การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา THA 1001 ลักษณะและการใช้ภาษาไทย
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.ข้อใดไม่มีคําบอกกาล
(1) เขาซื้อขนมอยู่
(2) เขากําลังนอนอยู่
(3) เขานอนกลางวันอยู่
(4) เขาร้องเพลงได้อยู่
ตอบ 4หน้า 2, 121 123 (56256), 7 – 8, 100 – 101 (H) การแสดงกาล คือ การบอกให้รู้ว่ากริยา กระทําเมื่อไร ซึ่งนอกจากจะต้องอาศัยกริยาช่วยเพื่อแสดงกาลเวลาที่แตกต่างกันแล้ว เช่น คําว่า “จะกําลังจะ” (บอกอนาคต), “กําลัง/อยู่” (บอกปัจจุบัน), “ได้แล้ว” (บอกอดีต) ฯลฯ ก็ยังมี คํากริยาวิเศษณ์หรือกริยาบางคําที่ช่วยแสดงกาล โดยอาศัยเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมเป็น เครื่องชี้ ดังนี้
1. บอกปัจจุบัน ได้แก่ เดี๋ยวนี้ ขณะนี้ ตอนนี้ วันนี้ ฯลฯ
2. บอกอนาคต ได้แก่ พรุ่งนี้ มะรืนนี้ ปีหน้า เดือนหน้า ฯลฯ
3. บอกอดีต ได้แก่ เมื่อวานนี้ เมื่อก่อนนี้ เมื่อปีก่อน เพิ่งมา ฯลฯ
(ประโยค “เขาร้องเพลงได้อยู่” ไม่ได้บอกกาล แต่หมายถึง เขาสามารถร้องเพลงได้)

Advertisement

2.ข้อใดมีคําบอกเพศมากที่สุด
(1) หลานสาวยายไปอยู่กับพ่อเลี้ยงแล้ว
(2) ป้าหอมเดินตามลุงมิ่งไปตลาด
(3) ตาเนยกําลังตัดอ้อยกลางทุ่ง
(4) ยายใจอยู่บ้านน้าอ้อยมานานแล้ว
ตอบ 1 หน้า 2, 109 – 110, 112 (56256), 6 – 7, 97 – 98 (H) คํานามในภาษาไทยบางคําก็แสดง เพศได้ชัดเจนในตัวของมันเอง เช่น คําที่บอกเพศชาย ได้แก่ พ่อ พระ เณร ทิด เขย ชาย หนุ่ม บ่าว ปู่ ตา ผม นาย ถึง ลูกเสือ พลาย (ช้างตัวผู้) ฯลฯ และคําที่บอกเพศหญิง ได้แก่ แม่ สะใภ้ หญิง สาว นาง ชี ป้า ย่า ยาย ดิฉัน พัง (ช้างตัวเมีย) ฯลฯ แต่คําบางคําที่เป็นคํารวมทั้งสองเพศ เช่น พี่ น้อง เด็ก น้า อา ลูก หลาน เพื่อน ฯลฯ เมื่อต้องการแสดงเพศให้ชัดเจนตามแบบภาษา คําโดดก็จะต้องใช้คําบ่งเพศมาประกอบเข้าข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง หรืออาจนํามาประสมกัน ตามแบบคําประสมบ้าง เช่น พี่ชาย น้องสาว เด็กผู้หญิง น้าชาย อาหญิง หลานสาว ฯลฯ

3.“ถ้าก้างปลาหมอติดคอ ยายต้องรีบไปหาหมอทันทีนะ” จากข้อความไม่ปรากฏภาพสะท้อนลักษณะของภาษาไทยประเภทใด
(1) คําคําเดียวมีหลายความหมาย
(2) บอกเพศ
(3) มีระบบเสียงสูงต่ํา
(4) บอกมาลา
ตอบ 3 หน้า 2, 123 – 125 (56256), 2 – 10 (H) ข้อความข้างต้นปรากฏลักษณะของภาษาไทย ดังนี้
1. คําคําเดียวมีหลายความหมาย เช่น หมอ (ในคําว่า “ปลาหมอ”) = ชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ส่วน “หมอ” คําที่ 2 = ผู้ตรวจรักษาโรค
2 บอกเพศ เช่น ยาย (ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ)
3. บอกมาล” (ภาวะหรืออารมณ์) เช่น ต้องรีบไปหาหมอทันทีนะ (ใช้เป็นคําสั่ง)

4.ข้อใดเป็นสระเดี่ยวเสียงยาว
(1) ศิลป์
(2) เลิศ
(3) ซึม
(4) ล้ำ
ตอบ 2 หน้า 8, 13 – 14 (56256), 17, 24 – 30 (H) เสียงสระในภาษาไทยมี 28 เสียง ดังนี้
1. สระเดี่ยว 18 เสียง แบ่งเป็นเสียงสั้น 9 เสียง ได้แก่ อะ อิ อี อุ เอะ แอะ เออะ โอะ เอาะ และเสียงยาว 9 เสียง ได้แก่ อา อี คือ อู เอ แอ เออ โอ ออ
2. สระผสม 10 เสียง แบ่งเป็นเสียงสั้น 5 เสียง ได้แก่ เอียะ เอีอะ อัวะ เอา ไอ
และเสียงยาว 5 เสียง ได้แก่ เอ๊ย เอื้อ อัว อาว อาย
(ยกเว้นคําใดที่ลงท้ายด้วย ยาว ซึ่งเป็นพยัญชนะกึ่งสระ อาจเป็นได้ทั้งตัวสะกด ยาว หรือเป็น สระผสม 2 เสียง หรือ 3 เสียงก็ได้)

5. ข้อใดเป็นสระหน้า
(1) แหน
(2) คลั่ง
(3) โจทย์
(4) ทาส
ตอบ 1 หน้า 9 – 10 (56256), 18 – 19 (H) สระเดี่ยวที่จําแนกตามส่วนต่าง ๆ ของลิ้นที่ทําหน้าที่ ซึ่งต้องมีสภาพของริมฝีปากประกอบด้วย ได้แก่
1. สระกลาง ได้แก่ อา คือ เออ อะ อี เออะ
2. สระหน้า ได้แก่ อี เอ แอ อิ เอะ แอะ
3. สระหลัง ได้แก่ อู โอ ออ อ โอะ เอาะ

6. ข้อใดเป็นสระเดี่ยว
(1) อ่าว
(2) เสือ
(3) เปลี่ยว
(4) รัก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

7.“คิดถึงเธอแทบขาดใจ” จากข้อความไม่มีสระเดี่ยวเสียงใด (ไม่นับเสียงซ้ำ)
(1) อา
(2) เออ
(3) อี
(4) แอ
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฏสระเดี่ยว ดังนี้
1. สระอิ = คิด
2. สระอึ = ถึง
3. สระเออ – เธอ
4. สระแอ = แทบ
5. สระอา = ขาด

8.ข้อใดเป็นสระผสม
(1) เธอ
(2) เฝ้า
(3) ฟ้า
(4) เช็ค
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

9. ข้อใดไม่มีเสียงสระอู
(1) ลวก
(2) ทัวร์
(3) ไทย
(4) ลูบ
ตอบ 3 หน้า 13 – 14 (56256), 23, 27 (H) คําว่า “ไทย” ประกอบด้วย อะ + ย (อะ + อิ) = ไอ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นปรากฏเสียงสระอู ได้แก่ คําว่า “ลวก/ทัวร์” ประกอบด้วย อู + อา = อัว, “ลูบ” = สระอู)

10. รูปพยัญชนะในภาษาไทยลําดับที่ 20 ตรงกับข้อใด
(1) ด
(2) ฑ
(3) ท
(4) ถ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ด = รูปพยัญชนะในภาษาไทยลําดับที่ 20 นับเป็นพวกอักษรกลาง และใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด

11. ข้อใดประกอบด้วยเสียงสระอือ + อา + อี
(1) เขี้ยว
(2) เลื่อน
(3) เปลี่ยน
(4) เลื่อย
ตอบ 4 หน้า 14 (56256), 28 (H) คําว่า “เลื้อย” ประกอบด้วย เอือ + ย หรือเป็นสระผสม 3 เสียง คือ อือ + อา + อี = เอือย

12. ข้อใดเป็นสระผสมสองเสียง
(1) ห้อย
(2) จริง
(3) กรวย
(4) เชิด
ตอบ 1 หน้า 14 (56256), 29 – 30 (H) คําว่า “ห้อย” ประกอบด้วย ออ + ย หรือเป็นสระผสม 2 เสียง คือ ออ + อี = ออย (ส่วนคําว่า “จริง/เชิด” เป็นสระเดี่ยว (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ), “กรวย” ประกอบด้วย ตัว + ย หรือเป็นสระผสม 3 เสียง คือ อู + อา + อี = อวย)

13. พยัญชนะต้นในข้อใดเป็นประเภทนาฬิก
(1) สอน
(2) ทุก
(3) วัน
(4) นะ
ตอบ 4 หน้า 19 – 21 (56256), 39 – 43 (H), (คําบรรยาย) พยัญชนะต้นที่จําแนกตามรูปลักษณะ ของเสียง แบ่งออกได้ดังนี้
1. พยัญชนะระเบิด หรือพยัญชนะกัก ได้แก่ ก ค (ข ฆ) จ ด (ฎ) ต (ฏ) ท (ถ ฐ ฑ ฒ ธ) บ ป พ (ผ ภ) อ
2. พยัญชนะนาสิก ได้แก่ ง น (ณ) ม
3. พยัญชนะเสียดแทรก ได้แก่ ส (ซ.ศ ๒) ฟ (ฝ)
4. พยัญชนะกึ่งเสียดแทรก ได้แก่ ช (ฉ ฌ )
5. พยัญชนะกึ่งสระ ได้แก่ ย ว
6. พยัญชนะเหลว ได้แก่ ร ล
7. พยัญชนะเสียงหนัก ได้แก่ ห (ฮ) รวมทั้ง
พยัญชนะที่มีเสียง ห ผสมอยู่ด้วย ได้แก่ ค (ข) ช (ฉ) ท (ถ) พ (ผ)

14. พยัญชนะต้นในข้อใดเกิดที่ฐานริมฝีปาก
(1) คิด
(2) มาก
(3) นะ
(4) เธอ
ตอบ 2 หน้า 17 – 18 (56256), 37 – 38 (H) พยัญชนะต้นที่จําแนกตามฐานกรณ์ (ที่เกิดหรือที่ตั้ง ของเสียง) สามารถแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้
1. ฐานคอ (คอหอย) มี 2 เสียง คือ ห (ฮ) อ
2. ฐานเพดานอ่อน มี 3 เสียง คือ ก ค (ข ฆ) ง
3. ฐานเพดานแข็ง มี 5 เสียง คือ จ ช (ฉ ฌ ) ส (ซ. ศ ษ) ย (ญ) ร
4. ฐานฟัน มี 5 เสียง คือ ด (ฏ) ต (ฏ) ท (ถ ฐ ฑ ฒ ธ) น (ณ) ล (ฬ)
5. ฐานริมฝีปาก ได้แก่ ริมฝีปากบนกับล่างประกบกัน มี 5 เสียง คือ บ ป พ (ผ ภ) ม ว และริมฝีปากล่างประกบกับฟันบน มี 1 เสียง คือ ฟ (ฝ)

15. ข้อใดเป็นพยัญชนะเคียงกันมา
(1) กระทิง
(2) บาตรพระ
(3) ยุพราช
(4) ไถล
ตอบ 3 หน้า 22 (56256), 44 (H), (คําบรรยาย) การออกเสียงแบบตามกันมา หรือเคียงกันมา (การออกเสียงแบบเรียงพยางค์) คือ พยัญชนะคู่ที่ออกเสียงแต่ละเสียงเต็มเสียง และเสียง ทั้งสองไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน นอกจากนี้ถ้าหากคําใดที่มีเสียงสระอะ อา อิ อี อุ อู อยู่ตรงกลางคํา และพยางค์หน้าออกเสียงเต็มเสียงทุกคําก็ให้ถือว่า เป็นพยัญชนะคู่แบบ เคียงกันมา เช่น ยุพราช (ยุบพะราด), พัฒนา (พัดทะนา), ศิลปิน (สีนละปืน) ฯลฯ

16. ข้อใดเป็นพยัญชนะนํากันมา
(1) กว้าง
(2) จิตร
(3) แสดง
(4) หมี
ตอบ 4 หน้า 22 (56256), 44 (H) การออกเสียงแบบนํากันมา (อักษรนํา) คือ พยัญชนะคู่ที่พยัญชนะ ตัวหน้ามีอํานาจเหนือพยัญชนะตัวหลัง โดยที่พยัญชนะตัวหน้าจะออกเสียงเพียงครึ่งเสียง และพยัญชนะตัวหลังก็เปลี่ยนเสียงตาม ซึ่งจะออกเสียงเหมือนกับเสียงที่มี “ห” นํา เช่น หมี, หรือ ไถล (ถะไหล), หล่อน, แสวง (สะแหวง), แสลง (สะแหลง) ฯลฯ

17. ข้อใดเป็นพยัญชนะควบกันมา
(1) หล่อน
(2) สร้อย
(3) บุตร
(4) แสวง
ตอบ 2 หน้า 22 – 26 (56256), 44 – 49 (H) การออกเสียงแบบควบกันมา หรืออักษรควบ คือ พยัญชนะคู่ที่ออกเสียง 2 เสียงควบกล้ำไปพร้อมกัน แบ่งออกเป็น
1. อักษรควบกล้ำแท้ หรือเสียงกล้ํากันสนิท โดยเสียงทั้งสองจะร่วมเสียงสระและวรรณยุกต์ เดียวกัน เช่น กว้าง, ความ ฯลฯ
2. อักษรควบกล้ำไม่แท้ หรือเสียงกล้ำกันไม่สนิท เช่น สร้อย (ส้อย), จริง (จิง), สร้าง (ส้าง) ฯลฯ

18. ข้อใดมีพยัญชนะคู่ประเภทเคียงกันมา ควบกันมา และนํากันมา เรียงตามลําดับ
(1) เธอยังไม่พัฒนาความรู้อีกหรือ
(2) สัจจะความจริงมีเพียงสิ่งเดียว
(3) ศิลปินช่างสร้างภาพอันวิจิตรยิ่งนัก
(4) คําสแลง คือ ของแสลงทางภาษาสําหรับนักศึกษา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 15, 16. และ 17. ประกอบ

19. ข้อใดมีเสียงพยัญชนะสะกดครบทุกคํา
(1) หมาใน
(2) กระทะ
(3) ล้ำเลิศ
(4) รถเมล์
ตอบ 3 หน้า 27 – 29 (56256), 50 – 53 (H) พยัญชนะสะกดของไทยจะมีเพียง 8 เสียงเท่านั้น คือ
1. แม่กก ได้แก่ ก ข ค ฆ
2. แม่กด ได้แก่ จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส
3. แม่กบ ได้แก่ บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ
4. แม่กน ได้แก่ น ณ ร ล ห ญ ณ ร ล ญ
5. แม่กง ได้แก่ ง
6. แม่กม ได้แก่ ม
7. แม่เกย ได้แก่ ย
8. แม่เกอว ได้แก่ ว
นอกจากนี้สระอํา (อัม) = แม่กม, สระไอ/ไอ (อัย) = แม่เกย และสระเอา (อาว) = แม่เกอว (คําว่า “ล้ำเลิศ” = แม่กม แม่กด ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีคําที่ไม่มีเสียงพยัญชนะสะกด ได้แก่ หมา, กระทะ, เมล์)

20. ข้อใดมีคําที่ไม่มีเสียงพยัญชนะสะกด
(1) ทองคํา
(2) เบาหวาน
(3) ปั้นเหน่ง
(4) บัวไหล
ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ) คําที่ไม่มีเสียงพยัญชนะสะกด ได้แก่ บัว

21. “โจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ คือ ตัวคุณเท่านั้น”
จากข้อความข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับเสียงพยัญชนะสะกด (ไม่นับเสียงซ้ำ)
(1) มีเสียงทั้งหมดจํานวน 5 เสียง
(2) มีคําเป็นน้อยกว่าคําตาย
(3) ไม่มีพยัญชนะสะกดเสียง ว
(4) มีคําเป็นจํานวน 2 เสียง
ตอบ 1 หน้า 28 (56256), 51 (H), (ดูคําอธิบายข้อ 4. และ 19. ประกอบ) การพิจารณาลักษณะของ คําเป็นกับคําตาย มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. คําเป็น คือ คําที่สะกดด้วยแม่กง กน กม เกย เกอว และคําที่ไม่มีตัวสะกด ใช้สระเสียงยาว รวมทั้งสระอํา ใอ ไอ เอา (เพราะออกเสียงเหมือนมีตัวสะกดเป็นแม่กม เกย เกอว)
2. คําตาย คือ คําที่สะกดด้วยแม่กก กด กบ และคําที่ไม่มีตัวสะกด ใช้สระเสียงสั้น (จากข้อความมีเสียงพยัญชนะสะกดทั้งหมด 5 เสียง ได้แก่ แม่กด (โจทย์), แม่กก (ทุก), แม่เกย (ไลฟ์/ไตล์), แม่กน (คุณ/นั้น) และแม่เกอว (เท่า) โดยแบ่งออกเป็นคําเป็น 3 เสียง ได้แก่ แม่เกย
แม่กน และแม่เกอว ส่วนคําตายมี 2 เสียง ได้แก่ แม่กด และแม่กก)

22. ข้อใดมีเสียงพยัญชนะสะกดที่เป็นคําเป็นเท่ากับคําตาย (ไม่นับเสียงซ้ํา)
(1) คนรักผมชอบของลดราคา
(2) กระทงทองเป็นอาหารสัญชาติไทย
(3) น้ำส้มคั้นสดอยู่ในตู้แช่หน้าร้านครับ
(4) นักเรียนกําลังเดินข้ามทางม้าลายหน้าโรงเรียน
ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ) จากข้อความในตัวเลือกข้อ 1 มีเสียงพยัญชนะสะกดที่เป็น คําเป็น 3 เสียง ได้แก่ แม่กน (คน), แม่กม (ผม) และแม่กง (ของ) ส่วนคําตายมี 3 เสียงเท่ากัน ได้แก่ แม่กก (รัก), แม่กบ (ชอบ) และแม่กด (ลด)

23. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์เอก
(1) ร่อน
(2) ก่อน
(3) ท่อน
(4) ซ่อน
ตอน 2 หน้า 33 – 37 (56256), 55 – 60 (H) เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยจะมี 5 เสียง 4 รูป ได้แก่ เสียงสามัญ (ไม่มีรูปวรรณยุกต์กํากับ), เสียงเอก ( ่ ), เสียงโท ( ้ ), เสียงตรี ( ๊ ) และเสียง จัตวา ( ๋ ) ซึ่งในคําบางคํา รูปและเสียงวรรณยุกต์อาจไม่ตรงกัน จึงควรเขียนรูปวรรณยุกต์ ให้ถูกต้อง เช่น คําว่า “ก่อน” มีรูปและเสียงวรรณยุกต์เอกตรงกัน (ส่วนคําว่า “ร่อน/ท่อน/ ซ่อน” มีเสียงวรรณยุกต์โท แต่ใช้ไม้เอก)

24. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ต่างจากข้ออื่น
(1) ลม
(2) ไป
(3) หมด
(4) นาน
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ) คําว่า “หมด” มีเสียงวรรณยุกต์เอก แต่ไม่มีรูปวรรณยุกต์กํากับ (ส่วนคําว่า “ลม/ไป/นาน” มีเสียงวรรณยุกต์สามัญ)

25. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์โท
(1) ไม่
(2) โกรธ
(3) ย้าย
(4) ดิม
ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ) คําว่า “ไม่” มีเสียงวรรณยุกต์โท แต่ใช้ไม้เอก (ส่วนคําว่า
“โกรธ/ย้าย/ดื่ม” = เอก/ตรี/เอก)

26. “ลูกเกดเอาใจใส่ต่อลูกค้าเป็นอย่างดี จนได้รับรางวัลใหญ่แห่งปีของบริษัท” จากข้อความมีพยัญชนะสะกดกี่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)
(1) 5 เสียง
(2) 6 เสียง
(3) 7 เสียง
(4) 8 เสียง
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ) จากข้อความมีเสียงพยัญชนะสะกดทั้งหมด 7 เสียง ดังนี้
1. แม่กก = ลูก
2. แม่กด = เกด, ษัท
3. แม่เกอว = เอา
4. แม่เกย = ใจ, ใส่, ได้, ใหญ่
5. แม่กน – เป็น, จน, วัล
6. แม่กง = อย่าง, ราง, แห่ง, ของ
7. แม่กบ = รับ

27. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์เหมือนกัน
(1) พูด ดี
(2) ซด เหล้า
(3) เมา รถ
(4) เป็น ใจ
ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ) คําว่า “เป็นใจ” มีเสียงวรรณยุกต์สามัญ (ส่วนคําว่า “พูด/ดี”
= โท/สามัญ, “ซด/เหล้า” = ตรี/โท, “เมา/รถ” = สามัญ/ตรี)

28. “เขาเดินจับมือกันกลางสนามบิน” จากข้อความไม่ปรากฏวรรณยุกต์เสียงใด
(1) โท
(2) สามัญ
(3) จัตวา
(4) เอก
ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีเสียงวรรณยุกต์ ดังนี้
1. เสียงสามัญ = เดิน/มือ/กัน/กลาง/บิน
2. เสียงเอก = จับ/สะ
3. เสียงจัตวา = เขา/หนาม

29. “นักศึกษาตั้งใจทําข้อสอบเป็นอย่างยิ่ง เพื่ออนาคตอันสดใสในภายหน้า” จากข้อความมีวรรณยุกต์ที่เสียง
(ไม่นับเสียงซ้ำ)
(1) 4 เสียง
(2) 5 เสียง
(3) 10 เสียง
(4) 24 เสียง
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีเสียงวรรณยุกต์ ดังนี้
1. เสียงสามัญ = ใจ/ทําเป็น/นา/อัน/ใน/ภาย
2. เสียงเอก = ศึก/สอบ/อย่าง/อะ/สด
3. เสียงโท = ตั้ง/ข้อ/ยิ่ง/ เพื่อ/หน้า
4. เสียงตรี = นัก/คต
5. เสียงจัตวา = ษา/ใส

30. “ใครทําข้อสอบไม่ได้บ้างนะ” จากข้อความมีเสียงวรรณยุกต์โทกเสียง (ไม่นับเสียงซ้ํา)
(1) 2 เสียง
(2) 3 เสียง
(3) 4 เสียง
(4) 5 เสียง
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีเสียงวรรณยุกต์ ดังนี้
1. เสียงสามัญ = ใคร/ทํา
2. เสียงเอก = สอบ
3. เสียงโท = ข้อ/ไม่ได้บ้าง
4. เสียงตรี = นะ

31. คําที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดเป็นความหมายแฝง
(1) ป้ากระซิบบอกลุง
(2) ตาร้องเพลงเพื่อชีวิต
(3) น้าชอบตุ๊กตามาก
(4) ยายนั่งบนโขดหิน
ตอบ 1 หน้า 44, 47 – 48 (56256), 62 – 63 (H) ความหมายแฝงบอกคุณสมบัติบางอย่างของคํากริยาที่ใช้กับเสียง ได้แก่ คําว่า “แผด” = ออกเสียงดัง, “ตะโกน” = เรียกด้วยเสียงดัง, “กระซิบ” = พูดเบา ๆ, “บ่น” = พูดพร่ำอย่างไม่พอใจ ฯลฯ

32. คําที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดเป็นความหมายอุปมา
(1) น้องไข่มุกชอบมากค่ะ
(2) ไข่มุกแห่งเอเชียเดินมานั้น
(3) ไข่มุกเม็ดนี้แพงจัง
(4) ไข่มุกทําขนมไข่ตั้งแต่เช้า
ตอบ 2 หน้า 48 – 49 (56256), 64 (H) คําอุปมา คือ คําที่ใช้เปรียบเทียบเพื่อพรรณนาบอกลักษณะ ให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้มีความหมายใหม่เกิดขึ้นอีกความหมายหนึ่ง มีอยู่ 2 ประเภท คือ
1. คําอุปมาที่ได้มาจากคําที่มีใช้อยู่แล้ว เช่น ไข่มุก (สตรีที่งดงาม บริสุทธิ์ และสูงค่า), เทวดา/ นางฟ้า (ดี สวย), หิน (ยากมาก) ฯลฯ
2. คําอุปมาที่สร้างขึ้นใหม่ ส่วนมากเป็นคําประสม เช่น แมวนอนหวด (ซื่อจนเซ่อ), เพชรในตม (สิ่งมีค่าที่ซ่อนอยู่ แต่คนยังไม่เห็นความสําคัญ) ฯลฯ

33. ข้อใดปรากฏการแยกเสียงแยกความหมายแบบเสียงสั้นยาวต่างกัน
(1) เดียว – เดี่ยว
(2) บาด – ปาด
(3) วับ – วาบ
(4) เบะปาก – แบะปาก
ตอบ 3 หน้า 51 – 52 (56256), 65 (H) การแยกเสียงแยกความหมาย คือ การเปลี่ยนแปลงเสียง ในคําบางคําที่มีความหมายหลายอย่างให้แตกต่างกันบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนว่าคํานั้น มีความหมายว่าอย่างไรในที่นั้น ๆ โดยความหมายย่อยและที่ใช้อาจจะแตกต่างกันบ้าง ได้แก่ “วับ – วาบ” (เสียงสระสั้นยาวต่างกัน) ต่างก็เป็นอาการที่หายไปทันทีเช่นกัน มักใช้กับแสง แต่ “วับ” จะหายไปรวดเร็วกว่า ส่วน “วาบ” อาจมีแสงสว่างอยู่ครู่หนึ่ง จึงค่อยดับหายไป

34. ข้อใดเป็นคําซ้ําไม่ได้
(1) รถติดยาวเป็นกิโล ๆ เลย
(2) จะคบใครต้องดูดี ๆ นะ
(3) ที่พูด ๆ มาก็มีส่วนถูกอยู่
(4) ไป ๆ มา ๆ ก็เดาทางเธอออก
ตอบ 3 หน้า 76 – 80 (56256), 76 – 78 (H) คําซ้ํา คือ คําคําเดียวกันที่นํามากล่าว 2 ครั้ง เพื่อให้ มีความหมายเน้นหนักขึ้น หรือเพื่อให้มีความหมายแตกต่างจากคําเดี่ยว ซึ่งวิธีการสร้างคําซ้ำก็เหมือนกับการสร้างคําซ้อนแต่ใช้คําคําเดียวมาซ้อนกันโดยมีเครื่องหมายไม้ยมก (ๆ) กํากับ เช่น รถติดยาวเป็นกิโล ๆ เลย (คําซ้ำคำบอกจํานวนนับที่แยกความหมายออกเป็นส่วน ๆ เมื่อมี คําว่า “เป็น” มาข้างหน้า), จะคบใครต้องดูดี ๆ นะ (คําซ้ําคําขยาย ใช้ขยายกริยาบอกความเน้น เมื่อเป็นคําสั่ง), ไป ๆ มา ๆ (คําซ้ำคำซ้อน 2 คู่ หมายถึง ในที่สุด) เป็นต้น (ส่วนตัวเลือกข้อ 3 ไม่ใช่คำซ้ำ เป็นเพียงพูดให้รู้ว่าคํากริยานั้นทําอาการติดต่อกันไป จึงไม่ควรใช้ไม้ยมก

35. ข้อใดเป็นคําซ้อน
(1) กัดฟัน
(2) ได้เสีย
(3) นัดพบ
(4) มองผ่าน
ตอบ 2 หน้า 62 – 76 (56256), 67 – 76 (H) คําซ้อน คือ คําเดี่ยว 2, 4 หรือ 6 คํา ที่มีความหมาย หรือมีเสียงใกล้เคียงกัน หรือเป็นไปในทํานองเดียวกัน ซ้อนเข้าด้วยกันเพื่อทําให้เกิดคําใหม่ ที่มีความหมายใหม่ขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
1. คําซ้อนเพื่อความหมาย (มุ่งที่ความหมายเป็นสําคัญ) ซึ่งอาจเป็นคําไทยซ้อนเข้าด้วยกัน เช่น ได้เสีย, ร้องเรียก, ลูกหลาน, ถูกผิด, เสื้อผ้า, แข็งแรง, บอกกล่าว, ใคร่ครวญ, อดทน ฯลฯ หรืออาจเป็นคําไทยซ้อนกับคําภาษาอื่น เช่น สาปแช่ง (บาลีสันสกฤต + ไทย), เขียวขจี (ไทย + เขมร) ฯลฯ
2. คําซ้อนเพื่อเสียง (มุ่งที่เสียงเป็นสําคัญ) เช่น ลวนลาม, ทัดทาน, ปัดป้อง ฯลฯ

36. ข้อใดมีคําประสม 1 คํา
(1) ร้องเรียก ลูกหลาน
(2) สาปแช่ง ลวนลาม
(3) เกาะเต่า ถูกผิด
(4) การเรียน พี่ชาย
ตอบ 3 หน้า 80 – 89 (56256), 78 – 82 (H) คําประสม คือ คําตั้งแต่ 2 คําขึ้นไปมาประสมเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้คําใหม่ที่มีความหมายใหม่มาใช้ในภาษา ซึ่งความหมายสําคัญจะอยู่ที่คําต้น (คําตัวตั้ง ส่วนที่ตามมาเป็นคําขยาย ซึ่งไม่ใช่คําที่ขยายคําต้นจริง ๆ แต่จะช่วยให้คําทั้งคํามีความหมาย ที่จํากัดเป็นนัยเดียว เช่น กัดฟัน, นัดพบ, มองผ่าน, เกาะเต่า, การเรียน, พี่ชาย, น้ําชา, เข้าใจ, แกงหอย, หลอดไฟ, วันพระ, หวยใต้ดิน, ข้าวแกง, ขนมถ้วย ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีคําซ้อน) (ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ)

37. ข้อใดไม่เป็นคําซ้อน
(1) น้ำชา
(2) เสื้อผ้า
(3) แข็งแรง
(4) ทัดทาน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 35. และ 36. ประกอบ

38. ข้อใดเป็นคําประสม
(1) บอกกล่าว
(2) เขียวขจี
(3) ปัดป้อง
(4) เข้าใจ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 35. และ 36. ประกอบ

39. ข้อใดไม่เป็นคําประสม
(1) แกงหอย
(2) ใคร่ครวญ
(3) หลอดไฟ
(4) วันพระ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 35. และ 36. ประกอบ

40. ข้อใดเป็นคําซ้อน
(1) หวยใต้ดิน
(2) ข้าวแกง
(3) อดทน
(4) ขนมถ้วย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 35. และ 36. ประกอบ

ข้อ 41 – 45. ให้นักศึกษาเลือกคําราชาศัพท์ที่ถูกต้องเติมในช่องว่างต่อไปนี้
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ___41___ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว___42.___ที่ตําหนักในพระบรมมหาราชวัง เมื่อคืนวันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2506 เวลา เที่ยงคืนล่วงแล้วกับ 30 นาที หม่อมเจ้าหญิงพรรณราย พระธิดาของกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์___43.___เมื่อ___44.___ครบเดือน ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีสมโภชตามพระราชประเพณี และมีพระราชหัตถเลขา___45.___พระนามว่า พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าจิตรเจริญ

41.
(1) ทรงเป็นพระโอรส
(2) ทรงเป็นพระราชโอรส
(3) เป็นพระโอรส
(4) เป็นพระราชโอรส
ตอน 4 หน้า 117 (H) เป็นพระราชโอรส = เป็นลูกชายของพระมหากษัตริย์ (ถ้าหากคําที่ตามหลัง “มีเป็น” เป็นนามราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่ต้องเติม “ทรง” หน้าคํากริยา “มีเป็น” อีก)

42.
(1) ทรงประสูติ
(2) ทรงเสด็จพระราชสมภพ
(3) เสด็จพระราชสมภพ
(4) ประสูติ
ตอบ 4 หน้า 113 (H) ประสูติ = เกิด ใช้กับพระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า (ส่วนคําว่า “เสด็จพระราชสมภพ” = เกิด ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระราชวงศ์ลําดับที่ 2 นอกจากนี้ห้ามเติม “ทรง” ซ้อนคํากริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว)

43.
(1) ทรงเป็นพระมารดา
(2) เป็นพระมารดา
(3) เป็นพระราชชนนี
(4) เป็นพระราชมารดา
ตอบ 2 หน้า 113 (H) เป็นพระมารดา = เป็นแม่ ใช้กับพระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า (ส่วนราชาศัพท์ที่มีคําว่า “ราช” จะใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระราชวงศ์ลําดับ ที่ 2 เท่านั้น)

44.
(1) พระชนมพรรษา
(2) พระชันษา
(3) ‘พระชนมายุ
(4) พระชนม์
ตอบ 2 พระชันษา = อายุ ใช้กับสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า (ส่วนคําว่า “พระชนมพรรษา” = อายุ ใช้กับพระมหากษัตริย์และพระราชินี, “พระชนมายุ” = อายุ ใช้กับพระราชวงศ์ลําดับที่ 2)

45.
(1) พระราชทาน
(2) ทรงพระราชทาน
(3) ประทาน
(4) ทรงประทาน
ตอบ 1 พระราชทาน = ให้ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระราชวงศ์ลําดับที่ 2 (ซึ่งในที่นี้ พระมหากษัตริย์เป็นผู้ตั้งชื่อให้ จึงควรใช้ราชาศัพท์ให้ตรงตามพระยศ ส่วนคําว่า “ประทาน” = ให้ใช้กับพระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า)

46. สรรพนามบุรุษที่ 2 ที่ใช้ในการกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือข้อใด
(1) ฝ่าพระบาท
(2) ใต้ฝ่าพระบาท
(3) ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
(4) ใต้ฝ่าละอองพระบาท
ตอบ 3 หน้า 174 (56256) ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท = คําสรรพนามบุรุษที่ 2 ใช้ในการกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ (ส่วนคําว่า “ฝ่าพระบาท” จะใช้ เรียกแทนหม่อมเจ้า “ใต้ฝ่าพระบาท” จะใช้เรียกแทนเจ้านายในชั้นพระองค์เจ้าและเจ้าฟ้า “ใต้ฝ่าละอองพระบาท” จะใช้เรียกแทนพระอัครมเหสีที่ไม่ได้ดํารงตําแหน่งสมเด็จพระราชินีลงมา จนถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชและสมเด็จพระบรมราชกุมารี)

47. คําลงท้ายที่ใช้ในการกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตรงกับข้อใด
(1) ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
(2) ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
(3) ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
(4) แล้วแต่จะโปรด
ตอบ 1 หน้า 176 (56256) การกราบบังคมทูลพระเจ้าแผ่นดิน ควรใช้คําขึ้นต้นว่า “ขอเดชะฝ่าละออง ธุลีพระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม” และลงท้ายว่า “ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

48.“…พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ… เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า…” จากข้อความดังกล่าวควรใช้คําใดเติมในช่องว่าง
(1) ถึงแก่พิราลัย
(2) ถึงแก่อสัญกรรม
(3) ถึงแก่อนิจกรรม
(4) ถึงแก่กรรม
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คําว่า “ตาย” ใช้กับบุคคลฐานะต่าง ๆ ดังนี้
1. ถึงแก่พิราลัย ใช้กับสมเด็จเจ้าพระยาและเจ้าประเทศราช
2. ถึงแก่อสัญกรรม ใช้กับเจ้าพระยา นายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดี ประธานองคมนตรี องคมนตรี ประธานรัฐสภา ฯลฯ
3. ถึงแก่อนิจกรรม ใช้กับพระยา
4. ถึงแก่กรรม ใช้กับสุภาพชนทั่วไป ฯลฯ

49. ข้อใดใช้คําราชาศัพท์ผิด
(1) โรงงานยาสูบน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายที่ดินสร้างสวนป่าเบญจกิติ
(2) สภากาชาดไทยทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศล
(3) บริษัทรถยนต์น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายรถยนต์ตู้จํานวน 1 คัน
(4)อธิบดีกรมศิลปากรน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายสูจิบัตรและของที่ระลึก
ตอบ 4 หน้า 176 (56256), 116 (H) ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ทูลเกล้าฯ ถวาย) = ถวายสิ่งของขนาดเล็ก (ของที่ยกได้) หรือถวายสิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่น ทูลเกล้าฯ ถวายเงิน, ทูลเกล้าฯ ถวาย สูจิบัตรและของที่ระลึก ฯลฯ ส่วนคําว่า “น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย” (น้อมเกล้าฯ ถวาย) = ถวายสิ่งของขนาดใหญ่ (ของที่ยกขึ้นไม่ได้) หรือถวายสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น น้อมเกล้าฯ ถวาย ที่ดิน, น้อมเกล้าฯ ถวายรถยนต์, น้อมเกล้าฯ ถวายพระพร ฯลฯ

50. ข้อใดใช้คําราชาศัพท์ถูก
(1) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จไปวางพวงมาลา
(2) ประธานาธิบดีเป็นอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(3) โขนของกรมศิลปากรแสดงหน้าที่นั่งเพื่อถวายทอดพระเนตร
(4) หม่อมเจ้าทรงพระประชวรด้วยโรคหทัย
ตอบ 3 หน้า 114 – 115 (H) ข้อความในตัวเลือกข้อ 3 ใช้คําราชาศัพท์ถูก หรืออาจจะใช้ว่าโขนของกรมศิลปากรแสดงเฉพาะพระพักตร์เพื่อถวายทอดพระเนตร ก็ได้เช่นเดียวกัน (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นควรแก้ไขให้ถูกต้อง โดยใช้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯไปทรงวางพวงมาลา, ประธานาธิบดีเป็นราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว,หม่อมเจ้าประชวรด้วยโรคหทัย)

51. ข้อใดเป็นคําอุปสรรคเทียมที่เกิดจากการกร่อนเสียงทุกคํา
(1) กระเดือก กระจิบ คะนึง
(2) ตะม่อ มะขาม กระสา
(3) ฉะฉาด มะยม ตะราง
(4) กระตั้ว กระสุน ตะโก
ตอบ 3 หน้า 93 – 95 (56256), 83 – 84 (H) อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการกร่อนเสียง มักเป็นคําที่ กร่อนเสียงพยางค์ต้นให้เป็นเสียง “อะ” ได้แก่
1. “มะ” ที่นําหน้าชื่อไม้ผล ไม่ใช่ไม้ผล และหน้าคําบอกกําหนดวัน เช่น หมากม่วง – มะม่วง, หมากขาม – มะขาม, หมากยม – มะยม, เมื่อรื่น – มะรืน
2. “ตะ” นําหน้าชื่อสัตว์ ต้นไม้ และคําที่มีลักษณะคล้ายตา เช่น ตัวขาบ – ตะขาบ, ตอม่อ – ตะม่อ ตาราง – ตะราง, ต้นโก – ตะโก, ต้นเคียน – ตะเคียน
3. “สะ” เช่น สายดือ – สะดือ, สาวใภ้ → สะใภ้, สายดึง – สะดึง
4. “ฉะ” เช่น ฉันนั้น – ฉะนั้น ฉันนี้ – ฉะนี้ เฉื่อย ๆ – ฉะเฉื่อย, ฉาด ๆ – ฉะฉาด
5. “ยะ/ระ/ละ” เช่น ยิบ ๆ ยับ ๆ – ยะยิบยะยับ, รัว ๆ – ระรัว, ลิบ ๆ – ละลิบ
6. “อะ” เช่น อันไร/อันใด – อะไร, อันหนึ่ง – อนึ่ง
7. “จะ” เช่น เจื้อยเจื้อย – จะเจื้อย, แจ้วแจ้ว – จะแจ้ว, จ้อจ้อ – จะจ้อ
สําหรับคําอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นไปตามนี้ ได้แก่ ผู้ญาณ – พยาน, ชาตา – ชะตา, ช้าพลู – ชะพลู, เฌอเอม – ชะเอม, ชีผ้าขาว – ชีปะขาว, คํานึง – คะนึง เป็นต้น

52. “กระเสือกกระสน” เป็นคําอุปสรรคเทียมชนิดใด
(1) แบ่งคําผิด
(2) กร่อนเสียง
(3) เทียบแนวเทียบผิด
(4) เพิ่มเสียงไม่ให้คอนกัน
ตอบ 4 หน้า 95 (56256), 85 (H) อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการเพิ่มเสียงเพื่อไม่ให้เสียงคอนกัน คือ การเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ว่า “กระ”) เข้าไป 2 เสียงในคําซ้อนเพื่อเสียงที่หน้าพยางค์ต้น และหน้าพยางค์ท้าย ซึ่งมีเสียงเสมอกันและเป็นคําที่สะกดด้วย “ก” เหมือนกัน ได้แก่
1. ดุกดิก – กระดุกกระดิก
2. ยึกยัก – กระยึกกระยัก
3. เสือกสน – กระเสือกกระสน
4. โตกตาก – กระโตกกระตาก
5. โชกชาก – กระโชกกระชาก
6. อักอ่วน – กระอักกระอ่วน
7.ชึกชัก – กระชักกระชัก
8. หลุกหลิก – กะหลุกกะหลิก
9. ปลูกเปลี้ย – กะปลกกะเปลี้ย
10. โดกเดก – กระโดกกระเดก ฯลฯ

53. ข้อใดมีคําอุปสรรคเทียมที่ได้จากการแบ่งคําผิด
(1) เปล้าจับเปล้าแยกหมู่ กระสาสู่กระสัง รังเรียงรังรังนาน
(2) แล้วปู่เป่าตะเคียนใหญ่ เก้าอ้อมใช่สามานย์
(3) สองคะนึงนัยใคร่รู้ ลูกหลานปู่ฤาผู้อื่นโอ้ไปงาม
(4) ตกใจสั่นระรัว กลัวฤทธิ์พระปู่ ผู้มีเดชเกรียงไกร
ตอบ 1 หน้า 94 (56256), 84 – 85 (H) อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการแบ่งคําผิด เกิดจากการพูด เพื่อให้เสียงต่อเนื่องกัน โดยการเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ว่า “กระ”) เข้าไป 1 เสียงใน คําที่พยางค์แรกสะกดด้วยเสียง “ก” เช่น นกจอก – นกกระจอก, นกตัว – นกกระตั้ว นกจิบ – นกกระจิบ, นกสา – นกกระสา, ลูกสุน – ลูกกระสุน, ลูกดุม – ลูกกระดุม ลูกเดือก – ลูกกระเดือก, ผักสัง – ผักกระสัง, ผักเฉด – ผักกระเฉด ฯลฯ

54. ข้อใดเป็นคําอุปสรรคเทียมที่เรียงตามลําดับต่อไปนี้
“…กร่อนเสียง เทียบแนวเทียบผิด เพิ่มเสียงไม่ให้เสียงคอนกัน แบ่งคําผิด…”
(1) มะม่วง กระดุกกระดิก กระอักกระอ่วน กระดุม
(2) คะนึง กระแอมกระไอ กระโดกกระเดก กระเฉด
(3) ตะราง กระเจิดกระเจิง กระโตกกระตาก ฉะฉาน
(4) พยาน ขโมยขโจร กะปลกกะเปลี้ย กระมิดกระเมี้ยน
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 51., 52. และ 53. ประกอบ) กลุ่มคําในตัวเลือกข้อ 2 เป็นคําอุปสรรคเทียม ที่เรียงลําดับตามโจทย์ได้อย่างถูกต้อง ดังนี้
1. ชนิดกร่อนเสียง ได้แก่ คํานึง – คะนึง
2. ชนิดเทียบแนวเทียบผิด ได้แก่ แอมไอ – กระแอมกระไอ
3. ชนิดเพิ่มเสียงไม่ให้เสียงคอนกัน ได้แก่ โดกเดก – กระโดกกระเดก
4. ชนิดแบ่งคําผิด ได้แก่ ผักเฉด – ผักกระเฉด

55. ข้อใดคือคุณลักษณะของคําอุปสรรคเทียมที่ได้จากการ “เทียบแนวเทียบผิด
(1) เติมเสียงยาว ต่อมากร่อนเสียงให้สั้นลง
(2) เกิดจากคําที่สะกดด้วย ก แล้วเพิ่มเสียง กะ 1 เสียง
(3) เกิดจากคําที่สะกดด้วย ก แล้วเพิ่มเสียง กะ 2 เสียง
(4) เกิดจากคําที่ไม่ได้สะกดด้วย ก แล้วเพิ่มเสียง กะ 2 เสียง
ตอบ 4 หน้า 94 – 96 (56256), 85 – 86 (H) อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการเทียบแนวเทียบผิด คือ การเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ว่า “กระ”) เข้าไป 2 เสียง ในคําซ้อนเพื่อเสียงที่หน้าพยางค์ต้น และหน้าพยางค์ท้ายไม่ได้สะกดด้วย “ก” ซึ่งยึดการใช้อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการเพิ่มเสียงไม่ให้ เสียงคอนกันมาเป็นแนวเทียบ แต่เป็นการเทียบแนวเทียบผิด เช่น แอมไอ – กระแอมกระไอ เจิดเจิง – กระเจิดกระเจิง, มิดเพี้ยน – กระมิดกระเมี้ยน ฯลฯ สําหรับคําอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นไป ตามนี้ ได้แก่ จมูกปาก – จมูกจปาก, ขโมยโจร – ขโมยขโจร ฯลฯ

ข้อ 56. – 60. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม
(1) ประโยคบอกเล่า
(2) ประโยคคําถาม
(3) ประโยคคําสั่ง
(4) ประโยคขอร้อง

56. “หลังสอบเสร็จเธอไปดูหนังกับฉันหน่อยนะ” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
ตอบ 4 หน้า 102 (56256), 92 – 93 (H) ประโยคขอร้องหรือชักชวน คือ ประโยคที่ผู้พูดต้องการ ขอร้องหรือชักชวนให้ผู้ฟังทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ตามที่ตนต้องการ ซึ่งการใช้คําพูดนั้นจะคล้ายกับ ประโยคคําสั่งแต่นุ่มนวลกว่า โดยในภาษาเขียนมักจะมีคําว่า “โปรดกรุณา” อยู่หน้าประโยค ส่วนในภาษาพูดนั้นอาจมีคําลงท้ายประโยค ได้แก่ เถอะ เถิด น่ะ นะ หน่อย ซิ ซี ฯลฯ

57. “ห้ามคุยกันในห้องสอบ” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
ตอบ 3 หน้า 102 (56256), 91 – 92 (H) ประโยคคําสั่ง คือ ประโยคที่ต้องการให้ผู้ฟังทําตามคําสั่ง มักละประธานและขึ้นต้นด้วยคํากริยา เช่น ไปได้แล้ว แต่ถ้าหากจะมีประธานก็จะระบุชื่อหรือ เน้นตัวบุคคลเพื่อให้คนที่ถูกสั่งรู้ตัว เช่น แดงออกไป นอกจากนี้ประโยคคําสั่งอาจมีกริยาช่วย “อย่า/ห้าม/จง/ต้อง” เพื่อสั่งให้ทําหรือไม่ให้ทําก็ได้

58. “วันนี้ใครมาสอบวิชาลักษณะภาษาไทยที่รามคําแหงทันเวลาบ้าง” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
ตอบ 2 หน้า 102 – 103 (56256), 93 – 94 (H) ประโยคคําถาม คือ ประโยคที่ต้องการคําตอบ อาจมี คําแสดงคําถาม ได้แก่ ใคร อะไร ที่ไหน ทําไม เมื่อไร อย่างไร หรือเปล่า หรือไม่ ไหม บ้าง ฯลฯ

59. “วันนี้ใครจะไปสอบทันล่ะ รถติดจะตาย” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
ตอบ 1 หน้า 103 – 104 (56256), 90 – 91, 93 – 94 (H) ประโยคบอกเล่า คือ ประโยคที่บอกเล่า เรื่องราวตามธรรมดา ซึ่งอาจใช้ในทางตอบรับหรือตอบปฏิเสธก็ได้ เช่น ไปแล้วจ้า, ไม่ได้ไปค่ะ ฯลฯ แต่บางครั้งประโยคที่มีคําแสดงคําถามว่า “ใคร/อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร” อาจใช้ ในประโยคบอกเล่าก็ได้ หากไม่ได้แสดงความสงสัยหรือไม่ได้ต้องการคําตอบ แต่จะเป็นการ กล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ โดยทั่วไป ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง

60. “กรุณาตรวจทานกระดาษคําตอบทุกครั้งก่อนส่งกรรมการในห้องสอบ” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 56. ประกอบ

61. ข้อใดเป็นคํากริยาที่ทําหน้าที่อย่างคํานาม
(1) ดําเป็นตอตะโก
(2) ช้าเป็นเต่าคลาน
(3) แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร
(4) ดีเป็นศรีแก่ตัว ชั่วพาตัวมัวหมอง
ตอบ 3 หน้า 108 – 109 (56256), 98 (H) คํากริยาที่ทําหน้าที่เป็นคํานาม เช่น นอนหลับทับสิทธิ์ หาบดีกว่าคอน, นอนดีกว่านั่ง, แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร, ความรักสีดํา, กินอยู่กับปาก ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําวิเศษณ์ที่ทําหน้าที่อย่างนาม)

62. คํานามในข้อใดแสดงเพศไม่ชัดเจนทุกคํา
(1) ลุงกับหลานไปหาหลวงตาที่วัด
(2) พ่อกับอาไปกินข้าวบ้านคุณลุง
(3) น้องไปบอกน้าให้พาพี่ไปหาหมอ
(4) อาพาลูกสะใภ้คนสวยไปกราบคุณยาย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

63.“เธอ” ในข้อใดเป็นสรรพนามบุรุษที่ 3
(1) เธอไปแล้ว
(2) เธอเข้าใจนะ
(3) เธอฟังให้ดีนะ
(4) เธอมาใกล้ ๆ หน่อย
ตอบ 1หน้า 112 – 113 (56256), 99 (H) สรรพนามบุรุษที่ 3 ใช้แทนผู้ที่พูดถึง ได้แก่ เขา มัน ท่าน แก นอกจากนั้นมักใช้เอ่ยชื่อเสียส่วนมาก ถ้าอยู่ในที่ที่จําเป็นต้องกล่าวคําดีงามหรือต่อหน้าผู้ใหญ่ มักมีคําว่า “คุณ/นาย/นาง/นางสาว” นําหน้าชื่อให้เหมาะสมแก่โอกาสด้วย เช่น คุณแม่ออกไป ทํางานแล้ว เป็นต้น (คําว่า “ท่าน/เธอ/คุณ” อาจเป็นได้ทั้งสรรพนามบุรุษที่ 2 (ผู้ที่พูดด้วย) และสรรพนามบุรุษที่ 3 โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงด้วยความยกย่อง เช่น เธอไปแล้ว, ท่านมาไม่ได้ ติดธุระด่วน ฯลฯ) (ส่วนคําว่า “เธอ” ในตัวเลือกข้ออื่นเป็นสรรพนามบุรุษที่ 2

64. ข้อใดใช้คําสรรพนามแสดงความไม่เฉพาะเจาะจง
(1) วันนี้เธอเป็นอะไร
(2) อะไรบ้างที่อยากได้
(3) อะไรที่ไม่ใช่ของตัวเอง
(4) อะไรกันเอาแต่ใจตัวเอง
ตอบ 4 หน้า 111, 116 – 118 (56256), 99 (H) คําสรรพนามที่บอกความไม่เฉพาะเจาะจง ได้แก่ “ใคร/อะไร/ใด/ไหน” ซึ่งเป็นคํากลุ่มเดียวกันกับสรรพนามที่บอกคําถาม แต่สรรพนามที่บอก ความไม่เฉพาะเจาะจงจะกล่าวถึงบุคคล สิ่งของ หรือสถานที่แบบลอย ๆ ไม่ชี้เฉพาะเจาะจงว่า เป็นใคร อะไรหรือที่ไหน และไม่ได้เป็นการถาม เช่น อะไรกันเอาแต่ใจตัวเอง ฯลฯ (ส่วนตัวเลือก ข้ออื่นเป็นสรรพนามที่บอกคําถาม)

65.“13 หมูป่าต่างติดอยู่ในถ้ำหลวง” ประโยคนี้ใช้คําสรรพนามชนิดใด
(1) เฉพาะเจาะจง
(2) ไม่เฉพาะเจาะจง
(3) บอกความแบ่งแยกเป็นส่วน ๆ
(4) ใช้แทนนามและเชื่อมประโยค
ตอบ 3 หน้า 111, 118 – 119 (56256), 99 – 100 (H) สรรพนามที่บอกความแบ่งแยกเป็นส่วน ๆ ได้แก่ คําว่า “ต่าง” (ใช้แทนผู้ทําหลายคนทํากริยาเดียวกัน แต่ไม่ได้ทําพร้อมกัน เช่น ต่างติด อยู่ในถ้ำหลวง), “บ้าง” (ใช้แทนผู้ทําหลายคนแยกกันทํากริยาคนละอย่าง เช่น บ้างยืนบ้างนั่ง) “กัน” (ใช้แทนนามที่ต่างก็ทํากริยาเดียวกัน เกี่ยวข้องกัน เช่น มาด้วยกันไปด้วยกัน)

66. การใช้คําสรรพนามในข้อใดที่แสดงออกชัดเจนที่สุดว่า ผู้พูดอยู่ในฐานะอาวุโสกว่าผู้ที่พูดถึง
(1) ยายส้มแกเป็นเด็กดีมาก
(2) ไอ้น้อยมันเป็นเพื่อนรักของฉัน
(3) ย่าช้อยมีฝีมือในการทํากับข้าวมาก
(4) คุณบุญปลูกเป็นที่เคารพรักของคนในหมู่บ้าน
ตอบ 1 หน้า 115 (56256), 99 (H) คําว่า “แก” เป็นสรรพนามบุรุษที่ 3 ซึ่งแสดงว่าไม่เคารพนับถือ มากนัก มักหมายถึงบุคคลน่าเวทนา น่าสมเพชมากกว่าน่านับถือ เช่น ยายแก่แก่ตาบอด ฯลฯ แต่ถ้าผู้ที่อาวุโสกว่าใช้พูดกับเด็กเล็ก ๆ กลับเป็นการแสดงความเอ็นดูรักใคร่ เช่น ยายส้มแก เป็นเด็กดีมาก ฯลฯ

67. ข้อใดใช้คํากริยาที่ไม่ต้องการกรรมทั้ง 2 ประโยค
(1) ฝนตกพรํา ๆ ทั้งคืน นกบินสูง
(2) ขาวชอบขับรถเร็ว แดงวิ่งเร็วมาก
(3) อาจารย์ตรวจข้อสอบ นักศึกษาตั้งใจเรียนดี
(4) พยาบาลดูแลคนไข้ คนไข้กําลังหายใจรวยริน
ตอบ 1 หน้า 105 (56256), 95 (H) ภาคแสดงหรือกริยา เป็นส่วนที่แสดงกิริยาอาการหรือการกระทํา ของภาคประธาน ซึ่งตามธรรมดากริยาจะมีตําแหน่งอยู่หลังประธาน และอยู่หน้ากรรม (กริยา ที่มีกรรมมารับ) เช่น ขาวชอบขับรถเร็ว, อาจารย์ตรวจข้อสอบ, พยาบาลดูแลคนไข้ ฯลฯ แต่ว่า คํากริยานั้นจะไม่มีกรรมก็ได้ (ประธาน + กริยา + ส่วนขยายกริยา) เช่น ฝนตกพรำๆทั้งคืน, นกบินสูง, แดงวิ่งเร็วมาก, นักศึกษาตั้งใจเรียนดี, คนไข้กําลังหายใจรวยริน ฯลฯ

68. ประโยคในข้อใดมีคํากริยาช่วย
(1) น้องโบว์เต้นเก่ง
(2) น้องขวัญร้องเพลงเพราะ
(3) น้องฝ้ายไปออกกําลังกาย
(4) น้องมายด์กําลังซ้อมเต้นรํา
ตอบ 4 หน้า 120 – 124 (56256), 100 – 101 (H) คํากริยาช่วย คือ คําที่ช่วยบอกเนื้อความของกริยา
ต่าง ๆ ให้แจ่มแจ้งชัดเจน ได้แก่ คง อาจ น่าจะ กําลัง ควร ต้อง ได้ จะ แล้ว อยู่ ชอบ มา ฯลฯ ซึ่งแต่ละคํามีความหมายต่างกันไปและบอกให้รู้ถึงกาล (เวลา) เช่น น้องมายด์กําลังซ้อมเต้นรํา (บอกปัจจุบัน) เป็นต้น และบอกมาลา (ภาวะหรืออารมณ์) เช่น เขียวชอบร้องเพลงเร็ว เป็นต้น

69. ข้อใดใช้คํากริยาการีต
(1) ฉันจะไปห้องสมุด
(2) ฉันจะไปซื้อของ
(3) ฉันจะไปว่ายน้ำ
(4) ฉันจะไปทําฟัน
ตอบ 4 หน้า 128 (56256), (คําบรรยาย) คํากริยาธรรมดาที่มีความหมายเป็นการีต (ทําให้) เป็นคําที่กําหนดขึ้นเป็นพิเศษ และมีความหมายเฉพาะเป็นที่รู้กัน ซึ่งดูเหมือนว่าประธานเป็นผู้กระทํา กริยานั้นเอง แต่ที่จริงแล้วประธานเป็นผู้ถูกกระทํา เช่น ไปดูหมอ (ที่จริงคือ ให้หมอดูโชคชะตา ให้ตน), ไปตรวจโรค (ที่จริงคือ ให้หมอยาตรวจโรคให้ตน), ไปตัดเสื้อทําผม (ที่จริงคือ ให้ช่าง ตัดเสื้อและทําผมให้ตน), ไปทําฟัน (ที่จริงคือ ให้หมอฟันทําฟันให้ตน) ฯลฯ

70. “เลิกคุยทั้งอําเภอเพื่อเธอคนเดียว” ทั้งอําเภอ เป็นคํากริยาวิเศษณ์ชนิดใด
(1) บอกประมาณ
(2) บอกภาวะ
(3) บอกความไม่เฉพาะเจาะจง
(4) บอกความแบ่งแยกเป็นส่วน ๆ
ตอบ 1 หน้า 139 (56256), 103 (H) คํากริยาวิเศษณ์บอกประมาณ ได้แก่ มาก น้อย ทั้ง นิดหน่อย มากมาย เหลือเกิน พอ ครบ ขาด หมด สิ้น แทบ เกือบ จวน เสมอ บ่อย ฯลฯ ซึ่งคําเหล่านี้ ต้องวางอยู่หลังคํากริยา เช่น เลิกคุยทั้งอําเภอ ฯลฯ

71. “น้ําน้อยย่อมแพ้ไฟ” ประโยคนี้ใช้คําคุณศัพท์ชนิดใด
(1) บอกความแบ่งแยก
(2) บอกจํานวนนับไม่ได้
(3) บอกลักษณะหรือภาวะ
(4) บอกความไม่เฉพาะเจาะจง
ตอบ 2 หน้า 132 – 133 (56256), 102 (H) คําคุณศัพท์บอกจํานวนนับไม่ได้ (ประมาณคุณศัพท์) หรือคําคุณศัพท์บอกจํานวนประมาณ ได้แก่ มาก น้อย นิด หน่อย ครบ พอ เกิน เหลือ ขาด ถ้วน ครบถ้วน หมด หลาย ทั้งหลาย ทั้งหมด ทั้งสิ้น ทั้งนั้น ทั้ง ฯลฯ ซึ่งตามปกติมักจะอยู่หลัง คํานามที่ตนเองไปขยาย เช่น น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ เป็นต้น

72. ข้อใดเป็นคําคุณศัพท์ชนิดที่เป็นคําถาม
(1) เพื่อนฉันไปไหน
(2) คนไหนเพื่อนฉัน
(3) ทําอะไรกับเพื่อนฉัน
(4) ไหน ๆ เราก็เป็นเพื่อนกันนะ
ตอบ 2 หน้า 135 – 137 (56256), 102 (H) คุณศัพท์ที่เป็นคําถาม ได้แก่ ใด อะไร ไหน ไร ซึ่งเป็น คํากลุ่มเดียวกันกับคุณศัพท์ที่บอกความไม่ชี้เฉพาะเจาะจง แต่คุณศัพท์ที่เป็นคําถามจะใช้ถาม คําถาม และต้องมีนามมาข้างหน้า เช่น คนไหนเพื่อนฉัน ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นไม่มีคํานาม นําหน้า)

73. “ผู้พูดควรให้เกียรติแก่ผู้ฟัง” ข้อความนี้ใช้คําบุรพบทชนิดใด
(1) คําบอกทิศทางที่มุ่งไป
(2) คําแสดงความเป็นเจ้าของ
(3) คําเกี่ยวกับการให้หรือการรับ
(4) คําที่เป็นเครื่องประกอบหรือเกี่ยวเนื่องกัน
ตอบ 3 หน้า 145 – 147 (56256), 105 (H) คําบุรพบทที่นําหน้าคําที่เกี่ยวกับการให้หรือการรับ ได้แก่ แก่, แก่, ต่อ, เพื่อ, สําหรับ, เฉพาะ เช่น ผู้พูดควรให้เกียรติแก่ผู้ฟัง ฯลฯ

74. “เสียงและน้ําเสียงเป็นปัจจัยสําคัญของการพูด เพราะการเปล่งเสียงพูดเป็นการแสดงออกของมนุษย์ เพื่อสื่อความคิดของตนให้ผู้อื่นทราบ” ข้อความที่ยกมานี้มีคําบุรพบทที่คํา
(1) 3 คำ
(2) 4 คํา
(3) 5 คํา
(4) 6 คำ
ตอบ 2 หน้า 142 – 152 (56256), 104 – 106 (H) ข้อความข้างต้นมีคําบุรพบททั้งหมด 4 คํา ได้แก่ เสียงและน้ําเสียงเป็นปัจจัยสําคัญของการพูด เพราะการเปล่งเสียงพูดเป็นการแสดงออกของ มนุษย์เพื่อสื่อความคิดของตนให้ผู้อื่นทราบ

75. “การวิจารณ์มิได้มีประโยชน์แก่ผู้พูดเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์แก่ผู้ติชมอีกด้วย” ข้อความที่ยกมานี้ใช้คําสันธานชนิดใด
(1) ขัดแย้งกัน
(2) เปรียบเทียบกัน
(3) เป็นเหตุเป็นผลกัน
(4) รวมเข้าด้วยกัน
ตอบ 1 หน้า 155 – 156 (56256), 106 (H) คําสันธานที่เชื่อมความที่ขัดแย้งกันไปคนละทาง ได้แก่ แต่, แต่ว่า แต่ทว่า, จริงอยู่….แต่ ถึง…ก็, กว่า….ก็, ทั้งที่ ทั้ง ๆ ที่

76. “ชายหนุ่มคิดเพียงแต่ว่าหากไม่เลือกงาน เขาคงหางานได้ไม่ยาก” ข้อความนี้ใช้คําสันธานชนิดใด
(1) เปรียบเทียบกัน
(2) เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง
(3) คาดคะเนหรือแบ่งรับแบ่งสู้
(4) ให้ได้ความไพเราะสละสลวย
ตอบ 3 หน้า 156 – 157 (56256), 107 (H) คําสันธานที่เชื่อมความคาดคะเนหรือแบ่งรับแบ่งสู้ ได้แก่ ถ้า, หาก, ถ้า…ก็, ถ้า…จึง, ถ้าหากว่า แม้แต่ แม้ว่า, เว้นแต่, นอกจาก

77. “นั่นแน่อยู่ตรงนี้นี่เอง” ข้อความนี้เป็นคําอุทานที่มาจากคําสรรพนามชนิดใด
(1) บอกความเฉพาะเจาะจง
(2) บอกความไม่เฉพาะเจาะจง
(3) ใช้แทนนามและเชื่อมประโยค
(4) บอกความแบ่งแยกเป็นส่วน ๆ
ตอบ 1 หน้า 111, 115 – 116 (56256), 99 (H) สรรพนามที่แสดงความเฉพาะเจาะจง ได้แก่ “นี้ นั้น โน้น นี่ นั่น โน่น” ซึ่งคําทั้งหมดนี้ใช้แทนสิ่งที่พูดถึง อะไรก็ได้เพราะไม่ได้ระบุชื่อ ในขณะนั้น และคําว่า “นั่นนี่” ยังใช้สร้างคําขึ้นใหม่ โดยมากจะเป็นคําอุทานที่แต่ละคํา ก็มีความหมายเฉพาะอย่างหนึ่ง ๆ ต่างกันไป ได้แก่ “นั่นแน่ นั่นแน่ะ นั่นซี นั่นแหละ นี่ซิ นี่แหละ นั่นไง นั่นเป็นไง”

78. คําใดคือลักษณนามของ “กริช”
(1) เล่ม
(2) ด้าม
(3) อัน
(4) กริช
ตอบ 1 หน้า 160 – 165 (56256), 109 – 110 (H) คําลักษณนาม คือ คําที่ตามหลังคําบอกจํานวนนับ เพื่อบอกรูปลักษณะและชนิดคํานามที่อยู่ข้างหน้าคําบอกจํานวนนับ มักจะเป็นคําพยางค์เดียว แต่เป็นคําที่สร้างขึ้นใหม่โดยอาศัยการอุปมาเปรียบเทียบ การเลียนเสียงธรรมชาติ การเทียบ แนวเทียบ และการใช้คําซ้ำกับคํานามนั้นเอง (กรณีที่ไม่มีลักษณนามโดยเฉพาะ) เช่น กริซ (เล่ม), ไหล่ถนน หรือไหล่ทาง (ข้าง), หูโทรศัพท์ (อัน) ฯลฯ

79. คําใดคือลักษณนามของ “ไหล่ถนน หรือไหล่ทาง”
(1) ไหล่
(2) ข้าง
(3) เส้น
(4) ทาง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

80. คําใดคือลักษณนามของ “หูโทรศัพท์”
(1) ชุด
(2) ข้าง
(3) อัน
(4) หู
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

ข้อ 81 – 90. อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม โดยให้สัมพันธ์กับข้อความที่ให้อ่าน

จากความใกล้ชิดกับบรรดาพ่อแม่ที่มีลูกโต (7 ปีขึ้นไปถึงวัยรุ่น) นิตยสาร Life & family บ่อยครั้งก็ได้รับเสียงสะท้อนจากพ่อแม่ว่า ลูกยิ่งโตยิ่งได้รับอิทธิพลจากสื่อทั้งทีวี เพลง มิวสิกวิดีโอ นิตยสาร และอื่น ๆ ทําให้ค่านิยมเปลี่ยนไปในทางที่น่าเป็นห่วงโดยเฉพาะลูกสาววัยรุ่น

เราจึงได้นําเสนอประเด็นนี้ในคอลัมน์รู้จักใจลูกวัย 13 ปีขึ้นไปถึงวัยรุ่น เพื่อสะกิดเตือนพ่อแม่ และผู้ใหญ่ให้เห็นอิทธิพลของสื่อและทางป้องกัน และนํามาส่งสัญญาณเตือนกันอีกครั้ง ณ ที่นี้ค่ะ

สังคมทุกวันนี้ผสมผสานคลุกเคล้าทั้งวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมต่างชาติ จนทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ก็สับสนกันพอสมควร โดยเฉพาะค่านิยมทางเพศ ผู้หญิงกล้าแสดงออกมากขึ้น เปิดเผยมากขึ้น และก็มีเซ็กซ์กันง่ายขึ้นด้วย

มีงานวิจัยออกมามากว่า….วัยรุ่นมากกว่าครึ่งยอมรับว่า การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนเป็น เรื่องธรรมดา หรือค่านิยมใหม่นักศึกษาสาวชอบหลอกฟันหนุ่มบําเรอกาม

ค่านิยมเหล่านี้เข้ามาในสังคมบ้านเราในยุคที่เปิดกว้างรับทุกอย่าง โดยไหลผ่านสื่อเข้ามา และความสามารถในการกรองสื่อของเด็กก็เป็นไปแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ

เรื่องนี้คุณหมอสุกมล วิภาวิพลกุล ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเพศศึกษาได้กล่าวว่า ที่น่าห่วงคือ สื่อต่าง ๆ มีอิทธิพลต่อเด็กและวัยรุ่นในเรื่องของทัศนคติทางเพศ โดยเฉพาะในรูปแบบของโฆษณา ซึ่งสมัยก่อนหญิงชายจะแตะเนื้อต้องตัวกันไม่ได้ แต่เดี๋ยวนี้ในโฆษณามีภาพการเล้าโลมสัมผัสหรือ ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายเริ่มต้นจีบผู้ชาย ซึ่งตรงนี้เองจะทําให้ทัศนคติของวัยรุ่นค่อย ๆ เปลี่ยนไป ค่อย ๆ ซึมซับ มองเรื่องแบบนี้เป็นเรื่องธรรมดา

แล้วในขณะที่สื่อพวกนี้มาแรง สื่อทางวัฒนธรรมไทยก็อ่อนกําลังลง คําพูดที่กล่าวว่า อย่าชิงสุก ก่อนห่าม ให้อดเปรี้ยวไว้กินหวาน หมดความหมายไปแล้ว

ที่น่าห่วงคือ เด็กยังคิดไปไม่ได้ไกล คิดแค่…โป๊อีกนิดสิอินเทรนด์หรือแค่จีบเล่น ๆ ไม่เห็นเป็นไร แต่ยังไม่ทันคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป

คุณหมอแนะว่า ต้องสอนลูกวัยรุ่นให้มีความเป็นตัวของตัวเอง รู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง และ มีวุฒิภาวะ ซึ่งเป็นความสามารถของสมองส่วนคิดที่มีเหนือกว่าสมองส่วนหยาบ เด็กต้องได้รับการพัฒนา ความสามารถของสมองส่วนคิด ซึ่งเกิดจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ การศึกษาที่โรงเรียน วัฒนธรรม และ สื่อมวลชน เพราะสิ่งเร้าอารมณ์ทั้งหลายมันกระตุ้นสมองส่วนหยาบ

ดังนั้นพ่อแม่ต้องเลี้ยงดูลูกให้รู้จักควบคุมสมองส่วนหยาบ ถ้าเด็กอยากได้อะไรแล้วได้ทันที รอไม่เป็น จะสอนให้เขาควบคุมในเรื่องเพศได้อย่างไร ฝึกลูกให้มีวิจารณญาณต่อเรื่องต่าง ๆ รอบตัว โดยเฉพาะที่มากับสื่อ

และต้องเลี้ยงลูกให้ตระหนักในคุณค่าของตัวเอง ไม่ให้ลูกรู้สึกต่ำต้อยด้อยค่าเพราะเพื่อน ๆ มีแฟนกันหมดแล้วตัวเองไม่มี หรือต้องให้มีผู้ชายมารับ เพื่อจะได้รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าหรือเกิดผู้ชายทิ้ง ไปแล้วรู้สึกคุณค่าในตัวเองลดลงจนต้องฆ่าตัวตาย

ความรักความอบอุ่นของพ่อแม่จะทําให้ลูกรู้สึกตัวเองมีคุณค่า และยิ่งพ่อแม่ทําตัวเป็นเพื่อน กับลูก ลูกก็จะกล้าคุยปรึกษาหารือปัญหาต่าง ๆ กับพ่อแม่ โดยเฉพาะเรื่องเพศ พ่อแม่อาจบอกลูกสาวว่า “ลูก คือ เด็กผู้หญิงที่พ่อแม่รักที่สุดในโลก พ่อแม่จึงอยากให้ลูกรักษาเนื้อรักษาตัว โดยการไม่พาตัวเอง เข้าไปอยู่ในสถานการณ์เสี่ยง เพราะถ้าลูกเป็นอะไรไปคุณพ่อคุณแม่หัวใจแตกสลาย”

และกับลูกชายอาจบอกว่า “ลูก คือ เด็กหนุ่มที่พ่อแม่ภาคภูมิใจ เพราะฉะนั้นจึงอยากให้ลูก ตั้งใจเรียนเพื่อรับผิดชอบตัวเอง และสามารถรับผิดชอบคนที่จะมาใช้ชีวิตคู่ร่วมกันกับเราได้ รักพี่สาว รักคุณแม่อย่างไร เราต้องให้เกียรติสุภาพสตรีคนอื่นเช่นเดียวกัน”

เราสามารถใช้สื่อต่าง ๆ เป็นตัวจุดชนวนเปิดประเด็นที่จะคุยกับลูก แล้วฟังเขา หรืออาจ ฉวยโอกาสสอน เช่น เมื่อมีฉากกอดจูบ เราอาจบอกลูกสาวว่า การกอดจูบเป็นวัฒนธรรมต่างประเทศ เราไม่กอดกันเพราะว่าเราเป็นเมืองร้อน แล้วเราก็ไม่จูบกันเพราะว่าคนไทยกินอาหารรสจัด แล้วก็แลกเปลี่ยนความคิดกัน

หากลูกมองเห็นคุณค่าในตัวเอง และมีวิจารณญาณกับเรื่องต่าง ๆ รอบตัวแล้ว….แม้สิ่งเร้า ภายนอกจะแรงแค่ไหนก็ไหวได้แค่กิ่งใบ ไม่สามารถหักกลางลําได้แน่ค่ะ

81. สังคมที่คลุกเคล้าวัฒนธรรมมีผลเชิงลบต่อกลุ่มใด
(1) เด็ก
(2) เยาวชน
(3) ผู้ใหญ่
(4) ทุกกลุ่ม
ตอบ 4 จากข้อความ… สังคมทุกวันนี้ผสมผสานคลุกเคล้าทั้งวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมต่างชาติ จนทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ก็สับสนกันพอสมควร โดยเฉพาะค่านิยมทางเพศ ผู้หญิงกล้าแสดงออก มากขึ้น เปิดเผยมากขึ้น และก็มีเซ็กซ์กันง่ายขึ้นด้วย

82. สิ่งใดมีผลต่อค่านิยมที่เปลี่ยนไปของวัยรุ่น
(1) การศึกษาขั้นพื้นฐาน
(2) สังคมวัตถุนิยม
(3) การศึกษาในระดับอุดมศึกษา
(4) ความสามารถในการกรองสื่อ
ตอบ 4 จากข้อความ… ลูกยิ่งโตยิ่งได้รับอิทธิพลจากสื่อทั้งทีวี เพลง มิวสิกวิดีโอ นิตยสาร และอื่น ๆ ทําให้ค่านิยมเปลี่ยนไปในทางที่น่าเป็นห่วงโดยเฉพาะลูกสาววัยรุ่น…ค่านิยมเหล่านี้เข้ามาใน สังคมบ้านเราในยุคที่เปิดกว้างรับทุกอย่าง โดยไหลผ่านสื่อเข้ามา และความสามารถในการ กรองสื่อของเด็กก็เป็นไปแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ

83. ความสามารถในการกรองสื่อ หมายถึงลักษณะใด
(1) การวิจารณ์
(2) การวิเคราะห์
(3) การประเมิน
(4) การประมาณ
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ) ความสามารถในการกรองสื่อ หมายถึง การรู้จักวิเคราะห์ ใคร่ครวญ กลั่นกรองเนื้อหาของสื่อต่าง ๆ เพื่อแยกแยะค่านิยมที่ดี ไม่ดีให้ถ่องแท้

84. สิ่งใดมีผลต่อพฤติกรรมที่สมควรของวัยรุ่น
(1) ความรู้
(2) สติ
(3) การคิดเป็น
(4) ความสามารถในการรับรู้
ตอบ 3 จากข้อความ… เด็กต้องได้รับการพัฒนาความสามารถของสมองส่วนคิด ซึ่งเกิดจากการเลี้ยงดู
ของพ่อแม่ การศึกษาที่โรงเรียน วัฒนธรรม และสื่อมวลชน เพราะสิ่งเร้าอารมณ์ทั้งหลายมัน กระตุ้นสมองส่วนหยาบ (สมองส่วนคิดในที่นี้ก็คือ การคิดเป็น ซึ่งเป็นสิ่งที่มีผลต่อพฤติกรรมที่ สมควรของวัยรุ่น)

85. ผู้ที่ทําร้ายจนถึงขั้นทําลายตนเองได้เกิดจากอะไร
(1) สังคมกดดัน
(2) พ่อแม่บีบคั้น
(3) การไม่รักตนเอง
(4) ความรู้สึกว่าตนด้อยค่า
ตอบ 4 จากข้อความ…. และต้องเลี้ยงลูกให้ตระหนักในคุณค่าของตัวเอง ไม่ให้ลูกรู้สึกต่ำต้อยด้อยค่า เพราะเพื่อน ๆ มีแฟนกันหมดแล้วตัวเองไม่มี หรือต้องให้มีผู้ชายมารับ เพื่อจะได้รู้สึกว่าตัวเอง มีคุณค่าหรือเกิดผู้ชายทิ้งไปแล้วรู้สึกคุณค่าในตัวเองลดลงจนต้องฆ่าตัวตาย

86. เราควรทําอย่างไรกับสมองส่วนหยาบ
(1) กําจัด
(2) จํากัด
(3) พัฒนา
(4) ฝึกทักษะ
ตอบ 2 จากข้อความ…. ดังนั้นพ่อแม่ต้องเลี้ยงดูลูกให้รู้จักควบคุมสมองส่วนหยาบ ถ้าเด็กอยากได้อะไร แล้วได้ทันที รอไม่เป็น จะสอนให้เขาควบคุมในเรื่องเพศได้อย่างไร ฝึกลูกให้มีวิจารณญาณต่อ เรื่องต่าง ๆ รอบตัว โดยเฉพาะที่มากับสื่อ (การควบคุมสมองส่วนหยาบในที่นี้ก็คือ การกํากับ ดูแลหรือจํากัดความสามารถของสมองส่วนหยาบไม่ให้เหนือกว่าสมองส่วนคิด)

87. ข้อใดตรงกับข้อสรุปของข้อความที่ให้อ่าน
(1) เลี้ยงลูกให้ถูกวิธีจะปิดกั้นอิทธิพลลบจากสื่อได้เด็ดขาด
(2) การแก้ไขพฤติกรรมวัยรุ่นเป็นเรื่องสายเกินแก้เสียแล้ว
(3) วัยรุ่นอาจหวั่นไหวด้วยอิทธิพลจากสื่อได้บ้าง แต่การเลี้ยงดูที่ถูกต้องจะป้องกันได้
(4) สื่อในทางผิด ๆ และวัฒนธรรมไทยที่อ่อนแอลงมีผลต่อพฤติกรรมวัยรุ่นอย่างไม่มีทางป้องกัน
ตอบ 3 จากข้อความ… หากลูกมองเห็นคุณค่าในตัวเอง และมีวิจารณญาณกับเรื่องต่าง ๆ รอบตัวแล้ว …แม้สิ่งเร้าภายนอกจะแรงแค่ไหนก็ไหวได้แค่กิ่งใบ ไม่สามารถหักกลางลําได้แน่ค่ะ

88. โวหารการเขียนเป็นแบบใด
(1) อธิบาย
(2) พรรณนา
(3) บรรยาย
(4) อภิปราย
ตอบ 1 หน้า 72 (54351), (คําบรรยาย) โวหารเชิงอธิบาย คือ โวหารที่ใช้ในการชี้แจงเพื่อให้ผู้อ่าน เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง ซึ่งเป็นการให้ความรู้หรือข้อมูลแต่เพียงด้านเดียว อาจจะเป็นด้านบวกหรือด้านลบก็ได้ โดยมีการชี้แจงแสดงเหตุและผล การยกตัวอย่างประกอบ การเปรียบเทียบ และการจําแนกแจกแจง เช่น การอธิบายความหมายของคํา กฎเกณฑ์ ทฤษฎี และวิธีการต่าง ๆ

89. แนวเรื่องเป็นไปในลักษณะใด
(1) ให้ข้อมูล
(2) แสดงทัศนะ
(3) วิพากษ์วิจารณ์
(4) ให้ข้อมูลและแสดงทัศนะ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แนวเรื่อง คือ จุดประสงค์ของผู้เขียนในเรื่องนี้จะเป็นไปในลักษณะของ การให้ข้อมูลและแสดงทัศนะหรือความคิดเห็นไปพร้อม ๆ กัน

90. ท่วงทํานองเขียนเป็นแบบใด
(1) กระชับรัดกุม
(2) เรียบง่าย ใช้ภาษาพูดปะปน
(3) สละสลวย สื่อภาพพจน์
(4) มีภาษาต่างประเทศปนอยู่
ตอบ 2 หน้า 58 (54351) ผู้เขียนใช้ท่วงทํานองเขียนแบบเรียบง่าย คือ ท่วงทํานองเขียนที่ใช้คําง่าย ชัดเจน การผูกประโยคไม่ซับซ้อน ทําให้อ่านง่ายและเข้าใจได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาในการ ขบคิดมากนัก แต่จะมีการใช้ภาษาพูดปะปนบ้างในบางย่อหน้า

ข้อ 91 – 94. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) จมไม่ลง ทอดสะพาน ชื่อเหมือนแมวนอนหวด
(2) สาวไส้ให้กากิน ดีดลูกคิดรางแก้ว ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น
(3) ทองไม่รู้ร้อน สีซอให้ควายฟัง น้ำอุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก
(4) เรียนผูกต้องเรียนแก้ น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่

91. ข้อใดเป็นสํานวนทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 119 – 121 (H) ข้อแตกต่างของสํานวน คําพังเพย และสุภาษิต มีดังนี้
1. สํานวน หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นอย่างกะทัดรัด ใช้คําน้อยแต่กินความหมายมาก และ เป็นความหมายโดยนัยหรือโดยเปรียบเทียบ เช่น จมไม่ลง (เคยทําตัวยิ่งใหญ่มาแล้วทําให้ เล็กลงไม่ได้), ทอดสะพาน (แสดงกิริยาท่าทางเป็นทํานองว่าอยากจะติดต่อด้วย), ชื่อเหมือน แมวนอนหวด (ทําเป็นชื่อ), ทองไม่รู้ร้อน (เฉยเมย ไม่กระตือรือร้น) เป็นต้น

2. คําพังเพย หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อตีความ สรุปเหตุการณ์ สภาวการณ์ บุคลิก และอารมณ์ให้เข้ากับเรื่อง มีความหมายกลาง ๆ ไม่เน้นการสั่งสอน แต่แฝงคติเตือนใจให้ นําไปปฏิบัติหรือไม่ให้นําไปปฏิบัติ เช่น สาวไส้ให้กากิน (นําความลับของฝ่ายตนไปเปิดเผย ให้คนอื่นรู้), ดีดลูกคิดรางแก้ว (คิดถึงผลที่จะได้อยู่ทางเดียว), ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น (ลูกย่อม ไม่ต่างจากพ่อแม่มากนัก), สีซอให้ควายฟัง (สั่งสอนคนโง่มักไม่ได้ผล เสียเวลาเปล่า) เป็นต้น

3. สุภาษิต หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อสั่งสอนโดยตรง ซึ่งอาจเป็นคติ ข้อติติง คําจูงใจ หรือคําห้าม และเนื้อความที่สั่งสอนก็เป็นความจริง เป็นความดีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เช่น น้ําอุ่นไว้ใน น้ําใสไว้นอก (แม้จะไม่พอใจก็ควรแสดงสีหน้าที่ยิ้มแย้ม), เรียนผูกต้องเรียนแก้ (เมื่อรู้วิธีทํา ก็ต้องรู้วิธีแก้ไข), น้ําเชี่ยวอย่าขวางเรือ (อย่าขัดขวางผู้ที่มีอํานาจหรือผู้ที่กําลัง โกรธจัด), ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ (ให้รู้จักพิจารณาลักษณะบุคคลหรือผู้หญิงที่จะเลือก เป็นคู่ครอง) เป็นต้น

92. ข้อใดเป็นคําพังเพยทั้งหมด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

93. ข้อใดเป็นสุภาษิตทั้งหมด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

94. ข้อใดเรียงลําดับถูกต้องตั้งแต่สํานวน คําพังเพย และสุภาษิต
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

95. ข้อใดมีความหมายว่า “ดีแต่พูดแต่ทําไม่ได้”
(1) เนื้อเต่ายําเต่า
(2) ลางเนื้อชอบลางยา
(3) ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก
(4) บนข้าวผี ที่ข้าวพระ
ตอบ 3 ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก = ดีแต่พูดแต่ทําไม่ได้ (ส่วนเนื้อเต่ายําเต่า – นําเอาทรัพย์สินในส่วน ที่เป็นกำไรหรือดอกเบี้ยกลับไปลงทุนต่อไปอีก โดยที่ไม่ต้องใช้ทุนเดิม, ลางเนื้อชอบลางยา = ของสิ่งเดียวกัน ถูกกับคนหนึ่ง แต่ไม่ถูกกับอีกคนหนึ่ง, บนข้าวผี ที่ข้าวพระ = ขอร้องให้ผีสาง เทวดาช่วยเหลือโดยจะแก้บนเมื่อประสบผลสําเร็จแล้ว)

96. “ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์” มีความหมายตรงกับข้อใด
(1) ยกเรื่องต่าง ๆ มาอ้างเพื่อป้องกันตัวเอง
(2) ปล่อยไปตามเรื่องตามราว ไม่เอาเป็นธุระ
(3) คนที่กันท่าคนอื่นในสิ่งที่ตนใช้ประโยชน์ไม่ได้
(4) ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ทํา จึงจะประสบความสําเร็จ
ตอบ 2 ชั่วช่างซี ดีช่างสงฆ์ – ปล่อยไปตามเรื่องตามราว ไม่เอาเป็นธุระ

97. เสียงพูดข้อใดเขียนวรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง
(1) ฉันช๊อบชอบ เด็กคนนี้ซ้นชน
(2) กินจนอิ่มอิ่ม ช้างตัวโต๊โต
(3) ไปเที่ยวบ๊อยบ่อย เขามีชีวิตดี๊ดี
(4) เสื้อผ้าเก๊าเก่า ชาวบ้านจ๊นจน
ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ) คําที่เขียนรูปวรรณยุกต์ผิด ได้แก่ ฉันช๊อบชอบ เด็กคนนี้ซ๊นชน ซึ่งที่ถูกต้องคือ ฉันช้อบชอบ เด็กคนนี้ซ้นชน

98. ข้อใดมีคําผิดอยู่ในประโยค
(1) น้องชอบกินอินทผลัม
(2) ฉันไปซื้อของที่อนุเสารีย์ชัย
(3) ช่างแกะสลักทํางานประณีตมาก
(4) หมู่บ้านนี้มีคนเป็นโรคไหลตาย
ตอบ 2 คําที่สะกดผิด ได้แก่ ฉันไปซื้อของที่อนุเสารีย์ชัย
ซึ่งที่ถูกต้องคือ ฉันไปซื้อของที่อนุสาวรีย์ชัย

99. ข้อใดสะกดถูกทุกค่า
(1) จตุรัส รื่นรมณ์ เบญจเพศ
(2) บังสุกุล บิณฑบาต โลกาภิวัตน์
(3) เหลวไหล กระทันหัน แมลงสาป
(4) กะทัดรัด กระเพรา ไอศกรีม
ตอบ 2 คําที่สะกดผิด ได้แก่ จตุรัส รื่นรมณ์ เบญจเพศ กระทันหัน แมลงสาป กระเพรา
ซึ่งที่ถูกต้องคือ จัตุรัส รื่นรมย์ เบญจเพส กะทันหัน แมลงสาบ กะเพรา

100. ข้อใดมีค่าที่สะกดถูกขนาบคําที่สะกดผิด
(1) รสชาติ สัมมนา กระทะ
(2) กงสุล ลําไย สีสัน
(3) กระเพาะ จัดสรร เซ็นชื่อ
(4) มาตรฐาน ผาสุข อนุญาต
ตอบ 4 คําที่สะกดผิด ได้แก่ ผาสุข ซึ่งที่ถูกต้องคือ ผาสุก

101. ข้อใดสะกดผิดทุกคํา
(1) ขนมเค้ก สัมมนา อิ่มแปล้
(2) ร่ำลือ ลายเซ็น สําอาง
(3) คุ้กกี้ นะค่ะ โน๊ตเพลง
(4) พังทลาย อาเพศ ผุดลุกผุดนั่ง
ตอบ 3 คําที่สะกดผิด ได้แก่ คุ้กกี้ ซึ่งที่ถูกต้องคือ

102. การเรียนใน…..นี้ ต้องค้นคว้าคำที่…..ไว้ในหนังสือให้หมดทุกคํา
(1) ขั้น คั่น
(2) คั่น ขั้น
(3) ขั้น ขั้น
(4) คั่น คั่น
ตอบ 1 คําว่า “ขั้น” = ลําดับ ตอน เช่น ในขั้นนี้ “คน” = แทรกหรือกั้นอยู่ในระหว่าง

103. ข้อใดมีคําที่สะกดผิดสลับกับคําที่สะกดถูก
(1) ผลัดวันประกันพรุ่ง ใบไม้ผลัดใบ ผลัดแป้งแต่งหน้า ผัดผ่อน
(2) ผัดวันประกันพรุ่ง ใบไม้ผลัดใบ ผลัดแป้งแต่งหน้า ผัดผ่อน
(3) ผลัดวันประกันพรุ่ง ใบไม้ ผัดใบ ผัดแป้งแต่งหน้า ผลัดผ่อน
(4) ผัดวันประกันพรุ่ง ใบไม้ผัดใบ ผัดแป้งแต่งหน้า ผลัดผ่อน
ตอบ 1 คําที่สะกดผิด ได้แก่ ผลัดวันประกันพรุ่ง ใบไม้ผัดใบ ผลัดแป้งแต่งหน้า ผลัดผ่อน ซึ่งที่ถูกต้องคือ ผัดวันประกันพรุ่ง ใบไม้ผลัดใบ ผัดแป้งแต่งหน้า ผัดผ่อน

104. นักเรียนช่วย…………………..กิ่งไม้นี้ให้เป็นรอยโดยรอบ ทําเสร็จแล้วจะให้กินอ้อย………..
(1) ขวั่น ควั่น
(2) ควัน ขวั่น
(3) ฃวั่น ขวั่น
(4) ควั่น ควั่น
ตอบ 4 คําว่า “ควัน” – ทําให้เป็นรอยด้วยคมมีดโดยรอบ, เรียกอ้อยที่ควั่นให้ขาดออกเป็นข้อ ๆ ว่า อ้อยควั่น (ส่วนคําว่า “ขวั่น” เป็นคําที่เขียนผิด)

105. อย่าไปห่วง……นักเลย เขาไม่ ……ดีต่อเธอเลยสักนิด
(1) ไย ใย
(2) ใย ไย
(3) ไย ไย
(4) ใย ใย
ตอบ 2 คําว่า “ห่วงใย” = มีใจพะวงอยู่, “ไยดี” – พอใจ ยินดี เอื้อ มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่ไยดี

106. ผู้หญิงคนที่ร่างสูง………เธอมีคุณสมบัติ…….
(1) เพียว เพียบพร้อม
(2) เพียว เพรียบพร้อม
(3) เพรียว เพรียบพร้อม
(4) เพรียว เพียบพร้อม
ตอบ 4 คําว่า “เพรียว” = เปรียว ฉลวย เรียว เช่น รูปร่างสูงเพรียว, “เพียบพร้อม” = เต็มเปี่ยม ครบทุกอย่าง (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําที่เขียนผิด)

107. เจ้าหน้าที่กําลังทําถนน……………………………
(1) ลาด ลาด
(2) ราด ราด
(3) ลาด ราด
(4) ราด สาด
ตอบ 1 คําว่า “ถนนลาดยาง” = ใช้เรียกถนนที่ปูผิวจราจรด้วยยางมะตอยผสมกับหินหรือทราย, “ทางลาดชัน” = ทางที่เป็นเนินขึ้นเขาหรือลงเขา (ส่วนคําว่า “ราด” = เทของเหลว ๆ เช่น น้ำให้กระจายหรือแผ่ไป)

108. ข้อใดใช้ภาษาพูด
(1) เมื่อไรเขาจะมา
(2) เขามาตั้งแต่เมื่อใด
(3) ขนมชิ้นนี้ราคาเท่าไหร่
(4) เธอเดินทางไปอย่างไร
ตอบ 3 หน้า 6 – 7 (54351) ระดับของคําในภาษาไทยมีศักดิ์ต่างกัน เวลานําไปใช้ก็ใช้ในที่ต่างกัน ดังนั้นจึงต้องพิจารณาใช้คําให้เหมาะสม กล่าวคือ
1. คําที่ใช้ในโอกาสที่เป็นทางการ ได้แก่ คําที่ใช้ในภาษาแบบแผน หรือภาษาเขียนของทาง ราชการ เช่น เมื่อใด เหตุใด อย่างไร เท่าไร เมื่อไร ฯลฯ
2. คําที่ใช้ในโอกาสที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่ คําที่ใช้ในภาษาพูด หรือการเขียนจดหมายส่วนตัว ถึงบุคคลที่สนิทสนมกัน ซึ่งในบางครั้งก็มักจะตัดคําให้สั้นลง เช่น เมื่อไหร่ เท่าไหร่ มหาลัยคณะวิศวะ นายก ฯลฯ

109……………………ถูกต่อย ………………..เมื่อวานนี้
(1) กรบเกลื่อน กบ
(2) กลบเกลื่อน กบ
(3) กรบเกลื่อน กลบ
(4) กลบเกลื่อน กลบ
ตอบ 2 คําว่า “กลบเกลื่อน” = ทําให้เรื่องเลือนหายไป, “กบ” = เต็มมาก เต็มแน่น เช่น ข้าวกับหม้อ เลือดกบปาก (ส่วนคําว่า “กรบเกลื่อน” เป็นคําที่เขียนผิด, “กลบ” – กิริยาที่เอาสิ่งซึ่งเป็นผง โรยทับไว้ข้างบนเพื่อปิดบัง)

110. เรียนผู้มี…….ทุกท่าน ห้างสรรพสินค้าขอ………….เงินจากทุกท่าน เพื่อนําไปช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม
(1) อุปการคุณ เรี่ยไร
(2) อุปการะคุณ เรี่ยไร
(3) อุปการคุณ เรี่ยราย
(4) อุปการะคุณ เรี่ยราย
ตอบ 1 คําว่า “อุปการคุณ” = ความช่วยเหลือเกื้อกูล ให้การอุดหนุน, “เรี่ยไร” = ขอร้องให้ช่วย ออกเงินทําบุญตามสมัครใจ (ส่วนคําว่า “อุปการะคุณ” เป็นคําที่เขียนผิด, “เรี่ยราย” = กระจายเกลื่อนไป)

111. ใต้ถุนเรือนมีแต่น้ำ…….ที่……ไปด้วยยุง
(1) คร่ำ คราคร่ำ
(2) คล่ำ คลาคล่ำ
(3) คร่ำ คลาคล่ำ
(4) คล่ำ คราคร่ำ
ตอบ 3 คําว่า “ครำ” = ใช้เรียกน้ําเสียที่ขังอยู่ในพื้นดินที่เป็นแอ่ง เช่น ใต้ถุนเรือน หรือในท่อระบาย น้ำเสียว่า น้ำครำ, “คลาคล่ำ” = ไปหรือมาเป็นจํานวนมาก (ส่วนคําว่า “คราคร่ำ” เป็นคําที่เขียนผิด, “คลำ” = กิริยาที่ใช้อวัยวะ เช่น มือทําการแตะ ลูบ หรือควานอย่างช้า ๆ เพื่อให้ รู้ว่าอะไรอยู่ที่ไหน)

ข้อ 112 – 114. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม
(1) ใช้คําฟุ่มเฟือย
(2) ใช้คําไม่มีเอกภาพ
(3) ใช้คํากํากวม
(4) ใช้คําผิดความหมาย

112. “เขาเดินสะดุดรองเท้าขาด” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
ตอบ 3 หน้า 11 (54351) การใช้คําที่มีความหมายหลายอย่างจะต้องคํานึงถึงถ้อยคําแวดล้อมด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความแจ่มชัด ไม่กํากวม เพราะคําชนิดนี้จะต้องอาศัยถ้อยคําที่แวดล้อมอยู่เป็น เครื่องช่วยในการกําหนดความหมาย เช่น เขาเดินสะดุดรองเท้าขาด (ใช้คํากํากวม) จึงควรแก้ไข ให้มีความหมายที่แน่ชัดลงไปเป็น เขาเดินสะดุดจนรองเท้าที่เขาใส่มาขาด

113. “มีกระบวนการค้ายาเสพติดอยู่ในชุมชนนี้” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
ตอบ 4 หน้า 10 – 11 (54351) การใช้คําในการพูดและเขียนต้องรู้จักเลือกคํามาใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม คือ จะต้องมีความรู้ว่าคําที่จะนํามาใช้นั้นมีความหมายว่าอย่างไร ใช้แล้วเหมาะสม ไม่ผิดความหมาย และจะเป็นที่เข้าใจชัดเจนแจ่มแจ้งเพียงไร เช่น มีกระบวนการค้ายาเสพติด อยู่ในชุมชนนี้ (ใช้คําไม่ถูกต้อง หรือใช้คําผิดความหมาย) ดังนั้นจึงควรแก้ไขเป็น มีขบวนการ ค้ายาเสพติดอยู่ในชุมชนนี้ (คําว่า “ขบวนการ” = กลุ่มบุคคลที่รวมกันเพื่อดําเนินการอย่างใด อย่างหนึ่ง ส่วนคําว่า “กระบวนการ” = ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงอย่าง มีระเบียบไปสู่ผลอย่างหนึ่ง)

114. “ขอแจ้งให้ทราบว่าสินค้าหมดแล้วไม่มีเหลือเลย” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
ตอบ 1 หน้า 18 – 19, 39 (54351) การใช้คําฟุ่มเฟือยหรือการใช้คําที่ไม่จําเป็นจะทําให้คําโดยรวม ไม่มีน้ําหนักและข้อความขาดความหนักแน่น ไม่กระชับรัดกุม เพราะเป็นคําที่ไม่มีความหมาย อะไร แม้จะตัดออกไปก็ไม่ได้ทําให้ความหมายของข้อความนั้นเปลี่ยนแปลงไป แต่กลับทําให้ ดูรุงรังยิ่งขึ้น เช่น ขอแจ้งให้ทราบว่าสินค้าหมดแล้วไม่มีเหลือเลย (ใช้คําฟุ่มเฟือย) ดังนั้นจึงควรแก้ไขเป็น ขอแจ้งให้ทราบว่าสินค้าหมดแล้ว

ข้อ 115 – 117. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม
(1) ใช้คําไม่ชัดเจน
(2) ใช้คําขัดแย้งกัน
(3) ใช้สํานวนต่างประเทศ
(4) วางส่วนขยายผิดที่

115. “ฝนค่อย ๆ ตกลงมาอย่างหนัก” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
ตอบ 2 หน้า 41 (54351) การใช้คําขัดแย้งกัน หมายถึง การใช้คําที่ทําให้เนื้อความขัดกัน หรือใช้คํา ที่มีความหมายตรงกันข้าม เช่น ฝนค่อย ๆ ตกลงมาอย่างหนัก (ใช้คําขัดแย้งกัน) ดังนั้นจึงควร แก้ไขเป็น ฝนค่อย ๆ ตกลงมาอย่างช้า ๆ (คําว่า “ค่อย ๆ” = ไม่รีบร้อน ไม่ไว ช้า ๆ ส่วนคําว่า “หนัก” – แรง เช่น ฝนตกหนัก)

116. “เพลงเต่างอยถูกขอมามากในรายการ” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
ตอบ 3 หน้า 126 (56256), 38 (54351) การใช้คําตามแบบภาษาไทย หมายถึง การทําให้ข้อความ ที่ผูกขึ้นมีลักษณะเป็นภาษาไทย ไม่เลียนแบบภาษาต่างประเทศ ซึ่งจะทําให้ข้อความกะทัดรัด เข้าใจง่าย และไม่เคอะเขิน เช่น เพลงเต่างอยถูกขอมามากในรายการ (ใช้สํานวนต่างประเทศ) ดังนั้นจึงควรแก้ไขเป็น เพลงเต่างอยมีผู้ขอมามากในรายการ (คําว่า “ถูก” ในภาษาไทยมักใช้ ในความหมายที่ไม่น่ายินดี เช่น เขาถูกลูกน้องทําร้าย น้องถูกหมากัด เธอถูกไล่ออก ฯลฯ)

117. “นักศึกษาขอกู้เงินเพื่อการศึกษาจํานวนมาก” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
ตอบ 4 หน้า 37 (54351) การเรียงลําดับประโยคให้ถูกที่ หมายถึง การวางประธาน กริยา กรรม และส่วนขยายให้ตรงตามตําแหน่ง เพราะถ้าหากวางไม่ถูกที่จะทําให้ข้อความนั้นไม่ชัดเจน หรืออาจมีความหมายไม่ตรงตามต้องการ เช่น นักศึกษาขอกู้เงินเพื่อการศึกษาจํานวนมาก (วางส่วนขยายผิดที่ หรือใช้คําขยายไม่ถูกต้อง) ดังนั้นจึงควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็น นักศึกษา ขอกู้เงินจํานวนมากเพื่อการศึกษา

118. ประโยคใดไม่ใช่สํานวนต่างประเทศ
(1) ห้องน้ำเต็มไปด้วยฝุ่น
(2) เขาถูกลูกน้องทําร้าย
(3) เขาเข้ามาพร้อมกับกระเป๋าใบใหญ่
(4) ลูกน้องภายใต้การนําของเขา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 116. ประกอบ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นใช้สํานวนต่างประเทศ จึงควรแก้ไขเป็น ห้องน้ำมีฝุ่นมาก, เขาถือกระเป๋าใบใหญ่เข้ามา, ลูกน้องที่มีเขาเป็นผู้นํา)

119. คําว่า “ล็อกเกต สปาเกตตี” เป็นคําประเภทใด
(1) คําทับศัพท์
(2) คําศัพท์แปลกใหม่
(3) คําศัพท์บัญญัติ
(4) คําที่เขียนรูปวรรณยุกต์ผิด
ตอบ 1 หน้า 123 หน้า 123 – 125 (H), (คําบรรยาย) คําทับศัพท์ คือ คําภาษาต่างประเทศที่นํามาใช้ใน ภาษาไทย โดยมีการถ่ายเสียงให้ใกล้เคียงภาษาเดิมมากที่สุด และถอดอักษรในภาษาเดิมพอควรแก่การแสดงที่มาของรูปศัพท์ แล้วเขียนให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศใช้ของ ราชบัณฑิตยสถาน เช่น คลินิก (Clinic), ล็อกเกต (Locket), สปาเกตตี (Spaghetti) ฯลฯ

120. คําว่า “หวงแหน จอกแหน” เป็นคําประเภทใด
(1) คําพ้องรูป
(2) คําพ้องเสียง
(3) คําพ้องความหมาย
(4) คําพ้องรูปและคําพ้องเสียง
ตอบ 1 หน้า 14 (54351) คําพ้องรูป คือ คําที่เขียนเหมือนกัน แต่ความหมายและการออกเสียง จะต่างกัน ดังนั้นจึงต้องออกเสียงให้ถูกต้อง เพราะถ้าหากออกเสียงผิด ความหมายก็จะผิด ไปด้วย เช่น คําว่า “แทน” อ่านว่า “แหน” (ใช้เข้าคู่กับคําอื่นในคําว่า “หวงแหน แห่แหน เฝ้าแหน”) หรืออาจอ่านว่า “แหน” (ชื่อไม้น้ำหลายชนิดในวงศ์ Lemnaceae ใบกลมเล็ก ๆ ลอยอยู่ตามน้ำนิ่ง เช่น แหนเล็ก แหนใหญ่ จอกแหน) เป็นต้น

Advertisement