การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา POL2101 ทฤษฎีและจริยธรรมทางการเมือง 1
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. นักคิดคนใดที่เสนอเรื่อง Defensor Pacis
(1) Marsiglio of Padua
(2) John of Salisbury
(3) Aquinas
(4) Augustine
(5) Gelesius I
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 128 – 129) มาร์ซิกลิโอแห่งปาตัว (Marsiglio of Padua) ได้เขียนงานที่มีชื่อว่า “ผู้พิทักษ์สันติภาพ” (Defensor Pacis/The Defender of Peace) ตีพิมพ์ออกมาในช่วงปี ค.ศ. 1324 โดยมีเนื้อหายืนยันว่า อํานาจในการปกครองมาจากประชาชน และประชาชนมีสิทธิอันชอบธรรมในการแต่งตั้งกษัตริย์ มากไปกว่านั้นเขายังสนับสนุนให้กษัตริย์ นั้นยึดที่ดินทรัพย์สมบัติของศาสนามาเป็นของอาณาจักรด้วย

Advertisement

2. นักคิดคนสําคัญของซินนิคส์ คือ
(1) ไดโอจีนีส
(2) ไดโอนิซุส
(3) เดโมคริตุส
(4) ทาเลส
(5) เอลซีไบเดส
ตอบ 1 หน้า 60 ปรัชญาเมธีคนสําคัญแห่งลัทธิชินนิคส์ (Cyrics) ได้แก่ แอนทิสธิเนส (Antisthenes), ไดโอจีนิส (Diogenes) และเครทิส (Crates)

3.Athens ในสมัย Socrates มีรูปแบบการปกครองแบบใด
(1) Representative Democracy
(2) Direct Democracy
(3) Mixed Democracy
(4) Deliberative Democracy
(5) Participatory Democracy
ตอบ 2 หน้า 17 – 18, (คําบรรยาย) ระบอบการปกครองแรกเริ่มของเอเธนส์ (Athens) สปาร์ต้า (Sparta) และนครรัฐต่าง ๆ ของกรีกนั้น จะเป็นระบอบกษัตริยาธิปไตยหรือราชาธิปไตย (Monarchy) ต่อมาในปี 700 ก่อนคริสตกาลหรือคริสต์ศักราช ระบอบการปกครองก็เปลี่ยนเป็น ระบอบคณาธิปไตย (Oligarchy) จากนั้นในระยะต่อมาระบอบทรราชหรือทุชนาธิปไตย (Tyranny) จึงเข้ามาแทนที่ จนกระทั่งในช่วงปี 400 – 500 ก่อนคริสตกาล ทุก ๆ นครรัฐกรีกจึงได้เปลี่ยน รูปการปกครองมาเป็นแบบประชาธิปไตยโดยตรง (Direct Democracy) ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้ อยู่ในยุคสมัยของซอคราตีส (Socrates) นั่นเอง

4.ความดีของพลเมืองใช้เกณฑ์อะไรเป็นการตัดสิน
(1) กฎธรรมชาติ
(2) ความประพฤติ
(3) กฎหมาย
(4) จารีตประเพณี
(5) เจตนา
ตอบ 3 หน้า 48, (คําบรรยาย) อริสโตเติล กล่าวว่า “ความดีเลิศของพลเมืองดี ไม่สามารถที่จะเป็น เช่นเดียวกับของคนก็ได้ในทุก ๆ เรื่อง” ซึ่งหมายความว่า พลเมืองดีและคนดีนั้นใช้มาตรวัดต่างกัน ทั้งนี้เพราะการเป็นพลเมืองดีจะขึ้นอยู่กับสัมมาแห่งกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญแห่งรัฐที่ตนสังกัดอยู่ แต่การเป็นคนดีนั้นไม่ว่าเจ้าฟ้าหรือยาจกจะตัดสินกันด้วยสัมมาประการเดียวกันหมด

5. การฆ่าคนเป็นสิ่งที่ถูกหรือผิด
(1) อภิปรัชญา
(2) ญาณวิทยา
(3) จริยศาสตร์
(4) ตรรกวิทยา
(5) สุนทรียศาสตร์
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3 – 4) จริยศาสตร์ (Ethics) คือ องค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาถึง สิ่งที่ควรจะเป็น ตลอดจนพฤติกรรมของมนุษย์ที่ควรจะเป็น กล่าวคือ สาขานี้จะศึกษาว่าอะไร คือสิ่งที่ควรกระทําหรือไม่ควรกระทํา อะไรคือสิ่งที่ถูกหรือผิด หรือความดีความชั่วคืออะไร

6. การปกครองในข้อใดมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นการปกครองโดยฝูงชน (Mob Rule) ได้ง่ายที่สุด
(1) คณาธิปไตย
(2) ทุชนาธิปไตย
(3) อภิชนาธิปไตย
(4) ประชาธิปไตย
(5) ราชาธิปไตย
ตอบ 4 หน้า 71, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 86) Seneca ไม่มีความเชื่อถือในการปกครอง ประชาธิปไตย (Democracy) หรือรูปแบบการปกครองที่มอบอํานาจทั้งหมดไว้ให้กับประชาชน
ทั้งนี้เพราะเขาคิดว่ารูปการปกครองแบบนี้มีแนวโน้มที่จะแปรเปลี่ยนไปสู่การปกครองโดยฝูงชน
บ้าคลั่ง (Mob Rute) ได้ง่ายที่สุด

7. มอบความเป็นใหญ่ให้
(1) ครูอาจารย์
(2) บิดามารดา
(3) เจ้านาย
(4) สามี
(5) มิตร
ตอบ 4 หน้า 120, (คําบรรยาย) ข้อปฏิบัติที่สามีพึงมีต่อภรรยา ได้แก่ ยกย่องว่าเป็นภรรยา ไม่ดูหมิ่น ไม่ประพฤตินอกใจ มอบความเป็นใหญ่ให้ และให้เครื่องแต่งตัว

8. เราใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ
(1) อภิปรัชญา
(2) ญาณวิทยา
(3) จริยศาสตร์
(4) ตรรกวิทยา
(5) สุนทรียศาสตร์
ตอบ 2(เอกสารประกอบการสอน หน้า 2 – 3) ญาณวิทยา (Epistemology) หรือบางครั้งอาจเรียกว่า ทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge) ในสาขาย่อยของความรู้ทางปรัชญานี้จะมุ่งศึกษาใน ประเด็นเกี่ยวกับว่ามนุษย์นั้นใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างไร เช่น คุณเห็นตัวหนังสือ ในหนังสือเล่มนี้ได้อย่างไร (ซึ่งอาจจะตอบว่า “ตาผมไม่บอด ผมก็ย่อมมองเห็นน่ะซิ”) เป็นต้น

9. “ผู้พอจะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี ผู้พอจะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี” หมายความว่า
(1) คนฉลาดไม่เท่ากัน
(2) คนฉลาดเท่ากัน
(3) การสอนทําให้คนฉลาด
(4) ความฉลาดอยู่ที่คนสอน
(5) ความโง่อยู่ที่คนสอน
ตอบ 1 หน้า 111 – 112 ในเรื่องความแตกต่างกันของสติปัญญานั้น พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า “เหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยก็มี ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตามากก็มี ผู้มีอินทรีย์กล้าก็มี ผู้มีอินทรีย์อ่อนก็มี ผู้มีอาการดีก็มี ผู้มีอาการชั่วก็มี ผู้พอจะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี ผู้จะพึงสอน ให้รู้ได้ยากก็มี…” ซึ่งเป็นการอธิบายให้เห็นว่าความสามารถ สติปัญญาหรือความเฉลียวฉลาดนั้น
คนอาจจะมีไม่เท่ากัน

10. “ความยุติธรรมคือผลประโยชน์ของผู้ที่แข็งแรงกว่า”
(1) Thrasymachus
(2) Protagoras
(3) Metian
(4) Pericles
(5) ไม่มีตัวเลือกใดสัมพันธ์กับโจทย์
ตอบ 1 หน้า 25 ธราชิมาคัส (Thrasymachus) เห็นว่า หลักสําคัญของความยุติธรรมในทุกหนทุกแห่งคือผลประโยชน์ของผู้ที่แข็งแรงกว่า

11. ใช้เหตุผลนําทางชีวิต
(1) Epicurean
(2) Stoics
(3) Cynics
(4) Polybius
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 67 – 68, 73, (คําบรรยาย) ลัทธิสโตอิกส์ (Stoics) เชื่อว่า คุณธรรมขึ้นอยู่กับความรอบรู้ ซึ่งสามารถหาได้จากเหตุผล เมื่อมีเหตุผลก็สามารถเข้าใจกฎธรรมชาติ ดังนั้นคุณธรรมจึงมีรากฐาน มาจากธรรมชาติ มนุษย์สามารถเข้าถึงได้ด้วยเหตุผลเป็นหลักในการนําทางชีวิตและอยู่ร่วมกัน

12.Defensor Pacis สนับสนุนให้ใครมีสิทธิอันชอบธรรมในการแต่งตั้งกษัตริย์
(1) ประชาชน
(2) พระเจ้า
(3) ใครแต่งตั้งก็ได้
(4) นักบวช
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

13. หากไม่สามารถยอมรับความจริงได้ สโตอิกส์สนับสนุนให้
(1) ไปหาจิตแพทย์
(2) ทําการบูชาเทพเจ้า
(3) ออกบวช
(4) ทําอัตวินิบาตกรรม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 67 – 68, (คําบรรยาย) ลัทธิสโตอิกส์เชื่อถือในธรรมชาติ โดยเห็นว่าคนเราเป็นสิ่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติ แม้สามารถจะใช้เหตุผลทําความเข้าใจธรรมชาติและกฎธรรมชาติได้ แต่ก็ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขสิ่งซึ่งธรรมชาติบัญญัติไว้ ดังนั้นหากใครไม่สามารถ ยอมรับความจริงได้ ทางออกมีอยู่ทางเดียวคือ การกระทําอัตวินิบาตกรรมหรือการฆ่าตัวตาย หรือกล่าวง่าย ๆ ก็คือ รับไม่ได้ก็ตายเสียดีกว่า นั่นเอง

14. เสนอเกี่ยวกับวงจรของระบอบการปกครอง
(1) Epicurean
(2) Stoics
(3) Cynics
(4) Polybius
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 63 – 64 (คําบรรยาย) โพลิเบียส (Polybius) ได้เสนอเกี่ยวกับวงจรของระบอบการปกครอง โดยเห็นว่ารูปการปกครองของกรีกนั้นมีการหมุนเวียนเป็นวัฏจักรไม่มีที่สิ้นสุด เรียกว่า “วงจรของ การปฏิวัตินิรันดร์” (The cycle of eternal revolutions หรือ Anacyclosis) โดยเริ่มต้นจาก รูปการปกครองแบบราชาธิปไตย ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นทุชนาธิไตยหรือทรราช อภิชนาธิปไตย คณาธิปไตย ประชาธิปไตย ฝูงชนบ้าคลั่ง และสุดท้ายก็กลับมาสู่ระบบราชาธิปไตยอีกไม่มีที่ สิ้นสุด อีกทั้งเขายังค้นพบว่าสาเหตุที่อาณาจักรต่าง ๆ เสื่อมลงนั้นเป็นเพราะวัฏจักรของการ เปลี่ยนรูปแบบการปกครองนั่นเอง ดังนั้นจึงได้เสนอให้ดัดแปลงเอาส่วนดีของแต่ละระบอบ การปกครองมาใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวัฏจักรดังกล่าวอีก

15. การอ้างเหตุผลในเรื่องต่าง ๆ ว่ามีลักษณะสมเหตุสมผลหรือไม่อย่างไร
(1) อภิปรัชญา
(2) ญาณวิทยา
(3) จริยศาสตร์
(4) ตรรกวิทยา
(5) สุนทรียศาสตร์
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4) ตรรกวิทยา (Logic) เป็นสาขาหนึ่งในทางปรัชญาที่มุ่งศึกษา ถึงวิธีการให้เหตุผลหรือการอ้างเหตุผลในเรื่องต่าง ๆ ว่ามีลักษณะสมเหตุสมผลหรือไม่อย่างไร แต่ไม่ได้เป็นการมุ่งศึกษาถึงสิ่งที่เป็นพื้นฐานเหมือนในสาขาอื่น ๆ

16. ความคิดทางการเมืองที่พบในพระคัมภีร์ใหม่ คือ
(1) ผู้ปกครองมาจากพระเจ้า
(2) มนุษย์สร้างรัฐ
(3) รัฐเกิดขึ้นตามธรรมชาติ
(4) รัฐเกิดขึ้นจากการทําสัญญา
(5) รัฐเกิดขึ้นจากคนที่แข็งแรง
ตอบ 1 หน้า 77, (คําบรรยาย) พระคัมภีร์ใหม่ของยุโรปในยุคกลาง เชื่อว่ากษัตริย์หรือผู้ปกครองเป็น รากฐานของลัทธิเทวสิทธิ์ (Divine Right) อํานาจการปกครองทั้งหมดเป็นของพระเจ้า กษัตริย์ ทรงเป็นผู้ปกครองโดยได้รับสิทธิการปกครองมาจากพระเจ้า ดังนั้นกษัตริย์จึงทรงมีอํานาจอย่าง ไม่มีขอบเขต และไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ใดนอกจากพระเจ้า พระเจ้าจะเลือกกษัตริย์โดยยึดหลัก สายโลหิต พฤติกรรมของกษัตริย์ พระเจ้าจะเป็นผู้ตัดสินว่าดีหรือไม่ดี ประชาชนหรือองค์การ อื่น ๆ ไม่มีสิทธิจะวินิจฉัย

17. ศาสนาพุทธ มีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือ
(1) บวช
(2) พ้นจากวัฏสงสาร
(3) ทําความดี
(4) ไปเกิดบนสวรรค์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 110 – 111, (คําบรรยาย) เป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายสูงสุดของศาสนาพุทธ คือ การแสวงหาเหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เพื่อให้มนุษย์ ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่รู้จบสิ้นหรือหลุดพ้นจากวัฏสงสาร

18. การศึกษาการเมืองเชิงปทัสถานเกี่ยวข้องกับ
(1) การศึกษาเชิงประจักษ์
(2) วิทยาศาสตร์
(3) ปรัชญาการเมือง
(4) การสังเกตทดลอง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3(เอกสารประกอบการสอน หน้า 8 – 9), (คําบรรยาย) ปรัชญาการเมือง (Political Philosophy) คือ การศึกษาในสิ่งที่เป็นพื้นฐานในทางการเมืองหรือธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ ในทางการเมือง (Nature of Politics) โดยจะไม่มีการแยกคุณค่าออกจากสิ่งที่ศึกษา และไม่สนใจในเรื่องของ ปรากฏการณ์ทางการเมือง ดังนั้นปรัชญาการเมืองจึงถูกเรียกว่า “การศึกษาเชิงปทัสถาน” หรือ บรรทัดฐาน (Normative)

19. การจําแนกรูปแบบการปกครองของอริสโตเติลใช้เกณฑ์อะไรในการจําแนก
(1) จํานวน
(2) เพศ
(3) จุดมุ่งหมายในการปกครอง
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 59 – 61) ในหนังสือ Politics นั้น อริสโตเติลได้จําแนก รูปแบบการปกครองออกเป็นแบบต่าง ๆ โดยใช้หลักเกณฑ์ 2 ปัจจัย คือ
1. จํานวนผู้ใช้อํานาจในการปกครอง ประกอบด้วย คนเดียว คณะบุคคล และมหาชน
2. จุดมุ่งหมายในการปกครอง ประกอบด้วย เพื่อประโยชน์ส่วนรวม และเพื่อประโยชน์ส่วนตน

20.“Empirical Political Theory” คืออะไร
(1) มีการตัดสินเชิงคุณค่า
(2) บรรทัดฐาน
(3) วิทยาศาสตร์
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7, 9), (คําบรรยาย) ทฤษฎีการเมืองเชิงประจักษ์ (Empirical Political Theory) คือ การศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองที่มีฐานคิดอยู่บนหลักการแบบ วิทยาศาสตร์ โดยจะเน้นการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และเน้นทํานาย ปรากฏการณ์ทางการเมือง ซึ่งการศึกษาการเมืองในลักษณะดังกล่าวนี้ได้รับอิทธิพลจากรัฐศาสตร์ กระแสหลักแบบอเมริกัน นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา

21.Demos ที่มาจากคําว่าประชาธิปไตย ในสมัยกรีกหมายถึง
(1) ประชาชนทั่วไป
(2) คนรวย
(3) คนจน
(4) คนชั้นกลาง
(5) คนกรีก
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 21, 62) Democracy (ประชาธิปไตย) มาจากภาษากรีก คําว่า Demokratia ซึ่งเป็นการผสมกันของรากศัพท์ 2 คํา คือ “Demos” (ชนชั้นต่ํา ชนชั้นล่าง คนจน ฝูงชน) และคําว่า “Kratia” (รูปแบบการปกครองหรือระบอบการปกครอง)

22. ข้อใดคือสาระสําคัญของอิพิคิวเรียน
(1) จงมีชีวิตอยู่อย่างไม่ก้าวร้าวใคร
(2) ความยุติธรรมคือการแบ่งสรรที่เหมาะสมแก่คนทุกคน
(3) ความยุติธรรมคือผลประโยชน์ของผู้ที่แข็งแรงกว่า
(4) มนุษย์เกิดมาเสรี แต่ทุกหนทุกแห่งเขาอยู่ใต้พันธนาการ
(5) นักปรัชญาไม่ใช่เพียงผู้ทําความเข้าใจโลก หากคือผู้ที่เปลี่ยนแปลงโลก
ตอบ 1 หน้า 58 ลัทธิอิพิคิวเรียน (Epicurean) ยึดถือคติชีวิตว่า “จงมีชีวิตอยู่อย่างไม่ก้าวร้าวใคร และเชื่อว่า จุดหมายปลายทางของชีวิตคนแต่ละคนคือความสุขเฉพาะตัว และชีวิตที่ดีก็คือชีวิต ที่เพลิดเพลินกับความสําราญต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ ความรู้สึกแห่งความสงบและความสุขที่เกิดขึ้น
ภายหลังจากความต้องการได้รับการตอบสนองแล้ว

23. “Monarchy” หมายถึง
(1) การปกครองโดยคน ๆ เดียวที่ดี
(2) การปกครองโดยคณะบุคคลที่ดี
(3) การปกครองโดยคณะบุคคลที่ไม่ดี
(4) การปกครองโดยมหาชนที่ไม่ดี
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 55, (คําบรรยาย) อริสโตเติล เห็นว่า รัฐที่ดีที่สุดคือรัฐที่ปกครองโดยคน ๆ เดียวที่ดี และมีวัตถุประสงค์เพื่อความสุขของประชาชนทั้งหมด หรือที่เรียกว่าราชาธิปไตย (Monarchy)

24. ห้ามไม่ให้ทําชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี ให้ศึกษาศิลปวิทยา
(1) ครูอาจารย์
(2) บิดามารดา
(3) เจ้านาย
(4) สามี
(5) มิตร
ตอบ 2 หน้า 119 – 120, (คําบรรยาย) ข้อปฏิบัติที่บิดามารดาจึงมีต่อบุตร ได้แก่ ห้ามไม่ให้ทําชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี ให้ศึกษาศิลปวิทยา หาภรรยาที่สมควรให้ และมอบทรัพย์ให้ในสมัย

25. “ของของซีซาร์ จงคืนให้ซีซาร์ และของของพระเจ้า ก็จงคืนให้พระเจ้าเถิด”
(1) St. Aquinas
(2) St. Augustine
(3) Jesus
(4) Gelasius I
(5) John of Salisbury
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 93 – 94) เยซูหรือจีซัส (Jesus) ได้กล่าวไว้ในตอนหนึ่งของ พระคัมภีร์มัทธิว (Matthew) ภายหลังจากที่ถูกพวกหมอสอนศาสนาชาวยิวถามว่า เราต้องเสีย ภาษีให้โรมหรือไม่ (เนื่องจากตอนนั้นอิสราเอลตกเป็นเมืองขึ้นของโรม) โดยพระองค์ตรัสว่า “ของของซีซาร์ จงคืนให้ซีซาร์ และของของพระเจ้า ก็จงคืนให้พระเจ้าเถิด”

26. เนื่องจากชาวคริสเตียนถือว่าผู้ปกครองคือผู้รับใช้พระเจ้า ประชาชนจึงมีฐานะที่
(1) ต้องเคารพเชื่อฟัง
(2) เป็นผู้ปกครองได้
(3) ไม่ต้องฟังผู้ปกครอง
(4) ต้องเลือกผู้ปกครองเอง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 77, (คําบรรยาย) พระคัมภีร์ใหม่แห่งศาสนาคริสต์ อ้างว่า บรรดารัฐบาลและสถาบัน การปกครองต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้นและกําหนดให้เป็นไปทั้งสิ้น การเคารพ เชื่อฟังจึงเป็นพันธะของทุก ๆ คนเช่นเดียวกับพันธะต่อศาสนา และรัฐถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อรักษา ความยุติธรรม ดังนั้นรัฐจึงมีลักษณะแห่งความศักดิ์สิทธิ์ ผู้ปกครองคือผู้รับใช้ของพระเจ้า การเชื่อฟังจึงเป็นสิ่งจําเป็น

27. ทําการงานให้ดีขึ้น
(1) บุตร
(2) ศิษย์
(3) ภรรยา
(4) สมณพราหมณ์
(5) บริวาร
ตอบ 5 หน้า 121, (คําบรรยาย) ข้อปฏิบัติที่บริวาร (ทาสกรรมกร) จึงมีต่อนาย ได้แก่ ลุกขึ้นทํางาน ก่อนนาย เลิกการงานทีหลังนาย ถือเอาแต่ของที่นายให้ ทําการงานให้ดีขึ้น และนําคุณความดีของนายไปสรรเสริญ

28. “ชีวิตที่ดี” ของลัทธิชินนิคส์ คือ
(1) มีอํานาจ
(2) มีเกียรติ
(3) โด่งดัง
(4) ร่ำรวย
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 60 ลัทธิชินนิคส์ เชื่อว่า ความเป็นอยู่อย่างง่าย ๆ หรือการใช้ชีวิตแบบสมถะเรียบง่าย เท่านั้นที่จะเป็นกุญแจทองที่แท้จริงที่สามารถนําคนไปสู่ชีวิตที่ดีได้

29. ผลงานชิ้นสําคัญของเพลโต คือ
(1) The Republic
(2) Euthyphro
(3) Crito
(4) Apology
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 33 เพลโต มีงานเขียนหนังสือที่สําคัญที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมทาง การเมืองชิ้นเอก ได้แก่
1. อุตมรัฐ (The Republic)
2. รัฐบุรุษ (The Statesman)
3. กฎหมาย (The Laws)

30.“Divine Right” (เทวสิทธิ์) ของยุโรปในยุคกลาง คือ
(1) กษัตริย์ได้รับอํานาจมาจากพระเจ้า
(2) อํานาจปกครองเป็นของประชาชน
(3) พระเจ้าลงมาเกิดเป็นกษัตริย์มาปกครอง
(4) แนวคิดหนึ่งของประชาธิปไตย
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

31.Ostracism คืออะไร
(1) กลไกการเลือกตั้งของเอเธนส์
(2) เงินตราสกุลหนึ่งในยุคกรีก
(3) ลัทธิต่อต้านนักปรัชญาการเมือง
(4) การเนรเทศ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 21) กลไกทางการเมืองที่สําคัญประการหนึ่งของการปกครอง แบบประชาธิปไตยเอเธนส์ คือ การเนรเทศคนที่ประชาชนคิดว่าเป็นศัตรูต่อการปกครองแบบ ประชาธิปไตย หรือที่เรียกว่า “Ostracism” โดยพลเมืองทุกคนจะเขียนชื่อของคนที่คิดว่าเป็น ศัตรูต่อประชาธิปไตยลงบนเปลือกหอยแล้วเอาไปวางที่ศูนย์กลางของเมืองหรือตลาด

32. ควรเชื่อฟังกฎหมายแม้ว่าจะดูเหมือนว่ากฎหมายไม่ยุติธรรม
(1) The Republic
(2) Euthyphro
(3) Crito
(4) The Politics
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 42 – 43, 51) ในบทสนทนาใครโต (Crito) นั้น Socrates ได้กล่าวไว้ว่า “แต่เมื่อท่านตัดสินใจเลือกที่จะอยู่ในรัฐ เมื่อนั้นเองมันก็คือ ข้อตกลงที่ว่า ประชาชนทุกคนจะปฏิบัติตามคําสั่งของรัฐ” โดยเขาพยายามอธิบายว่า มนุษย์ต้องเชื่อฟัง กฎหมายของรัฐที่ตนอาศัยอยู่ เพราะว่าเราได้ตกลงทําสัญญากับรัฐไปแล้วจากการที่เราได้ ใช้ประโยชน์จากสิ่งต่างๆภายในรัฐ เมื่อใดก็ตามที่เราจะต้องถูกลงโทษจากรัฐ เราก็จําเป็น จะต้องเชื่อฟัง แม้ว่าเราจะคิดว่ามันไม่เป็นธรรมก็ตาม

33. เป็นบุคคลที่เข้ามาปฏิรูปการเมืองโดยออกกฎว่า ประชาชนสามารถอุทธรณ์ต่อศาลประชาชนได้ ซึ่งศาลประชาชนนี้เองเป็นการแผ้วถางไปสู่หลักการของประชาธิปไตยแบบเอเธนส์ในอนาคต
(1) St. Aquinas
(2) St. Augustine
(3) Gelasius I
(4) Solon
(5) John of Salisbury
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 20) เมื่อปี 594 ก่อนคริสตกาล โซลอน (Solon) ได้เข้ามา ปฏิรูปการศาลและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในเอเธนส์ โดยเขาได้เปลี่ยนกฎเกณฑ์ให้ประชาชนที่ ไม่พอใจการตัดสินของศาลสามารถอุทธรณ์ต่อศาลประชาชนได้ ซึ่งการปฏิรูปครั้งนี้ได้นําไปสู่หลักการของประชาธิปไตยแบบเอเธนส์ในอนาคต

34. เห็นว่ารัฐนั้นชั่วร้ายแต่ก็จําเป็น
(1) Epicurean
(2) Stoics
(3) Cynics
(4) Polybius
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 79 – 80) แนวความคิดของอิพิคิวรุส (Epicurus) ใน ลัทธิEpicurean ไม่ได้ปฏิเสธการมีรัฐหรือรัฐบาล เพราะมองว่าโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เป็น สิ่งมีชีวิตที่เห็นแก่ตัว มนุษย์มักจะแก่งแย่งแข่งขันกัน และมนุษย์นั้นจะเกรงกลัวการลงโทษถ้า เข้มงวดในการใช้กฎหมาย ถ้าไม่มีรัฐหรือสังคมจะทําให้เกิดความวุ่นวายและอาจจะทําให้ตัวเรา เองหาความสงบสุขไม่ได้ ดังนั้นเขาจึงกล่าวว่า “รัฐแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ชั่วร้าย แต่มันก็เป็นสิ่งชั่วร้ายที่จําเป็นจะต้องมี”

35. “ท่านจักรพรรดิที่เคารพ มันมีเพียงอํานาจสองแบบหลัก ๆ ที่ใช้ปกครองโลกใบนี้อยู่ กล่าวคือ อํานาจอัน ศักดิ์สิทธิ์ของพระ และอํานาจของอาณาจักร ซึ่งระหว่างอํานาจสองประการนี้ อํานาจของพระเหนือกว่า”
(1) St. Aquinas
(2) St. Augustine
(3) Jesus
(4) Gelasius I
(5) John of Salisbury
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 104 – 105) สันตะปาปาเจลาเซียสหรือเจลาซิอุสที่ 1 (Gelasius I) ได้ทรงกล่าวไว้ตอนหนึ่งในจดหมายที่เขียนไปหาจักรพรรดิอนาสทาซิอุส แห่งอาณาจักรไบเทนไทน์ว่า “ท่านจักรพรรดิที่เคารพ มันมีเพียงอํานาจสองแบบหลัก ๆ ใช้ปกครองโลกใบนี้อยู่ กล่าวคือ อํานาจอันศักดิ์สิทธิ์ของพระ และอํานาจของอาณาจักร ซึ่งระหว่างอํานาจสองประการนี้ อํานาจของพระเหนือกว่า”

36. สาขาวิชาปรัชญาการเมืองมีความสัมพันธ์กับปรัชญาสาขาใดมากที่สุด
(1) Aesthetics
(2) Metaphysics
(3) Ethics
(4) Logic
(5) Epistemology
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4) ปรัชญาการเมือง (Politicat Philosophy) เป็นสาขาย่อย ของปรัชญาสาขาจริยศาสตร์ (Ethics) ที่มุ่งศึกษาถึงสิ่งที่ควรจะเป็น สิ่งที่ดี สิ่งที่ผิด สิ่งที่ถูก อะไรที่ควรจะทําหรือไม่ควรจะทํา

37. ความสวยงามไม่ใช่สิ่งสากล
(1) อภิปรัชญา
(2) ญาณวิทยา
(3) จริยศาสตร์
(4) ตรรกวิทยา
(5) สุนทรียศาสตร์
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3), (คําบรรยาย) สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) เป็นสาขาหนึ่ง ในทางปรัชญาที่พยายามมุ่งหาคําตอบในแง่มุมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสวยงาม เช่น ความ สวยงามคืออะไร ความน่ารักคืออะไร (ซึ่งอาจจะตอบว่า “ความสวยงามความน่ารักขึ้นอยู่กับ ตนเอง แต่ความสวยงามไม่ใช่สิ่งสากล”) เป็นต้น

38. เลี้ยงดูท่าน ปฏิบัติตนให้สมควรได้รับมรดก
(1) บุตร
(2) ศิษย์
(3) ภรรยา
(4) สมณพราหมณ์
(5) บริวาร
ตอบ 1 หน้า 119, (คําบรรยาย) ข้อปฏิบัติที่บุตรจึงมีต่อบิดามารดา ได้แก่ เลี้ยงดูท่าน รับทํากิจของท่าน ดํารงวงศ์ตระกูล ปฏิบัติตนให้สมควรได้รับมรดก และเมื่อท่านล่วงลับไปแล้วทําบุญอุทิศให้ท่าน

39. ซอคราตีสถูกประหารด้วยวิธีการใด
(1) ตรึงกางเขน
(2) ให้กินยาพิษ
(3) เผาทั้งเป็น
(4) แขวนคอ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 22, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 40 – 41) เพลโตได้เล่าเรื่องของซอคราตีสไว้ใน หนังสือที่ชื่อว่า ยูไธโฟร (Euthiphro) โดยเล่าถึงสาเหตุที่ซอคราตีสโดนฟ้องต่อศาลเอเธนส์ ในข้อหาสร้างลัทธิศาสนาของตนเอง และชักจูงเยาวชนไปในทางที่ผิด ส่วนในหนังสือเรื่อง อโพโลจี (Apology) เป็นเล่มที่เล่าว่า ซอคราตีสพยายามแก้ข้อกล่าวหาในศาลด้วยตัวเอง และสุดท้ายถูกศาลตัดสินพิพากษาประหารชีวิตด้วยการกินยาพิษ

40. ข้อหาที่ทําให้ซอคราตีสถูกตัดสินประหารชีวิต คือ
(1) เป็นแกนนําม็อบ
(2) เป็นคนต่างด้าว
(3) สร้างลัทธิของตนเอง
(4) ชักจูงเยาวชนไปในทางที่ผิด
(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ

41. เน้นความสุขสงบ
(1) Epicurean
(2) Stoics
(3) Cynics
(4) Polybius
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 78 – 79), (คําบรรยาย) ความสุขสงบในทัศนะของ Epicurean ไม่ใช่การแสวงหาความสุขอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่หมายถึง ความสุขสงบในระดับหนึ่งที่ไม่ทําให้ ตนเองเจ็บปวด (Aponia) หรืออยู่อย่างมีความสงบ (Ataraxia) ซึ่งจากแนวคิดนี้เองทําให้ลัทธินี้ เสนอว่า มนุษย์ที่มีปัญญาควรจะหลีกหนีการเมือง

42. ผู้ที่จะเป็นผู้ปกครองในอุตมรัฐได้จะต้องผ่านกระบวนการใด
(1) เลือกตั้ง
(2) หาเสียง
(3) จับสลาก
(4) การศึกษา
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 37 ใน The Republic เพลโตได้วางหลักเกี่ยวกับการศึกษาในอุดมรัฐหรือรัฐในอุดมคติ (Ideal State) ของเขา โดยใช้ระบบการศึกษาเป็นเครื่องมือในการอบรมและเลือกเฟ้นคนในรัฐ ว่าเหมาะสมกับหน้าที่อะไร

43. ผลงานของเพลโตที่สะท้อนแนวคิดประยุกตรัฐ ได้แก่
(1) The Laws
(2) Euthyphro
(3) Crito
(4) The Politics
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 39 แนวคิดประยุกตรัฐในหนังสือ The Laws เพลโตได้หันมาใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ ในการปกครอง ซึ่งเหตุผลที่เพลโตหันมาใช้กฎหมายนั้น เพราะเขาหาราชาปราชญ์ไม่ได้ในโลก
แห่งความจริง

44. คิดค้นทฤษฎีสองดาบ (Theory of Two Swords)
(1) Marsiglio of Padua
(2) Gregory VII
(3) Gelesius II
(4) Boniface VIII
(5) Gelesius I
ตอบ 5 หน้า 85 “ทฤษฎีสองดาบ” (Theory of Two Swords) ของสันตะปาปาเจลาเซียสที่ 1 (Gelasius I) มีหลักการว่า พระเจ้าจะแบ่งอํานาจการปกครองออกเป็น 2 ฝ่าย คือ อํานาจ การปกครองทางโลกกับอํานาจทางธรรม และมอบให้สถาบันศาสนา (วัด) และสถาบันการปกครอง (รัฐ) เป็นผู้ใช้อํานาจนี้ โดยกําหนดว่าสันตะปาปาในฐานะประมุขของวัดมีอํานาจ เหนือกว่าจักรพรรดิซึ่งเป็นประมุขของรัฐในเรื่องเกี่ยวกับศาสนกิจ และจักรพรรดิมีอํานาจ เหนือกว่าสันตะปาปาในกิจกรรมเกี่ยวข้องกับทางโลก นั่นก็คือ วัดกับรัฐต้องใหญ่เฉพาะในอํานาจหน้าที่ของตนเท่านั้น

45. นักคิดคนใดที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดอย่างมากจาก Aristotle
(1) Marsiglio of Padua
(2) John of Salisbury
(3) Aquinas
(4) Augustine
(5) Gelesius I
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 113) แนวความคิดทางการเมืองของอไควนัส (Aquinas) นั้น ได้พยายามเอาความคิดของอริสโตเติล (Aristotle) มาใช้และอธิบายสร้างความชอบธรรมให้กับ ศาสนาคริสต์ที่เป็นกระแสหลักของยุค

46. ศาสนาคริสต์กลายเป็นศาสนาประจําอาณาจักรโรมันในสมัยจักรพรรดิองค์ใด
(1) Marcus Aurelius
(2) Corona
(3) Julius
(4) Nero
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 75, (คําบรรยาย) อิทธิพลของอาณาจักรโรมันที่เกี่ยวข้องกับศาสนาคริสต์ คือ ก่อนสิ้น ศตวรรษที่ 4 จักรพรรดิเธโดดอเสียส (Theodosius) ได้ประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนา ประจําอาณาจักรโรมัน ซึ่งนับตั้งแต่นั้นมาศาสนาคริสต์ก็แผ่รัศมีไปทั่วดินแดนและขยายไปทางตะวันตกเพราะชาวโรมัน

47.“ความจริงแบบสากลไม่มี แต่ละสังคมแตกต่างกัน”
(1) Thrasymachus
(2) Protagoras
(3) Melian
(4) Pericles
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 25), (คําบรรยาย) โปรทากอรัส (Protagoras) เป็นโซฟิสต์ คนหนึ่งที่เชื่อมั่นในวิธีการคิดแบบปัจเจกบุคคล และสัมพัทธนิยมที่ว่าคนแต่ละคนมีอิสระที่จะทําตามสิ่งที่ตนเองคิด โดยในแต่ละสังคมนั้นก็มีความจริงกันคนละอย่างเพราะความจริงเป็นเรื่อง ของการให้คุณค่าของแต่ละคน กล่าวคือ “ความจริงแบบสากลไม่มี แต่ละสังคมแตกต่างกัน”

48. ให้ปัน เจรจาดี ประพฤติประโยชน์
(1) ครูอาจารย์
(2) บิดามารดา
(3) เจ้านาย
(4) สามี
(5) มิตร
ตอบ 5 หน้า 121, (คําบรรยาย) ข้อปฏิบัติต่อมิตร ได้แก่ การให้ปัน เจรจาดีหรือถ้อยคําที่เป็นที่รัก ประพฤติประโยชน์ ความเป็นผู้มีตนเสมอ และไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความเป็นจริง

49. “Pality” หมายถึง
(1) การปกครองโดยคน ๆ เดียวที่ดี
(2) การปกครองโดยคณะบุคคลที่ดี
(3) การปกครองโดยคณะบุคคลที่ไม่ดี
(4) การปกครองโดยมหาชนที่ไม่ดี
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 52, (คําบรรยาย) ในประยุกตรัฐนั้น อริสโตเติลได้กําหนดรูปการปกครองบนรากฐาน ของหลักการผสมระหว่างประชาธิปไตย (Democracy) กับคณาธิปไตย (Oligarchy) หรือที่ เรียกว่า ระบบมัชฌิมวิถีอธิปไตย หรือ “โพลิตี้” (Polity) หรือประชาธิปไตยแบบสายกลาง (Moderated Democracy) ซึ่งหมายถึง การปกครองโดยมหาชนที่ดี

50. อํานาจสูงสุดตามความเห็นของ Aquinas คือ
(1) อํานาจทางโลก
(2) อํานาจทางธรรม
(3) ใช้อํานาจทางโลกร่วมกัน
(4) อํานาจของผู้ปกครองในแต่ละรัฐ
(5) ศาสนาจักรใช้อํานาจปกครองเอง
ตอบ 2 หน้า 90 – 91, (คําบรรยาย) อํานาจระหว่างฝ่ายศาสนากับฝ่ายปกครองนั้น Aquinas กล่าวว่า “อํานาจทางโลกอยู่ภายใต้อํานาจทางธรรม เสมือนร่างกายอยู่ภายใต้จิตใจ ดังนั้นการที่ฝ่ายพระ จะเข้าไปก้าวก่ายในกิจกรรมทางโลก ซึ่งเป็นสาระที่อยู่ภายใต้อํานาจทางธรรมจึงไม่เรียกว่าเป็น การช่วงชิงอํานาจแต่อย่างใด”

51. พวกใดเป็นผู้กล่าวข้อความดังต่อไปนี้ “ฝ่ายที่แข็งแกร่งกว่าย่อมทําในสิ่งที่พวกเขาสามารถทําได้
ส่วนผู้ที่อ่อนแอกว่าสมควรแล้วที่จะเป็นฝ่ายรับความทุกข์ยาก”
(1) Melian
(2) Athens
(3) Sparta
(4) Delos
(5) Tisias
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 25 – 26, 29 – 30, 37 – 38) ใน “Melian Dialogue” ชาว Athens ได้อ้างถึงความยุติธรรมในการโจมตีชาว Melian โดยกล่าวว่า “ฝ่ายที่แข็งแกร่งกว่า ย่อมทําในสิ่งที่พวกเขาสามารถทําได้ ส่วนฝ่ายที่อ่อนแอกว่าสมควรแล้วที่จะเป็นฝ่ายรับความ ทุกข์ยาก” ซึ่งสอดคล้องกับคํากล่าวที่ว่า “ชนะเป็นเจ้า” หรือ “คนชนะทําอะไรก็ได้” โดย แนวคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมที่ชาว Athens นํามาอ้างนั้นมีความคล้ายคลึงกับความคิดของ ธราซิมาคัส (Thrasymachus) ที่กล่าวไว้ว่า “ความยุติธรรมคือการกําหนดของผู้ที่แข็งแรงกว่า” (Justice is nothing but the advantage of the stronger)

52. แนวคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมใน Melian Dialogue มีความสอดคล้องกับข้อใด
(1) หมาหางด้วน
(2) ผีเห็นผี
(3) ชนะเป็นเจ้า
(4) คมในฝัก
(5) ปลาเล็กกินปลาใหญ่
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

53. ศาสนาฮินดู มีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือ
(1) แบ่งภาคมาเป็นผู้ปกครอง
(2) ออกไปจากพรหม
(3) จุติเป็นเทพ
(4) รวมกับพรหม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 96 – 97, (คําบรรยาย) ในสมัยฮินดูแท้ มีความเชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด โดยเชื่อว่า วิญญาณทั้งหลายย่อมออกจากพรหม (ปฐมวิญญาณ) และจะเวียนว่ายตายเกิด ในสังสาระหรือภพชาติต่าง ๆ ตามแต่กรรมที่ได้กระทําไว้จนกว่าจะพบความหลุดพ้น (โมกษะ) จากการเกิดรวมเข้าสู่พรหมเช่นเดิม ดังนั้นผู้ที่แสวงหาทางหลุดพ้นจึงต้องออกจากโลกียธรรม ถือเพศเป็นวานปรัสถ์ (ผู้อยู่ป่า) ก่อนถึงจะสามารถเข้ารวมกับพรหมได้

54. สํานักศึกษาของอริสโตเติลมีชื่อว่า
(1) อเค็ดเดมี่
(2) ลียง
(3) ลีเซียม
(4) อเล็กซานเดรีย
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 45 อริสโตเติล ได้เปิดสํานักศึกษาของตนเองขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า ลีเซียม (Lyceum) ภายหลังที่ถูกยึดครองจากอาณาจักรมาเซโดเนีย โดยผลงานสําคัญและหนังสือของเขาได้รับ การจัดพิมพ์ขึ้นภายหลังที่เขาเสียชีวิตไปแล้วประมาณ 400 ปี คือ รัฐธรรมนูญของกรุงเอเธนส์ (The Constitution of Athens) และการเมือง (Politics)

55. “ท่านจักรพรรดิที่เคารพ มันมีเพียงอํานาจสองแบบหลัก ๆ ที่ใช้ปกครองโลกใบนี้อยู่ กล่าวคือ อํานาจ อันศักดิ์สิทธิ์ของพระ และอํานาจของอาณาจักร ซึ่งระหว่างอํานาจสองประการนี้อํานาจของพระเหนือกว่า”
ข้อความดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับข้อใด
(1) St. Aquinas
(2) St. Augustine
(3) Jesus
(4) Gelasius I
(5) John of Salisbury
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

56. ประกาศหลักการว่าฆราวาสที่มายุ่งเกี่ยวกับกิจการสงฆ์เป็นสิ่งที่ผิด และอํานาจทางโลกไม่สามารถที่จะ ก้าวก่ายโลกทางจิตวิญญาณได้ (Lay Investiture)
(1) Marsiglio of Padua
(2) Gregory VII
(3) Gelesius II
(4) Boniface VIII
(5) Gelesius I
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 108) สันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 7 (Gregory VII) ได้ทรง ประกาศหลักการว่า ฆราวาสที่มายุ่งเกี่ยวกับกิจการสงฆ์เป็นสิ่งที่ผิด และอํานาจทางโลกไม่ สามารถที่จะก้าวก่ายโลกทางจิตวิญญาณได้ (Lay Investiture)

57. “Isogoria” ในระบบการเมืองแบบ Democracy ของ Athens คืออะไร
(1) คนทําผิดแบบเดียวกันก็ต้องได้รับโทษแบบเดียวกัน
(2) ทุกคนมีสิทธิยื่นฎีกาได้
(3) ทุกคนมีสิทธิตามธรรมชาติ
(4) ทุก ๆ คนมีสิทธิในการพูดอย่างเท่าเทียม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 19 – 20 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 21) การเมืองของเอเธนส์ (Athens) ในช่วง 500 ปีก่อนคริสตกาล มีลักษณะดังนี้
1. การดํารงตําแหน่งบริหารกิจการสาธารณะจะไม่ใช้วิธีการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง แต่จะใช้ “การจับฉลาก” (By Lot) มีเพียงไม่กี่ตําแหน่งเท่านั้นที่ยังคงใช้การแต่งตั้งตามความสามารถ นั่นก็คือ การเป็นแม่ทัพ
2. หัวใจสําคัญของการปกครองแบบประชาธิปไตย คือ Isonomia (หลักการที่ว่าทุกคนเสมอภาค ต่อหน้ากฎหมาย) และ Isogoria (หลักการที่ว่าทุกคนมีสิทธิในการพูดอย่างเท่าเทียมกัน)
3. ทาสเป็นชนชั้นที่ใหญ่ที่สุดของนครรัฐ โดยมีกฎหมายของรัฐให้การพิทักษ์บรรดาทาส
4. พลเมืองขายที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป จะมีสิทธิทางการเมืองการปกครอง ส่วนเด็ก ผู้หญิง และชนต่างด้าวจะไม่มีสิทธิในการปกครองแต่อย่างใด เป็นต้น

58. ผลงานชิ้นสําคัญของอริสโตเติล ได้แก่
(1) De Cive
(2) Politics
(3) Republican Virtue
(4) Telos-Arete
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 54. ประกอบ

59. คนกลุ่มใดของ Athens ที่มีสิทธิทางการเมือง
(1) พลเมืองเพศหญิง
(2) พลเมืองเพศชาย
(3) ทหารที่ผ่านการรับ
(4) ชนต่างด้าว
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 57. ประกอบ

60. พระเจ้าในลัทธิสโตอิกส์คือข้อใด
(1) จูปิเตอร์
(2) ซุส
(3) ยิ่งใหญ่จนไม่สามารถเอ่ยชื่อได้
(4) ธรรมชาติ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 67, (คําบรรยาย) ลัทธิสโตอิกส์ เชื่อถือและให้ความสําคัญในเรื่องธรรมชาติมากที่สุด โดยเปรียบธรรมชาติเป็นเสมือนพระเจ้า ทั้งนี้เพราะเชื่อว่าสรรพสิ่งทั้งหลายในจักรวาลเกิดขึ้น ตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติ โดยมีกฎหมายธรรมชาติเป็นกฎสากล ทําหน้าที่ปกครองสิ่งมีชีวิตทั้งมวล เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และกําหนดวิถีความเป็นไปของทุกสิ่งทุกอย่างไว้ ซึ่งมีรากฐานมาจากเหตุผล ดังนั้นจึงทําให้กฎหมายธรรมชาตินี้เป็นสิ่งที่แน่นอนและไม่มีวันเปลี่ยนแปลง

61. ความจริงแท้สูงสุดคืออะไร เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม
(1) อภิปรัชญา
(2) ญาณวิทยา
(3) จริยศาสตร์
(4) ตรรกวิทยา
(5) สุนทรียศาสตร์

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 2) อภิปรัชญา (Metaphysic) คือ องค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาถึง แก่นแท้หรือความเป็นจริงสูงสุดของสิ่งต่าง ๆ ในโลก ยกตัวอย่างเช่น ในสาขานี้อาจจะตั้งคําถามว่า ความจริงแท้สูงสุดคืออะไร เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม หรือสิ่งที่เป็นแก่นสารของสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ มีที่มาจากอะไร เช่น ทาเลส (Thales) พยายามอธิบายว่า น้ำคือต้นกําเนิดของสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ หรือเฮราไคลตุส (Heraclitus) เสนอว่า ไฟต่างหากที่เป็นปฐมธาตุของสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ เป็นต้น

62. การจับสลากในระบบนครรัฐเอเธนส์มีไว้เพื่อจุดหมายใด
(1) เนรเทศ
(2) ออกกฎหมาย
(3) แต่งงาน
(4) แสดงเจตจํานงสูงสุด
(5) ตัดสินคดีความ
ตอบ 5 หน้า 20 – 22, (คําบรรยาย) สถาบันการเมืองการปกครองของนครรัฐเอเธนส์ มี 4 องค์กร ได้แก่
1. สภาประชาชน (Assembly of Ecclesia) ประกอบด้วย พลเมืองชายทุกคนที่มีคุณสมบัติ คือ มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ถือว่าเป็นสถาบันที่แสดงเจตจํานงสูงสุดของเอเธนส์ โดยทําหน้าที่ นิติบัญญัติ ควบคุมนโยบายต่างประเทศ และควบคุมฝ่ายบริหาร
2. คณะมนตรีห้าร้อย (Council of Five Hundred) ประกอบด้วย พลเมืองชาย 500 คน ซึ่งคัดเลือกโดยใช้วิธีจับสลากจากแต่ละเผ่า ๆ ละ 50 คน เป็นองค์การปกครองประจํา ปฏิบัติงานในระหว่างสมัยประชุมของสภาและอํานวยงานของสภาในวาระประชุม
3. ศาล (Court) ประกอบด้วย พลเมืองชายที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปจํานวน 6,000 คน ซึ่งคัดเลือก โดยใช้วิธีจับสลากจากแต่ละเผ่า ๆ ละ 600 คน ทําหน้าที่ตัดสินคดีความทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา
4. คณะสิบนายพล (Ten Generals) เป็นตําแหน่งที่ขึ้นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงและสามารถ จะครองตําแหน่งต่อไปได้อีกเมื่อหมดวาระแล้วหากได้รับเลือกซ้ำอีก โดยองค์กรนี้จะมีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบายและทางการเมืองมาก

63. คุณธรรมที่เหมาะสมกับการเป็นผู้พิทักษ์หรือทหารของรัฐ ได้แก่
(1) ผู้ที่มีตัณหาในจิตใจมาก
(2) ผู้ที่มีความกล้าหาญในจิตใจมาก
(3) ผู้ที่มีเหตุผลในจิตใจมาก
(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 36, (คําบรรยาย) เพลโต จําแนกความยุติธรรม (Justice) ของบุคคลในรัฐโดยใช้คุณธรรม ประจําจิต โดยเขาเห็นว่าการที่ผู้ใดควรจะเป็นชนชั้นใดนั้นขึ้นอยู่กับคุณธรรมประจําจิตของแต่ละคน ถ้าจิตของผู้ใดถูกครอบงําด้วยตัณหาหรือความอยากก็ควรจะทําหน้าที่เป็นผู้ผลิต (ชาวนา พ่อค้า ช่างฝีมือ) ถ้าจิตของผู้ใดถูกครอบงําด้วยความกล้าหาญ หน้าที่ของเขาก็ควรจะเป็นผู้พิทักษ์หรือ ทหาร และถ้าจิตของผู้ใดถูกครอบงําด้วยเหตุผล เขาผู้นั้นก็เหมาะสมที่จะเป็นผู้ปกครอง

64. แนะนําดี ให้เรียน
(1) ครูอาจารย์
(2) บิดามารดา
(3) เจ้านาย
(4) สามี
(5) มิตร
ตอบ 1 หน้า 120, (คําบรรยาย) ข้อปฏิบัติที่ครูอาจารย์พึงมีต่อศิษย์ ได้แก่ แนะนําดี ให้เรียนดี บอกศิษย์ ด้วยดีในศิลปวิทยาทั้งหมด ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง และทําความป้องกันในทิศทั้งหลาย

65. สโตอิกส์ให้ความสําคัญในเรื่องใดมากที่สุด
(1) ธรรมชาติ
(2) วรรณคดี
(3) การเมือง
(4) การทหาร
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 60. ประกอบ

66. เป็นชาวยิว เคยเป็นช่างไม้
(1) St. Aquinas
(2) St. Augustine
(3) Jesus
(4) Gelasius I
(5) John of Salisbury
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 89), (คําบรรยาย) เยซูหรือจีซัส (Jesus) เป็นชาวยิว และ เคยเป็นช่างไม้มาก่อน มาจากเมืองนาซาเร็ท (Nazareth) ในอิสราเอล เยซูได้เริ่มออกเทศนา สั่งสอนคนเมื่ออายุ 30 ปี โดยอ้างว่าตนเป็นบุตรของพระเจ้า (Son of God) และให้ประชาชน นั้นกลับใจใหม่ละทิ้งความชั่ว บุคคลใดที่เชื่อฟังเมื่อตายไปแล้วก็จะมีชีวิตนิรันดรได้ไปเสวยสุข อยู่กับพระเจ้า ส่วนบุคคลใดที่ไม่เชื่อฟังและไม่กลับใจใหม่ก็จะต้องไปมีชีวิตอยู่ในนรกตลอด กาล โดยภายหลังจากเยซูเผยแผ่คําสอนได้ 3 ปี ก็ถูกพวกยิวกล่าวหาว่าหมิ่นศาสนาและไป ฟ้องโรม ในท้ายที่สุดเยซูก็ถูกจับตรึงกางเขนจนเสียชีวิตเมื่ออายุ 33 ปี (คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เริ่มนับจากปีที่พระเยซูเกิดเป็นปีแรก)

67. คุณธรรมที่เหมาะสมกับการเป็นผู้ผลิตของรัฐ ได้แก่
(1) ผู้ที่มีตัณหาในจิตใจมาก
(2) ผู้ที่มีความกล้าหาญในจิตใจมาก
(3) ผู้ที่มีเหตุผลในจิตใจมาก
(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 63. ประกอบ

68. ผู้ที่มีบทบาทสนับสนุนแนวคิด “Plenitudo Potestatis” มากที่สุด คือ
(1) St. Aquinas
(2) St. Paul
(3) St. Augustine
(4) John of Salisbury
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 86, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 110) ) จอห์นแห่งซัลส์เบอรี่ (John of Salisbury) เกิดในยุคศตวรรษที่ 12 (ค.ศ. 1120 – 1180) เป็นชาวอังกฤษโดยกําเนิด ซึ่งเขามีความเชื่อว่า อํานาจของสันตะปาปานั้นมีล้นพ้นและมีเหนือกว่าอํานาจของอาณาจักรที่กษัตริย์เป็นผู้ใช้ โดย หลักการดังกล่าวนี้สันตะปาปาจะมีอํานาจเต็มที่ทั้งทางจิตวิญญาณและทางโลก หรือที่เรียกว่า Plenitudo Potestatis/Fullness of Power

69. ต่อต้านรัฐและสังคม
(1) Epicurean
(2) Stoics
(3) Cynics
(4) Polybius
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 60 – 61, (คําบรรยาย) ปรัชญาซินนิคส์ (Cynics) นั้นต่อต้านรัฐ ตลอดจนสถาบันต่าง ๆ ทางปกครองและสังคม (ทั้งด้านการศึกษา วัฒนธรรม ศาสนา รวมทั้งชนชั้นด้วย) โดยกล่าวว่า สิ่งเหล่านั้นทําให้คนไม่สามารถบรรลุถึงศีลธรรม ความฉลาด ความสมบูรณ์ในตัวเอง และ ความเป็นอิสระ นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งที่ทําให้คนมีสถานะแตกต่างกันเป็นคนจน คนรวย ทาส ทั้ง ๆ ที่ในความจริงแล้วคนเราไม่ว่าเจ้าฟ้ายาจกมีความเท่าเทียมกันทั้งนั้น

70. “Oligarchy” หมายถึง
(1) การปกครองโดยคน ๆ เดียวที่ดี
(2) การปกครองโดยคณะบุคคลที่ดี
(3) การปกครองโดยคณะบุคคลที่ไม่ดี
(4) การปกครองโดยมหาชนที่ไม่ดี
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 55, (คําบรรยาย) อริสโตเติล เห็นว่า อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) คือระบบการปกครอง โดยคณะบุคคลจํานวนหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติแห่งความเฉลียวฉลาด และมีจุดมุ่งหมายที่จะนําสันติสุข มาสู่คนทั้งหลายในรัฐ แต่ถ้าเป็นการปกครองโดยคณะบุคคลที่ไม่ดี โดยมุ่งที่จะใช้อํานาจเพื่อ ความผาสุกของพวกตนเพียงกลุ่มเดียว จะเรียกว่าคณาธิปไตย (Oligarchy)

71. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับอุดมการณ์ทางการเมือง
(1) Liberalism
(2) Sociatism
(3) Conservatism
(4) Political Ideology
(5) ทุกข้อเกี่ยวข้องกับอุดมการณ์ทางการเมือง
ตอบ 5 หน้า 2, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 10), (คําบรรยาย) อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology) เป็นความเชื่อต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งเสมือนเป็นความจริงสูงสุด ซึ่งมักใช้ ในรูปของความเชื่อและความคิดในระดับไม่ลึกซึ้งนัก และไม่จําเป็นต้องเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือ ยึดหลักศีลธรรมหรือคุณธรรมทางการเมือง แต่จะเป็นความคิดหรือความเชื่อที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อกล่อมเกลาสมาชิกที่ยึดถือให้มีแนวความคิดไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งอาจจะมีที่มาจาก ความคิดของนักปรัชญาการเมืองคนหนึ่งหรือหลาย ๆ คน ก็ได้ เช่น อุดมการณ์ทางการเมือง แบบเสรีนิยม (Liberalism), อนุรักษนิยม (Conservatism), สังคมนิยม(Socialism), ชาตินิยม (Nationalism), ฟาสซิสม์ (Fascism), มาร์กซิสม์ (Marxism) ฯลฯ บางครั้งยังพบว่า มีผู้เรียกอุดมการณ์ทางการเมืองว่าเป็น “ศาสนาทางการเมือง” อีกด้วย

72. “การศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองแบบเดียวกับวิทยาศาสตร์ เพื่ออธิบายและมุ่งทํานายปรากฏการณ์ทางการเมือง”
(1) Empirical Political Theory
(2) Political Philosophy
(3) Ideology
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ

73. “ธรรมชาตินั้นปรารถนาที่จะแบ่งแยกร่างกายของเสรีชนและทาส โดยให้ร่างกายของพวกทาสนั้นแข็งแรง
เพื่อที่จะทํางานหนักได้”
(1) Thrasymachus
(2) Protagoras
(3) Melian
(4) Pericles
(5) ไม่มีตัวเลือกใดสัมพันธ์กับโจทย์
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 69 – 70) Aristotle กล่าวว่า “ธรรมชาตินั้นปรารถนาที่จะ แบ่งแยกร่างกายของเสรีชนและทาส โดยให้ร่างกายของพวกทาสนั้นแข็งแรงเพื่อที่จะทํางานหนักได้ ในทางตรงกันข้ามกับอีกคนหนึ่งนั้นร่างกายไม่มีประโยชน์อันใดต่องานที่ต้องใช้แรงกาย แต่เขาก็มีสติปัญญาที่เป็นประโยชน์กับชีวิตทางการเมืองทั้งด้านศิลปะในภาวะสงครามและภาวะ ที่สงบสุข… มันเป็นที่ชัดเจนว่าคนบางคนนั้นเกิดมาตามธรรมชาตินั้นเป็นเสรีและคนบางคนนั้น เกิดมาเป็นทาส และการเป็นทาสดังกล่าวนี้ก็เป็นสิ่งที่เหมาะสมและถูกต้องเป็นอย่างยิ่ง”

74.เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ
(1) บุตร
(2) ศิษย์
(3) ภรรยา
(4) สมณพราหมณ์
(5) บริวาร
ตอบ 2 หน้า 120, (คําบรรยาย) ข้อปฏิบัติที่ศิษย์พึงมีต่ออาจารย์ ได้แก่ ลุกขึ้นยืนรับ เข้าไปยืนคอย ต้อนรับ เชื่อฟัง ปรนนิบัติ และเรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ

75. “สิ่งที่คนหนึ่งเห็นว่ายุติธรรมก็เป็นความยุติธรรมเฉพาะตัวของเขาเท่านั้น”
(1) Thrasymachus
(2) Protagoras
(3) Metian
(4) Pericles
(5) ไม่มีตัวเลือกใดสัมพันธ์กับโจทย์
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 25) โปรทากอรัส (Protagoras) กล่าวว่า “สิ่งที่บุคคลหนึ่ง เห็นว่าเป็นความยุติธรรม มันก็เป็นความยุติธรรมเฉพาะตัวของเขาเท่านั้น สิ่งที่เห็นว่าเป็นความยุติธรรมของเมืองหนึ่งมันก็เป็นความยุติธรรมเฉพาะของเมืองนั้น”

76. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ Aristotle
(1) มนุษย์เป็นสัตว์การเมือง
(2) การปกครองแบบประชาธิปไตยดีที่สุดสําหรับเขา
(3) มนุษย์เป็นคนชั่วแต่เกิด
(4) รัฐเกิดขึ้นมาจากการตกลงกันระหว่างมนุษย์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 54 – 57) Aristotle ไม่เคยกล่าวไว้ว่า “โดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” แต่เขากล่าวว่า “โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เป็นสัตว์การเมือง” โดยมนุษย์จะไม่สามารถบรรลุศักยภาพของตนได้เลยถ้าเขาอยู่คนเดียว เนื่องจากมนุษย์จําเป็นจะต้องมี ปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์คนอื่นโดยเฉพาะปฏิสัมพันธ์ในด้านการเมือง แต่ในทางตรงกันข้ามถ้ามนุษย์ อยู่เพียงลําพังโดยไม่มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์คนอื่น มนุษย์ก็คงไม่ต่างกับสัตว์ป่าแต่อย่างใด ดังคํากล่าวว่า “คนที่อยู่คนเดียวได้ ถ้าไม่ใช่สัตว์ป่าก็ต้องเป็นเทพเจ้า” นอกจากนี้เขายังเชื่อว่า มนุษย์มีความแตกต่างกับสัตว์ คือ มนุษย์มีภาษาอันกอปรไปด้วยเหตุผล ไม่ใช่ภาษาแบบเดียว กับสัตว์ที่ส่งเสียงออกไปตามสัญชาตญาณ ด้วยความสามารถพิเศษของมนุษย์นี้เอง เมื่อเขามี ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์คนอื่น ๆ ในทางสาธารณะหรือในทางการเมือง จึงทําให้มนุษย์สามารถ บรรลุจุดมุ่งหมายของการเป็นมนุษย์ได้

77. “ดาบเล่มแรกนั้นถูกใช้โดยมือของนักบวช ส่วนเล่มที่สองถูกใช้ด้วยมือของกษัตริย์และนักรบทั้งหลายแต่กระนั้นการใช้ดาบเล่มที่สองนี้มันจะต้องเป็นไปตามจุดมุ่งหมายและการยินยอมของนักบวช ดาบ เล่มที่สองนี้ต้องอยู่ภายใต้ดาบเล่มแรก หรือกล่าวให้ถูกต้องก็คือ อํานาจทางโลกต้องอยู่ภายใต้อํานาจ
แห่งจิตวิญญาณ
(1) Marsiglio of Padua
(2) Gregory VII
(3) Gelesius II
(4) Boniface VIII
(5) Gelesius I
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 109 – 110) สันตะปาปาโบนิเฟสที่ 8 (Boniface VIII) กล่าวว่า “ มันมีดาบอยู่สองเล่ม คือ ดาบที่ใช้ปกครองจิตวิญญาณและดาบที่ใช้ปกครองทางโลก ซึ่งดาบสองเล่มนี้ต่างก็อยู่ภายใต้การควบคุมของศาสนจักร….กล่าวคือ ดาบเล่มแรกนั้น คือ ดาบแห่งจิตวิญญาณ มันถูกใช้โดยตรงโดยศาสนจักร ส่วนดาบอีกเล่มหนึ่งคือ ดาบที่ใช้ปกครอง ทางโลกนั้นมันถูกมอบให้ใช้ในนามของศาสนจักร กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ดาบเล่มแรกนั้นถูกใช้ โดยมือของนักบวช ส่วนเล่มที่สองถูกใช้ด้วยมือของกษัตริย์และนักรบทั้งหลาย แต่กระนั้นการ ใช้ดาบเล่มที่สองนี้มันจะต้องเป็นไปตามจุดมุ่งหมายและการยินยอมของนักบวช ดาบเล่มที่สองนี้ ต้องอยู่ภายใต้ดาบเล่มแรก หรือกล่าวให้ถูกต้องก็คือ อํานาจทางโลกต้องอยู่ภายใต้อํานาจแห่ง จิตวิญญาณ”

78. ทฤษฎีองค์อินทรีย์เป็นการอธิบายเรื่องอะไร
(1) การรับมอบอํานาจการปกครองมาจากพระเจ้า
(2) ทฤษฎีที่อธิบายว่าพระเจ้าคือสิ่งมีชีวิต
(3) การเปรียบเทียบสถาบันการปกครองกับร่างกาย
(4) การทําหน้าที่ทางจิตวิญญาณของพระ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 86 – 87 จอห์นแห่งซัลส์เบอรี่ (John of Salisbury) เป็นนักทฤษฎีการเมืองยุคกลาง คนแรกที่ใช้ “ทฤษฎีองค์อินทรีย์” (Crganic Analogy) อธิบายเกี่ยวกับองค์ประกอบของรัฐหรือ ประชาคมการเมือง ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบสถาบันการปกครองกับร่างกาย โดยกล่าวว่า รัฐเปรียบ เสมือนร่างกายของมนุษย์ โดยกษัตริย์เปรียบเสมือนศีรษะหรือส่วนสมอง ฝ่ายศาสนาเปรียบเสมือน ดวงวิญญาณ ฯลฯ ซึ่งองค์ประกอบทุกส่วนนี้จะร่วมกันเพื่อสร้างองค์อินทรีย์ที่ดีขึ้นมา

79. ขยันไม่เกียจคร้านในกิจทั้งปวง
(1) บุตร
(2) ศิษย์
(3) ภรรยา
(4) สมณพราหมณ์
(5) บริวาร
ตอบ 3 หน้า 120, (คําบรรยาย) ข้อปฏิบัติที่ภรรยาพึงมีต่อสามี ได้แก่ จัดการงานดี สงเคราะห์คน ข้างเคียงสามีดี ไม่ประพฤตินอกใจสามี รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ และขยันไม่เกียจคร้านในกิจทั้งปวง

80.“Telos” มีความหมายถึง
(1) จุดมุ่งหมายปลายทาง
(2) ความประเสริฐเฉพาะ
(3) ความยุติธรรม
(4) กําเนิดรัฐ
(5) เสรีภาพ
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 55) คําว่า “Telos” (เทลอส) ในภาษากรีก แปลว่า จุดมุ่งหมายปลายทาง จุดมุ่งหมาย เป้าประสงค์ หรือจุดประสงค์ ส่วนคําว่า Arete หรือ Virtue ที่แปลว่า ความประเสริฐเฉพาะ หรือคุณธรรมนั้น เมื่อนํามาเกี่ยวข้องกับ Telos จะหมายความว่า การเป็นสิ่งที่ทําให้บรรลุถึง Telos นั่นเอง

81. ห้ามจากความชั่ว ให้ตั้งในความดี
(1) เจ้านาย
(2) บิดามารดา
(3) ภรรยา
(4) สมณพราหมณ์
(5) บริวาร
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ

82. สิ่งที่แสดงถึง Rule of Men ในประยุกตรัฐ ได้แก่
(1) คณะผู้ปกครอง
(2) ประชาชน
(3) กฎหมาย
(4) จารีตประเพณี
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 41 เพลโต ได้เสนอแนวความคิดเรื่องการปกครองโดยคน (Rule of Men) โดยกําหนดให้ ประยุกตรัฐมีคณะผู้ปกครองพิเศษขึ้นมาอีกคณะหนึ่ง เพื่อทําหน้าที่ควบคุมตําแหน่งผู้ที่มาจาก การเลือกตั้ง ซึ่งคณะผู้ปกครองพิเศษนี้เรียกว่า “คณะมนตรีรัตติกาล” (Nocturnal Council)

83. “คนชนะทําอะไรก็ได้”
(1) Thrasymachus
(2) Protagoras
(3) Melian
(4) Pericles
(5) ไม่มีตัวเลือกใดสัมพันธ์กับโจทย์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

84. ความก้าวหน้าทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ทําให้การศึกษาวิชาการเมืองเปลี่ยนไป
(1) เลิกศึกษางานของกรีก
(2) ไม่สร้างทฤษฎี
(3) เน้นสร้างทฤษฎีโดยสังเกตการณ์มากขึ้น
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 3 หน้า 14 จากข้อเขียนของ ดร.ทินพันธุ์ นาคะตะ ในภาคผนวกนั้นได้อธิบายไว้ว่า ความก้าวหน้า ในด้านพฤติกรรมศาสตร์ มีผลทําให้การศึกษาวิชาการเมืองเปลี่ยนความสนใจจากการเน้นในเรื่อง สถาบันและปัญหาในทางปฏิบัติ ไปสู่การสร้างทฤษฎีที่อาศัยการสังเกตการณ์มากขึ้น และโดยที่ การศึกษาวิจัยอย่างมีระเบียบวิธี จําเป็นต้องมีทฤษฎีเป็นแนวทางในการจัดระเบียบข้อมูลหรือ ความรู้ที่ได้มา

85.“Melian Dialogue” เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับข้อใด
(1) เป็นบทสนทนาของ Plato กับพวกโซฟิสต์
(2) การสนทนาของพวก Melian กับ Athens
(3) การสนทนาระหว่าง Athens กับ Sparta
(4) การเจรจาระหว่าง Sparta กับ Melian
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27 – 28) ธูซิดิดิส (Thucydides) เป็นผู้เขียน บทสนทนา ของชาวมีเลี่ยน หรือ “Melian Dialogue” ซึ่งเป็นบทสนทนาระหว่างพวกมีเลี่ยน (Melian) กับเอเธนส์ (Athens) ในช่วงสงครามเพโลโพนีเซียน (Petoponesian War)

86. การพูดคําหยาบ คําส่อเสียด คําแซะ คําเพ้อเจ้อ เป็นอกุศลกรรมหรือบาปข้อใด
(1) กายทุจริต
(2) มโนทุจริต
(3) วจีทุจริต
(4) โลภะจริต
(5) โทสจริต
ตอบ 3 (คําบรรยาย) อกุศลกรรมหรือบาปในเรื่อง “วจีทุจริต 4” ได้แก่
1. มุสาวาท คือ การพูดเท็จ
2. ปิสุณวาจา คือ การพูดส่อเสียดหรือคําแซะ
3. ผรุสวาจา คือ การพูดคําหยาบ
4. สัมผัปปลาปะ คือ การพูดเพ้อเจ้อ

87. ชาวอังกฤษในศตวรรษที่ 12
(1) St. Aquinas
(2) St. Augustine
(3) Jesus
(4) Gelasius I
(5) John of Salisbury
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 68. ประกอบ

88. ผู้ปกครองตามอัคคัญญสูตร คือ
(1) เทพ
(2) เทพอวตาร
(3) รับอํานาจจากเทพ
(4) กฎธรรมชาติ
(5) คนธรรมดา
ตอบ 5 หน้า 115, (คําบรรยาย) สมมุติฐานการเกิดผู้ปกครองตามคติความเชื่อในอัคคัญญสูตรของ ศาสนาพุทธนั้น กษัตริย์หรือผู้ปกครองรัฐจะเป็นเพียงบุคคลธรรมดาที่คนทั้งหลายสมมุติหรือ ทําให้เกิดขึ้น เรียกว่า “มหาสมมุติ” เพื่อคอยควบคุมการอยู่ร่วมกันของมนุษย์มิให้มีการละเมิด ซึ่งกันและกัน

89. ข้อใดเป็นอุดมการณ์ทางการเมือง
(1) เป็นความเชื่อต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งเสมือนเป็นความจริงสูงสุด
(2) อยู่บนวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น
(3) ไม่มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมทางการเมือง
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ

90. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ Sophist
(1) Sophist เป็นคนต่างด้าวในเอเธนส์
(2) Sophist แปลว่า ผู้มีความรู้
(3) สอนให้คนมีวาทศิลป์
(4) สอนโดยไม่รับเงิน
(5) สอนให้รู้จักวิธีการพูดในที่สาธารณะ
ตอบ 4 หน้า 24, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 22), (คําบรรยาย) กลุ่มโซฟิสต์หรือซอฟฟิสต์ (Sophist) เป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาพํานักในกรุงเอเธนส์ในยุคกรีกตอนต้นในช่วงสมัยเพริคลิส ไม่ใช่พลเมืองชาวเอเธนส์ ซึ่งมีอาชีพหลักเป็นครู คือการสัญจรรับจ้างสอนบรรดาผู้กระหาย ความรู้ทั้งหลาย โดยสิ่งที่พวกเขาสอนจะทําให้ผู้รับการศึกษาได้มีความรู้ในการพูด หรือ สอนให้คนมีวาทศิลป์ (Rhetoric) การหักล้างโต้แย้ง และวิธีการพูดในที่สาธารณะ โดยคําว่า “Sophist” นั้นแปลว่า ผู้มีความรู้ ผู้มีปัญญา หรือผู้ฉลาดรอบรู้

91. ปรัชญาเมธีที่มีผลงานเรื่อง “Meditations” คือ
(1) ซีโน
(2) ซิซีโร
(3) ซีนีคา
(4) มาร์คัส เออเรลิอุส
(5) พาเนเทียส
ตอบ 4 หน้า 67, 72, (คําบรรยาย) มาร์คัส เออเรลิอุส (Marcus Aurelius) เป็นปรัชญาเมธีของลัทธิสโตอิกส์ที่เคยเป็นจักรพรรดิแห่งอาณาจักรโรมันที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในการทําสงคราม ทําลายล้างปัจจามิตร ซึ่งวรรณกรรมชิ้นสําคัญของเขาคือ Meditations หรือสมาธินั่นเอง

92. คําศัพท์ใดสามารถใช้สลับไปมา หรือทดแทนกับคําว่า “ลัทธิทางการเมือง” ได้มากที่สุด
(1) Political Studies
(2) Political Philosophy
(3) Political Party
(4) Political Theory
(5) Political Ideology
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 10) อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology) และ ลัทธิทางการเมือง (Political Doctrine) ในทางทฤษฎีมีความใกล้เคียงกัน แต่ก็มีข้อแตกต่าง กันอยู่ คือ อุดมการณ์ทางการเมืองจะมีลักษณะเป็นคําสอนกว้าง ๆ ไม่ได้เฉพาะเจาะจงวิธีการ เฉพาะไว้ ส่วนลัทธิทางการเมืองจะมีสูตรสําเร็จวิธีการดําเนินการทางการเมืองที่แน่ชัดระบุไว้ อย่างชัดเจน

93. Aristotle มีพื้นเพอยู่ที่ใด
(1) เปอร์เซีย
(2) สปาร์ตา
(3) มาเซโดเนีย
(4) เอเธนส์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 45 อริสโตเติล (Aristotle) เกิดเมื่อ 384 ปีก่อนคริสตกาลที่เมืองสตาภิรัส ทางชายฝั่งของ มาเซโดเนีย (Macedonia) เขาเป็นบุตรของแพทย์ประจําราชสํานักมาเซโดเนีย และเป็นศิษย์ ของเพลโต ภายหลังจากการเสร็จสิ้นการศึกษาที่เมืองเรสบอส เขาได้ทํางานเป็นที่ปรึกษาอย่าง ไม่เป็นทางการของเฮอร์เมียส (Hermias) เจ้าเมืองอาตาร์เนอส และได้แต่งงานกับหลานสาว ของเฮอร์เมียสด้วย

94. ไม่ให้ความสําคัญกับองค์การทางศาสนา
(1) Marsiglio of Padua
(2) Gregory VII
(3) Gelesius II
(4) Boniface VIII
(5) Gelesius I
ตอบ 1 หน้า 92 มาร์ซิกลิโอแห่งปาดัว (Marsiglio of Padua) ไม่ให้ความสําคัญกับองค์การทางศาสนา เลย ซึ่งเขาต้องการให้ฝ่ายทางโลกมีส่วนควบคุมองค์การทางศาสนา โดยเห็นว่าองค์การปกครองทางศาสนาเป็นเช่นเดียวกับองค์การทางโลก ดังนั้นฝ่ายฆราวาสควรมีส่วนในการแต่งตั้งหรือ ถอดถอนเจ้าหน้าที่ทางศาสนา

95. เล่นสนุกและชักชวนไปในทางที่ดี ห้ามเมื่อทําชั่ว
(1) ครูอาจารย์
(2) บิดามารดา
(3) เจ้านาย
(4) สามี
(5) มิตร
ตอบ 5 หน้า 119, (คําบรรยาย) ลักษณะของมิตรแท้ มี 4 ประเภท คือ
1. มิตรอุปการะ ได้แก่ ป้องกันชีวิตชื่อเสียงและเกียรติยศของเพื่อน เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งพํานักได้ คอยอุปการะช่วยเหลือเมื่อเพื่อนตกทุกข์ เป็นต้น
2. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ได้แก่ ต่างฝ่ายต่างเผยความลับของตนแก่เพื่อน เก็บความลับของเพื่อน ไม่ให้ผู้อื่นรู้ ไม่ทิ้งเพื่อนเมื่อเพื่อนตกอยู่ในอันตราย เป็นต้น
3. มิตรแนะนําประโยชน์ ได้แก่ ห้ามไม่ให้ทําชั่ว แนะนําให้ทําแต่ความดี ให้ฟังในสิ่งที่ไม่เคยฟัง ถ้าเพื่อนยังไม่มีความรู้ก็เล่าให้ฟัง เป็นต้น
4. มิตรมีความรักใคร่ ได้แก่ ไม่ยินดีในความสื่อมของเพื่อน ยินดีในความเจริญของเพื่อน ห้ามคนที่กล่าวโทษเพื่อน สรรเสริญคนที่พูดสรรเสริญเพื่อน เป็นต้น

96. ข้อใดคือการศึกษาความคิดทางการเมืองหลักในยุคกลาง
(1) กรีก
(2) โรมัน
(3) คริสต์ศาสนา
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 101, 113), (คําบรรยาย) ในช่วงศตวรรษที่ 5 (ค.ศ. 476) อาณาจักรโรมันตะวันตกได้ล่มสลายลงจากการโจมตีของพวกอนารยชนหรือพวก Barbarian เผ่าวิสิกอธ (Visigoths) หรือกอธตะวันตก (West Goths) ทําให้ยุโรปเข้าสู่ยุคกลาง (Middle Age) ดังนั้นการศึกษาความคิดทางการเมืองหลักในยุคกลางจึงมักเกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนา อย่างไรก็ตาม แม้พบว่าศาสนาจะมีบทบาทมาก แต่งานของอริสโตเติลก็ยังคงมีการศึกษากันอยู่ซึ่งจะเห็นได้จากการพยายามของอไควนัสที่จะเอาความคิดของอริสโตเติลมาใช้อธิบายและสร้างความชอบธรรมให้กับคริสต์ศาสนา

97. นักคิดคนใดเป็นผู้บัญญัติคําว่า “Ideology”
(1) Montesquieu
(2) de Tocqueville
(3) de Nero
(4) de Tracy
(5) de Gaulle
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 11) เดอ ทราซี (de Tracy) เป็นผู้บัญญัติคําว่า “Ideology” ขึ้นมาเป็นคนแรก โดยเกิดจากศัพท์ภาษากรีก 2 คํา คือ คําว่า “Eidos” หรือ “Idea” ใน ภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า ความคิด และคําว่า “Logos” หรือ “Logy, Science” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า ความรู้ และเมื่อนํามารวมกันก็แปลว่า “ความรู้อันเกี่ยวข้องกับความคิด” หรือ“Science of Idea”

98. โพลิเบียสค้นพบว่าสาเหตุที่อาณาจักรต่าง ๆ เสื่อมลง เพราะ
(1) ผู้นํามีความสามารถ
(2) กองทัพมีประสิทธิภาพ
(3) มีการส่งกําลังบํารุงที่ดี
(4) วัฏจักรของการเปลี่ยนรูปแบบการปกครอง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

99. ธรรมชาติมนุษย์ของในทัศนะของอิพิคิวเรียน คือ
(1) มีเหตุผล
(2) ก้าวร้าว
(3) รักสงบ
(4) เห็นแก่ตัว
(5) ไม่แน่นอน
ตอบ 4 หน้า 59 ลัทธิอีพิคิวเรียน เห็นว่า โดยธรรมชาติแล้วคนทุกคนเห็นแก่ตัว ซึ่งสิ่งนี้เองที่นําไปสู่ การขัดแย้งในการอยู่ร่วมกันในสังคม เพราะความสุขของบุคคลหนึ่งอาจจะเป็นความทุกข์ของบุคคลอื่นได้

100. มุมมองเกี่ยวกับการเชื่อฟังกฎหมายต่อรัฐของซอคราตีสปรากฏอยู่ในบทสนทนาเรื่องใด
(1) Social Contract
(2) Euthyphro
(3) Crito
(4) The Politics
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

Advertisement