การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2108 หลักปฏิบัติทางการปกครองและธรรมาภิบาลในภาครัฐ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1. ข้อใดที่มีระดับการมีส่วนร่วมสูงสุด
(1) การปรึกษาหารือ
(2) การติดตามตรวจสอบ
(3) การเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
(4) การลงประชามติ
(5) การเลือกตั้ง
ตอบ 4 หน้า 200, (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วมระดับที่อํานาจเป็นของประชาชน (Degree of Citizen Power) ประกอบด้วยการมีส่วนร่วมขั้นที่ 6 – 8 เป็นระดับอํานาจการตัดสินใจเป็นของประชาชน แต่มีลักษณะการใช้อํานาจแตกต่างกัน กล่าวคือ ในขั้นที่ 6 จะเป็นการเจรจาต่อรองของอํานาจ ระหว่างรัฐกับประชาชนในฐานะหุ้นส่วนในงานนั้น ๆ ในขั้นที่ 7 ประชาชนได้มอบอํานาจให้ผู้แทน ไปตัดสินใจแทน ได้แก่ การออกเสียงเลือกตั้ง ส่วนในขั้นที่ 8 ซึ่งเป็นขั้นการมีส่วนร่วมสูงสุด ประชาชนสามารถควบคุมกระบวนการตัดสินใจได้ ได้แก่ การลงประชามติ การยื่นถอดถอน ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง เป็นต้น ในระดับนี้ประชาชนมีอํานาจในการตัดสินใจ สามารถ เจรจาผลได้ผลเสียกับผู้มีอํานาจเดิมได้ จึงถือเป็นการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของประชาชน
2.การแถลงข่าวถือเป็นการมีส่วนร่วมในระดับใด
(1) การมีส่วนร่วมระดับพิธีการ
(2) การมีส่วนร่วมแบบปรึกษาหารือ
(3) การมีส่วนร่วมเทียม
(4) การมีส่วนร่วมแบบผู้มีส่วนได้เสีย
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วมระดับการให้ข้อมูลแก่ประชาชน ถือเป็นการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในระดับต่ําสุด และเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดของการติดต่อสื่อสารระหว่างภาครัฐ กับประชาชน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลแก่ประชาชนโดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การแถลงข่าว การแจกข่าวสาร การทําหนังสือพิมพ์ เป็นต้น แต่ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น หรือเข้ามาเกี่ยวข้องใด ๆ
3.ข้อใดไม่ใช่การมีส่วนร่วมระดับที่อํานาจเป็นของประชาชน
(1) การลงประชามติ
(2) การรับฟังข่าวสาร
(3) การยื่นถอดถอนผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
(4) การออกเสียงเลือกตั้ง
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ
4. บุคคลกลุ่มใดที่ไม่อยู่ในกลุ่มที่สามารถเข้าร่วมในการยกระดับธรรมาภิบาล
(1) ประชาชนทั่วไป
(2) ข้าราชการ
(3) บรรษัท
(4) องค์กรที่ไม่ใช่รัฐ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) บุคคลทุกกลุ่มสามารถเข้าร่วมในการยกระดับธรรมาภิบาลได้ไม่ว่าจะเป็น ประชาชนทั่วไป ข้าราชการ นักวิชาการ บรรษัท สถาบันการเงิน องค์กรข้ามชาติ องค์กร ที่ไม่ใช่รัฐ เป็นต้น
5.การใช้อํานาจในการจัดสรรทรัพยากรตามหลักธรรมาภิบาลไม่ใช่ข้อใด
(1) มีสํานึกรับผิดชอบ
(2) มีความคุ้มค่า
(3) มีส่วนร่วมแบบผู้มีส่วนได้เสีย
(4) มีความเด็ดขาด
(5) มีคุณธรรม
ตอบ 4 หน้า 169 – 170 หลักธรรมาภิบาลหรือการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) ประกอบด้วยหลักการสําคัญ 6 ประการ คือ
1. หลักนิติธรรม
2. หลักคุณธรรม
3. หลักความโปร่งใส
4. หลักการมีส่วนร่วม
5. หลักสํานึกรับผิดชอบ
6. หลักความคุ้มค่า
6. แนวคิดของธรรมาภิบาลเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร
(1) ความรับผิดชอบภาครัฐและองค์กรอื่น ๆ ที่ใช้อํานาจ
(2) มีเป้าหมายเพื่อบรรลุความต้องการของคนส่วนใหญ่เท่านั้น
(3) เปรียบเทียบสิ่งที่พึงประสงค์กับไม่พึงประสงค์ในงานพัฒนาภาครัฐ
(4) ปรับแนวทางการใช้อํานาจและการทํางานสาธารณะ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 หน้า 180, (คําบรรยาย) แนวคิดของธรรมาภิบาลเกี่ยวข้องกับการปรับแนวทางการใช้อํานาจและการทํางานสาธารณะของภาครัฐ กล่าวคือ เป็นการปรับลดอํานาจของภาครัฐลงและ เพิ่มอํานาจให้ภาคประชาชนและเอกชนมีส่วนร่วมในงานสาธารณะมากขึ้น
7.เป้าหมายของการกําหนดให้นําคุณลักษณะของธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานคืออะไร
(1) ตอบสนองความต้องการของคนทุกกลุ่ม
(2) มีทุจริตน้อยที่สุด
(3) มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด
(4) ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4(คําบรรยาย) ธนาคารโลกได้กําหนดให้นําคุณลักษณะของธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงาน ภาครัฐ ซึ่งเป็นเงื่อนไขสําคัญในการให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่ประเทศต่าง ๆ ที่ประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจการเงิน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประเทศเหล่านั้นเกิดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและยาระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น
8. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยและธรรมาภิบาล
(1) มีหลักการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในระดับตัดสินใจเช่นเดียวกัน
(2) การตัดสินใจของประชาธิปไตยวางอยู่บนเสียงข้างมาก
(3) ขณะที่ธรรมาภิบาลต้องการการตัดสินใจของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย
(4) การปฏิบัติตามนโยบายของหลักธรรมาภิบาลดําเนินการโดยประชาชนเท่านั้น
(5) กลุ่มที่เข้าร่วมของธรรมาภิบาลอาศัยหลักให้รวมตัวตามธรรมชาติ ธรรมาภิบาลมองปัญหาที่เกิดขึ้นว่าเป็นเรื่องของประชาชน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลมีความสอดคล้องกัน ทั้งนี้เนื่องจากระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลมีหลักการเช่นเดียวกันไม่ว่าจะเป็นหลักการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในระดับตัดสินใจ หลักการนิติธรรม หลักความโปร่งใส เป็นต้น
9. ข้อใดไม่ใช่หลักนิติธรรม
(1) มีการแบ่งแยกการใช้อํานาจชัดเจน
(2) ยึดหลักการทํางานภายใต้กฎ ระเบียบสูงสุด
(3) มีการกําหนดโทษที่วางอยู่บนฐานวัฒนธรรมที่กระทําต่อกันมา
(4) มีการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคลากรและประชาชน
(5) ผู้มีอํานาจตัดสินใจมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่
ตอบ 5 (คําบรรยาย) หลักนิติธรรม เป็นหลักการปกครองภายใต้กฎหมาย ผู้มีอํานาจตัดสินใจจึงต้อง ยึดหลักการทํางานภายใต้กฎ ระเบียบ หรือกฎหมายสูงสุด ไม่สามารถใช้อํานาจตามอําเภอใจ หรือใช้อํานาจในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างอิสระ
10. ข้อใดคือความโปร่งใส
(1) การบริหารจัดการที่คาดการณ์ได้
(2) การมีระเบียบการขอข้อมูลภาครัฐที่เข้มงวดและมีขั้นตอนที่ตรวจสอบหลายขั้นตอน
(3) การที่ผู้มีอํานาจตัดสินใจอธิบายการตัดสินใจของตนเองบนฐานความเชื่อส่วนตัว
(4) การให้ข้อมูลโครงการเฉพาะด้านกับผู้มีส่วนได้เสียบางกลุ่ม
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 หน้า 16, 21, (คําบรรยาย) ความโปร่งใส คือ การบริหารจัดการที่สามารถคาดการณ์ เปิดเผย และเข้าใจได้ มีระบบกติกาและการดําเนินงานที่เปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา ประชาชนสามารถ เข้าถึงและได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างเสรี เป็นธรรม ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ซึ่งหมายถึง การที่มีผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานกํากับดูแลและประชาชนสามารถตรวจสอบและติดตามผลได้
11. ข้อใดไม่ใช่ความคุ้มค่า
(1) ได้ผลประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรที่มี
(2) หาความสมดุลของการประหยัดและผลลัพธ์ที่ต้องการ
(3) เป็นกลไกควบคุมการทํางานอย่างรับผิดชอบค่าใช้จ่าย
(4) การทํางานเน้นผลลัพธ์ที่ประเมินผลได้
(5) การลดต้นทุนให้ประหยัดที่สุด
ตอบ 5 หน้า 16, (คําบรรยาย) หลักความคุ้มค่า เป็นการเน้นประสิทธิภาพในการบริหารงาน โดยใช้ ทรัพยากรและงบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ดังนั้นตามหลักความคุ้มค่า จึงเป็นการบริหารงานที่เน้นการให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรที่มี ไม่ใช่การลดต้นทุนให้ประหยัดที่สุด
12.อะไรคือความหมายของ “กลไกมือที่มองไม่เห็น”
(1) ตัวแสดงที่ไม่ปรากฏตัวชัดเจน
(2) ตัวแสดงทางเศรษฐกิจ
(3) กลไกตลาดที่ดําเนินด้วยอุปสงค์และอุปทาน
(4) กลไกปฏิสัมพันธ์ของเครือข่าย
(5) กลไกทางวัฒนธรรมของราชการ
ตอบ 3 หน้า 184 กลไกจัดการโดยตลาดและการสนับสนุนแรงจูงใจ อาศัย “กลไกมือที่มองไม่เห็น” ซึ่งก็คือ “กลไกของตลาด” ที่จะผลักดันผ่านการแข่งขันกันทั้งในแง่การบริหารและการสร้างนวัตกรรมมาเสนอ รัฐจะเก็บบทบาทการจัดสรรไว้แต่ไม่รับผิดชอบในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการสาธารณะ รัฐใช้การเลือกข้อเสนอที่ดีที่สุดแล้วใช้การกํากับดูแลติดตามผลการทํางาน ในเงื่อนไขนี้มีประเด็นสําคัญคือ รัฐต้องสร้างเงื่อนไขสิ่งแวดล้อมงานสาธารณะให้เข้าสู่เงื่อนไขการตลาดอย่างแท้จริง
ตั้งแต่ข้อ 13. – 17. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) กลไกตลาดกับกลไกรัฐมีพลังขับเคลื่อนต่างกันอาจเกิดปัญหาความร่วมมือ
(2) ศักยภาพของรัฐไม่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงบริบทสังคมได้
(3) การแสวงหาตัวแสดงจากหลายภาคส่วนให้มาร่วมมือกับรัฐ
(4) เป้าหมายไม่ชัดเจนเมื่อรัฐเปลี่ยนบทบาทไม่เป็นผู้กําหนดเป้าหมาย
(5) ไม่ต้องการให้รัฐมาเกี่ยวข้องแต่ต้องให้รัฐเปิดพื้นที่ให้เกิด
13. ปัญหาสําคัญของรูปแบบการบริหารปกครองรูปแบบโครงสร้างสายบังคับบัญชาคือข้อใด
ตอบ 2 หน้า 172 โครงสร้างแบบสายบังคับบัญชา เป็นโครงสร้างที่ใช้กฎหมายเป็นหลักสําคัญ ในการบริหารปกครอง โดยภาครัฐและเอกชนจะแยกบทบาทหน้าที่กันอย่างชัดเจน รัฐจะ เป็นศูนย์กลางของการดูแลผลประโยชน์สาธารณะและกําหนดให้เอกชนดําเนินการตามบทบาทที่กําหนดโดยรัฐ ในโครงสร้างแบบนี้รัฐอาจลดบทบาทในการควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อให้เอกชนเข้ามาดําเนินการเพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่าภายใต้การควบคุมของรัฐแต่รัฐก็อ่อนแอกว่าภาคเอกชนทําให้ขาดประสิทธิภาพในการควบคุม ดังนั้นปัญหาสําคัญของโครงสร้างแบบนี้ก็คือ ความเปลี่ยนแปลงของบริบทสังคมและความต้องการที่หลากหลายของ คนในรัฐ รวมทั้งศักยภาพของรัฐทําให้รัฐไม่สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้รัฐจึงไม่สามารถบรรลุความสําเร็จในการพัฒนารัฐได้
14. ปัญหาสําคัญของรูปแบบการบริหารปกครองรูปแบบการถือหางเสือคือข้อใด
ตอบ 4 หน้า 174, (คําบรรยาย) การบริหารปกครองแบบการถือหางเสือ เชื่อว่า รัฐมีความสามารถ ที่จะกําหนดทิศทางและถือหางเสือในกิจการสาธารณะในสังคมได้ ในแง่นี้รัฐยังคงมีบทบาทสําคัญ ในการบริหารปกครองแต่มีอํานาจควบคุมน้อยลง การบริหารปกครองนี้ต้องการการเปลี่ยนแปลง อํานาจหน้าที่และอํานาจควบคุมจากกฎหมายของรัฐ ปัญหาสําคัญของการบริหารปกครอง แบบนี้ก็คือ เมื่อรัฐเปลี่ยนบทบาทไปทําหน้าที่เพียงการถือหางเสือ ไม่ได้เป็นผู้กําหนดเป้าหมายอาจทําให้เป้าหมายไม่ชัดเจน
15. ปัญหาสําคัญของรูปแบบการบริหารปกครองรูปแบบโครงสร้างแบบชุมชนคือข้อใด
ตอบ 5 หน้า 172 โครงสร้างแบบชุมชน มีแนวคิดมาจากฐานความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม และเศรษฐกิจ รวมทั้งการมีผลประโยชน์ร่วมกัน ชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาของตัวเองและ รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมของชุมชนได้โดยให้รัฐเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องให้น้อยที่สุด ดังนั้น การบริหารปกครองในโครงสร้างแบบนี้จึงอยู่ในแนวคิดของการไม่ต้องการให้รัฐมาเกี่ยวข้องแต่ต้องให้รัฐเปิดพื้นที่ให้เกิด
16. ปัญหาสําคัญของรูปแบบการบริหารปกครองรูปแบบโครงสร้างเครือข่ายคือข้อใด
ตอบ 3 หน้า 172 – 173 โครงสร้างแบบเครือข่าย เป็นโครงสร้างที่มีการเชื่อมโยงชุมชน (ตัวแสดง)
นโยบายโดยเชื่อว่าจะสามารถเอื้อต่อการจัดสรรผลประโยชน์ของสาธารณะและผลประโยชน์ ส่วนบุคคลได้ ในโครงสร้างแบบนี้นโยบายจะถูกพิจารณาจากหลายภาคส่วนร่วมกันจึงจัดสรรผลประโยชน์ส่วนรวมได้ดีกว่า อีกทั้งมีการแยกการควบคุมและความรับผิดชอบในนโยบาย ออกจากกัน โดยเครือข่ายจะควบคุมการริเริ่มนโยบายที่ส่งมาจากทุกฝ่ายและฝ่ายรัฐจะเป็น ผู้รับผิดชอบต่อเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละภาคส่วน ทําให้เกิดการพึ่งพาซึ่งกันและกัน ระหว่างรัฐกับเครือข่าย อย่างไรก็ตามเมื่อรัฐยังคงต้องรับผิดชอบต่อเรื่องราวต่าง ๆ ภายในรัฐ การท้าทายผลประโยชน์ของรัฐจากเครือข่ายจึงเป็นไปได้ยาก และประเด็นท้าทายคือรัฐจะ สามารถหาตัวแสดงจากภาคส่วนในสังคมมาร่วมมือในเครือข่ายได้อย่างไร
17. ปัญหาสําคัญของรูปแบบการบริหารปกครองรูปแบบโครงสร้างแบบตลาดคือข้อใด
ตอบ 1 หน้า 172, (คําบรรยาย) โครงสร้างแบบตลาด เป็นโครงสร้างที่มีตัวแสดงหลักเป็นตัวแสดงทาง เศรษฐกิจ โดยปัญหาในการพัฒนานั้นเกิดขึ้นจากธรรมชาติของตัวแสดงและตลาดซึ่งมีพลังขับเคลื่อนคือผลประโยชน์ส่วนตัว การมีกลไกให้ตัวแสดงทางเศรษฐกิจสามารถประสานความร่วมมือเพื่อจัดการปัญหาจึงเป็นลักษณะเด่นของโครงสร้างนี้ แต่ปัญหาสําคัญของโครงสร้างนี้คือ กลไกตลาดกับกลไกรัฐมีพลังขับเคลื่อนต่างกันอาจทําให้เกิดปัญหาความร่วมมือ
18. การบริหารเครือข่ายโดยไม่เปลี่ยนแปลงตัวแสดงในเครือข่าย โดยที่รัฐยังเป็นตัวกลางประสานงานคือกลยุทธ์การจัดการเครือข่ายแบบใด
(1) แบบทฤษฎีเกม
(2) แบบโครงสร้างเครือข่าย
(3) แบบปกครองตัวเอง
(4) แบบการมีส่วนร่วม
(5) แบบใช้เรื่องเล่า
ตอบ 1 หน้า 187 กลยุทธ์การจัดการเครือข่ายแบบทฤษฎีเกม ใช้ในการบริหารเครือข่ายที่มีอยู่เดิม โดยไม่มุ่งหวังปรับเปลี่ยนเครือข่ายหรือตัวแสดงใด ๆ ในเครือข่าย วิธีการสําคัญคือ การเสนอ นโยบายที่ต้องการให้เกิดขึ้นและรวบรวมตัวแสดงที่เกี่ยวข้องเข้ามาตัดสินใจร่วม กรณีนี้รัฐยัง เป็นตัวกลางในการประสานสร้างการประนีประนอมให้ทุกตัวแสดงบรรลุผลประโยชน์ของตัวเองโดยที่เป้าหมายนโยบายยังคงอยู่ รัฐต้องเรียกร้องให้ทุกตัวแสดงยอมรับเงื่อนไขใหม่ของการบริหารปกครองและพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนทรัพยากร
19. องค์ประกอบสําคัญของการบริหารปกครองแบบตัดสินใจร่วมกัน ไม่ใช่ข้อใด
(1) การต่อรอง
(2) ส่วนรวม
(3) ผลประโยชน์หลากหลาย
(4) มีระบบที่เป็นทางการ
(5) ตัวแสดงหลากหลาย
ตอบ 4 หน้า 174 – 175, (คําบรรยาย) องค์ประกอบสําคัญของการบริหารปกครองแบบตัดสินใจร่วมกัน มีดังนี้
1. ตัวแสดงหลากหลาย
2. ผลประโยชน์หลากหลาย
3. เน้นความเป็นส่วนรวม
4. ไม่ต้องการระบบที่เป็นทางการ
5. เน้นการเจรจาต่อรอง ฯลฯ
20. ข้อใดไม่ใช่ทักษะสําคัญของผู้บริหารเครือข่าย
(1) ทักษะการสร้างแรงจูงใจ
(2) ทักษะการควบคุมวง
(3) ทักษะการเจรจา
(4) ทักษะการบังคับบัญชา
(5) ทักษะการบูรณาการ
ตอบ 4 หน้า 188 ทักษะสําคัญของผู้บริหารเครือข่าย มีดังนี้
1. ทักษะการสร้างแรงจูงใจ
2. ทักษะการควบคุมวง ซึ่งต้องอาศัยทักษะการพูด การเจรจา การต่อรองเพื่อให้เกิดความร่วมมือ
3. ทักษะการบูรณาการ
21. ข้อใดคือความหมายของตัวการ (Principle) ในทฤษฎีการมอบหมายตัวแทน
(1) หัวหน้าผู้มอบหมายงาน
(2) เจ้าของกิจการ
(3) คณะกรรมการบริหาร
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 189, 210, (คําบรรยาย) ตัวแสดงในทฤษฎีการมอบหมายตัวแทน (Theories of Delegation) ประกอบด้วย
1. ตัวการ (Principle) คือ คนที่เป็นเจ้าของกิจการ เป็นหัวหน้า เป็นผู้มีอํานาจจริงในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง เช่น ผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริหาร เป็นต้น
2. ตัวแทน (Agent) คือ คนที่ได้รับมอบอํานาจให้เป็นผู้ดําเนินการแทนผู้มีอํานาจจริง เช่น ผู้จัดการ เป็นต้น
22. การที่ตัวแสดงที่หลากหลายได้เข้าไปมีส่วนในการดําเนินกิจกรรมตามขอบเขตกระบวนการที่มีการจัดการ ไว้แล้ว จะอยู่ในพื้นที่การบริหารปกครองแบบใด
(1) พื้นที่แบบปิด
(2) พื้นที่รับเชิญ
(3) พื้นที่สร้างสรรค์
(4) พื้นที่ประชุม
(5) พื้นที่ของทางราชการ
ตอบ 2 หน้า 201, (คําบรรยาย) พื้นที่รับเชิญ (Invited Spaces) คือ พื้นที่ที่มีตัวแสดงที่หลากหลาย ได้เข้าไปมีส่วนในการดําเนินกิจกรรมตามขอบเขตกระบวนการที่มีการจัดการไว้แล้ว พื้นที่ ลักษณะนี้ให้ความสําคัญกับกระบวนการที่ต้องมีผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อยืนยันว่าการริเริ่ม หรือดําเนินการนั้น ๆ อยู่ในกระบวนการมีส่วนร่วมหรือริเริ่มโดยประชาชน
23. หลักการทางเลือกที่มีเหตุผล คือข้อใด
(1) ทุกคนมีเหตุผลภายใต้การเข้าใจและการให้ความหมายสิ่งรอบตัว
(2) ทุกคนไม่มีอิสระแท้จริงในการเลือก
(3) การตัดสินใจเป็นไปอย่างมีเหตุผลคือคํานึงถึงผลประโยชน์สูงสุด
(4) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแสดงมีผลต่อการตัดสินใจร่วมกัน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 หน้า 190 ทฤษฎีการยึดมั่นในหลักเหตุผล เป็นทฤษฎีที่วางอยู่บนหลักทางเลือกที่มีเหตุผล(Rational Choice) กล่าวคือ บุคคลมีเป้าหมายส่วนตัวที่จะเป็นเงื่อนไขผลักดันให้บุคคลตัดสินใจ ซึ่งจะต้องเลือกผลประโยชน์สูงสุด แต่ทฤษฎีนี้ได้ขยายความการเลือกอย่างมีเหตุผลดังกล่าวว่าบุคคลจะตัดสินใจอย่างมีเหตุผลโดยคํานึงผลประโยชน์สูงสุดแต่อยู่บนฐานข้อจํากัดในการประมวล ข้อมูลข่าวสาร การทําความเข้าใจสถานการณ์และการคิดถึงผลที่ตามมา ซึ่งเป็นผลจากศักยภาพ ของมนุษย์ ดังนั้นกระบวนการตัดสินใจของบุคคลจึงมีความซับซ้อนเพราะการคิดถึงเรื่องประโยชน์สูงสุดวางอยู่ภายใต้การประมวลข้อมูลข่าวสารที่ไม่สมบูรณ์
24. บริษัทประชารัฐรักสามัคคี ได้รับการอธิบายว่ามีลักษณะเป็นองค์กรประเภทใด
(1) บรรษัทภิบาล
(2) บรรษัทนิยม
(3) การบริหารงานภาครัฐ
(4) วิสาหกิจเพื่อสังคม
(5) รัฐวิสาหกิจ
ตอบ 4 หน้า 207 บริษัทประชารัฐรักสามัคคี ได้รับการอธิบายว่าเป็นการดําเนินการในรูปวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise : SE)
25. อะไรคือแรงผลักดันสําคัญในทฤษฎีการยึดมั่นในหลักเหตุผล
(1) ผลประโยชน์สูงสุด
(2) ข้อมูลข่าวสาร
(3) กฎเกณฑ์ของสังคม
(4) ความเชื่อ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ
26. โครงสร้างการบริหารปกครองแบบใดที่ใช้กฎหมายเป็นหลักสําคัญในการบริหารปกครอง
(1) แบบตลาด
(2) แบบสายบังคับบัญชา
(3) แบบเครือข่าย
(4) แบบถือหางเสือ
(5) แบบชุมชน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ
27. หลักธรรมาภิบาลสามารถเกื้อหนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยได้หรือไม่เพราะอะไร
(1) ได้ เพราะมีหลักการของการมีส่วนร่วมและหลักการนิติธรรม
(2) ได้ เพราะมีหลักการของการเคารพสิทธิมนุษยชน
(3) ไม่ได้ เพราะไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการปกครอง
(4) ไม่ได้ เพราะทําให้รัฐอ่อนแอลง
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักธรรมาภิบาลสามารถเกื้อหนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยได้ ทั้งนี้เพราะหลักธรรมาภิบาลมีหลักการที่สอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็น หลักการมีส่วนร่วม หลักการนิติธรรม หลักความโปร่งใส เป็นต้น
28. อะไรคือเหตุผลที่ทําให้หลักธรรมาภิบาลได้รับการยอมรับจากประเทศต่าง ๆ อย่างรวดเร็วเมื่อธนาคารโลกประกาศใช้
(1) ทุกประเทศเห็นความสําคัญ
(2) เพราะเป็นเงื่อนไขการได้รับเงินช่วยเหลือ
(3) เป็นระเบียบปฏิบัติระหว่างประเทศ
(4) ไม่มีข้อถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 171, (คําบรรยาย) เหตุผลที่ทําให้หลักธรรมาภิบาลได้รับการยอมรับจากประเทศต่าง ๆ อย่างรวดเร็วเมื่อธนาคารโลกประกาศใช้ เพราะหลักธรรมาภิบาลเป็นเงื่อนไขการได้รับเงิน ช่วยเหลือจากธนาคารโลก โดยเหตุผลที่ทําให้ธนาคารโลกต้องกําหนดหลักธรรมาภิบาลเป็น เงื่อนไขให้ประเทศต่าง ๆ ที่ขอรับการช่วยเหลือต้องปฏิบัติตามนั้น ก็เพื่อช่วยเหลือให้ประเทศ เหล่านั้นผ่านพ้นกับดักการพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาเศรษฐกิจได้
29. ข้อใดไม่ใช่ตัวชี้วัดบทบาทของรัฐที่มีการปกครองที่ดี
(1) ความโปร่งใส
(2) ความรับผิดชอบ
(3) การมีส่วนร่วม
(4) ความมีประสิทธิภาพ
(5) ความมีอํานาจ
ตอบ 5 หน้า 176 คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ(UNESCAP) ได้เสนอตัวชี้วัดในการพัฒนาบทบาทของรัฐที่มีลักษณะการปกครองที่ดี 8 ประการ
ได้แก่
1. การมีส่วนร่วม
2. การปกครองตามหลักกฎหมาย
3. ความโปร่งใส
4. ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
5. การตอบสนอง
6. ความรับผิดชอบ
7. การดึงเป็นแนวร่วมอย่างเท่าเทียม
8. ฉันทามติ
30. บริบทการบริหารปกครองข้อใดที่เป็นข้อห้ามสําหรับธนาคารโลกในการปฏิบัติงานกับประเทศต่าง ๆ
(1) พัฒนาศักยภาพรัฐบาล
(2) การก่อรูปและปฏิบัตินโยบาย
(3) รูปแบบการปกครอง
(4) กระบวนการในการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการพัฒนา
(5) การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ตอบ 3 หน้า 180, (คําบรรยาย) บริบทการบริหารปกครองที่เป็นข้อห้ามสําหรับธนาคารโลก ในการปฏิบัติงานกับประเทศต่าง ๆ ก็คือ เรื่องของรูปแบบการปกครอง เพราะธนาคารโลก ได้มีข้อกําหนดที่จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมืองของประเทศผู้ขอรับทุนหรือขอความช่วยเหลือด้านการเงินจากธนาคารโลก
31. พลวัตการเปลี่ยนแปลงจากการปกครองเดิมสู่การบริหารปกครองคือข้อใด
(1) การแยกแยะตัวแสดงที่เกี่ยวข้อง
(2) สร้างระบบให้เกิดการเจรจาระหว่างตัวแสดง
(3) วิเคราะห์เงื่อนไขของการสร้างนโยบาย
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 184, (คําบรรยาย) พลวัตการเปลี่ยนแปลงจากการปกครองเดิมสู่การบริหารปกครอง สามารถดําเนินการได้ดังนี้
1. ต้องมีการแยกแยะมิติต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์รูปแบบ เครื่องมือ และเงื่อนไขของการสร้าง นโยบายและการนํานโยบายไปปฏิบัติ
2. แยกแยะความหลากหลายของตัวแสดงที่เกี่ยวข้อง
3. สร้างระบบการส่งผ่านและสะท้อนกลับของระบบการแปลงเปลี่ยนซึ่งกันและกันขององค์กรและตัวแสดงเพื่อให้เกิดการเจรจาต่อกันในการสร้างนโยบาย
32. การสร้างนโยบายบนฐานทฤษฎีการจัดการเครือข่าย ตัวแสดงใดเป็นตัวแสดงนําสําคัญ
(1) รัฐ
(2) นักวิชาการ
(3) ภาคอุตสาหกรรม
(4) บรรษัท
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 หน้า 186 – 187, (คําบรรยาย) ในทฤษฎีการจัดการเครือข่ายนั้น เครือข่ายจะเป็นตัวแสดงนํา สําคัญในการดําเนินการตั้งแต่ระดับการสร้างนโยบาย การตัดสินใจและการนํานโยบายไปปฏิบัติส่วนภาครัฐจะเป็นตัวแสดงที่มีบทบาทสําคัญในกําหนดกรอบเครือข่ายและปฏิสัมพันธ์ของตัวแสดงต่าง ๆ
33. ลักษณะของการบริหารปกครองแบบถือหางเสือ ไม่ใช่ข้อใด
(1) รัฐมีอํานาจควบคุมมาก
(2) รัฐกําหนดทิศทางในกิจการสาธารณะได้
(3) ต้องออกกฎหมายเปลี่ยนแปลงอํานาจหน้าที่
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
(4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ
ตั้งแต่ข้อ 34 – 38. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ปัจเจกเป็นหน่วยอิสระ กําหนดวิถีชีวิตตัวเองได้ ยอมรับการเลือกตั้ง
(2) เชื่อในศีลธรรมที่อยู่ในตัวของปัจเจก
(3) ต้องการปลดปล่อยประชาชนให้ประชาชนมีอํานาจผ่านการตระหนักรู้
(4) เชื่อมโยงปัจเจกกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม
(5) ประชาชนมีสถานะเป็นพลเมืองสามารถเข้ามีส่วนร่วมได้โดยตรงด้วยตนเอง
34. แนวคิดหลักของการมีส่วนร่วมในมุมมองชุมชนนิยมคือข้อใด
ตอบ 4 หน้า 197 การมีส่วนร่วมในมุมมองชุมชนนิยม เชื่อว่า ชุมชนมีขนาดไม่ใหญ่เกินไปที่จะปกครอง และไม่เล็กเกินไปที่จะสร้างวิถีชีวิตอันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชุมชนเอง ในแง่นี้การมีส่วนร่วม ของประชาชนในชุมชนจึงเป็นไปได้โดยไม่ต้องผ่านตัวแทน ทุกคนในชุมชนสามารถเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะและตัดสินใจร่วมกันได้โดยตรงอันเป็นรูปแบบของประชาธิปไตยทางตรงซึ่งอาศัยฉันทามติของคนในชุมชน แนวคิดนี้จึงเชื่อในการเชื่อมโยงปัจเจกกับบริบทสังคมวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่ทําให้พวกเขารวมเป็นชุมชน เป็นหนึ่งเดียวกัน
35. แนวคิดหลักของการมีส่วนร่วมในมุมมองประชานิยมคือข้อใด
ตอบ 2 หน้า 197 การมีส่วนร่วมในมุมมองประชานิยม ตระหนักในการมีส่วนร่วมของคนสามัญธรรมดาแนวคิดนี้เชื่อในศีลธรรมที่ฝังอยู่ในตัวของปัจเจกชนคนทั่วไปซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมและเชื่อในประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนเหล่านั้น การมีส่วนร่วมในมุมมองประชานิยมผูกพันกับ รูปแบบเฉพาะทางการเมือง อํานาจหน้าที่ โครงสร้างและอุดมการณ์ทางการเมืองที่จะสามารถ สร้าง “ความนิยมร่วมกัน” ทั้งในแง่เจตจํานงและประเด็นทั่ว ๆ ไปในสังคม
36. แนวคิดหลักของการมีส่วนร่วมในมุมมองการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากคือข้อใด
ตอบ 3 หน้า 197 การมีส่วนร่วมในมุมมองการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากวางอยู่บนฐานคิดของ “การปลดปล่อยประชาชน” โดยการเพิ่มอํานาจให้ประชาชนผ่านเครื่องมือสําคัญคือการศึกษาแนวคิดนี้เชื่อว่าเมื่อประชาชนมีการศึกษาจะมีอํานาจท้าทายโครงสร้างทางอํานาจเดิมที่ครอบงํา สังคมอยู่ ทําให้เรียนรู้ที่จะสร้างสังคมใหม่ กล่าวคือ การทําให้สังคมเกิด “การตระหนักรู้”
37. แนวคิดหลักของประชาธิปไตยทางตรงคือข้อใด
ตอบ 5 หน้า 196 แนวคิดหลักของประชาธิปไตยทางตรง คือ ประชาชนมีสถานะเป็นพลเมืองสามารถเข้ามีส่วนร่วมได้โดยตรงด้วยตนเอง
38. แนวคิดหลักของการมีส่วนร่วมในมุมมองเสรีนิยมประชาธิปไตยคือข้อใด
ตอบ 1 หน้า 197 การมีส่วนร่วมในมุมมองเสรีนิยมประชาธิปไตย เชื่อในปัจเจกในฐานะหน่วยที่เป็นอิสระที่สามารถกําหนดวิถีชีวิตและความหมายในการมีชีวิตของตัวเองได้ การมีส่วนร่วมในมุมมองนี้จึงยอมรับการมีส่วนร่วมการเลือกตั้ง และเข้าไปมีส่วนร่วมในการกําหนดรัฐธรรมนูญ และการทําหน้าที่ของรัฐบาล
ตั้งแต่ข้อ 39 – 41. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ติดตามดูรายการนายกพบประชาชน
(2) ประชามติ
(3) เข้าร่วมต้อนรับคณะรัฐมนตรีที่มาตรวจเยี่ยมพื้นที่ตามคําขอของหน่วยงาน
(4) ประชาพิจารณ์
(5) รับแจกบัตรคนจน
39. การมีส่วนร่วมเทียมชั้นถูกจัดกระทําคือข้อใด
ตอบ 5 หน้า 199 – 200, (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วมขั้นถูกจัดกระทํา เป็นระดับการมีส่วนร่วมเทียม หรือไม่มีส่วนร่วม (Pseudo-Participation or Non-Participation) ซึ่งประชาชนจะยังไม่มี ส่วนร่วมอย่างแท้จริง มีกลุ่มบุคคลจํานวนน้อยที่มีอํานาจตัดสินใจ ไม่มีการกล่าวถึงเนื้อหาหรือ วิธีการตัดสินใจ ตัวอย่างของการมีส่วนร่วมนี้ เช่น การรับแจกบัตรคนจน เป็นต้น
40. การมีส่วนร่วมระดับที่อํานาจเป็นของประชาชนคือข้อใด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ
41. การมีส่วนร่วมระดับพิธีกรรมคือข้อใด
ตอบ 4 หน้า 200, (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วมระดับพิธีกรรมหรือการมีส่วนร่วมบางส่วน (Degree of Tokenism or Partial Participation) ผู้มีอํานาจจะมีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน มากขึ้น โดยในขั้นที่ 3 (รับฟังข่าวสาร) และขั้นที่ 4 (ปรึกษาหารือ) เมื่อรับฟังแล้วจะเอาใจใส่ นําไปพิจารณาเป็นเงื่อนไขในการตัดสินใจหรือไม่ก็ได้ ส่วนในขั้นที่ 5 (ปลอบใจ) ประชาชน สามารถให้คําแนะนําแก่ผู้มีอํานาจได้ แต่ในระดับนี้อํานาจการตัดสินใจยังอยู่ที่ผู้มีอํานาจ เช่นเดิม ตัวอย่างของการมีส่วนร่วมระดับนี้ เช่น การประชาพิจารณ์ เป็นต้น
42.CSR ย่อมาจากข้อใด
(1) Community Social Responsibility
(2) Corporate Social Responsibility
(3) Community Standard Rate
(4) Corporate Standard Rate
(5) Cultural Sociology Revolution
ตอบ 2 หน้า 209 CSR ย่อมาจาก Corporate Social Responsibility หมายถึง ความรับผิดชอบ ของบริษัทหรือองค์การภาคเอกชนที่จะมีส่วนในการรับผิดชอบต่อสังคม
43. ข้อใดไม่ใช่หลักการสําคัญของบรรษัทภิบาล
(1) มุ่งสู่ความเป็นเลิศ
(2) มีความซื่อสัตย์สุจริต
(3) สร้างคุณค่าผลตอบแทนระยะยาว
(4) ส่งเสริมประชาธิปไตย
(5) มีคุณธรรมจริยธรรม
ตอบ 4 หน้า 212 หลักการสําคัญของบรรษัทภิบาล มี 6 ประการ คือ
1. มุ่งสู่ความเป็นเลิศ
2. มีคุณธรรมจริยธรรม
3. มีความซื่อสัตย์สุจริต
4. มีความโปร่งใส
5. มีความรับผิดชอบ
6. สร้างคุณค่าผลตอบแทนระยะยาว
44. รูปแบบการบริหารเครือข่ายที่รัฐควบคุมผลลัพธ์การทํางานของเครือข่ายผ่านเรื่องเล่ามีลักษณะอย่างไร
(1) เครือข่ายกําหนดภาระหน้าที่และกลไกการทํางานของตัวเอง
(2) รัฐสร้างการรับรู้เรื่องมิตร ศัตรูหรือภาพอนาคตที่ต้องการให้ตัวแสดงในเครือข่าย
(3) ตัวแสดงในเครือข่ายมีอิสระตามกรอบที่รัฐกําหนด
(4) รัฐกําหนดเป้าหมายที่ต้องการบรรลุ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 188, (คําบรรยาย) การบริหารเครือข่ายผ่านเรื่องเล่า เป็นวิธีการที่รัฐสร้างเรื่องเล่า ให้ตัวแสดงในเครือข่ายรับรู้เรื่องมิตร ศัตรูหรือภาพอนาคตที่ต้องการ ซึ่งจะมีผลต่อการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่มีเหตุผลของตัวแสดงอิสระในเครือข่าย ในกรณีนี้เมื่อรัฐดํารงสถานะ ผู้ให้แนวทางจึงยากที่จะควบคุมผลลัพธ์ทางนโยบายของรัฐได้โดยตรง วิธีการที่รัฐสามารถ นํามาชี้นําการตัดสินใจคือ การบอกเล่าเรื่องราว โดยวิธีการนี้รัฐไม่ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับ กระบวนการนโยบายโดยตรง แต่ส่งผ่านการรับรู้ การพิจารณาและการตัดสินใจของ ตัวแสดงในเครือข่ายที่เชื่อว่าตัวเองมีอิสระมากพอที่จะตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
45. ข้อใดไม่ใช่ทักษะสําคัญของผู้บริหารเครือข่าย
(1) ทักษะการบูรณาการ
(2) ทักษะการบังคับบัญชา
(3) ทักษะการสร้างแรงจูงใจ
(4) ทักษะการควบคุมวง
(5) ทักษะการเจรจา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ
46. ข้อใดอธิบาย “การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของประชาชน” ได้ชัดเจนที่สุด
(1) ชาวกาฬสินธุ์ไปออกเสียงลงประชามติให้สร้างโรงพยาบาลแทนสวนสาธารณะ
(2) ประชาชนติดตามรับฟังข่าวสารจากทางราชการสม่ำเสมอ
(3) ประชาชนไปลงชื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้มีรายได้น้อย
(4) เกษตรกรเข้าอบรมโครงการฟื้นฟูสถานะหนี้สินจาก ธ.ก.ส.
(5) นักศึกษาแสดงออกเรื่องการเมืองในงานกีฬา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ
47. ข้อใดคือลักษณะของ “บรรษัทนิยม”
(1) รัฐยังคงบทบาทเป็นผู้ควบคุม
(2) รัฐให้สิทธิพิเศษกับองค์กรธุรกิจ
(3) องค์กรเอกชนและเครือข่ายนโยบายร่วมรับผิดชอบโครงการ
(4) บรรษัททําหน้าที่เป็นตัวแทนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 212 บรรษัทนิยม (Corporatism) เป็นรูปแบบการปกครองที่รัฐมีความใกล้ชิดกับองค์กร ทางธุรกิจและแรงงาน ให้ความสําคัญและสิทธิพิเศษกับองค์กรธุรกิจและแรงงานในเครือข่ายนโยบายให้ร่วมรับผิดชอบการริเริ่มและนํานโยบายไปปฏิบัติ โดยรัฐยังควบคุมความต้องการ รวมทั้งอาจควบคุมองค์การเหล่านั้น ทั้งนี้สํานักราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายว่า บรรษัทนิยม คือ แนวคิดในการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐ โดยกําหนดให้บรรษัทซึ่งถือว่าเป็น องค์การตัวแทนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ มีบทบาทในการร่วมกําหนดนโยบายสาธารณะ ตลอดจน นํานโยบายไปปฏิบัติ
48. ประชาสังคมในแนวคิดการบริหารปกครองมีความสําคัญอย่างไร
(1) เป็นหน่วยทางการปกครองของรัฐ
(2) เป็นพื้นที่ที่มีตัวแสดงที่หลากหลายมารวมตัวกัน
(3) สถานที่ประชุมร่วมกันของหมู่บ้าน
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 2 หน้า 201 ประชาสังคมเป็นเงื่อนไขสําคัญอันหนึ่งของธรรมาภิบาลที่จะต้องเติบโตในฐานะ “พื้นที่เพื่อการบริหารปกครอง” ซึ่งจะอํานวยความสะดวกให้กับตัวแสดงใหม่ ๆ เข้ามาร่วมใน การพิจารณาและแก้ปัญหาของพื้นที่ตนเองแบบปราศจากลําดับการบังคับบัญชา ไม่ว่าจะเป็น NGOs หรือการเคลื่อนไหวทางสังคมอื่น ๆ ซึ่งการที่จะดําเนินการเช่นนี้จําเป็นต้องมีกลไก การมีส่วนร่วมใหม่ ๆ และวิธีดําเนินการใหม่มาเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชน
49. ความชอบธรรมในอํานาจการปกครองสามารถพิจารณาได้ดังนี้ ยกเว้นข้อใด
(1) ระบอบการปกครอง
(2) ที่มาของอํานาจในการปกครอง
(3) การมอบหมายอํานาจในการปกครอง
(4) การมีส่วนร่วมของประชาชน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความชอบธรรมในอํานาจการปกครอง สามารถพิจารณาได้ดังนี้
1. ระบอบการปกครอง
2. อํานาจอธิปไตย
3. ที่มาของอํานาจในการปกครอง
4. การมอบหมายอํานาจในการปกครอง
5. การมีส่วนร่วมของประชาชน ฯลฯ
50. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของวิสาหกิจเพื่อชุมชนไทย
(1) ผลกําไรต้องแบ่งให้ผู้ถือหุ้น
(2) ดําเนินการอย่างโปร่งใส
(3) มีเป้าหมายทางสังคม
(4) ตระหนักในความสําคัญของสิ่งแวดล้อม
(5) กลุ่มผู้ผลิตของวิสาหกิจนั้น ๆ ได้รับการพัฒนา ๆ
ตอบ 1 หน้า 215 คุณลักษณะของวิสาหกิจเพื่อชุมชนไทย มีดังนี้
1. มีเป้าหมายทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
2. มีรูปแบบการดําเนินการที่มีความยั่งยืนทางการเงิน
3. เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
4. มีผลกําไรกลับสู่สังคมและเป้าหมายที่กําหนดไว้
5. ดําเนินการอย่างโปร่งใส มีธรรมาภิบาล
ตั้งแต่ข้อ 51 – 55. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) John Locke
(2) Spinoza
(3) Montesquieu
(4) Thomas Hobbes
(5) Jean Bodin
51. ส่งเสริมระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และสนับสนุนอํานาจเด็ดขาดของกษัตริย์เป็นแนวคิดของใคร
ตอบ 4 หน้า 26 ทอมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) ได้เสนอแนวความคิดที่สะท้อนให้เห็นถึง สัญญาสวามิภักดิ์อันเป็นการส่งเสริมระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และสนับสนุนอํานาจเด็ดขาดของกษัตริย์
52. ผู้วางรากฐานแนวความคิดเกี่ยวกับการปกครองแบบเสรีนิยมประชาธิปไตย เป็นแนวคิดของใคร
ตอบ 1 หน้า 27 จอห์น ล็อค (John Locke) เป็นผู้ให้กําเนิดทฤษฎีสัญญาประชาคมและวางรากฐาน แนวความคิดเกี่ยวกับการปกครองแบบเสรีนิยมประชาธิปไตย เห็นว่า รัฐไม่ควรเข้าไปแทรกแซง ในทางเศรษฐกิจ รัฐควรปล่อยให้เศรษฐกิจเสรีที่สุด ส่วนเรื่องทางศาสนารัฐก็ต้องไม่เข้าไปยุ่ง ต้องให้สังคมถือหลักอหิงสา สําหรับเรื่องการเมืองการปกครองนั้น ล็อคเห็นว่ามนุษย์ควรอยู่ ร่วมกันในสังคมการเมือง และรัฐบาลที่ชอบธรรมจะเป็นรัฐบาลได้ก็โดยความยินยอมของ ผู้ถูกปกครองเท่านั้น
53. Theory of Sovereignty เป็นแนวคิดของใคร
ตอบ 5 หน้า 26 ฌอง โบแต่ง (Jean Bodin) ได้เสนอทฤษฎีอํานาจอธิปไตย (Theory of Sovereignty) ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นหลักกฎหมายมหาชนทั้งภายในและระหว่างประเทศที่สําคัญตั้งแต่นั้น เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แต่ในทางระบอบการปกครองแนวความคิดของโบแดงทําให้เกิดระบอบ การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขึ้น และเป็นผู้ทําให้รัฐมีอํานาจอธิปไตยขึ้นมา ทั้งนี้เพราะโบแดงต้องการให้สภาพสงครามและการปราศจากกฎหมายในยุคกลางหมดไป โดยให้อยู่ภายใต้อํานาจสูงสุดที่ออกกฎหมายและรักษาความสงบในสังคมของกษัตริย์นั่นเอง
54. ระบอบประชาธิปไตยเท่านั้นเป็นระบอบการปกครองที่ดีที่สุด เป็นแนวคิดของใคร
ตอบ 2 หน้า 27 สปิโนซา (Spinoza) เป็นคนแรกที่เห็นว่าระบอบประชาธิปไตยเท่านั้นเป็นระบอบ การปกครองที่ดีที่สุด โดยเขาได้ประณามการใช้อํานาจโดยมิชอบในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ว่า “ความลับสุดยอดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และผลประโยชน์ของระบอบนี้ คือ การหลอกลวงมนุษย์ด้วยกัน และอ้างเหตุผลทางศาสนามาปิดบังความกลัวที่มนุษย์ทั้งหลาย จะลุกขึ้นต่อต้าน โดยใช้ให้คนเหล่านี้ไปสู้รบและตายแทน”
55. Separation of Power เป็นแนวคิดของใคร
ตอบ 3 หน้า 28 – 29, (คําบรรยาย) มงเตสกิเออร์ (Montesquieu) เป็นผู้ให้กําเนิดหลักการแบ่งแยก การใช้อํานาจ (Separation of Power) อธิบายว่า รัฐอธิปไตยทุกรัฐมีอํานาจที่จะปฏิบัติกิจการ ของรัฐอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน คือ อํานาจนิติบัญญัติ อํานาจบริหาร และอํานาจตุลาการ ถ้าอํานาจ ทั้ง 3 ประการนี้รวมอยู่ภายใต้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันแล้ว “ทุกสิ่งทุกอย่างของประชาชน จะสูญสิ้นไป” ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันการใช้อํานาจโดยมิชอบจึงต้องจัดระบบการปกครอง ในลักษณะที่ผู้ถืออํานาจคนหนึ่งถ่วงหรือยับยั้งการใช้อํานาจเกินขอบเขตของผู้ถืออํานาจคนอื่น ๆ ได้ การควบคุมการใช้อํานาจโดยมิชอบจึงต้องใช้วิธีการแบ่งแยกอํานาจและถ่วงดุลอํานาจ (Checks and Balances) ระหว่างผู้ถืออํานาจด้วยกันให้อยู่ในระดับพอเหมาะอยู่เสมอ
ตั้งแต่ข้อ 56. – 60. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) หลักกฎหมายทั่วไป
(2) หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทําทางปกครอง
(3) หลักนิติธรรม
(4) หลักนิติรัฐ
(5) หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง
56. บรรดาการกระทําทั้งหลายขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารจะต้องชอบด้วยกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กร ของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ สอดคล้องกับหลักการควบคุมตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐหลักอะไร
ตอบ 4 หน้า 43 – 44 สาระสําคัญของหลักนิติรัฐ มี 3 ประการ ดังนี้
1. บรรดาการกระทําทั้งหลายขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารจะต้องชอบด้วยกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ
2. บรรดากฎหมายทั้งหลายที่องค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติได้ตราขึ้นจะต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
3. การควบคุมไม่ให้การกระทําขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารขัดต่อกฎหมายก็ดี การควบคุมไม่ให้กฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญก็ดี จะต้องเป็นอํานาจหน้าที่ขององค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ
57. การใช้กฎหมายจะต้องผูกพันต่อบทบัญญัติของกฎหมายที่ออกโดยองค์กรนิติบัญญัติอันเป็นองค์กรที่มีพื้นฐานมาจากตัวแทนของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบัญญัติของกฎหมายที่เป็นการกระทบต่อสิทธิหรือจํากัดสิทธิของประชาชนจะกระทําได้เฉพาะภายใต้เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ โดยผ่านความเห็นชอบจากตัวแทนของประชาชน สอดคล้องกับหลักการควบคุมตรวจสอบการใช้อํานาจหลักอะไร
ตอบ 5 หน้า 44 หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง หรือเรียกว่า หลักความผูกพันต่อกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครองนั้น ตามหลักนิติรัฐ หลักในเรื่องนี้เป็นการเชื่อมโยงหลักความผูกพันต่อกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครองเข้ากับ หลักประชาธิปไตยโดยทางผู้แทน กล่าวคือ การใช้กฎหมายของฝ่ายตุลาการก็ดี หรือฝ่ายปกครอง ก็ดีจะต้องผูกพันต่อบทบัญญัติของกฎหมายที่ออกโดยองค์กรนิติบัญญัติอันเป็นองค์กรที่มีพื้นฐานมาจากตัวแทนของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบัญญัติของกฎหมายที่เป็นการกระทบต่อสิทธิหรือจํากัดสิทธิของประชาชนนั้นจะกระทําได้เฉพาะภายใต้เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ โดยผ่านความเห็นชอบจากตัวแทนของประชาชนก่อน
58. หลักการที่สําคัญ คือ ก่อนที่จะจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของประชาชนคนใดคนหนึ่งด้วยการบังคับให้เขา กระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือห้ามมิให้เขากระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่กรณี ฝ่ายปกครอง จะต้องถามตนเองเสมอว่ามีกฎหมายฉบับใด มาตราใดให้อํานาจกระทําการเช่นนั้นหรือไม่ สอดคล้องกับ หลักการควบคุมตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐหลักอะไร
ตอบ 2 หน้า 47 – 48 หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทําทางปกครอง หมายความว่า ฝ่ายปกครองจะกระทําการใด ๆ ที่อาจมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือเสรีภาพของเอกชนคนใดคนหนึ่งได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อํานาจและเฉพาะแต่ภายในขอบเขตที่กฎหมายกําหนดไว้เท่านั้น ดังนั้นตามหลักการดังกล่าวจึงมีหลักการที่สําคัญอยู่ว่า ก่อนที่จะจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพ ของประชาชนคนใดคนหนึ่งด้วยการบังคับให้เขากระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือห้ามมิให้เขากระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่กรณี ฝ่ายปกครองจะต้องถามตนเองเสมอว่ามีกฎหมาย ฉบับใด มาตราใดให้อํานาจกระทําการเช่นว่านั้นหรือไม่ ถ้าไม่มีกฎหมายให้อํานาจ ฝ่ายปกครองจะต้องละความตั้งใจที่จะกระทําเช่นว่านั้น
59. แนวคิดที่ว่า มีหลักกฎหมายบางอย่างที่อยู่นอกเหนือเจตนาของผู้บัญญัติกฎหมาย และนอกเหนือจาก กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีอยู่ มีกฎเกณฑ์บางอย่างที่อยู่ภายนอกและอยู่เหนือเจตนาของศาล จึงอาจมี การนําหลัก เช่น หลักความเสมอภาค หลักความต่อเนื่องของบริการสาธารณะมาใช้ เป็นต้น สอดคล้องกับ หลักการควบคุมตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐหลักอะไร
ตอบ 1 หน้า 56 หลักกฎหมายทั่วไป เกิดขึ้นจากแนวคิดที่ว่า มีหลักกฎหมายบางอย่างที่อยู่นอกเหนือ เจตนาของผู้บัญญัติกฎหมาย และนอกเหนือจากกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีอยู่ มีกฎเกณฑ์ บางอย่างที่อยู่ภายนอกและอยู่เหนือเจตนาของศาล จึงอาจมีการนําหลัก เช่น หลักความเสมอภาค หลักความต่อเนื่องของบริการสาธารณะมาใช้ เป็นต้น
60. ศาลเป็นผู้นําหลักอันเป็นนามธรรม มาใช้เป็นหลักที่เป็นรูปธรรม สอดคล้องกับหลักการควบคุมตรวจสอบ การใช้อํานาจรัฐหลักอะไร
ตอบ 1 หน้า 56 – 57 หลักกฎหมายทั่วไปเป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อเป็นหลักประกันหรือพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนจากการใช้อํานาจตามอําเภอใจของฝ่ายปกครอง โดยหลักกฎหมาย ทั่วไปนั้นมิได้เกิดขึ้นตามอําเภอใจของศาล ศาลมิได้สร้างกฎหมายขึ้นมาใช้เอง แต่การยอมรับ หลักกฎหมายทั่วไปของศาลเป็นการนําเอาความเชื่อ ความเห็นของส่วนรวมอันเป็นหลักการ พื้นฐานของระบบการเมืองการปกครองและรากฐานของระบบกฎหมายในสังคมนั้น ๆ มาพัฒนา เป็นหลักกฎหมายทั่วไปเพื่อใช้บังคับกับคดีที่เกิดขึ้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ศาลเป็นผู้นํา หลักอันเป็นนามธรรมมาใช้เป็นหลักที่เป็นรูปธรรมนั่นเอง
61. ข้อใดเป็นรูปแบบของการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(1) ไม่สุจริต
(2) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญที่กําหนดไว้สําหรับการนั้น
(3) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 110 – 112 รูปแบบของการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีดังนี้
1. การกระทําที่ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
2. การกระทําที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญที่กําหนดไว้ สําหรับการนั้น
3. การกระทําที่ไม่สุจริต
4. การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
5. การกระทําที่เป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นหรือการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร
6. การกระทําที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
62. กรณีการเลือกรับเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาของรัฐ โดยอาศัยจํานวนเงินบริจาคเป็นเกณฑ์ เป็นการกระทํา ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในรูปแบบใด
(1) การไม่สุจริต
(2) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(3) เป็นการไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(4) เป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นหรือการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร
(5) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้สําหรับการนั้น
ตอบ 2 หน้า 112 การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม เป็นกรณีของการปฏิบัติที่ขัดต่อหลักความเสมอภาค มีความลําเอียง มีอคติหรือใช้ความแตกต่างกันในเรื่องถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนา ภาษา เพศ สภาพร่างกาย หรือความคิดเห็นทางการเมืองมาเป็นเกณฑ์ ในการปฏิบัติที่แตกต่างกันแก่บุคคลในฐานะและข้อเท็จจริงเดียวกัน เช่น กรณีการเลือกรับเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาของรัฐโดยอาศัยจํานวนเงินบริจาคเป็นเกณฑ์กรณีของการจัดซื้อจัดจ้าง การที่เจ้าหน้าที่ออกคําสั่งอนุมัติให้ทําสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกับผู้เสนอราคารายหนึ่งมีความเกี่ยวข้องเป็นญาติกัน
63. กรณีที่หน่วยงานของรัฐออกระเบียบให้ผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการในสถานที่ราชการต้องแต่งกายสุภาพ ด้วยการใส่สูทและผูกเนคไท เป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในรูปแบบใด
(1) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(2) เป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นหรือการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร
(3) เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
(4) เป็นการนอกเหนืออํานาจ
(5) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้
ตอบ 2 หน้า 112 กรณีที่หน่วยงานของรัฐออกระเบียบให้ผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการในสถานที่ราชการ ต้องแต่งกายสุภาพนั้น ไม่ถือเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ถ้าหน่วยงานของรัฐ ออกระเบียบให้ผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการดังกล่าวต้องใส่สูทและผูกเนคไทด้วย ระเบียบดังกล่าว ย่อมเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นหรือการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควรซึ่งถือเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
64. ข้อใดเป็นการกระทําที่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(1) การปฏิบัติที่ใช้ความแตกต่างกันในเรื่องถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนามาเป็นเกณฑ์ ในการปฏิบัติที่แตกต่างกันแก่บุคคลในฐานะและข้อเท็จจริงเดียวกัน
(2) การปฏิบัติที่ใช้ความแตกต่างกันในเรื่องภาษา เพศ สภาพร่างกายมาเป็นเกณฑ์ในการปฏิบัติ ที่แตกต่างกันแก่บุคคลในฐานะและข้อเท็จจริงเดียวกัน
(3) การปฏิบัติที่ใช้ความแตกต่างกันในเรื่องความคิดเห็นทางการเมืองมาเป็นเกณฑ์ในการปฏิบัติที่แตกต่างกันแก่บุคคลในฐานะและข้อเท็จจริงเดียวกัน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ
65. การที่หน่วยงานของรัฐออกระเบียบกําหนดให้ผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการต้องแต่งกายสุภาพ เป็นรูปแบบ
การกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
(1) เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นให้เกิดกับ
ประชาชนเกินควร
(2) เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเป็นการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินควร
(3) เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเป็นการกระทําที่ไม่มีอํานาจหรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ไม่เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 63. ประกอบ
66. กรณีการลงโทษทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงแก่ข้าราชการ ซึ่งผู้บังคับบัญชาสามารถเลือกได้ว่าจะลงโทษ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน แต่ผู้บังคับบัญชากลับเลือกโทษที่สูงที่สุด เพราะมีอคติต่อ ข้าราชการผู้นั้น เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในลักษณะใด
(1) เป็นการกระทําที่ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(2) เป็นการกระทําที่ไม่สุจริต
(3) เป็นการกระทําที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
(4) เป็นการกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(5) เป็นการกระทําที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้สําหรับการนั้น ตอบ 3 หน้า 112 – 113 การกระทําที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ อาจเกิดจากการที่เจ้าหน้าที่ ของรัฐมีอํานาจดุลพินิจ (Discretionary Power) ตามที่กฎหมายได้บัญญัติให้อํานาจไว้ แต่ใช้ อํานาจดุลพินิจนั้นไปในทางที่มิชอบด้วยกฎหมายหรือไม่มีเหตุอันสมควร เช่น กรณีการลงโทษ ทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงแก่ข้าราชการ ซึ่งผู้บังคับบัญชาสามารถเลือกได้ว่าจะลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน แต่ผู้บังคับบัญชากลับเลือกโทษที่สูงที่สุด เพราะมีอคติต่อ ข้าราชการผู้นั้น เป้นต้น
ตั้งแต่ข้อ 67, – 71. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) หลักความได้สัดส่วน
(2) หลักความเสมอภาค
(3) หลักความเป็นกลาง
(4) หลักการฟังความอีกฝ่ายหนึ่ง
(5) หลักเอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง
67. “บังคับให้องค์กรของรัฐฝ่ายปกครองกําหนดมาตรการที่สามารถดําเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ให้อํานาจได้จริงในการปฏิบัติ แต่ในขณะเดียวกันก็ก่อความเสียหายแก่ประชาชนน้อยที่สุด”
ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทางปฏิบัติราชการตามหลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
ตอบ 1 หน้า 117 หลักความได้สัดส่วน เป็นหลักการที่บังคับให้องค์กรของรัฐฝ่ายปกครองกําหนดมาตรการที่สามารถดําเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ให้อํานาจได้จริงในการปฏิบัติ
แต่ในขณะเดียวกันก็ก่อความเสียหายแก่ประชาชนน้อยที่สุด และห้ามมิให้ฝ่ายปกครองออกมาตรการใด ๆ ซึ่งหากได้ลงมือบังคับใช้แล้วจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่มหาชนน้อยมาก ไม่คุ้มกับความเสียหายที่จะตกแก่ประชาชนและสังคมโดยส่วนรวม
68. “เป็นอํานาจพิเศษของฝ่ายปกครองที่มีเหนือเอกชน ใช้เพื่อประโยชน์ในการจัดทําบริการสาธารณะ”
ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทางปฏิบัติราชการตามหลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
ตอบ 5 หน้า 127 หลักเอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง เป็นเครื่องมือทางกฎหมายมหาชนที่กําหนดให้นิติบุคคลซึ่งจัดทําหรือกํากับดูแลการจัดทําบริการสาธารณะมีอํานาจพิเศษที่แตกต่างไปจากวิธีการทางกฎหมายเอกชน ซึ่งเรียกกันว่า อํานาจพิเศษของฝ่ายปกครอง หรือเอกสิทธิ์ของ ฝ่ายปกครอง ซึ่งเป็นอํานาจฝ่ายเดียวของฝ่ายปกครองที่มีเหนือเอกชน ใช้เพื่อประโยชน์ในการจัดทําบริการสาธารณะ
69. “ความเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของผู้มีอํานาจทําการพิจารณาเพื่อออกคําสั่งทางปกครองหรือลงมติใด ๆเป็นหลักประกันความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง โดยมีเหตุผลรองรับความเชื่อมั่น ในกระบวนการพิจารณาและวินิจฉัยทางปกครอง” ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทางปฏิบัติราชการตาม
หลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
ตอบ 3 หน้า 122 – 123 หลักความเป็นกลาง หรือความเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของผู้มีอํานาจทําการ พิจารณาเพื่อออกคําสั่งทางปกครองหรือลงมติใด ๆ เป็นหลักประกันความเชื่อมั่นของประชาชน ที่มีต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง โดยมีเหตุผลรองรับความเชื่อมั่นในกระบวนการพิจารณาและวินิจฉัยทางปกครอง
70. “บุคคลทุกคนที่อยู่ในสถานะเท่าเทียมกันที่จะได้รับหรือได้ใช้บริการสาธารณะอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว จะต้องได้รับการปฏิบัติเหมือน ๆ กัน หรือการไม่เลือกปฏิบัตินั่นเอง” ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทาง ปฏิบัติราชการตามหลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
ตอบ 2 หน้า 118 เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์ อธิบายว่า ในระบบกฎหมายของฝรั่งเศส หลักความ เสมอภาคปรากฏเป็นที่ยอมรับและผูกพันองค์กรของรัฐในอันที่จะต้องเคารพและปฏิบัติอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ กล่าวโดยเฉพาะในเรื่องความเสมอภาคในการได้รับบริการสาธารณะแล้ว ย่อมหมายความว่า บุคคลทุกคนที่อยู่ในสถานะเท่าเทียมกันที่จะได้รับหรือได้ใช้บริการสาธารณะ อย่างหนึ่งอย่างใดแล้วจะต้องได้รับการปฏิบัติเหมือน ๆ กัน หรือ “การไม่เลือกปฏิบัติ” นั่นเอง
71. “เป็นหลักการที่ให้สิทธิแก่บุคคลที่จะปกป้องนิติฐานะของตนจากการใช้อํานาจออกคําวินิจฉัยสั่งการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง” ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทางปฏิบัติราชการตามหลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
ตอบ 4 หน้า 123 หลักการฟังความอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นหลักการที่ให้สิทธิแก่บุคคลที่จะปกป้องนิติฐานะของตนจากการใช้อํานาจออกคําวินิจฉัยสั่งการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง โดยผลบังคับของหลักการนี้มีอยู่ว่า ก่อนที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะตัดสินใจใช้อํานาจออกคําวินิจฉัยสั่งการที่อาจจะมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือประโยชน์อันชอบธรรมของบุคคลใด เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะต้องแจ้งข้อเท็จจริงที่ตนจะใช้เป็นเหตุผลในการออกคําวินิจฉัยสั่งการให้บุคคลนั้นทราบและ ให้เขามีโอกาสโต้แย้งข้อเท็จจริงนั้นและแสดงพยานหลักฐานสนับสนุนข้อโค้งแย้งของตน
72. “เป็นหลักเกณฑ์ที่ช่วยให้การจัดทําบริการสาธารณะเป็นไปตามเจตนารมณ์ของฝ่ายปกครองหรือมีประสิทธิภาพสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายให้ประชาชนอยู่อย่างเป็นสุขและอยู่ดีกินดี” ข้อความนี้ตรงกับหลักเกณฑ์สําคัญในการจัดทําบริการสาธารณะหลักใด
(1) หลักความเป็นกลางของบริการสาธารณะ
(2) หลักการให้เปล่าของบริการสาธารณะ
(3) หลักความโปร่งใสของบริการสาธารณะ
(4) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 152 – 153 หลักเกณฑ์สําคัญในการจัดทําบริการสาธารณะ เป็นหลักเกณฑ์ที่ช่วยให้ การจัดทําบริการสาธารณะเป็นไปตามเจตนารมณ์ของฝ่ายปกครองหรือมีประสิทธิภาพ สามารถบรรลุจุดมุ่งหมายให้ประชาชนอยู่อย่างเป็นสุขและอยู่ดีกินดี ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวประกอบด้วย
1. หลักความเป็นกลางของบริการสาธารณะ
2. หลักการให้เปล่าของบริการสาธารณะ
3. หลักความโปร่งใสของบริการสาธารณะ
4. หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
5. หลักเฉพาะที่แท้จริงของกฎหมายเกี่ยวกับบริการสาธารณะ
73. “ฝ่ายปกครองหรือหน่วยงานที่จัดทําบริการสาธารณะไม่ว่าจะเป็นการจัดบริการสาธารณะประเภทใด จําเป็น ต้องมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมาเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก มีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบได้” ข้อความนี้ตรงกับหลักเกณฑ์สําคัญในการจัดทําบริการสาธารณะหลักใด
(1) หลักความเป็นกลางของบริการสาธารณะ
(2) หลักการให้เปล่าของบริการสาธารณะ
(3) หลักความโปร่งใสของบริการสาธารณะ
(4) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
(5) หลักเฉพาะที่แท้จริงของกฎหมายเกี่ยวกับบริการสาธารณะ
ตอบ 3 หน้า 153 หลักความโปร่งใสของบริการสาธารณะ หมายถึง ฝ่ายปกครองหรือหน่วยงาน ที่จัดทําบริการสาธารณะไม่ว่าจะเป็นการจัดบริการสาธารณะประเภทใด จําเป็นต้องมีการ เปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมาเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบได้
74. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการได้มาซึ่งทรัพย์สินในการดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะของฝ่ายปกครอง (1) การได้มาซึ่งทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแพ่ง
(2) การได้มาซึ่งทรัพย์สินด้วยการเวนคืนเพื่อประโยชน์สาธารณะ
(3) การได้มาซึ่งทรัพย์สินด้วยวิธีการยึด
(4) การได้มาซึ่งทรัพย์สินด้วยการโอนกิจการเป็นของรัฐ
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 5 หน้า 40 การได้มาซึ่งทรัพย์สินในการดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะของฝ่ายปกครอง มี 2 วิธี คือ
1. การได้มาซึ่งทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแพ่ง
2. การได้มาซึ่งทรัพย์สินด้วยวิธีพิเศษ ซึ่งมี 3 กรณี คือ การเวนคืนเพื่อประโยชน์สาธารณะ การโอนกิจการเป็นของรัฐ และด้วยวิธีการยึด
75. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับหลักนิติรัฐ
(1) นิติรัฐเป็นรัฐที่ปกครองโดยกฎหมาย
(2) การกระทําทั้งหลายขององค์กรรัฐฝ่ายบริหารจะต้องชอบด้วยกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร
(3) กฎหมายที่องค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติตราขึ้นต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
(4) ข้อ 1 และ 2 ผิด
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 4 หน้า 41, (คําบรรยาย) การกล่าวว่านิติรัฐเป็นรัฐที่ปกครองโดยกฎหมายอาจจะนําไปสู่ ความเข้าใจผิดได้เพราะเป็นการมองแบบแคบ ๆ โดยในทางเนื้อหานั้น คือ เป็นนิติรัฐที่เป็น เสรีนิยม คํานึงถึงความยุติธรรม ส่วนรัฐที่สนใจแต่เพียงกฎหมายในทางรูปแบบ ฝ่ายปกครอง จะผูกพันตนต่อกฎหมาย ไม่สนใจว่ากฎหมายนั้นจะถูกต้องเป็นธรรมหรือไม่ (ดูคําอธิบายข้อ 56. ประกอบ)
76. ข้อใดเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดทําบริการสาธารณะ
(1) มาตรการทางกฎหมาย
(2) อํานาจพิเศษของฝ่ายปกครอง
(3) บุคลากรของรัฐ
(4) ทรัพย์สินในการดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 40 ฝ่ายปกครองมีเครื่องมือที่ใช้ในการจัดทําบริการสาธารณะ 4 ประการ คือ
1. มาตรการทางกฎหมาย
2. บุคลากรของรัฐ
3. ทรัพย์สินในการดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะ
4. อํานาจพิเศษของฝ่ายปกครอง
77. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดเงื่อนไข หลักเกณฑ์และวิธีการในการใช้อํานาจโดยองค์กร
ของรัฐหรือบุคลากรของรัฐ
(2) กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดให้องค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐมีอํานาจมหาชนที่จะกําหนดกฎเกณฑ์หรือออกคําสั่งให้เอกชนต้องปฏิบัติตามได้ โดยไม่จําเป็นต้องอาศัยความสมัครใจ
หรือความยินยอมจากเอกชน
(3) กฎหมายปกครองที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรของรัฐในทางบริหาร ใช้หลักการกระจายอํานาจ โดยกําหนด ให้มีองค์กรในรูปแบบส่วนราชการ ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 64 – 65 ชาญชัย แสวงศักดิ์ อธิบายว่า กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่มีเนื้อหา
แยกได้เป็น 3 ส่วน คือ
1. กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรของรัฐและบุคลากรของรัฐในทาง บริหาร ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการบริหารรัฐกิจหรือรัฐประศาสนศาสตร์และการบริหารงาน บุคคลภาครัฐ เช่น กฎหมายปกครองที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรของรัฐในทางบริหารโดยใช้ หลักการรวมอํานาจ โดยกําหนดให้มีองค์กรในรูปแบบส่วนราชการ ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม
2. กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดให้องค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐมีอํานาจมหาชนที่จะกําหนดกฎเกณฑ์หรือออกคําสั่งให้เอกชนต้องปฏิบัติตามได้ โดยไม่จําเป็นต้องอาศัยความสมัครใจหรือความยินยอมจากเอกชน
3. กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดเงื่อนไข หลักเกณฑ์และวิธีการในการใช้อํานาจ โดยองค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐ
78. ข้อใดเป็นการกระทําทางปกครอง
(1) การที่รัฐมีมาตรการต่าง ๆ มีคําสั่งหรือวางกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในสังคม ทําให้ประชาชนผู้รับคําสั่ง ต้องปฏิบัติตาม
(2) การที่รัฐให้ทุนการศึกษา ซึ่งถือเป็นคุณประโยชน์แก่ประชาชน
(3) การที่รัฐตัดถนน สร้างสนามบิน คลองส่งน้ํา
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ทุกข้อเป็นการกระทําทางปกครอง
ตอบ 5 หน้า 74 กมลชัย รัตนสกาววงศ์ อธิบายว่า การกระทําทางปกครอง คือ
1. การกระทําที่รัฐเข้าไปกระทบสิทธิเสรีภาพและทรัพย์สินของประชาชน เช่น มีมาตรการต่าง ๆ มีคําสั่งหรือวางกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในสังคม ทําให้ประชาชนผู้รับคําสั่งนั้น ๆ จะต้องปฏิบัติตาม
2. มีการกระทําบางอย่างที่ให้คุณประโยชน์แก่ประชาชน เช่น การให้เงินช่วยเหลือผู้ประสบ อุบัติเหตุ ให้ทุนการศึกษา หรือให้เงินเพื่อการศึกษา เป็นต้น
3. การกระทําทางปกครองในลักษณะการวางแผน เช่น การตัดถนน สร้างสนามบิน คลองส่งน้ำ สร้างทางด่วน ซึ่งมีลักษณะเป็นทั้งการกระทบสิทธิและให้คุณประโยชน์แก่ประชาชน
79. ข้อใดไม่เป็นการกระทําทางปกครอง
(1) การที่สภาทนายความออกคําสั่งเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพว่าความ
(2) การที่เจ้าหน้าที่มีคําสั่งไม่อนุญาตตามคําขอ
(3) การที่แพทยสภาออกคําสั่งเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพแพทย์
(4) เฉพาะข้อ 1 และ 3 ที่ไม่เป็นการกระทําทางปกครอง
(5) ไม่มี เพราะทุกข้อเป็นการกระทําทางปกครอง
ตอบ 5 หน้า 74 – 75 มานิตย์ จุมปา อธิบายว่า การกระทําทางปกครอง หมายถึง
1. การกระทําของรัฐที่ไม่ใช่การกระทําทางนิติบัญญัติ การกระทําทางตุลาการหรือการกระทํา ทางรัฐบาล และ
2. การกระทําของรัฐนั้นมีลักษณะของการกระทําที่กําหนด ก่อ เปลี่ยนแปลง โอน หรือระงับ ซึ่งสิทธิและหน้าที่ของประชาชน ตัวอย่างการกระทําทางปกครอง เช่น
– การที่เจ้าหน้าที่มีคําสั่งไม่อนุญาตตามคําขอ
– การที่เจ้าหน้าที่ออกคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
– การที่แพทยสภาออกคําสั่งเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพแพทย์
– การที่สภาทนายความออกคําสั่งเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพว่าความ
80. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะการกระทําทางปกครอง
(1) การกระทําทางปกครองเป็นการกระทําของรัฐ ไม่ใช่การกระทําของเอกชน
(2) การกระทําทางปกครองต้องเป็นการกระทําของรัฐที่กระทําโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร
ประเภทองค์กรฝ่ายปกครอง
(3) การกระทําทางปกครองต้องเป็นการกระทําของรัฐที่กระทําโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร
องค์กรฝ่ายนิติบัญญัติหรือองค์กรฝ่ายตุลาการ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 75 นัยนา เกิดวิชัย อธิบายว่า การกระทําทางปกครองมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. การกระทําทางปกครองเป็นการกระทําของรัฐ ไม่ใช่การกระทําของเอกชน
2. การกระทําทางปกครองต้องเป็นการกระทําของรัฐที่กระทําโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารไม่ใช่องค์กรฝ่ายนิติบัญญัติหรือองค์กรฝ่ายตุลาการ
3. การกระทําทางปกครองต้องเป็นการกระทําของรัฐที่กระทําโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารประเภทองค์กรฝ่ายปกครอง
4. มีลักษณะเป็นการกําหนดสิทธิหน้าที่ของประชาชน ให้เปลี่ยนแปลงหรือระงับซึ่งสิทธิ
81. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
(1) สิทธิได้รับและทราบเหตุผลของฝ่ายปกครอง
(2) สิทธิได้รับการพิจารณาโดยเร็ว
(3) สิทธิที่จะมีที่ปรึกษาทางกฎหมาย
(4) สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสาร
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 102 – 104 สิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง มีดังนี้
1. สิทธิได้รับแจ้งผลกระทบต่อสิทธิ
2. สิทธิที่จะมีที่ปรึกษาทางกฎหมาย
3. สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสาร
4. สิทธิได้รับการพิจารณาโดยเร็ว และรับแจ้งสิทธิหน้าที่
5. สิทธิได้รับและรับทราบเหตุผลของฝ่ายปกครอง
6.สิทธิได้รับทราบถึงแนวทางหรือวิธีการโต้แย้งคําสั่งทางปกครอง
82. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
(1) สิทธิได้รับแจ้งผลกระทบต่อสิทธิทุกกรณี
(2) สิทธิได้รับและทราบเหตุผลของฝ่ายปกครอง
(3) สิทธิได้รับการพิจารณาโดยเร็ว
(4) สิทธิที่จะมีที่ปรึกษาทางกฎหมาย
(5) สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสาร
ตอบ 1 หน้า 102 – 103 ในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครองได้กําหนดให้คู่กรณีมีสิทธิได้รับแจ้ง ผลกระทบต่อสิทธิ แต่ไม่ทุกกรณี กล่าวคือ ในกรณีที่คําสั่งทางปกครองอาจจะกระทบถึง สิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน แต่มิให้นํามาใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้
1. เมื่อมีความจําเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง
2. เมื่อจะมีผลทําให้ระยะเวลาที่กฎหมายหรือกฎกําหนดไว้ในการทําคําสั่งทางปกครองต้อง ล่าช้าออกไป
3. เมื่อเป็นมาตรการบังคับทางปกครอง ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 81. ประกอบ)
83. ข้อใดผิดเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
(1) สิทธิได้รับแจ้งผลกระทบต่อสิทธิทุกกรณี
(2) สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสารแม้ยังไม่ได้ทําคําสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น
(3) เจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็นกรณีต้องรักษาไว้เป็นความลับ
(4) ผิดเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ผิดเฉพาะข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 103 ในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครองได้กําหนดให้คู่กรณีมีสิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริง หรือตรวจดูเอกสารได้ โดยคู่กรณีมีสิทธิตรวจดูเอกสารที่จําเป็นต้องรู้เพื่อการโต้แย้งหรือชี้แจง หรือป้องกันสิทธิของตนได้ แต่ถ้ายังไม่ได้ทําคําสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น คู่กรณีก็ไม่มีสิทธิ ตรวจดูเอกสาร และเจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็น กรณีต้องรักษาไว้เป็นความลับ (ดูคําอธิบายข้อ 81. และ 82. ประกอบ)
84. ข้อถูกต้องเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
(1) สิทธิได้รับแจ้งผลกระทบต่อสิทธิ์ทุกกรณี
(2) สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสารแม้ยังไม่ได้ทําคําสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น
(3) เจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็นกรณีต้องรักษาไว้เป็นความลับ
(4) ผิดเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ผิดเฉพาะข้อ 2 และ 3
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 81 – 83. ประกอบ
85. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
(1) คู่กรณีไม่มีสิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสาร ถ้ายังไม่ได้ทําคําสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น
(2) เจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็นกรณีต้องรักษาไว้เป็นความลับ
(3) คู่กรณีมีสิทธินําทนายหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 103 ในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครองได้กําหนดให้คู่กรณีมีสิทธิที่จะมีที่ปรึกษาทาง กฎหมายได้ กล่าวคือ ในการพิจารณาทางปกครองที่คู่กรณีต้องมาปรากฏตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่คู่กรณีมีสิทธินําทนายความหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้ ซึ่งการใด ที่ทนายความหรือที่ปรึกษาได้ทําลงต่อหน้าคู่กรณีให้ถือว่าเป็นการกระทําของคู่กรณี เว้นแต่ คู่กรณีจะได้คัดค้านเสียแต่ในขณะนั้น (ดูคําอธิบายข้อ 83. ประกอบ)
86. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับหลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(1) หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะให้มีผลย้อนหลังไม่ได้
(2) หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะมีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังก็ได้แต่ให้มีผลในอนาคตไม่ได้
(3) หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะมีผลย้อนหลัง
หรือไม่ย้อนหลังก็ได้ แต่ให้มีผลในอนาคตไม่ได้
(4) หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะให้มีผลย้อนหลัง
หรือไม่ย้อนหลัง หรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กฎหมายกําหนดได้
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 หน้า 114 หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีดังนี้
1. การเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่เป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วนโดยจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลัง หรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กฎหมายกําหนดได้
2. การเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่เป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครอง เจ้าหน้าที่ หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลัง หรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กฎหมายกําหนดได้แต่กฎหมายก็อาจจะต้องไม่เพิกถอนคําสั่งทางปกครองย้อนหลังลบล้างคําสั่งนั้น แต่หาก จําเป็นต้องเพิกถอนให้มีผลย้อนหลังก็จะต้องกําหนดวิธีการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น
87. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับข้อยกเว้นของผู้รับคําสั่งทางปกครองที่จะอ้างความเชื่อโดยสุจริตไม่ได้
(1) บุคคลผู้มีพฤติกรรมได้ให้ข้อความซึ่งไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนในสาระสําคัญต้องรับผิดคืนประโยชน์ที่ได้รับเต็มจํานวน
(2) บุคคลผู้มีพฤติกรรมแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง
(3) บุคคลผู้มีพฤติกรรมข่มขู่ หรือชักจูงใจ โดยการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่มิชอบด้วยกฎหมาย
(4) บุคคลผู้มีพฤติกรรมรู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของกฎหรือคําสั่งทางปกครองในขณะที่ได้รับคําสั่ง ทางปกครอง หรือการไม่รู้นั้นเป็นไปโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 115 ในกรณีดังต่อไปนี้ผู้รับคําสั่งทางปกครองจะอ้างความเชื่อโดยสุจริตไม่ได้ และจะต้องรับผิดคืนประโยชน์ที่ได้รับเต็มจํานวน
1. แสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง หรือข่มขู่ หรือชักจูงใจโดยการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่มิชอบด้วยกฎหมาย
2.ได้ให้ข้อความซึ่งไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนในสาระสําคัญ
3. รู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของกฎหรือคําสั่งทางปกครองในขณะที่ได้รับคําสั่งทางปกครองหรือการไม่รู้นั้นเป็นไปโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
88. ข้อใดเป็นคําสั่งทางปกครอง
(1) คําสั่งรับหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
(2) คําสั่งของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิเสธไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
(3) คําสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านในสวัสดิการของข้าราชการ
(4) คําสั่งเลื่อนขั้นในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 100 – 101 ฤทัย หงส์สิริ อธิบายว่า ที่เรียกเป็นภาษากฎหมายว่า “คําสั่งทางปกครอง” มีตัวอย่างพอสรุปได้ดังนี้
1. คําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ประกอบกิจการต่าง ๆ เช่น คําสั่งไม่ออกใบอนุญาตให้ ประกอบกิจการโรงงาน สถานบริการ เป็นต้น
2. คําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร หรือให้รื้อถอนอาคารที่มีลักษณะ เป็นอันตรายต่อสาธารณชนตามกฎหมายควบคุมอาคาร
3. คําสั่งของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิเสธไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
4. คําสั่งรับหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
5. คําสั่งทางปกครองที่มีผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเป็นการส่วนตัว เช่น คําสั่งที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการ เช่น คําสั่งแต่งตั้ง เลื่อนขั้นตําแหน่ง คําสั่งลงโทษทางวินัย คําสั่งพักราชการในระหว่างสอบสวนทางวินัย เป็นต้น คําสั่งเกี่ยวกับสวัสดิการของข้าราชการ เช่น คําสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้าน ค่ารักษา พยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร เป็นต้น
89. ข้อใดเป็นคําสั่งทางปกครอง
(1) คําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร หรือให้รื้อถอนอาคารที่มีลักษณะเป็นอันตรายต่อสาธารณชนตามกฎหมายควบคุมอาคาร
(2) คําสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่ารักษาพยาบาล
(3) คําสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้าน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 88. ประกอบ
90. คําสั่งทางปกครองที่ทําเป็นหนังสือและยืนยันคําสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องให้มีเหตุผลไว้ด้วยโดยอย่างน้อยต้องมีองค์ประกอบใดเป็นเหตุผลบ้าง
(1) ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญ
(2) ข้อกฎหมายที่อ้างอิง
(3) ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 103 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 3 กําหนดว่า คําสั่งทางปกครองที่ทําเป็นหนังสือและยืนยันคําสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
1. ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญ
2. ข้อกฎหมายที่อ้างอิง
3. ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ
91. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยหลักกฎหมายและกําหนดให้เป็นผู้มีอํานาจในการออกคําสั่งทางปกครองสามารถริเริ่มใช้อํานาจในการออกคําสั่งได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีผู้มาร้องขอ
(2) เจ้าหน้าที่จะริเริ่มออกคําสั่งทางปกครองได้ก็ต่อเมื่อมีประชาชนหรือเอกชนมาร้องขอเสียก่อนจึงดําเนินการได้
(3) ผู้บังคับบัญชาพบว่าผู้ใต้บังคับบัญชาทําผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการลงโทษทางวินัยได้ทันที โดยไม่ต้องมีผู้ใดมาร้องเรียนกล่าวโทษ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 101 โดยหลักแล้วเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยหลักกฎหมายและกําหนดให้เป็นผู้มีอํานาจในการออกคําสั่งทางปกครอง สามารถริเริ่มใช้อํานาจในการออกคําสั่งได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องมีผู้มาร้องขอ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีกฎหมายกําหนดอํานาจหน้าที่ให้อยู่แล้ว เช่น กรณี ผู้บังคับบัญชาพบว่าผู้ใต้บังคับบัญชาทําผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการลงโทษทางวินัย ได้ทันทีโดยไม่ต้องมีผู้ใดมาร้องเรียนกล่าวโทษ แต่ในบางกรณีเจ้าหน้าที่จะริเริ่มออกคําสั่งทางปกครองได้ก็ต่อเมื่อมีประชาชนหรือเอกชนมาร้องขอเสียก่อนจึงดําเนินการได้ เช่น ในเรื่องของ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับจดทะเบียน การรับรอง การอนุมัติ การออกใบอนุญาตต่าง ๆ เช่น ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ใบอนุญาตจัดตั้งสถานบริการ เป็นต้น
92. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) คําสั่งทางปกครองจะต้องทําเป็นหนังสือเท่านั้น
(2) คําสั่งทางปกครองจะทําด้วยวาจาได้
(3) คําสั่งทางปกครองจะทําเป็นรูปแบบอื่นก็ได้ นอกเหนือจากเป็นหนังสือ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 104 คําสั่งทางปกครองจะทําเป็นหนังสือ หรือทําด้วยวาจา หรือโดยรูปแบบอื่นก็ได้ กฎหมายบางฉบับระบุไว้ชัดเจนว่าต้องทําคําสั่งในเรื่องนั้นเป็นหนังสือ แต่ถ้ากฎหมายไม่ระบุไว้ เจ้าหน้าที่ย่อมมีสิทธิจะเลือกทําคําสั่งในรูปแบบใดก็ได้ โดยขึ้นอยู่กับการตัดสินใจอันเป็นความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่นั้นเอง โดยต้องพิจารณาจากความเร่งด่วนและความจําเป็นของ สถานการณ์เป็นสําคัญ
93. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับรูปแบบคําสั่งทางปกครอง
(1) คําสั่งทางปกครองที่กฎหมายกําหนดให้ทําเป็นหนังสือ หากไม่ทํา คําสั่งนั้นย่อมเป็นโมฆะไม่มีผลทางกฎหมาย
(2) คําสั่งทางปกครองที่สั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคําสั่งร้องขอ และการร้องขอได้กระทําโดยมีเหตุอันควร ต้องกระทําภายใน 14 วันนับแต่วันที่ทําคําสั่ง
(3) คําสั่งทางปกครองที่สื่อความหมายในรูปแบบอื่น ต้องมีข้อความหรือความหมายที่ชัดเจนเพียงพอ ที่จะเข้าใจได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 หน้า 104 – 105 คําสั่งทางปกครองที่กฎหมายกําหนดให้ทําเป็นหนังสือ หากไม่ทําเป็นหนังสือ ย่อมขัดต่อกฎหมายอย่างชัดเจน และคําสั่งนั้นย่อมเป็นโมฆะไม่มีผลทางกฎหมาย ส่วนคําสั่ง ทางปกครองที่สั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคําสั่งนั้นร้องขอ และการร้องขอได้กระทําโดยมีเหตุอันสมควร ต้องกระทําภายใน 7 วันนับแต่วันที่ทําคําสั่ง และคําสั่งทางปกครองที่สื่อความหมายในรูปแบบอื่น ต้องมีข้อความหรือความหมายที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้
94. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะของประโยชน์สาธารณะ
(1)ประโยชน์สาธารณะ คือ การดําเนินการของรัฐเพื่อตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ในสังคม มิใช่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ดําเนินการนั้นเอง
(2) เรื่องใดที่ผ่านการพิจารณาและเห็นชอบของรัฐบาลแล้ว ย่อมถือว่าเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกัน ของประชาชนด้วย ดังนั้นหากรัฐบาลได้ตรากฎหมายให้รัฐหรือหน่วยงานของรัฐมีอํานาจดําเนินการ ในเรื่องใด เรื่องนั้นก็คือความต้องการของคนส่วนใหญ่หรือเป็นประโยชน์สาธารณะ
(3) ประโยชน์สาธารณะเป็นเรื่องที่ฝ่ายปกครองมีหน้าที่ต้องดําเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการของ สังคม จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจเลือกว่าจะกระทําหรือไม่กระทําได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 หน้า 144 – 145 ลักษณะของประโยชน์สาธารณะ สามารถแยกได้เป็น 3 ประการ ดังนี้
1. ประโยชน์สาธารณะ คือ การดําเนินการของรัฐเพื่อตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ ในสังคม มิใช่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ดําเนินการนั้นเอง
2. ในระบอบประชาธิปไตยเรื่องใดที่ผ่านการพิจารณาและเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ย่อมถือว่าเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาชนด้วย ดังนั้นหากรัฐสภาได้ตรากฎหมายให้รัฐ หรือหน่วยงานของรัฐมีอํานาจดําเนินการในเรื่องใด เรื่องนั้นก็คือความต้องการของคนส่วนใหญ่หรือเป็นประโยชน์สาธารณะ
3. ประโยชน์สาธารณะเป็นเรื่องที่ฝ่ายปกครองมีหน้าที่ต้องดําเนินการเพื่อตอบสนองความ ต้องการของสังคม จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจเลือกว่าจะกระทําหรือไม่กระทําได้
95. ข้อใดผิด
(1) คําสั่งทางปกครองที่สั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคําสั่งร้องขอ และการร้องขอได้กระทําโดยมีเหตุอันควร ต้องกระทําภายใน 7 วันนับแต่วันที่ทําคําสั่ง
(2) คําสั่งทางปกครองเริ่มมีผลบังคับทันทีเมื่อเจ้าหน้าที่ออกคําสั่ง
(3) คําสั่งทางปกครองที่กฎหมายกําหนดให้ทําเป็นหนังสือ หากไม่ทํา คําสั่งนั้นย่อมเป็นโมฆะไม่มีผลทางกฎหมาย
(4) ข้อ 1 และ 3 ผิด
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 106 คําสั่งทางปกครองเริ่มมีผลบังคับเมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ออกคําสั่งนั้นได้แจ้งคําสั่งทางปกครองนั้นแก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองให้ทราบ และมีผลบังคับตราบเท่าที่ยังไม่มีการยกเลิกหรือ เพิกถอน หรือสิ้นผลโดยเงื่อนไขของระยะเวลาหรือโดยเหตุอื่น (ดูคําอธิบายข้อ 93. ประกอบ)
ตั้งแต่ข้อ 96. – 100. จงเลือกคําตอบที่มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาเหตุความไม่ชอบด้วยกฎหมายของกฎหรือคําสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง อนุมาตรา (1)
(1) ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(2) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้สําหรับการนั้น
(3) ไม่สุจริต
(4) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(5) การใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
96. เกิดจากการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีอํานาจแบบ Discretionary Power ตามที่กฎหมายได้บัญญัติให้อํานาจไว้ แต่ใช้อํานาจ Discretionary Power ไปในทางที่มิชอบด้วยกฎหมายหรือไม่มีเหตุอันสมควร
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ
97. กรณีของการจัดซื้อจัดจ้าง การที่เจ้าหน้าที่ออกคําสั่งอนุมัติให้ทําสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกับผู้เสนอราคารายหนึ่ง มีความเกี่ยวข้องเป็นญาติกัน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ
98. เป็นการกระทําที่เป็นการบิดเบือนการใช้อํานาจ (Abuse of Power) โดยมีเจตนาหรือวัตถุประสงค์ นอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ที่กฎหมายให้อํานาจในเรื่องดังกล่าวไว้ ไม่ว่าจะมีเจตนากลั่นแกล้งผู้อื่น หรือเจตนาทุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือของบุคคลอื่น
ตอบ 3 หน้า 111 การกระทําที่ไม่สุจริต เป็นการกระทําที่เป็นการบิดเบือนการใช้อํานาจ (Abuse of Power) โดยมีเจตนาหรือวัตถุประสงค์นอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ที่กฎหมายให้อํานาจ ในเรื่องดังกล่าวไว้ ไม่ว่าจะมีเจตนากลั่นแกล้งผู้อื่น หรือเจตนาทุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของ เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือของบุคคลอื่น
99. การออกกฎหรือคําสั่งทางปกครองโดยมิได้ผ่านความเห็นชอบขององค์กรที่กฎหมายกําหนดให้ต้องให้ ความเห็นชอบก่อน หรือการออกคําสั่งลงโทษหรือคําสั่งที่มีผลกระทบต่อสิทธิของคู่กรณี โดยไม่ให้โอกาส
บุคคลนั้นได้ทราบถึงข้อเท็จจริงและใช้สิทธิโต้แย้งแสดงหลักฐานอย่างเพียงพอ
ตอบ 2 หน้า 111 การกระทําที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้ สําหรับการนั้น คือ การออกกฎหรือคําสั่งทางปกครองโดยมิได้ผ่านความเห็นชอบขององค์กรที่ กฎหมายกําหนดให้ต้องให้ความเห็นชอบก่อน หรือการออกคําสั่งลงโทษหรือคําสั่งที่มีผลกระทบต่อสิทธิของคู่กรณี โดยไม่ให้โอกาสบุคคลนั้นได้ทราบถึงข้อเท็จจริงและใช้สิทธิ์โต้แย้งแสดงหลักฐานอย่างเพียงพอ
100. ผู้กระทํามิใช่เจ้าหน้าที่ที่กฎหมายให้อํานาจไว้ หรือกฎหมายมิได้ให้อํานาจเจ้าหน้าที่ในการกระทําเช่นนั้นไว้
ตอบ 1 หน้า 110 การกระทําที่ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย คือ ผู้กระทํามิใช่เจ้าหน้าที่ที่กฎหมายให้อํานาจไว้ หรือกฎหมายมิได้ให้อํานาจเจ้าหน้าที่ในการกระทํา เช่นนั้นไว้ตามหลักทั่วไปของกฎหมายปกครองที่ว่า “ไม่มีอํานาจหากไม่มีกฎหมาย”