การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2556
ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1002 อารยธรรมตะวันออก
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
1. ในวิชาอารยธรรมตะวันออก “ดินแดนตะวันออกกลาง” มีความสำคัญอย่างไร
(1) เป็นแหล่งกำเนิดศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม
(2) เป็นที่ตั้งของพีระมิดและสวนลอยบาบิโลน
(3) เป็นแหล่งความเจริญเริ่มแรกของโลก
(4) เป็นแหล่งเชื่อมทวีปทั้ง 3 คือ เอเชีย ยุโรป และแอฟริกา
ตอบ 3 หน้า 7 ดินแดนตะวันออกกลางหรือตะวันออกใกล้ (The Middle East หรือ Near East) คือ ดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่าง 3 ทวีป ได้แก่ ทวีปเอเชีย แอฟริกา และยุโรป โดยเป็นดินแดนที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ในแง่ของการเป็นแหล่งกำเนิด อารยธรรมและความเจริญเริ่มแรกของโลก คือ อารยธรรมเมโสโปเตเมียและอารยธรรม อียิปต์โบราณ รวมทั้งเป็นแหล่งกำเนิดของ 3 ศาสนาหลักของโลก คือ ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม
2. “ดินแดนตะวันออกกลาง” คือดินแดนส่วนใด
(1) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(2) ยุโรปตะวันออกเฉียงใต้
(3) เอเชียตะวันตกเฉียงใต้
(4) ยุโรปตะวันตกเฉียงใต้
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ
3. มนุษย์สมัยโบราณรู้จักการทำเกษตรกรรมในช่วงเวลาใด
(1) ยุคหินเก่า
(2) ยุคหินใหม่
(3) ยุคทองแดง
(4) ยุคสำริด
ตอบ 2 หน้า 6, (คำบรรยาย) ยุคหินใหม่ เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มรู้จักการทำเกษตรกรรมคือ เพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ แทนการเร่ร่อนและล่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหาร อีกทั้งเริ่มมีที่อยู่อาศัยเป็น หลักแหล่ง โดยมีการเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยจากดินแดนตอนในเข้ามาตั้งมั่นใกล้ลุ่มแม่นํ้าใหญ่ เพื่อมุ่งที่จะใข้น้ำในการทำเกษตรกรรมและดำรงชีวิตเป็นสำคัญ ซึ่งจากจุดนี้เองที่ทำให้ อารยธรรมโลกโบราณค่อย ๆ ถือกำเนิดขึ้นอย่างจริงจัง
4. มนุษย์สมัยโบราณกลุ่มใดทิ้งร่องรอยความเจริญที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด
(1) สุเมเรียน
(2) อียิปต์โบราณ
(3) เปอร์เซียโบราณ
(4) ฮิบรู
ตอบ 2 หน้า 11, 18-20 อารยธรรมอียิปต์โบราณมีแหล่งกำเนิดอยู่บริเวณดินแดนลุ่มแม่นํ้าไนล์ โดยชาวอียิปต์ได้รับการยกย่องว่า “เป็นผู้สร้างถาวรวัตถุที่ยิ่งใหญ่ของโลกโบราณ” เนื่องจาก เป็นชนชาติที่มีความรอบรู้และแม่นยำทางด้านคณิตศาสตร์และเรขาคณิต มีทักษะและ ความขำนาญในการก่อสร้าง และกษัตริย์เก่งในการรบและการปกครอง ทำให้ชาวอียิปต์ ได้ทิ้งร่องรอยความเจริญที่เป็นรูปธรรมไว้ให้แก่โลกมากที่สุด เช่น มหาพีระมิดที่เมืองกีซา วิหารเทพเจ้าอะมอนที่คาร์นัค เป็นต้น
5. มนุษย์สมัยโบราณเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยจากดินแดนตอนในเข้าตั้งมั่นใกล้แหล่งนํ้าเพื่อจุดประสงค์ใดเป็นสำคัญ
(1) การคมนาคม
(2) การปกครอง
(3) การเกษตรกรรม
(4) การค้า,ขาย
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ
6. อารยธรรมของมนุษย์สมัยโบราณกลุ่มใดได้ทิ้งร่องรอยความเจริญไว้มากที่สุด
(1) สุเมเรียน
(2) อียิปต์โบราณ
(3) เปอร์เซียโบราณ
(4) ฮิบรู
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ
7. อารยธรรมอียิปต์โบราณเกิดขึ้นที่บริเวณใด
(1) แม่น้ำไทกริส-ยูเฟรตีส
(2) แม่นํ้าไนล์
(3) เมืองอเล็กซานเดรีย
(4) แม่นํ้าสินธุ
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ
8. ยุคทองของอารยธรรมอียิปต์โบราณอยู่ในช่วงเวลาใด
(1) สมัยก่อนราชวงศ์
(2) สมัยอาณาจักรเก่า
(3) สมัยอาณาจักรใหม่
(4) สมัยราชวงศ์
ตอบ 4 หน้า 9-10 อียิปต์โบราณสมัยราชวงศ์ (3100 – 940 B.C.) เป็นช่วงเวลาที่อียิปต์โบราณจัดตั้งชาติและรักษาความเป็นชาติได้ยาวนานถึง 2,160 ปี กษัตริย์ส่วนใหญ่ในสมัยนี้เป็นชาวอียิปต์โบราณ มีทิ้งหมด 21 ราชวงศ์ และถือว่าเป็น “ยุคทองของอารยธรรมอียิปต์โบราณ”ซึ่งสมัยราชวงศ์แบ่งออกเป็น 4 สมัยย่อย ได้แก่ สมัยต้นราชวงศ์ สมัยอาณาจักรเก่า สมัยอาณาจักรกลาง และสมัยอาณาจักรใหม่หรือสมัยจักรวรรดิ
9. อียิปต์โบราณเริ่มสร้างพีระมิดในสมัยใด
(1) สมัยราชวงศ์
(2) สมัยอาณาจักรเก่า
(3) สมัยอาณาจักรกลาง
(4) สมัยจักรวรรดิ
ตอบ 2 หน้า 9 – 10, 18 – 19, 68 – 69 (เล่มเก่า) ในช่วงราชวงศ์ที่ 3 – 6 (2665 – 2200 B.C.) ในสมัยอาณาจักรเก่าของอียิบต์โบราณ เป็นยุคที่มีความเจริญทางด้านสถาปัตยกรรมสูงมาก โดยมีการสร้างพีระมิดซึ่งเป็นสุสานหินยอดแหลมเพื่อเก็บพระศพและสมบัติของฟาโรห์ขึ้นเป็นครั้งแรก ทั้งนี้พบว่ามีการสร้างพีระมิดมากถึง 20 องค์ จบเป็นผลให้สมัยอาณาจักรเก่า ถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “สมัยพีระมิด” (The Pyramid Age)
10. ตัวอักษรภาพของอียิปต์โบราณมีชื่อเรียกว่าอะไร
(1) ไฮโรกลิฟิก
(2) เดโมติก
(3) ไฮราดิก
(4) เดโมติก
ตอบ 1 หน้า 17 – 18 ชาวอียิปต์โบราณได้เริ่มประดิษฐ์ “ตัวอักษรภาพไฮโรกลิฟิก” (Hieroglyphics) ขึ้นเมื่อประมาณ 3000 B.C. ซึ่งแต่เดิมนั้นตัวอักษรนี้มีประมาณ 700 ตัว ต่อมาพระและอาลักษณ์ได้ปรับปรุงตัวอักษรภาพไฮโรกลิฟิกเพื่อให้เขียนได้ง่ายขึ้น และให้มีจำนวนน้อยลง ด้วยการประดิษฐ์ตัวอักษรไฮราติก (Hieratic) ขึ้นในปี 1100 B.C. และพัฒนามาเป็นตัวอักษร เดโมติก (Demotic) ซึ่งมีจำนวนตัวอักษรเพียง 24 ตัว ในปี 700 B.C.
11. จุดมุ่งหมายในการปฏิรูปศาสนาของฟาโรห์อะเมนโฮเต็ปที่ 4 คืออะไร
(1) โอซิริสคือเทพเจ้าสูงสุดของชาวอียิปต์โบราณ
(2) คัมภีร์มรณะคือเอกสารยืนยันความดีของผู้ตาย
(3) เชื่อในเทพเจ้าอะตันเพียงพระองค์เดียว
(4) เชื่อในวันพิพากษาโลกและเชื่อว่าโลกหน้ามีจริง
ตอบ 3 หน้า 17 ฟาโรห์อะเมนโฮเต็ปที่ 4 หรืออัคนาตัน ได้ชื่อว่าเป็นนักปฏิรูปศาสนาคนแรกของอียิปต์โบราณและคนแรกชองโลก ซึ่งหลักปรัชญาอันเป็นจุดมุ่งหมายในการปฏิรูปศาสนาของพระองค์คือ จงยึดมั่นในเทพเจ้าอะตัน (Aton) หรือสุริยเทพเป็นเทพเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว
12. ข้อใดถูก
(1) อียิปต์โบราณเป็นกลุ่มชนแรกที่เชื่อเรื่องวิญญาณเป็นอมตะ วันพิพากษา และโลกหน้ามีจริง
(2) โอซิริสคือเทพเจ้าสูงสุดของอียิปต์โบราณ
(3) ชาวอียิปต์โบราณรู้จักการชลประทานในสมัยอาณาจักรกลาง
(4) โรมันคือชาวยุโรปกลุ่มแรกที่ปกครองดินแดนลุ่มแม่นํ้าไนล์
ตอบ 1 หน้า 17 ชาวอียิปต์โบราณเป็นกลุ่มชนแรกที่มีความเชื่อในเรื่องวิญญาณเป็นอมตะ วันพิพากษา และโลกหน้ามีจริง นั่นคือ เชื่อว่าผู้ที่ทำความดี เมื่อตายไปดวงวิญญาณจะคงอยู่ และจะเกิดใหม่ ในโลกหน้าที่อุดมสมบูรณ์ ด้วยความเชื่อดังกล่าวได้นำไปสู่การสร้างมัมมี่ คัมภีร์มรณะหรือ คัมภีร์ผู้ตาย และสุสานหินพีระมิดเพื่อใช้เป็นทื่เก็บพระศพและสมบัติของฟาโรห์
13. กลุ่มชนใดได้รับการยกย่องว่า “เป็นผู้สร้างถาวรวัตถุที่ยิ่งใหญ่ของโลกโบราณ”
(1) สุเมเรียน
(2) อียิปต์โบราณ
(3) ฮิตไตท์
(4) กรีกโบราณ
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ
14. พีระมิดคือสุสานหินยอดแหลม เป็นที่เก็บศพและสมบัติผู้ตาย ถามว่าพีระมิดเริ่มสร้างเมื่อไร
(1) สมัยก่อนราชวงศ์
(2) สมัยจักรวรรดิ
(3) สมัยราชวงศ์
(4) สมัยอาณาจักรเก่า
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 9. ประกอบ
15. ใครคือฟาโรห์ผู้ยิ่งใหญ่องค์สุดท้ายของอียิปต์โบราณ
(1) เมนตูโฮเต็ปที่ 1
(2) รามเซสที่ 2
(3) ทัสโมสที่ 3
(4) เซติที่ 4
ตอบ 2 หน้า 13 รามเซสที่ 2 เป็นฟาโรห์ในราชวงศ์ที่ 19 แห่งสมัยอาณาจักรใหม่ โดยทรงเก่งในการรบ มีชัยชนะเหนือฮิตไตท์ และได้รับการยกย่องว่าเป็น “ฟาโรห์ผู้ยิ่งใหญ่องค์สุดท้ายของอียิปต์โบราณ” (The Last of the Great Pharaoh) ซึ่งผลงานชิ้นสุดท้ายของพระองค์คือ ปลดปล่อยฮิบรูให้พ้นจากการเป็นทาส โดยโมเสสเป็นผู้นำฮิบรูมุ่งเดินทางกลับปาเลสไตน์
16. อักษรภาพเริ่มแรกของอียิปต์โบราณมีชื่อเรียกว่าอะไร
(1) ไฮราติก
(2) เดโมติก
(3)ไฮโรกลิฟิก
(4) เดโมกลิฟิก
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ
17. จงยึดมั่นในพระเจ้าอะตันเพียงองค์เดียว เป็นหลักปรัชญาศาสนาของใคร
(1) โมเสส
(2) อะเมนโฮเต็ปที่ 4
(3) กษัตริย์ซาร์กอนแห่งอัคคัด
(4) โซโรแอสเตอร์
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 11. ประกอบ
18. กลุ่มชนแรกที่มีความเชื่อในเรื่องวิญญาณเป็นอมตะ วันพิพากษา และโลกหน้ามีจริง คือกลุ่มชนใด
(1) ดราวิเดียน
(2) ฟินิเชียน
(3) อียิปต์โบราณ
(4) ฮิบรู
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 12. ประกอบ
19. อารยธรรมใดเก่าแก่ที่สุด
(1) อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
(2) อารยธรรมอียิปต์โบราณ
(3) อารยธรรมอินเดียโบราณ
(4) อารยธรรมกรีกโบราณ
ตอบ 1 หน้า 21, 81 (เล่มเก่า) อารยธรรมเมโสโปเตเมียเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นหนึ่งในสองอารยธรรมเริ่มแรกของโลก อารยธรรมนี้มีแหล่งกำเนิดในดินแดนระหว่างแม่นํ้าไทกริสและยูเฟรตีส หรือที่เรียกว่า “เมโสโปเตเมีย” ซึ่งเราสามารถเรียกดินแดนนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่า “ดินแดน พระจันทร์เสี้ยว”’ (Fertile Crescent) ปัจจุบันดินแดนเมโสโปเตเมียเป็นที่ตั้งของประเทศอิรัก
20. กลุ่มชนใดเป็นผู้วางรากฐานอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
(1) ฮิตไตท์
(2) อัคคาเดียน
(3) อะมอไรท์
(4) สุเมเรียน
ตอบ 4 หน้า 21 – 22, 82 (เล่มเก่า) สุเมเรียนเป็นกลุ่มชนเชื้อชาติใดนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีการสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นกลุ่มชนที่อพยพจากเอเชียกลางแล้วเข้ามาตั้งมั่นในพื้นที่ทางตอนใต้ของเมโสใปเตเมียซึ่งเรียกว่า “ซูเมอร์” เมื่อประมาณ 5000 B.C. และถือเป็นผู้วางรากฐาน อารยธรรมเมใสโปเตเมีย ซึ่งอารยธรรมที่เด่น ๆมี 7 ด้าน ได้แก่ ด้านการปกครอง สังคม การประกอบอาชีพ ศาสนา ศิลปะการเขียน สถาปัตยกรรม และวิทยาศาสตร์
21. จุดมุ่งหมายของการสร้างซิกกูแรตคืออะไร
(1) เป็นวิหารเทพเจ้า
(2) เป็นที่เก็บศพและสมบัติผู้ตาย
(3) เป็นสถานที่ศึกษากลุ่มดาวบนท้องฟ้า
(4) เป็นที่อยู่ของผู้ปกครองนครรัฐ
ตอบ 1 หน้า 23 – 24 สถาปัตยกรรมที่เด่นที่สุดของชาวสุเมเรียนก็คือ มหาวิหารหอคอยหรือซิกกูแรต (Ziggurat) ที่นครรัฐเออรุค ซึ่งสร้างขึ้นด้วยอิฐ โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างก็คือ ใข้เป็นวิหารเทพเจ้า ซึ่งขึ้นบนสุดของซิกกูแรตจะถูกกำหนดให้เป็นที่ประทับของเทพเจ้าและเป็นศาสนสถาน สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
22. สิ่งใดเก่าแก่ที่สุด
(1) ไฮโรกลิฟิก
(2) คูนิฟอร์ม
(3) สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน
(4) พีระมิด
ตอบ 2 หน้า 23, (คำบรรยาย) อักษรคูนิฟอร์มหรืออักษรรูปลิ่ม (Cuneiform) ซึ่งเป็นศิลปะการเขียนของชาวสุเมเรียนในดินแดนเมโสโปเตเมีย ถือว่ามีอายุเก่าแก่มากที่สุดในโลก (3500 B.C.) โดย อักษรคูนิฟอร์มเป็นตัวอักษรเครื่องหมายที่มีลักษณะคล้ายรูปตัววีในภาษาอังกฤษ ซึ่งชาวสุเมเรียน จะจารึกตัวอักษรคูนิฟอร์มลงบนแผ่นดินเหนียวขณะเปียก และนำไปตากแดดหรือเผาให้แห้ง เพื่อเก็บรักษาข้อความส่วนใหญ่ที่จารึกจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนาและการปกครอง
23. มรดกความเจริญที่แคลเดียนให้แก่โลกคือด้านใด
(1) การปกครอง
(2) สถาปัตยกรรม
(3) ศาสนา
(4) ภาษา
ตอบ 2 หน้า 32, 93 (เล่มเก่า) มรดกความเจริญทางอารยธรรมที่สำคัญที่แคลเดียนให้ไว้แก่โลก ได้แก่
1. ด้านสถาปัตยกรรมที่เด่น ได้แก่ สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน และกำแพงอิชต้า ซึ่งสร้างขึ้น ในสมัยของกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์
2. ด้านโหราศาสตร์ ได้แก่ การกำหนดดวงดาวสำคัญ 7 ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ เป็นชื่อของวันดต่าง ๆ ใน 1 สัปดาห์
24. มรดกความเจริญที่อะมอไรท์ให้แก่โลกคือด้านใด
(1) การปกครอง
(2) ศาสนา
(3) สถาปัตยกรรม
(4) ภาษา
ตอบ 1 หน้า 25 – 26 อะมอไรท์หรือบาบิโลเนียนเป็นกลุ่มชนที่รับ สืบทอด และส่งต่ออารยธรรม สุเมเรียน-อัคคาเดียนในทุกด้าน โดยมรดกความเจริญทางอารยธรรมที่สำคัญที่อะมอไรท์ให้ไว้ แก่โลกคือ ด้านการปกครอง ได้แก่ ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (The Code of Hammurabi) ซึ่งเป็นประมวลกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุด และมีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยตัวอักษรคูนิฟอร์ม เป็นฉบับแรกของโลก
25. แหล่งกำเนิดอารยธรรมฟินิเชียน ในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอะไร
(1) ซีเรีย
(2) เลบานอน
(3) จอร์แดน
(4) อิสราเอล
ตอบ 2 หน้า 39 – 40 อารยธรรมฟินิเชียนมีแหล่งกำเนิดอยู่บริเวณดินแดนฟินิเชียบนชายฝั่งตะวันออก ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ประเทศเลบานอนในปัจจุบัน) ซึ่งฟินิเชียนได้ชื่อว่าเนิบผู้วางรากฐาน อารยธรรมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นพ่อค้าทางเรือผู้ยิ่งใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ของตะวันออกกลางสมัยโบราณ และเป็นผู้ถ่ายทอดอารยธรรมโลกตะวันออกสู่โลกตะวันตก ได้เป็นอย่างดีควบคู่ไปกับการค้าขายทางเรือ
26. กลุ่มชนใดได้รับการยกย่องว่าเป็น “นักรบผู้ยิ่งใหญ่แห่งเอเชียไมเนอร์สมัยโบราณ”
(1) อัสซีเรียน
(2) ฮิตไตท์
(3) ฟินิเชียน
(4) ออตโตมาน เติร์ก
ตอบ 2 หน้า 35 38 ฮิตไตท์เป็นชนเผ่าอินโด-ยูโรเปียนที่อพยพจากเอเชียกลางเข้ามาตั้งมั่นในพื้นที่ทางตะวันออกของเอเชียไมเนอร์แถบคาบสมุทรอนาโตเลีย (ประเทศตุรกีในปัจจุบัน) โดยฮิตไตท์ เป็นผู้วางรากฐานอารยธรรมเอเชียไมเนอร์ นอกจากนี้ยังได้รับการยกย่องว่าเป็น “นักรบผู้ยิ่งใหญ่ แห่งเอเชียไมเนอร์สมัยโบราณ” ซึ่งการรบของฮิตไตท์มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งขยายดินแดนและ อำนาจ แสวงหาเส้นทางการค้า และแสวงหาแร่เหล็กเพื่อนำมาทำของใช้และอาวุธ
27. ข้อใดถูก
(1) มรดกความเจริญทื่อราเมียนให้แก่โลกคือการเดินเรือค้าขายในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
(2) สุเมเรียนนำการวางรากฐานอารยธรรมในดินแดนเอเชียไมเนอร์
(3) พยัญชนะที่ยุโรปใช้กันในปัจจุบันมีรากฐานมาจากพยัญชนะฟินิเชียน
(4) มรดกความเจริญที่ฮิบรูให้แก่โลกคือด้านสถาปัตยกรรม
ตอบ 3 หน้า 40 มรดกความเจริญเด่นที่ฟินิเชียนให้ไว้แก่โลกคือ เป็นกลุ่มชนแรกที่นำการประดิษฐ์ พยัญชนะสมบูรณ์แบบ 22 ตัว ต่อมาเมื่อกรีกรับและนำพยัญชนะฟินิเชียนไปใช้ในยุโรป กรีกได้พัฒนาและเพิ่มพยัญชนะจาก 22 ตัวเป็น 26 ตัว ดังนั้นพยัญชนะฟินิเชียนจึงเป็น รากฐานของพยัญชนะที่โลกตะวันตกหรือยุโรบใช้ในปัจจุบัน
28. แหล่งกำเนิดอารยธรรมอิสลามคือดินแดนใด
(1) ตะวันออกกลาง
(2) คาบสมุทรอนาโตเลีย
(3) คาบสมุทรอาระเบีย
(4) คาบสมุทรบอลข่าน
ตอบ 3 หน้า 63, 72 – 75 อารยธรรมอิสลามหรือมุสลิมมีแหล่งกำเนิดอยู่ในคาบสมุทรอาระเบีย (ประเทศซาอุดิอาระเบียในปัจจุบัน) ซึ่งในช่วงเวลาที่จักรวรรดิอิสลามอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์อับบาสิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้การนำของกาหลิบฮารัน เอล-ราชิด นั้น ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยุคทองของอารยธรรมอิสลาม” โดยแท้จริง
29. ยุคทองของอารยธรรมอิสลามคือช่วงเวลาใด
(1) ออตโตมาน เติร์ก
(2) ราชวงศ์อุมัยยัด
(3) เซลจุก เติร์ก
(4) ราชวงศ์อับบาสิต
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 28. ประกอบ
30. ใครคือกาหลิบองค์แรกของจักรวรรดิมุสลิม
(1) อาบู บากร์
(2) โอธมาน
(3) อาลี
(4) มูวียะ
ตอบ 1 หน้า 66 – 67 จักรวรรดิอิสลามในช่วงปี 632 – 661 จะอยู่ภายใต้การนำของกาหลิบ 4 องค์ โดยมีเมดินาเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของจักรวรรดิอิสลาม ทั้งนี้ชาวมุสลิมจะเป็นผู้เลือกกาหลิบ ทั้ง 4 องค์เป็นผู้นำสังคมมุสลิม ได้แก่ อาบู บากร์ (ได้รับเลือกให้เป็นกาหลิบองค์แรกของ จักรวรรดิมุสลิม) โอมาร์ โอธมาน และอาลี
31. ประเทศจีนตั้งอยู่ในภูมิภาคใด
(1) เอเชียตะวันออก
(2) เอเชียใต้
(3) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(4) เอเชียกลาง
ตอบ 1 หน้า 97 จีนเป็นประเทศหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกโดยมีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งพื้นที่ประมาณ 2 ใน 3 ของประเทศที่อยู่ทางภาคตะวันตกและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะปกคลุมด้วยภูเขา เทือกเขา และที่ราบสูง เช่น ภูเขาหิมาลัย ภูเขาคุนลุ้น ที่ราบสูงทิเบต ฯลฯ ส่วนพื้นที่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้เป็นที่ราบ ที่ลาดเอียงไปสู่มหาสมุทรแปซิฟิก
32. พื้นที่ราบของจีนมีมากทางส่วนใดของประเทศ
(1) ภาคเหนือ
(2) ภาคตะวันตก
(3) ภาคตะวันออกเฉียงใต้
(4) ภาคตะวันออก
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 31. ประกอบ
33. เครื่องปั้นดินเผาลีและเสียนเกิดขึ้นในสมัยใดของจีน
(1) 4,000 ปีก่อนคริสตกาล
(2) 3,000 – 2,000 ปีก่อนคริสตกาล
(3) 2,000 – 1,000 ปีก่อนคริสตกาล
(4) 1,000 ปีก่อนคริสตกาล
ตอบ 1 หน้า 99, 150 (เล่มเก่า) จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดพบบริเวณตอนกลางของจีนแถบลุ่มแม่น้ำเหลือง ทำให้นักประวัติศาสตร์รุ่นใหม่เชื่อว่า ความเจริญของจีนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ น่าจะเกิดขึ้นในยุคหินใหม่หรือเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งหลักฐานสำคัญที่แสดง ให้เห็นถึงความเจริญเริ่มแรกของจีน ได้แก่ ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาลีและเสียน
34. ข้อใดเป็นความเจริญที่เกิดขึ้นในจีนสมัยราชวงศ์โจว
(1) ความเป็นกษัตริย์นักประชาธิปไตยของกษัตริย์เหยากับกษัตริย์ชุน
(2) แนวคิดที่ว่าด้วย “อาณัติแห่งสวรรค์”
(3) ตัวอักษรจีนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
(4) ลัทธิขงจื๊อใหม่ของนักปรัชญาที่ชื่อชูสี
ตอบ 2 หน้า 102 ความเจริญเด่นที่เกิดขึ้นในจีนสมัยราชวงศ์โจวตะวันตกคือ ผู้ปกครองได้นำแนวคิด ทางการเมืองที่ยอดเยี่ยมซึ่งเรียกว่า “ทฤษฎีแห่งสวรรค์” มาใช้ในการปกครองประเทศเป็น ครั้งแรก โดยกษัตริย์โจวจะถือว่าตนเป็น “โอรสหรือบุตรแห่งสวรรค์” หมายถึง องค์จักรพรรดิ ที่สวรรค์ส่งลงมาปกครองมนุษย์ และได้รับอำนาจที่สวรรค์มอบให้เพื่อใช้ปกครองโลกเรียกว่า “อาณัติแห่งสวรรค์”
35. จีนโบราณยุคใดที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคทองทางด้านปรัชญา
(1) ราชวงศ์เซีย
(2) ราชวงศ์ชาง
(3) ราชวงศ์โจว
(4) ราชวงศ์จิ๋น
ตอบ 3 จีนในสมัยราชวงศ์ โจวตะวันออกแบ่งออกเป็น 2 ยุคใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ
1. ยุคฤดูใบไม้ร่วงและฤดูใบไม้ผลิ (722 – 481 B.C.) ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยุคทองทางด้านปรัชญา” โดยนักปรัชญาที่สำคัญในยุคนี้มี 3 ท่าน ได้แก่ ขงจื๊อ เล่าสือ และโมจื๊อ
2. ยุคแห่งความแตกแยก (403 – 221 B.C.) เป็นยุคที่บ้านเมืองเกิดสงครามจนถึงขั้นที่เรียกว่า “ภาวะจลาจลหรือเลียดก๊ก” ซึ่งทำให้เกิด การเสนอข้อคิดเห็นทางปรัชญาขึ้นมากมาย โดยนักปรัชญาที่สำคัญในยุคนี้มี 3 ท่าน ได้แก่ เม่งจื๊อ ซุนจื๊อ และฮั่นไฝสือแห่งสำนักฝาเจี่ยหรือนิติธรรมนิยม
36. ข้อใดไม่ใช่ผลงานที่สำคัญของจิ๋นซี ฮ่องเต้
(1) เป็นผู้นำลัทธิขงจื๊อมาใช้เป็นแนวทางในการปกครองประเทศ
(2) เป็นผู้นำแนวคิดหลักของลัทธิฝาเจี่ยมาใช้ในการรวมแผ่นดินที่แตกแยกเข้าด้วยกัน
(3) เป็นผู้สร้างกำแพงเมืองจีน
(4) ประกาศ‘ให้ใช้ตัวอักษรแบบเดียวกันทั้งประเทศ
ตอบ 1 ผลงานที่สำคัญของจิ๋นซี ฮ่องเต้ จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่แห่ง
ราชวงค์จิ๋น มีดังนี้
1. ทรงนำแนวคิดหลักของสำนักฝาเจี่ยมาใช้ในการรวบรวมแผ่นดินจีนที่แตกแยกในสมัยราชวงศ์โจวเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันได้สำเร็จ ซึ่งต่อมาก็คือ ประเทศจีน (China)
2. ทรงปกครองจักรวรรดิด้วยการรวมอำนาจเข้าสู่รัฐบาลกลาง และทรงเป็นประมุขผู้มีอำนาจเด็ดขาดเพียงองค์เดียว
3. ประกาศให้นำตัวอักษรจีนมาใช้เขียนในรูปแบบเดียวกันทั่วประเทศ 4. ทรงต่อเติมและเชื่อมกำแพงเมืองที่มีอยู่เข้าด้วยกันเป็นกำแพงเมืองจีน ฯลฯ
37. ข้อใดเป็นรายได้หลักของจีนในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์
(1) กำไรจากการออกพันธบัตรเงินกู้
(2) ผลผลิตจากสินค้าด้านเกษตรกรรม
(3) ภาษีที่เก็บจากธุรกิจค้าฝิ่นของชาวจีน
(4) รายได้จากการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ตอบ 2 หน้า 109, (คำบรรยาย) เศรษฐกิจของจีนในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะขึ้นอยู่กับการเกษตรเป็นหลัก โดยเน้นไปที่การใช้ประโยชน์บนที่ดินและการทำเกษตรกรรม ซึ่งรายได้หลักของ รัฐบาลจีนในสมัยนี้จะมาจากการขายผลผลิตสินค้าด้านเกษตรกรรม การเก็บภาษที่ดิน ภาษีรัชชูปการ และภาษีจากการผูกขาดสินค้าบางชนิด ได้แก่ เกลือ เหล็ก เหล้า และใบชา
38. การพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่นทำให้จีนต้องสูญเสียดินแดนใดให้กับอังกฤษ
(1) ปักกิ่ง
(2) เทียนสิน
(3) นานกิง
(4) ฮ่องกง
ตอบ 4 หน้า 112 – 113, 216 – 217 (เล่มเก่า) ผลของสงครามฝิ่นระหว่างจีนกับอังกฤษในปี ค.ศ. 1842 ปรากฏวาจีนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ทำให้จีนต้องลงนามในสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคฉบับแรกกับอังกฤษ เรียกว่า “สนธิสัญญานานกิง” (Treaty of Nanking) ซึ่งส่งผลทำให้จีนต้องยกเกาะฮ่องกง ให้อังกฤษและต้องเปิดเมืองท่าอีก 5 แห่ง ได้แก่ แคนดอน เอหมึง ฟูเจา นิงโป และเซี่ยงไฮ้ ให้เป็นเขตสัมปทานอยู่ในความดูแลของอังกฤษ อีกทั้งต้องสูญเสียสิทธิในการปกครองหรือ อำนาจอธิปไตยจนตกเป็นประเทศกึ่งอาณานิคมของชาติตะวันตก ต้องสูญเสียสิทธิสภาพนอก อาณาเขตหรือสิทธิทางการศาล ต้องชดใช้ค่าฝิ่นที่จีนทำลายไป ต้องสูญเสียสิทธิในการกำหนด อัตราภาษี และต้องยอมรับเงื่อนไขของความเป็นมิตรที่ดีของต่างชาติ
39. ราชวงศ์ใดที่ไม่ใช่ชาวฮั่นที่มาปกครองจีน
(1) ราชวงศ์จิ๋น
(2) ราชวงศ์หยวน
(3) ราชวงศ์ถัง
(4) ราชวงศ์สุย
ตอบ 2 หน้า (เล่มเก่า) 194, 207, 209, (คำบรรยาย) ในประวัติศาสตร์ของจีนเกือบทุกราชวงศ์จะอยู่ภายใต้การปกครองของชาวฮั่นหรือชาวจีนแท้ๆ ยกเว้น 2 ราชวงศ์ที่จีนตกอยู่ภายใต้การปกครองของชนเผ่าที่ไม่ใช่ชาวฮั่นหรือเป็นชาวต่างชาติ นั่นคือ ราชวงศ์หยวนหรือราชวงศ์มองโกล ซึ่งนับเป็นราชวงศ์ต่างชาติราชวงศ์แรกที่เข้ามาปกครองจีน และราขวงศ์ชิงหรือราชวงศ์แมนจู
40. ชาติตะวันตกเดินทางสู่จีนในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อจุดประสงค์ใด
(1) ค้าขายและเผยแผ่ศาสนา
(2) สำรวจดินแดนเพื่อนำไปสร้างแผนที่
(3) เพื่อล่าอาณานิคม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ชาติตะวันตกเริ่มเดินทาง เข้ามาในเอเชียมากขึ้น โดยในปี ค.ศ. 1514 ได้มีชาวตะวันตกชาติแรกเดินทางเข้ามาติดต่อ ค้าขายกับจีนคือ พ่อค้าชาวโปรตุเกส ตามมาด้วยฮอลันดา (ดัตช์) อังกฤษ และฝรั่งเศส โดยมี วัตถุประสงค์หลักในการเดินทางเข้ามาก็เพื่อเผยแผ่ศาสนาคริสต์และต้องการติดต่อค้าขายกับจีน
41. ข้อใดเป็นไปตามลำดับของการจัดชนชั้นของจีนโบราณ
(1) นักปกครอง ชาวไร่ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า ผู้ไม่มีอาชีพ
(2) นักปกครอง ช่างฝีมือ ชาวไร่ชาวนา พ่อค้า ผู้ไม่มีอาชีพ
(3) นักปกครอง พ่อค้า ชาวไร่ชาวนา ช่างฝีมือ ผู้ไม่มีอาชีพ
(4) นักปกครอง ช่างฝีมือ พ่อค้า ชาวไร่ชาวนา ผู้ไม่มีอาชีพ
ตอบ 1 หน้า 111, (คำบรรยาย) สังคมจีนโบราณส่วนใหญ่จะมีการแบ่งชนชั้นตามเกณฑ์อาชีพออกเป็น 5 ชนชั้นตามแนวคิดของขงจื๊อ ได้แก่
1. ผู้ปกครอง (นักปกครอง) ถือว่าเป็นชนชั้นสูงสุด และได้รับการยกย่องว่าเป็น “ผู้ดี”
2. ชาวไร่ชาวนา
3. ช่างฝีมือ
4. พ่อค้า ถือว่าเป็น อาชีพที่ตํ่าต้อย
5. บุคคลผู้ไม่มีอาชีพหรือมีอาชีพแต่ผิดกฎหมาย เช่น พวกอาชญากร ฯลฯ
42. มาตรการทางสังคมใดที่ผู้ปกครองแมนจูบังคับให้ชาวจีนทุกคนต้องปฏิบัติ
(1) ชาวจีนไม่ต้องสอบเข้ารับราชการตามแบบอย่างจีนโบราณ
(2) ชาวจีนไม่อาจเดินทางออกนอกประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต
(3) ชาวจีนต้องแต่งกายและโกนศีรษะตามแบบยย่างชาวแมนจู
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 111-112 ผู้ปกครองในสมัยราชวงศ์ชิงหรือราชวงศ์แมนจูได้นำมาตรการทางสังคมเข้ามาใช้ โดยบังคับให้ชาวจีนทุกคนต้องปฏิบัติตาม เพื่อป้องกันความปลอดภัยและรักษาเอกลักษณ์ของชาวแมนจู ที่สำคัญ ได้แก่
1. ชาวจีนต้องใช้ภาษาแมนจูเป็นภาษาของทางราชการ
2. ชาวจีนต้องแต่งกายแบบชาวแมนจู
3. ห้ามชาวจีนแต่งงานกับชาวแมนจู
4. ชาวจีนต้องโกนผมส่วนหน้าประมาณครึ่งศีรษะและไว้ผมเปียแบบชาวแมนจู
5. ชาวจีนที่จะเข้ารับราชการต้องผ่านการสอบไล่ตามแบบอย่างจีนโบราณ ส่วนชาวแมนจู ได้รับสิทธิพิเศษโดยไม่ต้องสอบ
43. ใครคือบิดาแห่งนักปฏิวัติ
(1) จิ๋นซี ฮ่องเต้
(2) ซุนยัดเซ็น
(3) เมาเซตุง
(4) เติ้งเสี่ยวผิง
ตอบ 2 หน้า 113, 219 – 220 (เล่มเก่า), (คำบรรยาย) ซุนยัดเซ็นเป็นผู้ที่มีผลงานโดดเด่นทางด้านการเมืองในประเทศจีน โดยในปี ค.ศ. 1912ซุนยัดเซ็นได้ทำการปฏิวัติยึดอำนาจราชวงศ์แมนจู โดยเปลี่ยนระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราขย์ไปสู่ระบอบสาธารณรัฐที่เมืองนานกิงเป็นผลสำเร็จภายใต้การร่วมมือของหยวนซือไข จนกระทั่งนำพาจีนก้าวเข้าสู่สมัยสาธารณรัฐอย่างสมบูรณ์ จึงทำให้ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งนักปฏิวัติจีนสมัยใหม่ นับตั้งแต่นั้น
44. พรรคคอมมิวนิสต์จีนจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อใด
(1) ปี 1912
(2) ปี 1921
(3) ปี 1945
(4) ปี 1949
ตอบ 2 หน้า 114, (คำบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1921 ป้ญญาชนจีน 13 คน (รวมถึงเมาเซตุง) ได้ร่วมกัน จัดตั้งพรรคคอมมิวนิลต์จีนขึ้นอย่างเป็นทางการ เพื่อใช้เป็นทางเลือกใหม่ในการปฏิรูปประเทศจีน ในสมัยสาธารณรัฐ ซึ่งแนวทางดังกล่าวก็คือ การสร้างรัฐสังคมนิยมของจีนด้วยการปฏิรูปประเทศ ให้เป็นไปตามอุดมการณ์ของลัทธิมาร์กซ์ (Marxism), เลนิน (Leninism) และเมา (Maoism) นั่นเอง
45. ใครคือผู้นำประเทศจีนคนปัจจุบัน
(1) นายหู จิ่นเทา
(2) นายหลี ต้าเจ้า
(3) นายสี จิ้นผิง
(4) นายหู เหยาบาง
ตอบ 3 (คำบรรยาย) นายสี จิ้นผิง เป็นผู้นำสูงสุด (ประธานาธิบดี) แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนคนปัจจุบัน โดยเริ่มดำรงตำแหน่งในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งสี จิ้นผิง ถือว่าเป็นหัวหน้าของคณะผู้นำจีนรุ่นที่ 5 ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ส่วนนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของจีนคือ หลี่ เค่อเฉียง
46. เกาะฮอกไกโดตั้งอยู่ทางภาคใดของญี่ปุ่น
(1) ภาคเหนือ
(2) ภาคใต้
(3) ภาคตะวันตก
(4) ภาคตะวันออก
ตอบ 1 หน้า 121, (คำบรรยาย) เกาะที่สำคัญของญี่ปุ่นมีอยู่ 4 เกาะ ได้แก่
1. เกาะฮอกไกโด เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของญี่ปุ่น และถือว่าเป็นแหล่งกำเนิด อารยธรรมเริ่มแรกของญี่ปุ่น
2. เกาะฮอนขู เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดา 4 เกาะ และถือว่ามีความเจริญมากที่สุด โดยเป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการปกครองของญี่ปุ่น
3. เกาะชิโกกุ เป็นเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุด โดยมีชื่อเสียงในเรื่องความงดงามของหมู่เกาะและขายฝั่งทะเล
4. เกาะคิวชิว เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของญี่ปุ่น และเป็นเกาะแรกที่ได้รับอิทธิพลอย่างมาก จากการติดต่อกับชาวยุโรป
47. แหล่งกำเนิดอารยธรรมเริ่มแรกของญี่ปุ่นอยู่บนเกาะใด
(1) เกาะฮอกไกโด
(2) เกาะฮอนชู
(3) เกาะชิโทกุ
(4) เกาะกิวชู
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 46. ประกอบ
48. จิมมู เทนโน คือใคร
(1) ผู้ก่อตั้งประเทศญี่ปุ่นขึ้นเมื่อ 660 ปีก่อนคริสตกาล
(2) หลานชายของนินิงิผู้สืบเชื้อสายมาจากเทพีแห่งดวงอาทิตย์
(3) ผู้นำคนสำคัญคนหนึ่งตามตำนานความเชื่อของชาวญี่ปุ่นโบราณ(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หนังสือโคจิกิและหนังสือนิฮอง โชกิ เป็นงานบันทึกทาง ประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นโบราณ โดยกล่าวถึงเรื่องราวของชาวญี่ปุ่นในลักษณะเทพนิยายว่า แผ่นดินญี่ปุ่นสร้างขึ้นโดยเทพเจ้า มีศูนย์กลางอยู่บนที่ราบยามาโตทางตอนกลางของเกาะฮอนชู องค์จักรพรรดิและประชาชนล้วนสืบเชื้อสายมาจากเทพเจ้าทั้งสิ้น โดยจักรพรรดิพระองค์แรก ตามตำนานความเชื่อของชาวญี่ปุ่นทรงมีพระนามว่า “จิมมู เทนโน” ซึ่งเป็นหลานชายของนินิงิผู้สืบเชื้อสายมาจากเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์หรือเทพีอะมาเตระสึ โดยขึ้นครองราชย์และก่อตั้งประเทศญี่ปุ่นขึ้นเมื่อ 660 ปีก่อนคริสตกาล
49. หนังสือ “โคจิกิ” และ “นิฮอง โชกิ” เป็นผลงานประเภทใด
(1) บันทึกทางประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นโบราณ
(2) บันทึกการผจญภัยของบรรดาเหล่าซามูไรในสมัยโชกุนเรืองอำนาจ
(3) เป็นบันทึกบทเพลงจองผู้คนในราชสำนัก
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 48. ประกอบ
50. ชาวไอนุ คือใคร
(1) เป็นบรรพบุรุษรุ่นแรกที่เดินทางมาตั้งรกรากในญี่ปุ่น
(2) เป็นผู้นำอารยธรรมจีนมาเผยแพร่ในญี่ปุ่น
(3) เป็นศาสดาแห่งลัทธิชินโต
(4) เป็นนักรบผู้เก่งกล้าแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออก
ตอบ 1 หน้า 123, (คำบรรยาย) พวกไอนุ ถือว่าเป็นบรรพบุรุษกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่บนเกาะฮอกไกโดทางภาคเหนือของญี่ปุ่นในช่วงประมาณ 20,000 – 10,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยเป็นพวกที่มีเชื้อสายคอเคซอยด์มากกว่ามองโกลอยด์ ดังนั้นจึงมีลักษณะคล้ายชาวยุโรป มากกว่าชาวเอเชีย นั่นคือ เป็นคนผิวขาว หน้าแบน ตาสีฟ้า ขนดก และมีรูปร่างไม่สูงนัก ปัจจุบันพวกไอนุจะอาศัยอยู่มากบนเกาะฮอกไกโดและเกาะคูริล
51. วัฒนธรรมทูมูลิ ญี่ปุ่นรับมาจากใคร
(1) จีน
(2) มองโกเลีย
(3) เกาหลี
(4) ไต้หวัน
ตอบ 3 หน้า 124 – 125 วัฒนธรรมทูมูลิหรือวัฒนธรรมหลุมฝังศพ เป็นวัฒนธรรมความเจริญรุ่นแรกของญี่ปุ่นโบราณอย่างหนึ่งที่รับมาจากเกาหลีโดยผ่านกลุ่มชนชั้นสูงในสังคม ซึ่งจะมีลักษณะเป็น สุสานหรือหลุมฝังศพขนาดใหญ่ที่ใช้บรรจุศพของบุคคลสำคัญจองประเทศโดยเฉพาะองค์จักรพรรดิ ทั้งนี้จะมีการนำเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น รูปตุ๊กตาดินเผาหรือตัวฮานีวา อาวุธของนักรบ และเครื่องประดับต่าง ๆ ฝังรวมลงไปในหลุมฝังศพด้วย โดยเริ่มปรากฏขึ้นครั้งแรกบนเกาะคิวชิว
52. ลัทธิชินโตของญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากใคร
(1) จากธรรมชาติอันงดงามของญี่ปุ่นเอง
(2) จากจีนโดยผ่านมาทางเกาหลี
(3) จากรัสเซียโดยผ่านมาทางจีน
(4) จากอินเดียโดยผ่านมาทางจีน
ตอบ 1 หน้า 126, (คำบรรยาย) ลัทธิชินโต เป็นลัทธิดั้งเดิมของญี่ปุ่นโบราณ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากธรรมชาติอันงดงามและสิ่งแวดล้อมที่นำรื่นรมย์ของญี่ปุ่นเอง โดยเน้นการควบคุมธรรมชาติ มากกว่าความหวาดกลัว และเชื่อว่าสรรพสิ่งทั้งหลายมีวิญญาณ ดังนั้นจึงมีการนับถือธรรมชาติ โดยไม่มีเกณฑ์ใด ๆ แน่นอน ทั้งนี้ในปี ค.ศ. 1868 รัฐบาลญี่ปุ่นได้สถาปนา “ลัทธิชินโตของรัฐ” ขึ้น ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติของญี่ปุ่นที่เน้นความเป็นชาตินิยม และการนับถือองค์จักรพรรดิ ว่ามีฐานะเป็นเทพ
53. ญี่ปุ่นในสมัยโชกุนเรืองอำนาจ โชกุนตระกูลใดสร้างความเจริญให้กับประเทศมากที่สุด
(1) ตระกูลมินาโมโต
(2) ตระกูลอาชิกากา
(3) ตระกูลโตกูกาวา
(4) ตระกูลแห่งที่ราบยามาโต
ตอบ 3 หน้า 131, (คำบรรยาย) ญี่ปุ่นในสมัยศักดินาหรือสมัยโชกุนเรืองอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายใต้การนำของโชกุนตระกูลโตกูกาวานั้น นับเป็นสมัยที่สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับประเทศญี่ปุ่นมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นความเจริญทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และการศึกษา นอกจากนี้ยังเป็นสมัยที่ชาวญี่ปุ่นให้การยอมรับว่าเกิดความสงบเรียบร้อยในบ้านเมืองมากที่สุด อย่างที่ไม่เคยประสบมาก่อน จนอาจกล่าวได้ว่า “ความเจริญเติบโตของญี่ปุ่นในสมัยใหม่ต่างก็มีรากฐานมาจากความเจริญที่เกิดขึ้นในสมัยนี้เกือบทั้งนั้น”
54. พรรคการเมืองใดที่มีอำนาจบริหารประเทศญี่ปุ่นอยู่ในปัจจุบัน
(1) พรรคการเมืองใหม่
(2) พรรคประชาธิปไตยแห่งญี่ปุ่น
(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย
(4) พรรคประชาชนรุ่นใหม
ตอบ 3 (คำบรรยาย) ญี่ปุ่นมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ซึ่งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ นายชินโซะ อาเบะ หัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย ได้รับการแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012)
55. ใครคือนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นคนปัจจุบัน
(1) นายซูซูกิ
(2) นายคัง
(3) นายฟูจิมูริ
(4) นายอาเบะ
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 54. ประกอบ
56. คำว่า “ถังจิ๋ว” หมายถึงประเทศใด
(1) เกาหลี
(2) ไต้หวัน
(3) จีน
(4) ญี่ปุ่น
ตอบ 1เกาหลีโบราณมีการปกครองที่เรียกว่า“สมัย 3 อาณาจักร” (Three Kingdoms) ซึ่งเป็นอาณาจักรของชาวเกาหลีแท้ๆ ประกอบด้วย อาณาจักรโคคูเรียวหรือโคกูรยอ (มีอิทธิพลมากที่สุด) อาณาจักรปักเจ และอาณาจักรซิลลา ซึ่งได้ชื่อว่า “ถังจิ๋วหรือถังน้อย” (Little Tang) เนื่องจากได้รับเอาแบบอย่างความเจริญมาจากจีนในสมัยราขวงศ์ถัง
57. ทำไมเกาหลีในอดีตจึงเป็นประเทศที่อ่อนแอในกลุ่มเอเชียตะวันออก
(1) สถานที่ตั้งไม่ปลอดภัยเพราะอยู่ท่ามกลางประเทศมหาอำนาจ
(2) คนเกาหลีมีนิสัยชอบชักศึกเข้าบ้าน
(3) คบเกาหลียากจนเพราะขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 141, (HIS 1003 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 330) ด้วยเหตุที่เกาหลีมีสภาพทางภูมิศาสตร์ หรือสถานที่ตั้งที่ไม่ปลอดภัยเนื่องจากอยู่ท่ามกลางประเทศมหาอำนาจ 3 ชาติ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และรัสเซีย รวมทั้งอาณาจักรโบราณของชนเผ่าเร่ร่อนทางภาคเหนือ ตลอดจนความสำคัญทางจุดยุทธศาสตร์ ทำให้เกาหลีต้องตกเป็นสมรภูมิรบหลายครั้ง แม้เกาหลีจะพยายามหลีกเลี่ยงสงครามด้วยการใช้นโยบายแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยวและยึดมั่นในสันติภาพจนได้รับสมญานาม ร้า “รัฐฤๅษี” แต่เกาหลีก็ไม่เคยพบกับความสงบ ถ้าไม่ตกเป็นอาณานิคม ก็ต้องสูญเสีย อำนาจอธิปไตยไป ส่งผลให้เกาหลีในอดีตกลายเป็นประเทศที่อ่อนแอเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศ เอเชียตะวันออกด้วยกัน
58. หลังสงครามใดที่เกาหลีแตกออกเป็น 2 ประเทศจนถึงปัจจุบัน
(1) สงครามฝิ่น
(2) สงครามปราบกบฏนักมวย
(3) สงครามระหว่างเกาหลีกับญี่ปุ่นปี 1910
(4) สงครามระหว่างเกาหลีด้วยกันในปี 1950
ตอบ 3 หน้า 144, 162 สงครามระหว่างเกาหลีกับญี่ปุ่นเกิดขึ้นในช่วงปี ค.ค. 1910 – 1945 ต่อมา เมื่อญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาหลีจึงได้รับเอกราชและตกอยู่ภายใต้การดูแลร่วมของสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา ซึ่งพยายามให้มีการจัดตั้งรัฐบาลเกาหลีที่มีอำนาจเต็มขึ้น แต่ด้วยแนวคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองที่ต่างกัน เกาหลีจึงแตกแยกออกเป็น 2 ประเทศ คือ เกาหลีเหนือ (นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์) และเกาหลีใต้ (นิยมลัทธิประชาธิปไตย) ตรงเส้นขนาน ที่ 38 องศาเหนือซึ่งเป็นเขตปลอดทหาร
59. เกาหลีในสมัย 3 อาณาจักร ประกอบด้วยอาณาจักรใดบ้าง
(1) โคกูรยอ ปักเจ ซิลลา
(2) โคเรียว ยี โชซอน
(3) ปักเจ โชซอน โคกูรยอ
(4) ซิลลา คายา มิมานา
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 56. ประกอบ
60. คิม จองอึน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งใดในเกาหลีเหนือ
(1) นายกรัฐมนตรี
(2) ประธานรัฐสภา
(3) ผู้นำสูงสุดของประเทศ
(4) ผู้นำฝ่ายค้านในรัฐสภา
ตอบ 3 (คำบรรยาย) คิม จองอึน เป็นผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือคนปัจจุบัน โดยได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพประชาชนเกาหลีอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ทั้งนี้เขาได้เป็นผู้ริเริ่มการเปลี่ยนแปลงนโยบายใหม่ ๆ หลายอย่างในเกาหลีเหนือ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้แก่ประเทศ รวมทั้งมุ่งพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ ของประเทศเป็นสำคัญ
61. แหล่งอารยธรรมเริ่มแรกในเอเชียใต้เกิดขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่นํ้าใด
(1) สินธุ
(2) คงคา
(3) พรหมบุตร
(4) ยมุนา
ตอบ 1 หน้า 183 – 184, 188 อารยธรรมลุ่มม้ำสินธุเป็นอารยธรรมเริ่มแรกของเอเชียใต้และของโลก โดยเป็นอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ หรืออินดัสในประเทศปากีสถานปัจจุบัน ทั้งนี้ได้มีการขุดพบซากเมืองโบราณสำคัญ 2 เมือง คือ เมืองโมเหนโจดาโรและฮารัปปา โดยพบว่าสิ่งก่อสร้างของทั้ง 2 เมืองนั้นส่วนใหญ่ทำมาจากอิฐเผาไฟ ที่มีคุณภาพดี นอกจากนี้ชาวสินธุยังเป็นชนกลุ่มแรกของโลกที่รู้จักจัดห้องน้ำแบบยืนตักอาบ และทำท่อระบายนํ้าโสโครก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอารยธรรมลุ่มแม่นํ้าสินธุมีความเจริญสูงสุด ด้านสุขาภิบาล เมื่อเทียบกับแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกในบริเวณอื่นของโลก
62. มรดกอารยธรรมในข้อใดมีอายุน้อยที่สุด
(1) พีระมิด
(2) ปราสาทนครวัด
(3) ปราสาททัชมาฮาล
(4) อักษรคูนิฟอร์ม
ตอบ 3 หน้า 226, (คำบรรยาย) ปราสาททัชมาฮาล เป็นมรดกทางอารยธรรมของราชวงศ์โมกุลแห่งอินเดีย โดยสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 17 (ช่วงปี ค.ศ. 1630 – 1652) ในสมัยพระเจ้าซาห์เจฮาน เพื่อใช้เป็นสุสานเก็บพระศพของพระมเหสีมุมทัช ซึ่งทัชมาฮาลจะสร้างด้วยหินอ่อนสีขาว ประดับประดาด้วยอัญมณีที่ประมาณค่าไม่ได้ เป็นศิลปะฮินดูผสมมุสลิม และจัดเป็น สถาปัตยกรรมที่มีความงดงามจนนับเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ในปัจจุบันทัชมาฮาล ได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลก ทั้งนี้ รพินทรนาถ ฐากูร นักเขียนวรรณกรรมรางวัลโนเบล ได้ให้คำจำกัดความของปราสาทแห่งนี้ว่า “เป็นหยาดนํ้าตาบนใบหน้าอันงดงามแห่งนิรันดรกาล” (ดูคำอธิบายข้อ 9. และ 22. ประกอบ)
63. ประเทศใดในเอเชียใต้ที่มีเสันพรมแดนติดต่อกับประเทศอัฟกานิสถาน
(1) อินเดีย
(2) เนปาล
(3) บังกลาเทศ
(4) ปากีสถาน
ตอบ 4 หน้า 171, 173 ปากีสถานเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้โดยมีอาณาเขตหรือ เส้นพรมแดนทางทิศเหนือติดกับจีน ทางทิศตะวันตกติดกับอิหร่านและอัฟกานิสถาน ทางทิศตะวันออกติดกับอินเดีย และทางทิศใต้ติดกับทะเลอาหรับ
64. อารยธรรมเริ่มแรกในเอเชียใต้มีความเจริญสูงสุดด้านใด เมื่อเทียบกับแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกบริเวณอื่นของโลก
(1) ด้านสถาปัตยกรรม
(2) ด้านสุขาภิบาล
(3) ด้านชลประทาน
(4) ด้านการแพทย์
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ
65. จากหลักฐานด้านโบราณคดีที่พบในบริเวณแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกของเอเชียใต้ ทำให้เชื่อว่ามีการบูชาเทพเจ้าองค์ใด
(1) พระอินทร์
(2) พระอัคนี
(3) พระศิวะ
(4) พระพรหม
ตอบ 3 หน้า 186 – 187,356 (เล่มเก่า), (HIS 1003 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 83) ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่นํ้าสินธุอันเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุซึ่งเป็นอารยธรรมเริ่มแรกของเอเชียใต้นั้น ได้มีการขุดพบดวงตราที่มีการแกะสลักเป็นรูปพระศิวะนั่งขัดสมาธิอยู่บนบัลลังก์ และมีสัตว์อยู่ล้อมรอบ (ปางปศุบดี) นอกจากนี้ยังพบหินสลักเป็นรูปศิวลึงค์ซึ่งเป็นลัทธิหนึ่ง ในไศวนิกายของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู จึงทำให้เชื่อกันว่าชาวสินธุมีการเคารพบูชาพระศิวะ และได้กลายเป็นมรดกทางศาสนาให้ชาวฮินดูนับถือมาจนถึงปัจจุบัน
66. สัตว์ชนิดใดถือเป็นหน่วยวัดความมั่งคั่งของพวกอารยันสมัยพระเวท
(1) ช้าง
(2) ม้า
(3) ควาย
(4) วัว
ตอบ 4 หน้า 193 ในสมัยพระเวท สัตว์ที่ชาวอารยันให้ความสำคัญมากทื่สุดก็คือ วัวตัวเมีย ซึ่งถือว่า เป็นหน่วยวัดความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ อีกทั้งวัวตัวเมียยังให้แรงงาน ให้นม-เนย และลูกด้วย
67. ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ คนในวรรณะใดที่พระเจ้าสร้างจากพระพาหา
(1) พราหมณ์
(2) กษัตริย์
(3) แพศย์
(4) ศูทร
ตอบ 2 หน้า 195 – 196, (คำบรรยาย) ในเรื่องระบบวรรณะของสังคมอินเดียโบราณจะเป็นไปตามคติความเชื่อชองศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งเชื่อว่า พระเจ้า (พระพรหม) เป็นผู้สร้าง โดยทรงสร้างมนุษย์เพื่อสันติจากอวัยวะของพระองค์ 4 ล่วน ได้แก่
1. วรรณะพราหมณ์ (สร้างจากพระโอษฐ์หรือปาก) จัดเป็นชนชั้นสูงสุดของสังคม ได้แก่ นักบวช นักปราชญ์ และครูอาจารย์
2. วรรณะกษัตริย์(สร้างจากพระพาหาหรือแขน) ได้แก่ นักปกครอง ทหารหรือนักรบ และตำรวจ
3. วรรณะแพศย์หรือไวศยะ (สร้างจากพระโสณีหรือสะโพก) ได้แก่ เกษตรกร พ่อค้า นายธนาคาร ฯลฯ
4. วรรณะศูทร (สร้างจากพระบาทหรือเท้า) จัดเป็นชนชั้นต่ำสุดของสังคม ได้แก่ พวกกรรมกร และข้าหรือทาส
68. ขงจื๊อกล่าวว่า ‘‘สังคมจะสงบสุข ถ้าทุกคนปฏิบัติตามหน้าที่” หลักปฏิบัติตามหน้าที่ของฮินดูประกาศชัดเจน ในเรื่องใด
(1) พิธีบูชายัญ
(2) ระบบวรรณะ
(3) หลักอาศรม 4
(4) การบวงสรวงเซ่นไหวั
ตอบ 3 หน้า 199, (คำบรรยาย) ตามคำสอนของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูนั้น หลักอาศรม 4 หมายถึง ธรรมหรือหลักการปฏิบัติหน้าที่ของตนตามวัยหรือตามขั้นตอนของชีวิต ซึ่งประกอบด้วย
1. พรหมจรรยาศรมหรือพรหมจารี (อายุ 1 – 25 ปี) เป็นวัยแห่งการศึกษา
2. คฤหัสถาศรมหรือคฤหัสถ์ (อายุ 26 – 50 ปี) เป็นวัยแห่งการครองเรือนหรือการแต่งงานมีครอบครัว
3. วานปรัสถาศรมหรือวานปรัสถ์ (อายุ 51 – 75 ปี) เป็นวัยแห่งการบริการสังคม
4. สันยัสตาศรมหรือสันยาสี (อายุ 76 – 100 ปี) เป็นวัยแห่งการกระทำเพื่อมนุษยชาติ โดยการออกบวชตลอดชีพเพื่อแสวงหาโมกษะ
69. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของศาสนาเชน
(1) อหิงสาเป็นหัวใจคำสอน
(2) การอดอาหารตายเป็นการปฏิบัติขั้นสูงสุด
(3) ปฏิเสธการฆ่าสัตว์บูชายัญ
(4) เชื่อในเรื่องพระเจ้า
ตอบ 4 หน้า 202 – 203, 205 – 207 ศาสนาเชนมีหลักคำสอนที่คล้ายคลึงกับศาสนาพุทธมากที่สุด โดยมีลักษณะคำสอนเป็นแบบอเทวนิยมซึ่งขัดแย้งกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดูหลายเรื่อง เช่น ไม่เชื่อในเรื่องพระเจ้าสร้างโลก ระบบวรรณะ การล้างบาปในแม่นํ้าคงคาอันศักดิ์สิทธิ์ ปฏิเสธการฆ่าสัตว์บูชายัญ ฯลฯ ทั้งนี้เชนจะเน้นหัวใจคำสอนในเรื่องการไม่เบียดเบียน (หลักอหิงสา)เป็นคุณธรรมอย่างยิ่งทั้งในระดับคฤหัสถ์ทั่วไปและระดับนักบวช โดยเฉพาะนักบวชนั้น ต้องฉันอาหารแบบมังสวิรัติและฉันมื้อเดียว และต้องถือศีลอดโดยทรมานตนด้วยการอดอาหาร ถ้าปฏิบัติขั้นสูงสุดก็ให้อดอาหารจนตาย
70. ศาสนาใดที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับสูงสุดในเอเชียใต้
(1) ฮินดู
(2) อิสลาม
(3) สิกข์
(4) คริสต์
ตอบ 1 หน้า 175 ภูมิภาคเอเชียใต้หรืออนุทวีปอินเดียได้ชื่อว่าเป็นดินแดนที่ประชากรมีความหลากหลาย ในการนับถือศาสนา โดยคิดเป็นอัตราส่วนร้อยละเรียงตามลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้
1. พราหมณ์-ฮินดู 83.5%
2. อิสลาม 10.7%
3. คริสต์ 2.4%
4. สิกข์ 1.8%
5. เชน พุทธ โซโรแอสเตอร์และอื่น ๆ 1.6%
71. พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงใช้อำนาจปกครองแบบพ่อปกครองลูกและทรงเป็นธรรมราชา ถามว่า ทรงดำเนินการเหมือนกับกษัตริย์พระองค์ใดของอินเดีย
(1) พระเจ้าพิมพิสาร
(2) พระเจ้าจันทรคุปต์
(3) พระเจ้าอโศก
(4) พระเจ้ากนิษกะ
ตอบ 3 หน้า 214 – 215, (คำบรรยาย) พ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งอาณาจักรสุโขทัยของไทย ทรงใข้อำนาจปกครองราษฎรแบบพ่อปกครองลูก และทรงเป็นธรรมราชา ซึ่งจะเหมือนกับการปกครองในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งราชวงค์เมารยะหรือโมริยะของอินเดีย
72. สถานที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือสวนลุมพินีวัน ถามว่าปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศใด
(1) อินเดีย
(2) เนปาล
(3) ปากีสถาน
(4) ศรีลังกา
ตอบ 1 หน้า 203, (HIS 1003 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 104) ศาสดาของศาสนาพุทธคือ พระพุทธเจ้าหรือสิทธัตถะ ซึ่งทรงประสูติเมื่อวันเพ็ญเดือน 6 ขึ้น 15 คํ่า ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ณ สวนลุมพินีวัน บริเวณกรุงกบิลพัสดุ ในประเทศอินเดียปัจจุบัน จากนั้นเมื่อพระชนมายุได้ 29 ปี ได้ทรงออกผนวช เพื่อแสวงหาสัจธรรม โดยทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาที่ฝั่งแม่นํ้าเนรัญชราเป็นเวลา 6 ปี และได้ตรัสรู้ ใต้ต้นโพธิ์ หลังจากนั้นพระองค์ได้ใช้เวลา 45 ปี ในการเผยแผ่ศาสนาไปยังเมืองต่างๆ
73. สุวรรณวิหารหรือวิหารทองคำในแคว้นปัญจาบ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาใด
(1) สิกข์
(2) เชน
(3) พุทธ
(4) ฮินดู
ตอบ 1 (HIS 1003 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 129, 131) ศาสนาสิกข์เกิดขึ้นในแคว้นปัญจาบเมื่อปี ค.ศ. 1440 ซึ่งผู้ที่ก่อตั้งคือ ท่านกะบีร์ โดยมีเป้าหมายที่จะรวมเอาศาสนาฮินดูและศาสนาอิสลาม เข้าด้วยกัน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ สำหรับผู้ที่ประกาศศาสนานี้อย่างจริงจังคือ คุรุนานัก โดยศูนย์กลางของศาสนาสิกข์อยู่ที่สุวรรณวิหารหรือวิหารทองคำ เมืองอมฤตสาร์ แคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน
74. พุทธศาสนาเจริญสูงสุดจนถึงขั้นส่งสมณทูตออกไปเผยแผ่นอกชมพูทวีปครั้งแรก เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ใด
(1) เมารยะ
(2) คุปตะ
(3) กุษาณะ
(4) โมกุล
ตอบ 1 หน้า 213 – 217 ในสมัยราชวงศ์เมารยะแห่งอินเดียภายใต้การนำของพระเจ้าอโศกมหาราขนั้น ถือเป็นสมัยที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองสูงสุด โดยพระองศ์ทรงส่งสมณทูตออกไปเผยแผ่ศาสนา รวม 9 สายไปทั่วอินเดียทุกภาคและออกนอกประเทศอินเดีย (ชมพูทวีป) เป็นครั้งแรก รวมทั้งยังโปรดให้สร้างพระธรรมจักรขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนพระธรรมคำสอน เช่น ปางปฐมเทศนาจะทำเป็นภาพพระธรรมจักรและมีกวางหมอบ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงโปรด ปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันหรือป่ากวางแห่งกรุงราชคฤห์ เป็นต้น
75. บทละครเรื่องศกุนตลา เป็นผลงานในราชวงศ์ใด
(1) เมารยะ
(2) คุปตะ
(3) กุษาณะ
(4) โมกุล
ตอบ 2 หน้า 219 ในสมัยราชวงศ์คุปตะได้ชื่อว่าเป็น “ยุคทองของอินเดียโบราณ” และเป็น “ยุคทองของวรรณคดีสันสกฤต” โดยกวีเอกในสมัยนี้ได้แก่ กาลิทาส ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น “เช็คสเปียร์แห่งอินเดีย” โดยผลงานเด่นที่รู้จักไปทั่วโลกคือ บทละครเรื่องศกุนตลา
76. พระธรรมจักรและกวางหมอบเป็นสัญลักษณ์หมายถึงปางปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้า ถามว่าสัญลักษณ์ ดังกล่าวเริ่มมีครั้งแรกในรัชกาลใด
(1) พระเจ้าจันทรคุปต์
(2) พระเจ้าพินทุสาร
(3) พระเจ้าอโศก
(4) พระเจ้ามิลินท์
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 74. ประกอบ
77. จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่สุดท้ายของอินเดียก่อนตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 องค์ประมุข นับถือศาสนาใด
(1) ฮินดู
(2) สิกข์
(3) อิสลาม
(4) พุทธ
ตอบ 3 หน้า 213, 224 – 225 จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ของอินเดียในประวัติศาสตร์มี 3 อาณาจักร ได้แก่ จักรวรรดิเมารยะ จักรวรรดิคุปตะ และจักรวรรดิโมกุล ซึ่งจักรวรรดิโมกุลถือว่าเป็นจักรวรรดิสุดท้ายก่อนที่อินเดียจะตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเป็นกลุ่มชนมุสสิมเชื้อสายมองโกลที่นับถือศาสนาอิสลาม มีองค์ประมุขหรือจักรพรรดิมุสลิมปกครอง 6 พระองศ์ ซึ่งองค์สุดท้ายคือ พระเจ้าโอรังเซ็บ
78. กษัตริย์พระองค์ใดที่เชื่อกันว่าเป็นสาเหตุแห่งความเสื่อมของจักรวรรดิโมกุล
(1) พระเจ้าอักบาร์
(2) พระเจ้าหุบายัน
(3) พระเจ้าจาหันกีร์
(4) พระเจ้าโอรังเซ็บ
ตอบ 4 หน้า 225 – 226 พระเจ้าโอรังเซ็บเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของจักรวรรดิโมกุลที่มีพระทัยแคบที่สุดในเรื่องศาสนา โดยทรงเป็นมุสลิมที่เคร่งครัดอย่างมาก ทรงขาดขันติธรรมในศาสนา และบังคับให้คนปฎิบัติตามกฎของศาสนาอิสลาม จนเป็นสาเหตุที่ทำให้รัฐต่าง ๆ แยกตัว เป็นอิสระส่งผลให้อาณาจักรที่เคยมั่นคงแตกแยกและค่อย ๆ เสื่อมลงในที่สุด
79. ศาสนาสิกข์เกิดจากการนำเอาหลักคำสอนบางประการของศาสนาฮินดูกับศาสนาอะไรมาผสมกัน
(1) พุทธ
(2) คริสต์
(3) อิสลาม
(4) เชน
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 73. ประกอบ
80. “คนพาลทำความชั่ว แม้จะไปสู่แม่นํ้าแห่งใดก็ไม่บริสุทธิ์ขึ้นมาได้” ข้อความดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธความเชื่อในเรื่องใดของศาสนาพราหมณ์
(1) การบูชายัญ
(2) ระบบวรรณะ
(3) การล้างบาป
(4) พระเจ้า
ตอบ 3 หน้า 205 – 207, (ดูคำอธิบายข้อ 69. ประกอบ) พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธความเชื่อของศาสนา พราหมณ์-ฮินดูเหมือนกับศาสนาเชนเรื่องหนึ่ง คือ การล้างบาปในแม่นํ้าคงคาอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเห็นได้จากคำกล่าวที่ว่า “คนพาลทำความชั่ว แม้จะไปสู่แม่นํ้าแห่งใดก็ไม่บริสุทธิ์ขึ้นมาได้”
81. ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ชาติมหาอำนาจคู่ใดแข่งขันกันสร้างอิทธิพลในอินเดีย
(1) อังกฤษ-ฝรั่งเศส
(2) อังกฤษ-ดัตช์
(3) โปรตุเกส-ดัตช์
(4) ฝรั่งเศส-ดัตช์
ตอบ 1 หน้า 231, (HIS 1003 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 134) ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 อังกฤษและฝรั่งเศส ได้ทำสงคราม 7 ปี (ค.ศ. 1756 – 1763) เพื่อแข่งขันกันสร้างอิทธิพลในอินเดีย ผลปรากฏว่า อังกฤษเป็นฝ่ายชนะ หลังจากนั้นทั้งสองประเทศได้ยุติสงครามลงด้วยสนธิสัญญาปารีสในปี ค.ศ. 1763 ส่งผลสำคัญทำให้อังกฤษแสวงหาอำนาจทางการค้าและการเมืองในอินเดียเพียงชาติเดียว จนสามารถครอบครองอินเดียได้ทั้งประเทศโดยสมบูรณ์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19
82. พิธีสุตตีหรือสตี (Suttee or Satee) เป็นพิธีเกี่ยวกับอะไร
(1) ฆ่าคนบูชายัญ
(2) การแต่งงานในวัยเด็ก
(3) ฆ่าเด็กทารกแรกเกิด
(4) หญิงม่ายเผาตัวตายทั้งเป็นพร้อมศพสามี
ตอบ 4 หน้า 232 – 234 Lord Dalhousie เป็นข้าหลวงใหญ่ชาวอังกฤษที่ได้ออกกฎหมายแทรกแซงอินเดียหลายเรื่อง จนเป็นชนวนที่ทำให้เกิด “กบฏซีปอย” ขึ้นในปี ค.ศ. 1857 ซึ่งการแทรกแซง ดังกล่าวมีดังนี้
1. ออกกฎหมายยึดครองดินแดนที่เรียกว่า “The Doctrine of Lapse”
2. ออกกฎหมายสำรวจโฉนดที่ดิน
3. ออกกฎหมายแทรกแซงทางด้านสังคมและศาสนา เช่น ให้ยกเลิกพิธีสุตตีหรือสตี (Suttee or Satee) ที่หญิงม่ายต้องเผาตัวตายทั้งเป็นพร้อมศพสามี, ออกกฎหมายให้หญิงม่าย แต่งงานใหม่ได้, ยกเลิกการฆ่าเด็กทารกแรกเกิดและบระเพณีฆ่าคนบูชายัญ ฯลฯ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ถือว่าเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดกบฏซีปอย
4. สาเหตุปัจจุบันทันด่วนคือ อังกฤษได้นำปืนเล็กยาว (Enfield Rifle) มาให้ทหารซีปอยใช้ โดยได้นำนํ้ามันหมูและไขวัวมาใข้เป็นน้ำมันหล่อลื่นลูกปืนชนิดใหม่ ทำให้ทหารซีปอย ทั้งมุสลิมและฮินดูรู้สึกว่าเป็นการดูหมิ่นศาสนาของตน
83. ข้อใดคือเหตุปัจจุบันทันด่วนที่ทำให้เกิดกบฏซีปอยขึ้น
(1) The Doctrine of Lapse
(2) การออกกฎหมายยกเลิกการฆ่าคนบูชายัญ
(3) การออกกฎหมายสำรวจโฉนดที่ดิน
(4) การที่อังกฤษนำปืนชนิดใหม่มาให้ทหารซีปอยใช้
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 82. ประกอบ
84. นโยบายของอังกฤษภายหลังกบฏซีปอยคือการไม่เข้าแทรกแซงอินเดยในด้านใด
(1) ด้านการศึกษา
(2) ด้านสาธารณสุข
(3) ด้านคมนาคม
(4) ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี
ตอบ 4 หน้า 234, 447 – 448 (เล่มเก่า) ภายหลังเหตุการณ์กบฏซีปอย รัฐบาลอังกฤษได้ดำเนินนโยบาย ปกครองอินเดียเป็นแบบอนุรักษนิยม โดยถือเป็นนโยบายสำคัญที่จะไม่แทรกแซงทางด้านสังคม และขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอินเดีย แต่จะปฏิบัติกิจกรรมทางสังคมเฉพาะในกลุ่มของคนอังกฤษเท่านั้น นอกจากนี้ยังทำให้องค์ประมุขของอังกฤษเข้ามาปกครองอินเดียแทนบริษัท อินเดียตะวันออกตามพระราชบัญญัติ The Better Government of India 1858 อีกด้วย
85. อะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้อังกฤษชนะกบฏซีปอย
(1) ทหารอังกฤษมีความชำนาญในการรบมากกว่า
(2) ทหารอังกฤษมีอาวุธที่ทันสมัยกว่า
(3) ระบบสื่อสารของอังกฤษมีประสิทธิภาพสูงกว่า
(4) ชาวอินเดียแตกความสามัคคี
ตอบ 4 หน้า 234 สาเหตุสำคัญที่ทำให้อังกฤษชนะกบฏซีปอยได้ มีดังนี้
1. ผู้นำทัพและทหารอังกฤษ มีประสบการณ์และความชำนาญในการรบมากกว่า และมีอาวุธที่ทันสมัยกว่า
2. อังกฤษมีระบบและเครื่องมือการสื่อสารที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงกว่าซึ่งก็คือ เครื่องโทรเลขที่ช่วยให้สามารถส่งข่าวได้อย่างรวดเร็ว 3. ผู้ปกครองหลายรัฐเข้าร่วมกับอังกฤษ เพื่อปราบกบฏซีปอย อันแสดงให้เห็นถึงการแตกความสามัคคีในหมู่ชาวอินเดียเอง ซึ่งถือเป็น สาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้อังกฤษเอาชนะกบฏซีปอยได้สำเร็จ
86. “อินเดียของอังกฤษ” (British India) หมายถึงบริเวณใด
(1) ดินแดนตะวันตกของอินเดียทั้งหมดซึ่งเป็นฐานทัพเรือที่สำคัญ
(2) ดินแดนที่อังกฤษซื้อมาจากดัตช์ เพราะดัตช์ถอนตัวไปตั้งที่อินโดนีเซีย
(3) ดินแดนที่อังกฤษปกครองโดยตรง ส่วนใหญ่เป็นเมืองชายทะเล
(4) ดินแดนที่อังกฤษใช้เจ้าผู้ครองนครปกครองกันเอง อังกฤษคุมเฉพาะบางด้าน
ตอบ 3 หน้า 234 – 235, (คำบรรยาย) หลังจากที่อังกฤษเข้าปกครองอินเดียในปี ค.ค. 1858 แล้ว อังกฤษได้ดำเนินการปกครองอินเดียทั้งทางตรงและทางอ้อมดังนี้
1. ดินแดนที่อังกฤษปกครองโดยตรง เรียกว่า “อินเดียของอังกฤษ” (British India) มีเนื้อที่ประมาณ 2 ใน 3 ของประเทศ ส่วนมากเป็นรัฐหรือมณฑลที่ตั้งอยู่ตามชายฝั่งทะเลรวม 11 รัฐ และเป็นรัฐใหญ่ที่มีความสำคัญทั้งทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และการต่างประเทศ
2. ดินแดนที่อังกฤษปกครองโดยอ้อม เรียกว่า “รัฐอิสระ” (Indian States) มีเกือบ 600 รัฐ ครอบคลุมเนื้อที่ประมาณฺ 1 ใน 3 ของประเทศ มีการปกครองที่ขึ้นตรงต่อเจ้าผู้ครองนครรัฐ หรือสุลต่าน โดยอังกฤษจะคุมเฉพาะด้านต่างประเทศ การทหาร และการคลัง
87. ด้วยเหตุใดชาวอินเดียจึงชื่นชอบ The Morley–Minto Reforms
(1) ชาวอินเดียได้สิทธิเข้าไปนั่งในสภา
(2) ชาวอินเดียได้สิทธิมีอาวุธในครอบครอง
(3) ชาวอินเดียมีสิทธิออกหนังสือพิมพ์เป็นภาษาท้องถิ่น
(4) หญิงม่ายชาวอินเดียได้สิทธิแต่งงานใหม่
ตอบ 1 หน้า 242 – 243 ในปี ค.ค. 1909 อังกฤษได้ออกกฎหมายปฏิรูปมอร์เลย์-มินโต (The Morley–Minto Reforms) ซึ่งมีสาระสำคัญคือ การเปิดโอกาสให้ชาวอินเดียได้เข้าไปนั่งในสภาเป็นครั้งแรก ด้วยการให้สิทธิชาวอินเดียเลือกผู้แทน 2 คน เพื่อเข้าเป็นสมาชิกสภารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอินเดียทกรุงลอนดอน โดยชาวอินเดีย 1 คนจะประจำอยู่ในสภาบริหารของข้าหลวงใหญ่อังกฤษ ในส่วนกลาง ส่วนอีกคนหนึ่งจะประจำอยู่ในสภาระดับท้องถิ่นคือ สภาบริหารประจำแคว้น แต่ละแคว้นของอินเดีย ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ถูกมองว่าเป็นการปูพื้นฐานการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาให้แก่อินเดีย
88. วิธีการต่อสู้โดยยึดหลักอหิงสาหรือการต่อสู้โดยขบวนการสัตยาเคราะห์ เป็นแนวทางการตอสู้ของ นักชาตินิยมคนใด
(1) เนห์รู
(2) คานธี
(3) อาลี จินนาห์
(4) ติลัก
ตอบ 2 หน้า 241 – 242 มหาตมะ คานธี เป็นนักชาตินิยมที่เรียกร้องเอกราชให้อินเดีย โดยใช้วิธีการต่อสู้ที่เรียกว่า “การต่อต้านเงียบ” หรือ “ขบวนการสัตยาเคราะห์” ซึ่งเป็นการต่อสู้โดย สันติวิธีและไม่ใช้กำลัง แต่ใช้พลังธรรมะและการเจรจาต่อรอง โดยสัตยาเคราะห์ประกอบด้วย หลักใหญ่ 3 ประการ ได้แก่
1. สัตยะ คือ ความจริง
2. อหิงสา คือ ความไม่เบียดเบียนให้เสียเลือดเนื้อ ไม่ใช้กำลัง หรือวิธีรุนแรง
3. การดื้อแพ่ง คือ การไม่ปฏิบัติตาม ไม่เชื่อฟัง และไม่ใช้อาวุธต่อสู้กับผู้ปกครอง
89. ท่านคิดว่าชาวปากีสถานกับชาวบังกลาเทศมีเรื่องใดเหมือนกันที่สุด
(1) เชื้อชาติ
(2) ผิวพรรณ
(3) ภาษา
(4) ศาสนา
ตอบ 4 (คำบรรยาย) จากการเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของชาวปากีสถาน (ปากีสถานตะวันตก) กับชาวบังกลาเทศ (ปากีสถานตะวันออก) พบว่า ชาวปากีสถานกับชาวบังกลาเทศจะมีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องเชื้อชาติ วิถีชีวิต ผิวพรรณ ภาษา และ ศิลปวัฒนธรรม แต่มีสิ่งที่เหมือนกันเพียงเรื่องเดียวคือ คนส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมซึ่งนับถือ ศาสนาอิสลาม
90. “สาธุ! เจ้าพ่อที่ศักดิ์สิทธิ์ ถ้าลูกช้างสอบ HIS 1002 ได้ A จะนำพวงมาลัยยาว 20 เมตรมาถวาย”
ถามว่าการกระทำดังกล่าวสะท้อนอิทธิพลของศาสนาใดที่สุด
(1) พราหมณ์
(2) พุทธ
(3) เชน
(4) อิสลาม
ตอบ 1 หน้า 202 – 203, 205 – 206, (คำบรรยาย) ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมีลักษณะคำสอนเป็นแบบเทวนิยม คือ เชื่อในเรื่องพระเจ้าสร้างโลก ระบบวรรณะ การล้างบาปในแม่นํ้าคงคาอันศักดิ์สิทธิ์ การฆ่าสัตว์บูชายัญ และการสวดอ้อนวอนหรือบวงสรวงเพื่อขอพรจากพระเจ้า ซึ่งการกระทำที่สะท้อนถึงอิทธิพลของศาสนานี้ เช่น “สาธุ! เจ้าพ่อที่ศักดิ์สิทธิ์ ถ้าลูกช้างสอบ HIS 1002 ได้ A จะนำพวงมาลัยยาว 20 เมตรมาถวาย” เป็นต้น
91. คำว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เริ่มมีใช้เมื่อใด
(1) สงครามโลกครั้งที่ 1
(2) สงครามโลกครั้งที่ 2
(3) สงครามนโปเลียน
(4) สงครามอินโดจีน
ตอบ 2 หน้า 255 คำว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” (South East Asia) เป็นคำใหม่ที่เพิ่งเริ่มมีใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรได้จัดตั้ง “กองบัญชาการด้าน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ขึ้นมา เพื่อประสานงานการทำสงครามโลกกับญี่ปุ่นในภูมิภาคนี้
92. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ระหว่างมหาสมุทรใด
(1) มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก
(2) มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอาร์กติก
(3) มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแอตแลนติก
(4) มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรแอตแลนติก
ตอบ 1 หน้า 255, 541 (เล่มเก่า), (คำบรรยาย) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชีย ซึ่งแบ่งมหาสมุทรอินเดีย (ฝั่งทะเล อันดามันของไทย) และมหาสมุทรแปซิฟิก (ฝั่งอ่าวไทยและทะเลจีนใต้) ออกจากกัน โดยมีช่องแคบ เล็ก ๆ 4 แห่งเป็นทางเชื่อมระหว่างมหาสมุทรทั้งสอง ได้แก่ ช่องแคบมะละกา (เชื่อมระหว่างแหลมมลายูกับเกาะสุมาตรา) ช่องแคบซุนดา ช่องแคบลอมบอก และช่องแคบมาคัสซาร์
93. ช่องแคบใดอยู่ระหว่างแหลมมลายูกับเกาะสุมาตรา
(1) ช่องแคบแมกแจนแลบ
(2) ช่องแคบมาคัสซาร์
(3) ช่องแคบมะละกา
(4) ช่องแคบซุนดา
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 92. ประกอบ
94. เทือกเขาใดที่กั้นเขตแดนระหว่างประเทศพม่า อินเดีย และบังกลาเทศ
(1) อารกันโยมา
(2) ตะนาวศรี
(3) หิมาลัย
(4) เปกูโยมา
ตอบ 1 หน้า 256, 542 (เล่มเก่า) เทือกเขาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีแนวต่อจากเทือกเขาหิมาลัย และเทือกเขาต่าง ๆ ทางตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัยในจีน ซึ่งเทือกเขาที่สำคัญ เช่น เทือกเขาอารกันโยมาซึ่งทอดตัวอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศพม่า และกั้นเขตแดนระหว่างพม่า กับอินเดียและบังกลาเทศ, เทือกเขาเปกูโยมาในพม่า, เทือกเขาตะนาวศรีซึ่งกั้นระหว่างพม่า กับไทยไปถึงมลายู, เทือกเขาคาร์ดามันในกัมพูชาและลาว และเทือกเขาอันนาไมท์ซึ่งแยกพื้นที่ ของเวียดนามออกจากพื้นที่ของลาวและกัมพูชา
95. ภาษาไทยจัดอยู่ในกลุ่มภาษาพูดตระกูลใด
(1) ทิเบโต-ไชนีส
(2) ออสโตร-เอเชียติก
(3) มาลาโย-โพลีเนเชียน
(4) ไท-กะได
ตอบ 4 หน้า 259, (คำบรรยาย) ประชากรของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งออกตามภาษาพูด ได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
1. กลุ่มพูดภาษาตระกูลทิเบโต-ไชนีส (Sino–Tibetan) ได้แก่ ภาษาจีน ภาษาทิเบต-พม่า ภาษากะเหรี่ยง และภาษาแมว-เย้า
2. กลุ่มพูดภาษาตระกูลไท-กะได (Tai–Kadai) ได้แก่ ภาษาไทหรือไต และภาษากะได สำหรับภาษาไทยในปัจจุบันก็จัดอยู่ในตระกูลนี้ด้วย
3. กลุ่มพูดภาษาตระกูล ออสโตร-เอเชียติก (Austro–Asiatic) ได้แก่ ภาษามอญ-เขมร ภาษาเวียด-มวง และภาษาเซนอย-เซมัง
4. กล่มพูดภาษาตระกูลออสโตรเนเชียนหรือมาลาโย-โพลีเนเชียน (Austronesian หรือ Malayo–Polynesian) ได้แก่ ภาษาจาม และภาษามาเลย์
96. ข้อใดคือลักษณะเด่นของวัฒนธรรมดองซอน
(1) สร้างบ้านไม้
(2) มีการใช้เหล็ก
(3) มีการทำกลองมโหระทึก
(4) มีการปลูกข้าว
ตอบ 3 หน้า 270, (คำบรรยาย) วัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในยุคเหล็กหรือยุคโลหะ ได้แก่
1. วัฒนธรรมดองซอน เป็นวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นทางตอนเหนือของเวียดนาม โดยมีการขุดค้นพบ โบราณวัตถุที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้หลายอย่างที่ทำจากสำริดแสะเหล็ก เช่น มีดสั้น ดาบ ขวาน เครื่องประดับ และที่เด่นที่สุดก็คือ กลองมโหระทึกสำริด
2. วัฒนธรรมบ้านเชียง เป็นวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นที่ อ.หนองหาน จ.อุดรธานี โดยมีการขุดด้นพบ ภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดงบนพื้นสีขาวนวล ซึ่งมีอายุราว 2,300 – 1,800 ปี
97. วัฒนธรรมแทมปาเนียนจัดเป็นวัฒนธรรมที่อยู่ในยุคใด
(1) ยุคหินเก่า
(2) ยุคหินกลาง
(3) ยุคหินใหม่
(4) ยุคเหล็ก
ตอบ 1 หน้า 266 ยุคหินเก่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอายุประมาณ 500,000 — 10,000 ปีมาแล้ว ซึ่งวัฒนธรรมหินเก่าในภูมิภาคนี้จะมีชื่อวัฒนธรรมแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ตามสถานที่ที่พบก่อน ได้แก่ วัฒนธรรมอันยาเธียนในพม่า วัฒนธรรมฟิงนอยเอียนในไทย วัฒนธรรมแทมปาเนียนในมาเลเซีย และวัฒนธรรมปัตจิตาเนียนในอินโดนีเซีย
98. ยุคใดจัดว่าเป็นการปฏิวัติเกษตรกรรมของมนุษย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(1) ยุคหินเก่า
(2) ยุคหินกลาง
(3) ยุคหินใหม่
(4) ยุคสำริด
ตอบ 3 หน้า 268, (คำบรรยาย) ยุคหินใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอายุประมาณ 6,000 – 4,000 ปี มาแล้ว ซึ่งเป็นยุคของการปฏิวัติเกษตรกรรม โดยมนุษย์จะเริ่มทำการเกษตรกรรมซึ่งเป็นเศรษฐกิจแบบใหม่คือ เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะการปลูกข้าวและผลไม้หลาย ๆ ชนิด นอกจากนี้ยังเป็นยุคที่เริ่มมีการสร้างที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งแล้วอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้าน เริ่มรู้จักการทำเครื่องจักสาน ภาชนะดินเผา และเครื่องมือหินขัดขึ้นใช้ มีการแบ่งงานกันทำ และมีการติดต่อกันระหว่างชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ดังนั้นยุคหินใหม่จึงเป็นยุคของ การเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
99. การปลูกข้าวปรากฎขึ้นในช่วงยุคใด
(1) ยุคหินเก่า
(2) ยุคหินกลาง
(3) ยุคหินใหม่
(4) ยุคสำริด
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 98. ประกอบ
100. “สุวรรณภูมิ” หมายถึงบริเวณใด
(1) พม่า
(2) ไทย
(3) มาเลเซีย
(4) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตอบ 4 หน้า 271 – 272 เนื่องจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่พ่อค้า นักเดินเรือ และนักแสวงโชคชาวจีน อินเดีย เปอร์เซีย กรีก และโรมัน ดังนั้นจึงมีเอกสารโบราณของ กลุ่มประเทศเหล่านี้กล่าวถึงดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเรียกว่า “ ดินแดนสุวรรณภูมิ”หรือดินแดนแห่งทองคำ
101. ข้อใดไม่ใช่หลักฐานจากอินเดียที่แสดงการติดต่อระหว่างอินเดียกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(1) ศัมภีร์อรรถศาสตร์
(2) คัมภีร์ปุราณะ
(3) หนังสือเรื่อง Geographia
(4) ชาดก
ตอบ 3 หน้า 272 – 273, 558 – 559 (เล่มเก่า) หลักฐานที่แสดงถึงการติดต่อระหว่างอินเดียกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีดังนี้
1. หลักฐานจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ จารึกเกี่ยวกับอาณาจักรฟูนันและแหลมมลายู
2. หลักฐานจากโรมัน ได้แก่ หนังสือเรื่องภูมิศาสตร์ (Geographia) ของปโทเลมี
3. หลักฐานจากอินเดีย ได้แก่ มหากาพย์รามายณะคัมภีร์อรรถศาสตร์ ชาดก คัมภีร์ปุราณะ นิเทสสะ และจารึกพระเจ้าอโศกมหาราช
4. หลักฐานของจีน ได้แก่ บันทึกการเดินทางของราชทูตจีน
102. อิทธิพลจีนส่งผลแก่วัฒนธรรมของชาติใดมากที่สุด
(1) ฟิลิปปินส์
(2) เวียดนาม
(3) กัมพูชา
(4) มาเลเซีย
ตอบ 2 หน้า 275, (HIS 1003 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 368 – 369) เวียดนามเป็นประเทศเดียวในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีนโดยตรง ซึ่งวัฒนธรรมที่จีนนำมาให้ เวียดนาม ได้แก่
1. การปกครองแบบโอรสสวรรค์หรืออาณัติสวรรค์
2. ระเบียบการบริหาร ราชการและระบบการสอบไล่เข้ารับราชการหรือการสอบจอหงวนตามลัทธิขงจื๊อ
3. ลัทธิขงจื๊อและศาสนาพุทธนิกายมหายาน
4. วรรณคดีและอักษรศาสตร์
5. วัฒนธรรมความเป็นอยู่และประเพณี เช่น การแต่งกาย การกิน การแต่งงาน การทำศพ เป็นต้น
103. ตามความเชื่อของชาวฟูนันเชื่อว่ากษัตริย์อยู่ในฐานะใด
(1) เจ้าแห่งแม่น้ำ
(2) เจ้าแห่งป่าไม้
(3) เจ้าแห่งภูเขา
(4) เจ้าแห่งสุวรรณภูมิ
ตอบ 3 หน้า 279 – 281, 568 (เล่มเก่า) จากเอกสารของจีนได้บันทึกเอาไว้ว่า ฟูนันเป็นอาณาจักร ที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 โดยมี เมืองหลวงชื่อ วยาธปุระ มีเมืองท่าที่สำคัญคือ เมืองออกแก้ว และมีศูนย์กลางของอาณาจักร อยู่ทางตอนใต้ของประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน ทั้งนี้คำว่า “ฟูนัน” เป็นการเรียกตามแบบจีน หากมาจากภาษาเขมรจะเรียกว่า “บนัมหรือพนม” แปลว่า ภูเขา และชาวฟูนันจะเรียกประมุขว่า “กุรุง บนัม” แปลว่า กษัตริย์แห่งภูเขา เนื่องจากชาวฟูนันเชื่อว่ากษัตริย์จะอยู่ในฐานะเจ้าแห่งภูเขา (Kings of the Mountains) หรือไศลราชา
104. เมืองหลวงของฟูนันคือเมืองใด
(1) เมืองออกแก้ว
(2) เมืองวยาธปุระ
(3) เมืองนครปฐม
(4) เมืองบิญดิ่น
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 103. ประกอบ
105. กษัตริย์องค์ใดของเขมรที่เป็นผู้สร้างปราสาทบายน
(1) พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2
(2) พระเจ้าชัยวรมันที่ 2
(3) พระเจ้าชัยวรมันที่ 7
(4) พระเจ้าอีศานวรมัน
ตอบ 3 หน้า 286, 573 (เล่มเก่า), (คำบรรยาย) เขมรในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้มีการสร้างปราสาทบายนขึ้นโดยรับอิทธิพลจากพุทธศาสนานิกายมหายาน ลักษณะเด่นของปราสาทบายน คือ บนยอดของปรางค์ทุกองค์จะมีการแกะสลักเป็นรูปพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ผันพระพักตร์ออกไปทั้งสี่ทิศโดยมีจุดประสงค์ในการสร้างก็เพื่อเป็นศูนย์กลางของเมือง พระนครหลวงหรือนครธม และเป็นพุทธสถานหรือศาสนบรรพตประจำราชธานีบริเวณ กลางเมืองพระนคร
106. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่กลุ่มเมืองมอญ
(1) พะโค
(2) สะเทิม
(3) เมาะตะมะ
(4) ตองอู
ตอบ 4 หน้า 292 – 294, 299 กลุ่มชนเชื้อชาติมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณพม่าตอนล่างด้านตะวันออกของแม่น้ำอิระวดี ซึ่งชาวพม่าจะเรียกพวกมอญว่า “เตลง” ทั้งนี้พวกมอญได้ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่เมืองสะเทิมหรือเมืองสุธรรมวดี บริเวณปากอ่าวเมืองเมาะตะมะ ต่อมาเมื่อมอญถูกชนชาติพม่ารุกราน จึงถอยร่นลงมาอยู่ทางตอนใต้และสถาปนารัฐของตนขึ้นมาใหม่ ที่เมืองพะโคหรือเมืองหงสาวดีในปี พ.ศ. 1368
107. ตามบันทึกของจีน ชาวจามมีลักษณะอย่างไร
(1) ผิวขาว ผมเหยียดตรง
(2) ตาลึก ผมดำ
(3) ตาโต ผิวขาว
(4) ตัวใหญ่ ผมเหยียดตรง
ตอบ 2 หน้า 287 ตามบันทึกของจีนระบุว่า อาณาจักรจามปาหรือลินยี่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอาณาจักรจีน หรือบริเวณตอนกลางของเวียดนาม และอยู่ทางภาคเหนือของอาณาจักรฟูนัน ซึ่งในปัจจุบันก็คือ บริเวณที่เป็นเมืองเว้ เมืองกวังนัม เมืองถัวเถียน เมืองผันรัง และเมืองญาตรังของเวียดนาม ทั้งนี้ลักษณะของชาวจามโดยทั่วไปจะมีลูกตาลึก จมูกเป็นสันโด่ง ผมดำและหยิก
108. ข้อใดกล่าวถึงอาณาจักรพุกามไม่ถูกต้อง
(1) พุกามได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากมอญ
(2) กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของพุกามคือ พระเจ้าอโนรธา
(3) พุกามล่มลลายลงเพราะถูกมอญโจมตี
(4) พุทธศาสนานิกายเถรวาทเจริญรุ่งเรืองในพุกามอย่างมาก
ตอบ 3 หน้า 294 – 296 พุกามเป็นอาณาจักรแรกที่ปกครองโดยชาวพม่า โดยตั้งอยู่บริเวณตอนกลาง ของลุ่มแม่น้ำอิระวดี และอยู่ในเขตที่แห้งแล้งที่สุดของพม่า กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของพุกามคือ พระเจ้าอโนรธา โดยพระองค์ทรงขยายดินแดนออกไปโดยอ้างสิทธิธรรมทางศาสนาในการโจมตี และยึดครองดินแดนด่าง ๆ และทรงสร้างพุกามให้เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนานิกายเถรวาท ที่เจริญรุ่งเรืองอย่างมาก ทั้งนี้อาณาจักรพุกามล่มสลายลงเนื่องจากถูกกองทัพมองโกลของ กุบไลข่านเข้าโจมตีในปี พ.ศ. 1821 กอปรกับมีความอ่อนแอภายในอาณาจักร
109. ลถาปัตยกรรมที่สำคัญของราชวงศ์ไคเลนทร์ คือข้อใด
(1) ปราสาทนครวัด
(2) บุโรพุทโธ
(3) ปรัมบานัน
(4) อานันทะเจดีย์
ตอบ 2 หน้า 313, (คำบรรยาย) ราชวงศ์ไศเลนทร์ เป็นสมัยที่อาณาจักรชวาภาคกลางมีความเจริญรุ่งเรือง โดยดูได้จากงานสถาปัตยกรรมและประติมากรรม ซึ่งผลงานที่มีชื่อเสียงและกลายเป็นหลักฐาน สำคัญทางโบราณคดีเกี่ยวกับราชวงศ์ไศเลนทร์คือ บุโรพุทโธ (Borobudur) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณ ภาคกลางของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ถือว่าเป็นเจดีย์หินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก รวมทั้งเป็นเจดีย์ในพุทธศาสนานิกายมหายาน ลัทธิสิวพุทธ และความเชื่อในเรื่องจักรวาล
110. ข้อใดไม่ใช่แรงจูงใจที่ทำให้ชาวยุโรปเดินทางเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(1) ทาส
(2) การสำรวจดินแดนใหม่
(3) การค้า
(4) การเผยแผ่ศาสนาคริสต์
ตอบ 1 หน้า 323 – 324, 591 – 592 (เล่มเก่า), (คำบรรยาย) แรงจูงใจสำคัญที่ทำให้ชาวยุโรปเดินทาง เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีดังนี้
1. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มืชื่อเสียงในเรื่องความมั่งคั่ง
2. ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมและผูกขาดการค้าเครื่องเทศ
3. ต้องการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ไปสู่ พวกนอกศาสนา
4. ชาวยุโรปมีความสามารถในการต่อเรือที่ดีขึ้น ทำให้เกิดความมั่นใจใน การเดินทางข้ามมหาสมุทรเพื่อสำรวจเส้นทางการค้าและดินแดนใหม่
5. ต้องการแสวงหาความมั่งคั่งทางวัตถุโดยเฉพาะทองคำ
6. ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้เกิดความต้องการ แสวงหาแหล่งวัตถุดิบเพิ่มขึ้น และหาตลาดเพื่อระบายสินค้าที่ผลิตได้
111. ชาวยุโรปชาติใดเดินทางเข้ามาถถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นชาติแรก
(1) สเปน
(2) โปรตุเกส
(3) ดัตช์
(4) อังกฤษ
ตอบ 2 หน้า 324 – 326, 592 – 594 (เล่มเก่า), (คำบรรยาย) โปรตุเกสเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่เดินทาง เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยในปี ค.ศ. 1511 โปรตุเกสสามารถทำสงครามยึดเมือง มะละกาซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าเครื่องเทศได้สำเร็จเป็นแห่งแรก ซึ่งหลังจากที่ยึดมะละกาได้แล้ว ก็ได้แต่งตั้งผู้ปกครองมะละกาที่เรียกว่า “กะปิตัน” (Kapitan) จากนั้นโปรตุเกสได้ปกครองมะละกา แบบทหาร (Fortress System), สร้างป้อมอา ฟาโมซา (A Famosa) และสร้างโบสถ์เซนต์พอลขึ้นเพื่อเผยแผ่ศาสนาคริสต์ รวมทั้งส่งคนออกสำรวจหมู่เกาะเครื่องเทศเพื่อต้องการผูกขาดการค้า เครื่องเทศใน Tern ate, Tidore และ Banda อีกด้วย
112. ศูนย์กลางของสเตรทเซทเทิลเมนท์ของอังกฤษอยู่ที่ใด
(1) สิงคโปร์
(2) ปีนัง
(3) มะละกา
(4) พม่า
ตอบ 2 หน้า 336 หลังจากที่อังกฤษสามารถเข้ายึดครองปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ได้สำเร็จแล้ว ในปี พ.ศ. 2373 อังกฤษจึงประกาศรวมอาณานิคมบริเวณคาบสมุทรมลายู อันได้แก่ สิงคโปร์ ปีนัง และมะละกา เข้าเป็น “สเตรทเซทเทิลเมนท์” (The Straits Settlement)โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เกาะปีนัง
113. ชาวยุโรปชาติใดที่ประสบความสำเร็จในด้านการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(1) โปรตุเกส
(2) สเปน
(3) ดัตช์
(4) ฝรั่งเศส
ตอบ 3 หน้า 331, (คำบรรยาย) ดัตช์หรือฮอลันดาถือว่าเป็นชาวยุโรปที่ประสบความสำเร็จทางด้าน การค้ามากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยในปี พ.ศ. 2173 ดัตช์ได้เข้ามาตั้งสถานีการค้าแห่งแรกที่บันทัมบนเกาะชวา ต่อมาในปี พ.ศ. 2145 ก็ได้ตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำการค้าเครื่องเทศที่สามารถสร้างกำไรได้อย่างมหาศาล ส่งผลให้การค้าเครื่องเทศของดัตช์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนทำให้บันทัมกลายเป็นศูนย์กลางการค้าในบริเวณนี้
114. ดัตช์ได้ใช้นโยบายใดเพื่อปรับปรุงสวัสดิการคนพื้นเมืองในบังคับให้ดีขึ้น
(1) Culture System
(2) Encomienda
(3) Ethical Policy
(4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 หน้า 334 ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 ดัตช์ได้มีการปรับปรุงนโยบายเศรษฐกิจบนเกาะชวา โดยใช้นโยบายที่เรียกว่า “Ethical Policy” ซึ่งเป็นนโยบายที่จัดการบริการสวัสดิการสาธารณะ ให้ดีมากขึ้น เช่น การศึกษา สาธารณสุข การเกษตร และการคมนาคม ซึ่งต่อมาชาวอินโดนีเซีย ที่มีการศึกษาไม่พอใจที่ไม่มีสิทธิในการปกครองประเทศ ระบบนี้จึงถือเป็นแรงกระตุ้น ประการหนึ่งที่ทำให้เกิดลัทธิชาตินิยมในอินโดนีเซีย
115. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ได้หมายถืง เฟอร์ดินาล แมกเจลแลน
(1) เป็นนักเดินเรือชาวโปรตุเกส
(2) เป็นผู้เดินทางมาถึงฟิลิปปินส์
(3) เป็นผู้เดินทางรอบโลกได้สำเร็จเป็นคนแรก
(4) เป็นผู้ทำให้ชาวสเปนถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมากในฟิลิปปินส์
ตอบ 1 หน้า 328 – 329, 600 (เล่มเก่า) เฟอร์ดินาล แมกเจลแลน เป็นนักเดินเรือชาวสเปนที่สามารถเดินทางรอบโลกได้สำเร็จเป็นคนแรก โดยในปี พ.ค. 2055 แมกเจลแลนได้เดินทางมาถึงหมู่เกาะ วิสายะของฟิลิปปินส์ตามคำสั่งของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งสเปน ที่ให้ค้นหาเส้นทางมายังหมู่เกาะ เครื่องเทศและยึดดินแดนที่ค้นพบ ต่อมาเขาได้เดินทางมาถึงเกาะลิมาซาวาและเกาะเซบู โดย ได้ผูกมิตรกับหัวหน้าเกาะทั้งสอง และที่เกาะเซบูเขาได้เข้าไปแทรกแซงการเมืองภายในหมู่เกาะทำให้คนพื้นเมืองไม่พอใจ ส่งผลให้แมกเจลแลนและชาวสเปนจำนวนมากถูกฆ่าตายในฟิลิปปินส์
116. ข้อใดหมายถึงสนธิสัญญาซารากอสสา
(1) สนธิสัญญาที่กำหนดเส้นแบ่งดินแดนเพื่อแบ่งเขตผลประโยชน์ของโปรตุเกสกับสเปน
(2) สนธิสัญญาที่ให้สเปนกับโปรตุเกสออกสำรวจดินแดนต่าง ๆ คนละเส้นทางกัน
(3) สนธิสัญญาที่โปรตุเกสทำกับชาวพื้นเมืองเพื่อผูกขาดการค้าเครื่องเทศ
(4) สนธิสัญญาที่ดัตช์ทำกับชาวพื้นเมืองเพื่อผูกขาดการค้าเครื่องเทศ
ตอบ 1 หน้า 328 ด้วยเหตุที่ทั้งสเปนและโปรตุเกสต่างก็ต้องการเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ในปี พ.ศ. 2072 สเปนและโปรตุเกสได้ทำ “สนธิสัญญาซารากอสสา” ระหว่างกัน โดยมีการกำหนดเส้นแบ่งดินแดนเพื่อแบ่งเขตผลประโยชน์ของทั้ง 2 ฝ่ายให้ชัดเจน
117. ข้อใดคือระบบ Encomienda
(1) การแบ่งที่ดินออกเป็นเขต ๆ โดยมีหัวหน้ารับผิดชอบ
(2) ทุกหมู่บ้านต้องปลูกพืชที่รัฐบาลกำหนดในจำนวนที่รัฐบาลต้องการ
(3) เจ้าอาณานิคมบังคับให้ชาวพื้นเมืองเปลี่ยนวัฒนธรรมเป็นแบบตะวันตก
(4) เจ้าอาณานิคมส่งคนจากรัฐบาลกลางมาปกครอง
ตอบ 3 หน้า 330 ระบบเอ็นคอมเมียนดา (Encomienda) คือ ระบบการถือครองที่ดินที่สเปน นำมาใช้ในฟิลิปปินส์ โดยให้ผู้มีสิทธิ์ถือครองที่ดินที่เรียกว่า “เอ็นคอมเมียนโดโรส” (Enccmiendoros) เรียกเก็บผลประโยชน์จากบุคคลที่เข้ามาทำมาหากินในที่ดินของตนได้ แต่ชนพื้นเมืองที่เข้ามาทำกินในที่ดินนี้จะต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมเป็นแบบตะวันตกโดยหันมา นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
118. บารังโกเป็นหน่วยการปกครองของชนพื้นเมืองใด
(1) อินโดนีเซีย
(2) พม่า
(3) มาเลเซีย
(4) ฟิลิปปินส์
ตอบ 4 หน้า 329 – 330 แต่เดิมนั้นฟิลิปปินส์มีการปกครองในรูปแบบของเผ่าต่าง ๆ เป็นลักษณะ การปกครองแบบหมู่บ้าน เรียกว่า “บารังไก” (Barangay) โดยมีดาตูเป็นผู้ปกครอง แต่หลังจากที่สเปนเข้ามาปกครองแล้ว สเปนได้จัดการปกครองระดับหมู่บ้าน โดยให้อยู่ภายใต้การปกครองของคาเบซาซึ่งเป็นผู้นำของบารังไก ส่วนในระดับที่สูงกว่าหมู่บ้านก็ใด้จัดตั้งหน่วยการปกครอง ที่เรียกว่า “ปรินซิปาเลีย” (Principalia) ขึ้น ซึ่งเป็นการนำเอาหมู่บ้านหลาย ๆ แห่งมารวมกัน ภายใต้การปกครองของผู้นำคนเดียวกัน
119. ข้อใดใม่ใช่อาณาจักรที่ตั้งอยู่บนเกาะชวา
(1) ไคเลนทร์
(2) มัชปาหิต
(3) เจนละ
(4) เคดีรี
ตอบ 3 หน้า 313 – 315 อาณาจักรที่ตั้งอยู่บนเกาะชวา ได้แก่
1. อาณาจักรไศเลนทร์
2. อาณาจักรสัญชัย
3. อาณาจักรจังกาล่าทางตะวันออก
4. อาณาจักรเคดีรีทางตะวันตก
5. อาณาจักรสิงหะส่าหรี
6. อาณาจักรมัชปาหิต
120. ป้อมอา ฟาโมซา ในมะละกาสร้างขึ้นโดยคนกลุ่มใด
(1) คนพื้นเมืองของมะละกา
(2) ชาวโปรตุเกส
(3) พ่อค้าอินเดีย
(4) ชาวอังกฤษ
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 111. ประกอบ