การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2106 ปรัชญาการเมืองเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. ข้อความดังกล่าวนี้ตรงกับตัวเลือกใดมากที่สุด “ตั้งคําถามเกี่ยวกับเรื่องการโกหกว่าเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี
(1) อภิปรัชญา
(2) อุดมการณ์ทางการเมือง
(3) สุนทรียศาสตร์
(4) จริยศาสตร์
(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ตอบ 4 หน้า 3, (คําบรรยาย) จริยศาสตร์ (Ethics) เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาที่มุ่งศึกษาถึงสิ่งที่ควร จะเป็น ตลอดจนพฤติกรรมของมนุษย์ที่ควรจะเป็น ดังนั้นจริยศาสตร์จึงเป็นสาขาที่ศึกษาว่า ความดีคืออะไร ความประพฤติแบบใดเป็นความประพฤติที่ดี อะไรคือสิ่งที่ควรกระทํา อะไรคือ สิ่งที่ไม่ควรกระทํา อะไรคือสิ่งที่ผิด อะไรคือสิ่งที่ถูก เช่น ในสาขาความรู้นี้อาจจะตั้งคําถามว่า การโกหกเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี หรือการโกหกเป็นสิ่งที่ผิดทุกครั้งหรือไม่ หรือว่าผิดในบางกรณี เช่น การโกหกเพื่อช่วยผู้บริสุทธิ์เป็นสิ่งที่ผิดหรือไม่ ซึ่งบางคนก็อาจจะบอกว่าถูกเพราะเป็นความผิดที่สุจริต แต่บางคนก็บอกว่าไม่ว่าอย่างไรก็ตามมันก็ผิดแม้จะทําด้วยจุดมุ่งหมายอะไรก็ตาม

Advertisement

2. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับความหมายของคําว่า Political Ideology
(1) บางครั้งมีผู้เรียกว่ามันคือ ศาสนาทางการเมือง
(2) Liberalism
(3) ไม่จําเป็นต้องเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือยึดหลักศีลธรรมหรือคุณธรรมทางการเมือง
(4) เป็นความเชื่อที่ไม่เป็นระบบมากนัก มักเป็นเรื่องที่ใครคนใดคนหนึ่งเชื่อ
(5) มีจุดมุ่งหมายเพื่อกล่อมเกลาสมาชิกที่ยึดถือให้มีแนวคิดไปในทิศทางเดียวกัน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology) หรือบางครั้งมีผู้เรียกว่ามันคือ ศาสนาทางการเมือง เป็นความเชื่อทางการเมืองที่เป็นระบบ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อกล่อมเกลา สมาชิกที่ยึดถือให้มีแนวคิดไปในทิศทางเดียวกัน โดยอุดมการณ์ทางการเมืองนี้ไม่จําเป็นต้อง เป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือยึดหลักศีลธรรมหรือคุณธรรมทางการเมือง ตัวอย่างของอุดมการณ์ทาง การเมือง เช่น เสรีนิยม (Liberalism) อนุรักษ์นิยม (Conservatism) ฟาสซิสต์ (Fascism) คอมมิวนิสต์ (Communism) เป็นต้น ส่วนความคิดทางการเมือง (Political Thought) นั้น เป็นความเชื่อที่ไม่เป็นระบบมากนัก มักเป็นเรื่องที่ใครคนใดคนหนึ่งเชื่อ

3. ข้อใดเกี่ยวข้องกับข้อความดังต่อไปนี้ “มุ่งศึกษาถึงวิธีการให้เหตุผลหรือการอ้างเหตุผลในเรื่องต่าง ๆ ว่ามีลักษณะสมเหตุสมผลหรือไม่อย่างไร”
(1) Ethics
(2) Political Philosophy
(3) Logic
(4) Political Ideology
(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ตอบ 3 หน้า 3 ตรรกวิทยา (Logic) เป็นสาขาที่ไม่ได้มุ่งศึกษาถึงสิ่งที่เป็นพื้นฐานเหมือนสาขาอื่น ง ๆ แต่เป็นการศึกษาถึงวิธีการให้เหตุผลหรือการอ้างเหตุผลในเรื่องต่าง ๆ ของมนุษย์ว่ามีลักษณะ สมเหตุสมผลหรือไม่อย่างไร โดยทั่วไปแล้วสิ่งที่เรียกว่าตรรกวิทยานั้นมักจะเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ของนักคิดนักปรัชญาเสียมากกว่า

4. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ Normative Political Theory
(1) ไม่ใช่สิ่งเดียวกับปรัชญาการเมือง
(2) ประชาธิปไตยคือการปกครองที่ดีที่สุดจริงหรือไม่
(3) ไม่ปลอดจากค่านิยม
(4) เป็นแนวทางหลักในยุคคลาสสิก :
(5) ทุกข้อกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ Normative Political Theory
ตอบ 1 หน้า 12 – 13 จุดมุ่งหมายของปรัชญาการเมือง (Political Philosophy) คือ การศึกษาถึง ธรรมชาติ หรือสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สุด หรือความจริงแท้สูงสุดอันเป็นสากลในทางการเมือง แต่จะไม่มุ่งอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมือง ด้วยเหตุนี้รูปแบบการศึกษาปรัชญาการเมือง จึงถูกเรียกว่า “การศึกษาการเมืองแบบปทัสถานนิยม” (Normative Political Theory) คือ เป็นการศึกษาถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นพื้นฐานในทางการเมือง เพื่อที่จะนําความรู้นั้นไปสร้างบรรทัดฐาน หรือการเมืองที่ควรจะเป็นขึ้นมา ดังนั้นวิธีการศึกษาปรัชญาการเมืองจึงมีความแตกต่างกับวิธี การศึกษาของรัฐศาสตร์กระแสหลักอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากปรัชญาการเมืองไม่ได้มีการพยายาม หาคําตอบหรือมีการหาความรู้ด้วยระเบียบวิธีวิจัยแบบวิทยาศาสตร์ แต่ปรัชญาการเมืองจะใช้ทัศนคติ ค่านิยม ประสบการณ์ของตัวนักคิดมาอธิบาย

5. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ Empirical Political Theory
(1) เน้นอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมือง
(2) เน้นทํานายปรากฏการณ์ทางการเมือง
(3) เป็นเครื่องมือหลักของนักปรัชญาการเมือง
(4) รัฐศาสตร์กระแสหลักแบบอเมริกัน
(5) ฐานคิดอยู่บนหลักการแบบวิทยาศาสตร์ตอบ 3
ตอบ 3 หน้า 11 – 12, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการเมืองเชิงประจักษ์ (Empirical Political Theory) เป็นการศึกษารัฐศาสตร์ปัจจุบันที่มุ่งเน้นการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนมุ่งเน้นทํานายถึงผลลัพธ์ทางการเมืองของปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยเน้นการพรรณนาให้เห็นว่าปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นนั้นมีสาเหตุหรือกลไกใดที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ นั้น ๆ ขึ้นมา เป็นแนวคิดที่ได้รับอิทธิพลมาจากการศึกษาการเมืองแบบอเมริกัน โดยการศึกษาดังกล่าวจะมีระเบียบการหาความรู้แบบเดียวกับวิทยาศาสตร์

ข้อ 6. – 10. จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ไปตอบในแต่ละข้อโดยให้มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับโจทย์คําถาม
(1) Philosophia Perennis
(2) Aesthetics
(3) Love of Wisdom
(4) Democracy
(5) Sophist

6.“ความสวย ความหล่อ ขึ้นอยู่กับการให้คุณค่าของคนในแต่ละสังคม” คําพูดดังกล่าวนี้น่าจะตรงกับสาขาใดของปรัชญา
ตอบ 2 หน้า 2 – 3, (คําบรรยาย) สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) เป็นสาขาที่มุ่งพยายามหาคําตอบใน แง่มุมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความงาม ดังนั้นคําถามของสาขานี้จึงมักจะถามกันว่า ความงามคือ อะไร ความไพเราะคืออะไร สิ่งที่เรียกความงาม ความสวย ความหล่อขึ้นอยู่กับการให้คุณค่าของ คนในแต่ละสังคมหรือขึ้นอยู่กับอะไร ศิลปะคืออะไร เป็นศิลปะเพื่อชีวิตหรือศิลปะเพื่อศิลปะ ฯลฯ

7.คือความหมายของคําว่า Philosophy
ตอบ 3 หน้า 5 คําว่า “ปรัชญา” (Philosophy) เกิดมาจากการผสมกันของคํา 2 คํา คือ คําว่า “ความรัก” (Love) กับคําว่า “ความรู้” (Wisdom) ดังนั้นปรัชญาจึงหมายถึง “ความรัก ในความรู้” (Love of Wisdom) นั่นเอง

8.Thrasymachus
ตอบ 5 หน้า 9 – 10 โซฟิสต์ (Sophist) เป็นชื่อของกลุ่มคนในยุคกรีกโบราณที่มีอาชีพสอนพลเมือง ให้มีความรู้ต่าง ๆ ทางการเมือง เช่น สอนพลเมืองให้มีทักษะในการโต้เถียงหรือพูดในที่สาธารณะ โดยพวกโซฟิสต์มักจะเป็นชาวต่างด้าวหรือไม่ใช่พลเมืองชาวเอเธนส์ โซฟิสต์คนสําคัญที่มีชื่อเสียง ในยุคกรีกโบราณ ได้แก่ โปรทากอรัส (Protagoras), กอร์เกียส (Gorgias), ฮิปปิอัส (Hippias), ทราไซมาคุส(Thrasymachus) เป็นต้น

9.หัวใจคือ Equality
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ประชาธิปไตย (Democracy) เป็นอุดมการณ์ทางการเมืองรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีหัวใจ หรือให้ความสําคัญกับสิทธิ (Right) เสรีภาพ (Liberty) และความเสมอภาค (Equality) ของ ประชาชน โดยเชื่อว่าสมาชิกของสังคมทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม ทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เช่น การออกเสียงเลือกตั้ง การรวมกลุ่ม การพูดและแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ เป็นต้น

10. เป็นคําถามหนึ่งที่นักปรัชญาการเมืองชอบถามนั่นก็คือ มนุษย์ทุกคนมีเสรีภาพหรือไม่
ตอบ 1 หน้า 7 คําถามอมตะ (Philosophia Perennis) เป็นคําถามทางปรัชญา โดยนักคิดหรือ นักปรัชญาการเมืองมีความเชื่อว่า ในโลกใบนี้มีความจริงหรือสัจธรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ แม้ว่าโลกจะเปลี่ยนไปเท่าใด และมีปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมากมายเพียงใด แต่ภายใต้ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่พบเห็นมันมีความรู้ที่เป็นอมตะไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ ดังนั้นนักคิดที่คิดว่า ตัวเองเป็นนักปรัชญาการเมืองจึงพยายามอย่างยิ่งที่จะหาความรู้อันจริงแท้ด้วยการพยายาม หาคําตอบจากคําถามอมตะต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ทําไมมนุษย์ต้องมีการเมือง สังคมการเมือง หรือรัฐคืออะไร ทําไมเราต้องอยู่ในสังคมการเมืองหรือรัฐ กฎหมายคืออะไร ทําไมเราต้อง เชื่อฟังกฎหมาย มนุษย์ทุกคนมีเสรีภาพหรือไม่ ผู้ปกครองที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร ใครควร ที่จะเป็นผู้ปกครอง เป็นต้น

ข้อ 11. – 15. จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ไปตอบในแต่ละข้อโดยให้มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับโจทย์คําถาม
(1) Telos
(2) Liberty to Acquiesce or Resist
(3) Existentialism
(4) Utilitarianism
(5) David Hume

11. สุนัขหิวก็กิน อยากขับถ่ายก็ไม่ต้องรอ แต่มนุษย์เราเลือกที่จะทําเช่นนี้หรือไม่ก็ได้
ตอบ 2 หน้า 136 – 137 ฌอง ฌากส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) นักคิดชาวเจนีวา กล่าวว่า ธรรมชาตินั้นกําหนดให้สัตว์ทุกตัวดํารงชีวิตหรือทําอะไรก็แล้วแต่เป็นไปตามแรงกระตุ้นจาก สัญชาตญาณ และแม้ว่ามนุษย์นั้นจะได้รับแรงกระตุ้นดังกล่าวเหมือนกับสัตว์อื่น ๆ แต่มนุษย์ ก็มีเสรีภาพในการเลือกที่จะทําตามหรือไม่ทําตาม (Liberty to Acquiesce or Resist) มนุษย์ เป็นสัตว์ประเภทเดียวที่มีเสรีภาพนี้ และเสรีภาพดังกล่าวก็เป็นสิ่งที่แบ่งแยกมนุษย์ออกจากสัตว์ โดยรุสโซเรียกคุณสมบัตินี้ว่า “Quality of Free Agency” ตัวอย่างเช่น สุนัขหิวก็กิน อยาก ขับถ่ายก็ไม่ต้องรอ แต่มนุษย์เราเลือกที่จะทําเช่นนี้หรือไม่ก็ได้

12. “สังคมควรมีเสรีภาพกว้างขวางออกไปอย่างมากที่สุด แต่กระนั้นก็ไม่ควรอ้างว่าเสรีภาพนี้มีที่มาจาก สิทธิติดตัวของมนุษย์ตั้งแต่กําเนิด แต่การที่สังคมยินยอมให้เสรีภาพมีการขยายออกไปอย่างกว้างขวาง มันจะก่อให้เกิดประโยชน์สุขกับคนจํานวนมากที่สุด” เป็นแนวคิดในเรื่องใด
ตอบ 4 หน้า 116, 149, (คําบรรยาย) จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) นักคิดชาวอังกฤษ ต้องการให้สังคมนั้นมีเสรีภาพกว้างขวางออกไปอย่างมากที่สุด แต่กระนั้นเขาก็ไม่ได้อ้างว่า เสรีภาพนี้มีที่มาจากสิทธิติดตัวของมนุษย์ตั้งแต่กําเนิด แต่การที่สังคมยินยอมให้เสรีภาพมีการขยายออกไปอย่างกว้างขวางมันจะก่อให้เกิดประโยชน์สุขกับคนจํานวนมากที่สุด ซึ่งแนวคิด ของมิลล์นี้เป็นไปตามหลักการของประโยชน์นิยม (Utilitarianism) ซึ่งคํานึงถึง “ความสุข” “ความรื่นรมย์” หรือ “อรรถประโยชน์” เป็นหลัก โดยนักคิดที่ยึดถือหลักการประโยชน์นิยมนั้น จะมีหลักการพื้นฐานร่วมกันที่ว่า “การกระทําทุกอย่างต้องเป็นไปเพื่อหลักการความสุขที่มาก ที่สุดของคนจํานวนมากที่สุด” หรือถือว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างวัดกันที่อรรถประโยชน์เป็นหลัก”

13. เป็นแนวคิดของนักคิดฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 20
ตอบ 3 หน้า 142, 144, (คําบรรยาย) ฌอง ปอล ซาร์ต (Jean Paul Sartre) เป็นนักคิดชาวฝรั่งเศส ในศตวรรษที่ 20 สกุลอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) เขามีความเชื่อว่า มนุษย์นั้นถูกกําหนด ให้มีเสรีภาพ ดังที่เขากล่าวไว้ว่า “เสรีภาพคือคุณสมบัติของมนุษย์ มนุษย์ไม่อาจจะเป็นทาส บางเวลาและเป็นเสรีบางเวลาได้ เขาเป็นเสรีภาพอย่างเต็มที่ตลอดกาล หรือมิฉะนั้นก็ไม่เป็น เสรีภาพตลอดกาล เพราะมนุษย์ถูกสาปให้เป็นเสรีภาพ

14. มนุษย์ถูกกําหนดให้มีเสรีภาพ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

15. นักคิดชาวสกอตแลนด์ที่ไม่เชื่อเรื่องสิทธิตามธรรมชาติ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เดวิด ฮิวม์ (David Hume) เป็นนักคิดชาวสกอตแลนด์ที่ไม่เชื่อในเรื่องสิทธิ
ตามธรรมชาติ (Natural Right)

ข้อ 16. – 25. จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ไปตอบในแต่ละข้อโดยให้มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับโจทย์คําถาม
(1) John Stuart Mill
(2) Jean Paul Sartre
(3) Edmund Burke
(4) Niccolo Machiavelli
(5) Jean Jacques Rousseau

16. ใครเป็นคนกล่าวประโยคดังต่อไปนี้ “เราควรยินยอมให้มีการแสดงความคิดเห็นออกมาอย่างเสรี โดยมี เงื่อนไขว่า ท่าทีที่แสดงออกควรพอประมาณ และต้องไม่เกินไปกว่าการอภิปรายอย่างเป็นธรรม…. หมายถึง คําผรุสวาท การประชดประชัน คําพาดพิงถึงเรื่องส่วนตัว และอะไรทํานองนั้น…. และตราบเท่าที่สิ่งที่เรา ทําไปมิได้ทําอันตรายแก่เพื่อนร่วมโลกคนอื่น แม้ว่าคนอื่นอาจจะคิดว่าความประพฤติของเราเป็นสิ่งที่โง่เขลา วิปริตหรือผิดก็ตาม”
ตอบ 1 หน้า 152 จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) เสนอว่า สังคมควรมีการอนุญาตให้เสรีภาพ ต่อมนุษย์ทุกคนอย่างกว้างขวางที่สุด แต่กระนั้นการให้เสรีภาพตามความคิดของมิลล์ใช่ว่าจะ ไม่มีข้อจํากัด โดยมิลล์ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า “เราควรยินยอมให้มีการแสดงความคิดเห็นออกมา อย่างเสรี โดยมีเงื่อนไขว่า ท่าทีที่แสดงออกควรพอประมาณ และต้องไม่เกินไปกว่าการอภิปราย อย่างเป็นธรรม… หมายถึง คําผรุสวาท การประชดประชัน คําพาดพิงถึงเรื่องส่วนตัว และอะไร ทํานองนั้น…. และตราบเท่าที่สิ่งที่เราทําไปมิได้ทําอันตรายแก่เพื่อนร่วมโลกคนอื่น แม้ว่าคนอื่นอาจจะคิดว่าความประพฤติของเราเป็นสิ่งที่โง่เขลา วิปริตหรือผิดก็ตาม”

17. ใครเป็นผู้เขียนงานเรื่องเจ้าผู้ปกครอง
ตอบ 4 หน้า 128, (คําบรรยาย) นิโคโล แมคคิอาเวลลี (Niccolo Machiavelli) เป็นนักคิดในยุคแห่ง การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) ชาวอิตาเลียน มีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ. 1469 – 1527 เขาได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งปรัชญาการเมืองสมัยใหม่” และได้เขียนหนังสือสําคัญ เล่มหนึ่งเพื่อเป็นคําแนะนําการปกครองให้ผู้ปกครองที่ชื่อว่า “เจ้าผู้ปกครอง” (The Prince) ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1532

18. ต่อต้านการปฏิวัติฝรั่งเศสอย่างแข็งขัน
ตอบ 3 หน้า 124, (คําบรรยาย) เอ็ดมันด์ เบิร์ก (Edmund Burke) เป็นบิดาแห่งแนวคิดอนุรักษนิยม สมัยใหม่ (Modern Conservative) มีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ. 1729 – 1797 เขาเป็นนักคิดที่มีชีวิต อยู่ร่วมสมัยกับการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 แต่มีความคิดต่อต้านการปฏิวัติดังกล่าวอย่างแข็งขัน

19. ใครเป็นคนกล่าวประโยคดังต่อไปนี้ “การไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นเนื่องจากแน่ใจว่ามันผิดก็คือการสรุปเอาเองว่า ความแน่ใจของพวกเขาเป็นสิ่งเดียวกันกับความจริงขั้นเด็ดขาด การปิดปากไม่ให้โต้เถียงกัน ทุกประการนั้นเป็นข้อสมมุติฐานว่าจะไม่เกิดความผิดพลาดขึ้นมาได้ เราอาจยอมให้การประณามคัดค้าน ความคิดเห็นดังกล่าวมาจากการโต้เถียงร่วมกันเช่นนี้ได้ แต่ไม่ใช่จะให้เกิดความคิดเห็นร่วมกันไปหมด ทุกอย่างจนถูกประณามไปในที่สุด”
ตอบ 1 หน้า 149 – 150 จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) ไม่เห็นด้วยกับการที่คนส่วนใหญ่หรือ คนใดคนหนึ่งจะไปปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นของคนอีกคนหนึ่งโดยอ้างว่าความคิดเห็นนั้นเป็นสิ่งที่ผิด โดยมิลล์ได้กล่าวไว้ว่า “การไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นเนื่องจากแน่ใจว่ามันผิดก็คือ การสรุปเอาเองว่า ความแน่ใจของพวกเขาเป็นสิ่งเดียวกันกับความจริงขั้นเด็ดขาด การปิดปาก ไม่ให้โต้เถียงกันทุกประการนั้นเป็นข้อสมมุติฐานว่าจะไม่เกิดความผิดพลาดขึ้นมาได้ เราอาจ ยอมให้การประณามคัดค้านความคิดเห็นดังกล่าวมาจากการโต้เถียงร่วมกันเช่นนี้ได้ แต่ไม่ใช่จะให้เกิดความคิดเห็นร่วมกันไปหมดทุกอย่างจนถูกประณามไปในที่สุด”

20. “Champion of Liberty” คือฉายาของใคร
ตอบ 1 หน้า 147 จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) เป็นนักคิดที่ได้รับฉายาว่าเป็น “แชมป์เปี้ยน แห่งเสรีภาพ” (Charnpion of Liberty) โดยเขาได้เขียนงานชิ้นสําคัญเกี่ยวกับเสรีภาพออกมา ในปี ค.ศ. 1859 ชื่อว่า “On Liberty”

21. บิดาแห่งลัทธิ Romanticism
ตอบ 5 หน้า 45 – 46, 94, (คําบรรยาย) ฌอง ฌากส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) เป็นบิดา แห่งลัทธิ Romanticism และแนวคิดของเขาก็มีอิทธิพลอย่างมากต่อการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 โดยผลงานที่สําคัญของรุสโซ มีดังนี้
1. หนังสือเรื่อง “ความเรียงว่าด้วยต้นกําเนิดและรากฐานแห่งความไม่เสมอภาคของ มวลมนุษยชาติ” หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ “Discourse on the Origin and Basis of Inequality Among Men” ve “On the Origin and Foundation of Inequality of Mankind” ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1755
2. หนังสือเรื่อง “สัญญาประชาคม” (The Social Contract) ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1762 เป็นงานเขียนที่นําแนวคิดสัญญาประชาคมมาเป็นชื่องานของตน

22. ทุกสิ่งทุกอย่างวัดกันที่อรรถประโยชน์เป็นหลัก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

23. ใครเป็นคนกล่าวประโยคดังต่อไปนี้ “มนุษย์คิดสร้างตัวเองภายหลังการมีอยู่ และเนื่องจากเขาต้องการ สร้างให้ตัวเองเป็นภายหลังการมีอยู่ มนุษย์จึงมิใช่อะไรอื่นนอกจากผลิตผลที่เขาสร้างขึ้นให้แก่ตัวเอง”
ตอบ 2 หน้า 142 – 143 ฌอง ปอล ซาร์ต (Jean Paul Sartre) ได้อธิบายวิธีคิดเกี่ยวกับเสรีภาพของ เขาว่า มนุษย์นั้นเกิดมาพร้อมกับความว่างเปล่า ไม่มีแม้กระทั่งแบบหรือแก่นสาร (Essence) ใด ๆ ที่ติดตัวมากับมนุษย์ ดังนั้นมนุษย์จึงเป็นผู้กําหนดชะตาชีวิตของตัวเอง ไม่มีพระเจ้า เวรกรรม กฎแห่งกรรม หรือธรรมชาติใด ๆ มากําหนด ชีวิตเป็นของมนุษย์ มนุษย์จะเป็นผู้กําหนดว่า ตัวเองจะเป็นอย่างไร ดังที่ซาร์ตกล่าวว่า “การมีอยู่มาก่อนสาระหมายความว่าอย่างไร เรา หมายความว่าก่อนอื่นใดทั้งหมด มนุษย์มีอยู่ ค้นพบตัวเองปรากฏตัวในโลก และนิยามตัวเอง ภายหลัง…. ถ้ามนุษย์นิยามไม่ได้ ก็เป็นเพราะว่า ก่อนอื่นใดมนุษย์ไม่ใช่อะไรเลย เขาจะเป็น อะไรก็ตามหลังจากนั้น และเขาจะเป็นตามที่เขาสร้างตัวเองให้เป็น… เนื่องจากมนุษย์คิดสร้าง ตัวเองภายหลังการมีอยู่ และเนื่องจากเขาต้องการสร้างให้ตัวเองเป็นภายหลังการมีอยู่ มนุษย์
จึงมิใช่อะไรอื่นนอกจากผลิตผลที่เขาสร้างขึ้นให้แก่ตัวเอง…”

24. ความคิดของเขานําไปสู่การปฏิวัติฝรั่งเศส
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

25. ใครเป็นคนกล่าวประโยคดังต่อไปนี้ “มนุษย์เกิดมาเสรี แต่ทุกแห่งหนเขาถูกพันธนาการด้วยโซ่ตรวน”
ตอบ 5 หน้า 137 ฌอง ฌากส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) ได้กล่าวไว้ในบรรทัดแรกของ หนังสือ “สัญญาประชาคม” (The Social Contract) ว่า “มนุษย์เกิดมาเสรี แต่ทุกแห่งหน เขาถูกพันธนาการด้วยโซ่ตรวน…. การละทิ้งเสรีภาพนั้นก็คือการละทิ้งความเป็นคน ตลอดจน เป็นการละทิ้งสิทธิและหน้าที่แห่งมนุษยชาติ ไม่มีการชดเชยใด ๆ เป็นไปได้สําหรับผู้ที่ละทิ้ง ทุกสิ่งทุกอย่างเช่นนี้ การละทิ้งนี้ขัดต่อธรรมชาติของมนุษย์ และการลบล้างเสรีภาพทั้งหมด ออกจากเจตจํานงของเขา ก็คือการลบล้างศีลธรรมทั้งหมดออกจากการกระทําของเขา”

ข้อ 26 – 35. จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ไปตอบในแต่ละข้อโดยให้มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับโจทย์คําถาม
(1) John Stuart Mill
(2) James Madison
(3) Edmund Burke
(4) Jean Jacques Rousseau
(5) Plato

26. ใครเป็นผู้เขียน “Federalist Papers No. 10
ตอบ 2 หน้า 121 – 122, (คําบรรยาย) เจมส์ เมดิสัน (James Madison) ประธานาธิบดีคนที่ 4 ของ สหรัฐอเมริกา เป็นหนึ่งในบิดาผู้ก่อตั้งชาติของสหรัฐอเมริกา (American Founding Fathers) และถือได้ว่ามีส่วนสําคัญในการร่างรัฐธรรมนูญอเมริกัน เขาพยายามที่จะเสนอรูปแบบการ ปกครองสําหรับสหรัฐอเมริกาให้เป็นการปกครองด้วยตัวแทน โดยเสนอความคิดดังกล่าวไว้ใน งานเขียนชื่อว่า “The Federalist Papers No. 10” ซึ่งมีข้อความดังนี้ “สําหรับประชาธิปไตย แบบบริสุทธิ์ ซึ่งข้าพเจ้าหมายถึง สังคมที่ประกอบด้วยพลเมืองจํานวนหนึ่งผู้ซึ่งมารวมตัวกัน และบริหารรัฐบาลด้วยตนเองนั้น…. เป็นปรากฏการณ์แห่งความวุ่นวายและการโต้แย้ง อันเป็น สิ่งซึ่งเข้ากันไม่ได้กับความมั่นคงส่วนบุคคลหรือสิทธิในทรัพย์สิน และโดยทั่วไปรูปแบบการปกครองลักษณะนี้มักจะมีชีวิตสั้นและสิ้นสุดลงด้วยความรุนแรง…. ส่วนมหาชนรัฐ (Republic) ซึ่งข้าพเจ้าหมายถึง รัฐบาลที่มีระบบการแทนตนนั้น ได้ก่อให้เกิดลู่ทางที่แตกต่างกันออกไป… จุดแตกต่างใหญ่สองจุดระหว่างประชาธิปไตยและมหาชนรัฐคือ ประการแรก การมอบอํานาจ การปกครองให้กับพลเมืองจํานวนน้อยซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากพลเมืองที่เหลือ ประการที่สอง การที่จํานวนพลเมืองและขอบเขตของประเทศสามารถจะขยายออกไปได้มากกว่า…”

27. ใครเป็นผู้กล่าวคําพูดดังต่อไปนี้ “ประชาธิปไตยแบบบริสุทธิ์ เป็นปรากฏการณ์แห่งความวุ่นวายและ การโต้แย้ง อันเป็นสิ่งซึ่งเข้ากันไม่ได้กับความมั่นคงส่วนบุคคลหรือสิทธิในทรัพย์สิน และโดยทั่วไป รูปแบบการปกครองลักษณะนี้มักจะมีชีวิตสั้นและสิ้นสุดลงด้วยความรุนแรง”
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

28. ใครเป็นคนกล่าวประโยคดังต่อไปนี้ “มหาชนรัฐ (Republic) ซึ่งข้าพเจ้าหมายถึง รัฐบาลที่มีระบบ การแทนตนนั้น ได้ก่อให้เกิดลู่ทางที่แตกต่างกันออกไป…”
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

29. ใครเป็นคนกล่าวประโยคดังต่อไปนี้ “จุดแตกต่างใหญ่สองจุดระหว่างประชาธิปไตยและมหาชนรัฐคือ ประการแรก การมอบอํานาจการปกครองให้กับพลเมืองจํานวนน้อยซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากพลเมืองที่เหลือ ประการที่สอง การที่จํานวนพลเมืองและขอบเขตของประเทศสามารถจะขยายออกไปได้มากกว่า”
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

30. ใครเป็นคนกล่าวประโยคดังต่อไปนี้ “ผู้แทนของท่านมีหน้าที่ต่อท่านไม่เฉพาะในเรื่องความขยันขันแข็ง พากเพียรอุตสาหะเท่านั้น แต่ในเรื่องการใช้วิจารณญาณ มันก็ถือว่าเป็นหน้าที่ที่เขาต้องมีต่อท่านด้วย และเมื่อใดก็ตามที่เขาใช้วิจารณญาณตัดสินไปตามความคิดเห็นของพวกท่าน เมื่อนั้นเองพวกเขาก็ได้ชื่อว่าทรยศต่อท่านและไม่ได้เป็นผู้รับใช้ท่านอีกต่อไปแล้ว”
ตอบ 3 หน้า 124 เอ็ดมันด์ เบิร์ก (Edmund Burke) ได้กล่าวถึงประเด็นเรื่องผู้แทนไว้ใน “Speech to the Electors of Bristol” ว่า “ผู้แทนของท่านมีหน้าที่ต่อท่านไม่เฉพาะในเรื่องความขยัน ขันแข็งพากเพียรอุตสาหะเท่านั้น แต่ในเรื่องการใช้วิจารณญาณ มันก็ถือว่าเป็นหน้าที่ที่เขา ต้องมีต่อท่านด้วย และเมื่อใดก็ตามที่เขาใช้วิจารณญาณตัดสินไปตามความคิดเห็นของพวกท่านเมื่อนั้นเองพวกเขาก็ได้ชื่อว่าทรยศต่อท่านและไม่ได้เป็นผู้รับใช้ท่านอีกต่อไปแล้ว”

31. บุคคลใดถือว่าเป็นหนึ่งในบิดาผู้ก่อตั้งชาติของสหรัฐอเมริกา (Founding Fathers)
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

32.หนังสือเรื่อง “The Republic” ใครเป็นคนเขียน
ตอบ 5 หน้า 85, 87, 132 เพลโต (Plato) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “The Republic” ว่า ผู้ปกครองนั้นควรเป็นคนที่ได้รับการคัดสรรมาเป็นอย่างดี และเหมาะสมกับหน้าที่ ไม่ใช่เอาประชาชนหรือใครมาเป็นก็ได้ ซึ่งตามความคิดของเพลโตนั้นมองว่ามนุษย์แต่ละคนมีความถนัดที่ถูกกําหนด มาจากธรรมชาติแตกต่างกัน ซึ่งรวมถึงผู้ปกครองด้วย เพราะการปกครองก็ถือว่าเป็นทักษะหนึ่ง ที่เฉพาะทางไม่ต่างกับช่าง หมอ หรือการงานหน้าที่อื่น ๆ ดังนั้นผู้ปกครองจึงไม่ควรที่จะเป็นใคร ก็ได้ แต่ควรเป็นคนที่มีธรรมชาติเป็นผู้ปกครอง และมีทักษะ ตลอดจนได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี

33. คนที่ปกครองควรเป็นคนที่ได้รับการคัดสรรมาเป็นอย่างดี และเหมาะสมกับหน้าที่ แนวคิดนี้เป็นของใคร
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

34. ใครเป็นคนที่เขียนงานเรื่อง “Considerations on Representative Government”
ตอบ 1 หน้า 115 – 116, 120, (คําบรรยาย) จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) ได้เสนอ รูปแบบการปกครองโดยผู้แทน (Representative Government) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ประชาธิปไตยแบบตัวแทน” (Representative Democracy, เพราะมองว่าผู้ปกครองที่ มาจากระบบตัวแทนนั้นคือ ผู้ปกครองที่ดีที่สุด โดยแนวคิดดังกล่าวนี้ปรากฏอยู่ในงานเขียน ของเขาเรื่อง “Considerations on Representative Government”

35. นักคิดในศตวรรษที่ 18 คนใดที่กล่าวคําพูดดังต่อไปนี้ “เมื่อต้องไปประชุมสภาหรือ พวกเขาก็แต่งตั้ง ตัวแทนขึ้นมาแล้วก็นอนอยู่บ้าน ด้วยเหตุแห่งความเกียจคร้านและเงินทอง ชีวิตของพวกเขาจึงจบลง ด้วยการที่มีทหารเพื่อกดขี่ปิตุภูมิตนเอง และมีผู้แทนเพื่อจะขายชาติตนเอง”
ตอบ 4 หน้า 125 ฌอง ฌากส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) นักคิดในศตวรรษที่ 18 ได้โจมตี ระบอบผู้แทนไว้อย่างรุนแรง โดยกล่าวว่า “ทันทีที่การรับใช้สาธารณะไม่ได้กลายมาเป็นหน้าที่หลัก ของพลเมือง และเมื่อพวกเขาชอบรับใช้ถุงเงินของตนมากกว่าตัวตนของตน เมื่อนั้นรัฐก็เข้าใกล้ ความพินาศ เมื่อต้องถึงเวลาไปรบ พวกเขากลับจ่ายเงินให้กองทหารแล้วก็นอนอยู่บ้าน เมื่อต้องไป ประชุมสภาหรือ พวกเขาก็แต่งตั้งตัวแทนขึ้นมาแล้วก็นอนอยู่บ้าน ด้วยเหตุแห่งความเกียจคร้าน และเงินทอง ชีวิตของพวกเขาจึงจบลงด้วยการที่มีทหารเพื่อกดขี่ปิตุภูมิตนเอง และมีผู้แทน เพื่อจะขายชาติตนเอง”

ข้อ 36 – 42. จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ไปตอบในแต่ละข้อโดยให้มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับโจทย์คําถาม
(1) Machiavelli
(2) Montesquieu
(3) Joseph Schumpeter
(4) John Locke
(5) Aritstotle

36. เป็นลูกศิษย์ของเพลโต
ตอบ 5 หน้า 25, (คําบรรยาย) อริสโตเติล (Aristotle) เป็นนักคิดชาวมาซิโดเนีย ลูกศิษย์ของเพลโต (Plato) เขามีชีวิตอยู่ในช่วงประมาณ 300 ปีก่อนคริสตกาล โดยมีผลงานที่สําคัญ ได้แก่ งานเขียนเรื่อง “Politics” และ “Nicomachean Ethics”

37. ใครเป็นคนกล่าวประโยคดังต่อไปนี้ “คําว่าประชาธิปไตย ไม่ได้หมายความและสามารถหมายความถึง การปกครองที่ประชาชนเข้าไปทําหน้าที่ปกครองจริง ๆ ตามตัวอักษรของคําที่ว่า “ประชาชน” กับ “การปกครอง” แต่ประชาธิปไตยนั้นหมายถึงแค่การปกครองที่ประชาชนนั้นมีโอกาสในการที่จะยอมรับ
หรือปฏิเสธคนใดคนหนึ่งที่จะมาเป็นผู้ปกครองพวกเขาเท่านั้น”
ตอบ 3 หน้า 124 – 125 โจเซฟ ชุมปีเตอร์ (Joseph Schumpeter) นักคิดชาวออสเตรีย เป็นผู้เขียน งานเรื่อง “Capitalism, Socialism and Democracy” ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1942 เขาได้เสนอ ทฤษฎีประชาธิปไตย โดยกล่าวว่า “คําว่าประชาธิปไตย ไม่ได้หมายความและสามารถหมายความถึง การปกครองที่ประชาชนเข้าไปทําหน้าที่ปกครองจริง ๆ ตามตัวอักษรของคําที่ว่า “ประชาชน” กับ “การปกครอง” แต่ประชาธิปไตยนั้นหมายถึงแค่การปกครองที่ประชาชนนั้นมีโอกาสในการที่จะยอมรับหรือปฏิเสธคนใดคนหนึ่งที่จะมาเป็นผู้ปกครองพวกเขาเท่านั้น… ดังนั้นเองในด้านหนึ่ง เราอาจจะกล่าวได้ว่า ประชาธิปไตยนั้นคือ การปกครองของนักการเมือง (Democracy is the Rule of the Politician)”

38. ใครเป็นคนกล่าวประโยคดังต่อไปนี้ “สิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ไม่มีใครเป็นเจ้าของ มนุษย์ทุกคนจะสามารถนํามัน มาใช้ประโยชน์ได้ หรือนํามันมาเป็นเจ้าของได้ภายใต้เงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่ง ด้วยการที่เขานําแรงงานของ ตัวเขาเองไปผสมร่วมกับสิ่งนั้นๆ”
ตอบ 4 หน้า 162 จอห์น ล็อค (John Locke) กล่าวว่า สิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ไม่มีใครเป็นเจ้าของ มนุษย์ทุกคนจะสามารถนํามันมาใช้ประโยชน์ได้ หรือนํามันมาเป็นเจ้าของได้ภายใต้เงื่อนไขใด เงื่อนไขหนึ่ง ด้วยการที่เขานําแรงงานของตัวเขาเองไปผสมร่วมกับสิ่งนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นไป ด้วยวิธีการเคลื่อนย้าย เปลี่ยนรูป ดัดแปลง ตัดต่อ ฯลฯ สิ่งของนั้น ๆ ก็จะกลายมาเป็น กรรมสิทธิ์ของเขาโดยชอบธรรม

39. นักคิดคนใดที่กล่าวคําพูดดังต่อไปนี้ “การเป็นที่หวาดกลัวจึงเป็นการปลอดภัยมากกว่าการเป็นที่รัก”
ตอบ 1 หน้า 130 – 131 นิโคโล แมคคิอาเวลลี (Niccolo Machiavelli) เสนอว่า ผู้ปกครองควรทํา ตนเองให้เป็นที่หวาดกลัวมากกว่าเป็นที่รัก ถ้าในกรณีที่ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังที่เขา กล่าวว่า “การเป็นที่รักนั้นดีกว่าการเป็นที่หวาดกลัว หรือว่ากลับกันเราอาจจะตอบว่า เราย่อม ปรารถนาจะเป็นทั้งผู้ที่คนหวาดกลัวและเป็นผู้ที่คนอื่นรัก แต่เนื่องจากยากที่จะผสมคุณสมบัติ เหล่านี้เข้าด้วยกัน ถ้าอันใดอันหนึ่งในสองอันนี้จะต้องขาดไป การเป็นที่หวาดกลัวจึงเป็นการ ปลอดภัยมากกว่าการเป็นที่รัก เพราะธรรมชาติมนุษย์นั้น อกตัญญู เปลี่ยนใจง่าย เป็นพวก มือถือสาก ปากถือศีล และพวกอําพราง พวกหลีกเลี่ยงอันตราย ผู้รักผลได้…”

40. ใครเป็นคนกล่าวประโยคดังต่อไปนี้ “ผู้ปกครองไม่ควรจะเป็นกังวลกับการก่อให้เสียชื่อเสียงในเรื่องของ ความชั่วต่าง ๆ ซึ่งถ้าไม่มีมันเสีย แล้วก็จะเป็นการยากที่จะรักษารัฐเอาไว้ เพราะถ้าบุคคลใดไตร่ตรอง ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอย่างดี เขาจะพบว่าบางสิ่งบางอย่างซึ่งดูเหมือนว่าเป็นความดีนั้น หากปฏิบัติตามก็จะ กลายเป็นความพินาศของเขา และสิ่งอื่นซึ่งดูเหมือนว่าเป็นความชั่วนั้น หากปฏิบัติตามก็จะสัมฤทธิ์ผล ในด้านความมั่นคง และความเป็นอยู่ที่ดี”
ตอบ 1 หน้า 130 นิโคโล แมคคิอาเวลลี (Niccolo Machiavelli) เสนอว่า ผู้ปกครองนั้นไม่ควรจะ คํานึงแต่การทําดีละเว้นความชั่ว โดยเฉพาะในกรณีที่ว่าถ้าการทําดีนั้นทําให้เขาต้องสูญเสียรัฐ แต่การทําชั่วสามารถทําให้เขารักษารัฐได้ ถ้าเป็นเช่นนั้นผู้ปกครองก็ควรจะเลือกการทําชั่ว ดังที่เขากล่าวว่า “ผู้ปกครองไม่ควรจะเป็นกังวลกับการก่อให้เสียชื่อเสียงในเรื่องของความชั่ว ต่าง ๆ ซึ่งถ้าไม่มีมันเสียแล้วก็จะเป็นการยากที่จะรักษารัฐเอาไว้ เพราะถ้าบุคคลใดไตร่ตรองทุกสิ่ง ทุกอย่างเป็นอย่างดี เขาจะพบว่าบางสิ่งบางอย่างซึ่งดูเหมือนว่าเป็นความดีนั้น หากปฏิบัติตาม ก็จะกลายเป็นความพินาศของเขา และสิ่งอื่นซึ่งดูเหมือนว่าเป็นความชั่วนั้น หากปฏิบัติตาม ก็จะสัมฤทธิ์ผลในด้านความมั่นคง และความเป็นอยู่ที่ดี”

41. นักคิดชาวฝรั่งเศสที่เสนอเรื่องการแบ่งแยกอํานาจ
ตอบ 2 หน้า 120, (คําบรรยาย) มงเตสกิเออร์ (Montesquieu) เป็นนักคิดชาวฝรั่งเศสที่เสนอให้ แบ่งแยกอํานาจอธิปไตยออกเป็น 3 ฝ่าย ได้แก่ อํานาจนิติบัญญัติ อํานาจบริหาร และอํานาจ ตุลาการ เพื่อป้องกันการเป็นเผด็จการ โดยมงเตสกิเออร์ได้เสนอแนวคิดดังกล่าวไว้ในหนังสือ เรื่อง “The Spirit of Laws” (De L’esprit des lois) ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1748

42. ใครเป็นคนกล่าวประโยคดังต่อไปนี้ “ธรรมชาติมนุษย์นั้น อกตัญญู เปลี่ยนใจง่าย เป็นพวกมือถือสาก ปากถือศีล และพวกอําพราง พวกหลีกเลี่ยงอันตราย ผู้รักผลได้”
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ

ข้อ 43 – 47. จงเติมรูปแบบการปกครองตามความคิดของอริสโตเติลลงในตารางข้างล่างตามข้อที่กําหนดโดยใช้ตัวเลือกดังต่อไปนี้
(1) Democracy
(2) Polity
(3) Oligarchy
(4) Tyranny
(5) Aristocracy

43.ตอบ 4 หน้า 104 – 105 อริสโตเติล (Aristotle) ได้แบ่งรูปแบบการปกครองออกเป็น 6 รูปแบบ ดังนี้

44.ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

45.ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

46.ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

47. ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

ข้อ 48 – 60. จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ไปตอบในแต่ละข้อโดยให้มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับโจทย์คําถาม
(1) Karl Marx
(2) Robert Nozick
(3) Harold D. Lasswell
(4) John Rawls
(5) Sir Edwin Chadwick

48. กรรมกรต้องรวมกลุ่มกันโค่นล้มรัฐนายทุน
ตอบ 1 หน้า 174 – 176 คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) เป็นผู้สนับสนุนการยึดครองรัฐโดยชนชั้นกรรมาชีพ (กรรมกร) โดยเขาเรียกร้องให้ชนชั้นกรรมาชีพรวมกลุ่มกันปฏิวัติโค่นล้มรัฐนายทุนและสถาปนารัฐสังคมนิยมที่เป็นรัฐของชนชั้นกรรมาชีพขึ้นมา เพื่อปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางการผลิตของชนชั้นนายทุนให้กลายมาเป็นของชนชั้นกรรมาชีพ ซึ่งแนวคิดของมาร์กซ์นี้ปรากฏอยู่ใน “แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์” (The Communist Manifesto) ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1848

49. ผู้เขียน “A Theory of Justice
ตอบ 4 หน้า 177 – 178 จอห์น รอลส์ (John Rawls) ได้เขียนหนังสือเรื่อง “A Theory of Justice” (ทฤษฎีหนึ่งว่าด้วยความยุติธรรม) ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1971 จากผลงานนี้เอง ที่ทําให้อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา บิล คลินตัน (Bill Clinton) กล่าวยกย่องรอลส์ ว่าเป็นนักปรัชญาการเมืองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20

50. “กรรมกรนั้นยิ่งทํางานมากขึ้น ๆ กลับมีแต่ยากจนลง และไม่มีวันจะเก็บหอมรอมริบสร้างเนื้อสร้างตัวได้ เพราะว่าค่าแรงที่กรรมกรได้รับในแต่ละวันนั้นเพียงพอแค่ที่กรรมกรจะมีชีวิตรอดไปวัน ๆ” วิธีคิดดังกล่าวนี้
เป็นความคิดของใครที่ใช้อธิบายระบบทุนนิยม
ตอบ 1 หน้า 172 คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) อธิบายว่า ในระบบทุนนิยมนั้นกรรมกรยิ่งทํางาน มากขึ้น ๆ กลับมีแต่ยากจนลง และไม่มีวันจะเก็บหอมรอมริบสร้างเนื้อสร้างตัวได้ เพราะว่า ค่าแรงที่กรรมกรได้รับในแต่ละวันนั้นเพียงพอแค่ที่กรรมกรจะมีชีวิตรอดไปวัน ๆ ไม่นับถึง ครอบครัวที่กรรมกรผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวต้องเลี้ยงดู ซึ่งในส่วนนั้นนายจ้างไม่ได้บวกเพิ่มให้ไปในค่าแรงของกรรมกร เพราะนายจ้างถือว่าแรงงานคนเดียวแลกกับค่าจ้างของคน ๆ เดียว

51. รัฐควรมีหน้าที่เหมือนนักดับเพลิง หรือไม่ก็คนเฝ้ายามก็เพียงพอแล้ว
ตอบ 2 หน้า 188, (คําบรรยาย) โรเบิร์ต โนซิค (Robert Nozick) ได้เขียนหนังสือเรื่อง “Anarchy, State and Utopia” ในปี ค.ศ. 1974 โดยโนซิคได้แถลงจุดประสงค์ในหนังสือว่าเขาต้องการ จะหักล้างข้ออ้างที่เสนอโดยจอห์น รอลล์ที่ว่า รัฐขนาดใหญ่เป็นรัฐที่ชอบธรรมได้ก็เพราะว่า ความใหญ่โตของรัฐจะมีประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรม ซึ่งโนซิคไม่เห็นด้วย และเห็นว่ารัฐขนาดเล็ก (Minimal State) ต่างหากที่เป็นรัฐที่ชอบธรรม ซึ่งรัฐขนาดเล็กตาม ความคิดของโนซิคนั้นเป็นรัฐที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับชีวิตของประชาชนในระดับน้อยที่สุด ไม่ว่าจะ ในทางเศรษฐกิจหรือในทางการเมือง โดยรัฐจะทําหน้าที่เหมือนนักดับเพลิง หรือไม่ก็คนเฝ้ายาม คอยดูแลไม่ให้ประชาชนละเมิดกติกาหรือข้อตกลงพื้นฐานในการอยู่ร่วมกันเท่านั้น

52. ใครเป็นผู้เขียน “Anarchy, State and Utopia” ตีพิมพ์ออกมาปี ค.ศ. 1974
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

53. สนับสนุน Minimal State
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

54. “ร่างกาย แรงงาน และทรัพย์สินเป็นของเรา ใครจะมายึดไปอย่างชอบธรรมไม่ได้” เป็นวิธีคิดของใคร
ตอบ 2 หน้า 189, (คําบรรยาย) โรเบิร์ต โนซิค (Rebert Nozick) ได้เสนอ “หลักความยุติธรรม ในการครอบครองตั้งต้น” (Principle of Justice in Entitlement) ซึ่งเป็นหลักการที่เสนอว่า ถ้าทรัพยากรที่คน ๆ หนึ่งใช้ในการหารายได้มาตั้งแต่ต้นนั้นเป็นสิ่งที่ชอบธรรม สิ่งที่หามาได้ โดยทรัพยากรนั้นก็ถือว่าชอบธรรมไปด้วย ซึ่งคําว่าชอบธรรมนี้มีความหมายในลักษณะที่ว่า คน ๆ นั้นใช้ร่างกาย แรงงาน สติปัญญา หรือทรัพย์สินของตนเพื่อที่จะได้รายได้หรือสิ่งของ ต่าง ๆ มาอย่างชอบธรรม ทรัพย์สินหรือรายได้ที่ได้มานั้นก็จะเป็นสิ่งที่ชอบธรรมไปด้วยใครจะมาพรากหรือยึดเอาทรัพย์สินหรือรายได้เหล่านั้นไปอย่างชอบธรรมไม่ได้

55. บุคคลใดเขียนงานขึ้นมาส่วนหนึ่งเพื่อโจมตีแนวคิดเรื่อง “หลักการความแตกต่าง (Difference Principle)” ของ John Rawls
ตอบ 2 หน้า 192 โรเบิร์ต โนซิค (Robert Nozick) ได้เขียนงานขึ้นมาเพื่อโจมตีแนวคิดเรื่อง “หลักการ ความแตกต่าง” (Difference Principle) ของจอห์น รอลส์ (John Rawis) โดยโนซิคมองว่า การที่คน ๆ หนึ่งได้รับทรัพย์สินมาด้วยวิธีการอันชอบธรรม หรือได้มาโดยการแลกเปลี่ยนอย่าง เสรี ทรัพย์สินหรือดอกผลที่เกิดขึ้นนั้น ๆ ก็ถือว่าชอบธรรม และการที่รัฐจะนําไปแจกจ่ายให้กับ คนที่เสียเปรียบก็ไม่มีเหตุผลใดที่จะนํามาสร้างความชอบธรรมได้ มากไปกว่านั้นการที่รัฐเข้ามาแทรกแซงด้วยการกระจายทรัพยากรจากคนใดคนหนึ่งเพื่อนําไปช่วยเหลือคนที่ด้อยโอกาส ในรูปของการเก็บภาษี หรือด้วยรูปแบบการกระจายทรัพยากรอื่น ๆ มันก็เป็นสิ่งที่ไม่แตกต่างกับ การขโมยหรือการก่ออาชญากรรม นั่นก็เพราะว่ามันเป็นการใช้กําลังบังคับเอาของจากคน ๆ หนึ่ง ที่เขามีสิทธิต่อทรัพย์สินนั้นอย่างเต็มที่ไปโดยที่เขาไม่ได้ยินยอม

56. ใครเป็นคนกล่าวว่า “การเมือง คือ เรื่องของการที่ใครได้อะไร เมื่อไร และอย่างไร”
ตอบ 3 หน้า 159 ฮาโรลด์ ดี. แลสเวลล์ (Harold D. Lasswell) กล่าวว่า การเมือง คือ เรื่องของ การที่ใครได้อะไร เมื่อไร และอย่างไร (Politics is who gets what, when, and how)

57. นําเรื่องความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นของคนจนอังกฤษนําไปเสนอรัฐสภา
ตอบ 5 หน้า 168, (คําบรรยาย) เซอร์เอ็ดวิน แชดวิก (Sir Edwin Chadwick) เป็นนักปฏิรูปสังคม ชาวอังกฤษซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 19 (ค.ศ. 1800 – 1890) เขาได้ไปสํารวจชีวิตของ คนจนอังกฤษซึ่งมีความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นและเขียนเป็นรายงานเสนอรัฐสภา โดยเขาเล่าว่าคนจนทั่วไปไม่มีเงินเช่าบ้านอยู่อาศัยเป็นครอบครัว คนพวกนี้จะต้องไปเช่าอยู่ในโรงแรม ที่ห้องหนึ่งมีคนอาศัยอยู่หลาย ๆ คน ซึ่งเป็นสภาพชีวิตของคนจนในเมืองที่ย่ําแย่มาก ๆ

58. เป็นบุคคลที่มีแนวโน้มสนับสนุนการยึดครองรัฐโดยกรรมาชีพมากที่สุด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

59. ผู้เขียน “The Communist Manifesto” ตีพิมพ์ ค.ศ. 1848
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

60. บุคคลใดแนวโน้มเห็นด้วยมากที่สุดกับแนวคิดเรื่องการที่เราได้มรดกมาอย่างถูกต้องเราก็จะนําไปใช้ อย่างไรก็ได้ รัฐบาลไม่ควรมีสิทธิมาเก็บเงินนั้นเพื่อนําไปกระจายให้กับคนจน
ตอบ 2 หน้า 189, (คําบรรยาย) โรเบิร์ต โนซิค (Rebert Nozick) มีแนวคิดว่า การที่เราได้มรดก มาอย่างถูกต้องชอบธรรมเราก็จะนําไปใช้อย่างไรก็ได้ รัฐบาลไม่ควรมีสิทธิมาเก็บเงินหรือ นําทรัพย์สินนั้น ๆ ไปกระจายให้กับคนจนหรือคนด้อยโอกาสได้อย่างชอบธรรม ซึ่งแนวคิดนี้ เป็นไปตาม “หลักความยุติธรรมในการถ่ายโอน” (Principle of Justice in Transfer) ของ โนซิคที่เสนอไว้ว่า ถ้าคน ๆ หนึ่งได้รับสิ่งของใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นในฐานะของขวัญ มรดก หรือ ด้วยความเสน่หาใด ๆ และรวมทั้งกําไรรายได้จากการแลกเปลี่ยนในตลาดอย่างเสรี ทรัพย์สิน ที่ได้มาหรือรายได้นั้น ๆ ก็เป็นสิ่งที่ชอบธรรม รัฐหรือเอกชนคนใดก็ไม่มีสิทธิจะมาพรากเอา ทรัพย์สินหรือรายได้นั้น ๆ ไปจากเจ้าของได้อย่างชอบธรรม

ข้อ 61. – 80. จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ไปตอบในแต่ละข้อโดยให้มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับโจทย์คําถาม
(1) Aristotle
(2) Thomas Hobbes
(3) John Locke
(4) Jean Jacques Rousseau
(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

61. บุคคลมองว่า รัฐนั้นเกิดขึ้นมาจากการที่มนุษย์นั้นเข่นฆ่ากัน
ตอบ 2 หน้า 32, 36 – 38 โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) นักคิดชาวอังกฤษ ได้อธิบายถึงเหตุผล ที่มนุษย์ต้องเข้ามาอยู่ในรัฐหรือสังคมการเมืองก็เนื่องจากถ้ามนุษย์ไม่มีรัฐ มนุษย์ก็จะทะเลาะ เบาะแว้งเข่นฆ่ากันไม่รู้จบหรือเรียกว่าอยู่ในสภาวะสงคราม ซึ่งมนุษย์จะไม่ความปลอดภัยใด ๆทั้งสิ้น ดังนั้นจึงเกิดรัฐและมนุษย์ต้องมาอยู่รวมกันในรัฐเพราะรัฐจะช่วยให้มนุษย์มีความปลอดภัย (Safety) และมีชีวิตอยู่รอด

62. นักคิดคนใดในตัวเลือกข้างต้นเชื่อว่า รัฐบาลไม่ควรมีอํานาจจํากัด
ตอบ 2 หน้า 37 – 38 โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) มองว่า การเกิดสภาวะสงครามทําให้มนุษย์ จําเป็นต้องแสวงหาสันติภาพเพื่อจะทําให้ทุกคนมีชีวิตรอด โดยต้นเหตุของสภาวะสงครามก็คือสิทธิตามธรรมชาติอันไม่จํากัดที่มีเหนือร่างกายของมนุษย์ทุกคนและมนุษย์ทุกคนก็สามารถใช้ มันได้ ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงมีความจําเป็นที่ต้องสละสิทธิตามธรรมชาติดังกล่าวให้ Leviathan หรือ องค์อธิปัตย์ (ผู้ปกครองหรือรัฐบาล) มีอํานาจเด็ดขาดสูงสุดอย่างไม่จํากัด เพื่อให้มนุษย์ทุกคน ตกอยู่ภายใต้ความกลัวและไม่ให้เขาเหล่านั้นกลับไปอยู่ในสภาวะสงครามอีก แต่ฮอบส์ก็มี ข้อยกเว้นว่าประชาชนหรือผู้ที่อยู่ภายใต้อํานาจอาจจะไม่เชื่อฟังองค์อธิปัตย์ได้ ถ้าองค์อธิปัตย์ ใช้อํานาจแบบทรราชสังหารผู้ที่อยู่ภายใต้ปกครองตามอําเภอใจ ดังที่ฮอบส์กล่าวไว้ว่า “ถ้า องค์อธิปัตย์สั่งให้ผู้ที่อยู่ภายใต้อํานาจสังหาร หรือทําร้ายตัวเขาเองนั้น…. ตลอดจนสิ่งอื่น ที่ถ้าขาดสิ่งเหล่านั้นแล้วจะทําให้เขาไม่สามารถดํารงชีวิตอยู่ต่อไปได้ การบังคับทั้งหมดนี้มนุษย์ แม้จะอยู่ภายใต้อํานาจขององค์อธิปัตย์ก็ตาม เขาก็จะยังมีเสรีภาพอย่างสมบูรณ์ในการที่จะไม่เชื่อฟังคําสั่งดังกล่าว”

63. นักคิดคนใดนําแนวคิดสัญญาประชาคมมาเป็นชื่องานของตน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

64. นักคิดเจนีวาคนใดที่มองว่าเสรีภาพเป็นสิ่งที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์
ตอบ 4 หน้า 135 – 136, 142, 157 นักคิดที่มองว่าเสรีภาพคือสิ่งที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่กําเนิด หรือเป็นสิ่งที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ได้แก่
1. ฌอง ฌากส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) นักคิดชาวเจนีวา
2. ฌอง ปอล ซาร์ต (Jean Paul Sartre) นักคิดชาวฝรั่งเศส

65. นักคิดคนใดที่เน้นการอธิบายถึงการที่มนุษย์เข้ามาอยู่ภายในสังคมการเมืองนั้นก็ด้วยจุดประสงค์ เรื่องความปลอดภัย (Safety) เป็นประเด็นสําคัญ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

66. งานเขียนของนักคิดอังกฤษคนใดที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการปฏิวัติอเมริกัน
ตอบ 3 หน้า 39, 73 – 77 จอห์น ล็อค (John Locke) นักคิดชาวอังกฤษ ได้เสนอแนวคิดเรื่อง “สิทธิแห่งการปฏิวัติ” (Right of Revolution) ไว้ในหนังสือเรื่อง “Two Treatises of Government” (ตําราสองเล่มเกี่ยวกับการปกครอง) โดยล็อคเห็นว่า พลเมืองต้องเชื่อฟังกฎหมายเฉพาะเรื่องที่ได้ตกลงกับรัฐไว้เท่านั้น นอกเหนือจากนั้นไม่ต้องเชื่อฟัง และเมื่อใดก็ตามที่รัฐบาลทําหน้าที่ บกพร่องหรือไม่เป็นไปตามเจตจํานงที่ประชาชนให้ไว้ ประชาชนก็มีสิทธิที่จะไม่เชื่อฟังกฎหมาย หรือรัฐบาล และสามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ ซึ่งแนวคิดของล็อคนี้ได้กลายมาเป็นฐานคิดสําคัญ ของแนวคิดเสรีนิยมที่มองว่าการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลนั้นเป็นสิ่งที่ทําได้ และเป็นอํานาจอัน ชอบธรรมของประชาชน และวิธีคิดนี้ก็มีอิทธิพลอย่างมากต่อการปฏิวัติอเมริกันในปี ค.ศ.1776

67. นักคิดคนใดที่เสนอว่า รัฐควรมีหน้าที่ระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในสังคมเท่านั้น
ตอบ 3 หน้า 42 – 43 จอห์น ล็อค (John Locke) เห็นว่า มนุษย์ทุกคนในสภาวะธรรมชาตินั้นเป็นทั้ง คนตัดสินและใช้อํานาจลงโทษโดยลําพังตามกฎธรรมชาติ แต่การตัดสินลงโทษผู้ที่ละเมิดอาจจะไม่เป็นไปตามโทษที่สมควรได้รับทั้งนี้ก็เนื่องจากการรักตนเองหรือรักพวกพ้องของตนเอง จึงอาจทําให้มนุษย์ตัดสินเข้าข้างตนเองหรือเข้าข้างพวกพ้องที่ตนรัก หรืออาจจะตัดสินลงโทษไปด้วย ความต้องการที่จะล้างแค้น ดังนั้นรัฐจึงควรมีหน้าที่ระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในสังคม ดังที่ล็อค กล่าวว่า “ในสภาวะธรรมชาติ ทุก ๆ คนมีอํานาจในการบังคับใช้กฎธรรมชาติ… แต่บางครั้งมันก็ ไม่เป็นไปตามเหตุตามผลสําหรับมนุษย์ที่จะต้องตัดสินกรณีพิพาทเมื่อตัวเองต้องมีส่วนได้ส่วนเสีย นั่นก็เพราะว่า ความรักตนเองจะทําให้เขาตัดสินเอนเอียงเข้าข้างตน หรือเข้าข้างพวกพ้องของตนได้… ดังนั้นเอง พระผู้เป็นเจ้าจึงได้ตั้งรัฐบาลขึ้นมาเพื่อที่จะจัดการความอยุติธรรม และการใช้ ความรุนแรงระหว่างมนุษย์ ซึ่งข้าพเจ้าก็เห็นด้วยอย่างมากว่า รัฐบาลคือหนทางที่เหมาะสมที่สุดเพื่อใช้แก้ไขปัญหาอันติดขัดของมนุษย์ในสภาวะธรรมชาติ…

68. ใครเป็นคนกล่าวว่า “สภาพของมนุษย์ในสภาวะธรรมชาตินั้นจะมีความเท่าเทียมระหว่างกันเป็นอย่างมาก (Equality) ความเท่าเทียมที่เขาหมายถึงนี้ คือ ความสามารถในการอ้างต่อสิ่งต่าง ๆ ว่าเป็นของตนได้
อย่างเท่าเทียมกัน”
ตอบ 2 หน้า 34 โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) กล่าวว่า สภาพของมนุษย์ในสภาวะธรรมชาตินั้น จะมีความเท่าเทียมระหว่างกันเป็นอย่างมาก (Equality) ซึ่งความเท่าเทียมที่เขาหมายถึงนี้ คือ ความสามารถในการอ้างต่อสิ่งต่าง ๆ ว่าเป็นของตนได้อย่างเท่าเทียมกัน

69. นักคิดอังกฤษคนใดที่เสนอเรื่องสิทธิในการปฏิวัติ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ

70.“By all means we can, to defend ourselves” เป็นแนวคิดของนักคิดคนใด
ตอบ 2 หน้า 34 – 35 โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) กล่าวว่า มนุษย์มีสิทธิตามธรรมชาติ (Natural Right) ที่จะทําอะไรก็ได้ตามการตัดสินหรือเหตุผลส่วนตัวของเขา ซึ่งสิ่งที่เรียกว่า “สิทธิตามธรรมชาติ” ตามความคิดของฮอบส์นั้นเป็นสิ่งที่ได้มาจากกฎธรรมชาติ (Law of Nature) อันเป็นกฎสากลทั่วไป ซึ่งกฎธรรมชาติพื้นฐานตามความคิดของฮอบส์ก็คือ มนุษย์ จะถูกห้ามไม่ให้ทําอันตรายใด ๆ ต่อชีวิตของตนเอง หรือถูกบังคับให้ไม่ใช้วิธีการใด ๆ หรือ การละเว้นที่จะทําให้เขามีชีวิตรอด โดยทั้งหมดนี้เป็นไปตามสิ่งที่ดีที่สุดซึ่งเขาคิดว่าจะธํารงไว้ ซึ่งชีวิตของเขา (By all means we can, to defend ourselves)

71. นักคิดคนใดที่เชื่อมั่นในเรื่องของอํานาจในการปกครองประชาชนควรจะเป็นผู้ใช้เอง
ตอบ 4 หน้า 94, 101, 132 ฌอง ฌากส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) เห็นว่า ประชาชนคือ ผู้ปกครองที่ดีที่สุด ถ้าปรารถนาจะได้รูปแบบการเมืองที่ชอบธรรมหรือเป็นรูปแบบการเมือง ที่มีเสรีภาพและเสมอภาคก็ควรจะให้ประชาชนเป็นผู้ใช้อํานาจในการปกครองด้วยตนเอง

72. นักคิดคนใดที่กล่าวว่า “พระผู้เป็นเจ้าจึงได้ตั้งรัฐบาลขึ้นมาเพื่อที่จะจัดการความอยุติธรรม และการใช้ ความรุนแรงระหว่างมนุษย์ ซึ่งข้าพเจ้าก็เห็นด้วยอย่างมากว่า รัฐบาลคือหนทางที่เหมาะสมที่สุดเพื่อใช้แก้ไขปัญหาอันติดขัดของมนุษย์ในสภาวะธรรมชาติ”
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 67. ประกอบ

73. ใครเป็นคนกล่าวว่า “ถ้าองค์อธิปัตย์สั่งให้ผู้ที่อยู่ภายใต้อํานาจสังหาร หรือทําร้ายตัวเขาเองนั้น…. ตลอดจน สิ่งอื่น ๆ ที่ถ้าขาดสิ่งเหล่านั้นแล้วจะทําให้เขาไม่สามารถดํารงชีวิตอยู่ต่อไปได้ การบังคับทั้งหมดนี้มนุษย์
แม้จะอยู่ภายใต้อํานาจขององค์อธิปัตย์ก็ตาม เขาก็จะยังมีเสรีภาพอย่างสมบูรณ์ในการที่จะไม่เชื่อฟังคําสั่งดังกล่าว”
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

74. รัฐคือสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ เป็นแนวคิดของใคร
ตอบ 1 หน้า 25, 29, (คําบรรยาย) อริสโตเติล (Aristotle) ได้ใช้วิธีคิดเรื่อง Telos มาอธิบายว่า ทําไมมนุษย์ต้องอยู่ในรัฐหรือสังคมการเมือง โดยอริสโตเติลมองว่า รัฐหรือสังคมการเมืองนั้น คือสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ และไม่ว่าอย่างไรมนุษย์ก็ต้องอยู่ในรัฐ เพราะการอยู่ในรัฐนั้น เป็นทางเดียวที่จะทําให้มนุษย์มีชีวิตที่ดีและสามารถบรรลุความประเสริฐหรือความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้

75. ใครเป็นผู้กล่าวว่า “กฎธรรมชาตินี้เป็นกฎที่สอนมนุษย์ว่า ทุกคนเท่าเทียมกันและเป็นอิสระต่อกัน ดังนั้น มนุษย์ไม่ควรที่จะทําร้ายมนุษย์คนอื่น ทั้งในด้านชีวิต สุขภาพ เสรีภาพ หรือทรัพย์สมบัติ เพราะว่ามนุษย์นั้น เป็นสิ่งทรงสร้างของพระเจ้าเหมือน ๆ กัน”
ตอบ 3 หน้า 40 จอห์น ล็อค (John Locke) เห็นว่า มนุษย์ในสภาวะธรรมชาติยังอยู่ภายใต้กฎหนึ่งเสมอ นั่นก็คือ “กฎธรรมชาติ” (Law of Nature) ซึ่งกฎธรรมชาตินี้เป็นกฎที่สอนมนุษย์ว่า ทุกคน เท่าเทียมกันและเป็นอิสระต่อกัน ดังนั้นมนุษย์ไม่ควรที่จะทําร้ายมนุษย์คนอื่น ทั้งในด้านชีวิต สุขภาพ เสรีภาพ หรือทรัพย์สมบัติ เพราะว่ามนุษย์นั้นเป็นสิ่งทรงสร้างของพระเจ้าเหมือน ๆ กัน

76. นักคิดคนใดที่นําวิธีคิดเรื่อง Telos มาอธิบายว่าทําไมมนุษย์ต้องอยู่ในรัฐ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ

77. ใครเป็นผู้แต่ง On the Origin and Foundation of Inequality of Mankind
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

78. นักคิดคนใดที่กล่าวว่า “มนุษย์ในสภาวะธรรมชาติ พวกเขามีเพศสัมพันธ์กับเพศตรงข้ามนั้นมนุษย์ไม่ได้ คิดอะไรไปมากกว่าการได้กินผลไม้เพียงลูกหนึ่ง”
ตอบ 4 หน้า 50 ฌอง ฌากส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) กล่าวว่า มนุษย์ในสภาวะธรรมชาติ พวกเขามีเพศสัมพันธ์กับเพศตรงข้ามนั้นมนุษย์ไม่ได้คิดอะไรไปมากกว่าการได้กินผลไม้เพียงลูกหนึ่ง หรือสายตาที่เขามองเพศตรงข้ามนั้นไม่ต่างอะไรกับที่เขามองสัตว์ตัวหนึ่ง

79. นักคิดคนใดเป็นชาวมาซิโดเนีย
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ

80. นักคิดคนใดเป็นชาวฝรั่งเศสโดยกําเนิด
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 36., 51., 64. และ 66. ประกอบ

81. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับองค์รัฏฐาธิปัตย์
(1) ผู้ที่มีอํานาจสูงสุดในรัฐ
(2) บางทีเราสามารถเรียกว่าองค์อธิปัตย์ได้
(3) Leviathan ในความหมายของ Hobbes
(4) ประชาชนสามารถถือครองอํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศได้
(5) ขุนนางคือองค์รัฎฐาธิปัตย์ในงานของรุสโซ
ตอบ 5 หน้า 57, (คําบรรยาย) องค์อธิปัตย์ หรือองค์รัฏฐาธิปัตย์ (Sovereign) หมายถึง ผู้ที่มีอํานาจ สูงสุดในการปกครองรัฐหรือสังคมการเมือง โดยคําว่าผู้มีอํานาจสูงสุดนี้หมายถึง คนที่เป็นเจ้าของ อํานาจอธิปไตย ซึ่งอาจจะหมายถึง ประชาชนทุกคน รัฐบาล ผู้นําเผด็จการทหาร หรือใครก็ได้ ที่เป็นเจ้าของและเป็นผู้ใช้อํานาจดังกล่าว ทั้งนี้ในงานของฌอง ฌากส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) ประชาชนคือองค์รัฏฐาธิปัตย์ (ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ)

82. คําว่า “Free Gift” ตามความหมายของ Thomas Hobbes ใช้กับบุคคลในข้อใด
(1) ผู้ปกครอง – พระเจ้า
(2) ผู้ปฏิบัติตามกฎหมาย – ผู้ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
(3) คนรวย – คนจน
(4) ผู้ปกครอง – ผู้ใต้ปกครอง
(5) พระเจ้า – บุตรแห่งพระเจ้า
ตอบ 2 หน้า 59 โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) อธิบายว่า ถ้าคนหนึ่งปฏิบัติตามกฎหมาย แต่อีกคนไม่ปฏิบัติตามทั้ง ๆ ที่ได้ตกลงกันตั้งแต่แรกแล้วว่าทุก ๆ คนจะมอบอํานาจที่แต่ละคนมี ตามธรรมชาติให้คนกลางคนหนึ่งตัดสินและออกกฎหมายในทุก ๆ เรื่อง และจะเชื่อฟังคนดังกล่าว ซึ่งถ้าคนหนึ่งเชื่อฟังอีกคนไม่เชื่อฟังและไม่ถูกลงโทษ เหตุการณ์แบบนี้ก็เหมือนกับการที่ คนปฏิบัติตามกฎหมายได้ให้ของขวัญเปล่า ๆ แก่คนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและไม่ถูกลงโทษ โดยฮอบส์เรียกการกระทํานี้ว่า “ของขวัญที่ให้กันฟรี ๆ” (Free Gift) หรือในปัจจุบันมักเรียกว่า “Free Rider”

83. ใครเป็นผู้เสนอคําอธิบายที่ว่า กฎหมายจะเป็นกฎหมายได้ก็ต้องมีการบังคับลงโทษผู้ที่ไม่ทําตามคําสั่ง
(1) John Austin
(2) Thomas Hobbes
(3) Immanuel Kant
(4) Aristotle
(5) Socrates
ตอบ 1 หน้า 58 จอห์น ออสติน (John Austin) นักปรัชญากฎหมายชาวอังกฤษ ได้เสนอทฤษฎี การบังคับบัญชาของกฎหมาย (Command Theory of Law) โดยอธิบายว่า กฎหมายจะเป็น กฎหมายได้นั้นก็ต้องมีการบังคับลงโทษผู้ที่ไม่ทําตามคําสั่งหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งเขา ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า “คําสั่งใด ๆ ของผู้มีอํานาจนั้นจะเป็นกฎหมายหรือไม่ ต้องพิจารณา จากประเด็นในเรื่องที่ว่า ถ้ามีคนใดคนหนึ่งไม่ปฏิบัติตามกฎหมายนั้นสามารถลงโทษได้หรือไม่ ถ้าลงโทษได้ คําสั่งนั้นก็คือกฎหมาย”

84. ข้อใดต่อไปนี้คือผลงานชิ้นสําคัญของ Robert Nozick
(1) Two Treatises of Government
(2) On Liberty
(3) Discourse on the Origin and Basis of Inequality Among Men
(4) Politics
(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

85. ตามความคิดของ Thomas Hobbes หากผู้ปกครองไม่ลงโทษอาชญากรตามกฎหมายอาจนําไปสู่สภาวะใดมากที่สุด
(1) สันติภาพที่ถาวร
(2) สภาวะต่างคนต่างอยู่
(3) การฆ่าฟันกันจนตายโหง
(4) กฎหมายสลายตัวไป
(5) ความรักใคร่สามัคคีกัน
ตอบ 3 หน้า 59, (คําบรรยาย) ตามความคิดของโทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) หากองค์อธิปัตย์ หรือผู้ปกครองไม่ลงโทษอาชญากรตามกฎหมายอาจนําไปสู่สภาวะธรรมชาติก่อนที่มนุษย์จะ เข้ามาอยู่ในรัฐ นั่นก็คือ การที่มนุษย์สามารถจะทําอะไรก็ได้ตามที่เขาอยากจะทํา สุดท้ายก็จะเกิดความวุ่นวายและนําไปสู่สภาวะสงครามที่ต่างฝ่ายต่างฆ่าฟันกันจนตายโหง

86. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “ไครโต” (Crito)
(1) พยายามหว่านล้อมให้โสเครตีสหนีออกจากคุกภายหลังโดนสั่งประหารชีวิต
(2) ผู้สั่งประหารชีวิตโสเครตีส
(3) บิดาของโสเครตีส
(4) ญาติที่ให้การเลี้ยงดูโสเครตีส
(5) ผู้ที่ขัดขวางการหนีออกจากคุกของโสเครตีส
ตอบ 1 หน้า 61 – 62, (คําบรรยาย) ไครโต (Crito) เป็นบทสนทนาที่เขียนขึ้นในยุคกรีกโบราณ โดยเพลโต (Plato) ซึ่งเป็นส่วนที่จะนํามาอธิบายในประเด็นที่ว่า “เราต้องเชื่อฟังกฎหมาย เพราะเราตกลงกับรัฐไปแล้วทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว” โดยเนื้อหาในงานเขียนเป็นบทสนทนา ตอนที่โสเตรตีสกําลังรอประหารชีวิตอยู่ ซึ่งในเวลานั้นไครโตผู้เป็นเพื่อนสนิทได้พยายาม หว่านล้อมให้โสเครตีสหนีออกจากคุกแต่เขาไม่ยอมหนี โดยโสเครตีสได้ให้เหตุผลว่าทําไม เราต้องเชื่อฟังรัฐ และเชื่อฟังกฎหมายที่ออกโดยรัฐไว้ว่า “ประเทศของท่านมีค่าควรแก่ การเคารพสักการะยิ่งกว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ยิ่งกว่าและสูงส่งกว่าบรรพบุรุษของท่านเองไม่ใช่หรือ ท่านควรแสดงความเคารพนับถือประเทศและถ่อมตนยิ่งกว่าที่แสดงต่อบิดามารดา ยามเมื่อ รัฐทําให้ท่านไม่พอใจ ทางเลือกของท่านก็คือ ควรชักจูงให้คนในรัฐเห็นด้วยกับท่าน หรือไม่ ท่านก็ต้องทําตามคําสั่งของรัฐ ซึ่งไม่ว่าคําสั่งนั้นจะให้ท่านทนทุกข์ทรมานท่านก็ต้องยอม ทนทุกข์ทรมานตามคําสั่งอย่างไม่ปริปากบ่น รัฐจะให้ท่านถูกเฆี่ยนตี ถูกจําคุก หรือถูกสั่ง ให้ไปสงคราม เพื่อที่จะได้รับบาดเจ็บหรือถูกฆ่าโดยศัตรู ท่านก็ต้องทําตามเจตนารมณ์นั้น ของประเทศ นี่คือสิ่งที่ถูกต้อง….”

87. ประโยคที่ว่า “ประเทศของท่านมีค่าควรแก่การเคารพสักการะยิ่งกว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ยิ่งกว่าและสูงส่งกว่า บรรพบุรุษของท่านเองไม่ใช่หรือ…” เป็นคํากล่าวของใคร
(1) ไครโต
(2) เพลโต
(3) โสเครตีส
(4) อริสโตเติล
(5) นักบุญพอล
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 86. ประกอบ

88. ประโยคที่ว่า “ ประเทศของท่านมีค่าควรแก่การเคารพสักการะยิ่งกว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ยิ่งกว่าและสูงส่งกว่า บรรพบุรุษของท่านเองไม่ใช่หรือ…” ผู้พูดต้องการสื่อความหมายอย่างไร
(1) เราต้องเชื่อฟังกฎหมาย เพราะถ้าไม่เชื่อฟังกฎหมายเราก็จะต้องถูกลงโทษ
(2) เราต้องเชื่อฟังกฎหมาย เพราะเราตกลงกับรัฐไปแล้วทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว
(3) เราต้องเชื่อฟังกฎหมาย เพราะมันคือคําสั่งที่มาจากพระเจ้า
(4)เราต้องเชื่อฟังกฎหมายตราบที่มันไม่ขัดกับที่เราได้ตกลงกับรัฐเอาไว้แล้ว
(5) เราไม่ต้องเชื่อฟังกฎหมาย ถ้ากฎหมายนั้นขัดกับมโนธรรมของเรา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 86. ประกอบ

89. ผู้ใดต่อไปนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหมอสอนศาสนาคนแรกในประวัติศาสตร์ของคริสเตียน
(1) Saint Paul’
(2) Saint Peter
(3) Saint Philip
(4) Saint Matthews
(5) Saint Thomas
ตอบ 1 หน้า 67 เปาโลหรือนักบุญพอล (Saint Paul) ไม่ได้เป็นลูกศิษย์ของพระเยซูสิบสองคนโดยตรง เหมือนกับนักบุญปีเตอร์ แต่ตามตํานานกล่าวว่าหลังพระเยซูเสียชีวิตที่กางเขนแล้ว พระเยซู ได้มาปรากฏให้เปาโลเห็นเพื่อเลือกเปาโลให้มารับใช้พระองค์ จึงทําให้เปาโลซึ่งเป็นผิวที่คอยข่มเหงพวกคริสเตียนอยู่ตลอดเวลา กลับใจหันมาอุทิศชีวิตป่าวประกาศเรื่องราวของพระเยซู จนได้ชื่อว่าเป็นผู้วางรากฐานให้กับศาสนาคริสต์ที่สําคัญคนหนึ่ง หรือกล่าวง่าย ๆ ก็คือ เปาโล คือหมอสอนศาสนาคนแรกในประวัติศาสตร์ของคริสเตียน

90. คําว่า Explicit Consent มีความหมายว่าอย่างไร
(1) การตกลงแบบเป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐ
(2) การตกลงโดยปริยายว่าจะปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐ
(3) การปฏิเสธการปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐแบบเป็นลายลักษณ์อักษร
(4) การปฏิเสธการปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐโดยปริยาย
(5) การไม่ใช้ประโยชน์จากสิ่งของสาธารณะของรัฐเพื่อเลี่ยงกฎหมาย
ตอบ 1 หน้า 63 – 64 จอห์น ล็อค (John Locke) ได้อธิบายในเรื่องการเชื่อฟังกฎหมายว่า การที่ พลเมืองเชื่อฟังกฎหมายและยอมปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐก็เนื่องจากเขาได้ตกลงทําสัญญาที่จะอยู่ร่วมกันภายใต้รัฐ โดยหวังว่ารัฐจะช่วยปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของผู้เข้าทําสัญญาตลอดจนทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยเมื่อมีข้อพิพาทระหว่างกัน ซึ่งตามความคิดของล็อคนั้นการตกลง ทําสัญญามี 2 ลักษณะ คือ
1. การตกลงแบบชัดแจ้ง (Express Consent/Explicit Consent) เป็นการตกลงแบบเป็นลายลักษณ์อักษรที่จะเข้ามาอยู่ในรัฐและปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐ
2. การตกลงแบบปริยาย (Tacit Consent) เป็นการตกลงที่ผู้ตกลงได้มาใช้ประโยชน์จาก รัฐหนึ่ง ๆ เช่น ใช้ทางหลวง ใช้สิ่งของสาธารณะ หรือได้ประโยชน์จากการที่เข้ามาอยู่ภายในรัฐ จึงทําให้คน ๆ นั้นมีพันธะที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐนั้น ๆ โดยปริยาย

91. ตามความเชื่อของศาสนาคริสต์ ใครเป็นผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกมนุษย์ตั้งแต่เศษหินดินทราย ไปจนกระทั่งถึงตัวมนุษย์
(1) พระเยซู
(2) โมเสส
(3) โนอาห์
(4) พระยะโฮวา
(5) ไม่มีผู้ใดสร้าง สรรพสิ่งล้วนเป็นไปตามธรรมชาติ
ตอบ 4 หน้า 66 – 67, (คําบรรยาย) ความเชื่อหรือความคิดในทางศาสนาคริสต์ปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ ไบเบิ้ล (Bible) โดยเฉพาะความเชื่อที่ว่า พระเจ้า (พระยะโฮวา) เป็นผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่าง สร้างโลก สร้างมนุษย์ สร้างแม้แต่เศษหินดินทราย ดังนั้นเอง กฎหมาย สังคม และรัฐของมนุษย์ ก็เกิดขึ้นตามพระประสงค์ของพระเจ้าทั้งสิ้น ซึ่งวิธีคิดนี้ได้กลายเป็นรากฐานให้กับคริสเตียน ที่คิดว่ากฎหมายเป็นสิ่งที่มาจากพระเจ้า ดังนั้นเราจึงต้องเชื่อฟังกฎหมาย

92. หากต้องการศึกษาความคิดของศาสนาคริสต์ ต้องศึกษาจากเอกสารชิ้นใด
(1) Quran
(2) Avesta
(3) Rigveda
(4) Nihongi
(5) Bible
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

93. แนวคิดที่เสนอว่า “ประชาชนมีสิทธิที่จะไม่เชื่อฟังรัฐบาลหรือกฎหมายได้ถ้าไม่เป็นไปตามเจตจํานงที่ประชาชนให้ไว้…” เป็นแนวคิดของใคร
(1) จอห์น ล็อค
(2) โรเบิร์ต ฟิลเมอร์
(3) จอห์น ออสติน
(4) ซิเซโร
(5) แมคคิอาเวลลี
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ

94. การที่ซาอูล (Saul) ในฐานะกษัตริย์ที่ชั่วร้ายแต่กลับไม่ถูกฆ่า สอดคล้องกับข้อใดมากที่สุด
(1) เราต้องเชื่อฟังกฎหมาย เพราะถ้าไม่เชื่อฟังกฎหมายเราก็จะต้องถูกลงโทษ
(2) เราต้องเชื่อฟังกฎหมาย เพราะเราตกลงกับรัฐไปแล้วทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว
(3) เราต้องเชื่อฟังกฎหมาย เพราะมันคือคําสั่งที่มาจากพระเจ้า
(4) เราต้องเชื่อฟังกฎหมายตราบที่มันไม่ขัดกับที่เราได้ตกลงกับรัฐเอาไว้แล้ว
(5) เราไม่ต้องเชื่อฟังกฎหมาย ถ้ากฎหมายนั้นขัดกับมโนธรรมของเรา
ตอบ 3. หน้า 66, 68 – 69 ตัวอย่างหนึ่งที่ถูกนํามาอธิบายในประเด็นเรื่อง “เราต้องเชื่อฟังกฎหมาย เพราะมันคือคําสั่งที่มาจากพระเจ้า” ก็คือ กรณีของซาอูล (Saul) ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่ชั่วร้าย แต่กลับไม่ถูกดาวิด (David) ฆ่าแม้จะพยายามฆ่าดาวิดอยู่หลายหน โดยสาเหตุที่ดาวิดตัดสินใจ ไม่ฆ่ากษัตริย์ซาอูลเพราะมองว่ากษัตริย์ซาอูลคือคนที่พระเจ้าตั้งใจให้เป็นผู้ปกครองจากการ ร้องขอของพวกยิว คนที่จะเอาชีวิตของกษัตริย์ซาอูลได้มีเพียงพระเจ้าเท่านั้น มนุษย์ไม่มีสิทธิจะไปล้มล้างผู้ปกครองแม้จะชั่วร้ายแค่ไหนก็ตาม

95. หากท่านได้อ่านถึงบทบาทของแอนธิกอน (Antigone) ในการฝังศพโพลินีซิส (Polyneices) แล้ว ท่านเห็นด้วยกับแอนธิกอน แปลว่าท่านเห็นด้วยกับตัวเลือกในข้อใด
(1) กฎของพระเจ้ายิ่งใหญ่กว่ากฎของมนุษย์
(2) กฎของมนุษย์ยิ่งใหญ่กว่ากฎของพระเจ้า
(3) กฎของพระเจ้าสําคัญเทียบเท่ากับกฎของมนุษย์
(4) กฎของพระเจ้าหรือมนุษย์สําคัญน้อยกว่าเสรีภาพส่วนบุคคล
(5) กฎของพระเจ้าสําคัญน้อยกว่าหลักการทางวิทยาศาสตร์
ตอบ 1 หน้า 71 – 72 กรณีของแอนธิกอน (Antigone) นั้น เธอได้ละเมิดคําสั่งของกษัตริย์คลื่อน (Creon) ที่ห้ามฝังศพของโพลินีซิส (Polyneices) ซึ่งเป็นกบฏ โดยเธอเห็นว่ามันเป็นเรื่อง ประหลาดและฝืนมโนธรรมอย่างมากที่จะไม่ฝังศพญาติสนิทของตนเอง ซึ่งการกระทําของ แอนธิกอนนั้นมีลักษณะคล้ายกับแนวคิดของคริสเตียนที่ว่า ถ้ากฎหมายที่กําหนดโดยมนุษย์ สั่งให้ทําสิ่งที่ขัดต่อพระเจ้า มนุษย์ก็ไม่จําเป็นที่จะต้องเชื่อฟัง เพราะกฎของพระเจ้ายิ่งใหญ่กว่า กฎของมนุษย์

96. ใครคือผู้ประพันธ์หนังสือเรื่อง “แพทริอาคา หรือว่าด้วยอํานาจตามธรรมชาติของกษัตริย์
(1) อริสโตเติล
(2) จอห์น รอลส์
(3) จอห์น ล็อค
(4) แมคคิอาเวลลี
(5) โรเบิร์ต ฟิลเมอร์
ตอบ 5 หน้า 70 โรเบิร์ต ฟิลเมอร์ (Sir Robert Filmer) เป็นผู้ประพันธ์หนังสือเรื่อง “แพทริอาคา หรือว่าด้วยอํานาจตามธรรมชาติของกษัตริย์” (Patriarcha or the Natural Power of Kings) ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1680 โดยในหนังสือเล่มนี้เขาพยายามที่จะชี้ให้เห็นว่า การปกครองของ กษัตริย์ในลักษณะพ่อปกครองลูก คือการปกครองที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด และการปกครอง แบบนี้เป็นการปกครองที่พระเจ้าทรงแต่งตั้งไว้ตั้งแต่สร้างโลก โดยเขาได้อ้างเหตุผลมาจาก คัมภีร์ปฐมกาล (Geresis) ในไบเบิ้ล

97. ใครคือผู้ที่เปรียบเปรยว่า “รัฐบาลมีฐานะเป็นคนรับใช้ของประชาชน”
(1) จอห์น ล็อค
(2) จอห์น รอลส์
(3) ฌอง ฌากส์ รุสโซ
(4) จอห์น ออสติน
(5) แมคคิอาเวลลี
ตอบ 3 หน้า 76 ฌอง ฌากส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) เห็นว่า รัฐบาลมีฐานะเป็นแค่ คนรับใช้ของประชาชนและประชาชนนั้นเป็นเจ้านายของรัฐบาล แม้ตําแหน่งของรัฐบาลจะเรียกว่า “เจ้าผู้ปกครอง” (Prince) แต่รัฐบาลก็ไม่ มีสิทธิออกกฎหมายใด ๆ ตามความต้องการของตนเอง รัฐบาลเป็นแค่หน่วยงานในการที่จะกระทําการตามเจตจํานงของกฎหมายที่ประชาชนเป็นผู้ออกอํานาจที่รัฐบาลใช้ก็เป็นอํานาจที่ประชาชนฝากไว้ ซึ่งอาจจะถูกจํากัด ปรับเปลี่ยน หรือเอาคืนเมื่อไรก็ได้หากประชาชนพอใจ

98. คําประกาศเอกราชของโทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) ได้อิทธิพลทางความคิดมาจากนักคิด
ของประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) ออสเตรีย-ฮังการี
(3) ฝรั่งเศส
(4) ปรัสเซีย
(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ตอบ 5 หน้า 77 โทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) หนึ่งในบรรดาผู้ก่อตั้งสหรัฐอเมริกา (American Founding Fathers) ได้นําแนวคิดสิทธิแห่งการปฏิวัติของจอห์น ล็อค (John Locke) นักคิดชาวอังกฤษ มาใช้ในการประกาศเอกราชของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1776

99. เฮนรี่ เดวิด ธอโร (Henry David Thoreau) เห็นด้วยกับสงครามในข้อใด
(1) World War I (1914 – 1919)
(2) World War II (1939 – 1945)
(3) Mexican-American War (1846 – 1848)
(4) Cayuse War (1847 – 1855)
(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ตอบ 5 หน้า 80 เฮนรี่ เดวิด ธอโร (Henry David Thoreau) ไม่เห็นด้วยกับ “สงครามเม็กซิกัน- อเมริกัน” (Mexican-American War : 1846 – 1848) ที่อเมริกาไปรบกับเม็กซิโกเพื่อผนวก ดินแดนเท็กซัส เพราะมันเป็นการเพิ่มรัฐที่มีทาสให้กับอเมริกา โดยธอโรมีความเห็นว่าการมี ทาสนั้นเป็นสิ่งชั่วช้าและในอเมริกาก็ไม่ควรที่จะยอมให้เกิดขึ้นมากไปกว่าที่เป็นอยู่อีกต่อไปดังนั้นธอโรจึงปฏิเสธการจ่ายภาษีให้กับรัฐ เพราะการจ่ายภาษีให้กับรัฐก็หมายความว่า รัฐจะนําเงินไปใช้จ่ายในสงครามที่ทํากับเม็กซิโก

100. เฮนรี่ เดวิด ธอโร (Henry David Thoreau) เสนอแนวคิดใด
(1) การเรียกร้องให้สร้างโรงพยาบาล
(2) การส่งเสริมอารยะขัดขืน
(3) การต่อต้านการเหยียดผิว
(4) การหนีภาษีและการหนีคดีออกนอกประเทศ
(5) การบริจาคเงินให้กับรัฐบาลโดยระบุวัตถุประสงค์
ตอบ 2 หน้า 80 – 82 เฮนรี่ เดวิด ธอโร (Henry David Thoreau) ได้เสนอแนวคิดอารยะขัดขืน ไว้ในบทความเรื่อง “Resistance to Civil Government” (การขัดขืนต่อรัฐบาลพลเรือน) ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1849 โดยธอโรพยายามชี้ให้เห็นว่าบางครั้งกฎหมายอาจจะไม่ใช่สิ่งเดียวกับ ความยุติธรรมหรือเป็นสิ่งที่ถูกต้อง กฎหมายเองอาจจะเป็นสิ่งที่ผิดก็ได้ ซึ่งธอโรเชื่อว่ามนุษย์นั้น มีสิ่งที่เรียกว่า “มโนธรรม” หรือ “จิตสํานึก” ดังนั้นถ้ากฎหมายใดที่พลเมืองมองว่ามันเป็น การขัดกับจิตสํานึกของตน พลเมืองไม่จําเป็นที่จะต้องเชื่อฟัง

Advertisement