะต้องคอยดูแลให้ไพร่อยู่ในภูมิลำเนา คอยเกณฑ์ไพร่มาทำงาน ตามกำหนดเวลา ควบคุมให้ไพร่อยู่ในกฎหมาย และควบคุมเรื่องการเก็บภาษีอากรจากไพร่ ซึ่งระบบไพร่ที่มีการจัดการที่ดีถือเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้รัฐสามารถดึงประโยชน์ทั้งด้านแรงงาน และส่วยจากไพร่มาใช้ได้อย่างเต็มที่
35. หลักฐานใดที่แสดงว่าสุโขทัยมีทาส
(1) มีหลักฐานเกี่ยวกับการหลบหนีของข้า (2) มีหลักฐานเกี่ยวกับข้าพระอาราม
(3) มีการเลี้ยงดูเชลยศึกไว้ใช้งาน (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 289 – 290 หลักฐานสุโขทัยได้กล่าวถึงทาสอยู่หลายแห่ง ได้แก่
1. จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 กล่าวถึงการกวาดต้อนเชลยศึก “มาเลี้ยงมาขุน” โดยไม่ฆ่า และนำมาใช้งานเมื่อต้องการ
2. จารึกหลักที่ 2 กล่าวถึงการซื้อคนปล่อยที่ตลาด
3. จารึกหลักที่ 38 กล่าวถึงข้าหลบหนีนาย
4. จารึกหลักที่ 15 กล่าวถึงการยกข้าและลูกสาวลูกชายให้เป็นข้าพระอาราม ฯลฯ
36. “เข้าเดือน ออกเดือน” หมายถึงสิ่งใด
(1) จำนวนวันการเกณฑ์ไพร่หลวงในสมัยอยุธยา (2) จำนวนวันการเกณฑ์ไพร่สมในสมัยอยุธยา
(3) การเกณฑ์ไพร่หลวงในสมัยรัตนโกสินทร์ (4) การเกณฑ์ไพร่สมในสมัยรัตนโกสินทร์
ตอบ 1 หน้า 340 คำว่า “เข้าเดือน ออกเดือน” หมายถึง จำนวนวันการเกณฑ์แรงงานไพร่หลวง ในสมัยอยุธยา โดยไพร่หลวงจะถูกเกณฑ์แรงงานปีละ 6 เดือน แต่อาจมาทำงาน 1 เดือน ออกไปอยู่บ้าน 1 เดือน สลับกันไปได้ และเวลามาทำงานต้องนำข้าวปลาอาหารมาเอง เพราะทางราชการจะไม่เลี้ยงดูอย่างใด แต่ถ้าไพร่หลวงไม่ต้องการมาใช้แรงงานจะส่งเงิน มาแทนก็ได้ เรียกว่า “เงินค่าราชการ”
37. “ข้อยมาเป็นข้า” สมัยล้านนา เทียบได้กับทาสชนิดใดในสมัยอยุธยา
(1) ทาสสินไถ่ (2) ทาสขัดดอก (3) ทาสเชลย (4) ทาสในเรือนเบี้ย
ตอบ 3 หน้า 290, 351, (คำบรรยาย) ข้าหรือทาสของล้านนามี 5 ชนิด คือ
1. ข้าที่ซื้อด้วยข้าวของ ซึ่งตรงกับทาสสินไถ่ของอยุธยา
2. ลูกข้าหญิง ซึ่งตรงกับทาสในเรือนเบี้ยของอยุธยา
3. มอบตัวเป็นข้า ซึ่งตรงกับทาสที่เลี้ยงไว้ในยามข้าวยากหมากแพงของอยุธยา
4. ฉิบหายด้วยความผิดจึงเข้าเป็นข้า ซึ่งตรงกับทาสที่ได้มาด้วยการช่วยให้พ้นโทษปรับของอยุธยา
5. ข้อยมาเป็นข้า ซึ่งตรงกับทาสเชลยของอยุธยา
38. ชนชั้นใดในสมัยสุโขทัยไม่ต้องเสียภาษีให้รัฐ
(1)ไพร่ (2)ขุนนางชั้นผู้น้อย (3) ลูกเจ้าลูกขุน (4) ถูกเฉพาะข้อ2และ3
ตอบ 4 หน้า 274 – 275, 278, (คำบรรยาย) สิทธิพิเศษของลูกเจ้าลูกขุนในสมัยสุโขทัย คือ ไม่ถูก เกณฑ์แรงงาน มีไพร่อยู่ในสังกัดได้ และไม่ต้องเสียภาษี เพราะในหลักฐานสุโขทัยกล่าวเฉพาะ แต่การที่ลูกเจ้าลูกขุนเป็นผู้เก็บภาษีจากไพร่เท่านั้น ส่วนข้าราชการระดับล่างหรือขุนนางชั้นผู้น้อย จะมีฐานะความเป็นอยู่ไม่ต่างจากไพร่มากมัก เพียงแต่ได้รับยกเว้นไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน และ ไม่ต้องเสียภาษีให้รัฐ
39. พบศพชายไทยนอนตายอยู่ริมแม่น้ำ พลิกศพดูพบว่าปรากฏชื่อมูลนายติดอยู่ที่ข้อมือ ถามว่าศพดังกล่าว น่าจะเป็นคนไทยสมัยใด
(1) สุโขทัย (2) ล้านนา (3) อยุธยา (4) ต้นรัตนโกสินทร์
ตอบ 4 หน้า 392, 417, (คำบรรยาย) การสักข้อมือไพร่เป็นตัวอักษรเริ่มขึ้นครั้งแรกตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินแห่งกรุงธนบุรี และใช้ต่อมาจนถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยได้กำหนดให้ สักข้อมือไพร่ไว้ที่ด้านใน ระบุชื่อมูลนายและชื่อเมืองอันเป็นภูมิลำเนาเพื่อป้องกันไพร่หลบหนี สับเปลี่ยนมูลนาย หรือหนีไปหลบซ่อนอยู่ต่างเมืองและตามป่าเขาอีก จึงเป็นทางป้องกันมิให้ ไพร่หลวงสูญหาย หรือมิให้ไพร่หลวงหนีไปเป็นไพร่สมของมูลนายได้ง่ายเหมือนสมัยก่อน
40. การสักข้อมือไพร่ เพื่อวัตถุประสงค์ใดเป็นสำคัญ
(1) เพื่อความงาม (2) เพื่อป้องกันไพร่หลบหนี
(3) เพื่อรู้ชื่อมูลนาย (4) เพื่อรู้จักภูมิลำเนาไพร่
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 39. ประกอบ
41. ข้อใดมิใช่คุณสมบัติของคนถวายตัวเป็นขุนนาง
(1) วุฒิ 4
(2) อธิบดี 4
(3) พรหมวิหาร 4
(4) คุณานุรูป
ตอบ 3 หน้า 316 คุณสมบัติของผู้ที่จะถวายตัวเป็นขุนนางในสมัยอยุธยา มีอยู่ 9 ประการ ดังนี้
1. วุฒิ 4 ประการ ได้แก่ ชาติวุฒิ วัยวุฒิ คุณวุฒิ และปัญญาวุฒิ
2. อธิบดี 4 ประการ ได้แก่ ฉันทาธิบดี วิริยาธิบดี จิตาธิบดี และวิมังสาธิบดี
3. คุณานุรูป 1 ประการ หมายถึง เป็นผู้มีบุคลิกลักษณะดี น่าไว้วางพระทัยแก่พระมหากษัตริย์ และน่าเคารพนับถือแก่ประชาชนทั่วไป
42. การถวายตัวเป็นขุนนางในสมัยอยุธยาเมื่ออายุเท่าไร
(1)21ปี
(2)25ปี
(3) 31ปี
(4) 35ปี
ตอบ 3 หน้า 316, (ตูคำอธิบายข้อ 41. ประกอบ) คุณสมบัติของผู้ที่จะถวายตัวเป็นขุนนาง ในสมัยอยุธยาประการหนึ่ง คือ ต้องประกอบด้วยวุฒิ 4 ประการ ได้แก่
1.ชาติวุฒิ คือ เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากอัครมหาเสนาบดี
2. วัยวุฒิ คือ มีอายุตั้งแต่ 31 ปีขึ้นไป
3. คุณวุฒิ คือ เป็นผู้มีความรู้ฝ่ายทหารและพลเรือนชำนิชำนาญ
4. ปัญญาวุฒิ คือ มีสติปัญญาตดี รอบรู้ในกิจการบ้านเมือง และเรื่องนานาประเทศ
43. ลักษณะการไหว้โดยการประนมมือให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ปลายจมูก ปลายนิ้วชี้จรดหว่างคิ้ว ผู้หญิงถอยเท้า ข้างที่ถนัดไปข้างหลัง ย่อเข่าลง ประนมมือไหว้ ถามว่าเป็นการไหว้ผู้ใด
(1) ไหว้คนทั่วไป
(2) ไหว้คนเสมอกัน
(3) ไหว้ผู้อาวุโส
(4) ไหว้พระ
ตอบ 3 (คำบรรยาย) การไหว้บิดามารดาหรือผู้ที่มีพระคุณและผู้อาวุโสอันเป็นที่เคารพยิ่ง คือลักษณะการไหว้โดยการยกมือประนมขึ้นให้นิ้วหัวแม่มือจรดปลายจมูก ปลายนิ้วชี้จรดหว่างคิ้ว ผู้ชายให้ค้อมตัวลง ประนมมือไหว้ ส่วนผู้หญิงถอยเท้าข้างที่ถนัดไปข้างหลัง ย่อเข่าลง ประนมมือไหว้
44. การทำความเคารพศพแบบไทย ข้อใดถูก
(1) กราบ 3 ครั้งแบมือ (2) กราบ 1 ครั้งแบมือ
(3) กราบ 1 ครั้งไม่แบมือ (4) ถวายคำนับหรือถอนสายบัว
ตอบ 3 (คำบรรยาย) การทำความเคารพศพแบบไทยที่ถูกต้อง ให้นั่งคุกเข่าราบทั้งชายและหญิงจากนั้นจุดธูป 1 ดอก (ถ้าเป็นศพพระจุด 3 ดอก) ประนมมือยกธูปขึ้นให้ปลายนิ้วชี้อยู่หว่างคิ้ว ตั้งจิตขอขมาต่อศพ แล้วปักธูปลงบนที่สำหรับปักธูป จากนั้นนั่งพับเพียบหมอบกราบแบบกระพุ่ม มือตั้ง 1 ครั้ง (ไม่แบมือ) พร้อมอธิษฐานให้ดวงวิญญาณศพไปสู่สุคติ แล้วลุกขึ้น ถ้าเป็นศพ ของผู้ที่มีอายุน้อยกว่าไม่ต้องกราบหรือไหว้ เมื่อปักธูปลงแล้วให้นิ่งสงบและอธิษฐานเท่านั้น
45. ค่านิยมของสังคมสุโขทัยได้แก่เรื่องใด
(1) อย่านั่งชิดผู้ใหญ่ (2) ท่านสอนอย่าสอนตอบ
(3) ผู้ใหญ่ต้องควบคุมอารมณ์เมื่ออยู่ต่อหน้าผู้น้อย (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 294 ค่านิยมของสังคมสุโขทัยได้กำหนดหลักปฏิบัติระหว่างผู้ใหญ่และผู้น้อยไว้ คือ ผู้ใหญ่ซึ่งเป็นฝ่ายมีอำนาจ ถูกกำหนดให้มีความยุติธรรม เมตตากรุณา ให้รางวัลแก่ผู้น้อยที่มี ความดีความชอบ และรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองเวลาอยู่ต่อหน้าผู้น้อย ส่วนผู้น้อยถูกกำหนดให้มีความจงรักภักดี กตัญญกตเวที และเคารพยำเกรงผู้ใหญ่ ดังคำสอนให้ “อย่านั่งชิดผู้ใหญ่” และ “ทำนสอนอย่าสอนตอบ” เป็นต้น
46. พระมหากษัตริย์อยุธยามีนโยบายเกี่ยวกับเจ้านายอย่างไร
(1) ให้เจ้านายทุกองค์มีความสูงศักดิ์กว่าขุนนาง (2) ให้เจ้านายได้ควบคุมอำนาจบริหารมากกว่าขุนนาง
(3) พยายามควบคุมจำนวนเจ้านายไว้ด้วย (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 305, 313, 322 – 323 พระมหากษัตริย์อยุธยามีนโยบายคานอำนาจเจ้านาย ดังนี้
1. ควบคุมจำนวนเจ้านาย โดยกำหนดผู้มีสิทธิเป็นเจ้านายมีได้เพียง 3 ชั่วอายุคน คือ ในชั่วลูก หลาน และเหลนเท่านั้น
2. ลดความสูงศักดิ์ของเจ้านายลงทุกชั่วคน จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าเจ้านายมีความสูงศักดิ์กว่าขุนนาง
3. ไม่ให้เจ้านายได้ควบคุมการบริหารกรมกองสำคัญในส่วนกลาง และไม่ให้เป็นเจ้าเมือง ในส่วนภูมิภาค แต่ให้ขุนนางมีอำนาจหน้าที่นี้แทน
4. ควบคุมจำนวนไพร่สมของเจ้านาย ฯลฯ
47. เหตุใดเจ้านายในสมัยอยุธยาจึงได้ “ทรงกรม”
(1) เพื่อให้เจ้านายได้เป็นเสนาบดี (2) เพื่อให้เจ้านายได้ปกครองไพร่หลวง
(3) เพื่อให้เจ้านายได้ปกครองไพร่สมจำนวนหนึ่ง (4) เพื่อให้เจ้านายเป็นเจ้าเมือง
ตอบ 3 หน้า 308 การทรงกรมของเจ้านายในสมัยอยุธยา คือ การปกครองบังคับบัญชากรม ซึ่งเริ่มเกิดขึ้น ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรฯ เป็นต้นมา เพื่อเป็นสิ่งทดแทนการที่เจ้านายเคยได้ครองเมือง ในอดีต และเพื่อไม่ให้เจ้านายหมดอำนาจไปเสียทีเดียว พระมหากษัตริย์จึงทรงให้เจ้านาย ได้บังคับบัญชากรมและได้ปกครองไพร่สมจำนวนหนึ่ง แต่จะมีจำนวนมากน้อยเท่าใด ขึ้นอยู่กับศักดินาของเจ้านาย
48. ไพร่ในสมัยอยุธยาทำสิ่งใดไม่ได้
(1) ยกมรดกให้ลูกหลาน (2) เดินทางย้ายถิ่นอย่างเสรี
(3) เข้าหาผลประโยชน์จากที่ดินที่ได้หักร้างถางพงไว้ (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 345, 350, (คำบรรยาย) สิทธิของไพร่ในสมัยอยุธยามีอยู่หลายประการ เช่น ไพร่มีสิทธิ ในที่ดินที่ได้หักร้างถางพงไว้ และมีสิทธิเข้าหาผลประโยชน์จากที่ดินนั้น รวมถึงมีสิทธิที่จะขาย หรือยกเป็นมรดกให้แก่ลูกหลานได้ ฯลฯ แต่เมื่อไพร่ต้องอยู่ในระบบไพร่ ทำให้สิทธิบางอย่าง ของไพร่ถูกลิดรอนไป เช่น ไพร่ถูกควบคุมเรื่องการเคลื่อนไหว จึงไม่สามารถเดินทางย้ายถิ่น อย่างเสรี และต้องมาให้แรงงานตามกำหนด ฯลฯ
49. พระมหากษัตริย์อยุธยาทรงมีนโยบายเกี่ยวกับไพร่สมอย่างไร
(1) เกณฑ์แรงงานไพร่สมมาใช้ทางราชการมากกว่าไพร่หลวง (2) พยายามลดจำนวนไพร่สม
(3) พยายามเพิ่มจำนวนไพร่สม (4) ไม่ให้ไพร่สมย้ายไปเป็นไพร่หลวง
ตอบ 2 หน้า 339 พระมหากษัตริย์อยุธยาทรงพยายามลดจำนวนไพร่สม เพื่อลิดรอนอำนาจของเจ้านาย ซึ่งเป็นมูลนายของไพร่สมส่วนใหญ่ และเพิ่มจำนวนไพร่หลวงเพื่อความมั่นคงของพระมหากษัตริย์ จึงมีการออกกฎหมายห้ามจดทะเบียนลูกหลานของไพร่หลวงเป็นไพร่สม แต่ไพร่สมสามารถ ย้ายไปเป็นไพร่หลวงได้เสมอ
50. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับระบบทาสในสมัยอยุธยา
(1) นายเงินเพิ่มค่าตัวทาสไม่ได้ (2) นายเงินมีสิทธิไม่รับค่าตัวทาสได้
(3) นายเงินใช้ทาสเข้าคุกแทนตัวเองไม่ได้ (4) ไม่มีข้าพระอาราม
ตอบ 1 หน้า 352 – 354, 356 ระบบทาสในสมัยอยุธยา นายเงินมีสิทธิเหนือทาสดังนี้
1. ใช้งานทาสได้ทุกอย่าง 2. ใช้ทาสไปรับโทษหรือเข้าคุกแทนตนได้
3. ใช้ทาสไปรบแทนตนได้ 4. ลงโทษทาสได้แต่ต้องไม่ทำให้ทาสนั้นพิการหรือตายไป
5. ขายทาสต่อไปได้ แต่เพิ่มค่าตัวทาสตามใจชอบไม่ได้ และถ้าทาสมีเงินมาไถ่ตัว นายเงินจะ ไม่ยอมรับค่าตัวทาสไม่ได้ 6. ในกรณีที่เป็นข้าพระอารามหรือทาสวัดให้อยู่ใต้การดูแลของพระสงฆ์ ซึ่งเป็นมูลนายที่แท้จริง ฯลฯ
51. การกำหนดศักดินามีประโยชน์อย่างไร
(1) ใช้กำหนดบทลงโทษบุคคล
(2) ใช้กำหนดยศให้กับบุคคล
(3) ใช้กำหนดที่ดินที่จะให้บุคคลถือครอง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 309, 359 – 360 ระบบศักดินามีประโยชน์ในการกำหนดฐานะบุคคลในทางสังคมและกำหนดระเบียบในการปกครองด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1. เป็นเครื่องมือกำหนดความสูงศักดิ์ของบุคคล อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคคลต่าง ๆ เพื่อจัดระเบียบของสังคม
2. เป็นเครื่องกำหนดบทลงโทษของบุคคลที่มีความผิด 3. เป็นเครื่องวัดและกำหนดไพร่พล ในสังกัด 4. เป็นเครื่องกำหนดอภิสิทธิ์และสิทธิพิเศษบางอย่าง
52. ข้อใดที่ศักดินาของบุคคลมีการเปลี่ยนแปลง
(1) เมื่อบุคคลนั้นได้เลื่อนยศ
(2) เมื่อบุคคลนั้นได้ทรงกรม
(3) เมื่อบุคคลนั้นถูกลงโทษลดยศ ลดตำแหน่ง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 309, 358, (คำบรรยาย) การกำหนดให้บุคคลมีศักดินากันคนละเท่าใดนั้นจะกำหนดจากยศ ตำแหน่ง และความรับผิดชอบในหน้าที่ราชการ ดังนั้นศักดินาของบุคคลจะมีการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง หรือได้ทรงกรม และศักดินาจะมีการเปลี่ยนแปลง ลดต่ำลงเมื่อบุคคลนั้นถูกลงโทษโดยลดยศลดตำแหน่ง
53. ในระบบศักดินาของไทย ใครคือผู้ที่มีศักดินาสูงสุดในแผ่นดิน
(1) พระเจ้าแผ่นดิน
(2) สมเด็จพระสังฆราช
(3) กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
(4) สมเด็จเจ้าพระยา
ตอบ 3 หน้า 309, 357 กฎหมายอยุธยากำหนดให้ประชาชนทุกคนยกเว้นพระมหากษัตริย์ จะได้รับพระราชทานศักดินาประจำตัวเป็นจำนวนเลขลดหลั่นกันไปตามยศและตำแหน่งโดยผู้ที่มีศักดินา สูงสุดในแผ่นดิน คือ เจ้านายระดับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) มีศักดินา 100,000 ไร่ ส่วนผู้ที่มีศักดินาต่ำสุด คือ ยาจก วณิพก ทาส และลูกทาส มีศักดินา 5 ไร่
54. ยศสูงสุดของขุนนางคือ “สมเด็จเจ้าพระยา” ถามว่าในประวัติศาสตร์ไทยมีกี่องค์
(1) 2 องค์ (2) 3 องค์ (3) 4 องค์ (4) 5 องค์
ตอบ 3 หน้า 319, 405, (คำบรรยาย) ยศสมเด็จเจ้าพระยา ถือเป็นยศสูงสุดของขุนนาง ในประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งเริ่มมีขึ้นครั้งแรกในสมัยกรุงธนบุรี โดยสมเด็จเจ้าพระยา ในประวัติศาสตร์ไทยจะมีอยู่ทั้งหมด 4 องค์ คือ
1. สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ (ทองด้วง) หรือรัชกาลที่ 1 ในเวลาต่อมา
2. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงค์ (ดิส บุนนาค)
3. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค)
4. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
55. ข้อใดถูกต้องในสมัยต้นรัตนโกสินทร์
(1) ขุนนางได้เลือกสรรพระมหากษัตริย์ (2) ขุนนางตระกูลบุนนาคหมดบทบาทไป
(3) ขุนนางไม่ได้ประโยชน์จากเจ้าภาษีเลย (4) ไพร่หลวงในสังกัดขุนนางหนีไปเป็นไพร่สมกันมาก
ตอบ 1 หน้า 400 – 404 ปัจจัยที่ทำให้ขุนนางในสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีอำนาจเพิ่มมากขึ้น ได้แก่
1. ขุนนางมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระมหากษัตริย์
2. ไพร่หลวงในสังกัดขุนนางที่หลบหนีไปเป็นไพร่สมมีจำนวนลดลง ทำให้ขุนนางมีความมั่นคงมากขึ้น
3. คณะเสนาบดีซึ่งสวนใหญ่เป็นขุนนางได้เลือกสรรพระมหากษัตริย์
4. ขุนนางจำนวนหนึ่งได้ประโยชน์จากระบบเจ้าภาษีนายอากร
5. ขุนนางตระถูลบุนนาคมีอำนาจโดดเด่นที่สุดตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์จนถึงต้นรัชกาลที่ 5 ฯลฯ
56. ไพร่ในสมัยรัตนโกสินทร์มีสิทธิเข้ารับราชการครั้งแรกในรัชกาลใด
(1) รัชกาลที่ 1 (2) รัชกาลที่ 2 (3) รัชกาลที่ 3 (4) รัชกาลที่ 4
ตอบ 1 หน้า 408, (คำบรรยาย) ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การถวายตัว
เป็นฃุนนาง โดยไม่มีข้อขีดคั่นในเรื่องชาติวุฒิเหมือนสมัยอยุธยา ทำให้ไพร่หรือสามัญชนมีสิทธิ เข้ารับราชการเป็นครั้งแรก แต่โอกาสที่ไพร่จะเข้าสู่ระบบขุนนางก็ยังยากอยู่ เพราะลูกหลานขุนนาง มักจะได้เป็นขุนนางต่อมานั่นเอง
57. การเปิดประเทศมีผลต่อไพร่อย่างไร
(1) ไพร่ถูกเกณฑ์แรงงานมากขึ้น (2) ไพร่เสียเงินค่าราชการมากขึ้น
(3) ไพร่ปลูกข้าวมากขึ้น (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 416, 424 ภายหลังการเปิดประเทศ เศรษฐกิจของไทยเปลี่ยนจากระบบผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเอง มาเป็นระบบผลิตเพื่อส่งออก ทำให้ความสำคัญของไพร่ในฐานะแรงงาน และผู้ส่งส่วยลดลงไปมาก แตไพร่จะมีบทบาทสำคัญยิ่งในด้านการเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตร เพื่อส่งออก โดยเฉพาะการปลูกข้าว ซึ่งได้กลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญที่สุดของไทย
58. ปัญหาการเมืองที่เกิดจากชาวจีนในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ได้แก่เรื่องใด
(1) ชาวจีนมักแข็งข้อต่อขุนนางไทย (2) ชาวจีนต่อต้านชาวตะวันตก
(3) ชาวจีนนิยมไปเป็นคนในบังคับตะวันตก (4) ชาวจีนต่อต้านระบบเจ้าภาษีนายอากร
ตอบ 3 หน้า 439 ในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ชาวจีนได้ก่อปัญหาทางการเมืองให้แก่รัฐบาลไทย โดยการตั้งสมาคมลับของชาวจีนหรืออั้งยี่ขึ้นมาหลายกลุ่ม และมีกิจกรรมหลายด้านที่ทำผิดกฎหมายไทย แตพวกอั้งยี่ก็สามารถลอยนวลอยู่เหนือกฎหมายไทยได้ เพราะคนจีนจำนวนมาก นิยมไปจดทะเบียนเป็นคนในบังคับตะวันตกชาติต่าง ๆ โดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งเมื่อ มีคดีเกิดขึ้นก็สามารถขึ้นศาลกงสุลของชาติที่ตนได้ไปขึ้นทะเบียนไว้ และตำรวจไทยจะจับกุมตัวได้ ก็ต่อเมื่อกงสุลของชาตินั้นอนุมัติแล้วเท่านั้น
59. การเลิกทาสในเมืองไทยไม่มีการนองเลือดเหมือนอย่างในสหรัฐอเมริกา เพราะรัชกาลที่ 5 ทรงดำเนินนโยบาย เลิกทาสอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ใช้เวลากว่า.. ปี จึงเลิกทาสได้สำเร็จ
(1)10 (2)15 (3)20 (4)30
ตอบ 4 หน้า 432 – 435, 516 รัชกาลที่ 5 ทรงดำเนินการเลิกทาสด้วยความระมัดระวังยิ่ง เพราะ เป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะสังคมอันสำคัญที่มีการยึดถือกันมานับตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยพระองค์ ได้ใช้นโยบายทางสายกลางค่อย ๆ ดำเนินการเลิกทาสไปทีละขั้น รวมเวลาที่ใช้ทั้งหมดกว่า 30 ปี จึงทรงสามารถเลิกทาสได้สำเร็จโดยไม่มีการนองเลือดเหมือนการเลิกทาสในประเทศสหรัฐอเมริกา
60. คุณสมบัติต่อไปนี้เป็นลักษณะเด่นของคนไทย ถามว่าข้อใดเป็นลักษณะด้อยที่สุดของคนไทย
(1) จิตใจโอบอ้อมอารี (2) เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ (3) อ่อนน้อมถ่อมตน (4) มีระเบียบวินัย
ตอบ 4 (คำบรรยาย) ลักษณะนิสัยเด่นที่เป็นจุดด้อยที่สุดของคนไทย คือ ความมีระเบียบวินัย ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่สังคมไทยมีโครงสร้างแบบหลวม ๆ ซึ่งทำให้มีลักษณะยืดหยุ่น ไม่ยึดอะไร เป็นกฎเกณฑ์ตายตัว ดังนั้นคนไทยจึงมีระเบียบวินัยค่อนข้างน้อย และชอบทำอะไรตามใจตัวเอง ดังคำพังเพยที่ว่า “ทำอะไรตามใจคือไทยแท้”
61. ระบบเศรษฐกิจของไทยมีวิวัฒนาการอย่างไร
(1) หมู่บ้าน, ตลาด, เงินตรา, ทุนนิยม
(2) หมู่บ้าน, ตลาด, เงินตรา, พอเพียง
(3) พอเพียง, ตลาด, การค้า, ยังชีพ
(4) พอเพียง, หมู่บ้าน, ยังชีพ, ตลาด
ตอบ 1 หน้า 469 – 471, 558 พื้นฐานระบบเศรษฐกิจไทยมีวิวัฒนาการ ดังนี้
1. เริ่มต้นมาจากเศรษฐกิจแบบหมู่บ้านในสมัยสุโขทัย ซึ่งผลิตเพื่อการบริโภคและแลกเปลี่ยน
2. เศรษฐกิจแบบตลาดในสมัยอยุธยา ซึ่งผูกพันกับการแสวงหาตลาดการค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศ 3. เศรษฐกิจแบบเงินตรา ซึ่งเริ่มปรากฏชัดในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐเก็บส่วยจากไพร่ในรูปแบบเงินตรา 4. เศรษฐกิจแบบทุนนิยม
ซึ่งเป็นระบบการผลิตเพื่อการส่งออกในปัจจุบัน
62. พื้นฐานทางเศรษฐกิจไทยเริ่มต้นจากลักษณะเศรษฐกิจแบบใด
(1) เศรษฐกิจแบบหมู่บ้าน
(2) เศรษฐกิจแบบตลาด
(3) เศรษฐกิจเงินตรา
(4) เศรษฐกิจการค้า
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ
63. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการเกษตรกรรมในสมัยสุโขทัย
(1) เพาะปลูกได้ผลดี
(2) อุดมสมบูรณ์มากแต่ขาดแคลนเกษตรกร
(3) มีข้อจำกัดเรื่องผลผลิต
(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 3 หน้า 474 การเกษตรกรรมใบสมัยสุโขทัยจะมีข้อจำกัดในเรื่องผลผลิต โดยเฉพาะผลิตผลที่สำคัญที่สุด คือ ข้าวนั้นคงจะกระทำกันได้ในปริมาณที่พอกินพอใช้ในอาณาจักรเท่านั้น เพราะเนื้อที่การเพาะปลูกมีจำกัด กำลังคนก็มีจำกัด และงานชลประทานก็ทำในปริมาณจำกัดเช่นกัน จึงเป็นเหตุให้ในบางครั้งบางคราวเกิดขาดแคลนข้าวขึ้นในสุโขทัย จนต้องสั่งซื้อข้าวมาจากอยุธยา
64. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับสภาพการค้าของสุโขทัย
(1) มีเสรีภาพทางการค้า (2) การค้าไม่ค่อยรุ่งเรือง
(3) เป็นรัฐผู้นำด้านการค้าในภูมิภาคแหลมทอง (4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 1 หน้า 480 – 481 นโยบายส่งเสริมด้านการค้าและเศรษฐกิจของผู้ปกครองสมัยสุโขทัย มีดังนี้
1. ส่งเสริมให้มีการค้าอย่างเสรี 2. ไม่เก็บ “จกอบ” หมายถึง ภาษีผ่านด่านที่เก็บจากผู้นำสินค้า สัตว์ หรือสิ่งของไปขายในที่ต่าง ๆ 3. ให้ทุนรอนแก่ผู้ไม่มีทุนรอน
4. ส่งเสริมทักษะพิเศษ โดยการนำช่างทำเครื่องปั้นดินเผาชาวจีนเข้ามาเผยแพร่ความรู้ ให้แก่ชาวไทย 5. สร้างถนนสายสำคัญขึ้น คือ ถนนพระร่วง
65. แหล่งรายได้ที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัยมาจากอะไร
(1) ภาษีข้าว (2) ส่วย (3) ฤชา (4) อากร
ตอบ 1 หน้า 479. 481 – 483 แหล่งที่มาของรายได้ที่สำคัญที่สุดของสุโขทัย คือ เครื่องปั้นดินเผา ที่เรียกว่า “เครื่องสังคโลก” ซึ่งเป็นสินค้าออกที่สำคัญ และเป็นกิจการที่ใหญ่โตรุ่งเรืองมาก คงจะทำรายได้ให้รัฐมากทีเดียว ส่วนแหล่งรายได้ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งจะมาจากการเก็บภาษีข้าว โดยให้เก็บภาษีข้าว 1 ส่วน จากผลผลิตข้าว 10 ส่วน ซึ่งแม้จะไม่มากนักแต่ก็เป็นรายได้ส่วนหนึ่ง
66. สินค้าออกที่สำคัญของสุโขทัยคือข้อใด
(1) ของป่า (2) เครื่องดินเผา (3) ข้าว (4) กระทง
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 65. ประกอบ
67. ข้อใดอธิบายลักษณะของเศรษฐกิจแบบการตลาดของประเทศไทยได้ถูกต้องที่สุด
(1) ผลิตเพื่อการแลกเปลี่ยน (2) ผลิตเพื่อการค้าขาย
(3) ผูกพันกับการค้าทั้งภายในและภายนอก (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ
68. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการเกษตรกรรมสมัยอยุธยา
(1) มีแหล่งเพาะปลูกมากกว่าสุโขทัย (2) พม่าเป็นแรงงานสำคัญ
(3) ข้าวเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 488, 510 -511 พื้นฐานทางเศรษฐกิจของอยุธยาเป็นการเกษตรกรรมเช่นเดียวกับสุโขทัย แต้มีข้อแตกต่างดังนี้
1. อยุธยามีสภาพภูมิศาสตร์และสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการปลูกข้าว
2. อยุธยามีแหล่งเพาะปลูกที่กว้างขวางกว่า โดยเฉพาะบริเวณตอนลางของแม่นํ้าเจ้าพระยา จะใช้พื้นที่ทำนามากที่สุด
3. อยุธยามีปัจจัยการผลิตที่เข้มแข็งเนื่องจากระบบไพร่ ทำให้มีผลผลิตจำนวนมาก
4. รัฐบาลสมัยอยุธยามีนโยบายสนับสนุนการทำนาปลูกข้าว ฯลฯ
69. ปัจจัยใดส่งผลต่อการทำการเกษตรกรรมสมัยอยุธยา
(1) สภาพภูมิศาสตร์ (2) สภาพภูมิอากาศ (3) ระบบไพร่ (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 68. ประกอบ
70. ข้อใดอธิบายลักษณะของเศรษฐกิจแบบเงินตราได้ถูกต้อง
(1) การแสวงหาตลาด (2) ผลิตเพื่อการแลกเปลี่ยน
(3) รัฐเรียกเก็บส่วยในรูปแบบเงินตรา (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ
71. แหล่งรายได้ที่สำคัญของอยุธยานอกเหนือจากการเกษตรคือ
(1) การค้าภายใน
(2) การค้าภายนอก
(3) การเก็บค่านา
(4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 หน้า 500, 503, 510 แหล่งรายได้ที่สำคัญของอยุธยานอกเหนือจากการเกษตร คือ ผลกำไร จากการค้าภายนอกประเทศ โดยเฉพาะการค้าสำเภา คือ การนำสินค้าบรรทุกสำเภาแล่นไปยัง ประเทศที่ทำการค้าด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเทศทางตะวันออกโดยเฉพาะจีน จึงนับเป็น ผลประโยชน์แผ่นดินที่ได้รับมากที่สุด เมื่อเทียบกับแหล่งรายได้ประเภทอื่น ๆ
72. ปัจจัยที่ทำให้การค้าของอยุธยาเจริญรุ่งเรือง
(1) อยุธยาตั้งอยู่ติดทะเล
(2) มีสินค้าที่หลากหลาย
(3) มีสินค้าจากอเมริกาจำหน่าย
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 497, 510, (คำบรรยาย) ปัจจัยที่ทำให้การค้าภายในของอยุธยาเจริญรุ่งเรือง มีดังนี้
1. ที่ตั้งของอยุธยาเป็นเกาะมีแม่นํ้าล้อมรอบ ทำให้การคมนาคมสะดวก อยุธยาจึงเป็นศูนย์กลาง การค้าภายในที่ดีมาก และเป็น “ปากนํ้าและประตูบ้านของเมืองเหนือทั้งปวง”
2. มีสินค้าที่หลากหลาย ซึ่งนอกจากจะมีสินค้าปัจจัยสี่ครบถ้วนแล้ว ยังมีสินค้าที่ใช้ประกอบ กิจการอื่น ๆ อีกมากมาย
73. สภาพทางเศรษฐกิจสมัยต้นรัตนโกสินทร์เป็นเช่นไร
(1) เหมือนอยุธยาทุกประการ
(2) การขยายตัวของเศรษฐกิจเงินตรา
(3) การมีเสรีทางการค้า
(4) ทุนนิยม
ตอบ 2 หน้า 557 – 558 สภาพเศรษฐกิจสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นจะคล้ายกับสมัยอยุธยา แต่ก็มีลักษณะ หลายอย่างก่อรูปขึ้นเป็นความเคลื่อนไหวที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง เช่น เกิดการขยายตัว ของเศรษฐกิจเงินตราและเศรษฐกิจแบบตลาด การค้ากับต่างประเทศทั้งกับตะวันออกและ ตะวันตกขยายตัวกว้างทั้งปริมาณและสินค้าที่หลากหลาย และการเกษตรกรรมเริ่มเปลี่ยนเป็น ผลิตเพื่อส่งออก เป็นต้น
74. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่สำคัญของสยามเป็นผลมาจากอะไร
(1) สนธิสัญญาบาวริ่ง (2) สนธิสัญญาครอฟอร์ด
(3) สนธิสัญญาแวร์ซายส์ (4) สนธิสัญญาเบอร์นี่
ตอบ 1 หน้า 470, 547 – 548, 558 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยเกิดขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อไทยทำสนธิสัญญาบาวริ่งกับอังกฤษใน พ.ศ. 2398 ซึ่งมีผลดังนี้
1. ข้าวกลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญแทนนํ้าตาล
2. สามารถยกเลิกระบบพระคลังสินค้า และการค้าแบบผูกขาดที่ดำเนินมาทั้งแต่สมัยอยุธยา (ยกเว้นการค้าฝิ่น)
3. ไทยเปิดการค้าอย่างเสรี ไม่มีสินค้าต้องห้ามเหมือนแต่ก่อน (ยกเว้นอาวุธยุทธภัณฑ์ ปืน และกระสุนดินดำต้องขายให้รัฐบาล) ฯลฯ
75. ผลจากการทำสนธิสัญญาบาวริ่งคือข้อใด
(1) ข้าวกลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ (2) อ้อยและนํ้าตาลกลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญ
(3) ยกเลิกการผูกขาดการค้าฝิ่น (4) อนุญาตให้ซื้อขายสินค้าต้องห้ามได้อย่างเสรี
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 74. ประกอบ
76. สนธิสัญญาบาวริ่งยกเลิกการผูกขาดสินค้า ยกเว้นสินค้าประเภทใด
(1) ข้าว (2) อาวุธ (3) ชา (4) ฝิ่น
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 74. ประกอบ
77. การทำสนธิสัญญาบาวริ่งของสยามแสดงให้เห็นภาวะอะไรที่สำคัญ
(1) ระบบเศรษฐกิจไทยผูกพันกับเศรษฐกิจโลก (2) การพ่ายแพ้ทางเศรษฐกิจแก่มหาอำนาจ
(3) ทุนนิยมข้ามชาติ (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 547 – 549, 558, (คำบรรยาย) การทำสนธิสัญญาบาวริ่งของไทยแสดงให้เห็นภาวะสำคัญดังนี้
1. การพ่ายแพ้ทางเศรษฐกิจแก่มหาอำนาจ ทำให้เศรษฐกิจไทยเปลี่ยนจากการผลิต เพื่อเลี้ยงตนเอง มาเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก
2. การเกิดระบบทุนนิยมตะวันตก หรือทุนนิยมข้ามชาติ
3. ระบบเศรษฐกิจไทยต้องผูกพันกับเศรษฐกิจโลกอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
78. ใครคือผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในระบบการผลิตเพื่อการค้าของสยาม
(1) นายทุนขุนศึก (2) นายทุนจีน (3) นายทุนข้ามชาติ (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 537 – 538, 558, (คำบรรยาย) ภายหลังสนธิสัญญาบาวริ่งเมื่อ พ.ศ. 2398 ระบบการผลิต เพื่อการค้าของไทยได้ขยายตัวอย่างกว้างขวาง โดยผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดคือ นายทุนจีน ซึ่งได้เข้ามามีบทบาทในเศรษฐกิจไทยมากนับตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นต้นมา เช่น การได้เป็นเจ้าภาษีและนายอากร เป็นผู้ควบคุมการค้าภายใน และยังเป็นพ่อค้าทุกระดับ ในระบบเศรษฐกิจไทย
79. การเปลี่ยนแปลงทางสังคมใดเป็นผลมาจากการขยายตัวของระบบการผลิตเพื่อการค้า
(1) ว่าจ้างแรงงานเพื่อนบ้าน (2) การยกเลิกระบบไพร่
(3) การเลิกทาส (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 419, 424, 429 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจไทย โดยมีการขยายตัวของระบบการผลิต เพื่อการค้า ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ดังนี้ 1. รัฐต้องการเพิมผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะข้าวที่เป็นสินค้าออก จึงมีการยกเลิกระบบไพร่และทาส เพื่อเป็นแรงงานเสรีที่จะ ทำการผลิตได้เต็มเวลา 2. รัฐบาลว่าจ้างแรงงานกรรมกรจีน เป็นแรงงานชดเชยแทนแรงงาน จากไพร่และทาส เพื่อใช้ทำงานโครงการใหญ่ๆ
80. ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสมัยรัตนโกสินทร์คือ
(1) อิทธิพลตะวันตก (2) การริเริ่มของชนชั้นนำสยาม
(3) ระบบการปกครอง (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คำบรรยาย) ปัจจัยพื้นฐานที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้แก่ 1. ระบบการปกครอง 2. ภาวะสงครามหมดสิ้นไป
3. ภัยคุกคามจากตะวันตก 4. อิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตก
5. การริเริ่มของชนชั้นนำสยาม เช่น การปฏิรูปของรัชกาลที่ 5 ที่เน้นขยายการศึกษาให้ทั่วถึง
81. พระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมครั้งพุทธกาลเรียกว่าแบบใด
(1) เถรวาท
(2) อาจาริยวาท
(3) มหายาน
(4) วัชรยาน
ตอบ 1 หน้า 574 – 576, (คำบรรยาย) พระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมเมื่อครั้งพุทธกาล เรียกว่า พระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาท แต่ต่อมาได้เกิดการแตกแยกขึ้นในสังฆมณฑลในอินเดิย ทำให้คณะสงฆ์แตกออกเป็น 2 คณะ (2 นิกาย) ได้แก่
1. เถรวาท ซึ่งยึดถึอตามพระธรรมวินัยที่พระอริยสาวกได้ทำสังคายนาไว้แต่ดั้งเดิม โดยภิกษุคณะนี้จะถูกเรียกชื่อว่า “หินยาน”
2. อาจาริยวาท ซึ่งยึดถือตามพระธรรมวินัยที่มีการแก้ไข โดยภิกษุคณะนี้มีชื่อว่า “มหายาน”
82. พระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิในสมัยใด
(1) พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช
(2) กุบไลข่าน
(3) พระเจ้าอโศกมหาราช
(4) พระเจ้าอชาตศัตรู
ตอบ 3 หน้า 574 ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชทรงมีพระประสงค์จะให้พระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาท แพร่หลายไปยังดินแดนต่าง ๆ จึงโปรดให้จัดภิกษุออกเป็น 9 คณะ โดยมีคณะที่สำคัญอยู่ 2 คณะ ได้แก่ 1. คณะที่หนึ่ง มีพระมหินทรเถระโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นหัวหน้า นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานที่ลังกา 2. คณะที่สอง มีพระโสณะเถระกับพระอุตตระเถระ เป็นหัวหน้านำพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ยังสุวรรณภูมิเมื่อประมาณ พ.ศ. 300
83. หัวหน้าพระภิกษุที่มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ เมื่อ พ.ศ. 300 ชื่ออะไร
(1) พระโมคคัลลีบุตร
(2) พระโสณะเถระและพระอุตตระเถระ
(3) พระมหินทรเถระ
(4) พระติสสะเถระ
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 82. ประกอบ
84. คนไทยในดินแดนสุวรรณภูมิ ครั้งแรกได้รับพระพุทธศาสนาแบบใด
(1) เถรวาท (2) มหายาน (3) อาจาริยวาท (4) มหานิกาย
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 82. ประกอบ
85. การสังคายนาพระธรรมวินัยพุทธศาสนาแบบเถรวาทครั้งที่ 7 ซึ่งทำที่ลังกา จารึกด้วยภาษาใด
(1) มคธ (2) สันสกฤต (3) บาลี (4) ขอม
ตอบ 3 หน้า 581 – 582 พระเจ้าปรักกรมพาหุมหาราชกษัตริย์แห่งลังกา ทรงมีพระประสงค์ให้ทำสังคายนาพระธรรมวินัยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทอย่างลังกาวงศ์ จึงทรงอาราธนา พระมหากัสสปะเถระให้เป็นประธานในการทำสังคายนาครั้งนี้ ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 7 ของการทำสังคายนาทั้งหมดที่ผ่านมา โดยให้ใช้ภาษาบาลีในการจารึกพระไตรปิฎก
86. พระสงฆ์ไทยที่ไปศึกษาพุทธศาสนาที่ลังกานำพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ์มาเผยแผ่ที่ใดก่อน
(1) ไชยา สุราษฎร์ธานี (2) นครศรีธรรมราช (3) สงขลา (4) อยุธยา
ตอบ 2 หน้า 582 พระสงฆ์ไทยที่ไปศึกษาพุทธศาสนาที่ลังกา ได้นำพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ์ มาเผยแผ่ที่เมืองนครศรีธรรมราชก่อน จนกระทั่ง พ.ศ. 1800 เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เสด็จไปยังหัวเมืองฝ่ายใต้ ทรงเกิดความเลื่อมใสในพระสงฆ์เหล่านี้ จึงทรงอาราธนาให้พระสงฆ์ นำพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทอย่างลังกาวงศ์มาเผยแผ่และประดิษฐานที่เมืองสุโขทัย
87. ข้อความในข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับพระสงฆ์ในคณะเหนือสมัยสุโขทัย
(1) มักอยู่วัดในเมือง (2) มักถือสันโดษอยู่ตามป่าเขา
(3) ผู้คนเลื่อมใสในจริยวัตรมากกว่า (4) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่ามหานิกาย
ตอบ 1 หน้า 582 – 583 ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง พระพุทธศาสนาในสุโขทัยแบ่งออกเป็น 2 คณะ ได้แก่
1. คณะเหนือ คือ พุทธศาสนาลัทธิเถรวาท ซึ่งเป็นคณะเดิมที่นับถือกันอยู่ โดยจะใช้ภาษาสันสกฤต และพระสงฆ์มักอยู่วัดในเมือง
2. คณะใต้ คือ พุทธศาสนาลัทธิเถรวาทอย่างลังกาวงศ์ ซึ่งเป็นรากฐานของมหานิกายในปัจจุบัน โดยพระสงฆ์จะใช้ภาษาบาลี และมักถือสันโดษอยู่ตามป่าเขา จึงทำให้ผู้คนเลื่อมใสใน พระจริยวัตรมากกว่า
88. ข้อความในข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับพระสงฆ์คณะใต้สมัยสุโขทัย
(1) มักอยู่วัดในเมือง (2) มักถือสันโดษอยู่ตามป่าเขา
(3) ผู้คนเลื่อมใสในจริยวัตรมากกว่า (4) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่ามหานิกาย
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 87. ประกอบ
89. พระขะพุงผีที่กล่าวถึงในศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำแหง หมายถึงอะไร
(1) ผีบรรพบุรุษ (2) พระที่ถือสันโดษอยู่ตามป่าเขา
(3) วิญญาณกษัตริย์ต้นราชวงศ์ (4) เทพยดาที่เป็นใหญ่กว่าผีทุกผีในเมืองสุโขทัย
ตอบ 4 หน้า 583, 589 แม้คนสุโขทัยจะรับพุทธศาสนามาเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ความเชื่อเรื่องการนับถือผีสางเทวดาก็ยังคงอยู่ โดยเฉพาะการนับถือ “พระขะพุงผี” ซึ่งเป็นเทพยดาประจำชาติ ที่เป็นใหญ่กว่าผีทุกผีในเมืองสุโขทัย ดังข้อความในศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำแหงที่ว่า “พระขะพุงผี เทพยดาในเขาอันนั้น เป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้…”
90. ไตรภูมิพระร่วงหรือไตรภูมิกถา เป็นพระราชนิพนธ์ของกษัตริย์พระองค์ใด
(1) พระบรมไตรโลกนาถ (2) พระมหาธรรมราชาลิไทย
(3) พ่อขุนรามคำแหง (4) พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ
91. ข้อความใดแสดงถึงความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาของคนไทยในสมัยอยุธยา
(1) การสร้างวัดและปฏิสังขรณ์วัด
(2) พิธีกรรมต่าง ๆ มีพิธีสงฆ์เป็นองค์ประกอบ
(3) การทำบุญในโอกาสต่าง ๆ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 589 – 592, (คำบรรยาย) สิ่งที่แสดงถึงความเจริญและความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ของคนไทยในสมัยอยุธยา จะสังเกตได้จากการที่พระมหากษัตริย์และประชาชนทำนุบำรุง พระพุทธศาสนาด้วยการสร้างวัดและปฏิสังขรณ์วัด รวมทั้งรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี ทางพระพุทธศาสนา เช่น การทำบุญทำทาน การตักบาตร การบำเพ็ญกุศลในโอกาสต่าง ๆ ตลอดจนพิธีกรรมต่าง ๆ ที่ต้องมีพิธีสงฆ์เป็นองค์ประกอบ เป็นต้น
92. เจดีย์สององค์ที่หน้าโบสถ์ของวัดอนุสาวรีย์ สร้างไว้เพื่อจุดประสงค์ใด
(1) บรรจุอัฐิธาตุของบิดาและมารดาของผู้สร้างวัด
(2) บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
(3) บรรจุอัฐิธาตุของคนในสกุล
(4) แทนองค์พระพุทธเจ้าซึ่งสำคัญที่สุด จึงตั้งอยู่หน้าโบสถ์
ตอบ 1 หน้า 592 ในสมัยอยุธยาที่มีวัดอยู่มากมายนั้น เป็นเพราะใครตั้งวงค์สกุลได้มั่นคง ก็มักจะสร้างวัดไว้ เป็นอนุสาวรีย์สำหรับบรรจุอัฐิธาตุของคนในวงค์สกุลนั้น ๆ โดยจะสร้างเจดีย์สององค์ไว้ที่หน้าโบสถ์ หรือพระอุโบสถ องค์หนึ่งสำหรับบรรจุอัฐิธาตุของบิดา อีกองค์หนึ่งบรรจุอัฐิธาตุของมารดา ส่วนบรรดาคนในวงศ์สกุลก็จะสร้างเป็นพระเจดีย์เรียงรายไว้รอบ ๆ พระอุโบสถ
93. พระสงฆ์ไทยที่ไปศึกษาพระธรรมวินัยที่ลังกา กลับมาตั้งนิกายใหม่แบบลังกาในอยุธยาเรียกว่านิกายอะไร
(1) คณะอรัญญวาสี
(2) คณะคามวาสี
(3) คณะมหานิกาย
(4) วันรัตนวงษ์ (คณะป่าแก้ว)
ตอบ 4 หน้า 592 – 593 ในสมัยสมเด็จพระนครินทราธิราช ได้มีพระสงฆ์ไทยกลุ่มหนึ่งเดินทางไปศึกษา พระธรรมวินัยที่ลังกาอยู่หลายปี จึงกลับมายังกรุงศรีอยุธยา และได้แยกย้ายกันไปตั้งนิกายใหม่ แบบลังกา คือ นิกายวันรัตนวงษ์ (คณะป่าแก้ว) ทำให้ในสมัยนี้พระสงฆ์นกรุงศรีอยุธยาจึงแบ่งออก เป็น 3 คณะ คือ 1. คณะคามวาสี 2. คณะอรัญญวาสี 3. คณะป่าแก้ว (วันรัตนวงษ์)
94. ข้อความใดแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัดในพระพุทธศาสนากับคนไทยสมัยอยุธยา
(1) วัดเป็นที่ที่ผู้คนมีโอกาสพบปะกันในวันทำบุญและเทศกาลต่าง ๆ
(2) เป็นธรรมเนียมที่ลูกผู้ชายต้องบวชเรียน 1 พรรษา
(3) วัดเบรียบเสมือนโรงเรียนให้การศึกษา
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 590, (คำบรรยาย) ความสัมพันธ์ระหว่างวัดในพระพุทธศาสนากับคนไทยสมัยอยุธยา มีดังนี้ 1. วัดเป็นที่ที่ผู้คนมีโอกาสพบปะกันในวันทำบุญและเทศกาลต่าง ๆ
2. วัดเป็นที่ระงับคดีวิวาทของชาวบ้าน 3. วัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางสงฆ์ โดยเฉพาะประเพณีการบวชเรียน ซึ่งในสมัยอยุธยาถือเป็นธรรมเนียมว่าลูกผู้ชายต้องบวชเรียน 1 พรรษา
4. วัดเปรียบเสมือนโรงเรียนให้การศึกษาด้านอักษรศาสตร์และวิชาอาชีพอื่น ๆ แก่กุลบุตร
95. กษัตริย์องค์ใดในสมัยอยุธยาที่ออกผนวชในขณะครองราชย์
(1) พระนครินทราธิราช (2) พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
(3) พระบรมไตรโลกนาถ (4) พระเจ้าทรงธรรม
ตอบ 3 หน้า 593 – 594 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงมีพระราชกรณียกิจในการทำนุบำรุง พระพุทธศาสนาดังนี้
1. ทรงอุทิศที่พระราชวังเดิมถวายสร้างเป็นวัด ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่า “วัดพระศรีสรรเพชญ”
2. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 2 ที่ออกผนวชขณะที่ยังทรงครองราชย์
3. ทรงเปลี่ยนแปลงแบบอย่างการสร้างพุทธเจดีย์ให้เป็นแบบศิลปกรรมสุโขทัย เช่น การสร้างพระสถูปเจดีย์ทรงระฆังตามแบบลังกา ซึ่งนิยมสร้างกันมากในสมัยสุโขทัย ฯลฯ
96. พระบรมไตรโลกนาถอุทิศพระราชวังเดิม ถวายสร้างเป็นวัดชื่อวัดอะไร
(1) วัดพระศรีสรรเพชญ (2) วัดพระศรีมหาธาตุ
(3) วัดราชบูรณะ (4) วัดกษัตราธิราช
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 95. ประกอบ
97. การเปลี่ยนแปลงรูปแบบศิลปกรรมทางศาสนาตามแบบศิลปะสุโขทัย เช่น เปลี่ยนแบบพุทธเจดีย์เป็นทรงระฆัง เกิดขึ้นในสมัยกษัตริย์องค์ใด
(1) พระบรมราชาธิราช (2) พระบรมไตรโลกนาถ
(3) พระนารายณ์มหาราช (4) พระเจ้าปราสาททอง
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 95. ประกอบ
98. ประเพณีการบวชของคนไทยเกิดขึ้นในสมัยใด
(1) สุโขทัย (2) อู่ทอง (3) อยุธยา (4) รัตนโกสินทร์
ตอบ 3 หน้า 587, 591, 594 – 596 ในสมัยอยุธยา ซึ่งตรงกับรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ไดัมีความเคลื่อนไหวทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญดังนี้ 1. การประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิสยามวงค์ในลังกา 2. การปฏิสังขรณ์วัด 3. การเกิดประเพณีการบวชของคนไทยทั่วไป (การบวชเรียนนี้แม้ว่าจะเคยมีขึ้นในสมัยสุโขทัยมาก่อน แต่ก็ยังไม่แพร่หลายจนกลายเป็นประเพณีที่สำคัญเหมือนกับสมัยอยุธยา)
99. วรรณคดีทางพุทธศาสนาเรื่องใดที่แต่งในสมัยอยุธยา แต่จบในสมัยรัตนโกสินทร์
(1) พระมาลัยคำหลวง (2) มหาชาติคำหลวง (3) เทศน์มหาชาติ (4) สมุทรโฆษคำฉันท์
ตอบ 4 (คำบรรยาย) สมุทรโฆษคำฉันท์ เป็นวรรณคดีทางพุทธศาสนาที่เริ่มแต่งตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ แห่งกรุงศรีอยุธยา แต่แต่งไม่จบ เพิ่งมาจบในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีเนื้อเรื่องเป็นเรื่องชาดกในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นนิยายเล่าสืบต่อกันมา ดังนั้นฉันท์เรื่องนี้ จึงนับเป็นเรื่องแรกที่นำมาบรรยายชาดก
100. พระไตรปิฎกที่ทำการสังคายนาในสมัยรัชกาลที่ 1 เรียกว่าอะไร
(1) พระไตรปิฎกฉบับใบลาน (2) พระไตรปิฎกฉบับทอง
(3) พระไตรปิฎกฉบับรดนํ้าแดง (4) พระไตรปิฎกฉบับ 3 คัมภีร์
ตอบ 2 หน้า 596 – 599 พระราชกรณียกิจทางด้านศาสนาของรัชกาลที่ 1 ได้แก่
1. จัดระเบียบคณะสงฆ์ตามแบบครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขบ้างเพียงเล็กน้อย
2. ทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 9 พ.ศ. 2331 เรียกว่า “พระไตรปิฎกฉบับทอง”
ซึ่งถือเป็นกิจทางศาสนาที่สำคัญยิ่ง
3. ทรงเป็นผู้ตรากฎหมายพระสงฆ์ขึ้นเป็นครั้งแรก
4. ทรงสร้างพระอารามหลวง คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และวัดสุทัศน์เทพวราราม
101. หลักฐานทางศิลปกรรมที่แสดงถึงการแพร่วัฒนธรรมทางศาสนาจากอินเดียสู่ดินแดนสุวรรณภูมิที่มีอายุเก่าที่สุดเท่าที่พบเป็นงานศิลปกรรมที่แสดงถึงอิทธิพลศิลปะสมัยใดของอินเดีย
(1) อมราวดี
(2) คุปตะ
(3) หลังคุปตะ
(4) ปาละ-เสนะ
ตอบ 1 หน้า 684,686, (คำบรรยาย) ศิลปะทวารวดี เป็นศิลปะที่เจริญขึ้นในช่วงแรกสุดของไทย โดยงานศิลปกรรมทวารวดีส่วนใหญ่จะแสดงถึงการแพร่วัฒนธรรมทางศาสนาจากอินเดีย สู่ดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดเท่าที่พบ ได้แก่ งานศิลปกรรมที่แสดงถึงอิทธิพล ศิลปะอินเดียสมัยอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ 7-9) ต่อมาก็มีอิทธิพลของศิลปะคุปตะ-หลังคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 9 – 13) และศิลปะปาละ-เสนะ (พุทธศตวรรษที่ 14 – 17) ตามลำดับ
102. พระพุทธรูปแบบทวารวดีตอนปลาย มีลักษณะอิทธิพลของศิลปะใดเข้ามาปน
(1) ศิลปะอินเดียแบบปัลลวะ
(2) ศิลปะลังกา
(3) ศิลปะขอมในประเทศไทย
(4) ศิลปะชวา
ตอบ 3 หน้า 686 – 687, 698 พระพุทธรูปสมัยทวารวดีส่วนใหญ่สลักจากศิลา ที่หล่อด้วยสำริด ก็มีอยู่บ้างแต่มักมีขนาดเล็ก ซึ่งแบ่งออกตามลักษณะได้ 3 แบบ ได้แก่
1. แบบแรก แสดงอิทธิพลของศิลปะอินเดียแบบอมราวดี และแบบคุปตะ-หลังคุปตะอย่างชัดเจน
2. แบบที่สอง มีลักษณะเป็นพื้นเมืองหรือเป็นลักษณะเฉพาะของทวารวดี
3. แบบที่สาม เป็นพระพุทธรูปทวารวดีตอนปลาย มีอิทธิพลของศิลปะขอมสมัยบาปวน หรือศิลปะลพบุรีตอนต้น (ซึ่งเรียกว่า ศิลปะขอมในประเทศไทย) เข้ามาปะปน
103. ศิลปะทวารวดีเป็นงานช่างที่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาใด
(1) พุทธศาสนาเถรวาท
(2) พุทธศาสนามหายาน
(3) พุทธศาสนาวัชรยาน
(4) ศาสนาพราหมณ์
ตอบ 1 หน้า 685 ศิลปะสมัยทวารวดีจะสะท้อนการนับถือพุทธศาสนาเถรวาท พุทธศาสนามหายาบ และศาสนาฮินดู แต่ศิลปะที่พบมักเป็นงานช่างที่แสดงพุทธศิลป์นิกายเถรวาท (หินยาน) มากที่สุด โดยหลักฐานที่แสดงถึงการนับถือพุทธศาสนาเถรวาท คือ จารึกคาถา “เย ธัมมา” และจารึกอื่น ๆ ที่เป็นภาษาบาลี ซึ่งใช้เฉพาะพุทธศาสนาเถรวาท รวมทั้งงานประติมากรรมอื่นในพุทธศาสนาเถรวาท ที่พบอยู่ทั่วไป
104. ธรรมจักรและกวางหมอบที่พบในศิลปะทวารวดี สร้างขึ้นในความหมายใด
(1) พระพุทธองค์ทรงประทานปฐมเทศนา ณ อิสิปตนมฤคทายวัน
(2) พระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์
(3) พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้โปรดเวไนยสัตว์
(4) พระพุทธองค์ทรงแสดงสัจธรรมถึงวัฏสงสารเหมือนการหมุนของวงล้อ
ตอบ 1 หน้า 689 ศิลาสลักรูปธรรมจักรในศิลปะทวารวดี คงมีความหมายถึงพระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา เนื่องจากมักพบพร้อมกับกวางหมอบ อันหมายถึง ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา ทั้งนี้การที่แสดงภาพเป็นธรรมจักรก็เนื่องด้วยพระสูตรที่ ทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร หรือพระสูตรแห่งการหมุนธรรมจักรนั่นเอง
105. เทวรูปรุ่นเก่าส่วนใหญ่พบในภูมิภาคใดของประเทศไทย
(1) ภาคตะวันออกและภาคกลาง (2) ภาคตะวันออกและภาคใต้
(3) ภาคใต้และภาคกลาง (4) ภาคตะวันตกและภาคใต้
ตอบ 2 หน้า 683, 691, (คำบรรยาย) ศิลปะแบบเทวรูปรุ่นเก่า หรือวัตถุรุ่นเก่า (พุทธศตวรรษที่ 12 – 14) สร้างขึ้นในศาสนาฮินดู และมีอายุร่วมสมัยกับศิลปะทวารวดีที่สร้างขึ้นในพุทธศาสนา โดยเทวรูป รุ่นเก่าส่วนใหญ่มักพบในภาคใต้ของไทยแถบเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี และทางภาคตะวันออก แถบดงศรีมหาโพธ จ.ปราจีนบุรี นอกจากนี้ที่เมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ก็พบด้วยเช่นกัน
106. เทวรูปพระนารายณ์ สร้างขึ้นตามคติความเชื่อในศาสนาใด
(1) พราหมณ์สมัยโบราณ (2) ฮินดู ไศวนิกาย
(3) ฮินดู ไวษณพนิกาย (4) พุทธหินยาน
ตอบ 3 หน้า 691 – 692 เทวรูปพระนารายณ์ ซึ่งเป็นศิลปะแบบเทวรูปรุ่นเก่า มักสร้างขึ้นตามคติความเชื่อในศาสนาฮินดู ไวษณพนิกาย (นับถือพระวิษณุหรือพระนารายณ์เป็นใหญ่) เช่น เทวรูปพระนารายณ์ 4 กร ศิลา (2 กรหลังหักหายไป) พบที่เขาศรีวิชัย อ.พุมพิน จ.สุราษฎร์ธานี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 13
107. ศิลปะศรีวิชัย ส่วนใหญ่เป็นศิลปกรรมที่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาใด
(1) พราหมณ์สมัยโบราณ (2) พุทธศาสนามหายาน
(3) พุทธศาสนาหินยาน (4) ฮินดู
ตอบ 2 หน้า 694 ศิลปะศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 – 18) เกิดขึ้นทางภาคใต้ของประเทศไทยซึ่งศิลปกรรมศรีวิชัยที่ทำขึ้นส่วนใหญ่จะเนื่องมาแต่พุทธศาสนามหายานทั้งสิ้น โดยโบราณวัตถุ ไม่ว่าจะสลักด้วยศิลาหรือหล่อด้วยสำริดจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับของที่พบในเกาะชวาภาคกลาง เป็นอย่างมาก
108. พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเจดีย์ที่มีอายุสมัยอยู่ในช่วงปลายของศิลปะศรีวิชัย มีส่วนของทรงระฆังป้อมเตี้ย ซึ่งเป็นลักษณะที่แสดงถึงการรับอิทธิพลของศิลปะใด
(1) ศิลปะจาม (2) ศิลปะชวา
(3) ศิลปะอินเดียภาคตะวันตก (4) ศิลปะลังกา
ตอบ 4 (คำบรรยาย) ในสมัยศิลปะศรีวิชัยตอนปลาย พุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ์ได้เผยแผ่เข้ามา เมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ 18 แทนที่พุทธศาสนามหายาน ดังจะเห็นได้จากพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งมีส่วนบนของเจดีย์เป็นทรงระฆังป้อมเตี้ย มีบัลลังก์ สี่เหลี่ยมต่อยอดแหลม อันเป็นลักษณะที่แสดงถึงการรับอิทธิพลของศิลปะลังกา
109. ตามคติทางศาสนา ส่วนที่เป็นเรือนธาตุของเจดีย์ สร้างขึ้นด้วยจุดประสงศ์อะไร
(1) เป็นที่เคารพเทพเจ้าและบรรพบุรุษซึ่งเก็บเถ้ากระดูกไว้ที่นี่
(2) เป็นสังเวชนียสถาน (3) แทนองค์พระพุทธเจ้า
(4) แทนเทพเจ้าสูงสุดในศาสนา
ตอบ 2 หน้า 709, (คำบรรยาย) ตามคติทางศาสนาพุทธ ส่วนกลางของเจดีย์จะเรียกว่า เรือนธาตุ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป หรือใช้สำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของ พระพุทธเจ้า เถ้ากระดูกหรืออัฐิธาตุของพระสงฆ์สาวก ตลอดจนใช้เป็นสังเวชนียสถานหรือ เครื่องหมายแห่งสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ในพุทธศาสนาเช่น ที่ประสูติ ตรัสรู้ ประทานปฐมเทศนา และปรินิพพาน
110. ศิลปะล้านนาในระยะแรกได้รับอิทธิพลจากศิลปะใดเป็นพื้นฐาน
(1) หริภุญไชย (2) พุกามในพม่า (3) สุโขทัย (4) ลังกา
ตอบ 1 หน้า 715 ศิลปะล้านนาหรือเชียงแสนในระยะแรกนั้น จะได้รับอิทธิพลจากศิลปะหริภุญไชย เป็นพื้นฐาน และมีการพัฒนาลักษณะรูปแบบโดยมีอิทธิพลของศิลปะพม่าสมัยพุกามเข้ามาเกี่ยวข้อง
111. ประติมากรรมศิลปะลพบุรีหรือศิลปะขอมในประเทศไทย สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาอะไร
(1) ศาสนาฮินดูไศวนิกาย และไวษณพนิกาย
(2) ศาสนาพุทธหินยาน และมหายาน
(3) ศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธหินยาน
(4) ศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธมหายาน
ตอบ 4 หน้า 698 – 699 ศิลปะลพบุรี หรือศิลปะขอมในประเทศไทย (พุทธศตวรรษที่ 16 – 18)มักพบในท้องที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดย โบราณวัตถุในศิลปะขอมในประเทศไทยนิยมสลักจากศิลาหรือหล่อด้วยสำริด และมักสร้างขึ้น ตามคติความเชื่อทางศาสนาพุทธมหายานและศาสนาฮินดู
112. พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์สองหรือเชียงใหม่ แสดงถึงอิทธิพลของศิลปะใด
(1) พุกาม
(2) หริภุญไชย
(3) สุโขทัย
(4) ลพบุรี
ตอบ 3 หน้า 712, 716 พระพุทธรูปเชียงแสนสายที่สอง จะแสดงถึงอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย จึงนิยมเรียกว่า “แบบเชียงแสนสิงห์สองหรือเชียงใหม่” ซึ่งจะมีพุทธลักษณะที่ต่างไป จากแบบเชียงแสนสิงห์หนึ่ง แต่จะคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปหมวดใหญ่สมัยสุโขทัย คือ ประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระพักตร์รูปไข่ พระวรกายเพรียว พระรัศมีรูปเปลวไฟ ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี (สะดือ)
113. พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์หนึ่ง มีลักษณะเด่นที่ต่างจากเชียงแสนสิงห์สองในข้อใด
(1) พระพักตร์กลม พระองค์อวบ
(2) สังฆาฏิปลายเป็นแฉกเขี้ยวตะขาบอยู่เหนือพระถัน
(3) พระพักตร์รูปไข่ มีไรพระศก
(4) สังฆาฏิปลายตัดอยู่เหนือพระถัน
ตอบ 1 หน้า 716, (ดูคำอธิบายข้อ 112. ประกอบ) พระพุทธรูปเชียงแสนสายแรก หรือเรียกว่า “ แบบเชียงแสนสิงห์หนึ่ง ” จะได้รับอิทธิพลศิลปะอินเดียในยุคปาละชัดเจน โดยผ่านมา ทางพุกาม มีพุทธลักษณะที่สำคัญ คือ พระพักตร์กลม อมยิ้ม พระวรกายอวบอ้วน พระรัศมี เป็นรูปดอกบัวตูมหรือลูกกลม ขมวดพระเกศาใหญ่ ไม่มีไรพระศก ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน (เต้านม) เช่น พระพุทธสิหิงค์หรือพระสิงห์ พบที่วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่
114. ศิลปะแบบใดที่นิยมสร้างพระพุทธรูปนาคปรกแบบทรงเครื่อง
(1) ศิลปะศรีวิชัย (2) ศิลปะลพบุรี (3) ศิลปะอู่ทอง (4) ศิลปะอยุธยา
ตอบ 2 หน้า 700 – 701, (คำบรรยาย) ประติมากรรมสมัยศิลปะลพบุรีที่นิยมมากเป็นพิเศษ คือ พระพุทธรูปปางนาคปรก (มีนาคประกอบ หรือมีขนดนาคสอบลงเบื้องล่าง) ประทับนั่งปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ซึ่งมักจะสลักด้วยศิลาทราย ต่อมาในสมัยหลังประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 17 มักนิยมสลักเป็นพระพุทธรูปนาคปรกแบบทรงเครื่อง มีสีพระพักตร์ค่อนข้างถมึงทึง ซึ่งแสดง ให้เห็นว่าเป็นศิลปะลพบุรีอย่างแท้จริง ไม่ใช่ศิลปะขอม
115. พระแก้วมรกตที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นพระพุทธรูปในศิลปะแบบใด
(1) ศิลปะลังกา (2) ศิลปะล้านนา (3) ศิลปะสุโขทัย (4) ศิลปะล้านช้าง
ตอบ 2 (คำบรรยาย) พระแก้วมรกตที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จัดเป็นพระพุทธรูป ในศิลปะล้านนาแบบเชียงแสนสิงห์สองหรือเชียงใหม่ ซึ่งสร้างด้วยแก้วหรือหินสีเขียวมรกตเนื้อเดียว ทั้งองค์ โดยตามตำนานกล่าวว่าได้ค้นพบพระแก้วมรกตในพระเจดีย์ที่เมืองเชียงรายเมื่อราว พ.ศ. 1979 และต่อมาได้ตกไปอยู่เมืองลำปาง เชียงใหม่ และประเทศลาว จนกระทั่งรัชกาลที่ 1 เสด็จยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ได้เมื่อ พ.ศ. 2321 จึงอัญเชิญกลับมายังประเทศไทย
116. พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก จัดเป็นพระพุทธรูปในศิลปะแบบใด
(1) ศิลปะสุโขทัย (2) ศิลปะลพบุรี (3) ศิลปะอู่ทอง (4) ศิลปะอยุธยา
ตอบ 1 หน้า 712, (คำบรรยาย) พระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัยหมวดพระพุทธชินราช เกิดขึ้นในสมัย พญาลิไทยย้ายเมืองหลวงจากสุโขทัยมายังพิษณุโลก เมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 20 จึงจัดเป็นพระพุทธรูปสกุลช่างพิษณุโลกโดยมีลักษณะทั่วไปคล้ายแบบหมวดใหญ่ แต่ต่างกันคือ มีพระพักตร์และพระวรกายอวบอ้วนกว่า มีนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกับทุกนิ้ว ซึ่งสะท้อนถึง คติลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ เช่น พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
117. รูปแบบเจดีย์ในข้อใดที่เป็นเอกลักษณ์ของเจดีย์สุโขทัย
(1) ทรงยอดพุ่มข้าวบิณฑ์ (2) ทรงระฆัง (3) ทรงปราสาทยอด (4) ทรงแปดเหลี่ยม
ตอบ 1 หน้า 710, (คำบรรยาย) เจดีย์ประธานในสมัยสุโขทัยมีรูปแบบเฉพาะอยู่ 3 แบบ คือ
1. เจดีย์ทรงปราสาทยอดระฆัง หรือทรงปราสาทห้ายอด
2. เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม หรือทรงยอดพุ่มข้าวบิณท์ ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมสุโขทัย
3. เจดีย์ทรงระฆัง หรือทรงกลมแบบลังกา
118. พระพุทธรูปอู่ทองรุ่น 1 มีลักษณะเด่นที่พระพักตร์เหลี่ยม พระรัศมีเป็นดอกบัวตูม มีไรพระศก พระขนงต่อกัน เป็นปีกกา และสังฆาฏิใหญ่ปลายตัด แสดงถึงอิทธิพลของศิลปะใด
(1) ทวารวดี (2) สุโขทัย
(3) ลพบุรี (4) ทวารวดีและลพบุรี
ตอบ 4 หน้า 719 – 720 พระพุทธรูปอู่ทองรุ่นที่ 1 แสดงถึงอิทธิพลของศิลปะทวารวดีที่มีศิลปะขอม (ลพบุรี) เข้ามาผสม มีลักษณะเด่นคือ มีสังฆาฏิใหญ่ปลายตัด และพระรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูม ตามแบบทวารวดี แต่มีพระพักตร์เหลี่ยม มีไรพระศก และพระขนงต่อกันเป็นปีกกาตามแบบขอม มักพบมากในเขตเมืองสรรคบุรี จ.ขัยนาท มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 18
119. พระพุทธรูปยืนในศิลปะสุโขทัย นิยมสร้างปางอะไร
(1) ปางมารวิชัย (2) ปางประทานอภัย
(3) ปางลีลา (4) ปางเปิดโลก
ตอบ 3 หน้า 712 พระพุทธรูปยืนในศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ มักนิยมทำเป็นพระพุทธรูปปางลีลา ลอยตัวที่มีความงดงามไม่น้อยหน้าไปกว่ากัน และถือได้ว่าเป็นลักษณะเฉพาะของสุโขทัย ซึ่งน่าจะมีที่มาจากภาพพุทธประวัติตอนเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
120. พระพุทธรูปคันธารราฐในสมัยรัชกาลที่ 5 มีลักษณะเด่นชัดในข้อใด
(1) ส่วนสัดสมจริงคล้ายคนสามัญ (2) เลียนแบบต้นแบบเดิมในศิลปะลังกา
(3) รักษาลักษณะมหาบุรุษในศิลปะอินเดีย (4) ผสมผสานศิลปะแบบไทยกับตะวันตก
ตอบ 1 หน้า 732, (คำบรรยาย) ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระพุทธรูปที่สร้างกลับมามีพระเกตุมาลาเหมือนเดิม นอกจากนี้ยังมีการติดต่อกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ทำให้นิยมสร้างพระพุทธรูปแนวสมจริง ตามแบบตะวันตก และมีส่วนสัดที่สมจริงคล้ายคนธรรมดาสามัญมากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จาก พระพุทธรูปยืนปางคันธารราฐ (ปางขอฝน) ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5