การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา PSY 1001 จิตวิทยาทั่วไป
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1.เส้นประสาทใดทําหน้าที่รับคําสั่งจากสมองและไขสันหลัง ไปทําหน้าที่ตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ
(1) เส้นประสาทรับความรู้สึก
(2) เส้นประสาทบงการ
(3) เส้นประสาทเชื่อมโยง
(4) จุดประสานประสาท
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 38 เส้นประสาทบงการ (Motor Nerve) เป็นเส้นประสาทซึ่งทําหน้าที่รับคําสั่งจากสมอง หรือไขสันหลังไปยังอวัยวะต่าง ๆ ให้ทํางานตามหน้าที่
2.ศูนย์กลางการทํางานของประสาทบริเวณลําตัวมีหน้าที่รับกระแสประสาทส่งไปที่สมอง คือส่วนใด
(1) ไขสันหลัง
(2) ธาลามัส
(3) ก้านสมอง
(4) ซีรีเบลลัม
(5) ฮิปโปแคมปัส
ตอบ 1 หน้า 43 ไขสันหลัง (Spinal Cord) เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลาง ทําหน้าที่เป็น ศูนย์กลางที่สําคัญของระบบประสาทที่บริเวณลําตัวและแขนขา และเป็นตัวติดต่อระหว่างสมอง กับส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทั้งหมด โดยรับกระแสประสาทจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายส่งไปยัง สมอง และจากสมองก็ส่งกระแสประสาทนั้นกลับมาให้ไขสันหลังเพื่อส่งต่อไปยังอวัยวะต่าง ๆ
3.คําว่า “Psyche” จากคําว่า Psychology มีความหมายตามข้อใด
(1) การกระทํา
(2) สมอง
(3) พฤติกรรม
(4) การรู้คิด
(5) จิต
ตอบ 5 หน้า 3 จิตวิทยามาจากศัพท์ภาษาอังกฤษคือ Psychology ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คํา คือ Psyche (mine = จิต) และ Logos (knowledge = ความรู้ หรือการศึกษา) ทั้งนี้ จิตวิทยา คือ การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ว่าด้วยเรื่องพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์
4. ใครคือ “บิดาแห่งจิตวิทยาการทดลอง”
(1) ซิกมันด์ ฟรอยด์
(2) เคิร์ท คอฟก้า
(3) รูท เบเนดิก
(4) วิลเฮล์ม วันท์
(5) อัลเฟรด แอดเลอร์
ตอบ 4 หน้า 8 – 9, 19 วิลเฮล์ม วันท์ (Wilhelm Wundt) เป็นบุคคลแรกที่เริ่มศึกษางานด้านจิตวิทยา และประกาศแยกจิตวิทยาออกจากวิชาปรัชญา โดยการจัดตั้งห้องทดลองทางจิตวิทยาขึ้นเป็น แห่งแรกที่เมืองไลป์ซิก (Leipzig) ประเทศเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1879 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะ ศึกษาค้นคว้าเรื่องจิตสํานึกด้วยการสังเกตทดลองตามวิธีทางวิทยาศาสตร์ ทําให้วุ้นท์ได้รับการ ยกย่องว่าเป็นบิดาของวิชาจิตวิทยาและจิตวิทยาการทดลอง
5. ต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย คือต่อมใด
(1) ต่อมโกหนาด
(2) ต่อมหมวกไต
(3) ต่อมใต้สมอง
(4) ต่อมไพเนียล
(5) ต่อมไทรอยด์
ตอบ 5 หน้า 45 – 48 ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย
โดยจะผลิตฮอร์โมน 2 ชนิด คือ
1. ไทร็อกซิน (Thyroxin) เป็นฮอร์โมนที่ทําหน้าที่ควบคุมอัตราการเผาผลาญอาหารต่าง ๆ ใน ร่างกาย และมีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย
2. ไทโรแคลซิโทนิน (Thyrocalcitonin) เป็นฮอร์โมนที่ทําหน้าที่รักษาสมดุลของแคลเซียม ในเลือด และมีผลต่อสรีรวิทยาของกระดูก
6.ข้อใดเป็นลักษณะและการทําหน้าที่ของกล้ามเนื้อหัวใจ
(1) มีลักษณะเป็นเส้นใยลายสีดําสลับขาว และทํางานนอกเหนืออํานาจจิตใจ
(2) มีลักษณะเป็นเส้นใยลายสีดําสลับขาว และทํางานภายใต้อํานาจจิตใจ
(3) มีลักษณะเป็นเส้นใยลายสีดําสลับขาว และทํางานทั้งภายใต้และนอกเหนืออํานาจจิตใจ
(4) มีลักษณะคล้ายกระสวยทอผ้า และทํางานนอกเหนืออํานาจจิตใจ
(5) มีลักษณะคล้ายกระสวยทอผ้า และทํางานภายใต้อํานาจจิตใจ
ตอบ 1 หน้า 32 กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle) มีลักษณะเหมือนกับกล้ามเนื้อลาย คือ เซลล์มี ลักษณะเป็นเส้นใยลายสีดําสลับขาว รวมกันเป็นมัด ๆ แต่จะทํางานอยู่นอกเหนืออํานาจจิตใจ เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อเรียบ
7. ข้อใดเป็นส่วนสําคัญของนิยาม “จิตวิทยา”
(1) การศึกษา – วิทยาศาสตร์ – พฤติกรรม
(2) การทํานาย – พฤติกรรม – การรู้คิด
(3) การศึกษา – การทําความเข้าใจ – การทํานาย
(4) การทําความเข้าใจ – พฤติกรรม – การรู้คิด
(5) การทําความเข้าใจ – การทํานาย – การรู้เอง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ
8.สารสื่อประสาทใด หากทํางานเสื่อมจะทําให้เกิดอาการของโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease)
(1) โดปามาย
(2) ซีโรโทนิน
(3) กาบา
(4) อิพิเนฟฟริน
(5) นอร์อิพิเนฟฟริน
ตอบ 1 หน้า 40 โดปามาย (Dopamine) เป็นสารสื่อประสาทที่ทําหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว ถ้าเสื่อมหรือบกพร่องหรือผิดปกติจะเป็นสาเหตุของโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) คือ มีอาการสั่นของกล้ามเนื้อ และยากลําบากในการเคลื่อนไหว ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ
9. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับระบบประสาทซิมพาเธติก
(1) ทําให้หัวใจเต้นช้าลง
(2) ความดันโลหิตต่ำลง
(3) ม่านตาหดตัวลง
(4) ร่างกายสงบลง
(5) ลําไส้หดตัวน้อยลง
ตอบ 5 หน้า 34 ระบบประสาทซิมพาเธติก (Sympathetic Nervous System) ทําให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายมีการทํางานมากขึ้น เกิดการตื่นตัว มีการเตรียมพร้อมของชีพจร หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ผนังของลําไส้หดตัวน้อยลง ม่านตาขยายกว้าง เหงื่อออกมาก และขนลุก ฯลฯ
10. ข้อใดเป็นหน้าที่สําคัญของระบบลิมบิก
(1) ควบคุมกล้ามเนื้อและการทรงตัว
(2) ควบคุมความสมดุลในร่างกาย
(3) ควบคุมอารมณ์ ความพึงพอใจ
(4) เป็นศูนย์กลางรับกระแสประสาทสัมผัสไปยังซีรีบรัม
(5) ศูนย์กลางควบคุมอวัยวะสัมผัส มอเตอร์ และเชื่อมต่อประสาท
ตอบ 3 หน้า 42 ระบบลิมบิก (Limbic System) จะมีการทํางานเกี่ยวโยงกับไฮโปธาลามัสมาก และ เมื่อส่วนต่าง ๆ ของระบบนี้ถูกกระตุ้น จะทําให้เกิดอารมณ์ ความพอใจ การเกา การทําความ สะอาดตัว และพฤติกรรมทางเพศ
11. กลุ่มโครงสร้างทางจิต (Structuralism) ให้ความสนใจศึกษาสิ่งใด
(1) องค์ประกอบของจิตสํานึก
(2) องค์ประกอบของจิตถึงสํานึก
(3) องค์ประกอบของจิตไร้สํานึก
(4) องค์ประกอบของบุคลิกภาพ
(5) องค์ประกอบของสมอง
ตอบ 1 หน้า 9 กลุ่มโครงสร้างทางจิต (Structuralism) ให้ความสนใจศึกษาองค์ประกอบของจิตสํานึก 3 ลักษณะ คือ การรับสัมผัส (Sensation) ความรู้สึก (Feeling) และมโนภาพ (Image) ซึ่ง
ระเบียบวิธีวิจัยศึกษาที่ใช้กันอยู่ในกลุ่มนี้ก็คือ วิธีการสังเกตทดลอง และรายงานประสบการณ์ ทางจิตด้วยตนเอง หรือการมองภายในที่เรียกว่า การสํารวจทางจิต (Introspection)
ข้อ 12 – 15 จงจับคู่ตัวเลือกด้านล่างนี้ให้ถูกต้อง
(1) โครงสร้างทางจิต
(2) หน้าที่ของจิต
(3) จิตวิเคราะห์
(4) มนุษยนิยม
(5) พฤติกรรมนิยม
12. จิตวิทยาที่แท้จริงคือการศึกษาพฤติกรรม ไม่ใช่ศึกษาเฉพาะจิตสํานึก เป็นแนวคิดของกลุ่มใด
ตอบ 5 หน้า 10 จอห์น บี. วัตสัน (John B. Watson) นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) กล่าวว่า จิตวิทยาที่แท้จริงคือการศึกษาพฤติกรรม ไม่ใช่ศึกษาเฉพาะจิตสํานึก ดังนั้น เขาจึง ปฏิเสธเรื่องจิตโดยสิ้นเชิง และรับแนวความคิดเรื่องการตอบสนองแบบมีเงื่อนไข โดยเน้นสังเกต ดูพฤติกรรมการตอบสนองแล้วบันทึกซึ่งจะทําให้ได้หลักฐานที่เป็นวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง
13. จิตมนุษย์เปรียบเสมือนก้อนน้ําแข็ง เป็นแนวคิดของกลุ่มใด
ตอบ 3 หน้า 11 ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เป็นจิตแพทย์และนักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ได้อธิบายว่า บุคลิกภาพของบุคคลพัฒนามาจากแรงจูงใจไร้สํานึก และ เปรียบจิตมนุษย์เป็นเสมือนก้อนน้ําแข็งซึ่งมีเพียงส่วนน้อยที่ลอยอยู่เหนือน้ํา (จิตสํานึก) แต่ ส่วนที่กว้างใหญ่คือส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำ (จิตไร้สํานึก) อันเป็นแหล่งสะสมของความคิด แรงขับ แรงกระตุ้น และความปรารถนาที่ซ่อนเร้น แม้แต่เจ้าตัวก็ไม่สามารถล่วงรู้ได้ แต่ทว่ามีอิทธิพล อย่างยิ่งต่อพฤติกรรมของบุคคลนั้น
14. จิตทําหน้าที่ปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นแนวคิดของกลุ่มใด
ตอบ 2 หน้า 9 – 10 วิลเลียม เจมส์ (William James) นักจิตวิทยากลุ่มหน้าที่ของจิต (Functionalism) มีความเห็นว่า จิตทําหน้าที่ปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป จิตสํานึกจะทํางานเหมือน กระแสน้ําในลําธาร แต่เป็นกระแสธารของจินตภาพและการรับสัมผัส
15. แนวคิดใดสนใจศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง “สิ่งเร้า และการตอบสนอง
ตอบ 5 หน้า 10 สกินเนอร์ (Skinner) เป็นนักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ที่สนใจ ศึกษาและยึดมั่นในความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (สิ่งแวดล้อม) กับการตอบสนอง และเพิกเฉย ต่อเรื่องความคิดและประสบการณ์ส่วนบุคคล จึงทําให้นักจิตวิทยาหลายท่านเห็นว่ากลุ่มนี้ ขาดความรู้ในส่วนจิตสํานึก
16. เหตุการณ์ใดที่แยกจิตวิทยาออกจากวิชาปรัชญา
(1) ความชุกที่เพิ่มขึ้นของภาวะป่วยทางจิตในทหารผ่านศึกหลังเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง
(2) กระทรวงศึกษาธิการฝรั่งเศสต้องการเครื่องมือคัดแยกเด็กบกพร่องทางสติปัญญา
(3) การจัดตั้งห้องทดลองทางจิตวิทยาแห่งแรกที่เมืองไลป์ซิก ประเทศเยอรมัน
(4) ประเทศอังกฤษต้องการเครื่องมือตรวจวินิจฉัยภาวะจิตเสื่อมของผู้ป่วยนิติจิตเวช
(5) เหตุการณ์ฆ่าตัวตายหมู่ในสังคมรัสเซีย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ
17. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของระบบประสาทส่วนกลาง
(1) ซีรีเบลลัม
(2) เส้นประสาทสมอง
(3) ไขสันหลัง
(4) ลิมบิกซิสเต็ม
(5) ซีรีบรัม
ตอบ 2 หน้า 34 – 35, 41 – 43 ระบบประสาทส่วนกลาง (C.N.S.) ประกอบด้วย สมองและไขสันหลัง โดยสมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. สมองส่วนหน้า (Forebrain) ประกอบด้วย ซีรีบรัม (Cerebrum), ธาลามัส (Thalamus), ไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) และระบบลิมบิก (Limbic System)
2. สมองส่วนกลาง (Midbrain)
3. สมองส่วนท้าย (Hindbrain) ประกอบด้วย ซีรีเบลลัม (Cerebellum) และก้านสมอง (Brain Stem)
** (ส่วนเส้นประสาทสมองเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทโซมาติกซึ่งเป็นส่วนประกอบของระบบ
ประสาทส่วนปลาย)
18. ฮอร์โมนอินซูลินที่มีหน้าที่ควบคุมน้ําตาลในเลือด สัมพันธ์กับการทํางานของต่อมไร้ท่อใด
(1) ต่อมใต้สมอง
(2) ต่อมโกหนาด
(3) ต่อมพาราไทรอยด์
(4) ต่อมไทรอยด์
(5) ต่อมแพนเครียส
ตอบ 5 หน้า 49 อินซูลิน (Insulin) เป็นฮอร์โมนที่ผลิตโดยตับอ่อนหรือต่อมแพนเครียส (Pancreas) โดยฮอร์โมนอินซูลินจะทําหน้าที่ควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดให้เข้มข้นพอดี ถ้าตับอ่อนผลิต ฮอร์โมนอินซูลินน้อยเกินไปจะทําให้เกิดอาการของโรคเบาหวานขึ้นมาได้
19. การสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของมนุษย์ป้องกันการติดเชื้อ เกี่ยวข้องกับต่อมใดมากที่สุด
(1) ต่อมหมวกไต
(2) ต่อมไทมัส
(3) ต่อมไพเนียล
(4) ต่อมแพนเครียส
(5) ต่อมพาราไทรอยด์
ตอบ 2 หน้า 50 ต่อมไทมัส (Thymus Gland) ทําหน้าที่สร้างฮอร์โมนไทโมซิน (Thymocin) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย การไม่รับเนื้อเยื่อแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย ช่วยป้องกันการติดเชื้อจากไวรัส เชื้อรา และแบคทีเรียบางจําพวกที่ทําให้เกิดวัณโรค
20.“การคิด” ที่นักจิตวิทยาให้ความสนใจศึกษา ถือเป็นพฤติกรรมตามข้อใด
(1) พฤติกรรมภายใน
(2) พฤติกรรมขั้นสูง
(3) พฤติกรรมทางสมอง
(4) พฤติกรรมภายนอก
(5) พฤติกรรมสืบเนื่อง
ตอบ 1 หน้า 3, (คําบรรยาย) พฤติกรรมที่นักจิตวิทยาสนใจศึกษาแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. พฤติกรรมภายใน เป็นสิ่งที่ไม่สามารถวัดหรือสังเกตได้โดยตรง ต้องอาศัยวิธีการทางอ้อม
โดยการสอบถามหรือสร้างเครื่องมือวัดและการพิสูจน์ทดลองจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่ สังเกตได้ เช่น การคิด การจํา การฝัน การคาดหวัง ทัศนคติ เจตคติ ความเชื่อ ความรู้สึก ฯลฯ
2. พฤติกรรมภายนอก เป็นพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การกิน การนอน การนั่ง การเดิน การวิ่ง การพูด การอ่าน การเขียน การเล่นกีฬา การดูหนัง การฟังเพลง ฯลฯ
21. สภาพทางจิตที่กระหายการนอนหลับ (Sleep Deprivation Psychosis) เกิดจากสาเหตุใด
(1) หลับ ๆ ตื่น ๆ
(2) นอนไม่เป็นเวลา
(3) นอนมากไป
(4) อดหลับอดนอน
(5) สะดุ้งตื่นระหว่างนอน
ตอบ 4 หน้า 91 บุคคลที่ขาดการนอนหลับติดต่อกันหลายวัน (การอดหลับอดนอน) จะมีสภาพทางจิต ที่กระหายการนอนหลับเป็นอย่างยิ่ง (Sleep Deprivation Psychosis) ซึ่งจะทําให้บุคคลนั้น มีความอ่อนล้าทางร่างกาย มึนงง และมีสภาพการรับรู้ทางจิตใจที่ผิดพลาด หรือถ้าต้องอดนอน ติดต่อกันนาน ๆ ก็อาจจะมีอาการทางประสาทหลอนได้
ข้อ 22 – 23 จงจับคู่ตัวเลือกด้านล่างนี้ให้ถูกต้อง
(1) ภาพและพื้น
(2) การต่อเติมให้สมบูรณ์
(3) ความคล้ายคลึงกัน
(4) ความใกล้ชิดกัน
(5) ความต่อเนื่อง
22. การเขียนประโยคที่หากการเว้นวรรคของคํา วางระยะห่างของคําหรือสระผิดไป จะมีผลต่อการอ่านและ ทําความเข้าใจประโยค เป็นการรับรู้แบบใด
ตอบ 5 หน้า 76 ความต่อเนื่อง (Continuity) คือ แนวโน้มที่คนเรามักจะรับรู้ถึงสิ่งที่ต่อเนื่องกันไปใน
ทิศทางเดียวกัน เป็นภาพหรือส่วนประกอบของกันและกัน เพราะความต่อเนื่องทําให้เกิดเป็นภาพ
ได้ง่ายกว่าสิ่งเร้าที่ขาดออกจากกัน บางครั้งจะเกี่ยวโยงกับกฎความใกล้ชิดด้วย ถ้าเว้นวรรคผิด ความต่อเนื่องก็จะขาดไปด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้า วรรค ผิดไปท่านจะอ่านลําบาก
23. การลากเส้นเพื่อเติมเส้นประที่ขาดหายไปเป็นช่วง ๆ ให้สมบูรณ์จนกลายเป็นภาพอะไรบางอย่างที่บุคคล ตีความไว้ เป็นการรับรู้แบบใด
ตอบ 2 หน้า 75, (คําบรรยาย) การต่อเติมให้สมบูรณ์ (Closure) คือ แนวโน้มที่จะรับรู้ความสมบูรณ์ ของวัตถุทั้งที่บางส่วนขาดหายไป โดยการมองเป็นลักษณะส่วนรวมหรือความสมบูรณ์ของวัตถุ มากกว่าการมองวัตถุเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพราะถ้าเรามองสิ่งใดที่ยังขาดหรือพร่องอยู่ จิตของมนุษย์ มักจะเติมส่วนที่ขาดหายไปนั้นให้เป็นรูปเต็ม
24. ข้อใดกล่าวถึงความหมายของสัมปชัญญะได้ถูกต้องที่สุด
(1) ความรู้จากการเรียน
(2) การมีสติจากการนั่งสมาธิ
(3) ความสามารถในการทํางาน
(4) การรู้ตัวว่ากําาลังทําอะไรอยู่
(5) การเรียนรู้จากประสบการณ์
ตอบ 4 หน้า 89 สัมปชัญญะ หมายถึง การรู้ตัวทั่วพร้อมว่ากําลังทํา พูด คิด หรือมีพฤติกรรมใดอยู่ โดยสภาวะที่ร่างกายของบุคคลออกจากสัมปชัญญะหรือขาดสัมปชัญญะ ได้แก่ การนอนหลับ การหมดสติ การสะกดจิต การใช้ยาเสพติด การดื่มสุรา การนั่งสมาธิภาวนา ฯลฯ
25. เสียงที่มีความดังเกินกี่เดซิเบล ถือว่ามีอันตรายต่อหู
(1) 75 เดซิเบล
(2) 80 เดซิเบล
(3) 90 เดซิเบล
(4) 95 เดซิเบล
(5) 110 เดซิเบล
ตอบ 2 หน้า 65 ความดังของเสียงจะสูงขึ้นตามจํานวนเดซิเบล (Decibles : db) ที่เพิ่มขึ้น ยิ่งเสียงมี ความสูงของเดซิเบลมากเท่าไร ก็ยิ่งทําอันตรายแก่ผู้ฟังได้มากเท่านั้น ส่วนเสียงที่ดังเกิน 80 db จะเป็นอันตรายต่อหู ถ้าฟังนาน ๆ
26. สิ่งใดต่อไปนี้ทําให้สัมปชัญญะของบุคคลลดลงได้
(1) การดูหนัง
(2) การไปเที่ยว
(3) การเดินทาง
(4) การนอนหลับ
(5) การใช้ยากระตุ้นประสาท
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ
27. ตามธรรมชาติ มนุษย์จะมีโครโมโซมจํานวนกี่คู่
(1) 22 คู่
(2) 23 คู่
(3) 44 คู่
(4) 46 คู่
(5) 48 คู่
ตอบ 2 หน้า 125 ยีนส์อันเป็นลักษณะของบรรพบุรุษจะถูกถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานโดยผ่านทางโครโมโซม ซึ่งบุคคลคนหนึ่งจะมีโครโมโซมอยู่ในตัว 46 โครโมโซม หรือ 23 คู่ โดยโครโมโซมเหล่านี้ บุคคลจะได้รับมาจากพ่อ 23 โครโมโซม และจากแม่ 23 โครโมโซม
28. นายเขียวเป็นคนไม่มีระเบียบ วางของเกะกะ ห้องรกรุงรัง เข้าห้องน้ําไม่ชอบกด ตามทฤษฎีพัฒนาการของ ฟรอยด์ นายเขียวน่าจะเกิดภาวะการยึดติด (Fixation) ในขั้นใด
(1) Oral Stage
(2) Anal Stage
(3) Phallic Stage
(4) Latency Stage
(5) Genital Stage
ตอบ 2 หน้า 145, 298 – 299, (คําบรรยาย) ฟรอยด์ (Freud) อธิบายว่า บุคคลจะต้องพยายามหาสิ่ง ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานทางสรีรวิทยาอยู่เสมอในทุกขั้นของการพัฒนาการนับตั้งแต่ แรกเกิด และหากว่าไม่สามารถทําได้ในขั้นหนึ่งขั้นใดหรือพัฒนาการขั้นต่อไป ก็จะเป็นเหตุให้ บุคคลเกิดการหยุดการพัฒนาการในบางช่วงอายุ หรือมีผลต่อการปรับตัวในวัยต่อมา เรียกว่า การชะงักงัน (Fixation) เช่น หากเป็นคนไม่มีระเบียบ มักจะเกิดจากพัฒนาการขั้นความสุขอยู่ที่ ทวารหนัก (Anal Stage) ในช่วงอายุ 2-3 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กพอใจที่จะได้ปลดปล่อย หากพ่อแม่ เคร่งครัดหรือละเลยกับเด็กมากเกินไป จะทําให้เด็กเกิดความขัดแย้งใจ เมื่อโตขึ้นก็จะกลายเป็น คนที่จู้จี้เจ้าระเบียบ/ขาดระเบียบวินัย หรือรักษาความสะอาดจนเกินเหตุ/สกปรก เป็นต้น
29. ข้อใดไม่ใช่ชนิดของกลิ่นตามการศึกษาของเฮนนิ่ง
(1) กลิ่นตัว
(2) กลิ่นดอกไม้
(3) กลิ่นเครื่องเทศ
(4) กลิ่นยาง
(5) กลิ่นเหม็น
ตอบ 1 หน้า 68 เฮนนิ่ง (Henning) นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน ได้ทําการศึกษาและแบ่งกลิ่นออกเป็น 6 ชนิด คือ กลิ่นเครื่องเทศ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นยาง กลิ่นเหม็น และกลิ่นไหม้
30. ข้อใดไม่ถือเป็นการรับรู้ปรากฏการณ์อภิธรรมดา
(1) การมองทะลุวัตถุที่บดบังอยู่ได้ และบอกได้ถูกต้องว่าสิ่งนั้นคืออะไร
(2) การรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าว่าอะไรจะเกิดขึ้น
(3) การได้ยินเสียงอะไรบางอย่างที่ไกลออกไปซึ่งคนทั่วไปไม่ได้ยิน
(4) การอ่านหนังสือและทําความเข้าใจเนื้อหาในหนังสือนั้นได้อย่างรวดเร็ว
(5) การล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นได้โดยไม่ต้องพูดคุย
ตอบ 4 หน้า 79 การรับรู้โดยการอ่านจิต/ทายใจผู้อื่นได้นั้นเป็นการรับรู้ที่ไม่ต้องอาศัยประสาทสัมผัส เช่น ไม่ต้องใช้ตาในการเห็นหรือใช้หูในการได้ยิน ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า ปรากฏการณ์อภิธรรมดา (Extrasensory Perception : ESP) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. โทรจิต (Telepathy) เป็นการล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นได้โดยไม่ต้องพูดคุยกับผู้นั้น
2. ประสาททิพย์ (Clairvoyance) เป็นการล่วงรู้โดยไม่ต้องพึ่งประสาทสัมผัส
3. การรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า (Precognition) เป็นการล่วงรู้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง
31. ภาวะสายตาสั้นเกิดจากสาเหตุใดถูกต้องที่สุด
(1) ลักษณะของลูกตาที่สั้นกว่าปกติ ทําให้ระยะจากคอร์เนียถึงเรตินาสั้นกว่าปกติ
(2) ลักษณะของลูกตาที่ยาวกว่าปกติ ทําให้ระยะจากคอร์เนียถึงเรตินาสั้นกว่าปกติ
(3) ลักษณะของลูกตาที่สั้นกว่าปกติ ทําให้ระยะจากคอร์เนียถึงเรตินายาวกว่าปกติ
(4) ลักษณะของลูกตาที่ยาวกว่าปกติ ทําให้ระยะจากคอร์เนียถึงเรตินายาวกว่าปกติ
(5) ลักษณะของลูกตาปกติ แต่ระยะจากคอร์เนียถึงเรตินายาวหรือสั้นกว่าปกติ
ตอบ 4 หน้า 62 คนสายตาสั้น เกิดจากการที่มีลักษณะลูกตายาวกว่าปกติ ระยะจากกระจกตาหรือ คอร์เนีย (Cornea) ถึงจอประสาทตาหรือเรตินา (Retina) ยาวกว่าปกติ ภาพที่เห็นจึงตกลง ก่อนถึงเรตินา ทําให้ไม่สามารถมองวัตถุที่ไกลได้ แต่มองวัตถุที่ใกล้ได้ชัดเจน แก้ไขด้วยการ สวมแว่นเลนส์เว้า
32. ข้อใดต่อไปนี้คือความหมายของความฝันตามทฤษฎีของซิกมันด์ ฟรอยด์
(1) ความฝันเกิดจากความสุขระหว่างวัน
(2) ความฝันเป็นสิ่งที่บุคคลคิดขึ้นมาเอง
(3) ความฝันเชื่อมโยงกับประสบการณ์ในวัยเด็ก
(4) ความฝันเป็นลางบอกเหตุ
(5) ความฝัน เป็นการแสดงออกของความต้องการของบุคคลในระดับจิตใต้สํานึก
ตอบ 5 หน้า 97 ฟรอยด์ (Freud) เป็นนักทฤษฎีความฝันในยุคแรก โดยเขาได้อธิบายความหมายของ ความฝันไว้ว่า ความฝันก็คือการแสดงออกของความต้องการของบุคคลในระดับจิตใต้สํานึก
33. สารเสพติดใดต่อไปนี้ไม่ได้ออกฤทธิ์กดประสาท
(1) มอร์ฟีน
(2) ฝิ่น
(3) เหล้า
(4) เฮโรอีน
(5) แอมเฟตามีน
ตอบ 5 หน้า 106 – 110 ยาเสพติดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ และทุกกลุ่มสามารถออกฤทธิ์ ต่อระบบประสาทส่วนกลางได้ทั้งสิ้น คือ
1. ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาท ยานอนหลับ สารระเหย (ทินเนอร์) และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฯลฯ
2. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน (ยาบ้า) กระท่อม โคเคอีน บุหรี่ นิโคติน กาแฟ คาเฟอีน และยาแก้ปวด ฯลฯ
3. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มที และเห็ดขี้ควาย ฯลฯ
4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน ได้แก่ กัญชา
34. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์คงที่
(1) การรับรู้สีน้ําทะเลว่ามีสีฟ้า แม้จะเห็นน้ําทะเลเป็นสีเขียว
(2) การรับรู้ขนาดจริงของรถไฟได้ แม้จะมองเห็นรถไฟเล็กลงเมื่ออยู่ไกลออกไป
(3) การรับรู้ถึงลักษณะของหนังสือทั้งเล่มได้ แม้จะเห็นเพียงสันหนังสือก็ตาม
(4) การมองเห็นภาพ 3 มิติ และบอกได้ว่าสิ่งที่ซ้อนอยู่ในภาพคืออะไร
(5) การรับรู้ขนาดของสิ่งต่าง ๆ บนพื้นดินได้ แม้ว่าจะมองจากบนเครื่องบิน
ตอบ 4 หน้า 71 – 72 ปรากฏการณ์คงที่ (Constancy) เป็นธรรมชาติของเรื่องการรับรู้และการเห็น นั่นคือ การที่ตาเห็นเพียงส่วนหนึ่ง แต่ความเข้าใจในการรับรู้ยังอยู่ในสภาพเดิม ซึ่งแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
1. การคงที่ของสี เช่น การที่เรามองเห็นน้ําทะเลเป็นสีเขียว แต่เราก็ยังรู้ว่าน้ําทะเลมีสีฟ้า ฯลฯ
2. การคงที่ของขนาด เช่น มองจากตึกสูงเห็นคนตัวเท่ามด แต่เราก็ยังรู้ว่าคนมีขนาดเท่าเดิม ฯลฯ
3. การคงที่ของรูปร่าง เช่น การเห็นเพียงแค่สันหนังสือ แต่เราก็ยังรับรู้ว่าเป็นหนังสือ ฯลฯ
35. ในช่วงเวลาหลับลึกมาก ๆ คลื่นสมองจะเป็นรูปแบบใด
(1) คลื่นไอออน
(2) คลื่นเดลตา
(3) คลื่นอัลฟา
(4) คลื่นแกมมา
(5) คลื่นเบตา
ตอบ 2 หน้า 93 การนอนหลับในระยะที่ 4 เป็นช่วงแห่งการนอนหลับที่ลึกมาก (Deep Sleep) ซึ่ง มักจะเกิดเมื่อการนอนผ่านไปเป็นระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง โดยในช่วงนี้คลื่นสมอง (EEG) จะมีลักษณะเป็นคลื่นเดลตา (Delta) ล้วน ๆ ซึ่งผู้หลับจะไม่รู้ตัวและ “หลับไหล” จริง ๆ
36. การนอนหลับที่เหมาะสมในวัยรุ่น ควรนอนวันละกี่ชั่วโมง
(1) 2-3
(2) 4 – 6
(3) 7-8
(4) 8 – 10
(5) 10 – 12
ตอบ 3 หน้า 92 โดยทั่ว ๆ ไปคนส่วนใหญ่จะใช้เวลานอนระหว่าง 7 – 8 ชั่วโมงต่อคืน แต่การกําหนด ให้ตายตัวลงไปว่าควรจะเป็นกี่ชั่วโมงอย่างชัดเจนนั้นคงเป็นสิ่งที่ทําได้ยาก เพราะบางคนนอนเพียง 5 ชั่วโมง ก็ดูจะเป็นสิ่งที่พอเพียง แต่บางคนอาจนอนถึง 11 ชั่วโมง จึงจะรู้สึกพอเพียงก็ได้
37. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของการเกิดการเคลื่อนไหวของลูกตาขณะหลับ (Rapid Eye Movements : REM)
(1) เกิดเมื่อมีความฝัน
(2) เกิดในระยะแรกของการนอนหลับ
(3) ไม่ได้เกิดกับคนทุกคน
(4) คนทั่วไปมักเกิดได้คืนละ 4 – 5 ครั้ง
(5) เกิดหลังจากผ่านช่วงที่สี่ของการนอนหลับไปแล้ว
ตอบ 3 หน้า 95 ในบางช่วงของการนอนหลับนั้น ลูกตาของผู้นอนจะมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว (Rapid Eye Movements : REM) ทั้ง ๆ ที่ยังหลับอยู่ โดยช่วงที่มี REM เกิดขึ้นนี้เอง เป็นช่วง ที่บุคคลกําลังฝัน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่บุคคลนอนหลับในระยะที่หนึ่ง (หลังผ่านช่วงที่สี่ไปแล้ว และวกกลับมาระยะที่หนึ่งใหม่) โดยทุกคนเมื่อนอนไปได้สักพักก็จะมี REM เกิดขึ้นทั้งสิ้น และ แต่ละคืนจะฝันประมาณ 4 – 5 ครั้ง ครั้งหนึ่งจะฝันยาวประมาณ 25 นาที
38. ข้อใดไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่เกิดขึ้นจากการทําสมาธิได้ถูกต้อง
(1) ร่างกายใช้พลังงานน้อยลง
(2) อัตราการเผาผลาญลดลง
(3) การหายใจเข้าออกช้าลง
(4) ร่างกายต้องการออกซิเจนมากขึ้น
(5) การหมุนเวียนของโลหิตดีขึ้น
ตอบ 4หน้า 112 วอลเลสและเบนสัน (Wallace & Benson) ได้ทําการศึกษาสภาวะของร่างกาย ในการฝึกสมาธิ พบว่าการนั่งสมาธิมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาอย่างเห็นได้ชัด เช่น อัตราการเผาผลาญในร่างกายลดลง มีการหายใจเข้าออกช้าลง ร่างกายใช้ออกซิเจนหรือใช้พลังงานน้อยลง การถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง และปริมาณสารแลคเทต (Lactate) ในเลือดลดลง ซึ่งมีผลทําให้การหมุนเวียนของโลหิตดีขึ้น
39. พาพิลลา (Papillae) คืออะไร
(1) ตุ่มรับรส
(2) ตุ่มรับสัมผัสใต้ผิวหนัง
(4) ของเหลวในชั้นหูที่ควบคุมการทรงตัว
(3) ของเหลวที่ตอบสนองต่อเสียงในชั้นหู
(5) ชนิดของกลิ่นที่ประสาทการดมกลิ่นรับสัมผัสได้
ตอบ 1 หน้า 68 พาพิลลา (Papillae) คือ ตุ่มรับรส (Taste Bud) มีลักษณะนูนเหนือผิวลิ้นเล็กน้อย
อยู่เป็นกลุ่มคล้ายดอกไม้ตูม
40. ข้อใดเป็นคุณสมบัติของโคนส์ (Cones) ที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น
(1) เป็นเซลล์ที่มีความไวต่อแสงต่ํามาก
(2) มีความไวต่อแสงคลื่นสั้นมากกว่าคลื่นยาว
(3) มีความไวต่อแสงขาวและดํา
(4) มีความไวต่อแสงที่เป็นสี
(5) เป็นเซลล์รับแสงในเวลากลางคืน
ตอบ 4 หน้า 61 ที่ผนังของเรตินา (Retina) จะมีเซลล์ประสาทอยู่ 2 ชนิด คือ
1. รอดส์ (Rods) เป็นเซลล์ที่ไวต่อแสงขาวดํา จึงเป็นเซลล์รับแสงสลัวในเวลากลางคืน
2. โคนส์ (Cones) เป็นเซลล์ที่ไวต่อแสงที่เป็นสี ช่วยทําให้รับภาพสีได้ดี จึงเป็นเซลล์รับแสงจ้า ในเวลากลางวัน ดังนั้นคนตาบอดสีจึงไม่มีโคนส์อยู่ที่บริเวณเรตินา
41. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการลืม
(1) การลืมเพราะระบบความจําไม่ดี
(2) การลืมที่เกิดจากระยะเวลา
(3) การลืมเพราะไม่ได้มีการจําตั้งแต่แรก
(4) การเรียนรู้ใหม่รบกวนการเรียนรู้เก่า
(5) การลืมเพราะไม่ได้ลงรหัส
ตอบ 1 หน้า 204 – 205 สาเหตุของการลืม มีหลายประการ ได้แก่
1. การไม่ได้ลงรหัส เพราะไม่ได้มีการจําตั้งแต่แรก
2. การเสื่อมสลายตามกาลเวลาเพราะการไม่ได้ใช้
3. การลืมเพราะขึ้นอยู่กับสิ่งชี้แนะ
4. การถูกรบกวนด้วยข้อมูลใหม่
5. การเก็บกด
42. ในการทดลองการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคพบว่าอินทรีย์เกิดความกลัวสิ่งเร้าอื่น ๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียง กับสิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไข ตรงกับข้อใด
(1) การคืนสภาพ (Spontaneous Recovery)
(2) การแผ่ขยาย (Generalization)
(3) การแยกแยะ (Discrimination)
(4) การลดภาวะ (Extinction)
(5) การเสริมแรง (Reinforcement)
ตอบ 2 หน้า 173 การแผ่ขยายหรือการสรุปความเหมือน (Generalization) เป็นการตอบสนองต่อ สิ่งเร้าที่คล้ายกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขไว้แล้วหรือสิ่งเร้าที่ได้รับรางวัล ซึ่งเป็นการขยายผลของ การเรียนรู้ไปยังสถานการณ์ใหม่ๆที่คล้ายกัน เช่น เด็กชายป้อมจะกลัวสุนัขทุกตัว เพราะเคย ถูกสุนัขกัดมาก่อนตอนเด็ก ๆ ฯลฯ
43. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเรียนรู้แฝง (Latent Learning)
(1) หากร่างกายมีแรงขับต่ํา การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนั้นก็จะแสดงออกมาทันที
(2) เป็นแนวคิดของ Totman and Honzik
(3) การเรียนรู้เกิดขึ้นในช่วงที่ร่างกายมีแรงขับต่ําหรือไม่มีรางวัลจูงใจ
(4) หากร่างกายมีรางวัลจูงใจสูง การเรียนรู้จะแสดงออกมาทันที
(5) การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นแต่ยังไม่แสดงออกมาทันทีทันใด
ตอบ 1 หน้า 183 – 184 Tomland และ Honzik ได้ทําการทดลองหลายครั้ง และแสดงให้เห็นว่า การเรียนรู้แฝง (Latent Learning) คือ การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยไม่มีการเสริมแรงที่ชัดเจน นั่นคือ แม้ไม่มีการเสริมแรง การเรียนรู้ก็ยังเกิดขึ้น แต่เกิดแบบแอบแฝง และจะปรากฏให้เห็นชัดเจน ต่อเมื่อมีการให้แรงเสริม โดยความอยากรู้อยากเห็นจะเป็นแรงขับที่สําคัญที่ทําให้เกิดการเรียนรู้แม้จะไม่แสดงให้เห็นว่าเกิดการเรียนรู้และไม่ได้รับการเสริมแรง
44. ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนของการเรียนรู้โดยการสังเกต
(1) ผู้เรียนจะต้องมีความใส่ใจ
(2) ผู้เรียนจะต้องเข้ารหัสไว้ในความจําระยะยาว
(3) ผู้เรียนจะต้องลองผิดลองถูกด้วยตนเอง
(4) ผู้เรียนจะต้องรู้จักประเมินพฤติกรรมของตนเอง
(5) ผู้เรียนจะต้องมีโอกาสแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบ
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) การเรียนรู้โดยการสังเกต (Observational Learning) มี 4 ขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นความสนใจ (Attention) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนให้ความสนใจในพฤติกรรมของตัวแบบ
2. ขั้นการจดจํา (Retention) เป็นขั้นตอนของการจดจํารูปแบบของพฤติกรรมตัวแบบ
3. ขั้นการกระทํา (Production) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนนําการจดจํามาเป็นรูปแบบของการ กระทํา โดยอาจจะลองแสดงพฤติกรรมนั้น หรือลองผิดลองถูกด้วยตนเอง
4. ขั้นแรงจูงใจ (Motivation) เป็นขั้นตอนจูงใจให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบ ถ้า เป็นไปในทางบวกผู้เรียนจะอยากแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบ ถ้าเป็นในทางลบผู้เรียนก็จะหลีกเลี่ยงแสดงพฤติกรรมนั้นไป
45. การทราบผลการกระทําที่จะช่วยให้การเรียนรู้ดีขึ้นตรงกับข้อใด
(1) การวางเงื่อนไข
(2) การลงโทษ
(3) การป้อนกลับ
(4) การเสริมแรง
(5) การตําหนิ
ตอบ 3หน้า 180 – 181, (คําบรรยาย) การป้อนกลับ (Feedback) หมายถึง การทราบผลการกระทําที่ จะช่วยให้การเรียนรู้ดีขึ้น โดยเฉพาะเมื่อให้การป้อนกลับอย่างละเอียดในทันที เช่น เมื่อนักศึกษา เรียนจบบทที่ 6 ก็ลองไปทําแบบฝึกหัด ซึ่งถ้าทําถูกหมดสิ่งที่ป้อนกลับก็คือ นักศึกษาเข้าใจ บทเรียนได้เป็นอย่างดี ฯลฯ
46. ข้อใดเป็นการเรียนรู้โดยการเลียนแบบ
(1) น้องฟางเฟยดีใจเมื่อคุณแม่เดินมา
(2) น้องสกายร้องไห้เมื่อหกล้ม
(3) น้องนิต้าเดินได้เมื่ออายุ 11 เดือน
(4) น้องใจดีเคยถูกสุนัขกัดจึงกลัวสุนัขมาก
(5) น้องพราวดู YouTube แล้วร้องเพลงตาม
ตอบ 5 หน้า 247 การเรียนรู้โดยการเลียนแบบ เป็นการจูงใจที่เกิดจากการเรียนรู้โดยการเลียนแบบ บุคคลรอบข้าง ได้แก่ พ่อแม่ ครูอาจารย์ เพื่อน และบุคคลที่มีชื่อเสียงในด้านต่าง ๆ ของสังคม ซึ่งจะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาทั้งที่ตั้งใจเลียนแบบหรือเลียนแบบโดยไม่รู้ตัว
47. วุฒิภาวะ (Maturity) หมายถึงข้อใด
(1) การเจริญเต็มบริบูรณ์ของร่างกายและพร้อมจะทําหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์
(2) สภาพสิ่งแวดล้อมที่มีผลให้การเจริญเติบโตที่สมบูรณ์
(3) ช่วงอายุที่มีการเจริญเติบโตเร็วที่สุด
(4) การเจริญเติบโตในวัยผู้ใหญ่ เมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 138 วุฒิภาวะ (Maturation) หรือความพร้อมของบุคคล หมายถึง กระบวนการของ ความเจริญเติบโต หรือการเปลี่ยนแปลงในร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่าง มีระเบียบโดยไม่เกี่ยวโยงกับสิ่งเร้าภายนอก อันเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ ความพร้อม ของกล้ามเนื้อ ต่อมต่าง ๆ ซึ่งความพร้อมเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นให้เกิดเป็นพฤติกรรม
48. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่สิ่งแวดล้อมก่อนเกิด
(1) สภาวะของ Rh Factor
(2) การรับประทานอาหารของแม่
(3) สุขภาพของแม่
(4) สุขภาพจิตของแม่
(5) การคลอดโดยการใช้คีมช่วยคลอด
ตอบ 5 หน้า 131 – 133 สภาพแวดล้อมก่อนเกิดเป็นสิ่งแวดล้อมภายในครรภ์และการปฏิบัติตัว ของแม่ที่มีผลต่อตัวอ่อนในครรภ์เป็นอย่างมาก ถ้าได้รับการบํารุงและทะนุถนอมอย่างดี ถือเป็น การปูพื้นฐานของการพัฒนาในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการพัฒนาการทางสมอง ซึ่งมีดังนี้
1. สุขภาพของแม่
2. สุขภาพจิตของแม่
3. การบริโภคของแม่
4. การได้รับรังสี
5. การได้รับเชื้อ HIV
6. สภาวะของ Rh Factor
7. อายุของมารดา
8. จํานวนทารกภายในครรภ์
49. หลักการให้สิ่งเสริมแรงที่ถูกต้อง คือข้อใด
(1) หลังจากอินทรีย์เกิดการเรียนรู้ แล้วควรให้สิ่งเสริมแรงแก่อินทรีย์ทุกครั้ง
(2) เมื่ออินทรีย์ทําพฤติกรรมที่ต้องการ ควรเว้นช่วงแล้วจึงค่อยให้รางวัล
(3) การให้สิ่งเสริมแรงต้องให้สิ่งที่มีค่าราคาแพง
(4) เพื่อให้พฤติกรรมสม่ําเสมอ ควรให้สิ่งเสริมแรงแบบช่วงเวลาแน่นอน
(5) ในระยะแรก ๆ ควรให้สิ่งเสริมแรงแก่อินทรีย์ทุกครั้ง
ตอบ 5 หน้า 176 – 177, (คําบรรยาย) การเสริมแรง (Reinforcement) มี 2 แบบด้วยกัน คือ
1. แบบต่อเนื่อง (Continuous) คือ การวางเงื่อนไขที่ให้รางวัลทุกครั้งที่แสดงพฤติกรรมที่ ปรารถนาออกมา ควรให้ทันที และจะได้ผลดีในช่วงแรกของการเรียนรู้
2. แบบบางครั้งบางคราว (Partial) มี 4 ประเภท ได้แก่ แบบอัตราส่วนคงที่ (เช่น การให้ค่า คอมมิชชั่น) ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ได้ดีที่สุด, แบบอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน (เช่น การซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล ฯลฯ), แบบช่วงเวลาที่คงที่ (การได้ขึ้นเงินเดือนประจําปี ฯลฯ) และแบบช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน (เช่น นั่งตกปลา ไม่รู้ว่าปลาจะกินเบ็ดเมื่อใด ฯลฯ) จะได้ผลดี ในช่วงหลังจากเกิดการเรียนรู้แล้ว
50. ข้อใดคือการเกิดการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
(1) ความชํานาญ
(2) ความจํา
(3) ทักษะ
(4) ความรู้สึก
(5) ความสนใจ
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) การเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เป็นกลุ่มพฤติกรรมทาง การศึกษาที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ด้านสติปัญญาหรือความคิด แบ่งได้ 6 ระดับ ดังนี้
1. ความรู้ความจํา (Knowledge)
2. ความเข้าใจ (Comprehension)
3. การนําไปใช้ (Application)
4. การวิเคราะห์ (Analysis)
5. การสังเคราะห์ (Synthesis)
6. การประเมินค่า (Evaluation)
51. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับลักษณะของพัฒนาการมนุษย์
(1) เกิดอย่างต่อเนื่องทุกช่วงวัย
(2) เกิดขึ้นอย่างมีแบบแผน
(3) เกิดเป็นอัตราที่ไม่คงที่
(4) เกิดเป็นทิศทางจากบนลงล่าง
(5) แต่ละช่วงวัยเกิดเป็นอัตราเดียวกัน
ตอบ 5 หน้า 121, 140 – 141, (คําบรรยาย) พัฒนาการของมนุษย์เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ กล่าวคือ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เป็นไปตามแบบฉบับของตนเอง เป็นไปในทิศทางเฉพาะ ค่อยเป็นค่อยไป และเป็นไปในอัตราที่ไม่เท่ากันในแต่ละช่วงอายุ
52. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความจําระยะยาว
(1) เก็บข้อมูลความจําได้นานและไม่จํากัด
(2) เก็บข้อมูลในลักษณะของเหตุการณ์
(3) เก็บข้อมูลในลักษณะของความหมาย
(4) เก็บข้อมูลในลักษณะของทักษะ
(5) หากไม่มีการส่งต่อข้อมูล สิ่งที่จําได้จะค่อยๆหายไป
ตอบ 5 หน้า 196 – 199, (คําบรรยาย) ความจําระยะยาว (Long-term Memory) เป็นระบบความจํา ที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ จะทําหน้าที่เสมือนคลังข้อมูลถาวรซึ่งบรรจุทุกอย่างที่เรารู้เกี่ยวกับโลกเอาไว้ มีความสามารถไม่จํากัดในการเก็บข้อมูล และไม่มีข้อมูลสูญหายไปจากความจําระยะยาวนี้ โดย จะเก็บข้อมูลไว้บนพื้นฐานของความหมายและความสําคัญของข้อมูล จึงสามารถนําไปใช้ประโยชน์ ได้มาก ซึ่งความจําระยะยาวนี้มี 2 ประเภท คือ
1. การจําความหมาย เป็นการจําความรู้พื้นฐานที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโลก เช่น ชื่อวัน เดือน ชื่อสิ่งของ ภาษา และทักษะการคํานวณง่าย ๆ รวมทั้งข้อเท็จจริงอื่น ๆ ฯลฯ
2. การจําเหตุการณ์ เป็นการจําเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของตนเอง เป็นการบันทึกเหตุการณ์ในชีวิต เช่น จําวันแรกที่เข้ามาในมหาวิทยาลัย อุบัติเหตุที่ประสบเมื่อปีที่แล้ว ฯลฯ
53. ระบบความจําที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ และสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้มาก
(1) ความจําระยะสั้น (Short-term Memory)
(2) ความจําระยะยาว (Long-term Memory)
(3) ความจําปฏิบัติการ (Working Memory)
(4) ความจําจากการรับสัมผัส (Sensory Memory)
(5) ความจําเชิงกระบวนวิธี (Procedural Memory)
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ
54. ระบบความจําที่ทําหน้าที่คล้ายคลังข้อมูลชั่วคราวในจํานวนจํากัด
(1) ความจําระยะสั้น (Short-term Memory)
(2) ความจําระยะยาว (Long-term Memory)
(3) ความจําเหตุการณ์ (Episodic Memory)
(4) ความจําจากการรับสัมผัส (Sensory Memory)
(5) ความจําเชิงความหมาย (Semantic Memory)
ตอบ 1 หน้า 196 ความจําระยะสั้น (Short-term Memory) เป็นระบบความจําที่ทําหน้าที่คล้าย คลังข้อมูลชั่วคราวที่เก็บข้อมูลได้ในจํานวนจํากัด เป็นระบบความจําที่ถูกรบกวนหรือถูกแทรก ได้ง่าย หากไม่ทบทวนจะมีข้อมูลใหม่เข้ามาแทนที่ข้อมูลเก่า
55. ตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ (Piaget) ระยะใดที่เด็กสามารถจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
(1) Period of Concrete
(2) Sensorimotor Period
(3) Thought Period
(4) Intuition Phase
(5) Period of formal Operations
ตอบ 4 หน้า 143 – 144 พัฒนาการความคิดความเข้าใจ (Cognitive Development) ของ Piaget ในขั้น Preoperation แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ 1. Thought Period เป็นระยะที่เด็กถือตนเอง เป็นจุดศูนย์กลาง ไม่สามารถรับรู้ความคิดเห็นของคนอื่น 2. Intuitive Phase เป็นระยะที่เด็ก เกิดความคิดรวบยอดมากขึ้น สามารถจัดประเภท/กลุ่มวัตถุเข้าเป็นหมวดหมู่และจัดลําดับวัตถุได้
56. ตามทฤษฎีพัฒนาการทางศีลธรรมของโคลเบิร์ก (Kohlberg) ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด
(1) วัยรุ่นมักทําความดีตามที่ตนคิดว่าดีตามที่สังคมกําหนด
(2) วัยผู้ใหญ่มักทําความดีตามที่ตนคิดว่าดี
(3) การเป็นคนดีตามความหมายของเด็กเล็กคือการทําแล้วไม่ถูกลงโทษ
(4) ขั้นที่ 1 เด็กทําความดีเพื่อให้ได้รับการยอมรับ
(5) รางวัลเป็นเครื่องล่อใจให้ผู้ใหญ่ทําความดี
ตอบ 3 หน้า 148 – 149, 161 โคลเบิร์ก (Kohlberg) ได้แบ่งพัฒนาการทางศีลธรรมออกเป็น 3 ระดับ (6 ขั้น) และศึกษาระหว่างช่วงอายุ 7 – 16 ปี ดังนี้
(1) ก่อนมีจริยธรรม (Premoral)
ขั้นที่ 1 ยอมทําตามสิ่งที่สังคมกําหนดว่าดีหรือไม่ดี (เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ)
ขั้นที่ 2 มองความถูกผิดอยู่ที่ความสามารถจะได้ในสิ่งที่ต้องการ (เพื่อหวังสิ่งตอบแทน)
(2) มีจริยธรรมตามสังคม (Morality of Conventional Role-conformity)
ขั้นที่ 3 พยายามทําตามกฎเกณฑ์ ประพฤติตนเป็นคนดี (เพื่อให้ผู้อื่นยอมรับ)
ขั้นที่ 4 ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมอย่างเคร่งครัด ถ้าใครไม่ปฏิบัติตามสังคมนั้น จะอยู่ไม่ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกประณามจากสังคม)
(3) มีจริยธรรมเหนือกว่าเกณฑ์ของสังคม (Morality of Self-accepted Moral Principles)
ขั้นที่ 5 ยอมรับกฎเกณฑ์ที่เป็นประชาธิปไตย (เพื่อประโยชน์ของชุมชน)
ขั้นที่ 6 สร้างคุณธรรมประจําใจ (เพื่อหลีกเลี่ยงการตําหนิตัวเอง)
57. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “การเรียนรู้”
(1) เป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก
(2) เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมชั่วคราว
(3) เป็นการตอบสนองตามธรรมชาติ
(4) เป็นการตอบสนองตามวุฒิภาวะ
(5) เป็นการตอบสนองตามสัญชาตญาณ
ตอบ 1 หน้า 160, 167, 169 การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรมหรือการ แสดงออกซึ่งมีผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกหัด และเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับการปรับตัว ของมนุษย์ นอกจากนี้การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร (แต่พฤติกรรม บางอย่างไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ หากเกิดจากสัญชาตญาณ และเกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนซึ่งเป็นพฤติกรรมการตอบสนองตามธรรมชาติที่มีมาแต่กําเนิด)
58. “นายแดงชอบทํางานคนเดียว เพราะไม่ชอบให้ใครสั่งงาน และทนรับการถูกตําหนิไม่ได้” นายแดงมี พัฒนาการล้มเหลวในขั้นใดของอีริคสัน
(1) ขั้นที่ 2 ความต้องการอิสระและความละอายใจไม่แน่นอน
(2) ขั้นที่ 3 ความคิดริเริ่มและความรู้สึกผิด
(3) ขั้นที่ 4 ความขยันหมั่นเพียรและความรู้สึกต่ำต้อย
(4) ขั้นที่ 5 ทําความเข้าใจและสับสนในตนเอง
(5) ขั้นที่ 6 ใกล้ชิดสนิทสนมและโดดเดี่ยวอ้างว้าง
ตอบ 3 หน้า 147, 160 – 161 ขั้นพัฒนาการทางสังคมของอีริคสัน (Erikson) ในขั้นที่ 4 ของชีวิต (ช่วงปีที่หกถึงระยะก่อนวัยรุ่น) จะมีพัฒนาการทางจิตใจที่สําคัญ คือ มีความขยันหมั่นเพียร – ความรู้สึกด้อย (Industry VS Inferiority) และใช้ความสามารถทํางานร่วมกับผู้อื่น
59. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการเกิดลูกแฝด
(1) ฝาแฝดมี 2 ชนิดคือ แฝดเหมือนและแฝดคล้าย
(2) แฝดเหมือนเกิดจากไข่ 1 ใบ กับอสุจิ 2 ตัว
(3) แฝดคล้ายเกิดจากไข่ 2 ใบ กับอสุจิ 2 ตัว
(4) แฝดเหมือนมักมีเพศเหมือนกัน
(5) แฝดคล้ายมักมีเพศต่างกัน
ตอบ 2 หน้า 125 (คําบรรยาย) ฝาแฝด (Twins) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. ฝาแฝดเหมือนแฝดแท้ (Identical Twins) เกิดจากไข่ (Egg) 1 ใบ ผสมกับอสุจิหรือสเปิร์ม (Sperm) 1 ตัว แล้วเซลล์เกิดการแบ่งตัวเป็นตัวอ่อน 2 ตัว (เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ปฏิสนธิ ผิดพลาด) ฝาแฝดเหมือนจึงเป็นเพศเดียวกัน โดยมียีนส์และโครโมโซมเหมือนกันทุกประการ
2. ฝาแฝดคล้าย/แฝดเทียม (Fraternal Twins) เกิดจากไข่มากกว่า 1 ใบ ผสมกับอสุจิหรือสเปิร์ม มากกว่า 1 ตัว เซลล์แบ่งตัวเป็นอิสระจากกัน (เกิดเซลล์ปฏิสนธิพร้อมกันมากกว่า 1 เซลล์) ฝาแฝดคล้ายจึงอาจมีเพศเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ (เหมือนกับพี่น้องท้องเดียวกัน) โดยอาจ มียีนส์และโครโมโซมเหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้
60. ข้อใดไม่ใช่ตัวเสริมแรงปฐมภูมิ (Primary Reinforcer)
(1) อากาศ
(2) ยารักษาโรค
(3) ที่อยู่อาศัย
(4) เงิน
(5) อาหาร
ตอบ 4 หน้า 180 สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ เป็นรางวัลตามธรรมชาติที่ไม่ต้องเรียนรู้ มักเป็นลักษณะทางชีววิทยาที่เพิ่มความพอใจและลดความไม่พึงพอใจลง หรือสนองความต้องการทางกายภาพได้ เช่น น้ํา อาหาร อากาศ ความต้องการทางเพศ ฯลฯ (ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดํารงชีวิต) สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ เป็นรางวัลที่ได้เรียนรู้มาแล้ว เช่น เงิน เกียรติ ความสนใจ การยอมรับ ความสําเร็จ ความรัก คะแนนสอบ ฯลฯ
61. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข
(1) สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล
(2) สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นที่เป็นเรื่องสําคัญจะเหมือนกันในทุกคน
(3) สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นและสิ่งเสริมแรงในกระบวนการเรียนรู้
(4) สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นที่แปรเปลี่ยนไปตามค่านิยมของสังคม
(5) ส่วนใหญ่จะเป็นทฤษฎีการเรียนรู้แบบการกระทํา
ตอบ 2 หน้า 247, (คําบรรยาย) แรงจูงใจที่เกิดจากการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขส่วนใหญ่จะเป็นการ เรียนรู้แบบการกระทํา โดยที่บุคคลได้เรียนรู้จากสังคมและคนรอบข้างว่าปัจจัยใดบ้างควรเป็นสิ่งเร้าที่เป็นตัวกระตุ้นและส่งเสริมแรงในกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งจะแปรเปลี่ยนไปตามค่านิยมของแต่ละสังคม นอกจากนี้สิ่งเร้าที่เป็นตัวกระตุ้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลด้วย
62. อารมณ์ใดเป็นอารมณ์ผสมระหว่างอารมณ์กลัวและอารมณ์ประหลาดใจ
(1) อารมณ์รัก
(2) อารมณ์ก้าวร้าว
(3) อารมณ์ผิดหวัง
(4) อารมณ์เกรงขาม
(5) อารมณ์ยอมจํานน
ตอบ 4 หน้า 258, (รูปที่ 9.1) พลูทชิค (Plutchik) เชื่อว่า อารมณ์พื้นฐานของมนุษย์มีอยู่ 8 ชนิด คือ กลัว ประหลาดใจ เศร้าเสียใจ รังเกียจ โกรธ คาดหวัง รื่นเริง และยอมรับ ซึ่งอารมณ์พื้นฐานทั้ง 8 ชนิด ยังแปรเปลี่ยนไปตามระดับความเข้มของอารมณ์และยังอาจผสมผสานกันเป็นอารมณ์ที่ ซับซ้อนขึ้นไปอีก เช่น อารมณ์เกรงขามเป็นอารมณ์ผสมกันระหว่างกลัวและประหลาดใจ ฯลฯ
63. อารมณ์ใดตามแนวคิดของอิซาร์ดที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้าในระบบประสาทอย่างฉับพลัน
เพื่อเตรียมบุคคลที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
(1) โกรธ
(2) ขยะแขยง
(3) สนุกสนาน
(4) กลัว
(5) ประหลาดใจ
ตอบ 5 หน้า 257 – 258 คาร์รอล อิซาร์ด (Carrott Izard) ได้จําแนกอารมณ์ออกเป็น 10 ประเภท คือ
1. Interest-Excitement (สนใจ ตื่นเต้น) เป็นอารมณ์ที่ช่วยทําให้บุคคลเกิดแรงจูงใจในการ ที่จะเรียนรู้และต้องใช้ความพยายามในเชิงสร้างสรรค์มากขึ้น เช่น อยากเรียนสูง ๆ
2. Joy (รื่นเริง) เป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดสภาวะของความเชื่อมั่น มองว่าโลกนี้ช่างน่าอยู่เหลือเกิน
3. Surprise (ประหลาดใจ) เป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้าในระบบประสาท
อย่างฉับพลันเพื่อตระเตรียมบุคคลที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
4. Distress-Anguish (เสียใจ-เจ็บปวด) เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลต้องประสบกับความ พลัดพราก หรือเผชิญกับความล้มเหลวในชีวิต
5. Anger-Rage (โกรธ เดือดดาล) เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลพบกับการขัดขวางหรืออุปสรรค
6. Disqust (รังเกียจ) เป็นอารมณ์อันเกิดจากการกระทบกับสัมผัสที่ไม่พึงปรารถนา
7. Contempt Scorn (ดูถูกเหยียดหยาม) เป็นอารมณ์ที่อาจเกิดผสมระหว่างอารมณ์โกรธ กับอารมณ์ขยะแขยง จัดเป็นอารมณ์ที่มีลักษณะที่เย็นชา
8. Fear-Terror (กลัว-สยองขวัญ) เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลกําลังเผชิญอยู่กับสิ่งที่ตน ไม่สามารถจะเข้าใจได้ หรือเกิดความไม่แน่ใจในภัยอันตรายที่กําลังจะมาถึง
9. Shame Sin Shyness-Humiliation (อับอายขายหน้า) เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคล ถูกลงโทษ เพราะไม่ประพฤติตามกฎเกณฑ์ของสังคม
10. Guilt (รู้สึกผิด) เป็นอารมณ์ที่มีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับความวิตกกังวลและความอาย
64. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับความต้องการตามลําดับขั้นของมาสโลว์
(1) ชีวิตของบุคคลจะมีความต้องการแตกต่างกัน
(2) บุคคลแต่ละคนจะมีความต้องการสูงสุดคือความสุข
(3) สิ่งเร้าที่มากระตุ้นให้บุคคลเกิดความต้องการเหมือนกันทุกคน
(4) บุคคลจะมีความต้องการเป็นลําดับขั้น
(5) บุคคลจะมีความต้องการข้ามขั้นแตกต่างกันไปในแต่ละคน
ตอบ 4 หน้า 229 – 230 มาสโลว์ (Maslow) เชื่อว่า “ชีวิตของบุคคลจะมีความต้องการตามลําดับขั้น โดยจะมีความต้องการขั้นพื้นฐานเป็นลําดับแรก ต่อมาเมื่อได้รับการตอบสนองความต้องการ ขั้นพื้นฐานแล้ว จึงมีความต้องการขั้นสูงต่อ ๆ ไปตามลําดับโดยไม่ข้ามขั้น
65. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับปัจจัยทางสรีระวิทยาที่ทําให้เกิดอารมณ์
(1) ระบบพาราซิมพาเธติกในร่ายกายจะเกี่ยวข้องกับอารมณ์ที่กระตุ้นให้ต่อสู้หรือถอยหนี
(2) สมองส่วนไฮโปธาลามัสเมื่อถูกกระตุ้นจะทําให้เกิดอารมณ์เศร้า ซึม เฉื่อยชา
(3) อารมณ์ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระและพฤติกรรมมากที่สุดคือ อารมณ์ตื่นเต้น
(4) อารมณ์กลัวจะก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีนจากต่อมหมวกไต
(5) การเกิดอารมณ์ไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางสรีระวิทยา
ตอบ 4 หน้า 262 – 263 อารมณ์กลัวจะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระตามบริเวณต่าง ๆ ดังนี้ การหายใจจะถี่ขึ้น ความต้านทานกระแสไฟฟ้าของผิวหนังบริเวณมือจะลดลง มีความตึงเครียด ของกล้ามเนื้อสูงมาก และจะก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีนจากต่อมหมวกไต
66. ข้อใดเป็นการแก้ปัญหาโดยทําความเข้าใจ
(1) การเลียนแบบ
(2) การหยั่งเห็นคําตอบในทันที
(3) การท่องจําคําตอบ
(4) การใช้ปัญญาแก้ปัญหา
(5) การลองผิดลองถูก
ตอบ 4 หน้า 209 การแก้ปัญหาโดยทําความเข้าใจ (Solution by Understanding) เป็นการใช้ ความคิดระดับสูงในการแก้ไขปัญหา โดยเริ่มจากการค้นหาคุณสมบัติทั่วไปของคําตอบ และมา สู่ขั้นคิดคําตอบที่เป็นไปได้หลายคําตอบ จากนั้นก็จะเลือกคําตอบให้เหลือเพียงคําตอบเดียว
67. ข้อใดไม่ใช่เป็นลักษณะสําคัญของอารมณ์
(1) อารมณ์ไม่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ส่วนบุคคล
(2) การแปลความหมายของสถานการณ์สามารถเปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาทางอารมณ์ได้
(3) อารมณ์ไม่ใช่พฤติกรรมที่แสดงออกภายนอกหรือความคิดเฉพาะอย่าง
(4) การแสดงออกทางอารมณ์แตกต่างจากการกระทําโดยทั่วไป
(5) อารมณ์เกิดขึ้นร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ
ตอบ 1 หน้า 255 – 256, (คําบรรยาย) อารมณ์ มีลักษณะสําคัญ 4 ประการ คือ
1. อารมณ์ไม่ใช่พฤติกรรมภายนอกหรือความคิดเฉพาะอย่าง แต่อารมณ์เป็นประสบการณ์ ความรู้สึกส่วนบุคคล และเป็นภาวะที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ (ไม่คงที่)
2. อารมณ์เป็นความรู้สึกที่รุนแรงและมีการแสดงออกที่แตกต่างไปจากการกระทําปกติทั่ว ๆ ไป
3. บุคคลจะมีการประเมินหรือแปลความหมายของสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องแล้วจึงจะเกิดอารมณ์
4. อารมณ์จะเกิดร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ
68. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของเครื่อง “โพลีกราฟ” (Polygraph)
(1) วัดการเปลี่ยนแปลงของหัวใจได้
(2) วัดการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตได้
(3) วัดการทํางานของสมองได้
(4) วัดการเปลี่ยนแปลงของการหายใจได้
(5) วัดระดับความชื้นของฝ่ามือได้
ตอบ 3 หน้า 262 – 263 เครื่อง “โพลีกราฟ” (Polygraph) เป็นเครื่องมือจับเท็จที่ใช้วัดและบันทึก การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต อัตราการหายใจ และอุณหภูมิหรือความชื้นหรือแรงต้านทานกระแสไฟฟ้าบนฝ่ามือ (GSR)
69. หน่วยพื้นฐานของการคิด คือข้อใด
(1) ประสบการณ์
(2) สติปัญญา
(3) ทักษะ
(4) จินตภาพ
(5) วุฒิภาวะ
ตอบ 4 หน้า 206 หน่วยพื้นฐานของความคิด ประกอบด้วย จินตภาพ การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ มโนทัศน์ และภาษาหรือสัญลักษณ์
70. ข้อใดไม่ใช่อารมณ์พื้นฐานที่สัมพันธ์กับการทํางานในตําแหน่งสมองของแพงค์เซปป์
(1) ตื่นตระหนก
(2) ประหลาดใจ
(3) เดือดดาล
(4) หวาดกลัว
(5) คาดหวัง
ตอบ 2 หน้า 259 อารมณ์พื้นฐานตามแนวคิดของจาค แพงค์เซปป์ (Jaak Panksepp) มี 4 ชนิด คือ คาดหวัง เดือดดาล ตื่นตระหนก และหวาดกลัว
71. “แรงจูงใจ” มีลักษณะตรงกับข้อใดมากที่สุด
(1) เป้าหมายที่ได้เลือกไว้แล้ว
(2) การเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรม
(3) สัญชาตญาณที่ติดตัวมาตั้งแต่กําเนิด
(4) แรงขับเคลื่อนที่อยู่ภายนอกของบุคคล
(5) บางสิ่งบางอย่างที่อยู่ภายในตัวของบุคคลที่มีผลทําให้บุคคลต้องกระทํา
ตอบ 2 หน้า 223, 225 แรงจูงใจ (Motive) หมายถึง สภาวะที่เป็นแรงกระตุ้นหรือเป็นกระบวนการ ที่สร้างและกระตุ้นหรือผลักดันให้บุคคลเกิดหรือแสดงพฤติกรรมออกมา ทั้งที่เป็นพฤติกรรมโดยสัญชาตญาณและพฤติกรรมจากการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่แรงจูงใจนั้นต้องการ
72. ข้อใดคือทฤษฎีลําดับขั้นตอนความต้องการของเมอร์เรย์
(1) ความต้องการที่จะเข้าใจคนอื่น
(2) ความต้องการความปลอดภัย
(3) ความต้องการทางร่างกาย
(5) ความต้องการที่จะยอมแพ้
(4) ความต้องการสืบทอดเผ่าพันธุ์
ตอบ 5 หน้า 235 – 237 เมอร์เรย์ (Murray) ได้แบ่งประเภทของความต้องการไว้ 20 ประการ เช่น ความต้องการที่จะเอาชนะด้วยการแสดงความก้าวร้าว, ความต้องการเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ความต้องการที่จะยอมแพ้, ความต้องการที่จะป้องกันตนเอง, ความต้องการความสนุกสนาน, ความต้องการความสําเร็จ, ความต้องการแยกตนเองออกจากผู้อื่น ฯลฯ
73. ข้อใดไม่ใช่การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
(1) นิยามปัญหาให้กว้าง
(2) นิยามปัญหาให้เฉพาะเจาะจง
(3) สร้างบรรยากาศที่ถูกต้อง
(4) หาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ให้พร้อม
(5) ให้เวลาสําหรับขั้นพัก
ตอบ 2 หน้า 215 – 216 การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ มีดังนี้
1. สร้างบรรยากาศที่ถูกต้อง
2. นิยามปัญหาให้กว้าง
3. ให้เวลาสําหรับขั้นพัก
4. หาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ให้พร้อม ฯลฯ
74. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับโค้งการลืมของเอบทิ้งเฮาส์
(1) การจําได้จะมีมากในช่วงแรก และน้อยลงในช่วงหลัง
(2) บุคคลจะจําได้ 0 – 100% ในช่วงเริ่มต้นจนช่วงหลัง ๆ
(3) เมื่อเวลาผ่านไป 1 วัน ความจําจะเหลือประมาณ 0%
(4) เมื่อบุคคลจําได้ 100% จะไม่เกิดการลืม
(5) ผู้สูงอายุจะเกิดการลืมมากกว่าคนวัยหนุ่มสาว
ตอบ 1 หน้า 203, 218 เฮอร์แมน เอบทิ้งเฮาส์ (Herman Ebbinghaus) ได้กล่าวว่า การลืมส่วนใหญ่ เกิดขึ้นทันทีภายหลังการจํา โดยเขาได้ทําการทดสอบความจําหลังการเรียนรู้คําที่ไม่มีความหมาย ในช่วงเวลาต่าง ๆ กัน และได้สร้างโค้งการลืมออกมา ซึ่งพบว่า เราจะจําได้ 100% ในช่วงเริ่มต้น เมื่อเวลาผ่านไป 20 นาที ความจําจะเหลือ 60%, 1 ชั่วโมงผ่านไปจะจําได้ 50%, 9 ชั่วโมงผ่านไป จะจําได้ 40% และภายใน 1 วัน ความจําจะเหลือประมาณ 30%
75. แรงจูงใจมีที่มาจากองค์ประกอบใด
(1) ความมีเหตุผล
(2) ความสมบูรณ์
(3) ความต้องการ
(4) ความฉลาดต
(5) สติปัญญา
ตอบ 3 หน้า 227 กระบวนการของการเกิดแรงจูงใจ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้
1. ความต้องการ (Needs)
2. แรงขับ (Drive)
3. การตอบสนอง (Response) หรือการแสดงพฤติกรรม
4. เป้าหมาย (Goal)
76. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความต้องการของบุคคลที่เกิดจากสิ่งเร้า
(1) สิ่งเร้าเดียวกันมีอิทธิพลต่อบุคคลทุกคน
(2) สิ่งเร้านั้นต้องมีอิทธิพลต่อบุคคล
(3) สิ่งเร้าเดียวกันทําให้คนต้องการต่างกัน
(4) สิ่งเร้าต่างกันอาจทําให้คนต้องการเหมือนกัน
(5) เวลาเปลี่ยนไป สิ่งเร้าเดิมอาจไม่ส่งผลต่อบุคคลแล้ว
ตอบ 1 หน้า 229 เกี่ยวกับความต้องการที่เกิดจากสิ่งเร้า คือ สิ่งเร้านั้นจะต้องมีอิทธิพลต่อการรับรู้ ของบุคคล สิ่งเร้าเดียวกันอาจจะทําให้คนมีความต้องการที่แตกต่างกันได้ สิ่งเร้าที่แตกต่างกันอาจจะทําให้คนมีความต้องการที่เหมือนกันได้ สิ่งเร้าเดิมที่เคยจูงใจบุคคลอาจจะจูงใจไม่ได้อีก เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนแปลงไป และสิ่งเร้าที่เร้าไม่ได้ในอดีตอาจจะจูงใจได้ในปัจจุบัน
77. การลืมเกิดขึ้นจากการที่มีแรงจูงใจพิเศษที่ต้องการจะลืมบางสิ่งบางอย่าง
(1) การเก็บกด (Repression)
(2) การทดแทน (Sublimation)
(3) การถดถอย (Regression)
(4) การหาเหตุผล (Rationalization)
(5) การกล่าวโทษผู้อื่น (Projection)
ตอบ 1 หน้า 205, (คําบรรยาย) การเก็บกด (Repression) เป็นการลืมที่เกิดขึ้นจากการที่มีแรงจูงใจ พิเศษที่ต้องการจะลืมบางสิ่งบางอย่างในอดีต เช่น ความผิดหวัง ความล้มเหลว ความเจ็บปวดความอาย สิ่งที่ไม่ชอบไม่น่ารื่นรมย์ ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะถูกเก็บกดให้อยู่ในระดับจิตใต้สํานึก
78. ข้อใดไม่ใช่แรงจูงใจทางสังคมหรือแรงจูงใจเพื่อพัฒนาตน
(1) แรงจูงใจเพื่อหลีกหนีความเจ็บปวด
(2) แรงจูงใจเพื่อการเรียนรู้
(3) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
(4) แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์
(5) แรงจูงใจใฝ่อํานาจ
ตอบ 2 หน้า 225, 233 – 234, 239, (คําบรรยาย) การแบ่งประเภทของแรงจูงใจตามสิ่งเร้าอันเป็น แรงจูงใจทางสังคมหรือแรงจูงใจเพื่อพัฒนาตน มี 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. แรงจูงใจพื้นฐาน เป็นแรงจูงใจพื้นฐานในการกระตุ้นให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมเพื่อความอยู่รอด ของชีวิต ได้แก่ แรงจูงใจทางชีวภาพ แรงจูงใจเพื่อสืบเผ่าพันธุ์ และแรงจูงใจเพื่อหลีกหนีอันตราย หรือแรงจูงใจเพื่อหลีกหนีความเจ็บปวด
2. แรงจูงใจภายใน เป็นแรงจูงใจที่เกิดขึ้นเองภายในตัวบุคคลโดยไม่ต้องมีสิ่งเร้าจากภายนอก
3. แรงจูงใจภายนอก หรือแรงจูงใจเฉพาะบุคคล ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ และแรงจูงใจใฝ่อํานาจ ซึ่งเป็นแรงจูงใจที่บุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายนอก
79. สาโรจน์ไม่ได้รับการเลื่อนขั้นและถูกมองข้ามจากเจ้านาย ตรงกับข้อใด
(1) ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ
(2) ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง
(3) ความต้องการความปลอดภัย
(4) ความต้องการทางร่างกาย
(5) ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง
ตอบ 5หน้า 229 – 230, 234 – 235 มาสโลว์ (Maslow) เป็นนักจิตวิทยาที่แบ่งลําดับขั้น ความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ขั้น 2 ระดับ ดังนี้คือ
1. ระดับความต้องพื้นฐาน (Basic Needs) ได้แก่ ความต้องการทางด้านร่างกาย และความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง
2. ระดับความต้องการขั้นสูง (Growth Needs) ได้แก่ ความต้องการความรักและความเป็น เจ้าของความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่น และความต้องการประจักษ์ตน
80. ข้อใดไม่ใช่กระบวนการเกิดแรงจูงใจ
(1) ร่างกายอยู่ในสภาวะสมดุล
(2) ร่างกายลดแรงขับ
(3) ร่างกายเกิดความต้องการ
(4) ร่างกายแสดงพฤติกรรม
(5) ร่างกายเกิดแรงขับ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 75. ประกอบ
81. แบบทดสอบที่มีชื่อว่า Stanford Binet Intelligence Test สร้างขึ้นมาเพื่อวัดความสามารถใด
(1) พัฒนาการทางร่างกาย
(2) พฤติกรรม
(3) สติปัญญา
(4) ความเจ็บป่วยทางจิต
(5) อารมณ์
ตอบ 3 หน้า 324, 336 อัลเฟรด บิเนต์ (Alfred Binet) และธีโอฟิล ไซมอน (Theophile Simon) ได้สร้างและพัฒนาแบบทดสอบวัดสติปัญญารายบุคคลขึ้นมาใช้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1905 เพื่อแยกเด็กที่มีความผิดปกติทางสมองออกจากเด็กปกติ ต่อมาเทอร์แมน (Terman) ได้นํามา ปรับปรุงใช้ในสหรัฐอเมริกา และเรียกแบบทดสอบนี้ว่า Stanford Binet Intelligence Test
82. วัตถุประสงค์ของการสร้างแบบทดสอบสติปัญญารายบุคคลขึ้นมาในครั้งแรก เพราะสาเหตุใด
(1) แยกเด็กที่มีความผิดปกติทางพฤติกรรม
(2) แยกเด็กที่มีความผิดปกติทางความคิด
(3) แยกเด็กที่มีความผิดปกติทางอารมณ์
(4) แยกเด็กที่มีความผิดปกติทางการอ่าน
(5) แยกเด็กที่มีความผิดปกติทางสมอง
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 81. ประกอบ
83.จากนิยาม “โครงสร้างพลังงานของระบบจิตสรีระของเอกัตบุคคลที่ทําให้เขามีเอกลักษณ์ในการปรับตัว ต่อสิ่งแวดล้อม” คํา “นิยาม” ดังกล่าวหมายถึงข้อใด
(1) บุคลิกภาพ
(2) วิถีชีวิต
(3) กลไกทางจิต
(4) การปรับตัว
(5) โครงสร้างทางจิต
ตอบ 1 หน้า 284 อัลพอร์ท (Allport) กล่าวว่า บุคลิกภาพ คือ โครงสร้างพลังงานของระบบจิตสรีระ ของเอกัตบุคคลที่ทําให้เขามีเอกลักษณ์ในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งระบบจิตสรีระของมนุษย์นี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นสาเหตุที่ทําให้บุคคลต้องปรับตัว และการปรับตัวที่ต่างกันของบุคคลแต่ละคนจะทําให้บุคลิกภาพต่างกันด้วย
84. บุคลิกภาพแบบจี้จี้เจ้าระเบียบ เกิดขึ้นจากการชะงักงันในพัฒนาการขั้นใด ตามแนวคิดของฟรอยด์
(1) ขั้นปาก
(2) ขั้นทวารหนัก
(3) ขั้นแอบแฝง
(4) ขั้นอวัยวะเพศ
(5) ขั้นมีเพศสัมพันธ์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 28. ประกอบ
85. มโนธรรม ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี และตัวตนในอุดมคติ เข้ากับนิยามของข้อใด
(1) Id
(2) Ego
(3) Superego
(4) Shadow
(5) Reinforcement
ตอบ 3 หน้า 287 – 288, (คําบรรยาย) ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ของฟรอยด์ (Freud) ได้แบ่งโครงสร้างของบุคลิกภาพออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. อิด (Id) เป็นสัญชาตญาณของจิตใต้สํานึกที่มีมาตั้งแต่แรกเกิด โดยเป็นพลังจิตที่ขาดการขัดเกลา ไม่รับรู้ระเบียบแบบแผนของสังคม มีกระบวนการคิดที่ไม่สมเหตุสมผล ทํางานโดยยึดหลัก ความพึงพอใจหรือทําตามความพึงพอใจของตัวเองโดยไม่สนใจกับความเป็นจริงภายนอกส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับสัญชาตญาณในเรื่องเพศ ความก้าวร้าว และการทําลายล้าง
2. อีโก้ (Ego) เป็นส่วนของจิตใจที่ทํางานโดยยึดหลักแห่งความเป็นจริง โดยร่วมกันไปกับ กระบวนคิดอย่างมีเหตุผล จะแสดงออกอย่างไรจึงเป็นที่ยอมรับและเหมาะสมกับสังคม
3. ซูเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นส่วนของจิตใจที่ทําหน้าที่คล้ายกับมโนธรรมที่คอยตักเตือน ให้บุคคลมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี
86. เมื่อซื้อลอตเตอรี่แล้วถูกรางวัล ทําให้บุคคลนั้น ๆ มีแนวโน้มจะซื้อล็อตเตอรี่อีกเป็นไปตามข้อใด
(1) กฎแห่งพฤติกรรม
(2) กฎแห่งการทําซ้ำ
(3) กฎแห่งจิตสํานึก
(4) กฎแห่งการฝึก
(5) กฎแห่งผล
ตอบ 5 หน้า 289 – 290 ธอร์นไดค์ (Thorndike) มีความเชื่อในเรื่อง “กฎแห่งผล” กล่าวคือ ถ้าทําพฤติกรรมใดแล้วมีผลดี พฤติกรรมนั้นจะปรากฏขึ้นอีก แต่ถ้าพฤติกรรมใดถูกลงโทษ พฤติกรรมนั้นก็จะหมดไป
87. ทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัย ประกอบไปด้วยปัจจัยใด
(1) A และ B factor
(2) P และ Q factor
(3) C และ K factor
(4) T และ M factor
(5) G และ S factor
ตอบ 5 หน้า 325 ชาร์ล สเปียร์แมน (Charles Spearman) เป็นผู้ที่คิดทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัย โดยอธิบายว่า สติปัญญาของคนเรานั้นจะมีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ
1. ตัวประกอบทั่วไป (General factor : G-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผล ทั่ว ๆ ไปของบุคคล และทุกคนมีเหมือนกันหมด
2. ตัวประกอบเฉพาะ (Specific factor : S-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับความสามารถ เฉพาะตัวของบุคคล เช่น ความสามารถพิเศษด้านศิลปะและดนตรี ความสามารถในการจํา ความเข้าใจภาษา การคํานวณ การใช้มือ การสังเกต การออกแบบ (Design) ฯลฯ
88. จากนิยาม “โครงสร้างพลังงานของระบบจิตสรีระของเอกัตบุคคลที่ทําให้เขามีเอกลักษณ์ในการปรับตัว ต่อสิ่งแวดล้อม” คําว่า “จิตสรีระ” หมายถึงข้อใด
(1) ระบบของการรู้คิด
(2) ระบบของสมอง
(3) ระบบของพฤติกรรม
(4) ระบบรักษาสมดุลของบุคลิกภาพ
(5) ระบบของร่างกายและจิตใจ
ตอบ 5 หน้า 284 ระบบจิตสรีระ คือ ระบบของจิตใจและร่างกาย เช่น อารมณ์ (Temperament) เป็นระบบของจิตใจที่มีพื้นฐานมาจากร่างกาย ไม่ใช่เป็นสิ่งเรียนรู้ เช่น เด็กบางคนงอแงและขี้อ้อน มาตั้งแต่แรกเกิด ในขณะที่เด็กบางคนเลี้ยงง่ายผิดพี่ผิดน้อง ซึ่งอัลพอร์ทเชื่อว่า ลักษณะอารมณ์ ดังกล่าวจะติดตัวเด็กไปจนโต และทําให้บุคคล 2 คนมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน
89. คําว่า สติปัญญา หมายความว่าอย่างไร
(1) ความสามารถในการคิด แก้ไขปัญหา
(2) ความสามารถในการยับยั้งชั่งใจ
(3) ความสามารถในการรับรู้สิ่งแวดล้อม
(4) ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น
(5) ความสามารถในการอดทนรอคอย
ตอบ 1 หน้า 319 สติปัญญา (Intelligence) เป็นความสามารถของแต่ละบุคคลในการที่จะคิด กระทํา หรือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ทั้งสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
90. ตามเกณฑ์ความสามารถทางสติปัญญาของบิเนต์ หากทําคะแนนได้ 130 จะถือว่าอยู่ในระดับใด
(1) อัจฉริยะ
(2) ฉลาดมาก
(3) เกณฑ์ปกติ
(4) คาบเส้น
(5) ค่อนข้างฉลาด
ตอบ 2 หน้า 327 บิเนต์ (Binet) ได้จําแนกระดับสติปัญญา (IQ) ของบุคคลออกเป็น 7 ระดับ ดังนี้ ปัญญาอ่อน (Retarded) มีระดับ IQ ต่ํากว่า 70, คาบเส้น (Borderline) มีระดับ IQ 71 – 80, ปัญญาทึบ (Dult) มีระดับ IQ 81 – 90, เกณฑ์ปกติ (Normal) มีระดับ IQ 91 – 110 ซึ่ง เป็นอัตราเฉลี่ย (Average), ค่อนข้างฉลาด (Superior) มีระดับ IQ 111 – 120, ฉลาดมาก (Very Superior) มีระดับ IQ 121 – 140 และอัจฉริยะ (Genius) มีระดับ IQ 140 ขึ้นไป
91. สัญชาตญาณของจิตไร้สํานึกที่แสวงหาความพึงพอใจ เข้ากับนิยามของข้อใด
(1) Ego
(2) Superego
(3) Id
(4) Psyche
(5) Persona
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 85. ประกอบ
92. ข้อใดเกี่ยวข้องกับแนวทางควบคุมอารมณ์ในการดําเนินชีวิตประจําวันน้อยที่สุด
(1) จัดการให้อารมณ์อยู่ในรูปของการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม
(2) เมื่อมีอารมณ์ไม่เหมาะสมเกิดขึ้น ให้วิเคราะห์ว่าทําไมเราถึงมีอารมณ์เช่นนั้น
(3) พยายามหาสาเหตุของความวิตกกังวล เพื่อนํามาใช้ในการแสดงออกที่เหมาะสม
(4) เมื่อมีอารมณ์ทางลบเกิดขึ้น ให้รีบปลดปล่อยอารมณ์ของตนเองให้เร็วที่สุด
(5) เมื่อเกิดอารมณ์ทางลบ พยายามคิดทบทวนว่าเพราะเหตุใดตนเองถึงทําผิดพลาด
ตอบ 5 หน้า 276 มุกดา สุขสมาน ได้ให้แนวทางในการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในภาวะปกติ ดังนี้
1.พยายามเข้าใจอารมณ์ต่าง ๆ หาความรู้และความจริงที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ และหาสาเหตุ ของอารมณ์นั้น ๆ เพื่อจะได้หาทางขจัดอารมณ์เหล่านั้นออกไป
2. ต้องยอมรับอารมณ์ที่เกิดขึ้น และจําเป็นที่จะต้องควบคุมอารมณ์ไม่ให้มีอิทธิพลเหนือตัวเอง
3. กระตุ้นอารมณ์ให้เกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม อย่าปล่อยให้เกิดปัญหาใหญ่หรือเกิดเป็นปมด้อย
4. เลิกกังวลกับสิ่งที่ทําผิดพลาดมาแล้ว เน้นการอยู่กับปัจจุบันด้วยความเชื่อมั่น
5. ใช้ปฏิกิริยาโดยตรงต่อการควบคุมอารมณ์ ขจัดความขัดแย้งทันทีทันใด
93. การที่เด็กเกิดมาแล้วมีสติปัญญาในระดับใกล้เคียงกับบิดามารดา เป็นอิทธิพลจากสิ่งใด
(1) อิทธิพลของการรู้คิด
(2) อิทธิพลของพันธุกรรม
(3) อิทธิพลของสภาพจิตใจ
(4) อิทธิพลของครอบครัว
(5) อิทธิพลของบุคลิกภาพ
ตอบ 2 หน้า 129 – 130 พัฒนาการทางด้านสติปัญญาของมนุษย์ได้รับอิทธิพลจากพันธุกรรมและ สิ่งแวดล้อม โดยมีพันธุกรรมเป็นตัวปูพื้นฐานของระดับสติปัญญา กล่าวคือ บุคคลจะมีระดับ สติปัญญาที่ใกล้เคียงกับบรรพบุรุษของตน และพันธุกรรมมีอิทธิพลอย่างมากต่อระดับสติปัญญาเพราะโครโมโซมที่เกี่ยวกับความคิดและสติปัญญาจะถูกถ่ายทอดไปสู่ลูกนั่นเอง
94. ข้อใดคือความหมายของความเชื่อถือได้ของแบบทดสอบ
(1) มีแบบแผนดําเนินการทดสอบ
(2) ให้ผลแบบเดิมไม่ว่าใครจะทดสอบ
(3) ให้ความคงที่ของคะแนน
(4) วัดได้ในสิ่งที่ต้องการวัด
(5) มีเกณฑ์ในการแปลความหมาย
ตอบ 3 หน้า 327 – 328 แบบทดสอบที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติที่สําคัญ 4 ประการ ดังนี้
1. ความเป็นปรนัย (Objectivity) จะต้องให้ผลเหมือนเดิมไม่ว่าใครเป็นคนตรวจให้คะแนน
2. ความเชื่อถือได้ (Reliability) จะต้องให้ความคงที่ของคะแนนในการวัดแต่ละครั้ง
3. ความเที่ยงตรง (Validity) จะต้องวัดในสิ่งที่ต้องการจะวัด (เป็นคุณสมบัติที่สําคัญที่สุด)
4. ความเป็นมาตรฐาน (Standardization) จะต้องมีแบบแผนในการดําเนินการทดสอบ
95. ตามทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัย ความสามารถเฉพาะบุคคลคือข้อใด
(1) ชีสชอบร้องเพลงในห้องน้ำคนเดียว
(2) เซนร้องเพลงได้ เค้าชอบไปร้องคาราโอเกะ
(3) เซฟมักร้องเพลงไป ทํากับข้าวไป
(4) เชียร์ร้องเพลงได้ดี จนประกวดได้รางวัลที่ 1 เสมอ
(5) เซลลี่เป็นตัวแทนร้องเพลงชาติ เพราะเป็นประธานนักเรียน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 87. ประกอบ
96. การพัฒนาทางอารมณ์ของมนุษย์จะสมบูรณ์ช่วงอายุประมาณเท่าใด
(1) 12 เดือน
(2) 18 เดือน
(3) 20 เดือน
(4) 24 เดือน
(5) 28 เดือน
ตอบ 4 หน้า 271 เค.บริดเจส (K.Bridges) พบว่า พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กทารกมีลักษณะดังนี้ อารมณ์แรกเกิดของมนุษย์คืออารมณ์ตื่นเต้น แล้วจึงพัฒนาไปสู่อารมณ์ที่มีลักษณะเฉพาะมากขึ้น เมื่ออายุครบ 3 เดือน ก็จะแยกออกระหว่างอารมณ์ดีใจและเดือดร้อนใจ ต่อจากนั้นอารมณ์โกรธ เกลียดและกลัวก็จะปรากฏขึ้นภายหลังตามระดับวุฒิภาวะและการรับรู้ของเด็ก และเมื่ออายุ 2 ปี (24 เดือน) อารมณ์พื้นฐานก็จะพัฒนาจนครบสมบูรณ์ทั้ง 8 ชนิด
ข้อ 97 – 99 จงจับคู่ตัวเลือกด้านล่างนี้ให้ถูกต้อง
(1) การสัมภาษณ์
(2) การสังเกตโดยตรง
(3) การกําหนดสถานการณ์
(4) การฉายภาพจิต
(5) การใช้แบบสอบถาม
97. วิธีการใดที่ต้องระมัดระวังเรื่อง Halo Effect
ตอบ 1 หน้า 305 การสัมภาษณ์ เป็นการใช้คําถามเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ โดยผู้สัมภาษณ์สามารถ เห็นหน้าและสังเกตกิริยาท่าทางทั้งภาษากายและภาษาพูดของผู้ถูกสัมภาษณ์ได้อย่างชัดเจน แต่ผู้สัมภาษณ์จะต้องระมัดระวังในเรื่องอคติและ Halo Effect คือ แนวโน้มที่จะประเมินผู้อื่น สูงหรือต่ํากว่าความเป็นจริง
98. วิธีการใดมีความเป็นปรนัย และไม่มีอคติเข้ามาเกี่ยวข้อง
ตอบ 5 หน้า 307 การใช้แบบสอบถาม เป็นวิธีการศึกษาบุคลิกภาพที่เป็นที่นิยมและแพร่หลายมากที่สุด เพราะทําได้ง่าย สะดวก และไม่ซับซ้อนเหมือนวิธีการอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีความเป็นปรนัย คือ ไม่มีอคติของผู้ตรวจเข้ามาเกี่ยวข้องมากที่สุด และเป็นวิธีที่เหมาะสําหรับการประเมินบุคลิกภาพ ในกรณีผู้รับการทดสอบมีจํานวนมาก
99. วิธีการใดเป็นวิธีการที่ใช้สิ่งเร้าที่คลุมเครือทําความเข้าใจจิตไร้สํานึก
ตอบ 4 หน้า 308 – 309, 315 แบบทดสอบการฉายภาพจิต เป็นการวัดบุคลิกภาพที่นักจิตวิทยามี ความประสงค์จะล่วงรู้ถึงความปรารถนาหรือจิตใต้สํานึกลึก ๆ ที่ซ่อนอยู่ในจิตของผู้ตอบ โดย ให้ผู้รับการทดสอบบรรยายความรู้สึกนึกคิดออกมาทางภาพที่ให้ดู ซึ่งภาพส่วนใหญ่จะมีลักษณะ คลุมเครือ มองได้หลายแง่มุม โดยแบ่งแบบทดสอบออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. แบบทดสอบรอ ชาค เป็นภาพหยดหมึก 10 ภาพ แล้วถามว่าเหมือนอะไร
2. แบบทดสอบ TAT” เป็นภาพเรื่องราว 20 ภาพ แล้วให้บรรยายหรือแต่งเรื่องจากภาพ
100. อาการเหนื่อยล้าไปต่อไม่ได้ที่เรียกว่า Burn-out มักเกิดขึ้นในขั้นตอนใดของปฏิกิริยาความเครียด
(1) ระยะตื่นตระหนก
(2) ระยะต้านทานภัย
(3) ระยะเหนื่อยล้า
(4) ระยะคับขัน
(5) ระยะพักผ่อน
ตอบ 3 หน้า 351 เซลเย (Setye) ได้ศึกษาพบว่า เมื่อบุคคลเกิดความเครียด ร่างกายจะมีปฏิกิริยา ต่อความเครียด 3 ขั้นตอน คือ
1. ปฏิกิริยาตื่นตระหนก
2. สร้างระบบต้านทานภัย
3. ระยะเหนื่อยล้า เป็นการปรับตัวของร่างกายเมื่อเกิดความเครียดระยะสุดท้าย ซึ่งในระยะนี้ หากความเครียดอยู่กับบุคคลนาน ๆ และไม่หมดสิ้นไป ก็อาจทําให้ร่างกายเกิดโรคขึ้นหลายชนิด เช่น โรคกระเพาะ โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ ฯลฯ และถ้าเป็นนาน ๆ ร่างกายก็อาจจะไปถึง จุดที่เรียกว่า Burn-out คือ ไปต่อไม่ได้
101. ข้อใดคือสูตรในการคํานวณความสามารถทางสติปัญญา
(1) (CA / 100) + MA
(2) (MA / 100) + CA
(3) 100 / (CA + MA)
(4) (CA / MA) x 100
(5) (MA / CA) x 100
ตอบ 5 หน้า 326 ในการวัดความสามารถทางสติปัญญาจะถูกวัดออกมาในอัตราส่วนที่เรียกว่า IQ (Intelligence Quctient) ซึ่งเป็นอัตราส่วนระหว่างอายุสมอง (Mental Age = MA) และ อายุจริงตามปฏิทิน (Chronological Age = CA) คูณ 100 ดังสมการ (MA / CA) × 100
102. ระบบประสาทใดที่ควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนเมื่อเกิดภาวะเครียด
(1) ระบบประสาทอัตโนมัติ
(2) ระบบประสาทนอนซิมพาเธติก
(3) ระบบประสาทโซมาติก
(4) ระบบประสาทนิวรอน
(5) ระบบประสาทส่วนกลาง
ตอบ 1 หน้า 349 – 350 เมื่อมนุษย์เผชิญกับความเครียด จะส่งผลให้ร่างกายเกิดการตอบสนอง ทางสรีรจิตวิทยา ในยามปกติเมื่อร่างกายปลอดจากความเครียด ระบบประสาทอัตโนมัติ จะควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนบางชนิด เพื่อรักษาให้ระบบการทํางานต่าง ๆ มีความสมดุล แต่เมื่อร่างกายได้รับตัวกระตุ้นที่ทําให้เครียด ตัวกระตุ้นนี้จะมีผลต่อการทํางานของระบบ ประสาทอัตโนมัติ ทําให้ทําหน้าที่ผิดไปจากสภาวะปกติ เช่น หัวใจเต้นแรงและเร็ว เหงื่อออก มีการหลั่งฮอร์โมนแอดรีนาลิน ฯลฯ
103. ปรางเลือกอาหารเย็น เธอลังเลว่าจะเลือกอะไรดีระหว่างของชอบทั้งคู่ คือ ข้าวต้มและข้าวมันไก่
(1) อยากได้ทั้งคู่ (Approach-Approach Conflict)
(2) อยากหนีทั้งคู่ (Avoidance-Avoidance Conflict)
(3) อยากชนะทั้งคู่ (Overcome-Overcome Conflict)
(4) ทั้งรักทั้งชัง (Approach-Avoidance Conflict)
(5) ทั้งรักทั้งชังในตัวเลือกทั้งคู่ (Double Approach-Avoidance Conflict)
ตอบ 1 หน้า 361 – 364 ความขัดแย้งใจ (Conflict) มี 4 ประเภท คือ
1. อยากได้ทั้งคู่ (Approach-Approach Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ “รักพี่เสียดายน้อง” คือ ตัวเลือกทั้งสองเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาทั้งคู่ แต่หากเข้าใกล้ เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งแล้วจะทําให้อีกเป้าหมายหนึ่งลดความดึงดูดลงไปได้มาก
2. อยากหนีทั้งคู่ (Avoidance-Avoidance Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ “หนีเสือปะจระเข้” คือ เป็นความกดดันที่จะต้องเลือกตัวเลือกที่ไม่พึงปรารถนาทั้งคู่ ก่อให้เกิดพฤติกรรม “นิ่งเฉย ไม่ตัดสินใจ” เนื่องจากไม่กล้าตัดสินใจและทําอะไรไม่ถูก
3. ทั้งรักและชัง (Approach Avoidance Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ “กลืนไม่เข้าคายไม่ออก” คือ ตัวเลือกนั้นเป็นทั้งสิ่งที่ชอบและไม่ชอบในขณะเดียวกัน จึงทําให้เกิดความลังเลใจ เช่น อยากจะเปิดดูซีรีส์ที่ชอบ แต่ก็กลัวท่องหนังสือไม่ทัน ฯลฯ
4. ทั้งชอบและชังในตัวเลือกทั้งคู่ (Double Approach-Avoidance Conflicts) คือ ตัวเลือก ทั้ง 2 มีทั้งดีและไม่ดีในเวลาเดียวกัน เช่น ต้องเลือกระหว่างงานใหม่ 2 แห่ง แห่งแรกนั้นถูกใจ หมดทุกอย่างแต่เงินเดือนต่ํา แต่อีกแห่งไม่ถูกใจเลยแต่เงินเดือนสูง เราจะเลือกแห่งใด ฯลฯ
104. ภาวะที่ร่างกายและจิตใจเตรียมพร้อมรับมือต่อสถานการณ์ที่ฉุกเฉินหรือสิ่งเร้าที่จู่โจมเข้ามา เป็นความหมายของสิ่งใด
(1) ความหวั่นไหว
(2) ความกดดัน
(3) ความพยายาม
(4) ความเครียด
(5) ความคับข้องใจ
ตอบ 4 ความเครียด เป็นสภาวะที่บุคคลเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเป็นอันตราย ความเครียดมักมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพร่างกายของมนุษย์ เช่น มีโรคหลายชนิดที่มีสาเหตุมาจากความเครียด ดังนั้นการลดความเครียดจึงเป็นสิ่งจําเป็น ในชีวิตประจําวันของมนุษย์
105. ข้อใดไม่ใช่ระยะห่างระหว่างบุคคล
(1) ระยะสนิทสนม
(2) ระยะส่วนตัว
(3) ระยะใกล้ชิด
(4) ระยะสาธารณะ
(5) ระยะสังคม
ตอบ 3 หน้า 378 – 379 ระยะห่างระหว่างบุคคล แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ
1. ระยะสนิทสนม (Intimate Distance) 0 – 18 นิ้ว เป็นระยะใกล้ชิดที่มักใช้สื่อสารเฉพาะ กับคนพิเศษ เช่น ใช้ระหว่างคู่รัก คนในครอบครัว ฯลฯ
2. ระยะส่วนตัว (Personal Distance) 1 – 4 ฟุต เป็นระยะที่ใช้เมื่ออยู่กับอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อน ครูนั่งสอนนักเรียน ฯลฯ มักเอื้อมมือถึงกันได้ และใช้ระดับเสียงพูดปกติ
3. ระยะสังคม (Social Distance) 4 – 12 ฟุต เป็นระยะที่ใช้พูดคุยกันทางสังคมและธุรกิจ
4. ระยะสาธารณะ (Public Distance) 12 ฟุตขึ้นไป เป็นระยะที่เป็นทางการมากขึ้น เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ การฟังคําบรรยาย การหาเสียงเลือกตั้ง การแสดงคอนเสิร์ต ฯลฯ
106. นายเอเป็นหัวหน้างานได้ออกประกาศให้พนักงานมาร่วมทําบุญปีใหม่ของบริษัท หากใครมาจะได้รับโบนัสเพิ่มเติม เป็นการใช้อํานาจในข้อใด
(1) อํานาจตามกฎหมาย
(2) อํานาจในการให้รางวัล
(3) อํานาจตามความเชี่ยวชาญ
(4) อํานาจในการบังคับ
(5) อํานาจตามการอ้างอิง
ตอบ 2 หน้า 385 – 386 อํานาจ (Power) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในสังคม อํานาจทางสังคมมี 5 ประเภท คือ 1. อํานาจในการให้รางวัล คือ การให้รางวัลแก่บุคคลที่แสดงพฤติกรรมตามที่ปรารถนาได้ 2. อํานาจในการบังคับ โดยใช้การจําคุกและการปรับสินไหมเป็นเครื่องควบคุมพฤติกรรม 3. อํานาจตามกฎหมาย เกิดจากการยอมรับให้บุคคลเป็นตัวแทนของระเบียบทางสังคม 4. อํานาจตามการอ้างอิง เป็นอํานาจที่มาจากการที่บุคคลนั้นได้รับการเคารพนับถือ 5. อํานาจตามความเชี่ยวชาญ เป็นการยอมรับนับถือผู้ที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญ
107. ข้อใดต่อไปนี้เป็นกระบวนการคิดก่อนที่บุคคลจะทําการช่วยเหลือผู้อื่น
(1) ผู้ที่ต้องการการช่วยเหลือนั้นไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
(2) ได้รับการตอบแทนเมื่อช่วยเหลือ
(3) เป็นเหตุการณ์ที่คนส่วนใหญ่ให้การช่วยเหลือ
(4) บุคคลนั้นร้องขอให้ช่วยเหลือ
(5) เป็นสิ่งที่สังคมยอมรับ
ตอบ 1 หน้า 395 สาตาเน่และดาร์เลย์ กล่าวว่า ก่อนที่บุคคลจะลงมือให้ความช่วยเหลือผู้อื่นนั้น ต้องผ่านกระบวนการคิด 4 ขั้นตอน คือ
1. ต้องสังเกตเห็นบุคคลหรือเหตุการณ์ที่ต้องการการช่วยเหลือ
2. ต้องแปลความว่าเป็นเหตุการณ์ฉุกเฉิน
3. ต้องคิดว่าเป็นสิ่งที่ตนควรรับผิดชอบ
4. ต้องรู้วิธีการช่วยเหลือที่เหมาะสม
108. ระยะเมื่ออยู่กับเพื่อน มักเอื้อมมือถึงกันได้ เป็นระยะห่างระหว่างบุคคลในข้อใด
(1) ระยะสนิทสนม
(2) ระยะส่วนตัว
(3) ระยะใกล้ชิด
(4) ระยะสาธารณะ
(5) ระยะสังคม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 105. ประกอบ
109. ทฤษฎีใดกล่าวว่าการปรับตัวคือการเรียนรู้
(1) กลุ่มสติปัญญา
(2) กลุ่มจิตวิเคราะห์
(3) กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(4) กลุ่มมนุษยนิยม
(5) กลุ่มทฤษฎีเพื่อการอยู่รอด
ตอบ 3 หน้า 343 – 344 นักจิตวิทยาทั้งหลายมีทัศนะในเรื่องการปรับตัวต่างกัน ดังนี้
1. กลุ่มจิตวิเคราะห์ เชื่อว่า ผู้ที่ปรับตัวดีคือผู้ที่มีการพัฒนาอย่างสมดุลของอิด อีโก้ และซูเปอร์อีโก้
2. กลุ่มพฤติกรรมนิยม เชื่อว่า การปรับตัวที่ดีขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ที่ดีของแต่ละบุคคล
3. กลุ่มมนุษยนิยม เชื่อว่า การปรับตัวที่ดีคือการพัฒนาตนเองไปสู่ศักยภาพสูงสุดของตนเอง
4. กลุ่มทฤษฎีเพื่อการอยู่รอด เชื่อว่า การปรับตัวที่ดีคือการที่บุคคลสามารถดํารงชีวิตอยู่ได้ อย่างมีความสุข
110. น.ส.สุดสวย ยกมือกอดอกเมื่อเพื่อนผู้ชายเดินเข้ามาใกล้ ๆ เป็นการแสดงออกในเรื่องระยะห่างระหว่างบุคคล
ในข้อใด
(1) รู้สึกว่ากําลังถูกรุกล้ำพื้นที่ของตนเอง
(2) น.ส.สุดสวยเกิดความรู้สึกประหม่า
(3) รู้สึกเขินอาย
(4) เป็นปฏิกิริยาอัตโนมัติของบุคคล
(5) เป็นการส่งสัญญาณว่ากําลังให้ความสนใจ
ตอบ 1 หน้า 378 – 379 ระยะห่างระหว่างบุคคล หมายถึง อาณาเขตที่อยู่รอบ ๆ ตัวเราซึ่งมองไม่เห็น มีผลโดยตรงต่อการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพราะอาณาเขตนี้เราจะอนุญาตให้คนบางคนเข้ามา ใกล้เราในบางระยะและไม่ให้เข้าใกล้ในบางระยะได้ หรือหากถูกรุกล้ํา อาจมีการปกป้องด้วย วิธีการต่าง ๆ เช่น กอดอก หันข้างให้ ถอยจากจุดเดิม หรือเดินออกไปจากตรงนั้นเลย ฯลฯ
111. เปรี้ยวลังเลใจว่าจะเปิดซีรีส์ที่ชอบดูดีหรือไม่ แต่ก็กลัวท่องหนังสือไม่ทัน
(1) อยากได้ทั้งคู่ (Approach-Approach Conflict)
(2) อยากหนี้ทั้งคู่ (Avoidance-Avoidance Conflict)
(3) อยากชนะทั้งคู่ (Overcome-Overcome Conflict)
(4) ทั้งรักทั้งซัง (Approach Avoidance Conflict)
(5) ทั้งรักทั้งชังในตัวเลือกทั้งคู่ (Double Approach-Avoidance Conflict)
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 103. ประกอบ
112. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ “กลุ่ม”
(1) เป็นการรวมกันของคน 2 คนขึ้นไป และมีปฏิสัมพันธ์กัน
(2) ความสามัคคีในกลุ่มเป็นตัวชี้ให้เห็นระดับของอํานาจระหว่างกัน
(3) บรรทัดฐานของกลุ่มเป็นตัวกําหนดพฤติกรรมของคนในกลุ่ม
(4) กลุ่มทําให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
(5) กลุ่มมีอิทธิพลต่อความเชื่อ เจตคติ และพฤติกรรมของบุคคล
ตอบ 4 หน้า 377 – 378 กลุ่มประกอบด้วยคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ตามความหมาย
ของจิตวิทยา ประกอบด้วย
1. โครงสร้างของกลุ่ม หมายถึง การจัดระบบ บทบาท วิธีการสื่อสาร และอํานาจภายในกลุ่ม
2. ความสามัคคีในกลุ่ม จะเป็นตัวชี้ให้เห็นระดับของความดึงดูดใจระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม และเป็นพื้นฐานอํานาจต่าง ๆ ที่กลุ่มจะมีเหนือสมาชิก
3. ปทัสถานหรือบรรทัดฐานของกลุ่ม เป็นมาตรฐานของความประพฤติที่ชี้แนะหรือกําหนดพฤติกรรมของคนในกลุ่ม และมีอิทธิพลต่อเจตคติ/ความเชื่อและพฤติกรรมของบุคคล
113. ข้อใดคือความหมายของการปรับตัว
(1) ความพยายามรักษาสมดุลทางจิตใจ
(2) ความพยายามรักษาสมดุลทางการเรียนรู้
(3) ความพยายามรักษาสมดุลทางพฤติกรรม
(4) ความพยายามรักษาสมดุลทางความคิด
(5) ความพยายามรักษาสมดุลทางสิ่งแวดล้อม
ตอบ 1 หน้า 341 – 342, 313 การปรับตัว (Adjustment) เป็นกระบวนการที่บุคคลพยายามสร้าง ความสมดุลให้เกิดขึ้นทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อลดความเครียด ความวิตกกังวล และ เพื่อให้มีพลังไปสู่จุดมุ่งหมายของชีวิตต่อไป
114. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ปัจจัยที่ดึงดูดใจให้คนเป็นมิตรกัน
(1) ความสามารถ
(2) ความมีเสน่ห์ดึงดูดทางกาย
(3) ความไม่แสแสร้ง
(4) ความคล้ายคลึงกัน
(5) ความใกล้ชิดทางกาย
ตอบ 3 หน้า 380 – 381 ปัจจัยที่ดึงดูดใจให้คนเป็นมิตรกัน มีดังนี้
1. ความใกล้ชิดทางกาย
2. ความมีเสน่ห์ดึงดูดทางกาย
3. ความสามารถ
4. ความคล้ายคลึงกัน
115. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ปัจจัยในการเกลี้ยกล่อมให้บุคคลเปลี่ยนเจตคติได้
(1) ผู้รับสาร
(2) ช่องทางการสื่อสาร
(3) ข่าวสาร
(4) ผู้ส่งสาร
(5) ความรวดเร็วของการสื่อสาร
ตอบ 5 หน้า 390, (คําบรรยาย) การเกลี้ยกล่อมชักจูง (Persuasion) เป็นการพยายามเปลี่ยนเจตคติ โดยการให้ข้อมูล ซึ่งจะต้องพิจารณาหรือคํานึงถึงคุณสมบัติของผู้ส่งสาร (Communicator), ข่าวสาร (Message), ผู้รับสาร (Audience) และช่องทางการสื่อสาร (Channel)
116. ข้อใดเป็นสาเหตุของความเครียดด้านสิ่งแวดล้อมและมลพิษ
(1) อากาศ
(2) การสอบ
(3) เศรษฐกิจ
(4) รายได้
(5) นิสัยส่วนตัว
ตอบ 1 หน้า 347 – 348 สาเหตุของความเครียด มีดังนี้
1. สภาพแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอากาศ น้ำ ดิน รวมทั้งเสียง
2. สภาพเศรษฐกิจตกต่ำ มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย
3. สิ่งแวดล้อมทางสังคม เช่น การแข่งขันกันในการทํางาน การเรียน รวมไปถึงการสอบ
4. การใช้ชีวิตประจําวัน เช่น ชอบดื่มชาและกาแฟ ซึ่งมีสารที่กระตุ้นการเต้นของหัวใจ
5. อุปนิสัยส่วนตัว เช่น ชอบคิดว่าตัวเองต่ําต้อย สู้คนอื่นไม่ได้ ทําให้เกิดความหดหู่ใจ
117. ทฤษฎีใดกล่าวว่าการปรับตัวคือการพัฒนาตนเองไปจนสุดศักยภาพ
(1) กลุ่มสติปัญญา
(2) กลุ่มจิตวิเคราะห์
(3) กลุ่มทฤษฎีเพื่อการอยู่รอด
(4) กลุ่มมนุษยนิยม
(5) กลุ่มพฤติกรรมนิยม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 109. ประกอบ
118. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่สถานการณ์ที่อาจเกิดอิทธิพลในสังคม
(1) นายเอทะเลาะกับนายบีเรื่องการการลงทุนร่วมกัน
(2) นายเอกล่อมนายปีให้ไปเที่ยวเพราะเพื่อนในกลุ่มไปทุกคน
(3) นายเอสั่งให้นายบีทํางานให้เสร็จทันเวลา
(4) นายเอส่งจดหมายชวนเชื่อให้นายปีทุกวัน
(5) นายเอชี้แจงให้นายบีเห็นข้อดีข้อเสียของการลงทุน
ตอบ 5 หน้า 383 สถานการณ์ที่อาจทําให้เกิดอิทธิพลทางสังคมขึ้น มี 5 สถานการณ์ คือ
1. สถานการณ์การเสนอแนะ เป็นสถานการณ์ที่มีการสื่อสารซ้ำ ๆ โดยปราศจากการอธิบาย
2. สถานการณ์การคล้อยตาม เป็นสถานการณ์ซึ่งมีการสื่อสารที่แตกต่างกันระหว่างบุคคลกับ พฤติกรรมของกลุ่ม ปทัสถานของกลุ่ม หรือค่านิยมของกลุ่ม
3. การอภิปรายกลุ่ม เป็นสถานการณ์ที่มีการโต้แย้งเกิดขึ้น
4. สารชักจูง เป็นสารหรือข้อความที่ได้มีการพิจารณาและขัดเกลาคําพูดมาเป็นอย่างดีแล้ว
5. การยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น (การล้างสมอง) เป็นสถานการณ์ที่ใช้ทั้ง 4 ลักษณะข้างต้นพร้อมกัน
119. ทฤษฎีใดกล่าวว่าการปรับตัวคือการแสดงความเด็ดเดี่ยวในการตัดสินใจ
(1) กลุ่มทฤษฎีเพื่อการอยู่รอด
(2) กลุ่มจิตวิเคราะห์
(3) กลุ่มสติปัญญา
(4) กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(5) กลุ่มมนุษยนิยม
ตอบ 1 หน้า 344 กลุ่มนักทฤษฎีเพื่อการอยู่รอด (Existentialist) มองว่า มนุษย์มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ ดังนั้น มนุษย์จึงต้องรับผิดชอบในการกระทําทุกอย่างของตนเอง ไม่ควรโทษผู้อื่น และเชื่อว่า ใครก็ตามที่ก้าวพ้นออกมาจากความกลัวต่าง ๆ และสามารถแสดงความเด็ดเดี่ยวในการตัดสินใจ ในชีวิตของเขาเอง รับผิดชอบต่อชีวิตที่เขาเป็นผู้เลือก ยืนหยัดอยู่กับความเชื่อและเผชิญกับ ความเป็นจริงแห่งชีวิตได้ เขาเหล่านี้จะพบความหมายที่แท้จริงของชีวิตและเป็นผู้ที่ปรับตัวได้
120. ข้อใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนเจคติของบุคคล
(1) สมาชิกภายในกลุ่ม
(2) การอบรมเลี้ยงดู
(3) ประสบการณ์
(4) สื่อมวลชน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 389 สาเหตุของการเกิดเจตคติ ได้แก่ การมีประสบการณ์ตรง การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ที่มีเจตคติเหมือนกัน การอบรมเลี้ยงดู อิทธิพลของสมาชิกกลุ่ม และสื่อมวลชน