การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2556
คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)
ข้อ 1. ในการยกร่างพระราชบัญญัติเพื่อใช้เป็นกฎหมาย ท่านมีหลักเกณฑ์อย่างใด ให้ยกตัวอย่างเฉพาะ หลักเกณฑ์มาอย่างน้อย 4 ประการ
ธงคำตอบ
ในการยกร่างพระราชบัญญัติเพื่อใช้เป็นกฎหมายนั้น จะต้องพิจารณาถึงหลักเกณฑ์ที่สำคัญหลายประการ เช่น
1. ประเภทของร่างพระราชบัญญัติ
ร่างพระราชบัญญัติจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ร่างพระราชบัญญัติทั่วไป และ ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน จะเสนอได้ต้องมีคำรับรองชอง นายกรัฐมีตริ
2. เนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติ
เนื้อหาของร่างพระราชบัญญัตินั้น จะกำหนดเนื้อหาในเรื่องใดก็ได้ แต่ต้องไม่ขัดหรือ แย้งกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญทั่วไปที่เรียกว่า “ประเพณีการปกครองของ ประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย”
3. การเสนอร่างพระราชบัญญัติ
ผู้มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติติตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 ได้แก่
(1) คณะรัฐมนตรี
(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน
(3) ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์กร และกฎหมายที่ประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการ
(4) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน (สามารถเข้าชื่อเสนอร่าง พระราชบัญญัติที่มีเนื้อหาเฉพาะ หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ)
4. การพิจารณาลงมติร่างพระราชบัญญัติ
ผู้มีอำนาจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ได้แก่ รัฐสภาซึ่งเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ ซึ่งประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา โดยการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้น จะต้องมีการพิจารณา ให้ความเห็นชอบในสภาผู้แทนราษฎรก่อนส่งให้วุฒิสภาพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด
5. การลงนามประกาศใช้และการโฆษณาบังคับใช้
ร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้น ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายใน 20 วัน เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
ข้อ 2. นางกะรัตได้ทำสัญญาให้นางสาวสายน้ำผึ้งกู้ยืมเงินจำนวน 5,000,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อปี มีการส่งมอบและทำสัญญาในวันที่ 10 มกราคม 2556 โดยมีกำหนดชำระคืนภายใน 1 ปี ครั้นพอครบกำหนดระยะเวลา 1 ปี นางสาวสายน้ำผึ้งกลับเพิกเฉย นางกะรัตจึงได้ส่งหนังสือทวงถาม ลงทะเบียนไปรษณีย์ให้นางสาวสายน้ำผึ้งชำระเงินจำนวน 5,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย 500,000 บาท แต่นางสาวสายน้ำผึ้งกลับเพิกเฉย ดังนั้นให้ท่านในฐานะทนายความฟ้องเรียกคืน เงินกู้ทั้งหมดพร้อมตอกเบี้ยจากนางสาวสายน้ำผึ้ง โดยร่างคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องคดีแพ่งคดีนี้
ธงคำตอบ
คำฟ้องแพ่ง
ข้อ 1. เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2556 จำเลยได้กู้ยืมเงินจากโจทก์ไปเป็นจำนวน 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) โดยจำเลยยอมจ่ายดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ต่อปี มีกำหนดเวลาใช้คืนภายใน 1 ปี ซึ่งจำเลย ได้รับเงินจำนวนที่กู้ไปครบถ้วนแล้ว และได้ทำสัญญากู้ไว้เป็นหลักฐานในวันดังกล่าว รายละเอียดปรากฏตาม สำเนาภาพถ่ายหนังสือสัญญากู้ยืมเงินฉบับลงวันที่ 10 มกราคม 2556 เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1
ข้อ 2. เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ตามสัญญากู้ จำเลยไม่ยอมชำระหนี้เงินกู้จำนวน 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) ดังกล่าว ทั้งไม่เคยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามสัญญาเลย โจทก์ได้ทวงถามแล้ว แต่จำเลยกลับเพิกเฉย การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการผิดสัญญากู้ยืมเงิน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
จำเลยต้องรับผิดชำระต้นเงินคืนให้แก่โจทก์จำนวน 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) และ ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ต่อปี จากเงินต้นดังกล่าวเป็นจำนวนเงิน 500,000 บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) รวมเป็นเงิน ที่จำเลยจะต้องชำระคืนให้แก่โจทก์ 5,500,000 บาท (ห้าล้านห้าแสนบาทถ้วน)
โจทก์ไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับจำเลยได้ จึงต้องมาฟ้องเป็นคดีนี้ เพื่อขอบารมีศาลเป็นที่พึ่ง เพื่อบังคับจำเลยต่อไป
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
คำขอท้ายฟ้อง
ข้อ 1. ขอให้จำเลยชำระต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,500,000 บาท (ห้าล้านห้าแสบบาทถ้วน)
ข้อ 2. ขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ต่อปี จากต้นเงิน 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จสิ้น
ข้อ 3. ขอให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์
ข้อ 3. ข้อเท็จจริงในสำนวนการสอบสวนได้ความว่า เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2556 เวลาประมาณ 13.00 นาฬิกา ขณะที่นายชีวา ชุ่มชื่น กำลังนั่งอยู่ในร้านขายทองรูปพรรณของตนอยู่นั้น ซึ่งตั้งอยู่ที่ แขวงพระนคร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ได้มีนายหนึ่ง นายสอง และนายสามเข้ามาในร้านแล้ว นายหนึ่งได้ชักอาวุธปืนออกมาจี้เล็งไปยังนายชีวามิให้ต่อสู้ขัดขืนและสั่งให้หมอบลงกับพื้นมิฉะนั้น จะยิงให้ตาย นายชีวาจึงหมอบลงกับพื้น แล้วนายสองก็ใช้ค้อนทุบกระจกตู้ทองและร่วมกับนายสาม กวาดเอาสร้อยคอทองคำลายต่าง ๆ ไป 200 เส้น น้ำหนัก 300 บาท ราคาทั้งสิ้น 7,000,000 บาท ใส่ถุงผ้าที่เตรียมมาแล้วพากับหลบหนีไป่ ต่อมาวันที่ 27 ธันวาคม 2556 เจ้าพนักงานตำรวจจับนายหนึ่งกับนายสองได้ที่บ้านพักพร้อมกับยึดสร้อยคอทองคำที่ปล้นไปจำนวน 100 เส้น น้ำหนัก 200 บาท ราคา 6,000,000 บาท ซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนหนึ่งที่ปล้นมาเป็นของกลาง นำส่งพนักงาบสอบสวบสถานีตำรวจนครบาลพระนครทำการสอบสวบ ชั้นสอบสวนทั้งสองให้การรับสารภาพ เมื่อครบกำหนดควบคุมตัว พนักงานสอบสวนจึงได้นำทั้งสองไปฝากขังที่ศาลอาญา ตามคดีหมายเลขดำที่ ฝ. 205/2557 ต่อมา เมื่อสอบสวนเสร็จ พนักงานสอบสวนได้สรุปสำนวนการสอบสวนส่งพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการ
ข้อกฎหมาย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่า ในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ
(1) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป
(2) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น
(3) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้
(4) ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือ
(5) ให้พ้นจากการจับกุม
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุก
มาตรา 340 ผู้ใดชิงทรัพย์โดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกับตั้งแต่สามคนขึ้นไป ผู้นั้นกระทำความผิด ฐานปล้นทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุก
หากท่านเป็นพนักงานอัยการผู้รับผิดชอบดำเนินคดีนี้ให้ท่านเรียงคำฟ้องในข้อหาปล้นทรัพย์ เฉพาะเนื้อหาคำฟ้องภาคความผิดและการได้ตัวมาดำเนินคดีโดยไม่ต้องคำนึงถึงแบบพิมพ์คำฟ้อง
ธงคำตอบ
หากข้าพเจ้าเป็นพนักงานอัยการผู้รับผิดชอบดำเนินคดีนี้ ข้าพเจ้าจะเรียงคำฟ้องในข้อหา ปล้นทรัพย์ ดังต่อไปบี้
คำฟ้องอาญา
ข้อ 1. เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2556 เวลากลางวัน จำเลยทั้งสองกับพวกที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้อง อีกหนึ่งคน ได้กระทำการอันเป็นความผิดต่อกฎหมาย กล่าวคือ ได้บังอาจร่วมกับลักเอาสร้อยคอทองคำลายต่าง ๆ จำนวน 200 เส้น น้ำหนัก 300 บาท ราคาทั้งสิ้น 7,000,000 บาท (เจ็ดล้านบาท) ขอ4นายชีวา ชุ่มชื่น ผู้เสียหายไปโดยทุจริต โดยในการลักทรัพย์ดังกล่าว จำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันใช้อาวุธปีนจี้ขู่เข็ญผู้เสียหายมิให้ต่อสู้ขัดขืน มิฉะนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายยิงผู้เสียหายให้ถึงแก่ความตาย เพื่อให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์ นั้นไป ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือให้พ้นจากการจับกุม
เหตุเกิดที่แขวงพระนคร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ข้อ 2. ต่อมาวันที่ 27 ธันวาคม 2556 เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยทั้งสองได้พร้อมกับยึด สร้อยทองคำ จำนวน 100 เส้น น้ำหนัก 200 บาท ราคา 6,000,000 บาท (หกล้านบาท) ซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนหนึ่ง ที่จำเลยทั้งสองกับพวกปล้นเอาไปดังกล่าวในฟ้องข้อ 1. เป็นของกลางนำส่งพนักงานสอบสวนทำการสอบสวน ชั้นสอบสวนจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ ของกลางพนักงานสอบสวนเก็บรักษาไว้
ระหว่างสอบสวนจำเลยทั้งสองถูกควบคุมตัวมาดลอด ขณะนี้ต้องขังอยู่ตามหมายของศาลนี้ ในคดีหมายเลขดำที่ ฝ. 205/2557 ขอศาลเบิกตัวจำเลยทั้งสองมาพิจารณาพิพากษาลงโทษตามกฎหมายต่อไป