การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา HIS1001 อารยธรรมตะวันตก

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.         หลักฐานที่สำคัญที่สุดในการศึกษาประวัติศาสตร์คือ

(1)       ซากสิ่งมีชีวิต   

(2) ลายลักษณ์อักษร

(3) เครื่องมือเครื่องใช้ 

(4) งานศิลปะ

ตอบ 2 หน้า 2112 (H), (คำบรรยาย) เรื่องราวที่ได้จารึกไว้เป็นหลักฐาน (Written Records) คือ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานที่สำคัญที่สุดในการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์สมัยประวัติศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.         หลักฐานดั้งเดิมหรือหลักฐานชั้นต้น (Primary Records) เช่น หลักศิลาจารึก สนธิสัญญา จดหมาย เอกสารทางการทูต แถลงการณ์ของรัฐบาล ฯลฯ

2.         หลักฐานรอง (Secondary Records) คือ หนังสือที่เรียบเรียงมาจากหลักฐานดั้งเดิม

2.         นักเล่นพระเครื่องใช้วิธีการตรวจสอบความเที่ยงแท้ของหลักฐานโดย

(1)External Criticism

(2) Internal Criticism

(3) Primary Records 

(4) Secondary Records

ตอบ 1 หน้า 2112 (H), (คำบรรยาย) วิธีการตรวจสอบความเที่ยงแท้ของหลักฐานมี 2 วิธี คือ

1.         การวิจารณ์ภายนอก (External Criticism) คือ การตรวจสอบความเที่ยงแท้ของหลักฐาน ว่าเป็นของจริงหรือของปลอม เช่น การตรวจดูพระเครื่อง การตรวจดูอัญมณี เป็นต้น

2.         การวิจารณ์ภายใน (Internal Criticism) คือ การเรียบเรียงหรือการตีความเอกสารที่เป็น ลายลักษณ์อักษร เช่น การตรวจสอบศิลาจารึก การตีความบันทึกทางการเมือง เป็นต้น

3.         ข้อใดไม่จัดอยู่ในความหมายของคำว่าวัฒนธรรม

(1)การเคี้ยวเสียงดัง   

(2) การกินด้วยมือ

(3) การกินด้วยช้อนส้อม         

(4) การกินด้วยตะเกียบ

ตอบ 1 หน้า 21 – 2212 (H), (คำบรรยาย) วัฒนธรรม หมายกึง ความดีงามหรือความเจริญก้าวหน้า ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ซึ่งการที่มนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นสังคมจนก่อให้เกิดความรู้ ความเชื่อ ภาษา ศิลปกรรม ศิลปะ กฎหมาย ขนบธรรมเนียม มารยาททางสังคม ความสามารถอื่น ๆ ตลอดจนความเคยชินต่าง ๆ แบบเดียวกัน ถือว่ามนุษย์มีวัฒนธรรมเดียวกัน ซึ่งเราสามารถดูความแตกต่างของแต่ละวัฒนธรรมได้จากงานศิลปะ ภาษา และพฤติกรรม

4.         ทฤษฎีการเอาชนะของทอยน์บีทางอารยธรรมเกี่ยวข้องกับข้อใด

(1)การสร้างระบบการชลประทาน      

(2) การเปลี่ยนสภาพคนป่าเถื่อนให้เป็นอารยชน

(3) การรับสิ่งที่เจริญกว่ามาปรับปรุงใช้          

(4) การทำลายหน้าดินจนก่อให้เกิดนํ้าท่วม

ตอบ 1 หน้า 2713 (H) ทฤษฎีเพื่อเอานะของอาร์โนลด์ เจ. ทอยน์บี เป็นทฤษฎีที่เชื่อในความพยายาม ของมนุษย์ที่จะเอาขนะธรรมชาติ เช่น อียิปต์ใช้ประโยชน์จากนํ้าท่วมแม่นํ้าไนล์ด้วยการสร้าง ระบบการชลประทาน หรือการปรับปรุงเขตทะเลทรายให้ใช้ประโยขน์ในการเกษตรกรรมได้ เป็นต้น

5.         ข้อใดไม่จัดอยูในแหล่งกำเนิดอารยธรรมในยุคโบราณ

(1)อียิปต์        

(2) เมโสโปเตเมีย       

(3) จีน 

(4) ออสเตรเลีย

ตอบ4 หน้า 2813 (H) อารยธรรมเริ่มแรกของโลกหรืออารยธรรมในยุคโบราณมักถือกำเนิดขึ้น ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่นํ้า ได้แก่ อารยธรรมอียิปต์โบราณในที่ราบลุ่มแม่นํ้าไนล์ อารยธรรมเมโสโปเตเมียในที่ราบลุ่มแม่นํ้าไทกริส-ยูเฟรติส อารยธรรมจีนในที่ราบลุ่มแม่นํ้าฮวงโหหรือ แม่น้ำเหลือง และอารยธรรมอินเดียในที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ

6.         แม่แบบของอารยธรรมตะวันตกคือ

(1) กรีก           

(2) โรมัน         

(3) อียิปต์       

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 3114 (H), 17 (H) ขอบเขตของอารยธรรมในยุคโบราณ แบงออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

1.         อารยธรรมตะวันออก มีแม่แบบคือ อารยธรรมจีน-อินเดีย

2.         อารยธรรมตะวันตก มีแม่แบบคือ อารยธรรมกรีก-โรมัน

3.         อารยธรรมโลก มีแม่แบบคือ อารยธรรมอียิปต์-เมโสโปเตเมีย

7.         โลหะที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการขยายอำนาจของมนุษย์คือ

(1) ทองแดง    

(2) เหล็ก         

(3) ทองบรอนซ์           

(4) ดีบุก

ตอบ2 หน้า 33 – 3414 (H) การเรียนรู้การใช้โลหะของมนุษย์ในอารยธรรมสมัยแรกจะเริ่มจาก การใช้ทองแดง ต่อมาก็ได้มีการนำทองแดงมาผสมกับดีบุกกลายเป็นทองบรอนซ์ จนกระทั่ง พัฒนามาเป็นการหลอมเหล็กขึ้นใช้ ซึ่งเหล็กได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการผลิตอาวุธเพื่อใช้ ในการขยายอำนาจของมนุษย์ในเวลาต่อมา

8.         ความสำคัญของประวัติศาสตร์ในยุคโบราณคือ

(1)       เริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อประมาณ 5000 B.C. – A.D. 500

(2)       เป็นเรื่องราวของอียิปต์ เมโสโปเตเมีย กรีก และโรมัน

(3)       เป็นจุดกำเนิดของอารยธรรมที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน        

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 1711 (H) ประวัติศาสตร์ในยุคโบราณ จะอยู่ในช่วงระยะเวลาประมาณ 5000 B.C. – A.D. 500 ซึ่งเป็นสมัยที่มนุษย์มีการตั้งบ้านเรือนเป็นหลักแหล่งแบบสังคมเมือง มีตัวอักษรใช้ รวมทั้งมีศาสนาและวัฒนธรรมดีกว่ายุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยอารยธรรม ความเจริญในยุคโบราณ ได้แก่ อารยธรรมอียิปต์ เมโสโปเตเมีย จีน อินเดีย กรีก และโรมัน ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของอารยธรรมที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ยุคนี้สิ้นสุดลงเมื่ออาณาจักรโรมัน ถูกพวกอนารยชนเยอรมันเข้ายึดครองในปี ค.ค. 476

9.         แม้ว่าอากาคร้อนและแห้งแล้งแต่ชาวอียิปต์ยังสามารถเพาะปลูกได้ผลดี เพราะ

(1)       ชาวอียิปต์เก่งการทำชลประทาน        

(2) ความอุดมสมบูรณ์ตามบริเวณริมฝั่งแม่น้ำไนล์

(3) อียิปต์มีทะเลทรายล้อมรอบ          

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 465917 (H), 21 (H) ถึงแม้ว่าสภาพที่ตั้งของอียิปต์จะเป็นบริเวณที่มีอากาศร้อนและ แห้งแล้ง มีภูมิประเทศแวดล้อมไปด้วยทะเลทราย และมีฝนตกเฉพาะบริเวณเดลต้า แต่อียิปต์ ได้รับความชุ่มชื้นจากแม่นํ้าไนล์ รวมทั้งมีการพัฒนาระบบการชลประทานที่ดี จึงทำให้อียิปต์ กลายเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม ซึ่งส่งผลให้มีผลผลิต ทางการเกษตรจำนวนมาก และสามารถส่งเป็นสินค้าออกไปขายยังดินแดนต่าง ๆ ได้อีกด้วย

10.       ไพรเมท (Primate) มีความสำคัญคือ

(1) ทฤษฎีกำเนิดโลกของอิมมานูเอล คานท์   

(2) บรรพบุรุษของมนุษย์

(3) การเคลื่อนไหวของธารนํ้าแข็ง       

(4) เป็นยุคย่อย 1 ใน 4 ยุคของยุคนํ้าแข็ง

ตอบ 2 หน้า 1 – 28 (H) นักประวัติศาสตร์ได้สันนิษฐานว่าแหล่งกำเนิดของมนุษย์น่าจะอยู่ใน ทวีปเอเชียและแอฟริกา รวมทั้งบริเวณตอนกลางของทวีปเอเชียที่อยู่ติดกับยุโรป คือ บริเวณยูเรเชีย (Eurasia) โดยบริเวณดังกล่าวนี้จะมีภูมิอากาศที่เหมาะสำหรับการพัฒนา ของไพรเมท (Primate) ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ ต่อมาบรรดาไพรเมทเหล่านี้ก็ได้ กระจัดกระจายออกไปตั้งถิ่นฐานในที่ต่าง ๆ ทั้งในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา

11.       แหล่งกำเนิดของมนุษย์อยู่ในทวีป

(1) แอฟริกา    

(2) อเมริกา     

(3) ออสเตรเลีย           

(4) อาร์กติก

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ

12.       ข้อใดไม่ถูกต้องในการศึกษาวิวัฒนาการของโลกตามหลักธรณีวิทยา

(1)       ธรณีวิทยาคือการศึกษาซากสิ่งมีชีวิตที่ตกค้างอยู่ตามชั้นของหิน

(2)       มนุษย์และไดโนเสาร์คือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในยุคเดียวกัน

(3)       ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปปเมื่อประมาณ 60 ล้านปีมาแล้ว

(4)       สมัยเซโนโซอิกคือสมัยที่สิ่งมีชีวิตมีสภาพคล้ายปัจจุบันที่สุด

ตอบ 2 หน้า 6 – 78 – 9 (H) ธรณีวิทยา คือ การศึกษาซากสิ่งมีชีวิตที่ตกค้างอยู่ตามชั้นของหิน ซึ่งประวัติศาสตร์ทางธรณีวิทยาของโลก แบ่งออกเป็น 5 สมัย ได้แก่

1.         อาร์เคโอโซอิก (Archeozoic) คือ สมัยของสัตว์เซลล์เดียว (1,550 – 825 ล้านปีมาแล้ว)

2.         โพรเทโรโซอิก (Proterozoic) คือ สมัยของสัตว์นํ้าโบราณไม่มีกระดูกสันหลัง (825 – 500 ล้านปีมาแล้ว)

3.         พาเลโอโซอิก (Paleozoic) คือ สมัยที่เริ่มมีสัตว์ครึ่งบกครึ่งนํ้า (500 – 185 ล้านปีมาแล้ว)

4.         เมโซโซอิก (Mesozoic) คือ สมัยของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ เช่น ไดโนเสาร์ (185 – 60 ล้านปีมาแล้ว)

5.         เซโนโซอิก (Cenozoic) คือ สมัยของสิ่งมีชีวิตที่มีสภาพคล้ายปัจจุบันมากที่สุด (60 ล้านปีมาแล้ว) ได้แก่ เกิดบรรพบุรุษของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์ในตระกูลไพรเมท (Primate)ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์

13.       การแบ่งยุคประวัติศาสตร์ใช้อะไรเป็นเกณฑ์แบ่ง

(1) ซากวัสดุ    

(2) ซากสิ่งมีชีวิต         

(3) ตัวอักษร    

(4) การแบ่งชั้นของหิน

ตอบ 3 หน้า 72 (H), 9 (แ) การแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ของมนุษย์จะพิจรณาจากการรู้หนังสือ หรือการประดิษฐ์ตัวอักษรเป็นเกณฑ์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ยุคใหญ่ ๆ ดังนี้

1.         ยุคหินหรือยุคก่อนประวัติศาสตร์ คือ ยุคก่อนการรู้หนังสือ หรือยุคก่อนการประดิษฐ์ตัวอักษร

2.         ยุคโลหะหรือยุคเริ่มต้นของสมัยประวัติศาสตร์ คือ ยุครู้หนังสือ หรือยุคที่เริ่มมีการประดิษฐ์ ตัวอักษรแล้ว

14.       ความสำคัญของยุคหินใหม่คือยุค

(1) ลองผิดลองถูก      

(2) ล่าสัตว์      

(3) เลี้ยงสัตว์  

(4) ตั้งถิ่นฐาน

ตอบ4 หน้า 8 – 1538 – 399 – 10 (H) ยุคหินแบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ 1. ยุคหินแรก เป็นยุค ลองผิดลองถูกของมนุษย์ 2. ยุคหินเก่า หรือยุคเก็บผลไม้ เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มใช้อาวุธป้องกันตนเอง นุ่งห่มหนังสัตว์ และเก็บผลไม้ 3. ยุคหินกลาง เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มรู้จักวิธีการเลี้ยงสัตว์ โดยสัตว์ที่นำมาเลี้ยงชนิดแรกคือ สุนัข 4. ยุคหินใหม่ หรือยุคปลูกผลไม้ เป็นยุคที่มนุษย์รู้จัก เลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก จนถึงขั้นควบคุมการผลิตอาหารได้ ทำให้มนุษย์เปลี่ยนจากชุมชนเร่ร่อน เป็นชุมชนตั้งรกราก หรือเป็นยุคที่เริ่มมีการตั้งถิ่นฐานเป็นครั้งแรก

15.       มนุษย์ที่รู้จักคิดและโต้ตอบมีลักษณะคล้ายมนุษย์ปัจจุบันคือ

(1) Pithecanthropus

(2) Sinanthropus

(3) Homo Fabor

(4) Homo Sapiens

ตอบ4 หน้า 11-123810 (H) Homo Sapiens หรือมนุษย์ฉลาด เริ่มปรากฏขึ้นครั้งแรก ในยุคหินเก่าตอนปลาย ซึ่งถือเป็นมนุษย์ที่รู้จักคิดและรู้จักการโต้ตอบ และมีหน้าตาคล้าย มนุษย์ปัจจุบันมากขึ้น จนถือเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน ซึ่งมีอยู่ 3 เผ่าพันธุ์ คือ

1.โครมันยอง (Cro-Magnon) คือ คนผิวขาว

2. กริมัลดี (Grimaldi) คือ คนผิวดำ

3.ชานเซอเลด (Chancelade) คือ คนผิวเหลือง หรือผิวสีนํ้าตาล

16.       ประวัติศาสตร์ยุคโบราณได้เปลี่ยนมาสู่ประวัติศาสตร์ยุคกลางภายหลังกรุงโรมแตกในปี ค.ศ. 476 เพราะ

(1) เปลี่ยนแปลงสังคมเมืองมาเป็นสังคมชนบท        

(2) มีการฟื้นฟูการศึกษาเพราะการประดิษฐ์แทนพิมพ์

(3) การรับอารยธรรมคลาสสิกมาจากภาคตะวันออก

(4) มนุษย์มีความเชื่อมั่นในตนเอง

ตอบ 1 หน้า 3 (H), 54 (H) ในปี ค.ศ. 476 เป็นปีที่กรุงโรมซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิโรมันตะวันตกถูกพวกอนารยชนเยอรมันเข้ายึดครอง ซึ่งถือว่าเป็นปีแห่งการสิ้นสุดของยุคโบราณและก้าวเข้าสู่ ยุคกลาง ทั้งนี้เพราะสังคมเมืองที่ทันสมัยภายใต้การปกครองของพวกโรมันต้องเปลี่ยนมาสู่สมัยแห่งความวุ่นวาย นั่นคือ การแปลงสภาพจากสังคมเมืองมาเป็นสังคมชนบทที่อารยธรรม ความเจริญต่าง ๆ ไม่ได้รับการทำนุบำรุงรักษา

17.       ทฤษฎีพัฒนาการของชาร์ลส์ ดาร์วิน ไม่ตรงกับข้อใด

(1) สิ่งมีชีวิตพัฒนาการมาจากสัตว์เซลล์เดียว           

(2) เข้ากันได้ดีกับหลักการของศาสนาคริสต์และยิว

(3) การถ่ายทอดพันธุกรรมมาจากพ่อและแม่ 

(4) การปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม

ตอบ 2 หน้า 18 – 1911 (H) ชาร์ลส์ ดาร์วิน นักชาติพันธุ์วิทยาชาวอังกฤษ ได้เขียนหนังสือเรื่อง ทฤษฎีวิวัฒนาการหรือทฤษฎีพัฒนาการ” (The Theory of Evolution) ซึ่งมีสาระสำคัญคือ

1.         สิ่งมีชีวิตถือกำเนิดมาจากสัตว์เซลล์เดียวในทะเล

2.         สิ่งมีชีวิตจะค่อย ๆ เปลี่ยนรูปร่างไปตามสภาพแวดล้อม

3.         สิ่งมีชีวิตย่อมได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาจากพ่อและแม่ ดังนั้นทั้งพืชและสัตว์ที่มีชีวิตยืนยาวอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตนก็จะถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมนั้นให้ลูกหลานด้วย

4.         สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ ก็จะต้องสูญพันธุ์ไปในที่สุด

18.       ความสำคัญของทะเลทรายต่อผลการสร้างอารยธรรมของอียิปต์คือ

(1)       เป็นส่วนประกอบสำคัญต่อสิ่งก่อสร้างของอียิปต์

(2)       เป็นพรมแดนธรรมชาติป้องกันการรุกรานจากภายนอก

(3)       เป็นเส้นทางลัดที่จะออกไปค้าขายทางทะเลแดง

(4)       ถูกทุกข้อ

ตอบ2 หน้า 4718 (H) ทะเลทรายถือเป็นปัจจัยทางธรรมชาติปัจจัยหนึ่งที่ช่วยสร้างสมอารยธรรม ของอียิปต์คือ ช่วยให้อียิปต์มีอาภาศปลอดโปรง เนื่องจากทะเลทรายช่วยกั้นให้พ้นจาก เขตอากาศร้อนและความกดอากาศตํ่า นอกจากนี้ยังเป็นพรมแดนหรือปราการทางธรรมชาติ ที่ช่วยป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอกอีกด้วย

19.       ในสมัยอาณาจักรเก่ากิจกรรมที่ชาวอียิปต์ได้ทำเพื่อแสดงว่าฟาโรห์มีสภาวะเป็นเทวกษัตริย์คือ

(1)       การถวายอุทิศผู้คนเป็นเครื่องบูชายัญ

(2) การสร้างเขื่อนถวายแก่ฟาโรห์

(3) การสร้างพีระมิดถวายแก่ฟาโรห์   

(4) พิธีการทรงเจ้าเข้าทรงของฟาโรห์

ตอบ 3 หน้า 53 – 546019 (H), 21 (H) การปกครองของอียิปต์ในสมัยอาณาจักรเก่าหรือสมัยพีระมิด เป็นแบบเทวาธิปไตย (Theocracy) โดยมีฟาโรห์เป็นประมุขสูงสุด และทรงเป็นเทวกษัตริย์ ที่มีฐานะเป็นโอรสของเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์คือ สุริยเทพเรหรือรา (Re/Ra) ด้วยความเชื่อนี้ จึงทำให้ชาวอียิปต์มีการสร้างพีระมิดเพื่อถวายแก่ฟาโรห์ เนื่องจากเชื่อว่าเมื่อฟาโรห์สิ้นพระชนม์ ไปแล้ว ก็จะได้ไปร่วมมือกับเทพเจ้าเพื่อนำความอุดมสมบูรณ์มาให้แก่อียิปต์เหมือนในสมัยที่ ฟาโรห์ยังมีชีวิตอยู่ และเพื่อหวังผลในโลกหน้า

20.       ความสำคัญของสมัยอาณาจักรกลางของอียิปต์คือ

(1)       เป็นสมัยประชาธิปไตยเพราะสามัญชนสามารถเข้ารับราชการได้     

(2) ถูกรุกรานจากพวกฮิคโซส

(3) พวกพระและขุนนางมีอำนาจเหนือฟาโรห์ 

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 55 – 5620 (H) สมัยอาณาจักรกลางของอียิปต์ เป็นสมัยที่ฟารห์ทรงยึดอำนาจ คืนมาจากพวกขุนนางโดยได้รับความช่วยเหลือจากประชาชน พระองค์จึงทรงตอบแทนประชาชน ด้วยการอนุญาตให้สามัญชนเข้ารับราชการได้ ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของอียิปต์ ต่อมาใบปี 1730 B.C. อียิปต์ก็ถูกรุกรานเป็นครั้งแรกโดยพวกฮิคโซล (Hyksos) ผ่านทางบริเวณช่องแคบสุเอซ ซึ่งพวกฮิคโซสรู้จักการใช้ม้าและรถศึกในการทำสงคราม จึงทำให้สามารถครอบครองอียิปต์ได้นานถึง 150 ปี

21.       การสร้างวิหารในสมัยอาณาจักรใหม่หรือสมัยจักรวรรดิก็เพื่อ

(1) ถวายแก่เทพเจ้า

(2) แสดงอำนาจของฟาโรห์

(3) ต้องการกลับมาเกิดใหม่   

(4) แสดงความสามารถในวิธีการก่อสร้าง

ตอบ 2 หน้า 56 – 5720 (H) สมัยอาณาจักรใหม่หรือสมัยจักรวรรดิชองอียิปต์ เป็นสมัยที่ฟาโรห์มีอำนาจมากที่สุด เพราะหลังจากที่ขุนนางอียิปต์สามารถขับไล่พวกฮิคโซสออกจากอียิปต์ได้สำเร็จแล้ว ฟาโรห์ได้ทรงดึงอำนาจคืนจากพวกขุนนางและพระ จากนั้นจึงทรงปกครองด้วยอำนาจเด็ดขาด แต่เพียงผู้เดียว มีการสั่งสมกองทัพทั้งกองทัพบกและกองทัพเรือ เริ่มใช้นโยบายรุกรานเพื่อนบ้าน เอาไว้เป็นรัฐกันชน และที่สำคัญก็คือ การเปลี่ยนจากการสร้างพีระมิดมาเป็นการสร้างวิหาร ตามไหล่เขาและหน้าผาอย่างใหญ่โตมโหฬาร เพื่อแสดงอำนาจและความมั่งคั่งของฟาโรห์

22.       การปฏิวัติทางศาสนาของฟาโรห์อาเมนโฮเตปที่ 4 ก็เพื่อ

(1) ปฏิรูปศาสนาเพื่อผลทางการเมือง

(2) ตัดทอนอำนาจและความร่ำรวยของพวกพระ

(3)ทำให้มีลักษณะคล้ายศาสนาของพวกยิว  

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 5821 (H) จุดมุ่งหมายที่สำคัญในการปฏิรูปศาสนาชองฟาาโรห์อาเมนโฮเตปที่ 4 มีดังนี้

1.         ต้องการให้ชาวอียิปต์หันมานับถือสุริยเทพอาเมนหรือเทพอาเตนเพียงองค์เดียวเท่านั้น

2.         เพื่อผลทางการเมือง คือ สร้างอำนาจให้กับฟาโรห์ และต้องาารตัดทอนอำนาจของพวกพระอามอนที่ร่ำรวยขึ้นจากทรัพย์สินที่บรรดาหัวเมืองนำมาถวาย

23.       สิ่งที่ไม่ได้เป็นมรดกทางอารยธรรมของอียิปต์คือ       

(1) อักษรภาพ

(2)       อักษรรูปลิ่ม    

(3) การทำกระดาษ

(4) หัวใจคือศูนย์กลางการโหลเวียนของโลหิต

ตอบ 2 หน้า 59 – 6369. 21 – 23 (H), (คำบรรยาย) มรดกทางอารยธรรมที่สำคัญของอียิปต์ มีดังนี้

1.         มีการประดิษฐ์ตัวอักษรเฮียโรกลิฟิก (Hieroglyphic) ขึ้นเมื่อประมาณ 3000 B.C. ซึ่งมีลักษณะเป็นอักษรภาพที่บันทึกลงบนแผ่นกระดาษปาไปรัส (Papyrus)

2. มีการสร้างพีระมิดและวิหาร ที่ใหญ่โตเพื่อถวายแก่พาโรห์ 

3. มีความเจริญทางด้านการแพทย์ เช่น มีการค้นพบว่าหัวใจ คือศูนย์กลางการหมุนเวียนของโลหิต ฯลฯ

4. มีการสร้างระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพสูง

5.         มีการสร้างปฏิทินแบบสุริยคติขึ้นในปี 4241 B.C.

6. มีการนำต้นอ้อหรือต้นกกที่ขึ้นในแม่นํ้าไนล์มาทำกระดาษปาไปรัส เป็นต้น

24.       กลุ่มชนที่ไม่ได้เข้ารุกรานและยึดครองอียิปต์คือ

(1)สุเมเรียน    

(2) อัสสิเรียน  

(3) เปอร์เซีย   

(4) กรีก

ตอบ 1 หน้า 6522 (H) เมื่อประมาณ 1100 B.C. อียิปต์เริ่มเสื่อมลงเนื่องจากการทำสงคราม และถูกรุกรานจากภายนอก นับตั้งแต่การทำสงครามกับพวกฮิตไตท์ อัสสิเรียน และเปอร์เซีย ต่อมาในปี 332 B.C. อียิปต์ก็ถูกยึดครองโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งกรีซ ซึ่งพระองค์ ได้ทรงสร้างเมืองอเล็กซานเดรียไว้ตรงปากแม่นํ้าไนล์ เพื่อเป็นศูนย์กลางการปกครองและ ศูนย์กลางอารยธรรมไว้ในอียิปต์

25.       ปัจจัยที่ทำให้ชาวอียิปต์กับประชากรในเมโสโปเตเมียมีความเชื่อและทัศนคติในการดำเนินชีวิตแตกต่างกันคือ

(1)แม่น้ำ         

(2) สภาพภูมิประเทศ 

(3) ความแตกต่างทางเชื้อชาติ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 65 – 6823 (H) ปัจจัยที่ทำให้ชาวอียิปต์กับชาวเมโสโปเตเมียมีความเชื่อและทัศนคติในการดำเนินชีวิตแตกต่างกัน มีดังนี้ 1. ลักษณะภูมิประเทศของเมโสโปเตเมียไม่มีภูเขา และทะเลทรายเหมือนอียิปต์ จึงทำให้ถูกศัตรูรุกรานได้ง่ายกว่าอียิปต์

2.         เมโสโปเตเมียเป็นที่อยู่ของกลุ่มชนหลายเชื้อชาติ ในขณะที่อียิปต์เป็นที่อยู่ของชนกลุ่มเดียว

3.         ดินแดนทั้ง 2 แห่งต่างได้รับประโยชน์จากความอุดมสมบูรณ์ของแม่นํ้า แต่ชาวเมโสโปเตเมีย ได้รับความเดือดร้อนจากการไหลล้นฝั่งของแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรตีส ประกอบกับมีการทำสงคราม แย่งชิงอำนาจกันอยู่ตลอดเวลา ทำให้ชาวเมโสโปเตเมียเป็นพวกมองโลกในแง่ร้ายและไม่คิด จะกลับมาเกิดใหม่ ในขณะที่อียิปต์ได้รับประโยชน์จากแม่นํ้าไนล์ ทำให้เป็นพวกที่มองโลก ในแง่ดีและคิดจะกลับมาเกิดใหม่

26.       การนับหน่วย 60 ของพวกสุเมเรียนมีผลต่อปัจจุบันคือ

(1) เรขาคณิต 

(2) นาฬิกา      

(3) ปฏิทิน       

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 69 – 7123 – 24 (H) สุเมเรียนเป็นชนชาติแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานและวางรากฐาน ทางอารยธรรมในดินแดนเมโสโปเตเมีย มรดกทางอารยธรรมที่สำคัญของชาวสุเมเรียน มีดังนี้

1.         มีการประดิษฐ์ตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) หรืออักษรรูปลิ่มลงบนแผ่นดินเหนียว เมื่อประมาณ 3500 B.C. 

2. มีการสร้างสถาปัตยกรรมด้วยอิฐที่เรียกว่า ซิกกูแรต (Ziggurats) เพื่อใช้เป็นวิหารของเทพเจ้า

3. มีการทำปฏิทินแบบจันทรคติขึ้นใช้ โดยหนึ่งปี จะมี 354 วัน

4. มีการนับหน่วย 6010 และ 6 ซึ่งมีผลต่อการนับเวลาเพื่อประดิษฐ์นาฬิกา และการคำนวณทางเรขาคณิตในปัจจุบัน

5. ใช้กฎหมายที่มีลักษณะสนองตอบ หรือ ตาต่อตา ฟันต่อฟัน

6. มีการกำหนดมาตราชั่ง ตวง วัด โดยยึดหลักการนับหน่วย 60 เป็นต้น

27.       ความสำคัญของกฎหมายฮัมมูราบีของพวกบาบิโลนคือ

(1)ใช้ลัทธิสนองตอบ หรือตาต่อตา ฟันต่อฟัน 

(2) เพื่อผดุงความยุติธรรมให้คงอยู่ในแผ่นดิน

(3)ใช้ต่อมาจนถึงสมัยกฎหมายโรมัน 

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 72 – 7424 (H) มรดกทางอารยธรรมที่สำคัญของพวกอะมอไรท์หรือพวกบาบิโลนเก่า คือ ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (The Code of Hummurabi) ของพระเจ้าอัมมูราบี ซึ่งได้รับ อิทธิพลมาจากกฎหมายของพวกสุเมเรียนที่อาศัยหลักลัทธิสนองตอบ (Lex Talionis) หรือ ตาต่อตา ฟันต่อฟัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการจัดทำก็คือ เพื่อผดุงหรือพิทักษ์ความยุติธรรม ให้คงอยู่ในแผ่นดิน ทำลายคนชั่วและคนร้าย ป้องกันไมให้คนแข็งแรงข่มเหงคนที่อ่อนแอกว่า และเพื่อพัฒนาสวัสดิการสำหรับประชาชน ซึ่งประมวลกฎหมายนี้ได้ใช้ต่อมาจนถึงสมัยของ กฎหมายโรมัน

28.       พวกฮิคโซสและพวกแคสไซท์มีลักษณะเหมือนกันคือ

(1) การใช้ม้าและรถศึก          

(2) การทำเขื่อน          

(3) การทำปฏิทิน        

(4) การประดิษฐ์ตัวอักษร

ตอบ 1 หน้า 76 – 7720 (H), 24 (H) สิ่งที่พวกฮิคโซสและพวกแคสไซท์มีลักษณะเหมือนกันคือเป็นพวกที่นำม้าและรถศึกมาใช้ทั้งในยามสงครามและยามสงบ โดยการใช้ม้านั้นทำให้อนารยชน ทั้ง 2 เผ่าสามารถแย่งชิงดินแดนอื่น ๆ มาเป็นเมืองขึ้นของตนได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังช่วย ทำให้การส่งข่าวสารระหว่างเมืองต่าง ๆ เร็วขึ้น ข่วยในการขนส่งและการเผยแพร่ศิลปวทยาการ รวมทั้งทำให้สะดวกในการสร้างและปกครองจักรวรรดิที่กว้างใหญ่ไพศาล

29.       ผลงานที่สำคัญของพวกฮิตไตท์คือ

(1) คณิตศาสตร์         

(2) การแพทย์ 

(3) การหลอมเหล็ก     

(4) การก่อสร้าง

ตอบ 3 หน้า 78 – 7925 (H), (คำบรรยาย) ผลงานทางด้านอารยธรรมของฮิตไตท์ มีดังนี้

1.         นำเหล็กมาถลุงและหลอมใช้เป็นชาติแรก รวมทั้งรู้จักใช้ม้าและรถศึกในการรบ

2.         ปรับปรุงและผสมผสานตัวอักษรคูนิฟอร์มของชาวสุเมเรียนและตัวอักษรเฮียโรกลิฟิกของ อียิปต์ให้ใช้ง่ายขึ้น

3. กฎหมายเลียนแบบกฎหมายฮัมมูราบี แต่จะลงโทษด้วยการชดใช้หรือ การลงโทษพอเข็ดหลาบแทนการแก้แค้นแบบลัทธิสนองตอบ

4. ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้แก่ พวกฟรีเจียนและลีเดิยน ซึ่งต่อมากลุ่มชนทั้งสองก็ได้ถ่ายทอดวัฒนธรรมต่อให้แก่พวกกรีก ซึ่งได้กลายมาเป็นผู้นำในการวางรากฐานให้แก่อารยธรรมตะวันตกในปัจจุบัน

30.       ผลงานที่สำคัญของพวกอัสสิเรียนคือ

(1) การแบ่งการปกครองจักรวรรดิอย่างมีระบบ         

(2) การสร้างถนนและระบบการส่งข่าว

(3) ศิลปะการแกะสลักภาพนูน          

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 80 – 8225 – 26 (H) มรดกทางอารยธรรมของอัสสิเรียน มีดังนี้

1. เป็นชนชาติแรกที่จัดระเบียบการปกครองจักรวรรดิอย่างมีระบบ

2. ศิลปะที่มีชื่อเสียงมาก ของอัสสิเรียนคือ การแกะสลักภาพนูนตํ่า ซึ่งสะท้อนถึงลักษณะที่ดุร้ายของชาวอัสสิเรียน

3.         สร้างหอสมุดแห่งแรกของเอเชียตะวันตกคือ หอสมุดที่กรุงนิเนอเวห์ ซึ่งสร้างในสมัย

พระเจ้าอัสซูร์บานิพัล  

4. ชาวอัสสิเรียนได้รับฉายาว่าเป็น ชาวโรมันตะวันออก” เพราะมีลักษณะเหมือนชาวโรมัน เช่น มีความสามารถทางด้านการคมนาคม การสร้างถนน และ ระบบการส่งข่าวสาร ชอบทำสงครามเพื่อขยายจักรวรรดิออกไปให้กว้างใหญ่ไพศาล เป็นต้น

31.       ผลงานที่สำคัญของพวกแคลเดียนหรือบาบิโลนใหม่คือ

(1)สวนลอย    

(2) การนับวันในหนึ่งสัปดาห์  

(3) การทำเหรียญ       

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 82 – 8426 (H) ผลงานที่สำคัญของพวกแคลเดียนหรือพวกบาบิโลนใหม่ มีดังนี้

1.         มีการสร้าง สวนลอยแห่งนครบาบิโลน” ขึ้นในสมัยกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ ซึ่งชาวกรีกนับเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก

2.         มีความเจริญทางด้านโหราศาสตร์ นั่นคือ ชาวแคลเดียนเป็นผู้ริเริ่มการเรียกชื่อวันต่าง ๆ ทั้ง 7 วันใน 1 สัปดาห์ตามชื่อของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

3.         มีความเจริญทางด้านดาราศาสตร์ นั่นคือ สามารถคำนวณหาระยะเวลาที่ดวงจันทร์ หมุนรอบโลก รวมทั้งเวลาที่เกิดสุริยคราสและจันทรคราสได้อย่างแม่นยำ

32.       พวกฟินิเชียนและพวกอราเมียนเป็นชนเผ่าเซไมท์ด้วยกัน และยังมีความสำคัญเหมือนกันในด้าน

(1) การค้า       

(2) ภาษา        

(3) การทำชลประทาน

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 84 – 8727 (hi) ความสำคัญที่เหมือนกันของพวกพฟินิเชียนและพวกอราเมียน มีดังนี้ 1. เป็นชนเผ่าเซไมท์ (เซมิติก) เหมือนกันและมีดินแดนอยูใกล้กัน

2. มีความชำนาญที่เหมือนกัน คือ การทำการค้าขาย โดยฟินิเชียนเป็นพ่อค้าทางทะเลที่ยิ่งใหญ่ในย่านเมดิเตอร์เรเนียน สวนอราเมียนเป็นพ่อค้าทางบกที่ยิ่งใหญ่ในเขตตะวันออกใกล้ (เอเชียตะวันตก)

3.         พยัญชนะของฟินิเชียนได้กลายเป็นรากฐานของตัวอักษรกรีกและโรมันในเวลาต่อมา ส่วนภาษาอราเมียนหรือภาษาอราเมอิกเป็นภาษากลางของกลุ่มเอเชียตะวันตก และเป็นภาษา ที่พระเยซูและสาวกใช้ในการสอนศาสนา

33.       ดินแดนในพันธสัญญาที่พระเจ้าประทานให้แก่อับราฮัม บรรพบุรุษของชาวฮิบรูคือ

(1) Uganda

(2) Canaan Palestine        

(3) Babylonia   

(4) Egypt

ตอบ 2 หน้า 8728 (H), (คำบรรยาย) พวกฮิบรูเชื่อว่าบรรพบุรุษของตนคือ อับราฮัม ซึ่งได้นำ ชาวฮิบรูมาตั้งถิ่นฐานทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลทรายอาระเบีย ต่อมาพระเจ้า ได้ให้พันธสัญญากับอับราฮัมว่าจะประทานดินแดน Canaan Palestine ให้แก่หลานชายของอับราฮัมคือ Jacob หรือ Israel เพื่อตั้งถิ่นฐาน ต่อมายาคอบไต้นำพวกฮิบรูอพยพ มาทางภาคตะวันตกแล้วเข้าครอบครองปาเลสไตน์ โดยเรียกดินแดนนี้ว่า อิสราเอล

34.       อาณาจักรจูดาห์ของพวกฮิบรูหายไปจากแผนที่โลกในศตวรรษที่ 2 ด้วยการกระทำของพวก

(1) แคลเดียน 

(2) กรีก           

(3) เปอร์เซีย   

(4) โรมัน

ตอบ 4 หน้า 9029 (H) ในช่วงศตวรรษที่ 1 และ 2 พวกกรีกและโรมันไตด้เข้ามาปกครองปาเลสไตน์ แทนเปอร์เซียตามลำดับ ทำให้พวกฮิบรูที่อยู่ภายใต้การปกครองของโรมันก่อการกบฏขึ้น โรมันจึงยกกองทัพไปปราบปรามอย่างทารุณ และประหารพวกฮิบรูเป็นจำนวนมาก ส่วนพวกฮิบรูที่เหลือซึ่งเป็นที่รู้จักกันในเวลาตอมาว่า พวกยิว” ได้หนีไปอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของยุโรปและเอเชีย จนกระทั่งประมาณศตวรรษที่ 20 อาณาจักรจูดาห์ก็ล่มสลายลงอย่างถาวร

35.       ผลงานที่สำคัญของกษัตริย์ครีซัสแห่งลิเดียคือ

(1) การทำเหรียญ       

(2) ตัวอักษร    

(3) คณิตศาสตร์         

(4) การขยายอำนาจ

ตอบ 1 หน้า 92 – 9330 (H), (คำบรรยาย) ผลงานที่สำคัญของกษัตริย์ครีซัสแห่งลิเดีย มีดังนี้

1. เป็นกษัตริย์ที่มีความมั่งคั่งมากจากการทำการค้ากับดินแดนแถบลุ่มแม่นํ้าไทกรีส-ยูเฟรตีสและ หมู่เกาะอีเจียน   2. มีการผลิตเหรียญกษาปณ์หรือทำเหรียญทองผสมเงินขึ้นเป็นครั้งแรก

เพื่อใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนตามนํ้าหนักของเหรียญ ซึ่งถือว่าเป็นมรดกทางอารยธรรม ที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน

3. ทำสงครามกับเปอร์เซียจนในที่สุดก็ถูกยึดครองโดย พระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียในปี 546 B.C.

36.       แสงสว่างในศาสนาโซโรแอสเตอร์ของเปอร์เซียมีนัยถึง

(1) ความดี      

(2) ความชั่ว    

(3) ความลุ่มหลง        

(4) ตัณหาราคะ

ตอบ 1 หน้า 96 – 9831 (H) ลักษณะที่สำคัญของศาสนาโซโรแอสเตอร์ ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ ของเปอร์เซีย มีดังนี้

1. มีลักษณะเป็นทวิเทพ คือ พระเจ้าองค์เดียวเป็นพระเจ้าทั้งความดีและ ความชั่ว ซึ่งพระเจ้าแห่งความดีคือ พระอาหุรา มาสดา เป็นเทพเจ้าแห่งแสงสว่างและความดี ส่วนพระเจ้าแห่งความชั่ว คือ อหริมัน เป็นเทพเจ้าแห่งความมืดและความชั่วร้าย

2.เชื่อในเรื่องการพื้นคืนชีพของคนตาย

3. เป็นศาสนาแห่งจริยธรรมและเหตุผล โดยเชื่อว่า ตายไปแล้วจะต้องได้รับผลกรรมที่เคยทำไว้เมื่อยังมีชีวิตอยู่      

4. เป็นศาสนาที่ประกาศสัจธรรมเป็นศาสนาแรกของโลกตะวันตก

5. เป็นศาสนาที่มีการบูชาไฟ

37.       แม้กรีซมีรูปแบบการปกครองเป็นนครรัฐ แต่สิ่งที่ทำให้ชาวกรีกหรือชาวเฮลเลนส์สามารถมารวมตัวกันได้คือ

(1) ภาษา ศาสนา และกีฬา

(2) การทำสงคราม

(3) ประเพณีการแข่งเรือ

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 11011738 (H), (คำบรรยาย) ปัจจัยที่ทำให้ชาวกรีกหริอชาวเฮลเลนส์สามารถรวมตัวกันได้ มีดังนี้

1. มีภาษาพูดเดียวกัน ส่วนพวกที่ไม่พูดภาษากรีกจะถูกเรียกวา พวกป่าเถื่อน” (Barbarians) 2. รู้สึกวาพวกตนคือ พวกเฮลเลนส์ (Hellenes) และเรียกดินแดนที่ตนอาศัย อยู่ว่า เฮลลัส” (Hellas) ซึ่งนับถือศาสนาเดียวกัน

3. มีการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวนครรัฐต่าง ๆ จะหยุดทำสงครามแล้วมาแข่งขันกีฬาร่วมกัน

4.         เมื่อมีการทำสงคราม

38.       ความสำคัญของสงครามม้าไม้หรือมหากาพย์อีเลียดคือ

(1)       การขยายอำนาจของพวกกรีกต่อกรุงทรอยซึ่งเป็นอารยธรรมอีเจียนแหล่งสุดท้ายในบริเวณทะเลอีเจียน

(2)       เป็นสงครามระหว่างพวกเซไมท์กับพวกอินโด-ยุโรป

(3)       เป็นสัญลักษณ์ของนักรบผู้ใช้ม้าในการทำสงครามซึ่งมีชัยเป็นครั้งแรก        

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 110 – 11135 – 36 (H) อารยธรรมทรอยเป็นอารยธรรมอีเจียนแหล่งสุดท้ายในบริเวณ ทะเลอีเจียนที่พยายามต่อต้านชาวกรีกผู้รุกราน อันเป็นต้นกำเนิดของมหากาพย์อีเลียด (Iliad) และโอดิสเสย์ (Odyssey) ของจินตกวีตาบอดชื่อ โฮเมอร์ โดยมหากาพย์อีเลียตจะเป็นเรื่องราว ของการทำสงครามม้าไม้หรือสงครามกรุงทรอยระหว่างพวกเซไมท์ (โทรจันหรือทรอย) กับ พวกอินโด-ยุโรป (กรีก) นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงเรื่องม้าไม้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของนักรบผู้ใช้ม้า ในการทำสงครามซึ่งมีชัยเป็นครั้งแรก

39.       ความเป็นพลเมืองกรีกจะได้รับสิทธิแตกต่างจากประชาชนกรีกทั่วไปคือ

(1) ร่วมพิธีกรรมทางศาสนา

(2)ร่วมการทำสงคราม

(3) ร่วมทางการเมือง  

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 11338(H) ความเป็นพลเมืองกรีกในแต่ละนครรัฐจะมีสิทธิดังนี้

1.         มีสิทธิและมีส่วนที่จะประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

2.         มีสิทธิและมีส่วนร่วมทางการเมือง

3. มีส่วนในการต่อสู้เพื่อป้องกันนครรัฐ

40.       กีฬาโอลิมปิกยุคใหม่ซึ่งจัดในปี ค.ศ. 1896 มีการแข่งขันกันที่เมือง

(1)สปาร์ตา     

(2) เอเธนส์     

(3) มาสิโดเนีย

(4) คอรินธ์

ตอบ 2 หน้า 39 (H), (คำบรรยาย) ปีแยร์ เฟรดี บารง เดอ กูแบร์แต็ง เป็นนักศึกพาชาวฝรั่งเศสที่ได้ เสนอแนวคิดในการฟื้นฟูการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกขึ้นมาใหม่อีกครั้ง หลังจากที่ถูกยกเลิกไปในปี ค.ค. 393โดยการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1896 ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ เพื่อเป็นเกียรติแก่ประเทศผู้ให้กำเนิดกีฬาโอลิมปิก และกำหนด ให้จัดขึ้นทุก ๆ 4 ปี

41.       ความสำคัญของทรราชกรีกคือ

(1) ได้อำนาจมาจากการสืบสายโลหิต

(2) ส่งเสริมการค้า

(3)       เคร่งครัดในการร่างประมวลและการใช้กฎหมาย       

(4) ถูกข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 116-11740 (H) ทรราชกรีก (Tyrants) คือ ผู้ที่ก้าวขึ้นสู่อำนาจด้วยการใช้กำลัง ไม่ใช่ ด้วยการสืบสายโลหิต ส่วนใหญ่ทรราชจะมาจากพ่อค้าที่อ้างว่าจะปกป้องคนจนจากพวกขุนนาง และข้าราชการ รวมทั้งต้องการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยช่วยส่งเสริม การค้าและเคร่งครัดในการร่างประมวลและการใช้กฎหมาย ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาได้ดี ต่อมา เมื่อมีการสืบทอดสายโลหิต พวกทรราชคนต่อมาหลงอำนาจและปกครองแบบกดขี่ จึงถูก ประชาชนร่วมมือกันขับไล่ออกจากอำนาจ

42.       สาเหตุที่ทำให้สปาร์ตาต้องปกครองแบบเผด็จการทหาร เพราะ

(1)       เป็นพวกอินโด-ยุโรปพวกสุดท้ายที่อพยพเข้ามาอยู่ในคาบสมุทรกรีก

(2)       มีปัญหาทางสภาพภูมิศาสตร์ต่อการเลี้ยงชีพ

(3)       มีทาสเชลยศึกจำนวนมากจากการทำสงคราม          

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 118 – 12140 (H), (คำบรรยาย) สาเหตุที่ทำให้สปาร์ตาต้องปกครองแบบเผด็จการทหาร หรือแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ มีดังนี้ 1. ชาวสปาร์ดาสืบเชื้อสายมาจากพวกดอเรียน ซึ่งเป็น พวกอินโด-ยุโรปพวกสุดท้ายที่อพยพเข้ามาอยู่ในคาบสมุทรกรีก 2. มีสภาพทางภูมิศาสตร์ ที่ไม่เอื้อต่อการประกอบอาชีพ กล่าวคือ เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ในหุบเขาและไม่ติดชายฝั่งทะเล ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ 3. ชาวสปาร์ตาแก้ป้ญหาทางเศรษฐกิจด้วยการทำสงคราม ปราบปรามนครรัฐอื่น ๆ ทำให้มีจำนวนทาสและเชลยศึกมากกว่าชาวสปาร์ตาแท้ ๆ จึงต้องมีการควบคุมพวกทาสด้วยระบบทหาร

43.       ความสำคัญของสงครามเพโลพอนนีเชียนคือ           

(1) สปาร์ตาไม่พอใจเอเธนส์ที่ปกครองแบบประชาธิปไตย

(2)นครรัฐกรีกถูกรุกรานจากพวกเปอร์เซีย     

(3) การล่มสลายของระบบนครรัฐกรีก

(4)นครรัฐกรีกถูกยึดครองโดยพวกโรมัน

ตอบ 3 หน้า 14446 (H) ในระหว่างปี 431 – 404 B.C. นครรัฐตาง ๆ ของกรีกได้ทำสงครามภายใน ระหว่างกันเอง เรียกว่า สงครามเพโลพอนนีเชียน” (The Peloponnesian War) ซึ่งเกิดขึ้น บนคาบสมุทรเพโลพอนมีซัสเป็นส่วนใหญ่ ทำให้บรรดานครรัฐกรีกอ่อนแอลง จนเปิดโอกาสให้ พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งมาสิโดเนียยกกองทัพทหารฟาแลงซ์ (Phalanx) เข้ายึดครองนครรัฐกรีกได้ทั้งหมด และสามารถรวบรวมนครรัฐกรีกซึ่งไม่เคยรวมกันเป็นรัฐเดียวเข้าไว้ด้วยกันได้สำเร็จ ในปี 338 B.C.

44.       ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาของการแพทย์” คือ

(1) เฮโรโดตัส  

(2) อริสโตเติล 

(3) ฮิปโปเครติส          

(4) โสเครติส

ตอบ 3 หน้า 136.44(H) ฮิปโปเครติส (Hippocrates) ได้รับการยกยองว่าเป็น ‘‘บิดาของการแพทย์” ซึ่งเขาแสดงความเห็นว่า โรคทุกชนิดมีสาเหตุมาจากธรรมชาติ ไม่ใช่เพราะพระเจ้าลงโทษ ดังนั้นการรักษาที่ดีที่สุดจึงควรเป็นการพักผ่อนอยู่ในที่อากาคบริสุทธิ์ และการควบคุมอาหาร นอกจากนี้เขายังเป็นแพทย์ที่มีอุดมคติสูงส่ง ซึ่งปรากฏเป็นหลักปฏิญาณของแพทย์ในปัจจุบัน ที่เรียกว่า “Hippocratic Oath”

45.       บุคคลผู้มีอิทธิพลต่อการปั้นพระพุทธรูปของอินเดียคือ         

(1) เพลโต

(2)อเล็กซานเดอร์มหาราช      

(3) ทูไซดิดิส    

(4) พิทากอรัล

ตอบ 2 หน้า 152.47 (H) ในสมัยที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชกษัตริย์ของกรีก ได้ยกกองทัพขยายอำนาจมาถึงชายแดนอินเดียบริเวณลุ่มแม่นํ้าสินธุในปี 323 B.C. ส่งผลให้ชาวอินเดีย ในแคว้นคันธาระได้รับอิทธิพลทางด้านการปั้นหรือประติมากรรมจากกรีก นั่นคือ ศิลปะการปั้นพระพุทธรูปแบนกรีก (Greco Buddhist Arts) ซึ่งจะเห็นว่าพระพุทธรูปของอินเดียในระยะแรกนั้น จะมีลักษณะเหมือนเทพอพอลโลของกรีก

46.       สัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของนิยายการสร้างกรุงโรมซึ่งเป็นเรื่องราวของพี่น้องฝาแฝดโรมิวลุสและเรมุสคือ

(1)หมาป่า       

(2) วัว 

(3) หมู

(4) กวาง

ตอบ 1 หน้า 15848 (H) ในมหากาพย์อีเนียดของเวอร์จิลได้กล่าวถึงตำนานการสร้างกรุงโรมไว้ว่า โรมิวลุสและเรมุส โอรสแฝดของนางซิลเวียกับเทพเจ้ามาร์ส (Mars) เป็นผู้สร้างกรุงโรมขึ้น ในปี 753 B.C. ได้รอดชีวิตจากการที่ถูกอมูลิอุสจับใส่ตะกร้าลอยน้ำ โดยได้รับการช่วยเหลือ จากหมาใน (หมาป่า) ดังนั้นหมาในจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของกรุงโรม ด้วยเหตุนี้เองคนอิตาลี ที่ไม่ชอบโรมันจึงเรียกพวกโรมันว่า พวกลูกหมาใน

47.       ในตอนต้นสมัยสาธารณรัฐโรมัน สิ่งที่เป็นเครื่องแสดงการให้สิทธิในการปกครองและสิทธิในการยับยั้งกฎหมายคือ

(1)Patrician       

(2) Plebeian      

(3) Hortensian 

(4) Tribunes

ตอบ 4 หน้า 16149 (H) ในตอนต้นสมัยสาธารณรัฐโรมัน พวกแพทริเชียน (Patrician) หรือ กลุ่มชนชั้นสูงได้ยินยอมให้พวกพลีเบียน (Plebeian) หรือกลุ่มชนชั้นต่ำ จัดตั้งคณะตรีบูน (Tribunes) ขึ้นในปี 466 B.C. เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของพวกพลีเบียนในสภาซีเนท (Senate) และสามารถวีโต้ (Veto) หรือคัดค้านกฎหมายที่จะออกมาขัดผลประโยชน์ของพวกพลีเบียนได้

48.       สำนวน “Pyrrhic Victory” มีความหมายถึง

(1) ไปตายเอาดาบหน้า          

(2) ชัยชนะที่ได้มาแต่ตัวเองต้องเสียหายอย่างยับเยิน

(3)ถนนทุกสายมุ่งสู่กรุงโรม    

(4) ทำตัวให้เหมือนชาวโรมัน

ตอบ 2 หน้า 16349 (H) ในช่วงที่โรมันทำสงครามขยายอำนาจลงไปทางตอนใต้ของแหลมอิตาลี ซึ่งเป็นเขตยึดครองของพวกกรีก กรีกได้ขอความช่วยเหลือจากกษัตริย์ไพรัสแห่งเอปิรัสซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งนครรัฐกริก โดยในระยะแรกนั้นกษัตริย์ไพรัสทรงได้รับชัยขนะ แต่กองทัพของพระองค์ ก็ได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก จนเกิดเป็นสำนวนภาษาอังกฤษที่ว่า “Pyrrhic Victory” หมายถึง ชัยชนะที่ได้มาแต่ตัวเองต้องเสียหายอย่างยับเยิน โดยในที่สุดโรมก็ชนะและสามารถ ยึดครองแหลมอิตาลีได้ทั้งหมดนับตั้งแต่ปี 265 B.C. เป็นต้นมา

49.       สิ่งที่จูเลียส ซีซาร์ ได้มาจากอียิปต์และนำมาเผยแพร่ใช้ในสาธารณรัฐโรมันในปี 46 B.C. และได้ตกทอด ใช้มาจนถึงปัจจุบันคือ

(1)ปฏิทินแบบสุริยคติ

(2) การทำระบบชลประทาน

(3)ตัวอักษรเฮียโรกลิฟิก         

(4) วิชาคณิตศาสตร์

ตอบ1 หน้า 5250 – 51 (H) ในปี 46 B.C. จูเลียส ซีซาร์ ได้นำเอาปฏิทินแบบสุริยคติของอียิปต์ มาเผยแพร่และนำมาดัดแปลงใช้ในสาธารณรัฐโรมัน ซึ่งปฏิทินดังกล่าวก็ยังคงใช้สืบเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน โดยชื่อเดือนกรกฎาคมหรือ July ก็มาจากชื่อของ Julius Caesar นั่นเอง

50.       ความหมายของ “Pax Romana” ซึ่งเริ่มในสมัยจักรพรรดิออกุสตุสที่ 1 คือ

(1)เป็นยุคทองของโรมัน         

(2) เป็นพลเมืองโรมันหมายเลขหนึ่ง

(3) การยกเลิกระบอบสาธารณรัฐ      

(4) สันติสุขที่ไม่มีผู้ใดมารุกรานร่วม 200 ปี

ตอบ 4 หน้า 169 – 17151 (H) ความสำคัญของสมัยการปกครองของจักรพรรดิออกุสตุสที่ 1 มีดังนี้

1.         เป็นสมัยสันติสุขโรมัน (Pax Romana : 27 B.C. – A.D. 180) ซึ่งเกิดขึ้นจากอานุภาพของ จักรพรรดิออกุสตุสที่ 1 ทำให้ไม่มีกลุ่มชนใดมารุกรานจักรวรรดิโรมันเป็นเวลาร่วม 200 ปี

2.         เป็นยุคทองของโรมัน (Roman’s Golden Age)

3.         ได้ชื่อว่าเป็น ยุคปรินซิเปท” (Principate) นั่นคือ ออกุสตุสทรงพอพระทัยในตำแหน่ง พลเมืองโรมันหมายเลขหนึ่ง (Princeps) มากกว่าตำแหน่งจักรพรรดิ

4.         มีการยกเลิกการปกครองจากระบอบสาธารณรัฐมาเป็นจักรวรรดิโรมัน

5.         เป็นสมัยที่พระเยซูคริสต์ประสูติที่เมืองเบธเลเฮมในมณฑลจูเดียของโรมัน

51.       ข้อความที่กล่าวว่า ผู้ต้องหาจะต้องถือว่าบริสุทธิ์ก่อนที่จะได้รับการตัดสินว่าผิดหรือถูก” ปรากฏอยู่ในกฎหมาย

(1) ฮัมมูราบี    

(2) จัสติเนียน 

(3) 12โต๊ะ       

(4) ตรา3ดวง

ตอบ 3 หน้า 172 – 17352 (H) กฎหมายโรมันนับว่ามีความสำคัญมากในการช่วยรักษาความสงบ และระเบียบปกครองในจักรวรรดิ นอกจากนี้ยังได้ชื่อว่ามีความเที่ยงตรงยุติธรรม ให้เสรีภาพ และมีมนุษยธรรมโดยหลักใหญ่ที่เป็นแนวปฏิบัติซึ่งปรากฏอยู่ในกฎหมาย 12โต๊ะ คือ ผู้ต้องหานั้นจะต้องถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ก่อนที่จะได้รับการตัดสินว่าผิดหรือถูก” ได้เป็นที่ยอมรับ มาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งกฎหมายโรมันจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อระบบกฎหมายของประเทศต่าง ๆ ในแถบยุโรปในเวลาต่อมา ซึ่งที่สำคัญคือ ฝรั่งเศส อิตาลี และสเปน

52.       ภาษาที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดหรือตกทอดมาจากภาษาโรมานซ์หรือภาษาละตินคือ ภาษา

(1) อังกฤษ     

(2) โรมาเนีย   

(3) ฝรั่งเศส     

(4) สเปน

ตอบ 1 หน้า 18053 (H) ภาษาละตินเป็นต้นกำเนิดของภาษาโรมานซ์สมัยใหม่ ได้แก่ ภาษาอิตาลี ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส และภาษาโรมาเนีย ส่วนภาษาอังกฤษนั้นมีต้นกำเนิด ส่วนใหญ่มาจากภาษาเยอรมัน

53.       การสิ้นพระชนม์ของพระเยซูคริสต์บนไม้กางเขนมีความสำคัญคือ

(1)       เป็นการไถ่บาปให้แก่มวลมนุษย์เป็นครั้งสุดท้าย

(2)       เพื่อป้องกันการเกิดวันสิ้นสุดของโลก (Doomsday)

(3)       ทำให้ชาวโรมันหันมายอมรับศาสนาคริสต์ทันที

(4)       ทำให้มีการปราบปรามพวกคริสเตียนเป็นเวลา 300 ปี

ตอบ 1 หน้า 181 – 18253 (H) พระเยซูคริสต์ เป็นบุตรของนางมาเรียและโยเซฟ ซึ่งมีถิ่นฐานอยูที่เมืองนาซาเรธ แต่พระองค์มาประสูติที่เมืองเบธเลเฮม ทั้งนี้ทรงศึกษาคัมภีร์ The Old Testament ตั้งแต่วัยเยาว์ เมื่ออายุได้ 30 ปีก็ได้ออกเทศนาสั่งสอน โดยอ้างตนว่าเป็น พระบุรของพระเจ้า” หรือทรงเป็น พระมหาไถ่” (Messiah) เพื่อทำหน้าที่ไถ่บาปให้แก่มนุษย์ ซึ่งการสิ้นพระซนม์ บนไม้กางเขนของพระองค์ก็เท่ากับทรงไถ่บาปให้แก่มวลมนุษย์เป็นครั้งสุดท้าย

54.       สันตะปาปาองค์แรกของกรุงโรมคือ

(1)St. Paul

(2) St. James     

(3) St. Peter      

(4) St. Thomas

ตอบ 3 หน้า 238 – 240 อัครสาวกของพระเยซูคริสต์คนแรกที่เข้าไปเผยแผ่คริสต์ศาสนาในกรุงโรม ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 คือ เซนต์ปีเตอร์ (St. Peter) ซึ่งต้องเผชิญกับการต่อต้านอย่างหนัก ในระยะแรก แต่ต่อมาชาวโรมันก็ยอมรับ ทำให้กรุงโรมกลายเป็นศูนย์กลางของคริสต์ศาสนา และเซนต์ปีเตอร์ ก็กลายเป็นสันตะปาปา (Pope) องค์แรกของคริสตจักรในกรุงโรม

55.       ศาสนาคริสต์นิกายตะวันออกซึ่งแยกตัวออกจากนิกายตะวันตกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1054 คือ นิกาย

(1) Greek Orthodox

(2) Roman Catholic

(3) Church of England

(4) Presbyterian

ตอบ 1 หน้า 238 – 23932154 (H), (คำบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1054 คริสต์ศาสนาได้แยกออกจากกัน อย่างเด็ดขาดเป็น 2 นิกาย คือ 1. นิกายกรีกออร์ธอดอกซ์ (Greek Orthodox) นับถือกันใน จักรวรรดิโรมันตะวันออก มีประมุขสูงสุดคือ แพทริอาร์ค มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองคอนสแตนติโนเปิล ใช้ภาษากรีก และเจริญแพร่หลายในยุโรปตะวันออกและรัสเซีย      

2. นิกายโรมันคาทอลิก (Roman Catholic) นับถือกันในจักรวรรดิโรมันตะวันตก มีประมุขสูงสุดคือ สันตะปาปา มีศูนย์กลางอยูที่กรุงโรม ใช้ภาษาละติน และเจริญแพร่หลายในยุโรปตะวันตกและอิตาลี

56.       พืชที่ชาวยุโรปไม่ได้นำมาจากทวีปอเมริกาคือ

(1) Tobacco       

(2) Apple  

(3) Gum    

(4) Potato

ตอบ 2 หน้า 55 (H) พืซสำคัญในทวีปอเมริกาที่ถูกนำไปเผยแพร่โดยชาวยุโรป เช่น ยาสูบ (Tobacco), มันฝรั่ง (Potato), มะเขือเทศ (Tomato), โกโก้ (Cacao), หมากฝรั่ง (Gum), ข้าวโพด (Maize) เป็นต้น

57.       วิธีการศึกษาในยุคกลางตอนต้นคือ

(1) เรียนรู้ด้วยของจริงจากการดูและการฟัง   

(2) เรียนวิชาชีพจากการฝึกฝนกับผู้ประกอบอาชีพนั้น ๆ

(3) การเข้าเรียนในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 208 – 20959 (H) ลักษณะเด่นของยุคกลางตอนต้น มีดังนี้

1.         คนส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ แต่สามารถเรียนรู้ด้วยวิธีการฝึกทักษะ หรือการเรียนรู้ด้วยของจริง จากการดู การฟัง และการเรียนวิชาชีพจากการฝึกฝนกับผู้ประกอบอาชีพนั้น ๆ

2.         คริสต์ศาสนามีอำนาจสูงสุด โดยมีอิทธิพลเหนือสังคมและความเชื่อของผู้คนในสมัยนั้น

3.         มีการปกครองเป็นแบบศักดินาสวามีภักดิ์ (Feudalism)

4.         พวกอนารยชน คริสต์ศาสนา และระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ เป็นสถาบันทีมีบทบาทเด่น ในการผสมผสานและพัฒนาในยุคกลาง

58.       พวกอนารยชนเยอรมันที่อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในอังกฤษคือ

(1) Visigoths

(2) Angles and Saxons

(3) Vandals       

(4) Burgundians

ตอบ 2 หน้า 21260 (H) พวกแองเกิลส์และแซกซัน (The Angles and Saxons)เป็นอนารยชนเยอรมันที่เข้ายึดครองและอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในอังกฤษ เนื่องจากได้รับชัยชนะเหนือพวกโรมันและพวกเซลท์ (Celts) ในบริเทน จากนั้นจึงสถาปนาอาณาจักร เยอรมันขึ้นโดยให้ชื่อตามนามของพวกแองเกิลส์ว่า “ England”

59.       การรุกรานของพวกอนารยชนในยุคกลางตอนต้นก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในยุโรปตะวันตกคือ

(1)เปลี่ยนจากสังคมเมืองเป็นสังคมชนบท     

(2) ไม่ใช้กฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร

(3) ไม่มีการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ4  หน้า 214 – 21561 (H) ยุโรปตะวันตกภายใต้การปกครองของพวกอนารยชนในยุคกลางตอนต้น มีลักษณะดังนี้

1.         จักรวรรดิแตกแยกออกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อยมากกวาที่จะรวมตัวกันเป็นปึกแผ่น

2.         พวกอนารยชนไม่สร้างเมืองเหมือนพวกกรีก-โรมัน แต่มีวิถีชีวิตแบบสังคมชนบท

3.         พวกอนารยชนมักทำสงครามระหว่างกันอยู่ตลอดเวลา จึงไม่มีเวลาพอที่จะทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม ทำให้อารยธรรมกรีก-โรมันเสื่อมลง

4.         พวกอนารยชนไม่ใช้กฎหมายที่เป็นเหตุเป็นผลหรือเป็นลายลักษณ์อักษร การตัดสินลงโทษ จึงอ้างอิงสิ่งศักดิ์สิทธิ์และใช้การต่อสูหรือสาบานตน

5.         เศรษฐกิจซบเซา โดยมีลักษณะเป็นเศรษฐกิจแบบชุมชนแคบ ๆ และใช้วิธีการแลกเปลี่ยน สินค้าแทนการใช้เงิน

60.       ผลงานที่สำคัญของชาร์ล มาร์แตล ในปี ค.ศ. 732 คือ

(1)       รบชนะพวกมัวร์ที่เมืองตูร์ในฝรั่งเศส

(2)       ขับไล่พวกมัวร์ออกจากสเปนได้สำเร็จ

(3)       สามารถผลักดันพวกมัวร์ออกจากฝรั่งเศสกลับลงไปอยู่ในสเปน      

(4) ถูกข้อ 1 และ 3

ตอบ . 4 หน้า 21762 (H), (คำบรรยาย) ชาร์ล มาร์แตล (Charles Martel) เป็นสมุหราชมณเฑียร ที่มีบทบาทสำคัญต่อการก่อตั้งราชวงศ์คาโรแลงเจียน โดยเขาได้รับฉายาว่า ขุนค้อน(The Hammer) ที่สามารถรบชนะพวกมอสเล็มหรือพวกมัวร์ที่เมืองตูร์ (Tours) ในฝรั่งเศส ได้สำเร็จ ซึ่งถือว่าเป็นการยุติการขยายอำนาจของพวกมัวร์ที่เข้าไปในฝรั่งเศสโดยสิ้นเชิง ใบปี ค.ศ. 732 หลังจากนั้นพวกมัวร์ก็ถูกผลักดันให้กลับไปอยู่ในสเปนตามเดิม

61.       กษัตริย์ผู้ได้รับการสวมมงกุฎจากสันตะปาปาในปี ค.ศ. 800 เป็นจักรพรรดิโรมันองค์ใหม่ผู้สามารถ รวบรวมดินแดนยุโรบตะวันตกเข้าด้วยกันอีกครั้ง ภายหลังกรุงโรมแตกในปี ค.ศ. 476 คือ

(1) Meroveg      

(2) Clovis  

(3) Pepin  

(4) Charlemagne

ตอบ 4 หน้า 218 – 22063 (H) ชาร์เลอมาญ (Charlemagne) เป็นกษัตริย์ชาวแฟรงค์ที่ทรงอานุภาพ มากที่สุดของราชวงศ์คาโรแลงเจียน และถือว่าทรงมีเทวสิทธิ์ปกครองจักรวรรดิ ทั้งนี้เพราะ ในปี ค.ศ. 800 พระองค์ได้รับการสวมมงกุฎจากลันตะปาปาลีโอที่ 3 เพื่อสถาปนาให้ทรงเป็น จักรพรรดิองค์ใหม่ของจักรวรรดิโรมัน ซึ่งเท่ากับเป็นการฟื้นฟูจักรวรรดิโรมันตะวันตกขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้ผลงานที่สำคัญของพระองค์คือ สามารถรวบรวมยุโรปตะวันตกให้เป็นปึกแผ่นได้สำเร็จ ทรงส่งเสริมการศึกษา กำหนดรูปแบบการใช้เงินเหรียญ และกำหนดมาตราวัด

62.       สนธิสัญญาแวร์ดัง ค.ศ. 843 เพื่อแบ่งจักรวรรดิของจักรพรรดิชาร์เลอมาญ เป็นที่มาของประเทศ… ในปัจจุบัน

(1) เยอรมนี     

(2) ฝรั่งเศส     

(3) อังกฤษ     

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 220 – 22164 (H) ผลของสนธิสัญญาแวร์ดังในปี ค.ศ. 843 เป็นจุดกำเนิดของประเทศ เยอรมนีและฝรั่งเศสในปัจจุบัน โดยมีการแบ่งจักรวรรดิของชาร์เลอมาญออกเป็น 3 ส่วน คือ

1.         หลุยส์เดอะเยอรมัน (Louis the German) ได้ครอบครองดินแดนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไรน์ ปัจจุบันคือ ดินแดนทางภาคตะวันตกและตอนกลางของประเทศเยอรมนี

2.         ชาร์ลเดอะบอลด์ (Charles the Bald) ได้ครอบครองดินแดนทางตะวันตกของจักรวรรดิปัจจุบันก็คือ ประเทศฝรั่งเศส          

3. โลแธร์ (Lothair) ได้ครอบครองดินแดนทางตอนเหนือของอิตาลีและตอนกลางของจักรวรรดิ ซึงต่อมาก็คือ แคว้นลอแรน

63.       ที่มาของระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ในยุคกลางของยุโรปคือ  

(1) ยุโรปถูกรุกรานอีกครั้งจากภายนอก

(2)กบัตริยอ่อนแอไม่สามารถดูแลประชากรได้ทั่วถึง

(3)ประชาชนหันมาพึ่งพาขุนนางเพื่อความปลอดภัยของตนเอง

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 222 – 22665 (H) สาเหตุที่ทำให้เกิดระบอบฟิวดัล (Feudalism) หรือระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ มีดังนี้

1. กษัตริย์อ่อนแอ ทำให้ไม่สามารถให้ความคุ้มครองแก่ประชาชน ได้อย่างทั่วถึง ดังนั้นประชาชนจึงต้องหันมาพึ่งพาขุนนางเพื่อความปลอดภัยของตนเอง

2.         ยุโรปถูกรุกรานอีกครั้งจากพวกอนารยชนภายนอก

3. เศรษฐกิจซบเซา ทำให้ชนชั้นกลาง หรือพวกพอค้าหมดอำนาจ ในขณะที่ขุนนางเจ้าของที่ดินขึ้นมามีอำนาจแทน

64.       สาเหตุความเสื่อมของระบอบฟิวดัลคือ         

(1) สงครามครูเสด

(2)ความเจริญทางการค้า       

(3) โรคระบาด

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 23766 – 67 (H) สาเหตุสำคัญที่ทำให้ระบอบฟิวดัลหรือระบอบศักดินาสวามิภักดิ์เสื่อมลง มีดังนี้

1. สงครามครูเสด ทำให้พวกขุนนางตายไปเป็นจำนวนมาก กษัตริย์จึงมิอำนาจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

2.ความเจริญทางการค้า ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจแบบแมเนอร์ลดความสำคัญลง

3.ความสำเร็จในการผลิตกระสุนดินปืน ทำให้บทบาทของขุนนางและอัศวินสวมเกราะลดลง

4.การเกิดโรคระบาดในศตวรรษที่ 14 คือ กาฬโรค ทำให้ประชากรลดลง พวกทาสดิดที่ดิน จึงหางานทำได้ง่ายขึ้น เป็นต้น

65.       จักรพรรดิจัสติเนียนแห่งอาณาจักรโรมันตะวันออกมีผลงานที่สำคัญคือ

(1)       ขยายอำนาจเข้าไปในยุโรปตะวันตก

(2) กฎหมาย   

(3) โบสถ์เซนต์โซเฟีย 

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 252 – 25370 (H) ผลงานที่สำคัญของจักรพรรดิจัสติเนียนแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันออกมีดังนี้

1. ขยายอาณาเขตออกไปถึงภาคเหนือของแอฟริกา ภาคใต้ของสเปน และอิตาลี

2.สร้างประมวลกฎหมายจัลติเนียน (Corpus Juris Civilis) ในปี ค.ศ. 529

3.สร้างโบสถ์เซนต์โซเฟีย (Santa Sophia) ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลเมื่อ ค.ศ. 537

66.ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างจักรพรรดิแห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์กับสันตะปาปา           

(1) การขยายอำนาจจักรพรรดิเข้าไปในแหลมอิตาลี

(2)การแข่งขันกันแต่งตั้งพระชั้นผู้ใหญ่           

(3) ทำให้รัฐเยอรมันแตกแยกออกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย

(4)ทำให้จักรพรรดิมีอำนาจสูงสุดเหนือองค์สันตะปาปา

ตอบ 4 หน้า 71 – 72 (H), 77 – 78 (H), (คำบรรยาย) ความสำคัญของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ระหวางจักรพรรดิแห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์กับสันตะปาปาในยุคกลาง มีดังนี้

1.จักรพรรดิแห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ทรงขยายอำนาจออกไปอย่างกว้างขวางและ ได้รวมอิตาลีเข้ากับอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และทรงเน้นว่าอาณาจักรเป็นฝ่ายปกครอง ศาสนจักร ทำให้สันตะปาปาไม่พอใจ

2.การแข่งขันกันแต่งตั้งพระชั้นผู้ใหญ่ระหว่างจักรพรรดิกับสันตะปาปา

3.ทำให้อาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ดินแดนเยอรมนี) แตกแยกออกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย

4.ทำให้จักรพรรดิไม่มีอำนาจสูงสุดอีกต่อไป

67.หลังจากราชวงศ์คาโรแลงเจียนหมดอำนาจไปจากฝรั่งเศส พวกขุนนางได้เลือกอู๊ก กาเปท์ ขึ้นเป็นกษัตริย์ในปี ค.ศ. 987 จึงเป็นที่มาของการเกิดระบอบ… ขึ้นในยุโรป     

(1) สมบูรณาญาสิทธิราชย์

(2) ศักดินาสวามิภักดิ์ 

(3) สังคมนิยม

(4) ประชาธิปไตย

ตอบ 2 หน้า 26472 (H) หลังจากพระเจ้าหลุยส์ทิ่ 5 แห่งราชวงศ์คาโรแลงเจียนสายฝรั่งเศส สิ้นพระชนม์ ในปี ค.ศ. 987 พวกขุนนางฝรั่งเศสจึงได้เลือก อู๊ก กาเปท์ ขึ้นเป็นกษัตริย์ราชวงศ์คาเปเตียน ทั้งนี้ทรงมีดินแดนที่ปกครองอย่างแท้จริงคือ เกาะฝรั่งเศส ซึ่งเป็นดินแดนเล็ก ๆ ในภาคกลาง ของฝรั่งเศสเท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นกษัตริย์ที่ไม่มีอำนาจแต่ประการใด ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้น ของการปกครองในระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ขึ้นในยุโรป นอกจากนี้ยังทรงวางรากฐาน การสืบราชสมบัติจากพ่อไปสู่สูกอีกด้วย

68.       ความสำคัญของกษัตริย์ฟิลิป ออกัสตัส แห่งฝรั่งเศส คือ

(1) ขัดแย้งกับกษัตริย์จอห์นแห่งอังกฤษและสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3       

(2) สร้างพระราชวังลูฟร์

(3)ก่อตั้งมหาวิทยาลัยปารีสในปี ค.ศ. 1200  

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 26627572 (H), 75 (H) ความสำคัญของกษัตริย์ฟิลิป ออกัสตัส แห่งฝรั่งเศส มีดังนี้

1.         ทรงมีปัญหาขัดแย้งกับสันตะปาปาอินโนเซนต์ทิ่ 3 ในเรื่องทิ่ทรงหย่าขาดกับพระมเหสี ซึ่งทำให้สันตะปาปาทรงประกาศปิดโบสถ์ (Interdict) ในฝรั่งเศส

2.         ทำให้มีการก่อสร้างพระราชวังลูฟร์ (Louvre) ขึ้น

3.         มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยปารีสในปี ค.ศ. 1200         

4. สนับสนุนการสร้างเมืองใหม่

5.         ร่วมมือกับชาวเมืองเพื่อกำจัดอิทธิพลของขุนนางฟิวดัลลง

6.         ทรงทำสงครามกับพระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษเรื่องผลประโยชน์ในฝรั่งเศส

69.       การรวมสเปนในศตวรรษที่ 15 ภายหลังพวกมัวร์เข้ามามีอำนาจและอิทธิพลร่วม 800 ปี คือ การรวม อาณาจักรคริสเตียน 2 แห่งเข้าด้วยกัน คือ

(1) คาสติลกับอรากอน

(2) อรากอนกับนาวาร์ 

(3) นาวาร์กับโปรตุเกส

(4) โปรตุเกสกับคาสติล

ตอบ 1 หน้า 26773 (H) การรวมสเปนที่เข้มแข็งที่สุดคือ การรวมอาณาจักรคริสเตียน 2 แห่ง นั่นคือ คาสติลและอรากอนเข้าด้วยกัน ซึ่งเกิดจากการอภิเษกระหวางเจ้าหญิงอิซาเบลลาแห่งคาสติล กับเจ้าชายเฟอร์ดินันด์แห่งอรากอน ที่ทรงร่วมกันปกครองในฐานะกษัตริย์คาทอลิก และได้ทำสงครามกับพวกมัวร์จนมีชัยชนะในปี ค.ศ. 1492 นอกจากนี้ยังสามารถยึดอาณาจักรกรานาดา ที่อยู่ทางตอนใต้ของสเปนคืนจากพวกมัวร์ได้สำเร็จ ทำให้การปกครองโดยมุสลิมในสเปนสิ้นสุดลง

70.       ผลจากการที่วิลเลียม ดุ๊กแห่งนอร์มังดี เข้ายึดครองอังกฤษในปี ค.ศ. 1066 คือ

(1)       ภาษาฝรั่งเศสกลายเป็นภาษาของชนชั้นสูงและปะปนในภาษาอังกฤษ

(2)       กษัตริย์ฝรั่งเศสมีฐานะเป็นกษัตริย์อังกฤษด้วย

(3)       กษัตริย์อังกฤษมีฐานะเป็นกษัตริย์ฝรั่งเศสด้วย

(4)       พวกแองโกล-แซกซันกลับมามีอำนาจ

ตอบ 1 หน้า 271 – 27372 (H), 74 (H) ผลจากการที่วิลเลียม ดุ๊กแห่งนอร์มังดีของฝรั่งเศส ได้เข้า ยึดครองอังกฤษในปี ค.ค. 1066 มีดังนี้

1. ทำให้กษัตริย์อังกฤษมี 2 สถานภาพ คือ มีฐานะ เป็นเจ้า (Lord) สูงสุดในอังกฤษ แต่ต้องมีฐานะเป็นข้า (Vassal) ของกษัตริย์ฝรั่งเศส เมื่อเข้าไปถือครองและเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากที่ดินในฝรั่งเศส

2. ขุนนางแองโกล-แซกซันถูกกำจัด

3.         ภาษาฝรั่งเศสกลายเป็นภาษาของชนชั้นสูงและเข้าไปปะปนในภาษาอังกฤษ

4.         มีการนำระบบแมเนอร์เข้ามาใช้ในอังกฤษ

5. มีการจัดทำทะเบียนราษฎร์อย่างละเอียด ในปี ค.ศ. 1086 ซึ่งเริยกว่า “Doomsday Books” เพื่อการเก็บภาษีและการเกณฑ์แรงงาน

71.       ความสำคัญของรัฐธรรมนูญแมกนา คาร์ตา ปี ค.ศ. 1215 ของอังกฤษคือ

(1)       ทำให้กษัตริย์จอห์นมีอำนาจเหนือพวกขุนนาง

(2)       กษัตริย์จอห์นสามารถยึดดินแดนในฝรั่งเศสกลับคืนมา

(3)       ทำให้อังกฤษรวมประเทศได้สำเร็จ

(4)       เป็นจุดเริ่มต้นของระบอบรัฐสภา

ตอบ 4 หน้า 27575 (H), (คำบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1215 พระเจ้าจอห์นหรือกษัตริย์ผู้ไร้แผ่นดิน (John the Lackland) ทรงถูกพวกขุนนางอังกฤษบังคับให้ลงนามในรัฐธรรมนูญแมกนา คาร์ตา (Magna Carta หรือ The Great Charter) ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของอังกฤษ โดยมี หลักการที่สำคัญยิ่ง คือ กำหนดให้ทุกชนชั้นต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย นอกจากนี้ยังลดอำนาจ ของกษัตริย์ ให้ศาลยุติธรรมทำหน้าที่ตัดสินคดีความของเสรีชน การจัดเก็บภาษีต้องทำด้วย ความยุติธรรม และมีการกล่าวถึงตัวบทกฎหมายอีกด้วย ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครอง ใบระบอบรัฐสภา หรือการปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของอังกฤษ

72.       สงครามครูเสดที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1095 เป็นสงครามที่พวกคริสเตียนยกทัพไปตี… คืนจากพวกมุสลิม

(1) เบธเลเฮม 

(2) เยรูซาเล็ม 

(3) คอนสแตนติโนเปิล           

(4) ดามัสกัส

ตอบ 2 หน้า 279 – 28576 – 77 (H) สงครามครูเสด (ค.ค. 1095 – 1291) ในยุคกลาง ถือเป็นสงครามมหายุทธ์ที่กินระยะเวลาร่วม 200 ปี (รวมทั้งหมด 8 ครั้ง) โดยเป็นสงครามระหว่าง ศาสนาคริสต์กับคาสนาอิสลาม หรือระหว่างพวกคริสเตียนกับพวกมุสลิมหรือมอสเล็ม เพื่อแย่งกันครอบครองกรุงเยรูซาเล็ม และเมื่อสิ้นสุดสงครามพวกคริสเตียนก็ไม่สามารถยึด กรุงเยรูซาเล็มคืนจากพวกมุสลิมได้ จึงถือว่าเป็น ความล้มเหลวที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด ในประวัติศาสตร์” เพราะชาวยุโรปได้รับบทเรียนต่าง ๆ จากพวกอาหรับและอิสลามอื่น ๆ เป็นอันมาก

73.       ผลของสงครามครูเสดคือ

(1) การเปิดดินแดนยุโรปตะวันตกออกสู่โลกภายนอก

(2) ฟื้นฟูการค้าในยุโรปตะวันตก

(3)การสิ้นสุดของระบอบฟิวดัล          

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 284 – 28577 (H) ผลของสงครามครูเสด มีดังนี้

1. ทำให้ระบอบฟิวดัลหรือระบอบ ศักดินาสวามิภักดิ์เสื่อมลง

2. เกิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการค้าในดินแดนยุโรปตะวันตก

3. มีการเปิดเส้นทางการค้าเพื่อนำเอาความเจริญและสินค้าจากภาคตะวันออกไปเผยแพร่ ในยุโรปตะวันตก          

4. กษัตริย์มีอำนาจมากขึ้น ในขณะที่ขุนนางเสื่อมอำนาจและยากจนลง

5.เมืองต่างๆ เริ่มขยายขึ้น เพราะการค้าขยายตัว

6. อำนาจของฝ่ายศาสนจักรเพิ่มขึ้น

7.มีการนำเงินและทองเข้ามาในยุโรปมากขึ้น เป็นต้น

74.       รัฐธรรมนูญฉบับ ประกาศทอง” ปี ค.ศ. 1356 โดยจักรพรรดิชาร์ลที่ 4 แห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ มีความสำคัญคือ

(1)จัดตั้งคณะผู้เลือกตั้ง 7 คนเป็นผู้เลือกจักรพรรดิองค์ใหม่

(2)ต้องการตัดสิทธิสันตะปาปาออกจากการเลือกจักรพรรดิองค์ใหม่

(3)ทำให้ดินแดนเยอรมนีสามารถรวมชาติได้สำเร็จ

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 292 – 29378 (H) ตามรัฐธรรมนูญฉบับประกาศทอง (The Golden Bull) ปี ค.ศ.. 1356 ซึ่งประกาศใช้โดยจักรพรรดิชาร์ลที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์ก กำหนดให้เจ้าผู้ครองแคว้นในอาณาจักร โรมันอันศักดิสิทธิ์ (เจ้าเยอรมัน) 7 องค์ หรือจัดเป็นคณะผู้เลือกตั้ง 7 คน (Electors) เป็นผู้เลือก จักรพรรดิองค์ใหม่โดยไม่ต้องมีการรับรองจากศาสนจักร ซึ่งถือว่าเป็นการตัดสิทธิของ สันตะปาปาในการเลือกจักรพรรดิองค์หม่ออกไป และนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1438 เป็นต้นมา กษัตริย์แห่งราชวงค์แฮปสเบิร์กแห่งออสเตรียมักจะได้รับการเลือกตั้งเป็นจักรพรรดิ

75.       ความสำคัญของสงครามร้อยปี (ค.ศ. 1337 – 1453) ระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสคือ

(1) การฟื้นตัวของระบอบฟิวดัล         

(2) ขุนนางกลับมามีอำนาจเหนือกษัตริย์

(3)อังกฤษและฝรั่งเศสสามารถรวมชาติได้สำเร็จ

(4) ส่งผลต่อการเกิดสงครามดอกกุหลาบในอังกฤษ

ตอบ3 หน้า 29979 (H) ผลของสงครามร้อยปี (ค.ศ. 1337 – 1453) ระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส มีดังนี้

1.         เป็นการสิ้นสุดระบอบฟิวคัลหรือระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ทั้งในอังกฤษและฝรั่งเศส เพราะ พวกขุนนางตายไปเป็นจำนวนมาก และยังส่งผลให้กษัตริย์มีอำนาจเพิ่มขึ้น

2.         ทำให้เกิดความรู้สึกชาตินิยมขึ้นทั้ง 2 ชาติ จนกษัตริย์ของทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสสามารถ รวมตัวเป็นรัฐชาติ (Nation-state) ได้สำเร็จ

3.         อังกฤษได้เลิกใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ

76.       เหตุการณ์ Babylonian Captivity ค.ศ. 1305 – 1377 และ The Great Schism ค.ศ. 1378 – 1417 มีความสำคัญคือ

(1)แสดงถึงความเสื่อมของคาสนจักร 

(2) แสดงถึงความเสื่อมอำนาจของอาณาจักร

(3) พวกแคลเดียนไปกวาดต้อนพวกยิว          

(4) ศาสนาคริสต์แตกแยกออกเป็นหลายนิกาย

ตอบ1 หน้า 300 – 30380 – 81 (H) เหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความเสื่อมอำนาจของศาสนจักร ในศตวรรษที่ 14 – 15 มีดังนี้

1.         การคุมขังแห่งบาบิโลเนีย (Babylonian Captivity : ค.ศ. 1305 – 1377) เกิดขึ้นเพราะ สันตะปาปาได้ย้ายที่ประทับจากกรุงโรมในอิตาลีมาอยู่ที่เมืองอาวิญยองในฝรั่งเศส ทำให้ สันตะปาปาชาวฝรั่งเศสองค์ต่อ ๆ มาพำนักอยู่ในฝรั่งเศสเป็นเวลา 70 ปี ส่งผลให้สันตะปาปา ตกอยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์ฝรั่งเศส และมิได้มีฐานะเป็นประมุขสากลอีกต่อไป

2.         การแตกแยกครั้งใหญ่ (The Great Schism : ค.ศ. 1378 – 1417) มีสาเหตุมาจากการแย่งชิงตำแหน่งพระสันตะปาปาระหว่างชาวอิตาลีกับชาวฝรั่งเศส จนส่งผลให้เกิดสันตะปาปาขึ้น พร้อมกัน 2 องค์ทั้งที่กรุงโรมในอิตาลี และที่เมืองอาวิญยองในฝรั่งเศส

77.       ความสำคัญของอำนาจเทวสิทธิ์ของกษัตริย์คือ         

(1) เป็นการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

(2)กษัตริย์ดึงอำนาจมาจากสันตะปาปาที่เสื่อมอำนาจลง

(3)กษัตริย์คือตัวแทนของพระเจ้าบนโลก       

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 332 – 33386 (H) อำนาจเทวสิทธิ์ของกษัตริย์ (Divine Rights of King) แต่เดิมนั้น คืออำนาจของสันตะปาปา เมื่อสันตะปาปาเสื่อมอำนาจลงกษัตริย์จึงเป็นผู้ใช้อำนาจนี้แทน โดยกษัตริย์ทรงอ้างว่าเป็นตัวแทนของพระผู้เป็นเจ้าที่ถูกส่งมาปกครองมนุษย์ ดังนั้นมนุษย์ จึงไม่มีสิทธิปลดกษัตริย์ออกจากตำแหน่ง ซึ่งส่งผลให้ยุโรปในช่วงต้นยุคใหม่มีการปกครอง ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ นั่นคือ กษัตริย์เป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในการปกครองแผ่นดิน

78.       ในสมัยศตวรรษที่ 15 ดินแดนที่ยังไม่สามารถรวมเป็นรัฐชาติได้สำเร็จคือ

(1)สเปน         

(2) โปรตุเกส   

(3) อังกฤษและฝรั่งเศส          

(4) เยอรมนีและอิตาลี

ตอบ 4 หน้า 332338393. 86 (H), 88 (H) ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นสมัยการกำเนิดรัฐชาติ ภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งประเทศที่สามารถรวมตัวกันเป็นรัฐชาติได้สำเร็จ ได้แก่ สเปน โปรตุเกส อังกฤษ และฝรั่งเศส ในขณะที่เยอรมนีและอิตาลียังคงแตกแยก ออกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศขาดเอกภาพทางการเมือง

79.       ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของการปฏิวัติทางการค้า ค.ศ. 1500 – 1700

(1)       ความเจริญทางเศรษฐกิจเปลี่ยนจากเมดิเตอร์เรเนียนไปสู่แอตแลนติกและภาคโพ้นทะเล

(2)       เศรษฐกิจของอิตาลีซบเซาลง

(3)       การค้าเข้ามามีบทบาทแทนการเกษตรกรรม

(4)       ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก

ตอบ 4 หน้า 33988 (H) ความสำคัญของการปฏิวัติทางการค้า (ค.ศ. 1500 – 1700) มีดังนี้

1.         ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของยุโรปได้เปลี่ยนแปลงจากบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปสู่ มหาสมุทรแอตแลนติกและภาคโพ้นทะเล

2. เศรษฐกิจของอิตาลีซบเซาและลดความสำคัญลง ในขณะที่สเปนและโปรตุเกสมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น

3. การค้าเข้ามามีบทบาทแทน การเกษตรกรรม

4. ลัทธิเศรษฐกิจแบบพาณิชย์ชาตินิยมได้แพร่หลายไปทั่วโลก

80.       ข้อใดไม่ใช่ความหมายของลัทธิพาณิชย์ชาตินิยม

(1) การควบคุมเศรษฐกิจโดยรัฐบาลแห่งชาติ

(2) รัฐต้องการเงินเพื่อนำไปสร้างกองทัพ

(3) พึ่งพาเศรษฐกิจชาติอื่นให้น้อยลง 

(4) อาณานิคมมีความเสรีทางเศรษฐกิจ

ตอบ 4 หน้า 339 – 34088 (H), (คำบรรยาย) ลัทธิพาณิชย์ชาตินิยม (Mercantilism) เป็นระบบการค้าที่รัฐบาลแห่งชาติและกษัตริย์จะเป็นผู้ควบคุมเศรษฐกิจทั้งหมด นั่นคือ กษัตริย์เป็นผู้อุปถัมภ์ และมีอำนาจในการกำหนดสิทธิในการต่อรองหรือผูกขาดสินค้า ทั้งนี้พวกนายทุนจะได้รับการส่งเสริมทางการค้าจากรัฐบาล ส่วนกษัตริย์จะสะสมโลหะมีค่าเพื่อหาเงินมาขยายกองทัพ และสะสมอาวุธเพื่อป้องกันการรุกรานจากชาติอื่น นอกจากนี้ยังผูกขาดการค้าโดยบังคับให้ ประเทศอาณานิคมค้าขายกับเมืองแม่เทานั้น เน้นการพึ่งพาเศรษฐกิจจากชาติอื่น ๆ ให้น้อยที่สุด และส่งเสริมการมีอาณานิคม ทำให้เกิดการแช่งขันทางการค้าและเกิดกรณีพิพาทในกลุ่มประเทศอาณานิคมอยู่บ่อยครั้ง

81.       ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการสำรวจทางทะเลในสมัยศตวรรษที่ 15

(1) ความต้องการสินค้าจากภาคตะวันออก    

(2) กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกพวกเติร์กยึดครอง

(3) ล้มการผูกขาดการค้าของพวกพ่อค้าอิตาลี           

(4) กรุงโรมถูกพวกอนารยชนเยอรมันยึดครอง

ตอบ 4 หน้า 350 – 35189 – 90 (H), (คำบรรยาย) สาเหตุที่ทำให้ยุโรปตะวันตกออกสำรวจ เส้นทางทางทะเลเพื่อแสวงหาอาณานิคมใหม่ในช่วงศตวรรษที่ 15 – 16 มีดังนี้

1.แรงบันดาลใจที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ยุคกลางที่กองทัพครูเสดนำเอาความรู้และสินค้าจากเอเชีย ไปเผยแพร่ในยุโรป

2 อิทธิพลจากหนังสือชื่อ The book of Marco Polo ของมารโค โปโล ซึ่งเป็นบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางไปจีนที่ใช้เวลานานถึง 25 ปี

3.เส้นทางการค้าระหว่างยุโรปกับภาคตะวันออกถูกตัดขาด เนื่องจากกรุงคอนสแตนติโนเปิล ถูกพวกออตโตมัน เติร์ก ยึดครองในปี ค.ศ. 1453

4.มีความต้องการสินค้าจากภาคตะวันออก

5.ต้องการล้มเลิกการผูกขาดสินค้าจากภาคตะวันออกของพ่อค้าชาวอิตาลี เป็นต้น

82.       ชาวยุโรปชาติแรกที่ค้นพบเส้นทางเดินเรือมาสู่อินเดียในศตวรรษที่ 15 คือ

(1) สเปน        

(2) โปรตุเกส   

(3) อังกฤษ     

(4) ฮอลันดา

ตอบ 2 หน้า 33635190 (H) ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 โปรตุเกสเป็นชาติแรกที่เป็นผู้นำในการเดินเรือ เข้ามาในทวีปเอเชีย โดยนักเดินเรือคนสำคัญ คือ วาสโก ดา กามา (Vasco da Gama) สามารถเดินเรืออ้อมทวีปแอพ่ริกาไปถึงอินเดียในปี ค.ศ. 1498 ได้สำเร็จเป็นคนแรก

83.       การฟื้นพูศิลปวิทยาหรือการเกิดใหม่ของอารยธรรมคลาสสิกมีผลตามมาคือ การให้ความสำคัญแก่

(1) พระเจ้า     

(2) โลกหน้า    

(3) มนุษย์       

(4) พระ

ตอบ 3 หน้า 356 – 35892 (H) การฟื้นฟูศิลปวิทยาการหรือเรอเนสซองส์ (Renaissance)ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 คือ การเกิดใหม่ของอารยธรรมคลาสสิกหรือการฟื้นฟูอารยธรรมกรีก-โรมัน ขึ้นมาใหม่ ซึ่งในสมัยพ่นฟูศิลปวิทยาการจะเน้นความสำคัญของมนุษย์ ปรัชญามนุษยนิยม (Humanism) รวมทั้งการแสดงออกของปัจเจกบุคคลและประสบการณทางโลก ทั้งนี้การฟื้นฟู ศิลปวิทยาการเกิดขึ้นครั้งแรกที่เมืองฟลอเรนซ์ในแหลมอิตาลี ก่อนที่จะแพร่ขยายเข้าไปใน ประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ

84.       รัฐที่รํ่ารวยที่สุดในแหลมอิตาลีซึ่งเป็นผลมาจากการเป็นเจ้าทะเลและศูนย์กลางการอุตสาหกรรมในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาคือ

(1) ฟลอเรนซ์  

(2) เวนิส         

(3) เจนัว         

(4) ปิซ่า

ตอบ 2 หน้า 359 – 36092 – 93 (H) สาธารณรัฐเวนิสเป็นหนึ่งในบรรดา 5 รัฐผู้นำในแหลมอิตาลี ที่รํ่ารวยที่สุดในฐานะที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการค้าในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในคริสต์ศตวรรษ ที่ 14 จนได้ชื่อว่า ราชินีแห่งท้องทะเล” (Queen of the Seas) ทั้งนี้เวนิสมีเรือถึง 3,300 ลำ เป็นกองเรือใหม่ที่สุดในโลก เพราะมีทุนมหาศาลจากการทำอุตสาหกรรม สามารถทำการผลิต กระสุนปืนและอะไหล่สำหรับเรือด้วยตนเอง ซึ่งการทุ่มเทด้านการค้าและอุตสาหกรรมนี้มีผลให้ เวนิสเริมกระบวนการฟื้นฟูศิลปวิทยาการในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และได้กลายเป็นศูนย์กลาง ทางด้านการพิมพ์ของยุโรป

85.       จุดมุ่งหมายในการเขียนหนังสือ The Prince ของมาเคียเวลลี ในปี ค.ศ. 1513 คือ

(1) ต่อต้านอำนาจกษัตริย์       

(2) รวมอิตาลีเข้าด้วยกัน

(3) การก้าวไปสู่ความสำเร็จโดยไม่ต้องคำนึงถึงศีลธรรม       

(4) ถูกข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 333 – 33436294 (H) นิโคโล มาเคียเวลลี (NicoLo Machiavelli) เป็นนักเขียนผู้ทรงอิทธิพลมากที่สุดในสมัยเรอเนสซองส์ โดยผลงานที่มีชื่อเสียงก็คือ The Prince ใบปี ค.ศ. 1513 ซึ่งเป็นหนังสือที่แนะนำผู้ปกครองให้รักษาความปลอดภัยของรัฐในทุกวิถีทางที่จำเป็นโดยมีวิธีการที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จและได้มาซึ่งอำนาจโดยไม่คำนึงถึงศีลธรรมและวิธีการที่ถูกต้อง ทั้งนี้จุดมุ่งหมายของเขาก็คือ ต้องการรวมอิตาลีภายใต้การปกครองเดียวกัน

86.       สาเหตุปัจจุบันที่ก่อให้เกิดการปฏิรูปศาสนาขึ้นในศตวรรษที่ 16 คือ

(1)พิธีกรรมทางศาสนามีมากเกินไป   

(2) พระไม่มีความรู้และศีลธรรม

(3) สันตะปาปาเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมีอง    

(4) การขายใบไถ่บาป

ตอบ 4 หน้า 378 – 37998 (H) สาเหตุปัจจุบันที่ทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนาขึ้นในศตวรรษที่ 16 คือ การที่สันตะปาปาลีโอที่ 10 ขายใบไถ่บาปในดินแดนเยอรมนี เพื่อนำเอาเงินไปบูรณะโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ใบนกรุงโรม พระองค์จึงถูกโจมตีจากมาร็ติน ลูเธอร์ พระชาวเยอรมัน ซึ่งได้เขียน คำประท้วง 95 ข้อ (95 Theses) ทำให้มีผู้เห็นด้วยว่าไม่ควรนำเงินเยอรมันไปสร้างวัดในอิตาลี เหตุการณ์ดังกล่าวจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการประท้วงทางศาสนาและเป็นที่มาของคำว่า “Protestant” ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1529

87.       ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของนิกายโปรเตสแตนต์

(1) ตัดอำนาจสันตะปาปา      

(2) เป็นศาสนาแห่งชาติ

(3) เน้นการเข้าถึงศาสนาโดยการอ่านพระคัมภีร์        

(4) การคงคำสอนในพระคัมภีร์เป็นภาษาละติน

ตอบ 4 หน้า 379 – 38198 (H), (คำบรรยาย) ในขณะที่ลี้ภัยอยู่ที่แซกโซนี มาร์ติน ลูเธอร์(Martin Luther) ผู้ก่อตั้งนิกายโปรเตสแตนต์ ได้แปลพระคัมภีร์ไบเบิลจากภาษาละตินเป็น ภาษาเยอรมันและภาษาท้องถิ่นอื่น ๆ อย่างแพร่หลาย เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงศาสนาได้ โดยการอ่านพระคัมภีร์ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพระหรือชี และไมมีพิธีกรรมอย่างคาทอลิก จนเป็นที่มาของนิกายลูเธอรันนิสม์ (Lutheranism) ซึ่งเป็นนิกายโปรเตสแตนต์นิกายแรก

88.       อังกฤษทำการปฏิรูปศาสนาในสมัยพระเจ้าเฮนรีที่ 8 เพราะกษัตริย์ต้องการ

(1) หย่าขาดจากพระมเหสี     

(2) ตัดอำนาจสันตะปาปา

(3) ทำให้ศาสนาเกิดความบริสุทธิ์      

(4) ยึดที่ดินของวัด

ตอบ 1 หน้า 38399 (H), (คำบรรยาย) การปฏิรูปศาสนาในอังกฤษเกิดขึ้นเพราะพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ ทรงไม่พอพระทัยที่พระสันตะปาปาไม่ยอมจัดการให้พระองค์หย่าขาดจาก พระนางแคเทอรีนแห่งอรากอนเพื่ออภิเษกสมรสใหม่กับแอน โบลีน จึงทรงตั้งสังฆราชแห่งแคนเทอเบอรีขึ้นใหม่ โดยตัดขาดจากองค์กรคริสตจักรที่กรุงโรม และทรงให้รัฐสภาออกกฎหมายที่เรียกว่า “The Act of Supremacy” ในปี ค.ค. 1534 เพื่อแต่งตั้งให้พระองค์เป็นประมุข ทางศาสนาในประเทศอังกฤษแทนสันตะปาปา ซึ่งส่งผลทำให้อังกฤษเปลี่ยนศาสนาเป็น นิกายอังกฤษ” (Anglican Church/Church of England)

89.       ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของสงคราม 30 ปี

(1) เป็นสงครามคาสนาในดินแดนเยอรมนี     

(2) ทำให้ฝรั่งเคสมีชัยเหนือสเปน

(3) ทำให้การรวมเยอรมนีช้าไป 200 ปี           

(4) พวกคาทอลกได้รับชัยชนะ

ตอบ4  หน้า 390 – 391101 (H) สงคราม 30 ปี (The Thirty Years War : ค.ศ. 1618 – 1648;เป็นสงครามศาสนาครั้งสุดท้ายของยุโรปที่เกิดขึ้นในอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (เยอรมนี) โดยเป็นสงครามระหว่างพวกโปรเตสแตนต์ที่ได้รับความช่วยเหลือจากอังกฤษและฝรั่งเศสกับ พวกคาทอลิกที่ได้รับความช่วยเหลือจากสเปน ในที่สุดสงครามก็จบลงด้วยชัยชนะของพวก โปรเตสแตนต์และฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศสกลายเป็นมหาอำนาจในยุโรปแทนที่สเปน ขณะที่ดินแดน เยอรมนีได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก ส่งผลทำให้การรวมเยอรมนีช้าไปเป็นเวลา 200 ปี

90.       คำประกาศแห่งเมืองนังต์ (Edict of Nantes) ค.ศ. 1598 โดยพระเจ้าเฮนรีที่ 4 แหงฝรั่งเศส เรื่องขันติธรรมทางศาสนามีผลทำให้

(1)       ประชาชนไม่ต้องนับถือศาสนานิกายเดียวกับกษัตริย์

(2)       ฝรั่งเศสปลอดจากสงครามศาสนาตลอดศตวรรษที่ 17

(3)       พวกฮิวเกอโนต์และพวกคาทอลิกมีสิทธิเท่าเทียมกันตามกฎหมาย

(4)       ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 383 – 384404101 (H), 106 (H) หลังจากที่พระเจ้าเฮนรีที่ 4 ปฐมกษัตริย์ของราชวงค์บูร์บองแห่งฝรั่งเศสทรงเปลี่ยนมานับถือนิกายคาทอลิกแล้ว (เดิมทรงเป็นฮิวเกอโนต์ หรือโปรเตสแตนต์) พระองค์ได้ทรงออกคำประกาศโองการแห่งเมืองนังต์ (Edict of Nantes) ในปี ค.ศ. 1598 เพื่อให้เกิดการประนีประนอมและเกิดความเสมอภาคทางศาสนา รวมทั้ง เป็นการให้สิทธิอย่างเท่าเทียมกันระหว่างพวกคาทอลิกกับพวกฮิวเกอโนต์ ทำให้ฝรั่งเศส เป็นประเทศเดียวที่ประชาชนไม่ต้องนับถือศาสนานิกายเดียวกับกษัตริย์ และปลอดจาก สงครามศาสนาตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 17

91.       พระราชวังแวร์ซายส์มีความสำคัญต่อการเมืองฝรั่งเศสตลอดสมัยหลุยส์ที่ 14 คือ

(1) ยุติปัญหาศาสนา  

(2) กำจัดอิทธิพลขุนนางท้องถิ่น

(3) ศูนย์รวมนักวิชาการ          

(4) หนีห่างชีวิตอันสับสนในปารีส

ตอบ.2 หน้า 409106 (H), (คำบรรยาย) พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของราชวงศ์บูร์บองแห่งฝรั่งเศสทรงสร้างพระราชวังใหม่ขึ้นที่แวร์ซายส์ ซึ่งตั้งอยูนอกกรุงปารีส โดยมีจุดประสงคํที่สำคัญคือ เพื่อหลีกหนีชาวปารีสซึ่งมักจะทำตัวเป็นศัตรูกับรัฐบาล และยังทรงต้องการแยกออกมาจาก ขุนนางเก่าๆ ที่มีอิทธิพลในพระราชวังเดิมเพื่อสร้างพระราชอำนาจใหม่ ทำให้พระราชวังแห่งนี้ กลายเป็นเมืองหลวงที่เป็นศูนย์รวมการปกครองของพระองค์ และเป็นสถานที่ที่ขุนนางคนสำคัญ ของพระองค์มาอาศัยอยู่ ทำให้พระองค์สามารถควบคุมขุนนางได้อย่างใกล้ชิด

92.       ความขัดแย้งระหว่างพระเจ้าชาร์ลที่ 1 กับพวกเพียวริตันในสภา มีผลทำให้อังกฤษเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบ

(1) สมบูรณาญาสิทธิราชย์

(2) ศักดินาสวามีภักดิ์

 (3) สาธารณรัฐ          

(4) ประชาธิปไตย

ตอบ 3 หน้า 411 – 413107 (H) ในระหว่างปี ค.ศ. 1642 – 1649ได้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้น ในอังกฤษ ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งระหวางพระเจ้าชาร์ลที่ 1 กับรัฐสภาอังกฤษซึ่งตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพวกเพียวริตัน (Puritans) ในกรณีที่พระองค์ต้องการเงินเพื่อไปปราบปรามการก่อกบฏของพวกสก็อต โดยสงครามจบลงด้วยชัยชนะของรัฐสภา และพระเจ้าชาร์ลที่ 1 ถูกตัดสินประหารชีวิตในปี ค.ศ. 1649 ซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นสุดสมัยการปกครองในระบอบเทวสิทธิ์ในอังกฤษและเปลี่ยนไปสู่การปกครองในระบอบสาธารณรัฐ (Republic)

93.       อังกฤษปกครองในระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นผลมาจาก

(1) การประกาศเอกราชของสหรัฐอเมริกา      

(2) การทำสงคราม 7 ปีกับฝรั่งเศส

(3) การปฏิวัติอันรุ่งเรือง ค.ศ. 1688   

(4) รัฐธรรมนูญแมกนา คาร์ตา

ตอบ 3 หน้า 417108 (H) ผลของการปฏิวัติอันรุ่งเรืองของอังกฤษในปี ค.ศ. 1688 มีดังนี้

1.         ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในอังกฤษสิ้นสุดลง และเปลี่ยนไปสู่การปกครองใน ระบอบรัฐสภา ซึ่งเป็นการปกครองที่กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

2. รัฐสภามีอำนาจสูงสุด

3. ฐานะของพวกโปรเตสแตนต์มีความมั่นคงขึ้น        

4. กษัตริย์จะประกาศสงคราม จัดกองทัพหรือแต่งตั้งรัฐมนตรีคนใด ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาก่อน

94.       ผลงานสำคัญของพระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชแห่งปรัสเซียคือ

(1) พัฒนากองทัพ

(2)ทำสงครามกับออสเตรีย    

(3) ร่วมแบ่งโปแลนด์  

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 419 – 421108 – 109 (H), (คำบรรยาย) พระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชแห่งปรัสเซีย ทรงเป็นกษัตริย์ทรงภูมิธรรมหรือกษัตริย์ประเทืองปัญญา (Enlightened Despots) ซึ่งมีผลงานที่สำคัญดังนี้

1.         พยายามหาเงินเพื่อพัฒนากองทัพที่ได้รับการฝึกฝนเป็นอย่างดีและมีอาวุธที่ทันสมัย เพื่อขยายอำนาจทางการทหาร และสร้างรัฐบาลให้เข้มแข็ง จนทำให้ปรัสเซียในสมัยของ พระองค์ได้รับฉายาว่าเป็น สปาร์ตาแห่งยุโรป

2.         ในระหว่างปี ค.ศ. 1740 – 1748ทำสงครามกับออสเตรียเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ทางทหาร ในยุโรปกลาง โดยแย่งชิงดินแดนไซลีเชียจากพระราชินีมาเรีย เธเรซา

3.         ในปี ค.ศ. 1772 ทรงร่วมกับพระนางแคเทอรีนมหาราชินีแห่งรัสเซีย และออสเตรียแบ่งแยก โปแลนด์เป็นครั้งแรก

95.       ในปี ค.ศ. 1795 ประเทศในยุโรปกลางที่หายไปจากแผนที่ของยุโรปเพราะการแบ่งของ 3 ประเทศมหาอำนาจ คือ รัสเซีย ปรัสเชีย และออสเตรียคือ

(1)บัลแกเรีย   

(2) โปแลนด์   

(3) โรมาเนีย   

(4) ฮังการี

ตอบ 2 หน้า 427109 (H) ในปี ค.ศ. 1772 รัสเซีย ออสเตรีย และปรัสเซียได้ร่วมกันแบ่งแยกโปแลนด์ เป็นครั้งแรก ทำให้รัฐบาลโปแลนด์ต้องออกกฎหมายยกเลิก “Liberum Veto” ในปี ค.ค. 1791 แต่รัสเซียกับปรัสเซียก็แบ่งแยกโปแลนด์อีกเป็นครั้งที่2ในปี ค.ศ. 1793ทำให้เกิดการจลาจล ในโปแลนด์ซึ่งสร้างความตกใจให้แก่ยุโรปตะวันออกทั้งหมด ในที่สุดทั้ง 3 ประเทศก็รวมกัน แบ่งโปแลนด์อีกเป็นครั้งที่ 3ในปี ค.ศ. 1795 เป็นผลให้โปแลนด์หายไปจากแผนที่ของยุโรป นับตั้งแต่นั้น

96.       ลักษณะสำคัญของกษัตริย์ประเทืองปัญญา (Enlightened Despots) คือ

(1) มีความรู้

(2)สมบูรณาญาสิทธิราชย์      

(3) เคร่งศาสนา          

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 419431491108 (H) ลักษณะสำคัญของกษัตริย์ประเทืองปัญญา (Enlightened Despots) คือ เป็นกษัตริย์ผู้ทรงถือพระองค์ว่าเป็น ผู้รับใช้ชาติคนแรก” นั่นคือ มีหน้าที่ให้ ความสุขแก่ประชาชนด้วยการสร้างรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพ และดำเนินการปฏิรูปเมื่อจำเป็น นอกจากนี้ยังทรงปกครองประเทศในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทรงนำเอาความรู้มาใช้ใน การปรับปรุงประเทศ และไม่สนใจในเรื่องความแตกต่างทางด้านศาสนา ซึ่งกษัตริย์ที่ทรงเป็นกษัตริย์ประเทืองปัญญา เช่น พระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชแห่งปรัสเซีย พระนางแคเทอรีนมหาราชินี แห่งรัสเซีย เป็นต้น

97.       นักวิทยาศาสตร์ผู้เสนอทฤษฎีว่า ดวงอาทิตย์คือศูนย์กลางของจักรวาลคือ

(1) ไทโซ บราเฮ           

(2)เคปเลอร์    

(3)โคเปอร์นิคัส           

(4)ปโทเลมี

ตอบ 3 หน้า 434110(H) นิโคลัส โคเปอร์นิคัส (Nicholaus Copernicus) นักวิทยาศาสตร์ชาวโปแลนด์ เป็นผู้ที่เชื่อว่า ดวงอาทิตย์คือศูนย์กลางของจักรวาล โดยมีโลกเป็นบริวารดวงหนึ่ง

98.       นักวิทยาศาสตร์ผู้เสนอกฎแรงโน้มถ่วงของโลกหรือกฎการดึงดูดของโลกคือ

(1) ไอสไตน์     

(2)กาลิเลโอ    

(3)นิวตัน         

(4)โคเปอร์นิคัส

ตอบ 3 หน้า 437 – 439111 (H) เซอรไอแซค นิวตัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นผู้ค้นพบ กฎแรงโน้มถ่วง” หรือ กฎแห่งการดึงดูดของโลก” นอกจากนี้ผลงานเรื่อง “Principia” ของเขายังช่วยอธิบายถึงการที่โลกและดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์โคจร รอบโลก อีกทั้งยังมีอิทธิพลต่อวงการวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันที่ยํ้าว่า หลักการของวิทยาศาสตร์ คือ การสังเกต การคำนวณ และการทดลอง

99.       นักปรัชญาผู้เสนอแนวคิดเรื่องการแบ่งแยกอำนาจออกเป็น 3 ฝ่ายคือ บริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ คือ

(1) ล็อค          

(2)มองเตสกีเออ         

(3)ฮอบส์         

(4)รุสโซ

ตอบ 2 หน้า 447 – 448, (คำบรรยาย) มองเตสกีเออ เป็นนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสที่เขียนหนังสือชื่อ วิญญาณแห่งกฎหมาย” (The Spirit of Law)ในปี ค.ศ. 1748 ทั้งนี้เขาเห็นว่าการปกครอง ที่ดีที่สุดคือ การใช้กฎหมาย และต้องมีการแบ่งแยกอำนาจการปกครองออกเป็น 3 ฝ่าย อย่างเด็ดขาด ได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ

100.    สาเหตุที่ชาวอาณานิคมอเมริกันไม่ยอมเสียภาษีเพิ่มให้แกอังกฤษคือ

(1) ไม่มีผู้แทนในสภาอังกฤษ  

(2) ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศส

(3)ไม่พอใจที่อังกฤษยึดครองแคนาดา

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 453 – 454113 (H), (คำบรรยาย) ในระหว่างปี ค.ศ. 1763 – 1775 สัมพันธภาพ ระหว่างอังกฤษและอาณานิคมทั้ง 13 แห่งในนิวอิงแลนด์เริ่มตึงเครียดมากขึ้น เพราะอังกฤษ พยายามบังคับให้อาณานิคมอเมริกันต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นตามนโยบายพาณิชย์ชาตินิยม แต่ ชาวอาณานิคมต่อต้านไม่ยอมเสียภาษี เพราะถือว่าไม่มีผู้แทนของตนในรัฐสภาของอังกฤษ และต่อต้านไม่ยอมซื้อสินค้าของอังกฤษโดยความขัดแย้งนี้ได้นำไปสู่การปฏิวัติอเมริกาเพื่อ ประกาศอิสรภาพจากอังกฤษในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ซึ่งเท่ากับเป็นการสถาปนา ประเทศสหรัฐอเมริกา

101.    กลุ่มอภิสิทธิ์ชนที่ไม่ต้องเสียภาษีก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 คือ

(1) พระ           

(2) ขุนนาง      

(3) สามัญชน  

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 459 – 460114 (H) ก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 ฝรั่งเศสมีการแบ่งชนชั้นทางสังคมออกเป็น 3 ชนชั้น หรือ 3 ฐานันดร ได้แก่

1.         ฐานันดรที่ 1 ได้แก่ พระหรือเจ้าหน้าที่ศาสนา

2.         ฐานันดรที่ 2 ได้แก่ เจ้าหรือขุนนาง

3.         ฐานันดรที่ 3 ได้แก่ สามัญชน ซึ่งประกอบด้วยชนชั้นกลาง ช่างฝีมือ และชาวนา

โดยฐานันดรที่ 1 และ 2 เป็นกลุ่มที่มีอภิสิทธิ์ทางสังคมที่ไมต้องเสียภาษีรายได้ ส่วนฐานันดรที่ 3 เป็นกล่มที่ไม่มีอภิสิทธิ์ โดยต้องแบกรับภาระภาษีและภาระทางสังคมของประเทศ

102.    สาเหตุปัจจุบันที่นำไปสู่การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 คือ

(1) ความแตกต่างทางสังคม   

(2) ปัญหาการคลัง

(3)การใช้อำนาจเกินขอบเขตของรัฐบาล        

(4) ได้รับอิทธิพลจากสหรัฐอเมริกา

ตอบ 2 หน้า 460 – 461114 – 115 (H) สาเหตุปัจจุบันที่นำไปสู่การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 คือ ปีญหาทางด้านการคลัง ทั้งนี้เพราะพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ไม่มีเงินเพียงพอที่จะใช้จ่ายในการ บริหารประเทศ จึงทรงเรียกประชุมสภาฐานันดรในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1789 เพื่อร่วมมือกัน หาวิธีแก้ไขปัญหาการคลัง แต่ก็ตกลงกันไม่ได้ ทำให้กลุ่มฐานันดรที่ 3 ซึ่งประกอบด้วยชนชั้นกลาง ช่าฝีมือ และชาวนา แยกตัวออกมาตั้งสภาแห่งชาติของฝรั่งเศส ซึ่งได้กลายเป็นชนวนนำไปสู่ การปฏิวัติฝรั่งเศสในที่ลุด

103.    ปัจจัยที่ทำให้นโปเลียนหมดอำนาจคือ           

(1) การปิดล้อมอังกฤษ

(2) ลัทธิชาตินิยมที่ต่อต้านฝรั่งเศส     

(3) การบุกรัสเซีย        

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 469 – 470117 (H) ปัจจัยที่ทำให้จักรพรรดิบโปเลียนแห่งฝรั่งเศสเสื่อมอำนาจ มีดังนี้

1.         มีการปิดล้อมอังกฤษทางเศรษฐกิจ (Continental Blockade) เพื่อไม่ให้ประเทศบนภาคพื้น- ยุโรปค้าขายกับอังกฤษ แต่ก็ไม่เป็นผล จนถูกกล่าวว่าเป็นเพียง แผนการณ์บนกระดาษ” (Paper Blockade)

2.         ดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของนโปเลียนเกิดความรู้สึกชาตินิยม เพราะไม่พอใจต่อ การถูกกดขี่จากกองทัพนโปเลียน

3.         ทำสงครามกับรัสเชียในปี ค.ศ. 1812 แต่ต้องพ่ายแพ้ต่อความหนาวเย็น การขาดแคลนอาหาร และกองทัพรัสเซีย จนต้องถอยทัพกลับมา ซึ่งสงครามในครั้งนี้ทำให้นโปเลียนหมดอำนาจ จนต้องสละบัลลังก์ไปในปี ค.ศ. 1814 และถูกเนรเทศไปอยู่ที่เกาะเอลบา

104.    ในยุคเมตเตอร์นิก ค.ศ. 1815 – 1848 ยุโรปตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพวก

(1) เสรีนิยม    

(2) สังคมนิยม

(3) ชาตินิยม   

(4) อนุรักษนิยม

ตอบ 4 หน้า 471 – 473118 (H) ภายหลังการประชุมที่เวียนนาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1815 ประเทศในยุโรปส่วนใหญก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มอนุรักษนิยม มีผู้นำคือ เจ้าชายเมตเตอร์นิก เสนาบดีของอาณาจักรออสเตรีย ซึ่งเป็นผู้ที่ต่อสู้เพื่อรักษาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และทำการต่อต้านระบอบเสรีนิยมทุกประเภท ทำให้ยุคสมัยของคองเกรสแห่งเวียนนาถูกเรียกว่า ยุคเมตเตอร์นิก” (ค.ค. 1815 – 1848)

105.    ประเทศผู้นำในอุตสาหกรรมทอผ้าในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมคือ

(1) ฝรั่งเศส     

(2) อังกฤษ     

(3) เบลเยียม  

(4) เยอรมนี

ตอบ 2 หน้า 495 – 496562123 (H) ประเทศอังกฤษ เป็นประเทศแรกบนภาคพื้นทวีปยุโรปที่ ประสบความสำเร็จจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในระหว่างปี ค.ศ. 1760 – 1830 โดยเริ่มจาก การประดิษฐ์เครืองจักรเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมทอผ้า ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมแรกที่มีการปฏิวัติ หลังจากนั้นการปฏิวัติอุตสาหกรรมจึงได้แพร่ขยายไปในประเทศต่าง ๆ บนภาคพื้นยุโรป สหรัฐอเมริกา และในทวีปเอเชีย

106.    ขบวนการอนาธิปไตย (Anarchism) ซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็นขบวนการที่ต่อต้าน

(1) ลัทธิสังคมนิยม     

(2) ลัทธิคอมมิวนิสต์   

(3) ลัทธินายทุน          

(4) ลัทธิซินดิคาลิสม์

ตอบ 3 หน้า 505 อนาธิปไตย (Anarchism) เป็นขบวนการที่ต่อต้านระบบนายทุนซึ่งมีแนวความคิดที่รุนแรงกว่าสังคมนิยมมาก โดยอนาธิปไตยจะเน้นการทำลายอำนาจทุกชนิดทั้งความคิด ในเรื่องการปกครองโดยรัฐ ระเบียบประเพณี และระบบชนชั้น ทั้งนี้เพราะกลุ่มอนาธิปไตย มีความเชื่อว่าทุกรัฐบาลล้วนกดขี่ ซึ่งนักคิดคนสำคัญของขบวนการนี้ เช่น วิลเลียม กอดวิน,ปิแอร์ พรูดองไมเคิล บูกานิน เป็นต้น

107.    ผู้บัญชาการกองทัพอาสาสมัครเชิร์ตแดง (Red Shirts) ผู้มีบทบาทสำคัญในการรวมอิตาลีคือ

(1) มาสสินิ     

(2) คาวัวร์       

(3) การิบัลดี   

(4) ออสินิ

ตอบ 3 หน้า 515126 (H) จากการที่ซาร์ดิเนียต้องยกเมืองนิซและแคว้นซาวอยให้แกฝรั่งเศส เพื่อ เป็นการตอบแทนในการช่วยรบกับออสเตรียในปี ค.ค. 1859 นั้น ทำให้การิบัลดี (Garibaldi) ซึ่งเป็นวีรบุรุษของชาวอิตาเลียนไม่พอใจ ดังนั้นเขาจึงรวบรวมอาสาสมัครเชิร์ตแดง (Red Shirts)ในปี ค.ศ. 1860 ลงเรือไปซิซิลี จากนั้นก็เข้ายึดซิซิลีและข้ามมายึดเนเปีลส์ รวมทั้งเดินทัพมุ่งสู่กรุงโรม ซึ่งได้รับการคุ้มครองจากกองทหารฝรั่งเศสด้วย

108.    การรวมเยอรมนีของบิสมาร์คด้วยนโยบาย เลือดและเหล็ก” คือ การรวมเยอรมนีโดย

(1) ขอความช่วยเหลือจากต่างชาติ     

(2) การทำสงคราม

(3) วิถีทางการทูต       

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 517 – 520128 – 129 (H) บิสมาร์ค อัครมหาเสนาบดีของปรัสเซีย ได้ประกาศใช้ นโยบายเลือดและเหล็กในการบริหารประเทศ และใช้ในการดำเนินนโยบายเพื่อรวมเยอรมนี เข้าด้วยกัน ซึ่งในระยะแรกนั้นบิสมาร์คจะใช้วิธีการทำสงครามถึง 3 ครั้ง คือ ทำสงครามกับเดนมาร์ก ออสเตรีย และฝรั่งเศส ซึ่งหลังจากที่ฝรังเศสเป็นฝ่ายพ่ายแพแก่ปรัสเซีย ได้ส่งผลทำให้บิสมร์ค สามารถจัดตั้งประเทศเยอรมนีขึ้นได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1871 ที่ห้องกระจกในพระราชวังแวร์ซายส์ ประเทศฝรั่งเศส

109.    ในสมัยจักรวรรดินิยมยุคใหม่ ค.ศ. 1871 – 1914 ไทยต้องเสียดินแดนให้แก่

(1) อังกฤษ     

(2) ฝรั่งเศส     

(3) โปรตุเกส   

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ในสมัยจักรวรรดินิยมยุคใหม่ (ค.ค. 1871 – 1914) ไทยต้องยอมเสียดินแดน ซึ่งเป็นรัฐในอารักขาของตน เพื่อแลกเปลี่ยนกับสิทธิสภาพนอกอาณาเขตกับชาติตะวันตก 2 ประเทศ คือ

1. เสียดินแดนของรัฐตอนบนในแหลมมลายู ได้แก่ ไทรบุรี ปะลิส กลันตัน และตรังกานูให้แก่อังกฤษ ในปี ค.ศ. 1909           

2. เสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่นํ้าโขงได้แก่พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ให้แก่ฝรั่งเศส

110.    สิ่งที่อังกฤษใช้เป็นข้ออ้างในการทำสงครามเปิดประเทศจีนคือ

(1) ระบบการค้าเสรี    

(2) ฝิ่น

(3) ผ้า 

(4) ความไม่เป็นธรรมทางการค้า

ตอบ 2 หน้า 527132 (H) อังกฤษเป็นชาติแรกที่ใช้นโยบายเรือปืนบีบบังคับให้จีนเปิดประเทศด้วย สงครามฝิ่น (ค.ศ. 1840 – 1842) เนื่องจากอังกฤษไม่พอใจระบบการค้าทีเอาเปรียบของจีน จึงแก้ปัญหาด้วยการนำฝิ่นจากอินเดียมาขายในจีน รัฐบาลแมนจูของจีนไม่ยินยอมจึงทำให้เกิด สงครามขึ้น ผลปรากฎว่าจีนเป็นฝ่ายแพ้และต้องลงนามในสนธิสัญญานานกิงในปี ค.ศ. 1842 ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้

1. จีนต้องเปิดเมีองท่าเพิ่มอีกคือ เอหมึง ฟูเจา นิงโป และเซี่ยงไฮ้ เพื่อให้ชาวต่างชาติเข้ามาพำนักและค้าขาย

2. จีนต้องยกเกาะฮ่องกงให้อังกถษ และต้อง ชดใช้ค่าเสียหายด้วย

3. จีนต้องยกเลิกภาษีขาเข้า

111.    สนธิสัญญาสันนิบาตสามจักรพรรดิซึ่งเป็นนโยบายที่บิสมาร์คต้องการโดดเดี่ยวฝรั่งเศสไม่ประสบความสำเร็จเพราะความขัดแย้งระหว่าง    

(1) เยอรมนีกับรัสเซีย

(2) ออสเตรียกับรัสเซีย           

(3) ออสเตรียกับเยอรมนี        

(4) ฝรั่งเศสกับเยอรมนี

ตอน2   หน้า 529 ภายหลังการรวมเยอรมนีในปี ค.ศ. 1871 แล้ว บิสมาร์กได้พยายามโดดเดี่ยวฝรั่งเศสด้วยการเข้าร่วมจัดตั้งสันนิบาตสามจักรพรรดิ (The Three Emperors League) ขึ้นในปี ค.ศ. 1873 ซึ่งเป็นการเข้าร่วมภาคีระหว่างจักรพรรดิฟรานซิส โจเซฟ แห่งออสเตรียไกเซอร์วิลเลยมที่ 1 แห่งเยอรมนี และพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย อย่างไรก็ตามจุดอ่อนของสันนิบาตนี้ ก็คือ ความขัดแย้งระหวางรัสเซียกับออสเตรียเรื่องผลประโยชน์ในคาบสมุทรบอลข่าน ซึ่งส่งผลให้ รัสเซียถอนตัวออกมา ทำให้ความต้องการโดดเดี่ยวฝรั่งเศสไม่ประสบความสำเร็จ

112.    ประเทศที่ไม่ได้อยู่ในฝ่ายมหาอำนาจกลาง (Central Powers) ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 คือ

(1) เยอรมนี     

(2) ออสเตรีย-ฮังการี

(3) บัลแกเรีย  

(4) อิตาลี

ตอบ 4 หน้า 535134 (H) เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้นในปี ค.ศ. 1914 ประเทศมหาอำนาจ ในยุโรปได้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ

1.         ฝ่ายมหาอำนาจกลาง (The Central Powers) ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี ตุรกี และบัลแกเรีย

2.         ฝ่ายสัมพันธมิตร (The Allied Powers) ประกอบด้วย ฝรั่งเศส รัสเซีย และอังกฤษ ต่อมาก็มีประเทศอื่นเข้ามาร่วมด้วย ได้แก่ อิตาลี สหรัฐอเมริกา เซอร์เบีย จีน ญี่ปุ่น และไทย

113.    สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 เพราะ

(1) ไม่พอใจเยอรมนีที่ใช้เรือดำนํ้าอย่างไม่มีขอบเขต

(2)ไม่พอใจเยอรมนีที่ยุให้เม็กซิโกกับญี่ปุ่นทำสงครามกับสหรัฐอเมริกา

(3) ถูกโจมตีที่เพิร์ล ฮาร์เบอร์  

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ4 หน้า 536 – 537134 (H), (คำบรรยาย) สาเหตุที่ทำให้สหรัฐอเมริกาซึ่งได้ประกาศตัว เป็นกลาง ต้องเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 ร่วมกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร มีดังนี้

1.สหรัฐฯ แอบลักลอบค้าอาวุธสงครามให้แก่ฝายสัมพันธมิตร ต่อมาเมื่อเยอรมนีทราบเรื่องนี้ จึงทำสงครามเรือดำนํ้าโดยไม่จำกัดขอบเขต ทำให้สหรัฐฯ ได้รับความเดือดร้อน

2.สหรัฐฯ ไม่พอใจที่เยอรมนีชักชวนให้เม็กซิโกกับญี่ปุ่นทำสงครามกับสหรัฐฯ

3.สหรัฐฯ เป็นผู้ขายอาวุธให้แก่ฝ่ายส้มพันธมิตร ถ้าฝ่ายสัมพันธมิตรพ่ายแพ้สงคราม สหรัฐฯ ก็จะต้องสูญเสยเงินที่ควรได้จากการขายอาวุธ

114.    สาเหตุสำคัญที่ทำให้รัฐบาลปฏิวัติของเคอเรนสกี้ไม่ยอมถอนรัสเซียออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1 เพราะ

(1) กลัวเลนินจะปฏิวัติ           

(2) กลัวว่าซาร์จะกลับมามีอำนาจ

(3)สหรัฐอเมริกาขู่จะไม่ให้เงินกู้          

(4) กลัวการปฏิวัติซ้อนจากพวกรัสเซียขาว

ตอบ 3 หน้า 537 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลเฉพาะกาลของนายเคอเรนสกี้ได้ถูกกดดันจาก สหรัฐอเมริกาให้รัสเซียทำสงครามต่อไป มิฉะนั้นจะไม่ให้รัสเซียกู้ยืมเงิน แต่ทหารรัสเซียไม่มีกำลังใจในการรบ อีกทั้งความไม่พร้อมในด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ และชาวรัสเซียโดยทั่วไป เริ่มเบื่อหน่ายการบริหารงานของนายเคอเรนสกี้ ดังนั้นจึงส่งผลให้การปฏิวัติครั้งใหญ่ของพรรคบอลเชวิคของเลนินในช่วงปลายปี ค.ศ. 1917 ได้รับการสนับสบุนจนได้รับชัยชนะ ทำให้รัสเซียต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ในที่สุด

115.    หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลง สหรัฐอเมริกาไม่ได้ร่วมเป็นสมาชิกสันนิบาตชาติทั้ง ๆ ที่เป็นข้อเสนอของ ประธานาธิบดีวิลสัน เพราะ

(1) รัฐสภาไม่อนุมัติ    

(2) ละเมิดลัทธิมอนโร 

(3) ขัดแย้งกับฝรั่งเศส

(4)ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ4 หน้า 539137 (H) ในเดือนพฤศจิกายน ค.ค. 1919 ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน ได้เสนอ ร่างสนธิสัญญาแวร์ซายส์ต่อรัฐสภาอเมริกัน แต่สภาไม่ยอมรับเพราะ

1.         เห็นว่าสนธิสัญญาฉบับนี้บีบคั้นเยอรมนีมากเกินไป

2.         การที่สหรัฐอเมริกาจะต้องเข้าเป็นสมาขิกของสันนิบาตชาตินั้น ถือว่าเป็นการละเมิด ลัทธิมอนโรที่สันนิบาตชาติอาจเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในทวีปอเมริกาได้ ทำให้ ความต้องการความโดดเดี่ยวเป็นเอกเทศของสหรัฐอเมริกาต้องสิ้นสุดลง

116.    ลัทธิที่เกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงเพื่อต่อต้านการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ คือ

(1) ฟาสซิสต์   

(2) นาซี           

(3) ประชาธิปไตย       

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 541 – 543137 – 138 (H), (คำบรรยาย) หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลง ได้เกิดขบวนการชาตินิยมที่เรียกว่า ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จ” ขึ้น ซึ่งเป็นการปกครองที่ผู้นำเดี่ยว มีอิทธิพลครอบงำ หรืออาจอยู่ในรูปองค์กรผู้นำพรรคการเมือง 1 พรรค ใช้อำนาจเด็ดขาด ในลักษณะก้าวร้าวแต่เพียงพรรคเดียว แบงออกเป็น 2 แบบ ซึ่งมีลักษณะตรงข้ามกัน ได้แก่

1.         ลัทธิคอมมิวนิสต์ (Communism) หรือเผด็จการฝ่ายซ้าย เป็นขบวนการต่อต้านลัทธิทุนนิยมประชาธิปไตย

2.         ลัทธิฟาสซิสต์ (Fascism) หรือเผด็จการฝ่ายขวา ก่อตั้งโดยเบนิโต มุสโสลินี เกิดขึ้นในอิตาลี และขยายต่อมายังเยอรมนี เรียกว่า ลัทธินาซี” เป็นขบวนการชาตินิยมที่ต่อต้านการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์และระบอบเสริประชาธิปไตย

117.    ประเทศที่ถูกฮิตเลอร์เข้ายึดครองก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2ในปี ค.ศ. 1939 คือ

(1) ออสเตรียและเชคโกสโลวะเกีย    

(2) ฝรั่งเศส     

(3) รัสเซีย       

(4) ฮอลแลนด์

ตอบ 1 หน้า 548 – 550 วิกฤตการณ์ตึงเครียดก่อนที่ฮิตเลอร์จะนำกองทัพบุกโปแลนด์ อันเป็น จุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่2ในปีค.ศ. 1939ได้แก่

1.         เยอรมนีได้รวมเอาออสเตรียเข้าเป็นแคว้นหนึ่งของเยอรมนี

2.         เยอรมนีได้รวมแคว้นซูเดเทนของเชคโกสโลวะเกียเข้าเป็นแคว้นหนึ่งของเยอรมนี

3.         เยอรมนียึดแคว้นเมเมลคืนจากลิทัวเนีย

4.         อิตาลีรุกรานอัลบาเนีย

118.    ฮิตเลอร์ทำสัญญากับชาติใดก่อนบุกโปแลนด์ ค.ศ. 1939

(1) อังกฤษ     

(2) รัสเซีย       

(3) อิตาลี        

(4) ฝรั่งเศส

ตอบ 2 หน้า 550 ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1939 ฮิตเลอร์ได้เรียกร้องให้โปแลนด์คืนฉนวนโปแลนด์และเมืองดานซิกให้เยอรมนี แต่โปแลนด์ไม่ยินยอม ฮิตเลอร์จึงตอบโต้ว่ากองทัพเยอรมันจะบุก โปแลนด์ ทำให้อังกฤษและฝรั่งเศสไม่พอใจ และได้พยายามชักชวนรัสเซียให้เข้ามาช่วยสกัดกั้น ฮิตเลอร์ แต่รัสเซียไม่ยอมเข้าร่วมด้วย ฮิตเลอร์จึงตัดหน้าด้วยการเดินทางไปพบสตาลิน แล้ว ตกลงทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกันในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1939 ทั้งนี้สตาลินยินยอมเพราะ หวังว่าการเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีจะทำให้รัสเซียสามารถวางตัวเป็นกลางได้

119.    ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติ ยุโรปตะวันออกตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ

(1) รัสเซีย       

(2) สหรัฐอเมริกา        

(3) อังกฤษ     

(4) ฝรั่งเศส

ตอบ 1 หนา 556139 (H) ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2 มีดังนี้

1.         เกิดการเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจของโลก โดยมหาอำนาจยุโรปตะวันตกได้ลดความสำคัญลง และเกิดประเทศมหาอำนาจใหม่ คือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้นำฝ่ายโลกเสรีประชาธิปไตย และรัสเชซีย ซึ่งเป็นผู้นำของยุโรปตะวันออกและโลกคอมมิวนิสต์

2.         มีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ

3.         ประเทศที่ตกเป็นอาณานิคมมีการเรียกร้องเอกราช

120.    วิกฤตการณ์ปิดล้อมเบอร์ลิน ค.ศ. 1948 – 1949 ในสมัยสงครามเย็น การขนส่งเข้าเบอร์ลินทำได้เฉพาะทาง

(1) รถไฟ         

(2) รถยนต์      

(3) เครื่องบิน  

(4) เรือ

ตอบ 3 หน้า 560 การปิดล้อมเบอร์ลินในปี ค.ศ. 1948 เป็นผลมาจากวิกฤตการณ์สงครามเย็น โดย สหภาพโซเวียตได้สั่งปิดเบอร์ลินของเยอรมนีซึ่งเป็นเขตยึดครองของตน เพราะต้องการขับไล่ สัมพันธมิตรออกจากเบอร์ลินทั้งหมด โดยอนุญาตให้การขนส่งกระทำได้เฉพาะทางอากาศ ฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกาจึงตอบโต้ด้วยการจัดตั้งองค์การนาโต้ (NATO) ขึ้น ทำให้ โซเวียตซึ่งยังไม่พร้อมทำสงครามยอมยกเลิกการปิดล้อม และยอมให้องค์การสหประชาชาติ เข้ามาช่วยจัดการเปิดการคมนาคมระหว่างเบอร์ลินตะวันตกกับเบอร์ลินตะวันออกใหม่อีกครั้ง ในปี ค.ศ. 1949

Advertisement