การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL2107 การเมืองเปรียบเทียบเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1.หัวใจหลักสําคัญของวิชาการเมืองเปรียบเทียบคือข้อใด
(1) สร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาประชาธิปไตย
(2) ค้นหาคนดีมาเป็นผู้ปกครอง
(3) สร้างกฎหมายปกครองที่ยอดเยี่ยม
(4) ปกป้องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
(5) ส่งเสริมวัฒนธรรมอันดีงามของประเทศชาติ
ตอบ 1 หน้า 11, 22, 33 – 34 วิชาการเมืองเปรียบเทียบถือกําเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือในยุคพฤติกรรมศาสตร์ ภายหลังจากความพยายามในการแสวงหาเอกลักษณ์ให้กับสาขารัฐศาสตร์และการสร้างองค์ความรู้ทางการเมืองให้เป็นวิทยาศาสตร์โดยการผลักดันของประเทศสหรัฐอเมริกาภายใต้บริบทสงครามเย็น โดยเป้าหมายหรือหัวใจหลัก สําคัญของวิชาการเมืองเปรียบเทียบคือการสร้างองค์ความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นเหตุเป็นผล มีความน่าเชื่อถือ สามารถนําไปใช้ในการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม
2. การก่อตัวของคลื่นลูกที่สามของการสร้างประชาธิปไตยในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เป็นคําอธิบายการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยโดยนักวิชาการท่านใด
(1) Samuel Huntington
(2) Dankwart Rustow
(3) Guillermo O’Donnell
(4) Philippe Schmitter
(5) Laurence Whitehead
ตอบ 1 หน้า 257 ซามูเอล ฮันทิงตัน (Samuel Huntington) ได้วิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อ การก่อตัวของคลื่นลูกที่สามของการสร้างประชาธิปไตยในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ไว้ในหนังสือเรื่อง “คลื่นลูกที่สาม” ทั้งในส่วนของปัจจัยเชิงโครงสร้างและในส่วนของปัจจัยของตัวแสดงซึ่งก็คือปฏิสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นนําทั้งที่อยู่ในอํานาจและที่ไม่อยู่ในอํานาจ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ส่งผลต่อเส้นทางการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยที่แตกต่างกัน
3. มองหาคุณลักษณะร่วมท่ามกลางคุณลักษณะที่แตกต่างในกรณีศึกษาต่าง ๆ เพื่อสรุปว่าคุณลักษณะร่วมดังกล่าวเป็นสาเหตุของปรากฏการณ์ คือวิธีการเปรียบเทียบแบบใด
(1) วิธีการพิจารณาความเหมือน
(2) วิธีการพิจารณาความแตกต่าง
(3) วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่
(4) วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน
(5) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด
ตอบ 1 หน้า 51 วิธีการพิจารณาความเหมือน (Method of Agreement) เป็นการมองหา คุณลักษณะร่วมท่ามกลางคุณลักษณะที่แตกต่างกันของปรากฏการณ์ในกรณีศึกษาต่าง ๆที่ยกขึ้นมาเปรียบเทียบ เพื่อสรุปว่าคุณลักษณะร่วมดังกล่าวเป็นสาเหตุของปรากฏการณ์
4. นักรัฐศาสตร์คนสําคัญที่นําเอาความคิดเชิงระบบมาพัฒนาเป็นทฤษฎีระบบคือ
(1) อีสตัน
(2) อัลมอนด์
(3) คาร์ล ดอยซ์
(4) คาร์ล มาร์กซ์
(5) ซาร์ล ทิลลี่
ตอบ 1 หน้า 89 เดวิด อีสตัน (David Easton) เป็นนักรัฐศาสตร์คนแรกที่นําเอาความคิดเชิงระบบ มาพัฒนาเป็นทฤษฎีระบบ และเป็นบุคคลแรก ๆ ที่เสนอแบบจําลองของระบบการเมือง อันเป็นผลจากความพยายามในการหาทฤษฎีทั่วไปที่สามารถใช้ในการอธิบายการเมืองทั้งระบบหรือสร้างทฤษฎีมหภาคที่สามารถนําไปใช้อธิบายสังคมอื่น ๆ ได้ทั่วทั้งโลก
5. ฉันทามติปักกิ่งหรือตัวแบบทุนนิยมที่ชี้นําโดยรัฐ
(1) ยุคเริ่มต้นของการพัฒนา
(2) การพัฒนาในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
(3) การพัฒนาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงช่วงปี ค.ศ. 1980
(4) การพัฒนาในช่วง ค.ศ. 1980 – 2000
(5) การพัฒนาในช่วงตั้งแต่ ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน
ตอบ 5 หน้า 250 การพัฒนาในช่วงตั้งแต่ ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงที่แนวคิดเสรีนิยมใหม่ หรือแนวนโยบายของฉันทามติวอชิงตันถูกตั้งคําถามอย่างหนักภายหลังเหตุการณ์วิกฤติเศรษฐกิจในปี ค.ศ. 2008 ในสหรัฐอเมริกา จนมีนักวิชาการบางคนกล่าวว่าเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลต่อ จุดจบของเสรีนิยมใหม่ นําไปสู่การนําเสนอฉันทามติอื่น ๆ เช่น ฉันทามติโคเปนเฮเกน ฉันทามติ เม็กซิโก ฉันทามติปักกิ่งหรือตัวแบบทุนนิยมที่ชี้นําโดยรัฐ เป็นต้น
6. รัฐมีบทบาทและอํานาจน้อยที่สุดเท่าที่จําเป็นแล้วปล่อยให้เอกชนหรือประชาชนมีเสรีภาพในการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ คือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 1 หน้า 153 รัฐแบบกรรมการ (Minimal State) คือ รัฐที่ตั้งอยู่บนฐานคิดแบบเสรีนิยมที่ให้รัฐ มีบทบาทและอํานาจน้อยที่สุดเท่าที่จําเป็นแล้วปล่อยให้เอกชนหรือประชาชนมีเสรีภาพในการ ดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ รัฐประเภทนี้พบในประเทศที่เป็นเสรีนิยมทุนนิยม เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษในช่วงศตวรรษที่ 19 เป็นต้น
7. รัฐที่มีรัฐบาลกลางเพียงแห่งเดียวมีอํานาจสูงสุดในเขตแดนของรัฐ
(1) Kingdom State
(2) Republic
(3) Unitary State
(4) Composite State
(5) Minimal State
ตอบ 3 หน้า 151 รัฐเดี่ยว (Unitary State) คือ รัฐที่มีรัฐบาลกลางเพียงแห่งเดียวมีอํานาจสูงสุด หรืออธิปไตยสมบูรณ์ในเขตแดนของรัฐนั้น ๆ ไม่มีรัฐบาลในระดับที่รองลงมา หน่วยงานของรัฐ ในท้องที่ เช่น จังหวัด อําเภอ ตําบล หมู่บ้าน เป็นมือไม้หรือหน่วยงานที่รับมอบหมายงานจาก รัฐบาลกลางไปดําเนินการ หรือในส่วนของการปกครองส่วนท้องถิ่นแม้จะได้รับการกระจายอํานาจลงไปให้บ้างแต่ก็ไม่ถือว่ามีอธิปไตยเป็นของตนเอง การดําเนินงานยังคงอยู่ภายใต้การ กํากับควบคุมของรัฐบาลกลาง ตัวอย่างของรัฐเดี่ยว เช่น ไทย ญี่ปุ่น อังกฤษ เป็นต้น
8.นักรัฐศาสตร์ท่านใดมีชื่อเสียงที่สุดในเรื่องการศึกษาวัฒนธรรมทางการเมือง
(1) Huntington
(2) Bentley
(3) Downs
(4) Powell
(5) Atmond
ตอบ 5 (คําบรรยาย) แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) เป็นนักรัฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุด ในเรื่องการศึกษาวัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) โดยอัลมอนด์เสนอว่า สาเหตุหนึ่ง ที่ทําให้ประเทศหนึ่งเป็นประชาธิปไตย และอีกประเทศหนึ่งไม่เป็นประชาธิปไตยนั้นก็เพราะว่าประเทศที่เป็นประชาธิปไตยมีวัฒนธรรมทางการเมืองที่เอื้อต่อการเป็นประชาธิปไตย ส่วนประเทศ ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยนั้นมีวัฒนธรรมไม่เอื้อต่อการเป็นประชาธิปไตย
9.เป็นพรรคที่ประกอบด้วยสมาชิกจํานวนน้อย ไม่ต้องการขยายฐานสมาชิกออกไปมากนัก เน้นคุณภาพของ สมาชิกมากกว่าปริมาณ และเน้นการเลือกตั้งเป็นส่วนสําคัญ คือโครงสร้างพรรคการเมืองรูปแบบใด
(1) พรรคแบบคณะกรรมาธิการ
(2) พรรคแบบมีสาขาพรรค
(3) พรรคแบบแบ่งเป็นหน่วยเล็ก ๆ ในรูปเซลล์
(4) พรรคแบบพลพรรค
(5) พรรคแบบเสรีนิยม
ตอบ 1 หน้า 222 – 223 พรรคแบบคณะกรรมาธิการ เป็นพรรคที่ประกอบด้วยสมาชิกจํานวนน้อย ไม่ต้องการขยายฐานสมาชิกออกไปมากนัก เน้นคุณภาพของสมาชิกมากกว่าปริมาณ และเน้น การเลือกตั้งเป็นส่วนสําคัญแต่จะไม่ค่อยเคลื่อนไหวในกิจกรรมทางการเมืองอื่น ๆ พรรคแบ แบบนี้ มักตั้งขึ้นโดยกลุ่มชนชั้นนําเพื่อเป็นช่องทางในการเข้าสู่อํานาจทางการเมือง ไม่ได้ขยายฐานสู่ประชาชน
10. รัฐบาลเกาหลีเหนือ คือระบอบเผด็จการรูปแบบใด
(1) Totalitarianism
(2) Authoritarianism
(3) Benevolent Dictatorship
(4) Theocracy
(5) Aristocracy
ตอบ 1 หน้า 170 เผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalitarianism) เป็นรูปแบบของระบอบเผด็จการที่เข้มข้น คือ รัฐบาลทําการควบคุมการใช้ชีวิตของประชาชนในทุกด้านทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ตัวอย่างของรัฐบาลเผด็จการเบ็ดเสร็จ เช่น รัฐบาลคอมมิวนิสต์ของ สหภาพโซเวียต รัฐบาลจีนในยุคเหมา เจ๋อ ตุง รัฐบาลนาซีเยอรมัน รัฐบาลฟาสซิสต์ของอิตาลี รัฐบาลเกาหลีเหนือ เป็นต้น
11. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสังคมโลกยุคโลกาภิวัตน์
(1) โลกยุคโลกาภิวัตน์เป็นโลกของการกระชับแน่นระหว่างเวลากับสถานที่
(2) โลกยุคโลกาภิวัตน์เป็นโลกของสังคมความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร
(3) โลกยุคโลกาภิวัตน์เป็นโลกที่มีความอ่อนไหวและเปราะบางอันเกิดจากทุนนิยมไร้พรมแดน
(4) โลกยุคโลกาภิวัตน์มีปัญหาและความขัดแย้งแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 281 – 285 ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร อธิบายว่า สังคมโลกยุคโลกาภิวัตน์มีลักษณะ สําคัญ 6 ประการ ได้แก่
1. โลกยุคโลกาภิวัตน์เป็นโลกของการกระชับแน่นระหว่างเวลากับ สถานที่
2. โลกยุคโลกาภิวัตน์เป็นโลกที่เส้นแบ่งต่าง ๆ ที่เคยมั่นคงชัดเจนเกิดความไม่ชัดเจน นําไปสู่การลากเส้นแบ่งใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น
3. โลกยุคโลกาภิวัตน์เป็นโลกของสังคมความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร
4. โลกยุคโลกาภิวัตน์มีปัญหาและความขัดแย้งแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย
5. โลกยุคโลกาภิวัตน์มีการก่อการร้ายและการทําสงครามต่อต้านการก่อการร้ายเป็นความจริง ชุดใหม่
6. โลกยุคโลกาภิวัตน์เป็นโลกที่มีความอ่อนไหวและเปราะบางอันเกิดจากทุนนิยม ไร้พรมแดน
12. ยุคเสรีนิยมใหม่หรือฉันทามติวอชิงตันเกี่ยวข้องกับ
(1) ยุคเริ่มต้นของการพัฒนา
(2) การพัฒนาในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
(3) การพัฒนาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงช่วงปี ค.ศ. 1980
(4) การพัฒนาในช่วง ค.ศ. 1980 – 2000
(5) การพัฒนาในช่วงตั้งแต่ ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน
ตอบ 4 หน้า 238 – 250 แนวคิดหรือทฤษฎีการพัฒนาในแต่ละยุค มีดังนี้
1. ยุคเริ่มต้นของการพัฒนา เน้นการพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองคลาสสิก
2. การพัฒนาในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20 เน้นการทําให้เป็น
อุตสาหกรรม
3. การพัฒนาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงช่วงปี ค.ศ. 1980 เน้นการทําให้ทันสมัย ซึ่งคือ การทําให้เป็นประชาธิปไตย
4. การพัฒนาในช่วง ค.ศ. 1980 – 2000 เน้นแนวคิดเสรีนิยมใหม่หรือฉันทามติวอชิงตัน
5. การพัฒนาในช่วงตั้งแต่ ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน เป็นเรื่องของวิกฤติความชอบธรรมของ แนวคิดเสรีนิยมใหม่หรือฉันทามติวอชิงตัน การพัฒนาทางเลือกหรือความหลากหลายของการพัฒนา
13. วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด คล้ายกับวิธีการใด
(1) วิธีการพิจารณาความเหมือน
(2) วิธีการพิจารณาความแตกต่าง
(3) วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่
(4) วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน
(5) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด
ตอบ 2 หน้า 59 – 60 วิธีการเปรียบเทียบของเชวอร์สกีและเทิร์น (Przeworski and Teune) ที่พัฒนาต่อยอดมาจากวิธีการของจอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) มี 2 วิธี คือ
1. วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด (Most Similar Systems : MSS) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับวิธีการพิจารณาความแตกต่างของมิลล์
2. วิธีการพิจารณาระบบที่แตกต่างกันมากที่สุด (Most Different Systems : MDS) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับวิธีการพิจารณาความเหมือนของมิลล์
14. ข้อใดเป็นหน่วยวิเคราะห์ในระดับโครงสร้าง
(1) ระบบการเมือง
(2) สถาบันทางการเมือง
(3) รัฐ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 38 หน่วยวิเคราะห์ในระดับโครงสร้าง เป็นหน่วยวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้าง ต่าง ๆ ในสังคม เช่น ระบบการเมือง รัฐ ชนชั้น สถาบันทางการเมือง กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในสังคม ความสัมพันธ์เชิงอํานาจ เป็นต้น ซึ่งการวิเคราะห์ในระดับนี้จะมีความเชื่อว่าโครงสร้างดังกล่าวนั้น มีอิทธิพลต่อการกระทําของมนุษย์และการเกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในสังคม พฤติกรรมของมนุษย์ไม่ได้มีเสรีภาพมากนัก แต่จะแสดงออกมาภายใต้กรอบของโครงสร้างดังกล่าว
15. นักวิชาการคนใดมีอิทธิพลอย่างมากต่อกระแสการนํารัฐกลับเข้ามาสู่การศึกษาทางการเมือง
(1) พูลันต์ซาส
(2) นิธิ เอียวศรีวงศ์
(3) พาเรโต
(4) แม็กซ์ เวเบอร์
(5) สค็อกโพล
ตอบ 5 หน้า 117, 130, 156 เธดา สค็อกโพล (Theda Skocpot) และปีเตอร์ อีแวน (Peter Evans) เป็นนักวิชาการที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อกระแสการนํารัฐกลับเข้ามาสู่การศึกษาทางการเมือง โดยทั้งสองได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง “Bringing the State Back In” ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้ถูกนํามาใช้ เป็นกระแสการเรียกร้องให้รัฐซึ่งถูกมองว่าเป็นเหมือนกล่องดํา คือเป็นที่รวมของอํานาจที่กลุ่ม ต่าง ๆ ใช้ในการต่อรอง แย่งชิง ผลักดันนโยบายสาธารณะให้สอดคล้องกับประโยชน์ของกลุ่มตน กลับเข้ามาสู่การเป็นศูนย์กลางของการวิเคราะห์ทางการเมือง
16. เป้าหมายของการศึกษาเปรียบเทียบในยุคปรัชญาการเมืองคือข้อใด
(1) หาเกณฑ์เชิงปทัสถาน
(2) ค้นหาสิ่งที่พึงประสงค์ทางการเมือง
(3) สร้างทฤษฎีเชิงประจักษ์
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 3, (คําบรรยาย) การศึกษาเปรียบเทียบในยุคปรัชญาการเมือง เน้นการศึกษาสิ่งที่ควร จะเป็นมากกว่าสิ่งที่เป็นอยู่ โดยมีเป้าหมายหลัก คือ การค้นหาเกณฑ์เชิงปทัสถานหรือสิ่งที่ พึงประสงค์หรือสิ่งที่ดีหรือสิ่งที่เหมาะสมในทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือระบอบการ ปกครองที่ดี ผู้ปกครองที่ดี รัฐที่ดี กฎหมายที่ดี เพื่อเสนอแนะหลักปฏิบัติทางการเมืองที่ถูกต้อง ชอบธรรม มีจรรยาบรรณ อุดมคติ หรือค่านิยมคอยกํากับ ทําให้การศึกษาในยุคนี้เชื่อมโยง อยู่กับเรื่องของคุณธรรมจริยธรรม และไม่ได้แยกเรื่องค่านิยมออกจากองค์ความรู้ทางการเมือง
17. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับระเบียบวิธีการศึกษาเปรียบเทียบแบบ Small-Ns
(1) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ
(2) เน้นศึกษาน้อยกรณี
(3) เน้นตีความหรือทําความเข้าใจความหมาย
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 4 หน้า 70 Small-Ns คือ การศึกษาน้อยกรณี ซึ่งมักจะถูกนํามาใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Methods) ซึ่งเป็นการศึกษาที่เน้นเรื่องของ การตีความหรือทําความเข้าใจความหมายอย่างรอบด้านหรือในลักษณะองค์รวม เพื่อทําความ
เข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อประเด็นที่ศึกษาในกรณีนั้น ๆ
18. “รัฐสมัยใหม่คือแหล่งรวมของอํานาจบังคับที่มีการจัดองค์การสําหรับครอบงําสังคม” คําอธิบายดังกล่าวเป็นของนักวิชาการท่านใด
(1) Andrew Heywood
(3) Max Weber
(2) Joel Migdal
(4) Gaetano Mosca
(5) Anthony Giddens
ตอบ 3 หน้า 146 แม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ได้ให้นิยามคําว่ารัฐไว้ว่า “รัฐสมัยใหม่คือแหล่งรวม ของอํานาจบังคับที่มีการจัดองค์การสําหรับครอบงําสังคม” (a compulsory association which organizes domination)
19. รัฐเป็นองค์รวมทางจิตวิญญาณที่มีเจตจํานงและเป้าหมายของตนเอง คือรัฐในความหมายใด
(1) รัฐในความหมายเชิงนามธรรม
(2) รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นน่านิยม
(3) รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่
(4) รัฐในความหมายเชิงองค์การ
(5) รัฐในฐานะเครื่องมือสร้างประโยชน์แก่สังคม
ตอบ 1 หน้า 148 รัฐในความหมายเชิงนามธรรม หมายถึง รัฐเป็นองค์รวมทางจิตวิญญาณที่มีเจตจํานงและเป้าหมายของตนเองแยกออกมาและอยู่ในระดับที่สูงกว่าปัจเจกบุคคล มีลักษณะเป็นสากล ซึ่งรัฐจะนําพามนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์ทางจิตวิญญาณ โดยที่มนุษย์จะต้องเชื่อฟังรัฐ
20. ข้อใดถูกต้องเมื่อกล่าวถึงทฤษฎีในการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบ
(1) กําหนดระดับของการอธิบาย
(2) เป็นกรอบเค้าโครงกว้าง ๆ ในการศึกษา
(3) ชุดคําอธิบายเชิงปัจจยาการ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 3 หน้า 82 ทฤษฎี (Theory) คือ ชุดของคําอธิบายอย่างเป็นรูปธรรมของความสัมพันธ์เชิง เหตุ-ผล (Causal Relations) ของปัจจัยหรือตัวแปรต่าง ๆ ที่ศึกษา หรือเรียกอีกอย่างว่า ชุดของคําอธิบายความสัมพันธ์เชิงปัจจยาการ
21. ตามทฤษฎีระบบเชิงโครงสร้าง-หน้าที่ โครงสร้างใดทําหน้าที่รวบรวมผลประโยชน์
(1) กลุ่มผลประโยชน์
(2) พรรคการเมือง
(3) รัฐบาล
(4) รัฐสภา
(5) ศาล
ตอบ 2 หน้า 93 – 94 ตามทฤษฎีระบบเชิงโครงสร้าง-หน้าที่นั้น แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) อธิบายว่า โครงสร้างทางการเมืองแต่ละอย่างสามารถทํางานได้หลายหน้าที่ แม้ใน ระบบการเมืองที่พัฒนาแล้วจะมีโครงสร้างหนึ่งขึ้นมาทําหน้าที่เฉพาะ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโครงสร้างดังกล่าวนั้นจะทําแค่หน้าที่เดียว เพราะโครงสร้างในทุกระบบการเมืองจะทําหน้าที่ หลาย ๆ อย่างเสมอ เช่น พรรคการเมืองมีหน้าที่หลักในการรวบรวมผลประโยชน์และเลือกสรร ผู้สมัครรับเลือกตั้ง แต่พรรคการเมืองก็ทําหน้าที่อื่น ๆ เช่น การเรียกร้องผลประโยชน์ให้กับ ประชาชน ให้การศึกษาทางการเมือง เป็นต้น
22. วิธีการเปรียบเทียบแบบ MSS และ MDS พัฒนาขึ้นโดยนักวิชาการคนใด
(1) Przeworski and Teune
(2) John Stuart Mill
(3) Antonio Gramsci
(4) Ragin and Rubinson
(5) Anthony Giddens
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ
23. ข้อใดคือชื่อเรียกรัฐสภาสหรัฐอเมริกา
(1) Parliament
(2) Assembly
(3) Congress
(4) Diet
(5) State Duma
ตอบ 3 หน้า 172 สถาบันนิติบัญญัติหรือรัฐสภา เป็นสถาบันที่มีหน้าที่หลักในการออกกฎหมายโดยสถาบันนิติบัญญัตินี้มีทั้งในประเทศประชาธิปไตยและประเทศเผด็จการ และมีชื่อเรียก แตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ ดังนี้
1. อังกฤษ เรียกว่า Parliament
2. ฝรั่งเศส เรียกว่า Assembly
3. สหรัฐอเมริกา เรียกว่า Congress
4. ญี่ปุ่น เรียกว่า Diet
5. ไทย เรียกว่า รัฐสภา
24. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษารัฐนิยม (Statist Model)
(1) มีคําอธิบายรัฐนิยมแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม Theda Skocpol กลุ่ม Eric Nordlinger และกลุ่ม Linda Weiss กับ John Hobson
(2) เกิดจากการผลักดันของ Theda Skocpol และ Peter Evans
(3) รัฐในมุมมองของ Eric Nordlinger มีอิสระในการใช้อํานาจน้อยที่สุด
(4) รัฐในมุมมอง Linda Weiss กับ John Hobson มีอิสระเพียงบางส่วนเท่านั้น
(5) ฐานคิดสําคัญคือรัฐจะมีบทบาทเสมอในการกําหนดนโยบาย
ตอบ 3 หน้า 156 – 158, (คําบรรยาย) อนุสรณ์ ลิ้มมณี ได้อธิบายรัฐนิยมโดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม Theda Skocpol กลุ่ม Eric Nordlinger และกลุ่ม Linda Weiss กับ John Hobson ซึ่งจาก 3 กลุ่มนี้ รัฐในมุมมองของ Eric Nordlinger มีอิสระในการใช้อํานาจสูงที่สุด รองลงมาคือ รัฐในมุมมองของ Theda Skocpot และรัฐในมุมมองของ Linda Weiss กับ John Hobson มีอิสระเพียงบางส่วนเท่านั้น
25. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการเลือกกรณีศึกษาในการเปรียบเทียบ
(1) ต้องเปรียบเทียบกรณีมากกว่า 1 ประเทศเท่านั้น
(2) ศึกษาประเทศเดียวก็ได้
(3) การเปรียบเทียบระดับโลกเป็นกรณีศึกษาที่ดีที่สุด
(4) การเปรียบเทียบกรณีศึกษาหลายประเทศทําให้ได้ข้อมูลเชิงลึกละเอียดที่สุด
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 40 – 41 การเลือกกรณีศึกษาในการเปรียบเทียบสามารถเลือกศึกษาประเทศเดียวก็ได้ ซึ่งการเปรียบเทียบอาจจะเป็นประเด็นใดประเด็นหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่งหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ภายในประเทศนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น ศึกษาเฉพาะสถาบันทางการเมืองหนึ่ง ๆ เช่น พรรคการเมือง สถาบันทหาร รัฐสภา กลุ่มผลประโยชน์ เป็นต้น ซึ่งการเลือกศึกษาประเทศเดียวนี้จะง่ายต่อ ผู้ศึกษารุ่นใหม่ที่ประสบการณ์ยังไม่เยอะมาก
26. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษาเงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตย
(1) เงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือการพัฒนาเศรษฐกิจ นักวิชาการคนสําคัญ คือ Lipset
(2) เงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือวัฒนธรรม นักวิชาการคนสําคัญ คือ Shedler
(3) วัฒนธรรมทางการเมืองที่เหมาะสมกับระบอบประชาธิปไตย คือ วัฒนธรรมแบบพลเมือง
(4) The Civic Culture : Political Attitudes and Democracy in Five Nations เป็นผลงาน ชิ้นสําคัญของ Almond กับ Verba
(5) เงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือเงื่อนไขทางสังคม นักวิชาการคนสําคัญ คือ Barrington
Moore Jr.
ตอบ 2 หน้า 252 – 253 นักวิชาการคนสําคัญที่เห็นว่าเงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือวัฒนธรรม คือ แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) และซิดนีย์ เวอร์บา (Sidney Verba) ซึ่งได้อธิบายไว้ในหนังสือเรื่อง “The Civic Culture : Political Attitudes and Democracy in Five Nations” ว่า “การนําระบอบประชาธิปไตยไปปรับใช้ในประเทศกําลังพัฒนา นอกจาก การสร้างสถาบันแบบประชาธิปไตยหรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจแล้ว สิ่งที่สําคัญไม่แพ้กันก็คือการสร้างให้เกิดวัฒนธรรมทางการเมืองที่สอดคล้องกับการทํางานของโครงสร้างเชิงสถาบันในระบอบประชาธิปไตย…”
27. รัฐที่มีประมุขเป็นคนธรรมดาที่เรียกว่าประธานาธิบดี
(1) Kingdom State
(2) Republic
(3) Unitary State
(4) Composite State
(5) Minimal State
ตอบ 2 หน้า 151 สาธารณรัฐ (Republic) คือ รัฐที่มีประมุขเป็นคนธรรมดาหรือเป็นผู้นําทางศาสนา รัฐแบบนี้พบได้ทั้งในระบอบประชาธิปไตย (เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี รัสเซีย อิตาลี อินเดีย) คอมมิวนิสต์ (เช่น จีน เวียดนาม) และรัฐที่ปกครองโดยหลักศาสนา (เช่น อิหร่าน)
28. หนังสือปรัชญาการเมืองเล่มใดถือเป็นงานเริ่มต้นของการศึกษาโดยการเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ
(1) The Prince
(2) Democracy in America
(3) Politics
(4) The Spirit of Laws
(5) The City of God
ตอบ 3 หน้า 3 – 4, (คําบรรยาย) หนังสือปรัชญาการเมืองเรื่อง “Politics” ของอริสโตเติ้ล (Aristotle) สะท้อนให้เห็นการใช้วิธีการเปรียบเทียบเพื่อการได้มาซึ่งองค์ความรู้ทางการเมือง ที่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการได้มาขององค์ความรู้ดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นจากการนําเอา กฎหมายปกครองของรัฐต่าง ๆ จํานวนมากถึง 158 รัฐมาเปรียบเทียบเพื่อดูว่าในโลกนี้มีรูปแบบ การปกครองกี่รูปแบบ และแบ่งว่ารูปแบบใดบ้างเป็นรูปแบบที่ดีและรูปแบบใดบ้างเป็นรูปแบบ ที่เลว ดังนั้นหนังสือเล่มนี้จึงถือเป็นงานเริ่มต้นของการศึกษาโดยการเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ
29. “พหุนิยมของระเบียบวิธีการศึกษา” (Methodological Pluralism) สอดคล้องกับข้อใด
(1) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์
(2) ยุคหลังสมัยใหม่
(3) Nest Analysis
(4) Mixed Method
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 74 – 75, 140 พหุนิยมของระเบียบวิธีการศึกษา (Methodological Pluralism) เกิดขึ้นในยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์หรือยุคหลังสมัยใหม่ เป็นการศึกษาที่มีความหลากหลาย ทั้งในเชิงระเบียบวิธีวิจัยซึ่งอาจใช้วิธีการแบบผสม (Mixed Method) หรือ “การวิเคราะห์ ประสานกันแบบรังนก” (Nest Analysis) และมีการขยายขอบเขตของการศึกษาครอบคลุม ทั้งเรื่องของการเมืองที่เป็นทางการ การเมืองที่ไม่เป็นทางการ ตลอดจนการเมืองในชีวิตประจําวัน เช่น เรื่องของอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมภาคประชาสังคม รวมถึง เรื่องปฏิสัมพันธ์ของการเมืองภายในและภายนอกประเทศ
30. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับรัฐสภาอังกฤษ
(1) ใช้ระบบสภาเดียว คือ House of Common
(2) ใช้ระบบสภาเดียว คือ House of Representative
(3) ใช้ระบบ 2 สภา คือ House of Lord กับ House of Common
(4) ใช้ระบบ 2 สภา คือ Senate กับ House of Representative
(5) ใช้ระบบ 2 สภา คือ House of Lord กับ House of Representative
ตอบ 3 หน้า 174 ระบบสองสภา (Bicamerat System) เป็นระบบรัฐสภาที่ประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาสูงและสภาล่าง ซึ่งแต่ละประเทศจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ดังนี้
1. ไทย เรียกว่า วุฒิสภากับสภาผู้แทนราษฎร
2. สหรัฐอเมริกา เรียกว่า Senate กับ House of Representative
3. อังกฤษ เรียกว่า House of Lord กับ House of Common
31. “การพัฒนาทางการเมืองกับความทันสมัยทางการเมืองไม่ใช่สิ่งเดียวกัน การพัฒนาทางการเมืองเป็นเรื่อง ของการเพิ่มความสามารถของระบบการเมืองในการตอบสนองความต้องการของประชาชน ส่วนความทันสมัยทางการเมืองเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองจากแบบจารีตมาเป็นระบบการเมืองที่ใช้อํานาจตามเหตุผล มีการจําแนกโครงสร้างแยกย่อยและทําหน้าที่เฉพาะ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน และกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ” คําอธิบายดังกล่าวเป็นของนักวิชาการท่านใด
(1) Pye
(2) Lipset
(3) Huntington
(4) Almond
(5) Coleman
ตอบ 3 หน้า 245 – 246 ซามูเอล ฮันทิงตัน (Samuel Huntington) อธิบายว่า การพัฒนาทาง การเมืองกับความทันสมัยทางการเมืองไม่ใช่สิ่งเดียวกัน การพัฒนาทางการเมืองเป็นเรื่องของการเพิ่มความสามารถของระบบการเมืองในการตอบสนองความต้องการของประชาชน ส่วนความทันสมัยทางการเมืองเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองจากแบบจารีตมาเป็นระบบการเมืองที่ใช้อํานาจตามเหตุผล มีการจําแนกโครงสร้างแยกย่อยและทําหน้าที่เฉพาะและส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ
32. อริสโตเติ้ลเห็นว่าระบอบการปกครองใดที่ถือเป็นการปกครองโดยคนส่วนใหญ่ที่เลว
(1) โพลิตี้
(2) คณาธิปไตย
(3) ทรราช
(4) ประชาธิปไตย
(5) อภิชนาธิปไตย
ตอบ 4 หน้า 4 อริสโตเติ้ล (Aristotle) ได้แบ่งรูปแบบการปกครองออกเป็น 6 รูปแบบ ดังนี้
33. ข้อใดไม่ถูกต้องเมื่อกล่าวถึงการเมืองเปรียบเทียบในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
(1) ตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางการเมืองให้เป็นวิทยาศาสตร์
(2) นักวิชาการรัฐศาสตร์ทําการเปรียบเทียบเนื่องจากไม่สามารถทดลองได้
(3) มีเป้าหมายสําคัญคือพัฒนาประชาธิปไตย
(4) เรียกร้องให้เกิดการยอมรับความจริงอันหลากหลาย
(5) ผลักดันโดยสหรัฐอเมริกาภายใต้บริบทสงครามเย็น
ตอบ 4 หน้า 21 – 22 การเมืองเปรียบเทียบในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือในยุคพฤติกรรมศาสตร์ มีนัยสําคัญ 2 ประการ คือ
1. เป็นสาขาวิชาที่ตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิธีการและองค์ความรู้ทางการเมืองให้เป็นวิทยาศาสตร์ เนื่องจากนักวิชาการมองว่าการเปรียบเทียบเป็นเหมือนการทดลองทางอ้อมสําหรับการศึกษา ทางสังคมศาสตร์ที่ไม่อาจทําการทดลองได้จริง ๆ หรือดังที่โรเบิร์ต เบตส์ กล่าวว่า “เราทําการเปรียบเทียบ ก็เนื่องจากเราไม่สามารถทดลองได้”
2. เป็นสาขาวิชาที่ตั้งขึ้นมาศึกษาการเมืองในต่างประเทศ (ที่ไม่ใช่สหรัฐอเมริกา) เพื่อให้เกิด ความเข้าใจและนําไปสู่การพัฒนาของประเทศเหล่านั้น (ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ)
34. ข้อใดเป็นระดับของหน่วยวิเคราะห์ในวิชาการเมืองเปรียบเทียบ
(1) ระดับที่เน้นสถาบันเป็นศูนย์กลาง
(2) ระดับที่เน้นรัฐเป็นศูนย์กลาง
(3) ระดับผู้กระทําการ
(4) ระดับโครงสร้าง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5หน้า 38 การแบ่งระดับของหน่วยวิเคราะห์ในวิชาการเมืองเปรียบเทียบอาจมีแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับนักวิชาการแต่ละคน เช่น เฮคและแฮร์ร็อป (Hague and Harrop) ได้แบ่งระดับของ หน่วยวิเคราะห์ออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับที่เน้นสถาบันเป็นศูนย์กลาง ระดับที่เน้นสังคมเป็น ศูนย์กลาง และระดับที่เน้นรัฐเป็นศูนย์กลาง ส่วนอนุสรณ์ ลิ้มมณี ได้แบ่งระดับของหน่วยวิเคราะห์ ออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับโครงสร้าง และระดับผู้กระทําการ
35. “ประชาธิปไตยที่มั่นคงยั่งยืนจะเกิดขึ้นเมื่อตัวแสดงทางการเมืองที่มีบทบาทสําคัญมีความตระหนักร่วมกันว่าไม่มีทางเลือกอื่นใดในระบอบการปกครองนอกจากประชาธิปไตย หรือประชาธิปไตยต้องถูกมองว่าเป็นเกมเดียวในเมือง” เป็นคําอธิบายการสร้างความมั่นคงยั่งยืนให้กับประชาธิปไตยโดยนักวิชาการท่านใด
(1) Andreas Shedler
(2) Larry Diamond
(3) Juan Linz
(4) Samuel Huntington
(5) Dankwart Rustow
ตอบ 3 หน้า 260 – 261 ฮวน ลินซ์ (Juan Linz) ได้กําหนดนิยามของการสร้างความมั่นคงยั่งยืน ให้กับประชาธิปไตยว่า “ประชาธิปไตยที่มั่นคงยั่งยืนจะเกิดขึ้นเมื่อตัวแสดงทางการเมือง ที่มีบทบาทสําคัญไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ กองทัพ หรือสถาบันอื่น ๆ มีความตระหนักร่วมกันว่า ไม่มีทางเลือกอื่นใดในระบอบการปกครองนอกจากประชาธิปไตยและไม่มีสถาบันหรือกลุ่มการเมืองใดจะมีอํานาจในการยับยั้งการดําเนินงานของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง… หรือหากกล่าวอย่างง่ายที่สุด ประชาธิปไตยต้องถูกมองว่าเป็นเกมเดียวในเมือง (The Only Game in Town)”
36. ข้อใดไม่ใช่สาระสําคัญของแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management)
(1) นําเอาแนวคิดด้านการตลาดและการบริหารงานภาคเอกชนมาใช้ในการบริหารงานภาครัฐ
(2) ส่งเสริมให้มีระบบแข่งขันในการจัดบริการสาธารณะ
(3) จัดโครงสร้างองค์การและระบบการทํางานให้มีขนาดใหญ่
(4) ส่งเสริมวินัยทางการเงินการคลัง
(5) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน
ตอบ 3 หน้า 249, (คําบรรยาย) สาระสําคัญของแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) มีดังนี้
1. นําเอาแนวคิดด้านการตลาดและการบริหารงานภาคเอกชนมาใช้ในการบริหารงานภาครัฐ
2. ส่งเสริมให้มีระบบแข่งขันในการจัดบริการสาธารณะ
3. ปรับโครงสร้างองค์การให้มีขนาดเล็กลงและลดขั้นตอนการทํางาน
4. ส่งเสริมวินัยทางการเงินการคลัง
5. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ฯลฯ
37. วิธีการพิจารณาระบบที่แตกต่างกันมากที่สุด คล้ายกับวิธีการใด
(1) วิธีการพิจารณาความเหมือน
(2) วิธีการพิจารณาความแตกต่าง
(3) วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่
(4) วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน
(5) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ
38. รัฐเข้าควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจจะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐโดยไม่มีการเปิดให้ เอกชนมีสิทธิในการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 4 หน้า 154 รัฐรวมศูนย์ (Collectivized State) คือ รัฐที่เข้าควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ หรือระบบเศรษฐกิจจะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐโดยไม่มีการเปิดโอกาสให้เอกชนมีสิทธิในการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเอง ระบบเศรษฐกิจทั้งหมดถูกวางแผนและจัดการโดยรัฐ จากส่วนกลาง รวมถึงมีการยกเลิกกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล คือ ไม่ให้เอกชนสามารถมีทรัพย์สิน ส่วนตัวได้ แต่ให้ทุกอย่างตกเป็นสมบัติของส่วนรวม รัฐประเภทนี้พบได้ในระบอบคอมมิวนิสต์ เช่น สหภาพโซเวียต จีนในยุคเหมา เจ๋อ ตุง เป็นต้น
39. Large-Ns มีความหมายถึงสิ่งใด
(1) จํานวนศึกษาหลายกรณี
(2) การศึกษาเชิงปริมาณ
(3) มีจุดแข็งในการทดสอบสมมติฐาน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 46 – 47, 64 Large-Ns หมายถึง จํานวนศึกษาหลายกรณี ซึ่งมักจะถูกนํามาใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Methods) ซึ่งข้อดีของการศึกษาหลายกรณี มีดังนี้
1. มีจุดแข็งในการทดสอบสมมติฐานให้เข้มแข็งมากขึ้น
2. สามารถนําข้อสรุปจากการศึกษาไปใช้กับกรณีศึกษานอกกลุ่มตัวอย่างได้อย่างถูกต้อง
3. ช่วยยืนยันความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างตัวแปรได้มีประสิทธิภาพ
4. ช่วยให้ผลการวิเคราะห์มีลักษณะกลมกลืนกัน ฯลฯ
40. กรณีศึกษาแบบใดช่วยยืนยันความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างตัวแปรได้มีประสิทธิภาพ
(1) Small-Ns
(2) การศึกษากรณีประเทศเดียว
(3) Large-Ns
(4) กรณีศึกษาตามรายประเด็น
(5) กรณีศึกษาเชิงลึก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ
41. ประชาธิปไตยทางตรงเกิดขึ้นครั้งแรกที่ใด
(1) Roman
(2) Athens
(3) Sparta
(4) Thebes
(5) Corinth
ตอบ 2หน้า 165, (คําบรรยาย) ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) เป็นรูปแบบของ ระบอบประชาธิปไตยที่เปิดให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิเข้าไปใช้อํานาจในทางการเมืองอย่าง เท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นครั้งแรกที่นครรัฐเอเธนส์ (Athens) ในยุคกรีกโบราณ ทั้งนี้ประชาธิปไตยรูปแบบนี้สามารถทําได้ในกรณีของรัฐที่มีประชากรจํานวนน้อย ดังนั้นในโลกปัจจุบันที่มีประชากรจํานวนมหาศาล ประชาธิปไตยทางตรงจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
42. ค้นหาตัวแปรตัวที่ต่างกันท่ามกลางคุณสมบัติที่เหมือน ๆ กัน ที่ส่งผลให้ผลลัพธ์ออกมาแตกต่างกัน เพื่อสรุปว่าตัวแปรที่ต่างกันนั้นคือสาเหตุของปรากฏการณ์ คือวิธีการเปรียบเทียบแบบใด
(1) วิธีการพิจารณาความเหมือน
(2) วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน
(3) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด
(4) วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่
(5) วิธีการพิจารณาระบบที่แตกต่างกันมากที่สุด
ตอบ 3 หน้า 59, (คําบรรยาย) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด (Most Similar Systems : MSS) เป็นการค้นหาตัวแปรตัวที่ต่างกันท่ามกลางคุณสมบัติที่เหมือน ๆ กัน ที่ส่งผลให้ผลลัพธ์ ออกมาแตกต่างกัน เพื่อสรุปว่าตัวแปรที่ต่างกันนั้นคือสาเหตุของปรากฏการณ์
43. แนวทางสถาบันดั้งเดิมแตกต่างกับแนวทางสถาบันนิยมใหม่ในข้อใด
(1) แนวทางสถาบันดั้งเดิมเน้นศึกษาสถาบันที่เป็นทางการ
(2) แนวทางสถาบันดั้งเดิมเน้นศึกษาสถาบันที่ไม่เป็นทางการ
(3) แนวทางสถาบันดั้งเดิมเน้นศึกษาสถาบันตามกรอบกฎหมาย
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 115, 118, 120 – 122 แนวทางสถาบันดั้งเดิม เน้นศึกษาสถาบันที่เป็นทางการหรือ ศึกษาสถาบันตามกรอบกฎหมาย ส่วนแนวทางสถาบันนิยมใหม่ให้ความสําคัญกับการศึกษาสถาบันที่ไม่เป็นทางการควบคู่กันไปกับการศึกษาสถาบันที่เป็นทางการ รวมถึงขยายขอบเขต ของการศึกษาไปสู่เรื่องของพฤติกรรมของตัวแสดงทางการเมือง ปัจจัยทั้งหลายที่สามารถ ส่งผลทั้งต่อตัวสถาบันและต่อพฤติกรรมทางการเมืองภายในสถาบันต่าง ๆ ตลอดจนการศึกษา ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถาบันและตัวแสดงทางการเมืองต่าง ๆ
44. การปฏิวัติดอกมะลิในตูนีเซีย ค.ศ. 2011 เกิดแรงกระเพื่อมไปสู่การปฏิวัติในอียิปต์ เยเมน บาห์เรน ลิเบียและซีเรีย มีความสัมพันธ์กับข้อใด
(1) Color Revolutions
(2) Arab Spring
(3) Rose Revolution
(4) Asian Spring
(5) Tutip Revolution
ตอบ 2 หน้า 273, (คําบรรยาย) การปฏิวัติดอกมะลิในตูนีเซีย ค.ศ. 2011 เป็นการลุกฮือของ ประชาชนเพื่อต่อต้านอํานาจรัฐและระบบที่เป็นอยู่ ซึ่งการปฏิวัตินี้ได้ทําให้เกิดแรงกระเพื่อม ไปสู่การปฏิวัติในกลุ่มประเทศอาหรับ ได้แก่ อียิปต์ เยเมน บาห์เรน ลิเบีย และซีเรีย หรือที่ เรียกกันว่า “การปฏิวัติในฤดูใบไม้ผลิในอาหรับ” หรือ “อาหรับสปริง” (Arab Spring)
45. การปกครองระบบกึ่งประธานาธิบดี-กึ่งรัฐสภา เกิดขึ้นครั้งแรกที่ใด
(1) ฝรั่งเศสในช่วงสาธารณรัฐที่ 5
(2) เยอรมนีในช่วงอดอล์ฟ ฮิตเลอร์
(3) โปรตุเกสในช่วงหลังการปฏิวัติคาร์เนชั่น
(4) เยอรมนีในช่วงรัฐธรรมนูญไวมาร์
(5) รัสเซียในช่วงหลังสงครามเย็นสิ้นสุดลง
ตอบ 4 หน้า 180 การปกครองระบบกึ่งประธานาธิบดี-กึ่งรัฐสภา เป็นระบบที่มีการผสมผสาน ระหว่างระบบประธานาธิบดีและระบบรัฐสภา ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศเยอรมนี ในช่วงรัฐธรรมนูญไวมาร์ (ค.ศ. 1919 – 1939) แต่เป็นที่รู้จักเมื่อประเทศฝรั่งเศสนําไปใช้
46. สาขาการเมืองเปรียบเทียบถือกําเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในยุคใด
(1) ยุคสถาบัน
(2) ยุคเปลี่ยนผ่าน
(3) ยุคพฤติกรรมศาสตร์
(4) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์
(5) ยุคหลังสมัยใหม่
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ
47. ระบบพรรคการเมืองของจีน
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System
ตอบ 1 หน้า 219 ระบบพรรคเดียว (One-Party System) คือ การมีพรรคการเมืองพรรคเดียว เท่านั้นในระบบการเมือง พบในประเทศเผด็จการทั้งในรูปแบบฟาสซิสต์และคอมมิวนิสต์ ในระบบพรรคเดียวนี้อาจมีการเลือกตั้งด้วย แต่มีผู้สมัครลงแข่งขันจากพรรคการเมืองเดียว เท่านั้น ตัวอย่างเช่น ระบบพรรคการเมืองของจีน เป็นต้น
48. รัฐเข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดการพัฒนาและเกิดการขยายตัวของระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมคือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 2 หน้า 153 รัฐเพื่อการพัฒนา (Developmental State) คือ รัฐที่เข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาและเกิดการขยายตัวของระบบทุนนิยมอุตสาหกรรม ซึ่งรัฐอาจจะประสาน ความร่วมมือกับนายทุนระดับชาติเพื่อการดังกล่าว ทั้งนี้การแทรกแซงดังกล่าวเป็นไปเพื่อการช่วยเหลือเอกชนในการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและส่งเสริมให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศ มากกว่าการเข้าไปขัดขวางหรือรับเอากิจกรรมทางเศรษฐกิจมาดําเนินการเอง ตัวอย่างของรัฐ ประเภทนี้ เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ เป็นต้น
49. แนวทางการวิเคราะห์ใดจัดอยู่ในกลุ่มแนวทางกระแสหลัก
(1) แนวทางระบบ
(2) แนวทางวัฒนธรรมทางการเมือง
(3) แนวทางการเมืองวัฒนธรรม
(4) แนวทางมาร์กซิสต์ใหม่
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 5 หน้า 83 – 127 แนวทางการวิเคราะห์กระแสหลัก ได้แก่
1. แนวทางระบบ
2. แนวทางวัฒนธรรมทางการเมือง
3. แนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผล
4. แนวทางสถาบันนิยมใหม่
5. แนวทางโครงสร้าง
50. รัฐที่เกิดขึ้นจากการรวมกันของรัฐอธิปไตยมากกว่า 2 รัฐขึ้นไป
(1) Kingdom State
(2) Republic
(3) Unitary State
(4) Composite State
(5) Minimal State
ตอบ 4 หน้า 151 – 152 รัฐรวม (Composite State) หรือสหพันธรัฐ (Federation) คือ รัฐที่เกิดขึ้น จากการรวมกันของรัฐอธิปไตยมากกว่า 2 รัฐขึ้นไป มีการจัดตั้งรัฐบาลกลางขึ้นโดยการมอบ อธิปไตยบางส่วนให้รัฐบาลกลางเพื่อจัดการในเรื่องสําคัญของส่วนรวมด้วยเหตุผลในเรื่องของ การป้องกันภัยรุกราน ความได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น ในขณะที่แต่ละรัฐที่มารวมตัวกัน ก็ยังคงมีอธิปไตยของตนเองอยู่บางส่วน ดังนั้นรัฐรวมจึงมีรัฐบาล 2 ระดับ คือ รัฐบาลกลาง และ รัฐบาลของท้องถิ่นหรือมลรัฐ ตัวอย่างของรัฐรวม เช่น สหรัฐอเมริกา สหพันธรัฐรัสเซีย เป็นต้น
51. คําอธิบายอันโด่งดังที่ว่า “การพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยส่งผลต่อการพัฒนาให้เป็นประชาธิปไตย”เป็นของนักวิชาการผู้ใด
(1) ไดมอนด์
(2) กิดเด้นส์
(3) ลิปเซ็ต
(4) ลาสเวลล์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 64, 67 – 68 งานของลิปเซ็ต (Lipset) เรื่อง “Political Man” เป็นการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกับความเป็นประชาธิปไตย โดยใช้ ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและการศึกษาหลายกรณี (Large-Ns) ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่า กลุ่มประเทศที่มีประชาธิปไตยมั่นคง ประชาชนจะมีรายได้สูงกว่าประเทศที่มีประชาธิปไตย ไม่มั่นคงหรือเป็นเผด็จการ จากงานชิ้นนี้ของลิปเซ็ตได้นํามาสู่ข้อสรุปเป็นคําอธิบายทั่วไป อันโด่งดังที่ว่า “การพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยส่งผลต่อการพัฒนาให้เป็นประชาธิปไตย”
52. งานเรื่อง “Making Democracy Work : Civic Traditions in Modern Italy” ของโรเบิร์ต พุตนัมใช้ระเบียบวิธีการศึกษาแบบใด
(1) เชิงปริมาณ
(2) เชิงคุณภาพ
(3) Large-Ns
(4) Mixed Method
(5) เชิงสถิติ
ตอบ 4 หน้า 74 งานเรื่อง “Making Democracy Work : Civic Traditions in Modern Italy” ของ โรเบิร์ต พุตนัม (Robert Putnum) เป็นการศึกษาบทบาทของวัฒนธรรมแบบพลเมืองที่ส่งผลต่อ การทํางานของระบอบประชาธิปไตย โดยเปรียบเทียบระหว่างรัฐบาลระดับภูมิภาคในภาคเหนือ และภาคใต้ของอิตาลี ซึ่งพุตนัมได้ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาแบบผสม (Mixed Method) โดยใช้วิธีการเชิงปริมาณเพื่อสํารวจทัศนคติของพลเมือง และใช้วิธีการเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์เพื่อสืบค้นข้อมูลความเป็นมาของความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างภูมิภาคในอิตาลี
53. เพราะเหตุใดแนวคิดแบบมาร์กซิสต์จึงไม่เชื่อว่าประชาธิปไตยที่มั่นคงจะเกิดขึ้นได้ในโลกทุนนิยม
(1) เพราะยากที่สถาบันการเมืองจะมีความเข้มแข็ง
(2) เพราะเอกชนจะเรียกร้องให้รัฐมีบทบาทน้อย
(3) เพราะมีความเจริญทางวัตถุแต่จิตใจผู้คนตกต่ำ
(4) เพราะมีโครงสร้างที่เกิดการเอารัดเอาเปรียบ
(5) เพราะผู้คนไม่สนใจคุณธรรมจริยธรรมทางศาสนา
ตอบ 4 หน้า 134 – 136, (คําบรรยาย) แนวคิดแบบมาร์กซิสต์ไม่เชื่อว่าประชาธิปไตยที่มั่นคง จะเกิดขึ้นได้ในโลกทุนนิยม เพราะหัวใจสําคัญของประชาธิปไตยคือความเท่าเทียมกัน แต่ใน ระบบทุนนิยมกลับมีโครงสร้างที่ทําให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบ กล่าวคือ ในระบบทุนนิยมนั้น ชนชั้นที่ออกแรงผลิตคือชนชั้นแรงงาน แต่ชนชั้นนายทุนกลับรีบเอามูลค่าที่ชนชั้นแรงงานผลิตได้ ไปเป็นของตน ซึ่งโครงสร้างดังกล่าวทําให้เกิด “ชนชั้นผู้ได้เปรียบ” กับ “ชนชั้นผู้เสียเปรียบ” ซึ่งทําให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในสังคม
54. ระบบพรรคที่มี 2 พรรคใหญ่ผลัดกันขึ้นสู่อํานาจ เช่น เยอรมนี ออสเตรีย และมีพรรคขนาดเล็กอีกบางส่วน มีเสียงจํานวนหนึ่งแต่ไม่พอจะจัดตั้งรัฐบาล
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System
ตอบ 4 หน้า 221, (คําบรรยาย) ระบบกึ่ง 2 พรรค (Two-and-a-Half-Party System) คือ การมี 2 พรรคใหญ่ผลัดกันขึ้นสู่อํานาจ และมีพรรคขนาดเล็กอีกบางส่วนมีเสียงจํานวนหนึ่ง แต่ไม่พอจะจัดตั้งรัฐบาล เช่น ระบบพรรคการเมืองในโปรตุเกส สเปน กรีซ เยอรมนี ออสเตรีย เป็นต้น
55. แนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผลถูกจัดไว้ในกลุ่มแนวทางของยุคใด
(1) ยุคปรัชญา
(2) ยุคสถาบัน
(3) ยุคเปลี่ยนผ่าน
(4) ยุคพฤติกรรมศาสตร์
(5) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์
ตอบ 5 หน้า 108 – 109 แนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผล (Rational Choice Approach) เป็นแนวทางที่ได้รับอิทธิพลมาจากสาขาเศรษฐศาสตร์ โดยเริ่มถูกนํามาใช้ในการวิเคราะห์ ทางการเมืองในช่วงทศวรรษ 1950 แต่ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงทศวรรษ 1990 ซึ่งเป็น ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ ดังนั้นแนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผลจึงถูกจัดไว้ในกลุ่มแนวทาง หรือทฤษฎีในยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นแนวทางยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ในกระแสหลักที่ยังเชื่อมั่นในการสร้างความเป็นศาสตร์แบบวิทยาศาสตร์ในทางการเมือง
56. งานเรื่อง “Social Origins of Dictatorship and Democracy” ของมัวร์ จูเนียร์ ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาแบบใด
(1) เชิงปริมาณ
(2) เชิงคุณภาพ
(3) Large-Ns
(4) Mixed Method
(5) เชิงสถิติ
ตอบ 2 หน้า 72 งานเรื่อง “Social Origins of Dictatorship and Democracy” ของแบร์ริงตัน มัวร์ จูเนียร์ (Barrington Moore Jr.) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและการศึกษาน้อยกรณี (Small-NS) ซึ่งงานชิ้นนี้มัวร์ได้สร้างคําอธิบายใหม่ที่แตกต่างจากคําอธิบายเดิมที่มักบอกว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสู่การเป็นประชาธิปไตย โดยมีการอธิบายที่ซับซ้อนมากขึ้น พิจารณาปัจจัยหรือตัวแปรต้นจํานวนมากขึ้นทั้งในส่วนของชนชั้นทางสังคม โครงสร้างทาง เศรษฐกิจ อํานาจรัฐ ตลอดจนพิจารณาถึงปฏิสัมพันธ์กันเองของตัวแปรต้นต่าง ๆ ควบคู่กันไป กับการพิจารณาอิทธิพลที่มีต่อตัวแปรตาม ซึ่งนําไปสู่ข้อสรุปที่โด่งดังที่ว่า “ไม่มีชนชั้นนายทุน ไม่มีประชาธิปไตย”
57. รัฐเป็นแหล่งรวมของชนชั้นนําที่มีอํานาจเหนือคนกลุ่มอื่น ๆ ในสังคม คือรัฐในความหมายใด
(1) รัฐในความหมายเชิงนามธรรม
(2) รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นน่านิยม
(3) รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่
(4) รัฐในความหมายเชิงองค์การ
(5) รัฐในฐานะเครื่องมือสร้างประโยชน์แก่สังคม
ตอบ 2 หน้า 148 – 149 รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นนํานิยม หมายถึง รัฐเป็นแหล่งรวมของชนชั้นนําที่มีอํานาจเหนือคนกลุ่มอื่น ๆ ในสังคม
58. ในทฤษฎีระบบการเมือง ปัจจัยนําเข้าประกอบด้วยอะไรบ้าง
(1) ข้อเรียกร้องความต้องการและการสนับสนุน
(2) รัฐบาลและรัฐสภา
(3) พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์
(4) นโยบายและการปฏิบัติ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 89 – 90 ในทฤษฎีระบบการเมืองนั้น เดวิด อีสตัน (David Easton) อธิบายว่า “ระบบการเมือง” (Political System) เป็นโครงสร้างของความสัมพันธ์ซึ่งทําหน้าที่อยู่ภายใต้ “สิ่งแวดล้อม” (Environment) โดยจะมี “ปัจจัยนําเข้า (Inputs) ซึ่งประกอบด้วย ข้อเรียกร้อง ความต้องการ (Demands) และการสนับสนุน (Supports) จากสิ่งแวดล้อมเข้ามาสู่ระบบการเมือง แล้วระบบการเมืองก็จะทําหน้าที่ในการตัดสินใจแปลงปัจจัยนําเข้าดังกล่าวเป็น “ปัจจัยนําออก” (Outputs) ในรูปของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายต่าง ๆ ออกไปสู่สิ่งแวดล้อม และผลจากการทํางานของระบบการเมืองก็จะเกิดเป็น “ผลสะท้อนกลับ” (Feedback) กลับเข้าไปเป็นปัจจัยนําเข้าของระบบการเมืองอีกครั้งหนึ่ง
59. รัฐคือองค์ประกอบของสถาบันต่าง ๆ ที่รวมกันขึ้นเป็นองค์การขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันทางการปกครองทั้งหลาย คือรัฐในความหมายใด
(1) รัฐในความหมายเชิงนามธรรม
(2) รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นนํานิยม
(3) รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่
(4) รัฐในความหมายเชิงองค์การ
(5) รัฐในฐานะเครื่องมือสร้างประโยชน์แก่สังคม
ตอบ 4 หน้า 149 รัฐในความหมายเชิงองค์การ หมายถึง รัฐคือองค์ประกอบของสถาบันต่าง ๆ ที่รวมกันขึ้นเป็นองค์การขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันทางการปกครองทั้งหลาย
60.1 เขตมีผู้แทนได้มากกว่า 1 คน แล้วแต่ว่าจํานวนผู้แทนพึงมีในเขตนั้นว่ามีได้กี่คนขึ้นอยู่กับจํานวน ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เช่น 2 คน หรือ 3 คน
(1) ระบบการเลือกตั้งแบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 5 หน้า 200 ระบบเสียงข้างมากธรรมดา หนึ่งเขตมีตัวแทนมากกว่าหนึ่งคน (Multi-Member District/Constituencies : MMD) หรือระบบรวมเขตเรียงเบอร์ (Block Voting : BV) เป็น ระบบเสียงข้างมากธรรมดา แต่ใน 1 เขตมีผู้แทนได้มากกว่า 1 คนแล้วแต่ว่าจํานวนผู้แทนจึงมี ในเขตนั้นว่ามีได้กี่คนขึ้นอยู่กับจํานวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เช่น 2 คน หรือ 3 คน โดยผู้เลือกตั้งสามารถ เลือกผู้สมัครได้ตามจํานวนผู้แทนในแต่ละเขต ซึ่งอาจเลือกจากพรรคเดียวกันเรียงเบอร์ไปเลย หรือจะเลือกผู้สมัครจากต่างพรรคก็ได้ หรือหากประสงค์เลือกเพียงเบอร์เดียวก็ได้ ผู้ที่ได้คะแนน สูงสุดเรียงตามลําดับจนครบตามจํานวนผู้แทนจึงมีก็จะได้เป็นผู้แทนในเขตนั้น ๆ
61. หลักการแบ่งแยกอํานาจ (Separation of Power) คือรูปแบบการปกครองของรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยรูปแบบใด
(1) Presidential System
(2) Semi-Presidential System
(3) Semi-Parliamentary System
(4) Parliamentary System
(5) Presidential-Parliamentary System
ตอบ 1 หน้า 178 การปกครองระบบประธานาธิบดี (Presidential System) มีต้นแบบมาจาก ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการปกครองที่มีการแบ่งแยกอํานาจเด็ดขาดระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ กับฝ่ายบริหารบนหลักการแบ่งแยกอํานาจ (Separation of Power) โดยฝ่ายนิติบัญญัติและ ฝ่ายบริหารต่างก็มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ดังนั้นการทํางานของฝ่ายนิติบัญญัติ กับฝ่ายบริหารจึงแยกอิสระจากกันค่อนข้างสูง แต่ก็มีการตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน
62. ยุคที่มองว่าการทําให้ทันสมัย คือ การทําให้เป็นประชาธิปไตย
(1) ยุคเริ่มต้นของการพัฒนา
(2) การพัฒนาในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
(3) การพัฒนาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงช่วงปี ค.ศ. 1980
(4) การพัฒนาในช่วง ค.ศ. 1980 – 2000
(5) การพัฒนาในช่วงตั้งแต่ ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ
63. กลุ่มผลประโยชน์ในระบบนี้ ประกอบด้วยกลุ่มผลประโยชน์ประเภทต่าง ๆ ในสังคมที่แต่ละกลุ่มมีอํานาจ อิสระของตนเอง โดยไม่มีกลุ่มใดมีอํานาจเหนือกลุ่มอื่น คือระบบกลุ่มผลประโยชน์แบบใด
(1) Democratic Corporatist Interest Group System
(2) Controlled Interest Group System
(3) Pluralist Interest Group System
(4) Institutional Group System
(5) Public Interest Group System
ตอบ 3 หน้า 232 ระบบพหุนิยม (Pluralist Interest Group System) กลุ่มผลประโยชน์ในระบบนี้ ประกอบด้วยกลุ่มผลประโยชน์ประเภทต่าง ๆ ในสังคมที่แต่ละกลุ่มมีอํานาจอิสระของตนเอง โดยไม่มีกลุ่มใดมีอํานาจเหนือกลุ่มอื่น แต่จะหมุนเวียนกันไปมีบทบาทหลักในประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของกลุ่มตน เมื่อเป็นประเด็นอื่นก็จะมีกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มอื่นเข้าไป มีบทบาทหลักแทน ระบบกลุ่มผลประโยชน์ดังกล่าวนี้พบมากในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และนิวซีแลนด์ เป็นต้น
64. “ไม่มีชนชั้นนายทุน ไม่มีประชาธิปไตย” เป็นคํากล่าวของนักวิชาการคนใด
(1) แกเบรียล อัลมอนด์
(2) มาร์ติน ลิปเซ็ต
(3) เธดา สค็อกโพล
(4) แบร์ริงตัน มัวร์ จูเนียร์
(5) โรเบิร์ต ดาห์ล
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 56. ประกอบ
65. การศึกษาเปรียบเทียบในสหรัฐอเมริกาในยุคสถาบันเป็นไปเพื่อเป้าหมายใด
(1) ถอดบทเรียนจากกรณีศึกษาของระบบการปกครองที่มีความก้าวหน้าในยุโรป
(2) สร้างรัฐสมัยใหม่
(3) พัฒนาระบบเศรษฐกิจแบบพาณิชย์นิยม
(4) พัฒนาตัวแบบทางการปกครอง
(5) ข้อ 1 และ 4 ลูก
ตอบ 5 หน้า 8 การศึกษาเปรียบเทียบในสหรัฐอเมริกาในยุคสถาบันมีเป้าหมายเพื่อถอดบทเรียนจากกรณีศึกษาของระบบการปกครองที่มีความก้าวหน้าในยุโรป เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาตัวแบบ
ทางการปกครอง
66. ผู้ที่ได้รับเลือกต้องได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิทั้งหมด
(1) ระบบการเลือกตั้งแบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 2 หน้า 202 ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากเด็ดขาด หรือระบบเสียงส่วนใหญ่ (Majority Electoral System) เป็นระบบที่ผู้ที่ได้รับเลือกต้องได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ ทั้งหมด เพื่อให้ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นตัวแทนของประชาชนส่วนใหญ่หรือสะท้อนเจตนารมณ์ของ ประชาชนอย่างแท้จริง ระบบนี้โดยทั่วไปจะมีผู้แทนได้เขตละ 1 คน
67. ข้อใดไม่ใช่ตัวชี้วัดความเป็นสถาบันของฮันทิงตัน
(1) ความสามารถในการปรับตัว
(2) การแบ่งโครงสร้างทําหน้าที่เฉพาะ
(3) ความรวดเร็วในการทํางาน
(4) ความเป็นอิสระในตนเอง
(5) ความเป็นปึกแผ่น
ตอบ 3 หน้า 119 – 120 ซามูเอล ฮันทิงตัน (Samuel Huntington) ได้เสนอตัวชี้วัดความเป็น สถาบัน ซึ่งมี 4 ประการ ได้แก่
1. ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability)
2. การแบ่งโครงสร้างแยกย่อยลงไปและทําหน้าที่เฉพาะ (Complexity)
3. ความเป็นอิสระในตนเอง (Autonomy) 4. ความเป็นปึกแผ่น (Coherence)
68. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของวัฒนธรรมทางการเมืองแบบ Subject
(1) เป็นความสัมพันธ์แบบบนลงล่าง
(2) เป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก
(3) เป็นเรื่องของกฎเกณฑ์ปฏิบัติ
(4) เป็นการเมืองแบบใช้เหตุผล
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 102, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมทางการเมืองแบบรับรู้แต่ไม่เข้าร่วมทางการเมืองหรือ แบบไพร่ฟ้า (Subject) เป็นวัฒนธรรมที่ประชาชนสนใจข่าวสาร มีความรู้เกี่ยวกับการเมือง แต่ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง เพราะรู้สึกว่าตนเองไม่ได้มีอํานาจทางการเมือง เรื่องของ การเมืองเป็นเรื่องของผู้นํา ดังนั้นลักษณะของวัฒนธรรมแบบนี้จึงเป็นความสัมพันธ์แบบ บนลงล่าง การเมืองเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกและกฎเกณฑ์ปฏิบัติมากกว่าที่จะเป็น การเมืองแบบใช้เหตุผล
69. ปัจจัยใดที่คาร์ล มาร์กซ์ ให้ความสําคัญที่สุดเมื่อวิเคราะห์อํานาจทางการเมือง
(1) อํานาจของกฎหมาย
(2) โครงสร้างอํานาจในระบบเศรษฐกิจ
(3) การครอบงําทางความคิดผ่านทางศาสนา
(4) แสนยานุภาพทางทหาร
(5) อํานาจของรัฐในส่วนของการพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก
ตอบ 2 หน้า 134 – 135 ทฤษฎีมาร์กซิสต์ (Marxist Theory) กําเนิดขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 โดยคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ซึ่งวิเคราะห์และวิพากษ์วิจารณ์ระบบทุนนิยมอย่างถึงรากถึงโคน หรือก็คือ ปฏิเสธระบบทุนนิยมโดยสิ้นเชิง โดยการวิเคราะห์ของมาร์กซ์นั้นในทางหนึ่งเป็นการ วิเคราะห์เชิงโครงสร้างและการวิเคราะห์พัฒนาการเชิงประวัติศาสตร์ แต่หัวใจหลักอยู่ที่การใช้ โครงสร้างอํานาจในระบบเศรษฐกิจในการวิเคราะห์อํานาจทางการเมือง
70. “ความตื่นตัวของประชาชนในตะวันออกกลางที่ลุกฮือขึ้นมาต่อต้านอํานาจเผด็จการในปรากฏการณ์อาหรับสปริงไม่ว่าจะเป็นในอียิปต์ ตูนีเซีย เป็นภาพสะท้อนสําคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย ในคลื่นลูกที่ 4” จากข้อความดังกล่าวเป็นคําอธิบายโดยนักวิชาการท่านใด
(1) Andreas Shedler
(2) Larry Diamond
(3) Juan Linz
(4) Samuel Huntington
(5) Dankwart Rustow
ตอบ 2 หน้า 293 ลาร์รี่ ไดมอนด์ (Larry Diamond) อธิบายว่า ความตื่นตัวของประชาชนใน ตะวันออกกลางที่ลุกฮือขึ้นมาต่อต้านอํานาจเผด็จการในปรากฏการณ์อาหรับสปริง (Arab Spring) ไม่ว่าจะเป็นในอียิปต์ ตูนีเซีย เป็นภาพสะท้อนสําคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่ ประชาธิปไตยในคลื่นลูกที่ 4
71. รัฐที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คือรัฐที่เกิดขึ้นในยุโรปภายหลังการทําสนธิสัญญาฉบับใด
(1) Treaty of Ulm 1647
(2) Treaty of Concordia 1648
(3) Treaty of Zboriv 1649
(4) Treaty of Westphalia 1648
(5) Treaty of Breda 1650
ตอบ 4 หน้า 147 รัฐที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คือ รัฐที่เกิดขึ้นในยุโรปภายหลังจากการทําสนธิสัญญา เวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) ในยุโรปในปี ค.ศ. 1648 ซึ่งก่อให้เกิดรัฐสมัยใหม่ อันประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ ดินแดนที่แน่นอน (Territory) ประชากร (Population) รัฐบาล (Government) และอํานาจอธิปไตย (Sovereignty)
72. หลักการเชื่อมโยงอํานาจ (Fusion of Power) คือรูปแบบการปกครองของรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยรูปแบบใด
(1) Presidential System
(2) Semi-Presidential System
(3) Semi-Parliamentary System
(4) Parliamentary System
(5) Presidential-Parliamentary System
ตอบ 4 หน้า 176 – 177 การปกครองระบบรัฐสภา (Parliamentary System) มีต้นแบบมาจากประเทศอังกฤษ เป็นการปกครองที่มีการแยกอํานาจระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ แบบไม่เด็ดขาด การใช้อํานาจของฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติมีความสัมพันธ์กันตาม หลักการเชื่อมโยงอํานาจ (Fusion of Power)
73. การศึกษาเปรียบเทียบในยุคปรัชญาและยุคสถาบันอาจเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่าอะไร
(1) การเมืองเปรียบเทียบ
(2) การปกครองเปรียบเทียบ
(3) ปรัชญาเปรียบเทียบ
(5) ประชาธิปไตยเปรียบเทียบ
(4) ทฤษฎีเปรียบเทียบ
ตอบ 2 หน้า 4 – 5, 8 การศึกษาเปรียบเทียบในยุคปรัชญาและยุคสถาบันอาจเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า “การปกครองเปรียบเทียบ”
74. แนวทางการวิเคราะห์ใดจัดอยู่ในกลุ่มแนวทางกระแสวิพากษ์
(1) แนวทางระบบ
(2) แนวทางวัฒนธรรมทางการเมือง
(3) แนวทางสถาบันนิยมใหม่
(4) แนวทางมาร์กซิสต์ใหม่
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 4 หน้า 85 – 86, 107, 134, 140 แนวทางการวิเคราะห์กระแสวิพากษ์ ได้แก่
1. แนวทางการเมืองวัฒนธรรม
2. แนวทางมาร์กซิสต์
3. แนวทางมาร์กซิสต์ใหม่ (ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ)
4. แนวทางหลังสมัยใหม่หรือแนวทางหลังโครงสร้างนิยม
75. ตามแนววิเคราะห์การเลือกอย่างมีเหตุมีผล คําว่ามนุษย์ทุกคนมีเหตุมีผลหมายถึงข้อใด
(1) จะทําการใดต้องมีการคํานวณ
(2) คิดถึงประโยชน์ได้เสีย
(3) แสวงหาประโยชน์สูงสุด
(4) หลีกเลี่ยงความเจ็บปวด
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 110, (คําบรรยาย) แนววิเคราะห์การเลือกอย่างมีเหตุมีผล (Rational Choice Approach) มีสมมติฐานสําคัญคือ มนุษย์ทุกคนมีเหตุมีผล ซึ่งคําว่ามีเหตุมีผลหมายถึง มนุษย์ทุกคนเวลา จะทําการใดจะต้องคํานวณอยู่ตลอดเวลาว่าตนเองได้ประโยชน์อย่างไร และเสียประโยชน์ อย่างไร หรือคํานวณผลได้ผลเสียที่จะได้รับจากทางเลือกแต่ละทาง โดยมนุษย์จะตัดสินใจเลือก ทางเลือกที่ได้ประโยชน์สูงสุด และหลีกเลี่ยงทางเลือกที่จะทําให้เสียประโยชน์มากที่สุดหรือหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดจากทางเลือกที่จะทําให้เสียประโยชน์นั่นเอง
76. นักวิชาการคนใดเสนอแนวคิดการวิเคราะห์วาทกรรม
(1) หลุยส์ อัลธูแซร์
(2) เออร์เนสโต ลาเคลา
(3) ซองทัล มูฟ
(4) ชาร์ค แดร์ริดา
(5) มิเชล ฟูโกต์
ตอบ 5 หน้า 140 – 143 แนวคิดที่สําคัญของนักวิชาการในยุคหลังสมัยใหม่ มีดังนี้
1. แนวคิดการวิเคราะห์วาทกรรมของมิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault)
2. แนวคิดการรื้อสร้างของชาร์ค แดร์ริดา (Jacques Derrida)
3. แนวคิดมายาคติของโรลอง บาร์ต (Roland Barthes)
4. แนวคิดการครองความเป็นจ้าวทางวาทกรรมและแนวคิดประชาธิปไตยเชิงลึกของ เออร์เนสโต ลาเวลาและของทัล มูฟ (Ernesto Laclau and Chantal Mouffe) ฯลฯ
77. ข้อใดถูกต้องเมื่อกล่าวถึงแนวทางการวิเคราะห์ (Approach)
(1) กําหนดระดับของการอธิบาย
(2) เป็นกรอบเค้าโครงกว้าง ๆ ในการศึกษา
(3) ชุดคําอธิบายเชิงปัจจยาการ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 5 หน้า 80 – 81, 143 แนวทางการศึกษาหรือแนวทางการวิเคราะห์ (Approach) หมายถึง กรอบเค้าโครงในการศึกษาที่จะเป็นตัวกําหนดระดับของการอธิบาย วิธีการในการศึกษาตลอดจนทฤษฎีที่จะใช้ในการศึกษา โดยแนวทางการศึกษาโดยส่วนใหญ่จะเป็นกรอบเค้าโครงกว้าง ๆ โดยไม่มีการลงลึกในส่วนของตัวแบบในการอธิบายอย่างเป็นรูปธรรม และในแต่ละ แนวทางการศึกษาจะประกอบด้วยทฤษฎีย่อย ๆ อยู่ด้วย
78. แนวคิดสําคัญของอันโตนิโอ กรัม คือแนวคิดใด
(1) การปฏิวัติทางชนชั้น
(2) วาทกรรม
(3) การครองความเป็นจ้าวทางอุดมการณ์
(4) พหุวัฒนธรรม
(5) การครองความเป็นจ้าวทางวาทกรรม
ตอบ 3 หน้า 137 – 138 อันโตนิโอ กรัมซี (Antonio Gramsci) ได้เสนอแนวคิด “การครองความเป็น จ้าวทางอุดมการณ์” (Hegemony) โดยอธิบายว่า โครงสร้างส่วนบนแบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ คือ สังคมการเมืองและสังคมประชา ชนชั้นที่ต้องการมีอํานาจเหนือสังคมอย่างเบ็ดเสร็จต้องสามารถครองอํานาจได้ในทั้งสองพื้นที่ในฐานะผู้ครองความเป็นจ้าวทางอุดมการณ์ และกรัมที่ได้ให้น้ำหนักไปที่การครอบงําทางความคิดอย่างมาก เนื่องจากการที่ชนชั้นหนึ่งจะมีชัยชนะขั้นเด็ดขาดและ สมบูรณ์เหนือสังคมได้ ชนชั้นนั้นต้องได้รับการยอมรับจากสมาชิกส่วนใหญ่ในสังคม
79. งานของลิปเซ็ตเรื่อง “Political Man” ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาแบบใด
(1) เชิงปริมาณ
(2) เชิงคุณภาพ
(3) Large-Ns
(4) Small-Ns
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ
80. แกนกลางของการวิเคราะห์ของแนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผลคือ
(1) ความเสียสละ
(2) ผลประโยชน์ส่วนบุคคลงชาติ
(3) ผลประโยชน์ขอ
(4) ความหลากหลาย
(5) ความเท่าเทียม
ตอบ 2 หน้า 109 แกนกลางของการวิเคราะห์ของแนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผลตั้งอยู่บน สมมติฐานหลัก 2 ตัว คือ ความมีเหตุมีผล (Rationality) กับผลประโยชน์ส่วนบุคคล (Self-Interest)
81. พบในสหภาพโซเวียตในยุคโจเซฟ สตาลิน เยอรมนียุคฮิตเลอร์ อิตาลียุคมุสโสลินี คือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 5 หน้า 154 – 155 รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalitarian State) คือ รัฐที่เข้าแทรกแซงเหนือสังคม ในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ประเพณี ความคิด ความเชื่อ อุดมการณ์ กระทั่งการใช้ชีวิตในทุกด้าน โดยไม่ยอมให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นรัฐที่มีอํานาจ สูงที่สุด ประชาชนต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามคําสั่งของรัฐ รัฐประเภทนี้พบในสหภาพโซเวียต ในยุคโจเซฟ สตาลิน เยอรมนียุคฮิตเลอร์ อิตาลียุคมุสโสลินี และเกาหลีเหนือ
82. ระบบพรรคการเมืองที่ส่งผลต่อการจัดตั้งรัฐบาลผสม
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System.
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System
ตอบ 5 หน้า 220 ระบบหลายพรรค (Multiparty System) คือ การมีพรรคการเมืองหลายพรรค ต่อสู้แข่งขันกันโดยไม่มีพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งครองเสียงข้างมาก และอาจต้อง จัดตั้งรัฐบาลผสม ระบบเช่นนี้อาจมีข้อดีคือเกิดความหลากหลายในทางอํานาจ แต่มีข้อเสียคือ การขาดเสถียรภาพของรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่พรรคร่วมรัฐบาลเกิดความขัดแย้งและหาข้อตกลงกันไม่ได้
83. นักวิชาการผู้ใดมีอิทธิพลต่อแนวทางโครงสร้างที่เน้นศึกษารัฐ
(1) พูลันต์ซาส
(2) นิธิ เอียวศรีวงศ์
(3) พาเรโต
(4) ซี. ไรท์ มิลล์
(5) คาร์ล ป๊อปเปอร์
ตอบ 1 หน้า 129, (คําบรรยาย) นิคอส พลันต์ซาส (Nicos Poulantzas) เป็นนักวิชาการที่มีอิทธิพลต่อ แนวทางโครงสร้างที่เน้นศึกษารัฐ ซึ่งเป็นแนวทางที่เกิดขึ้นในยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ อันเป็นผล
มาจากกระแสการนํารัฐกลับมาเป็นแกนกลางในการศึกษาทางการเมือง
84. ข้อใดถูกต้องเมื่อกล่าวถึงวิชาการเมืองเปรียบเทียบในปัจจุบัน
(1) มุ่งหาทฤษฎีทั่วไป
(2) มุ่งสร้างศาสตร์บริสุทธิ์
(3) รวมเรียกว่าการเมืองการปกครองเปรียบเทียบ
(4) ศึกษาการเมืองนอกสหรัฐฯ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 25 ในปัจจุบันเราอาจเรียกวิชาการเมืองเปรียบเทียบโดยนําเอาคําว่าการปกครอง เข้ามารวมด้วยเป็น “การเมืองการปกครองเปรียบเทียบ” เนื่องจากเรื่องของการปกครอง ก็เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการเมืองเปรียบเทียบ อีกทั้งความหมายของการเมืองหรือความหมายของการปกครองเองก็ขยายออกไปกว้างขวางอย่างมากในปัจจุบันจนกล่าวได้ว่าเรื่องใดก็ตามที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงอํานาจก็ถือว่าเป็นเรื่องของการเมืองทั้งสิ้น
85. รัฐที่มีประมุขเป็นกษัตริย์ ซึ่งอาจจะมีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือระบอบประชาธิปไตยก็ได้
(1) Kingdom State
(2) Republic
(3) Unitary State
(4) Composite State
(5) Minimal State
ตอบ 1 หน้า 150 – 151 รัฐราชอาณาจักร (Kingdom State) คือ รัฐที่มีประมุขเป็นกษัตริย์ ซึ่งอาจจะมีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือระบอบประชาธิปไตยก็ได้ ซึ่งรัฐราชอาณาจักรเกือบทั้งหมดในปัจจุบันก็ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยโดยมีกษัตริย์ ทรงเป็นประมุขของรัฐ และมีรัฐบาลในระบบรัฐสภา มีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร เช่น สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น มาเลเซีย กัมพูชา เบลเยียม ไทย เป็นต้น
86. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบใดเอื้อต่อการเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด
(1) Parochial
(2) Subject
(3) Participant
(4) Civic Culture
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 102 แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) และซิดนีย์ เวอร์บา (Sidney Verba) ได้แบ่ง วัฒนธรรมทางการเมืองออกเป็น 3 แบบ คือ แบบคับแคบ (Parochiat) แบบไพร่ฟ้า (Subject) และแบบมีส่วนร่วม (Participant) ซึ่งในความคิดเห็นของทั้งสองมองว่า วัฒนธรรมทางการเมือง ที่เอื้อต่อการเป็นประชาธิปไตยไม่ใช่วัฒนธรรมแบบใดแบบหนึ่ง แต่ต้องเป็นวัฒนธรรมทาง การเมืองที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมทั้ง 3 แบบอย่างลงตัว ซึ่งเรียกว่า “วัฒนธรรม แบบพลเมือง” (Civic Culture) อันเป็นวัฒนธรรมที่ประชาชนมีความกระตือรือร้นทางการเมือง แต่ก็ไม่มากจนส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล
87. รัฐเป็นชุดของสถาบันที่เกิดขึ้นเพื่อบทบาทและหน้าที่ในสังคม โดยเฉพาะหน้าที่ในการรักษาระบบระเบียบและความสงบเรียบร้อยในสังคม คือรัฐในความหมายใด
(1) รัฐในความหมายเชิงนามธรรม
(2) รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นนํานิยม
(3) รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่
(4) รัฐในความหมายเชิงองค์การ
(5) รัฐในฐานะเครื่องมือสร้างประโยชน์แก่สังคม
ตอบ 3 หน้า 149 รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่ หมายถึง รัฐเป็นชุดของสถาบันที่เกิดขึ้นเพื่อบทบาทและหน้าที่ในสังคม โดยเฉพาะหน้าที่ในการรักษาระบบระเบียบและความสงบเรียบร้อยในสังคม
88. ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดจะเป็นผู้ได้รับเลือกโดยไม่คํานึงว่าจะได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งหรือไม่
(1) ระบบการเลือกตั้งแบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 1 หน้า 200 ระบบการเลือกตั้งแบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา หรือระบบพหุนิยม (Plurality Electoral System) เป็นระบบที่ใช้ในการเลือกตั้งแบบเขต โดยในแต่ละเขตผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด จะเป็นผู้ได้รับเลือกโดยไม่คํานึงว่าจะได้เสียงเกินหนึ่งหรือไม่ เป็นระบบที่เข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยาก
89. วิธีการเปรียบเทียบในวิชาการเมืองเปรียบเทียบถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อเป้าหมายใด
(1) สกัดหาตัวแปรที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ที่ศึกษา
(2) หาสิ่งที่พึงประสงค์
(3) การแข่งขันระหว่างประเทศ
(4) สร้างความได้เปรียบ
(5) สร้างจริยธรรมทางการปกครอง
ตอบ 1 หน้า 50 วิธีการเปรียบเทียบ คือ วิธีการที่ต้องเลือกมาใช้ในการเปรียบเทียบเพื่อสร้างคําอธิบาย ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างเงื่อนไขหรือปัจจัยหรือตัวแปรต่าง ๆ กับผลลัพธ์ที่ศึกษา หรือ กล่าวอีกนัยคือ วิธีการเปรียบเทียบ คือ วิธีการสําหรับนํามาใช้เพื่อสกัดหาตัวแปรหรือเงื่อนไข ที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ที่ศึกษา
90. “การเปรียบเทียบขนาดยักษ์” ของ “โครงสร้างขนาดใหญ่” เป็นคํากล่าวของใคร
(1) มาร์กซ์
(2) ทิลลี่
(3) ไชยวัฒน์ ค้ำชู
(4) อดอร์โน
(5) เดอร์ไคม์
ตอบ 2 หน้า 128 แนวทางโครงสร้างเชิงประวัติศาสตร์ จะเน้นวิเคราะห์ความเป็นมาของโครงสร้าง ขนาดใหญ่ เช่น พัฒนาการของการเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ในโลกตะวันตก พัฒนาการของระบบ ทุนนิยม พัฒนาการของยุคอุตสาหกรรม พัฒนาการของรัฐสมัยใหม่ พัฒนาการของการเข้าสู่ ระบอบเผด็จการหรือประชาธิปไตย เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพใหญ่ของพัฒนาการ ตลอดจน ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของปรากฏการณ์ที่ศึกษาดังที่ชาร์ล ทิลลี่ (Charles Tilty) เรียกว่า “การเปรียบเทียบขนาดยักษ์” ของ “โครงสร้างขนาดใหญ่” และ “กระบวนการใหญ่”
91. นักวิชาการผู้ใดเป็นผู้เสนอวิธีการหลักในการเปรียบเทียบที่เป็นที่นิยม
(1) คาร์ล มาร์กซ์
(2) จอห์น ล็อค
(3) จอห์น สจ๊วต มิลล์
(4) มาร์ติน ลิปเซ็ต
(5) เดวิด อีสตัน
ตอบ 3 หน้า 50 – 57, (คําบรรยาย) จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) ได้เสนอวิธีการหลัก ในการเปรียบเทียบที่เป็นที่นิยมไว้ 4 วิธีการ คือ
1. วิธีการพิจารณาความเหมือน (Method of Agreement)
2. วิธีการพิจารณาความแตกต่าง (Method of Difference)
3. วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่ (Method of Residues)
4. วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน (Method of Concomitant Variation
92. การครองอํานาจของพรรคเสรีประชาธิปไตยของญี่ปุ่น และพรรคคองเกรสของอินเดีย เข้าข่ายระบบพรรคแบบใด
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System
ตอบ 2 หน้า 219 – 220 ระบบพรรคเด่นพรรคเดียว (One Dominant Party System) เป็นระบบ ที่มีพรรคการเมืองได้มากกว่า 1 พรรค หรือกฎหมายเปิดให้พรรคการเมืองสามารถจัดตั้งขึ้นได้ แต่จะมีพรรคการเมืองพรรคเดียวที่มักได้รับเลือกตั้งคะแนนสูงสุดและครองอํานาจในการปกครองตัวอย่างเช่น พรรคเสรีประชาธิปไตยของญี่ปุ่น พรรคคองเกรสของอินเดีย เป็นต้น
93. ทฤษฎีระบบเชิงโครงสร้าง-หน้าที่ พัฒนาขึ้นโดยนักวิชาการคนใด
(1) อีสตัน
(2) เมอร์เรียม
(3) อัลมอนด์
(4) ฟูโกต์
(5) พาร์สัน
ตอบ 3 หน้า 92 แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) ได้พัฒนาทฤษฎีระบบเชิงโครงสร้าง-หน้าที่ โดยได้ดึงแนวคิดเรื่องบทบาทและโครงสร้างของนักสังคมวิทยา เช่น แม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ทาลค็อตต์ พาร์สัน (Talcott Parsons) เข้ามาผนวกกับทฤษฎีระบบ เพื่อให้ทฤษฎีระบบเชิง โครงสร้าง-หน้าที่มีความเป็นรูปธรรม สามารถศึกษากลุ่มของการกระทําทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการได้
94. เรียกกันทั่วไปว่า “ระบบบัญชีรายชื่อ”
(1) ระบบการเลือกตั้งแบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 3 หน้า 204 – 205 ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน (Proportional Representation : PR/Party List System) เป็นระบบที่มีการกําหนดเขตเลือกตั้งขนาดใหญ่ ในแต่ละเขตมีผู้แทนได้มากกว่า 1 คน โดยการลงคะแนนเสียงจะลงคะแนนเลือกพรรคการเมือง ไม่ใช่เลือกผู้สมัครรายคน แต่พรรคการเมืองจะทําบัญชีรายชื่อของผู้สมัครเรียงตามลําดับลงไป ทําให้เรียกระบบนี้กันทั่วไป ว่า “ระบบบัญชีรายชื่อ” (Party List System)
95. ข้อกําหนดเบื้องต้นสําหรับการศึกษาการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตย 10 ประการ เป็นคําอธิบาย การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยโดยนักวิชาการท่านใด
(1) Samuel Huntington
(2) Dankwart Rustow
(3) Guillermo O’Donnell
(4) Philippe Schmitter
(5) Laurence Whitehead
ตอบ 2 หน้า 254 – 255 ดังค์วาร์ด รัสเทาว์ (Dankwart Rustow) ได้อธิบายข้อกําหนดเบื้องต้น สําหรับการศึกษาการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยไว้ 10 ประการ ตัวอย่างเช่น
1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อเสถียรภาพประชาธิปไตยไม่จําเป็นต้องเป็นตัวเดียวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย
2. การศึกษาประชาธิปไตยต้องตระหนักว่าสหสัมพันธ์อาจไม่ใช่สิ่งเดียวกันกับความสัมพันธ์เชิงเหตุผล
3. ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลไม่จําเป็นว่าจะต้องเป็นไปในทิศทางที่ปัจจัยทางเศรษฐกิจ-สังคมส่งผลต่อการเมือง
4. ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลไม่จําเป็นต้องเป็นไปในทิศทางที่ปัจจัยเชิงแนวคิดวัฒนธรรม ส่งผลต่อการกระทําของตัวแสดงเสมอไป ฯลฯ
96. “การเลือกตั้งระบบเสียงข้างมากธรรมดาแบบเขตเดียวเบอร์เดียวจะนําไปสู่ระบบพรรคการเมืองแบบ 2 พรรคเด่น ส่วนการเลือกตั้งระบบเสียงข้างมากธรรมดาแบบ 1 เขต มีผู้แทนหลายคน และการเลือกตั้ง แบบสัดส่วนจะนําไปสู่ระบบหลายพรรคการเมือง” คําอธิบายดังกล่าวเป็นของนักวิชาการท่านใด
(1) Arend Lijphart
(2) Giovanni Sartori
(3) Maurice Duverger
(4) Barnard Grofman
(5) Barbara Geddes
ตอบ 3 หน้า 209 – 210 เมารีส ดูแวร์แจร์ (Maurice Duverger) อธิบายว่า การเลือกตั้งระบบ เสียงข้างมากธรรมดาแบบเขตเดียวเบอร์เดียวจะนําไปสู่ระบบพรรคการเมืองแบบ 2 พรรคเด่น ส่วนการเลือกตั้งระบบเสียงข้างมากธรรมดาแบบ 1 เขต มีผู้แทนหลายคน และการเลือกตั้ง แบบสัดส่วนจะนําไปสู่ระบบหลายพรรคการเมือง โดยที่ระบบ 2 พรรคเด่นมักนําไปสู่รัฐบาลที่มีเสถียรภาพ ในขณะที่ระบบหลายพรรคก่อให้เกิดรัฐบาลผสมที่อ่อนแอ
97. ข้อใดเป็นความแตกต่างสําคัญที่สุดระหว่างมาร์กซิสต์แบบดั้งเดิมกับมาร์กซิสต์ใหม่
(1) วิเคราะห์ทางชนชั้น
(2) ปฏิเสธระบบทุนนิยม
(3) ปฏิวัติทางชนชั้น
(4) ให้ความสําคัญกับอํานาจรัฐ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 137 ทฤษฎีมาร์กซิสต์ใหม่เป็นการพัฒนาต่อยอดมาจากทฤษฎีมาร์กซิสต์แบบดั้งเดิม โดยมีจุดร่วมสําคัญ คือ การมองว่าชนชั้นที่มีอํานาจทางเศรษฐกิจมักมีแนวโน้มมีอํานาจในทาง การเมืองด้วย แต่มีจุดต่างสําคัญจากมาร์กซิสต์แบบดั้งเดิมคือหันไปให้น้ําหนักกับโครงสร้างส่วนบนมากขึ้นแทนที่จะเน้นวิเคราะห์โครงสร้างส่วนล่างเท่านั้น โดยเฉพาะประเด็นของอํานาจรัฐ
98. แนวคิดเศรษฐกิจแบบเคนส์ (Keynesianism) ที่ให้รัฐเข้าไปแทรกแซงเศรษฐกิจผ่านระบบงบประมาณ มีการทุ่มเงินลงไปในระบบเศรษฐกิจผ่านการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ เพื่อให้เกิดการจ้างงาน และ
เศรษฐกิจสามารถดําเนินต่อไปได้ในภาวะวิกฤติ คือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 3 หน้า 154 รัฐสังคม-ประชาธิปไตย (Social-Democratic State) คือ รัฐที่มีเป้าหมายเพื่อ ปฏิรูปสังคมให้เกิดความยุติธรรม แก้ปัญหาความยากจน เน้นให้เกิดความเท่าเทียมขึ้นในสังคม เป็นรัฐที่เน้นทําเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมากกว่าจะเน้นทําเพื่อประโยชน์ของนายทุน และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวรัฐจึงต้องเข้าไปแทรกแซงสังคมในระดับสูงหรืออย่างแข็งขันเพื่อแก้ปัญหาความไม่ยุติธรรมที่อาจเกิดจากระบบเศรษฐกิจแบบตลาด ตัวอย่างเช่น แนวคิด เศรษฐกิจแบบเคนส์ (Keynesianism) ที่ให้รัฐเข้าไปแทรกแซงเศรษฐกิจผ่านระบบงบประมาณ มีการทุ่มเงินลงไปในระบบเศรษฐกิจผ่านการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ เพื่อให้เกิดการจ้างงาน และเศรษฐกิจสามารถดําเนินต่อไปได้ในภาวะวิกฤติ เป็นต้น
99. ระบบพรรคการเมืองในอังกฤษ
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System
ตอบ 3 หน้า 220 ระบบ 2 พรรค (Two-Party System) คือ การมีพรรคการเมือง 2 พรรคใหญ่ ที่ต่อสู้แข่งขันและได้รับคะแนนเสียงสลับกันขึ้นเป็นรัฐบาล เช่น ระบบพรรคการเมืองในอังกฤษ สหรัฐอเมริกา เป็นต้น
100. การเลือกพรรคซึ่งส่งผู้แข่งขันเป็นบัญชีรายชื่อ แต่ละเขตมีผู้แทนมากกว่า 1 คน พรรคที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้ที่นั่งทั้งหมดไป
(1) ระบบการเลือกตั้งแบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วน
(3) ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากเด็ดขาด
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 4 หน้า 202 ระบบเสียงข้างมากธรรมดาแบบเลือกเป็นพรรค หรือระบบบล็อกโหวต พรรคการเมือง (Party Block Vote : PBV) เป็นการเลือกผู้แทนโดยการเลือกพรรค ซึ่งส่งผู้แข่งขันเป็นบัญชีรายชื่อ แต่ละเขตมีผู้แทนมากกว่า 1 คน พรรคที่ได้คะแนนสูงสุด จะได้ที่นั่งทั้งหมดไป ซึ่งระบบนี้ไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน