การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา PSY 1001 จิตวิทยาทั่วไป
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.ข้อใดจัดเป็นพฤติกรรมภายใน
(1) นั่งรอรถเมล์ที่หน้ามหาวิทยาลัย
(2) ตัดหญ้าหน้าบ้านพี่สาว
(3) รู้สึกเป็นห่วงลูกเมื่อลูกต้องเดินทางไกลคนเดียว
(4) จ่ายเงินค่าอาหารคํากับบริกร
(5) อ่านหนังสืออย่างหนักเพื่อเตรียมตัวสอบ
ตอบ 3 หน้า 3, (คําบรรยาย) พฤติกรรมที่นักจิตวิทยาสนใจศึกษาแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. พฤติกรรมภายใน เป็นสิ่งที่ไม่สามารถวัดหรือสังเกตได้โดยตรง ต้องอาศัยวิธีการทางอ้อม โดยการสอบถามหรือสร้างเครื่องมือวัดและการพิสูจน์ทดลองจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่ สังเกตได้ เช่น การคิด การจํา การฝัน การคาดหวัง ทัศนคติ เจตคติ ความเชื่อ ความรู้สึก ฯลฯ
2. พฤติกรรมภายนอก เป็นพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การกิน การนอน การนั่ง การเดิน การวิ่ง การพูด การอ่าน การเขียน การเล่นกีฬา การดูหนัง การฟังเพลง ฯลฯ

Advertisement

2. ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของจิตวิทยา
(1) บรรยายพฤติกรรม
(2) ทําความเข้าใจการเกิดขึ้นของพฤติกรรม
(3) ทํานายการเกิดพฤติกรรม
(4) ควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน
(5) ประยุกต์ใช้ความรู้กับชีวิตประจําวัน
ตอบ 4 หน้า 3, 5 – 7 จิตวิทยา คือ การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องพฤติกรรมของสิ่งมีชี โดยเฉพาะมนุษย์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบาย (บรรยาย), ทําความเข้าใจ, ทํานาย (พยากรณ์) และควบคุมพฤติกรรม (โดยการนําความรู้ไปประยุกต์ใช้)

3.“การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม” เป็นแนวคิดของจิตวิทยากลุ่มใด
(1) กลุ่มโครงสร้างของจิต
(2) กลุ่มหน้าที่ของจิต
(3) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์
(4) กลุ่มจิตวิเคราะห์
(5) กลุ่มมนุษยนิยม
ตอบ 2 หน้า 9 – 10 กลุ่มหน้าที่ของจิต (Functionalism) โดยกลุ่มนี้มีความสนใจในการทํางานของ จิตสํานึก และการปรับตัวของอินทรีย์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีวิวัฒนาการ ของชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) ที่เชื่อว่าอินทรีย์จะมีวิวัฒนาการเพื่อการอยู่รอด และ สัตว์ทั้งหลายจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม

4.“แบ่งจิตเป็น 3 ระดับ คือ จิตสํานึก จิตกึ่งสํานึก และจิตใต้สํานึก” เป็นแนวคิดของจิตวิทยากลุ่มใด
(1) กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทีฟ
(2) กลุ่มมนุษยนิยม
(3) กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(4) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์
(5) กลุ่มจิตวิเคราะห์
ตอบ 5 หน้า 289 ฟรอยด์ นักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ เชื่อว่ากระบวนการทํางานของจิตมี 3 ระดับ คือ
1. จิตสํานึก (Conscious) เป็นการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นการทํางานอย่างรู้ตัวของ บุคคลในระดับจิตสํานึก ซึ่งพฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์เป็นการทํางานของจิตส่วนนี้
2. จิตใต้สํานึกหรือจิตไร้สํานึก (Unconscious) เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีความขัดแย้งใจ
3. จิตก่อนสํานึกหรือจิตถึงสํานึก (Preconscious) เป็นประสบการณ์บางอย่างที่เราลืมไปแต่ถ้าได้รับการเตือนความจําขึ้นมาเราก็จะจําได้ทันที

5.“เน้นกระบวนการรู้คิดของบุคคล” เป็นแนวคิดของจิตวิทยากลุ่มใด
(1) กลุ่มโครงสร้างของจิต
(2) กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(3) กลุ่มมนุษยนิยม
(4) กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทีฟ
(5) กลุ่มจิตวิทยาเอคเคล็กติก (Eclectic Psychology)
ตอบ 4 หน้า 12, (คําบรรยาย) กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทีฟ (Cognitive Psychology) สนใจศึกษาเกี่ยวกับ ความสามารถทางปัญญา โดยเน้นกระบวนการรู้คิดที่อาศัยการทํางานของสมอง รวมทั้งเน้น กระบวนการประมวลผลข้อมูล เช่น ความรู้ ความคิด การใช้ภาษา การแก้ปัญหา จิตสํานึก ความคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการภายในจิตอื่น ๆ

6. ข้อใดถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับ Ego ตามแนวคิดของจิตวิเคราะห์
(1) ผลักดันให้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับความเป็นจริง
(2) ผลักดันให้แสดงพฤติกรรมตามความพอใจของตน
(3) ผลักดันให้แสดงพฤติกรรมตามหลักของศีลธรรมของสังคม
(4) ผลักดันให้แสดงพฤติกรรมตามเป้าหมายของตน
(5) ผลักดันให้แสดงพฤติกรรมตามสัญชาตญาณ
ตอบ 1 หน้า 288 อีโก้ (Ego) จะทํางานร่วมกันไปกับกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลโดยยึดหลักแห่ง ความเป็นจริง ดังนั้น อีโก้จึงเป็นส่วนของจิตที่ทําหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมของบุคคลให้ทําตาม ความเป็นจริง เพื่อให้เป็นที่ยอมรับและเหมาะสมกับสังคมและสิ่งแวดล้อม

ข้อ 7. – 8. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ ตอบคําถามว่าเป็นวิธีการศึกษาทางจิตวิทยาประเภทใด
(1) การสังเกต
(2) การสํารวจ
(3) การทดลอง
(4) การทดสอบทางจิตวิทยา
(5) การศึกษาประวัติรายกรณี

7.ความคิดเห็นของวัยรุ่นที่มีต่อเกม ROV
ตอบ 2 หน้า 14 การสํารวจ (Survey) เป็นวิธีการศึกษาลักษณะบางลักษณะจากกลุ่มตัวอย่างบางกลุ่ม
ที่ถูกเลือกให้เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมดที่ต้องการศึกษา โดยการออกแบบสอบถามหรือ โดยการสัมภาษณ์และนําคําตอบที่ได้ไปประมวลผลด้วยวิธีการทางสถิติ ซึ่งวิธีการสํารวจนี้ เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น การสํารวจประชามติเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เป็นต้น

8.การศึกษาที่กําหนดให้มีตัวแปรต้นและตัวแปรตาม
ตอบ 3 หน้า 14 การทดลอง (Experimentation) เป็นการศึกษาที่สําคัญยิ่งในการทําให้วิชาจิตวิทยา ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงเหตุและผล โดยผู้ทดลองเป็นผู้สร้างเหตุการณ์บางอย่างขึ้นมาหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมตามที่ต้องการศึกษาซึ่งเรียกว่า “ตัวแปรอิสระ” หรือ “ตัวแปรต้น” (เหตุของพฤติกรรม) แล้วคอยสังเกตพฤติกรรมหรือศึกษา ผลของการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ซึ่งเรียกว่า “ตัวแปรตาม” (ผลของพฤติกรรม) ทั้งนี้ผู้ทดลองจะต้อง แน่ใจว่าได้ควบคุมอิทธิพลของตัวแปรแทรกซ้อนไว้แล้ว

9.สรีรจิตวิทยา เป็นการศึกษาในเรื่องใด
(1) ศึกษาแบบแผนพฤติกรรมที่ค่อนข้างคงที่ของบุคคลที่แสดงออกให้เห็นในสถานการณ์ต่าง ๆ
(2) ศึกษาการทํางานของสมองและระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมพฤติกรรม
(3) ศึกษากระบวนการที่ประสาทสัมผัสรับสิ่งเร้าจากภายนอก
(4) ศึกษากระบวนการแปลความหมายสิ่งเร้าที่มากระทบประสาทสัมผัสต่าง ๆ
(5) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรอันเนื่องมาจากประสบการณ์ในอดีต
ตอบ 2 หน้า 25, 27 สรีรจิตวิทยา (Physiological Psychology) เป็นการศึกษาการทํางานของสมอง และระบบประสาทที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการควบคุมพฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่มีต่อ
สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การแสดงออกทางพฤติกรรมของมนุษย์ต้องอาศัยการทํางานของระบบต่าง ๆ ที่สําคัญภายในร่างกาย ได้แก่ ระบบประสาท ระบบต่อมไร้ท่อ และระบบกล้ามเนื้อ

10. กลไกของระบบประสาทใด ที่ทําหน้าที่รับสัมผัสทั้งหลาย แปลงข้อมูลเป็นพลังงานไฟฟ้าหรือสารเคมี และส่งต่อไปยังระบบประสาท
(1) กลไกแสดงปฏิกิริยาตอบสนอง
(2) กลไกการรับรู้
(3) กลไกการรับสิ่งเร้า
(4) กลไกการเชื่อมโยงทางระบบประสาท
(5) วงจรปฏิกิริยาสะท้อน
ตอบ 3 หน้า 31 กลไกการรับสิ่งเร้า (Receptors) คือ อวัยวะรับสัมผัสทั้งหลาย ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวหนัง ซึ่งกลไกนี้จะทําหน้าที่รับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมแล้วแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้าหรือ สารเคมี และส่งต่อไปยังระบบประสาท

11. กรณีใดไม่ได้เกิดจากวงจรปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex Action)
(1) กระพริบตาเมื่อลมพัด
(2) ชักมือออกเมื่อโดนแก้วที่ร้อน
(3) เปิดพัดลมเมื่อร้อน
(4) ดึงมือออกเมื่อถูกประตูหนีบ
(5) ถอยเท้าหนีเมื่อเหยียบก้นบุหรี่
ตอบ 3 หน้า 31 วงจรปฏิกิริยาสะท้อน (Simple Reflex Action) เป็นการแสดงออกทางร่างกายโดย อัตโนมัติโดยที่สมองไม่ต้องสั่งงาน แต่ทํางานภายใต้การสั่งการของไขสันหลัง เช่น การกะพริบตา เมื่อถูกลมพัด การถอยเท้าหนีเมื่อเหยียบก้นบุหรี่ ฯลฯ

12. ระบบประสาทใด ทําหน้าที่เป็นศูนย์บัญชาการและศูนย์ควบคุมการทํางานของร่างกาย
(1) ระบบประสาทส่วนกลาง
(2) ระบบประสาทส่วนปลาย
(3) ระบบประสาทนําคําสั่งทั่วไป
(4) ระบบประสาทซิมพาเธติก
(5) ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก
ตอบ 1 หน้า 27, 34, 41 – 43, 52 – 53 ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่สําคัญที่สุดของระบบประสาท โดยทําหน้าที่ เป็นศูนย์บัญชาการและศูนย์ควบคุมการทํางานของร่างกายและจิตใจ กล่าวคือ ทําให้ร่างกาย เคลื่อนไหว ควบคุมการหายใจและการเต้นของหัวใจ การไหลเวียนของโลหิต การทํางานของ ต่อมไร้ท่อ การปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม การควบคุมอารมณ์ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางของความรู้สึก นึกคิด สติปัญญา ความคิดและความรัก ตลอดจนพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์

13. ระบบประสาทซิมพาเธติก (Sympathetic nervous system) ทําหน้าที่อะไร
(1) ควบคุมสมดุลระบบพลังงานของร่างกาย
(2) ผลิตฮอร์โมน
(3) ผลิตของเหลวส่งตามท่อไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
(4) ทําให้ร่างกายกลับคืนสู่ภาวะสงบและพักผ่อนหลังอาการตกใจ
(5) สั่งการให้ร่างกายตื่นตัว เพื่อรองรับกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น
ตอบ 5 หน้า 34 ระบบประสาทซิมพาเธติก (Sympathetic Nervous System) เป็นระบบที่ไปกระตุ้น การทํางานของร่างกายในกรณีฉุกเฉิน ทําให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมพร้อมรับ สถานการณ์ที่กําลังจะเกิดขึ้น เช่น เมื่อบุคคลเผชิญหน้ากับสิ่งเร้าที่ทําให้ตกใจกลัวและช็อก ทําให้ ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายมีการทํางานมากขึ้น เกิดการตื่นตัว หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ผนังของลําไส้หดตัวน้อยลง ม่านตาขยายกว้าง เหงื่อออกมาก และขนลุก ฯลฯ

14.เปลือกสมองส่วน Parietal lobe ทําหน้าที่เกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด
(1) ประมวลผลเกี่ยวกับการมองเห็น
(2) ประมวลผลพฤติกรรมจากการรู้คิด
(3) ประมวลผลเกี่ยวกับการรับความรู้สึกทั่วไป
(4) ประมวลผลเกี่ยวกับการได้ยิน
(5) ประมวลผลพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความหิว ความกระหาย
ตอบ 3 หน้า 41, (ความรู้ทั่วไป) เปลือกสมอง หรือซีรีบรัล คอร์เทกซ์ (Cerebral Cortex) เป็นที่รวมของ เส้นประสาททั้งหมด และเป็นส่วนของสมองที่ทํางานซับซ้อนมาก แบ่งออกเป็น 4 กลีบ ได้แก่
1. กลีบสมองส่วนหน้า (Frontal lobe) ทําหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว บุคลิก การตัดสินใจ เหตุผล ความสามารถในการพูด ฯลฯ
2. กลีบสมองส่วนกลาง (Parietal lobe) ทําหน้าที่ควบคุมความรู้สึกด้านการสัมผัสต่าง ๆ การรับรส การเข้าใจภาษาในการพูด การอ่าน การเขียน และการคํานวณ
3. กลีบสมองส่วนข้าง (Temporal lobe) เกี่ยวกับความจําทางภาษา ศิลปะ การได้ยิน การดมกลิ่น
4. กลีบสมองส่วนหลัง (Occipital lobe) ทําหน้าที่ควบคุมการมองเห็น

15. ส่วนใดเกี่ยวข้องกับการทํางานของระบบประสาทมากที่สุด
(1) เซลล์ประสาท
(2) สารสื่อประสาท
(3) หัวใจ
(4) ไขสันหลัง
(5) สมอง
ตอบ 5 หน้า 30, 40 สมอง (Brain) เป็นอวัยวะสําคัญของระบบประสาท ซึ่งเป็นศูนย์กลางที่สําคัญ ในการควบคุมการทํางานของระบบอื่น ๆ ในร่างกาย

16. แอ็กซอน (axon) ในเซลล์ประสาทนิวโรน (Neuron) ทําหน้าที่ในข้อใด
(1) ทําหน้าที่รับและส่งกระแสประสาทได้ในเวลาเดียวกัน
(2) สารนํากระแสประสาทเข้ามาสู่ตัวเซลล์
(3) การนํากระแสประสาทออกจากตัวเซลล์ไปสู่เซลล์ประสาทอีกตัวหนึ่ง
(4) ทําหน้าที่กระตุ้นการทํางานของเซลล์ประสาทตัวถัดไป
(5) ทําหน้าที่ยับยั้งการทํางานของเซลล์ประสาทตัวถัดไป
ตอบ 3 หน้า 37 – 38 แอ็กซอน (Axon) ทําหน้าที่นําคําสั่งหรือนํากระแสประสาทออกจากตัวเซลล์ ประสาทไปสู่เดนไดรท์ของเซลล์ประสาทตัวอื่น

17. กล้ามเนื้อส่วนใดที่ทํางานภายใต้อํานาจจิตใจ
(1) กล้ามเนื้อเรียบ
(2) กล้ามเนื้อลาย
(3) กล้ามเนื้อหัวใจ
(4) กล้ามเนื้อเรียบ และกล้ามเนื้อลาย
(5) กล้ามเนื้อเรียบ และกล้ามเนื้อหัวใจ
ตอบ 2 หน้า 30, 32, 52 ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System) ทําหน้าที่ในการทําให้ร่างกายเคลื่อนไหว ประกอบด้วย กล้ามเนื้อลาย (ทํางานภายใต้อํานาจจิตใจ) กล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อหัวใจ
(ทํางานนอกเหนืออํานาจจิตใจ)

18. การผลิตฮอร์โมนเพื่อควบคุมความสมดุลในร่างกาย เป็นหน้าที่การทํางานของระบบร่างกายระบบใด
(1) เซลล์ประสาท
(2) สารสื่อประสาท
(3) ต่อมมีท่อ
(4) ต่อมไร้ท่อ
(5) กล้ามเนื้อหัวใจ
ตอบ 4 หน้า 45 ต่อมไร้ท่อ เป็นต่อมที่ไม่มีท่อสําหรับให้สารเคมีที่ต่อมผลิตได้ผ่านไปสู่อวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ซึ่งสารเคมีที่ต่อมนี้ผลิตได้เรียกว่า “ฮอร์โมน” (Hormone) ซึ่งมีความสําคัญต่อร่างกาย และมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์เป็นอย่างมาก โดยฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อแต่ละชนิด จะทํางานไปพร้อม ๆ กัน เพื่อควบคุมและรักษาความสมดุลของร่างกายให้คงที่อยู่เสมอ

ข้อ 19. – 21. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ ตอบคําถาม
(1) ความจําระยะสั้น
(2) ความจําระยะยาว
(3) ความจําจากการรับสัมผัส
(4) ความจําขณะปฏิบัติงาน
(5) ความจําคู่

19. เก็บข้อมูลได้มากและไม่สูญหาย
ตอบ 2 หน้า 196 – 197, 199 ความจําระยะยาว (Long-term Memory) จะทําหน้าที่เสมือนคลัง ข้อมูลถาวรซึ่งบรรจุทุกอย่างที่เรารู้เกี่ยวกับโลกเอาไว้ โดยมีความสามารถไม่จํากัดในการเก็บ ข้อมูล (เก็บข้อมูลได้มาก) จึงไม่มีข้อมูลสูญหายไปจากความจําระยะยาวนี้ และจะเก็บข้อมูลไว้ บนพื้นฐานของความหมายและความสําคัญของข้อมูล ซึ่งความจําระยะยาวนี้มี 2 ประเภท คือ
1. การจําความหมาย เป็นการจําความรู้พื้นฐานที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโลก เช่น ชื่อวัน เดือน ชื่อสิ่งของ ภาษา และทักษะการคํานวณง่าย ๆ รวมทั้งข้อเท็จจริงอื่น ๆ ฯลฯ
2. การจําเหตุการณ์ เป็นการจําเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของตนเอง เป็นการบันทึกเหตุการณ์ในชีวิต เช่น จําเรื่องราวในวันแรกที่เข้ามาในมหาวิทยาลัย จําอุบัติเหตุที่ประสบเมื่อปีที่แล้ว ฯลฯ

20. เก็บภาพติดตาไว้ได้
ตอบ 3 หน้า 196 ความจําจากการรับสัมผัส (Sensory Memory) คือ ระบบการจําชั้นแรกที่จะเก็บข้อมูล ในลักษณะถอดแบบสิ่งที่ได้เห็นหรือสิ่งที่ได้ยินทุกอย่างเอาไว้ในช่วงสั้น ๆ เพื่อถ่ายทอดข้อมูล ต่อไปยังระบบการจําอื่น ๆ เช่น ถ้าได้เห็นข้อมูล ภาพติดตาหรือจินตภาพ (Icon) จะคงอยู่ได้ ครึ่งวินาที (2 วินาที) แต่ถ้าเกิดจากการได้ยิน เสียงก้องในหู (Echo) ของสิ่งที่ได้ยินจะคงอยู่ ประมาณ 2 วินาที ฯลฯ ทั้งนี้หากไม่มีการส่งต่อข้อมูล สิ่งที่จําไว้จะหายไปอย่างรวดเร็วที่สุด

21. เป็นคลังข้อมูลชั่วคราว
ตอบ 1 หน้า 196 ความจําระยะสั้น (Short-term Memory) ทําหน้าที่คล้ายคลังข้อมูลชั่วคราวที่ เก็บข้อมูลได้ในจํานวนจํากัด โดยจะเก็บข้อมูลในลักษณะจินตภาพ ทั้งนี้ความจําระยะสั้น จะถูกรบกวนหรือถูกแทรกแซงได้ง่าย เป็นความจําที่ช่วยป้องกันไม่ให้เราสับสนในการสนทนา เกี่ยวกับชื่อ วันที่ หมายเลขโทรศัพท์ และเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ นอกจากนี้ยังเป็นความจําในส่วน ที่ปฏิบัติงาน (Working Memory) การคิดเลขในใจ การจํารายการสั่งของที่จะซื้อ ฯลฯ

22. การที่เราจดจําเรื่องราวที่เกิดขึ้นในวันแรกที่เข้ามาในมหาวิทยาลัยได้ เป็นเพราะเราจัดเก็บข้อมูลไว้ในส่วนใด
(1) ความจําคู่
(2) ความจําขณะปฏิบัติงาน
(3) การจําเหตุการณ์ในความจําระยะยาว
(4) การจําความหมายในความจําระยะยาว
(5) ความจําจากการรับสัมผัส
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

23. การที่เราพยายามนึกชื่อดาราคนหนึ่ง ซึ่งจําชื่อไม่ได้แต่จําหน้าได้ จนกระทั้งมีเพื่อนนํารูปถ่ายมาให้ดู จึง สามารถเรียกชื่อดาราได้อย่างถูกต้อง ลักษณะนี้จัดว่าตรงกับข้อใด
(1) การจําได้
(2) การระลึกได้
(3) การพิจารณาได้
(4) การเรียนซ้ำ
(5) การบูรณการใหม่
ตอบ 1 หน้า 202 การจําได้ (Recognition) เป็นการวัดความจําโดยมีสื่อกระตุ้นหรือชี้แนะให้จําได้ เช่น ข้อสอบแบบเลือกตอบ หรือการเห็นร่มก็จําได้ว่าเป็นร่มที่หายไปเมื่อสองเดือนที่แล้ว ฯลฯ การจําได้จะได้ผลดีถ้ามีรูปถ่ายหรือการได้เห็นสิ่งอื่น ๆ มาช่วย เช่น การที่ตํารวจนิยมให้พยาน ตัวผู้ต้องสงสัยจากภาพถ่ายหรือสเก็ตภาพให้พยานดู เป็นต้น

24. หนึ่งในสาเหตุของการลืมที่เกิดขึ้นจาการทํางานของจิตใต้สํานึก คือข้อใด
(1) การถูกรบกวนด้วยข้อมูลใหม่ ๆ
(2) การเก็บกด
(3) ข้อมูลเสื่อมสลายตามกาลเวลา
(4) การระงับเพื่อหลีกเลี่ยงที่จะไม่นึกถึงบางอย่าง
(5) ข้อมูลไม่ได้ถูกบันทึก เพราะไม่ได้เป็นเรื่องราวที่บุคคลเลือกใส่ใจ
ตอบ 2 หน้า 205 การเก็บกด (Repression)
เป็นการจูงใจเพื่อลืมความจําที่เจ็บปวดหรือความอาย จะถูกเก็บกดให้อยู่ในจิตใต้สํานึก ทั้งนี้คนเรามักจะจดจําเหตุการณ์ที่มีความสุขหรือสิ่งดี ๆ
ในชีวิตได้มากกว่าเหตุการณ์ที่ผิดหวังหรือไม่น่ารื่นรมย์และสิ่งที่เลวร้ายหรือสิ่งที่ไม่ดี

25. ข้อใดเป็นหน่วยความคิดที่เกี่ยวข้องกับการใช้สัญลักษณ์เพื่อเป็นตัวแทนของการคิด
(1) ภาษา
(2) จินตภาพ
(3) มโนทัศน์
(4) การหยั่งเห็นคําตอบทันที
(5) การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ
ตอบ 1 หน้า 207 – 208 ภาษาเป็นหน่วยพื้นฐานของความคิดที่เกี่ยวข้องกับการใช้สัญลักษณ์เพื่อ
เป็นตัวแทนของการคิดหรือสิ่งของ โดยภาษาของแต่ละชาติมีผลต่อระบบการคิดของคนในชาติ ที่เป็นเจ้าของภาษานั้น ๆ เช่น การที่ชาวเอสกิโมมีคําเรียกหิมะเกือบ 30 คํา แต่คนไทยมีคําเรียก หิมะเพียงคําเดียว ฯลฯ

26. ข้อใดไม่ใช่หน่วยพื้นฐานของการคิด
(1) ภาษา
(2) จินตภาพ
(3) มโนทัศน์
(4) การหยั่งเห็นคําตอบทันที
(5) การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ
ตอบ 4หน้า 206 หน่วยพื้นฐานของความคิด (Basic Units of Thought) ประกอบด้วย จินตภาพ การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ มโนทัศน์ และภาษาหรือสัญลักษณ์

27.การที่ลิงชิมแปนซีที่อยู่ในสถานการณ์ที่มีกล่องกระดาษวางอยู่เกะกะ และมีกล้วยแขวนอยู่ในที่สูงแล้วรู้ว่า ต้องนํากล่องกระดาษมาต่อกันเพื่อไปหยิบกล้วยนั้น จัดว่าลิงชิมแปนซีใช้การแก้ปัญหาแบบใด
(1) แก้ปัญหาโดยทําความเข้าใจ
(2) แก้ปัญหาโดยการหยั่งเห็นคําตอบในทันที
(3) แก้ปัญหาโดยใช้เครื่องจักร
(4) แก้ปัญหาจากการคิดคุณสมบัติทั่วไปของคําตอบที่ถูก
(5)แก้ปัญหาจากการคิดคําตอบที่เป็นไปได้หลาย ๆ คําตอบ
ตอบ 2 หน้า 210, 218, (คําบรรยาย) จากการทดลองของโคเลอร์ (Kohler) ได้แสดงให้เห็นถึงการ แก้ปัญหาโดยการหยั่งเห็นคําตอบในทันทีของลิงชิมแปนซี (เป็นการลองผิดลองถูกภายในจิต) ซึ่งในคนปรากฏการณ์นี้มักเกิดขึ้นหลังจากคิดแก้ปัญหาแต่ไม่ประสบผลสําเร็จ และการหยั่งเห็นคําตอบในทันทีมักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน

28. การให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์ และแตกต่างจากคนอื่น จัดเป็นคุณสมบัติใดของความคิดสร้างสรรค์
(1) ความริเริ่ม
(2) ความมีตรรกะ
(3) การแสวงหาใคร่รู้
(4) ความคล่อง
(5) ความยืดหยุ่น
ตอบ 1 หน้า 211 คุณสมบัติของผู้มีความคิดสร้างสรรค์มีหลายประการ เช่น
1. ความคล่อง คือ สามารถให้ข้อเสนอแนะได้อย่างหลากหลาย
2. ความยืดหยุ่น คือ สามารถเปลี่ยนวิธีคิดจากเรื่องหนึ่งไปสู่อีกเรื่องหนึ่งได้โดยไม่ยึดติดอยู่กับ ความคิดเดิม
3. ความคิดริเริ่ม คือ สามารถให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์ แปลกใหม่ ไม่ธรรมดา และแตกต่างจากคนอื่น

29. ข้อใดคือความแตกต่างระหว่างการสัมผัสและการรับรู้
(1) การสัมผัสจําเป็นต้องอาศัยการรับรู้
(2) การรับรู้ไม่จําเป็นต้องอาศัยการรับสัมผัส
(3) การสัมผัสเป็นกระบวนการแปลความหมายของการรับรู้
(4) การรับรู้เป็นกระบวนการแปลความหมายของการสัมผัส
(5) การสัมผัสคือการที่สิ่งเร้ามากระทบความต้องการ แล้วจึงเกิดพฤติกรรม
ตอบ 4 หน้า 57, 59 การรับรู้ คือ กระบวนการแปลความหมายของสิ่งเร้าที่มากระทบประสาทสัมผัส ต่าง ๆ โดยการแปลความหมายของสิ่งที่รับรู้นี้จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในอดีต การเรียนรู้ สภาพจิตใจในปัจจุบัน ตลอดจนการจัดรูปแบบของสิ่งเร้านั้น ๆ ซึ่งกระบวนการรับรู้นี้จัดเป็น ขั้นตอนสําคัญอย่างยิ่งก่อนการแสดงพฤติกรรมโต้ตอบของมนุษย์ในทุกรูปแบบ

30. ตาบอดสีแบบ Dichromatism เป็นอาการตาบอดสีแบบใด
(1) เห็นสีผิดปกติเพียงเล็กน้อย
(2) ตาบอดสีแดง
(3) ตาบอดสีเขียว
(4) เห็นได้เพียงสองสี
(5) ตาบอดทุกสี
ตอบ 4หน้า 63 – 64 ตาบอดสีเป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งของการเห็นสี แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. Monochromatism เป็นอาการตาบอดสีหมดทุกสี โดยจะเห็นสีทุกสีเป็นสีเทา
2. Dichromatism เป็นอาการตาบอดสีชนิดที่สามารถมองเห็นสีได้เพียง 2 สีเท่านั้น คือ พวกที่เห็นสีแดงเป็นสีดํา และพวกที่ไม่สามารถแยกสีเขียวและสีแดงออกจากกันได้
3. Trichromatism เป็นการเห็นสีครบทุกสีแต่เห็นสีนั้นอ่อนกว่าปกติ (ผิดปกติเพียงเล็กน้อย)

31. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับรอดส์และโคนส์
(1) รอดส์เป็นส่วนประกอบของหูชั้นนอก ส่วนโคนส์เป็นส่วนประกอบของหูชั้นใน
(2) รอดส์และโคนส์ สามารถทําให้การรับรู้รสชาติและกลิ่นเปลี่ยนไปได้
(3) รอดส์และโคนส์ ทําหน้าที่รักษาความสมดุลภายในร่างกาย
(4) รอดส์ทําหน้าที่รับแสงขาวดํา ส่วนโคนส์ทําหน้าที่รับแสงที่เป็นสี
(5) รอดส์ทําหน้าที่รับแสงที่เป็นสี ส่วนโคนส์ทําหน้าที่รับแสงขาวดํา
ตอบ 4 หน้า 61 ที่ผนังของเรตินา (Retina) จะมีเซลล์ประสาทอยู่ 2 ชนิด คือ
1. รอดส์ (Rods) มีลักษณะเป็นแท่งยาว และไวต่อแสงขาวดํา จึงเป็นเซลล์ที่รับแสงสลัวในเวลากลางคืน
2. โคนส์ (Cones) มีลักษณะสั้น เป็นรูปกรวย และไวต่อแสงที่เป็นสี ช่วยทําให้รับภาพสีได้ดี จึงเป็นเซลล์ที่รับแสงจ้าในเวลากลางวัน ดังนั้นคนตาบอดสีจึงไม่มีโคนส์อยู่ที่บริเวณเรตินา

32. ความรู้สึกที่มาสัมผัสเรานั้นแยกออกได้เป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
(1) มี 2 ชนิด คือ ความร้อน และเย็น
(2) มี 2 ชนิด คือ ความกด และปล่อย
(3) มี 3 ชนิด คือ ความสบาย ความเจ็บปวด และความทรมาน
(4) มี 4 ชนิด คือ ความกด ความอุ่น ความเย็น และความเจ็บปวด
(5) มี 5 ชนิด คือ ความกด ความร้อน ความเย็น ความเจ็บปวด และความทรมาน
ตอบ 4 หน้า 67 ใต้ผิวหนังของคนเราจะมีจุดรับสัมผัสมากมาย โดยจุดรับสัมผัสแต่ละชนิดจะมีความไว
ต่อความรู้สึกที่มาสัมผัสแตกต่างกัน ซึ่งความรู้สึกที่มาสัมผัสผิวกายของมนุษย์นั้น มีจุดรับสัมผัส พื้นฐาน 4 ชนิด คือ ความกด ความอุ่น ความเย็น และความเจ็บปวด

33. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเรื่องความลึกและระยะทางคืออะไร
(1) ห้องมายา
(2) ทางสองมิติ
(3) หน้าผามายา
(4) ห้องจําลอง
(5) ภาพเงาสะท้อน
ตอบ 3 หน้า 72 ผู้ที่สนใจศึกษาทดลองในเรื่องเกี่ยวกับการรับรู้ความลึกและระยะทาง คือ กิ๊บสัน และวอล์ก (Gibson and Walk) ซึ่งเขาได้ทดลองโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “หน้าผามายา” (Visual Cliff) พบว่า เมื่อเด็กทารกคลานไปถึงกึ่งกลางโต๊ะที่เป็นรอยต่อระหว่างกระจกโปร่งใส กับพื้นที่ทาสีตาหมากรุก (ทําให้แลเห็นเป็นพื้นที่ 2 ระดับที่มีความสูงต่ําต่างกัน) เด็กจะไม่กล้า คลานออกไป แสดงว่าการรับรู้ความลึกเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเรียนรู้

34. ข้อใดไม่ใช่รถพื้นฐานของมนุษย์
(1) หวาน
(2) เผ็ด
(3) เค็ม
(4) ขม
(5) เปรี้ยว
ตอบ 2 หน้า 68 รสพื้นฐานที่มนุษย์รับรู้โดยทั่วไปมี 4 รส คือ รสขม รสหวาน รสเปรี้ยว และรสเค็ม ส่วนรสอื่น ๆ เช่น รสเผ็ดนั้น เกิดจากการผสมกันของรสพื้นฐานเหล่านี้

35. ข้อใดคือ แนวโน้มที่จะรับรู้ภาพที่สมบูรณ์ทั้งที่บางส่วนขาดหายไป
(1) Common fate
(2) Closure
(3) Continuity
(4) Similarity
(5) Proximity
ตอบ 2 หน้า 75, (คําบรรยาย) การต่อเติมให้สมบูรณ์ (Closure) คือ แนวโน้มที่จะรับรู้ความสมบูรณ์ ของวัตถุทั้งที่บางส่วนขาดหายไป โดยการมองเป็นลักษณะส่วนรวมหรือความสมบูรณ์ของวัตถุ มากกว่าการมองวัตถุเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพราะถ้าเรามองสิ่งใดที่ยังขาดหรือพร่องอยู่ จิตของมนุษย์ มักจะเติมส่วนที่ขาดหายไปนั้นให้เป็นรูปเต็ม

36. การรับรู้แบบอภิธรรมดาที่เรียกว่า โทรจิต (Telepathy) เป็นการรับรู้อย่างไร
(1) การเห็นโดยไม่ต้องอาศัยประสาทสัมผัสทางตา
(2) การเดินทางไปปรากฏกายในที่อื่นโดยไม่ต้องใช้พาหนะใด ๆ
(3) การล่วงรู้เหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง
(4) การทําให้วัตถุหักงอโดยไม่ต้องใช้กายสัมผัส
(5) การล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นโดยไม่ต้องพูดคุยกับผู้นั้น
ตอบ 5 หน้า 79 ปรากฏการณ์อภิธรรมดา (Extrasensory Perception : ESP) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. โทรจิต (Telepathy) เป็นการล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นได้โดยไม่ต้องพูดคุยกับผู้นั้น
2. ประสาททิพย์ (Clairvoyance) เป็นการล่วงรู้โดยไม่ต้องพึ่งประสาทสัมผัส
3. การรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า (Precognition) เป็นการล่วงรู้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

37. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของสี
(1) ตัวสี (Hue)
(2) ความสว่าง
(3) ความบริสุทธิ์
(4) ความมืด
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 63 ส่วนใหญ่แล้วสีต่าง ๆ มีคุณสมบัติ 3 ประการ คือ
1. ตัวสี (Hue) เช่น สีเขียว แดง ม่วง ฯลฯ
2. ความสว่างของสี (Brightness) หมายถึง สีเดียวกันอาจมีความสว่างต่างกัน
3. ความบริสุทธิ์ของสี (Saturation) หมายถึง สีที่อิ่มตัวเป็นสีบริสุทธิ์จะมีคลื่นแสงเดียว ไม่มีคลื่นแสงอื่นเข้ามาปะปนให้เจือจางลงไป

38. ระดับอุณหภูมิขั้นต่ําเท่าไรที่จะทําให้มนุษย์รับรู้ถึงความรู้สึกร้อน
(1) สูงกว่า 30 องศาเซลเซียส
(2) สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส
(3) สูงกว่า 50 องศาเซลเซียส
(4) สูงกว่า 60 องศาเซลเซียส
(5) สูงกว่า 70 องศาเซลเซียส

ตอบ 1 หน้า 67 ผิวหนังมีแต่ความรู้สึกอุ่นและเย็นเท่านั้น ส่วนความรู้สึกร้อนเกิดจากการที่ประสาท ผิวหนังอุ่นและเย็นได้รับการกระตุ้นอย่างต่อเนื่องกันไปตลอดเวลา ถ้าสิ่งที่มากระตุ้นมีอุณหภูมิ สูงกว่า 30 องศาเซลเซียส จะทําให้เรารู้สึกร้อน แต่ถ้ามีอุณหภูมิต่ํากว่านี้จะทําให้เรารู้สึกเย็น

39. ข้อใดคือความหมายของสัมปชัญญะ
(1) การรู้ว่าผู้อื่นคิดอะไรอยู่
(2) การรู้ว่าตนเองคิดอะไรอยู่
(3) การมีสติ
(4) ข้อ 2 และ 3 ถูกต้อง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 89 – 90, 115 สัมปชัญญะ หมายถึง การรู้ตัวทั่วพร้อมว่าตนเองกําลังทํา พูด หรือมีพฤติกรรมใดอยู่ โดยสภาวะที่ร่างกายของบุคคล (อินทรีย์) ออกจากสัมปชัญญะหรือ ขาดสัมปชัญญะ ได้แก่ การนอนหลับ การฝัน การหมดสติ การสะกดจิต การใช้สารเสพติด การใช้ยาหรือสารเคมี และการนั่งสมาธิภาวนา

40. ข้อใดคือระยะเวลาที่เหมาะสมในการนอนหลับ
(1) 6 ชั่วโมง
(2) 7 ชั่วโมง
(3) 8 ชั่วโมง
(4) ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 92 โดยทั่ว ๆ ไปคนส่วนใหญ่จะใช้เวลานอนระหว่าง 7 – 8 ชั่วโมงต่อคืน แต่การกําหนด ให้ตายตัวลงไปว่าควรจะเป็นกี่ชั่วโมงอย่างชัดเจนนั้นคงเป็นสิ่งที่ทําได้ยาก เพราะมนุษย์แต่ละคน มีความแตกต่างกันในการนอน สําหรับคนบางคนนอนเพียง 5 ชั่วโมง ก็ดูจะเป็นสิ่งที่พอเพียง สําหรับเขา แต่สําหรับคนอื่น ๆ อาจจะใช้เวลานอนถึง 11 ชั่วโมง จึงจะรู้สึกพอเพียงก็ได้

41. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการสะกดจิต
(1) ช่วยให้ความจําของบุคคลดีขึ้น
(2) ช่วยลดความเจ็บปวด
(3) ทําให้คนธรรมดามีพลังพิเศษได้
(4) ช่วยให้เกิดการผ่อนคลายทางจิตใจ
(5) ช่วยให้เกิดความมุ่งมั่น
ตอบ 1 , 3 หน้า 105, 116 ประโยชน์ของการสะกดจิต มีดังนี้
1. ช่วยให้บุคคลเกิดความมุ่งมั่นและชักจูงให้มีความเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น แต่ไม่สามารถ
เปลี่ยนคนธรรมดาให้มีพลังพิเศษได้
2. ช่วยโน้มน้าวจิตใจของบุคคลให้สนใจที่จะจดจํา แต่ไม่สามารถช่วยให้ความจําของบุคคลดีขึ้น
3. ในทางการแพทย์ สามารถช่วยลดความเจ็บปวดของคนไข้ได้
4. ช่วยให้บุคคลเกิดการผ่อนคลายทางจิตใจ

42. สภาวะที่เรียกว่า “Sleep Deprivation Psychosis” คืออะไร
(1) อาการหลับไม่สนิท
(2) สภาพจิตที่ฟุ้งซ่าน ทําให้นอนไม่หลับ
(3) อาการละเมอขณะนอนหลับ
(4) สภาพจิตที่กระหายการนอนหลับ
(5) อาการกระตุกก่อนการนอนหลับ
ตอบ 4 หน้า 91 นักจิตวิทยาได้ทําการศึกษาเกี่ยวกับผู้ที่ไม่มีโอกาสได้นอนติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน พบว่า จะมีสภาพทางจิตที่กระหายการนอนหลับเป็นอย่างยิ่ง (Sleep Deprivation Psychosis) ซึ่งอาจส่งผลทําให้บุคคลนั้นเกิดความอ่อนล้าทางร่างกาย มึนงง และมีสภาพการรับรู้ทางจิตใจ ที่ผิดพลาด รวมทั้งอาจมีอาการประสาทหลอนได้

43. คลื่นใดที่เครื่อง EEG สามารถตรวจพบในขณะที่เราหลับลึกได้
(1) Alpha
(2) Beta
(3) Gamma
(4) Delta
(5) Theta
ตอบ 4 หน้า 93 การนอนหลับในระยะที่ 4 เป็นช่วงแห่งการนอนหลับที่ลึกมาก (Deep Sleep) ซึ่ง มักจะเกิดเมื่อการนอนผ่านไปเป็นระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง โดยในช่วงนี้คลื่นสมอง (EEG) จะมีลักษณะเป็นคลื่นเดลตา (Delta) ล้วน ๆ ซึ่งผู้หลับจะไม่รู้ตัวและ “หลับไหล” จริง ๆ

44. ข้อใดเป็นสภาพร่างกายในช่วงเวลาที่เกิด REM
(1) ความดันโลหิตนิ่ง
(2) อารมณ์ไม่ปกติ
(3) ผิวหนังเย็นชา
(4) ร่างกายกระตุก
(5) หัวใจเต้นสม่ําเสมอ
ตอบ 2 หน้า 96 สภาพร่างกายในช่วงเวลาที่เกิด REM (ช่วงของการนอนหลับฝัน) คือ อารมณ์จะยัง ไม่ปกตินัก หัวใจเต้นไม่สม่ําเสมอ ความดันโลหิตและการหายใจจะยังไม่เข้าที่ดีนัก ร่างกายจะ มีการเคลื่อนไหวน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย และมักจะไม่เกิดการเปลี่ยนท่านอน

45. สภาวะใดเป็นสภาวะที่บุคคลออกจากสัมปชัญญะ
(1) ถูกสะกดจิต
(2) การใช้ยาเสพติด
(3) การเจริญภาวนา
(4) ผิดทุกข้อ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ

46. ยาเสพติดประเภทใดออกฤทธิ์ผสมผสาน
(1) ฝิ่น
(2) เฮโรอีน
(3) กัญชา
(4) ยาบ้า
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 110 กัญชา จัดเป็นยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน กล่าวคือ อาจจะกดหรือ
กระตุ้นหรือหลอนประสาทร่วมกัน

47. ผู้ใดเชื่อว่าความฝันเกิดจากความคิด ความรู้สึกที่ติดค้างมาจากช่วงกลางวัน
(1) Freud
(2) Adler
(3) Jung
(4) Hopson & McCarley
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 98, 115, (คําบรรยาย) แอดเลอร์ (Adler) เชื่อว่า ความฝันเป็นเรื่องราวของความคิดคํานึง รวมทั้งความรู้สึกที่ติดค้างมาจากช่วงเวลากลางวันแล้วจึงต่อเนื่องนําไปฝันในช่วงเวลากลางคืน

48. ข้อใดไม่ใช่ชนิดของการสะกดจิตที่กล่าวในบทเรียน
(1) การสะกดจิตตนเอง
(2) การสะกดจิตโดยผู้อื่นยินยอม
(3) การสะกดจิตหมู่
(4) การสะกดจิตโดยผู้อื่นไม่ยินยอม
(5) การสะกดจิตโดยผู้อื่นไม่รู้ตัว
ตอบ 3 หน้า 103 – 104 การสะกดจิต แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
1. การสะกดจิตตนเอง
2. การสะกดจิตผู้อื่น แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ การสะกดจิตโดยผู้อื่นยินยอม การสะกดจิต โดยผู้อื่นไม่ยินยอม และการสะกดจิตโดยผู้อื่นไม่รู้ตัว

ข้อ 49 – 53. จงตอบคําถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
(2) ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
(3) ทฤษฎีมนุษยนิยม
(4) ทฤษฎีโครงสร้างของจิต
(5) ทฤษฎีประเภทและโครงสร้าง

49. ถ้าทําพฤติกรรมใดแล้วมีผลดี พฤติกรรมนั้นจะเกิดขึ้นอีก
ตอบ 2 หน้า 289 – 291 วัตสัน (Watson) นักทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมได้โดยการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม โดยบุคลิกภาพ ของมนุษย์เกิดจากผลแห่งการกระทําของเขา เช่น ถ้าทําพฤติกรรมใดแล้วมีผลดี พฤติกรรมนั้น จะเกิดขึ้นอีกและจะกระทําบ่อยขึ้น ฯลฯ

50. สัญชาตญาณแห่งความตายที่เกี่ยวข้องกับการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวและการทําลายล้าง
ตอบ 1 หน้า 287 – 288 ฟรอยด์ (Freud) นักทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis Theory) กล่าวว่า มนุษย์เรามีสัญชาตญาณ 2 ประเภทที่ติดตัวมาแต่กําเนิด คือ
1. สัญชาตญาณแห่งการดํารงชีวิต เป็นสัญชาตญาณการตอบสนองความต้องการทางร่างกาย
2. สัญชาตญาณแห่งความตาย เกี่ยวข้องกับการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวและการทําลายล้าง

51. การศึกษาลักษณะนิสัยใจคอของคนที่อยู่ในสังคมเดียวกันจะสามารถหาลักษณะร่วมที่คนในสังคมเดียวกันมีคล้ายคลึงกันได้
ตอบ 5 หน้า 296 อัลฟอร์ท (Atiport) นักทฤษฎีประเภทและโครงสร้าง (Type and Trait Theory) เชื่อว่า เราสามารถจัดแบ่งกลุ่มลักษณะอุปนิสัยของคนออกเป็นหมวดหมู่ได้ โดยนําเอาลักษณะ ที่คล้าย ๆ กันจัดไว้ในกลุ่มเดียวกัน และจากการศึกษาลักษณะนิสัยใจคอของคนที่อยู่ในสังคม เดียวกัน เราสามารถหาลักษณะร่วมที่คนในสังคมเดียวกันมีคล้ายคลึงกันได้ เรียกลักษณะนี้ว่า ลักษณะสามัญ (Common Trait) เช่น คนเหนือสุภาพ คนใต้รักพวกพ้อง คนไทยใจดี ฯลฯ

52. ประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมนําไปสู่การพัฒนาเรื่อง Self-Concept
ตอบ 3 หน้า 292 ทฤษฎีมนุษยนิยม (Humanistic Theory) เชื่อว่า ประสบการณ์และสิ่งแวดล้อม จะนําไปสู่การพัฒนาเรื่องอัตมโนทัศน์ (Self-Concept) โดยพฤติกรรมของมนุษย์ส่วนใหญ่ เกิดจากการที่เราพยายามทําพฤติกรรมที่ดํารงรักษาความเชื่อเรื่องอัตมโนทัศน์ของตัวเราเอาไว้

53. พฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมได้โดยการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ

54. นายเอกชอบการขับรถด้วยความเร็วสูงเพราะรู้สึกสนุกทั้งที่รู้ว่าเสี่ยงอันตราย เป็นพฤติกรรมที่เกิดจาก
โครงสร้างของจิตใจส่วนใด
(1) Id
(2) Ego
(3) Superego
(4) Persona
(5) Shadow
ตอบ 1 หน้า 287 – 288, (คําบรรยาย) ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ของฟรอยด์ (Freud) ได้แบ่งโครงสร้างของบุคลิกภาพออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. อิด (Id) เป็นสัญชาตญาณของจิตใต้สํานึกที่มีมาตั้งแต่แรกเกิด โดยเป็นพลังจิตที่ขาดการขัดเกลา ไม่รับรู้ระเบียบแบบแผนของสังคม มีกระบวนการคิดที่ไม่สมเหตุสมผล ทํางานโดยยึดหลัก ความพึงพอใจหรือทําตามความพึงพอใจของตัวเองโดยไม่สนใจกับความเป็นจริงภายนอก
ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับสัญชาตญาณในเรื่องเพศ ความก้าวร้าว และการทําลายล้าง
2. อีโก้ (Ego) เป็นส่วนของจิตใจที่ทํางานโดยยึดหลักแห่งความเป็นจริง โดยร่วมกันไปกับ กระบวนคิดอย่างมีเหตุผล จะแสดงออกอย่างไรจึงเป็นที่ยอมรับและเหมาะสมกับสังคม
3. ซูเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นส่วนของจิตใจที่ทําหน้าที่คล้ายกับมโนธรรมที่คอยตักเตือน ให้บุคคลมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี

55. โครงสร้างของจิตใจส่วนใดที่ทํางานโดยยึดหลักจริยธรรม (Moral principle)
(1) Id
(2) Ego
(3) Superego
(4) Persona
(5) Shadow
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 54. ประกอบ

56. ข้อใดถูกต้องตามแนวคิดของวัตสัน (Watson)
(1) บุคลิกภาพเกิดจากการทํางานของ Id, Ego และ Superego
(2) พฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมได้โดยจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
(3) โครงสร้างพลังงานของระบบ จิตสรีระทําให้บุคคลมีเอกลักษณ์ในการปรับตัว
(4) มนุษย์มีธรรมชาติที่จะแสวงหาความงอกงามเติบโต และพัฒนาไปสู่สภาวะที่สมบูรณ์
(5) ระบบจิตสรีระของมนุษย์จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ

57. ข้อใดคือความต้องการขั้นที่ 4 ของทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการของมาสโลว์
(1) ความต้องการความปลอดภัย
(2) ความต้องการทางร่างกาย
(3) ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ
(4) ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง
(5) ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง
ตอบ 4 หน้า 229 – 232, 234 – 235 ทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow) ได้แบ่งระดับความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่
1. ความต้องการทางด้านร่างกาย เช่น ต้องการอาหาร ที่อยู่อาศัย รถยนต์ ฯลฯ
2. ความต้องการความมั่นคงและความปลอดภัย เช่น หาวิธีป้องกันตนเองให้ปราศจากโรค และอันตรายต่าง ๆ ไม่ขับรถขณะมึนเมา ฯลฯ
3. ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ เช่น ต้องการความรัก ความสามัคคี ฯลฯ
4. ความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่น เช่น ต้องการมีชื่อเสียงและมีหน้ามีตาในสังคม ฯลฯ
5. ความต้องการประจักษ์ตน เช่น ต้องการแสวงหาความสุขทางใจ ฯลฯ

58. การประเมินบุคลิกภาพของนักจิตวิทยาในข้อใดเรียกว่า การฉายภาพจิต
(1) ใช้แบบทดสอบ MMPI
(2) ให้ดูภาพหยดหมึกแล้วถามว่าเหมือนอะไร
(3) พูดคุยโดยตั้งคําถามทางอ้อม
(4) แอบสังเกตการณ์ผ่านกล้องวิดีโอ
(5) ให้ผู้รับการทดสอบเข้าไปในสถานการณ์จําลองที่สร้างขึ้น
ตอบ 2 หน้า 308 – 309, 315 แบบทดสอบการฉายภาพจิต เป็นการวัดบุคลิกภาพที่นักจิตวิทยามี ความประสงค์จะล่วงรู้ถึงความปรารถนาหรือจิตใต้สํานึกลึก ๆ ที่ซ่อนอยู่ในจิตของผู้ตอบ โดย ให้ผู้รับการทดสอบบรรยายความรู้สึกนึกคิดออกมาทางภาพที่ให้ดู ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. แบบทดสอบรอร์ชาย (Rorschach) เป็นภาพหยดหมึก 10 ภาพ โดยให้ผู้รับการทดสอบ ดูภาพแล้วถามว่าเขาเห็นอะไรในภาพนั้นบ้างหรือภาพนั้นเหมือนอะไร
2. แบบทดสอบ TAT เป็นภาพเรื่องราว 20 ภาพ โดยให้ผู้รับการทดสอบดูภาพแล้วให้เขา บรรยายหรือแต่งเรื่องหรือเล่าเรื่องจากภาพ

59. “สติปัญญาเป็นความสามารถของแต่ละบุคคลในการที่จะคิดอย่างมีเหตุผล หรือกระทําทุก ๆ สิ่งอย่างมี จุดมุ่งหมาย ตลอดจนมีความสามารถที่จะปฏิบัติตนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ตรงกับ
แนวคิดของใคร
(1) อัลเฟรด บิเนต์
(2) เดวิด เวคสเลอร์
(3) จอร์จ สต๊อดดาร์ด
(4) โฮวาร์ด การ์ดเนอร์
(5) ฟรานซิส กัลตัน
ตอบ 2 หน้า 321 เดวิด เวคสเลอร์ (David Wechster) กล่าวว่า “สติปัญญาเป็นความสามารถของ แต่ละบุคคลในการที่จะคิดอย่างมีเหตุผล หรือกระทําทุก ๆ สิ่งอย่างมีจุดมุ่งหมาย ตลอดจนมีความสามารถที่จะปฏิบัติตนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

60. ทฤษฎีตัวประกอบหลายปัจจัย (Multiple Factor Theory) เป็นของนักทฤษฎีท่านใด
(1) ชาร์ล สเปียร์แมน
(2) อัลเฟรด บีเน่ต์
(3) เทอร์สโตน และกิลฟอร์ด
(4) ธีโอฟีล ไซมอน
(5) เดวิด เวคสเลอร์
ตอบ 3 หน้า 325 – 326 เทอร์สโตนและกิลฟอร์ด (Thurstone and Guilford) เป็นผู้ที่แนะนําทฤษฎี ตัวประกอบหลายปัจจัย (Multiple Factor Theory) โดยเทอร์สโตนอธิบายว่า ความสามารถ ขั้นพื้นฐานที่เป็นส่วนประกอบของสติปัญญามี 7 ชนิด คือ ความเข้าใจภาษา, ความสามารถ ใช้คําได้คล่องแคล่ว, ความสามารถในการใช้ตัวเลข, ความสามารถในการมองเห็นภาพมิติ,
ความสามารถในการจํา, ความไวในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ และความสามารถที่จะเข้าใจเหตุผล ส่วนกิลฟอร์ด เชื่อว่า ตัวประกอบของสติปัญญามีถึง 120 ตัวประกอบ ใน 3 มิติ คือ มิติด้าน เนื้อหา วิธีการ และผล โดยเขาเชื่อว่าบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงมักจะมีสติปัญญาสูงด้วย

61. จุดเริ่มต้นของการพัฒนาระบบทดสอบสติปัญญา คือ
(1) ความต้องการจัดชั้นเรียนพิเศษสําหรับเด็กเรียนข้าของกระทรวงศึกษาธิการประเทศฝรั่งเศส
(2) ความต้องการพิจารณางบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการประเทศสหรัฐอเมริกา
(3) การสํารวจระบาดวิทยาของปัญหาสุขภาพจิตในประเทศอังกฤษ
(4) การเตรียมเปิดสถาบันบําบัดสําหรับเด็กพิเศษในประเทศแคนาดา
(5) การร่างนโยบายการศึกษาของประเทศฟินแลนด์
ตอบ 1 หน้า 324 การวัดสติปัญญาริเริ่มขึ้นโดยเซอร์ ฟรานซิส กัลตัน (Sir Francis Gatton) ซึ่งให้ความสนใจศึกษาการสืบทอดทางพันธุกรรมเกี่ยวกับความสามารถทางสติปัญญา จนในปีค.ศ. 1905 กระทรวงศึกษาของประเทศฝรั่งเศสได้ให้ความสนใจต่อการศึกษาของเด็กที่มี ปัญหาในการเรียนช้า เพื่อที่จะได้จัดเตรียมโปรแกรมพิเศษสําหรับเด็กกลุ่มนี้ ด้วยเหตุนี้ นักจิตวิทยาจึงได้สร้างและพัฒนาแบบทดสอบวัดสติปัญญารายบุคคลขึ้นมาใช้เพื่อแยกเด็กที่มีความผิดปกติทางสมองออกจากเด็กปกติ

62.“คําว่า Mental Age (M.A.)” ในสมการการคํานวณค่า I.Q. = M.A./C.A. × 100 คืออะไร
(1) อายุจริง
(2) อายุปฏิทิน
(3) อายุสมอง
(4) อายุเพดาน
(5) อายุฐาน
ตอบ 3 หน้า 326 ในการวัดความสามารถทางสติปัญญาจะถูกวัดออกมาในอัตราส่วนที่เรียกว่า I.O. (Intelligence Quotient) ซึ่งเป็นอัตราส่วนระหว่างอายุสมอง (Mental Age : M.A.) ซึ่งเป็น คะแนนที่ได้จากการทําแบบทดสอบสติปัญญา และอายุจริงตามปฏิทิน (Chronological Age – C.A.) ซึ่งเป็นอายุที่นับตั้งแต่วันเกิดจนถึงวันทดสอบ คูณด้วย 100

63. เด็กหญิงหนึ่ง ทําแบบทดสอบได้อายุสมอง 40 เดือน อายุจริงตามปฏิทินเท่ากับ 3 ปี เด็กหญิงหนึ่งจะมี คะแนนความสามารถทางสติปัญญา (I.Q.) เท่ากับเท่าไหร่ (หากมีเศษให้ปัดลง)
(1) เท่ากับ 11
(2) เท่ากับ 77
(3) เท่ากับ 88
(4) เท่ากับ 99
(5) เท่ากับ 111
ตอบ 5

64.คะแนน I.Q. ในข้อใดจัดอยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย (High Average)
(1) I.Q. = 90 – 109
(2) 1.O. = 110 – 119
(3) I.Q. = 70 – 79
(4) I.Q. – 60 – 69
(5) I.Q. = 50 – 59
ตอบ 2 หน้า 327 บิเนต์ (Binet) ได้จําแนกระดับสติปัญญา (IQ) ของบุคคลออกเป็น 7 ระดับ ดังนี้ ปัญญาอ่อน (Retarded) มีระดับ IQ ต่ํากว่า 70, คาบเส้น (Borderline) มีระดับ IQ 71 – 80, ปัญญาทึบ (Dull) มีระดับ IQ 81 – 90, เกณฑ์ปกติ (Normal) มีระดับ IQ 91 – 110 เป็นอัตราเฉลี่ย (Average), ค่อนข้างฉลาด (Superior) มีระดับ IQ 111 – 120, ฉลาดมาก (Very Superior) มีระดับ IQ 121 – 140 และอัจฉริยะ (Genius) มีระดับ IQ 140 ขึ้นไป

65. ถ้าข้อสอบ PSY 1001 มีเนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับเรื่องประวัติศาสตร์ ข้อสอบนี้ขาดคุณสมบัติข้อใด
(1) ความเป็นปรนัย
(2) ความเชื่อถือได้
(3) ความแม่นยํา
(4) ความเที่ยงตรง
(5) ความเป็นมาตรฐาน
ตอบ 4 หน้า 328 ความเที่ยงตรง (Validity) นับเป็นคุณสมบัติที่สําคัญที่สุด นั่นคือ แบบทดสอบ จะต้องสามารถวัดในสิ่งที่ต้องการจะวัดได้ ได้แก่ ความเที่ยงตรงตามเนื้อหาและทฤษฎีที่ให้ ผู้ทรงคุณวุฒิทําการประเมินแล้ว หรือความเที่ยงตรงที่ได้จากการคํานวณหาค่าสหสัมพันธ์ระหว่างแบบทดสอบกับเกณฑ์ที่ใช้ในการทํานายหรือกับการทดสอบอื่น ๆ หรือระหว่าง แบบทดสอบใหม่กับแบบทดสอบเก่าที่ผู้สร้างเดิมได้หาค่าความเที่ยงตรงไว้แล้ว

66. แบบทดสอบวัดระดับสติปัญญาแบบใดไม่ใช่การโต้ตอบคําถามด้วยภาษา
(1) WAIS
(2) WISC
(3) WPPSI
(4) Stanford-Binet
(5) Progressive matrices tests
ตอบ 5 หน้า 331 แบบทดสอบโปรเกรสซีพ เมตรซีส (Progressive Matrices Test) เป็นแบบทดสอบ ที่ไม่ใช้ถ้อยคําภาษา (Nonverbal) ที่ J.G. Raven สร้างขึ้นมาเพื่อใช้วัดความสามารถของบุคคล ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงเรขาคณิต

67. แบบทดสอบวัดความสามารถทางสติปัญญาฉบับใดที่สามารถใช้กับเด็กที่มีอายุ 2 ปีได้
(1) SPM
(2) WAIS
(3) WISC
(4) WPPSI
(5) Stanford-Binet
ตอบ 5 หน้า 329 ลักษณะของแบบทดสอบ Stanford-Binet คือ เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดระดับ สติปัญญาของเด็กตั้งแต่อายุ 2 ขวบ จนถึงผู้ใหญ่ที่ฉลาด

68. ข้อใดกล่าวผิด
(1) การใช้แบบทดสอบ I.Q. จะกระทําได้แต่เฉพาะผู้ที่มีคุณสมบัติเพียงพอเท่านั้น
(2) ยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าเพศหญิงและชายที่มีความแตกต่างทางสติปัญญา
(3) ฐานะทางสังคมไม่ใช่ปัจจัยที่ทําให้สติปัญญามีความแตกต่างกัน
(4) ความแตกต่างทางเชื้อชาติไม่ทําให้ความสามารถทางสติปัญญาแตกต่างกัน
(5) ระดับสติปัญญาอาจเพิ่มหรือลดได้ เมื่ออายุล่วงวัย 60 ปีแล้ว
ตอบ 3 หน้า 332 – 334 การขายและใช้แบบทดสอบ I.Q. จะกระทําได้แต่เฉพาะบุคคลที่มีคุณสมบัติ เพียงพอในการใช้แบบทดสอบเท่านั้น เป็นการยากที่จะชี้ชัดลงไปว่าเพศหญิงและชายใครจะมี สติปัญญาดีกว่ากัน, ฐานะทางสังคมเป็นปัจจัยหรือตัวแปรที่ทําให้สติปัญญามีความแตกต่างกัน ความแตกต่างทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมไม่ได้ทําให้ความสามารถทางสติปัญญาแตกต่างกันและระดับสติปัญญาของคนเราอาจจะเพิ่มหรือลดก็ได้เมื่ออายุล่วงวัย 60 ปีไปแล้ว

69. ตามแนวคิดของไฟด์แมนและโรเซนแมน คนแบบใดมีความเครียดมากที่สุด
(1) คนที่เก็บกดไม่แสดงอารมณ์
(2) คนที่ไม่ชอบความเร่งรีบ
(3) คนที่ไม่ชอบการแข่งขัน
(4) คนที่ทําอะไรค่อยเป็นค่อยไป
(5) คนที่ไม่ชอบสร้างบรรทัดฐานให้กับตนเอง
ตอบ 1หน้า 348, (คําบรรยาย) ไฟรด์แมนและโรเซนแมน (Friedman & Rosenman) ได้แบ่ง กลุ่มคนตามลักษณะบุคลิกภาพออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. กลุ่ม A (Type A Personality) เป็นคนใจเร็ว ใจร้อน ชอบความก้าวหน้า การแข่งขันสูง เก็บกดไม่แสดงอารมณ์ มุ่งความสําเร็จหรือผลสัมฤทธิ์ ชอบสร้างมาตรฐานให้กับตัวเอง มักเป็นคนเข้มงวด ชอบเสี่ยงและชอบความสมบูรณ์แบบ ซึ่งมีผลให้มีความเครียดมากที่สุด
2. กลุ่ม B (Type B Personality) เป็นคนที่ไม่เร่งรีบ ผ่อนคลาย ทําอะไรแบบค่อยเป็นค่อยไป ชอบทํางานทีละอย่าง ซึ่งมีผลให้มีความเครียดน้อยที่สุด และไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ

70. “การปรับตัวมาจากการเรียนรู้ว่าดีหรือไม่ หากดีก็สามารถปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ” มาจากแนวคิด
ทางจิตวิทยากลุ่มใด
(1) จิตวิเคราะห์
(2) มนุษยนิยม
(3) กลุ่มทฤษฎีเพื่อการอยู่รอด
(4) พฤติกรรมนิยม
(5) จิตวิทยาเกสตัลท์
ตอบ 4 หน้า 344 กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorist) เชื่อในเรื่องของพฤติกรรมว่าเป็นสิ่งเรียนรู้ ดังนั้น คนที่จะปรับตัวได้ดีหรือไม่นั้นจะขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของเขา ถ้าเขามีการเรียนรู้ที่ดี เขาก็จะสามารถ มีพฤติกรรมที่โต้ตอบออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่ออยู่ในสถานการณ์คับขัน

71. ข้อใดเกี่ยวข้องกับการปรับตัวที่ดีมากที่สุด
(1) ช่วยให้มีสติปัญญาสูงขึ้น
(2) ช่วยให้สามารถควบคุมผู้อื่นได้
(3) ช่วยให้มีความรู้และทักษะด้านต่าง ๆ สูงขึ้น
(4) ช่วยให้เชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้นได้
(5) ช่วยให้เป็นที่ยอมรับนับหน้าถือตาจากบุคคลอื่นได้
ตอบ 4 หน้า 345 การปรับตัวที่ดีและเหมาะสมเป็นการปรับตัวของบุคคลที่ทําให้ชีวิตของเขาดีขึ้น ทําให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ช่วยให้เชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น และ ช่วยให้สามารถเข้าสังคมที่มีความหลากหลายดีขึ้นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ต้องไม่ทําให้ผู้อื่นเดือดร้อน หรือต้องไม่ไปปิดกั้นสิทธิเสรีภาพและอิสรภาพของผู้อื่น

72. เมื่อบุคคลเครียด พยายามหาเพื่อนเพื่อปรับทุกข์ วิธีนี้ถือเป็นกลยุทธ์ในการลดความเครียดวิธีใด
(1) เรียนรู้การพูดให้ตนเองสบายใจ
(2) แสวงหาสิ่งแวดล้อมที่พึงพอใจ
(3) การใส่ใจดูแลตนเอง
(4) มีความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น
(5) การทํากิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความเครียด
ตอบ 4 หน้า 351 – 353, (คําบรรยาย) กลยุทธ์ในการลดความเครียด มีหลายวิธี ได้แก่
1. แสวงหาสิ่งแวดล้อมที่พึงพอใจ เช่น เดินเล่นบริเวณสวนสาธารณะ ฯลฯ
2. ใส่ใจดูแลตนเองให้ดี เช่น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ มองหาข้อบกพร่องของตนเอง ฯลฯ
3. รู้จักทํากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด เช่น นั่งสมาธิ ออกกําลังกาย เล่นดนตรี ฯลฯ
4. เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ปลา ผัก ผลไม้ ฯลฯ
5. มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น เช่น พยายามหาเพื่อนที่จะพูดคุยเพื่อปรับทุกข์ ฯลฯ
6. เรียนรู้วิธีพูดให้ตนเองสบายใจ เช่น ใคร ๆ ก็ผิดกันได้ทั้งนั้น ฯลฯ

73. อาการทางกายใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับความเครียดของบุคคล
(1) ตาบอดสี
(2) ปัญญาอ่อน
(3) ธาลัสซีเมีย
(4) ท้องเสีย
(5) โรคจิต
ตอบ 4 หน้า 349 ไซโคโซมาติก (Psychosomatic Diseases) คือ อาการของความเจ็บป่วยหรือ โรคทางกายที่เกิดจากภาวะความเครียดที่สะสมเอาไว้นาน ๆ เช่น แผลในกระเพาะอาหารท้องร่วง ท้องผูก โรคหัวใจ นอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะข้างเดียว (ไมเกรน) ฯลฯ

74. “เอริน่าบอกกับเพื่อนว่าที่ตนทําข้อสอบ PSY 1001 ไม่ได้ เป็นเพราะอาจารย์ออกข้อสอบยากเกินไป”
เป็นกลไกทางจิตชนิดใด
(1) การเก็บกด
(2) การชดเชยสิ่งที่ขาด
(3) ปฏิกิริยากลบเกลื่อน
(4) การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง
(5) การโยนความผิด
ตอบ 4 หน้า 357 การเข้าข้างตัวเอง (Rationalization) เป็นวิธีการที่บุคคลพยายามหาเหตุผลมาเข้าข้างตัวเอง ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาหน้าหรือภาพพจน์ของตัวเองเอาไว้ ซึ่งเป็นลักษณะคล้าย การปลอบใจตัวเอง เช่น พูดว่าใคร ๆ ก็ทําอย่างนี้กันทั้งนั้นแหละถ้ามีโอกาส, เหตุที่ตนสอบตกเพราะข้อสอบยากเกินไป หรือไม่สบายเลยขาดสมาธิในการทําข้อสอบ เป็นต้น

75. “จินบอกกับเพื่อนว่าที่สอบวิชา PSY 1001 ไม่ผ่านเพราะต้องช่วยแม่ทํางาน จึงไม่มีเวลาอ่านหนังสือ”
เป็นกลไกทางจิตชนิดใด
(1) การเก็บกด
(2) การชดเชยสิ่งที่ขาด
(3) ปฏิกิริยากลบเกลื่อน
(4) การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง
(5) การโยนความผิด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ

76.ตามแนวคิดของเซลเย (Selye) “ช่วงที่ร่างกายมีการสร้างระบบป้องกันความเครียด แต่ขณะเดียวกัน ระบบป้องกันทางร่างกายทํางานได้ลดลง” เกิดขึ้นในขั้นตอนใด
(1) ขั้นปฏิเสธ
(2) ขั้นปฏิกิริยาตื่นตระหนก
(3) ขั้นถดถอย
(4) ขั้นระยะเหนื่อยล้า
(5) ขั้นสร้างระบบต้านทานภัย
ตอบ 5 หน้า 351, (คําบรรยาย) เซลเย (Selye) ได้ศึกษาเกี่ยวกับสภาวะของร่างกายเมื่อเกิดความเครียด พบว่า เมื่อบุคคลเกิดความเครียด ร่างกายจะมีปฏิกิริยาต่อความเครียด 3 ขั้นตอน คือ
1. ปฏิกิริยาตื่นตระหนก เป็นช่วงที่ร่างกายมีพละกําลังมหาศาล เพื่อรับสภาพการจู่โจม
2. สร้างระบบต้านทานภัย ร่างกายจะสร้างระบบที่ปรับตัวต่อความเครียดในระยะยาวนานขึ้น แต่อาจทําให้ระบบป้องกันภัยด้านอื่นเสื่อมสมรรถภาพ เช่น เมื่อทราบข่าวร้าย ร่างกายก็จะ แสดงปฏิกิริยาตกใจ เสียใจ กินไม่ได้นอนไม่หลับ ซึ่งถ้าไม่ปรับตัว อาจกลายเป็นคนอ่อนแอ
3. ระยะเหนื่อยล้า ในกรณีที่ความเครียดอยู่กับบุคคลนาน ๆ และไม่หมดสิ้นไป ก็อาจทําให้ร่างกาย เกิดโรคขึ้นหลายชนิด เช่น โรคกระเพาะ โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ ฯลฯ และถ้าเป็นนาน ๆ ร่างกายก็อาจไปถึงจุดที่เรียกว่า Burn-out คือ หมดพลัง ไปต่อไม่ได้

77. ความขัดแย้งแบบใดที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ดังนี้ “จะเลือกทํางานที่ไหนดี? ระหว่างไม่ชอบลักษณะงาน แต่เงินเดือนมาก หรือที่ที่ได้ทํางานตามที่ตัวเองชอบ แต่เงินเดือนน้อย”
(1) อยากได้ทั้งคู่
(2) อยากหนีทั้งคู่
(3) ทั้งรักและชัง
(4) ทั้งชอบและชังในตัวเลือกทั้งคู่
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 361 – 364 ความขัดแย้งใจ (Conflict) มี 4 ประเภท คือ
1. อยากได้ทั้งคู่ (Approach-Approach Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ “รักพี่เสียดายน้อง” คือ ตัวเลือกทั้งสองเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาทั้งคู่ แต่หากเข้าใกล้ เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งแล้วจะทําให้อีกเป้าหมายหนึ่งลดความดึงดูดลงไปได้มาก
2. อยากหนีทั้งคู่ (Avoidance-Avoidance Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ “หนีเสือปะจระเข้” คือ เป็นความกดดันที่จะต้องเลือกตัวเลือกที่ไม่พึงปรารถนาทั้งคู่ ก่อให้เกิดพฤติกรรม “นิ่งเฉย ไม่ตัดสินใจ” เนื่องจากไม่กล้าตัดสินใจและทําอะไรไม่ถูก
3. ทั้งรักและซัง (Approach Avoidance Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ “กลืนไม่เข้าคายไม่ออก” คือ ตัวเลือกนั้นเป็นทั้งสิ่งที่ชอบและไม่ชอบในขณะเดียวกัน จึงทําให้เกิดความลังเลใจ เช่น อยากทานขนมหวานแต่กลัวฟันผุและกลัวอ้วน ฯลฯ
4. ทั้งชอบและขังในตัวเลือกทั้งคู่ (Double Approach Avoidance Conflicts) คือ ตัวเลือก ทั้ง 2 มีทั้งดีและไม่ดีในเวลาเดียวกัน เช่น ต้องเลือกระหว่างงานใหม่ 2 แห่ง แห่งแรกนั้นถูกใจ หมดทุกอย่างแต่เงินเดือนต่ํา แต่อีกแห่งไม่ถูกใจเลยแต่เงินเดือนสูง เราจะเลือกแห่งใด ฯลฯ

78. “ต่อยากไปเที่ยวกับเพื่อน แต่กลัวว่าจะอ่านหนังสือสอบไม่ทัน” เป็นความขัดแย้งใจแบบใด
(1) อยากได้ทั้งคู่
(2) อยากหนีทั้งคู่
(3) ทั้งรักและชัง
(4) ทั้งชอบและขังในตัวเลือกทั้งคู่
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 77. ประกอบ

79. จากการทดลองของซิมบาร์โดและคณะที่ให้นักศึกษามหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดสวมบทบาทสมมติเป็นนักโทษและผู้คุมและพบว่าบทบาทที่ได้รับทําให้นักศึกษาแสดงพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปตามบทบาทสมมติที่ได้รับมากขึ้น จัดเป็นการทดลองที่ได้ข้อสรุปในเรื่องใด
(1) ปทัสถานกลุ่ม
(2) การคล้อยตาม
(3) อิทธิพลของบทบาททางสังคม
(4) อิทธิพลของสถานภาพทางสังคม
(5) การขัดแย้งกันของบทบาท
ตอบ 3 หน้า 377 ซิมบาร์โค (Zimbardo) และคณะ ได้ทดลองให้เห็นว่าบทบาททางสังคมมีผลต่อ พฤติกรรมของบุคคล โดยว่าจ้างนักศึกษาชายแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดที่มีสุขภาพจิตปกติ และสุขภาพกายแข็งแรง ให้สวมบทบาทเป็นนักโทษและผู้คุม ในระหว่างการทดลองนั้นทั้ง 2 ฝ่าย สวมบทบาทเหมือนจริงมาก แสดงให้เห็นว่าบทบาทนักโทษและผู้คุมที่นักศึกษาทั้ง 2 กลุ่ม สวมอยู่นั้นมีผลต่อพฤติกรรมของพวกเขามาก นั่นหมายถึงข้อสรุปที่ว่าการเปลี่ยนบทบาทมีผล หรืออิทธิพลให้พฤติกรรมของบุคคลเปลี่ยนแปลงไป

80. ข้อใดตรงกับการแบ่งระยะห่างระหว่างบุคคลในระยะสาธารณะ
(1) การฟังสุนทรพจน์
(2) การให้คําปรึกษาของนักศึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษา
(3) การพูดคุยกันระหว่างเพื่อน
(4) การพูดคุยของประธานบริษัทสองบริษัทที่ตกลงทําการค้าร่วมกัน
(5) การพูดคุยกันของคู่รัก
ตอบ 1หน้า 378 – 379 ระยะห่างระหว่างบุคคล แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ
1. ระยะสนิทสนม (Intimate Distance) 0 18 นิ้ว เป็นระยะใกล้ชิดที่มักใช้สื่อสารเฉพาะ กับคนพิเศษ เช่น ใช้ระหว่างคู่รัก คนในครอบครัว ฯลฯ
2. ระยะส่วนตัว (Personal Distance) 1 – 4 ฟุต เป็นระยะที่ใช้เมื่ออยู่กับเพื่อน อาจารย์ ที่ปรึกษา ครูนั่งสอนนักเรียน ฯลฯ มักเอื้อมมือถึงกันได้ และใช้ระดับเสียงพูดปกติ
3. ระยะสังคม (Social Distance) 4 – 12 ฟุต เป็นระยะที่ใช้พูดคุยกันทางสังคมและธุรกิจ
4. ระยะสาธารณะ (Public Distance) 12 ฟุตขึ้นไป เป็นระยะที่เป็นทางการมากขึ้น เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ การฟังคําบรรยาย การหาเสียงเลือกตั้ง การแสดงคอนเสิร์ต ฯลฯ

81. การตามผู้นําในสถานการณ์ที่มีการสื่อสารซ้ํา ๆ โดยปราศจากคําอธิบาย จัดเป็นการตามผู้นําลักษณะใด
(1) สถานการณ์การเสนอแนะ
(2) สถานการณ์การคล้อยตาม
(3) การอภิปรายกลุ่ม
(4) สารชักจูง
(5) การยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น
ตอบ 1หน้า 383 สถานการณ์ที่อาจทําให้เกิดอิทธิพลทางสังคมขึ้น มี 5 สถานการณ์ คือ
1. สถานการณ์การเสนอแนะ เป็นสถานการณ์ที่มีการสื่อสารซ้ํา ๆ โดยปราศจากการอธิบาย
2. สถานการณ์การคล้อยตาม เป็นสถานการณ์ซึ่งมีการสื่อสารที่แตกต่างกันระหว่างบุคคลกับ พฤติกรรมของกลุ่ม ปทัสถานของกลุ่ม หรือค่านิยมของกลุ่ม
3. การอภิปรายกลุ่ม เป็นสถานการณ์ที่มีการโต้แย้งเกิดขึ้น
4. สารชักจูง เป็นสารหรือข้อความที่ได้มีการพิจารณาและขัดเกลาคําพูดมาเป็นอย่างดีแล้ว
5. การยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น (การล้างสมอง) เป็นสถานการณ์ที่ใช้ทั้ง 4 ลักษณะข้างต้นพร้อมกัน

82. นายกายมีเจตคติว่า “การดูแลพ่อแม่เป็นการแสดงความกตัญญู” แสดงถึงองค์ประกอบเจตคติด้านใด
(1) องค์ประกอบทางความเชื่อ
(2) องค์ประกอบทางการกระทํา
(3) องค์ประกอบทางอารมณ์
(4) องค์ประกอบทางจิตใต้สํานึก
(5) องค์ประกอบทางการรับรู้และสัมปชัญญะ
ตอบ 1 หน้า 389 เจตคติ มีองค์ประกอบสําคัญ 3 อย่าง คือ
1. องค์ประกอบทางความเชื่อ จะเกี่ยวข้องกับความเชื่อ ความคิด/ความเข้าใจที่มีต่อที่หมาย ทางเจตคติ เช่น มีเจตคติว่า “การดูแลพ่อแม่เป็นการแสดงความกตัญญู”, มีเจตคติต่อวัดว่า “วัดเป็นสถานที่ที่ช่วยให้จิตใจสงบ ปลอดโปร่ง”, “วัดเป็นที่พึ่งทางจิตใจ” ฯลฯ
2. องค์ประกอบทางอารมณ์ จะเกี่ยวข้องกับอารมณ์/ความรู้สึกที่มีต่อที่หมายทางเจตคติ
3. องค์ประกอบทางการกระทํา จะเกี่ยวข้องกับการกระทํา/พฤติกรรมที่มีต่อที่หมายทางเจตคติ เช่น มีเจตคติต่อวัดว่า “เราควรไปวัดทุกวันอาทิตย์ เพื่อการฝึกสมาธิและการปฏิบัติธรรม” “วัยรุ่นปัจจุบันมักใช้คอมพิวเตอร์นานกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน” ฯลฯ

83. ขั้นตอนการแสดงพฤติกรรมการช่วยเหลือที่ถูกต้อง เมื่อเรียงลําดับแล้ว ขั้นตอนที่ขาดหายไปคือข้อใด
“สังเกตเห็นถึงสถานการณ์ที่ต้องการความช่วยเหลือ —………..—- รับรู้ว่าตนควรรับผิดชอบ—-รู้วิธีการช่วยเหลือ”
(1) เรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาช่วยเหลือ
(2) หาเครื่องมือหรืออุปกรณ์เพื่อการช่วยเหลือ
(3) แปลความว่าเป็นเหตุการณ์ฉุกเฉิน
(4) ตั้งสติสัมปชัญญะเพื่อการช่วยเหลือ
(5) เตรียมใจให้พร้อมสําหรับการช่วยเหลือ
ตอบ 3 หน้า 395 ลาตาเน่และดาร์เลย์ เห็นว่า พฤติกรรมการช่วยเหลือมีกระบวนการ 4 ขั้นตอน คือ
1. สังเกตเห็นเหตุการณ์ที่ต้องการความช่วยเหลือ
2. แปลความว่าเป็นเหตุการณ์ฉุกเฉิน
3. คิดว่าเป็นสิ่งที่ตนควรรับผิดชอบ
4. รู้วิธีการช่วยเหลือที่เหมาะสม

84. “ประธานบริษัทที่ต้องไล่ลูกสาวออกจากงานเพราะทุจริต” จัดเป็นบริบททางสังคมในลักษณะใด
(1) การเชื่อฟัง
(2) ปทัสถานกลุ่ม
(3) การคล้อยตาม
(4) การขัดแย้งระหว่างบทบาท
(5) ตําแหน่งของบุคคลในกลุ่ม
ตอบ 4 หน้า 377 ถ้าบุคคลมีบทบาทที่ขัดแย้งกัน 2 บทบาทขึ้นไปก็จะเกิดความอึดอัดหรือคับข้องใจขึ้น เช่น ครูฝ่ายปกครองที่ต้องลงโทษลูกชายตนเองเพราะเกเรหนีโรงเรียน หรือตํารวจที่ต้องจับ ลูกชายตนเองที่ค้ายาเสพติด หรือประธานบริษัทที่ต้องไล่ลูกสาวออกจากงานเพราะทุจริต ฯลฯก็จะเกิดความขัดแย้งระหว่างบทบาทของพ่อและบทบาทของผู้รักษากฎหมายหรือกฎระเบียบ

85.ระยะ 12 ฟุตขึ้นไป เหมาะสําหรับกิจกรรมทางสังคมแบบใด
(1) การกล่าวสุนทรพจน์
(2) ความคับข้องใจ
(3) การเรียนรู้ทางสังคม
(4) การรับประทานอาหาร
(5) การสังสรรค์ในหมู่เพื่อน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 80. ประกอบ

86. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของความก้าวร้าว
(1) สัญชาตญาณ
(2) การประชุมงาน
(3) การพูดคุยธุรกิจ
(4) การกระจายความรับผิดชอบ
(5) ชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับสมองและฮอร์โมน
ตอบ 4 หน้า 393 – 395 สาเหตุของความก้าวร้าว มี 4 ประการ ดังนี้
1. สัญชาตญาณ
2. ชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับสมองและฮอร์โมน
3. ความคับข้องใจ
4. การเรียนรู้ทางสังคม

87. การทดลองเรื่องการคล้อยตามของแอช (Asch) ที่ให้กลุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบเส้นตรงมาตรฐานกับ เส้นเปรียบเทียบที่เป็นตัวเลือก พบว่าในข้อต่อไปนี้ ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดการคล้อยตาม
(1) มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ํา
(2) กลุ่มที่มีความสําคัญกับตนมาก
(3) ขนาดของกลุ่ม
(4) ขาดความเป็นเอกฉันท์ของกลุ่ม
(5) ต้องการการยอมรับจากคนอื่นมาก
ตอบ 4 หน้า 383 – 385 จากการทดลองของแอช (Asch) ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดการคล้อยตาม ได้แก่
1. ปัจจัยส่วนบุคคล โดยคนที่คล้อยตามผู้อื่นได้ง่ายมักมีลักษณะดังนี้คือ ต้องการการยอมรับจาก ผู้อื่นมาก มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ ต้องการความแน่นอน และมักมีความกระวนกระวายใจ
2. ปัจจัยด้านกลุ่ม โดยขึ้นอยู่กับสิ่งต่าง ๆ ดังนี้คือ กลุ่มมีความสําคัญกับตนมาก ขนาดของกลุ่ม และความเป็นเอกฉันท์ของกลุ่ม

88. นายสตีฟกล้าที่จะบอกเพื่อนที่มาแทรกคิวซื้ออาหารให้ไปต่อคิวท้ายแถว การแสดงพฤติกรรมข้างต้น
ตรงกับพฤติกรรมทางจิตวิทยาในข้อใด
(1) พฤติกรรมก้าวร้าว
(2) การเรียนรู้ทางสังคม
(3) พฤติกรรมรักษาสิทธิ
(4) การกระจายความรับผิดชอบ
(5) พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม
ตอบ 5 หน้า 396 – 397 พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม ได้แก่ การมีอารมณ์ที่เหมาะสม
แน่นอน จริงใจ ถูกต้อง เชื่อมั่นในตนเอง กล้าที่จะแสดงความรู้สึก ความคิดเห็น ความปรารถนา และความเชื่อของตนเองอย่างตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์ต่อกัน ทั้งนี้ต้องคํานึงถึงสิทธิส่วนบุคคล คือ เคารพทั้งสิทธิของตนเองและผู้อื่นด้วย

89. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมก่อนเกิด
(1) สุขภาพของแม่
(2) สุขภาพจิตของแม่
(3) อายุของมารดา
(4) ทัศนคติของพ่อแม่ที่มีต่อลูก
(5) การรับประทานอาหารของแม่
ตอบ 4 หน้า 131 – 133 สภาพแวดล้อมก่อนเกิด มีดังนี้
1. สุขภาพของแม่
2. สุขภาพจิตของแม่
3. การบริโภคของแม่
4. การได้รับรังสี
5. การได้รับเชื้อ AIDS
6. สภาวะของ Rh Factor (ในระบบเลือด)
7. อายุของแม่
8. จํานวนทารกภายในครรภ์

90. ถ้าทารกมีอาการติดเชื้อหรือขาดออกซิเจนจะเกิดอะไรขึ้น ยกเว้นข้อใด
(1) ปากแหว่ง
(2) แขนขาไม่มี
(3) เป็นมะเร็งในเม็ดเลือด
(4) อายุของมารดา
(5) เซลล์สมองถูกทําลาย
ตอบ 4 หน้า 132 หากมีการติดเชื้อหรือขาดออกซิเจน อาจจะทําให้เด็กเกิดมาจมูกโหว่ ปากแหว่ง
ตาบอด แขนขาไม่มี มีความพิการในระบบอวัยวะรับสัมผัส เป็นมะเร็งในเม็ดเลือด และอาจ ทําให้สติปัญญาต่ํา

91. ถ้าแม่มีความบกพร่องของฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์เด็กจะมีลักษณะดังนี้ ยกเว้นข้อใด
(1) กระดูกอ่อน
(2) ผิวหยาบ
(3) หูหนวก
(4) สติปัญญาต่ำกว่าปกติ
(5) ผมติดกัน
ตอบ 3 หน้า 132 หากแม่มีความบกพร่องของฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ จะทําให้เด็กเกิดมาเป็นโรคกระดูกอ่อน ท้องใหญ่ ผิวหนังหยาบ ผมติดกันเป็นกระจุก และสติปัญญาต่ำกว่าปกติ

92. ข้อใดไม่ใช่สิ่งต้องห้ามสําหรับสตรีมีครรภ์
(1) สูบบุหรี่
(2) การทานวิตามิน
(3) รับประทานยาแก้แพ้
(4) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
(5) ยาเสพติด
ตอบ 2 หน้า 132 สิ่งต้องห้ามสําหรับสตรีมีครรภ์ คือ สารอาหารและยาที่ก่อให้เกิดโทษต่อสุขภาพ ของมารดาและทารกในครรภ์ ซึ่งส่งผลต่อทารกในครรภ์ ดังนี้
– บุหรี่ จะส่งผลทําให้ทารกเกิดหลอดลมอักเสบ มีผลต่อการเต้นของหัวใจ มีปฏิกิริยาต่อภาวะ
เคมีในเลือดของทารก
– แอลกอฮอล์และเครื่องหมักดอง จะทําลายพัฒนาการทางร่างกายและสมองของทารก และ ทําให้ทารกเป็นโรคขาดสารอาหาร
– ยาบางชนิด (เช่น ยาแก้ไข้ ยาแก้แพ้ ยาระงับประสาทประเภทควินินหรือทาลิโดไมท์ ฯลฯ) จะมีผลต่อพัฒนาการทางกายและสมองของทารก มารดาไม่ควรบริโภคในช่วง 3 เดือนแรก เพราะจะทําให้คลอดยากและเด็กตัวเล็ก หรือในขณะมีครรภ์ควรให้แพทย์เป็นผู้สั่งยา
– สิ่งเสพติด (เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน) ส่งผลให้เด็กตัวเล็ก มีความผิดปกติของระบบหายใจ ฯลฯ

93. ถ้าแม่ติดรับประทานยาประเภททาลิโดไมท์จะเกิดอะไรขึ้นกับเด็กในครรภ์
(1) ทําให้คลอดยาก
(2) มีภูมิต้านทานเพิ่มขึ้น
(3) แขนขาไม่มี
(4) ระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์
(5) มีความผิดปกติของระบบหายใจ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 92. ประกอบ

94. ข้อใดอธิบายสภาวะของ Rh Factor ผิด
(1) มีอาการแท้ง
(2) สร้างฮอร์โมนที่จําเป็นต่อเด็ก
(3) เลือดมีลักษณะด้อย
(4) เกิดการต่อต้านระหว่างเลือดของมารดา
(5) ระบบเลือดของมารดาเข้าไปทําลายเม็ดเลือดแดงของตัวอ่อน
ตอบ 2 หน้า 133 สภาวะของ Rh Factor หมายถึง การที่ระบบเลือดของมารดามีสารบางอย่างที่เข้าไป ทําลายเม็ดเลือดแดงของตัวอ่อนในครรภ์ ทําให้เกิดอาการแท้งหรือตายหลังคลอดได้ สภาวะนี้ จะมี 2 ประเภท คือ ประเภทบวกและประเภทลบ ซึ่งถ้าลูกมีสภาวะของเลือดตรงข้ามกับมารดา (เลือดบิดาเป็น Rh บวก ซึ่งเป็นลักษณะเด่น แต่เลือดมารดาเป็น Rh ลบ ซึ่งเป็นลักษณะด้อย ลูกจะมี Rh บวก ตามลักษณะเด่นซึ่งตรงข้ามกับมารดา) จะทําให้เกิดการต่อต้านขึ้น โดยเลือด ของมารดาจะก่อปฏิกิริยาทําลายเลือดของลูก

95. ถ้าทารกเกิดการขาดออกซิเจนกี่วินาทีจะมีผลต่อเซลล์สมองของทารก
(1) 16 วินาที
(2) 17 วินาที
(3) 18 วินาที
(4) 19 วินาที
(5) 20 วินาที
ตอบ 3หน้า 134 สภาวะของการขาดออกซิเจนขณะคลอดมีสาเหตุมาจากการที่ทารกคลอดยาก หรือรกไม่เปิด ทําให้ออกซิเจนเข้าสู่กระแสโลหิตของทารกไม่ได้ ซึ่งหากทารกขาดออกซิเจน ประมาณ 18 วินาทีเท่านั้น จะมีผลต่อเซลล์สมองทําให้เซลล์สมองถูกทําลาย และถ้าขาดนาน ๆ อาจทําให้ทารกตายได้

96. จากการศึกษาของโลวิงเจอร์ (Loevinger) พบว่า อิทธิพลของสติปัญญากับสิ่งแวดล้อมมีกี่เปอร์เซ็นต์
(1) สติปัญญา 25% สิ่งแวดล้อม 75%
(2) สติปัญญา 75% สิ่งแวดล้อม 25%
(3) สติปัญญา 40% สิ่งแวดล้อม 60%
(4) สติปัญญา 60% สิ่งแวดล้อม 40%
(5) สติปัญญา 80% สิ่งแวดล้อม 20%
ตอบ 2 หน้า 137 จากการศึกษาของโลวิงเจอร์ (Loevinger) พบว่า พันธุกรรมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการ ทางสติปัญญา 75% และสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพล 25% นอกจากนี้ในด้านเกี่ยวกับพัฒนาการด้าน ร่างกาย โดยเฉพาะรูปร่างและหน้าตามีผลมาจากพันธุกรรมมากกว่าสิ่งแวดล้อม

97. กระบวนการเกิดแรงจูงใจ ต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
(1) ความต้องการ
(2) เป้าหมาย
(3) แรงขับ
(4) การตอบสนอง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 227 กระบวนการเกิดแรงจูงใจ มีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
1. ความต้องการ (Needs)
2. แรงขับ (Drive)
3. การตอบสนอง (Response)
4. เป้าหมาย (Goal)

98. เครื่องป้องกันอันตราย อยู่ในสิ่งเร้าลําดับขั้นความต้องการตามแนวคิดของมาสโลว์ (Mastow) ขั้นใด
(1) Self-Esteem Needs
(2) Physiological Needs
(3) Safety and Security Needs.
(4) Self-Actualization
(5) Love and Belonging Needs
ตอบ 3 หน้า 229 – 232 ลําดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow) มี 5 ระดับ ดังนี้
1. ความต้องการด้านร่างกาย (Physiological Needs) มีสิ่งเร้าต่าง ๆ เช่น อาหาร น้ํา เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย เพศตรงข้าม ฯลฯ
2. ความต้องการความมั่นคงและปลอดภัย (Safety and Security Needs) มีสิ่งเร้าต่าง ๆ เช่น ยาและเวชภัณฑ์ เครื่องป้องกันอันตราย อาหารเสริม อุบัติเหตุ ฯลฯ
3. ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Love and Belonging Needs) มีสิ่งเร้าต่าง ๆ
เช่น บัตรอวยพร ของขวัญ เพลง ภาพยนตร์หรือบทกวีความรักต่าง ๆ ฯลฯ
4. ความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่น (Self-Esteem Needs) มีสิ่งเร้าต่าง ๆ เช่น ตําแหน่ง ถ้วยรางวัล โล่เกียรติยศ การประกาศเกียรติคุณ ปริญญาบัตร ฯลฯ
5. ความต้องการประจักษ์ตน (Self-Actualization) มีสิ่งเร้าต่าง ๆ เช่น งานหรือกิจกรรม ที่พึงพอใจ สถานที่หรือสถานการณ์ที่สร้างให้บุคคลเกิดความสุขทางใจ ฯลฯ

99. สถานที่หรือสถานการณ์ที่สร้างให้บุคคลเกิดความสุขทางใจ อยู่ในสิ่งเร้าลําดับขั้นความต้องการตาม
แนวคิดของมาสโลว์ (Maslow) ขั้นใด
(1) Self-Esteem Needs
(2) Physiological Needs
(3) Safety and Security Needs
(4) Self-Actualization
(5) Love and Belonging Needs.
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 98. ประกอบ

100. ข้อใดเป็นสิ่งเร้าระดับความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่น
(1) ตําแหน่ง
(2) ถ้วยรางวัล
(3) เครื่องแบบ
(4) ประกาศนียบัตร
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 98. ประกอบ

101. ข้อใดเป็นสิ่งเร้าระดับความต้องการประจักษ์ตน
(1) งาน
(2) ความสงบ
(3) กิจกรรมที่บุคคลพึงพอใจ
(4) สถานที่ทําให้บุคคลสุขใจ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 98. ประกอบ

102. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับประเภทของความต้องการของเมอร์เรย์ (Murray)
(1) ความต้องการเอาชนะ
(2) ความต้องการความสนุก
(3) ความต้องการแยกจากผู้อื่น
(4) ความต้องการประจักษ์ตน
(5) ความต้องการหลีกเลี่ยงปมด้อย
ตอบ 4 หน้า 235 – 237 เมอร์เรย์ (Murray) ได้แบ่งประเภทความต้องการไว้ 20 ประการ เช่น ความต้องการเอาชนะด้วยการแสดงความก้าวร้าว (Need for Aggression), ความต้องการ เอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ (Need for Counteraction), ความต้องการที่จะยอมแพ้ (Need for
Abasement), ความต้องการที่จะป้องกันตนเอง (Need for Defendance), ความต้องการ ความสําเร็จ (Need for Achievement), ความต้องการความสนุกสนาน (Need for Play), ความต้องการแยกตนเองจากผู้อื่น (Need for Rejection), ความต้องการหลีกเลี่ยงปมด้อย และความล้มเหลว (Need for Avoidance of Inferiority), ความต้องการหลีกเลี่ยงจาก การถูกตําหนิ (Need for Avoidance of Blame) ฯลฯ

103. ข้อใดไม่เกี่ยวกับประเภทความต้องการของเมอร์เรย์ (Murray)
(1) ความต้องการความรัก
(2) ความต้องการความสําเร็จ
(3) ความต้องการหลีกเลี่ยงปมด้อย
(4) ความต้องการที่จะยอมแพ้
(5) ความต้องการหลีกเลี่ยงการถูกตําหนิ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 102. ประกอบ

104. แรงจูงใจประเภทใดที่ทําให้มนุษย์ต้องหาวิธีอยู่รอดของชีวิต
(1) แรงจูงใจพื้นฐาน
(2) แรงจูงใจภายใน
(3) แรงจูงใจภายนอก
(4) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
(5) แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์
ตอบ 1 หน้า 233, 239 แรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์ เป็นแรงจูงใจที่เกิดขึ้นเพื่อความอยู่รอดของชีวิต
แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
1. แรงจูงใจทางชีวภาพ ได้แก่ ความหิว ความกระหาย
2. แรงจูงใจเพื่อการสืบเผ่าพันธุ์
3. แรงจูงใจเพื่อหลีกหนีอันตราย

105. การเรียนรู้คืออะไร
(1) พฤติกรรมที่เกิดจากสัญชาตญาณ
(2) พฤติกรรมที่เกิดจากพันธุกรรม
(3) พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากพลังดิบ
(4) พฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางบวก
(5) พฤติกรรมอันเนื่องมาจากประสบการณ์ในอดีตหรือการฝึกหัด
ตอบ 5 หน้า 169, (คําบรรยาย) การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างถาวรของพฤติกรรม อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ในอดีต เช่น การไม่ชอบกินอาหารที่ทําให้เกิดอาการแพ้ การตบมือเมื่อดีใจ การจําทางเข้าบ้านได้ ฯลฯ แต่ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวของร่างกาย เช่น ท้องเสียเมื่อเกิดความเครียด เมาเหล้าแล้วมักอาละวาด รู้สึกอึดอัดเมื่อขับรถในที่แคบหรือ ขึ้นที่สูง น้ําลายไหลเมื่อเห็นมะม่วงดอง ฯลฯ แต่พฤติกรรมบางอย่างไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ หากเกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนซึ่งเป็นพฤติกรรมการตอบสนองตามธรรมชาติที่มีมาแต่กําเนิด เช่น การกะพริบตาเมื่อแสงจ้า การไอหรือจาม ฯลฯ และเกิดจากสัญชาตญาณอันเป็นลักษณะเฉพาะ ของเผ่าพันธุ์ เช่น การหายใจของมนุษย์ การร้องไห้ของเด็กแรกเกิด การก้าวเดินได้ครั้งแรก การว่ายน้ําของปลา การชักใยของแมงมุม ฯลฯ

106. ข้อใดไม่ใช่พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้
(1) การว่ายน้ำท่าฟรีสไตล์
(2) การม้วนผมได้สวยงาม
(3) การพูดคุยเสียงดังหลังดื่มเหล้า
(4) การเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ
(5) การร้องไห้เสียงดังเพราะเรียกร้องความสนใจ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 105. ประกอบ

107. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการแปลความหมายของสิ่งที่เรารับรู้
(1) การเรียนรู้
(2) ภาษาที่ใช้สื่อสาร
(3) ประสบการณ์ในอดีต
(4) รูปแบบของสิ่งเร้า
(5) สภาพจิตใจและอารมณ์ในขณะนั้น

ตอบ 2 หน้า 57, 59 การรับรู้ คือ กระบวนการแปลความหมายของสิ่งเร้าที่มากระทบประสาทสัมผัส ต่าง ๆ โดยการแปลความหมายของสิ่งที่รับรู้นี้จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในอดีต การเรียนรู้ สภาพจิตใจในปัจจุบัน ตลอดจนการจัดรูปแบบของสิ่งเร้านั้น ๆ ซึ่งกระบวนการรับรู้นี้จัดเป็น ขั้นตอนสําคัญอย่างยิ่งก่อนการแสดงพฤติกรรมโต้ตอบของมนุษย์ในทุกรูปแบบ

108. “นักเรียนได้เลือกทํากิจกรรมที่ชอบตามความสนใจ หลังจากที่ทําแบบฝึกหัดในชั้นเรียนเสร็จ” ตรงกับ
หลักการเรียนรู้ใด
(1) การลดภาระ
(2) การเสริมแรงทางบวก
(3) การเสริมแรงทางลบ
(4) การลงโทษทางบวก
(5) การลงโทษทางลบ
ตอบ 2 หน้า 179 การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึง การที่ความพอใจ หรือรางวัลเกิดขึ้นเมื่อกระทําสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป เช่น การให้ขนมแก่เด็กเมื่อเด็กทําความดี ฯลฯ ส่วนการเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) หมายถึง การทําให้ความไม่สุขสบาย หมดไป เช่น การกินยาแก้ปวดเพื่อให้หายจากอาการปวดศีรษะ ฯลฯ

109. ข้อใดถือเป็นสิ่งเสริมแรงทางลบ
(1) แม่ลูกเมื่อไม่ทําตามคําสั่ง
(2) ครูตัดคะแนนนักเรียนที่คุยกันในห้องเรียน
(3) นักศึกษาหกล้มเพราะพื้นลื่น
(4) แม่พาลูกไปกินไอศกรีมเพราะลูกช่วยเหลืองานบ้าน
(5) ลูกล้างจานเพราะไม่อยากให้แม่บ่น
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 108. ประกอบ

110. ข้อใดเป็นสิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ
(1) อากาศ
(2) ความรัก
(3) อาหาร
(4) แร่ธาตุ
(5) ความร้อน
ตอบ 2 หน้า 180 สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ (Secondary Reinforcers) เป็นรางวัลที่ได้เรียนรู้มาแล้ว ได้แก่ เงิน เกียรติ ความสนใจ การยอมรับ ความสําเร็จ ความรัก คะแนนสอบ ฯลฯ ซึ่งบางครั้ง สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิอาจมีค่าโดยตรง เพราะสามารถแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งเสริมแรงปฐมภูมิได้ เช่น เงินหรือธนบัตรสามารถนําไปซื้อหรือแลกเปลี่ยนเป็นอาหาร น้ํา และอื่น ๆ ได้ ฯลฯ

111. การลองทําแบบทดสอบท้ายบท ทําให้รักรามมีความเข้าใจการเรียนวิชานั้นดีขึ้น พฤติกรรมนี้เกิดจาก
สิ่งเสริมแรงประเภทใด
(1) สิ่งเสริมแรงครอบคลุม
(2) สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ
(3) สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ
(4) การป้อนกลับ
(5) การหยุดยั้ง
ตอบ 4 หน้า 180 – 181 การป้อนกลับ (Feedback) หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับผลของการตอบสนอง ซึ่งมีความสําคัญต่อการเรียนรู้ของมนุษย์ เพราะทําให้บุคคลได้พัฒนาการกระทําของตนเอง และทําให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น โดยนักศึกษาสามารถทําการป้อนกลับให้แก่ตนเองได้โดย
การลองทํากิจกรรมในแต่ละบทรวมทั้งแบบทดสอบท้ายบทด้วย ก็จะทําให้ทราบว่าตัวเราเอง สามารถเรียนรู้ได้มากน้อยเพียงใดก่อนที่จะเข้าสอบจริง ๆ

112. ตามทฤษฎีพัฒนาอารมณ์ของบริดจ์ อารมณ์จะพัฒนาอย่างสมบูรณ์เมื่ออายุเท่าไหร่
(1) ตั้งแต่เกิด
(2) 2 ขวบ
(3) 5 ขวบ
(4) 12 ขวบ
(5) วัยรุ่นขึ้นไป
ตอบ 2 หน้า 271 เค.บริดเจส (K.Bridges) พบว่า พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กทารกมีลักษณะดังนี้ อารมณ์แรกเกิดของมนุษย์คืออารมณ์ตื่นเต้น แล้วจึงพัฒนาไปสู่อารมณ์ที่มีลักษณะเฉพาะมากขึ้น เมื่ออายุครบ 3 เดือน ก็จะแยกออกระหว่างอารมณ์ดีใจและเดือดร้อนใจ ต่อจากนั้นอารมณ์โกรธ เกลียดและกลัวก็จะปรากฏขึ้นภายหลังตามระดับวุฒิภาวะและการรับรู้ของเด็ก และเมื่ออายุ 2 ปี (24 เดือน) อารมณ์พื้นฐานก็จะพัฒนาจนครบสมบูรณ์ทั้ง 8 ชนิด

ข้อ 113 – 114. จงตอบคําถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) Fixed Ratio
(2) Variable Ratio
(3) Fixed Interval
(4) Variable Interval
(5) ไม่มีข้อที่ถูกต้อง

113. พนักงานในโรงงานได้รับค่าจ้างตามจํานวนชิ้น เป็นการเสริมแรงแบบใด
ตอบ 1 หน้า 176 การเสริมแรงแบบอัตราส่วนคงที่ (Fixed Ratio) คือ การให้แรงเสริมตามอัตราส่วนของ การตอบสนองที่คงที่ เช่น การให้รางวัลเมื่อมีการตอบสนองทุกครั้ง ทุก 3 ครั้ง การจ่ายค่าจ้าง เป็นรายชิ้น ค่าคอมมิชชั่น ฯลฯ ซึ่งการเสริมแรงแบบนี้จะทําให้เกิดอัตราการตอบสนองสูงที่สุด

114. การถูกรางวัลลอตเตอรี่ เป็นการเสริมแรงแบบใด
ตอบ 3 หน้า 176 การเสริมแรงแบบอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน (Variable Ratio) คือ การให้แรงเสริมต่อ การตอบสนองในอัตราที่ไม่แน่นอน เช่น การซื้อลอตเตอรี่ การเล่นพนันตู้สล็อตแมชชีน ฯลฯ

115. ข้อใดคือลักษณะที่สําคัญของอารมณ์
(1) อารมณ์เป็นประสบการณ์ร่วมระหว่างบุคคล
(2) อารมณ์มีลักษณะที่ไม่คงที่เปลี่ยนแปลงไปมาได้
(3) อารมณ์เกิดขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา
(4) การแสดงทางอารมณ์มีลักษณะใกล้เคียงกับการแสดงพฤติกรรมทั่วไป
(5) การแปลความหมายสถานการณ์ไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดอารมณ์ของบุคคล
ตอบ 2 หน้า 255 – 256, (คําบรรยาย) อารมณ์ มีลักษณะสําคัญ 4 ประการ คือ
1. อารมณ์ไม่ใช่พฤติกรรมภายนอกหรือความคิดเฉพาะอย่าง แต่อารมณ์เป็นประสบการณ์ ความรู้สึกส่วนบุคคล และเป็นภาวะที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ (ไม่คงที่)
2. อารมณ์เป็นความรู้สึกที่รุนแรงและมีการแสดงออกที่แตกต่างไปจากการกระทําปกติทั่ว ๆ ไป
3. บุคคลจะมีการประเมินหรือแปลความหมายของสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องแล้วจึงจะเกิดอารมณ์
4. อารมณ์จะเกิดร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ

116. พฤติกรรมใดเกี่ยวข้องกับอารมณ์ “กลัว (Fear Terror)” ตามแนวคิดของคาร์รอล อิซาร์ด
(1) พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อประสบพบเจอกับอุปสรรค
(2) พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อประสบกับความพลัดพราก
(3) สภาวะของบุคคลที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
(4) สภาพอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อถูกลงโทษ เพราะไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่สังคมกําหนด
(5) พฤติกรรมเมื่อเผชิญกับสิ่งที่ตนไม่สามารถเข้าใจได้ หรือไม่แน่ใจภัยอันตรายที่จะมาถึง
ตอบ 5 หน้า 258 คาร์รอส อิซาร์ด (Carroll Izard) ได้จําแนกอารมณ์ออกเป็นชนิดต่าง ๆ ซึ่งอารมณ์ กลัว-สยองขวัญ (Fear Terror) เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลกําลังเผชิญอยู่กับสิ่งที่ตน ไม่สามารถจะเข้าใจได้ หรือเกิดความไม่แน่ใจในภัยอันตรายที่กําลังจะมาถึง

117. อารมณ์ใดที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายมากที่สุด
(1) อารมณ์กลัว
(2) อารมณ์เกลียด
(3) อารมณ์เศร้า
(4) อารมณ์รัก
(5) อารมณ์ปัจฉา
ตอบ 1 หน้า 262 จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดอารมณ์กับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ และพฤติกรรม พบว่า ในบรรดาอารมณ์ทั้งหลายนั้น อารมณ์ที่จัดว่าสามารถก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงทางสรีระร่างกายได้มากที่สุด ก็คือ อารมณ์กลัวและอารมณ์โกรธ

118. อารมณ์ใดไม่ใช่อารมณ์พื้นฐานตามแนวคิดของจาค แพงค์เซปป์
(1) คาดหวัง
(2) อิจฉา
(3) หวาดกลัว
(4) ตื่นตระหนก
(5) ความโกรธ
ตอบ 2 หน้า 259 อารมณ์พื้นฐานตามแนวคิดของจาค แพงค์เซปป์ (Jaak Panksepp) มี 4 ชนิด คือ คาดหวัง เดือดดาล ตื่นตระหนก และหวาดกลัว

119. เมื่อคนเราเกิดอารมณ์กลัว จะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายในด้านใด
(1) การหายใจถี่ขึ้น
(2) การตึงเครียดของกล้ามเนื้อสูงมาก
(3) ระบบขับถ่ายผิดปกติ
(5) ถูกทุกข้อ
(4) มีความผิดปกติของระบบการย่อยอาหาร
ตอบ 5 หน้า 261 – 262, (คําบรรยาย) เมื่อคนเราเกิดอารมณ์กลัวจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ในด้านต่าง ๆ เช่น การหายใจจะถี่ขึ้น มีความตึงเครียดของกล้ามเนื้อสูงมาก มีความผิดปกติ ของระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย (ไม่สามารถกลั้นอุจจาระและปัสสาวะได้) ฯลฯ

120. ข้อใดอธิบายถูกต้องเกี่ยวกับทฤษฎีการเกิดอารมณ์ของเจมส์-แลง
(1) อารมณ์เกิดขึ้นก่อน การตอบสนองทางร่างกายจึงเกิดขึ้นตามมา
(2) อารมณ์ที่เกิดขึ้นได้จากการคิดหาสาเหตุการตอบสนองต่อสถานการณ์นั้น
(3) ร่างกายต้องมีการแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบต่อสิ่งเร้าก่อน จึงเกิดอารมณ์ตามมา
(4) เมื่อตีความสิ่งเร้าว่าควรมีการตอบสนองทางกาย อารมณ์จึงเกิดตามมา
(5) อารมณ์และการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเกิดขึ้นพร้อมกัน เมื่อถูกกระตุ้นโดยสิ่งเร้า
ตอบ 3 หน้า 265, 269 ทฤษฎีของเจมส์-แลง (James-Lang Theory) อธิบายว่า ร่างกายของคนเรา จะต้องแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบต่อสิ่งเร้าเป็นอันดับแรกก่อน แล้วอารมณ์จึงจะเกิดตามมา ทั้งนี้ ประสบการณ์ทางอารมณ์เป็นผลมาจากการรับรู้การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย โดยหลังจาก ที่เกิดการเร้าทางกายและพฤติกรรมแล้วจะรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ หายใจหอบ หน้าแดง และเหงื่อออก นําไปสู่ประสบการณ์ทางอารมณ์

Advertisement