การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556
ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1201 พื้นฐานวัฒนธรรมไทย
คำสั่ง ให้นักศึกษาเสือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
1. ข้อใดคือความหมายของผู้นำที่มีฤทธิ์อำนาจของชุมชนไทในบริเวณภาคใต้ของจีน
(1) ผู้นำที่เป็นองค์อวตารของเทพเจ้า
(2) ผู้นำที่อ้างว่ามีความสัมพันธ์กับอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่ชุมชนนับถือ
(3) ผู้นำที่เป็นพระจักรพรรดิราช
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 80-81 ลักษณะผู้นำของชุมชนไทในบริเวณภาคใต้ของจีนประการหนึ่ง คือ ผู้นำจะ อ้างที่มาจากสวรรค์ และยังอ้างว่ามีความสัมพันธ์กับอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชุมชนนับถือ เช่น สามารถติดต่อกับวิญญาณของอดีตผู้นำคนก่อนๆ ได้ ซึ่งนักวิชาการจะเรียกผู้นำในลักษณะนี้ว่า “ผู้นำที่มีฤทธิ์อำนาจ” (Big Men or Men of Prowess) และเมื่อผู้นำนี้ตายไปก็จะได้รับการนับถือบูชาว่าเป็นบรรพบุรุษคนหนึ่งด้วย
2. หลักการเรื่องผู้นำที่เป็นมหาชนสมมุติ ปรากฏในหลักฐานใด
(1) ไตรภูมิพระร่วง (2) พระไตรปิฎก ตอนอัคคัญสูตร
(3) ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ (4) ศิลาจารึกหลักที่ 1
ตอบ 2 หน้า 92 ผู้นำที่ดีควรเป็น “มหาชนสมมุติ” เป็นหลักการของพุทธศาสนาที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ตอนอัคคัญสูตร ซึ่งได้กล่าวถึงผู้นำที่ดีว่า ผู้นำหรือกษัตริย์ควรเป็นมนุษย์เหมือน ประชาชนมิใช่เทพเจ้า โดยต้องเป็นมนุษย์ที่ได้รับการยอมรับและเสือกสรรจากประชาชน ให้เป็นผู้นำ เพราะมีคุณธรรมสูงกว่าผู้อื่น จึงจะเรียกว่าเป็นมหาชนสมมุติ
3. พระจักรพรรดิราชหรือจักรวาทิน มีคุณสมบัติอย่างไร
(1) มีพระบรมเดชานุภาพจากชัยชนะในสงคราม (2) มีพระราชฐานะต่ำกว่า “มหาชนสมมุติ”
(3) ได้ปฏิบัติธรรมสั่งสมบารมีเต็มเปี่ยม (4) มีคุณสมบัติตรงตามศาสนาพราหมณ์กำหนด
ตอบ 3 หน้า 93 พระไตรปิฎกในส่วนสุตตันตปิฎก จักกวัติสูตร ได้ระบุว่า ผู้นำที่มีคุณสมบัติเป็นเลิศ จะได้รับการยกย่องว่าเป็นพระจักรพรรดิราชหรือจักรวาทิน ซึ่งหมายถึง กษัตริย์แห่งจักรวาล หรือพระราชาที่ยิ่งใหญ่กว่าพระราชาทั้งปวง โดยคุณสมบัติของผู้ที่จะได้เป็นพระจักรพรรดิราช ก็คือ ต้องเป็นผู้ที่ได้ปฏิบัติธรรมสั่งสมบารมีมาเต็มเปี่ยม
4. ลักษณะของสถาบันกษัตริย์ล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 มีส่วนที่แตกต่างจากสถาบันกษัตริย์สุโขทัย คือ
(1) ไม่เน้นความสูงส่งของจักรพรรดิราช (2) ไม่อ้างบทบาทของผู้ปกครองดุจดังพระโพธิสัตว์
(3) ไม่มีการใช้ราชาศัพท์กับกษัตริย์ (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 98 ลักษณะของสถาบันกษัตริย์ล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 จะมีส่วนที่แตกต่างจากสถาบันกษัตริย์สุโขทัย คือ ไม่มีการเน้นความสูงส่งของพระจักรพรรดิราช หรือไม่มีการอ้างบทบาท ของผู้ปกครองดุจดังพระโพธิสัตว์ และไม่มีการใช้คำราชาศัพท์กับกษัตริย์เหมือนดังทางสุโขทัย ส่วนหลักการของธรรมราชาอื่นๆนั้น ทางล้านนาก็ใช้คล้ายคลึงกับสุโขทัย เช่น การเน้นความสำคัญของหลักทศพิธราชธรรม การทำสงครามธรรมยุทธ ฯลฯ
5. จตุโลกบาล หมายถึงอะไรในทัศนคติของพราหมณ์
(1) เทวดาหรือยักษ์ผู้รักษาทิศทั้ง 4 ของจักรวาล (2) พระมหากษัตริย์
(3) ไศเลนทร์ หรือราชาแห่งภูเขา (4) พระจักรพรรดิราช
ตอบ 1 หน้า 99, (คำบรรยาย) ในทัศนคติของศาสนาพราหมณ์มีความเชื่อว่า ในระบบจักรวาล(Universe or Macrocosmos) มีทิศหลักที่สำคัญอยู่ 4 ทิศ คือ ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ซึ่งแต่ละทิศจะมีเทวดาหรือยักษ์ผู้รักษาทิศทั้ง 4 ของจักรวาลอยู่ประจำ รวมทั้งหมด 4 ตน เรียกว่า “โลกาปะละ หรือจตุโลกบาล”
6. ข้อใดถูกในสมัยสุโขทัย
(1) ไม่ปรากฏอิทธิพลลัทธิเทวราชาในสมัยสุโขทัย (2) สุโขทัยนำลัทธิเทวราชาเต็มรูปแบบมาใช้
(3) สุโขทัยนำลัทธิเทวราชามาใช้ในยามที่อาณาจักรแตกแยก หรือมีการแย่งชิงอำนาจ
(4) ลัทธิเทวราชามีความสำคัญที่สุดในสมัยสุโขทัย
ตอบ 3 หน้า 100 สถาบันกษัตริย์สุโขทัยในสมัยพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา คงมีการนำคติบางอย่าง ของลัทธิเทวราชามาใช้ แต่อาจใช้ไม่เต็มรูปแบบหรือตลอดเวลา เช่น อาจนำลัทธิเทวราชามาใช้ ในยามที่อาณาจักรแตกแยกและต้องรวบรวมดินแดนขึ้นใหม่ หรือใช้ในยามที่มีการทำรัฐประหาร แย่งชิงอำนาจกษัตริย์พระองค์ก่อน
7. ข้อใดหมายถึงการปกครองแบบทหาร
(1) ข้าราชการและประชาชนทุกคนต้องออกรบได้ยามมีศึก
(2) ใช้การปกครองแบบเข้มงวดและเด็ดขาด
(3) ข้าราชการและประชาชนทุกคนต้องเป็นทหารทั้งในยามสงบและสงคราม
(4) สมุหกลาโหมมีอำนาจสูงสุด
ตอบ 1 หน้า 102 การปกครองแบบทหาร หมายถึง ลักษณะการปกครองที่ข้าราชการและประชาชนทุกคนต้องออกรบได้ยามมีศึกสงคราม ซึ่งถือเป็นประเพณีการปกครองของชุมชนไทยมาแต่ดั้งเดิม โดยมีรากฐานมาจากประชากรของชุมชนยังมีจำนวนจำกัด ไม่เพียงพอที่จะจัดแบ่งออกเป็น ทหารประจำการและพลเรือนได้
8. ข้อใดหมายถึงการปกครองแบบนครรัฐ
(1) เมืองต่าง ๆ มีลักษณะเป็นอิสระดุจเป็นรัฐหนึ่ง ๆ (2) แว่นแคว้นมีการรามตัวอย่างหลวม ๆ
(3) การรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางไม่มีประสิทธิภาพ (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 104 – 105, 160, 273, (คำบรรยาย) การปกครองแบบนครรัฐ (City State) คือ การปกครอง ส่วนภูมิภาคในลักษณะที่เมืองหรือนครต่าง ๆ มีอิสระดุจเป็นรัฐหนึ่ง ๆ แว่นแคว้นจึงรวมตัวกัน แต่เพียงหลวม ๆ ในลักษณะสมาพันธรัฐ ส่งผลให้การรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางไม่มีประสิทธิภาพ เพราะเมืองหลวงไม่สามารถควบคุมเมืองส่วนภูมิภาคหรือเมืองลูกหลวงได้อย่างแท้จริง ดังนั้น จึงเกิดปัญหาการก่อกบฏของเจ้าเมืองลูกหลวงทั้งในสุโขทัย ล้านนา และอยุธยาตอนต้น
9. ข้อใดคือจุดมุ่งหมายของกฎมณเฑียรบาล
(1) เป็นระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (2) เป็นหมวดหนึ่งของกฎหมายตราสามดวง
(3) เพื่อกำหนดหลักปฏิบัติที่บุคคลทั้งหลายต้องกระทำต่อพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์
(4) เป็นการจัดทำเนียบศักดินา
ตอบ 3 หน้า 124 กฎหมายสำคัญที่รองรับสถานะอันสูงส่งดุจเทวะของพระมหากษัตริย์อยุธยาก็คือ “กฎมณเฑียรบาล” ที่ตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งถือเป็นเอกสารฉบับแรก ที่บันทึกเกี่ยวกับสถานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์อยุธยาลงไว้เป็นลายลักษณ์ อักษร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดหลักปฏิบัติที่บุคคลทั้งหลายต้องกระทำต่อพระมหากษัตริย์ และพระราชวงศ์ จึงถือเป็นหลักฐานที่แสดงถึงการเป็นเทวราชาของกษัตริย์อยุธยาได้อย่างดี
10. ข้อใดหมายถึง “จตุสดมภ์”
(1) สมุหกลาโหม สมุหนายก พระคลัง เจ้ากรมลูกขุน
(2) ตำแหน่งเวียง รัง คลัง นา
(3) เจ้ากรมช้าง เจ้ากรมม้า สุรัสวดี เจ้ากรมลูกขุน
(4) รังหน้า เจ้าฟ้า พระองศ์เจ้า หม่อมเจ้า
ตอบ 2 หน้า 147 – 148, (คำบรรยาย) อยุธยามีการจัดแบ่งส่วนราชการในระยะแรกเริ่มเป็นแบบ จตุสดมภ์ (หลักทั้ง 4) คือ มีตำแหน่งและกรมกองสำคัญอยู่ 4 กรม ได้แก่ กรมเวียงหรือกรมเมือง กรมวัง กรมคลัง และกรมนา แต่ต่อมาระบบจตุสดมภ์ซึ่งถือเป็นระบบการปกครองที่มีอายุ ยืนยาวที่สุดก็ได้ถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการในสมัยปฏิรูปการปกครองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โดยทรงจัดแบ่งส่วนราชการออกเป็นกระทรวง ตามแบบอารยประเทศ
11. พระราชพิธีใดที่ข้าราชการต้องทำความเคารพพระเชษฐบิดรก่อนพระรัตนตรัย
(1) พระราชพิธีบรมราชาภิเษก (2) พระราชพิธีถือนํ้าพระพิพัฒน์สัตยา
(3) พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (4) พระราชพิธี “ฟันนํ้า”
ตอบ 2 หน้า 126, 140 ในสมัยอยุธยา พระมหากษัตริย์ทรงถือว่าอยูในสถานะที่สูงกว่าพระรัตนตรัย ดังหลักฐานจากพระราชพิธีถือนํ้าพระพิพัฒน์สัตยาที่กำหนดให้ข้าราชการต้องถวายสักการะหรือ ทำความเคารพพระเชษฐบิดรก่อนพระรัตนตรัย (พระเชษฐบิดร คือ เทวรูปของสมเด็จพระเจาอู่ทอง และถือว่าเป็นสัญลักษณ์แทนพระมหากษัตริย์ที่สวรรคตไปแล้วทุกพระองค์)โดยจะต้องกระทำ ปีละ 2 ครั้ง
12. ข้อใดถูก
(1) ราชศาสตร์ คือ พระราชกำหนดหรือพระราชบัญญัติ
(2) ราชศาสตร์ยกเลิกไม่ได้
(3) ธรรมศาสตร์เป็นสาขาคดีของราชศาสตร์
(4) กฎหมายธรรมศาสตร์สามารถครอบคลุมกรณีพิพาทที่เกิดขึ้นในอาณาจักรอยุธยาได้ทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 134 – 135 กฎหมายที่ใช้ตัดสินคดีในสมัยอยุธยา ได้แก่ พระธรรมศาสตร์และพระราชศาสตร์ ซึ่งมีลักษณะดังนี้
1. พระธรรมศาสตร์เป็นกฎหมายหลักอันศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญที่สุด และยกเลิกไม่ได้
2. พระธรรมศาสตร์ไม่สามารถครอบคลุมกรณีพิพาทที่เกิดขึ้นในอาณาจักรอยุธยาได้ทั้งหมด
3. พระราชศาสตร์ คือ พระราชกำหนดหรือพระราชบัญญัติ ซึ่งเป็นสาขาคดีของพระธรรมศาสตร์
4. กษัตริย์ทรงเป็นผู้ตราพระราชศาสตร์ เพื่อใช้ในกรณีที่มิได้มีข้อตัดสินระบุไว้ในพระธรรมศาสตร์
5. พระราชศาสตร์อาจถูกยกเลิกโดยกษัตริย์ในรัชกาลต่อ ๆ ไปได้ ฯลฯ
13. ข้อใดหมายถึง “คดีศาลรับสั่ง’’
(1) คดีที่พระมหากษัตริย์ทรงมอบให้กรมลูกขุนเป็นผู้ตัดสิน
(2) คดีความที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา
(3) คดีที่พระมหากษัตริย์ทรงตัดสินเองโดยไม่ผ่านกรมลูกขุน
(4) คดีพิพาทระหว่างคนไทยและคนต่างซาติ
ตอบ 3 หน้า 135 – 136 คดีที่พระมหากษัตริย์อยุธยาทรงมีส่วนร่วมในการพิจารณาด้วย จะเรียกว่า “ความรับสั่ง” แต่ถ้าเป็นคดีที่ราษฎรถวายฎีกาขึ้นมา โดยพระมหากษัตริย์ทรงมอบให้ กรมพระตำรวจเป็นผู้สอบสวน และพระองค์จะทรงตัดสินเองโดยไม่ผ่านกรมลูกขุน คดีเช่นนี้ จะเรียกว่า “คดีศาลรับสั่ง”
14. ข้อใดคือสาระสำคัญของพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนและพระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง
(1) การกำหนดอัตราเงินเดือนข้าราชการ (2) การกำหนดศักดินาให้ข้าราชการกรมกองต่าง ๆ
(3) การกำหนดลำดับขั้นและพระยศเจ้านาย (4) วิวัฒนาการระบบราชการ
ตอบ 2 หน้า 149 การศึกษาลักษณะการบริหารราชการแผ่นดินในส่วนกลางภายหลังการปฏิรูปของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปรากฏหลักฐานอยู่ในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนและ พระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง ซึ่งเป็นกฎหมายที่เชื่อว่าได้ตราขึ้นในสมัยของพระองค์ โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดศักดินาให้แก่ข้าราชการในกรมกองต่าง ๆ จึงให้ความรู้ ในด้านลักษณะการจัดแบ่งกรมกองต่าง ๆ และสายการบังคับบัญชาในสมัยนั้น
15. การศึกษาพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนและพระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมืองให้ความรู้ด้านใดบ้าง
(1) การปฏิรูปกฎหมาย (2) เนื้อที่นาทั่วราชอาณาจักร
(3) กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์
(4) ลักษณะการจัดแบ่งกรมกองต่าง ๆ และสายการบังคับบัญชา
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 14. ประกอบ
16. ข้อใดคือนโยบายการปฏิรูประบบราชการของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
(1) แบ่งงานบริหารออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือน (2) แบ่งการปกครองออกเป็นภูมิภาค
(3) กระจายอำนาจออกจากศูนย์กลาง (4) จัดตั้งเมืองลูกหลวงในเขตเมืองชั้นใน
ตอบ 1 หน้า 148 นโยบายการปฏิรูประบบบริหารราชการของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีดังนี้
1. แบ่งแยกงานบริหารออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือน รวมทั้งตั้งกรมสำคัญขึ้นใหม่ 2 กรม คือ กรมกลาโหมทำหน้าที่ดูแลฝ่ายทหาร และกรมมหาดไทยทำหน้าที่ดูแลฝ่ายพลเรือน
2. จัดการปกครองในรูปรวมอำนาจเข้าสูศูนย์กลาง และยกเลิกระบบเมืองลูกหลวง (แต่มิได้ ยกเลิกเด็ดขาด) โดยจัดให้เขตเมืองชั้นในเป็นเขตมณฑลราชธานี ซึ่งเมืองหลวงเข้าไป ควบคุมโดยตรง
17. เหตุใดการแบ่งงานตามลักษณะหน้าที่ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงไม่สมบูรณ์
(1) กรมใหญ่มีงานในความรับผิดชอบหลายประเภท
(2) เวลาเกิดศึกสงคราม ข้าราชการทุกกรมกองต้องออกไปรบได้เหมือนกันหมด
(3) กรมที่มีลักษณะงานเป็นแบบทหารถูกจัดไว้ฝ่ายพลเรือน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 155-156 สาเหตุที่ทำให้ระบบแบ่งงานตามลักษณะหน้าที่เฉพาะอย่างในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถไม่สมบูรณ์ มีดังนี้
1. กรมใหญ่ เช่น กรมพระคลังมีงานในความรับผิดชอบหลายประเภทในเวลาเดียวกัน
2. เวลาเกิดศึกสงคราม ข้าราชการทุกกรมกองต้องออกไปรบได้เหมือนกันหมดถ้าได้รับคำสั่ง
3. กรมที่มีลักษณะงานเป็นแบบทหารถูกจัดไว้ในฝ่ายพลเรือน ส่วนกรมที่มีลักษณะงาน เป็นพลเรือนกลับถูกจัดไว้ในฝ่ายทหาร
18. การเปลี่ยนแปลงระบบบริหารราชการส่วนกลางในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีลักษณะแบบใด
(1) แบ่งงานตามหน้าที่โดยเคร่งครัด (2) ยกเลิกกรมสำคัญ 6 กรม
(3) แบ่งหน้าที่บริหารราชการออกเป็นภูมิภาค (4) กระจายอำนาจออกจากศูนย์กลาง
ตอบ 3 หน้า 157 – 158 การเปลี่ยนแปลงระบบบริหารราชการส่วนกลางในสมัยอยุธยาตอนปลาย คือ ระบบแบ่งงานตามหน้าที่เฉพาะอย่าง (Functional Basis) ออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือน สลายไป กลายเป็นระบบแบ่งหน้าที่บริหารราชการออกเป็นส่วนภูมิภาคหรือเขตแดน (Territorial Basis) แทน ดังนี้
1. กรมกลาโหมปกครองทหารและพลเรือนในหัวเมืองภาคใต้
2. กรมมหาดไทยปกครองทหารและพลเรือนในหัวเมืองภาคเหนือ
3. กรมพระคลังปกครองทหารและพลเรือนในหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก
19. ข้อใดคือผลจากการเปลี่ยนแปลงลักษณะงานของกรมกองในส่วนกลางปลายสมัยอยุธยา
(1) เกิดการทำงานซ้ำซ้อนกัน (2) กรมที่เคยมีหน้าที่เฉพาะอย่างเสื่อมอำนาจลง
(3) กรมย่อยทำงานเป็นอิสระจากกรมใหญ่มากขึ้น (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 158 – 159 ผลจากการเปลี่ยนแปลงลักษณะงานของกรมกองส่วนกลางในสมัยอยุธยา ตอนปลาย มีดังนี้
1. เกิดการทำงานซ้ำซ้อนกับกรมที่เคยรับผิดชอบงานเฉพาะบางกรมเป็นเหตุให้กรมที่เคยมีหน้าที่เฉพาะอย่างเสื่อมอำนาจลง
2. กรมย่อยทำงานเป็นอิสระจากกรมใหญ่มากขึ้นทุกที
3. การจัดให้กรมเล็กขึ้นสังกัดกรมใหญ่สับสนกันมากขึ้น
20. เขตมณฑลราชธานี จัดตั้งขึ้นในรัชกาลใด
(1) สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (2) สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
(3) สมเด็จพระนเรศวร (4) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 16. ประกอบ
21. การปรับปรุงระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมีลักษณะอย่างไร
(1) มีการจัดตั้งเมืองลูกหลวงและเมืองพระยามหานคร
(2) มีการแบ่งหัวเมืองในเขตชั้นนอกเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี ตามลำดับ
(3) มีการกระจายอำนาจสู่ส่วนภูมิภาค (4) มีการจัดตั้งเขตมณฑลราชธานี
ตอบ 2 หน้า 162 – 164 การปรับปรุงระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคในสมัยสมเด็จพระนเรศวร มีดังนี้ 1. รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง เพื่อเพิ่มอำนาจให้เมืองหลวงควบคุมเขตภูมิภาคได้มั่นคงขึ้น (แต่มิได้มีผลถาวร) 2. ยกเลิกระบบเมืองลูกหลวงและเมืองพระยามหานครในเขตเมืองชั้นนอก และจัดแบ่งหัวเมืองในเขตชั้นนอกเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี ตามลำดับ
3. จัดส่งขุนนางออกไปเป็นเจ้าเมืองเหล่านี้ และให้แต่ละเมืองขึ้นตรงต่อเมืองหลวง ฯลฯ
22. ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เมืองหลวงใช้มาตรการใดในการควบคุมอำนาจเจ้าเมืองในเขตหัวเมืองชั้นนอก
(1) ให้ขุนนางในเมืองหลวงเป็นผู้แต่งตั้งกรมการเมือง (2) ให้กรมการเมืองรับเงินเดือนจากเมืองหลวง
(3) ให้เจ้านายไปกำกับราชการหัวเมืองชั้นนอก (4) ยกเลิกระบบกินเมือง
ตอบ 1 หน้า 195 ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เป็นต้นไป ได้มีการใช้นโยบายแบ่งแยก ความจงรักภักดีออกเป็นสองทาง (Dual Allegiance) กล่าวคือ ให้ขุนนางในเมืองหลวงเป็น ผู้แต่งตั้งกรมการเมืองตำแหน่งต่าง ๆ แทนที่จะให้เจ้าเมืองเป็นผู้แต่งตั้งดังแต่ก่อน เพื่อให้เมืองหลวงมีอำนาจควบคุมเจ้าเมืองในเขตหัวเมืองชั้นนอกได้มากขึ้น เพราะกรมการเมืองย่อม เกิดความภักดีต่อขุนนางในเมืองหลวงซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งตนด้วย มิใช่ภักดีต่อเจ้าเมืองเพียงคนเดียว
23. ข้อใดคือลักษณะสำคัญของสถาบันกษัตริย์ในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย
(1) ลักษณะเทวราชามีความสำคัญมากขึ้น (2) ลดความเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์
(3) ลดความสำคัญในเรื่องผู้นำที่มีบารมีสูง (4) เน้นคติธรรมราชาและพ่อปกครองลูก
ตอบ 4 หน้า 197, 202 – 204 ลักษณะสำคัญของสถาบันกษัตริย์ในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย มีดังนี้ 1. การเน้นคติธรรมราชาและพ่อปกครองลูก 2.ความเชื่อในเรื่องบารมีของพระมหากษัตริย์ยังคงมีอยู่
3. ความเสื่อมของลักษณะเทวราชา 4. ความเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างสมบูรณ์
24. ราชกิจจานุเบกษาเริ่มพิมพ์เผยแพร่ในรัชกาลใดของสมัยรัตนโกสินทร์
(1) รัชกาลที่ 4 (2) รัชกาลที่ 5 (3) รัชกาลที่ 6 (4) รัชกาลที่ 7
ตอบ 1 หน้า 199 – 200 รัชกาลที่ 4 ทรงจัดพิมพ์หนังสือทางราชการออกเผยแพร่เป็นรายสัปดาห์ ที่เรียกว่า “ราชกิจจานุเบกษา” โดยได้ความคิดและแบบอย่างมาจากตะวันตก ทั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลแก่ประชาชนเกี่ยวกับประกาศราชการและกฎหมายต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และปิดหนทาง ที่ขุนนางจะทำดวงตราปลอมเพื่ออ้างรับสั่งกับราษฎร
25. ข้อใดคือปัญหาในระบบบริหารราชการส่วนกลางในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ก่อนปฏิรูปการปกครอง สมัยรัชกาลที่ 5
(1) กรมกองต่าง ๆ มีงานหลายประเภทอยู่ในความรับผิดชอบ
(2) กรมกองต่าง ๆ ได้รับงบประมาณมากเกินไป
(3) เสนาบดีกรมวังและนครบาลมีรายได้มากเกินไป (4) กองทัพประจำการมีอำนาจมากเกินไป
ตอบ 1 หน้า 222 – 225 ปัญหาในระบบบริหารราชการส่วนกลางในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ก่อนการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 มีดังนี้
1. กรมกองต่าง ๆ มีงานหลายประเภทอยู่ในความรับผิดชอบ
2. กรมกองต่าง ๆ ไม่สามารถพัฒนาความชำนาญเฉพาะอย่างขึ้นได้
3. การปฏิบัติราชการก้าวก่ายสับสน ไม่มีประสิทธิภาพ และข้าราชการทุจริตกันแพร่หลาย
4. ไม่มีการจัดสรรงบประมาณให้แต่ละกรมกอง และไม่มีเงินเดือนให้ข้าราชการ
26. ข้อใดคือปัญหาในระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ก่อนการปฏิรูปการปกครอง
(1) เจ้าเมืองและกรมการเมืองไม่มีอำนาจในการเก็บภาษี
(2) หัวเมืองชั้นนอกมีความเป็นอิสระมากเกินไป
(3) ระบบมณทลเทศาภิบาลขาดประสิทธิภาพ (4) เมืองประเทศราชไม่มีอำนาจปกครองตนเอง
ตอบ 2 หน้า 225 – 226 ปัญหาในระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคและเขตประเทคราช ก่อนการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 มีดังนี้
1. หัวเมืองชั้นนอกมีความเป็นอิสระมากเกินไป ทำให้เมืองหลวงไม่สามารถควบคุมได้อย่างใกล้ชิด
2. เจ้าเมืองและกรมการเมืองไม่มีเงินเดือน ทำให้ต้องหารายได้จากการ “กินเมือง”
3. ราชธานีให้เขตประเทศราชปกครองตนเอง จึงเปิดโอกาสให้มหาอำนาจเข้าแทรกแซงได้ง่าย
27. ข้อใดคือผลงานสำคัญในการปฏิรูประบบบริหารส่วนกลางในระยะแรก
(1) การจัดตั้งกระทรวงแบบใหม่ 12 กระทรวง (2) ระบบทาสถูกยกเลิกโดยเด็ดขาด
(3) มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน 2 สภา (4) มีการปฏิรูประบบศาลอย่างแท้จริง
ตอบ 3 หน้า 227 – 228 รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูประบบบริหารส่วนกลางในระยะแรก (พ.ศ. 2417 – 2418) โดยมีผลงานที่สำคัญ คือ การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินขึ้นมา 2 สภา ได้แก่
1. สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (State Council or Council of State)
2. สภาองคมนตรี (Privy Council)
28. ข้อใดถูกในสมัยรัตนโกสินทร์
(1) มีการยกเลิกระบบเมืองประเทศราชโดยเด็ดขาดในสมัยรัชกาลที่ 5
(2) ระบบมณฑลเทศาภิบาลสามารถแก้ไขปัญหาระบบนครรัฐได้
(3) การจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลไม่ได้ทำพร้อมกับทีเดียวทั้งหมด
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 56, 234 – 235 รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูประบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคแบบรวมศูนย์อำนาจ โดยการจัดตั้งระบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้น แต่มิได้จัดทำพร้อมกันทีเดียวทั่วประเทศ ส่งผลให้ระบบเมืองพระยามหานครหรือนครรัฐสิ้นสุดลง และระบบเมืองประเทศราชถูก ยกเลิกโดยเด็ดขาด ทำให้ประเทศไทยสามารถรวมกันเป็นปึกแผ่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในลักษณะรัฐประชาชาติ (National State) ได้สำเร็จ
29. ข้อใดคืออุปสรรคในการปฏิรูประบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
(1) การต่อต้านของฝ่ายอนุรักษนิยมในหัวเมือง
(2) ขุนนางในเมืองหลวงไม่ต้องการยกเลิกระบบกินเมือง
(3) รัฐบาลไม่สามารถปราบการจลาจลตามหัวเมืองได้ (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 236 – 237 อุปสรรคในการปฏิรูประบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคในสมัยรัชกาสที่ 5 นอกจากจะมีปัญหาเรื่องบุคลากรและเงินที่จะใช้ในระบบราชการแบบใหม่แล้ว ยังเกิดปัญหา การต่อต้านของฝ่ายอนุรักษนิยมในหัวเมือง ซึ่งได้แก่ พวกเจ้าเมืองและเจ้าประเทศราชเดิม ทั้งในมณฑลอีสาน พายัพ และปัตตานีในช่วงปี พ.ศ. 2444 – 2445 แต่รัฐบาลก็สามารถ ปราบปรามลงได้สำเร็จ
30. ข้อใดคือความแตกต่างในการปกครองส่วนท้องถิ่นระหว่างสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์
(1) มีการเปลี่ยนแปลงหน่วยการปกครองแบบเดิม
(2) ประชาชนได้เลือกผู้ใหญ่บ้าน และผู้ใหญ่บ้านร่วมกันเลือกกำนัน
(3) ผู้ใหญ่บ้านและกำนันไม่มีสิทธิเป็นกรรมการสุขาภิบาลตำบล
(4) มีการจัดตั้งสุขาภิบาลตำบลสมัยอยุธยา และเทศบาลในสมัยรัตนโกสินทร์
ตอบ 2 หน้า 168 – 169, 236 การปกครองส่วนท้องถิ่นในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์จะมีหน่วย การปกครองเหมือนกัน คือ เป็นหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ แต่ในสมัยรัตนโกสินทร์จะมีการ เปลี่ยนแปลงที่มาของผู้ปกครอง โดยให้ประชาชนได้เลือกผู้ใหญ่บ้าน และผู้ใหญ่บ้านร่วมกัน เลือกกำนัน ส่วนนายอำเภอนั้นแต่งตั้งมาโดยมหาดไทย นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งสุขาภิบาลตำบล ซึ่งกรรมการสุขาภิบาลตำบลจะมาจากผู้ใหญ่บ้านและกำนันที่มาจากการเลือกตั้งนั่นเอง
31. สังคมไทยมีลักษณะอย่างไร
(1) เป็นสังคมที่มีการแบ่งชนชั้น แต่เป็นชนชั้นไม่ถาวร
(2) เป็นสังคมที่อยู่ในระบบผู้อุปถัมภ์-บริวาร
(3) เป็นสังคมที่มีการปลูกฝังความสำนึกในสถานะของตนเองและผู้อื่นในสังคม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 361 – 362 สังคมไทยมีลักษณะสำคัญของชนชั้น ดังนี้
1. เป็นสังคมที่มีการแบ่งชนชั้น แต่เป็นชนชั้นไม่ถาวร มีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ
2. เป็นสังคมที่อยู่ในระบบผู้อุปถัมภ์-บริวาร ซึ่งชนชั้นต่าง ๆ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด และต้องพึ่งพาอาศัยกัน
3. เป็นสังคมที่มีฐานะและความเป็นอยู่คาบเกี่ยวกัน จนแบ่งแยกชนชั้นไม่ได้ชัดเจน
4. เป็นสังคมที่มีการปลูกฝังความสำนึกในสถานะสูงตํ่าของตนเองและผู้อื่นในสังคมอย่างเด่นชัด
32. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับลูกเจ้าลูกขุนในสมัยสุโขทัย
(1) ไม่ต้องออกรบ (2) ทำหน้าที่เป็นมูลนาย
(3) ต้องเสียภาษีมากกว่าไพร่ (4) ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับการกบฏของลูกเจ้าลูกขุน
ตอบ 2 หน้า 272 – 275 บทบาทหน้าที่และสิทธิของลูกเจ้าลูกขุนในสมัยสุโขทัย มีดังนี้
1. ช่วยบริหารราชการสำคัญตาง ๆ 2. ปกครองเมืองสำคัญในฐานะเจ้าเมืองลูกหลวงทำให้ปรากฎหลักฐานการก่อกบฏของลูกเจ้าลูกขุนทั้งในสุโขทัยและล้านนา
3. ทำหน้าที่เป็นมูลนายควบคุมไพร่ 4. ช่วยพระมหากษัตริย์ออกรบในยามสงคราม
5. ได้สิทธิพิเศษเหนือไพร่ คือ ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน ไม่ต้องเสียภาษีและมีไพร่ในสังกัดได้ฯลฯ
33. ข้อใดมิใช่สิทธิของไพร่ในสมัยสุโขทัย
(1) ร้องทุกข์ได้ด้วยตนเอง (2) ไม่ต้องเสียจกอบ
(3) มีสิทธิแสดงความคิดเห็นเรื่องของบ้านเมือง (4) ไม่ต้องเสียภาษี
ตอบ 4 หน้า 285, 287 – 288, (คำบรรยาย) สิทธิของไพร่ในสมัยสุโขทัย มีดังนี้
1. สิทธิในการร้องทุกข์หรือฟ้องร้องมูลนายต่อพระมหากษัตริย์ได้ด้วยตนเองโดยตรง
2. สิทธิในการศาล 3. สิทธิในที่ดินที่ได้หักร้างถางพงไว้
4. สิทธิในการยกมรดกให้แก่ลูกหลาน 5. สิทธิในการค้าขายสินค้าได้ทุกชนิดอย่างเสรี
6. สิทธิในการได้รับยกเว้นภาษีผ่านด่านหรือไม่ต้องเสียจกอบ แตก็ต้องเสียภาษีชนิดอื่น เช่นภาษีข้าว
7. สิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพ
8. สิทธิแสดงความคิดเห็นเรื่องของบ้านเมืองและการปกครองอาณาจักร ฯลฯ
34. ระบบไพร่มีประโยชน์ต่อรัฐอย่างไร
(1) รัฐได้เกณฑ์แรงงานจากไพร่ (2) รัฐได้เก็บภาษีจากไพร่
(3) รัฐสามารถควบคุมไพร่ให้อยู่ในกฎหมาย (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 273, 283, (คำบรรยาย) ประโยชน์ของระบบไพร่ต่อรัฐ มีดังนี้
1. เพื่อให้รัฐสามารถเกณฑ์แรงงานจากไพร่มาใช้ในเวลาจำเป็นทั้งยามสงบและยามสงคราม
2. เพื่อให้รัฐควบคุมไพร่ให้อยู่ในกฎหมาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
3. เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และให้รัฐได้เก็บภาษีอากรจากไพร่หรือสามัญชน
4. เพื่อผลประโยชน์ของไพร่ในการได้รับความคุ้มครองจากมูลนาย
35. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับทาสสมัยล้านนา
(1) พ่อแม่ขายลูกเป็นข้าได้ (2) มีข้าชนิด “ทาสในเรือนเบี้ย” ของสมัยอยุธยา
(3) ล้านนามีการนำ “ข้อยมาเป็นข้า” (4) มีหลักฐานมากมายเกี่ยวกับวิธีที่ข้าจะได้เป็นอิสระ
ตอบ 4 หน้า 293 หลักฐานในสมัยล้านนาไม่ได้กล่าวถึงโอกาสที่ข้าหรือทาสจะเป็นอิสระไว้เลย ยกเว้นในกรณีเดียวที่เจ้าขุนมูลนายมาเป็นชู้กับภรรยาของข้า ข้าผู้เป็นสามีจะได้รับอิสระ นอกจากนี้ยังไม่พบหลักฐานที่กล่าวถึงการไถ่ถอนตัวเป็นอิสระของข้าทั้งในสุโขทัยและล้านนา จึงเป็นไปได้ว่าการไถ่ถอนตัวคงมีน้อยมาก หรือไม่มีเลยก็ได้
36. ในกฎหมายล้านนา การทำผิดในเรื่องเดียวกันแต่ได้รับโทษไม่เท่ากับ ต่อไปนี้ใครรับโทษหนักที่สุด
(1) นายตีน (2) นายช้าง (3) นายม้า (4) กว้าน
ตอบ 2 หน้า 275 ในสมัยล้านนา ลูกเจ้าลูกขุนเมื่อทำผิดจะถูกปรับมากกว่าสามัญชนแม้จะเป็นความผิด อย่างเดียวกัน โดยผู้มีตำแหน่งสูงขึ้นเท่าใดก็จะถูกปรับมากขึ้นตามลำดับ ดังกฎหมายมังรายศาสตร์ ที่ว่า “…นายตีนกินนาหรือกว้านมักเมียท่านให้ไหม 330 เงิน…นายม้ามักเมียท่านให้ไหม 550 เงิน…นายช้างมักเมียท่านให้ไหม 1,100 เงิน…” ฯลฯ
37. กษัตริย์อยุธยามีนโยบายต่อเจ้านายอย่างไร
(1) ให้เจ้านายบังคับบัญชาไพร่หลวง (2) ให้เจ้านายเท่านั้นเป็นเสนาบดี
(3) มีมาตรการเพิ่มจำนวนเจ้านายให้มากขึ้น (4) เจ้านายจะถูกลดความสูงศักดิ์ลงทุกชั่วคน
ตอบ 4 หน้า 141, 305, 308, 313, 322 – 323 พระมหากษัตริย์อยุธยามีนโยบายลิดรอนอำนาจ เจ้านาย ดังนี้ 1. ควบคุมจำนวนเจ้านายไม่ให้มากเกินไป โดยกำหนดผู้มีสิทธิเป็นเจ้านาย มีได้เพียง 3 ชั่วอายุคน คือ ในชั่วลูก หลาน และเหลนเท่านั้น 2. ลดความสูงศักดิ์ของเจ้านาย ลงทุกชั่วคน จึงไม่อาจกลาวได้ว่าเจ้านายมีความสูงศักดิ์กว่าขุนนาง 3. ไม่ให้เจ้านายได้เป็น เสนาบดีควบคุมการบริหารกรมกองสำคัญในส่วนกลาง และไม่ให้เป็นเจ้าเมืองในส่วนภูมิภาค แต่ให้ขุนนางมีอำนาจหน้าที่นี้แทน 4. ยกเลิกการให้เจ้านายบังคับบัญชาไพร่หลวง แต่ให้ทรงกรม หรือปกครองกรมและบังคับบัญชาไพร่สมแทน 5. ควบคุมจำนวนไพร่สมไม่ให้มากเกินไป ฯลฯ
38. กษัตริย์อยุธยาทรงมีมาตรการลิดรอนอำนาจของเจ้านายอย่างไร
(1) ยุบเมืองลูกหลวง (2) ยกเลิกการให้เจ้านายทรงกรม
(3) ยกเลิกการให้เจ้านายบังคับบัญชาไพร่หลวง (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 37. ประกอบ
39. การกำหนดศักดินามีประโยชน์อย่างไร
(1) ใช้กำหนดความสูงศักดิ์ของบุคคล (2) ใช้กำหนดบทลงโทษของบุคคล
(3) ใช้กำหนดไพร่ในสังกัดของบุคคล (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 309, 359 – 360 ระบบศักดินามีประโยชน์ในการกำหนดฐานะบุคคลในทางสังคมและกำหนดระเบียบในการปกครองด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1. เป็นเครื่องมือกำหนดความสูงศักดิ์ ของบุคคล อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคคลต่าง ๆ เพื่อจัดระเบียบของสังคม
2. เป็นเครื่องกำหนดบทลงโทษของบุคคลที่มีความผิด 3. เป็นเครื่องวัดและกำหนดไพร่พล ในสังกัดของบุคคลที่เป็นมูลนาย 4. เป็นเครื่องกำหนดอภิสิทธ์และสิทธิพิเศษบางอย่างให้แก่บุคคล
40. กฎหมายศักดินาเริ่มปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในรัชกาลใด
(1) พระเจ้าอู่ทอง
(2) สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (3) พระนเรศวร (4) พระเจ้าตากสิน
ตอบ 2 หน้า 357 – 358 กฎหมายศักดินาอาจเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น เพราะปรากฏหลักฐานในกฎหมายลักษณะโจร (จารึกหลักที่ 38) ซึ่งเชื่อว่าทำขึ้นในปี พ.ศ. 1940 แต่มาเริ่มปรากฏ เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนครั้งแรกในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อทรงตรา พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนและพระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมืองในปี พ.ศ. 1998
41. ไพร่ชนิดใดมีจำนวนมากที่สุดในสมัยอยุธยา
(1) ไพรหลวง (2) ไพร่สม (3) ไพร่ส่วย (4) ไพร่อุทิศ
ตอบ 1 หน้า 339 – 341, 353. (คำบรรยาย) ประเภทของไพรในสมัยอยุธยา มีดังนี้
1. ไพรสม คือ ไพร่ส่วนตัวของมูลนาย (ส่วนใหญ่จะเป็นพวกเจ้านาย) มีหน้าที่รับใช้มูลนาย เป็นการส่วนตัว จึงมีความเป็นอยู่ที่สุขสบายและทำงานน้อยกว่าไพร่หลวง
2. ไพร่หลวง คือ ไพรที่สังกัดกับพระมหากษัตริย์หรือไพร่ของทางราชการ ซึ่งได้มาจากสามัญชน ทั้งหมดที่เหลืออยู่จากการเป็นไพร่สม จึงเป็นไพร่ที่มีจำนวนมากที่สุดและทำงานหนักที่สุด
3. ไพร่ส่วย คือ ไพร่ที่ไม่ต้องมาให้แรงงาน แต่ส่งสินค้าหรือส่วยมาแทน (ส่วนไพร่อุทิศหรือ ข้าพระอารามก็คือ ทาสวัดส่วนใหญ่ในสมัยอยุธยา)
42. ไพร่อยุธยาไม่มีสิทธิทำสิ่งใด
(1) เข้าเวร
(2) เข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ (3) ออกรบ (4) ขายตัวเป็นทาส
ตอบ 2 หน้า 128, 140, (คำบรรยาย) ในสมัยอยุธยาได้กำหนดให้ชนชั้นเจ้านาย ขุนนาง และพระสังฆราชมีสิทธิเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ได้ แต่จะต้องเข้าเฝ้าตามหมายกำหนดเวลาที่ กำหนดไว้ไนกฎมณเฑียรบาล ส่วนชนชั้นไพร่นั้นไม่มีสิทธิเข้าเฝ้าและมองดูพระมหากษัตริย์ แต่พระมหากษัตริย์จะทรงทราบความเป็นอยู่ของไพร่โดยผ่านเจ้านายหรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่
43. การสักข้อมือไพร่เพื่อป้องกันไพร่หลบหนี เริ่มทำครั้งแรกในสมัยใด
(1) พระนเรศวร
(2) พระนารายณ์ (3) พระเจ้าตากสิน (4) พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ตอบ 3 หน้า 392, 417, (คำบรรยาย) การสักข้อมือไพร่เป็นตัวอักษรเริ่มทำขึ้นครั้งแรกตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินแห่งกรุงธนบุรี และใช้ต่อมาจนถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยได้กำหนดให้สักข้อมือไพร่ไว้ที่ด้านใน ระบุชื่อมูลนายและชื่อเมืองอันเป็นภูมิลำเนาเพื่อป้องกันไพร่หลบหนี สับเปลี่ยนมูลนาย หรือหนีไปหลบซ่อนอยู่ต่างเมืองและตามป่าเขาอีก จึงเป็นทางป้องกันไม่ให้ ไพร่หลวงสูญหาย หรือไม่ให้ไพร่หลวงหนีไปเป็นไพร่สมของมูลนายได้ง่ายอย่างแต่ก่อน
44. ข้อความที่สักบนข้อมือไพร่คือเรื่องใด
(1) ชื่อไพร่และชื่อมูลนาย
(2) ชื่อมูลนายและชื่อกรม (3) ชื่อไพร่และชื่อเมือง (4) ชื่อมูลนายและชื่อเมือง
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 43. ประกอบ
45. ข้อใดถูกต้อง
(1) ผู้หญิงต้องขึ้นทะเบียนไพร่ (2) พระสงฆ์ไม่ต้องขึ้นทะเบียนไพร่
(3) ผู้หญิงถูกเกณฑ์แรงงานเช่นเดียวกับชาย (4) ทาสไม่มีศักดินาประจำตัว
ตอบ 1 หน้า 341 – 342, (คำบรรยาย) หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนไพร่ในสมัยอยุธยา มีดังนี้
1. ไพร่ที่มีอายุตั้งแต่ 9 ขวบขึ้นไปต้องมาขึ้นทะเบียน แต่ไพร่จะถูกเกณฑ์แรงงานเมื่ออยู่ในวัยฉกรรจ์ (ผู้ที่แต่งงานแล้ว) คือ อายุประมาณตั้งแต่ 18 ปีขึ้น‘ไป
2. ไพร่ต้องขึ้นทะเบียนกับมูลนายที่มิภูมิลำเนาเดียวกับตน แต่ต่อมาภายหลังไพร่ขึ้นสังกัด กับมูลนายที่อยู่ต่างภูมิลำเนากันได้
3. ไพร่ต้องขึ้นทะเบียนสังกัดหมวดหมู่เดียวกับพ่อแม่ญาติพี่น้องของตน
4. ผู้หญิงและพระสงฆ์ก็จะต้องมาขึ้นทะเบียนไพร่ แม้ว่าจะไม่ถูกเกณฑ์แรงงาน นอกจาก เวลาที่จำเป็นจริงๆ ฯลฯ
46. นายเงินสมัยอยุธยาไม่มีสิทธิเหนือตัวทาสอย่างไร
(1) ขึ้นค่าตัวทาสได้
(2) ลงโทษทาสได้ (3) ใช้ทาสเข้าคุกแทนตนเองได้ (4) ใช้ทาสไปรบแทนตนเองได้
ตอน 1 หน้า 352, 354 – 356 ระบบทาสในสมัยอยุธยา นายเงินมีสิทธิเหนือตัวทาสดังนี้
1. ใช้งานทาสได้ทุกอย่าง 2. ใช้ทาสไปรับโทษหรือเข้าคุกแทนตนเองได้
3. ใช้ทาสไปรบแทนตนเองได้ 4. ลงโทษทาสได้แต่ต้องไม่ทำให้ทาสนั้นพิการหรือตายไป
5. ขายทาสต่อไปได้ แต่ขึ้นค่าตัวทาสตามใจชอบไม่ไต้ และถ้าทาสมีเงินมาไถ่ตัว นายเงิน จะไม่ยอมรับค่าตัวทาสไม่ได้ ฯลฯ
47. กรมใดมีหน้าที่ดูแลชาวมุสลิมในสมัยอยุธยา
(1) กรมท่าขวา (2) กรมท่าซ้าย (3) กรมสัสดี (4) กรมพระคลัง
ตอบ 1 หน้า 151, 364, 504 ในสมัยอยุธยา หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลชาวต่างชาติ คือ กรมท่า ซึ่งขึ้นกับกรมพระคลัง แบ่งออกเป็น
1. กรมท่าซ้าย มีหลวงโชฎึกราชเศรษฐีเป็นเจ้ากรม ทำหน้าที่ดูแลชาวจีน ญี่ปุ่น ฮอลันดา ฝรั่งเศส และโปรตุเกส
2. กรมท่าขวา มีพระยาจุฬาราชมนตรีเป็นเจ้ากรม ทำหน้าที่ดูแลชาวมุสลิมที่นับถือศาสนาอิสลาม เช่น ชาวอินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ เตอร์ก มลายู ฯลฯ
48. ท่านคิดว่าสิ่งใดเป็นตัวกำหนดการดำเนินวิถีชีวิตของคนสมัยอยุธยาได้ชัดเจนที่สุด
(1) ลัทธิเทวราชา (2) หลักธรรมราชา (3) ระบบผูกขาด (4) ระบบศักดินาและระบบไพร่
ตอบ 4 หน้า 336 – 337, 357, (คำบรรยาย) สิ่งที่เป็นตัวกำหนดการดำเนินวิถีชีวิตของคนไทย ในสมัยอยุธยาที่ชัดเจนที่สุด ได้แก่
1. ระบบศักดินา เป็นการจัดระเบียบสังคมของอยุธยาที่สำคัญยิ่ง และมีผลต่อวิถีชีวิตของบุคคล ในสังคม (ดูคำอธิบายข้อ 39. ประกอบ)
2. ระบบไพร่ เป็นระบบการควบคุมแรงงานที่มีประสิทธิภาพ และเป็นตัวกำหนดการดำเนินชีวิต ของคนในสมัยอยุธยา (ดูคำอธิบายข้อ 34. ประกอบ)
49. เจ้าพระยาจักรี เป็นราชทินนามของกรมใด
(1) มหาดไทย (2) กลาโหม (3) นครบาล (4) คลัง
ตอบ 1 หน้า 150 – 152, 319 – 320, (คำบรรยาย) หน้าที่ในตำแหน่งของกรมกองต่าง ๆ จะมียศ และราชทินนามกำกับไว้โดยเฉพาะ ดังนี้
1. เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ฯ เป็นยศและราชทินนามของขุนนางกรมมหาดไทย
2. เจ้าพระยามหาเสนาบดีวิริยภักดีฯ เป็นยศและราชทินนามของขุนนางกรมกลาโหม
3. เจ้าพระยาพระคลัง หรือเจ้าพระยาโกษาธิบดี เป็นยศและราชทินนามของขุนนางกรมพระคลัง หรือโกษาธิบดี
4. พระยาพลเทพราชเสนาบดีฯ เป็นยศและราชทินนามของขุนนางกรมนาหรือเกษตราธิการ ฯลฯ
50. ยศสูงสุดของขุนนางในประวัติศาสตร์ คือยศใด
(1) กรมสมเด็จพระ (2) กรมพระ (3) สมเด็จเจ้าพระยา (4) เจ้าพระยา
ตอบ 3 หน้า 319, 405, (คำบรรยาย) ยศสมเด็จเจ้าพระยา ถือเป็นยศสูงสุดของขุนนางในประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งเริ่มมีขึ้นครั้งแรกในสมัยกรุงธนบุรี โดยสมเด็จเจ้าพระยาจะมีอยู่ทั้งหมด 4 พระองค์ คือ
1. สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ (ทองด้วง) หรือรัชกาลที่ 1 ในเวลาต่อมา
2. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดีส บุนนาค)
3. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค)
4. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
51. บุคคลใดต่อไปนี้มีศักดินาสูงสุดสมัยอยุธยา
(1) เจ้าพระยากลาโหม (2) วังหน้า (3) วังหลัง (4) พระมหากษัตริย์
ตอบ 2 หน้า 309, 357 กฎหมายอยุธยากำหนดให้ประชาชนทุกคนยกเว้นพระมหากษัตริย์ จะได้รับ พระราชทานศักดินาประจำตัวเป็นจำนวนเลขลดหลั่นกันไปตามยศและตำแหน่ง โดยผู้ที่มีศักดินา สูงสุดในสมัยอยุธยา คือ เจ้านายระดับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) มีศักดินา 100,000 ไร่ ส่วนผู้ที่มีศักดินาตํ่าสุด คือ ยาจก วณิพก ทาส และลูกทาส มีศักดินา 5 ไร่
52. ตัวอย่างของขุนนางที่เลื่อนฐานะขึ้นเป็นกษัตริย์ได้สำเร็จในประวัติศาสตร์ คือใคร
(1) พระเจ้าปราสาททอง (2) พระมหาจักรพรรดิ (3) พระบรมไตรโลกนาถ (4) พระเอกาทศรถ
ตอบ 1 หน้า 44, 324 ตัวอย่างของขุนนางที่เลื่อนฐานะขึ้นเป็นกษัตริย์ได้สำเร็จในประวัติศาสตร์ คือ ออกญาหรือพระยาศรีวรวงศ์ ซึ่งต่อมาได้เลื่อนยศเป็นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ เป็นขุนนางสมัยอยุธยาที่กำจัดยุวกษัตริย์ถึง 2 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเชษฐาธิราช และสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ รวมถึงเจ้านายชั้นสูงอีกจำนวนหนึ่ง ก่อนได้ขึ้นครองราชย์ เป็นสมเด็จพระเจ้าปราสาททองในเวลาต่อมา
53. ตำแหน่งวังหน้าในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก คือใคร
(1) กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (2) กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์
(3) กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ (4) กรมขุนอิศเรศรังสรรค์
ตอบ 1 หน้า 394 ตำแหน่งวังหน้าที่มีอำนาจและความสามารถมากที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้แก่ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (วังหน้าในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือรัชกาลที่ 1) ที่มีความขัดแย้งกับกษัตริย์ ถึงขนาดนำปืนขึ้นประจำป้อมและหันปากกระบอกปืน เข้าหากัน แต่เรื่องร้ายก็ยุติลงได้เพราะพระพี่นางทั้งสองพระองค์เข้าห้ามปราม และ กรมพระราชวังบวรฯ สิ้นพระชนม์ไปก่อนในปี พ.ศ. 2446
54. ตำแหน่ง “สมเด็จเจ้าพระยา” ในประวัติศาสตร์ไทยมีกี่พระองค์
(1) 2 พระองค์ (2) 3 พระองค์ (3) 4 พระองค์ (4) พระองค์เดียว
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 50. บระกอบ
55. มหาอำนาจตะวันตกชาติใดได้รับสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเป็นชาติแรกในราชอาณาจักรไทยสมัยรัตนโกสินทร์
(1) อังกฤษ (2) ฝรั่งเศส (3) ดัตช์ (4) โปรตุเกส
ตอบ 1 หน้า 439, 547 – 548, (คำบรรยาย) ภายหลังที่ไทยทำสนธิสัญญาบาวริ่งกับอังกฤษในปี พ.ศ. 2398 ประเทศไทยได้เสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (เสียเอกราชด้านการศาล) ให้กับ ประเทศอังกฤษเป็นชาติแรก คือ คนต่างชาติและคนในบังคับของต่างชาติเมื่อมีเรื่องกับคนไทยก็ดี หรือมีเรื่องในหมู่พวกตัวเองก็ดี จะต้องขึ้นศาลกงสุลของชาติตนหรือชาติที่ตนได้ไปขึ้นทะเบียนไว้ ทำให้ศาลไทยไม่สามารถเอาผิดกับคนต่างชาติที่อยูในเมืองไทยและทำผิดกฎหมายไทยได้ ซึ่งต่อมาตั้งแต่ พ.ศ. 2399 – 2442 ก็มีประเทศต่าง ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส โปรตุเกส สเปน ญี่ปุ่น ฯลฯ เข้ามาทำสัญญาในลักษณะเดียวกันนี้อีกหลายประเทศ
56. ข้อใดถูกต้องในสมัยต้นรัตนโกสินทร์
(1) ขุนนางได้เลือกสรรกษัตริย์ (2) ขุนนางไม่ได้ประโยชน์จากระบบเจ้าภาษีนายอากร
(3) ขุนนางตระกูลบุนนาคหมดอำนาจลง (4) ไพร่หลวงหนีไปเป็นไพร่สมกันมาก
ตอบ 1 หน้า 400 – 404 ปัจจัยที่ทำให้ขุนนางในสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีอำนาจเพิ่มมากขึ้น ได้แก่
1. ขุนนางมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระมหากษัตริย์
2. ไพร่หลวงในสังกัดขุนนางที่หลบหนีไปเป็นไพร่สมมีจำนวนลดลง ทำให้ขุนนางมีความมั่นคงมากขึ้น
3. คณะเสนาบดีซึ่งส่วนใหญ่เป็นขุนนางได้เลือกสรรพระมหากษัตริย์
4. ขุนนางจำนวนหนึ่งได้ประโยชน์จากระบบเจ้าภาษีนายอากร
5. ขุนนางตระกูลบุนนาคมีอำนาจโดดเด่นที่สุดตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์จนถึงต้นรัชกาลที่ 5 ฯลฯ
57. การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 มีผลต่อขุนนางอยางไร
(1) ขุนนางได้เป็นเสนาบดีมากกว่าเจ้านาย
(2) ขุนนางไม่ได้เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลอีกต่อไป
(3) ขุนนางตระกูลบุนนาคเสื่อมอิทธิพลลง
(4) ขุนนางได้เก็บเงินจากเจ้าภาษีไว้เป็นสมบัติส่วนตัวมากกว่าแต่ก่อน
ตอบ 3 หน้า 398, 411 – 412 การปฏิรูประบบราชการและการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 มีผลต่อขุนนาง ดังนี้
1. คณะเสนาบดีรุนเก่าที่มีตระกูลบุนนาคเป็นผู้นำเสื่อมอิทธิพลลง โดยเสนาบดีหรือข้าหลวงเทศาภิบาลรุ่นใหม่ส่วนใหญ่จะเป็นเจ้านาย แต่ถ้าเป็นขุนนางก็จะเป็นขุนนาง ตระกูลอื่น เช่น ตระกูลอมาตยกุล และกัลยาณมิตร
2. ข้าราชการมีเงินเดือน และการใช้เงินส่วนของรัฐเพื่อกิจการส่วนตัวนับเป็นของต้องห้าม
3. มีการเปิดรับสามัญชนที่มีการศึกษาดีเข้าสู่ระบบราชการ ฯลฯ
58. ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีการปฏิรูประบบไพร่อย่างไร
(1) ยกเลิกการสักข้อมือไพร่ (2) ห้ามไพร่เปลี่ยนมูลนาย
(3) ยกเลิกการเกณฑ์แรงงานไพร่สม (4) ไพร่หลวงต้องเข้าเดือนออกสามเดือน
ตอบ 4 หน้า 186, 417 – 419, (คำบรรยาย) ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์โดยเฉพาะรัชกาลที่ 2มีการปฏิรูประบบไพร่ ดังนี้ 1. มีการสักข้อมือไพร่เช่นเดียวกับสมัยรัชกาลที่ 1
2. ลดเวลาการเกณฑ์แรงงานไพร่หลวงลงเหลือปีละ 3 เดือน เรียกว่า “เข้าเดือนออกสามเดือน”
3. ไพร่สมก็ถูกเกณฑ์แรงงานโดยให้มาเข้าเวรปีละ 1 เดือน
4. ให้ไพร่เปลี่ยนมูลนายได้ แต่ต้องเป็นมูลนายในหัวเมืองเดียวกับไพร่ ฯลฯ
59. ปัญหาการเมืองที่เกิดจากชาวจีนในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ได้แก่เรื่องใด
(1) ชาวจีนมักแข็งข้อต่อขุนนาง (2) ชาวจีนต่อต้านชาวตะวันตก
(3) ชาวจีนนิยมไปจดทะเบียนเป็นคนในบังคับอังกฤษ (4) ชาวจีนต่อต้านระบบเจ้าภาษีนายอากร
ตอบ 3 หน้า 439 ในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ชาวจีนได้ก่อปัญหาทางการเมืองให้แก่รัฐบาลไทย โดยการตั้งสมาคมลับของชาวจีนหรีออั้งยี่ขึ้นมาหลายกลุ่ม และมีกิจกรรมหลายด้านที่ทำผิด กฎหมายไทย แต่พวกอั้งยี่ก็สามารถลอยนวลอยู่เหนือกฎหมายไทยได้ เพราะคนจีนจำนวนมาก นิยมไปจดทะเบียนเป็นคนในบังคับตะวันตกชาติต่าง ๆ โดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งเมื่อ มีคดีเกิดขึ้นก็สามารถขึ้นศาลกงสุลของชาติที่ตนได้ไปขึ้นทะเบียนไว้ และตำรวจไทยจะจับกุมตัวได้ ก็ต่อเมื่อกงสุลของชาตินั้นอนุมัติแล้วเท่านั้น (ดูคำอธิบายข้อ 55. ประกอบ)
60. การเลิกทาสในเมืองไทยไม่มีการนองเลือดอย่างในสหรัฐอเมริกา เพราะรัชกาลที่ 5 ทรงดำเนินการยกเลิก อย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ใช้เวลากว่ากี่ปี จึงเลิกทาสได้สำเร็จ
(1) 10 ปี (2) 15 ปี (3) 20 ปี (4) 30 ปี
ตอบ 4 หน้า 433,516,(คำบรรยาย) ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงดำเนินการเลิกทาสจนสำเร็จ โดยพระองค์ ทรงใช้นโยบายทางสายกลาง คือ ดำเนินการเลิกทาสไปทีละขั้นตอน มิใช่รวบรัดเลิกทาสทั้งหมด ในคราวเดียวกัน รวมเวลาที่ใช้ทั้งหมดกว่า 30 ปี จึงทรงสามารถเลิกทาสได้อย่างเด็ดขาด โดยไม่มีการนองเลือดเหมือนการเลิกทาสในประเทศสหรัฐอเมริกา
61. ข้อใดคือลักษณะการทำการเกษตรกรรมสมัยสุโขทัย
(1) การปลูกพืชไร่ขนาดใหญ่ (2) การทำการเกษตรเพื่อการส่งออก
(3) พื้นที่เพาะปลูกมีจำกัด (4) ข้าวเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ
ตอบ 3 หน้า 474 การทำการเกษตรกรรมในสมัยสุโขทัยจะมีข้อจำกัดในเรื่องผลผลิต โดยเฉพาะผลิตผลที่สำคัญที่สุด คือ ข้าวนั้นคงจะกระทำกันได้ในปริมาณที่พอกินพอใช้ในอาณาจักรเท่านั้น เพราะพื้นที่เพาะปลูกมีจำกัด กำลังคนก็มีจำกัด และงานชลประทานก็ทำในปริมาณจำกัดเช่นกัน จึงเป็นเหตุให้ในบางครั้งบางคราวเกิดขาดแคลนข้าวขึ้นในสุโขทัย จนต้องสั่งซื้อข้าวมาจากอยุธยา
62. เมืองใดที่มีความสำคัญในแง่การค้าช้างสมัยสุโขทัย
(1) เมืองสุรินทร์ (2) เมืองราด (3) เมืองกำแพงเพชร (4) เมืองสุโขทัย
ตอบ2 หน้า 475 – 476 การค้าช้างในสมัยสุโขทัยคงจะเป็นการค้าที่ใหญ่โต ดังหลักฐานในศิลาจาริกสุโขทัยว่า “เมืองกว้างช้างหลาย” หมายถึง ถ้าต้องการช้างมาใช้งานหรือจับมาขาย ก็สามารถจับมาได้โดยเสรี ไม่ต้องเสียภาษีอากร และทางรัฐมิได้หวงห้าม ซึ่งเมืองสำคัญที่คุมกิจกรรมการค้าช้าง คือ เมืองราด สงไปขายยังเมืองตอนใต้ของสุโขทัย เช่น อโยธยา สุพรรณภูมิ และเมืองทางชายทะเลตะวันออก
63. “ตลาดปสาน” สัมพันธ์กับข้อใด
(1) ตลาดที่มีห้องหรือร้านเป็นแถวติดต่อกัน (2) ลานกิจกรรมในสมัยสุโขทัย
(3) ตลาดใหญ่ที่สุดในสมัยสุโขทัย (4) ตลาดขนาดใหญ่ของเมืองปสาน
ตอบ 1 หน้า 477 ในศิลาจารึกมีคำว่า “ตลาดปสาน” ซึ่งนักศึกษาวิชาการทางประวัติศาสตร์หลายท่าน มีความเห็นว่าตลาดปสาน หมายถึง ตลาดที่มีห้องหรือร้านเป็นแถวติดต่อกัน ส่วนใหญ่จะอยู่ ในย่านชุมนุมชน เพราะมีบ้านเล็กบ้านใหญ่อยู่ในบริเวณเดียวกัน
64. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของเครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัย
(1) สีที่นิยมมากที่สุด คือ สีเขียวไข่กา (2) เครื่องสังคโลกและมีลวดลายแบบไทยเท่านั้น
(3) จาน ชาม เป็นภาชนะที่นิยมมากที่สุด (4) สุโขทัยรับอิทธิพลมาจากจีน
ตอบ 2 หน้า 479 ลักษณะของเครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัย มีดังนี้
1. เป็นสินค้าออกที่สำคัญของสุโขทัย
2. มีสีที่นิยมและขึ้นชื่อลือชามากที่สุด คือ สีเขียวไข่กา
3. ได้รับอิทธิพลจากจีนทั้งรูปทรงและกรรมวิธีแบบอย่าง
4. ภาชนะที่นิยมและพบมากที่สุด คือ จานและชาม 5. มีรูปแบบและลวดลายแบบจีน แทบทั้งสิ้น ส่วนที่เป็นของไทย ได้แก่ รูปเทพนม ยักษ์ นาคปักษ์ พลสิงห์ ฯลฯ
65. ข้อใดอธิบายลักษณะของ “ไหเมาะตะมะ” ได้ถูกต้อง
(1) สีเขียวไข่กา (2) มักใช้บรรจุอาหารแห้ง
(3) สีน้ำตาลไหม้ (4) พบว่าเป็นที่นิยมของพ่อค้าทางเกวียน
ตอบ 3 หน้า 479 เครื่องปั้นดินเผาสุโขทัยที่เอามาขายได้อย่างดีที่เมาะตะมะ มักเป็นพวกไหขนาดใหญ่ เคลือบสีนํ้าตาลไหม้สำหรับใส่น้ำ นํ้ามัน นํ้าตาล หรือบรรจุของอื่น ๆ จะเป็นที่นิยมของ นักเดินเรือมาก จึงมีการซื้อขายกันแพร่หลายจนคนเรียกกันติดปากว่า “ไหเมาะตะมะ”
66. ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่าภาษีที่รัฐเรียกเก็บในสมัยสุโขทัย คือข้อใด
(1) จกอบ (2) อากร (3) ฤชา (4) ส่วย
ตอบ 1 หน้า 480 – 482, (คำบรรยาย) ตามหลักฐานในสมัยสุโขทัย พบว่า ภาษีที่รัฐเรียกเก็บ มีเพียง 2 ชนิด ได้แก่ 1. จกอบ คือ ภาษีที่เก็บจากสินค้าผ่านด่าน ซึ่งเชื่อกันว่าก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหง รัฐบาลจะตั้งด่านเก็บภาษีนี้ แต่พอมาถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหงทรงให้ยกเลิก ภาษีนี้เสีย 2. ภาษีข้าว โดยให้เก็บภาษีข้าว 1 ส่วน จากผลผลิตข้าว 10 ส่วน แต่ถ้าผู้ใดผลิตข้าวไม่ได้ก็ไม่ให้เก็บเลย นอกจากนี้ผู้ปกครองยังไม่ให้เพิ่มอัตราภาษีจากที่เคยเก็บกันมา แต่โบราณซึ่งถือว่าชอบธรรมแล้ว
67. ข้อใดอธิบายถึงระบบเศรษฐกิจสมัยอยุธยาได้ถูกต้อง
(1) ระบบเศรษฐกิจพอเพียง
(2) ระบบเศรษฐกิจการตลาด (3) ระบบเศรษฐกิจเสรี (4) ระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพ
ตอบ 2 หน้า 469 – 471, 558 พื้นฐานระบบเศรษฐกิจไทยมีวิวัฒนาการ ดังนี้
1. เริ่มต้นมาจากเศรษฐกิจแบบหมู่บ้านในสมัยสุโขทัย ซึ่งผลิตเพื่อการบริโภคและแลกเปลี่ยน
2. ระบบเศรษฐกิจแบบการตลาดในสมัยอยุธยา ซึ่งผูกพันกับการแสวงหาตลาดการค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศ 3. ระบบเศรษฐกิจแบบเงินตรา ซึ่งเริ่มปรากฏชัดในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐเก็บส่วยจากไพร่ในรูปแบบเงินตรา
4. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อการค้าส่งออกในปัจจุบัน
68. ข้อใดแสดงถึงการสนับสนุนของรัฐด้านการเกษตรกรรมสมัยอยุธยา
(1) การขยายพื้นที่การทำนา (2) การให้ความคุ้มครองแก่ต้นข้าว
(3) พิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจต่อเกษตรกร (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 489 – 491, (คำบรรยาย) ผู้ปกครองอยุธยามีนโยบายสนับสนุนด้านเกษตรกรรมโดยเฉพาะการทำบาปลูกข้าว ดังนี้ 1. ขยายพื้นที่การทำนาเพาะปลูก 2. คุ้มครองป้องกัน ภยันตรายที่จะเกิดกับต้นข้าว โดยการออกกฎหมายคุ้มครองแก่ต้นข้าว และลงโทษผู้ทำลาย ต้นข้าวอย่างรุนแรง 3. ให้กำลังใจแก่ชาวนา โดยอาศัยพิธีกรรมทางศาสนาต่าง ๆ เพื่อสร้าง ขวัญและกำลังใจ 4. ส่งเสริมแรงงานในภารเพาะปลูก 5. ขจัดปัดเป่าการทะเลาะวิวาท 5.การชลประทาน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่รัฐบาลอยุธยาให้ความสำคัญน้อยที่สุด
69. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ “สัตว์มีคุณ” สมัยอยุธยา
(1) เป็นสัตว์ที่ได้รับพระราชทาน (2) ช้าง ม้า วัว และควาย
(3) เจ้าของต้องทำการล้อมคอกสัตว์ประเภทนี้ (4) กฎหมายให้การคุ้มครอง
ตอบ 1 หน้า 493 – 494, (คำบรรยาย) ในสมัยอยุธยา สัตว์ที่มีความสำคัญจนถึงกับระบุไว้ในกฎหมายว่าเป็น “สัตว์มีคุณ” ได้แก่ ช้าง ม้า โค (วัว) และกระบือ (ควาย) ซึ่งมีข้อสังเกตดังนี้
1. มีกฎหมายให้การคุ้มครองสัตว์มีคุณ และมีกฎหมายคุ้มครองผู้ที่รับจ้างเลี้ยงสัตว์มีคุณด้วย
2. ค่าตัวของสัตว์มีคุณตัวเมียมีค่ามากกว่าตัวผู้
3. เจ้าของสัตว์ต้องล้อมรั้วทำคอกขังไว้ หรือไม่ก็ต้องผูกเชือกใส่ปลอกไว้
4. นิยมเลี้ยงโคและกระบือตัวผู้ไว้ไถนา ส่วนแม่โคนั้นสามารถซื้อขายได้ ฯลฯ
70. การขุดแร่ในสมัยอยุธยา พบว่าแร่ชนิดใดที่รัฐสามารถหาได้ในพื้นที่ที่อยู่ใกล้ราชธานีมากที่สุด
(1) ทองคำ (2) เหล็ก (3) ดีบุก (4) ไข่มุก
ตอบ 2 หน้า 496 แหล่งแร่เหล็กของไทยในสมัยอยุธยาจะอยู่ที่หัวเมืองเหนือ ได้แก่ แถบเมืองสุโขทัย เมืองพิษณุโลก เมืองกำแพงเพชร และเมืองเพชรบูรณ์ ซึ่งถือเป็นแหล่งแร่ที่รัฐสามารถ หาได้ในพื้นทีที่อยู่ใกล้ราชธานี (อยุธยา) มากที่สุด โดยเมืองกำแพงเพชรเป็นที่รู้จักกันดีว่า “มีแร่เหล็กกล้าอันเป็นเหล็กเนื้อดีวิเศษ” ส่วนแร่เหล็กหางกุ้ง เหล็กล่มเลย และเหล็กน้ำพี้ มีหลักฐานว่าได้บรรทุกเรือหางเหยี่ยวจากเพชรบูรณ์มาขายที่พระนครศรีอยุธยา
71. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของตลาดสมัยคยุธยา
(1) เป็นสถานที่ให้ความคุ้มครองผู้รับซื้อของโจรโดยที่ไม่ทราบว่าเป็นของโจร
(2) คุ้มครองการกรรโชกทรัพย์ (3) เป็นสถานที่นำนักโทษไปขออาหารรับประทาน
(4) เป็นที่พักแรมจากการเดินทาง
ตอบ 4 หน้า 497 ตลาดสมัยอยุธยานอกจากเป็นแหล่งขายสินค้านานาชนิดแล้ว ยังมีคุณสมบัติพิเศษ ด้านต่าง ๆ คือ 1. เป็นสถานที่ให้ความคุ้มครองผู้รับซื้อของโจรโดยที่ไม่ทราบว่าเป็นของโจร
2. เป็นสถานที่คุ้มครองจากการรีดไถ และการกรรโชกทรัพย์พ่อค้าแม่ค้าจากพวกตามเสด็จ
3. เป็นสถานที่ลงโทษผู้กระทำผิดกฎหมายการค้าขาย เช่น การขายสินค้าเกินราคาควบคุม การซื้อขายสินค้าต้องห้าม ฯลฯ 4. เป็นสถานที่ที่นักโทษไปขออาหารรับประทานเพื่อยังชีพ
72. อยุธยาเริ่มทำการค้ากับต่างชาติในสมัยใด
(1) พระเจ้าอู่ทอง
(2) สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (3) สมเด็จพระรามาธีบดีที่ 2 (4) สมเด็จพระนารายณ์
ตอบ 1 หน้า 499 ประเทศไทยดำเนินการค้ากับต่างประเทศมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และดำเนินเรื่อยมา จนถึงสมัยอยุธยาเมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดยการค้าส่วนใหญ่ ในระยะแรกจะเป็นการค้ากับประเทศทางตะวันออก ได้แก่ จีน และญี่ปุ่น ส่วนการค้ากับ ประเทศยุโรปตะวันตกจะเริ่มขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
73. สินค้าที่อยุธยานำไปจำหน่ายกับจีน คือสินค้าใด
(1) ดีบุก (2) เครื่องสังคโลก (3) สินค้าป่า (4) ผ้าไหม
ตอบ 3 หน้า 500 สินค้าที่ไทยนำไปจำหน่ายยังเมืองจีนในสมัยอยุธยา ได้แก่
1. พวกสินค้าป่า เช่น ไม้ฝาง ไม้หอมต่าง ๆ
2. เครื่องเทศ เช่น กระวาน กานพลู พริกไทย 3. สัตว์ที่หายาก เช่น นกยูง นกแก้วห้าสี
4. ผลิตผลจากสัตว์ป่า เช่น งาช้าง นอระมาด (นฤมาตหรือนอแรด) หนังสัตว์ ฯลฯ
74. พืชไร่ชนิดใดมีความสำคัญมากที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
(1) อ้อย (2) ปอ (3) พริก (4) มันสำปะหลัง
ตอบ 1 หน้า 523 ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อ้อยเป็นพืชไร่ที่มีความสำคัญมากที่สุด และผู้ปกครอง ก็ให้การสนับสนุนมากที่สุด เพราะนํ้าตาลที่ทำจากอ้อยได้ทำกำไรงามให้กับประเทศ จนได้ชื่อว่า เป็นพืชส่งออกมากที่สุดและเป็นสินค้าออกอันดับ 1 ของไทย ดังปรากฏในสมัยรัชกาลที่ 3 และต้นรัชกาลที่ 4 ไทยส่งนํ้าตาลออกเฉลี่ยปีละ 50,000 – 90,000 หาบ
75. การบำรุงการเลี้ยงสัตว์นํ้าในสมัยรัชกาลที่ 6 ขึ้นอยู่ในการดูแลของหน่วยงานใด
(1) กรมประมง (2) อำเภอ (3) กระทรวงเกษตราธิการ (4) สภาเผยแพร่พานิชย์
ตอบ 3 หน้า 527 – 528 ในสมัยรัชกาลที่ 6 กระทรวงเกษตราธิการได้ตั้งกองบำรุงรักษาสัตว์นํ้าขึ้น และได้จ้างผู้ชำนาญพิเศษเรื่องสัตว์นํ้า คือ ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ (Dr.Hugh Mc.Cormic Smith) ชาวอเมริกันมาช่วยงาน หลังจากนั้นจึงได้จัดตั้งกรมรักษาสัตว์นํ้าขึ้นในกระทรวง เกษตราธิการ มีหน้าที่บำรุงรักษาและเพาะพันธุสัตว์น้ำ โดยมี ดร.ฮิว เป็นเจ้ากรมตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2469
76. ข้อใดไม่ใช่ประเภทของการทำเหมืองแร่ในสมัยรัตนโกสินทร์
(1) ทำเหมือง (2) เหมืองแล่น (3) เหมืองคล้า (4) เหมืองใหญ่
ตอบ 1 หน้า 534 การทำเหมืองแร่ในสมัยรัตนโกสินทร์มีอยู่ 3 ประเภท ดังนี้
1. เหมืองแล่น 2. เหมืองคล้า 3. เหมืองใหญ่ (ส่วนคำว่า “ทำเหมือง” เป็นคำเรียกการขุดแร่ดีบุก แล้วเรียกบริเวณที่ขุดแร่ว่า “เหมือง”)
77. อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ชาวจีนสามารถควบคุมเศรษฐกิจไทยไว้ได้
(1) ชาวจีนมีสิทธิในการประกอบอาชีพ (2) ชาวจีนสามารถเดินทางได้ทั่วประเทศ
(3) ชาวจีนไม่อยู่ในระบบไพร่ (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 538 สาเหตุที่ชาวจีนสามารถควบคุมเศรษฐกิจไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นไว้ได้ เมื่อ พิจารณาในด้านการเมืองการปกครองอาจวิเคราะห์ได้ ดังนี้ 1. รัฐบาลไทยไม่กีดกันผู้อพยพชาวจีน 2. ชาวจีนที่อยู่ในประเทศมีสิทธิเท่าราษฎรไทย เช่น มีสิทธิในการประกอบอาชีพ และสามารถเดินทางทั่วพระราชอาณาจักรได้ (ถือเป็นอภิสิทธิ์เหนือพ่อค้าต่างชาติตะวันตก)
3. ชาวจีนไม่อยู่ในระบบไพร่ จึงมีเวลาประกอบอาชีพส่วนตัวได้ตลอดเวลา
78. ลักษณะการค้าขายในภาคเหนือมักพบสัตว์ประเภทใดเป็นพาหนะขนส่งสินค้า
(1) วัวชน (2) วัวต่าง (3) วัวแล่น (4) ม้า
ตอบ 2 หน้า 539 – 540 ลักษณะการค้าขายในชุมชนภาคเหนือสมัยรัตนโกสินทร์ คือ การค้าขาย ด้วยพาหนะวัวต่าง ซึ่งเป็นพาหนะขนส่งสินค้าที่เจริญรุ่งเรืองในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ ได้แก่ เชียงใหม่ และท่าอิฐ แต่เมื่อรัฐบาลไทยได้ดำเนินการพัฒนาการคมนาคมทางบก ก็ส่งผลกระทบให้พ่อค้าวัวต่างต้องเลิก อาชีพไป เพราะมีรถยนต์เข้ามาขนส่งสินค้าและสิ่งของแทนวัวต่าง
79. ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการตั้งหน่วยงานใดขึ้นเพื่อรวบรวมรายได้เข้าสู่ศูนย์กลาง
(1) หอรัษฎากรพิพัฒน์ (2) เจ้าภาษีนายอากร (3) กรมพระคลังสินค้า (4) กรมท่าซ้าย
ตอบ 1 หน้า 228, 555 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบการคลังในสมัยรัชกาลที่ 5 มีดังนี้
1. จัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เพื่อควบคุมกรมกองต่าง ๆ ให้ส่งภาษีตามกำหนด และเป็นหน่วยงาน ที่รวบรวมภาษีรายได้ที่เคยกระจัดกระจายเข้าสู่ศูนย์กลาง คือ พระคลังหลวง
2. ตราพระราชบัญญัติสำหรับหอรัษฎากรพิพัฒน์ และตราพระราชบัญญัติเจ้าภาษีนายอากรขึ้น ในปี พ.ศ. 2416
80. ผลจากสนธิสัญญาบาวริ่งประการหนึ่ง คือ การยกเลิกการผูกขาดสินค้าทุกประเภท ยกเว้นสินค้าใด
(1) ข้าว (2) ดีบุก (3) ฝิ่น (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 470, 547 – 548, 558 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อไทยทำสนธิสัญญาบาวริ่งกับอังกฤษในปี พ.ศ. 2398 ซึ่งมีผลดังนี้
1. ข้าวกลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญแทนนํ้าตาล 2. สามารถยกเลิกระบบพระคลังสินค้าและการผูกขาดสินค้าทุกประเภทที่ดำเนินมาตั้งแต่สมัยอยุธยา (ยกเว้นการค้าฝิ่น)
3. ไทยเปิดการค้าอย่างเสรี ไม่มีสินค้าต้องห้ามเหมือนแต่ก่อน (ยกเว้นอาวุธยุทธภัณฑ์ ปืน และกระสุนดินดำต้องขายให้รัฐบาล) ฯลฯ
81. วิวัฒนาการด้านความเชื่อของมนุษย์ เริ่มจากความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องใด
(1) การนับถือเทพเจ้าองค์เดียว
(2) การนับถือวิญญาณบรรพบุรุษ (3) การนับถือธรรมชาติ (4) การนับถือเทพเจ้าหลายองค์
ตอบ 3 หน้า 570 – 571 วิวัฒนาการด้านความเชื่อของมนุษย์มีลำดับขั้นตอนดังนี้
1. การบูชานับถือธรรมชาติ 2. การนับถือผีสางเทวดาหรือลัทธิวิญญาณนิยม
3. การบูชาบรรพบุรุษ 4. การนับถือเทพเจ้าหลายองค์
5. การนับถือเทพเจ้าหลายองค์ แต่แบ่งแยกหน้าที่ของเทพเจ้าแต่ละองค์ให้ต่างกัน
6. การนับถือพระเจ้าองค์เดียว 7. การละจากความงมงายไปสู่ความคิดที่มีเหตุมีผล ซึ่งทำให้เกิดพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ยิ่งใหญ่ศาสนาหนึ่งของโลก
82. ความเชื่อดั้งเดิมของชนชาติไทยเป็นลักษณะใด
(1) การนับถือและบูชาเทพเจ้า
(2) การนับถือผีสางเทวดา (3) การนับถือผู้ปกครอง (4) การนับถือตนเองเป็นใหญ่
ตอบ 2 หน้า 572 ชนชาติไทยมีความเชื่อถือดั้งเดิมไม่ต่างไปจากชนชาติอื่นๆ คือ การเริ่มนับถือธรรมชาติที่อยู่แวดล้อมก่อน และต่อมาก็เชื่อและนับถือผีสางเทวดาเพราะคิดว่าในธรรมชาติ แต่ละอย่างมีวิญญาณสิ่งอยู่ ดังนั้นการนับถือผีสางเทวดาจึงเป็นความเชื่อดั้งเดิมของชนชาติไทย ที่ฝังลึกอยู่ภายในจิตใจยากที่จะลบเลือน เพราะแม้ภายหลังที่คนไทยนับถือพระพุทธศาสนาแล้ว ความเชื่อในผีสางเทวดาก็ยังคงอยู่
83. หลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงให้เห็นการรับพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิช่วงระยะแรก คือข้อใด
(1) พระพุทธรูป (2) สถูป-เจดีย์ (3) ธรรมจักรศิลา (4) สถูปและธรรมจักรศิลา
ตอบ 4 หน้า 574 – 575 หลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงให้เห็นการรับพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ ช่วงระยะแรก ได้แก่ กวางและธรรมจักรศิลา ซึ่งในโบราณวัตถุเหล่านี้มีคาถาที่เหมือนกับคาถา สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช นอกจากนั้นโบราณสถานที่พบอีกหลายแห่งก็สร้างตามคติเก่า สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ได้แก่ พระสถูปพระปฐมเจดีย์องค์เดิม และพระแท่นต่าง ๆ
84. ในสมัยสุโขทัยรับพุทธศาสนาลังกาวงค์เข้ามาในช่วงเวลาของกษัตริย์พระองค์ใด
(1) พ่อขุนผาเมือง (2) พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
(3) พ่อขุนรามคำแหง (4) พระมหาธรรมราชาที่ 1
ตอบ 3 หน้า 582 พระสงฆ์ไทยที่ไปศึกษาพุทธศาสนาที่ลังกา ได้นำพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ์ มาเผยแผ่ที่เมืองนครศรีธรรมราชก่อน จนกระทั่ง พ.ศ. 1800 เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เสด็จไปยังหัวเมืองฝ่ายใต้ ทรงเกิดความเลื่อมใสในพระสงฆ์เหล่านี้ จึงทรงอาราธนาให้พระสงฆ์ นำพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทอย่างลังกาวงศ์มาเผยแผ่และประดิษฐานที่เมืองสุโขทัย
85. พระสงฆ์ที่ไปศึกษาพุทธศาสนาที่ลังกาต้องปฏิบัติในเรื่องใด
(1) ต้องบวชใหม่เป็นพระสงฆ์ในสายลังกาวงศ์ก่อนศึกษาพระธรรม
(2) ต้องศึกษาภาษาบาลีมาก่อน
(3) ต้องไม่เคยบวชในนิกายใดมาก่อน
(4) ต้องเป็นชาวสิงหลเท่านั้น และไม่เคยบวชมาก่อน
ตอบ 1 หน้า 582 พระสงฆ์ต่างชาติที่ไปศึกษาพุทธศาสนาที่ลังกา จะต้องอุปสมบทหรือบวชใหม่ แปลงเป็นพระสงฆ์ในนิกายลังกาวงศ์ก่อนที่จะศึกษาพระธรรม นอกจากนี้พระสงฆ์ต่างชาติ ยังต้องศึกษาและเรียนรู้ภาษาบาลีจนเชี่ยวชาญ และใช้เวลาศึกษาพระธรรมวินัยในลังกา เป็นเวลานานหลายปี จึงจะเดินทางกลับโดยนำพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทอย่างลังกาวงศ์ ไปเผยแผ่และประดิษฐานในประเทศของตนได้
86. ต้นเค้าของมหานิกายในสมัยสุโขทัยเกิดขึ้นอย่างไร
(1) คณะสงฆ์ทั้งคณะเหนือและคณะใต้รวมกัน
(2) คณะสงฆ์ฝ่ายเถรวาทแบ่งแยกจากคณะสงฆ์ฝ่ายมหายาน
(3) คณะสงฆ์คามวาสีรวมกับคณะสงฆ์อรัญวาสี
(4) คณะสงฆ์อรัญวาสีมีความน่าเลื่อมใสน้อยกว่าคณะสงฆ์คามวาสี
ตอบ 1 หน้า 582 – 583 ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง พระพุทธศาสนาในสุโขทัยแบ่งออกเป็น 2 คณะ ได้แก่ คณะเหนือ ซึ่งเป็นพระสงฆ์เดิมที่มีอยู่ก่อนแล้ว และคณะใต้ ซึ่งเป็นพระสงฆ์ลัทธิลังกาวงศ์ ที่เข้ามาใหม่ และมีวัตรปฏิบัติที่น่าเลื่อมใสกว่าพระสงฆ์เดิม ทำให้การบวชเรียนในลัทธิลังกาวงศ์ เป็นที่นิยมแพร่หลายมากกว่า ประกอบกับจำนวนพระสงฆ์เดิมค่อย ๆ ลดน้อยลง จึงเกิดการรวมกัน ของคณะสงฆ์ทั้งคณะเหนือและคณะใต้ จนกลายเป็นต้นเค้าของพระสงฆ์คณะมหานิกายในปัจจุบัน
87. ความเลื่อมใสในพุทธศาสนาของคนไทยสมัยอยุธยา ปรากฏในรูปแบบใด
(1) การประกอบพิธีทางพุทธศาสนา (2) การทำบุญ ทำทาน
(3) การสร้างวัดและปฏิสังขรณ์วัด (4) มีปรากฏทั้งในข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 589 – 592, (คำบรรยาย) สิ่งที่แสดงถึงความเจริญและความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ของคนไทยในสมัยอยุธยา จะสังเกตได้จากการที่พระมหากษัตริย์และประชาชนทำนุบำรุง พระพุทธศาสนาด้วยการสร้างวัดและปฏิสังขรณ์วัด รวมทั้งรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี ทางพระพุทธศาสนา เช่น การทำบุญทำทาน การตักบาตร การประกอบพิธีทางพุทธศาสนา การบำเพ็ญกุศลในโอกาสต่าง ๆ ตลอดจนพิธีกรรมต่าง ๆ ที่ต้องมีพิธีสงฆ์เป็นองคํประกอบ เป็นต้น
88. “มหาธาตุวิทยาลัย” จัดตั้งขึ้นในสมัยใด
(1) รัชกาลที่ 1 (2) รัชกาลที่ 3 (3) รัชกาลที่ 5 (4) รัชกาลที่ 7
ตอบ 3 หน้า 607 ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการจัดตั้งสถานศึกษาทางพระพุทธศาสนาขึ้น 2 แห่ง ได้แก่
1. มหาธาตุวิทยาลัย สร้างขึ้นที่วัดมหาธาตุในปี พ.ศ. 2432 ต่อมาเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย 2. มหามกุฎราชวิทยาลัย ซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2436
89. ข้อใดชี้ให้เห็นว่าหลักธรรมของพระพุทธศาสนาเกี่ยวข้องกับความสุขของฆราวาส
(1) พระพุทธศาสนาแบ่งความสุขเป็นโลกียสุขและโลกุตตระสุข
(2) พระพุทธศาสนาสอนเรื่องสามิสสุขและอามิสสุข
(3) พระพุทธศาสนาเน้นเรื่องนิพพานเท่านั้น (4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
ตอบ 1 หน้า 619 พระพุทธศาสนาแบ่งความสุขออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. โลกียสุข เป็นความสุข ของปุถุชนหรือฆราวาสผู้ครองเรือน ซึ่งเป็นสุขที่พัวพันกับทรัพย์สมบัติและวัตถุต่าง ๆ ตลอดจน อารมณ์ 2. โลกุตตระสุข เป็นความสุขของผู้สิ้นกิเลสและสำเร็จอรหัตผลแล้ว จึงเป็นสุขที่เที่ยงแท้ยั่งยืน ไม่พัวพันกับวัตถุหรืออารมณ์ใด ๆ
90. หลักธรรมในการแก้ปัญหาสังคม มีข้อปฏิบัติสำหรับปรับปรุงตนเองในเรื่องใด
(1) การให้ทุกคนบรรลุถึงโลกุตตระ (2) การตัดจากกิเลสทั้งปวงซึ่งนำไปสู่นิพพาน
(3) การให้ทุกคนปลีกตัวออกจากสังคม (4) การแก้จิตใจของแต่ละคนให้เกิดความสงบ
ตอบ 4 หน้า 628 – 629 จุดมุ่งหมายสำคัญในการแก้ปัญหาสังคมของพระพุทธศาสนา มีข้อปฏิบัติ สำหรับปรับปรุงตบเอง คือ การแก้จิตใจของแต่ละคนให้เกิดความสงบ โดยมีหลักวิธีง่าย ๆ ในการแก้จิตใจตนเองอยู่ 2 วิธี ได้แก่ 1. การสอนให้เชื่อเรื่องกรรมช่วยแก้ปัญหาสังคมได้
2. การสอนให้พึ่งตนเอง เป็นการวางรากฐานจิตใจไม่ให้อ่อนแอคอยคิดแต่จะพึ่งผู้อื่น
91. ศาสนาพราหมณ์เกิดจากคติความเชื่อในเรื่องใด
(1) ธรรมชาติ (2)วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ (3) การเกิด การตาย (4) ทั้ง 3 ข้อรวมกัน
ตรบ 4 หน้า 635, (คำบรรยาย) ศาสนาพราหมณ์เกิดจากการที่มนุษย์มีความกลัวธรรมชาติซึ่งอยู่ แวดล้อม โดยมนุษย์มีความเชื่อว่าธรรมชาติมีวิญญาณศักดิ์สิทธิ์แฝงอยู่ จึงบันดาลให้เกิดสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ความหนาวเย็น ความแห้งแล้ง ความมืด ความสว่าง การเกิด การตาย เป็นต้น
92. ข้อใดไม่ถูกต้องในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พราหมณ์มีหน้าที่และความสำคัญอย่างไร
(1) พราหมณ์เป็นผู้ติดต่อกับเทพเจ้าและผู้ประกอบพิธีกรรม
(2) พราหมณ์เป็นผู้สืบทอดวิชาความรู้ในคัมภีร์ไตรเวท
(3) พราหมณ์เป็นผู้ประกอบพาณิชยกรรม
(4) พราหมณ์เป็นวรรณะที่กำเนิดมาจากปากของพระพรหม
ตอบ 3 หน้า 636 – 639, (คำบรรยาย) ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พราหมณ์มีหน้าที่และความสำคัญ ดังนี้
1. พราหมณ์เป็นวรรณะที่กำเนิดมาจากพระโอษฐ์ (ปาก) ของพระพรหม และถือเป็น วรรณะสูงสุดของอินเดีย
2. พราหมณ์เป็นผู้ติดต่อกับเทพเจ้า และทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์
3. พราหมณ์เป็นผู้สืบทอดวิชาความรู้ในคัมภีร์พระเวทหรือไตรเวท ฯลฯ
(ส่วนวรรณะแพศย์ เช่น พวกพ่อค้า ชาวไร่ชาวนา ช่างฝีมือ ฯลฯ จะทำหน้าที่ทางด้านกสิกรรม และพาณิชยกรรม)
93. ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยด้านการปกครองในรูปแบบใด
(1) เทวราชา (2) ปิตุลาธิปไตย (3) ธรรมราชา (4) ประชาธิปไตย
ตอบ 1 หน้า 639 – 640 ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยด้านการปกครองในสมัย อยุธยา คือ กษัตริย์ทรงใช้หลักการแบบเทวราชาของเขมร ซึ่งเขมรรับมาจากอินเดียอีกต่อหนึ่ง มาเป็นหลักในการปกครอง เพราะการขยายตัวของอาณาจักร การมีประชากรจำนวนมากและ กระจัดกระจาย จึงจำเป็นต้องใช้อำนาจเด็ดขาดและศักดิ์สิทธิ์ของเทวราชามาปกครองอาณาจักร
94. ประเพณีที่มีอิทธิพลศาสนาพราหมณ์ คือประเพณีใด
(1) การเผาศพ (2)การแต่งงาน (3)ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ (4)แห่นางแมว
ตอบ 1 หน้า 640 ประเพณีไทยที่มีอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ได้แก่ ประเพณีโกนจุก ประเพณีทำบุญอายุและทำขวัญ พระราชพิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัล ประเพณีการเผาศพ การสร้างศาลพระภูมิ ทำขวัญนาค การรดน้ำสังข์ ตลอดจนพิธีวางศิลาฤกษ์ เป็นต้น
95. ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ชนชาติสุดท้ายที่เข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก คือชาติใด
(1) ฮอลันดา (2) อังกฤษ (3) โปรตุเกส (4) ฝรั่งเศส
ตอบ 4 หน้า 641 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ฝรั่งเศสเป็นชาวตะวันตกชาติสุดท้ายที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทยสมัยอยุธยา โดยมีวัตถุประสงค์ในการเข้ามาเพื่อฟื้นฟูการเผยแผ่ คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งเสื่อมโทรมลงภายหลังการเสื่อมอิทธิพลของโปรตุเกส ในภูมิภาคนี้
96. คณะสอนศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ เริ่มเข้ามาสอนศาสนาอย่างชัดเจนในสมัยใด
(1) สมัยรัตนโกสินทร์ (2) สมัยธนบุรี
(3) สมัยอยุธยาตอนต้น (4) สมัยสมเด็จพระนเรศวร
ตอบ 1 หน้า 643, 645 ในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะตั้งแต่ต้นรัชกาลที่ 3 คณะสอนศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์คณะแรกได้เดินทางมาถึงประเทศไทยในปี พ.ศ. 2371 และได้รับอนุญาต จากรัฐบาลไทยให้เผยแผ่และสอนศาสนาให้กับคนไทย มอญ และจีน แต่ขณะนั้นมีการระบาด ของโรคไข้จับสั่น อหิวาตกโรค และไข้ทรพิษ คณะสอนศาสนาจึงช่วยรักษาโรคและแจกยา พร้อมกับเผยแผ่คำสอนของศาสนาไปด้วย
97. สมัยใดที่คณะสังฆราชและบาทหลวงไม่ปฏิบัติตามพระบรมราชโองการ จึงถูกสั่งให้ออกไปจาก พระราชอาณาจักร
(1) ธนบุรี (2) อยุธยา (3) รัตนโกสินทร์ (4) สุโขทัย
ตอบ 1 หน้า 643 ในตอนปลายรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้มีความวุ่นวายทางการเมืองเกิดขึ้นแต่คณะสังฆราชและบาทหลวงศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกไม่ปฏิบัติตามพระบรมราชโองการของพระเจ้ากรุงธนบุรี พระองค์จึงทรงสั่งให้พระสังฆราชและบาทหลวงออกไปจากพระราชอาณาจักร เท่ากับว่าการทำงานของคณะเผยแผ่ศาสนาเหล่านั้นไม่ประสบความสำเร็จนัก ในการเปลี่ยนศาสนาของคนไทย
98. อิทธิพลของศาสนาอิสลามมีต่อวัฒนธรรมไทยในด้านใดบ้าง
(1) ด้านอาหาร
(2) ด้านภาษาและการแต่งกาย (3) การค้า (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 647 – 649 อิทธิพลของศาสนาอิสลามที่มีต่อวัฒนธรรมไทยมีอยู่หลายด้าน ดังนี้
1. ด้านการเมืองและเศรษฐกิจการค้า 2. ด้านศิลปะ โดยเฉพาะรูปแบบของสถาปัตยกรรมต่าง ๆ 3.ด้านอาหารและของหวานของไทย 4. ด้านภาษา 5. ด้านการแต่งกาย
6. ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
99. ประเพณีบุญบั้งไฟเป็นการแสดงความเชื่อในเรื่องใด
(1) ผีสาง (2) เทวดา (3) เทพเจ้า (4) วิญญาณบรรพบุรุษ
ตอบ 2 หน้า 653, (คำบรรยาย) ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีของทางภาคอีสาน ซึ่งเป็นการอ้อนวอน ขอฝนจากเทวดาบนสรวงสวรรค์ที่เรียกว่า “พญาแถน” เพื่อให้ฝนตกตามฤดูกาล พืชพันธ์ จะได้อุดมสมบูรณ์ โดยมักจุดบั้งไฟเพื่อบูชาพญาแถนในช่วงเดือน 6 ซึ่งเป็นฤดูกาลทำนา
100. พระราชพิธีพืชมงคล จัดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด
(1) เป็นอาณัติสัญญาณว่า บัดนี้ฤดูกาลแห่งการทำนาและเพาะปลูกได้เริ่มขึ้นแล้ว
(2) เป็นพิธีทำขวัญเมล็ดพืชพันธุ์ต่าง ๆ ให้ปราศจากโรคภัยและให้อุดมสมบูรณ์
(3) เป็นการแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ด้านการเกษตร
(4) เป็นการแสดงถึงพระบารมีของพระมหากษัตริย์
ตอบ 2 หน้า 640, 668 พระราชพิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัล เดิมมีเพียงพิธีพราหมณ์อย่างเดียว เรียกว่า “พระราชพิธีจรดพระนังคัล” เป็นพิธีเวลาเช้า คือ ลงมือไถ แต่ก่อนทำที่ทุ่งส้มป่อย นอกพระนคร ต่อมารัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้เพิ่มพิธีสงฆ์ตามคติพระพุทธศาสนาขึ้นอีก เรียกว่า “พระราชพิธีพืชมงคล” คือ การทำขวัญเมล็ดพืชพันธุ์ต่าง ๆ ให้ปราศจากโรคภัยและให้ อุดมสมบูรณ์ ซึ่งทำที่ท้องสนามหลวงในพระนคร โดยพิธีทั้งสองนี้จะทำพร้อมกันในคืนเดียว วันเดียวกัน จังได้เรียกชื่อติดกันว่า พระราชพิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัล
101. การศึกษาศิลปกรรมไทยให้ประโยชน์ในการเรียนรู้เรื่องใดเป็นพิเศษ
(1) ศาสนา (2) ราชสำนัก (3) เศรษฐกิจ (4) การเมือง
ตอบ 1 หน้า 681, 683 การศึกษาศิลปกรรมไทยจะให้ประโยชน์ในการเรียนรู้เรื่องศาสนาเป็นพิเศษ เพราะศิลปกรรมไทยในยุคประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่จะเป็นงานช่างในศาสนา ซึ่งมักจะสร้างขึ้น ตามความเชื่อและความศรัทธาที่มนุษย์มีต่อศาสนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นงานช่างในศาสนา จึงเป็นการแสดงออกของงานศิลปะที่มีคุณค่า มีความหมายต่อวิถีชีวิต และนำแนวความคิด ของคนในอดีตมาสู่คนรุ่นปัจจุบันได้
102. ลักษณะศิลปะแบบอุดมคติ เห็นได้ชัดเจนยุคใด
(1) ทวารวดี (2) ลพบุรี (3) ศรีวิชัย (4) สุโขทัย
ตอบ 4 หน้า 711 – 712, (คำบรรยาย) ศิลปกรรมไทยเป็นศิลปะแบบอุดมคติ (Idealistic Arts) คือ ศิลปะที่มีความรู้สึกสูงกว่าธรรมชาติทั่วไปและหนักไปทางทิพย์สวรรค์ เป็นศิลปะที่มีแบบอย่าง แห่งความคิดคำนึงโดยเฉพาะ ซึ่งลักษณะศิลปะแบบอุดมคติของชนชาติไทยนี้จะเห็นได้ชัดเจน ที่สุดในศิลปะยุคสุโขทัย โดยเฉพาะประติมากรรมพระพุทธรูปที่เจริญถึงขั้นสูงสุดและแสดง ความเป็นไทยแท้ได้มากกว่าสมัยใด ๆ จนได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของประติมากรรมไทย
103. สิ่งใดใช้ในการศึกษาลักษณะศิลปะแบบช่างคุปตะในศิลาสลักรูปธรรมจักร
(1) ขนาดของวงธรรมจักร
(2) ลวดลายประดับ (3) เรื่องพระพุทธประวัติ (4) การจารึกคาถา เย ธัมมา
ตอบ 2 หน้า 689, (คำบรรยาย) ศิลาสลักรูปธรรมจักรที่พบในศิลปะสมัยทวารวดี จะมีลวดลายเครื่องประดับคล้ายคลึงกับฝีมือของช่างคุปตะ จึงทำให้เกิดความสงสัยว่าศิลาสลักรูปธรรมจักร เหล่านี้คงจะเป็นฝีเมือของช่างทวารวดีที่ทำขึ้น เพื่อเลียนแบบวัตถุที่สมณทูตในสมัย พระเจ้าอโศกมหาราชนำเข้ามา
104. บริเวณใดค้นพบเทวรูปศิลาศิลปะร่วมสมัยกับทวารวดีในราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 14
(1) เชียงแสน (2) ปราจีนบุรี (3) สิงห์บุรี (4) สุพรรณบุรี
ตอบ 2 หน้า 683, 691, (คำบรรยาย) ศิลปะแบบเทวรูปรุ่นเก่า หรือวัตถุรุ่นเก่า (พุทธศตวรรษที่ 12 – 14)สร้างขึ้นในศาสนาฮินดู และมีอายุร่วมสมัยกับศิลปะทวารวดีที่สร้างขึ้นในพุทธศาสนา โดยเทวรูป ศิลารุ่นเก่าส่วนใหญ่มักพบในภาคใต้ของไทยแถบเขต จ.สุราษฎร์ธานี และทางภาคตะวันออก แถบดงศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี นอกจากนี้ที่เมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ก็พบด้วยเช่นกัน
105. วัฒนธรรมทวารวดีที่กระจายหลายแห่งในเขตภูมิภาคของประเทศไทยสะท้อนความเชื่อใด
(1) ลัทธิบูชาบรรพบุรุษและผี (2) พุทธศาสนาหินยานแบบเถรวาท
(3) พุทธศาสนาหินยาน มหายาน และฮินดู (4) พุทธศาสนามหายานแบบอาจาริยวาท
ตอบ 3 หน้า 684 – 685 วัฒนธรรมทวารวดีที่กระจายหลายแห่งในเขตภูมิภาคของประเทศไทยสะท้อนความเชื่อในการนับถือศาสนา ดังนี้
1. พุทธศาสนาหินยาน (เถรวาท) ดังหลักฐานการพบจารึกคาถา เย ธัมมา และจารึกภาษาบาลี โดยศิลปกรรมที่พบส่วนใหญ่มักสร้างขึ้นในศาสนานี้มากที่สุด
2. พุทธศาสนามหายาน (อาจาริยวาท) ดังหลักฐานการพบประติมากรรมพระโพธิสัตว์ในพื้นที่ต่าง ๆ
3. ศาสนาฮินดู ดังหลักฐานการพบศิวลึงค์ และประติมากรรมพระวิษณุเป็นจำนวนมาก
106. ข้อใดคือประติมากรรมสัญลักษณ์ของศิลปกรรมทวารวดี
(1) ธรรมจักร (2) ใบเสมาหิน (3) พนัสบดี (4) ถูกทั้ง 3 ข้อ
ตอบ 4 หน้า 687 – 689, (คำบรรยาย) ประติมากรรมสัญลักษณ์ของศิลปกรรมทวารวดี มีดังนี้
1. ธรรมจักรและกวางหมอบ เป็นสัญลักษณ์ของพุทธศาสนาในทวารวดีภาคกลาง หมายถึง พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
2. ใบเสมาหิน เป็นสัญลักษณ์ของพุทธคาสนาในทวารวดีภาคอีสาน มักสลักเป็นรูปสถูปและ ภาพเล่าเรื่องชาดกหรือพุทธประวัติ
3. พนัสบดี เป็นสัตว์พาหนะของเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ มักพบเป็นหน้าสัตว์ที่รองรับ พระพุทธเจ้าประทับยืนหรือนั่ง เพื่อเป็นสัญลักษณ์แสดงว่าพุทธศาสนามีอำนาจยิ่งใหญ่กว่า ศาสนาพราหมณ์
107. ศิลปกรรมศรีวิชัยส่วนใหญ่สร้างขึ้นเพื่อสนองศรัทธาในศาสนาใด
(1) ศาสนาฮินดู (2) พุทธศาสนาหินยาน
(3) พุทธศาสนามหายาน (4) พุทธศาสนาหินยาน และศาสนาฮินดู
ตอบ 3 หน้า 694 ศิลปะศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 – 18) เกิดขึ้นทางภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งศิลปกรรมศรีวิชัยส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นเพื่อสนองศรัทธาในพุทธศาสนามหายานทั้งสิ้น โดยโบราณวัตถุไม่ว่าจะสลักด้วยศิลาหรือหล่อด้วยสัมฤทธิ์ (สำริด) จะมีลักษณะคล้ายคลึง กับของที่พบในเกาะชวาภาคกลางเป็นอย่างมาก
108. ข้อใดต่อไปนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นงานศิลปกรรมชั้นยอดของศิลปกรรมศรีวิชัย
(1) พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรครึ่งองค์ พบที่อำเภอไชยา (2) พระบรมธาตุไชยา อำเภอไชยา
(3) พระพิมพ์ดินดิบลักษณะงดงาม (4) ถูกทั้ง 3 ข้อ
ตอบ 4 หน้า 694 – 696, (คำบรรยาย) ศิลปกรรมศรีวิชัยที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นงานศิลปกรรมชั้นยอด มีดังนี้
1. พระบรมธาตุไชยา อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เป็นสถาปัตยกรรมสำคัญที่มีลักษณะ คล้ายคลึงกับบรรดาเจดีย์ในเกาะชวามาก
2. พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสัมฤทธิ์ (สำริด) ครึ่งองค์ พบที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เป็นประติมากรรมที่งดงามที่สุดชิ้นหนึ่ง ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
3. พระพิมพ์ดิบดิบ ถือเป็นศิลปกรรมที่งดงามอีกอย่างหนึ่งของศิลปะสมัยศรีวิชัย
109. การพบศิวลึงค์หลายองค์ในภาคใต้ของไทย แสดงถึงความเชื่อเรื่องใด
(1) พราหมณ์ (2) ฮินดู (3) ฮินดู ไศวนิกาย (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 636, 691 ในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย (นับถือพระศิวะหรือพระอิศวรเป็นใหญ่)จะกราบไหว้บูชารูปพระศิวะ ซึ่งนิยมสร้างในรูปสัญลักษณ์เป็นศิวลึงค์ โดยจะพบทั้งในภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออก เช่น เอกามุขลึงค์ พบที่ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี มีอายุราว พุทธศตวรรษที่ 11-12
110. ข้อใดคือสถานที่ที่ปรากฏสถาปัตยกรรมแบบลพบุรี
(1) วัดกำแพงแลง เพชรบุรี (2) ปราสาทเมืองสิงห์ กาญจนบุรี
(3) วัตพระพายหลวง สุโขทัย (4) ถูกทั้ง 3 ข้อ
ตอบ 4 หน้า 699 – 700, 708, (คำบรรยาย) สถาปัตยกรรมสมัยศิลปะลพบุรี หรือศิลปะขอมใน ประเทศไทยไม่ได้พบแต่ในเขตเมืองละโว้ (ลพบุรี) เท่านั้น แต่กลับพบในบริเวณเมืองต่าง ๆ ในลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยาด้วย เช่น ปราสาทเมืองต่ำ จ.บุรีรัมย์, ปราสาทหินพิมาย จ.นครราชสีมา, ปราสาทหินพนมรุ้ง และทับหลังสลักรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ จ.บุรีรัมย์, ปราสาทเมืองสิงห์ จ.กาญจนบุรี, พระปรางค์สามยอดและพระปรางค์แขก จ.ลพบุรี, ปราสาทแบบขอมที่วัดกำแพงแลง จ.เพชรบุรี, วัดพระพายหลวง วัดศรีสวาย และศาลตาผาแตง จ.สุโขทัย (แสดงถึงอิทธิพลวัฒนธรรมขอมก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย) ฯลฯ
111. ศิลปกรรมแหล่งใดแสดงถึงอิทธิพลวัฒนธรรมขอมก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย
(1) วัดศรีชุม (2) วัดพระเชตุพนฯ (3) วัดพระมหาธาตุ (4) วัดพระพายหลวง
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 110. ประกอบ
112. สถาปัตยกรรมเชียงแสนที่เป็นลักษณะร่วมกับสถาปัตยกรรมสุโขทัย คือข้อใด
(1) เจดีย์ทรงเหลี่ยม (2) เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา
(3) วิหาร 7 ยอด (4) เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม
ตอบ 2 หน้า 710, 715 – 716, (คำบรรยาย) เจดีย์ทรงระฆัง หรือเจดีย์ทรงกลมแบบลังกาเป็นสถาปัตยกรรมล้านนาหรือเชียงแสนที่เป็นลักษณะร่วมกับสถาปัตยกรรมสุโขทัย โดยมีต้นแบบมาจากลังกา แต่ล้านนารับรูปแบบเจดีย์ทรงนี้มาจาก 2 ทาง คือ รับผ่านมาทางพุกาม และรับมาจากสุโขทัย ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนบางส่วนจนกลายเป็นลักษณะเฉพาะของล้านนา ซึ่งที่นับว่างดงามที่สุด ได้แก่ พระธาตุหริภุญไชย จ.ลำพูน
113. พระพุทธรูปปางลีลา ศิลปกรรมสุโขทัย สื่อความหมายถึงตอนใดในพุทธประวัติ
(1) การแสดงปฐมเทศนา (2) การตรัสรู้
(3) การเสด็จลงจากดาวดึงส์ (4) การประกาศพระธรรมคำสั่งสอน
ตอบ 3 หน้า 712 พระพุทธรูปยืนในศิลปกรรมสุโขทัยหมวดใหญ่ มักนิยมทำเป็นพระพุทธรูปปางลีลา ลอยตัวที่มีความงดงามไม่น้อยหน้าไปกว่ากัน และถือได้ว่าเป็นลักษณะเฉพาะของสุโขทัย ซึ่งน่าจะมีที่มาจากภาพพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
114. ปางใดเป็นพุทธศิลป์ที่นิยมสร้างในสมัยศิลปะลพบุรี
(1) ปางมารวิชัย (2) ปางมารวิชัยนาคปรก (3) ปางสมาธิ (4) ปางสมาธินาคปรก
ตอบ 4 หน้า 701, (คำบรรยาย) พระพุทธรูปที่นิยมสร้างในสมัยศิลปะลพบุรี คือ พระพุทธรูปปางสมาธิ นาคปรก (มีนาคประกอบ หรือมีขนดนาคสอบลงเบื้องล่าง) ประทับนั่งขัดสมาธิราบ และมัก จะสลักด้วยศิลาทราย ต่อมาในสมัยหลังประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 17 มักนิยมสลักเป็น พระพุทธรูปนาคปรกแบบทรงเครื่องซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นศิลปะลพบุรีอย่างแท้จริง ไม่ใช่ศิลปะขอม
115. สถาปัตยกรรมในศิลปะแบบลพบุรี มีลักษณะเด่นคืออะไร
(1) สร้างจากศิลาหรืออิฐ (2) สร้างจากศิลาหรืออิฐเป็นพุทธสถาน
(3) สร้างจากศิลาหรืออิฐเป็นเทวสถาน (4) สร้างจากศิลาหรืออิฐเป็นพุทธสถานและเทวสถาน
ตอบ 4 หน้า 699 สถาปัตยกรรมสำคัญใบศิลปะแบบลพบุรี ได้แก่ ปราสาท ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ มักสร้างขึ้นจากศิลาหรืออิฐ เพื่อเป็นประธานของพุทธสถานและเทวสถาน (เทวาลัย) โดยมี จุดประสงค์หลักเพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป เทวรูป หรือถวายบรรพบุรุษ ตลอดจน เป็นศาสนสถานประจำชุมชน
116. ลักษณะสถาปัตยกรรมที่สมัยอยุธยาเป็นต้นแบบให้แก่สมัยรัตนโกสินทร์ ยกเว้นข้อใด (1) โบสถ์วิหารมีประตูแต่ไม่นิยมมีหน้าต่าง (2) หลังคาลดหลั่นเป็นชั้น ๆ
(3) จำหลักตกแต่งหน้าบัน และมีช่อฟ้าใบระกา (4) สร้างพระอารามหลวงในเขตพระราชฐาน
ตอบ 1 หน้า 599, 723, 729, (คำบรรยาย) ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบประเพณีที่สมัยอยุธยา เป็นต้นแบบให้แก่สมัยรัตนโกสินทร์ มีดังนี้ 1. โบสถ์วิหารมีฐานอ่อนโค้ง มีประตูและนิยม เจาะช่องหน้าต่างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีบานหน้าต่างเปิด-ปิด 2. หลังคาลดหลั่นเป็นชั้น ๆ นิยมใช้เครื่องไม้จำหลักตกแต่งหน้าบัน และประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์
3. นิยมสร้างพระอารามหลวงในเขตพระราซฐาน เช่น วัดพระศรีสรรเพชญในสมัยอยุธยา และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ในสมัยรัตนโกสินทร์ ฯลฯ
117. จิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนปลายที่เจริญสูงสุดและพัฒนาการสู่สมัยรัตนโกสินทร์ คือข้อใด
(1) ลายกำมะลอ (2) เทพชุมนุม (3) ทศชาติ (4) ถูกทั้ง 3 ข้อ
ตอบ 4 หน้า 727, 733, (คำบรรยาย) จิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนปลายที่เจริญสูงสุดและพัฒนาการมาสู่ สมัยรัตนโกสินทร์ คือ ลายกำมะลอ หรือภาพทิวทัศน์ตามแบบจีน ซึ่งได้ให้อิทธิพลต่อจิตรกรรม ในสมัยรัชกาลที่ 3 นอกจากนี้ภาพเทพชุมนุม ภาพพุทธประวัติหรือทศชาติ และภาพไตรภูมิ ยังให้แบบแผนการเขียนภาพบนฝาผนังโบสถ์ในจิตรกรรมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1-3 อีกด้วย
118. วัดนิเวศธรรมประวัติ อยุธยา เป็นศิลปะแบบใด
(1) แบบจีน (2) แบบโกธิก (3) แบบนีโอคลาสสิก (4) แบบญี่ปุ่น
ตอบ 2 หน้า 730 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงสร้างวัดไว้น้อยแห่ง แต่บางแห่งแสดงถึงศิลปกรรมตะวันตก เช่น วัดนิเวศธรรมประวัติ อ.บางปะอิน จ.อยุธยา สร้างเลียนแบบศิลปะโกธิกในยุโรป และ วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ สร้างด้วยหินออนจากอิตาลี ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่าง วัฒนธรรมตะวันออกกับตะวันตก
119. สถาปัตยกรรมตามแบบแผนประเพณีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นตรงกับข้อใด
(1) พระปรางค์วัดระฆังและพระเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ วัดพระเชตุพนฯ
(2) พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม
(3) โบสถ์วิหารวัดราชโอรส และวัดเทพธิดา
(4) เจดีย์รูปเรือสำเภา วัดยานนาวา
ตอบ 1 หน้า 724, 730, (คำบรรยาย) สถาปัตยกรรมตามแบบแผนประเพณีในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1 – 3) จะนิยมสร้างพระปรางค์ และพระเจดีย์ไม้สิบสองหรือพระเจดีย์ทรงเครื่องตามแบบ สมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งที่สำคัญคือ พระปรางค์วัดระฆัง และพระเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ส่วนพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 แต่มาแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 3 ถือเป็นพระปรางค์ที่มีรูปแบบ รุดหน้าเป็นเอกลักษณ์พิเศษของกรุงรัตนโกสินทร์
120. รัชกาลที่ 4 ทรงแก้ไขลักษณะพระพุทธรูปขึ้นใหม่ให้มีลักษณะคล้ายสามัญชน คือข้อใด
(1) จีวรบางแนบเนื้อ (2) ขัดสมาธิราบ (3) ไม่มีพระเกตุมาลา (4) มีขนาดใหญ่
ตอบ 3 หน้า 732, (คำบรรยาย) ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงแก้ไขลักษณะพระพุทธรูปขึ้นใหม่ เพื่อให้ มีลักษณะคล้ายสามัญชนยิ่งขึ้น คือ ไม่มีพระเกตุมาลาหรืออุษณีษะ จีวรเป็นริ้วตามธรรมชาติ ของผ้า ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร และรายละเอียดของพระวรกายเป็นไปตามสรีระของมนุษย์ ตามปกติ จึงจัดเป็นพระพุทธรูปแบบสมจริง เช่น พระพุทธนิรันตรายที่โปรดให้สร้างขึ้น แต่ไม่เป็นที่นิยมกันนัก