การสอบซ่อมภาค 1 ปีการศึกษา 2549
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW4002 การว่าความและการจัดทำเอกสารทางกฎหมาย
คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน จำนวน 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)
ข้อ 1. ลูกความจ้างทนายความอุทธรณ์คดีที่ตนแพ้ในศาลชั้นต้น ทนายได้คำเนินการยื่นอุทธรณ์ตามที่ลูกความ มอบหมายแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้อุทธรณ์นำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยอุทธรณ์ ภายใน 7 วัน นับแต่ศาลมีคำสั่ง ทนายลืมไม่ได้ไปนำส่งหมายดังกล่าวจนกระทั่งศาลสั่งจำหน่ายคดี ความประพฤติของทนายเช่นนี้จะถือเป็นความผิดเกี่ยวกับมรรยาททนายความหรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคำตอบ
ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529
ข้อ 12 กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวต่อไปนี้ อันอาจทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของลูกความ (2) จงใจละเว้นหน้าที่ ที่ควรกระทำอันเกี่ยวแก่การคำเนินคดีแห่งลูกความของตน หรือปิดบัง ข้อความที่ควรแจ้งให้ลูกความทราบ
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ ความประพฤติของทนายเช่นนี้ จะถือว่าเป็นความผิดเกี่ยวกับมรรยาท ทนายความหรือไม่ เห็นว่า การที่ทนายลืมไม่ได้ไปนำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยอุทธรณ์ภายในเวลาที่ศาลกำหนด จนเป็นเหตุให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี ความประพฤติของทนายเช่นนี้ ถือว่าเป็นการกระ ทำที่ทำให้ เสื่อมเสียประโยชน์ของลูกความโดยการจงใจละเว้นหน้าที่ ที่ควรกระทำอันเกี่ยวแก่การดำเนินคดีแห่งลูกความตนอันเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความ ตามข้อบังคับสภาทนายความฯ ข้อ 12(2) (คำสั่งสภานายกพิเศษฯ ที่ 4/2540)
สรุป ความประพฤติของทนายความดังกล่าว ถือว่าเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความ ตามข้อบังคับสภาทนายความฯ ข้อ 12(2)
ข้อ 2. ในคดีอาญา ทนายจำเลยมีหลักการเตรียมคดีเบื้องต้นก่อนยื่นคำให้การสู้คดีอย่างไร จงบอกเป็นข้อๆ
ธงคำตอบ
อธิบาย
เนื่องจากคดีอาญาขึ้นสู่ศาลได้ 2 แนวทาง คือ ราษฎรผู้เสียหายห้องคดีเองประการหนึ่ง พนักงานอัยการเป็นโจทก์ห้องอีกประการหนึ่ง ดังนั้นในการเตรียมคดีเบื้องต้นก่อนยื่นคำให้การต่อสู้คดีมีหลัก กว้าง ๆ ไม่ต่างกัน ดังนี้
1. ราษฎรผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องเอง
กรณีราษฎรผู้เสียหายเป็นโจทก์ห้องเอง ทนายจำเลยต้องตรวจสอบในเรื่องต่อไปนี้
1.1 ความเป็นผู้เสียหาย
ในคดีอาญาผู้เสียหายตามกฎหมายเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้อง ดังนั้นหากโจทก์ไม่ใช่ ผู้เสียหายตามความหมายของกฎหมายย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง อนึ่ง แม้จะเป็นผู้ได้รับความเสียหาย แต่บางฐานความผิด ราษฎรก็ฟ้องเองไม่ได้ เช่น ความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 รัฐเท่านั้นที่มีหน้าที่ดำเนินการกับ ผู้กระทำความผิด ผู้ถูกจำเลยขับรถชนไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย ไม่มีอำนาจฟ้องฐานขับรถโดยไม่มีใบอนุญาต (ฎ. 2096/2530, ฎ. 1141/2531) เป็นต้น
1.2 เรื่องเขตอำนาจศาล
ศาลที่รับฟ้องนั้นมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวหรือไม่ โดยพิจารณา จากชื่อศาลที่ระบุไว้ในคำฟ้อง กับสถานที่เกิดเหตุที่ระบุไว้ในคำฟ้อง หรือดูจากที่อยู่ของจำเลยว่าอยู่ในเขตอำนาจศาล หรือไม่ หากคดีไม่อยู่ ในอำนาจศาล ศาลนั้นก็ย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาคดี
1.3 เรื่องอายุความของคดี
ตรวจสอบว่าโจทก์ฟ้องคดีขาดอายุความหรือไม่ โดยพิจารณาจากวัน เดือน ปี ที่ระบุในคำฟ้องกับวันเวลาที่เกิดเหตุ ทั้งดูว่าคดีนั้นหากเป็นความผิดอันยอมความได้ ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์หรือ ฟ้องคดีภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายหรือไม่ หากผู้เสียหายร้องทุกข์ก่อนฟ้องต้องมีการบรรยายให้ปรากฏโดย ชัดเจนว่าร้องทุกข์ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว
1.4 เรื่องอายุของโจทก์
ตรวจสอบว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเองหรือไม่ หรือหากเป็นผู้เยาว์ก็ย่อมไม่อาจ ฟ้องคดีอาญาได้เองต้อง ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมดำเนินการแทน
1.5 โจทก์เป็นผู้ต้องห้ามฟ้องจำเลยหรือไม่
มีกฎหมายห้ามหรือจำกัดสิทธิมิให้โจทก์ฟ้องหรือไม่ เช่น ผู้สืบสันดานย่อมฟ้อง บุพการีไม่ได้ เป็น “อุทลุม” เป็นต้น
1.6 รายละเอียดของการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทำผิด วัน เวลา สถานที่ บุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้อง
ดูว่าจำเลยถูกกล่าวหาว่าอย่างไร คำฟ้องบรรยายครบองค์ประกอบความผิด ตามกฎหมายหรือไม่ โดยดูเนื้อหาคำฟ้องประกอบตัวบทกฎหมายที่โจทก์อ้าง
2. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องเอง
นอกจากตรวจสอบตามข้อ (ก) แล้ว ผู้เตรียมคดีต้องตรวจสอบเรืองอำนาจสอบสวนว่าคดี ที่พนักงานอัยการนำมาฟ้องนั้นมีการร้องทุกข์ มีการสอบสวนหรือยัง หากมีการร้องทุกข์และสอบสวนแล้ว ดูว่า การร้องทุกข์หรือการสอบสวนนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เรื่องที่นำมาฟ้องอยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนนั้น ๆ หรือไม่ หากพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจทำการสอบสวน พนักงานอัยการย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นต้น
ข้อ 3. ในคดีแพ่งเรืองหนึ่ง ศาลนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550 โจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน ไว้แล้ว แต่เนื่องจากมีเอกสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานในการพิจารณาของศาลเป็นจำนวนมาก โจทก์ ไม่สามารถทำสำเนาส่งให้แก่จำเลยก่อนนัดสืบพยาน 7 วันตามกฎหมาย โจทก์มีความประสงค์จะขอ ส่งต้นฉบับเอกสารต่อศาลเพื่อให้จำเลยมาตรวจดูก่อนสืบพยานตาม ป.วิ. แพ่ง มาตรา 90(3)
ให้ท่านในฐานะทนายโจทก์เรียบเรียงเนื้อหาคำร้องดังกล่าว (ไม่ต้องระบุแบบพิมพ์ของศาล)
ธงคำตอบ
คำร้องขอให้คู่ความตรวจเอกสารเพราะเหตุสำเนาให้ไม่ทัน
ข้อ 1. คดีนี้ ศาลนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550 โจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน ต่อศาลไว้แล้ว แต่เนื่องจากมีเอกสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานในการพิจารณาของศาลเป็นจำนวนมาก โจทก์ไม่สามารถ ทำสำเนาส่งให้แก่จำเลยก่อนนัดสืบพยาน 7 วันตามกฎหมายได้ โจทก์มีความประสงค์จะขอส่งต้นฉบับเอกสาร ต่อศาล เพื่อให้จำเลยมาตรวจดูก่อนสืบพยาน เพี่อมิให้กระบวนการพิจารณาเป็นการส่าช้า ได้ยื่นต้นฉบับเอกสาร ไว้ที่ศาลนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90(3) ขอศาลได้โปรดกรุณาอนุญาต
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ…..(ลายมือชื่อนักศึกษา)…..ทนายโจทก์
คำร้องฉบับนี้ ข้าพเจ้า (ชื่อนักศึกษา) ทนายโจทก์เป็นผู้เรียงและพิมพ์
ลงชื่อ…..(ลายมือชื่อนักศึกษา)…..ผู้เรียงและพิมพ์
ข้อ 4. สมมุติข้อเท็จจริงจากการสอบสวนได้ความว่า เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2549 เวลาประมาณ 21 นาฬิกาเศษ นายโก๋ได้ใช้อาวุธปีนพกรีวอลเวอร์ ขนาด 9 ม.ม. ยิงนายเอกในระยะเผาขน 1 นัด กระสุนถูกบริเวณอกซ้ายทะลุหัวใจ ทำให้นายเอกเสียชีวิตทันที แล้วนายโก๋ได้หลบหนีไป เหตุเกิด ที่บ้านนายเอก ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2549 เวลาประมาณ 17 นาฬิกา ตำรวจจับกุมนายโก๋ได้ นำส่งพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนแล้วนายโก๋ ให้การรับสารภาพว่า ได้ยิงนายเอกจริง เพราะผู้ตายไปแซวกิ๊กของผู้ต้องหา เมื่อผู้ต้องหาไปต่อว่า นายเอกกลับท้าทายใช้มือผลักอกผู้ต้องหา ด้วยความโกรธผู้ต้องหาจึงใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายแล้วตนเอง ได้หลบหนีไปอยู่ไร้อ้อยของเพื่อนที่กาญจนบุรี และเมื่อเห็นว่าเวลาผ่านไปนานพอสมควรแล้วจึงแอบ กลับมาหาคนรักจนถูกจับ ระหว่างสอบสวนผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวมาโดยตลอด
สมมตินักศึกษาเป็นพนักงานอัยการ จงเรียบเรียงคำฟ้องคดีอาญาความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ตาม ป. อาญา มาตรา 288 บัญญัติว่า “ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษ … ฯลฯ” (เรียบเรียงเฉพาะเนื้อหา ไม่ต้องระบุแบบพิมพ์ของศาล)
ธงคำตอบ
คำฟ้องอาญา
ข้อ 1. เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2549 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยนี้ได้บังอาจกระทำความผิด ต่อกฎหมายกล่าวคือ จำเลยได้ใช้อาวุธปีนพกรีวอลเวอร์ ขนาด 9 ม.ม. ยิงนายเอกผู้เสียหาย ในระยะเผาขน 1 นัด โดยเจตนาฆ่า กระสุนปืนที่จำเลยยิงถูกบริเวณอกซ้ายทะลุหัวใจ ทำให้นายเอกถึงแก่ความตายเพราะบาดแผลที่จำเลยยิงนั้นในทันที สมดังเจตนาของจำเลย ทั้งนี้เพราะความโกรธที่ผู้ตายไปแซวกิ๊กและท้าทายจำเลย
เหตุเกิดที่ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ข้อ 2. ต่อมาเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2549 เวลากลางวัน เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้ และนำส่งพนักงานสอบสวน ทำการสอบสวนแล้ว ชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับสารภาพ
ระหว่างสอบสวนจำเลยถูกควบคุมตัวมาโดยตลอดโดยคำสั่งศาลนี้ ขอศาลได้เบิกตัวจำเลยมา เพื่อพิจารณาพิพากษาลงโทษต่อไป