การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2553

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

Advertisement

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. นายรักรามติดตามข่าวสารระหว่างประเทศมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นข้อพิพาทระหว่างไทยและกัมพูชา ซึ่งอาจพัฒนาจนอาจกลายเป็นสงครามระหว่างประเทศได้ ประเด็นที่นยรักราม ไมเข้าใจ คือ ไทยและกัมพูชามีการทำสนธิสัญญาระหว่างกันหลายเรื่อง และหากเกิดสงครามขึ้นจริง สนธิสัญญาระหว่างประเทศทั้งสองจะมีผลบังคับใช้ต่อไปหรือไม่ นักศึกษาในฐานะที่ผ่านการศึกษา วิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองมาแล้ว จะอธิบายหลักการดังกล่าวนี้ให้นายรักรามเข้าใจ อย่างชัดเจนอย่างไร

ธงคำตอบ

ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ สนธิสัญญาที่กำหนดให้คู่สัญญาปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อได้ปฏิบัติไปตามนั้นแล้ว สนธิสัญญาก็ถือว่าสิ้นสุดลง ส่วนสนธิสัญญาที่คู่สัญญาต้องปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นประจำ ก็อาจสิ้นสุดลงได้ด้วยสาเหตุ 7 ประการ เช่น คู่สัญญายินยอมตกลงเลิกสัญญา มีการทำสัญญาใหม่ หรือมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้น เป็นต้น

สำหรับกรณีการสิ้นสุดของสนธิสัญญา เพราะมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นหรือที่เรียกว่า สภาพการณ์แวดล้อมผิดไปจากเดิม (Rebus sic stantibus) นั้น กรณีที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ก็คือ การเกิดสงคราม ซึ่งสงครามจะทำให้สนธิสัญญาที่ทำระหว่างรัฐคู่สงครามก่อนเกิดสงครามสิ้นสุดลง และสงครามในที่นี้หมายถึง สงครามตามความหมายของกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ถ้าเป็นการใช้กำลังบังคับในรูปแบบอื่นที่ไม่ถึงขั้นทำสงคราม ไม่มีผลทำให้สนธิสัญญาสิ้นสุดลงแต่อย่างใด

หลักการที่ว่าสงครามทำให้สนธิสัญญาที่ทำไว้ก่อนเกิดสงครามสิ้นสุดลง จะต้องแยกพิจารณา ว่าเป็นสนธิสัญญาสองฝ่าย (ทวิภาคี) หรือหลายฝาย (พหุภาคี)

สำหรับสนธิสัญญาสองฝาย (ทวิภาคี) โดยหลักการแล้วถือว่าสนธิสัญญาที่ทำไว้ก่อนเกิด สงครามของรัฐคู่สงครามสิ้นสุดลง เว้นแต่

1.         สนธิสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อบังคับใช้โดยตรงในเวลาสงคราม เช่น อนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วย กฎหมายและจารีตปะเพณีในการทำสงครามทางบก ค.ศ. 1907อนุสัญญาเจนีวา ว่าด้วยการปฏิบัติต่อเชลยศึก ค.ศ. 1949

2.         สนธิสัญญาบางชนิด เช่น การยกดินแดนให้แกกัน

3.         สนธิสัญญานั้นเองได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าให้คงดำเนินต่อไปแม้เมื่อเกิดสงคราม เช่น สนธิสัญญาลงวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 ระหว่างอังกฤษ ฮอลแลนด์ และรัสเซีย ซึ่งกำหนดว่าอังกฤษจะต้องจ่ายเงินให้รัสเซียแม้ว่าจะทำสงครามกับรัสเซียก็ตาม ใน สงครามไคเมียระหว่างอังกฤษกับรัสเซีย อังกฤษก็ยังชำระหนี้ให้รัสเซียต่อไป

ดังนั้น ตามอุทาหรณ์ หากไทยกับกัมพูชาเกิดสงครามกัน สนธิสัญญาระหว่างประเทศทั้งสองซึ่งเป็น สนธิสัญญาสองฝ่าย (ทวิภาคี) ที่ทำขึ้นนั้นจะสิ้นสุดการบังคับใช้ หากไม่ใช่สนธิสัญญาที่เป็นไปตามข้อยกเว้นดังกล่าว

สรุป ข้าพเจ้าจะอธิบายให้นายรักรามเข้าใจอย่างชัดเจนตามหลักการดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 2. จงอธิบายว่า หลักความยุติธรรม ซึ่งถือว่าเป็นที่มาประการหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศ อาจนำมาใช้เป็นพื้นฐานในการตัดสินข้อพิพาทโดยศาลระหว่างประเทศได้อย่างไร และหลักความยุติธรรม แตกต่างจากหลักกฎหมายทั่วไปในประเด็นสำคัญอย่างไรบ้าง

ธงคำตอบ

หลักความยุติธรรม ถือเป็นที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศชั้นรองลงมาจากสนธิสัญญา จารีตประเพณีระหว่างประเทศ และหลักกฎหมายทั่วไป ซึ่งตามมาตรา 38 แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ระบุว่า ศาลอาจวินิจฉัยคดีโดยอาศัยหลักความยุติธรรมและความรู้สึกผิดชอบอันดี หากคู่ความตกลง ให้ปฏิบัติ เช่นนั้น” กล่าวคือ เมื่อมีข้อพิพาทขึ้นสู่การพิจารณาของศาล ศาลจะวินิจฉัยคดีโดยยึดหลักความยุติธรรมได้ต่อเมือ ไมมีกฎหมายระหว่างประเทศใดที่จะยึดถือเป็นหลักในการพิจารณาคดีได้ เช่น ไม่มีสนธิสัญญา ไม่มีจารีตประเพณีระหว่างประเทศ และหลักกฎหมายทั่วไปใด ๆ ที่จะยึดเป็นหลักในการวินิจฉัยคดีได้ และคู่กรณีตกลงยินยอมให้ ศาลใช้หลักความยุติธรรมและความรู้สึกผิดชอบอันดีมาใช้พิจารณาตัดสินแทนได้ และแนวการตัดสินดังกล่าว จะพัฒนาเป็นหลักกฎหมายในเรื่องนั้นในที่สุด แต่ศาลจะนำมาใช้โดยพลการไม่ได้ ต้องได้รับความยินยอมจาก คู่กรณีก่อน อีกทั้งต้องไมขัดต่อหลักกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันด้วย

ส่วนหลักกฎหมายทั่วไปเป็นหลักกฎหมายที่ประเทศต่าง ๆ ยึดถือปฏิบัติเนื่องจากเป็น หลักการร่วมกันของกฎหมาย เช่น หลักกฎหมายที่ว่าสัญญาจะต้องได้รับการปฏิบัติจากผู้ทำสัญญา เป็นต้น ซึ่งศาลอาจนำมาเป็นหลักในการวินิจฉัยตัดสินคดีได้ ซึ่งแตกต่างจากหลักความยุติธรรมที่ศาลจะนำมาใช้ได้ต่อเมื่อ ไม่มีหลักกฎหมายใดตัดสินได้ และต้องเกิดจากความยินยอมของคูกรณีด้วย

 

ข้อ 3. จงอธิบายว่าการรับรองรัฐจะใช้ในกรณีใดบ้าง และมีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการรับรองรัฐ อธิบายให้ เห็นถึงความแตกต่างในเรื่องดังกล่าวนี้อย่างไรบ้าง และทฤษฎีใดเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในปัจจุบัน

ธงคำตอบ

เนื่องจากรัฐเป็นหน่วยหนึ่งในสังคมระหว่างประเทศจึงจำเป็นที่จะต้องมีการติดต่อสัมพันธ์ กับประเทศอื่น ๆ ในด้านการทูต การค้า การเศรษฐกิจ ฯลฯ ซึ่งการติดต่อสัมพันธ์ดังกล่าวจะกระทำได้โดยสะดวก ก็ต่อเมื่อได้รับการรับรองสภาพความเป็นรัฐจากรัฐที่ตนเข้าไปทำการติดต่อด้วย กล่าวคือ แม้รัฐจะมีองค์ประกอบ ของความเป็นรัฐครบ 4 ประการ และสภาพความเป็นรัฐตามกฎหมายเกิดขึ้นแล้วก็ตาม แตกไม่สามารถติดต่อ กับรัฐอื่นในสังคมระหว่างประเทศได้โดยอัตโนมัติ ทั้งนี้เพราะขึ้นอยู่กับรัฐอื่นว่าจะรับรองความเป็นรัฐหรือไม่ ซึ่งหลักเกณฑ์ในการรับรองความเป็นรัฐโดยรัฐอื่นนั้น มีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการรับรองรัฐอยู่ 2 ทฤษฎี คือ

1.         ทฤษฎีว่าด้วยเงื่อนไข (การก่อกำเนิดรัฐ) หมายความว่า แม้รัฐใหม่ทีเกิดขึ้นจะมีองค์ประกอบของความเป็นรัฐครบ 4 ประการแล้วก็ตาม สภาพของรัฐก็ยังไม่เกิดขึ้น สภาพของรัฐจะเกิดขึ้นและมีสภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศได้ก็ต่อเมื่อมีเงื่อนไขที่สำคัญคือ จะต้องมีการรับรองรัฐโดยรัฐอื่นด้วย และเมื่อรัฐอื่นได้ให้การรับรองแล้ว รัฐที่เกิดขึ้นใหม่ก็จะมีสภาพบุคคล มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศ และสามารถที่จะติดต่อกับรัฐอื่นในสังคมระหว่างประเทศได้

2.         ทฤษฎีว่าด้วยการประกาศ (ยืนยัน) ซึ่งทฤษฎีนี้ถือว่าการรับรองนั้นไม่ก่อให้เกิดสภาพ ของรัฐ เพราะเมื่อรัฐที่เกิดขึ้นใหม่มีองค์ประกอบความเป็นรัฐครบถ้วนแล้วก็ย่อมเป็นรัฐที่สมบูรณ์แม้จะไม่มีการรับรองจากรัฐอื่นก็ตาม และรัฐนั้นก็ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศทุกประการ การรับรองนั้น ถือว่าเป็นเพียงการยืนยันหรือประกาศความเป็นจริง (ความเป็นรัฐ) ที่เป็นอยู่แล้วเท่านั้น

ความแตกต่างในสาระสำคัญของทั้งสองทฤษฎี คือ การรับรองรัฐตามทฤษฎีว่าด้วยเงื่อนไข เป็นเงื่อนไขสำคัญของการทำให้ความเป็นรัฐเกิดขึ้น เนื่องจากมีแนวคิดว่าการเป็นรัฐไมสามารถก่อกำเนิดได้ด้วยตนเอง แต่เกิดจากการรับรองจากรัฐอื่น แต่ทฤษฎีว่าด้วยการประกาศมีแนวคิดว่าการรับรองรัฐเป็นเพียงการ ดำเนินการเพื่อรับรู้ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นมาแล้วเท่านั้น กล่าวคือ รัฐมีสภาพความเป็นรัฐแล้ว แต่การรับรอง เป็นเพียงการยอมรับความเป็นจริงเท่านั้น ไม่เป็นเงื่อนไขทางกฎหมายแต่อย่างใด

ในปัจจุบันนักนิติศาสตร์ส่วนใหญ่ และสถาบันกฎหมายระหว่างประเทศรวมทั้งรัฐต่าง ๆ มี ความเห็นคล้อยตามและให้การยอมรับในทฤษฎีที่สอง คือ ทฤษฎีว่าด้วยการประกาศ ที่ถือว่าการรับรองรัฐเป็น แต่เพียงการยืนยันสภาพการดำรงอยู่ของรัฐเท่านั้น เพราะถ้าถือตามทฤษฎีว่าด้วยเงื่อนไขที่ถือว่ารัฐที่ไม่ได้รับการรับรองย่อมไมมีสภาพบุคคลระหว่างประเทศ ทรัพย์สินของรัฐนั้นกิตองถือเป็นทรัพย์สินไม่มีเจ้าของ และถ้ารัฐนั้นไปก่อให้เกิดความเสียหายแกรัฐอื่นก็ย่อมพ้นจากความรับผิดชอบ ซึ่งขัดแย้งกันในทางปฏิบัติที่ได้เคยยึดถือปฏิบัติกันมาระหว่างประเทศ

 

ข้อ 4 จงอธิบายกระบวนการระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธีที่เรียกว่าวิธีการ“Good Offices” โดยละเอียด และวิธีการนี้แตกต่างจากวิธีการ ไกล่เกลี่ย” และ การเจรจา” ในประเด็นสำคัญอย่างไร

ธงคำตอบ

การระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธีที่เรียกว่าวิธีการ “Good Offices” นั้นเป็น กรณีที่รัฐที่สามหรือบุคคลที่สามเข้ามาอำนวยความสะดวกให้คูกรณีทำการเจรจากันโดยตรง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เป็นกรณีที่รัฐที่สามเข้ามาเกี่ยวข้องในฐานะตัวกลางเพื่อโน้มน้าว ชักจูง ประสานให้คูกรณีมาพบกัน เพื่อตกลงระงับ ข้อพิพาทระหว่างกัน โดยตนไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเจรจาหรือเสนอข้อยุติแต่อย่างใด เป็นเพียงผู้อำนวย ความสะดวกจัดให้มีการเจรจากันเท่านั้น เช่น จัดสถานที่เจรจาไห้ เป็นต้น

ส่วนวิธีการ ไกล่เกลี่ย” (Mediation) เป็นกรณีที่รัฐที่สามหรือบุคคลที่สามเป็นผู้ติดต่อให้ คูกรณีมีการเจรจากัน และตนก็เข้าร่วมในการเจรจาด้วย รวมทั้งสามารถเสนอแนวทางในการยุติข้อพิพาทให้คูกรณี พิจารณาได้ด้วย แต่ไม่ผูกพันรัฐคูพิพาท ซึ่งอาจจะยอมรับแนวทางการไกล่เกลี่ยนั้นหรือไมก็ได้ เพราะกระบวนการไกลเกลี่ยนั้นขึ้นอยู่กับพื้นฐานของความสมัครใจของทุกฝ่าย

วิธีการ Good Offices กับวิธีการไกล่เกลี่ย (Mediation) ต่างกันตรงที่รัฐที่ทำหน้าที่ Good Offices จะไมเข้าไปมีส่วนร่วมโดยตรงในการระงับข้อพิพาทเช่นรัฐที่ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย

และการระงับกรณีพิพาทด้วยวิธี เจรจา” (Negotiation) เป็นกรณีที่รัฐคูกรณีตกลงที่จะ มาเจรจากันเองโดยตรง ไม่มีรัฐที่สาม หรือบุคคลที่สามเข้ามาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด ซึ่งจะแตกต่างกับวิธีการ Good Offices และไกล่เกลี่ย

Advertisement