การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2552

 ข้อสอบกระบวนวิชา LAW4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

Advertisement

ข้อ 1. หลักการที่ยอมรับกันโดยทั่วไปเกี่ยวกับสนธิสัญญาคือสนธิสัญญาย่อมมีผลผูกพันต่อรัฐคู่สัญญาเท่านั้น ไม่มีผลผูกพันต่อรัฐที่สามนอกจากรัฐที่สามจะยินยอม แต่ก็มีข้อยกเว้นในบางกรณีที่สนธิสัญญา บางอย่างอาจก่อให้เกิดผลทางกฎหมายแกรัฐที่ไม่ได้เป็นคู่สัญญา นักศึกษาจงอธิบายให้ชัดเจน และโดยครบถ้วน กรณีของสนธิสัญญาดังกล่าวนี้

งคำตอบ

สนธิสัญญาอาจก่อให้เกิดผลทางกฎหมายแก่รัฐที่ไม่ได้เป็นคู่สัญญา ซึ่งเป็นข้อยกเว้นของหลักทั่วไป ในลักษณะของการก่อให้เกิดสิทธิแกรัฐที่สาม หรือก่อให้เกิดภาระแก่รัฐที่สามที่ไมได้เป็นคู่สัญญา ดังต่อไปนี้

1.         กรณีสนธิสัญญาที่ก่อให้เกิดสิทธิแก่รัฐที่สาม ได้แก่

ก. สนธิสัญญาเกี่ยวกับการคมนาคม  โดยเฉพาะการคมนาคมในแม่น้ำหรือทะเลกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับการคมนาคมยอมรับให้สิทธิแก่รัฐอื่นที่ไมได้ร่วมเป็นภาคีสนธิสัญญา ได้รับประโยชน์ จากสนธิสัญญานั้นตามหลัก Erga Omnes ซึ่งเป็นหลักการให้สิทธิในการผ่านช่องแคบหรือคลองระหว่างประเทศ แกทุกประเทศที่มิได้เป็นคู่สนธิสัญญา

ข. สนธิสัญญาป้องกันเอกราชของรัฐ หมายถึง สนธิสัญญาที่รัฐหนึ่งซึ่งมีกำลังทหาร ทำสัญญาระหว่างกันเพื่อป้องกันมิให้รัฐใดรัฐหนึ่งเสียเอกราชโดยรัฐที่ได้รับการค้ำประกันไมได้เป็นภาคีในสนธิสัญญา

ค. สนธิสัญญาที่กำหนดให้ความอนุเคราะห์ยิ่ง หมายถึง ข้อกำหนดที่ระบุไว้ใน สนธิสัญญาระหว่างรัฐ 2 รัฐ ซึ่งเป็นภาคในสนธิสัญญา กำหนดว่าตนจะปฏิบัติต่อภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งอย่าง ที่ตนได้ให้หรือจะได้ให้แก่รัฐอื่นอันเป็นคุณแกรัฐนั้นมากที่สุด โดยปกติข้อกำหนดดังกล่าวมักจะมีอยู่ในสนธิสัญญา เกี่ยวกับการค้า การเดินเรือ ความสัมพันธ์เกี่ยวกับกงสุล

2.         กรณีสนธิสัญญาที่ก่อให้เกิดภาระแก่รัฐที่สาม ได้แก่

ก. สนธิสัญญาเกี่ยวกับบทบัญญัติกำหนดสภาพดินแดน เช่น อนุสัญญาระหว่าง อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย ลงวันที่ 15 มีนาคม 1856 กำหนดให้เกาะ A land ซึ่งเป็นของฟินแลนด์ เป็นดินแดน ที่เป็นกลาง เพราะถือว่าดินแดนดังกล่าวเป็นจุดยุทธศาสตร์เป็นประโยชน์ร่วมกันของประเทศยุโรปที่จะให้เกาะ ดังกล่าวเป็นเขตปลอดทหาร อนุสัญญานี้ใช้บังคับแกสวีเดนและฟินแลนด์ แม้ว่าทั้งสองประเทศจะไม่ได้เป็นภาคี สนธิสัญญากันก็ตาม

ข. สนธิสัญญาเกี่ยวกับการสร้างรัฐใหม่ของคู่สัญญาก่อให้เกิดผลผูกพันแกรัฐที่สาม ด้วย เช่น สนธิสัญญาสันติภาพแวร์ซายส์ วันที่ 28 มิถุนายน 1919 สร้างเมืองดันซิกส์

ค. สนธิสัญญาเกี่ยวกับการคมนาคมทางทะเล รัฐที่มิได้เป็นคู่สัญญาจำเป็นต้อง ปฏิบัติตาม จะปิดกั้นไม่ยอมให้เรือชาติอื่นผ่าน โดยถือว่าตนไม่ได้เป็นคูสนธิสัญญาไมได้ เช่น สนธิสัญญาแวร์ซายส์ ให้คลองคีลเป็นคลองเปิดแกทุกชาติ ศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศได้ประกาศว่า ทุกชาติมีสิทธิจะเดินเรือ โดยเสรีในคลองคีล

ง. กฎบัตรสหประชาชาติกำหนดภาระแกรัฐที่ไม่ได้เป็นสมชิกของตนด้วย มาตรา 2(6) ของกฎบัตรสหประชาชาติกำหนดให้ชาติที่ไม่ได้เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติปฏิบัติตามหลักการของสหประชาชาติเท่าที่จำเป็นแก่การธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ

 

ข้อ 2. ปัจจุบันในสังคมระหว่างประเทศประกอบไปด้วยรูปของรัฐที่เป็นแบบสหพันธรัฐ หรือสหรัฐ (Federal of State) เป็นจำนวนมาก นักศึกษาจงอธิบายถึงลักษณะสำคัญของรัฐดังกล่าวนี้ให้เข้าใจ และจะมี ความแตกต่างจากลักษณะของสมาพันธรัฐ (Confederation of State) ในสาระสำคัญอย่างไร

ธงคำตอบ

ลักษณะสำคัญของสหพันธรัฐ หรือสหรัฐ เป็นการรวมกันระหว่างรัฐหลายรัฐ เพื่อก่อให้เกิด รัฐใหม่ขึ้นมาเพียงรัฐเดียว โดยรัฐที่มารวมกันยอมสละอำนาจอธิปไตยบางประการให้กับรัฐใหม่ ซึ่งจะมีประมุข คนเดียวกันและมีรัฐบาลกลาง บริหาร ปกครองรวมกัน ซึ่งสหพันธรัฐจะมีลักษณะสำคัญ ดังนี้ โดยการเปรียบเทียบ ข้อแตกต่างจากสมาพันธรัฐ

1.         เป็นการรวมตัวกันของรัฐหลายรัฐ เพื่อก่อให้เกิดเป็นรัฐใหม่ขึ้นมาแทนที่เพียงรัฐเดียว ซึ่งมีรากฐานทางกฎหมายจากรัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐ ขณะที่การรวมตัวแบบสมาพันธรัฐเกิดจากผลของ สนธิสัญญา ไม่เกิดเป็นรัฐใหม่แต่อย่างใด

2.         รัฐที่มารวมตัวกันแบบสหพันธรัฐหมดสภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ มีประมุข และรัฐบาลกลางร่วมกันเพื่อบริหารปกครองประเทศ ส่วนสมาพันธรัฐไม่มีลักษณะดังกล่าวเป็นเพียงการรวมตัว เป็นสมาคมของรัฐเท่านั้น รัฐที่มารวมกันยังคงมีสภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ เพียงแต่มอบภารกิจ ตามที่ตกลงกันให้สมาพันธ์ดำเนินการเท่านั้น

3.         รัฐบาลของสหพันธรัฐจะรับผิดชอบภารกิจระหว่างประเทศหรือภายนอกรัฐ แต่รัฐสมาชิก ยังคงมีอำนาจอิสระภายในของตนเหมือนเดิม กรณีของสมาพันธรัฐจะไม่มีการแบ่งแยกอำนาจดังกล่าว รัฐที่มา รวมตัวกันยังคงมีอำนาจเช่นรัฐเหมือนเดิม ทั้งกิจการภายนอกและภายในของตน

4.         รัฐสมาชิกของสหพันธรัฐมีส่วนร่วมในการบริหารปกครอง ตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญ กำหนดและไม่สามารถแยกตัวออกไปได้ แต่สมาพันธรัฐ รัฐสมาชิกสามารถแยกตัวออกได้ เพราะเป็นการรวมตัว ภายใต้ข้อตกลงตามสนธิสัญญาเท่านั้น

 

ข้อ 3. ดินแดน (Territory) ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการหนึ่งของความเป็นรัฐ ซึ่งรัฐสามารถใช้ อำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนของรัฐได้ นักศึกษาจงอธิบายว่าดินแดนของรัฐประกอบไปด้วยบริเวณ ใดบ้าง และปัจจุบันไทยและกัมพูชากำลังมีข้อพิพาทเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนในบริเวณทะเลอ่าวไทย จะถือได้หรือไม่ว่าเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับดินแดนของรัฐ และเป็นการพิพาทเขตทางทะเลใดตาม หลักเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศ

ธงคำตอบ

ดินแดนของรัฐ คือ บริเวณซึ่งรัฐสามารถใช้อำนาจอธิปไตยได้ จะประกอบด้วย

1.         พื้นดิน พื้นดินที่เป็นดินแดนของรัฐย่อมรวมถึงพื้นดินทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นของเอกชน หรือของรัฐ หรือของชาวต่างประเทศที่อยู่ในอาณาเขตของรัฐ ดินแดนของรัฐถูกกำหนดโดยเส้นเขตแดน และรวมถึง พื้นที่ใต้พื้นดินด้วย ทั้งนี้ดินแดนที่รวมกันเป็นอาณาเขตของรัฐไม่จำเป็นต้องติดต่อกัน อาจจะอยู่ในดินแดนของ ประเทศอื่นก็ได้

2.         พื้นน้ำบางส่วนที่เป็นน่านน้ำภายในและทะเลอาณาเขต น่านน้ำภายใน หมายถึง น่านน้ำ ที่อยู่ถัดจากเส้นฐาน ซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตเข้ามาทางแผ่นดิน

ทะเลอาณาเขต หมายถึง ส่วนหนึ่งของพื้นน้ำซึ่งอยู่ระหว่างทะเลกลางกับรัฐ

3.         ห้วงอากาศ เหนือบริเวณต่าง ๆ ดังกล่าว

กรณีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ระหว่างไทยกับกัมพูชานั้นจะต้องพิจารณาว่าเป็นพื้นที่ ทับซ้อนบริเวณใดของทะเล หากเป็นการทับซ้อนกันของน่านน้ำภายใน หรือทะเลอาณาเขต จะถือว่าเป็นข้อพิพาท เกี่ยวกับบริเวณที่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐ จะเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับดินแดนของรัฐ (Territory) ในกรณี ทับซ้อนทางทะเลที่เกิดขึ้นจะรวมไปถึงไหล่ทวีป และเขตเศรษฐกิจจำเพาะด้วย แต่บริเวณดังกล่าวนี้รัฐมีเพียง สิทธิอธิปไตยเหนือทรัพยากรธรรมชาติเท่านั้น ไม่ถือว่ามีอำนาจอธิปไตยเช่นน่านน้ำภายใน หรือทะเลอาณาเขต ซึ่งการแก้ไขปัญหาจำเป็นจะต้องแยกพิจารณาแต่ละเขตของทะเลประกอบด้วย เพื่อจะได้เกิดความชัดเจนว่าเป็น การพิพาทเรื่องดินแดนของรัฐ หรือพิพาทเกี่ยวกับสิทธิอธิปไตย ในการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมีความแตกต่างกัน

 

ข้อ 4. นักศึกษาจะอธิบายว่า การสิ้นสุดของอำนาจหน้าที่ของคณะผู้แทนทางการทูต นอกจากกรณีการตาย และลาออกแล้ว มีกรณีอื่นใดบ้างที่จะถือได้ว่าภาระหน้าที่ของผู้แทนทางการทูตจะสิ้นสุดลง โดย นักศึกษาจะต้องอธิบายโดยสังเขปในแต่ละกรณีประกอบด้วย

ธงคำตอบ

ภาระหน้าที่ของผู้แทนทางการทูตจะสิ้นสุดลงนอกจากการตาย และลาออก มีกรณีอื่นดังนี

1.         สำหรับผู้แทนทางการทูตที่ส่งไปเพื่อปฏิบัติภารกิจบางชนิด เมื่อปฏิบัติภารกิจนั้นเสร็จ ก็ถือว่าหน้าที่สิ้นสุดลง

2.         ระยะเวลาที่กำหนดในสาส์นตราตั้งสิ้นสุดลง

3.         เมื่อผู้แทนทางการทูตถูกเรียกตัวกลับประเทศ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หลายกรณี เช่น กรณีที่ รัฐที่รับทูตได้แจ้งให้รัฐที่ตั้งทูตทราบว่าตนปฏิเสธที่จะยอมรับบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นทูต อีกต่อไป เพราะเห็นว่าเป็นบุคคลที่ไม่พึงปรารถนา หรือกรณีที่สถานการณ์ระหว่างประเทศ ทั้งสองตึงเครียด หรืออาจจะเป็นกรณีที่รัฐที่ตั้งทูตได้เรียกตัวทูตกลับเนื่องจากมีการ ปฏิวัติในประเทศที่รับทูต และรัฐที่ตั้งทูตไมยอมรับรัฐบาลใหม่ เป็นต้น

4.         เมื่อประเทศที่แต่งตั้งหรือรับทูตหมดสภาพความเป็นรัฐ เช่น ถูกผนวกเข้ากับรัฐอื่น หรือยอมรวมตัวเข้ากับรัฐอื่น

5.         เมื่อเกิดสงครามระหว่างรัฐทั้งสอง เป็นผลให้ความสัมพันธ์ทางการทูตสิ้นสุดลง

6.         เมื่อมีการตัดความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างรัฐทั้งสอง ไม่ว่าด้วยสาเหตุใดก็ตาม

กรณีตามข้อ 1. – 3. เป็นการสิ้นสุดของผู้แทนทางการทูตแต่ละคนเท่านั้น แต่ถ้าเป็นกรณี ตามข้อ 4. – 6. เป็นการสิ้นสุดความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ

Advertisement