การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2106 ปรัชญาการเมืองเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับองค์รัฏฐาธิปัตย์
(1) ผู้ที่มีอํานาจสูงสุดในรัฐ
(2) เราสามารถเรียกว่าองค์อธิปัตย์ได้
(3) ผู้นําเผด็จการทหารเป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์ไม่ได้
(4) ผู้ถือครองอํานาจอธิปไตย
(5) ประชาชนสามารถถือครองอํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศได้
ตอบ 3 หน้า 57, (คําบรรยาย) องค์อธิปัตย์ หรือองค์รัฏฐาธิปัตย์ (Sovereign) หมายถึง ผู้ที่มีอํานาจ สูงสุดในการปกครองรัฐหรือสังคมการเมือง โดยคําว่าผู้มีอํานาจสูงสุดนี้หมายถึง คนที่เป็นเจ้าของ อํานาจอธิปไตย ซึ่งอาจจะหมายถึง ประชาชนทุกคน รัฐบาล ผู้นําเผด็จการทหาร หรือใครก็ได้ ที่เป็นเจ้าของและเป็นผู้ใช้อํานาจดังกล่าว
2. “คุณธรรมของผู้ปกครอง (Virtue) หมายถึง คุณสมบัติบางประการที่เหมาะสมสําหรับผู้ปกครองที่จะ รักษารัฐไว้ได้” เป็นคํากล่าวของใคร
(1) John Stuart Mill
(2) Jean Paul Sartre
(3) Edmund Burke
(4) Niccolo Machiavelli
(5) Thomas Hobbes
ตอบ 4 หน้า 128, 130 นิโคโล แมคคิอาเวลลี (Niccolo Machiavelli) ผู้เขียนหนังสือเรื่อง “เจ้าผู้ปกครอง” (The Prince) กล่าวว่า ผู้ปกครองที่ดีคือผู้ปกครองที่สามารถรักษารัฐ รักษาอํานาจ หรือคงสถานะในการเป็นผู้ปกครองไว้ได้ ดังนั้นผู้ปกครองตามความคิดของ แมคคิอาเวลลีจึงเป็นใครก็ได้ แต่ขอให้รักษารัฐหรือรักษาอํานาจไว้ได้ก็พอ ซึ่งผู้ปกครอง ที่จะสามารถรักษารัฐไว้ได้ก็คือ ผู้ปกครองที่มีคุณธรรม (Virtue) โดยคุณธรรมของผู้ปกครอง ตามความหมายของแมคคิอาเวลลีนั้น หมายถึง คุณสมบัติบางประการที่เหมาะสมสําหรับ ผู้ปกครองที่จะรักษารัฐไว้ใต้
3.Montesquieu มีความเห็นว่า อํานาจไม่ควรอยู่ในมือใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น จะเป็นการปกครองแบบทรราช
(1) ข้อความดังกล่าวถูกต้อง
(2) ข้อความดังกล่าวไม่ถูกต้อง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) มงเตสกิเออร์ (Montesquieu) มีความเห็นว่า อํานาจไม่ควรอยู่ในมือใคร คนใดคนหนึ่งเท่านั้น เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจะเป็นการปกครองแบบทรราช (Tyranny)
4. บุคคลผู้นี้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งแนวคิดอนุรักษนิยมสมัยใหม่
(1) John Stuart Mill
(2) Jean Paul Sartre
(3) Edmund Burke
(4) Niccolo Machiavelli
(5) Thomas Hobbes
ตอบ 3 หน้า 124, 155 เอ็ดมันด์ เบิร์ก (Edmund Burke) บิดาแห่งแนวคิดอนุรักษนิยมสมัยใหม่ กล่าวว่า “เสรีภาพในสภาวะธรรมชาติเป็นเสรีภาพที่ไม่มีคุณค่า และไม่สามารถนํามาใช้อ้างอิงได้ เพราะเสรีภาพดังกล่าวเป็นเสรีภาพที่มนุษย์นั้นอยู่คนเดียว ไม่ได้อยู่รวมกับคนอื่น ๆ ซึ่งเสรีภาพ แบบนี้ไม่ต่างอะไรกับเสรีภาพของคนบ้า หรือของโจรปล้นทรัพย์ หรือของฆาตกรที่หนีออกมาจากกรงขังได้”
5. “เราลองนึกถึงในแง่ดีที่สุดแล้วก็ตาม เราก็จะพบว่า มันเป็นการปกครองแบบที่ให้คนซึ่งไม่มีประสบการณ์เลย มาตัดสินเรื่องราวที่ต้องใช้ประสบการณ์ เอาคนที่ไม่รู้มานั่งตัดสินเรื่องที่ต้องใช้ความรู้ ความไม่รู้ที่ว่านี้หมายถึง ขนาดที่ว่าแม้ไม่รู้ก็ไม่ใส่ใจในสิ่งที่ไม่รู้เพื่อที่จะให้รู้ นอกจากจะไม่ใส่ใจแล้ว ประชาชนมักขาดความระมัดระวัง และยังโอหังทะนงตัวอีกด้วย” เป็นคํากล่าวของใคร
(1) John Stuart Mill
(2) Jean Paul Sartre
(3) Edmund Burke
(4) Niccolo Machiavelli
(5) Thomas Hobbes
ตอบ 1 หน้า 118 – 119 จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) เป็นนักคิดที่ชื่นชมยกย่องและนิยม ให้ประชาชนมีอํานาจในการปกครองตนเอง แต่ก็ไม่เห็นด้วยถ้าจะให้ประชาชนทุกคนมาเป็น คนออกกฎหมายหรือทําอะไรด้วยตนเอง โดยมิลล์ได้ให้เหตุผลไว้ว่า “เราลองนึกถึงในแง่ดีที่สุด แล้วก็ตาม เราก็จะพบว่า มันเป็นการปกครองแบบที่ให้คนซึ่งไม่มีประสบการณ์เลยมาตัดสิน เรื่องราวที่ต้องใช้ประสบการณ์ เอาคนที่ไม่รู้มานั่งตัดสินเรื่องที่ต้องใช้ความรู้ ความไม่รู้ที่ว่านี้ หมายถึงขนาดที่ว่าแม้ไม่รู้ก็ไม่ใส่ใจในสิ่งที่ไม่รู้เพื่อที่จะให้รู้ นอกจากจะไม่ใส่ใจแล้ว ประชาชน มักขาดความระมัดระวังและยังโอหังทะนงตัวอีกด้วย”
6.มีดปอกผลไม้ก็มีไว้ปอกผลไม้ มีดปอกสายไฟก็มีไว้ปอกสายไฟ
(1) Aristotle
(2) Jean Jacques Rousseau
(3) Thomas Hobbes
(4) Telos
(5) Arete
ตอบ 4 หน้า 25 – 28 อริสโตเติล (Aristotle) ได้อธิบายธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ โดยใช้วิธีการที่เรียกว่า Teleology หรือการอธิบายว่าของทุกสิ่งนั้นมีจุดมุ่งหมายปลายทางที่มันจะต้องคลี่คลายไปเสมอ โดยจุดมุ่งหมายปลายทางของสิ่งต่าง ๆ นั้น อริสโตเติลเรียกว่า “เทลอส” (Telos) ซึ่งเป็นคํา ภาษากรีก แปลว่า “จุดมุ่งหมายปลายทาง” “จุดมุ่งหมาย” “เป้าประสงค์” “จุดประสงค์ (Final Cause/End/Purpose/Goal) เช่น มีดปอกผลไม้จุดมุ่งหมายปลายทางหรือ Telos ก็คือ การปอกผลไม้ มีดปอกสายไฟจุดมุ่งหมายปลายทางหรือ Telos ก็คือ การปอกสายไฟ เป็นต้น
7. นักคิดชาวอังกฤษในศตวรรษที่ 17 ที่คิดว่า รัฐช่วยปกป้องรักษาทรัพย์สิน ชีวิต และตัดสินข้อพิพาทต่าง ๆ
(1) Montesquieu
(2) James Madison
(3) John Locke
(4) Jean Jacques Rousseau
(5) Joseph Schumpeter
ตอบ 3 หน้า 39 จอห์น ล็อค (John Locke) เป็นนักคิดชาวอังกฤษ ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 17 (ค.ศ. 1632 – 1704) เขาได้เสนอแนวคิดไว้ในหนังสือเรื่อง “Two Treatises of Government” (ตําราสองเล่มว่าด้วยการปกครอง) ว่า รัฐเกิดขึ้นมาเพื่อช่วยปกป้องรักษาทรัพย์สิน ชีวิต และ ตัดสินข้อพิพาทต่าง ๆ
8.แนวคิดที่เสนอว่า “ประชาชนมีสิทธิที่จะไม่เชื่อฟังรัฐบาลหรือกฎหมายได้ถ้าไม่เป็นไปตามเจตจํานง ที่ประชาชนให้ไว้” เป็นแนวคิดของใคร
(1) John Locke
(2) John Rawls
(3) Jean Jacques Rousseau
(4) John Austin
(5) Niccolo Machiavelli
ตอบ 1 หน้า 73 – 75 จอห์น ล็อค (John Locke) กล่าวว่า พลเมืองต้องเชื่อฟังกฎหมายเฉพาะเรื่อง ที่ได้ตกลงกับรัฐไว้เท่านั้น นอกเหนือจากนั้นไม่ต้องเชื่อฟัง และเมื่อใดก็ตามที่รัฐบาลทําหน้าที่ บกพร่องหรือไม่เป็นไปตามเจตจํานงที่ประชาชนให้ไว้ ประชาชนก็มีสิทธิที่จะไม่เชื่อฟังกฎหมาย หรือรัฐบาล และสามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ ซึ่งสิทธิดังกล่าวนี้เรียกว่า “สิทธิแห่งการปฏิวัติ” (Right of Revolution)
9.นักคิดคนใดใช้ตัวอย่างของนักกีฬามาเป็นเครื่องมือในการอธิบายเกี่ยวกับหลักความยุติธรรมในการกระจาย
ทรัพยากร
(1) Karl Marx
(2) Robert Nozick
(3) John Locke
(4) John Rawls
(5) Sir Edwin Chadwick
ตอบ 2 หน้า 187 – 191 โรเบิร์ต โนซิค (Rebert Nozick) นักคิดชาวอเมริกัน ได้อธิบายเกี่ยวกับ หลักความยุติธรรมในการกระจายทรัพยากรไว้ในหนังสือเรื่อง “Anarchy, State and Utopia” โดยได้กล่าวถึง “หลักความยุติธรรมในการครอบครองตั้งต้น” (Principle of Justice in Entitlement) ซึ่งเป็นหลักการที่เสนอว่า ถ้าทรัพยากรที่คน ๆ หนึ่งใช้ในการหา รายได้มาตั้งแต่ต้นนั้นเป็นสิ่งที่ชอบธรรม สิ่งที่หามาได้โดยทรัพยากรนั้นก็ถือว่าชอบธรรมไปด้วย ซึ่งคําว่าชอบธรรมนี้มีความหมายในลักษณะที่ว่า คน ๆ นั้นใช้ร่างกายของตน แรงงานของตน สติปัญญาของตน หรือทรัพย์สินของตนเพื่อที่จะได้รายได้หรือสิ่งของต่าง ๆ มา และถ้าการหา รายได้นั้น ๆ เป็นไปอย่างชอบธรรมตั้งแต่ต้น ทรัพย์สินหรือรายได้ที่ได้มานั้นก็จะเป็นสิ่งที่ ชอบธรรมไปด้วย นั่นก็หมายความว่าคนอื่นก็ไม่มีสิทธิที่จะแย่งชิงทรัพย์สินหรือรายได้เหล่านั้นโดยเขาได้ยกตัวอย่างของนักกีฬามาเป็นเครื่องมือในการอธิบาย
10. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “ไครโต” (Crito)
(1) พยายามหว่านล้อมให้โสเครตีสหนีออกจากคุกภายหลังโดนสั่งประหารชีวิต
(2) ผู้สั่งประหารชีวิตโสเครตีส
(3) บิดาของโสเครตีส
(4) ญาติที่ให้การเลี้ยงดูโสเครตีส
(5) ผู้ที่ขัดขวางการหนีออกจากคุกของโสเครตีส
ตอบ 1 หน้า 61 – 62, (คําบรรยาย) ไครโต (Crito) เป็นบทสนทนาที่เขียนขึ้นในยุคกรีกโบราณ โดยเพลโต (Plato) ซึ่งเป็นส่วนที่จะนํามาอธิบายในประเด็นที่ว่า “เราต้องเชื่อฟังกฎหมาย เพราะเราตกลงกับรัฐไปแล้วทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว” โดยเนื้อหาในงานเขียนเป็นบทสนทนา ตอนที่โสเตรตีสกําลังรอประหารชีวิตอยู่ ซึ่งในเวลานั้นใครโตผู้เป็นเพื่อนสนิทได้พยายาม หว่านล้อมให้โสเครตีสหนีออกจากคุกแต่เขาไม่ยอมหนี โดยโสเครตีสได้ให้เหตุผลว่าทําไม เราต้องเชื่อฟังรัฐ และเชื่อฟังกฎหมายที่ออกโดยรัฐไว้ว่า “ประเทศของท่านมีค่าควรแก่ การเคารพสักการะยิ่งกว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ยิ่งกว่าและสูงส่งกว่าบรรพบุรุษของท่านเองไม่ใช่หรือท่านควรแสดงความเคารพนับถือประเทศและถ่อมตนยิ่งกว่าที่แสดงต่อบิดามารดา ยามเมื่อ รัฐทําให้ท่านไม่พอใจ ทางเลือกของท่านก็คือ ควรชักจูงให้คนในรัฐเห็นด้วยกับท่าน หรือไม่ ท่านก็ต้องทําตามคําสั่งของรัฐ ซึ่งไม่ว่าคําสั่งนั้นจะให้ท่านทนทุกข์ทรมานท่านก็ต้องยอม ทนทุกข์ทรมานตามคําสั่งอย่างไม่ปริปากบ่น รัฐจะให้ท่านถูกเฆี่ยนตี ถูกจําคุก หรือถูกสั่ง ให้ไปสงคราม เพื่อที่จะได้รับบาดเจ็บหรือถูกฆ่าโดยศัตรู ท่านก็ต้องทําตามเจตนารมณ์นั้น ของประเทศ นี่คือสิ่งที่ถูกต้อง….”
11.Discourse on the Origin and Basis of Inequality Among Men เป็นงานเขียนของ Thomas Hobbes
(1) ข้อความดังกล่าวถูกต้อง
(2) ข้อความดังกล่าวไม่ถูกต้อง
ตอบ 2 หน้า 45, 94 ฌอง ฌากส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) มีผลงานที่สําคัญ ได้แก่ 1. หนังสือเรื่อง “ความเรียงว่าด้วยต้นกําเนิดและรากฐานแห่งความไม่เสมอภาคของ มวลมนุษยชาติ” (Discourse on the Origin and Basis of Inequality Among Men) หรือบางครั้งก็เรียกงานชิ้นนี้ว่า “ความเรียงชิ้นที่ 2 ของรุสโซ” ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1755 2. หนังสือเรื่อง “สัญญาประชาคม” (The Social Contract) ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1762
12. การปกครองที่ชอบธรรมและเป็นไปได้มากที่สุดสําหรับ John Stuart Mill คือ การปกครองที่ให้ประชาชน
เป็นผู้ปกครองด้วยตนเอง
(1) ข้อความดังกล่าวถูกต้อง
(2) ข้อความดังกล่าวไม่ถูกต้อง
ตอบ 2 หน้า 116 – 120 จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) เป็นนักคิดที่ชื่นชมยกย่องและนิยม ให้ประชาชนมีอํานาจในการปกครองตนเอง แต่เขาก็ไม่เห็นด้วยถ้าจะให้ประชาชนทุกคนมาเป็น คนออกกฎหมายหรือทําอะไรด้วยตนเองเพราะมองว่าการที่ประชาชนจะเข้าไปมีส่วนร่วมใน ทุก ๆ เรื่องนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะรัฐสมัยใหม่มีปัญหาที่สลับซับซ้อนหรือต้องใช้ความรู้ มากมายในการไตร่ตรองและตัดสินใจกว่าจะกําหนดนโยบายได้ ดังนั้นเขาจึงเสนอรูปแบบ การปกครองโดยผู้แทน (Representative Government) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ประชาธิปไตย แบบตัวแทน” (Representative Democracy) เพราะมองว่าการปกครองโดยผู้แทนที่มาจาก ประชาชนนั้นคือการปกครองที่ชอบธรรมและเหมาะสมที่สุดสําหรับรัฐสมัยใหม่
13. อํานาจอยู่ในมือคน ๆ เดียว (The One) ใช้อํานาจเพื่อผลประโยชน์สาธารณะ
(1) Polity
(2) Democracy
(3) Monarchy
(4) Tyranny
(5) Aristocracy
ตอบ 3 หน้า 104 – 105 อริสโตเติล (Aristotle) ได้แบ่งรูปแบบการปกครองออกเป็น 6 รูปแบบ ดังนี้
14. อํานาจอยู่ในมือมหาชนทั้งหมด (The Many) ใช้อํานาจเพื่อผลประโยชน์สาธารณะ
(1) Polity
(2) Democracy
(3) Monarchy
(5) Aristocracy
(4) Tyranny
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ
15. “การเป็นที่รักนั้นดีกว่าการเป็นที่หวาดกลัว หรือว่ากลับกันเราอาจจะตอบว่า เราย่อมปรารถนาจะเป็นทั้ง ผู้ที่คนหวาดกลัวและเป็นผู้ที่คนอื่นรัก” เป็นคํากล่าวของนักคิดคนใด
(1) John Stuart Mill
(2) Jean Paul Sartre
(3) Edmund Burke
(4) Niccolo Machiavelli
(5) Thomas Hobbes
ตอบ 4 หน้า 130 – 131 นิโคโล แมคคิอาเวลลี (Niccolo Machiavelli) เสนอว่า ผู้ปกครองควรทํา ตนเองให้เป็นที่หวาดกลัวมากกว่าเป็นที่รัก ถ้าในกรณีที่ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังที่เขา กล่าวว่า “การเป็นที่รักนั้นดีกว่าการเป็นที่หวาดกลัว หรือว่ากลับกันเราอาจจะตอบว่า เราย่อม ปรารถนาจะเป็นทั้งผู้ที่คนหวาดกลัวและเป็นผู้ที่คนอื่นรัก แต่เนื่องจากยากที่จะผสมคุณสมบัติ เหล่านี้เข้าด้วยกัน ถ้าอันใดอันหนึ่งในสองอันนี้จะต้องขาดไป การเป็นที่หวาดกลัวจึงเป็นการ ปลอดภัยมากกว่าการเป็นที่รัก…”
16.“ตําราสองเล่มว่าด้วยการปกครอง” นักคิดชาวอังกฤษคนใดเป็นคนเขียนขึ้น
(1) Montesquieu
(2) James Madison
(3) John Locke
(4) Jean Jacques Rousseau
(5) Joseph Schumpeter
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ
17. มนุษย์จะบรรลุความประเสริฐได้จะต้องอยู่ในสังคมการเมืองเท่านั้น
(1) Aristotle
(2) Jean Jacques Rousseau
(3) Thomas Hobbes
(4) Telos
(5) Arete
ตอบ 1 หน้า 25, 29, (คําบรรยาย) อริสโตเติล (Aristotle) ได้อธิบายไว้ในหนังสือเรื่อง “Politics” ว่า รัฐหรือสังคมการเมืองเป็นสิ่งที่เป็นไปโดยธรรมชาติ และไม่ว่าอย่างไรมนุษย์ก็ต้องอยู่ในรัฐเพราะการอยู่ในรัฐนั้นเป็นทางเดียวที่จะทําให้มนุษย์มีชีวิตที่ดีและสามารถบรรลุความประเสริฐหรือความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้
18. นักคิดคนใดเป็นผู้ต่อต้าน Laissez-faire หรือ “หลักการมือใครยาวสาวได้สาวเอา” มากที่สุด
(1) Karl Marx
(2) Robert Nozick
(3) John Locke
(4) John Rawls
(5) Sir Edwin Chadwick
ตอบ 1 หน้า 170 – 173 คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) เป็นนักคิดที่ต่อต้านระบบทุนนิยม (Capitalism) ที่มีการกระจายทรัพย์สินหรือทรัพยากรอย่างเสรี หรือระบบ “มือใครยาวสาวได้สาวเอา (Laissez-faire) เป็นอย่างมาก เพราะมองว่าในระบบดังกล่าวทําให้ชีวิตของผู้ใช้แรงงานหรือ กรรมาชีพมีสภาพชีวิตที่ย่ําแย่มากเพราะการถูกขูดรีดค่าแรง และในทางด้านจิตใจผู้ใช้แรงงานก็ยังถูกทําให้แปลกแยกจากตนเองและไม่ได้มีความภาคภูมิใจต่อสิ่งที่ตนเองได้ผลิตขึ้นมาเลย
19. วิธีคิดของนักคิดคนใดได้กลายเป็นรากฐานของอุดมการณ์ Communism
(1) Karl Marx
(2) Robert Nozick
(3) John Locke
(4) John Rawls
(5) Sir Edwin Chadwick
ตอบ 1 หน้า 174 – 176, (คําบรรยาย) วิธีคิดของคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ได้กลายมาเป็นรากฐานของอุดมการณ์สังคมนิยม (Socialism) หรือคอมมิวนิสต์ (Communism) โดยเฉพาะ ในแถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto) ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1848 ที่มาร์กซ์ได้เรียกร้องให้ชนชั้นกรรมาชีพปฏิวัติโค่นล้มระบบทุนนิยม โดยการเข้ายึดครอง ปัจจัยการผลิตและสถาปนารัฐสังคมนิยมที่เป็นรัฐของชนชั้นกรรมาชีพขึ้นมา เพื่อปรับเปลี่ยน ความสัมพันธ์ทางการผลิตของชนชั้นนายทุนให้กลายมาเป็นของชนชั้นกรรมาชีพ
20. เป็นรากศัพท์ของคําว่าการเมือง
(1) Philosophia Perennis
(2) Logic
(3) Polis
(4) Democracy
(5) Sophist
ตอบ 3 หน้า 6, (คําบรรยาย) การเมือง (Politics) มีรากศัพท์มาจากคําในภาษากรีกคือ “Politika” ซึ่งหมายถึง เรื่องราวหรือกิจการของ Polis (Affairs of the Cities) สําหรับพวกกรีกเอง คําว่าการเมืองนั้นเป็นคําที่ใช้สื่อความหมายสะท้อนถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับส่วนรวม หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับส่วนรวม เรื่องนั้นก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ทุกคนที่อยู่ใน Polis ด้วย ด้วยเหตุนี้คําว่าการเมืองจึงเป็นเรื่องราวที่หมายถึงส่วนรวม คนทุกคน เรื่องสาธารณะ อันจะตรงกันข้ามกับเรื่องส่วนตัว ผลประโยชน์เฉพาะ หรือในความหมาย ที่กว้างที่สุด การเมืองหมายถึง กิจกรรมหรือวิถีแห่งการอยู่ร่วมกันของมนุษย์
21. นักคิดสกุลสัญญาประชาคมคนใดที่อธิบายว่าการทําสัญญายอมยกอํานาจให้แล้วเอาคืนไม่ได้ ตลอดจนอธิบายว่าองค์อธิปัตย์ต้องมีอํานาจสูงสุด
(1) Aristotle
(2) Jean Jacques Rousseau
(3) Thomas Hobbes
(4) Telos
(5) Arete
ตอบ 3 หน้า 30 – 32, 36 – 38, 58, 60 โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) เป็นนักคิดสกุลสัญญา ประชาคมชาวอังกฤษ ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1588 – 1679 เขาได้เขียนหนังสือเรื่อง “Leviathan” โดยกล่าวถึงสภาวะธรรมชาติของมนุษย์ว่าเป็นสภาวะเดียวกันกับสภาวะสงคราม (State of War) มนุษย์ทุกคนจะเป็นศัตรูต่อกัน ทุกคนพร้อมที่จะทําร้ายซึ่งกันและกันโดยไม่เกี่ยง วิธีการ สภาวะดังกล่าวเป็นสภาวะที่มนุษย์อยู่อย่างไม่มีความปลอดภัยใด ๆ ทั้งสิ้น มนุษย์กลัว การตายโหง (Fear of Violent Death) ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว ลําเค็ญ น่ารังเกียจ ป่าเถื่อน และอายุสั้น (Solitary, poor, nasty, brutish and short) ซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่น่าพึงปรารถนา ด้วยเหตุดังกล่าวจึงทําให้เกิดรัฐ และมนุษย์ต้องมาอยู่รวมกันในรัฐและตกลงทําสัญญายอมยกอํานาจที่ตนเองมีทั้งหมดให้องค์อธิปัตย์หรือผู้ปกครองมีอํานาจเด็ดขาดสูงสุดเพื่อที่จะไม่ต้องอยู่ในสภาวะสงครามอีก ซึ่งการมอบอํานาจให้องค์อธิปัตย์ดังกล่าวเป็นการมอบแล้วมอบเลยไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ไม่ว่าเหตุผลใดก็ตาม
22. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
(1) Moralitas แปลว่า “พฤติกรรมอันเหมาะสม”
(2) Ethics ก็มาจากภาษากรีกคําว่า “Ethos” ที่แปลว่า “นิสัย”
(3) Ethics เป็นสาขาย่อยสาขาหนึ่งของ Philosophy
(4) Moralitas มีความหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับความสวยงาม
(5) Aesthetics เป็นส่วนหนึ่งของ Philosophy
ตอบ 4 หน้า 3 คําว่า ศีลธรรม (Morality) มาจากภาษาละตินคําว่า “Moralitas” ซึ่งแปลว่า “พฤติกรรมอันเหมาะสม” (Proper Behavior)
23. ประโยคที่ว่า “ประเทศของท่านมีค่าควรแก่การเคารพสักการะยิ่งกว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ยิ่งกว่าและสูงส่งกว่า บรรพบุรุษของท่านเองไม่ใช่หรือ…” เป็นคํากล่าวของใคร
(1) ไครโต
(2) เพลโต
(3) โสเครตีส
(4) อริสโตเติล
(5) นักบุญพอล
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ
24. เป็นนักคิดคนสําคัญคนหนึ่งใน Utilitarianism หรือแนวคิดประโยชน์นิยม
(1) John Stuart Mill
(2) Jean Paul Sartre
(3) Edmund Burke
(4) Niccolo Machiavelli
(5) Thomas Hobbes
ตอบ 1 หน้า 116, (คําบรรยาย) จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) เป็นนักคิดในสกุลประโยชน์นิยม (Utilitarianism) ซึ่งหลักการของประโยชน์นิยมนั้นมีหัวใจสําคัญอยู่ที่ “ความสุข” หรือ “ความรื่นรมย์” หรือ “อรรถประโยชน์” จากหลักการนี้ทําให้นักคิดสกุลประโยชน์นิยมยึดถือ หลักการพื้นฐานทางสังคมร่วมกันที่ว่า “การกระทําทุกอย่างต้องเป็นไปเพื่อหลักการความสุข ที่มากที่สุดของคนจํานวนมากที่สุด” (Greatest Happiness for the Greatest Numbers) หรือถือว่า “เวลาเราจะทําอะไรจะต้องคํานึงถึงอรรถประโยชน์สูงสุด” นั่นเอง
25. เป็นอุดมการณ์ทางการเมืองแบบหนึ่ง
(1) Philosophia Perennis
(2) Logic
(3) Potis
(4) Democracy
(5) Sophist
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ประชาธิปไตย (Democracy) เป็นอุดมการณ์ทางการเมืองรูปแบบหนึ่ง ซึ่งให้ความสําคัญกับสิทธิ (Right) เสรีภาพ (Liberty) และความเสมอภาค (Equality) ของ ประชาชน โดยเชื่อว่าสมาชิกของสังคมทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันที่จะเข้ามามีส่วนร่วมใน กิจกรรมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เช่น การออกเสียงเลือกตั้ง การรวมกลุ่ม การพูดและแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ เป็นต้น
26. “สิ่งที่ดีทั้งหลายซึ่งธรรมชาติได้มอบให้กับส่วนรวม ที่ทุก ๆ คนมีสิทธิที่จะได้มากเท่าที่เขาสามารถจะใช้ได้ และการครอบครองทรัพย์สินทั้งหมดที่เขาสามารถสร้างมาด้วยแรงงานของเขา และด้วยความขยันขันแข็ง ที่จะขยายทรัพย์สินออกไป สิ่งต่าง ๆ ที่ถูกทําให้เปลี่ยนแปลงออกจากสภาพธรรมชาติและสิ่งที่ถูกเปลี่ยนนั้น ก็ตกเป็นของเขา” เป็นคํากล่าวของใคร
(1) Karl Marx
(2) Robert Nozick
(3) John Locke
(4) John Rawts
(5) Sir Edwin Chadwick
ตอบ 3 หน้า 164 จอห์น ล็อค (John Locke) ได้กล่าวถึงหลักการครอบครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ไว้ว่า “สิ่งที่ดีทั้งหลายซึ่งธรรมชาติได้มอบให้กับส่วนรวม ที่ทุก ๆ คนมีสิทธิที่จะได้มากเท่าที่เขา สามารถจะใช้ได้ และการครอบครองทรัพย์สินทั้งหมดที่เขาสามารถสร้างมาด้วยแรงงานของเขา และด้วยความขยันขันแข็งที่จะขยายทรัพย์สินออกไป สิ่งต่าง ๆ ที่ถูกทําให้เปลี่ยนแปลงออกจาก สภาพธรรมชาติและสิ่งที่ถูกเปลี่ยนนั้นก็ตกเป็นของเขา ยกตัวอย่างเช่น บุคคลใด ๆ ออกไปเก็บ ผลต้นโอ๊คหรือแอปเปิ้ลมาหนึ่งร้อยบุชเชล สิ่งเหล่านี้ก็ตกเป็นของเขา มันตกเป็นกรรมสิทธิ์ ของเขาตั้งแต่เมื่อเขาเก็บมันมา….”
27. หากนักศึกษาได้อ่านถึงบทบาทของแอนธิกอน (Antigone) ในการฝังศพโพลินีซิส (Polyneices) แล้ว นักศึกษาเห็นด้วยกับแอนธิกอน แปลว่านักศึกษาเห็นด้วยกับตัวเลือกในข้อใด
(1) กฎของพระเจ้ายิ่งใหญ่กว่ากฎของมนุษย์
(2) กฎของมนุษย์ยิ่งใหญ่กว่ากฎของพระเจ้า
(3) กฎของพระเจ้าสําคัญเทียบเท่ากับกฎของมนุษย์
(4) กฎของพระเจ้าหรือมนุษย์สําคัญน้อยกว่าเสรีภาพส่วนบุคคล
(5) กฎของพระเจ้าสําคัญน้อยกว่าหลักการทางวิทยาศาสตร์
ตอบ 1 หน้า 71 – 72 กรณีของแอนธิกอน (Antigone) นั้น เธอได้ละเมิดคําสั่งของกษัตริย์คลื่อน (Creon) ที่ห้ามฝังศพของโพลินีซิส (Polyneices) ซึ่งเป็นกบฏ โดยเธอเห็นว่ามันเป็นเรื่อง ประหลาดและฝืนมโนธรรมอย่างมากที่จะไม่ฝังศพญาติสนิทของตนเอง ซึ่งการกระทําของ แอนธิกอนนั้นมีลักษณะคล้ายกับแนวคิดของคริสเตียนที่ว่า ถ้ากฎหมายที่กําหนดโดยมนุษย์ สั่งให้ทําสิ่งที่ขัดต่อพระเจ้า มนุษย์ก็ไม่จําเป็นที่จะต้องเชื่อฟัง เพราะกฎของพระเจ้ายิ่งใหญ่กว่า กฎของมนุษย์
28. อํานาจอยู่ในมือมหาชนทั้งหมด (The Many) ใช้อํานาจเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวของผู้ปกครอง
(1) Polity
(2) Democracy
(3) Monarchy
(4) Tyranny
(5) Aristocracy
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ
29. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับปรัชญาการเมือง
(1) สามารถเรียกสลับไปมากับคําว่า “รัฐศาสตร์” ได้
(2) เป็นการศึกษาที่พยายามปลอดจากอคติและทัศนคติ
(3) ไม่จัดว่าเป็นแนวทางการศึกษาแรกของการศึกษาการเมือง
(4) ใช้วิธีการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์
(5) Political Philosophy
ตอบ 5 หน้า 11, (คําบรรยาย) ปรัชญาการเมือง (Political Philosophy) คือสาขาวิชาย่อยในรัฐศาสตร์ (Political Science) ถือเป็นแนวทางการศึกษาที่เก่าแก่ที่สุดสาขาหนึ่งของรัฐศาสตร์หรือเป็น แนวทางการศึกษาแรกของการศึกษาการเมือง และรูปแบบวิธีการศึกษานี้ก็ยังสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
30. ใครคือผู้ประพันธ์หนังสือเรื่อง “แพทริอาคา หรือว่าด้วยอํานาจตามธรรมชาติของกษัตริย์”
(1) Aristotle
(2) John Rawls
(3) John Locke
(4) Niccolo Machiavelli
(5) Robert Filmer
ตอบ 5 หน้า 70 โรเบิร์ต ฟิลเมอร์ (Sir Robert Filmer) เป็นผู้ประพันธ์หนังสือเรื่อง “แพทริอาคา หรือว่าด้วยอํานาจตามธรรมชาติของกษัตริย์” (Patriarcha or the Natural Power of Kings) ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1680 โดยในหนังสือเล่มนี้เขาพยายามที่จะชี้ให้เห็นว่า การปกครองของ กษัตริย์ในลักษณะพ่อปกครองลูก คือการปกครองที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด และการปกครอง แบบนี้เป็นการปกครองที่พระเจ้าทรงแต่งตั้งไว้ตั้งแต่สร้างโลก โดยเขาได้อ้างเหตุผลมาจาก คัมภีร์ปฐมกาล (Genesis) ในไบเบิ้ล
31. “เวลาเราจะทําอะไรจะต้องคํานึงถึงอรรถประโยชน์สูงสุด” เป็นแนวคิดของใคร
(1) John Stuart Mill
(2) Jean Paul Sartre
(3) Edmund Burke
(4) Niccolo Machiavelli
(5) Thomas Hobbes
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ
32. นักคิดคนใดยึดถือหลักการที่ว่า Greatest Happiness for the Greatest Numbers
(1) John Stuart Mill
(2) Jean Paul Sartre
(3) Edmund Burke
(4) Niccolo Machiavetti
(5) Thomas Hobbes
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ
33. “ประชาธิปไตยคือการปกครองของนักการเมือง” เป็นคํากล่าวของใคร
(1) Montesquieu
(2) James Madison
(3) John Locke
(4) Jean Jacques Rousseau
(5) Joseph Schumpeter
ตอบ 5 หน้า 124 โจเซฟ ชุมปีเตอร์ (Joseph Schumpeter) นักคิดชาวออสเตรีย เป็นผู้เขียนงานเรื่อง “Capitalism, Socialism and Democracy” ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1942 เขาได้เสนอทฤษฎี ประชาธิปไตย โดยกล่าวว่า “คําว่าประชาธิปไตย ไม่ได้หมายความและสามารถหมายความถึง การปกครองที่ประชาชนเข้าไปทําหน้าที่ปกครองจริง ๆ ตามตัวอักษรของคําที่ว่า “ประชาชน” กับ “การปกครอง” แต่ประชาธิปไตยนั้นหมายถึงแค่การปกครองที่ประชาชนนั้นมีโอกาสในการที่จะยอมรับหรือปฏิเสธคนใดคนหนึ่งที่จะมาเป็นผู้ปกครองพวกเขาเท่านั้น…. ดังนั้นเองในด้านหนึ่ง เราอาจจะกล่าวได้ว่า ประชาธิปไตยนั้นคือ การปกครองของนักการเมือง (Democracy is the Rule of the Politician)”
34. ตามความคิดของ Thomas Hobbes หากผู้ปกครองไม่ลงโทษอาชญากรตามกฎหมายอาจนําไปสู่สภาวะใดมากที่สุด
(1) สันติภาพที่ถาวร
(2) สภาวะต่างคนต่างอยู่
(3) การฆ่าฟันกันจนตายโหง
(4) กฎหมายสลายตัวไป
(5) ความรักใคร่สามัคคีกัน
ตอบ 3 หน้า 59, (คําบรรยาย) ตามความคิดของโทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) หากองค์อธิปัตย์ หรือผู้ปกครองไม่ลงโทษอาชญากรตามกฎหมายอาจนําไปสู่สภาวะธรรมชาติก่อนที่มนุษย์จะ เข้ามาอยู่ในรัฐ นั่นก็คือ การที่มนุษย์สามารถจะทําอะไรก็ได้ตามที่เขาอยากจะทํา สุดท้ายก็จะเกิดความวุ่นวายและนําไปสู่สภาวะสงครามที่ต่างฝ่ายต่างฆ่าฟันกันจนตายโหง
35. Speech to the Electors of Bristol เป็นผลงานของนักคิดคนใด
(1) John Stuart Mill
(2) Jean Paul Sartre
(3) Edmund Burke
(4) Niccolo Machiavelli
(5) Thomas Hobbes
ตอบ 3 หน้า 124 เอ็ดมันด์ เบิร์ก (Edmund Burke) ได้กล่าวถึงประเด็นเรื่องผู้แทนไว้ใน “Speech to the Electors of Bristol” ว่า “ผู้แทนของท่านมีหน้าที่ต่อท่านไม่เฉพาะในเรื่องความขยัน ขันแข็งพากเพียรอุตสาหะเท่านั้น แต่ในเรื่องการใช้วิจารณญาณ มันก็ถือว่าเป็นหน้าที่ที่เขา ต้องมีต่อท่านด้วย และเมื่อใดก็ตามที่เขาใช้วิจารณญาณตัดสินไปตามความคิดเห็นของพวกท่านเมื่อนั้นเองพวกเขาก็ได้ชื่อว่าทรยศต่อท่านและไม่ได้เป็นผู้รับใช้ท่านอีกต่อไปแล้ว”
36. ความเชื่อที่ว่าทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการพูดและแสดงความคิดเห็น
(1) Philosophia Perennis
(2) Logic
(3) Polis
(4) Democracy
(5) Sophist
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ
37. นักคิดคนใดได้นําวิธีคิดเรื่อง ความกลัวตายอย่างรุนแรง มาใช้ในการอธิบายการเกิดขึ้นของรัฐ
(1) Aristotle
(2) Jean Jacques Rousseau
(3) Thomas Hobbes
(4) Telos
(5) Arete
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ
38. “การปล่อยให้ประชาชนมีสิทธิที่จะลงมติในกฎหมายจริง ๆ และประชาชนสามารถที่จะนํามติบางประการ เอาไปปฏิบัติได้ ซึ่งการกระทําเช่นนี้เป็นสิ่งที่ประชาชนไร้ความสามารถเป็นอย่างมาก ในความเป็นจริง ประชาชนควรจะเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการปกครองก็เพียงแต่ในเรื่องการเลือกผู้แทนของตนเท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้อยู่ในความสามารถของพวกเขาอย่างแน่นอน” ข้อเขียนดังกล่าวปรากฏอยู่ในงานของนักคิดชาวฝรั่งเศสคนใด
(1) Montesquieu
(2) James Madison
(3) John Locke
(4) Jean Jacques Rousseau
(5) Joseph Schumpeter
ตอบ 1 หน้า 120 – 121 มงเตสกิเออร์ (Montesquieu) นักคิดชาวฝรั่งเศส ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ การปกครองโดยตัวแทนไว้ในหนังสือเรื่อง “The Spirit of Laws” (De l’esprit des lois) ว่า มีความเลวร้ายอันยิ่งใหญ่อยู่ประการหนึ่งในบรรดาสาธารณรัฐโบราณนั่นก็คือ รัฐดังกล่าวปล่อยให้ประชาชนมีสิทธิที่จะลงมติในกฎหมายจริง ๆ และประชาชนสามารถที่จะนํามติ บางประการเอาไปปฏิบัติได้ ซึ่งการกระทําเช่นนี้เป็นสิ่งที่ประชาชนไร้ความสามารถเป็นอย่างมากในความเป็นจริงประชาชนควรจะเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการปกครองก็เพียงแต่ในเรื่องการเลือก ผู้แทนของตนเท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้อยู่ในความสามารถของพวกเขาอย่างแน่นอน”
39. ใครเป็นผู้กล่าวว่า “มนุษย์เกิดมาเสรี แต่ทุกหนทุกแห่งอยู่ภายใต้พันธนาการ
(1) Aristotle
(2) Jean Jacques Rousseau
(3) Thomas Hobbes
(4) Telos
(5) Arete
ตอบ 2 หน้า 137 ฌอง ฌากส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) ได้กล่าวไว้ในบรรทัดแรก? : หนังสือ “สัญญาประชาคม” (The Social Contract) ว่า “มนุษย์เกิดมาเสรี แต่ทุกแห่งหน เขาถูกพันธนาการด้วยโซ่ตรวน… การละทิ้งเสรีภาพนั้นก็คือการละทิ้งความเป็นคน ตลอดจน เป็นการละทิ้งสิทธิและหน้าที่แห่งมนุษยชาติ ไม่มีการชดเชยใด ๆ เป็นไปได้สําหรับผู้ที่ละทิ้ง ทุกสิ่งทุกอย่างเช่นนี้ การละทิ้งนี้ขัดต่อธรรมชาติของมนุษย์ และการลบล้างเสรีภาพทั้งหมด ออกจากเจตจํานงของเขา ก็คือการลบล้างศีลธรรมทั้งหมดออกจากการกระทําของเขา”
40. ตามความเชื่อของศาสนาคริสต์ ใครเป็นผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกมนุษย์ตั้งแต่เศษหินดินทราย
ไปจนกระทั่งถึงตัวมนุษย์
(1) พระเยซู
(2) พระพุทธเจ้า
(3) พระนบีมูฮัมหมัด
(4) พระเจ้า
(5) ไม่มีผู้ใดสร้าง สรรพสิ่งล้วนเป็นไปตามธรรมชาติ
ตอบ 4 หน้า 66 – 67 ความเชื่อหรือความคิดในทางศาสนาคริสต์ปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ไบเบิ้ล โดยเฉพาะความเชื่อที่ว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่าง สร้างโลก สร้างมนุษย์ สร้างแม้แต่ เศษหินดินทราย ดังนั้นเอง กฎหมาย สังคม และรัฐของมนุษย์ก็เกิดขึ้นตามพระประสงค์ของ พระเจ้าทั้งสิ้น ซึ่งวิธีคิดนี้ได้กลายเป็นรากฐานให้กับคริสเตียนที่คิดว่ากฎหมายเป็นสิ่งที่มาจาก พระเจ้า ดังนั้นเราจึงต้องเชื่อฟังกฎหมาย
41. “แต่ละคนมีเสรีภาพที่จะใช้อํานาจของตนเองตามที่ตนปรารถนา หรือใช้เพื่อปกป้องรักษาชีวิตของตนเองไว้ โดยมนุษย์แต่ละคนจะทําทุกวิถีทางตามวิจารณญาณและเหตุผลของตนเอง ซึ่งเป็นทางที่ตนเชื่อว่าดีที่สุด และเหมาะสมที่สุดกับตนเอง” ใครเป็นผู้กล่าวคําพูดนี้
(1) Aristotle
(2) Jean Jacques Rousseau
(3) Thomas Hobbes
(4) Telos
(5) Arete
ตอบ 3 หน้า 34 – 35 โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) มองว่า มนุษย์มีสิทธิตามธรรมชาติ (Natural Right) หรือเสรีภาพที่จะทําอะไรก็ได้ตามการตัดสินหรือเหตุผลส่วนตัวของเขา ดังที่ฮอบส์ กล่าวว่า “มนุษย์แต่ละคนมีเสรีภาพที่จะใช้อํานาจของตนเองตามที่ตนปรารถนา หรือใช้เพื่อปกป้องรักษาชีวิตของตนเองไว้ โดยมนุษย์แต่ละคนจะทําทุกวิถีทางตามวิจารณญาณและเหตุผล ของตนเอง ซึ่งเป็นทางที่ตนเชื่อว่าดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดกับตนเอง”
42.Henry David Thoreau เสนอแนวคิดใด
(1) การเรียกร้องให้สร้างโรงพยาบาล
(2) การบริจาคเงินให้กับรัฐบาลโดยระบุวัตถุประสงค์
(3) การต่อต้านการเหยียดผิว
(4) การหนีภาษีและการหนีคดีออกนอกประเทศ
(5) การส่งเสริมอารยะขัดขืน
ตอบ 5 หน้า 80 – 82 เฮนรี่ เดวิด ธอโร (Henry David Thoreau) ได้เสนอแนวคิดอารยะขัดขืน ไว้ในบทความเรื่อง “Resistance to Civil Government” (การขัดขืนต่อรัฐบาลพลเรือน) ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1849 โดยธอโรพยายามชี้ให้เห็นว่าบางครั้งกฎหมายอาจจะไม่ใช่สิ่งเดียวกับ ความยุติธรรมหรือเป็นสิ่งที่ถูกต้อง กฎหมายเองอาจจะเป็นสิ่งที่ผิดก็ได้ ซึ่งธอโรเชื่อว่ามนุษย์นั้น มีสิ่งที่เรียกว่า “มโนธรรม” หรือ “จิตสํานึก” ดังนั้นถ้ากฎหมายใดที่พลเมืองมองว่ามันเป็น การขัดกับจิตสํานึกของตน พลเมืองไม่จําเป็นที่จะต้องเชื่อฟัง
43. สิทธิติดตัวมาตั้งแต่กําเนิด ใครจะมาพรากไปก็ไม่ได้
(1) State of Nature
(2) Natural Right
(3) State of War
(4) Private Property
(5) Sovereign
ตอบ 2 หน้า 34 – 35 สิทธิตามธรรมชาติ (Natural Right) เป็นสิทธิติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่กําเนิด ใครจะมาพรากไปก็ไม่ได้ เป็นเสรีภาพที่มนุษย์แต่ละคนจะทําอะไรก็ได้ตามการตัดสินใจหรือเหตุผลส่วนตัวของตนตามที่ตนเห็นว่าเหมาะสมที่สุดอันจะนํามาซึ่งการรักษาชีวิตของตนเอง
44. นักคิดคนใดมีความคิดปฏิเสธการให้ผู้แทนไปทําหน้าที่ในการออกกฎหมายอย่างสิ้นเชิง
(1) Montesquieu
(2) James Madison
(3) John Locke
(4) Jean Jacques Rousseau
(5) Joseph Schumpeter
ตอบ 4 หน้า 125 ฌอง ฌากส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) เป็นนักคิดที่ปฏิเสธการให้ผู้แทน ไปทําหน้าที่ในการออกกฎหมายอย่างสิ้นเชิง เพราะเขาเห็นว่าการปกครองที่มีเสรีภาพและ เสมอภาค ตลอดจนชอบธรรมที่สุดก็คือ การให้ประชาชนเป็นคนออกกฎหมายด้วยตนเอง
45.Niccolo Machiavelli มีความคิดว่าผู้ปกครองคือใครก็ได้ แต่ขอให้รักษารัฐ รักษาอํานาจไว้ได้ก็พอ
(1) ข้อความดังกล่าวถูกต้อง
(2) ข้อความดังกล่าวไม่ถูกต้อง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ
46.Veil of Ignorance หรือม่านแห่งความไม่รู้ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองทางความคิดของ John Rawis
(1) ข้อความดังกล่าวถูกต้อง
(2) ข้อความดังกล่าวไม่ถูกต้อง
ตอบ 1 หน้า 179 – 180, 186 จอห์น รอลส์ (John Rawls) ได้ใช้วิธีการทดลองทางความคิด (Thought Experiment) ในการอธิบายหลักการกระจายทรัพยากร โดยเขาได้จําลองสถานการณ์หนึ่งขึ้นมา เพื่อให้ใครก็ได้ไปตัดสินใจภายใต้สภาวะดังกล่าวว่าเขาต้องการสังคมแบบใด และได้วางเงื่อนไข ภายใต้สภาวะของม่านแห่งความไม่รู้ (Veil of Ignorance) ซึ่งผู้ตัดสินใจจะไม่ทราบว่าตนเป็นใคร มีสถานะอะไร ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ตัดสินใจเลือกหลักการทางสังคมใด ๆ ที่เข้าข้างตนเอง โดยรอลส์เชื่อว่าสถานการณ์ที่ว่านี้จะเป็นการตัดสินอันยุติธรรมเพราะผู้ตัดสินใจจะใช้แต่เหตุผล และไม่นําสิ่งต่าง ๆ เช่น สถานะของตนเองมาเป็นปัจจัยในการตัดสิน
47. ประโยคที่ว่า “ประเทศของท่านมีค่าควรแก่การเคารพสักการะยิ่งกว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ยิ่งกว่าและสูงส่งกว่า บรรพบุรุษของท่านเองไม่ใช่หรือ….” ผู้พูดต้องการสื่อความหมายอย่างไร
(1) เราต้องเชื่อฟังกฎหมาย เพราะถ้าไม่เชื่อฟังกฎหมายเราก็จะต้องถูกลงโทษ
(2) เราต้องเชื่อฟังกฎหมาย เพราะเราตกลงกับรัฐไปแล้วทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว
(3) เราต้องเชื่อฟังกฎหมาย เพราะมันคือคําสั่งที่มาจากพระเจ้า
(4) เราต้องเชื่อฟังกฎหมายตราบที่มันไม่ขัดกับที่เราได้ตกลงกับรัฐเอาไว้แล้ว
(5) เราไม่ต้องเชื่อฟังกฎหมาย ถ้ากฎหมายนั้นขัดกับมโนธรรมของเรา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ
48. การที่ซาอูล (Saul) ในฐานะกษัตริย์ที่ชั่วร้ายแต่กลับไม่ถูกฆ่า สอดคล้องกับข้อใดมากที่สุด
(1) เราต้องเชื่อฟังกฎหมาย เพราะถ้าไม่เชื่อฟังกฎหมายเราก็จะต้องถูกลงโทษ
(2) เราต้องเชื่อฟังกฎหมาย เพราะเราตกลงกับรัฐไปแล้วทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว
(3) เราต้องเชื่อฟังกฎหมาย เพราะมันคือคําสั่งที่มาจากพระเจ้า
(4) เราต้องเชื่อฟังกฎหมายตราบที่มันไม่ขัดกับที่เราได้ตกลงกับรัฐเอาไว้แล้ว
(5) เราไม่ต้องเชื่อฟังกฎหมาย ถ้ากฎหมายนั้นขัดกับมโนธรรมของเรา
ตอบ 3 หน้า 66, 68 – 69 ตัวอย่างหนึ่งที่ถูกนํามาอธิบายในประเด็นเรื่อง “เราต้องเชื่อฟังกฎหมาย เพราะมันคือคําสั่งที่มาจากพระเจ้า” ก็คือ กรณีของซาอูล (Saul) ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่ชั่วร้าย แต่กลับไม่ถูกดาวิด (David) ฆ่าแม้จะพยายามฆ่าดาวิดอยู่หลายหน โดยสาเหตุที่ดาวิดตัดสินใจ ไม่ฆ่ากษัตริย์ซาอูลเพราะมองว่ากษัตริย์ซาอูลคือคนที่พระเจ้าตั้งใจให้เป็นผู้ปกครองจากการ ร้องขอของพวกยิว คนที่จะเอาชีวิตของกษัตริย์ซาอูลได้มีเพียงพระเจ้าเท่านั้น มนุษย์ไม่มีสิทธิจะไปล้มล้างผู้ปกครองแม้จะชั่วร้ายแค่ไหนก็ตาม
49. “มนุษย์คือผู้เลือกชะตาชีวิตของตนเอง ไม่มีหรอกกฎแห่งกรรมหรือธรรมชาติกําหนด ชีวิตเป็นของเราเรากําหนดเอง แต่กระนั้นก็ต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เราได้เลือกเองด้วย” เป็นแนวคิดของใคร
(1) John Stuart Mill
(2) Jean Paul Sartre
(3) Edmund Burke
(4) Niccolo Machiavelli
(5) Thomas Hobbes
ตอบ 2 หน้า 142 – 145 ฌอง ปอล ซาร์ต (Jean Paul Sartre) นักคิดชาวฝรั่งเศส สกุลอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) เชื่อว่า มนุษย์มีเสรีภาพติดตัวมาตั้งแต่กําเนิด ดังนั้นมนุษย์จึงเป็นผู้เลือก ชะตาชีวิตของตนเอง ไม่มีพระเจ้า เวรกรรม กฎแห่งกรรม หรือธรรมชาติใด ๆ มากําหนด ชีวิต เป็นของมนุษย์ มนุษย์จะเป็นผู้กําหนดว่าตนเองจะเป็นอย่างไร และมนุษย์ก็ต้องรับผิดชอบใน สิ่งที่ตนได้เลือกเองด้วย
50. บุคคลใดคือประธานาธิบดีคนที่ 4 ของสหรัฐอเมริกา
(1) Montesquieu
(2) James Madison
(3) John Locke
(4) Jean Jacques Rousseau
(5) Joseph Schumpeter
ตอบ 2 หน้า 121 – 122, (คําบรรยาย) เจมส์ เมดิสัน (James Madison) ประธานาธิบดีคนที่ 4 ของ อเมริกา เป็นหนึ่งในบรรดาผู้สร้างชาติอเมริกา (American Founding Fathers) และถือได้ว่า มีส่วนสําคัญในการร่างรัฐธรรมนูญอเมริกัน เขาพยายามที่จะเสนอรูปแบบการปกครองสําหรับ อเมริกาให้เป็นการปกครองด้วยตัวแทน โดยเสนอความคิดดังกล่าวไว้ในงานเขียนชื่อว่า “The Federalist Papers” ซึ่งมีข้อความดังนี้ “สําหรับประชาธิปไตยแบบบริสุทธิ์ ซึ่งข้าพเจ้า หมายถึง สังคมที่ประกอบด้วยพลเมืองจํานวนหนึ่งผู้ซึ่งมารวมตัวกัน และบริหารรัฐบาล ด้วยตนเองนั้น…. เป็นปรากฏการณ์แห่งความวุ่นวายและการโต้แย้ง อันเป็นสิ่งซึ่งเข้ากันไม่ได้ กับความมั่นคงส่วนบุคคลหรือสิทธิในทรัพย์สิน และโดยทั่วไปรูปแบบการปกครองลักษณะนี้ มักจะมีชีวิตสั้นและสิ้นสุดลงด้วยความรุนแรง นักการเมืองผู้รู้ทางทฤษฎีซึ่งสนับสนุนรัฐบาล ประเภทนี้ได้เข้าใจผิด ๆ มาว่า โดยการลดสภาพของมนุษยชาติลงมาจนเสมอภาคกันอย่าง สมบูรณ์ในสิทธิการเมืองนั้น จะทําให้มนุษย์นั้นมีความเสมอภาคและประสานกลมกลืนกัน อย่างสมบูรณ์ ทั้งในทรัพย์สิน ความคิดเห็น และกิเลสในเวลาเดียวกันด้วย…”
51. “เมื่อมนุษย์กลัวผู้อื่นจะมาทําอันตรายตน เขาจึงจําเป็นที่จะต้องแสร้งทําว่าเขาเป็นผู้ที่แข็งแรงที่สุด ดุร้าย ที่สุด โหดเหี้ยมที่สุด (Glory) เพื่อให้คนอื่นเกรงกลัวและไม่กล้ามาตอแยกับเขา” เป็นความคิดของใคร
(1) John Stuart Mill
(2) Jean Paul Sartre
(3) Edmund Burke
(4) Niccolo Machiavelli
(5) Thomas Hobbes
ตอบ 5 หน้า 35 – 36 โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “Leviathan” ว่า“เมื่อมนุษย์กลัวผู้อื่นจะมาทําอันตรายตน เขาจึงจําเป็นที่จะต้องแสร้งทําว่าเขาเป็นผู้ที่แข็งแรง ที่สุด ดุร้ายที่สุด โหดเหี้ยมที่สุด (Glory) เพื่อให้คนอื่นเกรงกลัวและไม่กล้ามาตอแยกับเขา”
52.Politeia แปลว่า “รูปแบบการปกครอง”
(1) ข้อความดังกล่าวถูกต้อง
(2) ข้อความดังกล่าวไม่ถูกต้อง
ตอบ 1 หน้า 107 อริสโตเติล (Aristotle) เรียกรูปแบบการปกครองที่อํานาจอยู่ในมือมหาชนและ ใช้อํานาจเพื่อผลประโยชน์สาธารณะว่า “โพลิตี้” (Polity) ซึ่งคําดังกล่าวมาจากภาษากรีก คือ Politeia (โพ-ลิ-เท-อา) ที่แปลว่า “รูปแบบการปกครอง” (ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ)
53. นักคิดสัญญาประชาคมบางคนใช้อธิบายถึงสภาวะที่มนุษย์เป็นศัตรูต่อกัน
(1) State of Nature
(2) Natural Right
(3) State of War
(4) Private Property
(5) Sovereign
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ
54. “ถ้าคน ๆ หนึ่งได้รับสิ่งของใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นในฐานะของขวัญ มรดก หรือด้วยความเสน่หาใด ๆ และรวมทั้งกําไรรายได้จากการแลกเปลี่ยนในตลาดอย่างเสรี ทรัพย์สินที่ได้มาหรือรายได้นั้น ๆ ก็เป็น สิ่งที่ชอบธรรม” เป็นคํากล่าวของใคร
(1) Karl Marx
(2) Robert Nozick
(3) John Locke
(4) John Rawls
(5) Sir Edwin Chadwick
ตอบ 2 หน้า 189 โรเบิร์ต โนซิค (Rebert Nozick) ได้เสนอ “หลักความยุติธรรมในการถ่ายโอน (Principle of Justice in Transfer) ซึ่งเป็นอีกหลักการหนึ่งที่โนซิคนํามาอธิบายเกี่ยวกับ หลักความยุติธรรมในการกระจายทรัพยากร โดยหลักการนี้ได้เสนอว่า ถ้าคน ๆ หนึ่งได้รับ สิ่งของใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นในฐานะของขวัญ มรดก หรือด้วยความเสน่หาใด ๆ และรวมทั้ง กําไรรายได้จากการแลกเปลี่ยนในตลาดอย่างเสรี ทรัพย์สินที่ได้มาหรือรายได้นั้น ๆ ก็เป็น สิ่งที่ชอบธรรม (ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ)
55. “Capitalism, Socialism and Democracy” ซึ่งตีพิมพ์ปี ค.ศ. 1942 เป็นงานของนักคิดคนใด
(1) Montesquieu
(2) James Madison
(3) John Locke
(4) Joseph Schumpeter
(5) Jean Jacques Rousseau
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ
56. “ถ้าผู้แทนน้อยเกินไป ผู้แทนก็จะร่วมกันสมคบคิดวางอุบายออกกฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์กับตนเอง ดังนั้น จํานวนผู้แทนก็ต้องมีให้มากในระดับที่พวกนี้จะไม่ “สมรู้ร่วมคิด” กันเองได้ แต่ในอีกแง่หนึ่งถ้ามีเยอะเกินไป ผู้แทนก็จะไม่สามารถเป็นตัวแทนของผู้ที่เลือกขึ้นมาได้ เพราะมีจํานวนมากจนเกินไปและก็อาจจะก่อให้เกิดความวุ่นวายในการประชุมได้” เป็นคํากล่าวของนักคิดคนใด
(1) Montesquieu
(2) James Madison
(3) John Locke
(4) Joseph Schumpeter
(5) Jean Jacques Rousseau
ตอบ 2 หน้า 122 – 123 เจมส์ เมดิสัน (James Madison) ได้กล่าวเตือนเกี่ยวกับการปกครองแบบ ตัวแทนไว้ว่า จํานวนผู้แทนนั้นไม่ควรจะมีมากหรือน้อยเกินไป กล่าวคือ ถ้าผู้แทนน้อยเกินไป ผู้แทนก็จะร่วมกันสมคบคิดวางอุบายออกกฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์กับตนเอง ดังนั้นจํานวน ผู้แทนก็ต้องมีให้มากในระดับที่พวกนี้จะไม่ “สมรู้ร่วมคิด” กันเองได้ แต่ในอีกแง่หนึ่งถ้ามีเยอะ เกินไปผู้แทนก็จะไม่สามารถเป็นตัวแทนของผู้ที่เลือกขึ้นมาได้ เพราะมีจํานวนมากจนเกินไป และก็อาจจะก่อให้เกิดความวุ่นวายในการประชุมได้
57. นักปฏิรูปสังคมชาวอังกฤษช่วงศตวรรษที่ 19
(1) Karl Marx
(2) Robert Nozick
(3) John Locke
(4) John Rawls
(5) Sir Edwin Chadwick
ตอบ 5 หน้า 168 เซอร์เอ็ดวิน แซดวิก (Sir Edwin Chadwick) เป็นนักปฏิรูปสังคมชาวอังกฤษ ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 19 (ค.ศ. 1800 – 1890) เขาได้ไปสํารวจชีวิตของชนชั้นล่าง ของอังกฤษและเขียนออกมาเป็นรายงาน โดยเขาเล่าว่าคนจนทั่วไปไม่มีเงินเช่าบ้านอยู่อาศัยเป็นครอบครัว คนพวกนี้จะต้องไปเช่าอยู่ในโรงแรมที่ห้องหนึ่งมีคนอาศัยอยู่หลาย ๆ คน ซึ่งเป็นสภาพชีวิตของคนจนในเมืองที่ย่ําแย่มาก ๆ
58.Edmund Burke มีฉายาว่า “แชมป์เปี้ยนแห่งเสรีภาพ
(1) ข้อความดังกล่าวถูกต้อง
(2) ข้อความดังกล่าวไม่ถูกต้อง
ตอบ 2 หน้า 147 จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) เป็นนักคิดที่ได้รับฉายาว่าเป็น “แชมป์เปี้ยน แห่งเสรีภาพ” (Champion of Liberty) โดยเขาได้เขียนงานชิ้นสําคัญเกี่ยวกับเสรีภาพออกมา ในปี ค.ศ. 1859 ชื่อว่า “On Liberty”
59. นักคิดคนใดคือคนที่อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา บิล คลินตัน (Bill Clinton) ได้กล่าวถึงว่าเป็น นักปรัชญาการเมืองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20
(1) Karl Marx
(2) Robert Nozick
(3) John Locke
(4) John Rawls
(5) Sir Edwin Chadwick
ตอบ 4 หน้า 177 – 178 จอห์น รอลส์ (John Rawls) ได้เขียนหนังสือเรื่อง “A Theory of Justice” (ทฤษฎีหนึ่งว่าด้วยความยุติธรรม) ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1971 จากผลงานนี้เอง ที่ทําให้อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา บิล คลินตัน (Bill Clinton) กล่าวยกย่องรอลส์ ว่าเป็นนักปรัชญาการเมืองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20
60. ข้อใดต่อไปนี้คือผลงานชิ้นสําคัญของ Thomas Hobbes
(1) Two Treatises of Government
(2) On Liberty
(3) Discourse on the Origin and Basis of Inequality Among Men
(4) Politics
(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ
61. เป็นสภาวะที่อธิบายถึงเวลาก่อนที่มนุษย์จะมารวมตัวกันเป็นสังคมการเมือง
(1) State of Nature
(2) Natural Right
(3) State of War
(4) Private Property
(5) Sovereign
ตอบ 1 หน้า 30, 33 – 34 สภาวะธรรมชาติ (State of Nature) ตามแนวคิดของนักคิดสกุลสัญญา ประชาคมนั้น เป็นช่วงเวลาก่อนที่มนุษย์จะมารวมตัวกันเป็นรัฐหรือสังคมการเมือง ในสภาวะ ดังกล่าวจะไม่มีกฎหมาย ไม่มีรัฐบาล แต่ละคนอยู่กันอย่างเป็นอิสระ
62. คนที่มีหรือเป็นเจ้าของอํานาจสูงสุดในการปกครองสังคมการเมือง
(1) State of Nature
(2) Natural Right
(3) State of War
(4) Private Property
(5) Sovereign
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ
63. “สถานะเริ่มแรกที่เท่าเทียมกันในทฤษฎีความยุติธรรมในฐานะที่เที่ยงธรรมนั้นก็ตรงกับสภาวะธรรมชาติในทฤษฎีสัญญาสังคมแบบดั้งเดิม ในประวัติศาสตร์ซึ่งแน่นอนว่าสภาวะเริ่มแรกนี้มันจะไม่ใช่สถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้นจริงและมันก็ไม่ใช่ในลักษณะที่เป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่สุดทางวัฒนธรรม ดังนั้นเราต้องเข้าใจมันในฐานะที่เป็นสถานการณ์อันถูกสมมุติขึ้นมาอย่างแท้จริง” เป็นคํากล่าวของใคร
(1) Karl Marx
(2) Robert Nozick
(3) John Locke
(4) John Rawls
(5) Sir Edwin Chadwick
ตอบ 4 หน้า 179 จอห์น รอลส์ (John Rawls) ได้ใช้วิธีการทดลองทางความคิด (Thought Experiment) ในการอธิบายหลักความยุติธรรมในการกระจายทรัพยากร ซึ่งเป็นการลองสมมุติสถานการณ์ ขึ้นมาเพื่อหาคําตอบใดคําตอบหนึ่งโดยจํากัดเงื่อนไขบางอย่างไว้ โดยรอลส์ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า “สถานะเริ่มแรกที่เท่าเทียมกันในทฤษฎีความยุติธรรมในฐานะที่เที่ยงธรรมนั้นก็ตรงกับสภาวะธรรมชาติในทฤษฎีสัญญาสังคมแบบดั้งเดิม ซึ่งแน่นอนว่าสภาวะเริ่มแรกนี้มันจะไม่ใช่ สถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ และมันก็ไม่ใช่ในลักษณะที่เป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่สุดทางวัฒนธรรม ดังนั้นเราต้องเข้าใจมันในฐานะที่เป็นสถานการณ์อันถูกสมมุติขึ้นมาอย่างแท้จริงทั้งนี้ก็เพื่อที่จะนําไปสู่ข้อสรุปอะไรบางอย่างอันเกี่ยวข้องกับความยุติธรรม…”
64.Robert Nozick เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Prince
(1) ข้อความดังกล่าวถูกต้อง
(2) ข้อความดังกล่าวไม่ถูกต้อง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. และ 9. ประกอบ
65. คําว่า “Free Gift” ตามความหมายของ Thomas Hobbes ใช้กับบุคคลในข้อใด
(1) ผู้ปกครอง – พระเจ้า
(2) ผู้ปฏิบัติตามกฎหมาย – ผู้ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
(3) คนรวย – คนจน
(4) ผู้ปกครอง – ผู้ใต้ปกครอง
(5) พระเจ้า – บุตรแห่งพระเจ้า
ตอบ 2 หน้า 59 โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) อธิบายว่า ถ้าคนหนึ่งปฏิบัติตามกฎหมาย แต่อีกคนไม่ปฏิบัติตามทั้ง ๆ ที่ได้ตกลงกันตั้งแต่แรกแล้วว่าทุก ๆ คนจะมอบอํานาจที่แต่ละคนมี ตามธรรมชาติให้คนกลางคนหนึ่งตัดสินและออกกฎหมายในทุก ๆ เรื่อง และจะเชื่อฟังคนดังกล่าว ซึ่งถ้าคนหนึ่งเชื่อฟังอีกคนไม่เชื่อฟังและไม่ถูกลงโทษ เหตุการณ์แบบนี้ก็เหมือนกับการที่ คนปฏิบัติตามกฎหมายได้ให้ของขวัญเปล่า ๆ แก่คนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและไม่ถูกลงโทษ โดยฮอบส์เรียกการกระทํานี้ว่า “ของขวัญที่ให้กันฟรี ๆ” (Free Gift) หรือในปัจจุบันมักเรียกว่า“Free Rider”
66. นักคิดคนใดอธิบายว่า สภาวะธรรมชาติเป็นสภาวะที่ไม่น่าพึงปรารถนา (Solitary, poor, nasty, brutish and short)
(1) Aristotle
(2) Jean Jacques Rousseau
(3) Thomas Hobbes
(4) Telos
(5) Arete
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ
67. นักคิดคนใดอธิบายว่าทําไมในระบบทุนนิยม (Capitalism) หรือระบบที่มีการกระจายทรัพยากรอย่างเสรีนั้นชีวิตของผู้ใช้แรงงานหรือกรรมาชีพจึงมีสภาพชีวิตที่ย่ําแย่อย่างมาก
(1) Karl Marx
(2) Robert Nozick
(3) John Locke
(4) John Rawls
(5) Sir Edwin Chadwick
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ
68. “มนุษย์ทุกคนต่างก็เป็นศัตรูกับมนุษย์ทุกคน ทุกคนพร้อมจะทําร้ายกันและกัน (Every man against every man) โดยไม่เกี่ยงวิธีการ ในสภาวะสงครามไม่มีคําว่ายุติธรรม หรืออยุติธรรม ไม่มีผิดไม่มีถูก คุณธรรมอย่างเดียวที่มีก็คือ การใช้กําลังและการหลอกลวง ฉ้อฉล” เป็นวิธีคิดของใคร
(1) John Stuart Mill
(2) Jean Paul Sartre
(3) Edmund Burke
(4) Niccolo Machiavelli
(5) Thomas Hobbes
ตอบ 5 หน้า 36 โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) กล่าวว่า สภาวะธรรมชาติ (State of Nature) ก็คือสภาวะเดียวกันกับสภาวะสงคราม (State of War) ซึ่งเป็นสภาวะที่มนุษย์ทุกคนต่างก็เป็น ศัตรูกับมนุษย์ทุกคน ทุกคนพร้อมที่จะทําร้ายกันและกัน (Every man against every man) โดยไม่เกี่ยงวิธีการ ในสภาวะสงครามไม่มีคําว่ายุติธรรมหรืออยุติธรรม ไม่มีผิดไม่มีถูก คุณธรรม อย่างเดียวที่มีก็คือ การใช้กําลังและการหลอกลวง ฉ้อฉล (Force and Fraud)
69. หากต้องการศึกษาความคิดของศาสนาคริสต์นักศึกษาต้องศึกษาจากเอกสารชิ้นใด
(1) บันทึกใบลานของพระเจ้า
(2) ตําราขงจื้อ
(3) พระไตรปิฎก
(4) พระคัมภีร์อัลกุรอาน
(5) พระคัมภีร์ไบเบิ้ล
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ
70.Aristotle เป็นนักคิดสกุลสัญญาประชาคม
(1) ข้อความดังกล่าวถูกต้อง
(2) ข้อความดังกล่าวไม่ถูกต้อง
ตอบ 2 หน้า 30 – 32, 39, 45, (คําบรรยาย) นักคิดสกุลสัญญาสังคมหรือสัญญาประชาคม
(Social Contract) ที่สําคัญ ได้แก่
1. โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) นักคิดชาวอังกฤษ
2. จอห์น ล็อค (John Locke) นักคิดชาวอังกฤษ
3. ฌอง ฌากส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) นักคิดชาวเจนีวา
4. จอห์น รอลส์ (John Rawls) นักคิดชาวอเมริกัน
71. เป็นนักคิดชาวเจนีวา เขียนหนังสือเรื่อง “The Social Contract”
(1) Montesquieu
(2) James Madison
(3) John Locke
(4) Jean Jacques Rousseau
(5) Joseph Schumpeter
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 11. และ 70. ประกอบ
72.Henry David Thoreau ไม่เห็นด้วยกับสงครามในข้อใด
(1) World War I (1914 – 1919)
(2) World War II (1939 – 1945)
(3) Mexican-American War (1846 – 1848)
(4) Cayuse War (1847-1855)
(5) Utah War (1857 – 1858)
ตอบ 3 หน้า 80 เฮนรี่ เดวิด ธอโร (Henry David Thoreau) ไม่เห็นด้วยกับ “สงครามเม็กซิกัน- อเมริกัน” (Mexican-American War : 1846 – 1848) ที่อเมริกาไปรบกับเม็กซิโกเพื่อผนวก ดินแดนเท็กซัส เพราะมันเป็นการเพิ่มรัฐที่มีทาสให้กับอเมริกา โดยธอโรมีความเห็นว่าการมี ทาสนั้นเป็นสิ่งชั่วช้าและในอเมริกาก็ไม่ควรที่จะยอมให้เกิดขึ้นมากไปกว่าที่เป็นอยู่อีกต่อไป ดังนั้นธอโรจึงปฏิเสธการจ่ายภาษีให้กับรัฐ เพราะการจ่ายภาษีให้กับรัฐก็หมายความว่า รัฐจะนําเงินไปใช้จ่ายในสงครามที่ทํากับเม็กซิโก
73. แนวคิดเรื่องค่าแรงขั้นต่ํา (Minimum Wage) คือ วิธีการหนึ่งในการรีดเอามูลค่าส่วนเกินออกมาจากกรรมกร ใครเป็นคนที่คิดเรื่องดังกล่าว
(1) Karl Marx
(2) Robert Nozick
(3) John Locke
(4) John Rawls
(5) Sir Edwin Chadwick
ตอบ 1 หน้า 172 คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) อธิบายว่า ค่าแรงขั้นต่ํา (Minimum Wage) คือ วิธีการหนึ่งของนายทุนในการรีดเอามูลค่าส่วนเกินออกมาจากกรรมกรเพื่อให้ตนเองได้กําไรมากที่สุด โดยนายทุนจะจ่ายค่าแรงให้ต่ําที่สุดเท่าที่กรรมกรจะสามารถดํารงชีวิตอยู่ได้ เพื่อที่ว่าแรงงานนั้นจะกลับมาทําการผลิตให้กับนายทุนได้ต่อไปอีกเรื่อย ๆ
74. “สําหรับประชาธิปไตยแบบบริสุทธิ์… เป็นปรากฏการณ์แห่งความวุ่นวายและการโต้แย้ง อันเป็นสิ่งซึ่งเข้ากันไม่ได้กับความมั่นคงส่วนบุคคลหรือสิทธิในทรัพย์สิน และโดยทั่วไปรูปแบบการปกครอง ลักษณะนี้มักจะมีชีวิตสั้นและสิ้นสุดลงด้วยความรุนแรง” เป็นความคิดของใคร
(1) Montesquieu
(2) James Madison
(3) John Locke
(4) Joseph Schumpeter
(5) Jean Jacques Rousseau
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 50. ประกอบ
75. นักคิดชาวอังกฤษผู้มีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ. 1588 – 1679 ปัจจุบันได้รับการยกย่องว่าเป็นนักคิดสกุลสัญญาประชาคมคนสําคัญ
(1) Aristotle
(2) Jean Jacques Rousseau
(3) Thomas Hobbes
(4) Telos
(5) Arete
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 21. และ 70. ประกอบ
76. นักคิดกรีกโบราณคนใดเป็นผู้เขียนงานเรื่อง Nicomachean Ethics
(1) Aristotle
(2) Jean Jacques Rousseau
(3) Thomas Hobbes
(4) Telos
(5) Arete
ตอบ 1 หน้า 25, (คําบรรยาย) อริสโตเติล (Aristotle) นักคิดชาวมาซิโดเนีย เป็นนักคิดในยุคกรีกโบราณ ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงประมาณ 300 ปีก่อนคริสตกาล เขาเป็นผู้เขียนงานเรื่อง “Politics” และ “Nicomachean Ethics”
77. ราชาปราชญ์ (Philosopher King) คือแนวคิดสําคัญของฌอง ฌากส์ รุสโซ
(1) ข้อความดังกล่าวถูกต้อง
(2) ข้อความดังกล่าวไม่ถูกต้อง
ตอบ 2 หน้า 90 เพลโต (Plato) เสนอว่า ผู้ปกครองที่ดีที่สุดก็คือ “ราชาปราชญ์” (Philosopher King) โดยบุคคลดังกล่าวนี้จะต้องรักในความรู้อันแท้จริง (Wisdom Lover) และชีวิตส่วนตัวนั้น จะต้องมีชีวิตเรียบง่าย เนื่องจากตัวเขาจะต้องอุทิศให้แก่รัฐที่เขาปกครอง
78. เป็นนักคิดชาวอิตาเลียน และเป็นผู้ใช้อุปมาเรื่องสิงโตกับสุนัขจิ้งจอก
(1) John Stuart Mil
(2) Jean Paul Sartrel
(3) Edmund Burke
(4) Niccolo Machiavelli
(5) Thomas Hobbes
ตอบ 4 หน้า 128, (คําบรรยาย) นิโคโล แมคคิอาเวลลี (Niccolo Machiavelli) นักคิดชาวอิตาเลียน ได้อธิบายถึงคุณสมบัติของผู้ปกครองที่ดีไว้ในหนังสือเรื่อง “เจ้าผู้ปกครอง” (The Prince) โดยอุปมาถึงลักษณะของผู้ปกครองว่าควรจะต้องเป็นอย่างสิงโตและสุนัขจิ้งจอก นั่นคือ จะต้อง มีพละกําลังที่เข้มแข็งดุจสิงโต และมีความเฉลียวฉลาดดุจสุนัขจิ้งจอก ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะสามารถผจญกับเล่ห์เหลี่ยมและปราบปรามผู้ที่ตนปกครองได้นั่นเอง
79. เป็นหัวใจและเป็นสิ่งสําคัญของระบบทุนนิยม แต่เป็นสิ่งที่ในระบบคอมมิวนิสต์ต้องการกําจัด
(1) State of Nature
(2) Natural Right
(3) State of War
(4) Private Property
(5) Sovereign
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ระบบทุนนิยม (Capitalism) จะให้ความสําคัญกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคล (Private Property) ซึ่งตรงกันข้ามกับระบบคอมมิวนิสต์ (Communism) ที่ต้องการกําจัดระบบ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคลแล้วให้ความสําคัญกับทรัพย์สินส่วนรวม (Public Property)
80. ใครคือผู้ที่เปรียบเปรยว่า “รัฐบาลมีฐานะเป็นคนรับใช้ของประชาชน”
(1) John Locke
(2) John Rawls
(3) Jean Jacques Rousseau
(4) John Austin
(5) Niccolo Machiavelli
ตอบ 3 หน้า 76 ฌอง ฌากส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) เห็นว่า รัฐบาลมีฐานะเป็นแค่ คนรับใช้ของประชาชนและประชาชนนั้นเป็นเจ้านายของรัฐบาล แม้ตําแหน่งของรัฐบาลจะเรียกว่า “เจ้าผู้ปกครอง” (Prince) แต่รัฐบาลก็ไม่มีสิทธิออกกฎหมายใด ๆ ตามความต้องการของตนเอง รัฐบาลเป็นแค่หน่วยงานในการที่จะกระทําการตามเจตจํานงของกฎหมายที่ประชาชนเป็นผู้ออกอํานาจที่รัฐบาลใช้ก็เป็นอํานาจที่ประชาชนฝากไว้ ซึ่งอาจจะถูกจํากัด ปรับเปลี่ยน หรือเอาคืนเมื่อไรก็ได้หากประชาชนพอใจ
81. “ด้วยการที่มนุษย์เชื่อฟังคําสั่งของพระเจ้า จึงบุกเบิกที่ดิน ทําไร่ไถนา หว่านทุก ๆ ที่บนแผ่นดินโลก และ ด้วยวิธีการดังกล่าว ก็ผนวกสิ่งต่าง ๆ ให้กลายเป็นทรัพย์สินของเขา ซึ่งคนอื่น ๆ ไม่มีสิทธิอ้างกรรมสิทธิ์ หรือไม่มีสิทธิแย่งสิ่งนั้นไปจากเจ้าของโดยปราศจากการต่อสู้จนถึงขั้นบาดเจ็บ” เป็นคํากล่าวของใคร
(1) Karl Marx
(2) Robert Nozick
(3) John Locke
(4) John Rawls
(5) Sir Edwin Chadwick
ตอบ 3 หน้า 162 – 163 จอห์น ล็อค (John Locke) ได้อธิบายไว้ว่า สิ่งใด ๆ ก็ตามบนโลกนี้ที่มนุษย์ ได้นํามันออกมาจากสภาพธรรมชาติดั้งเดิม หรือทําการเปลี่ยนรูปแบบของมันให้ต่างออกไปจาก ลักษณะดั้งเดิม กล่าวคือ ด้วยการที่เขานําแรงงานของตัวเองไปผสมร่วมกับสิ่งนั้น ๆ ที่เคยเป็น สิ่งตามธรรมชาติจนมันมีการเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นไปด้วยวิธีการเคลื่อนย้าย เปลี่ยนรูป ดัดแปลง ตัดต่อ ฯลฯ สิ่งของนั้น ๆ ก็จะกลายมาเป็นกรรมสิทธิ์ของเขาโดยชอบธรรม และคนอื่น ๆ ก็ไม่มีสิทธิต่อสิ่งนั้นอีกต่อไป ดังที่เขาได้กล่าวไว้ว่า “สิ่งต่าง ๆ จะกลายมาเป็นทรัพย์สินของ ข้าพเจ้า โดยไม่ต้องมีการยินยอมหรือได้รับมอบหมายจากบุคคลใด ๆ ก็ตาม เพราะว่าแรงงาน เป็นของข้าพเจ้าที่ใช้ในการนําสิ่งนั้น ๆ ออกมาจากสภาวะธรรมชาติที่เป็นส่วนรวม… ด้วยการที่ มนุษย์เชื่อฟังคําสั่งของพระเจ้า จึงบุกเบิกที่ดิน ทําไร่ไถนา หว่านทุก ๆ ที่บนแผ่นดินโลก และ ด้วยวิธีการดังกล่าว ก็ผนวกสิ่งต่าง ๆ ให้กลายเป็นทรัพย์สินของเขา ซึ่งคนอื่น ๆ ไม่มีสิทธิอ้าง กรรมสิทธิ์ หรือไม่มีสิทธิแย่งสิ่งนั้นไปจากเจ้าของโดยปราศจากการต่อสู้จนถึงขั้นบาดเจ็บ”
82. “ผู้รู้ทางทฤษฎีซึ่งสนับสนุนรัฐบาลประเภทนี้ได้เข้าใจผิด ๆ มาว่า โดยการลดสภาพของมนุษยชาติลงมาจน เสมอภาคกันอย่างสมบูรณ์ในสิทธิการเมืองนั้น จะทําให้มนุษย์นั้นมีความเสมอภาคและประสานกลมกลืนกัน อย่างสมบูรณ์ ทั้งในทรัพย์สิน ความคิดเห็น และกิเลสในเวลาเดียวกันด้วย” เป็นคํากล่าวของใคร
(1) Montesquieu
(2) James Madison
(3) John Locke
(4) Joseph Schumpeter
(5) Jean Jacques Rousseau
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 50. ประกอบ
83. “ถ้าทรัพยากรที่คน ๆ หนึ่งใช้ในการหารายได้มาตั้งแต่ต้นนั้นเป็นสิ่งที่ชอบธรรม สิ่งที่หามาได้โดยทรัพยากรนั้น ก็ถือว่าชอบธรรมไปด้วย ซึ่งคําว่าชอบธรรมนี้มีความหมายในลักษณะที่ว่า คน ๆ นั้นใช้ร่างกายของตน แรงงานของตน สติปัญญาของตน หรือทรัพย์สินของตนเพื่อที่จะได้รายได้หรือสิ่งของต่าง ๆ มา และถ้า การหารายได้นั้น ๆ เป็นไปอย่างชอบธรรมตั้งแต่ต้น ทรัพย์สินหรือรายได้ที่ได้มานั้นก็จะเป็นสิ่งที่ชอบธรรม ไปด้วย” เป็นคํากล่าวของนักคิดชาวอเมริกันคนใด
(1) Karl Marx
(2) Robert Nozick
(3) John Locke
(4) John Rawls
(5) Sir Edwin Chadwick
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ
84. บุคคลใดเป็นผู้ก่อร่างสร้างชาติอเมริกา และถือได้ว่ามีส่วนสําคัญในการร่างรัฐธรรมนูญอเมริกัน
(1) Montesquieu
(2) James Madison
(3) John Locke
(4) Joseph Schumpeter
(5) Jean Jacques Rousseau
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 50. ประกอบ
85. คําว่า Explicit Consent มีความหมายว่าอย่างไร
(1) การตกลงแบบเป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐ
(2) การตกลงโดยปริยายว่าจะปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐ
(3) การปฏิเสธการปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐแบบเป็นลายลักษณ์อักษร
(4) การปฏิเสธการปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐโดยปริยาย
(5) การไม่ใช้ประโยชน์จากสิ่งของสาธารณะของรัฐเพื่อเลี่ยงกฎหมาย
ตอบ 1 หน้า 63 – 64 จอห์น ล็อค (John Locke) ได้อธิบายในเรื่องการเชื่อฟังกฎหมายว่า การที่พลเมืองเชื่อฟังกฎหมายและยอมปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐก็เนื่องจากเขาได้ตกลงทําสัญญาที่จะอยู่ร่วมกันภายใต้รัฐ โดยหวังว่ารัฐจะช่วยปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของผู้เข้าทําสัญญา ตลอดจนทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยเมื่อมีข้อพิพาทระหว่างกัน ซึ่งตามความคิดของล็อคนั้น การตกลงทําสัญญามี 2 ลักษณะ คือ
1. การตกลงแบบชัดแจ้ง (Express Consent / Explicit Consent) เป็นการตกลงแบบเป็น ลายลักษณ์อักษรที่จะเข้ามาอยู่ในรัฐและปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐ
2. การตกลงแบบปริยาย (Tacit Consent) เป็นการตกลงที่ผู้ตกลงได้มาใช้ประโยชน์จาก รัฐหนึ่ง ๆ เช่น ใช้ทางหลวง ใช้สิ่งของสาธารณะ หรือได้ประโยชน์จากการที่เข้ามาอยู่ ภายในรัฐ จึงทําให้คน ๆ นั้นมีพันธะที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐนั้น ๆ โดยปริยาย
86. อํานาจอยู่ในมือคน ๆ เดียว (The One) ใช้อํานาจเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวของผู้ปกครอง
(1) Polity
(2) Democracy
(3) Monarchy
(4) Tyranny
(5) Aristocracy
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ
87. “สิ่งต่าง ๆ จะกลายมาเป็นทรัพย์สินของข้าพเจ้า โดยไม่ต้องมีการยินยอมหรือได้รับมอบหมายจากบุคคลใด ๆ ก็ตาม เพราะว่าแรงงานเป็นของข้าพเจ้าที่ใช้ในการนําสิ่งนั้น ๆ ออกมาจากสภาวะธรรมชาติที่เป็นส่วนรวม”ใครเป็นผู้กล่าวคําพูดดังต่อไปนี้
(1) Karl Marx
(2) Robert Nozick
(3) John Locke
(4) John Rawls
(5) Sir Edwin Chadwick
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 81. ประกอบ
88.คําประกาศเอกราชของ Thomas Jefferson ได้อิทธิพลทางความคิดมาจากนักคิดของประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) อังกฤษ
(3) ฝรั่งเศส
(4) ปรัสเซีย
(5) เยอรมนี
ตอบ 2 หน้า 77 โทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) หนึ่งใน รรดาผู้ก่อตั้งสหรัฐอเมริกา (American Founding Fathers) ได้นําแนวคิดสิทธิแห่งการปฏิวัติของจอห์น ล็อค (John Locke) นักคิดชาวอังกฤษ มาใช้ในการประกาศเอกราชของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1776
89. ข้อใดเกี่ยวข้องกับ Philosophy
(1) ความรักในความรู้
(2) Love of Wisdom
(3) Logic คือสาขาย่อยของ Philosophy
(4) สนใจต่อสิ่งที่เป็นธรรมชาติของสิ่งต่างๆ
(5) ทุกข้อล้วนเกี่ยวข้องกับ Philosophy
ตอบ 5 หน้า 1 – 5 ปรัชญา (Philosophy) คือ องค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาถึงสิ่งที่เป็นธรรมชาติของ สิ่งต่าง ๆ หรือปัญหาพื้นฐานของสิ่งต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาถึงการดํารงอยู่ของสิ่งต่าง ๆ การรับรู้ของมนุษย์ ความดีคืออะไร มนุษย์เกิดมาทําไม ฯลฯ โดยคําว่า “ปรัชญา” เกิดมาจาก การผสมกันของคํา 2 คํา คือ คําว่า “ความรัก” (Love) กับคําว่า “ความรู้” (Wisdom) ดังนั้น ปรัชญาจึงหมายถึง “ความรักในความรู้” (Love of Wisdom) สําหรับองค์ความรู้ทางปรัชญานั้น สามารถแบ่งสาขาย่อยออกได้เป็น 5 สาขา ได้แก่ อภิปรัชญา(Metaphysics) ญาณวิทยา (Epistemology) สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) จริยศาสตร์ (Ethics) และตรรกวิทยา (Logic)
90. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ Normative Political Theory
(1) เน้นอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมือง
(2) เน้นทํานายปรากฏการณ์ทางการเมือง
(3) มีฐานคิดอยู่บนหลักการแบบวิทยาศาสตร์
(4) คือสิ่งเดียวกับการศึกษาแบบปทัสถานนิยม
(5) ไม่มีตัวเลือกใดกล่าวถูกต้อง
ตอบ 4 หน้า 12 – 13 จุดมุ่งหมายของปรัชญาการเมือง (Political Philosophy) คือ การศึกษาถึง ธรรมชาติ หรือสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สุด หรือความจริงแท้สูงสุดอันเป็นสากลในทางการเมือง แต่จะไม่มุ่งอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมือง ด้วยเหตุนี้รูปแบบการศึกษาปรัชญาการเมือง จึงถูกเรียกว่า “การศึกษาการเมืองแบบปทัสถานนิยม” (Normative Political Theory) คือ เป็นการศึกษาถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นพื้นฐานในทางการเมือง เพื่อที่จะนําความรู้นั้นไปสร้างบรรทัดฐาน หรือการเมืองที่ควรจะเป็นขึ้นมา ดังนั้นวิธีการศึกษาปรัชญาการเมืองจึงมีความแตกต่างกับวิธี การศึกษาของรัฐศาสตร์กระแสหลักอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากปรัชญาการเมืองไม่ได้มีการพยายามหาคําตอบหรือมีการหาความรู้ด้วยระเบียบวิธีวิจัยแบบวิทยาศาสตร์ แต่ปรัชญาการเมืองจะใช้ ทัศนคติ ค่านิยม ประสบการณ์ของตัวนักคิดมาอธิบาย
91. อัตถิภาวะนิยม (Existentialism)
(1) John Stuart Mill
(2) Jean Paul Sartre
(3) Edmund Burke
(4) Niccolo Machiavelli
(5) Thomas Hobbes
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ
92. อํานาจอยู่ในมือกลุ่มคน (The Few) ใช้อํานาจเพื่อผลประโยชน์สาธารณะ
(1) Polity
(2) Democracy
(3) Monarchy
(4) Tyranny
(5) Aristocracy
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ
93. ข้อความดังกล่าวนี้ตรงกับตัวเลือกใดมากที่สุด “บางครั้งก็เรียกว่าทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge) ในสาขาย่อยของความรู้ทางด้านปรัชญานี้ จะมุ่งศึกษาในประเด็นเกี่ยวกับว่ามนุษย์นั้นรู้ถึงสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างไร”
(1) อภิปรัชญา
(2) อุดมการณ์ทางการเมือง
(3) ปรัชญาการเมือง
(4) จริยศาสตร์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 2 ญาณวิทยา (Epistemology) หรือบางครั้งก็เรียกว่า ทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge) ในสาขาย่อยของความรู้ทางด้านปรัชญานี้ จะมุ่งศึกษาในประเด็นเกี่ยวกับว่า มนุษย์นั้นรู้ถึงสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างไร เช่น คุณเห็นตัวหนังสือในหนังสือเล่มนี้ได้อย่างไร คุณก็อาจจะ ตอบว่า “ตาผมไม่บอด ผมย่อมมองเห็นนะซิ” ซึ่งการตอบว่า “ตาผมไม่บอด” ก็หมายความว่า ผมเห็นได้ด้วยประสาทสัมผัสชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ตา” หรืออีกนัยหนึ่งก็คือมนุษย์สามารถรู้ถึง สิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยประสาทสัมผัสนั่นเอง
94. “เสรีภาพในสภาวะธรรมชาติเป็นเสรีภาพที่ไม่มีคุณค่า และไม่สามารถนํามาใช้อ้างอิงได้ เพราะเสรีภาพ ดังกล่าวเป็นเสรีภาพที่มนุษย์นั้นอยู่คนเดียว ไม่ได้อยู่รวมกับคนอื่น ๆ ซึ่งเสรีภาพแบบนี้ไม่ต่างอะไรกับ เสรีภาพของคนบ้า หรือของโจรปล้นทรัพย์ หรือของฆาตกรที่หนีออกมาจากกรงขังได้” เป็นคํากล่าว ของนักคิดคนใด
(1) John Stuart Mill
(2) Jean Paul Sartre
(3) Edmund Burke
(4) Niccolo Machiavelli
(5) Thomas Hobbes
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ
95. ใครเป็นผู้เสนอคําอธิบายที่ว่า กฎหมายจะเป็นกฎหมายได้ก็ต้องมีการบังคับลงโทษผู้ที่ไม่ทําตามคําสั่ง
(1) John Austin
(2) Thomas Hobbes
(3) Immanuet Kant
(4) Aristotle
(5) Socrates
ตอบ 1 หน้า 58 จอห์น ออสติน (John Austin) นักปรัชญากฎหมายชาวอังกฤษ ได้เสนอทฤษฎี การบังคับบัญชาของกฎหมาย (Command Theory of Law) โดยอธิบายว่า กฎหมายจะเป็น กฎหมายได้นั้นก็ต้องมีการบังคับลงโทษผู้ที่ไม่ทําตามคําสั่งหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งเขา ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า “คําสั่งใด ๆ ของผู้มีอํานาจนั้นจะเป็นกฎหมายหรือไม่ ต้องพิจารณา จากประเด็นในเรื่องที่ว่า ถ้ามีคนใดคนหนึ่งไม่ปฏิบัติตามกฎหมายนั้นสามารถลงโทษได้หรือไม่ ถ้าลงโทษได้ คําสั่งนั้นก็คือกฎหมาย”
96. คําถามประเภทที่ว่า กฎหมายคืออะไร มนุษย์มีเสรีภาพหรือไม่
(1) Philosophia Perennis
(2) Logic
(3) Polis
(4) Democracy
(5) Sophist
ตอบ 1 หน้า 7 คําถามอมตะ (Philosophia Perennis) เป็นคําถามทางปรัชญา โดยนักคิดหรือ นักปรัชญาการเมืองมีความเชื่อว่า ในโลกใบนี้มีความจริงหรือสัจธรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ แม้ว่าโลกจะเปลี่ยนไปเท่าใด และมีปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมากมายเพียงใด แต่ภายใต้ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่พบเห็นมันมีความรู้ที่เป็นอมตะไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ ดังนั้นนักคิดที่คิดว่า ตัวเองเป็นนักปรัชญาการเมืองจึงพยายามอย่างยิ่งที่จะหาความรู้อันจริงแท้ด้วยการพยายาม หาคําตอบจากคําถามอมตะต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ทําไมมนุษย์ต้องมีการเมือง สังคมการเมือง หรือรัฐคืออะไร ทําไมเราต้องอยู่ในสังคมการเมืองหรือรัฐ กฎหมายคืออะไร ทําไมเราต้อง เชื่อฟังกฎหมาย มนุษย์มีเสรีภาพหรือไม่ ผู้ปกครองที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร ใครควรที่จะเป็น ผู้ปกครอง เป็นต้น
97. เป็นสาขาความรู้ที่ในด้านหนึ่งสนใจเรื่องการใช้เหตุผลของมนุษย์
(1) Philosophia Perennis
(2) Logic
(3) Polis
(4) Democracy
(5) Sophist
ตอบ 2 หน้า 3 ตรรกวิทยา (Logic) เป็นสาขาที่ไม่ได้มุ่งศึกษาถึงสิ่งที่เป็นพื้นฐานเหมือนสาขาอื่น ๆ แต่เป็นการศึกษาถึงวิธีการให้เหตุผลหรือการอ้างเหตุผลในเรื่องต่าง ๆ ของมนุษย์ว่ามีลักษณะ โดยทั่วไปแล้วสิ่งที่เรียกว่าตรรกวิทยานั้นมักจะเป็นเครื่องมือสมเหตุสมผลหรือไม่อย่างไรในการแสวงหาความรู้ของนักคิดนักปรัชญาเสียมากกว่า
98.“Man is condemned to be free” เป็นคําพูดของใคร
(1) John Stuart Mill
(2) Jean Paul Sartre
(3) Edmund Burke
(4) Niccolo Machiavelli
(5) Thomas Hobbes
ตอบ 2 หน้า 144 – 145, (คําบรรยาย) ฌอง ปอล ซาร์ต (Jean Paul Sartre) มองว่า การที่มนุษย์ มีเสรีภาพ มนุษย์ก็ต้องมีความรับผิดชอบในเสรีภาพนั้นด้วย ดังที่เขากล่าวว่า “มนุษย์ถูกสาป ให้มีเสรีภาพ (Man is condemned to be free)… เมื่อมนุษย์เกิดขึ้นบนโลกนี้ เขาก็ต้อง รับผิดชอบต่อทุกสิ่งที่เขากระทํา และพวกที่เชื่อในแนวคิดอัตถิภาวะนิยมจะไม่ยอมรับในอํานาจ แห่งอารมณ์ เขาจะไม่มีทางเห็นด้วยว่า อารมณ์ที่รุนแรงคือสายน้ําเชี่ยวกรากที่นํามนุษย์ให้ กระทําการต่าง ๆ เสมือนหนึ่งถูกลิขิตไว้ และมนุษย์จะถืออารมณ์เป็นข้อแก้ตัวให้ตนเองไม่ได้ เพราะมนุษย์จะต้องรับผิดชอบต่ออารมณ์ของตนเอง”
99. ผู้ใดต่อไปนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหมอสอนศาสนาคนแรกในประวัติศาสตร์ของคริสเตียน
(1) Saint Paul
(2) Saint Peter
(3) Saint Pancras
(4) Saint Petersburg
(5) Saint Augustine
ตอบ 1 หน้า 67 เปาโลหรือนักบุญพอล (Saint Paul) ไม่ได้เป็นลูกศิษย์ของพระเยซูสิบสองคนโดยตรง เหมือนกับนักบุญปีเตอร์ แต่ตามตํานานกล่าวว่าหลังพระเยซูเสียชีวิตที่กางเขนแล้ว พระเยซู ได้มาปรากฏให้เปาโลเห็นเพื่อเลือกเปาโลให้มารับใช้พระอง จึงทําให้เปาโลซึ่งเป็นยิว อย ข่มเหงพวกคริสเตียนอยู่ตลอดเวลา กลับใจหันมาอุทิศชีวิตป่าวประกาศเรื่องราวของพระเยซู จนได้ชื่อว่าเป็นผู้วางรากฐานให้กับศาสนาคริสต์ที่สําคัญคนหนึ่ง หรือกล่าวง่าย ๆ ก็คือ เปาโล คือหมอสอนศาสนาคนแรกในประวัติศาสตร์ของคริสเตียน
100. ใครเชื่อว่าสังคมการเมืองเป็นสิ่งที่เป็นไปโดยธรรมชาติ
(1) Aristotle
(2) Jean Jacques Rousseau
(3) Thomas Hobbes
(4) Telos
(5) Arete
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ