การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1002 อารยธรรมตะวันออก

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.         มนุษย์สมัยโบราณเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยจากดินแดนตอนในเข้าตั้งมั่นใกล้แหล่งนํ้าเพื่อจุดประสงค์ใดเป็นสำคัญ

(1) การคมนาคม        

(2) การปกครอง         

(3) การเกษตรกรรม    

(4) การค้าขาย

ตอบ 3 หน้า 5-6, (คำบรรยาย) ความเจริญของมนุษย์สมัยโบราณเริ่มมีขึ้นในยุคหิน โดยในยุคหินเก่านั้น มนุษย์เริ่มอาศัยอยู่ในถํ้า และเริ่มรู้จักการใช้ไฟปรุงอาหารให้สุก ให้ความอบอุ่น และให้แสงสว่าง ต่อมาในยุคหินใหม่มนุษย์เริ่มรู้จักการทำเกษตรกรรมคือ เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์แทนการเร่ร่อน และล่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหาร อีกทั้งเริ่มมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง โดยมีการเคลื่อนย้าย ที่อยู่อาศัยจากดินแดนตอนในเข้ามาตั้งมั่นใกล้ลุ่มแม่นั้าใหญ่เพื่อมุ่งที่จะใช้นํ้าในการทำเกษตรกรรม และดำรงชีวิตเป็นสำคัญ ซึ่งจากจุดนี้เองที่ทำให้อารยธรรมโลกโบราณค่อย ๆ ถือกำเนิดขึ้น อย่างจริงจัง

2.         มนุษย์สมัยโบราณรู้จักการทำเกษตรกรรมในช่วงเวลาใด

(1) ยุคหินเก่า 

(2) ยุคหินใหม่

(3) ยุคทองแดง           

(4) ยุคสำริด

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

3.         อารยธรรมใดเก่าแก่ที่สุด

(1) อารยธรรมเมโสโปเตเมีย  

(2) อารยธรรมอียิปต์โบราณ

(3) อารยธรรมอินเดียโบราณ  

(4) อารยธรรมกรีกโบราณ

ตอบ 1 หน้า 2181 (เล่มเก่า) อารยธรรมเมโสโปเตเมียเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นหนึ่งในสองอารยธรรมเริ่มแรกของโลก อารยธรรมนี้มีแหล่งกำเนิดบนดินแดนระหว่างแม่นํ้าไทกริส และยูเฟรตีส หรือที่เรียกว่า “เมโสโปเตเมีย” ซึ่งหมายถึง ดินแดนระหว่างแม่นํ้าสองสาย นอกจากนี้เราสามารถเรียกดินแดนนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่า “ดินแดนพระจันทร์เสี้ยว”(Fertile Crescent) ปัจจุบันดินแดนเมโสโปเตเมียเป็นที่ตั้งของประเทศอิรัก

4.         “ดินแดนตะวันออกกลาง” คือดินแดนส่วนใด

(1) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้   

(2) ยุโรปตะวันออกเฉียงใต้

(3) เอเชียตะวันตกเฉียงใต้     

(4) ยุโรปตะวันตกเฉียงใต้

ตอบ 3 หน้า 7 ดินแดนตะวันออกกลางหรือตะวันออกใกล้ (The Middle East or Near East) คือ ดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่าง 3 ทวีป ได้แก่ ทวีปเอเชีย แอฟริกา และยุโรป ในปัจจุบันคือพื้นที่นับจากอัฟกานิสถานไปทางตะวันตกถึงชายฝั่งตะวันออกของ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คาบสมุทรอนาโตเลีย คาบสมุทรอาระเบีย และอียิปต์ โดยตะวันออกกลาง เป็นแหล่งกำเนิดของ 2 อารยธรรมเริ่มแรกของโลกคือ อารยธรรมเมโสโปเตเมีย และอารยธรรม อียิปต์โบราณ รวมทั้งเป็นแหล่งกำเนิดของ 3 ศาสนาหลักของโลกคือ ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม

5.         อักษรภาพของอารยธรรมอียิปต์โบราณมีชื่อเรียกว่าอะไร

(1) เดโมติก    

(2) ไฮราติก     

(3) ไฮโรกลิฟิก

(4) เดโมกลิฟิก

ตอบ 3 หน้า 17 – 18 ชาวอียิปต์โบราณได้ประดิษฐ์ “ตัวอักษรภาพไฮโรกลิฟิก” (Hieroglyphics) ขึ้นเมื่อประมาณ 3000 B.C. ซึ่งแต่เดิมนั้นตัวอักษรนี้มีประมาณ 700 ตัว ต่อมาพระและอาลักษณ์ ได้ปรับปรุงตัวอักษรภาพไฮโรกลิฟิกเพื่อให้เขียนได้ง่ายขึ้น และให้มีจำนวนน้อยลงด้วยการประดิษฐ์ ตัวอักษรไฮราติก (Hieratic) ขึ้นในปี 1100 B.C. และพัฒนามาเป็นตัวอักษรเดโมติก (Demotic) ซึ่งมีจำนวนตัวอักษรเพียง 24 ตัว ในปี 700 B.C.

6.         จงยึดมั่นในพระเจ้าอะตันเพียงองค์เดียว เป็นหลักปรัชญาศาสนาของใคร

(1) โมเสส       

(2) อะเมนโฮเต็ปที่ 4

(3) กษัตริย์ซาร์กอนแห่งอัคคัด

(4) ศาสดาโซโรแอสเตอร์

ตอบ 2 หน้า 17 ฟาโรห์อะเมนโฮเต็ปที่ 4 หรืออัคนาตัน ได้ชื่อว่าเป็นนักปฏิรูปศาสนาคนแรกของอียิปต์โบราณและคนแรกของโลก ซึ่งหลักปรัขญาของการปฏิรูปศาสนาของพระองค์คือ จงยึดมั่นในเทพเจ้าอะตัน (Aton) หรือสุริยเทพเป็นเทพเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว

7.         ยุคทองของอารยธรรมอียิปต์โบราณอยู่ในช่วงเวลาใด

(1) สมัยจักรวรรดิ       

(2) สมัยอาณาจักรใหม่          

(3) สมัยราชวงศ์         

(4) สมัยอาณาจักรกลาง

ตอบ 3 หน้า 9-10 อียิปต์โบราณสมัยราชวงศ์ (3100 – 940 B.C.) เป็นช่วงเวลาที่อียิปต์โบราณจัดตั้งชาติ และรักษาความเป็นชาติได้ยาวนานถึง 2,160 ปี กษัตรีย์ส่วนใหญ่ในสมัยนี้เป็นชาวอียิปต์โบราณ มีทั้งหมด 21 ราชวงศ์ และถือว่าเป็น “ยุคทองของอารยธรรมอียิปต์โบราณ” ซึ่งสมัยราชวงศ์ แบ่งออกเป็น 4 สมัยย่อย ได้แก่ สมัยต้นราชวงศ์ สมัยอาณาจักรเก่า สมัยอาณาจักรกลาง และ สมัยอาณาจักรใหม่หรือสมัยจักรวรรดิ

8.         พีระมิดคือสุสานหินยอดแหลม เป็นที่เก็บศพและสมบัติผู้ตาย ถามว่าพีระมิดเริ่มสร้างเมื่อไร

(1) สมัยก่อนราชวงศ์  

(2) สมัยจักรวรรดิ       

(3) สมัยราชวงศ์         

(4) สมัยอาณาจักรเก่า

ตอบ 4 หน้า 9 – 1018 – 1968 – 69 (เล่มเก่า) ในช่วงราชวงศ์ที่ 3-6 ในสมัยอาณาจักรเก่า ของอียิปต์โบราณ เป็นยุคที่มีความเจริญทางด้านสถาปัตยกรรมสูงมาก โดยมีการสร้างพีระมิด ซึ่งเป็นสุสานหินยอดแหลมเพื่อเก็บพระศพและสมบัติของฟาโรห์ขึ้นเป็นครั้งแรก ทั้งนี้พบว่า มีการสร้างพีระมิดมากถึง 20 องศ์ จนเป็นผลให้สมัยอาณาจักรเก่าถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “สมัยพีระมิด” (The Pyramid Age)

9. ใครคือฟาโรห์ผู้ยิ่งใหญ่องศ์สุดท้ายของอียิปต์โบราณ

(1) เมนตูโฮเต็ปที่ 1    

(2) รามเซสที่ 2           

(3) เซติที่ 4     

(4) ทัสโมสที่ 3

ตอบ 2 หน้า 13 รามเซสที่ 2 เป็นฟาโรห์ในราชวงศ์ที่ 19 แห่งสมัยอาณาจักรใหม่ โดยทรงเก่งในการรบ มีชัยชนะเหนือฮิตไตท์ และได้รับการยกย่องว่าเป็น “ฟาโรห์ผู้ยิ่งใหญ่องศ์สุดท้ายของอียิปต์โบราณ” (The Last of the Great Pharaoh) ซึ่งผลงานชิ้นสุดท้ายของพระองค์คือ ปลดปล่อยฮิบรูให้พ้นจากการเป็นทาส โดยโมเสสเป็นผู้นำฮิบรูมุ่งเดินทางกลับปาเลสไตน์

10.       มรดกความเจริญที่อะมอไรท์ให้แก่โลกคือด้านใด

(1) การปกครอง         

(2) ศาสนา      

(3) สถาปัตยกรรม      

(4) ภาษา

ตอบ 1 หน้า 25 – 26 อะมอไรท์หรือบาบิโลเนียนเป็นกลุ่มชนที่รับ สืบทอด และส่งต่ออารยธรรมสุเมเรียน-อัคคาเดียนในทุกด้าน โดยมรดกความเจริญทางอารยธรรมที่สำคัญที่อะมอไรท์ให้ไว้ แก่โลกคือ ด้านการปกครอง ได้แก่ ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (The Code of Hammurabi) ซึ่งเป็นประมวลกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุด และมีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยตัวอักษรคูนิฟอร์ม เป็นฉบับแรกของโลก

11.       สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลนเป็นผลงานสถาปัตยกรรมเด่นของกลุ่มชนใด

(1) แคลเดียน 

(2) อัสซีเรียน  

(3) แคสไซท์    

(4) อราเมียน

ตอบ 1 หน้า 3293 (เล่มเก่า) มรดกความเจริญทางอารยธรรมที่สำคัญที่แคลเดียนให้ไว้แก่โลก ได้แก่

1.         ด้านสถาปัตยกรรม ที่เด่น ได้แก่ สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน และกำแพงอิชต้า ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยของกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์

2.         ด้านโหราศาสตร์ ได้แก่ การกำหนดดวงดาวสำคัญ 7 ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ เป็นชื่อของวันต่าง ๆ ใน 1 สัปดาห์

12.       เอกสารใดที่ทำให้นักประวัติศาสตร์ได้รู้เรื่องราวของฮิบรูสมัยโบราณ

(1) คัมภีร์เก่า  

(2) คัมภีร์ใหม่ 

(3) บัญญัติสิบประการ          

(4) คัมภีร์อะเวสต้า

ตอบ 1 หน้า 4045100 (เล่มเก่า) วรรณกรรมที่สำคัญของฮิบรูหรือยิวคือ พระคัมภีร์เก่าหรือคัมภีร์ฮิบรู (The Old Testament or The Hebrew Bibleซึ่งเรื่องราวที่ถูกบันทึกลงในคัมภีร์เก่าได้ทำให้ นักประวัติศาสตร์รู้ว่าชาวฮิบรูโบราณเป็นชนเผ่าเซมิติกที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางตอนเหนือของ เมโสโปเตเมีย โดยประชาชนส่วนใหญ่จะมีฐานะยากจน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และเร่ร่อนเพื่อหาทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์

13.       ขณะจัดตั้งศาสนายูดาห์ ฮิบรูอยู่ภายใต้การปกครองของกลุ่มชนใด

(1) กรีก          

(2) โรมัน         

(3) ออตโตมาน เติร์ก  

(4) เปอร์เซียโบราณ

ตอบ 4 หน้า 4245 ศาสนายูดาห์เป็นศาสนาแรกของสังคมฮิบรูที่เกิดขึ้นในดินแดนตะวันออกกลาง และเป็นหนึ่งในศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดของโลก โดยถือกำเนิดขึ้นในศตวรรษที่ 6 B.Cขณะที่ฮิบรูอยู่ภายใต้การปกครองของเปอร์เซียโบราณ ซึ่งหลักคำสอนของศาสนานี้ก็คือ ยึดมั่นในยะโฮวาเจ้า เพียงองค์เดียว ทำแต่ความดี ละเว้นการทำความชั่ว และเชื่อว่าวันพิพากษาและโลกหน้ามีจริง

14.       การสาบสูญของชนสิบเผ่าฮิบรู เป็นการกระทำของกลุ่มชนใด

(1) อัสซีเรียน  

(2) ฮิตไตท์      

(3) แคสไซท์    

(4) โรมัน

ตอบ 1 หน้า 42 – 43 อาณาจักรอิสราเอล เป็นอาณาจักรฮิบรูโบราณที่ยู่ทางตอนเหนือของปาเลสไตน์ โดยมีกรุงซามาเรียเป็นเมืองหลวง ประชาชนคือฮิบรู 10 ตระกูล (เผ่า) ที่สืบเชื้อสายมาจากจาคอบ ต่อมาในปี 721 B.Cกองกำลังทหารอัสซีเรียนภายใต้การนำของซาร์กอนที่ 2 ได้บุกยึดอาณาจักรนี้สำเร็จ และได้กวาดต้อนฮิบรู 10 ตระกูลไปเป็นทาสเชลยที่เมโสโปเตเมีย นับตั้งแต่นั้นฮิบรู 10 ตระกูล ก็หายสาบสูญไปจากประวัติศาสตร์โลก เหตุการณ์ในครั้งนี้รู้จักกันในนาม “การสาบสูญของชน 10 ตระกูล” (The Ten Lost Tribes)

15.       สิ่งใดเก่าแก่ที่สุด

(1) ไฮโรกลิฟิก

(2) คูนิฟอร์ม   

(3) สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน

(4) พีระมิด

ตอบ 2 หน้า 23(คำบรรยาย) อักษรคูนิฟอร์มหรืออักษรรูปลิ่ม (Cuneiformซึ่งเป็นศิลปะการเขียนของชาวสุเมเรียนในดินแดนเมโสโปเตเมีย ถือว่ามีอายุเก่าแก่มากที่สุดในโลก (3500 B.C.) โดย อักษรคูนิฟอร์มเป็นตัวอักษรเครื่องหมายที่มีลักษณะคล้ายรูปตัววีในภาษาอังกฤษ ซึ่งชาวสุเมเรียน จะจารึกตัวอักษรคูนิฟอร์มลงบนแผ่นดินเหนียวขณะเปียก และนำไปตากแดดหรือเผาให้แห้ง เพื่อเก็บรักษา ข้อความส่วนใหญ่ที่จารึกจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนาและการปกครอง

16.       กลุ่มชนแรกที่มีความเชื่อในเรื่องวิญญาณเป็นอมตะ วันพิพากษา และโลกหน้ามีจริง คือกลุ่มชนใด

(1) ดราวิเดียน

(2) ฟินิเชียน   

(3) อียิปต์โบราณ       

(4) ฮิบรู

ตอบ 3 หน้า 17 ชาวอียิปต์โบราณเป็นกลุ่มชนแรกที่มีความเชื่อในเรื่องวิญญาณเป็นอมตะ วันพิพากษา และโลกหน้ามีจริง นั่นคือ เชื่อว่าผู้ที่ทำความดี เมื่อตายไปดวงวิญญาณจะคงอยู่ และจะเกิดใหม่ ในโลกหน้าที่อุดมสมบูรณ์ ด้วยความเชื่อดังกล่าวได้นำไปสู่การสร้างมัมมี่ คัมภีร์มรณะหรือ คัมภีร์ผู้ตาย และสุสานหินพีระมิดเพื่อใช้เป็นที่เก็บพระศพและสมบัติของฟาโรห์

17.       แหล่งกำเนิดอารยธรรมฟินิเชียน ในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอะไร

(1) ซีเรีย         

(2) เลบานอน 

(3) จอร์แดน    

(4) อิสราเอล

ตอบ 2 หน้า 39 – 40 อารยธรรมฟินิเชียนมีแหล่งกำเนิดอยู่บริเวณดินแดนฟินิเชียบนชายฝั่งตะวันออก ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ประเทศเลบานอนในปัจจุบัน) ซึ่งฟินิเชียนได้ชื่อว่าเป็นผู้วางรากฐาน อารยธรรมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นพ่อค้าทางเรือผู้ยิ่งใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ของตะวันออกกลางสมัยโบราณ และเป็นผู้ถ่ายทอดอารยธรรมโลกตะวันออกสู่โลกตะวันตก ได้เป็นอย่างดีควบคู่ไปกับการค้าขายทางเรือ

18.       กลุ่มชนใดวางรากฐานอารยธรรมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

(1) ฮิบรู          

(2) ฟินิเชียน   

(3) อราเมียน  

(4) สุเมเรียน

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 17. ประกอบ

19.       ใครคือผู้นำในการจัดตั้งจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ

(1) ไซรัสที่ 2   

(2) ดาริอุสที่ 1

(3) นาโบนิคัสที่ 3       

(4) โครอีซุสที่ 4

ตอบ 1 หน้า 51 ไซรัสที่ 2 เป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 ของเปอร์เซีย ซึ่งทรงเก่งในการรบและการขยายดินแดน โดยในปี 550 B.Cเมื่อไซรัสที่ 2 มีชัยชนะเหนือเมดีสแล้ว พระองค์ได้รวมมีเดียเข้ากับเปอร์เซีย และเรียกดินแดนนี้ว่า “เปอร์เซีย” จากนั้นทรงนำการจัดตั้งจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณขึ้น โดยกำหนดให้ซูซาเป็นเมืองหลวง

20.       กลุ่มชนใดได้รับการยกย่องว่าเป็น “พ่อค้าทางบกที่ยิ่งใหญ่ของตะวันออกกลางสมัยโบราณ”

(1) อราเมียน  

(2) เซลจุก เติร์ก         

(3) ออตโตมาน เติร์ก  

(4) ฟินิเชียน

ตอบ 1 หน้า 46 – 47 อารยธรรมอราเมียนมีแหล่งกำเนิดอยู่บริเวณดินแดนซีเรียบนชายฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ประเทศซีเรียในปัจจุบัน) ทั้งนี้อราเมียนได้รับการยกย่องว่าเป็น “พ่อค้าทางบกที่ยิ่งใหญ่ของตะวันออกกลางสมัยโบราณ” โดยเส้นทางการค้าทางบกของอราเมียน ได้แก่ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย ชายฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และดินแดน ลุ่มแม่น้ำไนล์ มีศูนย์กลางการปกครองและการค้าขายอยู่ที่เมืองดามัสกัส และใช้ภาษาอารมิก เพื่อประโยชน์ในการค้าขายทางบก

21.       กลุ่มชนใดได้รับการยกย่องว่าเป็น “พ่อค้าทางทะเลที่ยิ่งใหญ่ของตะวันออกกลางสมัยโบราณ”

(1) พินิเชียน   

(2) ออตโตมาน เติร์ก  

(3) อราเมียน  

(4) ฮิตไตท์

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 17. ประกอบ

22.       ศูนย์กลางของจักรวรรดิลิเดียนคือดินแดนใด

(1) เอเชียไมเนอร์        

(2) เมโสโปเตเมีย       

(3) ปาเลสไตน์

(4) คาบสมุทรอาระเบีย

ตอบ 1 หน้า 47 – 48 ในปี 680 B.Cชาวลิเดียนได้ร่วมกันจัดตั้งอาณาจักรลิเดียนขึ้นที่บริเวณ ดินแดนลิเดียในเอเชียไมเนอร์ (ประเทศตุรกีในปัจจุบัน) ซึ่งลิเดียนจะเก่งในการรบและการค้าขาย จึงทำให้พื้นที่ของอาณาจักรขยายใหญ่เป็นจักรวรรดิลิเดียนโดยมีกรุงซาร์ดีสเป็นเมืองศูนย์กลาง ทั้งการปกครองและการค้าขาย ซึ่งมรดกความเจริญที่ลิเดียนให้ไว้แก่โลกก็คือ เป็นกลุ่มชนแรกที่นำ การผลิตเงินเหรียญทองคำเพื่อนำมาใช้เป็นตัวกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยน และจากความมั่งคั่ง ทางการค้าเป็นผลให้ลิเดียนได้รับการยกย่องว่าเป็น “พ่อค้าผู้ยิ่งใหญ่แห่งเอเชียไมเนอร์สมัยโบราณ”

23.       กษัตริย์เปอร์เซียโบราณรับเอารูปแบบการปกครองจักรวรรดิมาจากกลุ่มชนใด

(1) อิยิปต์โบราณ       

(2) อัสซีเรียน  

(3) ฮิบรู          

(4) โรมัน

ตอบ 2 หน้า 5256 – 5759 จักรวรรดิเปอร์เซียโบราณรับรูปแบบการปกครองจักรวรรดิมาจากอัสซีเรียน โดยเริ่มรับในสมัยไซรัสที่2 และนำมาปรับปรุงจนรูปแบบการปกครองมีความสมบูรณ์ ในสมัยดาริอุสที่ 1 (Darius Iซึ่งเป็นสมัยที่ถือว่าเป็นยุคทองของจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ โดยหลักในการปกครองจักรวรรดิซองดาริอุสที่ 1 ประการหนึ่งก็คือ เน้นกระจายการปกครอง จากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาคด้วย 2 วิธี คือ กำหนดภูมิภาคสำคัญและเมืองศูนย์กลางของภูมิภาค และการปกครองระบบเขต (The Satrapy Systemที่มุ่งการเข้าถึงประชาชนและพื้นที่ ด้วยการปฏิบัติจริง

24.       ถนนสายยุทธศาสตร์ที่สำคัญของจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณเชื่อมดินแดนเปอร์เซียกับดินแดนใด

(1) ปาเลสไตน์

(2) คาบสมุทรอนาโตเลีย

(3) คาบสมุทรบอลข่าน          

(4) เมโสโปเตเมีย

ตอบ 2 หน้า 5257 ในสมัยดาริอุสที่ 1 แห่งจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ ทรงให้มีการสร้างถนนหลวง (The Royal Road or The Royal Post Road or The Kings Highwayหรือถนนสายยุทธศาสตร์ ที่เชื่อมจากเมืองหลวงซูซาในจักรวรรดิเปอร์เซียไปสู่เอเชียไมเนอร์บนคาบสมุทรอนาโตเลีย โดยมีปลายทางสิ้นสุดที่อีเพซุสซึ่งเป็นเมืองท่าชายฝั่งทะเลอีเจียน ซึ่งถนนหลวงสายนี้จะใช้ประโยชน์ เพื่อการคมนาคม การค้าขาย การเคลื่อนกองกำลังทหาร และการสื่อสารส่งข่าวในทุกพื้นที่ของจักรวรรดิ

25.       หลักของศาสนาโซโรแอสเตอร์กำหนดไว้อย่างไร

(1) วิญญาณเป็นอมตะ          

(2) วันพิพากษาและโลกหน้ามีจริง

(3) รักและเมตตาเพื่อนมนุษย์

(4) ยึดมั่นในพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียว

ตอบ 2 หน้า 58 – 59 กษัตริย์ไซรัสที่ 2 ทรงกำหนดให้ศาสนาโซโรแอสเตอร์เป็นศาสนาของจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ (550 – 330 B.C.) ซึ่งหลักคำสอนของศาสนานี้มี 4 ประการ คือ

1. มีลักษณะเป็นเอกเทวนิยม (Monotheisticนั่นคือ ให้ยึดมั่นในเทพเจ้าอะฮูรา มาสดา เพียงองค์เดียว           

2. คิด พูด และทำความดี

3. ไม่คิด ไม่พูด และไม่ทำความชั่ว     

4. วันพิพากษาและโลกหน้ามีจริง

26.       ข้อใดถูก

(1)       ศาสนาโซโรแอสเตอร์คือศาสนาของจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ

(2)       อะมอไรท์นำการสร้างจักรวรรดิแรกของโลก

(3)       แหล่งกำเนิดอารยธรรมฮิตไตท์ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศเลบานอน

(4)       อับราฮัมคือผู้นำฮิบรูอพยพจากดินแดนลุ่มแม่นํ้าไนล์มุ่งกลับสู่ดินแดนปาเลสไตน์

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ

27.       ยุคทองของอารยธรรมอิสลามอยู่ในช่วงเวลาใด

(1) ราชวงศ์อุมัยยัด    

(2) ออตโตมาน เติร์ก

(3) ราชวงศ์อับบาสิต  

(4) กาหลิบสี่องศ์

ตอบ 3 อารยธรรมอิสลามหรือมุสลิมมีแหล่งกำเนิดอยู่ในคาบสมุทรอาระเบีย (ประเทศซาอุดิอาระเบียในปัจจุบัน) ซึ่งในช่วงเวลาที่จักรวรรดิอิสลามอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์อับบาสิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้การนำของกาหลิบฮารัน เอล-ราชิด นั้นได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยุคทองของอารยธรรมอิสลาม” โดยแท้จริง

28.       ใครคือกาหลิบองค์แรกของจักรวรรดิมุสลิม

(1) อาบู บากร์

(2) โอธมาน    

(3) อาลี          

(4) มูวียะ

ตอบ 1 หน้า 66 – 67 จักรวรรดิอิสลามในช่วงปี 632 – 661 จะอยู่ภายใต้การนำของกาหลิบ 4 องค์ โดยมีเมดินาเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของจักรวรรดิอิสลาม ทั้งนี้ชาวมุสลิมจะเป็นผู้เลือกกาหลิบ ทั้ง 4 องค์เป็นผู้นำสังคมมุสลิม ได้แก่ อาบู บากร์ (ได้รับเลือกให้เป็นกาหลิบองค์แรกของ จักรวรรดิมุสลิม) โอมาร์ โอธมาน และอาลี

29.       ออตโตมาน เติร์ก คือใคร

(1)       เติร์กกลุ่มสุดท้ายที่รุกรานยุโรป

(2)       เติร์กผู้นำกองกำลังมุสลิมในสงครามครูเสด

(3)       เติร์กผู้ขับไล่ไบแซนไทน์ออกจากคาบสมุทรอนาโตเลีย

(4)       เติร์กผู้นำการบริหารจักรวรรดิมุสลิมในสมัยราชวงศ์อับบาสิต

ตอบ 1 หน้า 77 – 8588 ออตโตมาน เติร์ก เป็นกลุ่มเติร์กที่เข้ามามีบทบาทในเอเชียไมเนอร์ในช่วง ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 11 โดยในปี 1453 มูฮัมหมัดที่ 2 (Muhammad IIได้นำกองกำลังมุสลิม ยึดกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จ ส่งผลให้จักรวรรดิไบแซนไทน์ของโรมันตะวันออกต้องล่มสลายลง นอกจากนี้ยังเป็นเติร์กกลุ่มสุดท้ายที่รุกรานยุโรป เป็นเติร์กกลุ่มสุดท้ายที่ถือครอง พี้นที่ส่วนใหญ่ของตะวันออกกลาง เป็นบรรพบุรุษของประชาชนตุรกีในปัจจุบัน เป็นผู้นำการปกครองจักรวรรดิยาวนานถึง 623 ปี รวมทั้งเป็นผู้ผสมผสานความเจริญของโลกตะวันออก และโลกตะวันตกได้เป็นอย่างดี

30.       ทำไมมุสลิมไม่พอใจในคำประกาศบัลฟอร์ปี 1917

(1)       ยิวประกาศจัดตั้งประเทศอิสราเอล

(2)       อังกฤษสนับสนุนการจัดตั้งรัฐยิวในดินแดนอาหรับ

(3)       ออตโตมาน เติร์ก ประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะในสงครามโลกครั้งที่สอง

(4)       สหรัฐอเมริกาประกาศให้ความช่วยเหลือด้านยุทธปัจจัยแก่อิสราเอล

ตอบ2 หน้า 140 (เล่มเก่า)(คำบรรยาย) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่1 กลุ่มยังเติร์กได้นำกองกำลังจักรวรรดิออตโตมานเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะหรือฝ่ายมหาอำนาจกลาง แต่ชาวอาหรับหรือชาวมุสลิม ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของออตโตมานในปาเลสไตน์ได้ร่วมมือกับอังกฤษซึ่งเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร เนื่องจากอังกฤษสัญญาว่าจะสนับสนุนชาวอาหรับให้หลุดพ้นจากอำนาจของออตโตมาน และก่อตั้งชาติอาหรับเมื่อสิ้นสุดสงคราม ต่อมาในปี ค.ศ. 1917 อังกฤษก็ได้ออกคำประกาศบัลฟอร์ (The Balfour Declarationเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งรัฐยิวในดินแดนอาหรับ (ปาเลสไตน์)ซึ่งคำประกาศนี้ได้สร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวมุสลิมเป็นอย่างมาก

31.       ประเทศใดในอดีตได้รับการขนานนามว่าเป็น “ยักษใหญ่แห่งเอเชีย”

(1) จีน

(2) ญี่ปุ่น        

(3) เกาหลีเหนือ          

(4) เกาหลีใต้

ตอบ 1 หน้า 97 นับตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา จีนถือเป็นประเทศที่มีอิทธิพลมากที่สุดในภูมิภาค เอเชียตะวันออก ทั้งทางด้านการทหาร เศรษฐกิจ สังคม โดยเฉพาะด้านวัฒนธรรมซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย อาทิเช่น ลัทธิขงจื๊อ เรื่องราวของจิ๋นซี ฮ่องเต้ เมาเซตุง อาหารจีน ประเพณีการไหว้เจ้า ฯลฯ ซึ่งจากความยิ่งใหญ่ดังกล่าวทำให้มีผู้ขนานนามจีนว่าเป็น “ยักษใหญ่แห่งเอเชีย” หรือ “พญามังกร”

32.       แม่นํ้าใดอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก

(1) แม่นํ้าเจ้าพระยา   

(2) แม่นํ้าโขง  

(3) แม่นํ้ายูเฟรติส       

(4) แม่นํ้าเหลือง

ตอบ 4 หน้า 97146 (เล่มเก่า) แม่นํ้าฮวงโหหรือแม่น้ำเหลืองที่ไหลผ่านจีนถือว่าเป็นแม่น้ำสายสำคัญ สายหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยจะเชื่อมระหว่างจีนภาคเหนือกับภาคกลางเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังเป็นแม่นํ้าที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์จีน นั่นคือ เป็นแม่น้ำที่สร้างความ อุดมสมบูรณ์ให้แก่สองฟากฝั่งที่แม่นํ้าไหลผ่าน รวมทั้งเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมเริ่มแรกของจีน

33.       จีนประดิษฐ์ปฏิทินขึ้นใช้เป็นครั้งแรกในสมัยใด

(1) จักรพรรดิหยู่         

(2) จักรพรรดิเหยา      

(3) จักรพรรดิจิ๋น         

(4) จักรพรรดิถังเกาจง

ตอบ 2 หน้า 98 – 100 จักรพรรดิเหยาและจักรพรรดิชุน เป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 4 และ 5 ในรัชสมัยของ กษัตริย์ฮวงตี่ของจีน ซึ่งทั้ง 2 พระองค์ถือเป็นกษัตริย์ที่ทรงไว้ซึ่งคุณธรรมและมีแนวคิดประชาธิปไตย จนได้รับการยกย่องว่าเป็น “กษัตริย์นักประชาธิปไตย” โดยความเจริญที่สำคัญในยุคนี้ได้แก่ มีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ มีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของชาวบ้าน และมีฐานะเป็นเทพเจ้า นอกจากนี้ยังมีการจัดระบอบการปกครองที่เข้มแข็ง และรู้จักประดิษฐ์ปฏิทินขึ้นใช้เป็นครั้งแรก

34.       ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาลี เป็นความเจริญในสมัยใดของจีน

(1) ยุคหินเก่า 

(2) ยุคหินกลาง          

(3) ยุคหินใหม่

(4) ยุคสำริด

ตอบ 3 หน้า 99150 (เล่มเก่า) จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดพบบริเวณตอนกลางของจีนแถบลุ่มแม่นํ้าเหลือง ทำให้นักประวัติศาสตร์รุ่นใหม่เชื่อว่า ความเจริญของจีนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ น่าจะเกิดขึ้นในยุคหินใหม่หรือเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งหลักฐานสำคัญที่แสดง ให้เห็นถึงความเจริญเริ่มแรกซองจีน ได้แก่ ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาลีและเสียน

35.       ชาวจีนโบราณนิยมนำกระดูกจากสัตว์ชนิดใดมาใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายโชคชะตา

(1) กระดองเต่า          

(2) กระดูกวัว  

(3) กระดูกเสือ

(4) กระดูกแรด

ตอบ 1 หน้า 100 ชาวจีนโบราณมีความเชื่อในเรื่องการทำนายโชคชะตา โดยเฉพาะในกลุ่มบุคคลชั้นสูง ที่นิยมการทำนายโชคชะตาด้วยกระดูกสัตว์ขนาดใหญ่หรือกระดองเต่า ซึ่งวิธีการก็คือ บันทึก ข้อความที่ต้องการลงบนวัตถุดังกล่าวแล้วนำไปเผาไฟ โดยความร้อนจะทำให้เกิดรอยแตก ถ้าปลายรอยแตกชี้ไปที่ข้อความใด ข้อความนั้นก็คือคำทำนาย

36.       ราชวงศ์ใดเป็นผู้นำเรื่อง “อาณัติแห่งสวรรค์” มาใช้ในการปกครองประเทศเป็นครั้งแรก

(1) ราชวงศ์เฉีย          

(2) ราชวงศ์โจว           

(3) ราชวงศ์ถัง

(4) ราชวงศ์ฮั่น

ตอบ 2 หน้า 102 ในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก ผู้ปกครองจีนได้นำแนวคิดทางการเมืองที่ยอดเยี่ยม ซึ่งเรียกว่า “ทฤษฏีแห่งสวรรค์” มาใช้ในการปกครองประเทศเป็นครั้งแรก โดยกษัตริย์โจวจะถือว่า ตนเป็น “โอรสหรือบุตรแห่งสวรรค์” หมายถึง องศ์จักรพรรดิที่สวรรค์ส่งลงมาปกครองมนุษย์ และได้รับอำนาจที่สวรรค์มอบให้เพื่อใช้ปกครองโลกเรียกว่า “อาณัติแห่งสวรรค์”

37.       “บันทึกความทรงจำของสานุศิษย์ 4 เล่ม” เชื่อว่าเป็นคำสั่งสอนในลัทธิใดของจีน

(1) เต๋า

(2) ขงจื๊อ        

(3) ขงจื๊อใหม่  

(4) นิติธรรมนิยม

ตอบ 2 หน้า 105 – 106160 (เล่มเก่า) ขงจื๊อ เป็นนักปรัชญาคนสำคัญซองจีนในยุคโจวตะวันออก ซึ่งหสักคำสอนของขงจื๊อจะเน้นความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมในโลกนี้มากกว่าชีวิต ในโลกหน้า รวมทั้งเน้นให้มนุษย์รู้จักหน้าที่และฐานะของตนเองในสังคม ทั้งนี้คัมภีร์สำคัญที่ ได้รวบรวมคำสอนของลัทธิขงจื๊อเอาไว้มี 2 ชุด ได้แก่ ตำรามีค่า 5 เล่มของขงจื๊อ และบันทึก ความทรงจำของสานุศิษย์ 4 เล่ม

38.       ราชวงศ์ใดที่บังคับให้ชาวจีนโกนผมส่วนหน้าและไว้ผมเปียตามความนิยมของชนเผ่าตน

(1) ราชวงศ์จีน

(2) ราชวงศ์ถัง

(3) ราชวงศ์หยวน       

(4) ราชวงศ์ชิง

ตอบ 4 หน้า 111-112 ในสมัยที่ราชวงศ์ชิงหรือราชวงศ์แมนจูปกครองจีนได้มีการนำกฎเกณฑ์ ทางสังคมเข้ามาใช้ เพื่อเป็นมาตรการป้องกันความปลอดภัยและต้องการรักษาเอกลักษณ์ ของชาวแมนจู ที่สำคัญ ได้แก่   

1. บังคับให้ใช้ภาษาแมนจูเป็นภาษาของทางราชการ

2. บังคับให้ชาวจีนแต่งกายแบบชาวแมนจู    

3. ห้ามชาวจีนแต่งงานกับชาวแมนจู

4. บังคับให้ชาวจีนโกนผมส่วนหน้าประมาณครึ่งศีรษะและไว้ผมเปีย

5. ห้ามชาวแมนจูค้าขาย

6. ชาวจีนจะเข้ารับราชการต้องผ่านการสอบไล่ ส่วนชาวแมนจูได้รับสิทธิพิเศษโดยไม่ต้องสอบ

39.       เมื่อเดินทางมาค้าขายกับจีน พ่อค้าชาวอังกฤษได้รับอนุญาตให้ตั้งสถานีการค้าที่เมืองท่าใด

(1) มาเก๊า       

(2) ฮ่องกง      

(3) แคนตอน   

(4) เอหมึง

ตอบ 3 หน้า 112(คำบรรยาย) ในสมัยล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ประเทศจีน (ปลายสมัยราชวงศ์หมิง ถึงต้นราชวงศ์แมนจู) ในขณะนั้นได้เกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายขึ้นโดยทั่วไป เมื่อดัตช์และโปรตุเกส เข้ามาช่วยจีนปราบกบฏและพวกโจรสลัด ทำให้ราชสำนักจีนตอบแทนทั้ง 2 ชาติด้วยการอนุญาต ให้เข้ามาตั้งสถานีการค้าได้ โดยให้โปรตุเกสมาตั้งที่มาเก๊า ส่วนดัตช์ให้มาตั้งที่เอหมึง ต่อมา อังกฤษได้เดินทางเข้ามายังจีนเพื่อเรียกร้องให้จีนเปิดประเทศ แม้จีนจะปฏิเสธ แต่ก็อนุญาตให้ พ่อค้าชาวอังกฤษเข้ามาตั้งสถานีการค้าได้ที่เมืองแคนตอน

40.       สงครามใดที่ทำให้จีนต้องตกเป็นประเทศกึ่งอาณานิคมของชาติตะวันตก

(1) สงครามเทียนสิน  

(2) สงครามเรือแอร์โรว์           

(3) สงครามฝิ่น           

(4) กบฏนักมวย

ตอบ 3 หน้า 112 – 113216 – 217 (เล่มเก่า) สงครามฝิ่น เป็นสงครามระหว่างจีนกันอังกฤษ ที่งหลังจาก ที่จีนพ่ายแพ้แก่อังกฤษในปี ค.ค. 1842 ทำให้จีนต้องลงนามในสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคฉบับแรก กับอังกฤษ เรียกว่า “สนธิสัญญานานกิง” (Treaty of Nankingซึ่งผลก็คือ จีนต้องยกเกาะฮ่องกง ให้อังกฤษและต้องเปิดเมืองท่าอีก 5แห่ง ได้แก่ แคนตอน เอหมึงฟูเจา นิงโป และเซี่ยงไฮ้ให้เป็น เขตสัมปทานอยู่ในความดูแลของอังกฤษ อีกทั้งต้องสูญเสียสิทธิใบการปกครองหรืออำนาจอธิปไตย จนตกเป็นประเทศกึ่งอาณานิคมของชาติตะวันตก ต้องสูญเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตหรือ สิทธิทางการศาล ต้องชดใช้ค่าฝิ่นที่จีนทำลายไป ต้องสูญเสียสิทธิในการกำหนดอัตราภาษี และต้องยอมรับเงื่อนไขของความเป็นมิตรที่ดีของต่างชาติ

41.       ตราบเท่าที่แผ่นดินจีนมีดวงอาทิตย์เพียงดวงเดียว จีนก็ต้องมีจักรพรรดิเพียงพระองค์เดียว เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในสมัยใด        

(1) ราชวงค์โจว

(2) สมัยจักรพรรดิ 5 พระองค์ 

(3) สมัยสามก๊ก          

(4) ราชวงค์จิ๋น

ตอหน้า 109 ในสมัยราชวงศ์จิ๋นจะถือว่าองค์จักรพรรดิเป็นประมุขสูงสุดในการปกครอง ทั้งนี้ เป็นไปตามแนวความคิดของจิ๋นซี ฮ่องเต้ ที่ว่า “ตราบเท่าที่แผ่นดินจีนมีดวงอาทิตย์เพียงดวงเดียว จีนก็ต้องมีจักรพรรดิเพียงพระองค์เดียว ”

42. “ระบบนาบ่อ ระบบนาเฉลี่ย ระบบ 3 หัวหน้า” เน้นในการแก้ปัญหาทางด้านใด

(1) เพื่อจัดหาอาชีพให้ชาวจีน 

(2) เพื่อปฏิรูปการจัดเก็บภาษี

(3) เพื่อการปฏิรูประบบชลประทาน   

(4) เพื่อป้องกันการบุกรุกป่าสงวน

ตอบ 2 หน้า109-111 วิธีการที่รัฐบาลจีนนำมาใช้เพื่อปฏิรูปการจัดเก็บภาษีในอดีตมีดังนี้

1.ระบบนาบ่อในสมัยราชวงศ์โจว       

2. ระบบนาเฉลี่ยและระบบ 3 หัวหน้าในสมัยราชวงศ์ถัง

3. ระบบภาษีคู่และระบบเก็บรวบยอดในสมัยราชวงศ์หมิง

43. นายซุนยัดเซ็น มีผลงาน

(1) การทหาร  

(2) การแพทย์ 

(3) การเมือง   

(4) การศึกษา

ตอบ 3 หน้า 113219 – 220 (เล่มเก่า)(คำบรรยาย) ซุนยัดเซ็นเป็นผู้ที่มีผลงานโดดเด่นทางด้าน การเมืองในประเทศจีน โดยในปี ค.ศ. 1912 ซุนยัดเซ็นได้ทำการปฏิวัติยึดอำนาจราชวงศ์แมนจู โดยเปลี่ยนระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ระบอบสาธารณรัฐที่เมืองนานกิงเป็นผลสำเร็จภายใต้การร่วมมือของหยวนซือไข ทำให้จักรพรรดิปูยีซึ่งเป็นจักรพรรดิ องศ์สุดท้ายของราชวงศ์แมนจูสละราชสมบัติในปีเดียวกัน จากนั้นหยวนซือไขก็ได้รับการแต่งทั้ง ให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกแห่งสาธารณรัฐจีน จีนจึงก้าวเข้าสู่สมัยสาธารณรัฐ อย่างสมบูรณ์นับตั้งแต่นั้น

44.       ชื่อใดเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของจีนแผ่นดินใหญ่ในปัจจุบัน

(1) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน    

(2) สาธารณรัฐจีน

(3) สาธารณรัฐประชาชนจีน  

(4) ราชอาณาจักรจีน

ตอบ 3 (ข่าว) จีนแผ่นดินใหญ่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “สาธารณรัฐประชาชนจีน” ซึ่งมีการปกครอง แบบลัทธิสังคมนิยมในลักษณะของตนเอง โดยมีพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นผู้กำหนดนโยบายต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันมีนายหู จิ่นเทา เป็นประธานาธิบดี เลขาธิการพรรค และประธานคณะกรรมาธิการทหารส่วนกลาง และมีนายเหวิน เจียเป่า เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2546 จนถึงปัจจุบัน

45.       ใครคือผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่มีชัยชนะเหนือพรรคก๊กมินตั๋งในปี 1949

(1) เจียงไคเช็ค

(2) เมาเซตุง   

(3) เติ้งเสี่ยวผิง

(4) โจวเอินไหล

ตอบ 2 หน้า 114(คำบรรยาย) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ได้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในจีน โดยมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนนำโดยเมาเซตุงกับพรรคก๊กมินตั๋ง หรือพรรคจีนคณะชาติ (พรรคชาตินิยม) นำโดยเจียงไคเช็ค สงครามในครั้งนี้สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1949 ซึ่งผลปรากฏว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นฝ่ายชนะ

46.       ในจำนวนเกาะที่ใหญ่ที่สุด 4 เกาะของญี่ปุ่น เกาะใดเจริญมากที่สุด

(1) ฮอกไกโด  

(2) ฮอนชู        

(3) ริวกิว         

(4) ชิโกกุ

ตอบ 2 หน้า 121(คำบรรยาย) เกาะที่สำคัญของญี่ปุ่นมีอยู่ 4 เกาะ ได้แก่  

1. เกาะฮอกไกโดเป็นเกาะทางตอนเหนือของญี่ปุ่น และถือว่าเป็นศูนย์กลางอารยธรรมเริ่มแรกของญี่ปุ่น

2. เกาะฮอนชู เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดา 4 เกาะ มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด มีพื้นที่ราบมากที่สุดของประเทศ และเป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการปกครองของญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าเป็นเกาะที่มีความเจริญมากที่สุด  

3. เกาะชิโกกุเป็นเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุด โดยมีชื่อเสียงในเรื่องความงดงามของหมู่เกาะและชายฝั่งทะเล

4. เกาะคิวชิว เป็นเกาะแรกที่ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากการติดต่อกับชาวยุโรป โดยมีท่าเรือ ที่สำคัญอยู่ที่เมืองนางาซากิ

47.       บรรพบุรุษของญี่ปุ่นนักวิชาการส่วนใหญ่ในปัจจุบันเชื่อว่าอพยพมาจากทางภาคใดของทวีปเอเชียมากที่สุด

(1) ภาคเหนือ 

(2) ภาคใต้      

(3) ภาคตะวันตก        

(4) ภาคตะวันออก

ตอบ 3 (HIS 1003 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 301304)(คำบรรยาย) นักวิชาการส่วนใหญ่ในปัจจุบัน เชื่อว่า บรรพบุรุษของญี่ปุ่นอพยพมาจากทางภาคตะวันตกของทวีปเอเชียมากที่สุด โดยเข้ามา ตั้งรกรากอยู่ในหมู่เกาะทางภาคเหนือ จากนั้นจึงขยายตัวลงสู่ภาคใต้ และมาตั้งอาณาจักรแรก ทางภาคตะวันออกของเกาะฮอนชู ต่อมาได้ขยายอิทธิพลไปทั่วหมู่เกาะน้อยใหญ่ที่สำคัญ 4 เกาะ ด้วยกัน คือ เกาะฮอกไกโด เกาะฮอนชู เกาะชิโกกุ และเกาะคิวชู (เกาะคิวชิว)

48.       โจมอน ยาโยอิ และทูมูลิ คืออะไร

(1) เครื่องดนตรีชนิดหนึ่งของพวกไอนุ

(2) ความเจริญรุ่นแรกของญี่ปุ่นโบราณ

(3) ความรู้ที่ชาวญี่ปุ่นรับมาจากเกาหลี โดยเฉพาะทางด้านการเกษตร         

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 124 – 125 หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่นแรกของญี่ปุ่น ในสมัยโบราณ ได้แก่

1. วัฒนธรรมโจมอน เป็นวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาลายเชือก ซึ่งพบมากทางภาคตะวันออก และภาคเหนือของญี่ปุ่น

2. วัฒนธรรมยาโยอิ เป็นวัฒนธรรมที่พบมากบนเกาะคิวชิว ซึ่งหลักฐานที่สำคัญ เช่น เครื่องปั้นดินเผายาโยอิ การนำเหล็กและทองสำริดจากจีนมาหล่อเป็นดาบ ฯลฯ

3.         วัฒนธรรมทูมูลิ เป็นวัฒนธรรมที่รับมาจากเกาหลีโดยผ่านกลุ่มชนชั้นสูงในสังคม ซึ่งจะมีลักษณะเป็นสุสานหรือหลุมฝังศพขนาดใหญ่ที่ใช้บรรจุศพของบุคคลสำคัญของประเทศโดยเฉพาะองค์จักรพรรดิ โดยเริ่มปรากฏครั้งแรกบนเกาะคิวชิว

49.       หนังสือโคจิกิ และนิฮอง โชกิ ให้ความรู้ในเรื่องใดของชาวญี่ปุ่นโบราณมากที่สุด

(1) บันทึกการสู้รบครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาวญี่ปุ่นเหนือทุ่งราบเซกิกาฮารา

(2) การเดินทางของชาวตะวันตกเข้าสู่เกาะฮอกไกโดในสมัยล่าอาณานิคม

(3) ชัยชนะของขุนนางตระกูลมินาโมโตที่มีต่อขุนนางตระกูลฟูจิวารา

(4) ประวัติศาสตร์การก่อตั้งประเทศญี่ปุ่นโดยเชื้อสายของเทพเจ้าอะมาเตระสึ

ตอบ 4 หน้า 125 จากหนังสือโคจิกิและหนังสือนิฮอง โชกิ ได้กล่าวถึงเรื่องราวของชาวญี่ปุ่นโบราณ ในลักษณะของเทพนิยายว่า แผ่นดินญี่ปุ่นสร้างขึ้นโดยเทพเจ้า มีศูนย์กลางอยู่บนที่ราบยามาโต ทางตอนกลางของเกาะฮอนชู องค์จักรพรรดิและประชาชนล้วนสืบเชื้อสายมาจากเทพเจ้าทั้งสิ้น โดยจักรพรรดิพระองค์แรกซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งประเทศญี่ปุ่นทรงมีพระนามว่า “จิมมู เทนโน” เป็น ผู้สืบเชื้อสายมาจากเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์หรือเทพีอะมาเตระสึ ซึ่งขึ้นครองราชย์เมื่อประมาณปี 660 B.C.

50.       ข้อใดคือความเจริญที่ญี่ปุ่นรับมาจากจีน

(1) ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก

(2) อุตสาหกรรมการต่อเรือเดินสมุทรด้วยเหล็กกล้า

(3) การนับถือความบริสุทธิ์ในธรรมชาติ         

(4) สถาปัตยกรรมการก่อสร้างแห่งเมืองนารา

ตอบ 4 หน้า 126 – 129 ความเจริญที่สำคัญที่ญี่ปุ่นโบราณรับมาจากจีน ได้แก่

1. ตัวอักษรจีน

2. รูปแบบการปกครองในสมัยราชวงศ์ถังของจีน      

3. ศาสนาพุทธ

4. สถาปัตยกรรม โดยมีการสร้างบ้านเมืองเพื่อรองรับหน่วยงานปกครองต่างๆ เช่น ปราสาทราชวัง สถานที่ราชการ ฯลฯ มีการจำลองรูปแบบตึกรามบ้านช่องจากจีน และมีการก่อสร้างเมืองสำคัญ ที่สวยงาม เช่น เมืองหลวงแห่งนครนารา เมืองหลวงเกียวโตแห่งยุคเฮอิอัน เป็นต้น

51.       ผู้นำท่านใดไม่มีบทบาทเลยในการปฏิรูปการเมืองการปกครองครั้งใหญ่ตามแบบอย่างจีนในคริสต์ศตวรรษ ที่ 6 ของญี่ปุ่น

(1) เจ้าชายโชโทกุ       

(2) องค์จักรพรรดิเทนจิ

(3) ฟูจิวารา โนะ คามาทาริ    

(4) ผู้นำกลุ่มนักรบซามูไรที่เดินทางกลับมาจากจีน

ตอบ 4 หน้า 127 – 128(คำบรรยาย) ในคริสต์ศตวรรษที่ 6 ผู้ปกครองญี่ปุ่นเกิดความประทับใจ ในรูปแบบการปกครองของจีนสมัยราชวงศ์ถัง ประกอบกับได้รับอิทธิพลจากลัทธิขงจื๊อ ทำให้ญี่ปุ่นปฏิรูปการเมืองการปกครองครั้งใหญ่ตามแบบจีน ซึ่งที่สำคัญ ได้แก่

1. ธรรมนูญการปกครองบ้านเมือง 17ข้อในปีค.ศ.604 เป็นผลงานของเจ้าชายโชโทกุ

2. การปฏิรูปไทกะในปี ค.ศ. 645 เป็นผลงานของเจ้าชายนากาโนะ โอเยะ หรือจักรพรรดิเทนจิ และฟูจิวารา โนะ คามาทาริ

52.       ข้อใดไม่ใช่หลักการที่นักรบซามูไรต้องปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ใน “ลัทธิบูชิโด”

(1) ให้การยกย่องต่อสตรีเพศ 

(2) จงรักภักดีต่อเจ้านายแม้ตัวตายก็ต้องยอม

(3) เสียชีพอย่าเสียสัตย์         

(4) แสวงหาความรู้ใหม่ ๆ เพื่อการพัฒนาประเทศ

ตอบ 4 หน้า 130 ลัทธิบูชิโดในสมัยศักดินาเป็นหลักปฏิบัติตนในการดารงชีวิตของชนชั้นนักรบ หรือพวกซามูไร ซึ่งประกอบด้วย การยกย่องให้เกียรติสตรี การหยิ่งในเกียรติของตนเอง (เสียชีพอย่าเสียสัตย์) ความกล้าหาญ ความจงรักภักดี ความกตัญญูกตเวที เป็นต้น

53.       การจัดแบ่งชนชั้นผู้นำในญี่ปุ่นเป็น โตซามา ฟูได และชิมปัน เกิดขึ้นในสมัยใด

(1)       เมื่อจิมมู เทนโน ประกาศรวมแผ่นดินญี่ปุ่นที่แตกแยกขึ้นเป็นหนึ่งเดียวกันในปี ค.ศ. 660

(2)       เมื่อผู้ปกครองประเทศญี่ปุ่นหันไปรับวัฒนธรรมความเจริญจากจีนในปี ค.ศ. 500

(3)       เมื่อผู้นำตระกูลโตกูกาวาได้อำนาจเหนือแผ่นดินญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1602

(4)       เมื่อถูกเปิดประเทศโดยสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1858

ตอบ 3 หนำ 131(คำบรรยาย) ในสมัยศักดินา เมื่อโชกุนตระกูลโตกูกาวาขึ้นมามีอำนาจเหนือแผ่นดินญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1602 ได้มีการจัดแบ่งชนชั้นผู้นำซึ่งเป็นชนชั้นขุนนางหรือเจ้าผู้ครองแคว้นต่าง ๆใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 3 ชนชั้น ได้แก่ ชนชั้นชิมปัน ฟูได และโตซามา ซึ่งส่วนใหญ่มักถูกส่งไป ปกครองตามท้องถิ่นที่ห่างไกลจากเมืองหลวง

54.       ในสมัยปิดประเทศ ญี่ปุ่นขับไล่ชาวต่างชาติออกจากประเทศ ยกเว้นชาติใด

(1) จีนซึ่งเป็นชาติเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์มาช้านาน

(2) ดัตช์ที่ผู้ปกครองญี่ปุ่นเห็นว่าไม่เคยแทรกแซงกิจการภายในของตน

(3) ถูกเฉพาะข้อ 1      

(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หนำ 132291 – 293 (เล่มเก่า) ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 โชกุนตระกูลโตกูกาวา เกรงว่าองค์กรศาสนาของชาวต่างชาติในนามคณะมิชชันนารีที่เผยแผ่ศาสนาคริสต์ในญี่ปุ่น จะเข้ามาก้าวก่ายกิจการภายใบประเทศ จนทำให้ประเทศแตกแยกกันและทำให้อำนาจของ พระองค์ลดน้อยลง ด้วยเหตุนี้องค์โชกุนจึงได้ประกาศปิดประเทศและขับไล่ชาวต่างซาติออกไป โดยไม่ติดต่อค้าขายกับชาติใดๆ นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1637 – 1854 ยกเว้นจีนในฐานะของมิตรเก่า หรือชาติเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์มาช้านาน และดัตช์ที่ญี่ปุ่นเห็นว่าเป็นชาติที่ไม่เคยแทรกแซงการเมืองและกิจการภายในขององค์โชกุน ซึ่งทั้ง 2 ชาติจะได้รับอนุญาตให้เข้ามาค้าขายได้ เป็นครั้งคราว

55.       เหตุใดที่ทำให้ชาวตะวันตกในระยะแรก ๆ ไม่สนใจติดต่อกับญี่ปุ่นมากเท่าที่มีกับจีน

(1) ทรัพยากรของญี่ปุ่นมีน้อยกว่า      

(2) เส้นทางเดินเรือไปญี่ปุ่นลำบากมีเกาะแก่งทั่วไป

(3) กิตติศัพท์ว่าชาวญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่โหดร้าย ป่าเถื่อน และทรัพยากรธรรมชาติไม่อุดมสมบูรณ์

(4)       ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 133 ในระยะแรก ๆ ช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชาวตะวันตกไม่สนใจติดต่อกับญี่ปุ่น มากเท่าที่มีกับจีน เพราะญี่ปุ่นไม่เจริญเท่าจีน สินค้าก็มีจำกัดและไม่น่าสนใจ ทรัพยากรธรรมชาติ ก็ไม่อุดมสมบูรณ์และมีน้อยกว่า เกาะแก่งทั่วไปที่มีอยู่มากมายยังทำให้เส้นทางการเดินเรือไปญี่ปุ่น ยากลำบาก ประกอบกับกิตติศัพท์ของชาวญี่ปุ่นที่ว่าเป็นชาติที่โหดร้าย และป่าเถื่อนด้วย

56.       ผู้นำรุ่นใหม่ของญี่ปุ่นเริ่มทำการปฏิรูปประเทศในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลังเหตุการณ์ใด

(1) การยอมรับในความอ่อนแอของตนหลังถูกสหรัฐอเมริกาบังคับให้เปิดประเทศ

(2) เมื่อโชกุนตระกูลโตกูกาวายอมลงจากอำนาจหลังปกครองมานานกว่า 200 ปี

(3) เมื่อมีการอัญเชิญองค์จักรพรรดิจากเมืองเกียวโตมาประทับที่เมืองเอโดะ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หนำ 113(คำบรรยาย) ภายหลังจากที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ต่อกองเรือของสหรัฐอเมริกาที่เดินทางเข้ามาบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศ จนทำให้ญี่ปุ่นยอมรับในความอ่อนแอในระบอบโชกุนของตน และเลื่อมใสในเทคโนโลยีของตะวันตกมากกว่าจีน ประกอบกับโชกุนตระกูลโตกูกาวาซึ่งปกครองญี่ปุ่นมานานกว่า 200 ปี (ค.ศ. 1602 – 1867) ยอมลงจากอำนาจในปี ค.ศ. 1868 จากนั้นได้อัญเชิญ องค์จักรพรรดิจากเมืองเกียวโตมาประทับที่เมืองเอโดะเพื่อให้กลับคืบสู่อำนาจตามเดิม ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ผู้นำรุ่นใหม่ของญี่ปุ่นตื่นตัวที่จะเริ่มทำการปฏิรูปประเทศในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งนับเป็นการเริ่มต้นยุคใหม่ของญี่ปุ่นที่เรียกว่า “ยุคเมจิ”

57.       ญี่ปุ่นรุกรานจีนในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 มาจากสาเหตุใดเป็นสำคัญ

(1)       ญี่ปุ่นต้องการทดลองศักยภาพทางทหารที่ตนรับมาใหม่จากตะวันตก

(2)       ญี่ปุ่นต้องการเกาหลีเป็นฐานในการรุกรานเอเชียในอนาคต

(3)       ญี่ปุ่นต้องการยุติข้อขัดแย้งภายในประเทศด้วยการดึงความสนใจออกนอกประเทศ

(4)       ญี่ปุ่นต้องการสั่งสอนเกาหลี และเตือนจีนไม่ให้เข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของตน

ตอบ 2 หน้า 113(คำบรรยาย) สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1894 – 1895) เป็นสงครามระหว่าง ราชวงศ์แมนจูของจีนกับจักรพรรดิเมจิแห่งญี่ปุ่น ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ญี่ปุ่นต้องการครอบครอง คาบสมุทรเกาหลีเพื่อเป็นฐานในการรุกรานเอเชียในอนาคต อีกทั้งยังต้องการเข้าไปขยายอิทธิพล ทางการเมืองและเศรษฐกิจในจีน โดยผลของสงครามปรากฏว่าจีนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ต่อญี่ปุ่น ซึ่งจีนเคยดูถูกว่าเป็นชาติที่ด้อยอารยธรรม และทำให้จีนต้องสูญเสียเกาหลีไปในที่สุด

58.       เครื่องปั้นดินเผาลายฟันหวีเป็นความเจริญในสมัยโบราณของชาติใด

(1) จีน

(2) เกาหลี      

(3) ญี่ปุ่น        

(4) มองโกเลีย

ตอบ 2 หน้า 145 – 146 ความเจริญทางวัฒนธรรมของเกาหลีในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 สมัย คือ

1. วัฒนธรรมจุลมุนหรือจุลจีมุน เป็นวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาลายฟันหวี ซึ่งพบมากทางภาคตะวันตกของคาบสมุทรเกาหลี        

2. วัฒนธรรมมูมุน เป็นวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาที่พบมากทางภาคใต้ของคาบสมุทรเกาหลีซึ่งเป็นดินแดนที่ชนเผ่าฮั่นอาศัยอยู่

59.       ความเจริญของเกาหลีโบราณส่วนใหญ่นำมาจากชาติใด

(1) สหรัฐอเมริกา        

(2) อังกฤษ     

(3) จีน

(4) ชาวเกาหลีพัฒนาขึ้นมาเอง

ตอบ 3 (คำบรรยาย) เกาหลีโบราณได้รับแบบอย่างความเจริญส่วนใหญ่มาจากจีน เช่น รูปแบบการปกครองที่ทำให้รัฐบาลกลางเข้มแข็งขึ้น การบริหารราชการ การสอบไล่เพื่อเข้ารับราชการ ศาสนาพุทธ ลัทธิขงจื๊อ เป็นต้น

60.       ผู้นำญี่ปุ่นคนปัจจุบันคือใคร

(1) อาเบะ       

(2) ฮาโตยามา

(3) ซูซูกิ          

(4) โนบุ

ตอบ 1 (ข่าว) ผลการเลือกตั้งของญี่ปุ่นในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา ปรากฏว่า นายชินโซะ อาเบะ ผู้นำพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDPได้ชนะการเลือกตั้งและดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คนปัจจุบันของญี่ปุ่น

61. ธงชาติของสาธารณรัฐอินเดียมี 3 แถบ จากบนมาล่างคือ แถบสีส้ม แถบสีขาว และแถบสีเขียว ถามว่าตรงกลางผืนธงแถบสีขาวมีสัญลักษณ์รูปอะไรปรากฏอยู่

(1) รูปพระอาทิตย์      

(2) รูปมังกร    

(3) รูปพระจันทร์เสี้ยว 

(4) รูปพระธรรมจักร

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ธงชาติของสาธารณรัฐอินเดียประกอบด้วยแถบสี 3 แถบ คือ แถบบนสีส้ม แถบล่างสีเขียว ส่วนแถบกลางสีขาวจะมืรูปพระธรรมจักรอยู่ตรงกลาง ซึ่งพระธรรมจักร ดังกล่าวก็คือสัญลักษณ์ของศาสนาพุทธนั่นเอง

62.       ศาสนาใดมีผู้นับถือมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียใต้

(1) พุทธ          

(2) สิกข์          

(3) ฮินดู          

(4) อิสลาม

ตอบ 3 หน้า 175 ภูมิภาคเอเชียใต้หรืออนุทวีปอินเดียได้ชื่อว่าเป็นดินแดนที่ประชากรมีความหลากหลาย ในการนับถือศาสนา โดยคิดเป็นอัตราส่วนร้อยละเรียงตามลำดับจากมากไปนัอยได้ดังนี้

1. พราหมณ์-ฮินดู 83.5%      

2. อิสลาม 10.7%

3. คริสต์ 2.4%

4. สิกข์ 1.8%

5. เชน พุทธ โซโรแอสเตอร์และอื่น ๆ 1.6%

63.       แหล่งอารยธรรมเริ่มแรกในเอเชียใต้ ปัจจุบันเนื้อที่ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศใด

(1) ปากีสถาน

(2) อินเดีย      

(3) เนปาล      

(4) บังกลาเทศ

ตอบ 1 หน้า 183 – 184188 อารยธรรมลุ่มแม่นํ้าสินธุเป็นอารยธรรมเริ่มแรกของเอเชียใต้ และของโลก โดยเป็นอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ หรืออินดัสในประเทศปากีสถานปัจจุบันทั้งนี้ได้มีการขุดพบซากเมืองโบราณสำคัญ 2 เมือง คือ เมืองโมเหนโจดาโรและฮารัปปา โดยพบว่าสิ่งก่อสร้างของทั้ง 2 เมืองนั้นส่วนใหญ่ทำมาจากอิฐเผาไฟ ที่มีคุณภาพดี นอกจากนี้ชาวสินธุยังเป็นชนกลุ่มแรกของโลกที่รู้จักจัดห้องน้ำแบบยืนตักอาบ และทำท่อระบายนํ้าโสโครก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุมีความเจริญสูงสุด ด้านสุขาภิบาล เมื่อเทียบกับแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกในบริเวณอื่น

64.       สิ่งก่อสร้างที่เมืองโมเหนโจดาโรและฮารัปปาที่ขุดพบบริเวณลุ่มแม่นํ้าสินธุนั้น ส่วนใหญ่ใช้วัสดุอะไร ในการก่อสร้าง

(1) ศิลาแลง   

(2) อิฐ 

(3) ไม้ 

(4) หินแกรนิต

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 63. ประกอบ

65.       นักวิชาการจัดให้แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่นํ้าสิบธุมีความเจริญสูงสุดด้านสุขาภิบาล เมื่อเทียบกับแหล่งอารยธรรม เริ่มแรกในบริเวณอื่น ถามว่าด้วยเหตุใด

(1) ชาวสินธุส่วนใหญ่สร้างบ่อนํ้าไว้ในบ้าน    

(2) ชาวสินธุรู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรใช้

(3) ชาวสินธุรู้จักนำโลหะมาใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้   

(4) ชาวสินธุรู้จักทำท่อระบายนํ้าโสโครก

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 63. ประกอบ

66.       สัตว์ชนิดใดที่ชาวอารยันยุคพระเวทใช้เป็นหน่วยวัดความมั่งคั่ง

(1) วัวตัวเมีย  

(2) ควายตัวเมีย         

(3) แพะตัวเมีย

(4) แกะตัวเมีย

ตอบ 1 หน้า 193 ในยุคพระเวท สัตว์ที่ชาวอารยันให้ความสำคัญมากที่สุดก็คือ วัวตัวเมีย ซึ่งถือว่า เป็นหน่วยวัดความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ อีกทั้งวัวตัวเมียยังให้แรงงาน ให้นม-เนย และลูกด้วย

67.       การบริโภคเนื้อสัตว์ชนิดใดที่ชาวฮินดูถือว่าบาปมหันต์

(1) วัว 

(2) ม้า 

(3) นกยูง        

(4) ช้าง

ตอบ 1 หน้า 187 ชาวสิบธุที่เป็นฮินดูจะบูชาวัวตัวผู้ เพราะถือว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์และเป็นพาหนะของพระศิวะ ซึ่งถ้าใครรับประทานเนื้อวัวจะถือว่าเป็นบาปอย่างมหันต์ นอกจากนี้ยังมีการบูชาต้นโพธิ์และต้นไทร มีการบูชาไฟ พระอาทิตย์ งู หรือพญานาคด้วย

68.       ถ้าจัดพ่อค้าส้มตำ-ไก่ย่าง เข้าอยู่ใบระบบวรรณะ จะจัดไว้ในวรรณะใด

(1) พราหมณ์  

(2) กษัตริย์     

(3) แพศย์       

(4) ศูทร

ตอบ 3 หน้า 195 – 196 ในเรื่องระบบวรรณะของสังคมอินเดียโบราณจะเป็นไปตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งเชื่อว่า พระพรหมเป็นผู้สร้าง โดยทรงสร้างมนุษย์เพื่อสันติ จากอวัยวะของพระองค์ 4 ส่วน ได้แก่

1.         วรรณะพราหมณ์ (สร้างจากพระโอษฐ์หรือปาก) จัดเป็นชนชั้นสูงสุดของสังคม ได้แก่ นักบวช นักปราชญ์ และครูอาจารย์ สีประจำวรรณะคือ สีขาว

2.         วรรณะกษัตริย์ (สร้างจากพระพาหาหรือแขน) ได้แก่ นักปกครอง ทหารหรือนักรบ และตำรวจ สีประจำวรรณะคือ สีแดง

3.         วรรณะแพศย์หรือไวศยะ (สร้างจากพระโสณีหรือสะโพก) ได้แก่ เกษตรกร พ่อค้า นายธนาคาร ฯลฯ สีประจำวรรณะคือ สีเหลือง

4.         วรรณะศูทร (สร้างจากพระบาทหรือเท้า) จัดเป็นชนชั้นต่ำสุดของสังคม ได้แก่ พวกกรรมกร และข้าหรือทาส สีประจำวรรณะคือ สีดำ

69.       “จัณฑาล’’ เป็นพวกนอกวรรณะ เป็นชนชั้นตํ่าสุดที่สังคมรังเกียจ ถามว่าเป็นลูกที่เกิดจากการแต่งงานระหว่างพ่อกับแม่ในวรรณะใด

(1) พราหมณ์-ศูทร      

(2) ศูทร-พราหมณ์      

(3) กษัตริย์-ศูทร         

(4) คู่อื่น

ตอบ 2 การที่สามีวรรณะศูทรแต่งงานกับภรรยาวรรณะพราหมณ์ บุตรที่เกิดมาจะเรียกว่า “จัณฑาล”

70.       “วัยรุ่นเป็นวัยเสี่ยงควรหลีกเลี่ยงเส้นทางเอดส์” เป็นคำขวัญชนะเลิศจากการประกวดรางวัลในโครงการ ป้องกันโรคเอดส์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหงประจำปี 2535 จากคำขวัญดังกล่าว ถามว่าวัยรุ่นตามคติฮินดู คือคนในอาศรมใด

(1) พรหมจรรยาศรม   

(2) คฤหัสถาศรม        

(3) วานปรัสถาศรม    

(4) สันยัสตาศรม

ตอบ 1 หน้า 199 หลักอาศรม 4 ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ได้แบ่งชีวิตคนออกเป็น 4 วัย เพื่อให้คนในแต่ละอาศรมทำหน้าที่ให้เหมาะกับวัย ดังนี้

1.         พรหมจรรยาศรมหรือพรหมจารี (อายุ 1 – 25 ปี) เป็นวัยแห่งการศึกษา (วัยรุ่นจะมีอายุ ระหว่าง 13 – 19 ปี ดังนั้นจึงจัดอยู่ในกลุ่มนี้)

2.         คฤหัสถาศรมหรือคฤหัสถ์ (อายุ 26 – 50 ปี) เป็นวัยแห่งการครองเรือนหรือการแต่งงาน มีครอบครัว

3.         วานปรัสถาศรมหรือวานปรัสถ์ (อายุ 51 – 75 ปี) เป็นวัยแห่งการบริการสังคม

4.         สันยัสตาศรมหรือสันยาสี (อายุ 76 – 100 ปี) เป็นวัยแห่งการกระทำเพื่อมนุษยชาติ โดยการออกบวชตลอดชีพเพื่อแสวงหาโมกษะ

71.       การบริโภคแบบมังสวิรัติเป็นแนวปฏิบัติสอดคล้องกับผู้นับถือศาสนาใดมากที่สุด

(1) พุทธ          

(2) เชน           

(3) สิกข์          

(4) ฮินดู

ตอบ 2 หน้า 202 มหาพรต 5 คือ ข้อปฏิบัติพื้นฐานของนักบวชในศาสนาเชน เช่น นักบวชต้องดำรงชีพ แบบอหิงสา นั่นคือ ต้องไม่ทำอันตรายสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย นักบวชต้องฉันอาหารแบบมังสวิรัติ และฉันมื้อเดียว นักบวชต้องถือศีลอดโดยทรมานตนด้วยการอดอาหาร ถ้าปฏิบัติเคร่งครัดก็ให้ อดอาหารจนตาย เป็นต้น

72.       สมัยใดที่อินเดียนิยมเจาะภูเขาเป็นลูก ๆ ให้เป็นถํ้าเพื่อสร้างเทวสถานและพุทธสถาน

(1) สมัยพุทธกาล       

(2) สมัยมหากาพย์     

(3) สมัยราชวงศ์เมารยะ         

(4) สมัยราชวงศ์คุปตะ

ตอบ 4 หน้า 219221 – 222 ในสมัยราชวงศ์คุปตะได้ชื่อว่าเป็น “ยุคทองของอินเดียโบราณ” โดยมีความเจริญประการหนึ่งทางด้านสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมที่เด่น ๆ คือ การเจาะภูเขา เป็นลูก ๆ ให้เป็นถํ้าเพื่อสร้างสังฆารามหรือเทวสถานและพุทธสถานที่มีชื่อเสียงที่สุดคือถ้ำอชันตา ซึ่งภาพเขียนสีรูปพระโพธิสัตว์บปัทมปาณีบนฝาผนังถํ้าที่ 1 ถือว่าเป็นจิตรกรรมชิ้นเอกของยุค

73. “จะต้องปกครองโดยธรรม จะต้องบริหารโดยธรรม จะทำให้ประชาชนชื่นชอบโดยธรรม และจะคุ้มครองประชาชนโดยธรรม ” ข้อความดังกล่าวสอดคล้องกับบุคคลในข้อใดที่สุด

(1) พระเจ้าจันทรคุปต์

(2) พระเจ้าอโศก        

(3) พระเจ้ากนิษกะ    

(4) พระเจ้าอักบาร์

ตอบ 2 หน้า 214 – 217 พระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์เมารยะหรือโมริยะ ทรงมีพระราชกรณียกิจที่สำคัญดังนี้

1.         ทรงใช้อำนาจปกครองราษฎรแบบพ่อปกครองลูก และทรงเป็นธรรมราชา ดังคำกล่าวใน ศิลาจารึกพิเศษแห่งกลิงคะฉบับที่ 1 ว่า “…จะต้องปกครองโดยธรรม จะต้องบริหารโดยธรรม จะทำให้ประชาชนชื่นชอบโดยธรรม และจะคุ้มครองประชาชนโดยธรรม”

2.         ทรงส่งสมณทูตออกไปเผยแผ่ศาสนารวม 9 สายไปทั่วอินเดียทุกภาคและออกนอก ประเทศอินเดียเป็นครั้งแรก

3.         โปรดให้สร้างพระธรรมจักรขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนพระธรรมคำสอน เช่น ปางปฐมเทศนาจะทำเป็นภาพพระธรรมจักรและมีกวางหมอบ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงโปรดปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันหรือป่ากวางแห่งกรุงราชคฤห์ เป็นต้น

74. “เรื่องบางเรื่องบอกแต่ภรรยา เรื่องบางเรื่องนั้นหนาบอกสหาย เรื่องบางเรื่องบอกเฉพาะเจ้าลูกชาย เรื่องบางเรื่องไม่อาจบอกทุกผู้คน” (จากนิทานปัญจตันตระ) ถามว่าเป็นมรดกด้านอารยธรรมสมัยใด

(1) ราชวงศ์เมารยะ    

(2) ราชวงศ์คุปตะ       

(3) ราชวงศ์กุษาณะ   

(4) ราชวงศ์โมกุล

ตอบ 2 หน้า 219 – 220 ในสมัยราชวงศ์คุปตะมีวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงมากชิ้นหนึ่งคือ นิทานปัญจตันตระ(หลักคำสอน 5 ประการ) ซึ่งแต่งเป็นร้อยแก้วผสมกับคติพจน์ในแบบร้อยกรองที่สอดแทรก เล่ห์เหลี่ยมและกลอุบายต่าง ๆ เพื่อเตือนใจผู้อ่าน โดยมีสาระสำคัญ เช่น การจะบอกเรื่องราว ใด ๆ กับใคร ต้องดูให้เหมาะสมกับเรื่องที่จะบอกหรือปรึกษา ดังภาษิตที่ว่า “เรื่องบางเรื่อง บอกแต่ภรรยา เรื่องบางเรื่องนั้นหนาบอกสหาย เรื่องบางเรื่องบอกเฉพาะเจ้าลูกชาย เรื่องบางเรื่องไม่อาจบอกทุกผู้คน” เป็นต้น

75.       พระธรรมจักรและกวางหมอบ เป็นสัญลักษณ์แทนปางปฐมเทศนา โปรดปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (ป่ากวาง) ถามว่าเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยใด

(1) พระเจ้าพิมพิสาร   

(2) พระเจ้าอชาติศัตรู 

(3) พระเจ้าอโศก        

(4) พระเจ้ามิลินท์

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 73. ประกอบ

76.       “เป็นหยาดนํ้าตาบนใบหน้าอันงดงามแห่งนิรันดรกาล” (A drop of tear on the beautiful face of eternityเป็นวาทะของรพินทรนาถ ฐากูร นักเขียนวรรณกรรมรางวัลโนเบลที่มีต่อสิ่งใด

(1) ปราสาททัชมาฮาล

(2) ป้อมแดง

(3) สุวรรณวิหาร         

(4) อนุสาวรีย์มหาตมะ คานธี

ตอบ 1 หน้า 226 ปราสาททัชมาฮาลสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชาห์เจฮาน เพื่อใช้เป็นสุสานเก็บพระศพของพระมเหสีมุมทัช โดยทัชมาฮาลจะสร้างด้วยหินอ่อนสีขาว ประดับประดาด้วยอัญมณีที่ประมาณค่าไม่ได้ เป็นศิลปะฮินดูผสมมุสลิม และจัดเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความงดงามจนนับเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ในปัจจุบันทัชมาฮาลได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลก ทั้งนี้ รพินทรนาถ ฐากูร นักเขียนวรรณกรรมรางวัลโนเบล ได้ให้คำจำกัดความของปราสาทแห่งนี้ว่า “เป็นหยาดนํ้าตาบนใบหน้าอันงดงามแห่งนิรันดรกาล” (A drop of tear on the beautiful face of eternity)

77.       ข้อใดมิใช่คุณสมบัติของศาสนาเชน

(1) อหิงสาเป็นหัวใจคำสอน   

(2) ปฏิเสธการฆ่าสัตว์บูชายัญ

(3) เชื่อในเรื่องพระเจ้า

(4) มีหลักคำสอนคล้ายคลึงกับพุทธศาสนา

ตอบ 3 หน้า 202 – 203205 – 207 ศาสนาพุทธและศาสนาเชนจะมีหลักคำสอนที่คล้ายคลึงกันมากที่สุด โดยเฉพาะหลักอนุพรต 5 ของเชนจะเหมือนกับศีล 5 ของพุทธ นอกจากนี้ทั้ง 2 ศาสนา ยังมีทัศนะที่ขัดแย้งกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เหมือนกันคือ ปฏิเสธเรื่องพระเจ้าสร้างโลก ระบบวรรณะ การสวดอ้อนวอนหรือบวงสรวงเพื่อขอพรจากพระเจ้า การล้างบาปในแม่นํ้าคงคาอันศักดิสิทธิ์ และที่สำคัญก็คือ ปฏิเสธเรื่องการฆ่าสัตว์บูชายัญ ซึ่งตรงกับหลักคำสอนอันเป็นหัวใจของศาสนาเชนคือ การไม่เบียดเบียน (หลักอหิงสา) เป็นคุณธรรมอย่างยิ่ง

78.       คุณสมบัติที่สำคัญของพระเจ้าอักบาร์ในเรื่องใดที่ทำให้พระองค์ทรงปกครองอินเดียได้อย่างสงบสุข

(1) ทรงเป็นธรรมราชา

(2) ทรงมีขันติธรรมในศาสนา

(3) ทรงใช้อุดมการณ์แบบพ่อปกครองลูก      

(4) ทรงแบ่งการปกครองอาณาจักรออกเป็นมณฑล

ตอบ 2 หน้า 224 – 225(คำบรรยาย) พระเจ้าอักบาร์มหาราช ทรงเป็นหนึ่งในพระจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ ในสมัยจักรวรรดิโมกุลแห่งอินเดีย โดยเป็นผู้ที่ทำให้จักรวรรดิโมกุลเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด และมีอาณาเขตกว้างขวาง ซึ่งผลงานที่สำคัญประการหนึ่งของพระองค์ก็คือ ทรงมีขันติธรรม ในศาสนาหรือให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจหลักในการปกครองประเทศ เนื่องจากทำให้ทุกศาสนาอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติและทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข

79.       มหาอำนาจตะวันตกชาติแรกที่เข้าไปมีอิทธิพลในอินเดีย สามารถแย่งตลาดการค้าจากพ่อค้าอาหรับได้สำเร็จ ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ได้แก่ชาติใด

(1) ดัตช์          

(2) ฝรั่งเศส     

(3) โปรตุเกส  

(4) อังกฤษ

ตอบ 3 หน้า 231(HIS 1003 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 129133387) โปรตุเกสเป็นมหาอำนาจตะวันตกชาติแรกที่เข้าไปมีอิทธิพลสูงสุดในอินเดียในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยได้เดินเรือเข้ามาค้าขายในอินเดียแถบชายฝั่งทะเลตะวันตกนับจากบอมเบย์ไปจนถึงเกาะลังกาควบคู่ไปกับการเผยแผ่ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก จนสามารถแย่งตลาดการค้ามาจากพ่อค้าอาหรับที่มีอิทธิพล อยู่ในดินแดนนี้ได้สำเร็จ ทั้งนี้ศูนย์กลางการค้าที่ใหญ่ที่สุดของโปรตุเกสจะอยู่ที่เมืองกัว (Goa)

80.       อังกฤษถือเป็นนโยบายสำคัญที่จะไม่แทรกแซงทางด้านสังคมของอินเดียภายหลังเหตุการณ์ใด

(1) ยึดเมืองกัลกัตตา  

(2) กบฏซีปอย

(3) แบ่งแคว้นเบงกอล

(4) ออก พ.ร.บ. มหาวิทยาลัย

ตอบ 2 หน้า 234447 – 448 (เล่มเก่า) ภายหลังเหตุการณ์กบฏซีปอย รัฐบาลอังกฤษได้ดำเนินนโยบาย ปกครองอินเดียเป็นแบบอนุรักษนิยม โดยถือเป็นนโยบายสำคัญที่จะไม่แทรกแซงทางด้านลังคม และขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอินเดีย แต่จะปฏิบัติกิจกรรมทางสังคมเฉพาะในกลุ่มของคนอังกฤษเท่านั้น นอกจากนี้ยังทำให้องค์ประมุขของอังกฤษเข้ามาปกครองอินเดียแทนบริษัท อินเดียตะวันออกตามพระราชบัญญัติ The Better Government of India 1858 อีกด้วย

81.       ข้อใดจัดเป็นเหตุปัจจุบันทันด่วนที่ทำให้เกิดกบฏซีปอย

(1) ออกกฎหมายให้หญิงม่ายแต่งงานใหม่ได้

(2) The Doctrine of Lapse

(3) ออกกฎหมายยกเลิกการฆ่าคนบูชายัญ

(4) อังกฤษนำปืนชนิดใหม่ (Enfield Rifleมาให้ทหารซีปอยใช้

ตอบ 4 หน้า 232 – 234 Lord Dalhousie เป็นข้าหลวงใหญ่ชาวอังกฤษที่ได้ออกกฎหมายแทรกแซงอินเดียหลายเรื่อง จนเป็นชนวนที่ทำให้เกิด “กบฏซีปอย” ขึ้นในปี ค.ศ. 1857 ซึ่งการแทรกแซงดังกล่าวมีดังนี้

1.         ออกกฎหมายยึดครองดินแดนที่เรียกว่า “The Doctrine of Lapse” ทำให้ประเพณี ในการสืบราชสมบัติของเจ้าผู้ครองนครเปลี่ยนไป

2.         ออกกฎหมายสำรวจโฉนดที่ดิน ซึ่งกำหนดว่า ถ้าเจ้าของที่ดินไม่มีโฉนดมาแสดงก็ให้ยึด เป็นของอังกฤษ

3.         ออกกฎหมายแทรกแซงทางด้านสังคมและศาสนา เช่น ให้ยกเลิกพิธีสุตติ (Suttee),ออกกฎหมายให้หญิงม่ายแต่งงานใหม่ได้ยกเลิกการฆ่าเด็กทารกแรกเกิดและประเพณี ฆ่าคนบูชายัญ ฯลฯ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ถือว่าเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดกบฏซีปอย

4.         สาเหตุปัจจุบันทันด่วนคือ อังกฤษได้นำปืนเล็กยาว (Enfield Rifleมาให้ทหารซีปอยใช้ โดยได้นำนํ้ามันหมูและไขวัวมาใช้เป็นนํ้ามันหล่อลื่นลูกปืนชนิดใหม่ ทำให้ทหารซีปอย ทั้งมุสลิมและฮินดูรู้สืกว่าเป็นการดูหมิ่นศาสนาของตน

82.       นักชาตินิยมคนใดที่หัวรุนแรงที่สุด และไม่ยอมรับการปฏิรูปใด ๆ ในแนวทางของอังกฤษ แต่กลับฟื้นฟู ขนบธรรมเนียมโบราณของอินเดียขึ้นมาใหม่ เพื่อปลุกจิตสำนึกชาตินิยม

(1) Tilak    

(2) Nehru 

(3) Jinnah

(4) Benerjee

ตอบ 1 หน้า 239(คำบรรยาย) พาล คงคาธาร ติลัก (Bal Gangadhar Tilakเป็นนักชาตินิยมหัวรุนแรง ที่สุดของอินเดีย โดยเขาจะไม่ยอมรับการปฏิรูปใด ๆ ในแนวทางของอังกฤษ นอกจากนี้ยังเป็น ผู้บุกเบิกการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดชาตินิยมของอินเดียมาเป็นขบวนการประชาชนโดยยึตคติว่า “การปกครองตนเองเป็นสิทธิอันชอบธรรมของประชาชน และประชาชนต้องการปกครองตนเอง” รวมทั้งเป็นผู้ฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีโบราณของอินเดียขึ้นมาใหม่ เพื่อปลุกจิตสำนึกชาตินิยมในหมู่ชาวอินเดีย ทั้งนี้ติลักได้รับสมญานามจากชาวอินเดียว่า “โลกมานยะ” แต่ชาวอังกฤษ กลับตั้งฉายาว่าเป็น “บิดาแห่งความยุ่งยากในประวัติศาสตร์อินเดีย”

83.       ใครได้ชื่อว่าเป็นผู้ให้กำเนิดสันนิบาตมุสลิม

(1) Ranade        

(2) Gokhale       

(3) Jinnah

(4) Sir Syed Ahmed Khan

ตอบ 4 หน้า 241 เซอร์ไซยิด อาหมัด ข่าน (Sir Syed Ahmed Khanเป็นมุสลิมคนแรกที่ลุกขึ้นมา ปฏิรูปการศึกษาด้านสังคมและศาสนาอิสลาม ทั้งนี้เขาได้เรียกร้องให้ชาวมุสลิมร่วมมือกัน ก่อตั้งพรรคมุสลิมของตนขึ้นและเป็นผลสำเร็จในปี ค.ศ. 1906 ชื่อว่า “สันนิบาตมุสลิม” (Muslim Leagueโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ ต่อสู้เพื่อชาวอินเดียที่เป็นมุสลิมโดยเฉพาะ

84.       ข้อใดเป็นหัวใจของการต่อสู้ของขบวนการสัตยาเคราะห์

(1)       การต่อสู้ทุกรูปแบบเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกราช

(2)       การดื้อแพ่งโดยไม่ให้ความร่วมมือ

(3)       การต่อสู้โดยใช้พลังธรรมะ ถ้าไม่สำเร็จจึงค่อยใช้กำลัง

(4)       การต่อสู้โดยไม่ใช้กำลัง แต่ใช้พลังธรรมะและการเจรจาต่อรอง

ตอบ 4 หน้า 241 – 242 มหาตมะ คานธี เป็นนักชาตินิยมที่เรียกร้องเอกราชให้อินเดีย โดยใช้ วิธีการต่อสู้ทีเรียกว่า “การต่อต้านเงียบ” หรือ “ขบวนการสัตยาเคราะห์” ซึ่งเป็นการต่อสู้ โดยสันติวิธีและไม่ใช้กำลัง แต่ใช้พลังธรรมะและการเจรจาต่อรอง โดยสัตยาเคราะห์ ประกอบด้วยหลักใหญ่ 3 ประการ ได้แก่

1.         สัตยะ คือ ความจริง

2.         อหิงสา คือ ความไม่เบียดเบียนให้เสียเลือดเนื้อ ไม่ใช้กำลัง หรือวิธีรุนแรง

3.         การดื้อแพ่ง คือ การไม่ปฏิบัติตาม ไม่เชื่อฟัง และไม่ใช้อาวุธต่อสู้กับผู้ปกครอง

85.       สาเหตุสำคัญที่สุดที่เป็นแรงกระตุ้นให้การเรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเองของชาวอินเดียรุนแรงยิ่งขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 คือเรื่องใด        

(1) การปฏิวัติฝรั่งเศส

(2) การปฏิวัติรัสเซีย   

(3) ญี่ปุ่นรบชนะรัสเซีย

(4) คำแถลงการณ์ของประธานาธิบดีวิลสันแห่งสหรัฐอเมริกา เรื่องให้ประชาชนมีสิทธิเลือกรัฐบาลปกครองตนเอง

ตอบ 4 หน้า 243495 – 496 (เล่มเก่า) คำแถลงการณ์ของประธานาธิบดีวิลสันแห่งสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1917 โดยเฉพาะประเด็นที่ 14 เรื่องที่ให้ประชาชนมือัตตาวินิจฉัยหรือมีสิทธิเลือกรัฐบาล ขึ้นมาปกครองตนเองนั้น ได้กลายมาเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่เป็นแรงกระตุ้นให้การเรียกร้องสิทธิ ในการปกครองตนเองของชาวอินเดียรุนแรงยิ่งขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งในขณะนั้น รัฐบาลอังกฤษยังลังเลที่จะตระหนักถึงคำเรียกร้องของอินเดีย

86.       ทำไมชาวอินเดียจึงชอบ The MorleyMinto Reforms

(1)       เป็นครั้งแรกที่ชาวอินเดียได้สิทธิเลือกรัฐบาลตนเอง

(2)       เป็นครั้งแรกที่ชาวอินเดียได้เข้าไปนั่งในสภา

(3)       เป็นครั้งแรกที่ชาวอินเดียได้เข้าไปทำงานในหน่วยงานของรัฐ

(4)       เป็นครั้งแรกที่ชาวอินเดียมีเสรีภาพในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

ตอบ 2 หน้า 242 – 243 ในปี ค.ศ. 1909 อังกฤษได้ออกกฎหมายปฏิรูปมอร์เลย์-มินโต (The MorleyMinto Reformsซึ่งมีสาระสำคัญคือ การเปิดโอกาสให้ชาวอินเดียได้เข้าไปนั่งในสภาเป็นครั้งแรก ด้วยการให้สิทธิชาวอินเดียเลือกผู้แทน 2 คน เพื่อเข้าเป็นสมาชิกสภารัฐมนตรีว่าการกระทรวง อินเดียที่กรุงลอนดอน โดยซาวอินเดีย 1 คนจะประจำอยู่ในสภาบริหารของข้าหลวงใหญ่อังกฤษ ในส่วนกลาง ส่วนอีกคนหนึ่งจะประจำอยู่ในสภาระดับท้องถิ่นคือ สภาบริหารประจำแคว้นแต่ละแคว้นของอินเดีย ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ถูกมองว่าเป็นการปูพื้นฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาให้แก่อินเดีย

87.       ทำไมชาวอินเดียจึงไม่ชอบ The Rowlatt Act

(1)       อังกฤษห้ามชาวอินเดียมีอาวุธในครอบครอง

(2)       อังกฤษห้ามชาวอินเดียออกหนังสือพิมพ์เป็นภาษาท้องถิ่น

(3)       อังกฤษยกเลิกอำนาจของผู้พิพากษาชาวพื้นเมืองที่มีสิทธิพิพากษาคดีคู่ความที่เป็นชาวยุโรปในตำบลได้

(4)       อังกฤษให้สิทธิเจ้าหน้าที่จับกุมคุมขังผู้คิดล้มล้างรัฐบาลโดยไม่ต้องดำเนินการตามขบวนการยุติธรรม

ตอบ 4 หน้า 243 จากการที่นักชาตินิยมอินเดียซึ่งนำโดยติลัก ได้มีการเรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเองที่เข้มข้นและรุนแรง ทำให้อังกฤษออกกฎหมายเพื่อป้องกันการจลาจลที่เรียกว่า “กฎหมายโรว์แลตต์” (The Rowlatt Act of 1919) ซึ่งมีสาระสำคัญว่า รัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ มีสิทธิอำนาจในการจับกุมคุมขังผู้ต้องสงลัยว่าก่อการจลาจลหรือคิดล้มล้างรัฐบาลได้ทันที โดยไม่ต้องดำเนินการสอบสวนหรือขึ้นศาลตามขบวนการยุติธรรม ซึ่งนักชาตินิยมมองว่า เป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของชาวอินเดียอย่างรุนแรง จนเป็นสาเหตุให้คานธีลุกขึ้นมา เป็นผู้นำในการประท้วงอังกฤษเสียเอง

88.       ท่านคิดว่าชาวปากีสถานกับชาวบังกลาเทศมีเรื่องใดเหมือนกันที่สุด

(1) ผิวพรรณ   

(2) ภาษา        

(3) ศาสนา      

(4) คิลปวัฒนธรรม

ตอบ 3 (คำบรรยาย) จากการเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของชาวปากีสถาน (ปากีสถานตะวันตก) กับชาวบังกลาเทศ (ปากีสถานตะวันออก) พบว่า ชาวปากีสถาน กับชาวบังกลาเทศจะมีความแตกต่างกัน ทั้งในเรื่องเชื้อชาติ วิถีชีวิต ผิวพรรณ ภาษา และศิลปวัฒนธรรม แต่มีสิ่งที่เหมือนกันเพียงเรื่องเดียวคือ คนส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมซึ่งนับถือ ศาสนาอิสลาม

89.       มรดกอารยธรรมอินเดียเรื่องใดที่ทำให้ชาวอินเดียยิ่งใหญ่กว่าจีน ทั้งนี้เพราะจีนรับอารยธรรมด้านดังกล่าว ไปจากอินเดีย

(1) ศาสนา      

(2) ตัวเลขอารบิก       

(3) ระบบเศรษฐกิจ    

(4) รูปแบบการปกครอง

ตอบ 1 หน้า 174(คำบรรยาย) อินเดียโบราณได้ชื่อว่าเป็นแหล่งกำเนิดของ 4 ศาสนาสำคัญของโลก คือ พราหมณ์-ฮินดู เชน พุทธ และสิกข์ ซึ่งจากมรดกอารยธรรมในด้านศาสนานี้เองที่ทำให้ ชาวอินเดียยิ่งใหญ่กว่าจีน ทั้งนี้เพราะจีนรับอารยธรรมด้านดังกล่าวไปจากอินเดียนั่นเอง

90. “สาธุ! เจ้าพ่อ ช่วยให้ลูกเรียนจบรามด้วยเถิด ถ้าจบเมื่อใดลูกจะนำพิซซ่า 1 ชุด กับไวน์ 1 ขวด มาถวายเจ้าพ่อ” จากข้อความดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของศาสนาใดมากที่สุด

(1) พุทธ          

(2) พราหมณ์  

(3) เชน           

(4) สิกข์

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 77. ประกอบ

91.       ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงเป็นที่อยู่ของชนกลุ่มใด

(1) พม่า          

(2) ลาว           

(3) กัมพูชา     

(4) เวียดนาม

ตอบ 4 หน้า 257 พื้นที่ราบลุ่มแม่นํ้าผืนใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย 3 เขต ดังนี้

1.         ที่ราบลุ่มแม่นํ้าอิระวดีและสาละวิน ปัจจุบันเป็นเขตที่ตั้งถิ่นฐานของชาวมอญและพม่า

2.         ที่ราบลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยาและแม่น้ำโขง เป็นที่ราบลุ่มที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันเป็นเขตที่ตั้งถิ่นฐานของคนไทย ลาว และกัมพูชา (เขมร)

3.         ที่ราบลุ่มแม่นํ้าแดง เป็นเขตที่ตั้งถิ่นฐานของชนกลุ่มตระกูลไทหรือชนชาติไทยในปัจจุบัน ชาวจีน และชาวเวียดนาม

92.       ข้อใดคือประเทศที่เกิดใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) สิงคโปร์    

(2) บรูไน         

(3) ติมอร์ตะวันออก    

(4) อินโดนีเซีย

ตอบ 3 หน้า 256 สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์เลสเต (Democratic Republic of TimorLesteหรือติมอร์ตะวันออก เป็นประเทศที่พึ่งเกิดขึ้นใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเคยเป็น อาณานิคมของโปรตุเกสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2063 ภายหลังโปรตุเกสถอนตัวออกไป จึงถูกผนวก เข้าเป็นจังหวัดที่ 27 ของอินโดนีเซียในปี พ.ศ. 2518 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2542 ติมอร์เลสเต จึงได้แยกตัวเป็นอิสระและได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545

93.       วัฒนธรรมอันยาเธียนเป็นวัฒนธรรมยุคหินเก่าในประเทศใด

(1) พม่า          

(2) ไทย           

(3) มาเลเซีย   

(4) อินโดนีเซีย

ตอบ 1 หน้า 266 ยุคหินเก่า มีอายุประมาณ 500,000 – 10,000 ปีมาแล้ว วัฒนธรรมหินเก่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีชื่อวัฒนธรรมแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศตามสถานที่ที่พบก่อน ได้แก่ วัฒนธรรมอันยาเธียนในพม่า วัฒนธรรมฟิงนอยเอียนในไทย วัฒนธรรมแทมปาเนียน ในมาเลเซีย และวัฒนธรรมปัตจิตาเนียนในอินโดนีเซีย

94.       ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับยุคหินเก่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) มนุษย์อาศัยอยู่ตามถ้ำ     

(2) ใช้เครื่องมือหินกะเทาะ

(3) มีการเลี้ยงสัตว์     

(4) มีบรรพบุรุษมนุษย์อาศัยอยู่

ตอบ 3 หน้า 266 ยุคหินเก่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีลักษณะสังคมเป็นแบบสังคมนายพรานและยังคงเป็นทาสของธรรมชาติอยู่ นั่นคือ มนุษย์ดำรงชีวิตด้วยการหาของป่าและล่าสัตว์ ไม่มีการตั้งถิ่นฐานที่แน่นอน มักอาศัยอยู่ตามถํ้า เพิงผา หรือที่ราบริมแม่นํ้า มีการนำหินกรวดแม่นํ้ามาทำเป็นเครื่องมือหินกะเทาะ ซึ่งเจ้าของเครื่องมือหินกะเทาะเหล่านี้ก็คือ กลุ่มบรรพบุรุษของมนุษย์นั่นเอง

95.       ข้อใดคือโบราณวัตถุสำคัญของวัฒนธรรมดองซอน

(1) ภาชนะดินเผาสามขา       

(2) กลองมโหระทึก

(3) ภาชนะดินเผาลายเขียนสี 

(4) เครื่องประดับทำจากกระดูกสัตว์

ตอบ 2 หน้า 270(คำบรรยาย) วัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในยุคเหล็กหรือยุคโลหะ ได้แก่

1.         วัฒนธรรมดองซอน เป็นวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นทางตอนเหนือของเวียดนาม โดยมีการขุดค้นพบ โบราณวัตถุที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้หลายอย่างที่ทำจากสำริดและเหล็ก เซช่น มีดสั้น ดาบ ขวาน เครื่องประดับ และที่เด่นที่สุดก็คือ กลองมโหระทึกสำริด

2.         วัฒนธรรมบ้านเชียง เป็นวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นที่ อ.หนองหาน จ.อุดรธานี โดยมีการขุดค้นพบภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดงบนพื้นสีขาวนวล ซึ่งมีอายุราว 2,300 – 1,800 ปี

96.       บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีที่อยู่ในจังหวัดใด

(1) กาญจนบุรี

(2) อุบลราชธานี         

(3) อำนาจเจริญ         

(4) อุดรธานี

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 95. ประกอบ

97.       ข้อใดไม่ใช่สินค้าที่ชาวอินเดียต้องการจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) เครื่องเทศ 

(2) ทองคำ      

(3) ไม้หอม      

(4) นํ้าหอม

ตอบ 4 หน้า 271 – 272 สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ชาวอินเดียต้องการเข้ามาติดต่อสัมพันธ์กับดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็คือ ต้องการสินค้าจากภูมิภาคนี้ อันได้แก่ ทองคำ เครื่องเทศ ไม้หอม และยางไม้หอม โดยเฉพาะทองคำนั้นชาวอินเดียมีความต้องการมากที่สุด

98.       “เย่ห์” เป็นชื่อที่จีนเรียกชนกลุ่มใด

(1) เวียดนาม  

(2) ลาว           

(3) ไทย           

(4) กัมพูชา

ตอบ 1 หน้า 274 – 275289 หลังจากที่จีนสมัยราชวงศ์จิ๋นเข้าปกครองเวียดนามบริเวณแม่นํ้าแดง และแม่นํ้าดำในตังเกี๋ยและอันนัมตอนเหนือ จีนได้ให้ชาวเวียดนามหรือที่ชาวจีนเรียกว่า “เย่ห์” ปกครองกันเอง ซึ่งต่อมาจีนก็เรียกอาณาจักรของชาวเวียดนามนี้ว่า “นานเย่ห์หรือนามเวียด” (Nam Viet)

99.       ชาวเขมรโบราณเชื่อว่าบรรพบุรุษของพวกเขาคือใคร

(1) พญานาค  

(2) สิงห์          

(3) พระศิวะ    

(4) ฤษี

ตอบ 1 หน้า 280 ตามตำนานของชาวกัมพูชากล่าวว่า หลังจากพราหมณ์ชาวอินเดียชื่อ โกณฑัญญะ ได้อภิเษกสมรสกับพระนางโสมาซึ่งเป็นธิดาของพญานาคแล้ว พญานาคซึ่งเป็นพ่อจึงช่วยดื่มนํ้าทะเลจนเหือดแห้งเพื่อสร้างอาณาจักรให้แก่บุตรเขย และตั้งซื่ออาณาจักรนี้ว่า “กัมโพ” ดังนั้นชาวเขมรโบราณจึงเชื่อว่าพญานาคเป็นบรรพบุรุษของพวกเขานั่นเอง

100.    ข้อใดต่อไปนี้เก่าแก่ที่สุด

(1) เจนละ      

(2) ฟูนัน         

(3) ทวารวดี    

(4) จามปา

ตอบ 2 หน้า 279 – 281 จากเอกสารของจีนได้บันทึกเอาไว้ว่า ฟูนันเป็นอาณาจักรที่เก่าแก่ที่สุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 โดยพราหมณ์ ชาวอินเดียชื่อ โกณฑัญญะ มีเมืองหลวงชื่อ วยาธปุระ มีเมืองท่าที่สำคัญคือ เมืองออกแก้ว และมีศูนย์กลางของอาณาจักรอยู่ทางตอนใต้ของประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน

101.    ข้อใดคือความสำคัญของเมืองออกแก้ว

(1) เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรจามปา       

(2) เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา

(3) เป็นเมืองท่าสำคัญของอาณาจักรฟูนัน     

(4) เป็นแหล่งผลิตเหล็กที่สำคัญ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 100. ประกอบ

102.    ยุคเมืองพระนครของเขมรโบราณเริ่มต้นขึ้นในสมัยกษัตริย์พระองค์ใด

(1) พระเจ้าชัยวรมันที่ 1

(2) พระเจ้าชัยวรมันที่ 2

(3) พระเจ้าชัยวรมันที่ 5

(4) พระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ตอบ 2 หน้า 285 เขมรโบราณยุคเมืองพระนครเริ่มต้นขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าชายเขมร ที่เสด็จกลับมาจากชวา โดยทรงรวบรวมเจนละบกและเจนละนํ้าเข้าด้วยกันได้สำเร็จ และทรงให้ชื่อใหม่ว่า “อาณาจักรกัมพูชา ” จากนั้นจึงสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ แห่งอาณาจักรกัมพูชา ในสมัยนี้ถือว่าเป็นยุคที่เขมรโบราณรุ่งเรืองที่สุด และมีการสร้างราชธานี ขึ้นหลายแห่ง ได้แก่ อินทรปุระ หริหราลัย อมเรนทรปุระ และมเหนทรบรรพต

103.    ปราสาทบายนสร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใด

(1) เป็นศูนย์กลางของเมืองพระนครหลวง     

(2) เป็นพุทธสถาน

(3) เป็นที่พักคนเดินทาง         

(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 286573 (เล่มเก่า)(คำบรรยาย) ปราสาทบายนสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โดยได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนานิกายมหายาน ลักษณะเด่นของปราสาทบายนคือ บนยอดของปรางค์ทุกองค์จะมีการแกะสลักเป็นรูปพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรผันพระพักตร์ออกไปทั้งสี่ทิศโดยมีจุดประสงค์ในการสร้างก็เพื่อเป็นศูนย์กลางของเมืองพระนครหลวงหรือนครธม และเป็นพุทธสถานหรือศาสนบรรพตประจำราชธานีบริเวณกลางมืองพระนศร

104.    “ลินยี่” หมายถึงอาณาจักรใด

(1) พุกาม       

(2) ชวา           

(3) จามปา      

(4) เวียดนาม

ตอบ 3 หน้า 287 ตามบันทึกของจีนระบุว่า อาณาจักรจามปาหรือลินยี่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอาณาจักรจีน หรือบริเวณตอนกลางของเวียดนาม และอยู่ทางภาคเหนือของอาณาจักรฟูนัน ซึ่งในปัจจุบันก็คือ บริเวณที่เป็นเมืองเว้ เมืองกวังนัม เมืองถัวเถียน เมืองผันรัง และเมืองญาตรังของเวียดนาม ทั้งนี้ลักษณะของชาวจามโดยทั่วไปจะมีลูกตาลึก จมูกเป็นสันโด่ง ผมดำและหยิก

105.    ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่กลุ่มเมืองมอญ

(1) พะโค        

(2) สะเทิม      

(3) เมาะตะมะ

(4) พุกาม

ตอบ 4 หน้า 292 – 294299 กลุ่มชนเชื้อชาติมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณพม่าตอนล่างด้านตะวันออกของแม่นํ้าอิระวดี ซึ่งชาวพม่าจะเรียกพวกมอญว่า “เตลง” ทั้งนี้พวกมอญได้ตั้ง เมืองหลวงอยู่ที่เมืองสะเทิมหรือเมืองสุธรรมวดี บริเวณปากอ่าวเมืองเมาะตะมะ ต่อมาเมื่อ มอญถูกชนชาติพม่ารุกราน จึงถอยร่นลงมาอยู่ทางตอนใต้และสถาปนารัฐของตนขึ้นมาใหม่ที่ เมืองพะโคหรือเมืองหงสาวดีในปี พ.ศ. 1368

106.    ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับอาณาจักรพุกาม

(1) รับพุทธศาสนามาจากอินเดียโดยตรง       

(2) กษัตริย์องค์สำคัญคือ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้

(3) เป็นอาณาจักรแรกที่ปกครองโดยชาวพม่า           

(4) ที่ตั้งอาณาจักรมีความอุดมสมบูรณ์

ตอบ 3 หน้า 294 – 296 พุกามเป็นอาณาจักรแรกที่ปกครองโดยชาวพม่า โดยตั้งอยู่บริเวณตอนกลาง ของลุ่มแม่น้ำอิระวดี และอยู่ในเขตที่แห้งแล้งที่สุดของพม่า กษัตริย์องค์สำคัญของอาณาจักรพุกาม คือ พระเจ้าอโนรธา ซึ่งได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองและความยิ่งใหญ่ให้กับอาณาจักรพุกาม อย่างแท้จริงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์พม่า โดยพระองค์ทรงขยายดินแดนออกไปโดยอ้าง สิทธิธรรมทางพุทธศาสนาในการโจมตีและยึดครองดินแดนต่าง ๆ ซึ่งดินแดนสำคัญที่เข้าไป ยึดครองก็คือ เมืองสะเทิม

107.    โบราณสถานสมัยทวารวดีส่วนใหญ่ใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง

(1) อิฐ 

(2) หินทราย   

(3) ศิลาแลง   

(4) ปูน

ตอบ 1 หน้า 302 โบราณสถานส่วนใหญ่ในสมัยทวารวดีจะใช้อิฐเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง อาจมีการใช้ศิลาแลงบ้างแต่ไม่พบการใช้หินในการก่อสร้าง สำหรับอิฐที่ใช้นั้นเป็นอิฐเผาอย่างดีที่ไส้สุกตลอด เนื้ออิฐแข็ง มีขนาดใหญ่ มีส่วนผสมของแกลบข้าวเหนียวปลูก และมีการตกแต่ง โดยใช้ปูนปั้นประดับ

108.    ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับพ่อขุนรามคำแหง

(1) พระนามเดิมคือ กัมรเตงอัญศรีอินทรบดีนทราทิตย์          

(2) เป็นโอรสของพ่อขุนบางกลางหาว

(3) เคยปกครองที่เมืองศรีสัชนาลัย    

(4) เป็นพระสหายกับพระยามังราย

ตอบ 1 หน้า 303 พ่อขุนรามคำแหงเป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์หรือพ่อขุนบางกลางหาว ซึ่งมีพระนามเดิมคือ กัมรเตงอัญศรีอินทรบดีนทราทิตย์ ต่อมาพ่อขุนรามคำแหงได้ขึ้นปกครอง เมืองศรีสัชนาลัยสืบต่อจากพระเชษฐานามว่าพ่อขุนบานเมือง จากนั้นก็เสด็จขึ้นเสวยราชย์ เป็นกษัตริย์ครองอาณาจักรสุโขทัยและพัฒนาฟื้นฟูบูรณะบ้านเมืองทุกด้านจนมีความมั่นคง และสงบสุข ทั้งนี้พระองค์ทรงมีพระสหาย 2 องค์ คือ พระยามังราย เจ้าเมืองเชียงราย และพระยางำเมือง เจ้าเมืองพะเยา

109.    ข้อใดกล่าวถึงกรุงศรีอยุธยาถูกต้อง

(1) วัดที่สำคัญที่สุดของกรุงศรีอยุธยาคือ วัดราชบูรณะ         

(2) มีราชวงศ์ปกครอง 6 ราชวงศ์

(3) ไม่สามารถผนวกสุโขทัยเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาได้สำเร็จ

(4) เป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของภูมิภาค

ตอบ 4 หน้า 305 – 307 กรุงศรีอยุธยาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นราชธานีของไทยในปี พ.ศ. 1893 ต่อมาในปี พ.ศ. 1981 อาณาจักรอยุธยาสามารถผนวกเอาอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาได้สำเร็จ และตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 กรุงศรีอยุธยาก็เข้าสู่ยุคทองของศิลปะและวิทยาการ โดยมีการสร้างวัดทั้งในเมืองหลวงและหัวเมืองต่าง ๆ ที่สำคัญที่สุดคือ วัดพระศรีสรรเพชญ จนกระทั่งในสมัยพระเจ้าปราสาททอง กรุงศรีอยุธยาก็มีความมั่งคั่งสมบูรณ์ และเป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้อาณาจักรอยุธยามีกษัตริย์ปกครองทั้งหมด 34 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง สุพรรณภูมิ สุโขทัย ปราสาททอง และบ้านพลูหลวง

110.    คชมาดา เป็นเสนาบดีคนสำคัญของอาณาจักรใด

(1) ศรีวิชัย      

(2) สิงหะส่าหรี

(3) มัชปาหิต   

(4) เคดีรี

ตอบ 3 หน้า 315 – 316 มัชปาหิตเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจและความเจริญสูงสุดในประวัติศาสตร์ของอินโดนีเซีย โดยผู้ที่มีความสามารถและมีส่วนสำคัญในการขยายอำนาจของมัชปาหิตก็คือ มหาเสนาบดีคนสำคัญชื่อ คชมาดา (Gajah Madaซึ่งได้ดำเนินนโยบายแผ่อำนาจออกไปยัง เกาะอื่น ๆ ในหมู่เกาะอินโดนีเซีย และจัดตั้งสหพันธรัฐอินโดนีเซียขึ้น ทั้งนี้หลังจากที่คชมาดา เสียชีวิต อาณาจักรมัชปาหิตก็เสื่อมลงตามลำดับ

111.    ข้อใดไม่ใช่แรงจูงใจที่ทำให้ชาวยุโรปเดินทางเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) ทาส

(2) การปฏิวัติอุตสาหกรรม     

(3) การค้า      

(4) การเผยแผ่ศาสนาคริสต์

ตอบ 1 หน้า 323 – 324591 – 592 (เล่มเก่า)(คำบรรยาย) แรงจูงใจสำคัญที่ทำให้ชาวยุโรป เดินทางเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีดังนี้

1.         เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีชื่อเสียงในเรื่องความมั่งคั่ง

2.         ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมและผูกขาดการค้าเครื่องเทศ

3.         ต้องการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ไปสู่พวกนอกศาสนา

4.         ชาวยุโรปมีความสามารถในการต่อเรือที่ดีขึ้น ทำให้เกิดความมั่นใจในการเดินทางข้ามมหาสมุทร เพื่อสำรวจเส้นทางการค้าและดินแดนใหม่

5.         ต้องการแสวงหาความมั่งคั่งทางวัตถุโดยเฉพาะทองคำ

6.         ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้เกิดความต้องการแสวงหาแหล่งวัตถุดิบเพิ่มขึ้น และหาตลาดเพื่อระบายสินค้าที่ผลิตได้

112.    ศูนย์กลางของสเตรทเซทเทิลเมนท์ของอังกฤษอยู่ที่ใด

(1) สิงคโปร์    

(2) ปีนัง          

(3) มะละกา   

(4) พม่า

ตอบ 2 หน้า 336 หลังจากที่อังกฤษสามารถเข้ายึดครองปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ได้สำเร็จแล้ว ในปี พ.ศ. 2373 อังกฤษจึงประกาศรวมอาณานิคมบริเวณคาบสมุทรมลายู อันได้แก่ สิงคโปร์ ปีนัง และมะละกา เข้าเป็น “สเตรทเซทเทิลเมนท์” (The Straits Settlementโดยมีศูนย์กลาง อยู่ที่เกาะปีนัง

113.    ชาวยุโรปชาติใดที่ประสบความสำเร็จในการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) โปรตุเกส  

(2) สเปน        

(3) ดัตช์          

(4) ฝรั่งเศส

ตอบ 2 หน้า 329(คำบรรยาย) สเปนถือว่าเป็นชาวยุโรปที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในฟิลิปปินส์ ซึ่งสเปน จะเน้นให้คนพื้นเมืองกลับใจมานับถือศาสนาคริสต์เอง โดยไม่ได้ใช้วิธีบังคับข่มขู่ วิธีนี้ทำให้มีชาวพื้นเมืองหันมานับถือศาสนาคริสต์กันมากถึง 92% ของประชากรทั้งประเทศ

114.    ดัตช์ได้เปลี่ยนชื่อเมืองจาการ์ตาเป็นชื่อใด

(1) ปัตตาเวีย  

(2) มะตะรัม   

(3) บันทัม       

(4) มะละกา

ตอบ 1 หน้า 611 (เล่มเก่า) เมื่อดัตช์หรือฮอลันดาได้เข้าไปแทรกแซงทางการเมืองในหมู่เกาะอินโดนีเชีย ในช่วงเหตุการณ์การแย่งชิงราชสมบัติในบันทัม ทำให้ดัตช์มีอำนาจในบันทัม และขับไล่พ่อค้าชาวอังกฤษที่ค้าขายอยู่ในบันทัมไปอยู่ที่จาการ์ตา (Jakartaซึ่งต่อมาดัตช์ได้เปลี่ยนชื่อเมืองนี้ เป็น “ปัตตาเวีย” (Batavia)

115.    ข้อใดคือเมืองหลวงของฟิลิปปินส์

(1) มะละกา   

(2) มะละแหม่ง          

(3) มะนิลา     

(4) โมลุกกะ

ตอบ 3 หน้า 329 สเปนสามารถยึดฟิลิปปินส์ได้สำเร็จในครั้งที่ 5 นำโดยเลกัซปีในปี พ.ศ. 2108 โดยกองกำลังทหารของเลกัซปีได้ขึ้นบกที่หมู่เกาะวิสายะและตั้งมั่นอยู่ที่เกาะเซบู ซึ่งเป็น ศูนย์กลางของการขยายอาณาเขตออกไปยังเกาะต่าง ๆ และในปี พ.ศ. 2114 เลกัซปีก็ยึด มะนิลาได้และประกาศให้มะนิลาเป็นเมืองหลวงของฟิลิปปินส์จนถึงปัจจุบัน

116.    บริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ตั้งอยู่บนเกาะใด

(1) เกาะสุมาตรา        

(2) เกาะบอร์เนียว      

(3) เกาะชวา   

(4) เกาะสุลาเวสี

ตอบ 3 หน้า 331 ในปี พ.ศ. 2145 ดัตช์ได้จัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ (The Dutch East India Company : v.o.c.) ขึ้นที่บันทัมบนเกาะชวา เพื่อระดมทุนจากกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ มาสร้างกองเรือพาณิชย์และกองเรือคุ้มกันขนาดใหญ่ ทำให้บริษัทสามารถนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการแสวงหาผลประโยชน์ในดินแดนแถบนี้ ส่งผลให้การค้าเครื่องเทศของดัตช์ขยายตัว อย่างรวดเร็ว ทำให้บริษัทอินเดียตะวันออกมีกำไรมหาศาล และทำให้บันทัมกลายเป็น ศูนย์กลางการค้าในบริเวณนี้

ตั้งแต่ข้อ 117. – 120. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) ระบบวันดาลา      

(2) ระบบการเพาะปลูก

(3) ระบบโปโล

(4) ระบบเอ็นคอมเมียนดา

117.    ระบบการเกณฑ์แรงงานชาวพื้นเมืองที่สเปนนำมาใช้กับฟิลิปปินส์

ตอบ 3 หน้า 330 การที่สเปนได้จัดระบบชนชั้นในสังคมของฟิลิปปินส์ใหม่ ทำให้สเปนสามารถ แสวงหาผลประโยชน์จากชาวพื้นเมืองได้โดยผ่าน 2 ระบบ ดังนี้

1.         ระบบโปโล (Polo Systemเป็นระบบเกณฑ์แรงงานที่ให้ชาวพื้นเมืองทุกคยกเว้นหัวหน้าเผ่าและลูกชายคนแรกของหัวหน้าเผ่า ต้องอุทิศแรงงานให้ทางราชการ

2.         ระบบวันดาลา (Vandala Systemเป็นระบบบังคับซื้อสินค้า โดยบังคับให้ชาวพื้นเมือง ขายสินค้าให้สเปนในราคาตํ่า

118.    ระบบที่จัดสรรพื้นที่สำหรับปลูกพืชที่เป็นสินค้าส่งออกที่รัฐบาลต้องการ

ตอบ 2 หน้า 334 ในพุทธศตวรรษที่ 24 ดัตฃ์ได้นำระบบวัฒนธรรม (Culture Systemหรือระบบ การเพาะปลูก (Cultivation Systemมาใช้แสวงหากำไรในเกาะชวา โดยผู้ที่เสนอระบบนี้คือ โยฮานเนส วาน เดน บอสซ์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงใหญ่ โดยระบบนี้เป็นการสนับสนุน ให้ทุกหมู่บ้านจัดสรรพื้นที่สำหรับเพาะปลูกพืชที่เป็นสินค้าส่งออกที่รัฐบาลต้องการ เช่น อ้อย กาแฟ คราม ฯลฯ เพื่อจ่ายเป็นภาษีให้แก่รัฐบาลอาณานิคม จากนั้นรัฐก็จะนำสินค้าดังกล่าว ไปขายในยุโรป

119.    ระบบที่บังคับให้ชาวพื้นเมืองขายสินค้าให้สเปนในราคาต่ำ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 117. ประกอบ

120.    ระบบการถือครองที่ดินที่สเปนนำมาใช้กับฟิลิปปินส์

ตอบ 4 หน้า 330 ระบบเอ็นคอมเมียนดา (Encomiendaคือ ระบบการถือครองที่ดินที่สเปนนำมาใช้ในฟิลิปปินส์ โดยให้ผู้มีสิทธิ์ถือครองที่ดินที่เรียกว่า “เอ็นคอมเมียนโดโรส” (Encomiendorosเรียกเก็บผลประโยชน์จากบุคคลที่เข้ามาทำมาหากินในที่ดินของตนได้ แต่ผู้เข้ามาทำกินในที่ดินนี้จะต้องนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก

Advertisement