การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2555
ข้อสอบกระบวนวิชา BIO 1001 ชีววิทยาเบื้องต้น
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1. การศึกษาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบัน มักเชื่อมโยงความรู้ต่างสาขาเข้ามาเสริมประโยชน์แก่กัน เรียกการศึกษาลักษณะนี้ว่า
(1) Scientific Interdisciplinary
(2) Scientific Interdependency
(3) Scientific Independent
(4) Scientific Dependency
ตอบ 2 หน้า 2, (คำบรรยาย) Scientific Interdependency เป็นลักษณะการศึกษาวิทยาการทาง วิทยาคาสตร์ในยุคปัจจุบัน ที่มีการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ มาผสมผสานเพื่อให้เสริมประโยชน์แก่กันจนเกิดองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นสากลมากยิ่งขึ้น เช่น วิชาชีวเคมี ชีวฟิสิกส์ เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น
2. ในการทำงานโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) เมื่อพบประเด็นปัญหาแล้วต้องเริ่มต้นปัญหาที่
(1) สังเกต ตรวจสอบ พิสูจน์ ทดลอง
(2) ตั้งสมมุติฐานเพี่อแก้ปัญหา
(3) ประมวลข้อสรุป
(4) เก็บรวบรวมข้อมูลรอบด้านก่อน
ตอบ 4 หน้า 2, (คำบรรยาย) การทำงานโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) มี 5 ขั้นตอน
ดังนี้ 1. การเก็บรวบรวมข้อมูล (กำหนดปัญหา) 2. การตั้งสมมุติฐาน (คิดหาแนวทางแก้ปัญหา)
3. การสังเกต ตรวจสอบ ทดลอง (ออกแบบการทดลอง) 4. การประมวลสังเคราะห์หาข้อสรุป (วิเคราะห์ข้อมูลแล้วสรุปผล) 5. การสร้างทฤษฎี (แสดงวิธีการแก้ปัญหา)
3. ในการปรากฏเพศของสิ่งมีชีวิต ถัามีครบทั้งสองเพศในต้นหรือตัวเดียวกัน เรียกว่ามีเพศแบบ
(1) Dioecious
(2) Monoecious
(3) Protandrous Hermaphrodite
(4) Progynous Hermaphrodite
ตอบ 2 หน้า 127, 172 การปรากฏเพศของสิ่งมีชีวิต แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. Dioecious/Dioedous Plant คือ สัตว์หรือพืชที่มีเพศแยกกับเป็นเพศผู้กับเพศเมีย หรือ ปรากฏการมีเพศเพียงอย่างเดียวในต้นหรือในตัว
2. Monoecious/Monoecious Plant
คือ สัตว์หรือพืชที่มีการปรากฏเพศครบทั้งสองเพศในต้นหรือในตัวเดียวกัน
4. มีการศึกษาพบว่า หอยน้ำจืดบางชนิดมีครึ่งแรกของชีวิตปรากฏเป็นเพศผู้ ครึ่งหลังของชีวิตเป็นเพศเมีย เรียกการปรากฏเพศแบบนี้ว่า
(1) Protandrous Hermaphrodite (2) Progynous Hermaphrodite
(3) Neogynous Hermaphrodite (4) Dioecious
ตอบ 1 (คำบรรยาย) Protandrous Hermaphrodite เป็นการปรากฏเพศของหอยนํ้าจืดบางชนิตที่มีครึ่งแรกของชีวิตปรากฏเป็นเพศผู้ ส่วนครึ่งหลังของชีวิตจะปรากฏเป็นเพศเมีย เช่น หอยขม เป็นต้น
5. การมีลูกแบบที่พบในคน สุนัข แมว หนู เป็นแบบที่มีศัพท์เรียกว่า
(1) Oviparous (2) Viviparous (3) Ovoviviparous (4) Parthenogenesis
ตอบ 2 หน้า 91, 138, (คำบรรยาย) Enaima เป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง และเลือดมีสีแดง ซึ่งประกอบด้วยสัตว์ 2 พวก ได้แก่
1. Oviparous คีอ สัตว์ที่ตัวเมียออกลูกเป็นไข่ เช่น เต่า จระเข้ กบ ยุง เป็ด ไก่ ตุ่นปากเป็ด ห่าน ไดโนเสาร์ เป็นต้น
2. Viviparous คือ สัตว์ที่ตัวเมียออกลูกเป็นตัว เช่น มนุษย์ (คน) ปลาฉลาม ปลาวาฬ ปลาโลมา พะยูน ค้างคาว วัว สุนัข แมว หนู จิงโจ้ หมีแพนด้า เป็นต้น
6. เมื่อไข่มีการปฏิสนธิกับสเปิร์มแล้ว จะแปรสภาพไปเป็น
(1) เอ็มบริโอ (2) ไซโกต (3) ฟีตุส (4) ตัวอ่อน
ตอบ2 หน้า 184 – 185 ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิกับสเปร์มแล้ว เรียกว่า ไซโกต (Zygote) และ จากนั้นไซโกตก็จะเจริญเป็นตัวอ่อนหรือคัพภะ (Embryo) ภายในระยะเวลา 2 สัปดาห่
7. พืชบางชนิด เช่น องุ่นไร้เมล็ด ส้มไร้เมล็ด แตงโมไร้เมล็ด กล้วยหอม รังไข่เจริญเป็นผลได้โดยเม็ดไข่ ไม่มีการปฏิสนธิ เป็นการเจริญแบบที่เรียกว่า
(1) Viviparous (2) Meiosis (3) Parthenogenesis (4) Oogenesis
ตอบ 3 หน้า 175 พาร์ทีโนจีเนซิส (Parthenogenesis) เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศที่ไข่ หรือเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย สามารถจะเจริญเติบโตเป็นสิ่งมีชีวิตหรือเป็นผลไม้ขึ้นมาได้เอง โดยไม่ต้องได้รับการผสมพันธุ์จากเซลล์เพศผู้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เป็นการได้ลูกหรือ ผลจากไข่ที่ไม่มีการปฏิสนธิหรือไม่ได้รับการผสมเชื้อเพศผู้ ซึ่งตัวอย่างที่พบเห็นเป็นประจำ เช่น มด ผึ้ง ปลวก องุ่นไร้เมล็ด ส้มไร้เมล็ด แตงโมไร้เมล็ด กล้วยหอม เป็นต้น
8. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยวิธี Binary Fission ต่างไปจากแบบ Budding ทีj
(1) Binary Fission พบในพวกเซลล์เดียว (2) หน่วยใหม่ที่เกิดขึ้นมีขนาดเท่า ๆ กัน
(3) Budding เกิดในพวกหลายเซลล์ได้ด้วย (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คำบรรยาย) การแบ่งตัวออกเป็นสองส่วน (Binary Fission) เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศที่เกิดจากเซลล์เดิมแบ่งตัวออกเป็นสองหน่วยใหม่ที่มีขนาดเห่า ๆ กัน ซึ่งจะพบเฉพาะในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น แบคทีเรีย โปรติสตา อะมีบา โมนีรา ส่วนการแตกหน่อ (Budding) เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตหน่วยเดิมแบ่งตัวออกเป็นสองหน่วยใหม่ ที่มีขนาดไม่เท่ากัน พบได้ทั้งในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว และสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เช่น ยีสต์
9. การสร้างเซลล์เชื้อเพศ เป็นผลของการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส เรียกกระบวนการผลิตเซลล์เชื้อเพศโดยทั่วไปว่า
(1) Oogenesis (2) Spermatogenesis (3) Gametogenesis (4) Parthenogenesis
ตอบ 3 หน้า 172, (คำบรรยาย) กระบวบการสร้างเซลล์เชื้อเพศหรือเซลล์สืบพันธุ์ในสิ่งมีชีวิต หากกล่าวโดยรวมทั่วไปไม่ระบุชนิดของเพศ เรียกว่า “แกมีโทจีเนซิส” (Gametogenesis) ซึ่งแบ่งออกเป็น
1. กระบวนการสร้างเซลล์ไข่หรือเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย เรียกว่า “โอโอจีเนซิส” (Oogenesis)
2. กระบวนการสร้างสเปิร์มหรือเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ เรียกว่า “สเปอร์มาโทจีเนซิส” (Spermatogenesis)
10. อวัยวะใดเป็นแหล่งผลิตเซลล์เชื้อเพศ
(1) Oviduct (2) Ovaries (3) Testes (4) ข้อ 2 กับ 3
ตอบ 4 หน้า 172 อัณฑะ (Testes/Testis) เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ผลิตเซลล์เชื้อเพศผู้ เรียกว่า “สเปิร์ม” (Sperm) ส่วนรังไข่ (Ovaries/Ovary) เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ผลิตเซลล์เชื้อเพศเมีย เรียกว่า “ไข่” (Egg) หรือ “โอวัม” (Ovum)
11. ฟัน เป็นอวัยวะที่จัดไว้ในระบบใดของร่างกาย
(1) ระบบโครงกระดูก
(2) ระบบห่อหุ้มร่างกาย
(3) ระบบย่อยอาหาร
(4) ระบบท่อทางเดินอาหาร
ตอบ 4 หน้า 149, (คำบรรยาย) ในกระบวนการกินอาหาร (Nutrition) จะประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆ ที่มาร่วมกันทำหน้าที่เกี่ยวกับอาหาร ซึ่งรวมเรียกร่า “ท่อทางเดินอาหาร” (Alimentary Tract) โดยเริ่มต้นจากปากและช่องปาก (เริ่มที่เปาก เหงือก ฟัน ลิ้น ต่อม,นํ้าลาย) หลอดคอ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ จนถึงทวารหนัก และหากอวัยวะเหล่านี้มีการทำงานร่วมกัน อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ก็จะเรียกว่า “ระบบท่อทางเดินอาหาร” (Alimentary System)
12. สัตว์มีวิธีการหาอาหารเลี้ยงตัว เป็นแบบ
(1) Autotrophic Nutrition
(2) Heterotrophic Nutrition
(3) Hemitrophic Nutrition
(4) Holotrophic Nutrition
ตอบ 2 (คำบรรยาย) วิธีการสร้างอาหารของสิ่งมิชีวิต แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. Autotrophic Nutrition เป็นแบบการสร้างอาหารขึ้นได้เองจากอนินทรียสารของสิ่งมีชีวิต พวกออโตทรอฟ โดยมีอยู่ 2 วิธี ได้แก่ Photosynthesis และ Chemosynthesis
2. Heterotrophic Nutrition เป็นแบบการสร้างอาหารขึ้นมาใช้เองไม่ได้ของสิ่งมีชีวิต พวกเฮเทอโรทรอฟ จึงต้องออกหาอาหารเลี้ยงชีพหรือได้รับอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น โดยมีอยู่ 3 วิธี ได้แก่ Saprophytism, Parasitism และ Eating (เช่น คน และสัตว์ทั่วไป)
13. อวัยวะต่าง ๆ ที่มาร่วมกันทำหน้าที่เกี่ยวกับอาหารที่สัตว์บริโภคเข้าไป เรียกว่า
(1) Digestive Tract
(2) Digestive System
(3) Alimentary System
(4) Alimentary Tract
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 11. ประกอบ
14. การเคลื่อนไหลของก้อนอาหารภายหลังการกลืนลงไป เป็นการเคลื่อนไหลแบบ
(1) Epistasis (2) Semistalsis (3) Peristalsis (4) Homeostalsis
ตอบ 3 หน้า 149, (คำบรรยาย) เพอริสตาลซิส (Peristalsis) คือ การบีบหดตัวและคลายตัวเป็นจังหวะ แบบลูกคลื่นติดต่อกันเป็นระลอกของกล้ามเนื้อเรียบที่ผนังท่อทางเดินอาหาร ทำให้อาหารที่เคี้ยวแล้วกลืนเข้าไปเกิดการเคลื่อนไหลไปตามอวัยวะต่าง ๆ ตั้งแต่จากปากจนถึงทวารหนัก
15. ในนํ้าลายของคน มีเอนไซม์ที่สามารถย่อยแป้งได้เป็นบางส่วน เอนไซม์นั้นคือ
(1) อะไมเลส (2) ซูเครส (3) ไลเปส (4) โปรตีเนส
ตอบ 1 หน้า 149 เมื่อคนรับประทานอาหารโดยการเคี้ยว อาหารพวกคาร์โบไฮเดรตประเภทแป้ง (เช่น ขนมปัง มันเทศ ข้าว ฯลฯ) บางส่วนจะถูกย่อยเป็นอันดับแรกในช่องปาก โดยเอนไซม์ อะไมเลส (Amylase) หรือไทยาลิน (Ptyalin) ที่อยู่ในน้ำลาย
16. บทบาทหน้าที่ที่แท้จริงของนํ้าดี (Bile) คือ
(1) ย้อมกากอาหาร (2) ย่อยอาหารประเภทไขมัน
(3) แยกไลปิดให้คลายตัวออกจากกัน (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 149, (คำบรรยาย) นํ้าดี (Bile) ที่ถูกสร้างจากถุงนํ้าดีที่ตับมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. น้ำดีไม่ถือว่าเป็นเอนไซม์ แต่จะมีบทบาทหน้าที่หลักในการช่วยทำให้ไลปีดหรือไขมันคลายตัว ออกจากกัน เพื่อสะดวกแก่การย่อยของเอนไซม์ไลเปส
2. เป็นสารสีเหลืองเข้ม มักมีรสขม 3. ย้อมกากอาหารที่อยู่ในลำไล้ใหญ่ให้มีสีเหลือง
17. อวัยวะที่มีบทบาทหลักในการย่อยสกัดเอาสารอาหารออกมาใช้งาน คือ
(1) กระเพาะอาหาร (2) ตับอ่อน (3) ลำไส้ใหญ่ (4) ลำไส้เล็ก
ตอบ 4 หน้า 149, 152, (คำบรรยาย) การย่อยอาหารทุกประเภทของมนุษย์จะสิ้นสุดสมบูรณ์ที่ ลำไส้เล็กตอนปลาย โดยลำไส้เล็กจะมีบทบาทหลักในการย่อยสกัดเอาสารอาหารออกมาใช้งาน คือ สารอาหารที่ได้จากการย่อยสกัดประเภทกรดไขมันและกลีเซอรอลจะถูกดูดซับและลำเลียง เข้าสู่หลอดนํ้าเหลือง (Lacteal) แล้วเข้าไปในเส้นเลือดไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ ส่วนสารอาหาร ประเภทกลูโคสและกรดอะมิโนจะถูกดูดซับและลำเลียงเข้าสู่หลอดเลือดฝอย (Capillary) ไปยังตับ และจะถูกนำไปใช้งานต่อไป โดยหลอดนํ้าเหลืองและหลอดเลือดฝอยที่เป็นทางเข้าของสารอาหาร เหล่านี้จะแทรกซึมอยู่ในผนังของลำไส้เล็กซึ่งยื่นออกมาเป็นเส้นเล็ก ๆ เรียกว่า วิลลัส (Villus)
18. กลุ่มเซลล์ของเนื้อเยื่อบุผนังด้านในของลำไล้เล็ก แต่ละหน่วย เรียกว่า
(1) วิลลัล (2) เยื่อบุทรงสูง (3) เยื่อบุมีแผงขน (4) แลคทีล
ตอบ 1 หน้า 152, (คำบรรยาย) วิลลัส (Villus) เป็นส่วนของเยื่อบุทรงสูงที่บุผนังด้านในของลำไส้เล็ก มีลักษณะคล้ายนิ้วมือยื่นออกมาเป็นเส้นเล็ก ๆ ซึ่งเมื่ออยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นจำนวนมาก จะเรียกว่า วิลไล (Villi)
19. หลอดท่อที่มีหน้าที่ดูดซับและลำเลียงสารอาหารประเภทกรดไขมันและกลีเซอรอล คือ
(1) Capillary Artery (2) Capillary Vein (3) Lacteal (4) Villi
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 17. ประกอบ
20. ส่วนใดของหัวใจที่เป็นบริเวณรับเลือดที่มาจากอวัยวะอื่น
(1) สองห้องซีกบน (2) สองห้องซีกล่าง (3) สองห้องฟากขวา (4) สองห้องฟากซ้าย
ตอบ 1 หน้า 152, (คำบรรยาย) หัวใจของคนมี 4 ห้อง โดยแบ่งออกเป็นสองซีก คือ
1. สองห้องซีกบน เรียกว่า “เอเตรียม” (Atrium) ซึ่งทำหน้าที่รับเลือดจากอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเข้าสู่หัวใจ โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของเลือด
2. สองห้องซีกล่าง เรียกว่า “เวนตรีเคิล” (Ventricle) ซึ่งทำหน้าที่ส่งเลือดออกจากหัวใจ ไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของเลือดเช่นกัน
21. หลอดเลือดที่นำสารอาหารจากตับส่งเข้าสู่หัวใจ คือหลอดเลือดประเภท
(1) หลอดเลือดเวน
(2) หลอดเลือดอาร์เทอรี
(3) หลอดเลือดฝอย
(4) เอออร์ตา
ตอบ 1 หน้า 152, (คำบรรยาย) หลอดเลือดที่มาติดต่อกับหัวใจมี 2 ประเภท คือ
1. หลอดเลือดเวน (Vein) ทำหน้าที่นำเลือดที่ผ่านการใช้งานแล้วจากอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย มาสมทบกับสารอาหารจากตับส่งเข้าสู่หัวใจ โดยจะมีลักษณะเป็นสีเขียวอมน้ำเงิน ซึ่งแพทย์ มักจะทำการเจาะและดูดเลือดจากหลอดเลือดเวนนี้เพื่อนำไปตรวจหาปริมาณสารอาหาร และสารต่าง ๆ หรือหาข้อมูลทางการแพทย์ ทั้งนี้เพราะมองเห็นได้ง่าย
2. หลอดเลือดอาร์เทอรี (Artery) ทำหน้าที่นำเลือดออกจากหัวใจไปส่งตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
22. ปกติการเจาะเลือดเพื่อนำไปตรวจหาปริมาณสารอาหารและสารต่าง ๆ เจ้าหน้าที่จะเจาะที่หลอดเลือดประเภทใด
(1) หลอดเลือดอาร์เทอริ
(2) หลอดเลือดเวน
(3) หลอดเลือดฝอย
(4) หลอดเลือดประเภทใดก็ได้
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 21. ประกอบ
23. โปรตีนส่วนเกินจากที่ร่างกายต้องการ จะถูกขจัดออกนอกร่างกายในรูปของ
(1) เหงื่อ
(2) ปัสสาวะ
(3) อุจจาระ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 154 – 156, (คำบรรยาย) ไต เป็นอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ขจัดโปรตีนในรูปกรดอะมิโน ส่วนเกินจากที่ร่างกายต้องการ โดยไตจะแปรรูปกรดอะมิโนไปเป็นกรดยูริก –> เกลือยูเรีย (ผสมนํ้า) –> สารละลายยูรีนซึ่งมีกลิ่นแอมโมเนียรวมอยู่ และถูกขับออกนอกร่างกายในรูปของ นํ้าปัสสาวะในที่สุด
24. อาการของการแลกเปลี่ยนอากาศภายนอก ที่ปรากฏให้เห็นได้ คือ
(1) การหายใจเข้า (2) การหายใจออก
(3) การหายใจเข้า-ออกสลับกัน (4) การกระเพื่อมยุบ-ยืดของอก
ตอบ 3 หน้า 157 – 158, (คำบรรยาย) การหายใจหรือการแลกเปลี่ยนอากาศ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ
1. การแลกเปลี่ยนอากาศภายนอก (External Respiration) เป็นการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างอากาศภายนอกกับถุงลมในปอด โดยอาศัยกลไกของ การสูดลมหายใจเข้า-ออกสลับกันทางจมูก
2. การแลกเปลี่ยนอากาศภายใน (Internal Respiration) เป็นการแลกเปลี่ยนก๊าซระหว่าง เม็ดเลือดแดงในหลอดเลือดฝอยกับเซลล์ของร่างกาย
ซึ่งการแลกเปลี่ยนอากาศทั้ง 2 ตอนนี้จะเกิดขึ้นโดยกระบวนการแพร่กระจาย (Diffusion)
25. การแลกเปลี่ยนอากาศภายใน เป็นการแลกเปลี่ยนอากาศระหว่าง
(1) เม็ดเลือดแดงกับเม็ดเลือดขาว (2) เม็ดเลือดแดงกับนํ้าเลือด
(3) เม็ดเลือดแดงกับเซลล์ของร่างกาย (4) เซลล์กับเซลล์ที่อยู่ใกล้เคียงกัน
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 24. ประกอบ
26. การแลกเปลี่ยนอากาศ เกิดขึ้นตามหลักการ
(1) การแพร่กระจาย (2) การออสโมซิส (3)ไดอะไลซิส (4) ทั้งข้อ1และ2ประกอบกัน
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 24. ประกอบ
27. การหายใจ ซึ่งส่งผลให้ช่องอกยุบ-ขยาย หรือปอดพอง-แฟบ สลับกัน เกิดจากการทำงานของอวัยวะใด
(1) กะบังลม (2) กล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครง
(3) กระดูกอ่อนที่ยึดกระดูกซี่โครงด้านหน้า (4) ทั้งข้อ 1 และ 2 ประสานงานกัน
ตอบ 4 หน้า 157, (คำบรรยาย) การหายใจ ซึ่งส่งผลให้ช่องอกยุบ-ขยาย หรือปอดพอง-แฟบ สลับกัน ในมนุษย์นั้นเกิดจากการทำงานร่วมกันของกะบังลมกับกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครง โดยร่างกาย จะมีลักษณะอาการดังนี้
1. ขณะที่หายใจเข้า กะบังลมจะหดตัวแบนราบลง และกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงหดตัว ทำให้ช่องอกขยายขนาดและปอดพองตัวขึ้น
2. ขณะที่หายใจออก กะบังลมจะหย่อนโค้งขึ้น และกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงผ่อนคลายตัวลง ทำให้ช่องอกลดขนาดและปอดยุบแฟบลง
28. การศึกษาเรื่องของท้องฟ้า ดวงดาว การพยากรณ์อากาศ เป็นวิทยาศาสตร์ประเภทใด
(1) วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (2) วิทยาศาสตร์กายภาพ
(3) วิทยาศาสตร์,ประยุกต์ (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (คำบรรยาย) วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science) เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ หรือวิทยาศาสตร์ธรรมชาติที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งไม่มีชีวิต เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลง ของสิ่งแวดล้อมของโลก หรือความเป็นไปของธรรมชาติ เช่น การสังเกตและศึกษาเกี่ยวกับ ภาวะโลกร้อน, ธรณีวิทยา (แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด), อุทกวิทยา (น้ำท่วม), อุตุนิยมวิทยา (ประกาศคาดการณ์ลักษณะอากาศ การพยากรณ์อากาศ), ดาราศาสตร์ (ท้องฟ้า ดวงดาว) เป็นต้น
29. วิทยาศาสตร์ชีวภาพที่มุ่งพิจารณาถึงเฉพาะความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในกลุ่มของสิ่งมีชีวิต (ไม่เกี่ยวกับ ฐานะบทบาทหน้าที่) เรียกว่า
(1) ประชากรศาสตร์ (2) สังคมศาสตร์ (3) รัฐศาสตร์ (4) นิเวศวิทยา
ตอบ 2 (คำบรรยาย) พฤติกรรมศาสตร์ (Behavior Science) เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ ชีวภาพที่เน้นศึกษาพฤติกรรมการแสดงออกของสิ่งมีชีวิต โดยแบ่งออกเป็น 2 สาขาวิชา คือ
1. สังคมศาสตร์ (Social Science) เป็นความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์ที่พิจารณาถึงความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ได้แก่ วิชานิติศาสตร์ สังคมวิทยา เป็นต้น
2. รัฐศาสตร์ (Political Science) เป็นความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์ที่พิจารณาถึงฐานะ บทบาท หน้าที่ของสมาชิกในสังคมสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ
30. หากต้องการปฏิบัติภารกิจที่รับผิดชอบให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ท่านพึงต้องใช้คุณธรรมข้อใด
(1) พรหมวิหารธรรม (2) ฆราวาสธรรม (3) สังคหวัตถุธรรม (4) อิทธิบาทธรรม
ตอบ 4 (คำบรรยาย) อิทธิบาท 4 คือ หลักคุณธรรมที่เป็นพื้นฐานนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายทั้งในการครองชีวิต การปฏิบิตหน้าที่การงาน และการศึกษา ประกอบด้วย
1. ฉันทะ (มีใจรัก) คือ รักงาน พอใจจะทำ ทำด้วยใจรัก ต้องการทำให้สำเร็จอย่างดี ซึ่งถือเป็น แรงจูงใจที่ดีอันดับแรกในการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ด้วยความกระตือรือร้น
2. วิริยะ (มีความเพียร) คือ สู้งาน ขยันหมั่นกระทำด้วยความพยายาม มีความวิริยะอุตสาหะ ตั้งใจจริง เข้มแข็ง อดทน ไม่ท้อถอย
3. จิตตะ (มีความฝักใฝ่) คือ ใส่ใจงาน เอาใจใส่ในสิ่งที่ทำด้วยความอุทิศตัวและใจ
4. วิมังสา (ใช้ปัญญาสอบสวน) คือ ทำงานด้วยปัญญา รู้จักไตร่ตรองพิจารณา ใคร่ครวญหาเหตุผล ตรวจสอบข้อบกพร่อง รู้จักทดลอง วางแผน วัดผล คิดคนวิธีแก้ไขปรับปรุง
31. หมู่หรือจำนวนของสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งเรียกว่า
(1) ชนิดพันธุ์ (Species)
(2) ชุมชน (Community)
(3) ประชากร (Population)
(4) สังคม (Society)
ตอบ 1 หน้า 5, 70, (คำบรรยาย) ชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต (Species) หมายถึง หมู่หรือจำนวนของ สิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือเป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตพวกเดียวกัน โดยมีลักษณะสำคัญดังนี้
1. มีรูปร่างลักษณะและการจัดระเบียบโครงร่างแบบเดียวกัน
2. มีวิถีการดำรงชีวิตเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน
3. มีการเพิ่มทวิจำนวน
4. สามารถสืบต่อเผ่าพันธุ์ของตนได้
5. ได้รับอิทธิพลจาก DNA หรือ Gene แต่ไม่ได้รับผลกระทบจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม
32. ผู้ที่ใช้เศษอาหารเหลือจนเป็นปุ๋ยหมัก คือ
(1) สัตว์บก
(2) สัตว์น้ำ
(3) แบคทีเรีย
(4) แมลง
ตอบ 3 หน้า 26, 234, (คำบรรยาย) กลุ่มผู้ย่อยสลายทำลาย (Decomposer) มีการดำรงชีพแบบ Saprophytism นั่นคือ การกินซากของเสียหรือซากสิ่งมีชีวิตอื่นที่ตายแล้ว โดยการผลิตเอนไซม์ ออกมาทำการย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิต ของเสีย ขยะมูลฝอย และเศษอาหาร ให้ยุบย่อยสลายตัว กลายเป็นปุ๋ยหมัก อันมีธาตุพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งสิ่งมีชีวิตในกลุ่มนี้ ได้แก่ เห็ด เชื้อรา และแบคทีเรีย
33. ข้อใดไม่ใช่สิ่งแวดล้อมที่เป็นตัวกำหนดเขตและควบคุมการกระจายของประชากร
(1) อากาศร้อนจัด
(2) ฝนตกนอกฤดูกาล
(3) แม่น้ำเจ้าพระยา
(4) เชื้ออหิวาตกโรค
ตอบ 4 หน้า 71 สิ่งแวดล้อมที่เป็นตัวกำหนดอาณาเขตและควบคุมการกระจายของประชากร ได้แก่ แม่น้ำ ทะเล แผ่นดิน ภูเขา ภูมิอากาศ ปริมาณนํ้าฝน เป็นต้น
34. สังคม “ผึ้ง” มักใช้สิ่งใดในการสื่อสาร
(1) เสียง (2) ภาษา (3) สัญญาณทางกาย (4) สัญลักษณ์
ตอบ 3 หน้า 71-72 สังคม (Society) เป็นการอยู่รวมกันของประขากรของสิ่งมีชีวิต มีความสัมพันธ์ และร่วมสร้างประโยชน์แก่กันและกันเพื่อความอยู่รอด โดยในการรวมกันเป็นสังคมนี้ แต่ละสังคม จะต้องมีวิธีการสื่อสารเพื่อความเข้าใจร่วมกัน ซึ่งสิ่งที่ใช้ในการสื่อสารอาจเป็นสัญญาณทางกาย เช่น สังคมผึ้ง หรือภาษาสื่อสารกันภายในสังคมนั้น ๆ เช่น สังคมมนุษย์ เป็นต้น
35. ก๊าซซนิดใดถูกพืชนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
(1) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2) ก๊าซออกซิเจน
(3) ก๊าซไนโตรเจน (4) ก๊าซไฮโดรเจน
ตอบ 1 หน้า 73, 89 วัฎจักรของธาตุคาร์บอน เป็นการหมุนเวียนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งอยู่ในอากาศและละลายปนอยู่ในนํ้า โดยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นี้นับว่าเป็นแหล่งของธาตุคาร์บอนที่สำคัญของพืชที่จะนำไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อแปรสภาพเป็นอาหาร และจะกลับคืนสู่อากาศอีกครั้งหนึ่งในฐานะเป็นผลของการหายใจของพืชและสัตว์ นอกจากนี้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังอาจเกิดขึ้นได้จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงต่าง ๆ
36. กระบวนการย่อยสลายในห่วงโซ่อาหาร ก๊าซใดจะถูกนำมาใช้
(1) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2) ก๊าซออกซิเจน
(3) ก๊าซแอมโมเนีย (4) ก๊าซมีเทน
ตอบ 3 หน้า 74 ในกระบวนการย่อยสลายในห่วงโซ่อาหาร เมื่อพืชหรือสัตว์ตายลง ธาตุไนโตรเจน ซึ่งเป็นองค์ประกอบของพืชและสัตว์ที่สะสมอยู่ในตัวก็จะถูกเปลี่ยนรูปให้เป็นก๊าซแอมโมเนีย (NH3) ซึ่งต่อมาก๊าซแอมโมเนียจะถูกแบคทีเรียชนิดที่เรียกว่า Nitrifying bacteria ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เป็นสารประกอบไนเตรท
37. หน้าที่หลักของสารอินทรีย์ มีอยู่กี่ประการ
(1) 2 ประการ (2) 3 ประการ (3) 4 ประการ (4) 1 ประการ
ตอบ 1 หน้า 73 สารอินทรีย์มีหน้าที่หลัก 2 ประการ คือ
1. เป็นองค์ประกอบของโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต และจะคงอยู่ในสภาพนั้นจนกว่าสิ่งมีชีวิตนั้น จะตาย
2. ถูกนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการหายใจของสิ่งมีชีวิต
38. ข้อใดคือหน้าที่หลักของสารอินทรีย์
(1) มีหน้าที่เปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้อยู่ในรูปคงที่
(2) เป็นองค์ประกอบของโครงสร้างสิ่งมีชีวิตจนตาย
(3) มีความสำคัญในวัฏจักรของธาตุคาร์บอน
(4) เป็นองค์ประกอบหลักของธาตุไนโตรเจน
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 37. ประกอบ
39. ธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบหลักของอะไร
(1) ไขมัน (2) โปรตีน (3) แป้ง (4) วิตามิน
ตอบ 2 หน้า 18, 20, 40 โปรตีน (Protein) เป็นสารประกอบอินทรีย์โมเลกุลใหญ่ที่เกิดจากการรวมตัวกันของกรดอะมิโน (Amino Acid) ซึ่งประกอบขึ้นด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน และไนโตรเจน โดยธาตุไนโตรเจนจะยึดเกาะอยู่กับธาตุไฮโดรเจน กลายเป็นหมู่ธาตุ ที่เรียกว่า อนุมูลกรดอะมิโน (Amino Radical-NH2)
40. วัฏจักรของไนโตรเจนจะมีแบคทีเรียเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างน้อยกี่ประเภท
(1) หน้งประเภท (2) สองประเภท (3) สามประเภท (4) สี่ประเภท
ตอบ4 หน้า 74, 89 วัฏจักรของไนโตรเจน เป็นการหมุนเวียนของก๊าซไนโตรเจนในอากาศ โดยอาศัยการทำงานของแบคทีเรีย 4 ประเภท ได้แก่
1. Decomposing bacteria มีหน้าที่ทำให้ซากพืชซากสัตว์เกิดการเน่าเปื่อยกลายเป็นก๊าซแอมโมเนีย
2. Nitrifying bacteria มีหน้าที่เปลี่ยนก๊าซแอมโมเนียให้เป็นสารประกอบไนเตรท
3. Denitrifying bacteria มีหน้าที่เปลี่ยนสารประกอบไนเตรทให้สลายตัวเป็นก๊าซไนโตรเจน กลับคืบสู่อากาศ
4. Nitrogen-fixing bacteria มีหน้าที่เปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนในอากาศให้เป็นสารประกอบไนเตรท ซึ่งเป็นรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
41. การศึกษา “นิเวศวิทยา” คือการศึกษาเกี่ยวกับ
(1) การศึกษาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพกับสิ่งมีชีวิต
(2) การศึกษาสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกนี้
(3) การศึกษาสิ่งแวดล้อมทุกด้าน
(4) การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในปัจจุบัน
ตอบ 1 หน้า 1, 79, (คำบรรยาย) นิเวศวิทยา (Ecology) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งในทางชีววิทยาแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็น 2 ประเภท คือ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพหรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต และสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพหรือ สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต
42. พ่อแม่พันธ์กุ้งก้ามกรามมักวางไข่บริเวณปากแม่น้ำ “บริเวณปากแม่นํ้า” ถือว่าเป็น
(1) Community
(2) Habitat
(3) Continental Shelf
(4) Freshwater
ตอบ 2 หน้า 79, (คำบรรยาย) แหล่งที่อยู่อาศัย (Habitat) ที่ประกอบขึ้นมาเป็นโลก มีอยู่ 2 ส่วน คือ
1. Hydrosphere คือ แหล่งอาศัยที่เป็นนํ้า ซึ่งแบ่งออกเป็นแหล่งอาศัยที่เป็นน้ำจืด (Freshwater / Inland Habitat), แหล่งอาศัยที่เป็นน้ำเค็ม (Marine / Oceanic / Maritime Habitat) และแหล่งอาศัยที่เป็นนํ้ากร่อย (Estuarine Water Habitat)
2. Lithosphere คือ แหล่งอาศัยที่เป็นพื้นผิวดินหรือแหล่งอาศัยที่เป็นบก (Terrestrial /Land Habitat)
43. บริเวณไหล่ทวีปของประเทศไทย คือ
(1) ฝั่งทะเลอันดามัน (2) ฝั่งทะเลตะวันออก (3) บริเวณอ่าวไทย (4) ฝั่งทะเลแปซิฟิก
ตอบ 3 หน้า 79, (คำบรรยาย) ไหล่ทวีป (Continental Shelf) เป็นแหล่งอาศัยนํ้าเค็มที่มีรูปร่าง คล้ายอ่างหรือกระทะที่ลาดลงจากชายฝั่งทีละน้อย ๆ และเป็นบริเวณที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ อย่างอุดมสมบูรณ์มาก จึงนับว่าเป็นแหล่งอาศัยนํ้าเค็มที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจด้าน การประมง เช่น บริเวณอ่าวไทย เป็นต้น
44. พี้นผิวหน้าดินก้นมหาสมุทรที่ลึกที่สุดอยู่บริเวณใด
(1) ภาคตะวันตกของประเทศอินเดีย (2) ฝั่งทะเลอันดามัน
(3) ทะเลแคริบเบียน (4) ภาคตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์กับหมู่เกาะญี่ปุน
ตอบ4 หน้า 79 – 80 ลาดทวีป (Continental Slope) คือ บริเวณที่มีความชันมากขึ้นต่อจากไหล่ทวีป ซึ่งจะมีความชันไปถึงระดับพื้นผิวหน้าดินก้นมหาสมุทร โดยบางแห่งอาจมีลักษณะเป็นแอ่งลึก ซึ่งแอ่งลึกที่สุดที่สำรวจพบในปัจจุบันมีความลึกจากผิวน้ำทะเลประมาณ 35,000 ฟุต อยู่ใน มหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างเกาะมินดาเนา ภาคตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์กับหมู่เกาะญี่ปุ่น
45. “แนวเขตขายฝั่ง” (Littoral Zone) หมายถึงอาณาบริเวณใด
(1) บริเวณความลึกมากกว่า 600 ฟุต (2) อาณาเขตจากชายฝั่งไปจนหมดเขตของไหล่ทวีป
(3) ไม่มีสิ่งมีชีวิตกลุ่ม Benthos (4) พืชจำพวกสาหร่ายมีน้อย
ตอบ 2 หน้า 80 แนวเขตชายฝั่ง (Littoral Zone) เป็นอาณาเขตของท้องทะเลนับจากชายฝั่งออกไป จนหมดเขตของไหล่ทวีป เป็นบริเวณที่มีความลึกไม่เกิน 100 ฟาธอมหรือ 600 ฟุต แสงแดดยังส่องลงไปได้ถึง จึงพบว่ามีพืชที่สังเคราะห์แสงได้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกแอลจีหรือสาหร่ายชนิดต่าง ๆ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้แล้วยังมีสัตว์และพืชที่มีขนาดเล็กมากมารวมกันอยู่ที่ผิวนํ้า ซึ่งได้แก่
1. แพลงก์ตอน (Plankton) เป็นพวกที่ลอยไปมาตามแรงคลื่นลมและไม่แข็งแรง
พอที่จะว่ายนํ้าเองได้
2. เนคตอน (Nekton) เป็นพวกที่สามารถว่ายนํ้าได้เองโดยอิสระ
3. เบนธอส (Benthos) เป็นพวกที่อาศัยอยู่ที่หน้าดินหรือในดิน
46. สิ่งมีชีวิตซึ่งสามารถว่ายนํ้าได้อย่างอิสระ คือกลุ่มใด
(1) Nekton (2) Plankton (3) Benthos (4) Pelagic
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 45. ประกอบ
47. บริเวณน้ำขึ้นลงอยู่เป็นประจำ เรียกว่า
(1) Continental Shelf (2) Intertidal Zone (3) Pelagic Zone (4) Mesopelagic Zone
ตอบ 2 หน้า 80 Intertidal Zone หรือ Strand เป็นบริเวณที่มีการขึ้นลงของนํ้าอยู่เป็นประจำทุกวัน จึงทำให้สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ต้องปรับตัวให้รอดพ้นจากความร้อนของแสงอาทิตย์ หรือแสงแดด และแรงอัดกระแทกของคลื่นที่ซัดเข้าสู่ฝั่งตลอดเวลา เช่น สามารถเคลื่อนไหวได้ อย่างรวดเร็ว หรือมีสิ่งยึดเกาะกับก้อนหินอยู่อย่างเหนียวแน่น และทนต่อสภาพการขาดนํ้าได้ ในช่วงระยะเวลาที่น้ำลด
48. สิ่งมีชีวิตซึ่งอาศัยในบริเวณ Intertidal Zone ต้องมีการปรับตัวแบบใด
(1) ต้องเป็นสิ่งมีชีวีตที่มีคลอโรฟิลส์เท่านั้น (2) เคลื่อนที่ให้ช้าลง
(3) ทนต่อการอัดกระแทกของคลื่นที่ซัด (4) ต้องอยู่ใต้นํ้าตลอดเวลา
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 47. ประกอบ
49. สิ่งมีชีวิตในเขตที่เรียกว่า “Pelagic Zone” ควรมีการปรับตัวอย่างไร
(1) ปรับตัวให้พ้นจากความร้อนของแสงแดด (2) การอัดกระแทกของคลื่น
(3) ทนสภาพการขาดน้ำ (4) มีความสามารถว่ายนํ้าได้อย่างแข็งแรง
ตอบ 4 หน้า 80 Pelagic Zone หมายถึง ท้องทะเลบริเวณที่เลยเขตไหล่ทวีปออกไป โดยสิ่งมีชีวิต ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ต้องปรับตัวให้สามารถลอยตัวหรือว่ายนํ้าได้อย่างแข็งแรง เพราะเป็น บริเวณที่ไม่มีสิ่งใดให้ใช้ยึดเกาะได้ ซึ่งสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในบริเวณนี้มักมีขนาดใหญ่ เช่น ปลาวาฬ ปลาโลมา ปลาฉลาม เต่าทะเล เป็นต้น
50. แหล่งที่อยู่อาศัยที่เป็นนํ้าเค็ม เรียกว่า
(1) Marine Habitat (2) Terrestrial Habitat (3) Ecosystem (4) Inland Habitat
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 42. ประกอบ
51. ปลาวาฬและเต่าทะเล เป็นสิ่งมีชีวิตซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณใด
(1) Pelagic Zone
(2) Intertidal Zone
(3) Littoral Zone
(4) Continental Shelf
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 49. ประกอบ
52. บริเวณมหาสมุทรที่มีระดับความลึกตั้งแต่ 600 ฟุตลงไปจะมีลักษณะดังนี้
(1) การไหลเวียนของกระแสนํ้ามีน้อยมาก
(2) การไหลเวียนของกระแสนํ้าค่อนข้างรุนแรง
(3) มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในรอบวันสูง
(4) มีอุณหภูมิโดยเฉลี่ย 15 – 20 องคาเซลเซียส
ตอบ 1 หน้า 80 บริเวณมหาสมุทรที่มีระดับความลึกตั้งแต่ 600 – 6,000 ฟุต เป็นบริเวณที่แสงแดด ไม่อาจส่องลงไปได้ถึง จึงเป็นบริเวณที่มืดสนิทอยู่ตลอดเวลา การไหลเวียนของกระแสน้ำ มีน้อยมาก ทำให้อุณหภูมิของนํ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงและจะเย็นจัด โดยมีอุณหภูมิประมาณ 10 – 1 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ความกดดันของนํ้าจะสูงมาก ซึ่งความกดดันนี้จะเพิ่มขึ้น 1 หน่วยบรรยากาศในทุก ๆ ความลึก 93 ฟุต
53. ความกดดันของนํ้าบริเวณลึกที่สุดของมหาสมุทรอะมีมากกว่าผิวนํ้าโดยประมาณกี่เท่า
(1) 10 เท่า (2) 100 เท่า (3) 500 เท่า (4) 1000 เท่า
ตอบ 4 หน้า 80 – 81 บริเวณที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรนั้น ความกดดันของนํ้าจะมีมากกว่าความกดดัน ที่ผิวนํ้าเป็น 1000 เท่า สัตว์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้จึงมีน้อยมาก ทำให้บริเวณใต้ทะเลลึกนั้นเงียบสงัด โดยอาหารที่สัตว์ในบริเวณนี้ได้รับ คือ ซากอินทรียสาร ซึ่งตกลงมาจากน้ำที่อยู่ในระดับสูงกว่า ตลอดเวลา ส่วนพืชที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้มีเพียงแบคทีเรียเท่านั้น การดำรงชีวิตเป็นแบบแก่งแย่งทำลายกัน (Competition) สัตว์ทุกชนิดจะต้องมีความว่องไวและมีประสาทสัมผัสที่ดี นอกจากนี้สัตว์บางชนิดยังมีความสามารถในการเรืองแสงเพื่อประโยชน์ในการหาอาหารและหาคู่เพื่อการผสมพันธุ์
54. อาหารที่สัตว์นํ้าใต้ท้องทะเลลึกหากินมักเป็นอาหารประเภทใด
(1) ตัวอ่อนของหนอนทะเล (2) ซากอินทรียสาร (3) อนินทรียสาร (4) สัตว์นํ้าวัยอ่อน
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 53. ประกอบ
55. การดำรงชีวีตของสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลลึกส่วนใหญ่เป็นแบบใด
(1) Neutralism (2) Commensalism (3) Competition (4) Mutualism
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 53. ประกอบ
56. สัตว์ใต้ท้องทะเลลึกบางชนิดสามารถเรืองแสงเพื่อประโยชน์อะไร
(1) เพื่อหาคู่การผสมพันธุ์ (2) เพื่อการหาที่อยู่อาศัย
(3) ป้องกันภัยจากศัตรู (4) เพื่อการลอยตัว
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 53. ประกอบ
57. ลักษณะใดซึ่งไม่ได้นำมาพิจารณาในการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตในช่วงแรก
(1) วิวัฒนาการ (2) แหล่งที่อยู่อาศัย (3) การดำรงชีวิต (4) รูปร่างโครงสร้าง
ตอบ 1 หน้า 91 ในการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตในช่วงแรกนั้น นักปราชญ์ได้พยายามวางกฎเกณฑ์ เป็นแนวปฏิบัติไว้ แต่ก็ยังมิได้เป็นกฎเกณฑ์ที่แน่นอนอาศัยเพียงการพิจารณาความแตกต่าง หรือความคล้ายคลึงของลักษณะที่สังเกตเห็นได้ คือ แหล่งที่อยู่อาศัย (Habitat) ลักษณะการดำรงชีวิต (Mode of Living) รูปร่างโครงสร้าง (Structure) ส่วนความสัมพันธ์ในเชิงของวิวัฒนาการ (Evolution) ไม่ได้นำมาพิจารณาเลย
58. นักปราชญ์ชาวกรีกอริสโตเติลจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตโดยอาศัยลักษณะอะไร
(1) การดำรงชีวิต (2) การเลือกชนิดอาหาร (3) สีเลือด (4) ที่อยู่อาศัย
ตอบ 3 หน้า 91 อริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์ชาวกรีก ได้จัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตโดยอาศัย โครงสร้างและลักษณะของสีเลือด ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
1. Anaima 2. Enaima
59. สิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในกลุ่ม Anaima คือ
(1) กับ (2) ตุ๊กแก (3) นกกระสา (4) ฟองน้ำ
ตอบ 4 หน้า 91 Anaima เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง และเลือดไม่มีสีแดง ประกอบด้วยสัตว์พวกต่าง ๆ 5 พวก ได้แก่ 1. ปลาหมึก 2. กุ้ง กั้ง ปู 3. แมลงและแมงมุม 4. หอยและหอยเม่น
5. ฟองนํ้าและกะพรุน
60. สัตว์ชนิดใดออกลูกเป็นไข่
(1) ตุ่นปากเป็ด (2) แมว (3) ปลาวาฬ (4) วัว
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ
61. คำว่า Viviparous หมายถึง
(1) สัตว์ซึ่งออกลูกเป็นไข่
(2) สัตว์ซึ่งออกลูกเป็นตัว
(3) สัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่และเป็นตัว
(4) สัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่ครั้งละมากกว่า 10 ฟอง
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ
62. การจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิตแบบ Natural System มีการพิจารณานำหลักเกณฑ์ใดเป็นหลักเกณฑ์ใหญ่
(1) แหล่งที่อยู่อาศัย
(2) การดำรงชีวิต
(3) รูปร่างโครงสร้าง
(4) วิวัฒนาการ
ตอบ 4 หน้า 91 -92 Carolus Linnaeus นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ได้คิดระบบการจัดหมวดหมู่ ของสิ่งมีชีวิตโดยพิจารณาความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการเป็นหลักเกณฑ์ใหญ่ ซึ่งเรียกระบบแบบนี้ว่า Natural System นอกจากนี้ยังได้เสนอให้มีระบบการตั้งชื่อสกุลและชื่อชนิดของสิ่งมีชีวิตแบบ Binomial Nomenclature ซึ่งเรียกว่า ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name) โดยกำหนดว่า สิ่งมีชีวิตใดที่มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกันมากก็ให้ใช้ชื่อเดียวกัน และต้องมีชื่อชนิดของสิ่งมีชีวิต กำกับไว้ด้วย จึงทำให้ชื่อของสิ่งมีชีวิตประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ชื่อสกุล และชื่อชนิด
63. “ชื่อวิทยาศาสตร์” ของสิ่งมีชีวิตประกอบด้วย
(1) ชื่อชนิดพันธุ์ (2) ชื่อของชนิด
(3) ชื่อสกุลและชื่อชนิด (4) ชื่อชนิดพันธุ์และชื่อผู้ตั้ง
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 62. ประกอบ
64. การลำดับหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต สกุล (Genus) ต่าง ๆ ที่คล้ายคลึงกันจัดให้เป็น
(1) วงศ์ (Family) เดียวกัน (2) อันดับ (Order) เดียวกัน
(3) ชั้น (Class) เดียวกัน (4) ไฟลัม (Phylum) เดียวกัน
ตอบ 1 หน้า 92 Carolus Linnaeus ได้กำหนดการลำดับหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตไว้ว่า สิ่งมีชีวิตนั้น แยกออกเป็น “ชนิด” (Species) สิ่งมีชีวิตที่มีความคล้ายคลึงกันมากจัดให้อยู่ใน “สกุล” (Genus) เดียวกัน สกุลต่าง ๆ ที่คล้ายคลึงกันจัดให้อยู่ใน “วงศ์” (Family) เดียวกัน วงศ์ใด ๆ ที่มีความสัมพันธ์ ใกล้เคียงกันจัดให้อยู่ใน “อันดับ” (Order) เดียวกัน อันดับของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน จัดให้อยู่ใน “ขั้น” (Class) เดียวกัน ขั้นต่าง ๆ ที่มี ลัษณะร่วมกันจัดให้อยู่ใน “ไฟลัม” (Phylum) หรือ “ดิวิชัน” (Division) ซึ่งเมื่อรวมเข้าหลาย ๆ ไฟลัม หรืดิวิชันเรียกว่า “อาณาจักร” (Kingdom)
65. ชื่อวิทยาศาสตร์ของคน คือ
(1) Homo sapiens
(2) Micheiia champaca (3) Peneous monodon (4) Scortotino anpnosa
ตอบ 1 หน้า 92 – 93 ในการเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name) ให้ขึ้นต้นชื่อสกุลด้วยตัวพิมพ์ใหญ่หรือตัวเขียนใหญ่ นอกจากนั้นใช้อักษรตัวเล็กทั้งหมด และมักจะถูกพิมพ์ด้วย ตัวเอน เช่น ชื่อวิทยาศาสตร์ของคน คือ Homo sapiens, ชื่อวิทยาศาสตร์ของจำปา คือ Micheiia champaca เป็นต้น
66. วิตามินชนิดใดที่ละลายได้ในนํ้า
(1) วิตามิน A (2) วิตามิน C (3) วิตามิน D (4) วิตามิน K
ตอบ 2 หน้า 44 วิตามินแบ่งตามคุณสมบัติการละลายได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. วิตามินที่ละลายในนํ้า ได้แก่ วิตามิน B และวิตามิน C
2. วิตามินที่ละลายในนํ้ามัน ได้แก่ วิตามิน A, D, E และ K
67. ออร์แกเนลล์ข้อใด ได้ชื่อว่าเป็นโรงผลิตไฟฟ้าของเซลล์
(1) ไลโซโซม (Lysosome)
(2) แวคิวโอล (Vacuoles) (3) ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) (4) พลาสติด (Plastids)
ตอบ 3 หน้า 52, (คำบรรยาย) ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) เป็นออร์แกเนลล์ที่มีหน้าที่เป็นที่เกิดกระบวนการหายใจระดับเซลล์ จึงเป็นแหล่งสร้างพลังงานในรูป ATP จนได้ชื่อว่าเป็น “โรงผลิตไฟฟ้าของเซลล์” (Powerhouse of Cell) โดยเซลล์ที่มีกระบวนการทำงานสูงและต้องการ พลังงานจะมีไมโทคอนเตรียมาก เช่น เซลล์ดับ เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์ไข่หอยเม่นทะเล เป็นต้น
68. Dialysis คืออะไร
(1) การที่โปรโตพลาสม์หดรวมตัวกันเป็นกลุ่ม (2) การแพร่กระจายที่ผ่านเยื่อหุ้มบาง
(3) การกระจายของกลิ่นน้ำหอม (4) การดูดน้ำกลับเข้าสู่เซลล์
ตอบ 2 หน้า 35 Dialysis คือ การแพร่กระจายที่ผ่านเยื่อหุ้มบาง ซึ่งเกิดขึ้นจากการซึมผ่านของ อณูของสารที่ละลายในสารละลาย Hypertonic ผ่านเยื่อ Semipermeable Membrane ไปสู่สารละลาย Hypotonic
69. ถ้านักศึกษาขาดวิตามิน A จะทำให้เกิดอาการใด
(1) เลือดออกตามไรฟัน (2) ทำให้เลือดแข็งตัวช้า
(3) ทำให้ตามัว มองไม่เห็นในที่แสงสลัว (4) โรคเหน็บชา
ตอบ 3 หน้า 45 – 46, (คำบรรยาย) วิตามิน A เป็นวิตามินที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญเกี่ยวข้องกับสุขภาพของดวงตา และคุณภาพของการมองเห็น ซึ่งถ้ารางกายขาดหรือได้รับวิตามินนี้ไม่เพียงพอ จะทำให้ตามัวและมองไม่เห็นในที่แสงสลัว (Night Blindness)
70. ถ้านักศึกษาขาดวิตามิน C จะทำให้เกิดอาการใด
(1) เลือดออกตามไรฟัน (2) โรคเหน็บชา
(3) ทำให้ตามัว มองไม่เห็นในที่แสงสลัว (4) ทำให้เลือดแข็งตัวช้า
ตอบ 1 หน้า 45 วิตามิน C มีชื่อทางเคมีว่า Ascorbic Acid ซึ่งถ้าร่างกายขาดวิตามินนี้จะทำให้เลือดออก ตามไรฟัน (Scurvy) เหงือกบวม เลือดออกใต้ผิวหนัง (Haemorrhage) อ่อนเพลีย โลหิตจาง นํ้าหนักลด ชีพจรสูง เป็นต้น
71. Pollination หมายถึงอะไร
(1) การติดเมล็ด
(2) การปฏิสนธิ
(3) การเกิดดอก
(4) การถ่ายละอองเกสร
ตอบ 4 หน้า 127 การถ่ายละอองเกสร (Pollination) หมายถึง ปรากฏการณ์ที่ละอองเกสรตัวผู้ ปลิวไปตกบนยอดเกสรตัวเมีย ถ้าเกิดในดอกเดียวกันเรียกว่า Self-Pollination หรือ Close-Pollination แต่ถ้าเกิดต่างดอกกันเรียกว่า Cross Pollination ซึ่งการถ่าย ละอองเกสรนี้จะส่งผลทำให้เกิดการผสมเกสร (Fertilization) ขึ้นในที่สุด
72. Monoecious Plant หมายถึงอะไร
(1) พืชที่มีดอกครบทั้งสองเพศอยู่ในต้นเดียวกัน
(2) พืชมีดอกแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน
(3) พืชที่มีแต่ดอกเพศเมียในต้นเดียวกัน
(4) พืชที่ดอกไม่มีกลีบดอก
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ
73. พืชชนิดใดมีลำต้นเหนือดินชนิดที่ทอดแตะพื้นเป็นระยะ (Stolon)
(1) ตำลึง
(2) พลู
(3) บัวบก
(4) ผักบุ้ง
ตอบ 3 หน้า 120 พืชที่มีลำต้นอยู่เหนือดินสามารถแบ่งตามลักษณะที่ปรากฏได้เป็น 4 ชนิด คือ
1. ชนิดที่ทอดแตะพื้นเป็นระยะ ๆ (Stolon) เช่น บัวบก ผักแว่น ผักตบชวา จอก
2. ชนิดที่ทอดราบไปตามพื้น (Prostrate) เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด
3. ชนิดที่เกาะเกี่ยวป่ายปีนหรือเลื้อยพับ (Climber/Twinning) เช่น ตำลึง พลู พวงชมพู เถาวัลย์
4. ชนิดที่มิลำต้นตั้งตรง (Erect Stem) เช่น สนทะเล ก้ามปู ราชพฤกษ์ มะพร้าว ตาล มะละกอ
74. พืชชนิดใดจัดเป็นพวกEpiphyte
(1) ฝอยทอง (2) ขนุนดิน (3) มะม่วง (4) กล้วยไม้
ตอบ 4 หน้า 122 พืชแบ่งตามลักษณะของแหล่งกำเนิดและที่อยู่อาศัยได้เป็น 5 ประเภท คือ
1. Epiphyte หมายถึง พืชที่ขึ้นอยู่บนต้นไม้อื่นแต่ไม่ได้เบียดเบียนต้นไม้นั้น เช่น กล้วยไม้ และเฟิร์นบางชนิด
2. Parasite หมายถึง พืชที่ขึ้นอยู่บนต้นไม้อื่นแล้วเบียดเบียนต้นไม้นั้น เช่น กาฝาก ฝอยทอง ขนุนดิน ถาษี
3. Xerophyte หมายถึง พืชที่เกิดอยู่ในที่แห้งแล้งและมีนํ้าน้อย เช่น กุหลาบหิน กระบองเพชร เสมา โบตั๋น
4. Mesophyte หมายถึง พืชที่เกิดอยู่ในที่ที่มีนํ้าพอสมควร เช่น มะม่วง มะขาม ทุเรียน มังคุด
5. Hydrophyte หมายถึง พืชที่อาศัยอยู่ในนํ้า เช่น บัว ผ้กบุ้ง ผักตบชวา ผักกระเฉด
75. พืชชนิดใดมีขนาดเล็กขึ้นรวมกันหนาแน่นจนมีลักษณะคล้ายพรมกำมะหยี่
(1) หวายทะนอย (2) หญ้าถอดปล้อง (3) มอสส์ (4) ปรง
ตอบ 3 หน้า 108 – 110, (คำบรรยาย) พืชในดิวิชันไบรโอไฟตา (Division Bryophyta)เป็นพืชที่มีขนาดเล็ก แต่ยังไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียงนํ้าและอาหาร รวมทั้งไม่มีราก ลำต้น และใบที่แท้จริง และมักจะขึ้นอยู่ในบริเวณที่มีความชื้นสูงและอากาศเย็น จึงนับว่าเป็นพืช ที่มีวิวัฒนาการล้าหลังที่สุด ซึ่งพืชในดิวิชันนี้แบ่งออกเป็น 2 คลาส (Class) ได้แก่
1. คลาสเฮพาทิชี (Class Hepaticae) เรียกว่า ลิเวอร์เวิร์ต (Liverwort) เป็นพืชที่มีลักษณะ เป็นแผ่นแบนบางสีเขียว
2. คลาสมอสไซ (Class Musci) เรียกว่า มอสส์ (Moss) เป็นพืชที่มีลักษณะเล็ก ขึ้นรวมกันอยู่อย่างหนาแน่นจนมีลักษณะคล้ายพรมกำมะหยี่
76. พืชชนิดใดที่สืบพันธุ์โดยใช้เมล็ด
(1) หวายทะนอย (2) หญ้าถอดปล้อง (3) มอสส์ (4) ปรง
ตอบ 4 หน้า 111, 115 –116, (คำบรรยาย) พืชมีเมล็ดในดิวิชันเทรคิโอไฟตา (Division Tracheophyta) แบ่งออกเป็น 2 พวก คือ
1. พืชมีเมล็ดแต่เมล็ดไม่มีผนังห่อหุ้ม หรือพืชไม่มีดอก (Class Gymnospermae) เป็นพืชที่มีอายุหลายปี ลำต้นมีขนาดสูงใหญ่เมื่ออายุมากขึ้น และสืบพันธุโดยใช้เมล็ด ได้แก่ ปรง สนแท้ แปะก๊วย และเครือมะเมื่อย
2. พืชมีเมล็ดและเมล็ดมีผนังห่อหุ้ม หรือพืชดอก (Class Angiospermae) ได้แก่ ข้าว กุหลาบ พริก มะเขือ เป็นต้น ซึ่งพืชใน Class นี้นับว่าเป็นพืชที่มีวิวัฒนาการสูงสุด และมีจำนวน มากที่สุดในยุคปัจจุบัน
77. ข้าว จัดเป็นพืชใน Class ใด
(1) คลาสฟิลิซินิ (Class Filicinae) (2) คลาสเฮพาทิชี (Class Hepaticae)
(3) คลาสแองจิโอสเปอร์มี (Class Angiospermae) (4) คลาสจิมโนสเปอร์มี (Class Gymnospermae)
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 76. ประกอบ
78. ใบของพืชชนิดใดที่ช่วยทำหน้าที่ขยายพันธุ์
(1) กาบหอยแครง (2) มันเทศ (3) ต้นตายใบเป็น (4) กล้วยไม้
ตอบ 3 หน้า 122 – 123 ใบของพืชมีหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ การสร้างอาหาร การหายใจ และ การคายนํ้า นอกจากนี้แล้วใบของพืชบางชนิดยังอาจเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปทำหน้าที่อย่างอื่น ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นหน้าที่รอง หรือพืชบางชนิดอาจทำหน้าที่หลักและหน้าที่รองไปพร้อม ๆ กัน หรือทำหน้าที่เดียวอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ทำหน้าที่แพร่และขยายพันธุ์ ได้แก่ ต้นตายใบเป็น โคมญี่ปุ่น หรือเปลี่ยนแปลงไปเป็นอวัยวะจับสัตว์พวกแมลงตัวเล็ก ๆ ไต้แก่ น้ำเต้าฤาษี กาบหอยแครง หยาดนํ้าค้าง เป็นต้น
79. พืชชนิดใดที่ฐานรองดอกเจริญไปเป็นเนื้อของผล
(1) แอปเปิ้ล (2) ส้ม (3) มะม่วง (4) ทุเรียน
ตอบ 1 หน้า 125 ฐานรองดอก (Receptacle) จะอยู่ที่ปลายสุดของก้านดอกเป็นส่วนสุดท้ายที่จะติดกับดอกเป็นแหล่งจ่ายอาหารไปยังอวัยวะส่วนอื่นของดอก เป็นฐานที่รองรับส่วนสร้างเซลล์เพศของดอกและในพืชบางชนิดอวัยวะส่วนนี้จะเจริญไปเป็นเนื้อของผล เช่น แอปเปิ้ล
80. พืชชนิดใดจัดเป็นพวก Xerophyte
(1) ผักตบชวา (2) ทุเรียน (3) กุหลาบหิน (4) มะขาม
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 74. ประกอบ
81. พืชชนิดใดมีวงจรชีวิตในเวลา 2 ปี (ไม้ข้ามปี)
(1) มันสำปะหลัง
(2) ดาวเรือง
(3) หอม
(4) อ้อย
ตอบ 3 หน้า 121, (คำบรรยาย) พืชแบ่งตามลักษณะของการมีอายุได้เป็น 4 ชนิด คือ
1. พืชทีมีช่วงอายุสั้นมาก และปีหนึ่งอาจเกิดได้หลายรุ่น (Ephemeral) เช่น ดาวเรือง บานชื่น แพงพวยฝรั่ง
2. พืชที่มีวงจรชีวิตในเวลา 1 ปี หรือไม้ปีเดียว (Annual) เช่น อ้อย มันสำปะหลัง
3. พืชที่มีวงจรชีวิตในเวลา 2 ปี หรือไม้ข้ามปี (Biennial) เช่น หอม กระเทียม ว่านต่าง ๆ
4. พืชที่มีอายุนานกว่า 2 ปี หรือไม้หลายปี (Perennial) เช่น มะม่วง ทุเรียน
82. ไอนํ้าในชั้นบรรยากาศโลก มีคุณสมบัติในการกักเก็บความร้อน โลกจึงอบอุ่นขึ้น ไอนํ้าเกิดจาก สารประกอบเคมีของ
(1) คาร์บอนและออกซิเจน
(2) ไฮโดรเจนและออกซิเจน
(3) ไฮโดรเจนและคาร์บอน
(4) ไฮโดรเจนและไนโตรเจน
ตอบ 2 หน้า 16 วิวัฒนาการทางเคมีของการกำเนิดโลกระยะที่ 1 เมื่ออุณหภูมิของโลกเย็นลง จนเกิดปฏิกิริยาทางเคมีขึ้นแล้วนั้น อะตอมของธาตุเบา ๆ จะทำปฏิกิริยาต่อกันเกิดเป็น สารประกอบทางเคมีขึ้นมา โดยอะตอมของไฮโดรเจน (H) จะเป็นอะตอมที่ว่องไวในการ ทำปฏิกิริยามากที่สุด ซึ่งเมื่อทำปฏิกิริยากับอะตอมของออกซิเจน (o) จะ‘ได้เป็นไอนํ้า (H2o), ทำปฏิกิริยากับอะตอมของไนโตรเจน (N) จะได้เป็นก๊าซแอมโมเนีย (NH3), ทำปฏิกิริยากับ อะตอมของคาร์บอน (C) จะได้เป็นก๊าซมีเทน (CH4)
83. สารอินทรีย์ซึ่งประกอบเบนสิ่งมีชีวิตเริ่มแรก ประกอบขึ้นด้วยธาตุอะไรบ้าง
(1) คาร์บอน (C), ไนโตรเจน (N), ไฮโดรเจน (H) และเหล็ก (Fe)
(2) คาร์บอน (C), ไนโตรเจน (N), ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (o)
(3) คาร์บอน (C), ไนโตรเจน (N), อลูมิเนิยม (AI) และออกซิเจน (o)
(4) คาร์บอน (C), ไนโตรเจน (N), ซัลเฟอร์ (S) และออกซิเจน (o)
ตอบ 2 หน้า 14 นักวิทยาศาสตร์ J.B.S. Haldane (ค.ศ. 1924), R. Beutner (ค.ศ. 1929) และ A.I. Oparin (ค.ศ. 1936) ได้กล่าวไว้ทำนองเดียวกันวา สิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นด้วยสารอินทรีย์ ซึ่งต้องมีธาตุคาร์บอน (C) ไนโตรเจน (N) ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (o) ประกอบอยู่ ทำให้เชื่อว่าโลกในสมัยแรกในขณะหนึ่งนั้นจะมีภาวะเหมาะสมที่จะทำให้ธาตุทั้ง 4 นี้ มาประกอบรวมกันได้ แล้วกลายเป็นสารอินทรีย์ที่เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิต
84. ปฏิกิริยาของกระบวนการทางชีวเคมีใดที่เกิดขึ้นจากสิ่งมีชีวิตยุคแรกเริ่ม แล้วทำให้บรรยากาศมีก๊าซออกซิเจน
(1) Decomposition (2) Photosynthesis (3) Respiration (4) Chemosynthesis
ตอบ 2 หน้า 26 – 27, 38, (คำบรรยาย) กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) เป็นการปรับตัวเพื่อหลีกเลี่ยงสภาพการขาดแคลนอาหารของสิ่งมีชีวิตยุคแรกเริ่มที่เป็นบรรพบุรุษของพืช ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่สิ่งมีชีวิตบางชนิดที่เซลล์มีสารคลอโรพิลล์ในการกักเก็บพลังงานจากแสงแดด เอาไว้ได้ใช้พลังงานแสงกระตุ้นการสังเคราะห์อาหารโดยนำเอาโมเลกุลของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (C02) ไปรวมกับโมเลกุลของนํ้า (H2o) จนได้สารอาหารประเภทนํ้าตาลกลูโคส (C6H12O6) และเกิดก๊าซออกซิเจน (O2) เป็นผลพลอยได้ ซึ่งจากปฏิกิริยาของกระบวนการทางชีวเคมีนี้ จะช่วยทำให้ชั้นบรรยากาศของโลกมีก๊าซออกซิเจนมากขึ้นจนเหมาะสมต่อการดำรงชีวิต และช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศลงได้
85. คุณสมบัติข้อใดที่ถือได้ว่าเป็นลักษณะของสิ่งมีชีวิตในยุคแรกเริ่มบนโลก
(1) การเพิ่มจำนวน (2) การสร้างน้ำย่อยเพื่อย่อยอาหาร
(3) การมีรูปร่างที่คงทนถาวร (4) ร่างกายมีผิวหนังปกคลุมด้วยขน
ตอบ 1 หน้า 24 คุณสมบัติของสิ่งมีชีวิตในยุคแรกเริ่มบนโลก มีดังนี้
1. มีกระบวนการหายใจหรือการแลกเปลี่ยนอากาศ หรือเริ่มรู้จักใช้โมเลกุลของสารต่าง ๆ เป็นแหล่งให้พลังงาน
2. นิวคลีโอโปรตีนภายในเซลล์สามารถที่จะสร้างโมเลกุลใหม่ได้ ทำให้เซลล์มีขนาดเพิ่มขึ้น ซึ่งนับเป็นการเจริญเติบโต และมีการเพิ่มจำนวนหรือทวีจำนวนออกเป็นสองเซลล์เล็ก ๆ
3. เกิดปฏิกิริยาเคมีในลักษณะใหม่ ๆ ทำห้ได้สารใหม่และคุณสมบัติผิดแปลกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
86. Eating เป็นพฤติกรรมอย่างหนึ่งในการหาอาหาร พบในสิ่งมีชีวิตที่เป็นบรรพบุรุษของ(1) บรรพบุรุษของพืช (2) บรรพบุรุษของสัตว์
(3) บรรพบุรุษของเห็ดรา (4) บรรพบุรุษของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน
ตอบ 2 หน้า 26 การกิน (Eating) เป็นการปรับตัวเพื่อหลีกเลี่ยงสภาพการขาดแคลนอาหารของ สิ่งมีชีวิตเริ่มแรกที่เป็นบรรพบุรุษของสัตว์ โดยสิ่งมีชีวิตที่หาอาหารด้วยวิธีนี้จะเปลี่ยนแปลง รูปร่างหรือโครงสร้างเซลล์ เพื่อให้สะดวกแก่การกลืนกินเซลล์อื่น
87. ในอดีตพลังงานที่กระตุ้นให้สารเคมีในมหาสมุทรทำปฏิกิริยาต่อกัน แล้วเกิดการรวมตัวใหม่เป็น สารประกอบอินทรีย์ขึ้น พลังงานนั้นได้มาจากที่ใด
(1) พลังงานจากใต้พื้นพิภพ (2) พลังงานจากฟ้าแลบ ฟ้าผ่า
(3) พลังงานจากคลื่น ลม ในมหาสมุทร (4) พลังงานจากการพุ่งชนของดาวเคราะห์
ตอบ 2 หน้า 17, (คำบรรยาย) วิวัฒนาการทางเคมีของการกำเนิดโลกระยะที่ 2 เป็นระยะที่เริ่มเกิด สารประกอบอินทรีย์ เนื่องจากทะเลและมหาสมุทรในระยะเริ่มแรกนั้นมีสารประกอบคาร์บอน (C) หรือสารอินทรีย์ประเภทมีเทนเป็นจำนวนมาก มีเทนซึ่งได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ และพลังงานจากฟ้าแลบ ฟ้าผ่า และประจุไฟฟ้าในขั้นบรรยากาศ ก็จะไปทำปฏิกิริยาเคมี กับโมเลกุลของมีเทน นํ้า แอมโมเนีย หรือไปทำปฏิกิริยาเคมีกับอะตอมหรือโมเลกุลของธาตุ หรือสารประกอบอื่น ๆ แล้วเกิดการรวมตัวใหม่เป็นสารประกอบอินทรีย์ 6 ประเภท คือ น้ำตาล กลีเซอรีน กรดไขมัน กรดอะมิโน ไพริมิดีน และพิวรีน
88. ทฤษฎีเกี่ยวกับกำเนิดของสิ่งมีชีวิตบนโลกที่กล่าวว่า “สิ่งมีชีวิตมาจากต่างดาว” ทฤษฎีนี้กล่าวถึงสิ่งมีชีวิต ในลักษณะใด
(1) สิ่งมีชีวิตมีการรวมกันของสารเคมี โดยมีการกระตุ้นด้วยทลังงานจากต่างดาว และตกลงมายังโลก
(2) สิ่งมีชีวิตมากับอุกกาบาต โดยมีลักษณะเป็นสปอร์ และเจริญได้บนผิวโลก
(3) สิ่งมีชีวิตมีลักษณะรูปร่างที่เฉพาะตัว เกิดขึ้นบนดาวดวงอื่นและมาสร้างอาณาจักรบนโลกภายหลัง
(4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 หน้า 13 ในปี ค.ศ. 1865 Richter ได้ตั้งทฤษฎีชื่อ Cosrnazoan Theory โดยกล่าวว่าสิ่งมีชีวิตแรกบนพื้นพิภพนั้นมาจากต่างดาวหรือดาวดวงอื่น สิ่งมีชีวิตนั้นลอยมาในรูปของสปอร์ ซึ่งมีขนาดเล็ก และทนต่อสภาวะที่ไม่เหมาะสมได้อย่างดี สปอร์นี้มาสู่โลกได้พร้อมกับสะเก็ดดาว หรืออุกกาบาต เมื่อมาถึงผิวโลกในเวลาพอดีที่สิ่งแวดล้อมขณะนั้นเหมาะสมแก่การเจริญชีวิต จึงได้ขยายพันธุ์และมีวิวัฒนาการมาเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ จนปัจจุบันนี้
89. การตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เกิดในโปรโตพลาสม์ พบในสิ่งมีชีวิตพวกใด
(1) พลานาเรีย (2) หนอนตัวกลม (3) ปลากระดูกแข็ง (4) พารามีเซียม
ตอบ 4 หน้า 98, 106, 195 – 196, (คำบรรยาย) การตอบสนองต่อสิ่งเร้าในสิ่งมีชีวิตขั้นตํ่าประเภทเซลล์เดียวซึ่งได้แก่ พวกโปรติสตา (Protista) เช่น ยูกลีนา อะมีบา พารามีเซียม จะเกิดขึ้นพร้อมกันในก้อนโปรโตพลาสม์ ส่วนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าในสัตว์ขั้นสูงและ ในพืชทั่วไปนั้น จะมีโครงสร้างหรืออวัยวะที่ทำหน้าที่เป็นสัดส่วนแยกออกจากกัน
90. เรารู้สึกร้อนเมื่อโดนนํ้าร้อนลวก หน่วยรับความรู้สึกที่เกี่ยวข้องคือข้อใด
(1) Pressoreceptor (2) Thermoreceptor (3) Chemoreceptor (4) Phonoreceptor
ตอบ 2 หน้า 196, (คำบรรยาย) ในกระบวนการรับความรู้สึก (Reception) มีอวัยวะที่เป็นหน่วยรับ ความรู้สึก ได้แก่
1. Thermoreceptor เป็นอวัยวะที่รับความรู้สึกร้อนหรือเย็น (อุณหภูมิ) ได้แก่ ผิวหนัง
2. Photoreceptor เป็นอวัยวะที่รับความรู้สึกเกี่ยวกับแสงสว่าง ได้แก่ ตา
3. Pressoreceptor เป็นอวัยวะที่รับความรู้สึกสัมผัสและความเจ็บปวด ได้แก่ ผิวหนัง
4. Chemoreceptor เป็นอวัยวะที่รับความรู้สึกด้านรสและกลิ่น ได้แก่ ลิ้น จมูก และ หนวดแมลงบางชนิด เช่น ผีเสื้อกลางคืน เป็นต้น
5. Phonoreceptor เป็นอวัยวะที่รับความรู้สึกด้านเสียง ได้แก่ หู
91. เมื่อเรามองเห็นวัตถุอันตราย แล้วเราเดินเลี่ยง การที่เรามีพฤติกรรมดังกล่าวนั้น แสดงว่าร่างกาย มีกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างไร
(1) มีกระบวนการตอบโต้
(2) มีกระบวนการแปลความหมายและสั่งการ
(3) มีกระบวนการรับความรู้สึก
(4) ทุกข้อที่กล่าวมา
ตอบ 1 หน้า 197 – 198, (คำบรรยาย) กระบวนการตอบโต้ (Effect) เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง ระบบกล้ามเนื้อ เซลล์ประสาทสั่งการ (Motor Neuron) และระบบต่อมสร้างฮอร์โมน ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่กระแสความรู้สึกถูกส่งผ่านเซลล์ประสาทรับความรู้สึก (Sensory Neuron) ไปยังระบบ ประสาทส่วนกลาง (สมองและไขสันหลัง) แล้ว โดยที่ Motor Neuron จะส่งกระแสคำสั่งจากระบบ ประสาทส่วนกลางมากระตุ้นให้หน่วยตอบสนองหรือกล้ามเนื้อในบริเวณใกล้กับแหล่งรับความรู้สึก ทำงานด้วยการหดตัวของเส้นใยกล้ามเนื้อ จึงทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การหดตัวของกล้ามเนื้อขาเพื่อให้เดินถอยหลัง การเดินเลี่ยงเมื่อเรามองเห็นวัตถุอันตราย เป็นต้น
92. ข้อใดกล่าวถึงการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เกิดเฉพาะในกระบวนการรับความรู้สึกได้ถูกต้องที่สุด
(1) การขยับเท้าอย่างรวดเร็วของหญิงสาว เมื่อพบเห็นงูเลื้อยผ่านหน้าไป
(2) ดวงตาของเสือมีความไวต่อแสง จึงมองเห็นเก้งได้เป็นอย่างดีในที่มืด
(3) กระแสความรู้สึกผ่านเข้าเซลล์ประสาททางเดนไตรต์และออกจากเซลส์ประสาททางแอ็กซอน
(4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 90. ประกอบ
93. กลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่รับ-ส่งกระแสความรู้สึกจากสิ่งเร้าที่มีในสัตว์ขั้นสูง ได้แก่
(1) เซลล์ผิวหนัง (2) เซลล์สมอง (3) เซลล์ประสาท (4) เซลล์กล้ามเนื้อ
ตอบ 3 หน้า 196 เนื้อเยื่อหรือกลุ่มเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อสิ่งเร้าในสัตว์ขั้นสูง ได้แก่
1. เนื้อเยื่อหรือเซลล์ประสาท ทำหน้าที่รับส่งกระแสความรู้สึกจากสิ่งเร้า
2. เนื้อเยื่อหรือเซลล์กล้ามเนื้อ ทำหน้าที่แสดงการโต้ตอบสิ่งเร้านั้น
94. สิ่งเร้าภายในที่ส่งเสริมให้พืชมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า โดยยอดพืชเบนเข้าหาแสง ได้แก่
(1) ฮอว์โมนออกซิน (2) ฮอร์โมนไคนิน (3) แรงโน้มถ่วงของโลก (4) แสงแดด
ตอบ 1 หน้า 199 ออกซิน (Auxin) เป็นสิ่งเร้าภายในในรูปฮอร์โมนพืชที่ช่วยส่งเสริมและควบคุม การเจริญเติบโตของพืช ซึ่งฮอร์โมนนี้พืชจะสร้างจากปลายยอดแล้วลำเลียงลงสู่รากในลักษณะ ที่หนีแสงสว์าง ทำให้พืชเกิดการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงหรือมีพฤติกรรมการตอบสนอง โดยการที่ยอดพืชจะโค้งหรือเบนเข้าหาแสง ส่วนรากพืชจะเบนหนีแสง
95. ข้อใดคือการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชที่เรียกว่า Phototropism
(1) การเจริญของยอดพืช ชูเหนือยอดไม้อื่นในป่า
(2) การเจริญของรากไทรที่เติบโตบนต้นไม้อื่นมายังพื้นดิน
(3) การเหี่ยวเฉาของใบไมยราบเมือได้รับการรบกวน
(4) การบานของดอกราตรีในเวลากลางคืน
ตอบ 1 หน้า 200 Phototropism เป็นการเคลื่อนไหวตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกของพืชเนื่องจาก การเจริญเติบโตโดยมีแสงเป็นสิ่งเร้า เช่น การเจริญของยอดพืช ชูเหนือยอดไม้อื่นในป่า เป็นต้น
96. “สิ่งมีชีวิตมีการคัดสรรโดยธรรมชาติ” (Natural Selection) เป็นทฤษฎีทางวิวัฒนาการที่กล่าวโดย
(1) De Vries (2) Lamarck (3) Darwin (4) Mendel
ตอบ 3 หน้า 212 – 213 ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) ได้กล่าวถึงทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต 4 ประการ คือ
1. สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันย่อมมีความผันแปรทางพันธุกรรม (Variation)
2. สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ มักมีลูกหลานมากเกินไป จนไม่มีอาหารหรือได้รับการเลี้ยงดูไม่เพียงพอ แก่ความต้องการของลูกหลานทุกชีวิตนั้น
3. สิ่งมีชีวิตเกิดการแก่งแย่งแข่งขัน เพื่อให้ตนเองได้รับอาหารมากตามต้องการ
4. สิ่งมีชีวิตมีการแข่งขันกับสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ ทำให้เหลืออยู่แต่ผู้ที่เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม ที่สุดเท่านั้นจึงจะอยู่รอดและถ่ายทอดหรือสอนลักษณะนั้น ๆ สืบต่อกันจากบรรพบุรุษไปยัง ลูกหลาน เกิดเป็นพันธุใหม่ที่ดีขึ้นมาโดยดาร์วินได้เรียกวิธีการนี้ว่า “การคัดสรรโดยธรรมชาติ” (Natural Selection)
97. ทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงในลักษณะใด
(1) ความผันแปรทางพันธุกรรม (2) การถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ
(3) การแข่งขันกับสิ่งแวดล้อม (4) ทุกข้อที่กล่าวมา
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 96. ประกอบ
98. หลักฐานทางบรรพชีวินของสิ่งมีชีวิตที่มีสภาพกลายเป็นหิน (Fossil) ใช้อธิบายถึง
(1) วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต (2) ลักษณะของบรรพบุรุษสิ่งมีชีวิตบนโลก
(3) การสูญพันธุของสิ่งมีชีวิตบนโลก (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 213 หลักฐานเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตบนโลก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. หลักฐานโดยตรงจากการศึกษาซากสิ่งมีชีวิตที่กลายเป็นหิน หรือที่เรียกว่า ฟอลซิล (Fossil)
2. หลักฐานจากการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของสิ่งมีชีวิตในยุคปัจจุบัน ในแง่รูปร่าง โครงสร้าง พัฒนาการ และลักษณะการทำงานของอวัยวะในสิ่งมีชีวิต
99. ข้อใดไม่ใช่เหตุผลในการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตเพื่อการหาอาหาร
(1) ปากของตั๊กแตนมีลักษณะแข็งแรง (2) นกกานํ้ามีพังผืดระหว่างนิ้วเท้า
(3) งูเขียวหางไหม้ชอบอาศัยอยู่ตามพุ่มไม้ที่มีสีเชียว (4) การเปลี่ยนสีเลียนแบบธรรมชาติของผีเสื้อกลางคืน
ตอบ4 หน้า 228 – 230, (คำบรรยาย) การปรับตัวทางด้านรูปร่างของสิ่งมีชีวิตนั้น มีจุดมุ่งหมายสำคัญ 2 ประการ คือ
1. เพื่อเอื้อประโยชน์ในการหาอาหาร เช่น ตั๊กแตนมีลักษณะปากแข็งแรง, นกกระยางมีนิ้วเท้า เรียวยาวเหมาะแก่การทรงตัว, นกกานํ้ามีนิ้วเท้าแบนมีพังผืด, งูเชขียวหางไหม้ชอบอาศัยอยู่ ตามพุ่มไม้ที่มีสีเชียว, นกฮูกมีนิ้วเท้างองุ้มเล็บแหลมคม, ไก่มีเล็บเท้าใหญ่และแข็งเหมาะแก่ การคุ้ยเขี่ย เป็นต้น
2. เพื่อการป้องกันหรือหลบหลีกอันตรายจากศัตรู เช่น การมีหูและขาหลังที่ยาวของกระต่าย, การมีเปลือก กระดอง เกล็ด ขนแข็ง ของหอย ปู เต่า นิ่ม และเม่น, การเปลี่ยนสีเลียนแบบ ธรรมชาติของผีเสี้อกลางคืน เป็นต้น
100. ข้อใดไม่ใช่การปรับตัวเพื่อควบคุมปริมาณนํ้าของพืชพวก Xerophyte
(1) มีปากใบบนผิวใบเพื่อควบคุมการคายนํ้า (2) ใบมีขนาดเล็ก ลดรูปเป็นหนาม
(3) มี Cutin ที่ผิวของลำต้น (4) ผลัดใบในฤดูร้อน
ตอบ 1 หน้า 231 Xerophyte ได้แก่ พืชที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่แห้งแล้ง มีนํ้าน้อย พืชพวกนี้มักมีใบเล็กมาก หรือเปลี่ยนใบไปเป็นหนาม ไม่มีปากใบ ลำต้นทำหน้าที่สังเคราะห์แสงสร้างอาหารแทนใบได้ รากยาวหยั่งลึกและแผ่ไปไกลเพื่อดูดหานํ้า นอกจากนี้ยังมีสาร Cutin ฉาบเคลือบลำต้นไว้ ค่อนข้างหนาเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำระเหย และมักจะผลัดใบในฤดูร้อน