การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2554
ข้อสอบกระบวนวิชา ANT3057 สังคมและวัฒนธรรมไทย
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1. ข้อใดได้จากการศึกษาสังคมไพย
(1) โครงสร้างสังคม
(2) การควบคุมสังคม
(3) ประเพณีไทย
(4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 1, (คำบรรยาย) การศึกษาสังคมและวัฒนธรรมไทยเป็นเรื่องที่คนไทยศึกษาได้ตลอดเวลา เพราะเราคือคนไทยและเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ได้รับการอบรมบ่มเพาะจากสังคมไทยตลอดเวลา ตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นสังคมและวัฒนธรรมไทยจึงอยู่ทั้งในตัวตนของเราและอยู่ล้อมรอบตัว ซึ่งเราสามารถเรียนรู้ได้ทุกวัน เวลา และสถานที่ ในทุก ๆ ด้าน เช่น วิถีชีวิตหรือความเป็นอยู่ ของคนไทย พฤติกรรมความคิด ทัศนะในการุมองโลก ค่านิยม ความเชื่อ ระบบภารศึกษา ประเพณีไทย ตลอดจนโครงสร้างสังคมและระบบการควบคุมสังคม เป็นต้น
2. ประเพณีสงกรานต์สะท้อนให้เห็นอะไร
(1) ลักษณะกายภาพของสังคม
(2) ความเป็นเอกภาพของสังคม
(3) ทัศนะในการมองโลกของคนไทย
(4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 3 หน้า 1, 8, (คำบรรยาย) การศึกษางานบุญประเพณีของไทยจะสะท้อนให้เห็นถึงระบบความคิด ความเชื่อ ทัศนะในการมองโลกของคนไทย และโครงสร้างทางสังคมไทย ซึ่งเป็นภาพสะท้อน ของสังคมและวัฒนธรรมไทยในอดีต
3. สังคมไทยประกอบด้วยอะไร
(1) คนหลายชาติพันธุ์ (2) คนไทยเท่านั้น (3) ชาวไร่ชาวนา (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 12, 15, (คำบรรยาย) สังคมไทยประกอบด้วยคนหลายกลุ่มหลายชาติพันธุ์ จึงทำให้ คนไทยมีระบบความคิด ทัศนคติ และความเชื่อที่แตกต่างกัน แต่เมื่อต้องมาอยู่รวมกันเป็น กลุ่มสังคมเดียวกันก็จะต้องอาศัยวัฒนธรรมไทยมาหล่อหลอมและขัดเกลาให้มีพฤติกรรม และแบบแผนการดำเนินชีวิตที่คล้ายคลึงหรือเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน เพื่อให้คนไทยมี ความสัมพันธ์กันได้ถูกต้อง และอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มสังคมได้อย่างราบรื่นถาวร
4. เพราะเหตุใดคนไทยจึงสัมพันธ์กันได้ถูกต้อง
(1) เพราะเป็นสัตว์สังคม (2) เพราะรู้จักคิดมีเหตุผล
(3) เพราะได้รับการขัดเกลาจากสังคมเดียวกัน (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ
5. “กายกับใจ แยกจากกันไม่ได้” เปรียบได้กับอะไร
(1) สังคมกับเงินตรา
(2) สังคมกับวัฒนธรรม (3) สังคมกับเทคโนโลยี (4) สังคมกับอุตสาหกรรม
ตอบ2 หน้า 12, 14 สังคมกับวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เพราะเมื่อมนุษย์รวมตัวกันเป็นกลุ่มสังคมก็จะต้องสร้างวัฒนธรรมขึ้นเป็นแบบแผน พฤติกรรมของสังคม เพื่อใช้เป็นตัวกำหนดหรือควบคุมพฤติกรรมชองคนในสังคมให้เป็นไป ตามกฎเกณฑ์ที่สอดคล้องกัน สังคมจึงจะดำรงอยู่ได้โดยมั่นคงราบรื่น ซึ่งความสัมพันธ์อันนี้ เปรียบเสมือนกายกับใจ หรือเหรียญ 2 ด้าน ที่จะขาดซึ่งกันและกันไม่ได้
6. สังคมรูปแบบใดกำหนดโดยใช้สิ่งแวดล้อมเป็นเกณฑ์
(1) ชนบท-เมือง (2) ง่าย ๆ-ซับช้อน
(3) เกษตรฯ-อุตสาหกรรม (4) ประเพณี-ทันสมัย
ตอบ 1 หน้า 3 – 4, 6 – 7 นักวิชาการแบ่งรูปแบบของสังคมตามตัวกำหนดที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการแบ่ง ดังนี้ 1. แบ่งตามสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต คือ สังคมชนบทกับสังคมเมือง
2. แบ่งตามระบบความสัมพันธ์ คือ สังคมง่าย ๆ (สังคมพื้นบ้าน) กับสังคมซับซ้อน
3. แบ่งตามวัฒนธรรม คือ สังคมดั้งเดิม (สังคมประเพณี) กับสังคมทันสมัย
4. แบ่งตามเทคโนโลยีที่ใช้ หรือวัฒนธรรมด้านเศรษฐกิจของคน คือ สังคมเกษตรกรรม กับสังคมอุตสาหกรรม
7. เครือข่ายความสัมพันธ์ของคนที่มาอยู่รวมกัน เรียกว่าอะไร
(1) กลุ่มสังคม (2) โครงสร้างของสังคม
(3) พฤติกรรมของคนในสังคม (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ . 2 หน้า 8-9 โครงสร้างทางสังคม คือ ระบบเครือข่ายความสัมพันธ์ของคนที่มาอยู่รวมกัน ในสังคม ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มสังคมต่าง ๆ ที่มีฐานะและคุณค่าที่แตกต่างกัน เช่น ความสัมพันธ์ ระหว่างเครือญาติ, กลุ่มนายทุน-กรรมกร, คนรวย-คนจน, ขุนนาง-ไพร่, เด็ก-ผู้ใหญ่ ฯลฯ
8. กลุ่มสังคมที่มีฐานะและคุณค่าแตกต่างกัน เป็นองค์ประกอบของอะไร
(1) สถาบันต่าง ๆ (2) โครงสร้างสังคม
(3) การจัดระเบียบทางสังคม (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ
9. การส่งทอดความรู้สะดวกรวดเร็วเกิดจากข้อใด
(1) ภาษาที่เป็นระบบสัญลักษณ์ (2) วิทยาการเจริญก้าวหน้า
(3) สังคมมีเอกภาพ (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 3, 11-12, (คำบรรยาย) การที่มนุษย์มีความสามารถในการสร้างและใช้ระบบสัญลักษณ์เช่น ภาษาพูดและภาษาเขียน รวมทั้งสื่อสัญลักษณ์ต่าง ๆ นั้น ทำให้มนุษย์สามารถติดต่อสัมพันธ์กัน อย่างราบรื่น ตลอดจนสามารถสะสม พัฒนา และถ่ายทอดองค์ความรู้หรือเทคโนโลยีจาก ชนรุ่นหนึ่งไปสู่ชนอีกรุ่นหนึ่งได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว ดังนั้นระบบสัญลักษณ์จึงถือเป็นพื้นฐาน ของวัฒนธรรมและเป็นเครื่องมือช่วยสร้างความมั่นคงให้แก่สังคม โดยระบบสัญลักษณ์ที่ใช้ต่างกัน ก็จะทำให้การใช้ภาษาแตกต่างกันไปในแต่ละสังคม
10. ข้อใดคือลักษณะสำคัญของวัฒนธรรม
(1) เกิดจากการเรียนรู้
(2) เป็นสากล (3) ส่งทอดโดยใช้สัญลักษณ์ (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 10 – 11, (คำบรรยาย) ลักษณะสำคัญของวัฒนธรรม ได้แก่
1. เป็นผลผลิตจากระบบความคิดของมนุษย์ หรือเกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์
2. เป็นแบบแผนของพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ หรือเกิดจากการกระทำโต้ตอบกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ
3. มีองค์ประกอบของความคิด โลกทัศน์ ค่านิยมทางสังคม ซึ่งเป็นตัวกำหนดมาตรฐานของ พฤติกรรม
4. เป็นมรดกทางสังคมที่ส่งต่อจากชนรุ่นหนึ่งไปสู่ชนอีกรุ่นหนึ่ง
5. มีพื้นฐานมาจากการใช้สัญลักษณ์ คือ ภาษา ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ใช้สื่อสารและส่งทอดความรู้ต่าง ๆ
6. มีลักษณะเป็นสากล ใช้ในระดับกว้าง หรืออาจใช้ในระดับแคบเฉพาะกลุ่มคนก็ได้ ฯลฯ
11. ข้อใดคือวัฒนธรรมที่มนุษย์สร้าง
(1) วิถีประชา จารีต
(2) การเพาะปลูก
(3) การทำเหมืองฝาย
(4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 10, (คำบรรยาย) “วัฒนธรรม” ในความหมายหนึ่ง หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ สร้างขึ้นทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม เพื่อเป็นแบบแผนพฤติกรรมให้แก่สมาชิกและเพื่อ อำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต ซึ่งในความหมายนี้แสดงให้เห็นว่าสังคมกับวัฒนธรรม เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
12. ข้อใดคือวัฒนธรรมสากล
(1) การนับถือศาสนา
(2) การไหว้ทักทาย
(3) การนับถือไสยศาสตร์
(4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 10, (คำบรรยาย) วัฒนธรรมอาจใช้ในระดับกว้าง หรือเรียกว่าวัฒนธรรมสากล คือ วัฒนธรรม ที่ทุกสังคมมีเหมือนๆ กัน เช่น ภาษา (ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน) ศาสนา กฎหมาย ฯลฯ หรือใช้ในระดับแคบ คือ วัฒนธรรมเฉพาะกลุ่มคนในสังคมใดสังคมหนึ่ง เช่น สังคมไทยมี วัฒนธรรมการไหว้เพื่อแสดงความเคารพ มีการรับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก มีการนับถือ ผู้สูงอายุ มีความเชื่อเรืองไสยศาสตร์และโหราศาสตร์ ฯลฯ
13. สินค้าโอท็อปของไทย เป็นวัฒนธรรมในความหมายใด
(1) สิ่งที่ดีงาม ดีเลิศ มีคุณค่า (2) ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้น
(3) วิถีชีวิต (4) วัฒนธรรมดั้งเดิม
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 11. ประกอบ
14. “วัฒนธรรม” ประกอบด้วยอะไรบ้าง
(1) ทัศนคติ ค่านิยม (2) ประเพณี (3) ลักษณะนิสัยของคน (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 12 วัฒนธรรมในแต่ละสังคมประกอบด้วย 2 ส่วนดังนี้
1. วัฒนธรรมหลักหรือวัฒนธรรมหลวง คือ วัฒนธรรมส่วนรวมของคนในสังคม เช่น ภาษา กฎหมาย ศาสนา การละเล่นบางอย่าง แบบแผนพฤติกรรม จารีตประเพณี ฯลฯ
2. วัฒนธรรมรองหรือวัฒนธรรมราษฎร์ คือ วัฒนธรรมเฉพาะกลุ่มเฉพาะภาค เช่น ความเชื่อ สำเนียงภาษา ทัศนคติ ค่านิยม ลักษณะนิสัย กิริยาท่าทาง ทักษะในการประกอบอาชีพ ฯลฯ
15. ในอดีตมนุษย์คิดสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่ออะไร
(1) ตอบสนองความตองการด้านชีวภาพ (2) แสดงความสามารถด้านสมอง
(3) เสริมสร้างความสบาย (4) ถูกทั้งหมด
ตรม 1 หน้า 44 – 45, (คำบรรยาย) ปัจจัยที่ทำให้สังคมมนุษย์สร้างวัฒนธรรมและคิดสร้างสรรค์เทคโนโลยีหรือสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา มี 3 ระดับ คือ 1. ความต้องการด้านชีวภาพ (ปัจจัยสี่) เป็นความต้องการเบื้องต้นในอดีตของมนุษย์เพื่อการมีชีวิตรอด
2. ความต้องการด้านจิตวิทยา เป็นความต้องการเกี่ยวกับความมั่นคง ปลอดภัย สะดวกสบาย
3. ความต้องการด้านสังคม เป็นความต้องการเพื่อการมีชีวิตที่ดีที่สุด
16. สังคมคืออะไร
(1) แบบแผนพฤติกรรม (2) คนที่มาอยู่รวมกันและสัมพันธ์กัน
(3) กฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกัน (4) กฎเกณฑ์ในการควบคุมคนที่มาอยู่ร่วมกัน
ตอบ2 หน้า 12, (คำบรรยาย) สังคม หมายถึง กลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่มาอยู่รวมกันและมีความสัมพันธ์กันโดยที่รูปแบบความสัมพันธ์นันย่อมเป็นไปตามแบบแผนหรือวัฒนธรรมที่สังคมกำหนด เพราะคนในสังคมใดย่อมต้องได้รับการถ่ายทอด อบรมขัดเกลา ให้ต้องปฏิบัติตามแบบแผนของสังคมนั้น
17. “วัฒนธรรมเป็นตราประจำสังคม” เป็นคำกล่าวของนักวิชาการท่านใด
(1) สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2) อี. บี. ไทเลอร์
(3) พัทยา สายหู (4) ประเสริฐ แย้มกลิ่นฟุ้ง
ตอบ 3 หน้า 13 พัทยา สายหู กล่าวว่า วัฒนธรรมเป็นตราประจำสังคม คือ เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอก ให้รู้ว่าคนเหล่านั้นเป็นสมาชิกของกลุ่มเดียวกันหรือต่างกลุ่มกัน
18. ข้อใดคือ “คนไทย” ตามกฎหมาย
(1) คนชาติพันธุ์ไทย (2) คนที่ถือสัญชาติไทย
(3) คนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย (4) คนที่จำแนกไม่ได้ว่าเป็นคนชาติใด
ตอบ 2 หน้า 14, (คำบรรยาย) คนไทยในความหมายที่เรากำลังศึกษาในวิชานี้ หมายถึง สังคมไทยหรือ กลุ่มคนขนาดใหญ่ที่ถือสัญชาติไทยตามกฎหมาย ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ย่อย ๆ มากมาย
19. สังคมไทยหลากหลายในด้านใด
(1) พันธุ์พืชแสะสัตว์ (2) ชาติพันธุ์ (3) ประเพณี (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 14 – 15, (คำบรรยาย) การศึกษาสังคมไทยจำเป็นต้องใช้ความรู้แบบ “สหวิทยาการ” ซึ่งเป็นความรู้หลายสาขาประกอบกัน เนื่องจากสังคมไทยมีความหลากหลายในหลายด้าน คือ
1. สังคมไทยมีลักษณะ “วิวิธพันธุ์” คือ มีความแตกต่างหลากหลายในด้านชาติพันธุ์
2. สังคมไทยในแต่ละภูมิภาคและแต่ละท้องถิ่นมีโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมย่อย ของตนเองแตกต่างกันไป ทำให้มีระบบความคิด ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรมที่ต่างกัน
3. สังคมไทยมีความแตกต่างด้านกายภาพของสิ่งแวดล้อมดินฟ้าอากาศหรือสภาพภูมิศาสตร์ ทำให้มีลักษณะพันธุ์พืชและประเภทของสัตว์ที่อาศัยอยู่แตกต่างกันไป
20. การศึกษาสังคมไทยในมิติทางมานุษยวิทยา เกิดขึ้นเมื่อไร
(1) ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 (2) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
(3) หลัง 14 ตุลาคม 2516 (4) ในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา
ตอบ 2 หน้า 16 – 18 การศึกษาสังคมและวัฒนธรรมไทยมีพัฒนาการแบ่งออกเป็น 3 ยุค ดังนี้
1. ยุคแรกช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 การศึกษาเป็นแบบพรรณนาหรือบรรยายแบบแผน การดำเนินชีวิตของคนไทย ซึ่งเป็นการศึกษาค้นคว้าจากบันทึกและประสบการณ์ของพ่อค้า ข้าราชการ มิชชันนารี ตลอดจนทูตประเทศต่าง ๆ
2. ยุคภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มมีการศึกษาสังคมไทยในเชิงมานุษยวิทยา โดยจะ อยู่ภายใต้กรอบของแนวคิดทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่เป็นหลัก
3. ยุคภายหลังการเปลี่ยนแปลงวันที่ 14 ตุลาคม 2516 การศึกษาได้ฉีกแนวออกมาสนใจ ความขัดแย้ง ความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม
21. ชนชาติใดเรียกดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่า “สุวรรณภูมิ”
(1) ชาวยุโรป
(2) ชาวอินเดีย
(3) ชาวจีน
(4) ชาวเปอร์เซีย
ตอบ 2 หน้า 18, 26 – 27 สุวรรณภูมิ หมายถึง ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด หรืออุษาคเนย์ซึ่งประกอบด้วย ไทย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา (เขมร) มาเลเซีย อินโดนีเชีย สิงคโปร์ บรูไน และฟิลิปปินส์ โดยคำว่า สุวรรณภูมิ มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต 2 คำ คือ สุวรรณ + ภูมิ แปลว่า แผ่นดินทอง หรือแหลมทอง ซึ่งเป็นคำที่ชาวอินเดียโบราณที่เข้ามาติดต่อแลกเปลี่ยน สิ่งของเป็นผู้ใช้เรียก เพราะดินแดนแถบนี้มีความมังคั่งในด้านทรัพยากรธรรมชาติ
22. สังคมไทยตั้งอยู่ส่วนใดของเอเชีย
(1) ตอนกลางของเอเชีย
(2) ทิศใต้
(3) ทิศตะวันออก
(4) ทิศตะวันออกเฉียงใต้
ตอบ 4 หน้า 18 สังคมไทยตั้งอยู่กึ่งกลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออุษาคเนย์(ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชีย) มีลักษณะเป็นผืนแผ่นดินที่ยาวยื่นลงไปทางทิศใต้ ซึ่งเป็น คาบสมุทร และมีทะเลขนาบ 2 ด้าน คือ ทะเลจีนในมหาสมุทรแปซิฟิกอยู่ทางทิศตะวันออก กับทะเลอันดามันในมหาสมุทรอินเดียอยู่ทางทิศตะวันตก
23. สังคมไทยมีพื้นที่ติดกับทะเลใด
(1) จีนและอินเดีย (2) จีนและอันดามัน (3) จีนและแปซิฟิก (4) แปซิฟิก
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 22. ประกอบ
24. ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน ไทยเข้าสู่ช่วงฤดูแล้งเพราะอะไร
(1) เกิด เอล-นิโน่ (2) ลมมรสุมตะวันศกเฉียงใต้พัดผ่าน
(3) ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่าน (4) ลมมรสุมจากทะเลจีนใต้พัดผ่าน
ตอบ 3 หน้า 18 ประเทศไทยมีลมมรสุมจากทะเลทั้ง 2 ด้านพัดผ่าน จึงทำให้เกิดฤดูกาลที่สำคัญ 2 ฤดู คือ
1. ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม เนื่องจากมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน
2. ฤดูแล้ง เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน เนื่องจากมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่าน
25. มีหลักฐานระบุว่าไทยมีการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับประเทศอื่นมาตั้งแต่โบราณ เป็นเพราะปัจจัยใด
(1) ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ (2) การมีพื้นที่ติดทะเล
(3) ความหลากหลายทางชีวภาพ (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 19 ประเทศไทยในอดีตเป็นสังคมที่อุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมีความหลากหลายทางชีวภาพ นั่นคือ มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งทรัพยากรธรรมชาติและพืชพันธุ์ธัญญาหาร และยังมีพื้นที่ติดทะเล จึงมีการเดินเรือติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศที่อยู่ห่างไกล มาตั้งแต่สมัยโบราณและเป็นตัวเชื่อมโยงการแลกเปลี่ยนค้าขายระหว่างตะวันตกกับตะวันออก
26. “สยาม” เป็นชื่อเรียกประเทศไทยตั้งแต่สมัยใด
(1) สุโขทัย (2) กรุงศรีอยุธยา (3) สงครามโลกครั้งที่ 1 (4) สงครามโลกครั้งที่ 2
ตอบ 2 หน้า 20 คำว่า “สยาม” นั้น นายปรีดี พนมยงค์ เคยเขียนไว้ว่า มีการใช้ชื่อสยามมาตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีจนถึงสมัยรัชกาลที่ 1 แต่ต่อมาในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2482 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็ได้ประกาศรัฐนิยมให้ใช้ชื่อ “ประเทศไทย” แทน โดยให้ใช้คำว่า “ไทย” แทนคำว่า “สยาม” นับแต่นั้นจะต้องเรียกคนไทยว่าไทย และเรียกประเทศว่าประเทศไทย
27. หนังสือ “หลักไทย” ของขุนวิจิตรมาตรา ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของนักวิชาการท่านใด
(1) หมอด๊อดด์ (2) สุด แสงวิเชียร
(3) สมศักดิ์ พันธุ์สมบุญ (4) ประเสริฐ แย้มกลิ่นฟุ้ง
ตอบ1 หน้า 21, 23 William Clifton Dodd (หมอด๊อดด์) เป็นหมอสอนศาสนาชาวอเมริกันที่ได้ เขียนหนังสือชื่อ “เชื่อชาติไทย พี่ชายของคนจีน” ขึ้น โดยเขามีความเชื่อว่า ถิ่นเดิมของไทย อยู่แถบเทือกเขาอัลไต (จีน) ซึ่งเขาได้ยืนยันแนวคิดนี้โดยใช้หลักฐานด้านภาษาพูด (ภาษาไต) และชาติพันธุ์มองโกลอยด์เป็นหลัก ทำให้แนวคิดนี้ได้รับการยอมรับและมีอิทธิพลครอบงำ สังคม ไทยอยู่เป็นเวลายาวนาน ดังจะเห็นได้จากหนังสือชื่อ “หลักไทย” ของขุนวิจิตรมาตรา และยังปรากฏอยู่ในแบบเรียนของไทย แต่ปัจจุบันได้รับการยอมรับน้อยมาก
28. อะไรคือหลักฐานที่หมอด๊อดด์ใช้ยืนยันว่าถิ่นเดิมของไทยอยู่ที่อัลไต
(1) ภาษาพูด
(2) ภาษาและวัฒนธรรม (3) การสืบเชื้อสายทางมารดา (4) จดหมายเหตุของจีน
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 27. ประกอบ
29. สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเชื่อว่าถิ่นเดิมของไทยอยู่ที่ใด
(1) อัลไต
(2) ยูนนาน กุ้ยโจ กวางสี เสฉวน (3) อาณาจักรศรีวิชัย (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 2 หน้า 21 – 22, (คำบรรยาย) สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนอว่า ถิ่นเดิมของชนชาติไทย อยู่ทางตอนใต้ของจีนแถบมณฑลยูนนาน กุ้ยโจ กวางสี และเสฉวน ซึ่งสอดคล้องกับลาคูเพอรี่ ที่ได้เสนอว่า ถิ่นเดิมของไทยอยู่แถบกวางตุ้ง กวางไส กุยจิ๋ว เสฉวน และยูนนาน ตลอดจน นักประวัติศาสตร์รุ่นใหม่ที่ชื่อ วัยอาจ (Wyatt) และนักภาษาศาสตร์อีกหลายท่าน เช่น จิตร ภูมิศักดิ์ และปรีดี พนมยงค์ ก็เห็นในทำนองเดียวกัน โดยอยู่บนพื้นฐานที่ว่าคนแถบนี้ มีภาษาและวัฒนธรรมคล้ายคลึงกับไทย
30. นักวิชาการท่านใดยืนยันว่าคนไทยมิได้อพยพมาจากที่ใด
(1) สุด แสงวิเชียร (2) สุจิตต์ วงษ์เทศ (3) ศรีศักร วัลลิโภดม (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 17, 22, (คำบรรยาย) นายแพทย์สุด แสงวิเชียร ได้เปรียบเทียบโครงกะโหลกของ คนไทยปัจจุบันกับกะโหลกของมนุษย์ยุคหินใหม่ซึ่งพบที่ตำบลบ้านเก่า จ.กาญจนบุรี พบว่า โครงกะโหลกทั้งคู่ไม่มีลักษณะแตกต่างกันอย่างชัดเจนพอที่จะแบ่งเป็นคนละเชื้อชาติได้ เขาจึงได้ข้อสรุปและเขียนหนังสือชื่อว่า “คนไทยอยู่ที่นี่” ซึ่งเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับ สุจิตต์ วงษ์เทศ และศรีศักร วัลลิโภดม ที่ใช้หลักฐานด้านโบราณคดีก่อนสมัยประวัติศาสตร์ มาแสดงพัฒนาการของมนุษย์ สังคม และวัฒนธรรม โดยทั้งหมดสรุปว่า คนไทยไม่ได้อพยพ มาจากไหน แต่เป็นชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ที่นี่ (สุวรรณภูมิ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)มาตั้งแต่เดิม และปัจจุบันแนวคิดนี้ก็ได้รับความสนใจมากขึ้น
31. ถิ่นเดิมของไทยอยู่ทางใต้แถบคาบสมุทรมลายูและชวา อยู่บนหลักฐานอะไร
(1) ภาษาและวัฒนธรรม
(2) เปรียบเทียบโครงกระดูก
(3) ยีนในเม็ดเลือด
(4) พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม
ตอบ 3 หน้า 22 – 23, (คำบรรยาย) นายแพทย์สมศักดิ์ พันธุ์สมบุญ เสนอว่า ถิ่นเดิมของไทยอยู่ ทางใต้แถบคาบสมุทรมลายูและชวา (อาณาจักรศรีวิชัย) เนื่องจากเมื่อเขาได้เปรียบเทียบความถี่ของยีนระหว่างคนไทยกับคนจีนและคนอินโดนีเซียแล้ว พบว่ายีนของคนไทยคล้ายคลึงกับยีน ของคนอินโดนีเซียมากกว่าของคนจีน ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของนายแพทย์ประเวศ วะสี และเสมอชัย พูลสุวรรณ ที่ยืนยันว่าคนไทยไม่ได้สืบเชื้อสายมาจากจีน โดยทั้งหมดใช้หลักฐาน การทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้านพันธุกรรมด้วยวิธีการตรวจสอบยีน (DNA) ในเม็ดเลือด เป็นเกณฑ์ไนการกำหนดเชื้อชาติ
32. สังคมไทยขยายตัวกว้างขวางเนื่องมาจากอะไร
(1) การอพยพของคนจากภายนอกเข้ามา
(2) การแลกเปลี่ยนทางสังคม
(3) ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามธรรมชาติ
(4) การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม
ตอบ3 หน้า 32, (คำบรรยาย) สังคมไทยในปัจจุบันได้ขยายตัวอย่างกว้างขวาง เนื่องมาจากประชากรไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามธรรมชาติ โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 9 แห่งยุครัตนโกสินทร์ตอนปลาย ซึ่งเป็นรัชกาลปัจจุบัน ถือเป็นช่วงที่ประชากรไทยมีจำนวนเพิ่มมากที่สุด เพราะเป็นระยะที่ประเทศไทย มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้คนอายุยืนขึ้น ในขณะที่คนเกิดเท่าเดิมแต่คนตายน้อยลง
33. ประชากรไทยมีเชื้อชาติอะไร
(1) คอเคซอยด์ (2) มองโกลอยด์ (3) ออสโตรลอยด์ (4) นิกรอยด์
ตอบ 2 หน้า 19, 23 ประชากรทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเชื้อชาติมองโกลอยด์ (Mongoloid) หรือผิวเหลืองเหมือนกัน แต่อาจจำแนกได้เป็นหลายชาติพันธุ์ตามสภาพภูมิศาสตร์และเวลา
34. ข้อใดคือกลุ่มชาติพันธุ์เร่ร่อน
(1) มองโกลอยด์ (2) ออสโตรลอยด์ (3) ออสโตรนีเชียน (4) ไทย-ลาว
ตอบ 2 หน้า 23 – 24, (คำบรรยาย) กลุ่มชนดั้งเดิมหรือชาติพันธุเร่ร่อนที่อาศัยอยู่ใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มี 2 กลุ่ม คือ
1. ออสโตรลอยด์ (Austroioid) เป็นพวกทื่มีรูปร่างสูงเพรียว ผมหยักศกเป็นคลื่น ปากหนา ผิวคล้ำ ปัจจุบันคือชนพื้นเมืองของศรีลังกาและออสเตรเลีย รวมทั้งพวกผีตองเหลือง
2. นิกริโตหรือนิกรอยด์ (Nigroid) เป็นพวกที่มีรูปร้างเตี้ย ผิวดำ ปากหนา ผมหยิกหยอย ปัจจุบันอาศัยอยู่ตามเกาะในทะเลอันดามัน เช่น พวกมอร์แกนหรือชาวเล และอาศัยอยู่ บนคาบสมุทรมลายูทางใต้ของไทย เช่น พวกเงาะชาไก เป็นต้น
35. “ออสโตรนีเชียน” หมายถึงมนุษย์กลุ่มใด
(1) มนุษย์ยุคหินใหม่ (2) ชนพื้นเมืองออสเตรเลีย
(3) กลุ่มคนในคาบสมุทรมลายู (4) เงาะซาไกและผีตองเหลือง
ตอบ 1 หน้า 24 กลุ่มชนที่เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งรกรากกลุ่มแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ พวกออสโตรนีเชียน (Austronesian) ซึ่งเป็นพวกมีผมดำเหยียดตรงและผิวค่อนข้างเหลือง เชื่อกันว่าเป็นพวกมองโกลอยด์ที่ย้ายมาจากทางใต้ของจีนตั้งแต่ยุคหินใหม่ ซึ่งเมื่ออพยพ เข้ามาก็สามารถขยายชุมชนได้เร็ว และได้กลายเป็นบรรพบุรุษของชนชาติต่าง ๆ ใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
36. เพราะเหตุใดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงถูกเรียกว่า “อินโดจีน”
(1) เคยถูกครอบงำโดยจีนและอินเดีย (2) อยู่ติดกับจีนและอินเดีย
(3) วัฒนธรรมเป็นแบบจีนและอินเดีย (4) ประชากรมีชาติพันธุ์จีนและอินเดีย
ตอบ 3 หน้า 26, (คำบรรยาย) ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออุษาคเนย์หรือสุวรรณภูมินั้น แต่เดิมชาวตะวันตกจะเรียกว่า “อินโดจีน” เนื่องจากอยู่ตรงกลางระหว่างอินเดียและจีน นอกจากนี้ยังมือคติว่าพื้นที่แถบนี้เป็นสังคมป่าเถื่อน ไม่มีวัฒนธรรม ดังนั้นจึงถูกครอบงำ โดยวัฒนธรรมอินเดียและวัฒนธรรมจีน
37. เพราะเหตุใดกลุ่มล่างจึงขยายตัวเติบโตเร็วกว่ากลุ่มบน
(1) การติดต่อกับคนต่างกลุ่มสะดวก (2) มีทรัพยากรธรรมชาติมาก
(3) ประชากรมาก (4) มีการใช้เทคโนโลยี
ตอบ 1 หน้า 27, (คำบรรยาย) พื้นที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากมองโดยใช้ทะเลเป็นเกณฑ์ จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มบน ได้แก พื้นที่ทางตอนใต้ของจีน ตอนเหนือของอินเดีย พม่า ลาว เวียดนาม กลุ่มนี้พัฒนาการช้าเพราะอยู่ห่างไกลทะเล การติดต่อคมนาคมจึงลำบาก 2. กลุ่มล่าง ได้แก่ บริเวณที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน มาเลเซีย และหมู่เกาะทางตอนใต้ เป็นกลุ่มที่มีพัฒนาการของชุมชนขยายตัวเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการติดต่อแลกเปลี่ยน สังสรรค์กับชาวต่างชาติหรือคนต่างกลุ่มได้สะดวก เพราะอยู่ติดทะเล
38. อะไรคือปัจจัยที่ทำให้มนุษย์ยุคแรกตั้งถิ่นฐานอยู่กับที่
(1) สภาพดินฟ้าอากาศเหมาะสม (2) เริ่มมีการเพาะปลูก
(3) การสร้างสรรค์วัฒนธรรมใหม่ (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 2 หน้า 27 – 28 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มนุษย์ยุคแรกตั้งถิ่นฐานถาวร ได้แก่ การเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งจะทำให้มนุษย์ไม่ต้องเดินทางโยกย้ายร่อนเร่หาอาหารเพื่อยังชีพอีกต่อไป
39. อะไรคือปัจจัยที่ทำให้แอ่งโคราชขยายตัวก้าวหน้าเร็วกว่าแอ่งสกลนคร
(1) พืช สัตว์ สมบูรณ์ (2) ประชากรมาก (3) มีแร่เหล็กและเกลือ (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 3 หน้า 29, (คำบรรยาย) ในบริเวณที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน แอ่งโคราชซึ่งเป็นพื้นที่ทางอีสาน- ตอนใต้ ถือเป็นชุมชนโบราณที่เก่าแก่ที่สุด เนื่องจากเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มากมาย โดยเฉพาะแร่เหล็กและเกลือสินเธาว์ จึงทำให้แอ่งโคราชกลายเป็นศูนย์กลางของการค้า การแลกเปลี่ยน ซึ่งมีชนต่างถิ่นอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นจำนวนมาก จึงพัฒนาขยายตัวเป็นเมือง ได้ก้าวหน้าเร็วกว่าแอ่งสกลนครและเมืองในภาคกลาง เช่น อู่ทอง และสุพรรณบุรี
40. ข้อใดคือลักษณะของสังคมไทยปัจจุบันที่สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้
(1) ระบบอุปถัมภ์
(2) ระบบเครือญาติ
(3) ระบบช่วยเหลือกันระหว่างคนที่มีฐานะแตกต่าง
(4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 34 – 35, (คำบรรยาย) ความสัมพันธ์ทางสังคมของไทยในปัจจุบันที่ถือเป็นมรดกสืบทอดมาจากระบบความสัมพันธ์ในอดีต คือ ระบบอุปถัมภ์หรือระบบเครือญาติ (Patron-client Relationship) ในลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างคนที่มีฐานะต่างกัน เช่น ผู้ใหญ่กับผู้น้อย หรือนายกับบ่าวที่ต่างยอมรับต่อกัน มีหน้าที่ช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยต่อกัน และจะขาดเสีย ซึ่งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปไม่ได้
41. การจะเข้าใจสังคมไทยจะต้องศึกษาในภูมิภาคใด
(1) เอเชียตะวันออก
(2) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(3) เอเชียกลาง
(4) เอเชียใต้
ตอบ 2 หน้า 26 การศึกษาความเป็นมาของซนชาติไทยจะต้องศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ ของภูมิภาค- เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย จะศึกษาย้อนไปแค่อาณาจักรสุโขทัยไม่ได้ เนื่องจากพื้นที่นี้เป็น ลักษณะสังคมที่เรียกว่า วิวิธพันธุ์ คือ มีประชากรเผ่าพันธ์ต่าง ๆ มาอยู่รวมกัน ซึ่งมีลักษณะ เป็นเผ่าพันธุ์ผสมจากหลายเผ่าพันธุ์ปะปนกัน ตลอดจนมีการแลกเปลี่ยนและมีพัฒนาการทาง ด้านสังคมและวัฒนธรรมร่วมกัน เพราะฉะนั้นการที่จะเข้าใจสังคมไทยจึงต้องทำความเข้าใจ พัฒนาการของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด
42. เพราะเหตุใดจีนและอินเดียจึงเข้าสู่ยุคหินใหม่ก่อนประเทศต่าง ๆ ในสุวรรณภูมิ
(1) จีนและอินเดียฉลาดกว่า
(2) สุวรรณภูมิคนน้อยแต่มีอาหารอุดมสมบูรณ์
(3) จีนและอินเดียเกิดก่อนสุวรรณภูมิ
(4) ผิดทั้งหมด
ตอบ.2 หน้า 28 การที่จีนและอินเดียเข้าสู่ยุคหินใหม่ก่อนประเทศต่าง ๆ ในสุวรรณภูมินั้น ไม่ใช่ เพราะว่าคนในสุวรรณภูมิโง่กว่าจีนและอินเดีย แต่เป็นเพราะคนในสุวรรณภูมิอยู่กันอย่างสุขสบาย มีคนน้อยแต่อาหารอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นความจำเป็นในการสร้างเทคโนโลยีต่าง ๆ ขึ้นมาใช้ จึงมีน้อย ทำให้เกิดความล้าหลังและด้อยกว่าในเชิงวัฒนธรรมเมื่อเทียบกับจีนและอินเดีย
43. เพราะเหตุใดกลองมโหระทึกจึงปรากฎอยู่ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(1) การย้ายถิ่นที่อยู่ของคน (2) การติดต่อสัมพันธ์กันทางเศรษฐกิจและสังคม
(3) ระบบความคิดคล้ายคลึงกัน (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 2 หน้า 29 การชุดค้นพบกลองมโหระทึกหรือกลองกบ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระจายอยู่ตามที่ต่าง ๆ แม้แต่อินโดนีเซียที่เป็นหมู่เกาะก็ยังขุดค้นพบ แสดงให้เห็นว่าคนในภูมิภาคนี้มีการติดต่อสัมพันธ์กันทางเศรษฐกิจและสังคมมาเป็นเวลาช้านาน และยังมีการติดต่อกับคนที่อยู่ห่างไกลออกไปในทะเล
44. ปัจจัยใดส่งผลให้อู่ทองขยายตัวเป็นเมืองขนาดเล็ก
(1) ที่ตั้งอยู่ที่ราบลุ่มนํ้าท่าจีน (2) มีการขุดพบทองเป็นจำนวนมาก
(3) หัวหน้าชุมชนฉลาดและเข้มแข็ง (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 29 – 30 ปัจจัยที่ส่งผลให้เมืองอู่ทองขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเมืองอู่ทองตั้งอยู่ ที่ราบลุ่มนํ้าท่าจีนและแม่กลอง จึงทำให้สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนค้าขายทางทะเลกับชุมชนภายนอก พร้อมกับมีการรับเอาวัฒนธรรมอินเดียมาใช้กับวัฒนธรรมท้องถิ่นของตน ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้ ชุมชนแถบนี้รวมทั้งอู่ทองขยายตัวเป็นเมืองขนาดเล็ก และพัฒนาเจริญขึ้นอย่างรวดเร็วมากกว่า ดินแดนตอนใน
45. ชุมชนต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใตัได้รับวัฒนธรรมด้านใดจากการติดต่อกับอินเดีย
(1) ความเชื่อด้านศาสนาพุทธ (2) ความเชื่อในพระพรหมผู้สร้าง
(3) การปกครองระบบกษัตริย์ (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 30 เมื่อราว 2,500 บ อินเดียได้เข้ามาติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าและวัฒนธรรม กับชุมชนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือสุวรรณภูมิ จนทำให้นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสในอดีต เชื่อว่าอินเดียเข้ามาครอบครองชุมชนแถบนี้ และนำเอาวัฒนธรรมด้านศาสนา ความเชื่อ ตลอดจนการปกครองระบบกษัตริย์มาให้ จึงเรียกชุมชนแถบนี้ว่า “Greater India”
46. ประชากรไทยเพิ่มมากที่สุดในยุคใด
(1) พ่อขุนรามคำแหงมหาราช (2) สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
(3) สมเด็จพระปิยมหาราช (4) รัชกาลที่ 9
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 32. ประกอบ
47. กลุ่มสังคมใดมีมากที่สุดในประเทศไทย
(1) ไทย-ลาว (2) ไทย-มาเลย์ (3) ชนต่างด้าว (4) ชาติตะวันตก
ตอบ 1 หน้า 33 – 34 โครงสร้างสังคมไทยประกอบด้วยสังคมย่อย ๆ หลายกลุ่มชาติพันธ์ ได้แก่
1.ไทย-ลาว เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีมากที่สุดในสังคมไทย 2. ไทย-มาเลย์ มีอยู่มากที่สุดใน
ภาคใต้ของไทย 3. เขมร ส่วย กุย มอญ ส่วนใหญ่อยู่กระจัดกระจายแถบภาคอีสานของไทย
4. เกรียง มีมากที่สุดทางภาคเหนือของไทย และอยู่กระจัดกระจายแถวจังหวัดราชบุรีและกาญจนบุรี
5. ชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางเหนือของไทย เช่น กะเหรี่ยง อาข่า ลื้อ มูเซอ
6. ชาวป่า มือยู่ไม่มากในปัจจุปัน เช่น ผีตองเหลือง เซมัว ซาไก 7. ชาวนํ้า เป็นชนพื้นเมือง
ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ตามริมฝั่งทะเลทางภาคใต้ 8. ชนต่างด้าว ส่วนใหญ่จะอยู่ตามเขตเมือง เช่น
คนจีน อินเดีย และชาวตะวันตกประเทศต่าง ๆ
48. ข้อใดคือสถาบันพื้นฐานของสังคมไทย
(1) สถาบันกษัตริย์ (2) สถาบันศาสนา (3) สถาบันชาติ (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 2 หน้า 35 สถาบันพื้นฐานของสังคมไทยมี 5 สถาบัน คือ ครอบครัว การศึกษา ศาสนา เศรษฐกิจและการเมืองการปกครอง ซึ่งในทางมานุษยวิทยากล่าวว่า สถาบันทางสังคมตาง ๆ นั้น มนุษย์สร้างขึ้นมาก็เพื่อตอบสนองความต้องการในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์นั่นเอง
49. การศึกษาสังคมไทยควรใช้ความรู้ที่เหมาะสมแบบใด
(1) ประวัติศาสตร์ (2) โบราณคดี (3) สหวิทยาการ (4) มานุษยวิทยา
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 19. ประกอบ
50. “เศรษฐกิจแบบพอเพียง” ปรากฏขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่
(1) ก่อนมีสนธิสัญญาบาวริ่ง (2) สมัยรัชกาลที่ 9
(3) หลังปี 2540 ฟองสบู่แตก (4) ยุคปัจจุบัน
ตอบ 1 หน้า 38, (คำบรรยาย) ในสมัยรัชกาลที่ 4 ประเทศไทยได้ตกลงทำสนธิสัญญาบาวริ่งกับอังกฤษ ทำให้ประเทศไทยต้องมีการเปิดประเทศค้าขายกับต่างชาติมากขึ้น ซึ่งนับเป็นก้าวย่างสำคัญที่ ทำให้ระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงของไทยในอดีต เริ่มเปลี่ยนแปลงอย่างมากครั้งแรกไปสู่การผลิต เพื่อขายในทางการค้า และมีการบริโภคสินค้าอื่น ๆ มากขึ้น
51. ในอดีตการส่งทอดองค์ความรู้และความเชื่อต่าง ๆ เป็นหน้าที่ของสถาบันใด
(1) ครอบครัว
(2) ศาสนา
(3) การศึกษา
(4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 39 – 40 สถาบันการศึกษา เป็นแบบแผนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดองค์ความรู้ ประเพณี วัฒนธรรม แบบแผนการดำรงชีวิต ตลอดจนความเชื่อและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของสังคม จากชนรุ่นหนึ่งไปสู่ชนอีกรุ่นหนึ่ง ซึ่งในอดีตสถาบันที่ทำหน้าที่นี้ ได้แก่ ครอบครัว ศาสนา (วัด) และวัง
52. สถาบันใดช่วยพัฒนาบุคลิกภาพฃองคนให้มีความมั่นคง
(1) ครอบครัว
(2) การศึกษา
(3) ศาสนา
(4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 2 หน้า 39 หน้าที่ของสถาบันการศึกษา ได้แก่ 1. ถ่ายทอดวัฒนธรรม โดยการอบรม-ขัดเกลาสมาชิกทั้งทางตรงและทางอ้อมให้รู้และประพฤติปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม
2. ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพของคนให้มีความมั่นคง 3. ช่วยฝึกหัดแรงงานเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
53. สังคมไทยปัจจุบันมีการแบ่งกลุ่มทางสังคมแบบใด
(1) ชนชั้นสูง-สามัญชน
(2) ชนชั้นสูง ชั้นกลาง ชั้นตํ่า
(3) ขุนนาง-ไพร่
(4) กษัตริย์-ไพร่
ตอบ 2 หน้า 35 โครงสร้างชองสังคมไทยปัจจุบันถูกกำหนดโดยใช้ลักษณะอาชีพ ตำแหน่งหน้าที่การงาน การพึ่งพาอาศัย และฐานะทางสังคม ทำให้โครงสร้างของสังคมไทยในปัจจุบันนั้นมีการแบ่งกลุ่ม ทางสังคมออกเป็น 3 ชนชั้น ได้แก่ 1. ชนชั้นสูง 2. ชนชั้นกลาง 3. ชนชั้นตํ่า
54. สังคมไทยมีการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ตามแบบตะวันตกในยุคใด
(1) รัชกาลที่ 4 (2) รัชกาลที่ 5 (3) รัชกาลที่ 7 (4) รัชกาลที่ 9
ตอบ 2 หน้า 44 ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประเทศตะวันตกได้เข้ามาแสวงหาอาณานิคมในประเทศ แถบตะวันออก ทำให้ในสมัยรัชกาลที่ 4 สังคมไทยได้ตระหนักถึงภัยที่จะเกิดขึ้น จึงเริ่ม ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองของไทยใหม่ และยกเลิกกฎเกณฑ์บางอย่างที่ไม่ทันสมัย เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเก่าแก่และอารยธรรมของสังคมไทย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 สังคมไทย จึงได้มีการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ตามแบบประเทศตะวันตกขึ้น
55. วัฒนธรรมไทยปัจจุบันมีที่มาจากที่ใด
(1) บรรพบุรุษเป็นผู้สร้าง (2) ศาสนาพุทธและพราหมณ์
(3) การติดต่อกับชนต่างวัฒนธรรม (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 45 – 46 วัฒนธรรมไทยปัจจุบันมีที่มาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ 1. สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษเป็นผู้คิดสร้างขึ้นจากการบ่รับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เพื่อการมีชีวิตรอด 2. ความเชื่อทางด้านศาสนาพุทธและพราหมณ์ซึ่งรับมาจากอินเดีย รวมทั้งความเชื่อดั้งเดิม 3. การติดต่อสัมพันธ์และสังสรรค์กับชนต่างสังคมต่างวัฒนธรรมอื่น ๆ
56. พฤติกรรมใดแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ในแนวดิ่งของคนไทย
(1) ภาษาพูดและเขียน (2) การไหว้ (3) กิริยาท่าทาง (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 46 – 47 วัฒนธรรมไทยแนวดิ่ง คือ ความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างวัฒนธรรมเจ้ากับไพร่ ซึ่งเป็นความแตกต่างด้านสถานภาพ เพราะคนแต่ละคนจะมีสถานะที่ลดหลั่นกันเป็นลำดับใน โครงสร้างของสังคม โดยแบบแผนพฤติกรรมที่แสดงถึงความไม่เท่าเทียมกันในแนวดิ่ง ได้แก่
1. ภาษากาย (กิริยาท่าทาง) หรีอที่เรียกว่ากิริยามารยาท เช่น การไหว้ การเดินสวนกัน ฯลฯ
2. ภาษาพูดและภาษาเขียน 3. ความแตกต่างในศักดิ์ของร่างกาย เช่น เท้าตํ่าสุด หัวสูงสุด เป็นต้น
57. “วัฒนธรรมแห่งชาติ” ของไทยเป็นวัฒนธรรมของชนชั้นใด
(1) ชั้นสูง (2) ชั้นกลาง (3) ชาวบ้าน (4) ชาวไร่ชาวนา
ตอบ 1 หน้า 47 เมื่อสังคมไทยพัฒนาเป็นสังคมสมัยใหม่ มีระบบโรงเรียน โรงงาน และราชการสังคมไทยได้เลือกเอาวัฒนธรรมของชนชั้นสูงเป็น “วัฒนธรรมแห่งชาติ” ดังนั้นความสัมพันธ์ ทางสังคมในแนวดิ่งจึงกลายเป็นแบบแผนของความสัมพันธ์ในสังคมไทยไปโดยปริยาย
58. ผู้นำท่านใดใช้วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการสร้างชาติไทยในลักษณะชาตินิยม
(1) สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(3) จอมพลถนอม กิตติขจร (4) นายปรีดี พนมยงค์
ตอบ 2 หน้า 48 – 49 ในยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม จะเน้นว่า วัฒนธรรม หมายถึง ศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นมรดกทางสังคม เป็นภูมิปัญญาไทย และเป็นสิ่งดีงามที่ต้องอนุรักษ์เอาไว้ ดังนั้นในยุคนี้ จึงได้มีการใช้วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือสร้างชาติไทยในลักษณะชาตินิยม เพื่อส่งเสริมความเป็น ระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าในชาติ และศีลธรรมอันดีงามของประชาชน
59. “วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดบุคลิกภาพ” เป็นแนวคิดของนักวิชาการท่านใด
(1) เบเนดิกท์ (2) ประเสริฐ แย้มกลิ่นฟุ้ง (3) เอมบรี (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ1 หน้า 48 – 49, (คำบรรยาย) ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นักวิชาการชาวอเมริกันได้เข้ามาศึกษาสังคมไทยเป็นจำนวนมาก เช่น รูธ เบเนดิกท์, มากาเร็ต มีด ฯลฯ โดยใช้วิธีการศึกษา ตามหลักของมานุษยวิทยา ซึ่งประเด็นที่พวกเขาสนใจศึกษาก็คือ วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนด พฤติกรรมและบุคลิกภาพ หรือวัฒนธรรมมีส่วนสัมพันธ์โดยตรงกับบุคลิกภาพ
60. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับ “ภูมิปัญญาไทย”
(1) เป็นความรู้ด้านการทำมาหากิน (2) ภูมิปัญญาในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกัน
(3) เป็นความรู้ที่ได้จากชีวิตจริง (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 53 – 54 ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. เป็นความรู้ของสังคมไทยในเกือบทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นในด้านการทำมาหากิน ดินฟ้าอากาศ และการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
2. เป็นองค์ความรู้ที่คนไทยคิดสร้างขึ้นและได้แปรความรู้จากนามธรรมมาสู่รูปธรรม
3. ภูมิปัญญาไทยในแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกัน และเมื่อสร้างขึ้นมาแล้วแต่ละท้องถิ่นก็จะเป็นเจ้าของขัดเจน
4. เป็นความรู้ที่ได้จากชีวิตจริงโดยการลองผิดลองถูก หรือผ่านการ-ทดลองด้วยตนเอง เช่น ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทยและอาหาร
61. เพราะเหตุใดแต่ละท้องถิ่นจึงมีภูมิปัญญาในเรื่องการทำมาหากินต่างกัน
(1) คนมีความสามารถด้านสมองไม่เท่ากัน
(2) สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติต่างกัน
(3) ขนาดของสมองไม่เท่าเทียมกัน
(4) การส่งทอดองค์ความรู้ไม่มีประสิทธิภาพ
ตอบ 2 หน้า 51 ภูมิปัญญาไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็นสี่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและพัฒนา ให้เจริญก้าวหน้าอยู่ในระบบนิเวศของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งคนในท้องถิ่นก็จะมีภูมิปัญญาในเรื่อง ต่าง ๆ ของตนเองที่แตกต่างกันไป เนื่องจากมีระบบนิเวศหรือสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ที่ต่างกัน เช่น ความแตกต่างด้านดิน นํ้า ต้นไม้ พืช อากาศ สัตว์ เป็นต้น
62. ความรู้เกี่ยวกับ “สมุนไพรไทย” มีลักษณะสำคัญอย่างไร
(1) ผ่านการทดลอง
(2) ผีบอก
(3) เกิดขึ้นโดยบังเอิญ
(4) รับมาจากสังคมอื่น
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 60. ประกอบ
63. ภูมิปัญญาระดับใดแสดงออกในรูปวิธีคิด
(1) ระดับเทคนิค
(2) ระดับการจัดการ
(3) ระดับความเชื่อและพิธีกรรม
(4) นามธรรม
ตอบ 4 หน้า 51 – 52, (คำบรรยาย) ภูมิปัญญาไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
1. ระดับพื้นฐานเชิงเทคนิคชึ่งมีลักษณะเป็นรูปธรรม เช่น ความรู้เกี่ยวกับดินฟ้าอากาศ พื้นที่ใดเหมาะกับการเพาะปลูกพืชประเภทใด ฤดูกาลใดเหมาะแก่การเพาะปลูก ฯลฯ
2. ระดับการจัดการระบบการผลิตและทรัพยากรซึ่งมีลักษณะเป็นนามธรรม เช่น การรู้จักคัดเลือก พันธุ์พืชและพื้นที่ในการเพาะปลูก การดูคุณสมบัติของดิน การสร้างเหมืองฝาย ฯลฯ
3. ระดับการควบคุมโดยใช้ความเชื่อและพิธีกรรมซึ่งมีลักษณะเป็นนามธรรม เช่น ความเชื่อเรื่องรุกขเทวดา รวมทั้งจารีตประเพณีต่าง ๆ
4. ระดับวิธีคิดหรือค่านิยมซึ่งมีลักษณะเป็นนามธรรมและเป็นระดับสูงสุดของสังคม
64. ระบบเหมืองฝายเป็นภูมิปัญญาของภาคใด
(1) กลาง (2) เหนือ (3) อีสาน (4) ใต้
ตอบ 2 หน้า 54 – 65 ภูมิปัญญาที่โดดเด่นของแต่ละภาคมีดังนี้
1. ภาคเหนือ ได้แก่ ระบบเหมืองฝาย ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาด้านการจัดการน้ำที่เด่นเฉพาะ ของชาวเหนือ ความรู้เรื่องสมุนไพร การสืบชะตาขุนนํ้า บวชต้นไม้ บวชป่า ฯลฯ
2. ภาคอีสาน ได้แก่ ความเชื่อเรื่องดาวผีดาน การตั้งศาลปู่ตาในถิ่นฐานใหม่ ความสามารถในการจับและกินแมลง ระบบพ่อแก้ว-ลูกแก้ว การผูกเสี่ยว ฯลฯ
3. ภาคกลาง ได้แก่ ภูมิปัญญาเกี่ยวกับวัฒนธรรมข้าวและพิธีกรรมที่สืบเนื่องจากตำนานข้าว เช่น พิธีแรกนา พิธีทำขวัญข้าว ฯลฯ
4. ภาคใต้ ได้แก่ การปลูกบ้านมีตีน การผูกดอง ผูกเกลอ ความเชื่อเรื่องธาตุสี่ ฯลฯ
65. ระบบการผูกเสี่ยวและระบบพ่อแก้ว-ลูกแก้วของชาวอีสาน เป็นภูมิปัญญาที่ส่งเสริมอะไร
(1) การร่วมมือกันในการทำมาหากิน (2) ระบบความสัมพันธ์ออกจากกลุ่มญาติ
(3) ส่งเสริมความสัมพันธ์ภายในกลุ่มญาติให้แน่นแฟ้นขึ้น (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 2 หน้า 59, 64 ภูมิปัญญาของชาวอีสานนอกจากจะส่งเสริมระบบความสัมพันธ์ในชุมชน เช่น ระบบ “เจ้าโคตร” และการยกย่องให้เป็น “หมอ” เช่น หมอแคน หมอยาแล้ว ก็ยังส่งเสริม ระบบความสัมพันธ์ออกจากกลุ่มเครือญาติ เรียกว่า เป็นญาติสมมุติ เช่น ระบบพ่อแก้ว-ลูกแก้ว ที่มีการฝากตัวเป็นลูกเป็นพ่อกัน และระบบการผูกเสี่ยวระหว่างคนอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน ซึ่งการผูกเสี่ยวนี้ก็จะคล้ายคลึงกับการผูกเกลอของทางภาคใต้
66. ข้อใดคือภูมิปัญญาเด่นของคนภาคกลาง
(1) การใช้ภาษาไทยไพเราะ (2) วัฒนธรรมข้าว
(3) ด้านการดำเนินชีวิต (4) ประเพณีหลวง
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 64. ประกอบ
67. อะไรคือเอกลักษณ์พื้นฐานของไทย
(1) ชาติ (2) ศาสนา (3) พระมหากษัตริย์ (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 65 – 66, (คำบรรยาย) เอกลักษณ์พื้นฐานของสังคมไทย ได้แก่
1. ชาติ หมายถึง ลักษณะหรือเอกลักษณ์ความเป็นชาติไทย โดยเฉพาะที่แสดงให้เห็นถึง ความเป็นคนไทย ความภาคภูมิใจและความสำนึกในความเป็นไทย รวมทั้งการมีวัฒนธรรมไทย เช่น ศิลปกรรมไทย พฤติกรรมความเป็นอยู่แบบอ่อนน้อมถ่อมตนของคนไทย อาหารไทย ภาษาไทย ธงชาติและการยืนตรงทำความเคารพเพลงชาติไทย ฯลฯ
2. ศาสนา ได้แก่ ศาสนาพุทธซึ่งมีอิทธิพลต่อลักษณะอุปนิลัย ทัศนคติในการมองโลก และวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทย
3. พระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน และทรงมีภาระหน้าที่ ในการขจัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎรไทยตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
4. การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
68. เอกลักษณ์ของชาติปรากฏอยู่ในรูปแบบใด
(1) ทัศนะในการมองโลก
(2) วิถีการดำเนินชีวิต (3) ภาษาพูด (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 67. ประกอบ
69. อะไรคือภาระหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน
(1) ขจัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎร
(2) เป็นผู้รักษาความยุติธรรม (3) เป็นนักรบ (4) เป็นเจ้าชีวิต
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 67. ประกอบ
70. การยืนตรงเคารพธงชาติไทย เป็นเอกลักษณ์ที่แสดงให้เห็นอะไร
(1) ระบบอำนาจของไทย
(2) ลักษณะนิสัยคนไทย (3) ลักษณะชาติ (4) ความมีระเบียบวินัย
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 67. ประกอบ
71. ความเป็นชาติไทยปรากฏอยู่ที่อะไร
(1) การแสดงพฤติกรรมอ่อนน้อมถ่อมตน
(2) การรับประทานอาหารไทย
(3) การพูดภาษาไทยชัดเจน
(4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 67. ประกอบ
72. ข้อใดเป็นคำกล่าวที่ไม่ถูกต้อง
(1) วัฒนธรรมไทยส่งเสริมความเท่าเทียมกัน
(2) คนไทยเป็นคนมุ่งสัมฤทธิ์คติ
(3) คนไทยส่วนใหญ่ยืนตรงเคารพเพลงชาติไทย
(4) คนไทยส่วนใหญ่เชื่อกฎแห่งกรรม
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 56. และ 57. ประกอบ
73. พระมหากษัตริย์ไทยทรงปกครองโดยใช้หลัก “ทศพิธราชธรรม” แสดงให้เห็นอะไร
(1) อำนาจของพระมหากษัตริย์
(2) การเป็นพุทธมามะกะของพระมหากษัตริย์
(3) ความสามารถของพระมหากษัตริย์
(4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 2 หน้า 66, (คำบรรยาย) หลักทศพิธราชธรรม (คุณธรรม 10 ประการของผู้ปกครองบ้านเมือง)เป็นอิทธิพลจากพุทธศาสนาที่กำหนดให้พระมหากษัตริย์มีคุณลักษณะแบบธรรมราชาในการปกครองประเทศ ซึ่งหลักธรรมนี้ปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎก ดังนันหลักทศพิธราชธรรมนอกจาก จะสะท้อนให้เห็นถึงคุณลักษณะของพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นพุทธมามะกะแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึง ความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ หรือวัดกับวังอีกด้วย
74. “กษัตริย์เป็นปางอวตารของพระผู้เป็นเจ้า” เป็นแนวคิดที่สังคมไทยได้รับอิทธิพลมาจากที่ใด
(1) จีน (2) อินเดีย
(3) การนับถือสิ่งเหนือธรรมชาติ (4) การติดต่อกับตะวันตก
ตอบ 2 หน้า 67, (คำบรรยาย) ลักษณะกษัตริย์แบบเทวราชา เป็นแนวคิดที่ได้รับอิทธิพลมาจากเขมร ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียอีกต่อหนึ่ง โดยเปรียบพระมหากษัตริย์ว่าเป็นสมมุติเทพที่เป็น ปางอวตารของพระผู้เป็นเจ้าบนสวรรค์ มีอำนาจสูงสุดที่คนต้องเคารพบูชา จึงส่งผลให้เกิด ราชประเพณีที่สำคัญต่าง ๆ และเป็นต้นกำเนิดของคำราชาศัพท์ด้วย
75. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่จะทำให้สังคมไทยสิ้นชาติ
(1) คนไทยไม่พูดภาษาไทย (2) คนไทยไม่สนใจอาหารไทย
(3) คนไทยยึดมั่นในเรื่องไสยศาสตร์ (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 65 – 66, (คำบรรยาย) ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สังคมไทยสิ้นชาติ คือ การที่คนไทยยอมรับ วัฒนธรรมอื่นที่แพร่เข้ามาเพื่อความเป็นสากล จนหลงลืมวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของตนเอง ซึ่งเป็นลักษณะเด่นที่มีอยู่เฉพาะในหมู่คนไทยหรือสังคมไทย เช่น การที่คนไทยไม่พูดภาษาไทย ไม่สนเจอาหารไทยหรือยึดมั่นแต่เฉพาะเรื่องไสยศาสตร์
76. บุคลิกภาพของคนแตกต่างกัน เนื่องมาจากอะไร
(1) ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคม (2) การอบรมเลี้ยงดู
(3) ความเชื่อทางศาสนา (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 68 บุคลิกภาพ หมายถึง ระบบผลรวมทางอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด คุณค่า หรือความเชื่อ ที่มนุษย์เรียนรู้มาตั้งแต่เด็ก ซึ่งประสบการณ์ของคนแต่ละคนแต่ละสังคมจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคม ความเชื่อทางศาสนา การอบรมเลี้ยงดู สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ สังคม วัฒนธรรม
77. สังคมไทยมีโครงสร้างแบบหลวม หมายความว่าอย่างไร
(1) การยืดหยุ่นประนีประนอมสูง (2) คนไทยไม่ชอบอยู่ในกฎเกณฑ์
(3) คนไทยชอบทำตามใจตนเอง (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 69, (คำบรรยาย) เอมบรี (Embree) กล่าวว่า สังคมไทยมีโครงสร้างแบบหลวม(Loosely Structured) นั่นคือ คนไทยขาดระเบียบวินัย มีลักษณะปัจเจกบุคคลนิยมสูง ชอบอยู่โดดเดี่ยว ไม่ชอบการรวมกลุ่ม และเป็นสังคมที่มีลักษณะยืดหยุ่นประนีประนอมสูง นอกจากนี้คนไทยยังรักอิสระ นิยมเลือกทำตามใจตนเอง ไม่ชอบอยู่ในกฎเกณฑ์ ไม่ชอบผูกมัด ต่อหน้าที่ และพยายามหลีกเลี่ยงพันธะทางสังคม จึงมักมีปัญหาในการทำงานรวมกลุ่มกับผู้อื่น
78. ผู้ใดเป็นผู้เสนอแนวคิดที่ว่าสังคมไทยมีโครงสร้างแบบหลวม
(1) เบเนดิกท์ (2) ฟิลลิป (3) เอมบรี (4) มาลินอฟสกี้
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 77. ประกอบ
79. “คนไทยรักสนุก ใจเย็น และวัฒนธรรมไทยถูกครอบงำโดยเพศชาย” เป็นผลการศึกษาของใคร
(1) เบเนดิกท์ (2) ฟิลลิป (3) เอมบรี (4) มาลินอฟสกี้
ตอบ 1 หน้า 69, (คำบรรยาย) รูธ เบเนดิกท์ นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน กล่าวว่า คนไทยรักสนุก ใจเย็น และวัฒนธรรมไทยถูกครอบงำโดยเพศชาย ซึ่งลักษณะทั้ง 3 นี้เป็นผลมาจากความเชื่อทางศาสนา การอบรมขัดเกลาทางสังคม และแบบแผนการเลี้ยงดู นอกจากนี้เขายังให้ทัศนะ ต่อไปอีกว่าสาเหตุที่ทำให้คนไทยชอบสนุกนั้นเกิดจากการอบรมเลี้ยงดู การทำมาหากินแบบ เกษตรกรรม และการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์
80. คนไทยมีอุปนิสัยขัดแย้งกัน คือ รักอิสระแต่เคารพเชื่อฟังอำนาจ เป็นผลการศึกษาของผู้ใด
(1) กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2) ประเสริฐ แย้มกลิ่นฟุ้ง
(3) อดุล วิเชียรเจริญ (4) ไพฑูรย์ เครือแก้ว
ตอบ 2 หน้า 70, (คำบรรยาย) ศาสตราจารย์ประเสริฐ แย้มกลิ่นฟุ้ง กล่าวว่า คนไทยมีนิสัยรักความเป็นไทย มีความเป็นปัจเจกบุคคลสูง มักน้อย สันโดษ ยํ้าการหาความสุขจากชีวิต นิยมความโอ่อ่า สุภาพอ่อนโยน รักอิสระแต่เคารพเชื่อฟังอำนาจ ดังนั้นคนไทยจึงมีนิสัยขัดแย้ง ในตัวเอง เพราะคนไทยรักอิสระ ไม่ชอบให้ใครมาสั่ง แต่ถ้ารู้ว่าใครมีอำนาจก็จะกลัวและ ยอมเชื่อฟังเขา
81. คนไทยมีนิสัย “เล็งผลปฏิบัติ” หมายความว่าอย่างไร
(1) ชอบทำงานคนเดียว
(2) ตั้งเป้าหมายในการทำงานไว้สูง
(3) ทำเฉพาะสิ่งที่เอื้อประโยชน์ตนเท่านั้น
(4) ชอบทำงานสาธารณประโยชน์
ตอบ 3 หน้า 70, (คำบรรยาย) ศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ กล่าวว่า คนไทยมีนิสัยเล็งผล การปฏิบัติ หมายถึง คนไทยจะชอบทำเฉพาะสิ่งที่เอื้อประโยชน์กับตนเท่านั้น โดยพิจารณาว่า ถ้าสิ่งนั้นขัดกับประโยชน์ส่วนตนหรือเกิดความเสียหายก็จะไม่ปฏิบัติ แต่ถ้าเสริมประโยชน์ กับตนก็จะปฏิบัติ
82. วิกฤตวัฒนธรรมของไทยเกิดจากปัจจัยใด
(1) ความเจริญก้าวหน้าด้านเทคนิควิทยา
(2) การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
(3) กระแสโลกาภิวัตน์
(4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 72 – 74 ที่มาหรือสาเหตุของวิกฤตวัฒนธรรมไทยมีดังนี้
1. เป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 18 และกระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้มี ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี เทคนิควิทยาด้านต่าง ๆ และระบบสื่อสารคมนาคม จนเกิดภาวะ “ทันสมัย แต่ไม่พัฒนา” หรือเรียกว่าความล่าทางวัฒนธรรม (Culture Lag) 2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมไปสู่ระบบทุนนิยมอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความสับสน ในมาตรฐานเกี่ยวกับความดี ความชั่ว ที่เคยยึดถือกันมา
83. ข้อใดคือตัวอย่างของวิกฤตวัฒนธรรมไทย
(1) การยึดถือ “เงิน” เป็นพระเจ้า
(2) การนิยมใช้ของมียี่ห้อแพง ๆ
(3) การนิยมกินอาหาร Fast Food
(4) ถูกทั้งหมด
ตอบ.4 หน้า 75 – 76 วิกฤตทางวัฒนธรรมไทยที่เกิดขึ้นอาจพิจารณาได้จากประเด็นต่อไปนี้
1. การสูญเสียความเข้าใจและความภูมิใจในวัฒนธรรมไทย
2. การเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ของคนไทยทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมไปสู่ลัทธิบริโภคนิยม เช่น การนิยมใช้ของมียี่ห้อแพง ๆ การนิยมบริโภคอาหาร Fast Food ฯลฯ
3. เกิดความขัดแย้งในระบบความคิด หรือเกิดช่องว่างระหว่างวัยทางสังคมสูงขึ้น
4. มองว่าความมั่นคงในชีวิต คือ “เงิน” จึงยึดถือเงินเป็นพระเจ้าที่บันดาลทุกสิ่งทุกอย่าง
5. ความเชื่อด้านศาสนาลดความสำคัญลง
84. ข้อใดเป็นคำกล่าวที่ถูกต้อง
(1) ระบบความเชื่อเกิดขึ้นมาพร้อมกับการรวมกลุ่มของสังคม
(2) ระบบความเชื่อเกี่ยวข้องกับอำนาจเหนือธรรมชาติ
(3) ระบบความเชื่อใช้ควบคุมสังคม (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 79, (คำบรรยาย) ระบบความเชื่อเกิดขึ้นมาพร้อมกับการรวมกลุ่มของสังคมมนุษย์โดยเป็นสิ่งที่มนุษย์ในทุกสังคมผูกสร้างเป็นเรื่องราวขึ้นจากเหตุการณ์ที่ไม่สามารถอธิบายได้ ด้วยเหตุผลที่เป็นรูปธรรมตามหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะปรากฎออกมาในลักษณะของการเชื่อถือ พลังอำนาจนอกเหนือธรรมชาติที่มักมีพิธีกรรมและประเพณีต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ทังนี้ระบบ ความเชื่อมีขึ้นเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นการส่งเสริมอำนาจ เป็นการตอบสนองความกลัว ในสิ่งเหนือธรรมชาติ ตลอดจนเป็นเครื่องมือควบคุมมนุษย์ให้อยูร่วมกันในสังคมได้อย่างมีระเบียบ
85. ข้อใดคือความเชื่อของสังคมไทย
(1) การนับถือผีสางเทวดา
(2) โหราศาสตร์และไสยศาสตร์ (3) ศาสนาพุทธ (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 81 – 83, (คำบรรยาย) ความเชื่อในสังคมไทยแบ่งออกได้ดังนี้
1. ความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับอำนาจเหนือธรรมชาติ ได้แก่ ความเชื่อเรื่องผีสางเทวดา,
ความเชื่อเรื่องขวัญ, ความเชื่อเรืองไสยศาสตร์, โหราศาสตร์ฯลฯ
2. ความเชื่อด้านศาสนาพุทธ และศาสนาพราหมณ์ เช่น การเชื่อว่าชีวิตเป็นไปตามกรรม เมตตาธรรมคํ้าจุนโลก, ลัทธิเทวราชา, พรหมลิขิต, คติไตรภูมิ ฯลฯ
86. ข้อใดคือความเหมือนกันของศาสนาและความเชื่อ
(1) มีศาสดาผู้ก่อตั้ง
(2) มีหลักธรรมคำลังสอน (3) มีความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติ (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 3 หน้า 79 ความเหมือนกันของศาสนาและความเชื่อ คือ มีที่มาจากความเชื่อว่ามีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ ลึกลับบางอย่างหรือหลายอย่างที่อยู่นอกเหนือมนุษย์ธรรมดา และอำนาจเหนือธรรมชาตินี้ จะเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ทั้งในทางดีและทางร้าย ทั้งให้คุณและให้โทษได้ แต่ความเชื่อจะต่างจากศาสนาในแง่ที่ว่าความเชื่ออาจจะไม่แสดงกำเนิดและการสิ้นสุดของโลก หรืออาจไม่มีหลักธรรมที่เกี่ยวกับบุญ-บาปเป็นศีลธรรมเหมือนกับศาสนา
87. อะไรเป็นองค์ประกอบหลักของศาสนา
(1) พิธีกรรม (2) ความเชื่อ (3) ผู้ประกอบพิธีกรรม (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 80 องค์ประกอบหลักของศาสนาและความเชื่อ ได้แก่ 1. ตัวความเชื่อเรื่องอำนาจเหนือ ธรรมชาติที่ให้คุณให้โทษแก่ชีวิตมนุษย์ได้ เช่น ผี เจ้า เทวดา อิทธิพลของดวงดาว ฤกษ์ยาม ฯลฯ 2. บุคคลผู้รู้ที่ติดต่อกับอำนาจลึกลับและสิ่งศักดิ์สิทธิ้นั้น ๆ เช่น คนทรง หมอผี นักบวช ผู้ประกอบพิธีกรรม ฯลฯ 3. พิธีกรรม 4. สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ 5. วัตถุคักดิ์สิทธิ์หรือวัตถุมงคล
88. เพราะเหตุใดคนไทยจึงยึดมั่นในความเชื่อทางศาสนา
(1) เพื่อเข้าใจสังคม (2) เพื่อเข้าใจตนเอง (3) เพื่อเข้าใจคนอื่น (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 79, (คำบรรยาย) มนุษย์ในทุกสังคมจะใช้ระบบความเชื่อเป็นมาตรฐานในการเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น เข้าใจสังคม และเข้าใจโลก โดยความเชื่อนี้มักจะผูกพันกับหลักศีลธรรม จริยธรรม ปรัชญา ตลอดจนศาสนา ซึ่งจะมีส่วนกำหนดความเป็นไปของวิถีชีวิตผู้คนในสังคม
89. อะไรคือจุดมุ่งหมายของศาสนาพุทธ
(1) ดับทุกข์ (2) สร้างความสุขทางโลก
(3) สร้างคนดีให้กับสังคม (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 83, (คำบรรยาย) หลักคำสอนสำคัญที่เป็นหัวใจหรือแก่นของศาสนาพุทธ ได้แก่จงทำดี ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส โดยมีจุดมุ่งหมาย คือ การดับทุกข์
90. ความเชื่อเรื่องใดที่คนไทยใช้เป็นหลักยึดทางด้านจิตใจ
(1) โหราศาสตร์ (2) ไสยศาสตร์
(3) หลักธรรมคำสั่งสอนทางศาสนา (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 ดูคำอธิบายช้อ 84. และ 85. ประกอบ
91. ภาพวาดพุทธประวัติตามวัดต่าง ๆ สะท้อนให้เห็นอะไร
(1) ความศรัทธาในศาสนา
(2) ความเชื่อในนรก-สวรรค์
(3) กฎแห่งกรรม
(4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 3 หน้า 83, (คำบรรยาย) ภาพชาดก หรือภาพวาดพุทธประวัติชาติก่อน ๆ ของพระพุทธเจ้า ก่อนตรัสรู้ มีทั้งหมด 550 พระชาติ ถือเป็นศิลปกรรมไทยที่สะท้อนให้เห็นความเชื่อด้าน ศาสนาพุทธ เช่น ความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมที่ว่า “ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว”
92. อะไรคือจุดมุ่งหมายของศาสนาต่าง ๆ
(1) ให้มนุษย์ยึดมั่นในหลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์
(2) ให้มนุษย์มีชีวิตทางโลกอย่างมีความสุข
(3) ให้มนุษย์อยู่ร่วมกันโดยสันติสุข
(4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 3 หน้า 79 คำสอนของศาสนาต่าง ๆ โดยรวมแล้วจะมีจุดมุ่งหมายเน้นให้มนุษย์อยู่ร่วมกัน อย่างสันติสุข ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน
93. การประกอบพิธีกรรมไหว้ผีบรรพบุรุษมีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร
(1) แสดงความเคารพ
(2) ไม่ให้มารบกวนเรา
(3) ให้คุ้มครอง
(4) ถูกทั้งหมด
ตอบ.1 (คำบรรยาย) ความเชื่อเรื่องผีมักจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการสื่อสาร ระหว่างคนกับผี เช่น การประกอบพิธีกรรมเซ่นสรวงบูชาไหว้ผีบรรพบุรุษก็เพื่อต้องการแสดง ความเคารพ ความกตัญญู และให้ช่วยปกปักรักษา, การรำผีฟ้าเพื่อให้ช่วยรักษาโรค ซึ่งเป็น ความเชื่อเกี่ยวกับการแพทย์แผนโบราณในสมัยก่อน เป็นต้น
94. ไสยศาสตร์ เป็นความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องอะไร
(1) การทำนายโชคชะตา (2) เวทมนตร์คาถา (3) กฎแห่งกรรม (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ2 หน้า 82, (คำบรรยาย) ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ เป็นความเชื่อเกี่ยวกับเวทมนตร์คาถา เครื่องรางของขลัง น้ำมันพราย รัก-ยม ฯลฯ ซึ่งคนไทยได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย
95. ประเพณีทำบุญ “ตานก๋วยสลาก” เป็นประเพณีของภาคใด
(1) เหนือ (2) กลาง (3) อีสาน (4) ใต้
ตอบ 1 หน้า 89, (คำบรรยาย) งานบุญสลากภัตต์ของภาคเหนือหรือที่เรียกว่า “ตานก๋วยสลาก”เป็นงานบุญที่มีการเขียนสลากชื่อเจ้าของสำรับอาหารและเครื่องไทยทานไวัในถาด พระองค์ใด จับสลากได้สำรับอาหารของผู้ใด ก็จะรับอาหารและปัจจัยไทยทานของเจ้าภาพนั้น ซึ่งเป็น พิธีการที่คล้ายกับงานบุญเดือนสิบหรือบุญวันสารทในภาคอีสาน
96. ประเพณีคืออะไร
(1) ธรรมเนียมปฏิบัติที่สีบทอดกันมา (2) แบบแผนเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต
(3) แบบแผนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 85 ประเพณี คือ แบบแผนพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของคนในสังคมที่ได้ ปฏิบัติสืบทอดกันมา ซึ่งมีหลายประเภท ได้แก่
1. จารีตประเพณี คือ แบบแผนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมและศีลธรรม ผู้ที่ละเมิด จะถูกลงโทษจากสังคม
2. ธรรมเนียม คือ แบบแผนพฤติกรรมที่สังคมกำหนดไว้และปฏิบัติสืบทอดกันมา
3. ประเพณีปรัมปรา คือ แบบแผนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบความคิด คุณค่า ทัศนคติ ซึ่งมีการสั่งสมสืบทอดมาตั้งแต่อดีตและปฏิบัติต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน
4. ขนบธรรมเนียม คือ ประเพณีที่มีระเบียบแบบแผนและถูกกำหนดขั้นตอนไว้ชัดเจน เช่น ประเพณีการสมรส
5. ธรรมเนียมประเพณีหรือวิถีประชา คือ ประเพณีที่เป็นข้อปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
97. ข้อใดคือลักษณะของประเพณีปรัมปรา
(1) เป็นแบบแผนพฤติกรรมที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้ (2) เป็นแบบแผนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรม
(3) เป็นแบบแผนพฤติกรรมที่เกี่ยวกับระบบความคิด (4) เป็นข้อปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 96. ประกอบ
98. ข้อใดคือลักษณะเด่นของจารีตประเพณี
(1) เน้นศีลธรรม (2) เน้นแบบแผนปฏิบัติ (3) เน้นความสามัคคี (4) เน้นเรื่องคุณค่า
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 96. ประกอบ
99. ประเพณีใดเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์
(1) บุญบั้งไฟ (2) แห่นางแมว (3) บูชาพระแม่ธรณี (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 86 – 87, (คำบรรยาย) ประเพณีไทยแบ่งตามลักษณะทั่วไปออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวาระต่าง ๆ ของชีวิตคนไทยแต่ละคน ได้แก่ ประเพณีเกี่ยวกับ การเกิด การตาย การบวช การสมรส เป็นต้น 2. ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับสังคมไทย ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ และความเป็นอยู่ของคน ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ ลอยกระทง จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ บุญบั้งไฟ แห่นางแมว บูชาพระแม่ธรณี ปั้นเมฆ ตลอดจนงานบุญ และการละเล่นอื่น ๆ เช่น แข่งเรือ การเข้าทรงแม่ศรี ผีครก ผีสาก เป็นต้น
100. ข้อใดเป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับสังคมไทย
(1) การแต่งงาน
(2) จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (3) การบวช (4) การตาย
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 99. ประกอบ