การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2566
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2108 หลักปฏิบัติทางการปกครองและธรรมาภิบาลในภาครัฐ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

ตั้งแต่ข้อ 1. – 5. นักศึกษาพิจารณาและระบายลงในกระดาษคําตอบดังนี้
(1) หากข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด ให้ระบายในข้อ 1
(2) หากข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก ให้ระบายในข้อ 2
(3) หากข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้ง 2 ข้อ ให้ระบายในข้อ 3
(4) หากข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้ง 2 ข้อ ให้ระบายในข้อ 4

Advertisement

1.(1) คู่กรณีอุทธรณ์คําสั่งทางปกครองนั้นโดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทําคําสั่งปกครองภายใน 15 วันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคําสั่งทางปกครองดังกล่าว
(2) ให้เจ้าหน้าที่พิจารณาคําอุทธรณ์และแจ้งผู้อุทธรณ์โดยไม่ชักช้าแต่ต้องไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับ อุทธรณ์ ในกรณีที่เห็นด้วยกับคําอุทธรณ์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก็ให้ดําเนินการเปลี่ยนแปลงคําสั่ง
ทางปกครองตามความเห็นของตนภายในกําหนดระยะเวลาดังกล่าวตามมาตรา 45 วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
ตอบ 3 หน้า 106 – 107 การอุทธรณ์คําสั่งทางปกครอง มีดังนี้

1. ในกรณีที่คําสั่งทางปกครองใดไม่ได้ออกโดยรัฐมนตรีและไม่มีกฎหมายกําหนดขั้นตอนการอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองไว้เป็นการเฉพาะ ให้คู่กรณีอุทธรณ์คําสั่งทางปกครองนั้น โดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทําคําสั่งปกครองภายใน 15 วันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคําสั่งทาง ปกครองดังกล่าวตามมาตรา 44 วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

2. คําอุทธรณ์ต้องทําเป็นหนังสือโดยระบุข้อโต้แย้งและข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมายที่อ้างอิง ประกอบด้วย และการอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับตามคําสั่งทางปกครอง เว้นแต่ จะมีคําสั่งให้ทุเลาการบังคับไว้ก่อน และในการอุทธรณ์คําสั่งทางปกครองผู้อุทธรณ์สามารถยื่นคําขอทุเลาการบังคับตามคําสั่งทางปกครองมาพร้อมกับคําอุทธรณ์ก็ได้ตามมาตรา 44 วรรคสองและวรรคสามแห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

3. ให้เจ้าหน้าที่พิจารณาคําอุทธรณ์และแจ้งผู้อุทธรณ์โดยไม่ชักช้าแต่ต้องไม่เกิน 30 วันนับแต่ วันที่ได้รับอุทธรณ์ ในกรณีที่เห็นด้วยกับคําอุทธรณ์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก็ให้ดําเนินการ เปลี่ยนแปลงคําสั่งทางปกครองตามความเห็นของตนภายในกําหนดระยะเวลาดังกล่าวตาม มาตรา 45 วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

4. ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่เห็นด้วยกับคําอุทธรณ์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก็ให้เร่งรายงานความเห็นพร้อมเหตุผลไปยังผู้มีอํานาจพิจารณาคําอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ให้ผู้มีอํานาจพิจารณา คําอุทธรณ์พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับรายงาน ถ้ามีเหตุจําเป็น ไม่อาจพิจารณาได้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ผู้มีอํานาจพิจารณาอุทธรณ์มีหนังสือ แจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบก่อนครบกําหนดเวลาดังกล่าว ในการนี้ให้ขยายระยะเวลาพิจารณา อุทธรณ์ออกไปได้ไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลาดังกล่าวตามมาตรา 45 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ฯลฯ

2.(1) ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่เห็นด้วยกับคําอุทธรณ์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก็ให้เร่งรายงานความเห็นพร้อมเหตุผล ไปยังผู้มีอํานาจพิจารณาคําอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ให้ผู้มีอํานาจพิจารณาคําอุทธรณ์พิจารณาให้แล้วเสร็จ ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับรายงาน
(2) ถ้ามีเหตุจําเป็นไม่อาจพิจารณาได้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ผู้มีอํานาจพิจารณาอุทธรณ์ มีหนังสือแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบก่อนครบกําหนดเวลาดังกล่าว ในการนี้ให้ขยายระยะเวลาพิจารณา อุทธรณ์ออกไปได้ไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลาดังกล่าว
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

3.(1) เหตุแห่งความไม่ชอบด้วยกฎหมายของคําสั่งทางปกครอง มีสาเหตุ เช่น ความไม่ชอบด้วยกฎหมายของ สภาพภายนอกคําสั่งทางปกครอง ความไม่ชอบด้วยกฎหมายในสาระของคําสั่งทางปกครอง เป็นต้น
(2) ความไม่ชอบด้วยกฎหมายในสาระของคําสั่งทางปกครอง ได้แก่ ความบกพร่องในเจตนาโดยสมัครใจ ความบกพร่องในมูลเหตุจูงใจ เป็นการใช้อํานาจผิดเจตนารมณ์ของกฎหมาย บกพร่องในข้อกฎหมาย อาจเกิดขึ้นได้ใน 3 กรณี คือ ไม่มีกฎหมายใช้บังคับเช่นนั้น หรือมีกฎหมายแต่กฎหมายนั้นใช้บังคับไม่ได้ หรือมีกฎหมายเป็นฐานแต่ตีความใช้กฎหมายผิด
ตอบ 3 หน้า 107 – 108 ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ อธิบายว่า ความไม่ชอบด้วยกฎหมายของคําสั่ง ทางปกครอง มีสาเหตุดังนี้
1. ความไม่ชอบด้วยกฎหมายของสภาพภายนอกคําสั่งทางปกครอง ได้แก่ ความบกพร่อง ในความสามารถ ความบกพร่องในวิธีพิจารณา และความบกพร่องในแบบ
2. ความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในสาระของคําสั่งทางปกครอง ได้แก่
1) องค์ประกอบในส่วนอัตวิสัย ประกอบด้วย
– ความบกพร่องในเจตนาโดยสมัครใจ
– ความบกพร่องในมูลเหตุจูงใจ เป็นการใช้อํานาจผิดเจตนารมณ์ของกฎหมาย
2) องค์ประกอบในส่วนภาวะวิสัย ประกอบด้วย
– บกพร่องในข้อกฎหมาย อาจเกิดขึ้นได้ใน 3 กรณี คือ ไม่มีกฎหมายใช้บังคับเช่นนั้น หรือมีกฎหมายแต่กฎหมายนั้นใช้บังคับไม่ได้ หรือมีกฎหมายเป็นฐานแต่ตีความใช้กฎหมายผิด
– บกพร่องในข้อเท็จจริง
3) องค์ประกอบในวัตถุประสงค์

4.(1) ความไม่ชอบด้วยกฎหมายในทางวิธีสารบัญญัติ คือ คําสั่งทางปกครองที่ออกโดยปราศจากอํานาจ เกิดขึ้นในกรณีที่ฝ่ายปกครองออกคําสั่งทางปกครองเป็นผู้ไม่มีอํานาจที่จะออกคําสั่งทางปกครองนั้น
(2) ความไม่ชอบด้วยกฎหมายในทางสารบัญญัติ คือ คําสั่งทางปกครองที่ออกโดยเนื้อหาไม่ชอบด้วยกฎหมาย คําสั่งทางปกครองที่ออกโดยเนื้อหาไม่ชอบด้วยกฎหมายนี้บางครั้งเรียกว่าคําสั่งทางปกครองที่ออกโดยฝ่าฝืนกฎหมายโดยตรง
ตอบ 3 หน้า 108 – 110 มานิตย์ จุมปา อธิบายว่า ประเภทของเหตุแห่งความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ของคําสั่งทางปกครอง อาจแบ่งได้ 2 เหตุ คือ
1. ความไม่ชอบด้วยกฎหมายในทางวิธีสารบัญญัติ ได้แก่
– คําสั่งทางปกครองที่ออกโดยปราศจากอํานาจ เกิดขึ้นในกรณีที่ฝ่ายปกครองออกคําสั่ง ทางปกครองเป็นผู้ไม่มีอํานาจที่จะออกคําสั่งทางปกครองนั้น
– คําสั่งทางปกครองที่ออกโดยไม่ถูกต้องตามขั้นตอนวิธีการ
– คําสั่งทางปกครองที่ออกโดยไม่ถูกต้องตามแบบ

2. ความไม่ชอบด้วยกฎหมายในทางสารบัญญัติ ได้แก่
– คําสั่งทางปกครองที่ออกโดยเนื้อหาไม่ชอบด้วยกฎหมาย บางครั้งเรียกว่าคําสั่ง ทางปกครองที่ออกโดยฝ่าฝืนกฎหมายโดยตรง
– คําสั่งทางปกครองที่ออกโดยมีมูลเหตุจูงใจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
– คําสั่งทางปกครองที่ออกโดยมีวัตถุประสงค์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย บางครั้งเรียกว่าคําสั่งทางปกครองที่ออกโดยบิดเบือนอํานาจ

5.(1) เมื่อคณะกรรมการส่วนจังหวัดป้องกันการค้ากําไรเกินควรได้ระบุชื่อหรือประเภทสิ่งของและสิ่งต้องห้าม มิให้ค้ากําไรเกินควรแล้ว คณะกรรมการจะต้องระบุเขตท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง หรือทั้งหมดเป็นท้องที่ต้องห้าม มิให้ค้ากําไรเกินควร เมื่อคณะกรรมการมิได้กําหนดให้ปรากฏชัดแล้ว ประกาศห้ามเคลื่อนย้ายโค กระบือ ที่มีชีวิตเข้าไปในเขตท้องที่ที่จะสั่งห้าม แสดงว่ามิได้ปฏิบัติการตามลําดับก่อนหลังดังกฎหมายกําหนดไว้ การประกาศของคณะกรรมการนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

(2) ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 เจ้าพนักงานจราจรมีอํานาจออกข้อบังคับหรือคําสั่ง กําหนดสถานที่จอดพักรถได้ แต่สถานที่จอดพักรถนั้นอยู่ในความครอบครองของเอกชนและเอกชน เป็นผู้เรียกค่าบริการจอดรถ ก็ไม่เป็นสถานที่จอดพักรถตามความหมายของพระราชบัญญัติจราจร ทางบก แต่เป็นสถานที่ขนส่งตามพระราชบัญญัติขนส่ง พ.ศ. 2497 ซึ่งบัญญัติให้เป็นอํานาจของ รัฐมนตรีเป็นผู้กําหนดสถานที่ที่ใช้เป็นสถานีขนส่ง เจ้าหน้าที่พนักงานจราจรไม่มีอํานาจกําหนด

ตอบ 3 หน้า 108 – 109 ตัวอย่างของความไม่ชอบด้วยกฎหมายของคําสั่งทางปกครอง เช่น คําสั่งทางปกครองที่ออกโดยไม่ถูกต้องตามขั้นตอนวิธีการ กรณีนี้หากฝ่ายปกครองประสงค์ จะออกคําสั่งทางปกครอง ฝ่ายปกครองต้องปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่กฎหมายกําหนดไว้ หากฝ่ายปกครองไม่ปฏิบัติตาม คําสั่งทางปกครองนั้นย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตัวอย่างเช่น เมื่อคณะกรรมการส่วนจังหวัดป้องกันการค้ากําไรเกินควรได้ระบุชื่อหรือประเภทสิ่งของและสิ่งต้องห้ามมิให้ค้ากําไรเกินควรแล้ว คณะกรรมการจะต้องระบุเขตท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง หรือทั้งหมดเป็นห้องที่ต้องห้ามมิให้ค้ากําไรเกินควร เมื่อคณะกรรมการมิได้กําหนดให้ปรากฏ ชัดแล้ว ประกาศห้ามเคลื่อนย้ายโค กระบือที่มีชีวิตเข้าไปในเขตท้องที่ที่จะสั่งห้าม แสดงว่า มิได้ปฏิบัติการตามลําดับก่อนหลังดังกฎหมายกําหนดไว้ การประกาศของคณะกรรมการนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

– คําสั่งทางปกครองที่ออกโดยเนื้อหาไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีนี้ฝ่ายปกครองจะต้องออก คําสั่งทางปกครองที่มีเนื้อความตามที่กฎหมายกําหนดไว้เท่านั้น ฝ่ายปกครองไม่อาจเลือก หรือกําหนดเนื้อความของคําสั่งทางปกครองตามใจชอบได้ ตัวอย่างเช่น ตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2477 เจ้าพนักงานจราจรมีอํานาจออกข้อบังคับหรือคําสั่งกําหนด สถานที่จอดพักรถได้ แต่สถานที่จอดพักรถนั้นอยู่ในความครอบครองของเอกชนและเอกชน เป็นผู้เรียกค่าบริการจอดรถ ก็ไม่เป็นสถานที่จอดพักรถตามความหมายของพระราชบัญญัติ จราจรทางบก แต่เป็นสถานที่ขนส่งตามพระราชบัญญัติขนส่ง พ.ศ. 2497 ซึ่งบัญญัติให้เป็น อํานาจของรัฐมนตรีเป็นผู้กําหนดสถานที่ที่ใช้เป็นสถานีขนส่ง เจ้าหน้าที่พนักงานจราจร ไม่มีอํานาจกําหนด (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ)

ตั้งแต่ข้อ 6. – 10. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) หลักกฎหมายทั่วไป
(2) หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทําทางปกครอง
(3) หลักนิติธรรม
(4) หลักนิติรัฐ
(5) หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง

6. บรรดาการกระทําทั้งหลายขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารจะต้องชอบด้วยกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ สอดคล้องกับหลักการควบคุมตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐหลักอะไร
ตอบ 4 หน้า 43 – 44 สาระสําคัญของหลักนิติรัฐ มี 3 ประการ ดังนี้
1. บรรดาการกระทําทั้งหลายขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารจะต้องชอบด้วยกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ
2. บรรดากฎหมายทั้งหลายที่องค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติได้ตราขึ้นจะต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
3. การควบคุมไม่ให้การกระทําขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารขัดต่อกฎหมายก็ดี การควบคุมไม่ให้กฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญก็ดี จะต้องเป็นอํานาจหน้าที่ขององค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ

7. การใช้กฎหมายจะต้องผูกพันต่อบทบัญญัติของกฎหมายที่ออกโดยองค์กรนิติบัญญัติอันเป็นองค์กรที่มีพื้นฐานมาจากตัวแทนของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบัญญัติของกฎหมายที่เป็นการกระทบต่อสิทธิหรือจํากัดสิทธิของประชาชนจะกระทําได้เฉพาะภายใต้เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ โดยผ่านความเห็นชอบจากตัวแทนของประชาชน สอดคล้องกับหลักการควบคุมตรวจสอบการใช้อํานาจหลักอะไร
ตอบ 5 หน้า 44 หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง หรือเรียกว่า หลักความผูกพันต่อกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครองนั้น ตามหลักนิติรัฐ หลักในเรื่องนี้เป็นการเชื่อมโยงหลักความผูกพันต่อกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครองเข้ากับ หลักประชาธิปไตยโดยทางผู้แทน กล่าวคือ การใช้กฎหมายของฝ่ายตุลาการก็ดี หรือฝ่ายปกครอง ก็ดีจะต้องผูกพันต่อบทบัญญัติของกฎหมายที่ออกโดยองค์กรนิติบัญญัติอันเป็นองค์กรที่มีพื้นฐานมาจากตัวแทนของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบัญญัติของกฎหมายที่เป็นการกระทบต่อสิทธิหรือจํากัดสิทธิของประชาชนนั้นจะกระทําได้เฉพาะภายใต้เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ โดยผ่านความเห็นชอบจากตัวแทนของประชาชนก่อน

8. หลักการที่สําคัญ คือ ก่อนที่จะจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของประชาชนคนใดคนหนึ่งด้วยการบังคับให้เขา กระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือห้ามมิให้เขากระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่กรณี ฝ่ายปกครอง จะต้องถามตนเองเสมอว่ามีกฎหมายฉบับใด มาตราใดให้อํานาจกระทําการเช่นนั้นหรือไม่ สอดคล้องกับ หลักการควบคุมตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐหลักอะไร
ตอบ 2 หน้า 47 – 48 หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทําทางปกครอง หมายความว่า ฝ่ายปกครองจะกระทําการใด ๆ ที่อาจมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือเสรีภาพของเอกชนคนใดคนหนึ่งได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อํานาจและเฉพาะแต่ภายในขอบเขตที่กฎหมายกําหนดไว้ เท่านั้น ดังนั้นตามหลักการดัง เล่าวจึงมีหลักการที่สําคัญอยู่ว่า ก่อนที่จะจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพ ของประชาชนคนใดคนหนึ่งด้วยการบังคับให้เขากระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือห้ามมิให้เขากระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่กรณี ฝ่ายปกครองจะต้องถามตนเองเสมอว่ามีกฎหมาย ฉบับใด มาตราใดให้อํานาจกระทําการเช่นว่านั้นหรือไม่ ถ้าไม่มีกฎหมายให้อํานาจ ฝ่ายปกครอง จะต้องละความตั้งใจที่จะกระทําเช่นว่านั้น

9.แนวคิดที่ว่า มีหลักกฎหมายบางอย่างที่อยู่นอกเหนือเจตนาของผู้บัญญัติกฎหมาย และนอกเหนือจาก กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีอยู่ มีกฎเกณฑ์บางอย่างที่อยู่ภายนอกและอยู่เหนือเจตนาของศาล จึงอาจมี การนําหลัก เช่น หลักความเสมอภาค หลัก ความต่อเนื่องของบริการสาธารณะมาใช้ เป็นต้น สอดคล้องกับ หลักการควบคุมตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐหลักอะไร
ตอบ 1 หน้า 56 หลักกฎหมายทั่วไป เกิดขึ้นจากแนวคิดที่ว่า มีหลักกฎหมายบางอย่างที่อยู่นอกเหนือ เจตนาของผู้บัญญัติกฎหมาย และนอกเหนือจากกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีอยู่ มีกฎเกณฑ์ บางอย่างที่อยู่ภายนอกและอยู่เหนือเจตนาของศาล จึงอาจมีการนําหลัก เช่น หลักความเสมอภาค หลักความต่อเนื่องของบริการสาธารณะมาใช้ เป็นต้น

10. ศาลเป็นผู้นําหลักอันเป็นนามธรรม มาใช้เป็นหลักที่เป็นรูปธรรม สอดคล้องกับหลักการควบคุมตรวจสอบ การใช้อํานาจรัฐหลักอะไร
ตอบ 1 หน้า 56 – 57 หลักกฎหมายทั่วไปเป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อเป็นหลักประกันหรือพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนจากการใช้อํานาจตามอําเภอใจของฝ่ายปกครอง โดยหลักกฎหมาย ทั่วไปนั้นมิได้เกิดขึ้นตามอําเภอใจของศาล ศาลมิได้สร้างกฎหมายขึ้นมาใช้เอง แต่การยอมรับ หลักกฎหมายทั่วไปของศาลเป็นการนําเอาความเชื่อ ความเห็นของส่วนรวมอันเป็นหลักการ พื้นฐานของระบบการเมืองการปกครองและรากฐานของระบบกฎหมายในสังคมนั้น ๆ มาพัฒนา เป็นหลักกฎหมายทั่วไปเพื่อใช้บังคับกับคดีที่เกิดขึ้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ศาลเป็นผู้นํา หลักอันเป็นนามธรรมมาใช้เป็นหลักที่เป็นรูปธรรมนั่นเอง

11. ข้อใดเป็นรูปแบบของการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(1) ไม่สุจริต
(2) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญที่กําหนดไว้สําหรับการนั้น
(3) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 110 – 112 รูปแบบของการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีดังนี้
1. การกระทําที่ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
2. การกระทําที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญที่กําหนดไว้ สําหรับการนั้น
3. การกระทําที่ไม่สุจริต
4. การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
5. การกระทําที่เป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นหรือการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชน เกินสมควร
6. การกระทําที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ

12. กรณีการเลือกรับเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาของรัฐ โดยอาศัยจํานวนเงินบริจาคเป็นเกณฑ์ เป็นการกระทํา ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในรูปแบบใด
(1) การไม่สุจริต
(2) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(3) เป็นการไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(4) เป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นหรือการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร
(5) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้สําหรับการนั้น
ตอบ 2 หน้า 112 การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม เป็นกรณีของการปฏิบัติที่ขัดต่อ หลักความเสมอภาค มีความลําเอียง มีอคติหรือใช้ความแตกต่างกันในเรื่องถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนา ภาษา เพศ สภาพร่างกาย หรือความคิดเห็นทางการเมืองมาเป็นเกณฑ์ ในการปฏิบัติที่แตกต่างกันแก่บุคคลในฐานะและข้อเท็จจริงเดียวกัน เช่น
– กรณีการเลือกรับเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาของรัฐ โดยอาศัยจํานวนเงินบริจาคเป็นเกณฑ์
– กรณีของการจัดซื้อจัดจ้าง การที่เจ้าหน้าที่ออกคําสั่งอนุมัติให้ทําสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกับผู้เสนอราคารายหนึ่งมีความเกี่ยวข้องเป็นญาติกัน

13. กรณีที่หน่วยงานของรัฐออกระเบียบให้ผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการในสถานที่ราชการต้องแต่งกายสุภาพ ด้วยการใส่สูทและผูกเนคไท เป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในรูปแบบใด
(1) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(2) เป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นหรือการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร
(3) เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
(4) เป็นการนอกเหนืออํานาจ
(5) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้
ตอบ 2 หน้า 112 กรณีที่หน่วยงานของรัฐออกระเบียบให้ผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการในสถานที่ราชการ ต้องแต่งกายสุภาพนั้น ไม่ถือเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ถ้าหน่วยงานของรัฐ ออกระเบียบให้ผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการดังกล่าวต้องใส่สูทและผูกเนคไทด้วย ระเบียบดังกล่าว ย่อมเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นหรือการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควรซึ่งถือเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

14. ข้อใดเป็นการกระทําที่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(1) การปฏิบัติที่ใช้ความแตกต่างกันในเรื่องถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนามาเป็นเกณฑ์ ในการปฏิบัติที่แตกต่างกันแก่บุคคลในฐานะและข้อเท็จจริงเดียวกัน
(2) การปฏิบัติที่ใช้ความแตกต่างกันในเรื่องภาษา เพศ สภาพร่างกายมาเป็นเกณฑ์ในการปฏิบัติ ที่แตกต่างกันแก่บุคคลในฐานะและข้อเท็จจริงเดียวกัน
(3) การปฏิบัติที่ใช้ความแตกต่างกันในเรื่องความคิดเห็นทางการเมืองมาเป็นเกณฑ์ในการปฏิบัติที่แตกต่างกันแก่บุคคลในฐานะและข้อเท็จจริงเดียวกัน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

15. การที่หน่วยงานของรัฐออกระเบียบกําหนดให้ผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการต้องแต่งกายสุภาพ เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
(1) เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นให้เกิดกับประชาชนเกินควร
(2) เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเป็นการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินควร
(3) เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเป็นการกระทําที่ไม่มีอํานาจหรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ไม่เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

16. กรณีการลงโทษทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงแก่ข้าราชการ ซึ่งผู้บังคับบัญชาสามารถเลือกได้ว่าจะลงโทษ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน แต่ผู้บังคับบัญชากลับเลือกโทษที่สูงที่สุด เพราะมีอคติต่อ ข้าราชการผู้นั้น เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในลักษณะใด
(1) เป็นการกระทําที่ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(2) เป็นการกระทําที่ไม่สุจริต
(3) เป็นการกระทําที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
(4) เป็นการกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(5) เป็นการกระทําที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้สําหรับการนั้น ตอบ 3 หน้า 112 – 113 การกระทําที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ อาจเกิดจากการที่เจ้าหน้าที่ ของรัฐมีอํานาจดุลพินิจ (Discretionary Power) ตามที่กฎหมายได้บัญญัติให้อํานาจไว้ แต่ใช้ อํานาจดุลพินิจนั้นไปในทางที่มิชอบด้วยกฎหมายหรือไม่มีเหตุอันสมควร เช่น กรณีการลงโทษ ทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงแก่ข้าราชการ ซึ่งผู้บังคับบัญชาสามารถเลือกได้ว่าจะลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน แต่ผู้บังคับบัญชากลับเลือกโทษที่สูงที่สุด เพราะมีอคติต่อ ข้าราชการผู้นั้น เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 17. – 21. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) หลักความได้สัดส่วน
(2) หลักความเสมอภาค
(3) หลักความเป็นกลาง
(4) หลักการฟังความอีกฝ่ายหนึ่ง
(5) หลักเอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง

17. “บังคับให้องค์กรของรัฐฝ่ายปกครองกําหนดมาตรการที่สามารถดําเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ให้อํานาจได้จริงในการปฏิบัติ แต่ในขณะเดียวกันก็ก่อความเสียหายแก่ประชาชนน้อยที่สุด”
ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทางปฏิบัติราชการตามหลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
ตอบ 1 หน้า 117 หลักความได้สัดส่วน เป็นหลักการที่บังคับให้องค์กรของรัฐฝ่ายปกครองกําหนดมาตรการที่สามารถดําเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ให้อํานาจได้จริงในการปฏิบัติแต่ในขณะเดียวกันก็ก่อความเสียหายแก่ประชาชนน้อยที่สุด และห้ามมิให้ฝ่ายปกครองออก มาตรการใด ๆ ซึ่งหากได้ลงมือ บังคับใช้แล้วจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่มหาชนน้อยมาก ไม่คุ้ม กับความเสียหายที่จะตกแก่ประชาชนและสังคมโดยส่วนรวม

18. “เป็นอํานาจพิเศษของฝ่ายปกครองที่มีเหนือเอกชน ใช้เพื่อประโยชน์ในการจัดทําบริการสาธารณะ”ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทางปฏิบัติราชการตามหลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
ตอบ 5 หน้า 127 หลักเอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง เป็นเครื่องมือทางกฎหมายมหาชนที่กําหนดให้นิติบุคคลซึ่งจัดทําหรือกํากับดูแลการจัดทําบริการสาธารณะมีอํานาจพิเศษที่แตกต่างไปจากวิธีการทางกฎหมายเอกชน ซึ่งเรียกกันว่า อํานาจพิเศษของฝ่ายปกครอง หรือเอกสิทธิ์ของ ฝ่ายปกครอง ซึ่งเป็นอํานาจฝ่ายเดียวของฝ่ายปกครองที่มีเหนือเอกชน ใช้เพื่อประโยชน์ในการจัดทําบริการสาธารณะ

19. “ความเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของผู้มีอํานาจทําการพิจารณาเพื่อออกคําสั่งทางปกครองหรือลงมติใด ๆเป็นหลักประกันความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง โดยมีเหตุผลรองรับความเชื่อมั่น ในกระบวนการพิจารณาและวินิจฉัยทางปกครอง” ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทางปฏิบัติราชการตาม
หลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
ตอบ 3 หน้า 122 – 123 หลักความเป็นกลาง หรือความเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของผู้มีอํานาจทําการ พิจารณาเพื่อออกคําสั่งทางปกครองหรือลงมติใด ๆ เป็นหลักประกันความเชื่อมั่นของประชาชน ที่มีต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง โดยมีเหตุผลรองรับความเชื่อมั่นในกระบวนการพิจารณาและ วินิจฉัยทางปกครอง

20. “บุคคลทุกคนที่อยู่ในสถานะเท่าเทียมกันที่จะได้รับหรือได้ใช้บริการสาธารณะอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว จะต้องได้รับการปฏิบัติเหมือน ๆ กัน หรือ การไม่เลือกปฏิบัตินั่นเอง” ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทาง ปฏิบัติราชการตามหลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
ตอบ 2 หน้า 118 เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์ อธิบายว่า ในระบบกฎหมายของฝรั่งเศส หลักความ เสมอภาคปรากฏเป็นที่ยอมรับ และผูกพันองค์กรของรัฐในอันที่จะต้องเคารพและปฏิบัติ อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ กล่าวโดยเฉพาะในเรื่องความเสมอภาคในการได้รับบริการสาธารณะแล้ว ย่อมหมายความว่า บุคคลทุกคนที่อยู่ในสถานะเท่าเทียมกันที่จะได้รับหรือได้ใช้บริการสาธารณะ อย่างหนึ่งอย่างใดแล้วจะต้องได้รับการปฏิบัติเหมือน ๆ กัน หรือ “การไม่เลือกปฏิบัติ” นั่นเอง

21. “เป็นหลักการที่ให้สิทธิแก่บุคคลที่จะปกป้องนิติฐานะของตนจากการใช้อํานาจออกคําวินิจฉัยสั่งการของ
เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง” ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทางปฏิบัติราชการตามหลักกฎหมายทั่วไปหลักใด

ตอบ 4 หน้า 123 หลักการฟังความอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นหลักการที่ให้สิทธิแก่บุคคลที่จะปกป้องนิติฐานะของตนจากการใช้อํานาจออกคําวินิจฉัยสั่งการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง โดยผลบังคับของหลักการนี้มีอยู่ว่า ก่อนที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะตัดสินใจใช้อํานาจออกคําวินิจฉัยสั่งการที่อาจจะมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือประโยชน์อันชอบธรรมของบุคคลใด เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะต้องแจ้งข้อเท็จจริงที่ตนจะใช้เป็นเหตุผลในการออกคําวินิจฉัยสั่งการให้บุคคลนั้นทราบและ ให้เขามีโอกาสโต้แย้งข้อเท็จจริงนั้นและแสดงพยานหลักฐานสนับสนุนข้อโค้งแย้งของตน

22. “เป็นหลักเกณฑ์ที่ช่วยให้การจัดทําบริการสาธารณะเป็นไปตามเจตนารมณ์ของฝ่ายปกครองหรือมีประสิทธิภาพสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายให้ประชาชนอยู่อย่างเป็นสุขและอยู่ดีกินดี” ข้อความนี้ตรงกับหลักเกณฑ์สําคัญในการจัดทําบริการสาธารณะหลักใด
(1) หลักความเป็นกลางของบริการสาธารณะ
(2) หลักการให้เปล่าของบริการสาธารณะ
(3) หลักความโปร่งใสของบริการสาธารณะ
(4) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 152 – 153 หลักเกณฑ์สําคัญในการจัดทําบริการสาธารณะ เป็นหลักเกณฑ์ที่ช่วยให้ การจัดทําบริการสาธารณะเป็นไปตามเจตนารมณ์ของฝ่ายปกครองหรือมีประสิทธิภาพ สามารถบรรลุจุดมุ่งหมายให้ประชาชนอยู่อย่างเป็นสุขและอยู่ดีกินดี ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวประกอบด้วย
1. หลักความเป็นกลางของบริการสาธารณะ
2. หลักการให้เปล่าของบริการสาธารณะ
3. หลักความโปร่งใสของบริการสาธารณะ
4. หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
5. หลักเฉพาะที่แท้จริงของกฎหมายเกี่ยวกับบริการสาธารณะ

23.“ฝ่ายปกครองหรือหน่วยงานที่จัดทําบริการสาธารณะไม่ว่าจะเป็นการจัดบริการสาธารณะประเภทใด จําเป็น ต้องมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมาเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก มีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบได้” ข้อความนี้ตรงกับหลักเกณฑ์สําคัญในการจัดทําบริการสาธารณะหลักใด
(1) หลักความเป็นกลางของบริการสาธารณะ
(2) หลักการให้เปล่าของบริการสาธารณะ
(3) หลักความโปร่งใสของบริการสาธารณะ
(4) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
(5) หลักเฉพาะที่แท้จริงของกฎหมายเกี่ยวกับบริการสาธารณะ
ตอบ 3 หน้า 153 หลักความโปร่งใสของบริการสาธารณะ หมายถึง ฝ่ายปกครองหรือหน่วยงาน ที่จัดทําบริการสาธารณะไม่ว่าจะเป็นการจัดบริการสาธารณะประเภทใด จําเป็นต้องมีการ เปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมาเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบได้

24. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการได้มาซึ่งทรัพย์สินในการดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะของฝ่ายปกครอง
(1) การได้มาซึ่งทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแพ่ง
(2) การได้มาซึ่งทรัพย์สินด้วยการเวนคืนเพื่อประโยชน์สาธารณะ
(3) การได้มาซึ่งทรัพย์สินด้วยวิธีการยึด
(4) การได้มาซึ่งทรัพย์สินด้วยการโอนกิจการเป็นของรัฐ
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 5 หน้า 40 การได้มาซึ่งทรัพย์สินในการดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะของฝ่ายปกครอง มี 2 วิธี คือ
1. การได้มาซึ่งทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแพ่ง
2. การได้มาซึ่งทรัพย์สินด้วยวิธีพิเศษ ซึ่งมี 3 กรณี คือ การเวนคืนเพื่อประโยชน์สาธารณะ การโอนกิจการเป็นของรัฐ และด้วยวิธีการยึด

25. ข้อใดเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดทําบริการสาธารณะ
(1) มาตรการทางกฎหมาย
(2) อํานาจพิเศษของฝ่ายปกครอง
(3) บุคลากรของรัฐ
(4) ทรัพย์สินในการดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 40 ฝ่ายปกครองมีเครื่องมือที่ใช้ในการจัดทําบริการสาธารณะ 4 ประการ คือ
1. มาตรการทางกฎหมาย
2. บุคลากรของรัฐ
3. ทรัพย์สินในการดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะ
4. อํานาจพิเศษของฝ่ายปกครอง

26. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับหลักนิติรัฐ
(1) นิติรัฐเป็นรัฐที่ปกครองโดยกฎหมาย
(2) การกระทําทั้งหลายขององค์กรรัฐฝ่ายบริหารจะต้องชอบด้วยกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร
(3) กฎหมายที่องค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติตราขึ้นต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
(4) ข้อ 1 และ 2 ผิด
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 4 หน้า 42, (คําบรรยาย) การกล่าวว่านิติรัฐเป็นรัฐที่ปกครองโดยกฎหมายอาจจะนําไปสู่ ความเข้าใจผิดได้เพราะเป็นการมองแบบแคบ ๆ โดยในทางเนื้อหานั้น คือ เป็นนิติรัฐที่เป็น เสรีนิยม คํานึงถึงความยุติธรรม ส่วนรัฐที่สนใจแต่เพียงกฎหมายในทางรูปแบบ ฝ่ายปกครอง จะผูกพันตนต่อกฎหมาย ไม่สนใจว่ากฎหมายนั้นจะถูกต้องเป็นธรรมหรือไม่ (ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ)

27. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดเงื่อนไข หลักเกณฑ์และวิธีการในการใช้อํานาจโดยองค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐ
(2) กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดให้องค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐมีอํานาจมหาชนที่จะกําหนดกฎเกณฑ์หรือออกคําสั่งให้เอกชนต้องปฏิบัติตามได้ โดยไม่จําเป็นต้องอาศัยความสมัครใจ
หรือความยินยอมจากเอกชน
(3) กฎหมายปกครองที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรของรัฐในทางบริหาร ใช้หลักการกระจายอํานาจ โดยกําหนด ให้มีองค์กรในรูปแบบส่วนราชการ ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 64 – 65 ชาญชัย แสวงศักดิ์ อธิบายว่า กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่มีเนื้อหาแยกได้เป็น 3 ส่วน คือ
1. กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรของรัฐและบุคลากรของรัฐในทาง บริหาร ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการบริหารรัฐกิจหรือรัฐประศาสนศาสตร์และการบริหารงาน บุคคลภาครัฐ เช่น กฎหมายปกครองที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรของรัฐในทางบริหารโดยใช้ หลักการรวมอํานาจ โดยกําหนดให้มีองค์กรในรูปแบบส่วนราชการ ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม
2. กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดให้องค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐมีอํานาจมหาชนที่จะกําหนดกฎเกณฑ์หรือออกคําสั่งให้เอกชนต้องปฏิบัติตามได้ โดยไม่จําเป็นต้องอาศัยความสมัครใจหรือความยินยอมจากเอกชน
3. กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดเงื่อนไข หลักเกณฑ์และวิธีการในการใช้อํานาจ โดยองค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐ

28.ข้อใดเป็นการกระทําทางปกครอง
(1) การที่รัฐมีมาตรการต่าง ๆ มีคําสั่งหรือวางกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในสังคม ทําให้ประชาชนผู้รับคําสั่ง ต้องปฏิบัติตาม
(2) การที่รัฐให้ทุนการศึกษา ซึ่งถือเป็นคุณประโยชน์แก่ประชาชน
(3) การที่รัฐตัดถนน สร้างสนามบิน คลองส่งน้ํา
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ทุกข้อเป็นการกระทําทางปกครอง
ตอบ 5 หน้า 74 กมลชัย รัตนสกาววงศ์ อธิบายว่า การกระทําทางปกครอง คือ
1. การกระทําที่รัฐเข้าไปกระทบสิทธิเสรีภาพและทรัพย์สินของประชาชน เช่น มีมาตรการต่าง ๆ มีคําสั่งหรือวางกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในสังคม ทําให้ประชาชนผู้รับคําสั่งนั้น ๆ จะต้องปฏิบัติตาม
2. มีการกระทําบางอย่างที่ให้คุณประโยชน์แก่ประชาชน เช่น การให้เงินช่วยเหลือผู้ประสบ อุบัติเหตุ ให้ทุนการศึกษา หรือให้เงินเพื่อการศึกษา เป็นต้น
3. การกระทําทางปกครองในลักษณะการวางแผน เช่น การตัดถนน สร้างสนามบิน คลองส่งน้ำ สร้างทางด่วน ซึ่งมีลักษณะเป็นทั้งการกระทบสิทธิและให้คุณประโยชน์แก่ประชาชน

29. ข้อใดไม่เป็นการกระทําทางปกครอง
(1) การที่สภาทนายความออกคําสั่งเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพว่าความ
(2) การที่เจ้าหน้าที่มีคําสั่งไม่อนุญาตตามคําขอ
(3) การที่แพทยสภาออกคําสั่งเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพแพทย์
(4) เฉพาะข้อ 1 และ 3 ที่ไม่เป็นการกระทําทางปกครอง
(5) ไม่มี เพราะทุกข้อเป็นการกระทําทางปกครอง
ตอบ 5 หน้า 74 – 75 มานิตย์ จุมปา) อธิบายว่า การกระทําทางปกครอง หมายถึง
1. การกระทําของรัฐที่ไม่ใช่การกระทําทางนิติบัญญัติ การกระทําทางตุลาการหรือการกระทํา ทางรัฐบาล และ

2. การกระทําของรัฐนั้นมีลักษณะของการกระทําที่กําหนด ก่อ เปลี่ยนแปลง โอน หรือระงับ ซึ่งสิทธิและหน้าที่ของประชาชน ตัวอย่างการกระทําทางปกครอง เช่น
– การที่เจ้าหน้าที่มีคําสั่งไม่อนุญาตตามคําขอ
– การที่เจ้าหน้าที่ออกคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
– การที่แพทยสภาออกคําสั่งเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพแพทย์
– การที่สภาทนายความออกคําสั่งเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพว่าความ

30. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะการกระทําทางปกครอง
(1) การกระทําทางปกครองเป็นการกระทําของรัฐ ไม่ใช่การกระทําของเอกชน
(2) การกระทําทางปกครองต้องเป็นการกระทําของรัฐที่กระทําโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารประเภทองค์กรฝ่ายปกครอง
(3) การกระทําทางปกครองต้องเป็นการกระทําของรัฐที่กระทําโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติหรือองค์กรฝ่ายตุลาการ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 75 นัยนา เกิดวิชัย อธิบายว่า การกระทําทางปกครองมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. การกระทําทางปกครองเป็นการกระทําของรัฐ ไม่ใช่การกระทําของเอกชน
2. การกระทําทางปกครองต้องเป็นการกระทําของรัฐที่กระทําโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารไม่ใช่องค์กรฝ่ายนิติบัญญัติหรือองค์กรฝ่ายตุลาการ
3. การกระทําทางปกครองต้องเป็นการกระทําของรัฐที่กระทําโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารประเภทองค์กรฝ่ายปกครอง
4. มีลักษณะเป็นการกําหนดสิทธิหน้าที่ของประชาชน ให้เปลี่ยนแปลงหรือระงับซึ่งสิทธิ

31. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
(1) สิทธิได้รับและทราบเหตุผลของฝ่ายปกครอง
(2) สิทธิได้รับการพิจารณาโดยเร็ว
(3) สิทธิที่จะมีที่ปรึกษาทางกฎหมาย
(4) สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสาร
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 102 – 104 สิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง มีดังนี้
1. สิทธิได้รับแจ้งผลกระทบต่อสิทธิ
2. สิทธิที่จะมีที่ปรึกษาทางกฎหมาย
3. สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสาร
4. สิทธิได้รับการพิจารณาโดยเร็ว และรับแจ้งสิทธิหน้าที่
5. สิทธิได้รับและรับทราบเหตุผลของฝ่ายปกครอง
6. สิทธิได้รับทราบถึงแนวทางหรือวิธีการโต้แย้งคําสั่งทางปกครอง

32. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
(1) สิทธิได้รับแจ้งผลกระทบต่อสิทธิทุกกรณี
(2) สิทธิได้รับและทราบเหตุผลของฝ่ายปกครอง
(3) สิทธิได้รับการพิจารณาโดยเร็ว
(4) สิทธิที่จะมีที่ปรึกษาทางกฎหมาย
(5) สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสาร
ตอบ 1 หน้า 102 – 103 ในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครองได้กําหนดให้คู่กรณีมีสิทธิได้รับแจ้ง ผลกระทบต่อสิทธิ แต่ไม่ทุกกรณี กล่าวคือ ในกรณีที่คําสั่งทางปกครองอาจจะกระทบถึง สิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน แต่มิให้นํามาใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้
1. เมื่อมีความจําเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง
2. เมื่อจะมีผลทําให้ระยะเวลาที่กฎหมายหรือกฎกําหนดไว้ในการทําคําสั่งทางปกครองต้อง ล่าช้าออกไป
3. เมื่อเป็นมาตรการบังคับทางปกครอง ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ)

33. ข้อใดผิดเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
(1) สิทธิได้รับแจ้งผลกระทบต่อสิทธิทุกกรณี
(2) สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสารแม้ยังไม่ได้ทําคําสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น
(3) เจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็นกรณีต้องรักษาไว้เป็นความลับ
(4) ผิดเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ผิดเฉพาะข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 103 ในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครองได้กําหนดให้คู่กรณีมีสิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริง หรือตรวจดูเอกสารได้ โดยคู่กรณีมีสิทธิตรวจดูเอกสารที่จําเป็นต้องรู้เพื่อการโต้แย้งหรือชี้แจง หรือป้องกันสิทธิของตนได้ แต่ถ้ายังไม่ได้ทําคําสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น คู่กรณีก็ไม่มีสิทธิ ตรวจดูเอกสาร และเจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็น กรณีต้องรักษาไว้เป็นความลับ (ดูคําอธิบายข้อ 31. และ 32. ประกอบ)

34. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
(1) สิทธิได้รับแจ้งผลกระทบต่อสิทธิทุกกรณี
(2) สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสารแม้ยังไม่ได้ทําคําสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น
(3) เจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็นกรณีต้องรักษาไว้เป็นความลับ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 31. — 33. ประกอบ

35. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
(1) คู่กรณีไม่มีสิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสาร ถ้ายังไม่ได้ทําคําสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น
(2) เจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็นกรณีต้องรักษาไว้เป็นความลับ
(3) คู่กรณีมีสิทธินําทนายหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 103 ในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครองได้กําหนดให้คู่กรณีมีสิทธิที่จะมีที่ปรึกษาทางกฎหมายได้ กล่าวคือ ในการพิจารณาทางปกครองที่คู่กรณีต้องมาปรากฏตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่คู่กรณีมีสิทธินําทนายความหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้ ซึ่งการใด ที่ทนายความหรือที่ปรึกษาได้ทําลงต่อหน้าคู่กรณีให้ถือว่าเป็นการกระทําของคู่กรณี เว้นแต่ คู่กรณีจะได้คัดค้านเสียแต่ในขณะนั้น (ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ)

36. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับข้อยกเว้นของผู้รับคําสั่งทางปกครองที่จะอ้างความเชื่อโดยสุจริตไม่ได้
(1) บุคคลผู้มีพฤติกรรมได้ให้ข้อความซึ่งไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนในสาระสําคัญต้องรับผิดคืนประโยชน์ที่ได้รับเต็มจํานวน
(2) บุคคลผู้มีพฤติกรรมแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง
(3) บุคคลผู้มีพฤติกรรมข่มขู่ หรือชักจูงใจ โดยการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่มิชอบด้วยกฎหมาย
(4) บุคคลผู้มีพฤติกรรมรู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของกฎหรือคําสั่งทางปกครองในขณะที่ได้รับคําสั่ง ทางปกครอง หรือการไม่รู้นั้นเป็นไปโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 115 ในกรณีดังต่อไปนี้ผู้รับคําสั่งทางปกครองจะอ้างความเชื่อโดยสุจริตไม่ได้ และจะต้องรับผิดคืนประโยชน์ที่ได้รับเต็มจํานวน
1. แสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง หรือข่มขู่ หรือชักจูงใจโดยการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่มิชอบด้วยกฎหมาย
2.ได้ให้ข้อความซึ่งไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนในสาระสําคัญ
3. รู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของกฎหรือคําสั่งทางปกครองในขณะที่ได้รับคําสั่งทางปกครองหรือการไม่รู้นั้นเป็นไปโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

37. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับหลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(1) หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะให้มีผลย้อนหลังไม่ได้
(2) หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะมีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังก็ได้แต่ให้มีผลในอนาคตไม่ได้
(3) หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะมีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังก็ได้ แต่ให้มีผลในอนาคตไม่ได้
(4) หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลัง หรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กฎหมายกําหนดได้
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 หน้า 114 หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีดังนี้
1. การเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่เป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วนโดยจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลัง หรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กฎหมายกําหนดได้
2. การเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่เป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครอง เจ้าหน้าที่ หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลัง หรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กฎหมายกําหนดได้แต่กฎหมายก็อาจจะต้องไม่เพิกถอนคําสั่งทางปกครองย้อนหลังลบล้างคําสั่งนั้น แต่หาก จําเป็นต้องเพิกถอนให้มีผลย้อนหลังก็จะต้องกําหนดวิธีการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น

38. ข้อใดเป็นคําสั่งทางปกครอง
(1) คําสั่งรับหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
(2) คําสั่งของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิเสธไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
(3) คําสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านในสวัสดิการของข้าราชการ
(4) คําสั่งเลื่อนขั้นในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 100 – 101 ฤทัย หงส์ศิริ อธิบายว่า ที่เรียกเป็นภาษากฎหมายว่า “คําสั่งทางปกครอง”มีตัวอย่างพอสรุปได้ดังนี้
1. คําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ประกอบกิจการต่าง ๆ เช่น คําสั่งไม่ออกใบอนุญาตให้ ประกอบกิจการโรงงาน สถานบริการ เป็นต้น
2. คําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร หรือให้รื้อถอนอาคารที่มีลักษณะ เป็นอันตรายต่อสาธารณชนตามกฎหมายควบคุมอาคาร
3. คําสั่งของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิเสธไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
4. คําสั่งรับหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
5. คําสั่งทางปกครองที่มีผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเป็นการส่วนตัว เช่น
– คําสั่งที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการ เช่น คําสั่งแต่งตั้ง เลื่อนขั้นตําแหน่ง คําสั่งลงโทษทางวินัย คําสั่งพักราชการในระหว่างสอบสวนทางวินัย เป็นต้น
– คําสั่งเกี่ยวกับสวัสดิการของข้าราชการ เช่น คําสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้าน ค่ารักษา พยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร เป็นต้น

39. ข้อใดเป็นคําสั่งทางปกครอง
(1) คําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร หรือให้รื้อถอนอาคารที่มีลักษณะเป็นอันตรายต่อสาธารณชนตามกฎหมายควบคุมอาคาร
(2) คําสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่ารักษาพยาบาล
(3) คําสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้าน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 38. ประกอบ

40. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยหลักกฎหมายและกําหนดให้เป็นผู้มีอํานาจในการออกคําสั่งทางปกครองสามารถริเริ่มใช้อํานาจในการออกคําสั่งได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีผู้มาร้องขอ
(2) เจ้าหน้าที่จะริเริ่มออกคําสั่งทางปกครองได้ก็ต่อเมื่อมีประชาชนหรือเอกชนมาร้องขอเสียก่อนจึงดําเนินการได้
(3) ผู้บังคับบัญชาพบว่าผู้ใต้บังคับบัญชาทําผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการลงโทษทางวินัยได้ทันที โดยไม่ต้องมีผู้ใดมาร้องเรียนกล่าวโทษ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 101 โดยหลักแล้วเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยหลักกฎหมายและกําหนดให้เป็นผู้มีอํานาจในการออกคําสั่งทางปกครอง สามารถริเริ่มใช้อํานาจในการออกคําสั่งได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องมีผู้มาร้องขอ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีกฎหมายกําหนดอํานาจหน้าที่ให้อยู่แล้ว เช่น กรณี ผู้บังคับบัญชาพบว่าผู้ใต้บังคับบัญชาทําผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการลงโทษทางวินัย ได้ทันทีโดยไม่ต้องมีผู้ใดมาร้องเรียนกล่าวโทษ แต่ในบางกรณีเจ้าหน้าที่จะริเริ่มออกคําสั่งทาง ปกครองได้ก็ต่อเมื่อมีประชาชน หรือเอกชนมาร้องขอเสียก่อนจึงดําเนินการได้ เช่น ในเรื่องของ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับจดทะเบียน การรับรอง การอนุมัติ การออกใบอนุญาตต่าง ๆ เช่น ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ใบอนุญาตจัดตั้งสถานบริการ เป็นต้น

41. คําสั่งทางปกครองที่ทําเป็นหนังสือและยืนยันคําสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องให้มีเหตุผลไว้ด้วยโดยอย่างน้อยต้องมีองค์ประกอบใดเป็นเหตุผลบ้าง
(1) ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญ
(2) ข้อกฎหมายที่อ้างอิง
(3) ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 103 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 3 กําหนดว่า คําสั่งทางปกครองที่ทําเป็นหนังสือและยืนยันคําสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
1. ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญ
2. ข้อกฎหมายที่อ้างอิง
3. ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ

42. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) คําสั่งทางปกครองจะต้องทําเป็นหนังสือเท่านั้น
(2) คําสั่งทางปกครองจะทําด้วยวาจาได้
(3) คําสั่งทางปกครองจะทําเป็นรูปแบบอื่นก็ได้ นอกเหนือจากเป็นหนังสือ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 104 คําสั่งทางปกครองจะทําเป็นหนังสือ หรือทําด้วยวาจา หรือโดยรูปแบบอื่นก็ได้ กฎหมายบางฉบับระบุไว้ชัดเจนว่าต้องทําคําสั่งในเรื่องนั้นเป็นหนังสือ แต่ถ้ากฎหมายไม่ระบุไว้ เจ้าหน้าที่ย่อมมีสิทธิจะเลือกทําคําสั่งในรูปแบบใดก็ได้ โดยขึ้นอยู่กับการตัดสินใจอันเป็นความ รับผิดชอบของเจ้าหน้าที่นั้นเอง โดยต้องพิจารณาจากความเร่งด่วนและความจําเป็นของสถานการณ์เป็นสําคัญ

43. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับรูปแบบคําสั่งทางปกครอง
(1) คําสั่งทางปกครองที่กฎหมายกําหนดให้ทําเป็นหนังสือ หากไม่ทํา คําสั่งนั้นย่อมเป็นโมฆะไม่มีผลทางกฎหมาย
(2) คําสั่งทางปกครองที่สั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคําสั่งร้องขอ และการร้องขอได้กระทําโดยมีเหตุอันควร ต้องกระทําภายใน 14 วันนับแต่วันที่ทําคําสั่ง
(3) คําสั่งทางปกครองที่สื่อความหมายในรูปแบบอื่น ต้องมีข้อความหรือความหมายที่ชัดเจนเพียงพอ ที่จะเข้าใจได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3

ตอบ 5 หน้า 104 – 105 คําสั่งทางปกครองที่กฎหมายกําหนดให้ทําเป็นหนังสือ หากไม่ทําเป็นหนังสือ ย่อมขัดต่อกฎหมายอย่างชัดเจน และคําสั่งนั้นย่อมเป็นโมฆะไม่มีผลทางกฎหมาย ส่วนคําสั่ง ทางปกครองที่สั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคําสั่งนั้นร้องขอ และการร้องขอได้กระทําโดยมีเหตุอันสมควร ต้องกระทําภายใน 7 วันนับแต่วันที่ทําคําสั่ง และคําสั่งทางปกครองที่สื่อความหมายในรูปแบบอื่น ต้องมีข้อความหรือความหมายที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้

44. ข้อใดผิด
(1) คําสั่งทางปกครองที่สั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคําสั่งร้องขอ และการร้องขอได้กระทําโดยมีเหตุอันควร ต้องกระทําภายใน 7 วันนับแต่วันที่ทําคําสั่ง
(2) คําสั่งทางปกครองเริ่มมีผลบังคับทันทีเมื่อเจ้าหน้าที่ออกคําสั่ง
(3) คําสั่งทางปกครองที่กฎหมายกําหนดให้ทําเป็นหนังสือ หากไม่ทํา คําสั่งนั้นย่อมเป็นโมฆะไม่มีผลทางกฎหมาย
(4) ข้อ 1 และ 3 ผิด
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 106 คําสั่งทางปกครองเริ่มมีผลบังคับเมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ออกคําสั่งนั้นได้แจ้งคําสั่งทางปกครองนั้นแก่ผู้รับคําสั่งทางปาครองให้ทราบ และมีผลบังคับตราบเท่าที่ยังไม่มีการยกเลิกหรือ เพิกถอน หรือสิ้นผลโดยเงื่อนไขของระยะเวลาหรือโดยเหตุอื่น (ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ)

45. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะของประโยชน์สาธารณะ
(1)ประโยชน์สาธารณะ คือ การดําเนินการของรัฐเพื่อตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ในสังคม มิใช่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ดําเนินการนั้นเอง
(2) เรื่องใดที่ผ่านการพิจารณาและเห็นชอบของรัฐบาลแล้ว ย่อมถือว่าเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกัน ของประชาชนด้วย ดังนั้นหากรัฐบาลได้ตรากฎหมายให้รัฐหรือหน่วยงานของรัฐมีอํานาจดําเนินการในเรื่องใด เรื่องนั้นก็คือความต้องการของคนส่วนใหญ่หรือเป็นประโยชน์สาธารณะ
(3) ประโยชน์สาธารณะเป็นเรื่องที่ฝ่ายปกครองมีหน้าที่ต้องดําเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการของ สังคม จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจเลือกว่าจะกระทําหรือไม่กระทําได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 หน้า 144 – 145 ลักษณะของประโยชน์สาธารณะ สามารถแยกได้เป็น 3 ประการ ดังนี้
1. ประโยชน์สาธารณะ คือ การดําเนินการของรัฐเพื่อตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ ในสังคม มิใช่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ดําเนินการนั้นเอง
2. ในระบอบประชาธิปไตยเรื่องใดที่ผ่านการพิจารณาและเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ย่อมถือว่าเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาชนด้วย ดังนั้นหากรัฐสภาได้ตรากฎหมายให้รัฐ หรือหน่วยงานของรัฐมีอํานาจดําเนินการในเรื่องใด เรื่องนั้นก็คือความต้องการของคนส่วนใหญ่หรือเป็นประโยชน์สาธารณะ
3. ประโยชน์สาธารณะเป็นเรื่องที่ฝ่ายปกครองมีหน้าที่ต้องดําเนินการเพื่อตอบสนองความ ต้องการของสังคม จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจเลือกว่าจะกระทําหรือไม่กระทําได้

ตั้งแต่ข้อ 46. – 50. จงเลือกคําตอบที่มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาเหตุความไม่ชอบด้วยกฎหมายของกฎหรือคําสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง อนุมาตรา (1)
(1) ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(2) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้สําหรับการนั้น
(3) ไม่สุจริต
(4) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(5) การใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ

46. เกิดจากการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีอํานาจแบบ Discretionary Power ตามที่กฎหมายได้บัญญัติให้อํานาจไว้ แต่ใช้อํานาจ Discretionary Power ไปในทางที่มิชอบด้วยกฎหมายหรือไม่มีเหตุอันสมควร
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

47. กรณีของการจัดซื้อจัดจ้าง การที่เจ้าหน้าที่ออกคําสั่งอนุมัติให้ทําสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกับผู้เสนอราคารายหนึ่ง มีความเกี่ยวข้องเป็นญาติกัน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

48. เป็นการกระทําที่เป็นการบิดเบือนการใช้อํานาจ (Abuse of Power) โดยมีเจตนาหรือวัตถุประสงค์ นอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ที่กฎหมายให้อํานาจในเรื่องดังกล่าวไว้ ไม่ว่าจะมีเจตนากลั่นแกล้งผู้อื่น หรือเจตนาทุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือของบุคคลอื่น
ตอบ 3 หน้า 111 การกระทําที่ไม่สุจริต เป็นการกระทําที่เป็นการบิดเบือนการใช้อํานาจ (Abuse of Power) โดยมีเจตนาหรือวัตถุประสงค์นอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ที่กฎหมายให้อํานาจ ในเรื่องดังกล่าวไว้ ไม่ว่าจะมีเจตนากลั่นแกล้งผู้อื่น หรือเจตนาทุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของ เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือของบุคคลอื่น

49. การออกกฎหรือคําสั่งทางปกครองโดยมิได้ผ่านความเห็นชอบขององค์กรที่กฎหมายกําหนดให้ต้องให้ หรือการออกคําสั่งลงโทษหรือคําสั่งที่มีผลกระทบต่อสิทธิของคู่กรณี โดยไม่ให้โอกาสความเห็นชอบก่อนบุคคลนั้นได้ทราบถึงข้อเท็จจริงและใช้สิทธิโต้แย้งแสดงหลักฐานอย่างเพียงพอ
ตอบ 2 หน้า 111 การกระทําที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้สําหรับการนั้น คือ การออกกฎ หรือคําสั่งทางปกครองโดยมิได้ผ่านความเห็นชอบขององค์กรที่ กฎหมายกําหนดให้ต้องให้ความเห็นชอบก่อน หรือการออกคําสั่งลงโทษหรือคําสั่งที่มีผลกระทบต่อ
สิทธิของคู่กรณี โดยไม่ให้โอกาสบุคคลนั้นได้ทราบถึงข้อเท็จจริงและใช้สิทธิโต้แย้งแสดงหลักฐานอย่างเพียงพอ

50. ผู้กระทํามิใช่เจ้าหน้าที่ที่กฎหมายให้อํานาจไว้ หรือกฎหมายมิได้ให้อํานาจเจ้าหน้าที่ในการกระทําเช่นนั้นไว้
ตอบ 1 หน้า 110 การกระทําที่ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย คือ ผู้กระทํามิใช่เจ้าหน้าที่ที่กฎหมายให้อํานาจไว้ หรือกฎหมายมิได้ให้อํานาจเจ้าหน้าที่ในการกระทํา เช่นนั้นไว้ตามหลักทั่วไปของกฎหมายปกครองที่ว่า “ไม่มีอํานาจหากไม่มีกฎหมาย”

51. บริษัทประชารัฐรักสามัคคี ได้รับการอธิบายว่ามีลักษณะเป็นองค์กรประเภทใด
(1) บรรษัทภิบาล
(2) บรรษัทนิยม
(3) การบริหารงานภาครัฐ
(4) วิสาหกิจเพื่อสังคม
(5) รัฐวิสาหกิจ
ตอบ 4 หน้า 207 บริษัทประชารัฐรักสามัคคี ได้รับการอธิบายว่าเป็นการดําเนินการในรูปวิสาหกิจ เพื่อสังคม (Social Enterprise : SE)

52. อะไรคือแรงผลักดันสําคัญในทฤษฎีการยึดมั่นในหลักเหตุผล
(1) ผลประโยชน์สูงสุด
(2) ข้อมูลข่าวสาร
(3) กฎเกณฑ์ของสังคม
(4) ความเชื่อ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 หน้า 190 ทฤษฎีการยึดมั่นในหลักเหตุผล เป็นทฤษฎีที่วางอยู่บนหลักทางเลือกที่มีเหตุผล (Rational Choice) กล่าวคือ บุคคลมีเป้าหมายส่วนตัวที่จะเป็นเงื่อนไขผลักดันให้บุคคลตัดสินใจ ซึ่งจะต้องเลือกผลประโยชน์สูงสุด แต่ทฤษฎีนี้ได้ขยายความการเลือกอย่างมีเหตุผลดังกล่าวว่าบุคคลจะตัดสินใจอย่างมีเหตุผลโดยคํานึงผลประโยชน์สูงสุดแต่อยู่บนฐานข้อจํากัดในการประมวล ข้อมูลข่าวสาร การทําความเข้าใจสถานการณ์และการคิดถึงผลที่ตามมา ซึ่งเป็นผลจากศักยภาพ ของมนุษย์ ดังนั้นกระบวนการตัดสินใจของบุคคลจึงมีความซับซ้อนเพราะการคิดถึงเรื่องประโยชน์สูงสุดวางอยู่ภายใต้การประมวลข้อมูลข่าวสารที่ไม่สมบูรณ์

53. ข้อใดคือความหมายของ CSR
(1) ความรับผิดชอบของบริษัทเอกชนที่จะมีต่อสังคม
(2) ความรับผิดชอบของบริษัทเอกชนที่จะมีต่อผู้ถือหุ้น
(3) ความรับผิดชอบของภาครัฐที่จะมีต่อสังคม
(4) ความรับผิดชอบของภาครัฐที่จะมีต่อภาคเอกชน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 หน้า 209 CSR ย่อมาจาก Corporate Social Responsibility หมายถึง ความรับผิดชอบ ของบริษัทหรือองค์การภาคเอกชนที่จะมีส่วนในการรับผิดชอบต่อสังคม

54. โครงสร้างการบริหารปกครองแบบใดที่ใช้กฎหมายเป็นหลักสําคัญในการบริหารปกครอง
(1) แบบตลาด
(2) แบบสายบังคับบัญชา
(3) แบบเครือข่าย
(4) แบบถือหางเสือ
(5) แบบชุมชน
ตอบ 2 หน้า 172 โครงสร้างแบบสายบังคับบัญชา เป็นโครงสร้างที่ใช้กฎหมายเป็นหลักสําคัญ ในการบริหารปกครอง โดยภาครัฐและเอกชนจะแยกบทบาทหน้าที่กันอย่างชัดเจน รัฐจะ เป็นศูนย์กลางของการดูแลผลประโยชน์สาธารณะและกําหนดให้เอกชนดําเนินการตามบทบาทที่กําหนดโดยรัฐ ในโครงสร้างแบบนี้รัฐอาจลดบทบาทในการควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อให้เอกชนเข้ามาดําเนินการเพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่าภายใต้การควบคุมของรัฐแต่รัฐก็อ่อนแอกว่าภาคเอกชนทําให้ขาดประสิทธิภาพในการควบคุม ดังนั้นปัญหาสําคัญของโครงสร้างแบบนี้ก็คือ ความเปลี่ยนแปลงของบริบทสังคมและความต้องการที่หลากหลายของ คนในรัฐ รวมทั้งศักยภาพของรัฐทําให้รัฐไม่สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ รัฐจึงไม่สามารถบรรลุความสําเร็จในการพัฒนารัฐได้

55. ตัวแสดงทางเศรษฐกิจจะมีบทบาทมากในการชี้นําการแก้ปัญหาในโครงสร้างการบริหารปกครองแบบใด
(1) แบบตลาด
(2) แบบสายบังคับบัญชา
(3) แบบเครือข่าย
(4) แบบถือหางเสือ
(5) แบบชุมชน
ตอบ 1 หน้า 172, (คําบรรยาย) โครงสร้างแบบตลาด เป็นโครงสร้างที่มีตัวแสดงหลักเป็นตัวแสดง ทางเศรษฐกิจ โดยปัญหาในการพัฒนานั้นเกิดขึ้นจากธรรมชาติของตัวแสดงและตลาดซึ่งมีพลังขับเคลื่อนคือผลประโยชน์ส่วนตัว การมีกลไกให้ตัวแสดงทางเศรษฐกิจสามารถประสานความร่วมมือเพื่อจัดการปัญหาจึงเป็นลักษณะเด่นของโครงสร้างนี้ แต่ปัญหาสําคัญของโครงสร้างนี้คือ กลไกตลาดกับกลไกรัฐมีพลังขับเคลื่อนต่างกันอาจทําให้เกิดปัญหาความร่วมมือ

56. ข้อใดคือความสัมพันธ์ของอํานาจรัฐกับการบริหารปกครอง (Governance) ที่มุ่งจัดสรรบทบาทหน้าที่รัฐใหม่
(1) รัฐจะมีอํานาจมากขึ้นเมื่อตัวแสดงอื่น ๆ มีอํานาจน้อยลง
(2) ตัวแสดงภาคส่วนอื่นในสังคมมีอํานาจเหนือรัฐ
(3) ตัวแสดงภาคเศรษฐกิจมีบทบาทในนโยบายสาธารณะมากขึ้นโดยรัฐเป็นผู้ให้แนวทาง
(4) รัฐไม่ต้องรับผิดชอบดูแลเรื่องสาธารณะอีกต่อไป
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 หน้า 177, (คําบรรยาย) แนวคิดการบริหารปกครอง (Governance) เป็นแนวคิดที่มุ่งจัดสรร บทบาทหน้าที่รัฐใหม่เพื่อให้ตัวแสดงภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม เช่น ภาคเอกชน ประชาสังคม ตัวแสดงภาคเศรษฐกิจ ฯลฯ เข้ามามีบทบาทในนโยบายสาธารณะมากขึ้น โดยรัฐจะทําหน้าที่ กํากับหางเสือหรือเป็นผู้ให้แนวทางในการดําเนินนโยบายสาธารณะ

57. โครงสร้างการบริหารปกครองแบบใดไม่ต้องการให้รัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง
(1) แบบตลาด
(2) แบบสายบังคับบัญชา
(3) แบบเครือข่าย
(4) แบบถือหางเสือ
(5) แบบชุมชน
ตอบ 5 หน้า 172 โครงสร้างแบบชุมชน มีแนวคิดมาจากฐานความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม และเศรษฐกิจ รวมทั้งการมีผลประโยชน์ร่วมกัน ชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาของตัวเองและรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมของชุมชนได้โดยให้รัฐเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องให้น้อยที่สุด ดังนั้น การบริหารปกครองในโครงสร้างแบบนี้จึงอยู่ในแนวคิดของการไม่ต้องการให้รัฐมาเกี่ยวข้องแต่ต้องให้รัฐเปิดพื้นที่ให้เกิด

58. Panchayats คืออะไร
(1) กลุ่มชาวนาไร้ที่ทํากินของบราซิล
(2) รูปแบบการปกครองท้องถิ่นของอินเดีย
(3) กลุ่มชาวนาไร้ที่ทํากินของอินเดีย
(4) รูปแบบการปกครองท้องถิ่นของบราซิล
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 หน้า 203 ปัญจาญัติ (Panchayats) หรือสภาผู้เฒ่า คือ รูปแบบการปกครองท้องถิ่น ของอินเดียที่ประชาชนจะเลือกผู้อาวุโสของชุมชนตัวเองจํานวน 5 คนมาเป็นผู้พิจารณา ประเด็นสําคัญโดยเฉพาะในเรื่องการพัฒนาด้านต่าง ๆ ของชุมชน

59. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของวิสาหกิจเพื่อชุมชน
(1) นํากําไรร้อยละ 70 ไปลงทุนในกิจการของตัวเอง
(2) มีเป้าหมายทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
(3) มุ่งสร้างกําไรให้กับผู้ถือหุ้นเป็นสําคัญ
(4) มุ่งสร้างงานในท้องถิ่นเป็นสําคัญ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 213 วิสาหกิจเพื่อสังคม หรือวิสาหกิจเพื่อชุมชน คือ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการขายสินค้าหรือการให้บริการโดยมุ่งส่งเสริมการจ้างงานในท้องถิ่นที่วิสาหกิจเพื่อสังคมตั้งอยู่ หรือมีเป้าหมายในการจัดตั้ง ตั้งแต่แรกเริ่มในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน สังคม หรือสิ่งแวดล้อม โดยมิได้มุ่งสร้าง กําไรสูงสุดต่อผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนและนําผลกําไรไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ไปลงทุนใน กิจการของตนเอง หรือใช้เพื่อประโยชน์ของเกษตรกร ผู้ยากจน คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส หรือใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมอื่น ๆ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกําหนด

60. สิทธิใดต่อไปนี้ที่ไม่ถูกกําหนดในหลักธรรมาภิบาล
(1) สิทธิทางเศรษฐกิจ
(2) สิทธิทางสังคม
(3) สิทธิทางวัฒนธรรม
(4) สิทธิมนุษยชน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่ธนาคารโลกมีการกําหนดว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับประเด็น ทางการเมืองของประเทศผู้รับทุน ข้อห้ามนี้ทําให้ธนาคารโลกไม่พิจารณาเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่จะพิจารณาสิทธิทางด้านเศรษฐกิจ สิทธิทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นหัวใจในการให้ ความช่วยเหลือของธนาคารโลก

61. ธนาคารโลกกําหนดหลักธรรมาภิบาลให้ประเทศต่าง ๆ ปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความสําเร็จในเป้าหมายข้อใด
(1) การพัฒนาเศรษฐกิจ
(2) การพัฒนารัฐบาล
(3) การพัฒนาการเมือง
(4) การพัฒนาเสรีภาพ
(5) การพัฒนากฎหมาย
ตอบ 1 หน้า 171 ธนาคารโลกกําหนดหลักธรรมาภิบาลเป็นเงื่อนไขให้ประเทศต่าง ๆ ที่ขอรับการช่วยเหลือต้องปฏิบัติตาม ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยเหลือให้ประเทศเหล่านั้นผ่านพ้นกับดักการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาเศรษฐกิจได้

62.IMF คือข้อใด
(1) ธนาคารโลก
(2) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(3) กองทุนสํารองระหว่างประเทศ
(4) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(5) สํานักงานข้าราชการพลเรือน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF (International Monetary Fund) คือ องค์การระหว่างประเทศที่อยู่ภายใต้องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การที่มีบทบาทสําคัญในการให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่ประเทศต่าง ๆ ที่ประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจการเงิน

63. หลักธรรมาภิบาลสามารถเกื้อหนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยได้หรือไม่เพราะอะไร
(1) ได้ เพราะมีหลักการของการมีส่วนร่วม และหลักการนิติธรรม
(2) ได้ เพราะมีหลักการของการเคารพสิทธิมนุษยชน
(3) ไม่ได้ เพราะไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการปกครอง
(4) ไม่ได้ เพราะทําให้รัฐอ่อนแอลง
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักธรรมาภิบาลสามารถเกื้อหนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยได้ ทั้งนี้เพราะหลักธรรมาภิบาลมีหลักการที่สอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นหลักการมีส่วนร่วม “หลักการนิติธรรม หลักความโปร่งใส เป็นต้น

64. อะไรคือเหตุผลที่ทําให้หลักธรรมาภิบาลได้รับการยอมรับจากประเทศต่าง ๆ อย่างรวดเร็วเมื่อธนาคารโลกประกาศใช้
(1) ทุกประเทศเห็นความสําคัญ
(2) เพราะเป็นเงื่อนไขการได้รับเงินช่วยเหลือ
(3) เป็นระเบียบปฏิบัติระหว่างประเทศ
(4) ไม่มีข้อถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 17, (คําบรรยาย) เหตุผลที่ทําให้หลักธรรมาภิบาลได้รับการยอมรับจากประเทศต่าง ๆ อย่างรวดเร็วเมื่อธนาคารโลกประกาศใช้ เพราะหลักธรรมาภิบาลเป็นเงื่อนไขการได้รับเงิน ช่วยเหลือจากธนาคารโลก โดยเหตุผลที่ทําให้ธนาคารโลกต้องกําหนดหลักธรรมาภิบาลเป็น เงื่อนไขให้ประเทศต่าง ๆ ที่ขอรับการช่วยเหลือต้องปฏิบัติตามนั้น ก็เพื่อช่วยเหลือให้ประเทศ เหล่านั้นผ่านพ้นกับดักการพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาเศรษฐกิจได้

65. ข้อใดไม่ใช่ตัวชี้วัดบทบาทของรัฐที่มีการปกครองที่ดี
(1) ความโปร่งใส
(2) ความรับผิดชอบ
(3) การมีส่วนร่วม
(4) ความมีประสิทธิภาพ
(5) ความมีอํานาจ
ตอบ 5 หน้า 176, (คําบรรยาย) คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก แห่งสหประชาชาติ (UNESCAP) ได้เสนอตัวชี้วัดในการพัฒนาบทบาทของรัฐที่มีลักษณะ การปกครองที่ดีหรือธรรมาภิบาล 8 ประการ ได้แก่
1. การมีส่วนร่วม
2. การปกครองตามหลักกฎหมาย
3. ความโปร่งใส
4. ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
5. การตอบสนอง
6. ความรับผิดชอบ
7. การดึงเป็นแนวร่วมอย่างเท่าเทียม
8. ฉันทามติ

66. บริบทการบริหารปกครองข้อใดที่เป็นข้อห้ามสําหรับธนาคารโลกในการปฏิบัติงานกับประเทศต่าง ๆ
(1) พัฒนาศักยภาพรัฐบาล
(2) การก่อรูปและปฏิบัตินโยบาย
(3) รูปแบบการปกครอง
(4) กระบวนการในการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการพัฒนา
(5) การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ตอบ 3 หน้า 180, (คําบรรยาย) บริบทการบริหารปกครองที่เป็นข้อห้ามสําหรับธนาคารโลก ในการปฏิบัติงานกับประเทศต่าง ๆ ก็คือ เรื่องของรูปแบบการปกครอง เพราะธนาคารโลก ได้มีข้อกําหนดที่จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมืองของประเทศผู้ขอรับทุนหรือขอความช่วยเหลือด้านการเงินจากธนาคารโลก

67. Hollowing out of the state คือข้อใด
(1) รัฐกลวงโบ๋
(2) รัฐที่มีอํานาจนำ
(3) รัฐที่ควบคุมทุกด้านเบ็ดเสร็จ
(4) รัฐที่มีประสิทธิภาพ
(5) รัฐที่ปกครองด้วยกฎหมาย
ตอบ 1 หน้า 183 รัฐที่กลวงโบ๋ (Hollowing out of the state) แสดงนัยยะถึงการเปลี่ยนแปลงจาก รัฐที่มีองค์ประกอบของตัวเอง คือ องค์กร บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบและความพร้อมรับผิด และบุคลากรของรัฐจํานวนมากที่ถักทอประสานการทํางานอย่างหนาแน่นผ่านการแบ่งหน้าที่และ ความรับผิดชอบโดยมีกฎหมายรองรับการทํางานไปสู่รัฐในแนวคิดการบริหารปกครองที่แบ่งแยกฉีกเส้นใยที่ถักทอโดยการปรับแก้กฎหมาย การแยกความรับผิดชอบออกจากความพร้อมรับผิดการเปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่รวมทั้งละทิ้งอํานาจขององค์กรที่จะชี้นํา สาธารณะเพื่อส่งผ่านให้หน่วยงานอื่นที่รัฐไม่มีอํานาจควบคุมกํากับโดยตรงจัดสรรทรัพยากร
ในลักษณะเช่นนี้ องค์กรหรือหน่วยงานของรัฐจะถูกแบ่งแยก จัดสรรบทบาทหน้าที่ให้หน่วยงานอิสระอื่น ๆมาดําเนินการแทน

68. พลวัตการเปลี่ยนแปลงจากการปกครองเดิมสู่การบริหารปกครองคือข้อใด
(1) การแยกแยะตัวแสดงที่เกี่ยวข้อง
(2) สร้างระบบให้เกิดการเจรจาระหว่างตัวแสดง
(3) วิเคราะห์เงื่อนไขของการสร้างนโยบาย
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 184, (คําบรรยาย) พลวัตการเปลี่ยนแปลงจากการปกครองเดิมสู่การบริหารปกครอง สามารถดําเนินการได้ดังนี้
1. ต้องมีการแยกแยะมิติต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์รูปแบบ เครื่องมือ และเงื่อนไขของการสร้าง นโยบายและการนํานโยบายไปปฏิบัติ
2. แยกแยะความหลากหลายของตัวแสดงที่เกี่ยวข้อง
3. สร้างระบบการส่งผ่านและสะท้อนกลับของระบบการแปลงเปลี่ยนซึ่งกันและกันขององค์กรและตัวแสดงเพื่อให้เกิดการเจรจาต่อกันในการสร้างนโยบาย

69. โครงการประชารัฐของรัฐบาลชุดปัจจุบันไม่ต้องอาศัยความร่วมมือของภาคส่วนใด
(1) ราชการ
(2) เอกชน
(3) ประชาสังคม
(4) นักวิชาการ
(5) ประชานิยม
ตอบ 5 หน้า 217 โครงการประชารัฐของรัฐบาลชุดปัจจุบันอาศัยความร่วมมือจาก 5 ภาคส่วน คือ ภาคราชการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม

70. การสร้างนโยบายบนฐานทฤษฎีการจัดการเครือข่าย ตัวแสดงใดเป็นตัวแสดงนําสําคัญ
(1) รัฐ
(2) นักวิชาการ
(3) ภาคอุตสาหกรรม
(4) บรรษัท
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 หน้า 186 – 187, (คําบรรยาย) ในทฤษฎีการจัดการเครือข่ายนั้น เครือข่ายจะเป็นตัวแสดงนํา สําคัญในการดําเนินการตั้งแต่ระดับการสร้างนโยบาย การตัดสินใจและการนํานโยบายไปปฏิบัติส่วนภาครัฐจะเป็นตัวแสดงที่มีบทบาทสําคัญในกําหนดกรอบเครือข่ายและปฏิสัมพันธ์ของตัวแสดงต่าง ๆ

71. ลักษณะของการบริหารปกครองแบบถือหางเสือ ไม่ใช่ข้อใด
(1) รัฐมีอํานาจควบคุมมาก
(2) รัฐกําหนดทิศทางในกิจการสาธารณะได้
(3) ต้องออกกฎหมายเปลี่ยนแปลงอํานาจหน้าที่
(4) ไม่มีข้อถูก
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 1 หน้า 174, (คําบรรยาย) การบริหารปกครองแบบการถือหางเสือ เชื่อว่า รัฐมีความสามารถ ที่จะกําหนดทิศทางและถือหางเสือในกิจการสาธารณะในสังคมได้ ในแง่นี้รัฐยังคงมีบทบาทสําคัญ ในการบริหารปกครองแต่มีอํานาจควบคุมน้อยลง การบริหารปกครองนี้ต้องการการเปลี่ยนแปลง อํานาจหน้าที่และอํานาจควบคุมจากกฎหมายของรัฐ ปัญหาสําคัญของการบริหารปกครอง แบบนี้ก็คือ เมื่อรัฐเปลี่ยนบทบาทไปทําหน้าที่เพียงการถือหางเสือ ไม่ได้เป็นผู้กําหนดเป้าหมายอาจทําให้เป้าหมายไม่ชัดเจน

72. อะไรคือความหมายของ “กลไกมือที่มองไม่เห็น”
(1) ตัวแสดงที่ไม่ปรากฏตัวชัดเจน
(2) กลไกตลาดที่ดําเนินด้วยอุปสงค์และอุปทาน
(3) ตัวแสดงทางเศรษฐกิจ
(4) กลไกปฏิสัมพันธ์ของเครือข่าย
(5) กลไกทางวัฒนธรรมของราชการ
ตอบ 2 หน้า 184 กลไกจัดการโดยตลาดและการสนับสนุนแรงจูงใจ อาศัย “กลไกมือที่มองไม่เห็น” ซึ่งก็คือ “กลไกของตลาด” ที่จะผลักดันผ่านการแข่งขันกันทั้งในแง่การบริหารและการสร้าง นวัตกรรมมาเสนอ รัฐจะเก็บบทบาทหรืออํานาจการจัดสรรทรัพยากรไว้แต่ไม่รับผิดชอบในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการสาธารณะหรือผลักภาระการผลิตให้ตัวแสดงอื่น รัฐใช้การ เลือกข้อเสนอที่ดีที่สุดแล้วใช้การกํากับดูแลติดตามผลการทํางาน ในเงื่อนไขนี้มีประเด็นสําคัญ คือ รัฐต้องสร้างเงื่อนไขสิ่งแวดล้อมงานสาธารณะให้เข้าสู่เงื่อนไขการตลาดอย่างแท้จริง

73. การมีส่วนร่วมตามแนวคิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถอนราก มีความหมายอย่างไร
(1) การศึกษาคือเครื่องมือสําคัญ
(2) เป้าหมายคือสร้างความ “ตระหนักรู้” ในสังคม
(3) การเรียนรู้ผ่านการเคลื่อนไหวทางสังคม
(4) มีแนวคิดการปลดปล่อยประชาชน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 197 การมีส่วนร่วมในมุมมองการเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากวางอยู่บนฐานคิดของ “การปลดปล่อยประชาชน” โดยการเพิ่มอํานาจให้ประชาชนผ่านเครื่องมือสําคัญคือการศึกษาแนวคิดนี้เชื่อว่าเมื่อประชาชนมีการศึกษาจะมีอํานาจท้าทายโครงสร้างทางอํานาจเดิมที่ครอบงํา สังคมอยู่ ทําให้เรียนรู้ที่จะสร้างสังคมใหม่ กล่าวคือ การทําให้สังคมเกิด “การตระหนักรู้” แนวคิดนี้มีความยากอยู่ที่การจัดการให้เกิดการเรียนรู้แก่ประชาชน ไม่ว่าจะจากองค์กรภายนอกที่ต้องการช่วยเหลือหรือจากรัฐเอง แนวคิดนี้จึงวางอยู่บนฐานการเคลื่อนไหวทางสังคมโดยเชื่อว่าจะเกิดการเรียนรู้และผูกพันของคนผ่านการเคลื่อนไหวทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ

74. รัฐที่ยังคงอํานาจการจัดสรรทรัพยากรแต่ผลักภาระการผลิตไปให้ตัวแสดงอื่นอยู่ในกลไกการจัดการสร้างความร่วมมือรูปแบบโค
(1) กลไกระบบราชการ
(2) กลไกตลาด
(3) กลไกเครือข่าย
(4.) กลไกแบ่งงานกันทํา
(5) กลไกการมีส่วนร่วม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 72. ประกอบ

75. กลไกความร่วมมือที่อาศัยการต่อรองผลประโยชน์มีหัวใจสําคัญคือข้อใด
(1) เครือข่ายนโยบาย
(2) การแบ่งแยกหน้าที่
(3) มือที่มองไม่เห็น
(4) ความสัมพันธ์ของตัวเอง
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 หน้า 185 กลไกความร่วมมือ ที่อาศัยการต่อรองผลประโยชน์ มีหัวใจสําคัญคือ เครือข่าย นโยบาย และเมื่อเป็นเครือข่ายย่อมหมายถึงการมีตัวแสดงจํานวนมากอันมีผลประโยชน์จํานวนมากถูกรวมเข้ามาอยู่ในกระบวนการสร้างนโยบาย การต่อรองผลประโยชน์โดยใช้ การตัดสินใจร่วมจึงต้องเกิดขึ้นเพื่อให้เกิดการเข้าร่วมและสนับสนุนนโยบาย

76. รูปแบบกลไกการสร้างความร่วมมือผ่านการบริหารปกครองบนฐานระบบราชการคือข้อใด
(1) แบ่งแยกหน้าที่และระบุความรับผิดชอบ
(2) ขยายหน้าที่ไปสู่ตลาดโดยการทําข้อตกลง
(3) ใช้การตัดสินใจร่วมกัน
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 4 หน้า 184 กลไกการสร้างความร่วมมือผ่านการบริหารปกครองบนฐานระบบราชการ เชื่อว่า ระบบราชการสามารถจัดการปัญหาได้โดยการแบ่งแยกหน้าที่และระบุความรับผิดชอบให้ละเอียด และระบุตัวผู้รับผิดชอบแต่ละงานให้มีความรับผิดชอบและความพร้อมรับผิดโดยใช้โครงสร้างเครือข่ายบังคับบัญชา นอกจากนั้นยังสามารถขยายสายการจัดแบ่งหน้าที่ ไปสู่ตลาดได้ผ่านการทําข้อตกลงกับองค์กรในตลาด ใช้การเจรจาผลประโยชน์กับตลาดและสร้างความจงรักภักดีให้เกิดขึ้น

77. การบริหารงานภาครัฐบนฐานระบบราชการมาจากแนวคิดของใคร
(1) Francis Fukuyama
(2) Max Weber
(3) Wolfensohn
(4) IMF
(5) UNESCAP
ตอบ 2 หน้า 185 การบริหารงานภาครัฐบนฐานระบบราชการซึ่งเน้นการแบ่งงานกันทําและมีสายการบังคับบัญชาที่มีกฎหมายรองรับการทําหน้าที่และความรับผิดชอบต่องานนั้น ได้รับอิทธิพลแนวคิดมาจากแม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber)

78. ความเปลี่ยนแปลงสําคัญในการบริหารงานภาครัฐเมื่อได้รับอิทธิพลจากแนวคิดการบริหารปกครองไม่ใช่ข้อใด
(1) ตัวแสดงที่เข้ามามีบทบาทในงานสาธารณะเพิ่มมากขึ้น
(2) การปฏิบัติงานไม่อยู่บนสายบังคับบัญชา
(3) ผลการปฏิบัติงานขึ้นกับเงื่อนไขสัญญามากกว่าความรับผิดชอบตามหน้าที่
(4) ตัวแสดงแบ่งแยกงานกันทํา
(5) มีกฎหมายรองรับการทําหน้าที่
ตอบ 5 หน้า 185, (คําบรรยาย) ความเปลี่ยนแปลงสําคัญในการบริหารงานภาครัฐ เมื่อได้รับอิทธิพลจากแนวคิดการบริหารปกครอง มีดังนี้
1. มีตัวแสดงที่หลากหลายเข้ามามีบทบาทในงานสาธารณะเพิ่มมากขึ้น
2. ตัวแสดงแบ่งแยกงานกันทํา
3. การปฏิบัติงานไม่อยู่บนสายบังคับบัญชา
4. ผลการปฏิบัติงานขึ้นกับเงื่อนไขสัญญามากกว่าความรับผิดชอบตามหน้าที่ ฯลฯ

79. ข้อใดคือลักษณะของการบริหารปกครองตามทฤษฎีเครือข่าย
(1) รัฐมีอิสระในการควบคุมหางเสือ
(2) ตัวแสดงถูกกําหนดเป้าหมายตามสถานะในเครือข่าย
(3) ทรัพยากรที่ตัวแสดงในเครือข่ายครอบครองอาจมีผลต่อบทบาทของตัวเอง
(4) ปฏิสัมพันธ์ของตัวแสดงไม่ใช่เงื่อนไขความสําเร็จของเครือข่าย
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 หน้า 186 การบริหารปกครองตามทฤษฎีเครือข่าย เชื่อว่า รัฐไม่สามารถที่จะควบคุมหางเสือได้อย่างมีอิสระและมีประสิทธิภาพจึงต้องให้ประชาคมดําเนินการเอง แนวคิดเรื่องเครือข่ายเป็นแนวคิดที่สําคัญในแนวคิดการบริหารปกครอง เพราะอยู่บนเงื่อนไขการร่วมมือของสังคมเครือข่ายไม่ได้วางอยู่บนฐานแบบตลาดหรือแบบระบบราชการที่มีสายการบังคับบัญชา หัวใจสําคัญของเครือข่าย คือ ตัวแสดงที่มีอิสระที่ไม่มีตัวแสดงอื่นสามารถมากําหนดเป้าหมายให้ พวกเขาได้ ยกเว้นพวกเขาพร้อมใจจะร่วมมือด้วยตัวเอง

80. การบริหารเครือข่ายโดยไม่เปลี่ยนแปลงตัวแสดงในเครือข่าย โดยที่รัฐยังเป็นตัวกลางประสานงานคือกลยุทธ์การจัดการเครือข่ายแบบใด
(1) แบบทฤษฎีเกม
(2) แบบโครงสร้างเครือข่าย
(3) แบบปกครองตัวเอง
(4) แบบการมีส่วนร่วม
(5) แบบใช้เรื่องเล่า
ตอบ 1 หน้า 187 กลยุทธ์การจัดการเครือข่ายแบบทฤษฎีเกม ใช้ในการบริหารเครือข่ายที่มีอยู่เดิม โดยไม่มุ่งหวังปรับเปลี่ยนเครือข่ายหรือตัวแสดงใด ๆ ในเครือข่าย วิธีการสําคัญคือ การเสนอ นโยบายที่ต้องการให้เกิดขึ้นและรวบรวมตัวแสดงที่เกี่ยวข้องเข้ามาตัดสินใจร่วม กรณีนี้รัฐยัง เป็นตัวกลางในการประสานสร้างการประนีประนอมให้ทุกตัวแสดงบรรลุผลประโยชน์ของตัวเองโดยที่เป้าหมายนโยบายยังคงอยู่ รัฐต้องเรียกร้องให้ทุกตัวแสดงยอมรับเงื่อนไขใหม่ของการบริหารปกครองและพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนทรัพยากร

81. องค์ประกอบสําคัญของการบริหารปกครองแบบตัดสินใจร่วมกัน ไม่ใช่ข้อใด
(1) การต่อรอง
(2) ส่วนรวม
(3) ผลประโยชน์หลากหลาย
(4) มีระบบที่เป็นทางการ
(5) ตัวแสดงหลากหลาย
ตอบ 4 หน้า 174 – 175, (คําบรรยาย) องค์ประกอบสําคัญของการบริหารปกครองแบบตัดสินใจร่วมกัน มีดังนี้
1. ตัวแสดงหลากหลาย
2. ผลประโยชน์หลากหลาย
3. เน้นความเป็นส่วนรวม
4. ไม่ต้องการระบบที่เป็นทางการ
5. เน้นการเจรจาต่อรอง ฯลฯ

82. ข้อใดไม่ใช่ทักษะสําคัญของผู้บริหารเครือข่าย
(1) ทักษะการสร้างแรงจูงใจ
(2) ทักษะการควบคุมวง
(3) ทักษะการเจรจา
(4) ทักษะการบังคับบัญชา
(5) ทักษะการบูรณาการ
ตอบ 4 หน้า 188 ทักษะสําคัญของผู้บริหารเครือข่าย มีดังนี้
1. ทักษะการสร้างแรงจูงใจ
2. ทักษะการควบคุมวง ซึ่งต้องอาศัยทักษะการทูต การเจรจา การต่อรองเพื่อให้เกิดความร่วมมือ
3. ทักษะการบูรณาการ

83. ข้อใดคือความหมายของตัวการ (Principle) ในทฤษฎีการมอบหมายตัวแทน
(1) หัวหน้าผู้มอบหมายงาน
(2) เจ้าของกิจการ
(3) คณะกรรมการบริหาร
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 189, 210, (คําบรรยาย) ตัวแสดงในทฤษฎีการมอบหมายตัวแทน (Theories of Delegation) ประกอบด้วย
1. ตัวการ (Principle) คือ คนที่เป็นเจ้าของกิจการ เป็นหัวหน้า เป็นผู้มีอํานาจจริงในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง เช่น ผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริหาร เป็นต้น
2. ตัวแทน (Agent) คือ คนที่ได้รับมอบอํานาจให้เป็นผู้ดําเนินการแทนผู้มีอํานาจจริง เช่น ผู้จัดการ เป็นต้น

84. การที่ตัวแสดงที่หลากหลายได้เข้าไปมีส่วนในการดําเนินกิจกรรมตามขอบเขตกระบวนการที่มีการจัดการ ไว้แล้ว จะอยู่ในพื้นที่การบริหารปกครองแบบใด
(1) พื้นที่แบบปิด
(2) พื้นที่รับเชิญ
(3) พื้นที่สร้างสรรค์
(4) พื้นที่ประชุม
(5) พื้นที่ของทางราชการ
ตอบ 2 หน้า 201, (คําบรรยาย) พื้นที่รับเชิญ (Invited Spaces) คือ พื้นที่ที่มีตัวแสดงที่หลากหลาย ได้เข้าไปมีส่วนในการดําเนินกิจกรรมตามขอบเขตกระบวนการที่มีการจัดการไว้แล้ว พื้นที่ ลักษณะนี้ให้ความสําคัญกับกระบวนการที่ต้องมีผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อยืนยันว่าการริเริ่ม หรือดําเนินการนั้น ๆ อยู่ในกระบวนการมีส่วนร่วมหรือริเริ่มโดยประชาชน

85. หลักการทางเลือกที่มีเหตุผล คือข้อใด
(1) ทุกคนมีเหตุผลภายใต้การเข้าใจและการให้ความหมายสิ่งรอบตัว
(2) ทุกคนไม่มีอิสระแท้จริงในการเลือก
(3) การตัดสินใจเป็นไปอย่างมีเหตุผลคือคํานึงถึงผลประโยชน์สูงสุด
(4) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแสดงมีผลต่อการตัดสินใจร่วมกัน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ

86. การทํางานของเครือข่ายนโยบาย ไม่ใช่ข้อใด
(1) มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเรื่อง
(2) ต้องการตัวแสดงที่มีความชํานาญเฉพาะด้าน
(3) ภาคชุมชนสามารถเข้าร่วมในเครือข่ายได้
(4) ไม่มีข้อถูก
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 186 เครือข่ายนโยบาย (Policy Network) มีจุดมุ่งหมายค่อนข้างเฉพาะเจาะจง เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ มีกลุ่มตัวแสดงที่เฉพาะซึ่งมีความชํานาญเฉพาะด้านในเรื่องที่จะ กําหนดนโยบาย ปกติเครือข่ายแบบนี้จะมีความมั่นคงต่อเนื่อง ตัวแสดงอาจมาจากภาครัฐ นักวิชาการ กลุ่มผู้วิเคราะห์นโยบาย (คลังสมอง) ภาคอุตสาหกรรมและชุมชนก็ได้

87. รูปแบบทางสังคมแบบชุมชนนิยมคือข้อใด
(1) สายสัมพันธ์เกิดจากการปฏิบัติสืบต่อกันมา
(2) มองความสําคัญในเรื่องเหนือธรรมชาติ
(3) มีการแบ่งแยกหน้าที่ชัดเจน
(4) การตัดสินใจยังเป็นเรื่องส่วนบุคคล
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 หน้า 191 – 192 รูปแบบความสัมพันธ์ทางสังคมแบบชุมชนนิยม มีลักษณะดังนี้
1. ยึดมั่นในกลุ่มสูง
2. โครงสร้างทางสังคม : มีความรวมกลุ่มอย่างมาก สายสัมพันธ์ในสังคมใกล้ชิดและผูกมัด เป็นสายสัมพันธ์ที่เกิดจากการปฏิบัติสืบต่อกันมา การมองเฉพาะกลุ่ม และการเคารพสมาชิกของกลุ่ม
3. ค่านิยม : อยู่บนฐานการเชื่อสมาชิกที่มีประสบการณ์ สร้างกฎและกระบวนการดําเนินการ เพื่อการเรียนรู้และการตัดสินใจร่วมกัน

88. แนวคิดเสรีนิยมประชาธิปไตยมองการมีส่วนร่วมอย่างไร
(1) ปัจเจกผูกโยงกับความสัมพันธ์ในสังคม
(2) สังคมเป็นพหุวัฒนธรรม
(3) ในพื้นที่สาธารณะมีความหลากหลายของผลประโยชน์ของปัจเจก
(4) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 หน้า 197, (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วมในมุมมองเสรีนิยมประชาธิปไตย เชื่อในปัจเจกในฐานะหน่วยที่เป็นอิสระที่สามารถกําหนดวิถีชีวิตและความหมายในการมีชีวิตของตัวเองได้ มุมมองเสรีนิยมประชาธิปไตยอันมีแนวคิดที่มาจากประเทศทางตะวันตกมองการมีส่วนร่วมนั้นมีนัยยะของพหุวัฒนธรรมแฝงอยู่ในตัวของการมีส่วนร่วม ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงการมีส่วนร่วมในมุมมองนี้ย่อมหมายถึงปัจเจกและกลุ่มจํานวนมากที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่างในผลประโยชน์ ที่ต้องการต่างกัน การเข้ามีส่วนในกิจกรรมสาธารณะซึ่งปัจเจกทุกคนหรือกลุ่มผลประโยชน์ได้รับผลกระทบจึงต้องมีความเป็นธรรมคือการแข่งขันที่ยุติธรรมกับทุกกลุ่ม การมีส่วนร่วมในมุมมองนี้จึงยอมรับการมีส่วนร่วมการเลือกตั้ง และเข้าไปมีส่วนร่วมในการกําหนดรัฐธรรมนูญ และการทําหน้าที่ของรัฐบาล

89. บริษัทประชารัฐรักสามัคคี จํากัด จดทะเบียนบริษัทจํานวนกี่บริษัท
(1) บริษัทเดียว
(2) เท่ากับจํานวนจังหวัด
(3) จํานวนจังหวัด + 1
(4) ไม่ได้จดทะเบียน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 หน้า 216, 220 บริษัทประชารัฐรักสามัคคี จํากัด เป็นนิติบุคคล ดําเนินงานในรูปแบบของ รัฐวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) จดทะเบียนเป็นบริษัทจํากัดให้เป็นเครือข่ายเดียวกัน ทั่วประเทศ โดยในส่วนกลางจัดตั้งเป็นบริษัทประชารัฐรักสามัคคี ( ประเทศไทย) จํากัด และ ระดับจังหวัดเป็นบริษัทประชารัฐรักสามัคคีตามด้วยชื่อของจังหวัด ดังนั้นบริษัทประชารัฐ รักสามัคคีจึงจดทะเบียนบริษัทตามจํานวนจังหวัด (76 จังหวัด) + 1 บริษัทกลางนั่นเอง

90. หลักประกันว่าตัวแทนจะทํางานตามที่ตัวการมอบหมายคือข้อใดต่อไปนี้
(1) กลไกการลงโทษ
(2) อุดมการณ์ที่สอดคล้อง
(3) กลไกการควบคุม
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 หน้า 189 หลักประกันว่าตัวแทนจะทํางานตามที่ตัวการมอบหมาย มีดังนี้
1. กลไกการลงโทษ
2. อุดมการณ์หรือหลักการที่สอดคล้องกัน
3. กลไกการควบคุมที่จะทําให้ตัวแทนต้องปฏิบัติตาม เช่น กติกา วิธีการตัดสินใจ ผลที่ต้องการกลไกการตัดสินใจ เป็นต้น

91. พื้นที่ในการบริหารปกครองแบบปิดคือข้อด
(1) พื้นที่ที่มีรั้วรอบขอบชิด
(2) พื้นที่ที่มีการตรวจตราอย่างใกล้ชิด
(3) พื้นที่ที่มีจํากัด ให้การตัดสินใจอยู่ที่ภาครัฐ
(4) พื้นที่ที่มีเฉพาะ NGOs เท่านั้นที่เคลื่อนไหวได้
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 หน้า 201 พื้นที่แบบปิด (Closed Spaces) คือ พื้นที่ที่มีตัวแสดงหลักจํากัด คือเฉพาะรัฐ เท่านั้น รูปแบบการบริหารยังคงรวมศูนย์การตัดสินใจไว้ที่รัฐ ด้วยกระบวนการที่เป็นทางการ

92. ประชาสังคมในการบริหารปกครองมีนัยยะสําคัญอย่างไร
(1) พื้นที่ที่มีตัวแสดงที่หลากหลายมารวมตัวกันเพื่อพิจารณาเรื่องสาธารณะ
(2) สถานที่ประชุมร่วมกันของหมู่บ้าน
(3) หน่วยทางการปกครองที่กระทรวงมหาดไทยกําหนด
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 1 หน้า 201 ประชาสังคมเป็นเงื่อนไขสําคัญอันหนึ่งของธรรมาภิบาลที่จะต้องเติบโตในฐานะ “พื้นที่เพื่อการบริหารปกครอง” ซึ่งจะอํานวยความสะดวกให้กับตัวแสดงใหม่ ๆ เข้ามาร่วมใน การพิจารณาและแก้ปัญหาของพื้นที่ตนเองแบบปราศจากลําดับการบังคับบัญชา ไม่ว่าจะเป็น NGOs หรือการเคลื่อนไหวทางสังคมอื่น ๆ ซึ่งการที่จะดําเนินการเช่นนี้จําเป็นต้องมีกลไก การมีส่วนร่วมใหม่ ๆ และวิธีดําเนินการใหม่มาเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชน

93. ทฤษฎีการบริหารปกครองใดที่เชื่อว่าความสัมพันธ์ทางสังคมมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมากกว่าเหตุผล
(1) ทฤษฎีการยึดมั่นในหลักเหตุผล
(2) ทฤษฎีการให้ความหมายทางสังคม
(3) ทฤษฎีสถาบันทางวัฒนธรรม
(4) ทฤษฎีการมอบหมายตัวแทน
(5) ทฤษฎีเครือข่าย
ตอบ 3 หน้า 191 ทฤษฎีสถาบันทางวัฒนธรรม เชื่อว่า ความสัมพันธ์ทางสังคมมีอิทธิพลต่อการ ตัดสินใจมากกว่าเหตุผล เพราะสถาบันทางสังคมจะกําหนดเกณฑ์ที่จะนําไปใช้ “ตัดสินคนอื่น และสร้างความชอบธรรมให้ตัวเอง” ในกรณีนี้ผลประโยชน์จึงไม่ใช่อะไรนอกจากเป็นผลผลิต ความสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งมีจุดตั้งต้นที่ความชอบอันเป็นส่วนผสมของความสัมพันธ์ทางสังคม ปัจจัยทางสังคม และการให้ความหมายทางสังคมต่อวิถีชีวิตในสังคมร่วมกัน กล่าวได้ว่าอิทธิพลทางสังคมเป็นส่วนสําคัญในการกําหนดทิศทางการตัดสินใจของบุคคล

94. ข้อใดไม่ใช่การมีส่วนร่วมระดับที่อํานาจเป็นของประชาชน
(1) การลงประชามติ
(2) การรับฟังข่าวสาร
(3) การยื่นถอดถอนผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
(4) การออกเสียงเลือกตั้ง
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 หน้า 200, (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วมระดับที่อํานาจเป็นของประชาชน (Degree of Citizen Power) ประกอบด้วยการมีส่วนร่วมขั้นที่ 6 – 8 เป็นระดับอํานาจการตัดสินใจเป็นของประชาชน แต่มีลักษณะการใช้อํานาจแตกต่างกัน กล่าวคือ ในขั้นที่ 6 จะเป็นการเจรจาต่อรองของอํานาจ ระหว่างรัฐกับประชาชนในฐานะหุ้นส่วนในงานนั้น ๆ ในขั้นที่ 7 ประชาชนได้มอบอํานาจให้ผู้แทน ไปตัดสินใจแทน ได้แก่ การออกเสียงเลือกตั้ง ส่วนในขั้นที่ 8 ซึ่งเป็นขั้นการมีส่วนร่วมสูงสุด ประชาชนสามารถควบคุมกระบวนการตัดสินใจได้ ได้แก่ การลงประชามติ การยื่นถอดถอน ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง เป็นต้น ในระดับนี้ประชาชนมีอํานาจในการตัดสินใจ สามารถเจรจาผลได้ผลเสียกับผู้มีอํานาจเดิมได้ จึงถือเป็นการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของประชาชน

95. ตัวแสดงทางเศรษฐกิจได้สิทธิพิเศษในเครือข่ายนโยบาย
(1) บรรษัทภิบาล
(2) การบริหารงานภาครัฐ
(3) บรรษัทนิยม
(4) ธรรมาภิบาล
(5) วิสาหกิจเพื่อสังคม
ตอบ 3 หน้า 212 บรรษัทนิยม (Corporatism) เป็นรูปแบบการปกครองที่รัฐมีความใกล้ชิดกับองค์กร ทางธุรกิจและแรงงาน ให้ความสําคัญและสิทธิพิเศษกับองค์กรธุรกิจและแรงงานในเครือข่ายนโยบายให้ร่วมรับผิดชอบการริเริ่มและนํานโยบายไปปฏิบัติ โดยรัฐยังควบคุมความต้องการ รวมทั้งอาจควบคุมองค์การเหล่านั้น ทั้งนี้สํานักราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายว่า บรรษัทนิยม คือ แนวคิดในการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐ โดยกําหนดให้บรรษัทซึ่งถือว่าเป็น องค์การตัวแทนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ มีบทบาทในการร่วมกําหนดนโยบายสาธารณะ ตลอดจน นํานโยบายไปปฏิบัติ

ตั้งแต่ข้อ 96. – 100 ให้นักศึกษาจับคู่คําตอบต่อไปนี้ให้ตรงกับความหมายหรือเกี่ยวข้องกับข้อความที่ให้มา
(1) ยึดมั่นในกลุ่มต่ำ
(2) อาศัยประสบการณ์สมาชิกกลุ่ม
(3) ชีวิตเหนือการควบคุม
(4) ผลประโยชน์สูงสุด
(5) ควบคุมจากศูนย์กลาง

96. โชคชะตา
ตอบ 1, 3 หน้า 191 – 192 รูปแบบความสัมพันธ์ทางสังคมตามโชคชะตา มีลักษณะดังนี้
1. ยึดมั่นในกลุ่มต่ำ
2. โครงสร้างทางสังคม : แยกตัว ไม่เป็นทางการ การผูกมัดไม่ลึกซึ้ง มีเครือข่ายเป็นครั้งคราว
3. ค่านิยม : ไม่ใส่ใจเรื่องส่วนบุคคล (จากสังคมหรืออื่น ๆ) มองว่าชีวิตเป็นเรื่องเหนือการ ควบคุมของบุคคล ที่ดีที่สุดที่ทําได้คือ พยายามหาทางเอาชีวิตรอด

97. ชุมชนนิยม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 87. ประกอบ

98.Rational Choice
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ

99. ลําดับการบังคับบัญชา
ตอบ 5 หน้า 191 – 192 รูปแบบความสัมพันธ์ทางสังคมตามลําดับขั้นการบังคับบัญชา มีลักษณะดังนี้
1. ยึดมั่นในกลุ่มสูง
2. โครงสร้างทางสังคม : ควบคุมและบริหารจากศูนย์กลาง มีการแบ่งแยกบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน
3. ค่านิยม : ยืนยันการปฏิบัติตามกฎ และมีการออกแบบหน้าที่และบทบาทเพื่อให้บุคคล เข้ามามีส่วนปฏิบัติตามระเบียบโดยเคร่งครัด

100. ปัจเจกนิยม
ตอบ 1 หน้า 191 – 192 รูปแบบความสัมพันธ์ทางสังคมแบบปัจเจกนิยม มีลักษณะดังนี้
1. ยึดมั่นในกลุ่มต่ำ
2. โครงสร้างทางสังคม : เปิด มีการผูกมัดทางสังคมน้อย ระบบเกิดจากการตอบสนองตาม สัญชาตญาณของบุคคล
3. ค่านิยม : ยืนยันแนวคิดการริเริ่มของบุคคล การตอบสนองต่อเรื่องต่าง ๆ วางอยู่บน การตัดสินใจส่วนบุคคล

Advertisement