การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2566
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2302 ระเบียบปฏิบัติราชการ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1. ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ต้องโทษวินัยปลดออกมีผลตามข้อใด
(1) พ้นจากราชการโดยไม่ได้รับบําเหน็จ
(2) พ้นจากราชการโดยไม่ได้รับบํานาญ
(3) พ้นจากราชการโดยไม่ได้รับเงินชดเชย
(4) พ้นจากราชการโดยได้รับบําเหน็จ บํานาญ
(5) พ้นจากราชการโดยได้รับบําเหน็จ แต่ไม่ได้รับบํานาญ
ตอบ 4 หน้า 267, (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 97 วรรคสี่), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัยขั้นปลดออกจากราชการตาม พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ยังมีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จ บํานาญข้าราชการเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ ส่วนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่ง ลงโทษทางวินัยขั้นไล่ออกจากราชการ จะไม่มีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญตามกฎหมายว่าด้วย บําเหน็จบํานาญข้าราชการ
2.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักการการสรรหาและการเลือกสรร
(1) การสรรหาคือกระบวนการจูงใจและดึงดูดบุคคลทั่วไปให้เข้ามาสมัคร ซึ่งไม่จําเป็นต้องมีจํานวนมาก แต่ขอให้มีคุณสมบัติตรงตามที่หน่วยงานต้องการ
(2) กระบวนการเลือกสรรเป็นกระบวนการที่ดําเนินต่อจากกระบวนการสรรหา
(3) กระบวนการสรรหา มี 3 รูปแบบ คือ แบบภายใน แบบภายนอก และแบบบูรณาการ
(4) การเลือกสรรบุคลากรเข้ารับราชการ มี 2 วิธี คือ การสอบแข่งขัน และการคัดเลือก
(5) การแย่งตัวบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้าสู่องค์การ มักเกิดจากการดึงดูดขององค์การที่ให้ ค่าตอบแทนสูงกว่า สวัสดิการดีกว่า หรือมีความมั่นคงมากกว่า
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การสรรหา (Recruitment) คือ กระบวนการค้นหา จูงใจ และดึงดูดให้บุคคลที่ มีความรู้ความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะอื่น ๆ ที่จําเป็นต่อการปฏิบัติงานเข้ามาสมัครงาน ซึ่งไม่จําเป็นต้องมีจํานวนมาก แต่ขอให้มีคุณสมบัติตรงตามที่หน่วยงานต้องการ โดยวิธีการสรรหา มี 3 รูปแบบ คือ การสรรหาจากภายใน การสรรหาจากภายนอก และการสรรหาแบบบูรณาการ ส่วนการเลือกสรร (Selection) เป็นกระบวนการที่ดําเนินต่อจากกระบวนการสรรหา โดยการ เลือกสรร คือ กระบวนการพิจารณาบุคคลที่ได้สรรหามาแล้ว และคัดเลือกให้ได้บุคคลที่เหมาะสม ที่สุดเอาไว้ โดยยึดหลักการแยกความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านความรู้ความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะอื่น ๆ ซึ่งวิธีการเลือกสรรมี 2 วิธี คือ การสอบแข่งขัน และการคัดเลือก
3.หลักการข้อใดหมายถึง หน่วยงานราชการทุกแห่งจําเป็นต้องมีแบบแผนและมาตรฐานการทํางาน เพื่อให้หน่วยงานทํางานถูกต้อง เหมาะสม ยืดหยุ่น และคล่องตัว
(1) Rules and Regulations
(2) Hierarchy
(3) Uniformity and Standardization
(4) Supervision and Auditing
(5) Superior and Subordinate
ตอบ 3 (คําบรรยาย) Uniformity and Standardization หมายถึง หน่วยงานราชการทุกแห่ง จําเป็นต้องมีแบบแผนและมาตรฐานการทํางาน เพื่อให้หน่วยงานทํางานถูกต้อง เหมาะสม ยืดหยุ่น และคล่องตัว
4. ใครคือผู้มีอํานาจพิจารณาความผิดและกําหนดโทษของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้กระทําผิดทางวินัย
(1) ผู้บังคับบัญชาของหน่วยงาน
(2) นายกรัฐมนตรี
(3) ผู้พิพากษาศาลปกครอง
(4) สภาผู้แทนราษฎร
(5) เจ้าหน้าที่ตํารวจ
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 23), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 96 และมาตรา 97), (คําบรรยาย) ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 เป็นผู้มีอํานาจ พิจารณาความผิด กําหนดโทษ และสั่งลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญผู้กระทําผิดทางวินัย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
1. กรณีกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้สั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือน ตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด
2. กรณีกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้สั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่ง กรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนํามาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก
5. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการลงโทษการประพฤติผิดวินัยของข้าราชการ
(1) ผู้บังคับบัญชาชายได้โอบกอด จับมือ และแซวเรื่องรูปร่างของผู้ใต้บังคับบัญชาซึ่งเป็นเพศหญิง เป็นประจํา โดยอ้างว่าเป็นการหยอกล้อ ไม่มีเจตนาคุกคามทางเพศ กรณีดังกล่าวจึงสมควรลงโทษ ด้วยการตักเตือนและทําภาคทัณฑ์ไว้ ไม่ถึงขั้นต้องไล่ออก
(2) ข้าราชการสังกัดหน่วยงานแห่งหนึ่งมีเรื่องบาดหมางกับเพื่อนร่วมงาน โดยพูดจาด่าทอด้วยถ้อยคํา หยาบคาย และดูถูกดูแคลน กรณีดังกล่าวนับเป็นการผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง มีผลให้ลงโทษภาคทัณฑ์
(3) ตํารวจเข้าจับกุมกลุ่มเด็กวัยรุ่นที่ขี่รถจักรยานยนต์ผิดกฎจราจร โดยตํารวจบังคับใส่กุญแจมือ
และทําร้ายร่างกายด้วยการต่อย กระทืบ และใช้เท้าเหยียบหัว จนบาดเจ็บสาหัส กรณีดังกล่าวถือว่า ผิดวินัยไม่ร้ายแรง เนื่องจากกลุ่มวัยรุ่นขัดขืนการจับกุม จึงสมควรลงโทษด้วยการลดเงินเดือนหรือ ตัดเงินเดือน
(4) ข้าราชการสังกัดหน่วยงานหนึ่งมาสายและทํางานผิดพลาดอยู่เป็นประจําติดต่อกันนานถึง 1 สัปดาห์ โดยอ้างว่าต้องดูแลแม่ที่ล้มป่วยกะทันหัน กรณีดังกล่าวนับเป็นความผิดฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
เพราะสร้างความเสียหายแก่หน่วยงาน สมควรลงโทษด้วยการปลดออกหรือไล่ออก
(5) ผู้บังคับบัญชาหน่วยงานหนึ่งทําเรื่องเบิกค่าเช่าบ้าน ค่ารักษาพยาบาล และค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง อันเป็นเท็จมิใช่เรื่องการปฏิบัติหน้าที่ราชการ กรณีดังกล่าวยังไม่นับเป็นความประพฤติชั่วอย่าง ร้ายแรง เพราะเพิ่งกระทําผิดเป็นครั้งแรก และทําคุณงามความดีมาโดยตลอด จึงสมควรลงโทษด้วยการลดเงินเดือนหรือตัดเงินเดือน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) กรณีข้าราชการสังกัดหน่วยงานแห่งหนึ่งมีเรื่องบาดหมางกับเพื่อนร่วมงาน โดยพูดจาด่าทอด้วยถ้อยคําหยาบคาย และดูถูกดูแคลน นับเป็นการผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ในฐานไม่สุภาพเรียบร้อย และไม่รักษาความสามัคคีระหว่างข้าราชการด้วยกัน กรณีดังกล่าว มีผลให้ลงโทษภาคทัณฑ์
6.ข้อใดเป็นหลักการของระบบคุณธรรม
(1) หลักความสามารถ
(2) หลักความเสมอภาค
(3) หลักความเป็นกลางทางการเมือง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 17 – 18 หลักการสําคัญของระบบคุณธรรม (Merit System) ในการบริหารงานบุคคล หรือการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ มี 4 ประการ คือ
1. หลักความเสมอภาค (Equality)
2. หลักความรู้ความสามารถ (Competence)
3. หลักความมั่นคง (Security)
4. หลักความเป็นกลางทางการเมือง (Political Neutrality)
7. ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นประธาน อ.ก.พ. กระทรวง
(1) ปลัดกระทรวง
(2) รองปลัดกระทรวง
(3) รัฐมนตรีเจ้าสังกัด
(4) อธิบดี
(5) ผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 15), (คําบรรยาย) อ.ก.พ. กระทรวง ประกอบด้วย
1. อนุกรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ รัฐมนตรีเจ้าสังกัด (รัฐมนตรีว่าการกระทรวง) เป็นประธาน ปลัดกระทรวง เป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. 1 คน
2. อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหาร ทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมายที่มิได้เป็นข้าราชการ ในกระทรวงนั้น จํานวนไม่เกิน 3 คน
3. อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการ ซึ่งรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือน ผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกระทรวงนั้น จํานวนไม่เกิน 5 คน
4. เลขานุการ ซึ่ง อ.ก.พ. กระทรวง แต่งตั้ง จํานวน 1 คน
8.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนมีกี่คน
(1) ไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 6 คน
(2) ไม่น้อยกว่า 3 คน
(3) ไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน
(4) 5 คน
(5) 7 คน
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7 – 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 6 และมาตรา 7), (คําบรรยาย) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.” เป็นองค์กรกลางในการบริหารงานบุคคล ประกอบด้วย
1. กรรมการโดยตําแหน่ง จํานวน 5 คน ได้แก่ นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ
2. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหาร ทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย จํานวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน โดยอยู่ในตําแหน่งคราวละ 3 ปี
9.การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันในส่วนที่เกี่ยวกับ การรับสมัครบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งต้องคํานึงถึง
(1) ความรู้ความสามารถของบุคคล
(2) ความเสมอภาคและความเป็นธรรม
(3) ประโยชน์ของตัวข้าราชการ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 42 (1)) การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันในส่วนที่เกี่ยวกับการรับสมัครบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งต้องคํานึงถึงความรู้ความสามารถของบุคคล ความเสมอภาค ความเป็นธรรม และประโยชน์ของทางราชการ
10. ข้อใดเป็นลักษณะสําคัญประการหนึ่งของข้าราชการการเมือง
(1) มีวาระในการดํารงตําแหน่ง
(2) ต้องสังกัดพรรคการเมือง
(3) เน้นเรื่องประสบการณ์
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 391, (คําบรรยาย) ลักษณะของข้าราชการการเมือง มีดังนี้
1. เป็นข้าราชการการเมืองฝ่ายบริหารตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 (ฉบับปัจจุบัน)
2. มีอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทนรายเดือนคงที่ ซึ่งกําหนดตามตําแหน่งและไม่มีขั้นวิ่ง
3. การเข้าดํารงตําแหน่งเป็นไปตามเหตุผลทาง การเมืองหรือตามระบบอุปถัมภ์ (ไม่เน้นเรื่องคุณวุฒิ ความรู้ความสามารถ หรือประสบการณ์)
4. การออกจากตําแหน่งในกรณีปกติเป็นไปตามวาระหรือมีวาระในการดํารงตําแหน่งหรือเป็นไปตามเหตุผลทางการเมือง
5. ไม่จําเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง ฯลฯ
11. หนังสือสั่งการตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบันมีกี่ชนิด
(1) 5 ชนิด
(2) 4 ชนิด
(3) 3 ชนิด
(4) 2 ชนิด
(5) 6 ชนิด
ตอบ 3 หน้า 403, 416, 422, 428, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26 – 27), (คําบรรยาย) หนังสือราชการตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไข
เพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 (ฉบับปัจจุบัน) มี 6 ชนิด คือ
1. หนังสือภายนอก
2. หนังสือภายใน
4. หนังสือสั่งการ มี 3 ชนิด ได้แก่ คําสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับ
3. หนังสือประทับตรา
5. หนังสือประชาสัมพันธ์ มี 3 ชนิด ได้แก่ ประกาศ แถลงการณ์ และข่าว
6. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทําขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ มี 4 ชนิด ได้แก่ หนังสือรับรอง รายงานการประชุม บันทึก และหนังสืออื่น
12. ข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่ใช่หลักสําคัญของระบบคุณธรรมในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ใช้ในระบบราชการปัจจุบัน
(1) หลักความมั่นคง
(2) หลักความรู้ความสามารถ
(3) หลักความเสมอภาค
(4) หลักอาวุโส
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ
13. ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งผู้สําเร็จการศึกษาในสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนตามที่ ก.พ. กําหนด คือ
(1) ก.พ.
(2) อธิบดี
(3) อ.ก.พ.
(4) อ.ก.พ. จังหวัด
(5) อ.ก.พ. กระทรวง
ตอบ 2 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 55), (คําบรรยาย) กรณีที่มีเหตุพิเศษ ที่ ก.พ. เห็นว่าไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขัน สามารถให้อธิบดี (ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจ สั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 57) เป็นผู้คัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้ง ให้ดํารงตําแหน่งได้เป็นรายกรณี (ไม่ใช่เป็นการพิจารณาเป็นรายบุคคล) เช่น
1. กรณีบรรจุและแต่งตั้งผู้สําเร็จการศึกษาในสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนตามที่ ก.พ. กําหนด
2. กรณีบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง หรือทุนรัฐบาลเพื่อศึกษาวิชาในประเทศ หรือต่างประเทศที่สําเร็จการศึกษาแล้ว เป็นต้น
14. ระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภททั่วไปตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน มีกี่ระดับ
(1) 2 ระดับ
(2) 3 ระดับ
(3) 4 ระดับ
(4) 5 ระดับ
(5) 6 ระดับ
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 13 – 14), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 46) ระดับตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ มีดังนี้
1. ตําแหน่งประเภทบริหาร มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง
2. ตําแหน่งประเภทอํานวยการ มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง
3. ตําแหน่งประเภทวิชาการ มี 5 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ
4. ตําแหน่งประเภททั่วไป มี 4 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโส และระดับทักษะพิเศษ ทั้งนี้การจัดประเภทตําแหน่งและระดับตําแหน่งให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎ ก.พ.
15. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติบางประการต่อไปนี้
(1) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง
(2) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
(3) ไม่เป็นกรรมการโดยตําแหน่งอยู่แล้ว
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7 – 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 6 วรรคสอง) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนต้องไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่ง ทางการเมือง กรรมการหรือผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง และมิได้เป็นกรรมการ ก.พ. โดยตําแหน่งอยู่แล้ว
16. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งใดต่อไปนี้ต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
(1) ปลัดกระทรวง
(2) อธิบดี
(3) รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 17 – 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 57 (1) (2) (7)), (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีขั้นตอนการบรรจุและแต่งตั้งโดยต้องขออนุมัติหรือขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและนําความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หรือต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ได้แก่
1. ตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง เช่น ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นต้น
2. ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
17. ระดับทักษะพิเศษเป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทใด
(1) พิเศษ
(2) วิชาการ
(3) บริหาร
(4) อํานวยการ
(5) ทั่วไป
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ
18. ข้าราชการพลเรือนตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ได้แก่
(1) ข้าราชการพลเรือนสามัญ
(2) ข้าราชการพลเรือนในพระองค์
(3) ข้าราชการครู
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 35), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือน มี 2 ประเภท คือ
1. ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้ง ตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ 4 ข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งข้าราชการประเภทนี้ถือเป็น ข้าราชการส่วนใหญ่ที่มีจํานวนมากที่สุดตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้
2. ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้ง ให้ดํารงตําแหน่งในพระองค์พระมหากษัตริย์ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
19. หนังสือราชการชนิดใดต่อไปนี้ไม่ต้องมีคําลงท้ายตามระเบียบงานสารบรรณปัจจุบัน
(1) หนังสือประทับตรา
(2) หนังสือภายใน
(3) หนังสือภายนอก
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 410 – 415, (คําบรรยาย) ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 หนังสือภายใน คือ หนังสือติดต่อราชการ ที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอก ใช้สําหรับติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือ จังหวัดเดียวกัน ส่วนหนังสือประทับตรา คือ หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้า ส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป ซึ่งหนังสือทั้งสองประเภทนี้จะใช้สําหรับส่วนราชการภายใน ด้วยกันเองจึงไม่ต้องมีคําลงท้าย
20. ในการปฏิบัติราชการเพื่อดําเนินโครงการต่าง ๆ ตามนโยบายของรัฐบาล จะบรรลุผลสําเร็จมากน้อย
เพียงใดส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับ
(1) ตัวบทกฎหมาย
(2) ความร่วมมือของภาคเอกชน
(3) ประชาชนโดยส่วนรวม
(4) กระทรวง กรม ในระบบราชการ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 1, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 1) ในการปฏิบัติราชการเพื่อดําเนินโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาลจะบรรลุผลสําเร็จมากน้อยเพียงใดหรือจะบรรลุตามเป้าหมายที่กําหนดไว้หรือไม่นั้น ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับคน การจัดองค์การ และวิธีการทํางาน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ขึ้นอยู่กับ หน่วยงานต่าง ๆ ในระบบราชการว่ามีประสิทธิภาพในการทํางานหรือไม่
21. หนังสือประชาสัมพันธ์ตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบันมีกี่ชนิด
(1) ชนิดเดียว
(2) 2 ชนิด
(3) 3 ชนิด
(4) 4 ชนิด
(5) 5 ชนิด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ
22. ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นประธาน อ.ก.พ. กรม
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(2) อธิบดี
(3) รองปลัดกระทรวง
(4) ปลัดกระทรวง
(5) ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 17), (คําบรรยาย) อ.ก.พ. กรม ประกอบด้วย
1. อนุกรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ อธิบดี เป็นประธาน รองอธิบดีที่อธิบดีมอบหมาย 1 คน เป็นรองประธาน
2. อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมายที่มิได้เป็นข้าราชการในกรมนั้น จํานวนไม่เกิน 3 คน
3. อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการ ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดํารงตําแหน่ง ประเภทบริหารหรือประเภทอํานวยการในกรมนั้น จํานวนไม่เกิน 6 คน
4. เลขานุการ ซึ่ง อ.ก.พ. กรม แต่งตั้ง จํานวน 1 คน
23. การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญระดับใดที่ระเบียบฯ กําหนดให้ต้องนําความกราบบังคมทูลเพื่อ
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
(1) ประเภทบริหารระดับสูง
(2) ประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(3) ประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ
24. โทษผิดวินัยตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันมีกี่สถาน
(1) 2 สถาน
(2) 3 สถาน
(3) 4 สถาน
(4) 5 สถาน
(5) 6 สถาน
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 22 – 23), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 88), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยจะต้องได้รับโทษ ทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 7 การดําเนินการทางวินัย โดยโทษทางวินัยมี 5 สถาน ซึ่งแบ่งออกเป็น
1. โทษผิดวินัยประเภทไม่ร้ายแรง มี 3 สถาน ได้แก่ ภาคทัณฑ์ (เบาที่สุด) ตัดเงินเดือน และลดเงินเดือน
2. โทษผิดวินัยประเภทร้ายแรง มี 2 สถาน ได้แก่ ปลดออก และไล่ออก (หนักที่สุด)
25. ตําแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการส่วนภูมิภาคตามกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือน
(1) เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ
(2) เป็นตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(3) มีระดับตําแหน่งระดับเดียวกับตําแหน่งปลัดกระทรวง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารตาม พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มี 2 ระดับ คือ
1. บริหารระดับต้น ได้แก่ รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม (รองอธิบดี), รองผู้ว่าราชการ จังหวัด, อัครราชทูต เป็นต้น
2. บริหารระดับสูง ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง (ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและ ปลัดกระทรวง), รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง (รองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและ รองปลัดกระทรวง), หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม (อธิบดี), หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (เช่น เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฯลฯ), ผู้ว่าราชการจังหวัดเอกอัครราชทูต เป็นต้น
26. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นตําแหน่งประเภทบริหารระดับต้นตามระเบียบ
ข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) รองอธิบดี
(2) รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(3) รองปลัดกระทรวง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ
27. ตําแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
(1) เป็นข้าราชการการเมือง
(2) อาจมีหลายคนได้
(3) มีฐานะเท่ากับรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 387, 393 ตําแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นข้าราชการการเมืองตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 ซึ่งตําแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมีจํานวนเพียง 1 อัตรา
28. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันแบ่งเป็นประเภท
(1) 2 ประเภท
(2) 3 ประเภท
(3) 4 ประเภท
(4) 5 ประเภท
(5) 6 ประเภท
ตอบ 3 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 45), (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญแบ่งตามลักษณะงานได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. ตําแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่ ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการและรองหัวหน้าส่วนราชการ ระดับกระทรวง กรม และตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนดเป็นตําแหน่งประเภทบริหาร
2. ตําแหน่งประเภทอํานวยการ ได้แก่ ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ํากว่าระดับกรม และตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนดเป็นตําแหน่งประเภทอํานวยการ เช่น หัวหน้าส่วนราชการ ระดับจังหวัดในราชการส่วนภูมิภาค เป็นต้น
3. ตําแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ ตําแหน่งที่จําเป็นต้องใช้ผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญา ตามที่ ก.พ. กําหนด (ระดับปริญญาตรีขึ้นไป) เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตําแหน่งนั้น 4. ตําแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ตําแหน่งที่ไม่ใช่ตําแหน่งประเภทตามข้อ 1, 2 และ 3 ทั้งนี้ตามที่ ก.พ. กําหนด
29. ข้อใดเป็นโทษผิดวินัยขั้นร้ายแรงตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ไล่ออก
(2) ปลดออก
(3) ให้ออก
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ
30. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมตามระเบียบข้าราชกาพลเรือนฉบับปัจจุบันมีจํานวนกี่คน
(1) 5 คน
(2) 6 คน
(3) 7 คน
(4) 8 คน
(5) 9 คน
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 11), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 24 และมาตรา 29), (คําบรรยาย) คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.ค.” ประกอบด้วยกรรมการจํานวน 7 คน ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และ ให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นเลขานุการของ ก.พ.ค. โดยตําแหน่ง โดยกรรมการ ก.พ.ค. ต้องทํางาน เต็มเวลา และมีวาระการดํารงตําแหน่ง 6 ปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และให้ดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว ดังนั้นกรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการ ก.พ.ค. อีกมิได้ แต่ให้กรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตําแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการ ก.พ.ค. ใหม่
31. ปัจจุบันการย้าย การโอน การเลื่อนตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญเป็นไปตามกฎหมายฉบับใด
(1) พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
(2) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
(3) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
(4) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2550
(5) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปัจจุบันการย้าย การโอน หรือการเลื่อนตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และกฎ ก.พ. ว่าด้วยการย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งข้าราชการพลเรือน สามัญในหรือต่างกระทรวงหรือกรม พ.ศ. 2564
32. การย้ายหรือโอนไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่ต่ํากว่าเดิม จะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอม จากข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ถูกย้ายหรือโอนนั้น เป็นไปตามกฎ ก.พ. ในข้อใด
(1) ข้อ 5
(2) ข้อ 6
(3) ข้อ 7
(4) ข้อ &
(5) ข้อ 9
ตอบ 2 (คําบรรยาย) กฎ ก.พ. ข้อ 6 กําหนดให้การย้ายหรือโอนไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่
ต่ำกว่าเดิมจะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ถูกย้ายหรือโอนนั้น
33. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการย้ายตําแหน่ง
(1) การย้ายไม่จําเป็นต้องอยู่ในดุลพินิจของผู้มีอํานาจสั่งบรรจุที่จะพิจารณาย้ายได้
(2) การย้ายสามารถย้ายภายในกรมเดียวกัน ประเภทเดียวกัน และสายงานเดียวกัน แต่ไม่สามารถย้าย
ต่างประเภทกัน และต่างสายงานกันได้
(3) การย้ายเป็นกรณีที่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ ก.พ. กําหนดก่อน
แล้วผู้มีอํานาจสั่งบรรจุจึงจะดําเนินการย้ายได้
(4) การย้ายใน “ระดับที่ต่ํากว่าเดิม” จําเป็นต้องอยู่ในดุลพินิจของผู้มีอํานาจสั่งบรรจุที่จะพิจารณาย้ายได้ แต่ไม่จําเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้ที่จะย้าย
(5) การย้ายอาจเปลี่ยนไปอยู่ในส่วนราชการในกรมส่วนกลาง หรือไปอยู่ในส่วนภูมิภาคก็ได้ แต่ต้องเป็น
ตําแหน่งประเภทเดียวกัน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การย้าย หมายถึง การย้ายไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในกรมเดียวกันหรือ กรมเดิม แต่อาจเปลี่ยนไปอยู่ในส่วนราชการในกรมส่วนกลาง หรือไปอยู่ในจังหวัดหรือ อําเภอในส่วนภูมิภาคก็ได้ ซึ่งจะเป็นตําแหน่งประเภทเดียวกันหรือต่างประเภทกันก็ได้ โดยหลักเกณฑ์ในการย้ายตําแหน่ง แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
1. กรณีที่อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอํานาจสั่งบรรจุที่จะพิจารณาย้ายได้
2. กรณีที่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ ก.พ. กําหนดก่อน แล้วผู้มีอํานาจสั่งบรรจุจึงจะดําเนินการย้ายได้
34. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
(1) การเลื่อนระดับให้เลื่อนได้ไม่เกิน 2 ระดับ
(2) การโอนให้ไปดํารงตําแหน่งใหม่ อาจอยู่ในกระทรวงเดิมหรือกระทรวงใหม่ก็ได้
(3) ผู้บังคับบัญชามีอํานาจสั่งให้ข้าราชการสับเปลี่ยนหน้าที่หรือย้ายโอนไปปฏิบัติหน้าที่อื่นได้
(4) การเลื่อนระดับ คือ การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทเดียวกันในระดับ ที่สูงกว่าเดิม
(5) ข้าราชการสามารถข้ามประเภทตําแหน่งจากระดับปฏิบัติงานไประดับปฏิบัติการได้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การเลื่อนระดับ คือ การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่ง ประเภทเดียวกันในระดับที่สูงกว่าเดิม โดยเลื่อนได้ไม่เกิน 1 ระดับ ดังนั้นในแต่ละประเภท ตําแหน่งจึงสามารถเลื่อนระดับได้ดังนี้
1. ตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น-ระดับสูง
2. ตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับต้น-ระดับสูง
3. ตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ-ระดับชํานาญการ-ระดับชํานาญการพิเศษ – ระดับเชี่ยวชาญ – ระดับทรงคุณวุฒิ
4. ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน – ระดับชํานาญงาน – ระดับอาวุโส-ระดับทักษะพิเศษ
35. การเลื่อนระดับของประเภทตําแหน่งอํานวยการ ตําแหน่งที่ต่อจาก “ระดับต้น” คือตําแหน่งใด
(1) ระดับกลาง
(2) ระดับปลาย
(3) ระดับสูง
(4) ระดับพิเศษ
(5) ระดับชํานาญ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ
36. การเลื่อนระดับของประเภทตําแหน่งทั่วไป ตําแหน่งที่ต่อจาก “ระดับปฏิบัติงาน” คือตําแหน่งใด
(1) ระดับเชี่ยวชาญ
(2) ระดับต้น
(3) ระดับชํานาญการ
(4) ระดับปฏิบัติการ
(5) ระดับชํานาญงาน
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ
37. ข้อใดคือหลักเกณฑ์ในการประเมินการเลื่อนเงินเดือน
(1) ยึดหลักความถูกต้องและเป็นธรรม
(2) ต้องเป็นไปตามระเบียบกฎหมายที่ ก.พ. กําหนด
(3) ใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงานเป็นหลัก
(4) ผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานจะเป็นผู้ประเมินผล
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การประเมินการเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการ เป็นการประเมินโดยผู้บังคับบัญชา ในแต่ละระดับที่ตนสังกัดอยู่ โดยปกติการประเมินการเลื่อนเงินเดือนจะกระทําตามเกณฑ์ โดยยึดหลักความถูกต้อง เป็นธรรม และเป็นไปตามระเบียบกฎหมายที่ ก.พ. กําหนด
38. การเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญในครั้งที่ 1 หรือการเลื่อนในครึ่งปีแรก คือช่วงเวลาใด
(1) 1 มกราคม ถึง 30 มิถุนายน
(2) 1 ตุลาคม ถึง 31 มีนาคม
(3) 1 พฤศจิกายน ถึง 30 เมษายน
(4) 1 เมษายน ถึง 30 กันยายน
(5) 1 มีนาคม ถึง 31 สิงหาคม
ตอบ 2 หน้า 19, (คําบรรยาย) การเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญโดยปกติจะเลื่อน ปีละ 2 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 เป็นการเลื่อนเงินเดือนสําหรับการปฏิบัติราชการในครึ่งปีแรก (1 ตุลาคม ถึง 31 มีนาคม) โดยให้เลื่อนในวันที่ 1 เมษายนของปีที่ได้เลื่อน
ครั้งที่ 2 เป็นการเลื่อนเงินเดือนสําหรับการปฏิบัติราชการในครึ่งปีหลัง (1 เมษายน ถึง 30 กันยายน) โดยให้เลื่อนในวันที่ 1 ตุลาคมของปีถัดไป
39. ข้อใดไม่ใช่หลักการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจ
(1) หน่วยงานดําเนินการให้ข้าราชการมีคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์
(2) ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติตนต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างมีคุณธรรมและเที่ยงธรรม
(3) ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเลื่อนเงินเดือน ให้บําเหน็จ คําชมเชย เครื่องเชิดชูเกียรติ หรือรางวัล
(4) การให้ข้าราชการไปฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ
(5) การให้ข้าราชการยืมใช้ทรัพย์สินของหน่วยงานนอกเวลาราชการเมื่อมีเหตุจําเป็น
ตอบ 5 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 72 – 77), (คําบรรยาย) หลักการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ
มีดังนี้
1. หน่วยงานราชการต้องดําเนินการให้ข้าราชการมีคุณภาพ คุณธรรม จริยธรรม คุณภาพชีวิต มีขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
2. ผู้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตนต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างมีคุณธรรมและเที่ยงธรรม และเสริมสร้างแรงจูงใจให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาดํารงตนเป็นข้าราชการที่ดี
3. หากข้าราชการประพฤติตนอยู่ในจรรยาและระเบียบวินัย และปฏิบัติราชการอย่างมี ประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเลื่อนเงินเดือน ให้บําเหน็จ คําชมเชย เครื่องเชิดชูเกียรติ หรือรางวัล
4. ให้ข้าราชการไปศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ ฯลฯ
40. ข้อใดกล่าวถึงหลักการ “Put the right man on the right job” ได้อย่างถูกต้องที่สุด
(1) การสรรหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถได้ถูกที่ถูกเวลา
(2) การสรรหาบุคคลที่มีทักษะความสามารถเข้ามาทํางานด้วยระบบคุณธรรม
(3) การปรับภารกิจของหน่วยงานให้เหมาะสมกับความสามารถของบุคคล
(4) การได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถและสมรรถนะเหมาะสมกับความต้องการของตําแหน่ง
(5) การได้มาซึ่งบุคลากรที่มีทักษะความรู้เหมาะสมกับความต้องการของผู้บังคับบัญชา
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เป้าหมายของการสอบแข่งขันเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการ มีดังนี้
1. ส่วนราชการได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะเหมาะสมกับ ความต้องการของตําแหน่ง (Put the right man on the right job at the right time)
2. ส่วนราชการสามารถสรรหาและเลือกสรรบุคคลได้อย่างมีมาตรฐานและคล่องตัว
41. ข้อใดคือคุณสมบัติในการแต่งตั้งข้าราชการใน “สายงานปิด”
(1) สายงานที่กําหนดคุณวุฒิปริญญาสาขาวิชาที่เฉพาะเจาะจง
(2) สายงานที่กําหนดคุณวุฒิปริญญาโดยระบุชื่อสาขาวิชาไว้หลายสาขาวิชา
(3) สายงานที่กําหนดคุณวุฒิปริญญาทุกสาขาวิชาเป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) สายงานปิด คือ สายงานที่กําหนดคุณวุฒิปริญญาสาขาวิชาที่เฉพาะเจาะจง เป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง เช่น ตําแหน่งนิติกรระดับปฏิบัติการ กําหนดให้มีคุณวุฒิ อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
– ได้รับปริญญาตรี/โท/เอก คุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชานิติศาสตร์
– ได้รับปริญญาหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่ ก.พ. กําหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งนี้ได้
42. คุณสมบัติของตําแหน่งนิติกรระดับปฏิบัติการ มักอยู่ในสายงานประเภทใด
(1) สายงานเปิด
(2) สายงานกึ่งปิด
(3) สายงานปิด
(4) สายงานปิดและสายงานเปิด
(5) สายงานกึ่งปิดกึ่งเปิด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ
43. ข้อใดคือชุดคุณค่าของกรอบแนวคิดจริยธรรมของข้าราชการ
(1) การใช้ทรัพยากรสาธารณะในการควบคุมการบริหารให้เกิดประสิทธิภาพ
(2) การปรับบทบาทของรัฐจากระบบอุปถัมภ์เป็นการทํากิจกรรมสาธารณะ
(3) การสร้างความชอบธรรมของข้าราชการด้วยการออกแบบสถาบันในการกํากับควบคุม
(4) การกําหนดมาตรฐานในการคัดสรรคนและประเมินผลงาน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ชุดคุณค่าของกรอบแนวคิดจริยธรรมและการควบคุมวินัยของข้าราชการ มีดังนี้
1. การใช้ทรัพยากรสาธารณะในการควบคุมการบริหารให้เกิดประสิทธิภาพ
2. บริบทสังคมที่เปลี่ยนไปส่งผลต่อบทบาทของรัฐในกิจการสาธารณะ
3. การสร้างหลักประกันในการดําเนินการของรัฐด้วยการออกแบบสถาบันในการกํากับควบคุม
44. ข้อใดไม่ใช่ความเคลื่อนไหว (Movement) ด้านจริยธรรมสําหรับการบริหารงานภาครัฐในปลายศตวรรษที่ 19
(1) มุ่งแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นในแวดวงราชการ
(2) การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดําเนินงานจาก “สายการบังคับบัญชา” (Hierarchy) สู่ “ข้อตกลง” (Agreement) หรือ “สัญญา” (Contract)
(3) การปฏิรูประบบข้าราชการพลเรือนไปสู่การสร้างระบบการคัดเลือก
(4) การเปลี่ยนจาก “Spoils System” สู่ “Merit System”
(5) การกําหนดมาตรฐานในการประเมินผลงาน และคัดสรรคนมีความสามารถเข้ามาทํางาน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความเคลื่อนไหว (Movement) ด้านจริยธรรมสําหรับการบริหารงานภาครัฐ ในปลายศตวรรษที่ 19 มีดังนี้
1. การมุ่งแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นในแวดวงราชการ
2. การบริหารภาครัฐที่ขาดประสิทธิภาพนําไปสู่ข้อเสนอคุณค่าการบริหาร 3E’s
3. จุดเริ่มต้นของจริยธรรมทางการบริหารและการควบคุม
4. การปฏิรูประบบข้าราชการพลเรือนไปสู่การสร้างระบบการคัดเลือก โดยเปลี่ยนจาก ระบบอุปถัมภ์ (Spoils Systern) ไปสู่ระบบคุณธรรม (Merit System)
5. การกําหนดมาตรฐานในการประเมินผลงาน และคัดสรรคนมีความสามารถเข้ามาทํางาน
45. องค์กรใดเป็นผู้ริเริ่มใช้คําว่า “ธรรมาภิบาล” (Good Governance)
(1) World Bank
(2) IMF
(3) OECD
(4) UN
(5) ASEAN
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ธนาคารโลก (World Bank) เป็นองค์กรแรกที่ริเริ่มใช้คําว่า “ธรรมาภิบาล” (Good Governance) ในปี ค.ศ. 1989 เพื่ออธิบายถึงการบริหารจัดการที่จะเป็นมาตรฐานในการกําหนด
เงื่อนไขการรับการช่วยเหลือทางการเงินระหว่างประเทศจากหน่วยงานระหว่างประเทศต่าง ๆ
46. หลักการธรรมาภิบาลในด้าน “Fule of Law” หมายความว่าอย่างไร
(1) ระบบการบริหารภาครัฐมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
(2) การมีความพร้อมรับผิดชอบ
(3) ระบบกฎหมายที่ยุติธรรม ชัดเจน และน่าเชื่อถือ
(4) การดําเนินงานด้วยความโปร่งใส
(5) ภาคประชาสังคมตื่นตัวและเข้ามามีส่วนร่วม
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักการธรรมาภิบาลของธนาคารโลก ประกอบด้วย
1. ระบบการบริหารภาครัฐมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficient and Effective Public Sector)
2. ระบบกฎหมายที่ยุติธรรม ชัดเจน และน่าเชื่อถือ (Rule of Law)
3. ภาคประชาสังคมตื่นตัวและเข้ามามีส่วนร่วม (Active Civil Society and Public
Participation)
4. การดําเนินงานด้วยความโปร่งใส (Transparency)
5. การมีความพร้อมรับผิดชอบ (Accountability)
47. หลักธรรมาภิบาลในด้าน “ความโปร่งใส” หมายความว่าอย่างไร
(1) การตรากฎหมายที่ถูกต้อง เป็นธรรม ทันสมัย และเป็นที่ยอมรับของสังคม
(2) เจ้าหน้าที่ของรัฐยึดถือหลักประกอบวิชาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจําชาติ
(3) ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้อง ชัดเจนได้
(4) การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความคิดเห็นในการตัดสินใจ
(5) การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจํากัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักความโปร่งใส หมายถึง การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของ คนในสังคม องค์กรทุกวงการให้มีความโปร่งใส ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้
48. การปฏิบัติตามวินัยข้าราชการตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 อยู่ในหมวดใด
(1) หมวด 4 การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ
(2) หมวด 5 การรักษาจรรยาข้าราชการ
(3) หมวด 6 วินัยและการรักษาวินัย
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การปฏิบัติตามวินัยข้าราชการตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 อยู่ในหมวด 6 วินัยและการรักษาวินัย
49. ข้อใดคือความผิดทางวินัย
(1) ข้าราชการไม่เข้าอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ เพราะเข้าใจกฎระเบียบดีแล้ว
(2) ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้เจ้าหน้าที่ธุรการมาปฏิบัติงานเร่งด่วนในวันเสาร์ อาทิตย์ แล้วไม่ปฏิบัติตาม
(3) ข้าราชการให้บริการประชาชนล่าช้า เพราะบุคลากรในหน้าที่เดียวกันลาป่วย จึงมีคนไม่เพียงพอ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตัวอย่างความประพฤติของข้าราชการที่ถือว่าเป็นความผิดทางวินัย มีดังนี้
1. ความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง เช่น ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้เจ้าหน้าที่ธุรการมาปฏิบัติงาน เร่งด่วนในวันเสาร์ อาทิตย์ แล้วไม่ปฏิบัติตาม ไม่ลงชื่อมาทํางานและไม่ไปพบผู้อํานวยการ สํานักตามคําสั่งโดยไม่มีเหตุผล ชักสีหน้าและพูดจาไม่สุภาพกับประชาชนผู้มาติดต่อราชการ กล่าวถ้อยคําหยาบคายต่อหน้าผู้บังคับบัญชา ทะเลาะเบาะแว้งกับเพื่อนร่วมงานในบ้านพักข้าราชการ เป็นต้น
2. ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง เช่น ปลอมใบเสร็จ/ใบสําคัญรับเงิน เพื่อเบิกเงินกับหน่วยงาน ต้นสังกัด ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกิน 15 วัน โดยไม่มีเหตุ อันสมควร หรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทาง ราชการ เป็นต้น
50. ข้อใดคือการลงโทษกรณีวินัยไม่ร้ายแรง
(1) ภาคทัณฑ์
(2) ตัดเงินเดือน
(3) ลดเงินเดือน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 2 กับ 3
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ
51. การให้พ้นจากราชการโดยได้รับบําเหน็จบํานาญเสมือนผู้นั้นลาออกจากราชการ คือการลงโทษทางวินัย
ประเภทใด
(1) ปลดออก
(2) ไล่ออก
(3) พักงาน
(4) ลดตําแหน่ง
(5) ภาคทัณฑ์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ
52. หลักการในข้อใดแสดงถึงการใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาในการพิจารณากําหนดโทษอย่างถูกต้อง
(1) การตัดสินด้วยเหตุผลที่รับฟังได้ และอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง
(2) ในหน่วยงานเดียวกันต้องมีการกําหนดแนวทางการใช้ดุลพินิจที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
(3) การใช้ดุลพินิจต้องอยู่ภายในกรอบที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาในการพิจารณากําหนดโทษ มีหลักการดังนี้
1. การใช้ดุลพินิจต้องอยู่ภายในกรอบที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว
2. การใช้ดุลพินิจจะต้องมีเหตุผลที่รับฟังได้ และอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง
3. ในหน่วยงานเดียวกันต้องมีการกําหนดแนวทางการใช้ดุลพินิจที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
53. ข้อใดเรียงลําดับขั้นตอนการกําหนดโทษและการลงโทษได้อย่างถูกต้อง
A. การสอบสวนทางวินัยได้ข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติ
B. การพิจารณาความผิดว่าผิดหรือไม่ และผิดมาตราใด
C. การพิจารณากําหนดโทษว่าควรให้โทษสถานใด
D. การสั่งลงโทษ
(1) A.- B. – C. – D.
(2) B. – C. – A. – D.
(3) B. – C.-D. – A.
(4) A. – D – B. – C.
(5) D. – A.- B. – C.
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การกําหนดโทษและการลงโทษ มีลําดับขั้นตอนดังนี้
1. การสอบสวนทางวินัยได้ข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติ
2. การพิจารณาความผิดว่าผิดหรือไม่ และผิดมาตราใด
3. การพิจารณากําหนดโทษว่าควรให้โทษสถานใด
4. การสั่งลงโทษ
54. ความประพฤติของข้าราชการในข้อใดถือว่าผิดวินัยอย่างร้ายแรง
(1) ชักสีหน้าและพูดจาไม่สุภาพกับประชาชนผู้มาติดต่อราชการ
(2) ไม่ลงชื่อมาทํางานและไม่ไปพบผู้อํานวยการสํานักตามคําสั่ง
(3) กล่าวถ้อยคําหยาบคายต่อหน้าผู้บังคับบัญชา
(4) ทะเลาะเบาะแว้งกับเพื่อนร่วมงานในบ้านพักข้าราชการ
(5) ปลอมใบเสร็จ/ใบสําคัญรับเงิน เพื่อเบิกเงินกับหน่วยงานต้นสังกัด
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ
55. ข้อใดคือข้อกําหนดในด้านวินัยต่อประชาชน
(1) ต้องไม่อาศัยอํานาจหน้าที่ราชการในการหาผลประโยชน์ส่วนตน
(2) ต้องไม่กระทําการล่วงละเมิด/คุกคามทางเพศในที่ทํางาน
(3) ต้องไม่กลั่นแกล้ง กดขี่ ข่มเหงกันในการปฏิบัติราชการ
(4) ต้องให้ความเป็นธรรม เต็มใจช่วยเหลือแก่ผู้มาติดต่อราชการ
(5) ต้องปฏิบัติตามคําสั่งของผู้บังคับบัญชาในหน้าที่ราชการ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ข้อกําหนดในด้านวินัยต่อประชาชน มีดังนี้
1. ต้องต้อนรับ ให้ความเป็นธรรม เต็มใจช่วยเหลือ และให้การสงเคราะห์แก่ประชาชน ผู้มาติดต่อราชการ
2. ต้องไม่ชักสีหน้า ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้มาติดต่อราชการ
3. ต้องอํานวยความสะดวกให้ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มีผู้ใดต้องถูกกลั่นแกล้งรังแก
4. ต้องบริการด้วยมาตรฐาน ไม่ล่าช้า จงใจถ่วงเรื่อง ละเลย หรือไม่ชัดเจน
56. ข้าราชการพลเรือนสามัญจะได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนในแต่ละครั้งต้องมีผลการประเมิน
ผลการปฏิบัติราชการในระดับใด
(1) ไม่ต่ำกว่าระดับพอใช้ หรือร้อยละ 60
(2) ไม่ต่ำกว่าระดับปานกลาง หรือร้อยละ 60
(3) ไม่ต่ำกว่าระดับปานกลาง หรือร้อยละ 70
(4) ไม่ต่ำกว่าระดับพอใช้ หรือร้อยละ 70
(5) ไม่ต่ำกว่าระดับดี หรือร้อยละ 80
ตอบ 1 หน้า 19, (คําบรรยาย) หลักเกณฑ์การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ มีดังนี้
1. การเลื่อนเงินเดือนให้เลื่อนปีละ 2 ครั้ง
2. การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการแต่ละคนในแต่ละครั้งให้เลื่อนได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 6 ของฐานในการคํานวณ และไม่เกินเงินเดือนสูงสุดตามที่ ก.พ. กําหนด
3. ข้าราชการซึ่งจะได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนในแต่ละครั้งต้องมีผลการประเมิน ผลการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าระดับพอใช้ หรือร้อยละ 60
4. ข้าราชการที่บรรจุเข้ารับราชการทั้งกรณีบรรจุใหม่และบรรจุกลับต้องมีเวลาปฏิบัติราชการ ในรอบครึ่งปีที่แล้วมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 4 เดือน
57. การสรรหาและคัดเลือกบุคลากรของหน่วยงานราชการใช้วิธีตามหลักการใด
(1) ระบบคุณธรรม
(2) ระบบอุปถัมภ์
(3) ระบบจริยธรรม
(4) ระบบความเป็นกลาง
(5) ระบบผลสัมฤทธิ์
ตอบ 1(เอกสารประกอบการสอน หน้า 15), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 52), (คําบรรยาย) การสรรหาและคัดเลือกบุคคลมาบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ และแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรมและคํานึงถึงความรู้ความสามารถพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคล ตลอดจนประโยชน์ของทางราชการด้วยความเสมอภาคและเป็นธรรม
58. ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของวินัยราชการ
(1) การปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
(2) การสร้างความเจริญมั่นคง และความสงบเรียบร้อยของประเทศชาติ
(3) การสร้างความผาสุกของประชาชน
(4) การสร้างภาพพจน์และชื่อเสียงที่ดีของทางราชการ
(5) การสร้างความมั่งคั่งในอาชีพข้าราชการ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายของวินัยราชการ มีดังนี้
1. การปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2. การสร้างความเจริญมั่นคง และความสงบเรียบร้อยของประเทศชาติ
3. การสร้างความผาสุกของประชาชน
4. การสร้างภาพพจน์และชื่อเสียงที่ดีของทางราชการ
59. เหตุใดจึงต้องมีระบบการประเมินเงินเดือนข้าราชการที่ถูกต้องและเป็นธรรม
(1) เพื่อลดความยุ่งยากซับซ้อนและลดโอกาสผิดพลาดในการดําเนินการพิจารณา
(2) เพื่อให้เกิดการคํานวณจัดสรรเงินเดือนแก่ข้าราชการในแต่ละรอบอย่างรวดเร็ว
(3) เพื่อลดความเหลื่อมล้ําในการประเมินของหน่วยงานต่าง ๆ
(4) เพื่อเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้ข้าราชการพัฒนาศักยภาพของตนเองให้ดียิ่งขึ้น
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เหตุที่ต้องมีระบบการประเมินเงินเดือนข้าราชการที่ถูกต้องและเป็นธรรม มีดังนี้
1. เพื่อลดความยุ่งยากซับซ้อนและลดโอกาสผิดพลาดในการดําเนินการพิจารณา
2. เพื่อให้เกิดการคํานวณจัดสรรเงินเดือนแก่ข้าราชการในแต่ละรอบอย่างรวดเร็ว
3. เพื่อลดความเหลื่อมล้ําในการประเมินของหน่วยงานต่าง ๆ
4. เพื่อเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้ข้าราชการสร้างผลลัพธ์ของงานและพัฒนาศักยภาพของตนเอง ให้ดียิ่งขึ้น
60. ข้อใดไม่ใช่ข้อกําหนดวินัยต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ
(1) ข้าราชการต้องรักษาความลับของทางราชการ
(2) ข้าราชการต้องวางตนเป็นกลางทางการเมือง
(3) ข้าราชการต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(4) ข้าราชการต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ
(5) ข้าราชการต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบของทางราชการ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ข้อกําหนดวินัยต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ มีดังนี้
1. ข้าราชการต้องซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม
2. ข้าราชการต้องไม่อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยตําแหน่งหน้าที่ราชการของตนหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น
3. ข้าราชการต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบของทางราชการ มติของคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาล และปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ
4. ข้าราชการต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ
5. ข้าราชการต้องรักษาความลับของทางราชการ
6. ข้าราชการต้องวางตนเป็นกลางทางการเมือง
7. ข้าราชการต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ ฯลฯ
ตั้งแต่ข้อ 61. – 100. ข้อใดถูกให้ระบายในช่อง 1 ข้อใดผิดให้ระบายในช่อง 2
61. การละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือโดยมี พฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ
62. การบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับปริญญาจากสถาบันการศึกษาต่างประเทศที่ ก.พ. รับรอง โดยปกติจะต้อง
ผ่านการสอบแข่งขันเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไปที่มีคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งที่เปิดสอบแข่งขันนั้น
ตอบ 1 หน้า 93 – 95 การบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรจากสถาบันการศึกษา ต่างประเทศที่ ก.พ. รับรองเข้ารับราชการนั้น โดยปกติจะต้องผ่านการสอบแข่งขันเช่นเดียวกับผู้สําเร็จการศึกษาในประเทศหรือบุคคลทั่วไปที่มีคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งที่เปิด สอบแข่งขันนั้น แต่ต้องเสนอคุณวุฒิให้ ก.พ. พิจารณารับรองเพื่อตีราคาหรือตีค่าคุณวุฒิ และ กําหนดหลักเกณฑ์การบรรจุเป็นราย ๆ ทุกรายไป โดย ก.พ. จะพิจารณาจากหลักสูตรการศึกษา และความน่าเชื่อถือของสถาบันที่ประสาทปริญญาหรือประกาศนียบัตรนั้นด้วย แต่ ก.พ. จะไม่มีอํานาจในการบรรจุและแต่งตั้ง
63.“หนังสือราชการภายนอก” เป็นหนังสือราชการที่ต้องมีคําขึ้นต้นและคําลงท้ายตามระเบียบงานสารบรรณ ปัจจุบัน
ตอบ 1 หน้า 404 – 407, (คําบรรยาย) ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 หนังสือภายนอก คือ หนังสือติดต่อราชการ ที่เป็นแบบพิธีโดยใช้กระดาษตราครุฑ เป็นหนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการ มีถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีถึงบุคคลภายนอก ซึ่งหนังสือภายนอกนี้จะต้อง มีคําขึ้นต้นและคําลงท้ายตามฐานะของผู้รับหนังสือตามตารางการใช้คําขึ้นต้น สรรพนาม และ คําลงท้ายที่กําหนดไว้ในภาคผนวก 2
64.ก.พ. มีอํานาจหน้าที่ประการหนึ่ง คือ พิจารณาจัดระบบทะเบียนประวัติและแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับ วัน เดือน ปีเกิด และการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 10 – 11), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 8) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. ออกกฎ ก.พ. และระเบียบเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือน
2. ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนรวมตลอดทั้งกําหนดแนวทางปฏิบัติในกรณีที่เป็นปัญหา
3. กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิอย่างอื่น (ตีค่าคุณวุฒิ) เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน
4. พิจารณาจัดระบบทะเบียนประวัติและแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวัน เดือน ปีเกิด และการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน ฯลฯ
65. ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน ถ้าผู้นั้นมีลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการพลเรือนบางประการ ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ มติของ ก.พ. ในการยกเว้นดังกล่าวต้องได้ คะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36 วรรคสอง และวรรคสี่) มติของ ก.พ. ในการยกเว้นลักษณะต้องห้าม (คุณสมบัติข้อห้าม) บางประการสําหรับผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนนั้น ต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 4 ใน 5 ของจํานวนกรรมการที่มาประชุม และการลงมติ ให้กระทําโดยลับ ซึ่งในการนี้ ก.พ. จะยกเว้นให้เป็นการเฉพาะราย หรือจะประกาศยกเว้น ให้เป็นการทั่วไปก็ได้
66. ระเบียบงานสารบรรณ คือ ระเบียบที่กําหนดให้เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการต่าง ๆ ถือปฏิบัติ เพื่อให้ การปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลดําเนินไปด้วยความเรียบร้อย เป็นระเบียบ และมีระบบ
ตอบ 2 หน้า 399 ระเบียบงานสารบรรณ คือ ระเบียบที่กําหนดให้เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการต่าง ๆ ถือปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับหนังสือราชการดําเนินไปด้วยความเรียบร้อย เป็นระเบียบ มีระบบ และเป็นหลักในการปฏิบัติงาน
67. ผู้เคยกระทําการทุจริตในการสอบแข่งขันเข้ารับราชการทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือน
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36), (คําบรรยาย) ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้าม โดยไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับเวลาบังคับไว้ ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้สมัครเข้ารับราชการได้ โดยไม่ทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไป มี 4 กรณี ดังนี้
1. เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
2. เป็นบุคคลล้มละลาย
3. เป็นผู้เคยต้องรับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเพราะกระทําความผิดทางอาญา
4. เป็นผู้เคยกระทําการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ
68. ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกลงโทษปลดออกจากราชการ กฎหมายกําหนดให้มีสิทธิรับบําเหน็จบํานาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ
69. “ส่วนราชการ” หมายความว่า ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและมีฐานะไม่ต่ำกว่ากรม
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 4) “ส่วนราชการ” หมายความว่า ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม และส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและมีฐานะ ไม่ต่ํากว่ากรม
70. กฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรกมีผลใช้บังคับทันทีนับแต่วันประกาศเป็นกฎหมาย
ตอบ 2 หน้า 29 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 เป็นกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรก ซึ่งประกาศเป็นกฎหมายในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 แต่มิได้มีผลใช้บังคับทันทีนับแต่วันประกาศในราชกิจจา นุเบกษา โดย พ.ร.บ. ฉบับนี้เริ่มมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 หรืออีกราวปีเศษให้หลัง
71.หลักความสามารถตามระบบคุณธรรม หมายความว่า สิทธิที่จะเข้ารับราชการต้องเปิดกว้างสําหรับประชาชนทั่วไปทุกคนที่มีคุณสมบัติตามที่ทางราชการต้องการ
ตอบ 2 หน้า 17 หลักความเสมอภาค (Equality) ตามระบบคุณธรรม หมายความว่า สิทธิที่จะ เข้ารับราชการจะต้องเปิดกว้างสําหรับประชาชนทั่วไปทุกคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามที่ราชการต้องการหรือตามระเบียบข้าราชการพลเรือน โดยให้มีโอกาสสมัครสอบแข่งขันเข้ารับราชการได้ และต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุเกี่ยวกับเหล่ากําเนิด ฐานะทางเศรษฐกิจ สถานภาพทางสังคม ศาสนา และเพศของบุคคล
72. โดยปกติกรรมการ ก.พ. ผู้ทรงคุณวุฒิ ระเบียบฯ กําหนดคุณสมบัติประการหนึ่งว่าต้องเป็นผู้ดํารงตําแหน่ง ไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไป
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ
73. การบรรจุข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการ ระเบียบฯ กําหนดว่า “ถ้าสมัครเข้ารับราชการเมื่อใดทางราชการจะต้องรับผู้นั้นกลับเข้ารับราชการทุกราย
ตอบ 2 หน้า 99, (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้กําหนดหลักเกณฑ์ การบรรจุข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการไว้ว่า “ถ้าสมัครเข้ารับราชการเมื่อใดทางราชการไม่จําเป็นต้องรับผู้นั้นกลับเข้ารับราชการทันที” นั่นคือ ส่วนราชการไม่ถูกผูกพันให้ต้องบรรจุเหมือนกับกรณีผู้ออกจากราชการเพราะไปรับ ราชการทหาร หรือไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรี แต่ปล่อยให้ส่วนราชการสามารถ ใช้ดุลยพินิจที่จะเลือกบรรจุหรือไม่ก็ได้
74. การบริหารงานบุคคลตามระบบอุปถัมภ์มีข้อดีประการหนึ่งคือ ช่วยส่งเสริมการวัดผลโดยการสอบ
ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ตอบ 1 หน้า 19 การบริหารงานบุคคลตามระบบอุปถัมภ์มีข้อดี คือ
1. ช่วยให้การบริหารงานบุคคลดําเนินไปได้อย่างรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย
2. ช่วยส่งเสริมการวัดผลโดยการสอบตามระบบคุณธรรมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
3. ช่วยให้การบริหารงานบุคคลสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ทันท่วงที
75. คุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือนตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันประการหนึ่งคือ
ต้องสําเร็จการศึกษาอย่างต่ําชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 5), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36) คุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือน ได้แก่
1. มีสัญชาติไทย
2. มีอายุไม่ต่ํากว่า 18 ปี
3. เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
76. ระดับทักษะพิเศษเป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ
77. ปลัดกระทรวงการคลังเป็นกรรมการ ก.พ. โดยตําแหน่งตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ
78. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันได้กําหนดเรื่องการสอบสวนและการดําเนินการทางวินัยข้าราชการ พลเรือนสามัญไว้ นับได้ว่าเป็นการสอดคล้องกับหลักความเป็นกลางในทางการเมืองตามระบบคุณธรรม
ตอบ 2 หน้า 18, (คําบรรยาย) หลักความมั่นคง (Security) ตามระบบคุณธรรม หมายถึง การให้หลักประกันแก่ข้าราชการที่มีผลงานและความประพฤติดีจะต้องไม่ถูกให้ออกจากงานโดยไม่มี เหตุผลอันสมควร โดย พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้บัญญัติเรื่องที่สอดคล้อง กับหลักการนี้ไว้หลายเรื่อง เช่น การออกจากราชการ การอุทธรณ์ การร้องทุกข์ การสอบสวน และการดําเนินการทางวินัย เป็นต้น
79. ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชามีอํานาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ
80. การบริหารงานบุคคลในระบบราชการไทยพัฒนาจากระบบคุณธรรมไปสู่ระบบธรรมาภิบาลในปัจจุบันนี้
ตอบ 2 หน้า 25, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) การบริหารงานบุคคลในระบบราชการของไทย ได้มีการพัฒนามาตามลําดับ โดยพัฒนามาจากรูปแบบที่ไม่เป็นทางการไปสู่รูปแบบที่เป็นทางการ มากขึ้น และจากระบบอุปถัมภ์ไปสู่ระบบคุณธรรม โดยทั้งหมดนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์แก่ประชาชนผู้รับบริการ
81. ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการไม่ทําให้ขาด
คุณสมบัติของผู้ที่จะสมัครสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 59 วรรคสาม), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญมาก่อนแต่ทั้งนี้จะไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือการรับเงินเดือนหรือ ผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการในระหว่างผู้นั้นอยู่ระหว่างทดลอง ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ดังนั้นจึงไม่ทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือข้อห้ามของข้าราชการพลเรือนแต่อย่างใด
82. “บําเหน็จดํารงชีพ” คือ เงินตอบแทนจ่ายให้ผู้มีสิทธิขอรับบําเหน็จบํานาญตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จ บํานาญข้าราชการ และจ่ายให้เพื่อดํารงชีพเป็นการชั่วคราว
ตอบ 2 (คําบรรยาย) บําเหน็จดํารงชีพ คือ เงินที่จ่ายให้ข้าราชการบํานาญเพื่อช่วยเหลือการดํารงชีพ
ซึ่งปัจจุบันกระทรวงการคลังได้ออกกฎกระทรวงกําหนดอัตราและวิธีการรับบําเหน็จดํารงชีพ พ.ศ. 2552 ข้อ 3 ไว้ว่า บําเหน็จดํารงชีพให้จ่ายผู้รับบํานาญในอัตรา 15 เท่าของบํานาญ รายเดือน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยให้มีสิทธิขอรับดังนี้
1. ผู้รับบํานาญอายุต่ํากว่า 65 ปี รับได้ไม่เกิน 200,000 บาท
2. ผู้รับบํานาญอายุตั้งแต่ 65 ปี แต่ไม่ถึง 70 ปี รับได้ไม่เกิน 400,000 บาท
3. ผู้รับบํานาญที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป ให้มีสิทธิรับได้ไม่เกิน 500,000 บาท
83. ตําแหน่งเอกอัครราชทูตเป็นตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทอํานวยการระดับสูงตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ
84.การจัดประเภทตําแหน่งและระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎ ก.พ.
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ
85.กรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระ ระเบียบฯ กําหนดว่าจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เป็นกรรมการอีกไม่ได้
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ
86. วินัยของข้าราชการพลเรือนที่ควรคาดหวังจากข้าราชการพลเรือนควรเป็นการรักษาวินัยโดยผู้บังคับบัญชา
ตอบ 2 หน้า 258, (คําบรรยาย) วินัยที่เหมาะสมและควรคาดหวังจากข้าราชการพลเรือนก็คือ การรักษาวินัยด้วยตนเอง (Self-discipline) ซึ่งวินัยที่ปฏิบัติด้วยตนเองนี้จะเป็นที่รู้จักกัน ในหมู่ข้าราชการพลเรือนได้ก็โดยการที่ข้าราชการพลเรือนรู้ว่าองค์การต้องการให้เขาปฏิบัติตัวอย่างไร และองค์การจะต้องส่งเสริมให้เขารับผิดชอบต่อการกระทําของเขาเอง
87. การที่ระเบียบข้าราชการพลเรือนกําหนดเรื่องการออกจากราชการเมื่อใด นับได้ว่าเป็นมาตรการประการหนึ่ง ในการแสวงหาความเป็นธรรมแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตอบ 2 หน้า 307, (คําบรรยาย) การที่กฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนกําหนดเรื่องการออกจาก
ราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญไว้เป็นกิจจะลักษณะนั้นนับได้ว่าเป็นมาตรการประการหนึ่ง ในการให้หลักประกันความมั่นคงแก่ข้าราชการตามระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลมิให้ข้าราชการต้องถูกออกจากราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือเป็นไปโดยอําเภอใจของผู้บังคับบัญชา
88.กระทรวง กรมใดมีเหตุผลและความจําเป็นอย่างยิ่งจะบรรจุบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และ ความชํานาญงานสูงเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการได้ ทั้งนี้ตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กําหนด
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 15), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 56) กระทรวงหรือกรมใดมีเหตุผลและความจําเป็นอย่างยิ่งจะบรรจุบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และความชํานาญงานสูงเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภท วิชาการระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ หรือระดับทรงคุณวุฒิ หรือตําแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษก็ได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กําหนด
89. การย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่ต่ํากว่าเดิม ปกติผู้มีอํานาจสั่งย้าย
จะกระทํามิได้
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 63 วรรคสาม), (คําบรรยาย) การย้ายหรือการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง ในระดับที่ต่ํากว่าเดิม ผู้มีอํานาจสั่งย้ายจะกระทํามิได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากข้าราชการ พลเรือนสามัญผู้นั้น ส่วนการย้ายไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่สูงกว่าเดิม จะไม่สามารถดําเนินการได้แต่ต้องใช้วิธีการสอบคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งแทน
90. ปัจจุบันตําแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหาร ระดับสูงตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
ตอบ 2 หน้า 387 – 388, 391, (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการการเมือง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ตําแหน่งข้าราชการการเมืองตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เป็นต้น
2. ตําแหน่งข้าราชการการเมืองตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ได้แก่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
91. ในการบริหารงานบุคคลของส่วนราชการของข้าราชการฝ่ายพลเรือนในปัจจุบันมีกฎหมายกําหนดวิธีปฏิบัติ ไว้เป็นการแน่นอนเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
ตอบ 1 หน้า 15, (คําบรรยาย) ในการบริหารงานบุคคลของส่วนราชการของข้าราชการฝ่ายพลเรือน
ในปัจจุบันมีกฎหมายกําหนดวิธีปฏิบัติไว้เป็นการแน่นอนเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน โดยกฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมีหลายฉบับ ด้วยกัน เช่น ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ระเบียบข้าราชการตุลาการ ระเบียบข้าราชการอัยการ เป็นต้น
92. ผลของการไม่ปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการ ถ้าไม่ใช่ความผิดทางวินัยผู้บังคับบัญชาอาจสั่งให้ข้าราชการผู้นั้น ไม่ได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนก็ได้
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 20), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 79) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่ปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการอันมิใช่เป็น ความผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาตักเตือน นําไปประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง เลื่อนเงินเดือน หรือสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นได้รับการพัฒนา
93. ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ขอลาออกจากราชการเพื่อไปดํารงตําแหน่งทางการเมืองตามบทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญ ผู้บังคับบัญชาที่มีอํานาจสั่งอนุญาตการลาออกอาจยับยั้งการลาออกนั้นได้เพื่อประโยชน์
ของทางราชการ
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 24), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 109 วรรคห้า), (คําบรรยาย) ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการ เพื่อไปดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ (เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)) ตําแหน่งทางการเมือง (เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวง, เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง) หรือตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนด หรือตําแหน่ง กรรมการในคณะกรรมการใดที่กฎหมายกําหนดว่าไม่ต้องเป็นข้าราชการ (เช่น นายกสภา มหาวิทยาลัยของรัฐ) หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา (ส.ส. และ ส.ว.) สมาชิก สภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น (เช่น นายก อบต.) ผู้บังคับบัญชาที่มีอํานาจสั่งอนุญาต การลาออก (ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 57) ไม่อาจยับยั้ง การขอลาออกได้ และให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก
94. หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ได้แก่ อธิบดี เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง เช่นเดียวกับปลัดกระทรวง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ
95. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทอํานวยการ ได้แก่ ตําแหน่งที่จําเป็นต้องใช้ผู้สําเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตามที่ ก.พ. กําหนด เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ตําแหน่งนั้น
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 28. ประกอบ
96. คําว่า “ปลัดกระทรวง” ในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ให้หมายความรวมถึงปลัดทบวงด้วย
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 4) คําว่า“ปลัดกระทรวง” ให้หมายความรวมถึงปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและปลัดทบวง
97. ข้าราชการการเมืองเข้าดํารงตําแหน่งโดยให้เป็นไปตามเหตุผลทางการเมืองและตามระเบียบข้าราชการ
การเมืองฉบับปัจจุบันด้วย
ตอบ 1 หน้า 383, 391 ข้าราชการการเมืองได้รับแต่งตั้งเข้าดํารงตําแหน่งโดยเป็นไปตามเหตุผลทาง การเมืองหรือตามระบบอุปถัมภ์ (ไม่เน้นเรื่องคุณวุฒิหรือความรู้ความสามารถ) และตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 (ฉบับปัจจุบัน) กล่าวคือ แต่เดิมข้าราชการการเมือง ถือว่าเป็นข้าราชการพลเรือนประเภทหนึ่งตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน แต่ในปัจจุบัน ได้มีการแยกข้าราชการการเมืองออกจากข้าราชการพลเรือน เพื่อไม่ให้มีการก้าวก่ายหน้าที่ ซึ่งกันและกัน และได้ประกาศใช้ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 เพื่อใช้บังคับแก่ข้าราชการการเมืองโดยตรง
98. การโอนข้าราชการอื่นมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
ตอบ 2 มีข้อกําหนดว่าจะต้องให้ ก.พ. พิจารณาอนุมัติก่อนโดยคํานึงถึงประโยชน์ของตัวข้าราชการผู้นั้นเป็นหลัก (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 บัญญัติว่า การโอนพนักงาน ส่วนท้องถิ่น หรือข้าราชการอื่นมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญต้องเกิดจากความสมัครใจ ของตัวผู้ขอโอนเอง โดยเมื่อผู้มีอํานาจสั่งบรรจุของทั้ง 2 หน่วยงานตกลงกันได้แล้ว ให้เสนอเรื่อง ไปยัง ก.พ. เพื่อพิจารณาอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบ ซึ่ง ก.พ. จะพิจารณาอนุมัติโดยคํานึงถึงประโยชน์ของทางราชการเป็นหลัก
99. ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ผู้มีอํานาจกําหนดตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญของ
ส่วนราชการระดับกระทรวง ได้แก่ ปลัดกระทรวง
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 14), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 47) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีในส่วนราชการใด จํานวนเท่าใด และเป็นตําแหน่ง ประเภทใด สายงานใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวง กําหนด โดยต้องคํานึงถึง ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความไม่ซ้ําซ้อนและประหยัดเป็นหลัก ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขที่ ก.พ. กําหนด และต้องเป็นไปตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง
100. การมีลําดับขั้นการบังคับบัญชาของระบบราชการ หมายถึง ข้าราชการประจํามีการควบคุมขั้นสุดท้ายอยู่ที่ ผู้บังคับบัญชาระดับสูงสุด คือ รัฐมนตรีเจ้าสังกัด
ตอบ 2 หน้า 2 (คําบรรยาย) การมีลําดับขั้นการบังคับบัญชา (Hierarchy) ของระบบราชการ หมายถึง การที่ข้าราชการประจําแต่ละคนจะต้องมีผู้บังคับบัญชาคอยสั่งการและควบคุมการกระทําของเขาตามลําดับ โดยมีการจําแนกอํานาจหน้าที่หรือภารกิจความรับผิดชอบของตําแหน่ง และมีการควบคุมขั้นสุดท้ายอยู่ที่ผู้บังคับบัญชาระดับสูงสุด คือ ปลัดกระทรวง โดยอาศัยการจัดโครงสร้างแบบพีระมิด