การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4004 กฎหมายแรงงานและการประกันสังคม

Advertisement

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นางสาวต๋อยเป็นช่างเสริมสวยโดยใช้สถานที่บ้านของนายตู่เปิดบริการลูกค้า นายตู่เป็นผู้จัดหาสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ ของใช้ต่าง ๆ นางสาวต๋อยนำเฉพาะอุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดผมและการเสริมสวยมาเท่านั้น รายได้จากการบริการลูกค้าแบ่งกับคนละครึ่ง นายตู่จะจ่ายเงินส่วนของนางสาวต๋อยทุกวันที่ 1 และ วันที่ 16 ของเดือน มีการตกลงเรื่องระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่านางสาวต๋อยต้องตอกบัตร ลงเวลาทำงาน หากไม่มาทำงานหรือมาสายจะต้องถูกหักค่าจ้าง นางสาวต๋อยมีบัตรบ่ระจำตัวพนักงานจากนายตู่ นางสาวต๋อยทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน ถ้านางสาวต๋อยปฏิบัติไม่ถูกกฎของทางร้าน นายตู่ก็จะตักเตือน ในการตกลงมาทำงานที่บ้านนายตู่นี้ นายตู่ได้ตกลงกับนางสาวต๋อยแล้วว่า นางสาวต่อย จะไม่มีสิทธิในเงินใด ๆ นอกจากรายได้ที่นายตู่จะให้เท่านั้น นางสาวต๋อยทำงานมาครบ 2 ปี นายตู่ ต้องการรับช่างเสริมสวยคนใหม่ที่น่ารักกว่านางสาวต๋อย จึงให้นางสาวต๋อยออกจากการทำงานโดย ไม่ได้จ่ายเงินใด ๆ ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า นางสาวต๋อยเป็นลูกจ้างนายตู่หรือไม่ และนางสาวต๋อย มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยได้หรือไม่ อย่างไร

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 118 “ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้

(2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง อัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตาม ผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 “การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้าม ชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้น เป็นโมฆะ

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายตู่ให้นางสาวต๋อยออกจากการทำงานนั้น นางสาวต๋อยจะมีสิทธิ ได้รับเงินค่าชดเชยหรือไม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยประเด็นแรกมีว่า นางสาวต๋อยเป็นลูกจ้างของนายตู่หรือไม่ กรณีนี้ เห็นว่า การตกลงทำงานระหว่างนายตู่กับนางสาวต๋อยนั้น ได้มีการตกลงเรื่องระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ว่านางสาวต๋อยต้องตอกบัตรลงเวลาทำงาน หากไม่มาทำงานหรือมาสายจะต้องถูกหักค่าจ้าง โดยนายตู่มีอำนาจ สั่งการและการบังคับบัญชาให้นางสาวต๋อยปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของทางร้านและกำหนดเวลาทำงาน ตรวจสอบการทำงานและหักรายได้กรณีนางสาวต๋อยมาสายหรือขาดงาน ลักษณะของการทำงานและข้อตกลง ดังกล่าวจึงเข้าลักษณะของสัญญาจ้างแรงงาน ดังนั้นจึงถือว่านางสาวต๋อยเป็นลูกจ้างของนายตู่ (ฎีกาที่ 51/2537)

ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยต่อมามีว่า เมื่อนายตู่ไต้ให้นางสาวต๋อยออกจากการทำงาน (เลิกจ้าง)นั้น นางสาวต๋อยจะมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยหรือไม่ กรณีนี้เห็นว่า เมื่อนางสาวต๋อยลูกจ้างได้ทำงานมาครบ 2 ปี และ นายตู่นายจ้างได้เลิกจ้างนั้น นายตู่จะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่นางสาวต๋อย โดยให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตาม ผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วยตามมาตรา 118(2)

ส่วนข้อตกลงที่ว่า นางสาวต๋อยจะไม่มีสิทธิในเงินใด ๆ นอกจากรายได้ที่นายตู่จะให้เท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวถือว่าเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เนื่องจากข้อตกลงดังกล่าวแม้จะเป็นข้อตกลงระหว่าง นายจ้างกับลูกจ้างก็ตาม แต่เมื่อเป็นข้อตกลงที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงนั้นจึงไม่มีผล ทางกฎหมาย คือตกเป็นโมฆะ ดังนั้นนายตู่จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่นางสาวต๋อยเมื่อได้เลิกจ้างตามจำนวน ดังกล่าวข้างต้น

สรุป นางสาวต๋อยเป็นลูกจ้างนายตู่ และมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยเมื่อนายตู่เลิกจ้าง

 

ข้อ 2. น.ส.อรสาเป็นลูกจ้างได้รับค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท โดยชำระสินจ้างทุก ๆ วันสิ้นเดือน ทำงานมาแล้ว 2 ปี 11 เดือน โรงงานเกิดไฟฟ้าสัดวงจรทำให้เพลิงไหม้จึงต้องสั่งปิดโรงงานเพื่อ ซ่อมแซมในเดือนกรกฎาคมและเดือนสิงหาคม นายจ้างจึงสั่งให้หยุดงานไม่ต้องมาทำงานและ ไม่ได้จ่ายเงินสินจ้างให้ เมื่อเปิดโรงงานในวันที่ 1 กันยายน นายจ้างมีปัญหาด้านงบประมาณเป็น อย่างมาก ทำให้ต้องเลิกจ้างลูกจ้างส่วนหนึ่ง นายจ้างได้บอกเลิกสัญญาจ้าง น.ส.อรสาทันทีใน วันที่ 1 กันยายน และจ่ายค่าชดเชยให้ 45,000 บาทเท่านั้น แต่ น.ส.อรสาเห็นว่ายังไม่ได้รับสิทธิต่าง ๆ อย่างถูกต้อง เช่นนี้ จะมีสิทธิอะไรบ้าง เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 17 วรรคสองและวรรคสาม ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือ ลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนด จ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินสามเดือนทั้งนี้ให้ถือว่าสัญญาจ้างทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาด้วย การบอกเลิกสัญญาจ้างตามวรรคสอง นายจ้างอาจจ่ายค่าจ้างให้ตามจำนวนที่จะต้องจ่าย จนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอกกล่าวและให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีได้

มาตรา 19 “เพื่อประโยชน์ในการคำนวณระยะเวลาการทำงานของลูกจ้างตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นับวันหยุด วันลา วันที่นายจ้างอนุญาตให้หยุดงานเพื่อประโยชน์ของลูกจ้าง และวันที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงาน เพื่อประโยชน์ของนายจ้าง รวมเป็นระยะเวลาการทำงานของลูกจ้างด้วย 

มาตรา 30 วรรคแรก ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าหกวันทำงาน โดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน 

มาตรา67วรรคแรก ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างโดยมิใช่กรณีตามมาตรา 119ให้นายจ้าง จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตานส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา 30

มาตรา 75 วรรคแรก ในกรณีที่นายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วน เป็นการชั่วคราว โดยเหตุหนึ่งเหตุใดที่มิใช่เหตุสุดวิสัย ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้า ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไมได้ให้ลูกจ้างทำงาน

มาตรา 118 “ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้

(3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ครบหกปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตรา สุดทายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่ง ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

วินิจฉัย

กรณีตามอุทหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้ คือ

กรณีที่ 1 การที่โรงงานเกิดไฟฟ้าลัดวงจรทำให้เกิดเพลิงไหม้ และนายจ้างได้สั่งปิดโรงงาน เพื่อซ่อมแซมเป็นเวลา 2 เดือน คือเดือนกรกฎาคมและเดือนสิงหาคมนั้น ถือว่าการที่นายจ้างสั่งปิดโรงงานและสั่งให้ ลูกจ้างหยุดงานก็เพื่อประโยชน์ของนายจ้าง จึงต้องนับวันที่ลูกจ้างหยุดงานเป็นเวลา 2 เดือน รวมเป็นระยะเวลา การทำงานของลูกจ้างด้วยตามมาตรา 19 และเมื่อนับรวมกับระยะเวลาที่ น.ส.อรสาทำงานมาแล้วเป็นเวลา 2 ปี 11 เดือน จึงถือว่า น.ส.อรสาทำงานมาแล้วเป็นเวลา 3 ปี 1 เดือน ดังนั้นถ้ามีการเลิกจ้าง น.ส.อรสาย่อมมีสิทธิ ได้รับค่าชดเชยเป็นจำนวน 180 วัน หรือ 6 เดือน ตามมาตรา 118(3) เป็นจำนวนเงิน 90,000 บาท

และการที่นายจ้างสั่งปิดโรงงานเพื่อซ่อมแซมดังกล่าว เป็นเพราะมีความจำเป็นอันมี ผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้าง ซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัย ดังนั้นนายจ้างจะต้องจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างด้วย ในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงานตามมาตรา 75 วรรคแรก ดังนั้น น.ส.อรลาจึงมีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างเป็นจำนวน 22,500 บาท (75% ของ 15,000 บาท เป็นเวลา 2 เดือน)

กรณีที่ 2 การที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างทันทีในวันที่ 1 กันยายนนั้นไม่ถูกต้อง เพราะเมื่อ สัญญาจ้างดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา ดังนั้น หากนายจ้างต้องการเลิกจ้างจะต้องทำตามมาตรา 17 วรรคสองและวรรคสาม คือ นายจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้ลูกจ้างทราบ ในเมื่อถึงหรือก่อนจะ ถึงกำหนดการจ่ายค่าจ้างในคราวใดคราวหนึ่ง เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวสถัดไป หรือนายจ้างจะจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างตามจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอกกล่าว และ ให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีก็ได้ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายจ้างได้บอกเลิกสัญญาจ้าง น.ส.อรสาในวันที่ 1 กันยายน ดังนี้ต้องถือว่าการบอกเลิกสัญญาจ้างดังกล่าวเป็นการบอกเลิกสัญญาจ้างของวันที่ 30 กันยายน และให้มีผลเป็น การเลิกสัญญาจ้างในวันที่ 31 ตุลาคม ดังนั้นถ้านายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้าง น.ส.อรสา และให้ น.ส.อรสาออกจากงาน ทันทีในวันที่ 1 กันยายน นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างให้ น.ส.อรสา 2 เดือน คือเดือนกันยายนและเดือนตุลาคม รวมเป็นเงิน 30,000 บาท ตามมาตรา 17 วรรคสาม

กรณีที่ 3 การทีนายจ้างเลิกจ้าง น.ส.อรสาดังกล่าว มีใช่กรณีการเลิกจ้างตามมาตรา 119 ดังนั้นนายจ้างจึงต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสำหรับวับหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างด้วยตามมาตรา 67 วรรคแรก โดยต้องจ่ายให้ไม่น้อยกว่า 6 วันทำงานตามมาตรา 30 วรรคแรก กล่าวคือ 

รุป การที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้ง น.ส.อรสาทันทีในวันที่ 1 กันยายน และจ่ายค่าชดเชย ให้ 45,000 บาท นั้นไม่ถูกต้อง น.ส.อรสาควรจะได้รับสิทธิต่าง ๆ ดังนี้ คือ

1.         ค่าชดเชยเป็นเวลา 6 เดือน เป็นเงิน 90,000 บาท

2.         ค่าจ้างที่หยุดงาน 2 เดือน เป็นเงิน 22,500 บาท

3.         ค่าจ้างเดือนกันยายนและเดือนตุลาคม เป็นเงิน 30,000 บาท

4.         ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นเงิน 3,000 บาท

 

ข้อ 3. นายอาสาเป็นลูกจ้างทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมเสรีเซรามิกไทย ตำแหน่งผู้ตรวจสอบเครื่องจักรกล มีหน้าที่ดูแลการทำงานของเครื่องจักรภายในโรงงาน ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน เดือนละ 12,000บาท ขณะปฏิบัติงานในโรงงาน เครื่องจักรสายพานลำเลียงเกิดขัดข้องและหยุดการทำงาน นายอาสา จึงทำการตรวจสอบและแก้ไขเครื่องจักรให้ทำงานตามปกติ ขณะที่นายอาสากำลังดำเนินการอยู่ ไม่ทันระวังตัว เครื่องจักรที่มีสายพานได้ทำงานและหมุนอย่างรวดเร็วได้เกี่ยวมือของนายอาสาเข้าไป ทำให้กระดูกมือขวาแตก ใบพัดภายในตัดนิ้วมือขาด ได้แก่ นิ้วกลาง (10 เดือน) นิ้วชี้ (16 เดือน) และนิ้วนาง (8 เดือน) นายอาสาถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลรักษาตัวอยู่ 5 เดือน รักษาเสร็จแล้วนายอาสา ยังไม่สามารถทำงานได้ แพทย์ไห้ผ่าตัดเพื่อเชื่อมต่อเส้นเอ็นบริเวณมือและนิ้วก่อนทำกายภาพบำบัด ดังนี้ นายอาสาจะได้รับเงินทดแทนอย่างไรบ้าง

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537

มาตรา 5 “ในพระราชบัญญัตินี้

“ประสบอันตราย” หมายความว่า การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายหรือผลกระทบแก่จิตใจ หรือถึงแกความตายเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง หรือตามคำสั่งของนายจ้าง”

มาตรา 13 “เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับการ รักษาพยาบาลทันทีตามความเหมาะสมแก่อันตรายหรือความเจ็บป่วยนั้น และให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาล เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกินอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง

ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่งโดยไม่ชักช้า เมื่อฝ่ายลูกจ้างแจ้งให้ทราบ

มาตรา 15 “กรณีที่ลูกจ้างจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานภายหลังการ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานของลูกจ้างตามความจำเป็นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 18 “เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหาย ให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทน เป็นรายเดือนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 แล้วแต่กรณี ดังต่อไปนี้

(1)       ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน สำหรับกรณีที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานติดต่อกันไต้ เกินสามวันไม่ว่าลูกจ้างจะสูญเสียอวัยวะตาม (2) ด้วยหรือไม่ก็ตาม โดยจ่ายตั้งแต่วันแรกที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ ไปจนตลอดระยะเวลาที่ไม่สามารถทำงานได้ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปี

(2)       ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน สำหรับกรณีที่ลูกจ้างต้องสูญเสียอวัยวะบางส่วนของ ร่างกาย โดยจ่ายตามประเภทของการสูญเสียอวัยวะและตามระยะเวลาที่ต้องจ่ายให้ตามที่กระทรวงแรงงานและ สวัสดิการสังคมประกาศกำหนด แต่ต้องไม่เกินสิบปี

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การทีนายอาสาซึ่งเป็นลูกจ้างทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมเสรีเซรามิกไทย ตำแหน่งผู้ตรวจสอบเครื่องจักรกล และมีหน้าที่ดูแลการทำงานของเครื่องจักรภายในโรงงาน ได้ทำการตรวจสอบ และแก้ไขเครื่องจักรให้ทำงานตามปกติ จนทำให้เครื่องจักรที่มีสายพานลำเลียงที่เกิดขัดข้องและหยุดทำงานนั้น ได้ทำงานและหมุนอย่างรวดเร็ว และได้เกี่ยวมือของนายอาสาเข้าไป ทำให้กระดูกมือขวาแตก ใบพัดภายในตัด นิ้วมือขาด นายอาสาถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลและต้องรักษาตัวอยู่ถึง 5 เดือน และต้องผ่าตัดเพื่อประโยชน์ในการทำ กายภาพบำบัดนั้น ถือว่านายอาสาประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างตามมาตรา 5 ดังนั้น นายอาสาจะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน โดยมีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากนายจ้างดังต่อไปนี้ คือ

1.         ค่ารักษาพยาบาลตามมาตรา 13 โดยนายจ้างต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็น แต่ไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง คือรวมแล้วไม่เกิน 110,000 บาท ในกรณีนี้ถือว่า นายอาสาประสบอันตรายถึงขั้นบาดเจ็บรุนแรง จึงได้รับค่ารักษาพยาบาลในเบื้องต้น 45,000 บาท และในกรณี รุนแรงอีกไม่เกิน 65,000 บาท

2.         ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานตามมาตรา 15 โดยนายจ้างต้องจ่ายตามความจำเป็น ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ในกรณีนี้นายจ้างต้องจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน ให้นายอาสาเป็นจำนวนไม่เกิน 20,000 บาท และค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเพื่อประโยซนในการฟื้นฟูๆ อีกเป็น จำนวนไม่เกิน 20,000 บาท

3.         ค่าทดแทนในกรณีไม่สามารถทำงานได้ตามมาตรา 18(1) กล่าวคือ เมื่อนายอาสา ต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเป็นเวลา 5 เดือน ซึ่งถือว่าติดต่อกันเกิน 3 วัน นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าทดแทนในอัตรา ร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน โดยจ่ายตั้งแต่วันแรกที่นายอาสาไม่สามารถทำงานได้ เมื่อนายอาสาได้รับค่าจ้าง เดือนละ 12,000 บาท ร้อยละ 60 ของ 12,000 จึงเท่ากับ 7,200 บาท ดังนั้นนายจ้างจึงต้องจ่ายค่าทดแทนกรณี ทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงิน 36,000 บาท (7,200 X 5)

4.         ค่าทดแทนในกรณีต้องสูญเสียอวัยวะบางส่วนตามมาตรา 18(2) ซึ่งนายจ้างจะต้องจ่าย ให้แก่นายอาสาในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน ตามประเภทของอวัยวะที่สูญเสียและตามระยะเวลาที่ กฎหมายกำหนดแต่ต้องไม่เกิน 10 ปี ดังนั้นกรณีของนายอาสา นายจ้างต้องจ่ายดังนี้ คือ

รวมเป็นเงินทั้งสิ้นที่นายจ้างต้องจ่าย   244,800 บาท

สรุป นายอาสาจะได้รับค่าทดแทน ดังนี้

1.         ค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นจำนวน 45,000 บาท และได้รับเพิ่มในกรณีบาดเจ็บรุนแรง อีกไม่เกิน 65,000 บาท

2.         ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานไม่เกิน 40,000 บาท

3.         ค่าทดแทนในกรณีไม่สามารถทำงานได้ 36,000 บาท

4.         ค่าทดแทนในกรณีต้องสูญเสียอวัยวะ 244,800 บาท

 

ข้อ 4. บริษัท อะตอมอุตสาหกรรมผลิตกุ้งแช่แข็ง จำกัด เป็นผู้ผลิตกุ้งแช่เย็นส่งออกไปขายนอกประเทศ มีลูกจ้างทั้งหมด 300 คน ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ลูกจ้างของบริษัทฯ ต้องการแจ้ง ข้อเรียกร้องกับนายจ้างโดยประสงค์ให้สหภาพแรงงานดำเนินการให้ นายไพศาลเป็นลูกจ้างทำงาน มานาน 12 ปี เกรงว่าหากการแจ้งข้อเรียกร้องผิดพลาดจะก่อให้เกิดปัญหากับลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง จึงมาปรึกษาท่านว่ากรณีลูกจ้างประสงค์จะให้สหภาพแรงงานแจ้งข้อเรียกร้องให้จะต้องดำเนินการ ตามกฎหมายอย่างไร ให้นักศึกษาอธิบายเฉพาะหลักเกณฑ์การแจ้งข้อเรียกร้องโดยสหภาพแรงงาน

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518

มาตรา 13 วรรคแรก การเรียกร้องให้มีการกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หรือการ แก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นายจ้างหรือลูกจ้างต้องแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ

มาตรา 15 “สมาคมนายจ้างหรือสหภาพแรงงานอาจแจ้งข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 ต่ออีก ฝ่ายหนึ่งแทนนายจ้างหรือลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกได้ จำนวนสมาชิกซึ่งเป็นลูกจ้างต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้า ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมด

ในกรณีที่สหภาพแรงงานเป็นผู้แจ้งข้อเรียกร้อง ข้อเรียกร้องนั้นไม่จำต้องมีรายชื่อและ ลายมือชื่อลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง

ในกรณีที่มีข้อสงสัยว่าสหภาพแรงงานนั้นจะมีลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องเป็นสมาชิก ครบจำนวนที่ได้ระบุไว้ในวรรคหนึ่งหรือไม่ นายจ้าง สมาคมนายจ้าง หรือสหภาพแรงงานที่เกี่ยวข้อง อาจยื่นคำร้อง โดยทำเป็นหนังสือให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานตรวจรับรอง เมื่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้รับ คำร้อง ดังกล่าวแล้ว ให้ดำเนินการตรวจหลักฐานทั้งปวงว่า สหภาพแรงงานนั้นมีลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง เป็นสมาชิก หรือไม่ ถ้ามี ให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานออกหนังสือรับรอง มอบให้ผู้ยื่นคำร้องเป็นหลักฐาน ถ้าไม่มีให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานแจ้งให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องทราบ

ในกรณีที่สหภาพแรงงานเป็นผู้แจ้งข้อเรียกร้อง ถ้าความปรากฏแก่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานตามคำร้องของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งว่า ลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องนั้นบางส่วนเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน อื่นด้วย ให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานจัดให้มีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้แทนลูกจ้างในการดำเนินการ ตามมาตรา 13

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ลูกจ้างบริษัท อะตอมอุตสาหกรรมผลิตกุ้งแช่แข็ง จำกัด ซึ่งมีจำนวน ลูกจ้างทั้งหมด 300 คน ต้องการให้สหภาพแรงงานแจ้งข้อเรียกร้องกับนายจ้าง ดังนี้เมื่อนายไพศาลซึ่งเป็นลูกจ้าง ของบริษัทฯ มาปรึกษาข้าพเจ้าเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การแจ้งข้อเรียกร้องกับนายจ้างโดยสหภาพแรงงานว่าต้อง ดำเนินการอย่างไร ข้าพเจ้าจะให้คำแนะนำแก่นายไพศาล ดังนี้

1.         ลูกจ้างบริษัทๆ จะต้องจัดทำข้อเรียกร้องเป็นหนังสือตามมาตรา 13 วรรคแรก และให้ สหภาพแรงงานดำเนินการตามมาตรา 15

2.         การที่สหภาพแรงงานจะแจ้งข้อเรียกร้องแทนลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกได้จะต้องดำเนินการ ตามมาตรา 15 กล่าวคือ

(1)       จะต้องสำรวจจำนวนสมาชิกของสหภาพแรงงานก่อนว่ามีลูกจ้างของบริษัทฯ เป็นสมาชิกอยู่จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมด เมื่อบริษัทฯ มีลูกจ้าง 300 คน ดังนั้นจึงต้อง มีลูกจ้างไม่น้อยกว่า 60 คน เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน

(2)       เมื่อทราบข้อมูลดังกล่าวตาม (1) แล้ว ให้สหภาพแรงงาน แจ้งข้อเรียกร้องที่ ลูกจ้างทำไว้ตามมาตรา 13 วรรคแรก ต่อนายจ้างไต้โดยไม่ต้องมีรายชื่อและลายมือชื่อของลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับ ข้อเรียกร้องนั้น

(3)       ในกรณีที่นายจ้างสงสัยว่าสหภาพแรงงานนั้นจะมีลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง เป็นสมาชิกครบจำนวนตาม (1) หรือไม่ นายจ้างสามารถยื่นคำร้องโดยทำเป็นหนังสือต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานเพื่อให้ทำการตรวจสอบได้

Advertisement