การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา THA 1001 ลักษณะและการใช้ภาษาไทย
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1. ข้อใดไม่สะท้อนลักษณะของภาษาไทยที่เป็นคําโดดชัดเจนที่สุด
(1) ยายน้อยขายลูกชิ้นทอดหน้าโรงเรียน
(2) เรานั่งทําแบบทดสอบตั้งครึ่งชั่วโมง
(3) นมเย็นสองแก้วสามร้อยบาท
(4) ผงซักฟอกแบบใดที่ทําให้ผ้าขาวนะ
ตอบ 3 หน้า 2, 5 – 6 (62204), 2 – 3 (H), (คําบรรยาย) ลักษณะของภาษาไทยที่เป็นคําโดด มีดังนี้
1. คําแต่ละคําต้องออกเสียงพยางค์เดียว และอาจเป็นคําควบกล้ำก็ได้
2. ต้องเป็นภาษาไทยเท่านั้น ไม่ใช่คํายืมจากภาษาอื่น
3. มีตัวสะกดตรงตามมาตรา
4. มีระบบวรรณยุกต์ หรือมีระบบเสียงสูงต่ำ ฯลฯ
(คําว่า “บาท” เป็นคํายืมมาจากภาษาบาลีสันสกฤต = ปาท)
2. “ยายตักน้ําจิ้มราดลูกชิ้นทอดสองไม้นั้นจนชุ่ม” ข้อความนี้ไม่ปรากฏลักษณะของภาษาไทยประเภทใด
(1) มีระบบเสียงสูงต่ำ
(2) บอกเพศ
(3) ใช้คําลักษณนาม
(4) บอกพจน์
ตอบ 1 หน้า 2 (62204), 6 – 10 (H) ข้อความข้างต้นปรากฏลักษณะของภาษาไทย ดังนี้
1. บอกเพศ คือ ชาย/หญิง หรือตัวผู้ตัวเมีย เช่น ยาย (เพศหญิง)
2. บอกพจน์ คือ จํานวน เช่น สอง (ใช้คําบอกจํานวนนับ)
3. ใช้คําลักษณนาม ซึ่งมากับคําขยายบอกจํานวนนับ เช่น สองไม้ ฯลฯ
3.คํานามในข้อใดแสดงเพศไม่ชัดเจน
(1) สะใภ้เจ้าสัว
(2) แม่ครัวคนใหม่
(3) สุภาพบุรุษสุดซอย
(4) พลเมืองดิจิทัล
ตอบ 4 หน้า 2, 109 – 110, 112 62204), 6 – 7, 97 – 98 (H) คํานามในภาษาไทยบางคําก็แสดงเพศได้ชัดเจนในตัวของมันเอง เช่น คําที่บอกเพศชาย ได้แก่ พ่อ พ่อครัว สุภาพบุรุษ พระภิกษุ เณร ทิด เขย ชาย หนุ่ม บ่าว ปู่ ตา ผม นาย ลุง พลาย (ช้างตัวผู้) ฯลฯ และคําที่บอกเพศหญิง ได้แก่ ดิฉัน สะใภ้ แม่ แม่ครัว สุภาพสตรี หญิง สาว นาง ซี ป้า ย่า ยาย พัง (ช้างตัวเมีย) ฯลฯ แต่คําบางคําที่เป็นคํารวมทั้ง 2 เพศ เช่น พี่ น้อง เด็ก น้า อา ลูก หลาน เพื่อน ฯลฯ เมื่อต้องการ แสดงเพศให้ชัดเจนตามแบบของภาษาคําโดด ก็จะต้องใช้คําบ่งเพศมาประกอบเข้าข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง หรืออาจนํามาประสมกันตามแบบคําประสมบ้าง เช่น พี่สาว น้องคนสวย น้าชาย อาหญิง เด็กผู้หญิง หลานชาย ฯลฯ (ส่วนคําว่า “พลเมือง” เป็นคํารวมทั้ง 2 เพศ)
4. “น้อง ๆ กําลังเดินเลาะริมชายหาด” ข้อความนี้ปรากฏลักษณะของภาษาไทยแบบใด
(1) บอกพจน์
(2) คําคําเดียวมีหลายความหมาย
(3) มีระบบเสียงสูงต่ำ
(4) ใช้คําลักษณนาม
ตอบ 1 หน้า 77, 110 (62204), 76, 98 (H) การแสดงพจน์ (จํานวน) จะมีอยู่หลายวิธี แต่ก็ต้องดูความหมายของประโยคด้วย ดังนี้
1. ใช้คําบอกจํานวนหนึ่ง (เอกพจน์) ได้แก่ โสด เดียว หนึ่ง โทน ฯลฯ
2. ใช้คําบอกจํานวนมากกว่าหนึ่ง (พหูพจน์) ได้แก่ คู่แฝด (จํานวนสองที่กําหนดไว้เป็นชุด), กลุ่ม/หมู่ ฝูง/พวก/ขบวน/ช่อ (มีจํานวนมากกว่าสองขึ้นไป) ฯลฯ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ คําขยาย ได้แก่ มาก หลาย ฯลฯ, ใช้คําบอกจํานวนนับ ได้แก่ สอง สี่ โหล ฯลฯ โหล ฯลฯ, ใช้คําซ้ํา ได้แก่ เด็ก ๆ หนุ่ม ๆ สาว ๆ น้อง ๆ หลาน ๆ ฯลฯ และใช้คําซ้อน ได้แก่ ลูกเด็กเล็กแดง (เด็กเล็ก ๆ หลายคน) ฯลฯ
5. ข้อใดไม่เป็นสระเดี่ยว
(1) หน้า
(2) ดํา
(3) ทอด
(4) เจ้า
ตอบ 4 หน้า 8, 13 – 14 (62204), 17, 24 – 30 (H) เสียงสระในภาษาไทยมี 28 เสียง ดังนี้
1. สระเดี่ยว 18 เสียง แบ่งเป็นเสียงสั้น 9 เสียง ได้แก่ อะ อิ อี อุ เอะ แอะ เออะ โอะ เอาะ และเสียงยาว 9 เสียง ได้แก่ อา อี อือ อู เอ แอ เออ โอ ออ
2. สระผสม 10 เสียง แบ่งเป็นเสียงสั้น 5 เสียง ได้แก่ เอียะ เอือะ อัวะ เอา ไอ และเสียงยาว 5 เสียง ได้แก่ เอีย เอือ อัว อาว อาย
(ยกเว้นคําใดที่ลงท้ายด้วย ยาว ซึ่งเป็นพยัญชนะกึ่งสระ อาจเป็นได้ทั้งตัวสะกด ย/ว หรือเป็น สระผสม 2 เสียง หรือ 3 เสียงก็ได้)
6. ข้อใดไม่เป็นสระผสม
(1) ตั๋ว
(2) เพลีย
(3) สั่ง
(4) เอว
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ
7.“ผงซักฟอกวางขายบนชั้นมีหลายยี่ห้อ” ข้อความนี้มีสระเดี่ยวกี่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)
(1) 5 เสียง
(2) 6 เสียง
(3) 3 เสียง
(4) 4 เสียง
ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีสระเดี่ยว 5 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่
1. สระโอะ = ผง/บน
2. สระอะ = ซัก/ชั้น
3. สระออ = ฟอก/ห้อ
4. สระอา = วาง
5. สระอี = มี/ยี่
8.ข้อใดเป็นสระผสม
(1) เขย
(2) ครรภ์
(3) ขลาด
(4) ขวิด
ตอบ 1 หน้า 14 (62204), 27 (H), (ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ) คําว่า “เขย” ลงท้ายด้วย ย ซึ่งเป็น พยัญชนะกึ่งสระ จึงอาจเป็นได้ทั้งตัวสะกด ย หรือเป็นสระผสม 2 เสียง ประกอบด้วย เออ + ย (เออ + อี) = เอย (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นสระเดี่ยว)
9. รูปพยัญชนะไทยลําดับที่ 3 ตรงกับข้อใด
(1) ฅ
(2) ม
(3) ค
(4) ฃ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ฃ = รูปพยัญชนะในภาษาไทยลําดับที่ 3 เป็นอักษรสูง ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว
10. ข้อใดไม่ใช่สระผสม 2 เสียง
(1) คลั่ง
(2) เย้ย
(3) ไป
(4) ทวน
ตอบ 1 หน้า 14 (62204), 23, 27 (H), (ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ) คําว่า “คลั่ง” = สระอะ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นสระผสม 2 เสียง ได้แก่ คําว่า “เย้ย” ประกอบด้วย เออ + ย (เออ + อี) = เอย, “ไป” ประกอบด้วย อะ + ย (อะ + อิ) = ไอ, “ทวน” ประกอบด้วย อู + อา = อ้ว)
11. ข้อใดไม่เป็นสระหลัง
(1) ยุง
(2) โอบ
(3) เยอะ
(4) กอด
ตอบ 3 หน้า 9 – 10 (62204), 18 – 19 (H) สระเดี่ยวที่จําแนกตามส่วนต่าง ๆ ของลิ้นที่ทําหน้าที่ ซึ่งต้องมีสภาพของริมฝีปากประกอบด้วย ได้แก่
1. สระกลาง ได้แก่ อา คือ เออ อะ อี เออะ
2. สระหน้า ได้แก่ อี เอ แย อิเอะ แอะ
3. สระหลัง ได้แก่ อู โอ ออ อุ โอะ เอาะ
12. ข้อใดมีเสียงสระตรงกับคําว่า “เย็น”
(1) เบา
(2) เพลิน
(3) เขต
(4) เด่น
ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ) คําว่า “เย็น/เด่น” – สระเอะ, “เบา” – สระเอา, “เพลิน” – สระเออ, “เขต” – สระเอ
13. ข้อใดประกอบด้วยเสียงสระอี + อา + อู
(1) กล้วย
(2) เลื่อย
(3) เกี๊ยว
(4) เสียบ
ตอบ 3 หน้า 14 (62204), 26 (H) คําว่า “เกี๊ยว” ประกอบด้วย เอ๊ย + ว (อี + อา + อู) = เอียว
14. ข้อใดไม่มีเสียงสระอา
(1) เสียง
(2) เศร้า
(3) เฝือก
(4) กลัว
ตอบ 2 หน้า 11 – 13 (62204), 21, 23 – 24 (H) คําว่า “เศร้า” ประกอบด้วย อะ + ว (อะ + อุ) = เอา (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีเสียงสระอา ได้แก่ คําว่า “เสียง” ประกอบด้วย อี + อา = เอีย, “เผือก” ประกอบด้วย คือ + อา = เอือ, “กลัว” ประกอบด้วย อู + อา = อ้ว)
15. พยัญชนะต้นในข้อใดเกิดที่ฐานริมฝีปา
(1) มัน
(2) หอม
(3) นุ่ม
(4) ขาย
ตอบ 1หน้า 17 – 18 (62204), 37 – 38 (H) พยัญชนะต้นที่จําแนกตามฐานกรณ์ (ที่เกิดหรือที่ตั้งของเสียง) สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
1. ฐานคอ (คอหอย) มี 2 เสียง คือ ห (ฮ) อ
2. ฐานเพดานอ่อน มี 3 เสียง คือ ก ค (ข ฆ) ง
3. ฐานเพดานแข็ง มี 5 เสียง คือ จ ช (ฉ ฌ) ส (ซ ศ ษ) ย (ญ) ร
4. ฐานฟัน มี 5 เสียง คือ ต (ฎ) ต (ฏ) ท (ถ ฐ ฑ ฒ ธ) น (ณ) ล (ฬ)
5. ฐานริมฝีปาก ได้แก่ ริมฝีปากบนกับล่างประกบกัน มี 5 เสียง คือ บ ป พ (ผ ภ) มว และริมฝีปากล่างประกบกับฟันบน มี 1 เสียง คือ ฟ (ฝ)
16. พยัญชนะต้นในข้อใดเป็นประเภทกึ่งเสียดแทรก
(1) ยิ้ม
(2) เสียง
(3) ช้าง
(4) ม่าน
ตอบ 3 หน้า 19 – 21 (62204), 39 – 43 (H), (คําบรรยาย) พยัญชนะต้นของไทยที่มีการจําแนกตาม รูปลักษณะของเสียง แบ่งออกได้ดังนี้
1. พยัญชนะระเบิด (พยัญชนะกัก) = ก ค (ฃ ฆ) จ ด (ฎ) ต (ฎ) ท (ถ ฐ ฑ ฒ ธ) บ ป พ (ผ ภ) อ
2. พยัญชนะนาสิก = ง น (ณ) ม
3. พยัญชนะเสียดแทรก = ส (ซ ศ ษ) ฟ (ฝ)
4. พยัญชนะกึ่งเสียดแทรก = ช (ฉ ฌ)
5. พยัญชนะกึ่งสระ = ย ว
6. พยัญชนะเหลว = ร ล
7. พยัญชนะเสียงหนัก = ห (ฮ) รวมทั้งพยัญชนะที่มีเสียง ห ผสมอยู่ด้วย = ค (ข) ช (ฉ) ท (ถ) พ (ผ)
17. ข้อใดไม่ใช่พยัญชนะควบกันมา
(1) ขว้าง
(2) สร้าง
(3) หล่น
(4) ปรุง
ตอบ 3 หน้า 22 – 26 (62204), 44 – 49 (H) การออกเสียงแบบควบกันมา หรืออักษรควบ คือ พยัญชนะคู่ที่ออกเสียง 2 เสียงควบกล้ําไปพร้อมกัน แบ่งออกเป็น
1. อักษรควบกล้ำแท้ หรือเสียงกล้ำกันสนิท โดยเสียงทั้งสองจะร่วมเสียงสระและวรรณยุกต์ เดียวกัน เช่น ขว้าง, ปรุง, คลอง, พระ ฯลฯ
2. อักษรควบกล้ําไม่แท้ หรือเสียงกล้ำกันไม่สนิท เช่น สร้าง (ร้าง), ทราย (ชาย) ฯลฯ
18. ข้อใดไม่ใช่พยัญชนะนํากันมา
(1) เฉวียน
(2) ทหาร
(3) สหาย
(4) สะบัด
ตอบ 4 หน้า 22 (62204), 44 (H) การออกเสียงแบบนํากันมา (อักษรนํา) คือ พยัญชนะคู่ที่พยัญชนะ ตัวหน้ามีอํานาจเหนือพยัญชนะตัวหลัง โดยที่พยัญชนะตัวหน้าจะออกเสียงเพียงครึ่งเสียง และ พยัญชนะตัวหลังก็เปลี่ยนเสียงตาม ซึ่งจะออกเสียงเหมือนกับเสียงที่มี “ห” นํา เช่น อยู่ (หมู่),หล่น, หมา, หมด, เฉวียน (ฉะเหวียน), ทหาร (ทะหาน), สหาย (สะหาย) ฯลฯ
19. ข้อใดเป็นพยัญชนะเคียงกันมา
(1) อุปมา
(2) วัดวา
(3) สิงหา
(4) พระธรรม
ตอบ 1 หน้า 22 (62204), 44 (H) (คําบรรยาย) การออกเสียงแบบตามกันมา หรือเคียงกันมา (การออกเสียงแบบเรียงพยางค์) คือ พยัญชนะคู่ที่ออกเสียงแต่ละเสียงเต็มเสียง และเสียง ทั้งสองไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน นอกจากนี้ถ้าหากคําใดที่มีเสียงสระอะ อา อิ อี อุ อู อยู่กลางคํา และพยางค์หน้าออกเสียงเต็มเสียงทุกคําให้ถือเป็นพยัญชนะคู่แบบเคียงกันมา เช่น อุปมา (อุปะมา), กิจกรรม (กิดจะกํา), จักรวาล (จักกะวาน) ฯลฯ
20. ข้อใดไม่มีพยัญชนะคู่
(1) เรือแล่นอยู่ในลําคลอง
(2) หมาน้อยเห่าเสียงดัง
(3) น้ำตาลทรายขายหมดแล้ว
(4) คนดีมีเยอะมาก
ตอบ 4 หน้า 17 – 18, 21 – 22 (62204), 37, 44 (H) พยัญชนะต้นในภาษาไทยมี 2 ประเภท ได้แก่
1. พยัญชนะเดี่ยว คือ พยัญชนะต้นที่มีเพียงเสียงเดียว เช่น คนดีมีเยอะมาก เป็นต้น
2. พยัญชนะคู่ คือ พยัญชนะต้น 2 ตัวเรียงกันและออกเสียงทั้งคู่ หรือออกเสียงเพียงเสียงเดียวก็ได้ แบ่งออกเป็น แบบเคียงกันมา, แบบนํากันมา (เช่น หมา, หมด) และแบบควบกันมา
(เช่น คลอง, ทราย) (ดูคําอธิบายข้อ 17., 18. และ 19. ประกอบ)
21. ข้อใดมีเสียงพยัญชนะสะกดเหมือนกัน
(1) วัยเยาว์
(2) เผาข้าว
(3) อําพัน
(4) ลาภลอย
ตอบ 2 หน้า 27 – 29 (62204), 50 – 53 (H) พยัญชนะสะกดของไทยจะมีเพียง 8 เสียงเท่านั้น ได้แก่
1. แม่กก – ก ข ค ฆ
2. แม่กด = จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส
3. แม่กบ = บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ
4. แม่กน = น ณ ร ล ฬ ญ
5. แม่กง = ง
6. แม่กม = ม
7. แม่เกย = ย
8. แม่เกอว = ว
นอกจากนี้สระอํา (อัม) = แม่กม, สระไอ/โอ (อัย) = แม่เกย และสระเอา (อาว) = แม่เกอว (คําว่า “เผาข้าว” = แม่เกอว “วัยเยาว์” = แม่เกย/แม่เกอว “อําพัน” = แม่กม แม่กน “ลาภลอย” = แม่กบ/แม่เลย)
22. ข้อใดไม่มีเสียงพยัญชนะสะกดทุกคํา
(1) ตํานาน
(2) หม้อไฟ
(3) หัวป่า
(4) เสาร์ห้า
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ) คําที่ไม่มีเสียงพยัญชนะสะกด ได้แก่ หม้อ (หม + สระออ, หัว (ห + สระอัว), ป่า (ป – สระอา), ห้า (ห + สระอา)
23. “ผมเป็นคนมั่นใจในการสอบวิชานี้เสมอ” ข้อความนี้มีพยัญชนะสะกดกี่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)
(1) 6 เสียง
(2) 4 เสียง
(3) 3 เสียง
(4) 5 เสียง
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ)ข้อความนี้ปรากฏพยัญชนะสะกด 4 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) คือ
1. แม่กม = ผม
2. แม่กน = เป็น, คน, มั่น, การ
3. แม่เกย = ใจ, ใน
4. แม่กบ = สอบ
(ส่วนคําที่ไม่มีเสียงพยัญชนะสะกด ได้แก่ วิชานี้เสมอ)
24. ข้อใดมีเสียงพยัญชนะละกดที่เป็นคําเป็นทุกคํา
(1) จบสิ้น
(2) ผมซอย
(3) แกงบวด
(4) หลีกเลี่ยง
ตอบ 2 หน้า 28 (62204), 51 (H), (ดูคําอธิบายข้อ 5. และ 21. ประกอบ) การพิจารณาลักษณะของ คําเป็นกับคําตาย มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. คําเป็น คือ คําที่สะกดด้วยแม่กง กน กม เกย เกอว และคําที่ไม่มีตัวสะกด ใช้สระเสียงยาว รวมทั้งสระอํา ใอ ไอ เอา (เพราะออกเสียงเหมือนมีตัวสะกดเป็นแม่กม เกย เกอว)
2. คําตาย คือ คําที่สะกดด้วยแม่กก กด กบ และคําที่ไม่มีตัวสะกด ใช้สระเสียงสั้น
25. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ตรี
(1) เงื่อน
(2) เนื้อ
(3) เหยียบ
(4) หลบ
ตอบ 2 หน้า 33 – 37 (62204), 55 – 60 (H) เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยจะมี 5 เสียง 4 รูป ได้แก่ เสียงสามัญ (ไม่มีรูปวรรณยุกต์กํากับ), เสียงเอก ( ่ ), เสียงโท ( ้ ), เสียงตรี ( ๊ ) และเสียง จัตวา ( ๋ ) ซึ่งในคําบางคํา รูปและเสียงวรรณยุกต์อาจไม่ตรงกัน จึงควรเขียนรูปวรรณยุกต์ให้ ถูกต้อง เช่น คําว่า “เนื้อ” มีเสียงวรรณยุกต์ตรี แต่ใช้ไม้โท (ส่วนคําว่า “เงื่อน/เหยียบ/หลบ” = โท/เอก/เอก)
26. ข้อใดไม่มีเสียงวรรณยุกต์เอก
(1) บอก
(2) กระ
(3) น่า
(4) จูบ
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ) คําว่า “น่า” มีเสียงวรรณยุกต์โท แต่ใช้ไม้เอก(ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีเสียงวรรณยุกต์เอก)
27. ข้อใดไม่มีเสียงวรรณยุกต์โท
(1) มั่น
(2) ใช้
(3) ฆ่า
(4) กล้า
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ) คําว่า “ใช้” มีเสียงวรรณยุกต์ตรี แต่ใช้ไม้โท
(ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีเสียงวรรณยุกต์โท)
28. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์จัตวา
(1) หวาน
(2) ควาญ
(3) ลูก
(4) ฉาบ
ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ) คําว่า “หวาน” มีเสียงวรรณยุกต์จัตวา แต่ไม่มีรูปวรรณยุกต์ กํากับ (ส่วนคําว่า “ควาญ/ลูก/ฉาบ” = สามัญ/โท/ เอก)
29. “ผัดไทย ราดหน้า ส้มตํา ไก่ย่าง อย่าหวังว่ามีในร้านนี้” ข้อความนี้มีเสียงวรรณยุกต์ใดน้อยที่สุด
(1) สามัญ
(2) โท
(3) เอก
(4) จัตวา
ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีเสียงวรรณยุกต์ ดังนี้
1. เสียงสามัญ = ไทย/ดํา/มีใน
2. เสียงเอก = ผัด/ไก่/อย่า
3. เสียงโท = ราดหน้า/ส้ม/ย่าง/ว่า
4. เสียงตรี = ร้าน/นี้
5. เสียงจัตวา = หวัง
30. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ต่างจากข้ออื่น
(1) ขิม
(2) หวย
(3) สูตร
(4) ถาม
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ) คําว่า “สูตร” มีเสียงวรรณยุกต์เอก แต่ไม่มีรูปวรรณยุกต์ กํากับ (ส่วนคําว่า “ขิม/หวย/ถาม” = จัตวา)
31. “ฉันบอกเธอแล้ว เขาเป็นพระมาเกิด” ข้อความนี้ปรากฏเสียงวรรณยุกต์กี่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ํา)
(1) 2 เสียง
(2) 3 เสียง
(3) 5 เสียง
(4) 4 เสียง
ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ)
1. เสียงสามัญ = เธอเป็นมา2. เสียงเอก = บอก/เกิด
3. เสียงตรี = แล้ว/พระ
4. เสียงจัตวา = ฉัน/เขา
ข้อความข้างต้นมีเสียงวรรณยุกต์ 4 เสียง ดังนี้
32. “ความรักทําให้คนหลงทางมาหลายรายแล้ว” ข้อความนี้มีคําประสมคํา
(1) 4 คํา
(2) 1 คํา
(3) 3 pin
(4) 2 คํา
ตอบ 4 หน้า 80 – 89 (62204), 78 – 82 (H) คําประสม คือ คําตั้งแต่ 2 คําขึ้นไปมาประสมเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้คําใหม่ที่มีความหมายใหม่มาใช้ในภาษา ซึ่งความหมายสําคัญจะอยู่ที่คําต้น (คําตัวตั้ง) ส่วนที่ตามมาเป็นคําขยาย ซึ่งไม่ใช่คําที่ขยายคําต้นจริง ๆ แต่จะช่วยให้คําทั้งคํามีความหมาย จํากัดเป็นนัยเดียว เช่น ความรัก, หลงทาง, เครื่องมือ, กับดัก, ชื่อเสียง, ลูกน้อง, ลูกรัก, ลูกค้า, วัดดวง, ยาฆ่าเชื้อ, อวดเก่ง, เวียนหัว, จับคู่ เป็นต้น
33. ข้อใดไม่เป็นความหมายแฝง
(1) เย็น
(2) กระซิบ
(3) ดูด
(4) แกะ
ตอบ 1 หน้า 44 – 47 (62204), 62 – 63 (H) ความหมายแฝง หมายถึง ความหมายย่อยที่แฝงอยู่ในความหมายใหญ่ ซึ่งจะแนะรายละเอียดบางอย่างไว้ในความหมายนั้น ๆ ได้แก่ ความหมายแฝง บอกทิศทางเข้าข้างใน เช่น ดูด ฉีด อัด, ความหมายแฝงบอกทิศทางแยกไปคนละทาง เช่น แกะ ปะทุ ระเบิด เตลิด, ความหมายแฝงในคํากริยาที่ใช้กับเสียง เช่น กระซิบ (พูดเบา ๆ) เป็นต้น
34. “กวางน้อยของพี่ กําลังเคี้ยวข้าวคําโตเลย” คําว่า “กวางน้อย” จัดเป็นความหมายประเภทใด
(1) ความหมายแฝง
(2) ความหมายอุปมา
(3) การแยกเสียงแยกความหมาย
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 48 – 49 (62204), 64 (H) คําอุปมา คือ คําที่ใช้เปรียบเทียบเพื่อพรรณนาบอกลักษณะ ให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้มีความหมายใหม่เกิดขึ้นอีกความหมายหนึ่ง มีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่
1. คําอุปมาที่ได้มาจากคําที่มีใช้อยู่แล้ว เช่น ไข่มุก (สตรีที่งดงาม บริสุทธิ์ และสูงค่า), เทวดา/ นางฟ้า (ดี สวย), กวางน้อย (แฟนสาวหรือภรรยา สื่อเป็นนัยถึงความน่ารักน่าเอ็นดู) ฯลฯ
2. คําอุปมาที่สร้างขึ้นใหม่ ส่วนมากเป็นคําประสม เช่น แมวนอนหวด (ซื่อจนเซ่อ) ฯลฯ
35. ข้อใดเป็นการแยกเสียงแยกความหมายในลักษณะเสียงสูงต่ําต่างกัน
(1) บาด – ปาด
(2) วับ – วาบ
(3) รวบ – รวม
(4) เดียว – เดี่ยว
ตอบ 4 หน้า 51 – 52 (62204), 65 (H) การแยกเสียงแยกความหมาย คือ การเปลี่ยนแปลงเสียง ในคําบางคําที่มีความหมายหลายอย่างให้แตกต่างกันบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนว่าคํานั้น มีความหมายว่าอย่างไรในที่นั้น ๆ โดยความหมายย่อยและที่ใช้อาจจะแตกต่างกันบ้าง ได้แก่ “เดียว – เดี่ยว” (เสียงสูงต่ำต่างกัน) ต่างก็แปลว่าหนึ่ง เช่น มาเดี่ยว มาคนเดียว แต่จะนํามา ใช้แทนกันไม่ได้ เพราะ “เดียว” หมายถึง หนึ่งเท่านั้น แต่ “เดี่ยว” หมายถึง ไม่มีคู่ ไม่ได้นําคู่ของตนมาด้วย เป็นต้น
36. ข้อใดเป็นคําซ้ำแบบแสดงความไม่เจาะจง
(1) ไป ๆ มา ๆ ก็ทําข้อสอบไม่ได้
(2) เขาซื้อขนมมาแจกเป็นถุง ๆ
(3) คนดี ๆ จะไม่ทุจริตในการสอบ
(4) หนู ๆ ทําข้อสอบได้ไหม
ตอบ 4 หน้า 76 – 80 (62204), 76 – 78 (H) คําซ้ำ คือ คําคําเดียวกันที่นํามากล่าว 2 ครั้ง เพื่อให้ มีความหมายเน้นหนักขึ้น หรือเพื่อให้มีความหมายแตกต่างจากคําเดี่ยว ซึ่งวิธีการสร้างคําซ้ำ ก็เหมือนกับการสร้างคําซ้อน แต่ใช้คําคําเดียวมาซ้อนกันโดยมีเครื่องหมายไม้ยมก (ๆ) กํากับ เช่น หนู ๆ เรา ๆ ท่าน ๆ เขา ๆ (เป็นคําซ้ําที่ซ้ำคําสรรพนาม แสดงความไม่เจาะจง) ฯลฯ
37. ข้อใดเป็นคําซ้อน
(1) เครื่องมือ
(2) กับดัก
(3) ป่าวร้อง
(4) ชื่อเสียง
ตอบ 3 หน้า 62 – 76 (62204), 67 – 76 (H) คําซ้อน คือ คําเดี่ยว 2, 4 หรือ 6 คํา ที่มีความหมาย หรือมีเสียงที่ใกล้เคียงกัน หรือเป็นไปในทํานองเดียวกัน ซ้อนเข้าด้วยกันเพื่อทําให้เกิดคําใหม่ ที่มีความหมายใหม่ขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. คําซ้อนเพื่อความหมาย (มุ่งที่ความหมายเป็นสําคัญ) ซึ่งอาจเป็นคําไทยซ้อนเข้าด้วยกัน เช่น ป่าวร้อง, ลูกหลาน, แน่นอน, ดูดดื่ม, เริ่มต้น, ซ่อนเร้น ฯลฯ หรืออาจเป็นคําไทย ซ้อนกับคําภาษาอื่น เช่น รากฐาน (ไทย + บาลีสันสกฤต) ฯลฯ
2. คําซ้อนเพื่อเสียง (มุ่งที่เสียงเป็นสําคัญ) เช่น หลงใหล, หลากหลาย, เกะกะ, ขึงขัง ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําประสม) (ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ)
38. ข้อใดเป็นคําซ้อน
(1) ลูกหลาน
(2) ลูกน้อง
(3) ลูกรัก
(4) ลูกค้า
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 32. และ 37. ประกอบ
39. ข้อใดไม่เป็นคําซ้อน
(1) แน่นอน
(2) ดูดดื่ม
(3) วัดดวง
(4) เริ่มต้น
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 32. และ 37. ประกอบ
40. ข้อใดเป็นคําประสม
(1) หลงใหล
(2) ยาฆ่าเชื่อ
(3) หลากหลาย
(4) ซ่อนเร้น
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 32. และ 37. ประกอบ
41. ข้อใดไม่เป็นคําประสม
(1) อวดเก่ง
(2) เวียนหัว
(3) จับคู่
(4) รากฐาน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 32. และ 37. ประกอบ
42. ข้อใดมีคําอุปสรรคเทียมที่เกิดจากการกร่อนเสียง
(1) เบาะดํากํามะหยี่สมกาย อานปรุฉลุลาย ดุนดอกกระเด็นดูงาม
(2) แหนแห่แตรสังข์กังสดาล ซึ่งนึ่งฆ้องขาน เสียงกลองกระหึมครึมเสียง
(3) ซองหางบังเหียนพลอยพลาม วุ้งแวววับวาม แวววาววะวาบปลาบตา
(4) เป่าสังข์ว่าสําเนียง แตรฝรั่งประดังเสียง เสียงแตรนแตร่นแตร้แตรงอน
ตอบ 3 หน้า 93 – 95 (62204), 83 – 84 (H) อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการกร่อนเสียง มักเป็นคําที่กร่อนเสียงพยางค์ต้นให้เป็นเสียง “อะ” ได้แก่
1. “มะ” ที่นําหน้าชื่อไม้ผล ไม่ใช่ไม้ผล และหน้าคําบอกกําหนดวัน เช่น หมากม่วง – มะม่วง, หมากเฟือง – มะเฟือง, หมากไฟ – มะไฟ, เมื่อคืน – มะรืน
2. “ตะ” นําหน้าชื่อสัตว์ ต้นไม้ และคําที่มีลักษณะคล้ายตา เช่น ตัวเพียน – ตะเพียน, ตอม่อ – ตะม่อ ตาวัน – ตะวัน, ต้นขบ – ตะขบ, ต้นเคียน – ตะเคียน
3. “สะ” เช่น สายคือ – สะดือ, สายดึง – สะดึง, สาวใต้ – สะใภ้
4. “ฉะ” เช่น ฉันนั้น – ฉะนั้น ฉันนี้ – ฉะนี้ เฉื่อย ๆ – ฉะเฉื่อย, ฉาด ๆ – ฉะฉาด
5. “ยะ/ระ/ละ/วะ” เช่น เยือก ๆ – ยะเยือก, รัว ๆ – ระรัว, รี่ ๆ – ระรี่, เรื่อ ๆ – ระเรื่อ,ลิบ ๆ – ละลิบ, วาบ ๆ – วะวาบ
6. “อะ” เช่น อันไร/อันใด – อะไร, อันหนึ่ง – อนึ่ง
7. “จะ” เช่น เจื้อยเจื้อย – จะเจื้อย, แจ้วแจ้ว – จะแจ๋ว, จ้อจ้อ – จะจ้อ
สําหรับคําอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นไปตามนี้ ได้แก่ ผู้ญาณ – พยาน, ชาตา – ชะตา, ช้าพลู – ชะพลู, เฌอเอม – ชะเอม, ชีผ้าขาว – ชีปะขาว, คํานึง – คะนึง เป็นต้น
43. คําใดกร่อนเสียงมาจากคําเดิมว่า “ตัว
(1) ตะเคียน
(2) ตะวัน
(3) ตะขบ
(4) ตะเพียน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ
44. “นกกระสาถาจับต้นกระสัง โนรีจับรังแล้วบินร่อน” ข้อความนี้มีคําที่เกิดจากอุปสรรคเทียมชนิดใด
(1) แบ่งคําผิด
(2) เทียบแนวเทียบผิด
(3) เลียนแบบภาษาเขมร
(4) กร่อนเสียง
ตอบ 1 หน้า 94 (62204), 84 – 85 (H) อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการแบ่งคําผิด เกิดจากการพูดเพื่อให้เสียงต่อเนื่องกัน โดยเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ว่า “กระ”) เข้าไป 1 เสียงในคําที่พยางค์แรก สะกดด้วยเสียง “ก” ได้แก่
1. นกสา – นกกระสา
2. นกจิบ – นกกระจิบ
3. นกเต็น – นกกระเต็น
4. นกจาบ – นกกระจาบ
5. ลูกสุน – ลูกกระสุน
6. ผักสัง – ผักกระสัง ฯลฯ
45. ข้อใดไม่มีคําอุปสรรคเทียมชนิดที่ได้จากการเทียบแนวเทียบผิด
(1) กระมิดกระเมี้ยน กระจุ๋มกระจิ๋ม กะดํากะด่าง
(2) กระจุกกระจิก กระโดกกระเดก กระดุกกระดิก
(3) กะพรวดกะพราด กระดุกกระดิก กะปริดกะปรอย
(4) กระโตกกระตาก กระเสือกกระสน กระแอมกระไอ
ตอบ 2 หน้า 94 – 96 (62204), 85 – 86 (H) อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการเทียบแนวเทียบผิด คือ การเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ว่า “กระ”) เข้าไป 2 เสียง ในคําซ้อนเพื่อเสียงที่หน้าพยางค์ต้น และหน้าพยางค์ท้ายไม่ได้สะกดด้วย “ก” ซึ่งยึดการใช้อุปสรรคเทียมที่เพิ่มเสียงเพื่อไม่ให้เสียง คอนกันมาเป็นแนวเทียบ แต่เป็นการเทียบแนวเทียบผิด เช่น
1. มิดเพี้ยน – กระมิดกระเมี้ยน
2. จุ๋มจิ๋ม – กระจุ๋มกระจิ๋ม
3. ดําด่าง – กะดํากะต่าง
4. พรวดพราด – กะพรวดกะพราด
5. ปริดปรอย – กะปริดกะปรอย
6. เสือกสน – กระเสือกกระสน
7. แอมไอ – กระแอมกระไอ ฯลฯ
(ส่วนตัวเลือกข้อ 2 เป็นอุปสรรคเทียมที่เกิดจากการเพิ่มเสียงเพื่อไม่ให้เสียงคอนกัน)
46. ข้อใดเป็นคําอุปสรรคเทียมที่เกิดจากการเลียนแบบภาษาเขมร
(1) ระรัว
(2) ระรี่
(3) ระย่อ
(4) ระเรื่อ
ตอบ 3 หน้า 96 – 98 (62204), 86 – 87 (H) อุปสรรคเทียมเลียนแบบภาษาเขมร นับเป็นวิธีการ แผลงคําของเขมรที่ใช้นําหน้าคําเพื่อประโยชน์ทางไวยากรณ์ ได้แก่
1. “ชะ/ระ/ปะ/ประ/พะ/สม/สะ” เช่น ชะชะร้าย, ระคน, ระคาย, ระย่อ, ปะปน, ประเดี๋ยว ปะติดปะต่อ, ประท้วง, ประหวั่น, พะรุงพะรัง, พะเยิบ, สมรู้, สมยอม, สมสู่, สะสาง, สะพรั่ง, สะสวย, สะพรึบ ฯลฯ
2. ใช้ “ข ค ป ผ พ” มานําหน้าคํานามและกริยาวิเศษณ์ เพื่อให้มีความหมายเป็นการีต แปลว่า “ทําให้” เช่น ขยุกขยิก, ขยิบ, ขยี้, ขยํา, ปลุก, ปลง, ปลด, ปละ, ปราบ, ผละ, พร่ำ ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นอุปสรรคเทียมที่เกิดจากการกร่อนเสียง) (ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ)
47. “พักสายตาเถอะนะคนดี” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
(1) ประโยคคําถาม
(2) ประโยคบอกเล่า
(3) ประโยคคําสั่ง
(4) ประโยคขอร้อง
ตอบ 4 หน้า 102 (62204), 92 – 93 (H) ประโยคขอร้องหรือชักชวน คือ ประโยคที่ผู้พูดต้องการขอร้องหรือชักชวนให้ผู้ฟังทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ตามที่ตนต้องการ ซึ่งการใช้คําพูดนั้นจะคล้ายกับ ประโยคคําสั่งแต่นุ่มนวลกว่า โดยในภาษาเขียนมักจะมีคําว่า “โปรดกรุณา” อยู่หน้าประโยค ส่วนในภาษาพูดนั้นอาจมีคําลงท้ายประโยค ได้แก่ เถอะ เถิด นะ นะ หน่อย ซี ซี ฯลฯ
48. “ห้ามผู้เข้าสอบพูดคุยหรือสนทนาทั้งในห้องสอบและทางออนไลน์โดยเด็ดขาด ยกเว้นการสื่อสารกับ กรรมการคุมสอบเท่านั้น” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
(1) ประโยคบอกเล่า
(2) ประโยคขอร้อง
(3) ประโยคคําสั่ง
(4) ประโยคคําถาม
ตอบ 3 หน้า 102 (62204), 91 – 92 (H) ประโยคคําสั่ง คือ ประโยคที่ต้องการให้ผู้ฟังทําตามคําสั่ง มักละประธานและขึ้นต้นด้วยคํากริยา เช่น ไปได้แล้ว แต่ถ้าหากจะมีประธานก็จะระบุชื่อหรือ เน้นตัวบุคคลเพื่อให้คนที่ถูกสั่งรู้ตัว เช่น แดงออกไป นอกจากนี้ประโยคคําสั่งอาจมีกริยาช่วย “อย่า/ห้าม/จง/ต้อง” เพื่อสั่งให้ทําหรือไม่ให้ทําก็ได้
49. “ตกหลุมรักสาวพัทยา ก็เธอช่างสวยเกินจะจินตนา” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
(1) ประโยคคําถาม
(2) ประโยคบอกเล่า
(3) ประโยคคําสั่ง
(4) ประโยคขอร้อง
ตอบ 2 หน้า 103 – 104 (62204) 90 – 91, 93 – 94 (H) ประโยคบอกเล่า คือ ประโยคที่บอกเล่า เรื่องราวตามธรรมดา ซึ่งอาจใช้ในทางตอบรับหรือตอบปฏิเสธก็ได้ เช่น ไปแล้วจ้า, ไม่ได้ไปค่ะ ฯลฯ แต่บางครั้งประโยคที่มีคําแสดงคําถามว่า “ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร” อาจจะใช้ในประโยคบอกเล่าก็ได้ หากไม่ได้แสดงความสงสัยหรือไม่ได้ต้องการคําตอบ แต่จะเป็นการ กล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ โดยทั่วไป ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง
50. “ไปเที่ยวเล่นเห็นอ้ายอะไรมิรู้ ดําทั้งตัวหัวหูมันดูขัน” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
(1) ประโยคคําถาม
(2) ประโยคขอร้อง
(3) ประโยคบอกเล่า
(4) ประโยคคําสั่ง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ
51. “กรุณาสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าในการเดินทางรถไฟ” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
(1) ประโยคบอกเล่า
(2) ประโยคขอร้อง
(3) ประโยคคําสั่ง
(4) ประโยคคําถาม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 47. ประกอบ
52. ข้อความใดปรากฏคําสรรพนามบุรุษที่ 2
(1) รู้ได้ไงฉันมีพิรุธ
(2) พูดแบบนี้หล่อนมีพิรุธนะ
(3) รู้ไหม ใครฆ่าอารยา
(4) พยูนเขาไม่ได้ฆ่า
ตอบ 2 หน้า 112 – 113 (62204) 99 (H) สรรพนามบุรุษที่ 2 คือ คําที่ใช้แทนตัวผู้ที่พูดด้วย เช่น คุณ เธอ ท่าน เรา หล่อน เจ้า แก เอ็ง ถึง ฯลฯ นอกจากนี้ยังอาจใช้คํานามอื่น ๆ แทนตัวผู้ที่ พูดด้วย เพื่อแสดงความสนิทสนมรักใคร่ ได้แก่
1. ใช้ตําแหน่งเครือญาติแทน เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก ตา ยาย ปู่ ย่า ฯลฯ
2. ใช้ตําแหน่งหน้าที่แทน เช่น ครู อาจารย์ หัวหน้า ฯลฯ
3. ใช้เรียกบรรดาศักดิ์แทน เช่น ท่านขุน คุณหลวง เจ้าคุณ คุณหญิง ฯลฯ
4. ใช้ชื่อผู้พูดทั้งชื่อเล่นชื่อจริงแทน เช่น คุณสมบัติ คุณสมศรี คุณสมร นุช แดง ฯลฯ
53. ข้อใดใช้คําสรรพนามที่บอกความชี้เฉพาะ
(1) ที่นี่คือห้องสอบ
(2) ใครคนหนึ่งคนนั้น
(3) วันเกิดฉันปีนี้
(4) นี่คือความจริง
ตอบ 4 หน้า 111, 115 – 116 (62204), 99 (H) สรรพนามที่แสดงความเฉพาะเจาะจง ได้แก่ “นี้ นั้น โน้น นี่ นั่น โน่น” ซึ่งคําทั้งหมดนี้ใช้แทนสิ่งที่พูดถึง อะไรก็ได้เพราะไม่ได้ระบุชื่อ ในขณะนั้น และต้องไม่มีคํานามอยู่ข้างหน้า นอกจากนี้คําว่า “นั่นนี่” ยังใช้สร้างคําใหม่ โดยมากจะเป็นคําอุทาน ซึ่งแต่ละคําก็มีความหมายเฉพาะอย่างหนึ่ง ๆ ต่างกันไป ได้แก่ “นั่นแน่ นั่นแน่ะ นั่นซี นั่นแหละ นี่ซิ นี่แหละ นั่นไง นั่นเป็นไง”
54. ข้อใดมีคํากริยาช่วยที่บอกเวลาต่างจากข้ออื่น
(1) ฉันกําลังจะไปพอดี
(2) เธอหายป่วยแล้ว
(3) เขาได้วางแผนครบถ้วน
(4) ป้าได้รับพัสดุแล้ว
ตอบ 1 หน้า 2, 121-123 7-8, 123 (62204), 7 – 8, 100 – 101 (H) การแสดงกาล คือ การแสดงให้รู้ว่า กริยานั้นกระทําเมื่อไร ซึ่งนอกจากจะต้องอาศัยกริยาช่วยเพื่อบอกกาลเวลาที่ต่างกันแล้ว เช่น คําว่า “จะกําลังจะ” (บอกอนาคต), “กําลัง/อยู่” (บอกปัจจุบัน), “ได้แล้ว” (บอกอดีต) ฯลฯ ก็ยังมีคํากริยาวิเศษณ์หรือกริยาบางคําที่ช่วยแสดงกาล โดยอาศัยเหตุการณ์และสภาพแวดล้อม เป็นเครื่องชี้ ดังนี้
1. บอกปัจจุบัน ได้แก่ เดี๋ยวนี้ ขณะนี้ ตอนนี้ วันนี้ ฯลฯ
2. บอกอนาคต ได้แก่ พรุ่งนี้ มะรืนนี้ ปีหน้า เดือนหน้า เร็ว ๆ นี้ ฯลฯ
3. บอกอดีต ได้แก่ เมื่อวานนี้ เมื่อก่อนนี้ เมื่อวันก่อน เมื่อปีก่อน เพิ่งมา ฯลฯ
55. คํากริยาช่วยในข้อใดไม่แสดงการคาดคะเน
(1) เราควรจะช่วยกันป้องกันโรคนี้
(2) ปีหน้าคงจะได้มาพบกัน
(3) โควิดน่าจะเบาบางลงบ้าง
(4) สถานการณ์อาจจะดีขึ้น
ตอบ 1 หน้า 123 — 126 (62204) 101 (H) คําที่บอกมาลา (แสดงภาวะหรือแสดงอารมณ์) อาจจะ ใช้กริยาช่วย ได้แก่ คง จึง ควร จง ต้อง อาจ โปรด ย่อม เห็นจะ ฯลฯ มาช่วยแสดง หรือใช้คําอื่น ๆ ได้แก่ น่า นา เถอะ เถิด ซิ ซี ซินะ นะ น่ะ ละ ล่ะ เล่า หรอก ดอก ฯลฯ เช่น เราควรจะช่วยกันป้องกันโรคนี้ (แสดงความเห็นในทางที่ถูกหรือเหมาะสม) เป็นต้น (ส่วนคําว่า “คงจะ น่าจะอาจจะ” ใช้แสดงการคาดคะเน
56. “ดีชั่วอยู่ที่ตัวทํา สูงต่ําอยู่ที่ทําตัว” ประโยคนี้ใช้คําคุณศัพท์ประเภทใด
(1) บอกภาวะ
(2) บอกความแบ่งแยก
(3) บอกความชี้เฉพาะ
(4) บอกลักษณะ
ตอบ 4 หน้า 130 (62204), 102 (H) คําคุณศัพท์ที่บอกลักษณะหรือบอกภาวะ (ลักษณคุณศัพท์) สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
1. บอกลักษณะ ได้แก่ สูง ต่ํา ดํา ขาว ดี ชั่ว เลว งาม สวย น่ารัก แข็ง อ่อน อ้วน ผอม ล่ำสัน กํายํา อดทน ฯลฯ
2. บอกภาวะ ได้แก่ เจ็บ ป่วย ตาย เป็น หัก พัง บิน แตก เซ เดาะ ทรุด บอบช้ำ ฟกช้ำ เอียง เท เหี่ยวเฉา ร่วงโรย ฯลฯ ซึ่งบางคําอาจใช้เป็นคํากริยาได้
57. ข้อใดใช้คําวิเศษณ์ขยายกริยาบอกความแบ่งแยก
(1) ทําข้อสอบพลางก็คิดไปพลาง
(2) ทําข้อสอบอย่างง่าย
(3) อยากตอบอะไรก็ได้ตามใจ
(4) จะตอบอยู่แล้วทีเดียว
ตอบ 1 หน้า 139 (62204), 103 (H) คํากริยาวิเศษณ์บอกความแบ่งแยก ได้แก่ บ้าง ด้วย พลาง กัน ต่าง ต่าง ๆ ต่างหาก เช่น ท่าข้อสอบพลางก็คิดไปพลาง (ทํากริยา 2 อย่างไปพร้อมกัน) เป็นต้น
58. ข้อใดใช้คําบุรพบทไม่ถูกต้อง
(1) อวยพรแก่ผู้ใหญ่
(2) ได้ยินกับหู
(3) ถวายของแด่พระสงฆ์
(4) เรามาทํางานแต่เช้า
ตอบ 1 หน้า 145 – 146 (62204), 105 – 106 (H) คําบุรพบทที่แสดงการให้และรับ มีดังนี้
1. คําว่า “แก่” ใช้เมื่อผู้รับมีศักดิ์ต่ํากว่าหรือเยาว์วัยกว่า เช่น แม่ซื้อเสื้อให้แก่ลูก ฯลฯ
2. คําว่า “แต่” ใช้เมื่อผู้รับเป็นผู้ที่เคารพนับถือ ผู้อาวุโส หรือผู้ที่สูงศักดิ์กว่า เช่น ทําบุญอุทิศ ส่วนกุศลแด่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ, ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์, อวยพรแด่ผู้ใหญ่ ฯลฯ
3. คําว่า “ต่อ” ใช้นําหน้าความที่เป็นผู้รับต่อหน้า เผชิญหน้า หรือซึ่งหน้า เช่น นายอําเภอให้ไป ยื่นฟ้องต่อศาล ฯลฯ
59. คําว่า “เมื่อ” ในข้อใดเป็นคําสันธาน
(1) เมื่อฉันถึงบ้าน แม่ก็มารอรับพอดี
(2) เมื่อวันก่อน ฉันมาถึงกรุงเทพฯ
(3) ฉันกลับต่างจังหวัดเมื่อวานนี้
(4) เมื่อวันปีใหม่ฉันไปไหว้พระ
ตอบ 1 หน้า 153 — 155 (62204), 106, 108 (H) คําสันธานที่เชื่อมความคล้อยตามกัน ทํานองเดียวกัน ไม่ขัดแย้งกัน โดยทําหน้าที่เชื่อมความที่เกี่ยวกับเวลา ได้แก่ ก็, แล้ว…ก็, แล้ว…จึง ครั้น…ก็ เมื่อ เมื่อ…ก็, ครั้น….จึง, เมื่อ…จึง, พอ….ก็ ส่วนที่ทําหน้าที่เชื่อมความให้สอดคล้อง หรือรวมเข้าด้วยกัน ได้แก่ ทั้ง ทั้ง…ก็ ทั้ง…และ, ก็ได้, ก็ดี, กับ, และ
60.“ถ้าได้แต่งงาน ฝันอยากจะมีลูกชาย คงหล่อหลาย ๆ เพราะว่าลูกชายได้แม่มันมา” ข้อความนี้ใช้คําสันธานชนิดใด
(1) เชื่อมความขัดแย้งกัน เชื่อมความคล้อยตามกัน
(2) เชื่อมความคล้อยตามกัน เชื่อมความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง
(3) เชื่อมความเปรียบเทียบกัน เชื่อมความไม่สละสลวย
(4) เชื่อมความคาดคะเน, เชื่อมความที่เป็นเหตุเป็นผล
ตอบ 4 หน้า 156 – 157 (62204) 106 – 107 (H) ข้อความข้างต้นใช้คําสันธาน 2 ชนิด ได้แก่
1. คําสันธานที่เชื่อมความคาดคะเนหรือแบ่งรับแบ่งสู้ ได้แก่ ถ้า, หาก, ถ้าหากว่า, ถ้า….ก็ ถ้า…จึง, แม้…แต่ แม้ว่า, เว้นแต่, นอกจาก
2. คําสันธานที่เชื่อมความเป็นเหตุเป็นผลกัน ได้แก่ เพราะ, เพราะว่า ด้วย, ด้วยว่า เหตุว่า อาศัยที่, ค่าที่, เพราะฉะนั้น ดังนั้น จึง, เลย, เหตุฉะนี้
61. คําใดใช้คําลักษณนามเดียวกับคําว่า “ถนน”
(1) ลําธาร
(2) สะพาน
(3) เหล็ก
(4) ไม้กวาด
ตอบ 1 หน้า 160 – 165 (62204), 109 – 110 (H) คําลักษณนาม คือ คําที่ตามหลังคําบอกจํานวนนับ เพื่อบอกรูปลักษณะและชนิดคํานามที่อยู่ข้างหน้าคําบอกจํานวนนับ มักจะเป็นคําพยางค์เดียว แต่เป็นคําที่สร้างขึ้นมาใหม่โดยอาศัยการอุปมาเปรียบเทียบ การเลียนเสียงธรรมชาติ การเทียบ แนวเทียบ และการใช้คําซ้ำกับคํานามนั้นเอง (กรณีที่ไม่มีลักษณนามโดยเฉพาะ) ได้แก่
1. ถนน/ลําธาร (สาย)
2. สะพาน (สะพาน)
3. เหล็กเส้น (เส้น)
4. ไม้กวาด (อัน/กํา)
5. เตารีดไฟฟ้า (อ้น)
6. บัตรประชาชน (ฉบับ)
7. ตั๋วเงิน (ฉบับ/ใบ)
8. เกวียน (เล่ม)
9. กุนเชียง (ข้าง/คู่) ฯลฯ
62. ข้อใดคือคําลักษณนามของคําว่า “เตารีดไฟฟ้า”
(1) ตัว
(2) ใบ
(3) อัน
(4) ลูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ
63. ข้อใดใช้คําลักษณนามผิด
(1) บัตรประชาชน 1 ฉบับ
(2) ตั๋วเงิน 3 ฉบับ
(3) เกวียน 2 คัน
(4) กุนเชียง 1 ข้าง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ
64. คําอุทานในข้อใดแสดงอารมณ์ต่างจากข้ออื่น
(1) ชิชะมนุษย์นี้สามารถ องอาจจองถนนด้วยภูผา
(2) อนิจจาไม่รู้ว่ายังไรเลย พุทโธ่เอ๋ยเหมือนจะเป็นสะเป็นกัน
(3) เหวยเหวยท้าวยศวิมล นอนกรนอยู่ได้ไม่ขานรับ
(4) อุเหม่ตาเฒ่านี้เจ้าเล่ห์ เฉโกโว้เว้หนักหนา
ตอบ 2 หน้า 158 – 160 (62204), 109 (H) คําอุทาน คือ คําที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์ต่าง ๆ ซึ่งคําอุทานบางคําก็กําหนดไม่ได้ว่าคําไหนใช้แสดงอารมณ์อะไรแน่นอน แล้วแต่การออกเสียง และสถานการณ์ เช่น คําว่า “อุเหม่/เหม่เหม่/ดูดู๋/เหวยเหวย/ชิชะ/ฮึ” แสดงอารมณ์โกรธหรือ ไม่ชอบใจ, “โธ่ถัง/พุทโธ่เอ๋ย/โถ/อนิจจา” แสดงอารมณ์เสียใจหรือสงสาร เป็นต้น
65. “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว……………ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย ประธาน กรรมการมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน….”ข้อความนี้ควรใช้คําใดเติมในช่องว่าง
(1) โอกาส, เฝ้าทูลละอองพระบาท
(2) ประทานพระวโรกาส, เฝ้าทูลละอองพระบาท
(3) พระราชทานพระบรมราชวโรกาส, เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
(4) วโรกาส, เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
ตอบ 3 คําว่า “โอกาส” และ “วโรกาส” เป็นคําที่มีความหมายไปในทางเดียวกัน แต่คําว่า “วโรกาส” ใช้เฉพาะเมื่อขอโอกาสจากพระมหากษัตริย์ และถ้าพระมหากษัตริย์ให้โอกาสจะใช้ราชาศัพท์ว่า “พระราชทานพระบรมราชวโรกาส”, คําว่า “เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท” = เข้าพบ รับเสด็จฯ/ถวายการต้อนรับ ใช้กับพระมหากษัตริย์ และพระราชินี
66. “วันที่ 23 ตุลาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี……. ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต” ข้อความนี้ควรใช้คําใดเติมในช่องว่าง
(1) ทรงเสด็จออก
(2) เสด็จ
(3) เสด็จพระราชดําเนิน
(4) เสด็จออก
ตอบ 3 เสด็จพระราชดําเนิน (เสด็จฯ) = เดินทางไปโดยยานพาหนะ
67. “หนังสือเรื่องนิทานโบราณคดี เป็น……สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ”ข้อความนี้ควรใช้คําใดเติมในช่องว่าง
(1) พระบวรราชนิพนธ์
(2) นิพนธ์
(3) พระราชนิพนธ์
(4) พระนิพนธ์
ตอบ 4 ผลงานการประพันธ์ของพระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า จนถึงพระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า จะใช้ราชาศัพท์ว่า “พระนิพนธ์” (ส่วนคําว่า “พระราชนิพนธ์” ใช้กับผลงานประพันธ์ของ พระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระราชวงศ์ลําดับที่ 2, “นิพนธ์” ใช้กับผลงานประพันธ์ของพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า)
68. “ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย และคณะ……..หนังสือสารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน จํานวน 1 ชุด” ข้อความนี้ควรใช้คําใดเติมในช่องว่าง
(1) ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย
(2) น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย
(3) ทรงถวาย
(4) ถวาย
ตอบ 1 หน้า 176 (62204), 116 (H) ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ทูลเกล้าฯ ถวาย) = ถวายสิ่งของขนาดเล็ก (ของที่ยกได้) หรือถวายสิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่น ทูลเกล้าฯ ถวายเงิน, ทูลเกล้าฯ ถวาย หนังสือ ฯลฯ ส่วนน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย น้อมเกล้าฯ ถวาย) = ถวายสิ่งของขนาดใหญ่ (ของที่ยกขึ้นไม่ได้) หรือถวายสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดิน, น้อมเกล้าฯ ถวาย รถพยาบาล, น้อมเกล้าฯ ถวายพระพร ฯลฯ
69. “วันที่ 24 กันยายน เป็นวันมหิดล วันคล้ายวัน…..ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม
พระบรมราชชนก” ข้อความนี้ควรใช้คําใดเติมในช่องว่าง
(1) สิ้นชีพิตักษัย
(2) สวรรคต
(3) ทิวงคต
(4) สิ้นพระชนม์
ตอบ 2 คําว่า “ตาย” นั้น ในกรณีของสมเด็จพระบรมราชชนก เมื่อสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 จะต้อง ใช้ราชาศัพท์ว่า “สิ้นพระชนม์” แต่ในรัชกาลปัจจุบันได้โปรดให้สถาปนาพระอัฐิขึ้นเป็นสมเด็จ พระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ซึ่งทรงรับพระสัปตปฎลเศวตฉัตรแล้ว จึงให้เปลี่ยนมาใช้ราชาศัพท์ว่า “สวรรคต” แทน
70. “หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ……….ด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2538 ณ โรงพยาบาล
สมิติเวช” ข้อความนี้ควรใช้คําใดเติมในช่องว่าง
(1) พิราลัย
(2) ถึงแก่อสัญกรรม
(3) สิ้นชีพิตักษัย
(4) สิ้นพระชนม์
ตอบ 2 ถึงแก่อสัญกรรม = ตาย ใช้กับผู้ตายที่มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา หรือผู้ดํารงตําแหน่ง ประธานองคมนตรี องคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานสภา ฯลฯ (หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ดํารงตําแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 13 ของประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2518)
ข้อ 71 – 80. อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม โดยให้สัมพันธ์กับข้อความที่ให้อ่าน
ข้าวกล้อง คือ ข้าวที่ผ่านการกะเทาะเอาเปลือกออกด้วยการขัดสีเพียงครั้งเดียว จึงมีสีขาวขุ่น และยังคงมีจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว (รํา) อยู่ ซึ่งเป็นส่วนที่มีคุณค่าอาหาร เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
สารอาหารที่มีอยู่ในข้าวกล้อง ได้แก่ เกลือแร่ วิตามิน และยังให้พลังงานมากกว่าข้าวขาวที่ ขัดสีแล้ว แต่ผู้บริโภค โดยเฉพาะวัยรุ่น…วัยจ๊าบ มักไม่ชื่นชอบในการเปิบสักเท่าไหร่ เนื่องจากสีสันและ รสชาติที่ไม่คุ้นลิ้น….
นายประสิทธ์ ไชยประเสริฐ หรือกล้อง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้สร้างไอเดีย “ข้าวกล้องกรอบ ปรุงรส” ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวแปรรูปใหม่จากข้าวกล้องมีรสชาติดี ทั้งยังมีสรรพคุณป้องกันโรคอีกด้วย นอกจากที่มีคุณค่าทางโภชนาการแล้ว ราคายังถูกกว่าข้าวขาว
หนุ่มกล้อง เล่าว่า ข้าวกล้องกรอบปรุงรส คือ การนําเอาข้าวกล้องที่เหลือจากการรับประทาน มาแปรรูปใหม่ ดีกว่าการนําไปทิ้งโดยไม่มีประโยชน์ ซึ่งข้าวกล้องช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ป้องกัน มะเร็งลําไส้ นอกจากนี้การบริโภคข้าวกล้องจะทําให้รู้สึกอิ่มเร็วและอิ่มนาน เพราะมีใยอาหารมากกว่าข้าวขาว และได้รับประโยชน์เพิ่มมากขึ้น จึงมีการเพิ่มเมล็ดธัญพืชลงไปด้วย เช่น งาขาว, งาดํา, เมล็ดฟักทอง และเมล็ดทานตะวัน
สําหรับส่วนผสมสําหรับข้าวกล้องกรอบปรุงรส ข้าวกล้อง 60 กรัม น้ําปลา 5 กรัม น้ำตาลปี๊บ 30 กรัม น้ำมะขามเปียก 20 กรัม พริกป่น 2.5 กรัม แบะแซ 30 กรัม งาดํา งาขาว เมล็ดทานตะวันและ เมล็ดฟักทอง 15 กรัม
นายประสิทธ์ เล่าต่อว่า วิธีทําเริ่มจากนําข้าวกล้องที่เหลือไปอบตู้ลมร้อนในอุณหภูมิ 60 องศา เซลเซียส ประมาณ 1 ชั่วโมง จนแห้งสนิท หรือหากไม่มีตู้อบ ใช้วิธีการโบราณดั้งเดิม คือ ตากแดด 3 – 4 วัน จากนั้นนําข้าวกล้องที่ได้ นําไปทอดในน้ำมันที่ร้อนเต็มที่ กระทั่งมีสีเหลืองจึงตักขึ้น ก่อนนําน้ําปลา น้ําตาลปี๊บ น้ํามะขามเปียก พริกป่น และแบะแซ ผสมรวมกันเทลงในกระทะ เคี่ยวไฟปานกลางจนน้ําปรุง เป็นยางมะตูม ลดไฟลงแล้วผสมข้าวกล้องและธัญพืชรวมกัน
ก่อนจะนําไปคลุกกับน้ำปรุงรสที่เคี่ยวจนเข้ากัน ตั้งไว้จนอุ่น นํามาขึ้นรูปเป็นก้อนกลมในปริมาณ
ก้อนละ 5 กรัม พักไว้ให้เย็นเท่านี้ก็นํามาเปิบได้แล้ว….
ข้าวกล้องกรอบปรุงรส เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจที่สามารถทํารับประทานภายในครอบครัว หรือแม่บ้านคนไหนสนใจทําขายได้ก็ไม่จน กลิ้งกว้างได้ที่ 080-758-5165 ซึ่งหนุ่มกล้อง เจ้าของไอเดีย
บอกอีกว่า…ไม่คิดค่าลิขสิทธิ์แต่อย่างใด…!!!
71. ข้อความที่ให้อ่านจัดเป็นวรรณกรรมประเภทใด
(1) ข่าว
(2) บทความ
(3) เรียงความ
(4) บทวิเคราะห์
ตอบ 2 (คําบรรยาย) บทความ คือ งานเขียนที่มีการนําเสนอข้อมูลที่ได้มาจากเอกสารทางวิชาการ หรือผลงานการวิจัย ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็นเพื่อให้ข้อมูลหรือความรู้ และมีการสรุป ให้เห็นความสําคัญของเรื่อง พร้อมทั้งเสนอข้อคิดให้ผู้อ่านนําไปพิจารณา
72. โวหารการเขียนเป็นแบบใด
(1) บรรยาย
(2) อธิบาย
(3) อภิปราย
(4) พรรณนา
ตอบ 2 หน้า 72 (54351), (คําบรรยาย) โวหารเชิงอธิบาย คือ โวหารที่ใช้ในการชี้แจงเพื่อให้ผู้อ่าน เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง ซึ่งเป็นการให้ความรู้หรือข้อมูลแต่เพียงด้านเดียว อาจจะเป็นด้านบวกหรือด้านลบก็ได้ โดยมีการชี้แจงแสดงเหตุและผล การยกตัวอย่างประกอบการเปรียบเทียบ และการจําแนกแจกแจง เช่น การอธิบายความหมายของคํา กฎเกณฑ์ ทฤษฎี และวิธีการต่าง
73, จุดประสงค์ของผู้เขียนคืออะไร
(1) โฆษณา
(2) สื่อความรู้
(3) ส่งเสริมรายได้
(4) ประชาสัมพันธ์
ตอบ 3 ผู้เขียนมีจุดประสงค์ในการนําเสนอ คือ เพื่อส่งเสริมรายได้ให้กับแม่บ้านหรือผู้ที่สนใจนําสูตร
ข้าวกล้องปรุงรสไปทําขายได้
74. จุดเด่นของข้าวกล้องปรุงรสคืออะไร
(1) พบทางรวยได้ง่าย ๆ
(2) เพิ่มรายได้จากของเหลือ
(3) ต้นกล้าอาชีพมีมากมาย
(4) หลากหลายความคิดพิชิตความจน
ตอบ 2 จุดเด่นของข้าวกล้องปรุงรส คือ การนําเอาข้าวกล้องที่เหลือจากการรับประทานมาแปรรูป
เสียใหม่ เพื่อเพิ่มรายได้จากของเหลือ
75. ท่วงทํานองเขียนเป็นแบบใด
(1) ภาษาเขียนที่เรียบง่าย
(2) ภาษาเขียนที่กระชับรัดกุม
(3) มีทั้งภาษาเขียน ภาษาพูด และภาษาปาก
(4) เป็นภาษาแบบแผนที่สละสลวย เข้าใจง่าย
ตอบ 3 หน้า 58 (54351) ผู้เขียนใช้ท่วงทํานองเขียนแบบเรียบง่าย คือ ท่วงทํานองเขียนที่ใช้คําง่าย ๆ ชัดเจน การผูกประโยคไม่ซับซ้อน ทําให้อ่านง่ายและเข้าใจได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาในการ ขบคิดมากนัก แต่จะมีทั้งการใช้ภาษาเขียน ภาษาพูด และภาษาปากปะปนกัน
76. ข้อใดเรียงลําดับถูกต้องเมื่อกล่าวถึงรสชาติของข้าวกล้องปรุงรสจากมากไปน้อย
(1) เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด
(2) กรอบ เผ็ด เปรี้ยว เค็ม หวาน
(3) มัน หวาน เปรี้ยว เค็ม เผ็ด
(4) หวาน เค็ม เผ็ด เปรี้ยว มัน
ตอบ 3 จากข้อความ…. สําหรับส่วนผสมสําหรับข้าวกล้องกรอบปรุงรส ข้าวกล้อง 60 กรัม น้ําปลา 5 กรัม น้ำตาลปี๊บ 30 กรัม น้ํามะขามเปียก 20 กรัม พริกป่น 2.5 กรัม แบะแซ 30 กรัม งาดํา งาขาว เมล็ดทานตะวันและเมล็ดฟักทอง 15 กรัม
77. เหตุใดวัยรุ่นจึงไม่ใคร่ชอบข้าวกล้อง
(1) เลี่ยนเกินไป
(2) มีกากใยอาหารมาก
(3) ขาดรสชาติและสีสัน
(4) หาซื้อได้ยากกว่าข้าวขาว
ตอบ 3 จากข้อความ… สารอาหารที่มีอยู่ในข้าวกล้อง ได้แก่ เกลือแร่ วิตามิน และยังให้พลังงานมากกว่า ข้าวขาวที่ขัดสีแล้ว แต่ผู้บริโภค โดยเฉพาะวัยรุ่น….วัยจ๊าบ มักไม่ชื่นชอบในการเป็นสักเท่าไหร่ เนื่องจากสีสันและรสชาติที่ไม่คุ้นลิ้น….
78. แนวคิดหลักของข้อความดังกล่าวคืออะไร
(1) ของดีมีคุณค่าอยู่ใกล้ตัวเรา
(2) เครื่องปรุงไทยทําได้ทั้งอาหารและขนม
(3) ประโยชน์ทางการแพทย์ที่คาดไม่ถึง
(4) คุณค่าทางโภชนาการและรายได้จากของที่ถูกมองข้าม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แนวคิดหลัก (Theme) คือ สารัตถะ แก่นเรื่อง หรือสาระสําคัญของเรื่องที่ผู้เขียน มุ่งจะสื่อถึงผู้อ่าน เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับชื่อเรื่อง โดยจะมีใจความครอบคลุมรายละเอียด ทั้งหมดและมีลักษณะเป็นนามธรรม ซึ่งแนวคิดหลักหรือสารัตถะสําคัญของเรื่องนี้ ได้แก่ คุณค่า ทางโภชนาการและรายได้จากของที่ถูกมองข้าม
79. สิ่งใดที่สามารถใช้สิ่งอื่นทดแทนกันได้
(1) สัดส่วน
(2) วิธีการ
(3) เครื่องปรุง
(4) ส่วนผสม
ตอบ 2 จากข้อความ… นายประสิทธ์ เล่าต่อว่า วิธีทําเริ่มจากนําข้าวกล้องที่เหลือไปอบตู้ลมร้อนใน อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ประมาณ 1 ชั่วโมง จนแห้งสนิท หรือหากไม่มีตู้อบ ใช้วิธีการโบราณดั้งเดิม คือ ตากแดด 3 – 4 วัน…
80. ข้อใดเรียงลําดับประเภทของคําต่อไปนี้อย่างถูกต้อง กรี๊งกร๊าง แบะแซ สารอาหาร
(1) คําร่วมสมัย คําโบราณ คําล้ำสมัย
(2) ภาษาพูด ภาษาปาก ภาษาเขียน
(3) ภาษาปาก คําทับศัพท์ ศัพท์บัญญัติ
(4) ภาษาถึงแบบแผน ภาษาไม่เป็นแบบแผน ภาษาแบบแผน
ตอบ 3 หน้า 8 – 9 (54351), 123 – 125 (H) จากโจทย์สามารถเรียงลําดับคําที่ถูกต้อง ดังนี้
1. ภาษาปากหรือคําตลาด คือ คําที่ใช้พูดกันทั่วไป เช่น กรี๊งกร๊าง
2. คําทับศัพท์ คือ คําภาษาต่างประเทศที่นํามาใช้ในภาษาไทย โดยมีการถ่ายเสียงให้ใกล้เคียง ภาษาเดิมมากที่สุด เช่น แบะแซ (มาจากภาษาจีน)
3. คําศัพท์บัญญัติ หรือคําเฉพาะวิชา คือ คําศัพท์ที่ราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติขึ้นมาจาก ภาษาต่างประเทศ เพื่อกําหนดใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนเอกสารของทางราชการและ การเรียนการสอนสาขาวิชาแขนงหนึ่งแขนงใดโดยเฉพาะ เช่น สารอาหาร (Nutrient)
81. ข้อใดเป็นสํานวนทั้งหมด
(1) สองหน้า, ลมเพลมพัด, น้ำลดตอผุด
(2) ร้อนอาสน์, ล้มมวย, หนอนหนังสือ
(3) ผีพลอย, นายว่าขี้ข้าพลอย, ทํานาบนหลังคน
(4) เฒ่าหัวงู, งมเข็มในมหาสมุทร, รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ
ตอบ 2 หน้า 119 – 121 (H) ข้อแตกต่างของสํานวน คําพังเพย และสุภาษิต มีดังนี้
1. สํานวน หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นอย่างกะทัดรัด ใช้คําน้อยแต่กินความหมายมาก และเป็นความหมายโดยนัยหรือโดยเปรียบเทียบ เช่น ร้อนอาสน์ (มีเรื่องเดือดร้อน ทําให้อยู่เฉย ไม่ได้), ล้มมวย (สมยอม หรือทําให้สมยอมกันในทางที่ไม่สุจริต), หนอนหนังสือ (คนที่ชอบ หมกมุ่นอยู่กับการอ่านหนังสือ), สองหน้า (ทําตัวให้ทั้ง 2 ฝ่าย ต่างเข้าใจผิดกัน โดยมุ่งหวัง ประโยชน์เพื่อตน), ลมเพลมพัด (อาการที่เจ็บป่วยโดยไม่รู้สาเหตุ มักเข้าใจกันว่าถูกกระทํา), เฒ่าหัวงู (คนแก่เจ้าเล่ห์) เป็นต้น
2. คําพังเพย หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อตีความ สรุปเหตุการณ์ สภาวการณ์ บุคลิก และอารมณ์ให้เข้ากับเรื่อง มีความหมายกลาง ๆ ไม่เน้นการสั่งสอน แต่แฝงคติเตือนใจให้ นําไปปฏิบัติหรือไม่ให้นําไปปฏิบัติ เช่น น้ําลดตอผุด (เมื่อหมดอํานาจ ความชั่วที่ได้ทําเอาไว้ ก็ปรากฏ), งมเข็มในมหาสมุทร (ค้นหาสิ่งที่ยากจะค้นหาได้), ผีซ้ําพลอย (ถูกซ้ำเติมเมื่อ พลาดพลั้ง), นายว่าขี้ข้าพลอย (พลอยพูดผสมโรง ติเตียนผู้อื่นตามนายไปด้วย), ทํานาบน หลังคน (หาผลประโยชน์ใส่ตนโดยขูดรีดผู้อื่น) เป็นต้น
3. สุภาษิต หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อสั่งสอนโดยตรง ซึ่งอาจเป็นคติ ข้อติติง คําจูงใจ หรือคําห้าม และเนื้อความที่สั่งสอนก็เป็นความจริง เป็นความดีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เช่น รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ (รักจะอยู่ด้วยกันนาน ๆ ให้ตัดความโกรธอาฆาตพยาบาทออกไป แต่ถ้ารักจะอยู่กันสั้น ๆ ก็ต่อความโกรธไว้) เป็นต้น
82. ข้อใดเป็นคําพังเพยทั้งหมด
(1) สองหน้า, ลมเพลมพัด, น้ําลดตอผุด
(2) ผีพลอย, นายว่าขี้ข้าพลอย, ทํานาบนหลังคน
(3) เฒ่าหัวงู, งมเข็มในมหาสมุทร, รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ
(4) ร้อนอาสน์, ล้มมวย, หนอนหนังสือ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 81. ประกอบ
83. ข้อใดเรียงลําดับถูกต้องตั้งแต่สํานวน คําพังเพย และสุภาษิต
(1) ผีพลอย, นายว่าขี้ข้าพลอย, ทํานาบนหลังคน
(2) เฒ่าหัวงู, งมเข็มในมหาสมุทร, รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ
(3) ร้อนอาสน์, ล้มมวย, หนอนหนังสือ
(4) สองหน้า, ลมเพลมพัด, น้ำลดตอผุด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 81. ประกอบ
84. “คว่ำบาตร” ตรงกับข้อใด
(1) สะดวก ไม่ยุ่งยาก
(2) ดีแต่พูดแต่ทําไม่ได้
(3) ล้มคว่ำลงอย่างไม่เป็นท่า
(4) ไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วย
ตอบ 4 คว่ำบาตร – ไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วย
85. ข้อใดมีความหมายไม่ตรงกับสํานวนว่า “สองสลึงเฟื่อง”
(1) ไม่รอบคอบ
(2) บ้าๆ บอ ๆ
(3) ไม่เต็มบาท
(4) ไม่เต็มเต็ง
ตอบ 1 สองสลึงเฟือง – บ้า ๆ บอ ๆ ไม่เต็มบาท ไม่เต็มเต็ง, มีสติไม่สมบูรณ์
86. “ขึ้นกบนปลายไม้” มีความหมายตรงกับข้อใด
(1) ชี้แนะแนวทางในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
(2) ลงทุนมาก ได้ผลประโยชน์เล็กน้อย
(3) หวังในสิ่งที่อยู่ไกลตัว
(4) ลงทุนไปได้ผลประโยชน์ไม่คุ้มทุน
ตอบ 3 ชิ้นกบนปลายไม้ = หวังในสิ่งที่อยู่ไกลตัว
87. ข้อใดมีคําที่สะกดผิดปรากฏอยู่ด้วย
(1) แบงก์ ผัดผ่อน โลกาภิวัตน์
(2) ผาสุก โน้ตดนตรี ผุดลุกผุดนั่ง
(3) รื่นรมย์ อานิสงส์ เบญจเพส
(4) หงส์ เลือกสรร ตระเวน
ตอบ 2 คําที่สะกดผิด ได้แก่ โน๊ตดนตรี ซึ่งที่ถูกต้องคือ โน้ตดนตรี
88. ข้อใดสะกดถูกทุกคํา
(1) บังสุกุล กะทันหัน เลือดกบปาก
(2) ผลัดเวร กระเพรา มาตรการ
(3) กระทัดรัด บิณฑบาต เครื่องรางของขลัง
(4) กะทะ วิ่งผลัด อนุสาวรีย์
ตอบ 1 คําที่สะกดผิด ได้แก่ กระเพรา กระทัดรัด กะทะ
ซึ่งที่ถูกต้องคือ กะเพรา กะทัดรัด กระทะ
89. ข้อใดมีคําที่สะกดถูกสลับกับคําที่สะกดผิด
(1) คลินิก ปิกนิก เหล็กใน ศุลกากร
(2) เหล็กไหล กาบเรือ เผ่าพันธุ์ สวดมนตร์
(3) แบงค์ แท็กซี่ หมูหย็อง ช็อกโกแลต
(4) กงสุล โควตา กระจิริด ผลัดเปลี่ยน
ตอบ 2 คําที่สะกดผิด ได้แก่ กาบเรือ สวดมนตร์ แบงค์
ซึ่งที่ถูกต้องคือ กราบเรือ สวดมนต์ แบงก์
90. ข้อใดมีคําที่สะกดถูกขนาบคําที่สะกดผิด
(1) อิสรภาพ สี่เหลี่ยมจตุรัส ไอศกรีม
(2) เสื้อเชิ้ต อนุญาต รสชาติ
(3) จัดสรร สัมมนา บานเกล็ด
(4) ทะเลสาบ ไม่ไยดี ไม้ผลัดใบ
ตอบ 1 คําที่สะกดผิด ได้แก่ สี่เหลี่ยมจตุรัส ซึ่งที่ถูกต้องคือ สี่เหลี่ยมจัตุรัส
91. ข้อใดสะกดผิดทุกคํา
(1) ขนมคุกกี้ หลุดลุ่ย คลาคล่ำ
(2) มาตรฐาน หลงใหล อนุสาวรีย์ชัย
(3) ก้าวร้าว ขนมเค้ก เลิกรา
(4) อินทผาลัม มุขตลก ถนนราดยาง
ตอบ 4 คําที่สะกดผิด ได้แก่ อินทผาลัม มุขตลก ถนนราดยาง
ซึ่งที่ถูกต้องคือ อินทผลัม มุกตลก ถนนลาดยาง
92.“มัวแต่……..เลยไม่ได้ไปเที่ยวต่างประเทศในฤดู……เลย” ควรเติมคำใดลงในช่องว่าง
(1) ผลัดวันประกันพรุ่ง ใบไม้ผัดใบ
(2) ผัดวันประกันพรุ่ง ใบไม้ผลัดใบ
(3) ผลัดวันประกันพรุ่ง ใบไม้ผลัดใบ
(4) ผัดวันประกันพรุ่ง ใบไม้ผัดใบ
ตอบ 2 คําว่า “ผัดวันประกันพรุ่ง” – ขอเลื่อนเวลาออกไปครั้งแล้วครั้งเล่า “ผลัด” = เปลี่ยนแทนที่ เช่น ใบไม้ผลัดใบ ผลัดขน ผลัดเสื้อผ้า ผลัดเวร (ส่วนคําว่า “ผลัดวันประกันพรุ่ง/ใบไม้ผัดใบ เป็นคําที่เขียนผิด)
93. “วันนี้ฝนตก…….ข้าว……คงสดชื่นขึ้นมาได้” ควรเติมคําใดลงในช่องว่าง
(1) บ่อย ๆ นาปรัง
(2) บ่อย ๆ นาปลัง
(3) ปรอย ๆ นาปรัง
(4) ปรอย ๆ นาปลัง
ตอบ 3 คําว่า “ปรอย ๆ” = ที่ตกเป็นระยะ ๆ ไม่หนาเม็ด (ใช้กับฝน) เช่น ฝนตกปรอย ๆ, “นาปรัง” – นาที่ทําในฤดูแล้งนอกฤดูทํานา (ส่วนคําว่า “บ่อย ๆ / นาปลัง” เป็นคําที่เขียนผิด)
94.“แกง……..ไม่ต้องใส่ถั่ว……ลงไป” ควรเติมคําใดลงในช่องว่าง
(1) คั่ว คั่ว
(2) ขั้ว ขั้ว
(3) ขั้ว คั่ว
(4) คั่ว ขั้ว
ตอบ 1 คําว่า “คั่ว” = เรียกแกงกะทิชนิดหนึ่งคล้ายแกงเผ็ด แต่มีรสออกเปรี้ยวว่า แกงคั่ว, เอาสิ่งของใส่กระเบื้องหรือกระทะตั้งไฟให้ร้อนแล้วคนไปจนสุกหรือเกรียม เช่น คั่วถั่ว คั่วงา (ส่วนคําว่า
“ขั้ว” – ส่วนที่ต่อของก้านดอกไม้ ใบไม้ ผลไม้ และอื่น ๆ)
95.“สวัสดี……..เข้ามานั่งข้างในก่อน…………….” ควรเติมคำใดลงในช่องว่าง
(1) ค่ะ น่ะค่ะ
(2) ค่ะ นะคะ
(3) ค่ะ นะค่ะ
(4) คะ นะคะ
ตอบ 2 คําว่า “ค่ะ” = คําลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ในการบอกให้ทราบอย่างสุภาพ เช่น สวัสดีค่ะ ไปค่ะ, “คะ” – คําลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ต่อจากคําว่า “ซินะ” เพื่อแสดงความสุภาพ เช่น เชิญซิคะ เข้ามานั่งข้างในก่อนนะคะ (ส่วนคําว่า “น่ะค่ะ/นะค่ะ” เป็นคําที่เขียนผิด)
96. “ผู้ชุมนุมเข้าไป………การทํางานของเจ้าหน้าที่ แม้เจ้าหน้าที่จะ……………อย่างไรก็ไม่ได้ผล” ควรเติมคําใดลงในช่องว่าง
(1) ขัดขืน กัน
(2) กีดกัน กั้น
(3) ขัดขวาง กั้น
(4) กีดขวาง กัน
ตอบ 3 คําว่า “ขัดขวาง” = ทําให้ไม่สะดวก ทําให้ติดขัด, “กั้น” – กีดขวางหรือทําสิ่งกีดขวางเพื่อบัง คั่น หรือกันไว้ไม่ให้เข้ามา (ส่วนคําว่า “ขัดขืน” = ไม่ประพฤติตาม ไม่ทําตาม, “กัน” = กีดขวาง ไว้ไม่ให้เข้ามาหรือออกไป หรือไม่ให้เกิดมีขึ้น “กีดกัน” = กันไม่ให้ทําได้โดยสะดวก, “กีดขวาง” – ขวางกั้นไว้ ขวางเกะกะ)
97. “แถวนี้มีคนอยู่……..จึงต้องใส่กุญแจให้…….” ควรเติมคําใดลงในช่องว่าง
(1) แน่นหนา หนาแน่น
(2) แน่นหนา แน่นหนา
(3) หนาแน่น แน่นหนา
(4) หนาแน่น หนาแน่น
ตอบ 3 คําว่า “หนาแน่น” = คับคั่ง แออัด, “แน่นหนา” – มั่นคง แข็งแรง
98. “พอลูกแมว………ออกมาจากกล่อง กระต่ายก็………เข้าไปในโพรงใต้ดิน” ควรเติมคําใดลงในช่องว่าง
(1) ผุด ผุด
(2) ผุด ผลุบ
(3) ผลุบ ผลุด
(4) ผลุด ผลุบ
ตอบ 2 คําว่า “ผุด” คําว่า “ผุด” = ขึ้นมาให้ปรากฏ เช่น ปลาผุด ผุดลุกผุดนั่ง, “ผลุบ” = ที่ดําลง มุดลง หรือลับหาย เข้าไปโดยรวดเร็วทันที เช่น นกผลุบเข้ารัง หนูผลุบเข้าไปในรู (ส่วนคําว่า “ผลุด” = หลุดเข้าหรือ ออกโดยเร็ว มุดเข้าหรือออกโดยเร็ว, “ผับ” เป็นคําที่เขียนผิด)
99.“คนหลัง……..ปลูกเรือน………ตอ” ควรเติมคําใดลงในช่องว่าง
(1) คร่อม ค่อม
(2) ค่อม คอม
(3) ค่อม คร่อม
(4) คร่อม คร่อม
ตอบ 3 คําว่า “ค่อม” = เรียกหลังที่งอมากว่า หลังค่อม, “คร่อม” = ยงโย่ให้ของอยู่ใต้ตัว เช่น เอาตัว คร่อมไว้ นอนคร่อม หรือเอาสิ่งของ เช่น โต๊ะ/เก้าอี้ ตั้งในอาการเช่นนั้น เช่น วางโต๊ะคร่อมกองหนังสือ โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลูกเรือนคร่อมตอ เป็นต้น
100. “เจ้าหน้าที่คุมสอบทําการเปิดระบบการสอบ” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
(1) ใช้สํานวนต่างประเทศ
(2) ใช้คําฟุ่มเฟือย
(3) วางส่วนขยายผิดที่
(4) ใช้คําขยายไม่ถูกต้อง
ตอบ 2 หน้า 18 – 19, 39 (54351) การใช้คําฟุ่มเฟือยหรือการใช้คําที่ไม่จําเป็นจะทําให้คําโดยรวม ไม่มีน้ำหนักและข้อความขาดความหนักแน่น ไม่กระชับรัดกุม เพราะเป็นคําที่ไม่มีความหมายอะไร แม้จะตัดออกไปก็ไม่ได้ทําให้ความหมายของข้อความนั้นเปลี่ยนแปลงไป แต่กลับทําให้ดูรุงรังยิ่งขึ้น เช่น เจ้าหน้าที่คุมสอบทําการเปิดระบบการสอบ (ใช้คําฟุ่มเฟือย) จึงควรแก้ไขเป็น เจ้าหน้าที่คุมสอบเปิดระบบการสอบ
101. “เรื่องนี้ถูกขอให้บรรยายในที่ประชุม” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
(1) ใช้คําฟุ่มเฟือย
(2) ใช้คําผิดความหมาย
(3) วางส่วนขยายผิดที่
(4) ใช้สํานวนต่างประเทศ
ตอบ 4 หน้า 126 (62204), 38 (54351) การใช้คําตามแบบภาษาไทย หมายถึง การทําให้ข้อความที่ผูกขึ้นมีลักษณะเป็นภาษาไทย ไม่เลียนแบบภาษาต่างประเทศ ซึ่งจะทําให้ข้อความกะทัดรัด เข้าใจง่าย และไม่เคอะเขิน เช่น เรื่องนี้ถูกขอให้บรรยายในที่ประชุม (ใช้สํานวนต่างประเทศ) ดังนั้นจึงควรแก้ไขเป็น เรื่องนี้ได้ขอให้บรรยายในที่ประชุม (คําว่า “ถูก” ในภาษาไทยมักใช้ใน ความหมายที่ไม่น่ายินดี เช่น เขาถูกลูกน้องทําร้าย น้องถูกหมากัด เธอถูกไล่ออก ฯลฯ)
102. “อาจารย์บรรยายให้นักศึกษาฟังเรื่องการใช้สํานวน” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
(1) วางส่วนขยายผิดที่
(2) ใช้คํากํากวม
(3) ใช้สํานวนต่างประเทศ
(4) ใช้คําฟุ่มเฟือย
ตอบ 1 หน้า 37 (54351) การเรียงลําดับประโยคให้ถูกที่ หมายถึง การวางประธาน กริยา กรรม และส่วนขยายให้ตรงตามตําแหน่ง เพราะถ้าหากวางไม่ถูกที่ก็จะทําให้ข้อความนั้นไม่ชัดเจนหรือมีความหมายไม่ตรงตามต้องการ เช่น อาจารย์บรรยายให้นักศึกษาฟังเรื่องการใช้สํานวน (วางส่วนขยายผิดที่ หรือใช้คําขยายไม่ถูกต้อง) จึงควรแก้ไขโดยวางส่วนขยายให้ถูกต้องเป็น อาจารย์บรรยายเรื่องการใช้สํานวนให้นักศึกษาฟัง
103. “ฉันไม่รู้จะตอบแทนเขาอย่างไรดี” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
(1) ใช้คําผิดความหมาย
(2) ใช้คํากํากวม
(3) ใช้สํานวนต่างประเทศ
(4) วางส่วนขยายผิดที่
ตอบ 2 หน้า 11 (54351) การใช้คําที่มีความหมายหลายอย่างจะต้องคํานึงถึงถ้อยคําแวดล้อมด้วย เพื่อให้เกิดความแจ่มชัด ไม่กํากวม เนื่องจากคําชนิดนี้ต้องอาศัยถ้อยคําซึ่งแวดล้อมอยู่เป็น เครื่องช่วยกําหนดความหมาย เช่น ฉันไม่รู้จะตอบแทนเขาอย่างไรดี (ใช้คํากํากวม) จึงควรแก้ไขให้มีความหมายที่แน่ชัดลงไปเป็น ฉันไม่รู้จะตอบคําถามแทนเขาอย่างไรดี ฉันไม่รู้จะ ตอบแทนพระคุณเขาอย่างไรดี
104. “ห้องสอบที่เต็มไปด้วยนักศึกษา” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
(1) ใช้คํากํากวม
(2) วางส่วนขยายผิดที่
(3) ใช้คําฟุ่มเฟือย
(4) ใช้สํานวนต่างประเทศ
ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 101. ประกอบ) ประโยคที่ว่า “ห้องสอบที่เต็มไปด้วยนักศึกษา” (ใช้สํานวน ต่างประเทศ) จึงควรแก้ไขให้มีลักษณะเป็นภาษาไทยได้ว่า นักศึกษาอยู่เต็มห้องสอบ
105. ประโยคใดใช้ภาษาเขียน
(1) บอกให้เขามาเร็ว ๆ
(2) เมื่อไรเขาจะมา
(3) เขามาเมื่อไหร่
(4) ยังไงเขาก็ไม่มา
ตอบ 2 หน้า 6 – 7 (54351), (คําบรรยาย) ระดับของคําในภาษาไทยมีศักดิ์ต่างกัน เวลานําไปใช้ก็ใช้ ในที่ต่างกัน ดังนั้นจึงต้องพิจารณาใช้คําให้เหมาะสม กล่าวคือ
1. คําที่ใช้ในโอกาสที่เป็นทางการ ได้แก่ คําที่ใช้ในภาษาแบบแผน หรือใช้ในภาษาเขียนของทางราชการ เช่น เมื่อใด เหตุใด เมื่อไร อย่างไร เท่าไร ฯลฯ
2. คําที่ใช้ในโอกาสที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่ คําที่ใช้ในภาษาพูด หรือการเขียนจดหมายส่วนตัว ถึงบุคคลที่สนิทสนมกัน เช่น เมื่อไหร่ ยังไง เท่าไหร่ ฯลฯ ซึ่งในบางครั้งก็มักจะใช้คําซ้ำ เช่น บอกให้เขามาเร็ว ๆ ฯลฯ หรือตัดคําให้สั้นลง เช่น มหาลัย คณะวิศวะ คณะมนุษย์ ฯลฯ
106. ข้อใดใช้ภาษาไม่เป็นทางการ
(1) เขาเดินทางมายังไง
(2) เขาจ่ายเงินไปเท่าไร
(3) เหตุใดเขาจึงไม่ไป
(4) ทําอย่างไรถ้าเขาไม่มา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 105. ประกอบ
107. “แอ๊บแบ๊ว” เป็นคําประเภทใด
(1) ภาษาสแลง
(2) ภาษาปาก
(3) ภาษาต่างประเทศ
(4) ภาษาเฉพาะกลุ่ม
ตอบ 1 หน้า 8 – 9 (54351), (คําบรรยาย) ภาษาสแลง มักเป็นคําที่ใช้กันในหมู่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ความหมายของคําจะไม่ชัดเจนและไม่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป จึงมักได้รับความนิยมเป็นครั้งคราว แล้วก็เลิกใช้กันไป ดังนั้นภาษาสแลงจึงเป็นคําที่เกิดง่ายตายเร็ว และเป็นคําที่ไม่สุภาพมากนัก ไม่ควรนํามาใช้ในการพูดและเขียนอย่างเป็นทางการเด็ดขาด เช่น แอ๊บแบ๊ว จุงเบย บ่องตง ฟิน เกรียน เงิบ ฯลฯ
ข้อ 108. – 110. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม
(1) ใช้คําขัดแย้งกัน
(2) ใช้คําต่างศักดิ์
(3) ใช้คําไม่เป็นเหตุเป็นผล
(4) ใช้สํานวนต่างประเทศ
108. “ฝนค่อย ๆ ตกลงมาอย่างหนัก” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
ตอบ 1 หน้า 41 (54351) การใช้คําขัดแย้งกัน หมายถึง การใช้คําที่ทําให้เนื้อความขัดกัน หรือใช้คํา ที่มีความหมายตรงกันข้าม เช่น ฝนค่อย ๆ ตกลงมาอย่างหนัก (ใช้คําขัดแย้งกัน) ดังนั้นจึงควรแก้ไขเป็น ฝนค่อย ๆ ตกลงมาอย่างช้า ๆ (คําว่า “ค่อย ๆ” = ไม่รีบร้อน ไม่ไว ช้า ๆ ส่วนคําว่า “หนัก” – แรง เช่น ฝนตกหนัก)
109. “เธอสอบเข้าเรียนที่นี่ได้เพราะบ้านเธอรวย” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
ตอบ 3 หน้า 40 (54351) การจํากัดความให้มีความเกี่ยวข้องกัน คือ การใช้ประโยคหรือข้อความ ซ้อนกันต้องระมัดระวังเรื่องใจความที่เกี่ยวข้องหรือเป็นเหตุเป็นผล ไม่ควรให้กระจัดกระจาย ไปเป็นคนละเรื่อง ถ้าหากใจความใดไม่สัมพันธ์กัน ก็ควรแยกออกเป็นคนละข้อความเสียเลย มิฉะนั้นจะทําให้ข้อความขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น เธอสอบเข้าเรียนที่นี่ได้เพราะ บ้านเธอรวย (ข้อความไม่เกี่ยวข้อง หรือใช้คําไม่เป็นเหตุเป็นผลกัน) จึงควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็น เธอสอบเข้าเรียนที่นี่ได้เพราะเธอขยันอ่านหนังสือ
110. “บิดามารดาของฉันมีอาชีพรับราชการ” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
ตอบ 2 หน้า 6 (54351) คําในภาษาไทยมีระดับไม่เท่ากัน หรือเรียกว่า มีศักดิ์ต่างกัน ซึ่งหมายถึง มีการแบ่งคําออกไปใช้ในที่สูงต่ําต่างกันตามความเหมาะสม เช่น บิดามารดาของฉันมีอาชีพ รับราชการ (ใช้คำต่างศักดิ์กัน) จึงควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็น พ่อแม่ของฉันมีอาชีพรับราชการ/ บิดามารดาของข้าพเจ้ามีอาชีพรับราชการ
111. การทําให้ประโยครัดกุม ควรใช้วิธีการเขียนแบบใด
(1) รวบความ
(2) ขยายความ
(3) ทําให้ประโยคมีน้ำหนัก
(4) จับประเด็นใจความสําคัญ
ตอบ 1 หน้า 39 – 40, 47 (54351) การผูกประโยคให้กระชับรัดกุมมีสิ่งที่จะต้องพิจารณา คือ
1. การรวบความให้กระชับ
2. การลําดับความให้รัดกุม
3. การจํากัดความ
112. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับล่าสุดเป็นปี พ.ศ. ใด
(1) พ.ศ. 2525
(2) พ.ศ. 2542
(3) พ.ศ. 2554
(4) พ.ศ. 2564
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พจนานุกรมฉบับทางการที่ออกมาฉบับล่าสุดและใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คือ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554
113. คําว่า “แคลอรี ไนต์คลับ ออกซิเจน” เป็นคําประเภทใด
(1) คําศัพท์บัญญัติ
(2) คําทับศัพท์
(3) คําสแลง
(4) คําศัพท์แปลกใหม่
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 80. ประกอบ) ตัวอย่างของคําทับศัพท์ที่เขียนได้อย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ที่ประกาศใช้ของราชบัณฑิตยสถาน เช่น แคลอรี (Calorie), ไนต์คลับ (Nightclub), ออกซิเจน
(Oxygen), คอมพิวเตอร์ (Computer) ฯลฯ
114. คําว่า “New Normal” ภาษาไทยใช้ว่า “ความปรกติใหม่” คํานี้เป็นคําประเภทใด
(1) คําทับศัพท์
(2) คําศัพท์แปลกใหม่
(3) คําศัพท์บัญญัติ
(4) คําสแลง
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 80. ประกอบ) ตัวอย่างของคําศัพท์บัญญัติตามที่ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติไว้ เป็นภาษาไทย เช่น ความปกติใหม่หรือฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal), วิสัยทัศน์ (Vision), โลกทัศน์ (World View), วีดิทัศน์ (Video), โลกาภิวัตน์ (Globalization) ฯลฯ
115. คําว่า “วิสัยทัศน์ โลกทัศน์ วีดิทัศน์” เป็นคําประเภทใด
(1) คํายืม
(2) คําทับศัพท์
(3) คําศัพท์บัญญัติ
(4) คําศัพท์แปลกใหม่
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 114. ประกอบ
ข้อ 116. – 117. จงเลือกคําที่มีความหมายต่างจากคําอื่น ๆ
116. (1) บุษบา
(2) บุษบง
(3) บุษบัน
(4) บุษบก
ตอบ 4 คําว่า “บุษบก = มณฑปขนาดเล็กแต่ด้านข้างโปร่ง เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ในพระราชพิธี หรือประดิษฐานปูชนียวัตถุ เช่น พระพุทธรูป (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นหมายถึง ดอกไม้)
117. (1) ยี่หร่า
(2) ยีโถ
(3) ยี่หุบ
(4) ยี่เข่ง
ตอบ 1 คําว่า “ยี่หร่า” = ชื่อไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง ผลแก่แห้งใช้เป็นเครื่องเทศและยาสมุนไพรได้ บางครั้งเรียกว่า เทียนขาว (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นชื่อไม้ดอก)
118. “อย่าไปแห่แหนคนไร้ค่าอย่างพวกจอกแหน” คําว่า “แทน” เป็นคําประเภทใด
(1) คําพ้องรูป
(2) คําพ้องรูปและพ้องเสียง
(3) คําพ้องเสียง
(4) คําพ้องความหมาย
ตอบ 1 หน้า 14 (54351) คําพ้องรูป คือ คําที่เขียนเหมือนกัน แต่ความหมายและการออกเสียงจะต่างกัน ดังนั้นจึงต้องออกเสียงให้ถูกต้อง เพราะถ้าหากออกเสียงผิด ความหมายก็จะผิด ไปด้วย เช่น คําว่า “แหน” อ่านว่า “แหน” (ใช้เข้าคู่กับคําอื่นในคําว่า “หวงแหน แห่แหน เฝ้าแหน”) หรืออาจอ่านว่า “แทน” (ชื่อไม้น้ำหลายชนิดในวงศ์ Lemnaceae ใบกลมเล็ก ๆ ลอยอยู่ตามน้ํานิ่ง เช่น แหนเล็ก แหนใหญ่ จอกแหน) เป็นต้น
119. “เมื่อวันจันทร์ แม่จันปลูกต้นจันทน์เทศ” คําที่ออกเสียงว่า “ฉัน” เป็นคําประเภทใด
(1) คําพ้องรูปและพ้องเสียง
(2) คําพ้องเสียง
(3) คําพ้องความหมาย
(4) คําพ้องรูป
ตอบ 2 หน้า 14 (54351) คําพ้องเสียง คือ คําที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่ความหมายและการเขียน (รูป) ไม่เหมือนกัน เวลาเขียนจึงต้องเขียนให้ถูกต้อง เพราะถ้าหากเขียนผิด ความหมายก็จะผิดไปด้วย เช่น คําว่า “จันทร์” = ชื่อวันที่ 2 ของสัปดาห์ (วันจันทร์), “จัน” = ชื่อคน (แม่จัน), “จันทน์” – ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิดหนึ่ง (ต้นจันทน์เทศ) เป็นต้น
120. “เขาขันอาสาว่าจะช่วยขัดขันน้ำ พอได้ยินเสียงไก่ขันก็ตกใจทําขันหล่น คนเห็นก็พากันขบขัน
คําว่า “ขัน” เป็นคําประเภทใด
(1) คําพ้องรูปและพ้องเสียง
(2) คําพ้องเสียง
(3) คําพ้องรูป
(4) คําพ้องรูป พ้องเสียง พ้องความหมาย
ตอบ 1 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 118. และ 119. ประกอบ) คําว่า “วัน” เป็นคําพ้องรูปและพ้องเสียง คือ คําที่เขียนและออกเสียงเหมือนกัน แต่ความหมายต่างกัน จะรู้ว่าความหมาย เป็นอย่างไรต้องดูข้อความแวดล้อมประกอบ เช่น คําว่า “วัน” (อ่านว่า “ขัน”) = เสนอตัว เข้ารับทําโดยเต็มใจ (ขันอาสา), ภาชนะสําหรับตักหรือใส่น้ำ (ขันน้ำ/ขันหล่น), อาการร้องอย่างหนึ่งของไก่หรือนกบางชนิด เฉพาะในตัวผู้ (ไก่ขัน), น่าหัวเราะ (ขบขัน) เป็นต้น