การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา PSY 1001 จิตวิทยาทั่วไป
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1.ข้อใดเป็นขีดจํากัดที่ไม่สามารถนําวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางจิตวิทยาได้ทุกเรื่อง
(1) ขาดห้องทดลองทางจิตวิทยา
(2) ขาดเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
(3) เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มีราคาแพง
(4) เนื่องจากขัดต่อหลักศีลธรรมและมนุษยธรรม
(5) ถูกหมดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 5 ขีดจํากัดที่ไม่สามารถนําวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางจิตวิทยาได้ทุกเรื่อง คือ
1. เนื่องจากขัดต่อหลักศีลธรรมและมนุษยธรรม ทําให้มีขีดจํากัดในการปฏิบัติเชิงทดลอง
2. ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับสัตว์ทดลองที่ว่าสัตว์มีความคิด ความรู้สึก และแรงจูงใจเช่นเดียวกับ มนุษย์ ทําให้มีขีดจํากัดในการนําสัตว์มาทําการทดลอง
2. การหาคําตอบของคําถามที่ว่า “มีรถเสียอยู่กลางถนน แต่บุคคลที่ยืนอยู่บนฟุตบาทกลับเพิกเฉยไม่ได้ให้ ความช่วยเหลือ” สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายทางจิตวิทยาข้อใด
(1) ศึกษา
(2) อธิบาย
(3) ทําความเข้าใจ
(4) ทํานาย
(5) ควบคุม
ตอบ 3 หน้า 5 – 7, (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายของการศึกษาทางจิตวิทยา มี 4 ประการ ได้แก่
1. หาคําอธิบาย เช่น จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อมีอุบัติเหตุหรือมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นบนถนน ฯลฯ
2. ทําความเข้าใจ เช่น การหาคําตอบของคําถามที่ว่าทําไมหรือเพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น ฯลฯ
3. ทํานาย (พยากรณ์) เช่น มีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่ผู้ประสบเหตุจะได้รับความช่วยเหลือ ฯลฯ
4. ควบคุมพฤติกรรม เช่น เมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นบนถนนแล้วมีบุคคลถ่ายคลิปเก็บไว้ ฯลฯ
ข้อ 3. – 5. จงตอบคําถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) พฤติกรรมนิยม
(2) หน้าที่ของจิต
(3) จิตวิเคราะห์
(4) โครงสร้างของจิต
(5) จิตวิทยาคอกนิทิฟ
3.แนวคิดใดเน้นเรื่องการตอบสนองแบบมีเงื่อนไข
ตอบ 1 หน้า 10 วัตสัน (Watson) นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) กล่าวว่า จิตวิทยาที่แท้จริงคือการศึกษาพฤติกรรม ไม่ใช่ศึกษาเฉพาะจิตสํานึก ดังนั้นเขาจึงปฏิเสธ เรื่องจิตโดยสิ้นเชิง และรับแนวความคิดเรื่องการตอบสนองแบบมีเงื่อนไข โดยเน้นสังเกตดู พฤติกรรมการตอบสนองแล้วบันทึกซึ่งจะทําให้ได้หลักฐานที่เป็นวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง
4. แนวคิดใดกล่าวว่าจิตมนุษย์เหมือนก้อนน้ําแข็ง ส่วนที่กว้างใหญ่คือส่วนที่จมอยู่ใต้น้ําเป็นส่วนที่อยู่ใต้สํานึก เป็นความปรารถนาที่ซ่อนเร้นแม้แต่เจ้าตัวก็ไม่สามารถล่วงรู้ได้
ตอบ 3 หน้า 11 ฟรอยด์ (Freud) นักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ได้อธิบายว่า บุคลิกภาพของบุคคลพัฒนามาจากแรงจูงใจไร้สํานึก และความผิดปกติของบุคลิกภาพเกิดจากการเก็บกดในวัยเด็ก โดยพบว่าจิตมนุษย์เหมือนก้อนน้ําแข็งที่มีเพียงส่วนน้อยที่ลอยอยู่เหนือน้ํา แต่ส่วนที่กว้างใหญ่คือส่วนที่จมอยู่ใต้น้ํา เป็นส่วนที่อยู่ใต้สํานึก เป็นความปรารถนาที่ซ่อนเร้น แม้แต่เจ้าตัวก็ไม่สามารถล่วงรู้ได้ แต่ทว่ามีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมของบุคคลนั้น
5.แนวคิดใดที่สนใจศึกษาการคิด จิตสํานึก การแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการภายในจิต ตอบ 5หน้า 12, (คําบรรยาย) กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทิฟ (Cognitive Psychology) สนใจศึกษาเกี่ยวกับ ความสามารถทางปัญญา ความรู้ การคิด การใช้ภาษา การแก้ปัญหา จิตสํานึก ความคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการภายในจิต ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันนี้กลุ่มต่าง ๆ ทางจิตวิทยาได้สลายตัวไปและมีการ รวมความคิดของแต่ละกลุ่มเข้าด้วยกัน ทั้งนี้พวกพฤติกรรมนิยมขนานแท้ก็ยังยอมรับแนวคิด พวกคอกนิทิฟเข้ามาแล้วเรียกว่า จิตวิทยาพฤติกรรมทางพุทธิปัญญา (Cognitive Behaviorism)
ข้อ 6. – 8. จงตอบคําถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) การสังเกต
(2) การสํารวจ
(3) การทดลอง
(4) การทดสอบทางจิตวิทยา
(5) การศึกษาประวัติรายกรณี
6.วิธีใดที่ใช้ศึกษาประชามติเกี่ยวกับการร่างพระราชบัญญัติ
ตอบ 2 หน้า 14 การสํารวจ (Survey) เป็นวิธีการศึกษาลักษณะบางลักษณะจากกลุ่มตัวอย่างบางกลุ่ม ที่ถูกเลือกให้เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมดที่ต้องการศึกษา โดยการออกแบบสอบถามหรือ โดยการสัมภาษณ์และนําคําตอบที่ได้ไปประมวลผลด้วยวิธีการทางสถิติ ซึ่งวิธีการสํารวจนี้ เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น การสํารวจประชามติเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เป็นต้น
7.วิธีใดที่ใช้ศึกษาพฤติกรรมที่บุคคลพยายามปกปิดซ่อนเร้นไว้จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม
ตอบ 4 หน้า 14 การทดสอบทางจิตวิทยา (Psychological Testing) เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดลักษณะ พฤติกรรมที่แอบแฝงอยู่ภายในตัวบุคคลซึ่งเป็นสิ่งที่บุคคลพยายามปกปิดซ่อนเร้นไว้จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม เช่น การศึกษาความสามารถทางสติปัญญาของเด็กที่มีความบกพร่องทาง การเรียนรู้ การวัดความถนัดและความสนใจ การตรวจลักษณะของบุคลิกภาพและอารมณ์ ฯลฯ
8.วิธีใดที่เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริง โดยการเฝ้ามองปรากฏการณ์ตามที่เป็นจริง แล้วบันทึกรายละเอียดไว้ ตอบ 1 หน้า 13 การสังเกต (Observation) เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงโดยการเฝ้ามองปรากฏการณ์ หรือสถานการณ์ตามที่เป็นจริง โดยที่ผู้ถูกสังเกตไม่รู้ตัว แล้วบันทึกรายละเอียดไว้ ซึ่งวิธีนี้จะ เป็นวิธีที่ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของคนในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติมากที่สุด
ข้อ 9. – 10. จงตอบคําถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) นักจิตวิทยาอุตสาหกรรม
(2) นักจิตวิทยาผู้บริโภค
(3) นักจิตวิทยาสังคม
(4) นักจิตวิทยาวิศวกรรม
(5) นักจิตวิทยาการทดลอง
9. ใครทําหน้าที่วิจัยและออกแบบเครื่องจักร เครื่องควบคุม และรถยนต์
ตอบ 4 หน้า 17 นักจิตวิทยาวิศวกรรม จะทําหน้าที่วิจัยประยุกต์ในด้านการออกแบบเครื่องจักร เครื่องควบคุม เครื่องบิน เครื่องยนต์ ฯลฯ เพื่อธุรกิจในวงการอุตสาหกรรมและวงการทหาร
10. ใครทําหน้าที่วิจัยและทดสอบเรื่องบรรจุภัณฑ์และการโฆษณา
ตอบ 2 หน้า 16 นักจิตวิทยาผู้บริโภค จะทําหน้าที่วิจัยและทดสอบเรื่องบรรจุภัณฑ์และการโฆษณา การวิจัยตลาด เพื่อศึกษาอุปนิสัยของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ และการสํารวจประชามติเกี่ยวกับสินค้า
11. พฤติกรรมการเรียนรู้ การรับรู้ บุคลิกภาพเป็นผลมาจากการทํางานของระบบประสาท เป็นการศึกษา
เกี่ยวกับเรื่องใด
(1) สรีรจิตวิทยา
(2) พันธุศาสตร์
(3) ประสาทวิทยา
(4) จิตวิทยา
(5) เซลล์วิทยา
ตอบ 1 หน้า 25, 27, (คําบรรยาย) สรีรจิตวิทยา (Physiological Psychology) เป็นการศึกษาค้นหา ความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่การทํางานของระบบต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเกิดพฤติกรรมที่สมดุล และอยู่รอดของชีวิต โดยเน้นศึกษาเกี่ยวกับการทํางานของสมอง ระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ เชื่อว่าพฤติกรรมการเรียนรู้ การรับรู้ และบุคลิกภาพเป็นผลมาจากการทํางานของระบบประสาท และเชื่อว่าการเคลื่อนไหว อารมณ์ และการคิด เกิดจากการนําส่งกระแสประสาทไปทั่วร่างกาย
12. สมองและไขสันหลังควบคุมการทํางานของกล้ามเนื้อชนิดใด
(1) กล้ามเนื้อลาย
(2) กล้ามเนื้อเรียบ
(3) กล้ามเนื้อหัวใจ
(4) กระเพาะอาหาร
(5) กะบังลม
ตอบ 1 หน้า 30, 32, 52 ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System) จะทําหน้าที่ในการทําให้ร่างกาย เคลื่อนไหว ประกอบด้วย 1. กล้ามเนื้อลาย โดยจะทํางานอยู่ภายใต้อํานาจจิตใจ กล่าวคือ อยู่ภายใต้การบังคับควบคุมของระบบประสาทส่วนกลาง อันได้แก่ สมองและไขสันหลัง 2. กล้ามเนื้อเรียบ เช่น กระเพาะอาหาร กะบังลม ฯลฯ โดยจะทํางานอยู่นอกอํานาจจิตใจ 3. กล้ามเนื้อหัวใจ โดยจะทํางานอยู่นอกอํานาจจิตใจ
13. ระบบประสาทส่วนใดที่เกี่ยวข้องกับการเกิดความรู้สึกร้อน-เย็น
(1) ระบบประสาทส่วนกลาง
(2) ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก
(3) ระบบประสาทซิมพาเธติก
(4) ระบบประสาทโซมาติก
(5) ระบบประสาทอัตโนมัติ
ตอบ 4 หน้า 34 ระบบประสาทโซมาติก (Somatic Nervous System) ประกอบด้วย เส้นประสาท สมองจํานวน 12 คู่ และเส้นประสาทไขสันหลังจํานวน 31 คู่ โดยเส้นประสาทเหล่านี้จะรับ การกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายนอกผ่านผิวหนัง กล้ามเนื้อ และข้อต่าง ๆ เข้าสู่ไขสันหลังและสมอง ทําให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ เช่น ร้อน เย็น เจ็บ ปวด เป็นต้น
14. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเซลล์ประสาทนิวโรน
(1) ทําหน้าที่รับและส่งกระแสประสาท
(2) เป็นหน่วยการทํางานพื้นฐานของระบบประสาทที่เล็กที่สุด
(3) หากได้รับความเสียหายจะไม่สามารถสร้างเซลล์ขึ้นมาใหม่ได้
(4) เซลล์ประสาทแต่ละชนิดจะมีตัวเซลล์เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย
(5) มีการเพิ่มจํานวนได้อย่างรวดเร็วในขณะที่ตัวอ่อนยังอยู่ในครรภ์
ตอบ 3 หน้า 37 เซลล์ประสาทนิวโรน (Neuron) เป็นเซลล์ที่ทําหน้าที่รับและส่งกระแสประสาทที่ ใช้ควบคุมการทํางานซึ่งกันและกัน เป็นหน่วยพื้นฐานการทํางานที่เล็กที่สุดของระบบประสาทมีการเพิ่มจํานวนได้อย่างรวดเร็วในขณะที่ตัวอ่อนยังอยู่ในครรภ์ และจะหยุดเพิ่มจํานวนหลัง คลอดแล้ว ถ้าเซลล์ประสาทชํารุดจะสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ แต่ถ้าเซลล์ประสาทตายไปจะ ไม่เกิดเซลล์ประสาทใหม่อีก เซลล์ประสาทแต่ละชนิดจะมีส่วนประกอบที่คล้ายคลึงกันทุกเซลล์
15. สารสื่อประสาทชนิดใดที่ถูกสังเคราะห์โดยปลายประสาทซิมพาเธติก
(1) อะซีทิลโคลีน
(2) ซีโรโทนิน
(3) โดปามาย
(4) กาบา
(5) นอร์อีพิเนฟฟริน
ตอบ 5 หน้า 39 นอร์อิพิเนฟฟริน (Norepinephrin) เป็นสารสื่อประสาทชนิดที่ถูกสังเคราะห์โดย ปลายประสาทซิมพาเธติก มีผลต่อเซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ ตรงกันข้ามกับผลของอะซีทิลโคลีน ที่ผลิตที่ปลายประสาทพาราซิมพาเธติก
16. สมองส่วนใดควบคุมการทํางานของกล้ามเนื้อเรียบ
(1) ก้านสมอง
(2) ไขสันหลัง
(3) ซีรีเบลลัม
(4) ซีรีบรัม
(5) สมองส่วนกลาง
ตอบ 3 หน้า 43 ซีรีเบลลัม (Cerebellum) เป็นส่วนหนึ่งของสมองส่วนท้าย โดยจะทําหน้าที่ควบคุม การทํางานของกล้ามเนื้อเรียบและอวัยวะภายใน ควบคุมการทํางานของเซลล์ประสาทในไขสันหลัง ทําให้การทรงตัวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถ้าซีรีเบลลัมถูกทําลายจะทําให้เสียการทรงตัว ฯลฯ
17. การทํางานของระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทอัตโนมัติอยู่ภายใต้การทํางานของสมองส่วนใด
(1) ไฮโปธาลามัส
(2) ธาลามัส
(3) ลิมบิก
(4) ซีรีบรัม
(5) ซีรีเบลลัม
ตอบ 1 หน้า 42, 53, (คําบรรยาย) ไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) เป็นส่วนของสมองที่มีขนาดเล็ก แต่ทํางานมีอิทธิพลมาก โดยจะทําหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเพื่อให้เกิดความสมดุลภายในร่างกาย ควบคุมการหลับ การตื่น ความหิว ความกระหาย ความดันโลหิต การสืบพันธุ์ อุณหภูมิในร่างกาย การทํางานของระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทอัตโนมัติ
18. ฮอร์โมนชนิดใดที่กระตุ้นการให้ร่างกายเกิดการเจริญเติบโตและกระตุ้นต่อมน้ํานม
(1) คอร์ติซอล
(2) เทสเทอสโตโรน
(3) โปรเจสเตอโรน
(4) โกร๊ธฮอร์โมน
(5) อินซูลิน
ตอบ 4 หน้า 45 โกร๊ธฮอร์โมน (Growth Hormone) เป็นกลุ่มของฮอร์โมนที่ทําหน้าที่กระตุ้นการ
เจริญเติบโตของร่างกายและกระตุ้นต่อมนํ้านม
19. ฮอร์โมนคอร์ติซอล มีแหล่งกําเนิดมาจากที่ใด
(1) ต่อมแพนเครียส
(2) ต่อมใต้สมอง
(3) ต่อมหมวกไต
(4) ต่อมไทรอยด์
(5) ต่อมไทมัส
ตอบ 3 หน้า 48 ต่อมหมวกไต (Adrenal Gland) จะทําหน้าที่สร้างฮอร์โมนสําคัญ 4 ชนิด ได้แก่ อัลโดสเตอโรน (Aldosterone), คอร์ติซอล (Cortisol), แอดรีนาลิน (Adrenalin) และนอร์แอดรีนาลิน (Nor-drenalin)
20.การแปลความหมายจากสิ่งที่มากระทบอวัยวะร่างกายเรียกว่าอะไร
(1) การสัมผัส
(2) การจําได้
(3) การเรียนรู้
(4) การรับรู้
(5) ประสบการณ์
ตอบ 4 หน้า 57, 60 การรับรู้ คือ กระบวนการแปลความหมายของสิ่งเร้าที่มากระทบอวัยวะสัมผัสหรือ ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งการแปลความหมายของสิ่งที่รับรู้นี้จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ในอดีต การเรียนรู้ และสภาพจิตใจในปัจจุบัน ตลอดจนการจัดรูปแบบของสิ่งเร้านั้น ๆ
21. โคนส์เป็นเซลล์ประสาทที่มีหน้าที่ใด
(1) เป็นเซลล์รับแสงในเวลากลางวัน
(2) เป็นเซลล์รับแสงในเวลากลางคืน
(3) เป็นเซลล์รับแสงจ้ามาก
(4) เป็นเซลล์รับแสงสลัว ๆ
(5) เป็นเซลล์รับแสงสีเข้ม
ตอบ 1 หน้า 61 ที่ผนังของเรตินา (Retina) จะมีเซลล์ประสาทอยู่ 2 ชนิด คือ
1. รอดส์ (Rods) เป็นเซลล์ที่ไวต่อแสงขาวดํา จึงเป็นเซลล์รับแสงในเวลากลางคืน
2. โคนส์ (Cones) เป็นเซลล์ที่ไวต่อแสงที่เป็นสี ช่วยทําให้รับภาพสีได้ดี จึงเป็นเซลล์รับแสง ในเวลากลางวัน ดังนั้นคนตาบอดสีจึงไม่มีโคนส์อยู่ที่บริเวณเรตินา
22. หน่วยวัดความแรงของคลื่นเสียงคือข้อใด
(1) กิโลเมตร
(2) เดซิเบล
(3) แอพิจูด
(4) เมกกะ
(5) เฮิรตซ์
ตอบ 2 หน้า 65 ความแรงของคลื่นเสียงมักวัดด้วยมาตราที่เรียกว่า “เดซิเบล” (Decibles : db) ซึ่งความดังของเสียงจะสูงขึ้นตามจํานวนเดซิเบลที่เพิ่มขึ้น ยิ่งเสียงมีความสูงของ db มากเท่าไร ก็ยิ่งทําอันตรายแก่ผู้ฟังได้มากเท่านั้น โดยเสียงกระซิบจะมีระดับความดังประมาณ 20 db เสียงคุยปกติประมาณ 60 db และเสียงที่ดังเกิน 80 db จะเป็นอันตรายแก่หูถ้าฟังนาน ๆ
23. ทฤษฎีคุมด่านเชื่อว่าอวัยวะใดเป็นที่รวมประสาททั้งหมดที่ส่งไปยังสมอง
(1) หัวใจ
(2) กะโหลก
(3) ไขสันหลัง
(4) ท้ายทอย
(5) กระเพาะอาหาร
ตอบ 3 หน้า 67 ทฤษฎีคุมด่าน (Gate Control Theory) เป็นทฤษฎีการเจ็บปวดที่เชื่อว่า ไขสันหลัง เป็นที่รวมของประสาทใหญ่น้อยที่จะส่งไปยังสมองและที่มาจากกล้ามเนื้อและผิวหนังอื่น ๆ ของร่างกาย ซึ่งหากบุคคลมีอาการกลัวความเจ็บปวดในสมอง จะทําให้เกิดกระแสประสาท ไปเร้าด่านที่ไขสันหลังทําให้ท่านเปิดและส่งกระแสที่เจ็บปวดไปยังสมองได้
24. หากสัมผัสคีเนสเตซีสเสีย จะเกิดอะไรขึ้น
(1) ไม่รับรู้อุณหภูมิจากภายนอก
(2) การทรงตัวทําได้ลําบาก
(3) ไม่สามารถระงับความเจ็บปวดได้
(4) มีอาการเวียนหัวตลอดเวลา
(5) กล้ามเนื้อกระตุกตลอดเวลา
ตอบ 2 หน้า 67 – 68 สัมผัสคีเนสเตซีส (Kinesthesis Sense) จะทํางานร่วมกับเครื่องรับสัมผัส เกี่ยวกับการทรงตัวที่มีอวัยวะรับสัมผัสอยู่ในหูตอนในและประสาทรับสัมผัสที่ตา เพื่อช่วยให้ ร่างกายทั้งหมดทรงตัวอยู่ได้ตามปกติ หากสัมผัสคีเนสเตซีสเสีย การทรงตัวจะทําได้ลําบาก
25. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเรื่องความลึกและระยะทางคืออะไร
(1) เขาวงกต
(2) กล่องอาหาร
(3) หน้าผามายา
(4) บ่อน้ําจําลอง
(5) ภูเขาจําลอง
ตอบ 3 หน้า 72 ผู้ที่สนใจศึกษาทดลองในเรื่องเกี่ยวกับการรับรู้ความลึกและระยะทาง คือ กิ๊บสัน และวอล์ก (Gibson and Walk) ซึ่งเขาได้ทดลองโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “หน้าผามายา” (Visual Cliff) พบว่า เมื่อเด็กทารกคลานไปถึงกึ่งกลางโต๊ะที่เป็นรอยต่อระหว่างกระจกโปร่งใส กับพื้นที่ทาสีตาหมากรุก (ทําให้แลเห็นเป็นพื้นที่ 2 ระดับที่มีความสูงต่ําต่างกัน) เด็กจะไม่กล้า คลานออกไป แสดงว่าการรับรู้ความลึกเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเรียนรู้
26. หากว่าเราชูหนังสือให้เพื่อนดู เพื่อนเราเห็นแค่สันหนังสือเท่านั้น แต่ก็บอกได้ว่าเป็นหนังสือ
(1) การคงที่ของสี
(2) การคงที่ของขนาด
(3) การคงที่ของรูปร่าง
(4) การคงที่ของรูปแบบ
(5) การคงที่ของน้ำหนัก
ตอบ 3หน้า 71 – 72 ปรากฏการณ์คงที่ (Constancy) ในเรื่องการรับรู้และการเห็น มี 3 ชนิด คือ
1. การคงที่ของสี เช่น รถที่จอดอยู่ในที่มืดสลัวก็สามารถรับรู้หรือมองเห็นสีที่แท้จริงของรถได้
2. การคงที่ของขนาด เช่น ยืนอยู่บนตึกสูงแล้วมองลงมาด้านล่างก็สามารถรับรู้ขนาดของวัตถุได้
3. การคงที่ของรูปร่าง เช่น การเห็นแค่สันหนังสือเราก็ยังรับรู้ได้ว่าเป็นหนังสือไม่เปลี่ยนแปลง
27. ข้อใดคือการล่วงรู้เหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง
(1) Telepathy
(2) Clairvoyance
(3) Precognition
(4) Extrasensory
(5) Perception
ตอบ 3 หน้า 79 ปรากฏการณ์อภิธรรมดา (Extrasensory Perception : ESP) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. โทรจิต (Telepathy) เป็นการล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นได้โดยไม่ต้องพูดคุยกับผู้นั้น
2. ประสาททิพย์ (Clairvoyance) เป็นการล่วงรู้โดยไม่ต้องพึ่งประสาทสัมผัส
3. การรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า (Precognition) เป็นการล่วงรู้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง
28. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของความเป็นภาพและพื้นตามแนวคิดของนักจิตวิทยาสกุลเกสตัลท์
(1) ภาพเป็นสิ่งเด่นที่ตาสัมผัส
(2) ภาพไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน
(3) ภาพสองนัย
(4) พื้นเป็นสิ่งที่อยู่ด้านหลังไม่ได้รับความสนใจ
(5) ถ้าความสนใจเปลี่ยนจุดอื่นจะกลายเป็นภาพได้
ตอบ 2 หน้า 74 – 75 คุณลักษณะของความเป็นภาพและพื้นตามแนวความคิดของนักจิตวิทยาสกุล – เกสตัลท์ (Gestalt) คือ ภาพเป็นสิ่งเด่นที่ตาสัมผัส ลอยออกมาจากพื้น มีรูปร่างชัดเจนและมี ขอบเขตแน่นอน ส่วนพื้นเป็นสิ่งที่อยู่ด้านหลังภาพ ไม่มีขอบเขตจํากัด ถ้าความสนใจเปลี่ยนไป จุดอื่นก็จะกลายเป็นภาพได้ (ภาพสองนัยเป็นภาพที่มองเห็นสลับกันได้ทั้งภาพและพื้น)
29. ข้อใดหมายถึงอาการของ “Jet Lag
(1) นอนไม่เพียงพอเพราะทํางานหนัก
(3) อาการกรนขณะหลับ
(2) นอนไม่หลับไม่คุ้นชินกับสถานที่
(4) แบบแผนการนอนถูกรบกวน
(5) ขณะหลับมีอาการหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ
ตอบ 4 หน้า 92 นักเดินทางที่ต้องขึ้นเครื่องบินเดินทางข้ามทวีปจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง มักจะเกิดสภาวะที่เรียกว่า Jet Lag คือ ต้องปรับตัวกับเวลาของประเทศที่เดินทางไปถึงใหม่ เนื่องจากแบบแผนการนอนตามธรรมชาติถูกรบกวน
30. ระยะการนอนหลับใดที่เกิดปฏิกิริยาสะท้อนของกล้ามเนื้อ
(1) ระยะที่ 1
(2) ระยะที่ 2
(3) ระยะที่ 3
(4) ระยะที่ 4
(5) ระยะที่ 5
ตอน 1 หน้า 93 ระยะที่ 1 ของการนอนหลับ เป็นระยะต้นของการที่บุคคลเพิ่งหลับ หัวใจจะเต้นช้าลง กล้ามเนื้อทุกส่วนเริ่มผ่อนคลาย บางครั้งอาจมีปฏิกิริยาสะท้อนของกล้ามเนื้อ เช่น มีการกระตุก เล็กน้อยคล้ายสะดุ้ง คลื่นสมองจะมีลักษณะสั้น ไม่สม่ําเสมอ คลื่นแอลฟาจะมีบ้างประปราย
31. โดยปกติมนุษย์ฝันในแต่ละคืนประมาณกี่ครั้งและมีความยาวเท่าใด
(1) 1 – 2 ครั้ง ๆ ละ 15 นาที
(2) 1 – 2 ครั้ง ๆ ละ 25 นาที
(3) 3 – 4 ครั้ง ๆ ละ 5 นาที
(4) 4 – 5 ครั้ง ๆ ละ 25 นาที
(5) 6 – 7 ครั้ง ๆ ละ 10 นาที
ตอบ 4หน้า 95 ในบางช่วงของการนอนหลับ ลูกตาของผู้นอนจะมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว (Rapid Eye Movements : REM) ทั้ง ๆ ที่ยังหลับอยู่ โดยช่วงที่มี REM เกิดขึ้นนี้เอง เป็นช่วง ที่บุคคลกําลังฝัน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่บุคคลนอนหลับในระยะที่หนึ่ง (หลังผ่านช่วงที่สี่ไปแล้ว และวกกลับมาระยะที่หนึ่งใหม่) โดยทั่วไปคนเราจําเป็นต้องนอนหลับและฝันทุกคืน แต่ละคืน จะฝันประมาณ 4 – 5 ครั้ง ครั้งหนึ่งจะฝันยาวประมาณ 25 นาที
32.กาแฟ เป็นยาเสพติดประเภทใด
(1) กดประสาท
(2) กระตุ้นประสาท
(3) หลอนประสาท
(4) คลายประสาท
(5) ออกฤทธิ์ผสมผสาน
ตอบ 2หน้า 106 – 110 ยาเสพติดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ และทุกกลุ่มสามารถออกฤทธิ์ ต่อระบบประสาทส่วนกลางได้ทั้งสิ้น คือ
1. ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาท ยานอนหลับ สารระเหย (ทินเนอร์) และเครื่องดื่มมึนเมาหรือแอลกอฮอล์ ฯลฯ
2. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน (ยาบ้า) กระท่อม โคเคอีน บุหรี่ นิโคติน กาแฟ คาเฟอีน และยาแก้ปวด ฯลฯ
3. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มที และเห็ดขี้ควาย ฯลฯ
4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน ได้แก่ กัญชา
33. ข้อใดไม่ใช่สภาวะของร่างกายในการฝึกสมาธิจากการทดลองของวอลเลสและเบนสัน
(1) อัตราการเผาผลาญในร่างกายมากขึ้น
(2) มีการหายใจเข้าออกช้าลง
(3) ร่างกายใช้ออกซิเจนน้อยลง
(4) การถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง
(5) ปริมาณสารแลคเทคในเลือดลดลง
ตอบ 1 หน้า 112 วอลเลสและเบนสัน (Wallace & Benson) ได้ทําการศึกษาสภาวะของร่างกาย ในการฝึกสมาธิ พบว่าการนั่งสมาธิมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาอย่างเห็นได้ชัด เช่น อัตราการเผาผลาญในร่างกายลดลง มีการหายใจเข้าออกช้าลง ร่างกายใช้ออกซิเจนน้อยลง การถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง และปริมาณสารแลคเทต (Lactate) ในเลือดลดลง
34. กัญชา เป็นยาเสพติดประเภทใด
(1) กดประสาท
(2) กระตุ้นประสาท
(3) หลอนประสาท
(4) คลายประสาท
(5) ออกฤทธิ์ผสมผสาน
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ
35. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของ “ฝาแฝดคล้าย” (Fraternal Twins)
(1) มีโครโมโซมเหมือนกัน
(2) ฝาแฝดอาจคลอดออกมาแล้วมีเพศที่แตกต่างกัน
(3) เกิดจากสเปิร์ม (Sperm) 2 ตัว
(4) มีกระบวนการแบ่งตัวแบบเป็นอิสระออกจากกัน
(5) เกิดจากการตกไข่ (Egg) 2 ใบ
ตอบ 1 หน้า 125, (คําบรรยาย) ฝาแฝด (Twins) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. ฝาแฝดเหมือนแฝดแท้ (Identical Twins) เกิดจากไข่ (Egg) 1 ใบ ผสมกับอสุจิหรือสเปิร์ม (Sperm) 1 ตัว แล้วเซลล์เกิดการแบ่งตัวเป็นตัวอ่อน 2 ตัว (เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ปฏิสนธิ ผิดพลาด) ฝาแฝดเหมือนจึงเป็นเพศเดียวกัน โดยมียีนส์และโครโมโซมเหมือนกันทุกประการ
2. ฝาแฝดคล้าย/แฝดเทียม (Fraternal Twins) เกิดจากไข่มากกว่า 1 ใบ ผสมกับอสุจิหรือสเปิร์ม มากกว่า 1 ตัว เซลล์แบ่งตัวเป็นอิสระจากกัน (เกิดเซลล์ปฏิสนธิพร้อมกันมากกว่า 1 เซลล์) ฝาแฝดคล้ายจึงอาจมีเพศเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ (เหมือนกับพี่น้องท้องเดียวกัน) โดยอาจ มียีนส์และโครโมโซมเหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้
36. ข้อใดเกี่ยวข้องกับข้อความต่อไปนี้ “บุคคลที่มีโครโมโซมเป็น XXY”
(1) Endomorphy
(2) Ectomorphy
(3) Turner’s Syndrome
(4) Mesomorphy
(5) Klinefelter’s Syndrome
ตอบ 5 หน้า 128 บุคคลที่เกิดการผิดปกติในการถ่ายทอดโครโมโซมเพศ ทําให้มีเกินหรือขาดไปจากปกติ เช่น มีโครโมโซมเพศเป็น XXY จะเกิดเป็นอาการของโรคที่เรียกว่า Klinefelter’s Syndrome ซึ่งเกิดในเพศชาย จะทําให้กลายเป็นชายที่มีลักษณะของเพศหญิง กล่าวคือ มีหน้าอกใหญ่ และ อวัยวะเพศชายไม่ทํางาน เนื่องจากต่อมฮอร์โมนผลิตฮอร์โมนไม่เพียงพอ หรืออาจจะกลายเป็น โรคปัญญาอ่อนชนิดที่เรียกว่า Mongolism ได้
37.แนวคิดของเซลดอน (Sheldon) กล่าวว่า บุคคลที่มีนิสัยร่าเริง อารมณ์ดี สนุกสนาน ชอบกิน ๆ นอน ๆ คือ
(1) Endomorphy
(2) Mesomorphy
(3) Exsomorphy
(4) Suprememorphy
(5) Stablemorphy
ตอบ 1 หน้า 129, 295 เชลดอน (Sheldon) เป็นผู้เสนอว่าการที่บุคคลมีลักษณะรูปร่างหน้าตาที่ แตกต่างกันจะส่งผลต่ออารมณ์ของบุคคลได้ โดยแบ่งรูปร่างของบุคคลออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
1. รูปร่างอ้วนกลม (Endomorphy) มักจะมีนิสัยร่าเริง อารมณ์ดี สนุกสนาน รักความสบาย โกรธง่ายหายเร็ว ขี้น้อยใจ พูดมาก ขี้บ่น คุยโอ่ และกินจุ หรือชอบกิน ๆ นอน ๆ ฯลฯ
2. รูปร่างผอมเกร็ง (Ectomorphy) มักจะมีนิสัยขี้อาย ขี้กลัว ไม่กล้าแสดงออก เป็นคนเฉย ๆ รักสันโดษ เก็บอารมณ์เก่ง โมโหยากแต่หายช้า พูดน้อย ดื้อดึง และเอาแต่ใจตัวเอง ฯลฯ
3. รูปร่างสมส่วน (Mesomorphy) มักจะมีนิสัยกล้าแสดงออก รักกิจกรรมกลางแจ้ง เป็นผู้ที่มีอารมณ์มั่นคง มีน้ำใจเป็นนักกีฬา ฯลฯ
38. ข้อใดไม่ใช่สภาพแวดล้อมก่อนเกิด
(1) จํานวนทารกภายในครรภ์
(2) การบริโภคของแม่
(3) สุขภาพจิตของแม่
(4) ระดับการศึกษาของพ่อแม่
(5) การได้รับรังสี
ตอบ 4 หน้า 131 – 133 สภาพแวดล้อมก่อนเกิด มีดังนี้
1. สุขภาพของแม่
2. สุขภาพจิตของแม่
3. การบริโภคของแม่
4. การได้รับรังสี
5. การได้รับเชื้อ AIDS
6. สภาวะของ Rh Factor (ในระบบเลือด)
7. อายุของแม่
8. จํานวนทารกภายในครรภ์
39. ข้อใดไม่ใช่สิ่งแวดล้อมภายในครอบครัว
(1) กฎระเบียบและการปกครอง
(2) ทัศนคติของพ่อแม่ที่มีต่อลูก
(3) การอบรมเลี้ยงดู
(4) การเป็นแบบอย่างของพ่อแม่
(5) จํานวนพี่น้องและลําดับการเกิด
ตอบ 1 หน้า 135 – 136 สิ่งแวดล้อมภายในครอบครัว มีดังนี้
1. ทัศนคติของพ่อแม่ที่มีต่อลูก
2. การอบรมเลี้ยงดูและบรรยากาศในครอบครัว
3. การเป็นแบบอย่างที่ดีของพ่อแม่
4. จํานวนพี่น้องและลําดับการเกิด
5. ระดับการศึกษาของพ่อแม่ ฯลฯ
40. ข้อใดคือสิ่งแวดล้อมภายในสถาบันการศึกษา
(1) กฎระเบียบและการปกครอง
(2) ระดับการศึกษาของพ่อแม่
(3) การอบรมเลี้ยงดู
(4) การเป็นแบบอย่างของพ่อแม่
(5) ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว
ตอบ 1 หน้า 136 สิ่งแวดล้อมภายในสถาบันการศึกษา มีดังนี้
1. กฎระเบียบและการปกครอง
2. ทัศนคติและบุคลิกภาพของครู
3. กลุ่มเพื่อนในโรงเรียนและสถาบันการศึกษา
41. “เด็กมีลักษณะถือตนเองเป็นศูนย์กลาง” ข้อความดังกล่าวตรงกับขั้นใดของพัฒนาการความคิดความเข้าใจ (Cognitive Development) ของ Piaget
(1) Period of Formal Operation
(2) Preoperation
(3) Premoral
(4) Sensorimotor Period
(5) Period of Concrete
ตอบ 2 หน้า 143 – 144 พัฒนาการความคิดความเข้าใจ (Cognitive Development) ของ Piaget ในขั้น Preoperation แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
1. Thought Period เป็นระยะที่เด็กถือตนเอง เป็นจุดศูนย์กลาง ไม่สามารถรับรู้ความคิดเห็นของคนอื่น
2. Intuitive Phase เป็นระยะที่เด็ก เกิดความคิดรวบยอดมากขึ้น สามารถจัดประเภท/กลุ่มวัตถุเข้าเป็นหมวดหมู่และจัดลําดับวัตถุได้
42. พฤติกรรมในข้อใดเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้
(1) การหายใจ
(2) การกะพริบตา
(3) การเรอ
(4) การขี่จักรยาน
(5) การกระตุกมือหนีเมื่อจับของร้อน
ตอบ 4 หน้า 169, (คําบรรยาย) การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างถาวรของพฤติกรรม อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ในอดีต แต่พฤติกรรมบางอย่างไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้หากเกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนซึ่งเป็นพฤติกรรมการตอบสนองตามธรรมชาติที่มีมาแต่กําเนิด เช่น การกะพริบตา การหายใจ การกระตุกมือหนีเมื่อจับของร้อน ฯลฯ และเกิดจากสัญชาตญาณ อันเป็นลักษณะเฉพาะของเผ่าพันธุ์ เช่น การว่ายน้ําของปลา การชักใยของแมงมุม ฯลฯ
43. “เด็กมีความรู้สึกรักใคร่พ่อแม่เพศตรงข้าม” พฤติกรรมดังกล่าวตรงกับขั้นใดของพัฒนาการความต้องการ ทางเพศ (Psychosexual Stages)
(1) ขั้นความสุขอยู่ที่ปาก
(2) ขั้นอวัยวะเพศ
(3) ขั้นความสุขอยู่ที่ทวารหนัก
(4) ขั้นการมีเพศสัมพันธ์
(5) ขั้นแอบแฝง
ตอบ 2 หน้า 145, 299 พัฒนาการความต้องการทางเพศของ Freud ในขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage) เกิดกับเด็กอายุ 3 – 5 ปี ในระยะนี้เด็กจะมีความพึงพอใจที่จะได้ลูบคลําอวัยวะเพศของตนเอง เด็กจะมีความรู้สึกรักใคร่พ่อแม่เพศตรงข้ามกับตน และจะอิจฉาพ่อแม่เพศเดียวกันกับตน ซึ่งถ้า เกิดความขัดแย้งใจก็อาจจะมีผลทําให้เด็กชายเกิดปมที่เรียกว่า ปมเอดิปุส (Oedipus Conflict หรือ Oedipus Complex) ส่วนเด็กหญิงก็จะเกิดปมอิเล็กตร้า (Electra Conflict)
44. จากขั้นพัฒนาการทางสังคม (Psychosocial Stages) ของ Erikson ข้อใดคือผลที่ได้จากขั้นพัฒนาการ “ความคิดริเริ่ม – ความรู้สึกผิด” (Initiative VS. Guilt)
(1) มีพลังควบคุมตนเองได้
(2) มีแนวทางและจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติตน
(3) ได้ความรักและความผูกพัน
(4) ได้ความฉลาดรอบรู้และการเสียสละ
(5) มีการทํางานที่เหมาะสมและมีความสามารถ
ตอบ 2 หน้า 147 มีแนวทางและจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติตน คือผลที่ได้จากขั้นพัฒนาการทางสังคม ของ Erikson ขั้นพัฒนาการทางจิตใจ “ความคิดริเริ่ม – ความรู้สึกผิด” (Initiative VS. Guilt)
45. จากกระบวนการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning) ของพาฟลอฟ (Pavlov) การตอบสนอง ต่อสิ่งเร้าอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus : CS) เรียกว่า เกิดกระบวนการใด
(1) การสรุปความเหมือนของสิ่งเร้า
(2) การแยกความแตกต่างของสิ่งเร้า
(3) การหยุดยั้งของพฤติกรรม
(4) สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข
(5) การฟื้นกลับของพฤติกรรม
ตอบ 1หน้า 173, 188 การสรุปความเหมือน (Generatization) เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไขไว้แล้วหรือสิ่งเร้าที่ได้รับรางวัล ส่วนการแยกความแตกต่าง (Discrimination) เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเฉพาะที่วางเงื่อนไขไว้หรือสิ่งเร้า ที่ได้รับรางวัลเท่านั้น แต่จะไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไขไว้หรือสิ่งเร้าที่ไม่ได้รับรางวัล
46. คูปองที่ใช้แลกซื้ออาหารในศูนย์อาหาร เป็นสิ่งเสริมแรงประเภทใด
(1) การเสริมแรงทางบวก
(2) สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ
(3) สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ
(4) สิ่งเสริมแรงครอบคลุม
(5) การป้อนกลับ
ตอบ 4 หน้า 180, (คําบรรยาย) สิ่งเสริมแรงครอบคลุม หมายถึง สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิที่เป็นอิสระจาก การเชื่อมโยงกับสิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ และสามารถที่จะเชื่อมโยงกับสิ่งเสริมแรงทุติยภูมิอื่น ๆ ได้ เช่น เงินหรือสิ่งที่ใช้แทนเงิน (บัตรเครดิต บัตรเดบิต คูปองแลกซื้อที่ใช้แทนเงินสด) ไม่เพียงแต่ สามารถแลกเปลี่ยนสิ่งเสริมแรงปฐมภูมิได้เท่านั้น แต่ยังเป็นหนทางนําไปสู่สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ อื่น ๆ ด้วย เช่น เกียรติ ความสนใจ การยอมรับ สถานะ หรืออํานาจ เป็นต้น
47. “คุณศรีมีอาการปวดศีรษะ จึงทานยาแก้ปวด ทําให้อาการปวดศีรษะหายไป หลังจากนั้นทุกครั้งที่คุณศรี ปวดศีรษะ คุณศรีจะทานยาแก้ปวดทุกครั้ง” อาการปวดศีรษะที่หายไป คืออะไร
(1) การเสริมแรงทางบวก
(2) การเสริมแรงทางลบ
(3) การลงโทษ
(4) การตอบสนองที่วางเงื่อนไข
(5) การตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข
ตอบ 2 หน้า 179, (คําบรรยาย) การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) จะทําให้การ ตอบสนองเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะเป็นการทําให้ความไม่สุขสบายหมดไป เช่น การกินยาแก้ปวด ทุกครั้งเพื่อระงับอาการปวด การขึ้นสะพานลอยข้ามถนนทุกครั้งเพราะกลัวอุบัติเหตุ ฯลฯ
48. “เป็นปัจจัยที่จําเป็นต่อชีวิต ไม่จําเป็นต้องเรียนรู้ มักเป็นลักษณะทางชีววิทยา” คุณสมบัติที่กล่าวถึงนั้น
เป็นคุณสมบัติของข้อใด
(1) การเสริมแรงทางบวก
(2) สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ
(3) สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ
(4) สิ่งเสริมแรงครอบคลุม
(5) การป้อนกลับ
ตอบ 2 หน้า 180 สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ เป็นรางวัลตามธรรมชาติที่ไม่ต้องเรียนรู้ มักเป็นลักษณะทาง ชีววิทยาที่เพิ่มความพอใจและลดความไม่พึงพอใจลง หรือสนองความต้องการทางกายภาพได้ เช่น น้ำ อาหาร อากาศ ความต้องการทางเพศ ฯลฯ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดํารงชีวิต
49.“พนักงานจะได้รับเงินเดือนในวันที่ 25 ของทุกเดือน” ลักษณะดังกล่าวเป็นไปตามตารางการเสริมแรงแบบใด
(1) แบบอัตราส่วนคงที่
(2) แบบต่อเนื่อง
(3) แบบอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน
(4) แบบช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน
(5) แบบช่วงเวลาคงที่
ตอบ 5 หน้า 177 การเสริมแรงแบบช่วงเวลาที่คงที่ (Fixed Interval : FI) เป็นการให้แรงเสริม เมื่อถึงช่วงเวลาที่กําหนดไว้อย่างตายตัว เช่น ทุก 30 วินาที ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน ทุกปี ฯลฯ
50. ข้อใดถูกต้อง
(1) การลงโทษมีผลให้การเกิดพฤติกรรมมีแนวโน้มลดลง
(2) การลงโทษไม่เกี่ยวข้องกับความกลัว
(3) การลงโทษไม่ได้กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว
(4) หากใช้การลงโทษจะต้องไม่ให้การเสริมแรงพฤติกรรมที่พึงปรารถนาร่วมด้วย
(5) การลงโทษสามารถกระทําได้ทั้งขณะเกิดพฤติกรรม หลังเกิดพฤติกรรมโดยทันที หรือหลังเกิด
พฤติกรรมไปแล้วระยะเวลาหนึ่ง
ตอบ 1 หน้า 181 – 182 การลงโทษจะมีผลให้การเกิดพฤติกรรมมีแนวโน้มลดลง โดยการลงโทษจะ ได้ผลดีที่สุด ถ้าเกิดขึ้นระหว่างที่ยังกระทําพฤติกรรมนั้นอยู่หรือทันทีที่พฤติกรรมนั้นสิ้นสุดลง (เวลาในการลงโทษ) และควรเกิดขึ้นทุกครั้งที่แสดงพฤติกรรมนั้น (ความคงที่ในการลงโทษ) หากใช้การลงโทษจะต้องให้การเสริมแรงพฤติกรรมที่พึงปรารถนาร่วมด้วย ทั้งนี้การลงโทษจะ ทําให้เกิดผลข้างเคียง คือ เกิดการวางเงื่อนไขเกี่ยวกับความกลัว กระตุ้นให้เกิดความก้าวร้าว และเรียนรู้ที่จะตอบสนองด้วยการหนีและหลีกเลี่ยง
51. ข้อใดคือคุณสมบัติที่ไม่ถูกต้องของการเรียนรู้เพื่อที่จะเรียน (Learning to Learn)
(1) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยไม่มีการเสริมแรงที่ชัดเจน
(2) ต้องผ่านการเรียนรู้จากการแก้ไขปัญหาหลายครั้ง
(3) มีการพัฒนาชุดการเรียนรู้ (Learning Set)
(4) ทําให้เกิดการพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาให้ดีขึ้น
(5) ปัญหาที่สร้างให้เกิดการเรียนรู้เพื่อที่จะเรียนมักจะเป็นปัญหาที่คล้ายคลึงกัน
ตอบ 1 หน้า 184, (คําบรรยาย) การเรียนรู้เพื่อที่จะเรียน (Learning to Learn) เป็นผลของการคิด การเข้าใจที่มีการพัฒนาชุดการเรียนรู้ (Learning Set) ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ต้องผ่านการเรียนรู้ จากการแก้ไขปัญหาหลายครั้ง ทําให้เกิดการพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาให้ดีขึ้น โดยปัญหาที่สร้าง
ให้เกิดการเรียนรู้เพื่อที่จะเรียนมักจะเป็นปัญหาที่คล้ายคลึงกัน
52. ข้อใดคือลักษณะของความจําระยะสั้น (Shot-term Memory)
(1) สามารถจําข้อมูลได้ 9 – 2 หน่วย
(2) ข้อมูลจะเก็บในลักษณะของเหตุการณ์
(3) มีพื้นที่เก็บข้อมูลได้ไม่จํากัด
(4) เป็นคลังข้อมูลชั่วคราวที่เก็บข้อมูลได้ในจํานวนจํากัด
(5) เก็บข้อมูลได้เป็นช่วงเวลานาน
ตอบ 4 หน้า 195 – 196 นักจิตวิทยาได้แบ่งความจํา (Memory) ออกได้เป็น 3 ระบบ ดังนี้ 1. ความจําจากการรับสัมผัส เป็นระบบการจําขั้นแรกที่จะเก็บข้อมูลทุกอย่างเอาไว้ในช่วงสั้น ๆ 2. ความจําระยะสั้น ทําหน้าที่คล้ายคลังข้อมูลชั่วคราวที่เก็บข้อมูลได้ในจํานวนจํากัด เป็นระบบ ความจําที่ถูกรบกวนหรือถูกแทรกได้ง่าย หากไม่ทบทวนจะมีข้อมูลใหม่เข้ามาแทนที่ข้อมูลเก่า 3. ความจําระยะยาว ทําหน้าที่เสมือนคลังข้อมูลถาวรที่สามารถเก็บข้อมูลได้นานและไม่จํากัด
53. ระยะเวลาคงอยู่ของการได้ยินเสียงก้องในหู (Echo)
(1) 0.5 วินาที
(2) 2 วินาที
(3) 18 วินาที
(4) 24 ชั่วโมง
(5) 48 ชั่วโมง
ตอบ 2 หน้า 196 ความจําจากการรับสัมผัส (Sensory Memory) คือ ระบบการจําชั้นแรกที่จะเก็บ ข้อมูลในลักษณะถอดแบบสิ่งที่ได้เห็นหรือสิ่งที่ได้ยินทุกอย่างเอาไว้ในช่วงสั้น ๆ เพื่อถ่ายทอด ข้อมูลต่อไปยังระบบการจําอื่น ๆ เช่น ถ้าได้เห็นข้อมูล ภาพติดตาหรือจินตภาพ (Icon) จะคงอยู่ ได้ครึ่งวินาที (0.5 วินาที) แต่ถ้าเกิดจากการได้ยิน เสียงก้องในหู (Echo) ของสิ่งที่ได้ยินจะคงอยู่ ประมาณ 2 วินาที ฯลฯ ทั้งนี้หากไม่มีการส่งต่อข้อมูลสิ่งที่จําไว้จะหายไปอย่างรวดเร็วที่สุด
54. ระบบความจําที่หากไม่ทบทวน จะมีข้อมูลใหม่เข้ามาแทนที่ข้อมูลเก่า
(1) ความจําระยะสั้น (Shot-term Memory)
(2) ความจําระยะยาว (Long-term Memory)
(3) ความจําเหตุการณ์ (Episodic Memory)
(4) ความจําความหมาย (Semantic Memory)
(5) ความจําจากการรับสัมผัส (Sensory Memory)
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ
55. การถอดแบบข้อมูลหรือข้อเท็จจริง โดยไม่มีสิ่งกระตุ้นหรือชี้แนะให้จําได้
(1) การระลึกได้ (Recall)
(2) การจําได้ (Recognition)
(3) การเก็บ (Retention)
(4) การเรียนซ้ำ (Relearning)
(5) การบูรณาการใหม่ (Reintegration)
ตอบ 1 หน้า 201 – 202, 218 การระลึกได้ (Recall) หมายถึง การถอดแบบข้อมูลหรือข้อเท็จจริง โดยไม่มีสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้นหรือชี้แนะให้จําได้ เช่น ข้อสอบอัตนัย การท่องอาขยาน ฯลฯทั้งนี้บุคคลจะจําลําดับตําแหน่งในการจําแบบระลึกได้ในช่วงต้นและท้ายได้ดีที่สุด
56. บุคคลจะจําลําดับตําแหน่งในการจําแบบระลึกได้ในช่วงใดได้ดีที่สุด
(1) ช่วงต้นและท้าย
(2) ช่วงต้น
(3) ช่วงกลาง
(4) ช่วงท้าย
(5) ทุกช่วง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ
57. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับหน่วยพื้นฐานของการคิด
(1) จินตภาพ (Image)
(2) การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ (Muscular Response)
(3) ความมีเหตุผล (Reasoning)
(4) มโนทัศน์ (Concept)
(5) ภาษา (Language)
ตอบ 4 หน้า 206 หน่วยพื้นฐานของการคิด (Basic Units of Thought) ประกอบด้วย จินตภาพ (Image) การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ (Muscular Response) มโนทัศน์ (Concept) และ ภาษาหรือสัญลักษณ์ (Language or Symbols)
58. การลืมเกิดขึ้นจากการที่มีแรงจูงใจพิเศษที่ต้องการจะลืมบางสิ่งบางอย่าง
(1) การหาเหตุผล (Rationalization)
(2) การเลียนแบบ (Identification)
(3) การเก็บกด (Repression)
(4) การถดถอย (Regression)
(5) การทดแทน (Sublimation)
ตอบ 3 หน้า 205, (คําบรรยาย) การเก็บกด (Repression) เป็นการลืมที่เกิดขึ้นจากการที่มีแรงจูงใจ พิเศษที่ต้องการจะลืมบางสิ่งบางอย่างในอดีต เช่น ความผิดหวัง ความล้มเหลว ความเจ็บปวด ความอาย สิ่งที่ไม่ชอบไม่น่ารื่นรมย์ ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะถูกเก็บกดให้อยู่ในระดับจิตใต้สํานึก
59. ข้อใดไม่ใช่การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
(1) สร้างบรรยากาศที่ถูกต้อง
(2) นิยามปัญหาให้กว้าง
(3) ให้เวลาสําหรับขั้นพัก
(4) หาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ให้พร้อม
(5) นิยามปัญหาให้เฉพาะเจาะจง
ตอบ 5 หน้า 215 – 216 การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ มีดังนี้
1. สร้างบรรยากาศที่ถูกต้อง
2. นิยามปัญหาให้กว้าง
3. ให้เวลาสําหรับขั้นพัก
4. หาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ให้พร้อม ฯลฯ
60. ความจําที่มีอยู่กระตุ้นให้เกิดความจําอื่น ๆ ตามมา
(1) การระลึกได้ (Recall)
(2) การจําได้ (Recognition)
(3) การเก็บ (Retention)
(4) การเรียนซ้ำ (Relearning)
(5) การบูรณาการใหม่ (Reintegration)
ตอบ 5 หน้า 203 การบูรณาการใหม่ (Reintegration) หมายถึง การที่ความจําที่มีอยู่กระตุ้นให้เกิด ความจําอื่น ๆ ตามมา เรียกได้ว่า ประสบการณ์ในอดีตทั้งหมดถูกสร้างขึ้นใหม่จากสิ่งที่สะสมไว้ แม้เพียงสิ่งเดียว เช่น ไปพบภาพเมื่อครั้งไปเที่ยวเชียงใหม่เข้าก็กระตุ้นให้นึกถึงภาพการเดินทาง และความสนุกสนานที่เกิดขึ้นบนรถไฟ นึกถึงความเหนื่อยล้าเมื่อเดินขึ้นดอยสุเทพ ฯลฯ
61. วิธีการแก้ปัญหาของบุคคลโดยฉับพลันทันใด สามารถรู้คําตอบได้ในทันที
(1) การแก้ปัญหาโดยการหยั่งเห็น
(2) การแก้ปัญหาด้วยสติปัญญา
(3) การแก้ปัญหาด้วยวิจารณญาณ
(4) การแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก
(5) การแก้ปัญหาโดยการเลียนแบบ
ตอบ 1 หน้า 210 การแก้ปัญหาโดยการหยั่งเห็นคําตอบในทันที เป็นวิธีการแก้ปัญหาของบุคคล
โดยฉับพลันทันใด และสามารถรู้คําตอบได้ในทันที
62. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับความหมายของแรงจูงใจ (Motive)
(1) สภาวะพลังงานที่หยุดนิ่ง
(2) สภาวะที่อยู่ภายนอกร่างกายที่เป็นพลัง
(3) เป็นกระบวนการที่สิ้นสุด
(4) พลังในตัวบุคคลที่ทําให้บุคคลแสดงพฤติกรรม
(5) ทําให้ร่างกายอยู่ในสภาวะหยุดพัก
ตอบ 4 หน้า 223, 225 แรงจูงใจ (Motive) หมายถึง กระบวนการที่สร้างหรือสภาวะที่เป็นแรงกระตุ้น พลังในตัวบุคคลที่ทําให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมา ทั้งที่เป็นพฤติกรรมโดยสัญชาตญาณและ พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่แรงจูงใจนั้นต้องการ
63. นักจิตวิทยาที่กล่าวถึงลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์
(1) พาฟลอฟ
(2) แบนดูรา
(3) โรเจอร์ส
(4) มาสโลว์
(5) วัตสัน
ตอบ 4 หน้า 229 – 230, 234 – 235, (คําบรรยาย) มาสโลว์ (Maslow) เป็นนักจิตวิทยาที่แบ่ง ลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 2 ระดับ จํานวน 5 ขั้น ดังนี้คือ
1. ระดับความต้องพื้นฐาน (Basic Needs) ได้แก่ ขั้นที่ 1 ความต้องการทางด้านร่างกาย และขั้นที่ 2 ความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง
2. ระดับความต้องการขั้นสูง (Growth Needs) ได้แก่ ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและ ความเป็นเจ้าของ, ขั้นที่ 4 ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือจากผู้อื่น และขั้นที่ 5 ซึ่ง เป็นความต้องการขั้นสูงสุด คือ ความต้องการประจักษ์ตน (ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้หรืออย่างแท้จริง)
64. แรงจูงใจมีที่มาจากองค์ประกอบใด
(1) ความต้องการ
(2) ความสมบูรณ์
(3) ความมีเหตุผล
(4) ความฉลาด
(5) สติปัญญา
ตอบ 1 หน้า 227 – 228 กระบวนการของการเกิดแรงจูงใจ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้
1. ความต้องการ (Needs)
2. แรงขับ (Drive)
3. การตอบสนอง (Response) หรือการแสดงพฤติกรรม
4. เป้าหมาย (Goal)
65. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความต้องการของบุคคลที่เกิดจากสิ่งเร้า
(1) สิ่งเร้านั้นต้องมีอิทธิพลต่อบุคคล
(2) สิ่งเร้าเดียวกันอาจทําให้คนต้องการต่างกัน
(3) สิ่งเร้าต่างกันอาจทําให้คนต้องการเหมือนกัน
(4) สิ่งเร้าเดียวกันมีอิทธิพลต่อบุคคลทุกคน
(5) เวลาเปลี่ยนไป สิ่งเร้าเดิมอาจไม่ส่งผลต่อบุคคลแล้ว
ตอบ 4 หน้า 229 ความต้องการของบุคคลเกิดจากสิ่งเร้า ซึ่งสิ่งเร้านั้นจะต้องมีอิทธิพลต่อการรับรู้ ของบุคคล การจูงใจบุคคลต้องเร้าด้วยสิ่งเร้าที่ต่างกันตามความต้องการของบุคคลนั้น สิ่งเร้า เดียวกันอาจทําให้คนต้องการต่างกัน สิ่งเร้าต่างกันอาจทําให้คนต้องการเหมือนกัน เมื่อเวลา เปลี่ยนไป สิ่งเร้าเดิมอาจไม่ส่งผลต่อบุคคล และสิ่งเร้าที่เร้าไม่ได้ในอดีตอาจจูงใจได้ในปัจจุบัน
66. ข้อใดคือความต้องการขั้นสูงสุดของทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการของมาสโลว์
(1) ความต้องการความปลอดภัย
(2) ความต้องการทางด้านร่างกาย
(3) ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ
(4) ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ
(5) ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 63. ประกอบ
67. ข้อใดคือทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการของเมอร์เรย์
(1) ความต้องการทางด้านร่างกาย
(2) ความต้องการความปลอดภัย
(3) ความต้องการที่จะยอมแพ้
(4) ความต้องการสืบเผ่าพันธุ์
(5) ความต้องการที่จะเข้าใจคนอื่น
ตอบ 3 หน้า 235 – 237 เมอร์เรย์ (Murray) ได้แบ่งประเภทของความต้องการไว้ 20 ประการ เช่น ความต้องการที่จะเอาชนะด้วยการแสดงความก้าวร้าว, ความต้องการเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ, ความต้องการที่จะยอมแพ้, ความต้องการที่จะป้องกันตนเอง, ความต้องการความสนุกสนาน ความต้องการความสําเร็จ, ความต้องการแยกตนเองออกจากผู้อื่น ฯลฯ
68. ข้อใดไม่ใช่แรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์
(1) แรงจูงใจทางชีวภาพ
(2) แรงจูงใจทางสรีรวิทยา
(3) แรงจูงใจใฝ่อํานาจ
(4) แรงจูงใจเพื่อการสืบเผ่าพันธุ์
(5) แรงจูงใจเพื่อหลีกหนีอันตราย
ตอบ 3 หน้า 239 – 243 แรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์ (แรงจูงใจเพื่อความอยู่รอดของชีวิต) แบ่งเป็น3 ชนิด คือ
1. แรงจูงใจทางชีวภาพ/ทางสรีรวิทยา (Biological Motive) เช่น ความหิว ความกระหาย ฯลฯ
2. แรงจูงใจเพื่อการสืบเผ่าพันธุ์ (Reproduction Motive) เช่น ความต้องการทางเพศ ฯลฯ
3. แรงจูงใจเพื่อหลีกหนีอันตราย (Avoidance Motive)
69. แรงจูงใจทางชีวภาพ (Biological Motive) ตรงกับข้อใด
(1) ความหิว
(2) ความกระหาย
(3) ความต้องการทางเพศ
(4) ความต้องการหนีอันตราย
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูกต้อง
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 68. ประกอบ
70. บุคคลมีความอิสระที่จะกระทําพฤติกรรม รู้ว่าตนต้องการอะไร ตรงกับทฤษฎีใด
(1) ทฤษฎีหลักการมีเหตุผล
(2) ทฤษฎีสัญชาตญาณ
(3) ทฤษฎีแรงขับ
(4) ทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการ
(5) ทฤษฎีความต้องการความสุขส่วนตัว
ตอบ 1 หน้า 245 ทฤษฎีหลักการมีเหตุผล เชื่อว่า บุคคลมีอิสระที่จะกระทําพฤติกรรมใด ๆ ได้อย่าง มีเหตุผล รู้ว่าตนต้องการอะไร ปรารถนาสิ่งใด และควรจะต้องตัดสินใจออกมาในลักษณะใด
71. ข้อใดคือความหมายของแรงขับ (Drive)
(1) ภาวะความตึงเครียดของร่างกาย
(2) ทําให้ร่างกายแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ
(3) ขจัดความเครียดออกจากร่างกาย
(4) พลังภายในร่างกาย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 246 แรงขับ (Drive) เป็นภาวะความตึงเครียดของร่างกาย เป็นพลังภายในร่างกาย ที่ทําให้ร่างกายได้มีการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อขจัดความเครียดนั้นออกไปจากร่างกาย
72. การจัดเรทผู้ชมสําหรับรายการโทรทัศน์ ตรงกับข้อใด
(1) การลองผิดลองถูก
(2) การเรียนรู้โดยการเลียนแบบจากค่านิยม
(3) การเรียนรู้แบบหยั่งเห็น
(4) การเรียนรู้โดยการเลียนแบบจากสิ่งไม่มีชีวิต
(5) การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา
ตอบ 2 หน้า 247 – 248, (คําบรรยาย) แรงจูงใจที่เกิดจากการเรียนรู้โดยการเลียนแบบจากค่านิยม จะเกิดขึ้นตลอดเวลาทั้งที่ตั้งใจเลียนแบบหรือเลียนแบบโดยไม่รู้ตัว โดยตัวแบบจะเปลี่ยนแปลง ไปตามค่านิยมของสังคม เช่น เปลี่ยนไปตามการจัดเรทผู้ชมสําหรับรายการโทรทัศน์ ฯลฯ
73. อารมณ์ใดมีลักษณะคล้ายอารมณ์ที่เย็นชามากที่สุด
(1) อารมณ์ทุกข์ ปวดร้าว
(2) อารมณ์โกรธ
(3) อารมณ์ดูถูก
(4) อารมณ์รู้สึกผิด
(5) อารมณ์หวาดกลัว
ตอบ 3 หน้า 257 – 258 คาร์รอล อิซาร์ด (Carroll Izard) ได้จําแนกอารมณ์ออกเป็น 10 ประเภท คือ
1. Interest-Excitement (สนใจ ตื่นเต้น) เป็นอารมณ์ที่ช่วยทําให้บุคคลเกิดแรงจูงใจในการ ที่จะเรียนรู้และต้องใช้ความพยายามในเชิงสร้างสรรค์มากขึ้น เช่น อยากเรียนสูง ๆ
2. Joy (รื่นเริง) เป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดสภาวะของความเชื่อมั่น มองว่าโลกนี้ช่างน่าอยู่เหลือเกิน
3. Surprise (ประหลาดใจ) เป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้าในระบบประสาท
4. Distress-Anguish (เสียใจ-เจ็บปวด) เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลต้องประสบกับ ความพลัดพราก หรือเผชิญกับความล้มเหลวในชีวิต
5. Anger-Rage (โกรธ-เดือดดาล) เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลพบกับการขัดขวางหรืออุปสรรค
6. Disgust (รังเกียจ) เป็นอารมณ์อันเกิดจากการกระทบกับสัมผัสที่ไม่พึงปรารถนา
7. Contempt-Scorn (ดูถูกเหยียดหยาม) เป็นอารมณ์ที่อาจเกิดผสมระหว่างอารมณ์โกรธ กับอารมณ์ขยะแขยง จัดเป็นอารมณ์ที่มีลักษณะที่เย็นชา
8. Fear-Terror (กลัว-สยองขวัญ) เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลกําลังเผชิญอยู่กับสิ่งที่ตน ไม่สามารถจะเข้าใจได้ หรือเกิดความไม่แน่ใจในภัยอันตรายที่กําลังจะมาถึง
9. Shame Sin Shyness-Humiliation (อับอายขายหน้า) เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคล ถูกลงโทษ เพราะไม่ประพฤติตามกฎเกณฑ์ของสังคม
10. Guilt (รู้สึกผิด) เป็นอารมณ์ที่มีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับความวิตกกังวลและความอาย
74. อารมณ์ใดเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ ความพลัดพรากหรือล้มเหลว
(1) อารมณ์ทุกข์ ปวดร้าว
(2) อารมณ์โกรธ
(3) อารมณ์ดูถูก
(4) อารมณ์รู้สึกผิด
(5) อารมณ์หวาดกลัว
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ
75. อารมณ์ใดไม่ใช่อารมณ์พื้นฐานตามแนวคิดของจาก แพงค์เซปป์
(1) ตื่นตระหนก
(2) คาดหวัง
(3) เดือดดาล
(4) หวาดกลัว
(5) เศร้าโศก
ตอบ 5 หน้า 259 อารมณ์พื้นฐานตามแนวคิดของจาค แพงค์เซปป์ (Jaak Panksepp) มี 4 ชนิด คือ คาดหวัง เดือดดาล ตื่นตระหนก และหวาดกลัว
76. ข้อใดอธิบายไม่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณสมบัติของเครื่อง “โพลีกราฟ” (Polygraph)
(1) วัดการเปลี่ยนแปลงการเต้นของหัวใจได้
(2) วัดการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตได้
(3) วัดการเปลี่ยนแปลงของคลื่นสมองได้
(4) วัดการเปลี่ยนแปลงของการหายใจได้
(5) วัดระดับความชื้นของฝ่ามือได้
ตอบ 3 หน้า 262 – 263 เครื่อง “โพลีกราฟ” (Polygraph) เป็นเครื่องมือจับเท็จที่ใช้วัดและบันทึก การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต อัตราการหายใจ และอุณหภูมิหรือความชื้นหรือแรงต้านทานกระแสไฟฟ้าบนฝ่ามือ (GSR)
77. การพัฒนาทางอารมณ์ของมนุษย์จะสมบูรณ์ช่วงอายุประมาณเท่าใด
(1) 12 เดือน
(2) 18 เดือน
(3) 24 เดือน
(4) 28 เดือน
(5) 32 เดือน
ตอบ 3 หน้า 271 เค.บริดเจส (K.Bridges) พบว่า พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กทารกมีลักษณะดังนี้ อารมณ์แรกเกิดของมนุษย์คืออารมณ์ตื่นเต้น แล้วจึงพัฒนาไปสู่อารมณ์ที่มีลักษณะเฉพาะมากขึ้น เมื่ออายุครบ 3 เดือน ก็จะแยกออกระหว่างอารมณ์ดีใจและเดือดร้อนใจ ต่อจากนั้นอารมณ์โกรธ เกลียดและกลัวก็จะปรากฏขึ้นภายหลังตามระดับวุฒิภาวะและการรับรู้ของเด็ก และเมื่ออายุ 2 ปี (24 เดือน) อารมณ์พื้นฐานก็จะพัฒนาจนครบสมบูรณ์ทั้ง 8 ชนิด
78. หน้าที่ใดเกี่ยวข้องกับอารมณ์พื้นฐาน “กลัว” ตามแนวคิดของพลูทชิค
(1) การปฏิเสธ
(2) การปกป้อง
(3) การทําลาย
(4) การปรับตัว
(5) การรักษาการสูญเสีย
ตอบ 2 หน้า 272 หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์พื้นฐาน 8 ชนิด ตามแนวคิดของพลูทชิค (Plutchik) ได้แก่ กลัว – การปกป้อง, โกรธ – การทําลาย, รื่นเริง – ความร่วมมือ, รังเกียจ – การปฏิเสธ, ยอมรับ – การแพร่พันธุ์, เศร้า – การรักษาการสูญเสีย, ประหลาดใจ – การปรับตัว, คาดหวัง (อยากรู้อยากเห็น) – การสํารวจค้นหา
79. ข้อใดเป็นอารมณ์สากลที่แสดงออกทางใบหน้าตามแนวคิดของเอ็กแมน
(1) ว้าวุ่น
(2) เบื่อหน่าย
(3) คาดหวัง
(4) ยอมรับ
(5) ประหลาดใจ
ตอบ 5 หน้า 274 อารมณ์สากลที่แสดงออกทางใบหน้าตามแนวคิดของพอล เอ็กแมน (Paul Ekman) มี 6 ชนิด ได้แก่ ประหลาดใจ รังเกียจ เศร้าเสียใจ โกรธ กลัว และเป็นสุข
ข้อ 80 – 84. จงตอบคําถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
(2) ทฤษฎีโครงสร้างของจิต
(3) ทฤษฎีมนุษยนิยม
(4) ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
(5) ทฤษฎีประเภทและโครงสร้าง
80. สัญชาตญาณแห่งความตายที่เกี่ยวข้องกับการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวและการทําลายล้าง
ตอบ 1 หน้า 287 – 288 ฟรอยด์ (Freud) นักทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis Theory) กล่าวว่า มนุษย์เรามีสัญชาตญาณ 2 ประเภทที่ติดตัวมาแต่กําเนิด คือ
1. สัญชาตญาณแห่งการดํารงชีวิต เป็นสัญชาตญาณการตอบสนองความต้องการทางร่างกาย
2. สัญชาตญาณแห่งความตาย เกี่ยวข้องกับการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวและการทําลายล้าง
81. ถ้าทําพฤติกรรมใดแล้วมีผลดี พฤติกรรมนั้นจะเกิดขึ้นอีก
ตอบ 4 หน้า 289 – 291 วัตสัน (Watson) นักทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมได้โดยการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม โดยบุคลิกภาพ ของมนุษย์เกิดจากผลแห่งการกระทําของเขา เช่น ถ้าทําพฤติกรรมใดแล้วมีผลดี พฤติกรรมนั้น จะเกิดขึ้นอีกและจะกระทําบ่อยขึ้น ฯลฯ
82. พฤติกรรมของมนุษย์ส่วนใหญ่เกิดจาการที่เราพยายามทําพฤติกรรมที่ดํารงรักษาความเชื่อเรื่องอัตมโนทัศน์ของตัวเราเอาไว้
ตอบ 3 หน้า 291 – 293 โรเจอร์ส (Rogers) นักทฤษฎีมนุษยนิยม (Humantistic Theory) กล่าวว่า พฤติกรรมของมนุษย์ส่วนใหญ่เกิดจาการที่เราพยายามทําพฤติกรรมที่ดํารงรักษาความเชื่อเรื่อง อัตมโนทัศน์ (Self Concept) ของตัวเราเอาไว้
83. พฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมได้โดยการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 81. ประกอบ
84. การศึกษาลักษณะนิสัยใจคอของคนที่อยู่ในสังคมเดียวกันจะสามารถหาลักษณะร่วมที่คนในสังคมเดียวกันมีคล้ายคลึงกันได้
ตอบ 5 หน้า 296 อัลพอร์ท (Altport) นักทฤษฎีประเภทและโครงสร้าง (Type and Trait Theory) เชื่อว่า เราสามารถจัดแบ่งกลุ่มลักษณะอุปนิสัยของคนออกเป็นหมวดหมู่ได้ โดยนําเอาลักษณะ ที่คล้าย ๆ กันจัดไว้ในกลุ่มเดียวกัน และจากการศึกษาลักษณะนิสัยใจคอของคนที่อยู่ในสังคม เดียวกัน เราสามารถหาลักษณะร่วมที่คนในสังคมเดียวกันมีคล้ายคลึงกันได้ เรียกลักษณะนี้ว่า ลักษณะสามัญ (Common Trait) เช่น คนเหนือสุภาพ คนใต้รักพวกพ้อง คนไทยใจดี ฯลฯ
85. ตามแนวคิดพัฒนาการทางบุคลิกภาพของฟรอยด์ “ปมเอดิปุส” ที่เชื่อว่าเด็กชายจะรักแม่และอิจฉาพ่อ
เกิดขึ้นในขั้นใด
(1) ขั้นความสุขอยู่ที่ปาก
(2) ขั้นอวัยวะเพศ
(3) ขั้นความสุขอยู่ที่ทวารหนัก
(4) ขั้นการมีเพศสัมพันธ์
(5) ขั้นแอบแฝง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ
86. วิษณุมีบุคลิกภาพที่จู้จี้ เจ้าระเบียบ รักษาความสะอาดเกินเหตุ และดันทุรัง เกิดจากการหยุดชะงักของ พัฒนาการในขั้นใด
(1) ขั้นความสุขอยู่ที่ปาก
(2) ขั้นอวัยวะเพศ
(3) ขั้นความสุขอยู่ที่ทวารหนัก
(4) ขั้นการมีเพศสัมพันธ์
(5) ขั้นแอบแฝง
ตอบ 3 หน้า 299 ขั้นพัฒนาการของฟรอยด์ในขั้นความสุขอยู่ที่ทวารหนัก (Anal Stage) เกิดในช่วง อายุ 2 – 3 ปี ซึ่งเด็กจะมีศูนย์กลางความพึงพอใจอยู่ที่ทวารหนัก เด็กจะพอใจที่ได้ปลดปล่อย หากในช่วงนี้บิดามารดาที่เคร่งครัดกับเด็กมากเกินไปในเรื่องการขับถ่าย เมื่อเด็กโตขึ้นจะเกิด ความขัดแย้งใจ เป็นบุคลิกภาพที่จู้จี้ เจ้าระเบียบ รักษาความสะอาดจนเกินเหตุ และบางครั้ง อาจมีพฤติกรรมประเภทดื้อรั้นและตันทุรังได้
87. แบบทดสอบชนิดใดที่ทดสอบโดยการให้ผู้รับการทดสอบเล่าเรื่องจากภาพ
(1) Rorschach
(2) 16PF
(3) TAT
(4) MMPI
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3หน้า 308 – 309, 315 แบบทดสอบการฉายภาพจิต เป็นการวัดบุคลิกภาพที่นักจิตวิทยามี ความประสงค์จะล่วงรู้ถึงความปรารถนาหรือจิตใต้สํานึกลึก ๆ ที่ซ่อนอยู่ในจิตของผู้ตอบ โดย ให้ผู้รับการทดสอบบรรยายความรู้สึกนึกคิดออกมาทางภาพที่ให้ดู ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. แบบทดสอบรอ ชาค (Rorschach) เป็นภาพหยดหมึก 10 ภาพ โดยให้ผู้รับการทดสอบ ดูภาพแล้วถามว่าเขาเห็นอะไรในภาพนั้นบ้างหรือภาพนั้นเหมือนอะไร
2. แบบทดสอบ TAT เป็นภาพเรื่องราว 20 ภาพ โดยให้ผู้รับการทดสอบดูภาพแล้วให้เขา บรรยายหรือแต่งเรื่องหรือเล่าเรื่องจากภาพ
88. การประเมินบุคลิกภาพของนักจิตวิทยาในข้อใดที่เรียกว่า การฉายภาพจิต
(1) ใช้แบบทดสอบ MMPI
(2) ให้ดูภาพหยดหมึกแล้วถามว่าภาพนั้นเหมือนอะไร
(3) แอบสังเกตการณ์ผ่านกล้องวิดีโอ
(4) พูดคุยในสภาพผ่อนคลาย และตั้งคําถามทางอ้อม
(5) จําลองสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริง แล้วให้ผู้รับการทดสอบเข้าไปในเหตุการณ์นั้น
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 87. ประกอบ
89. ข้อใดเป็นสูตรของการคํานวณ I.Q.
(1) อายุสมองคุณด้วยอายุจริง
(2) อัตราส่วนระหว่างอายุสมองและอายุจริง
(3) อัตราส่วนระหว่างอายุสมองและอายุจริง คูณ 100
(4) อัตราส่วนระหว่างอายุจริงและอายุสมอง
(5) อัตราส่วนระหว่างอายุจริงและอายุสมอง คูณ 100
ตอบ 3 หน้า 326 ในการวัดความสามารถทางสติปัญญาจะถูกวัดออกมาในอัตราส่วนที่เรียกว่า I.Q. (Intelligence Quotient) ซึ่งเป็นอัตราส่วนระหว่างอายุสมอง (Mental Age = M.A.) และ อายุจริงตามปฏิทิน (Chronological Age = C.A.) คูณด้วย 100
90. เด็กชายอ่อยมี I.Q. เท่ากับ 100 นับว่าเขามีระดับสติปัญญาเป็นอย่างไร
(1) ปัญญาทึบ
(2) เกณฑ์ปกติ
(3) ค่อนข้างฉลาด
(4) ฉลาดมาก
(5) อัจฉริยะ
ตอบ 2 หน้า 327 บิเนต์ (Binet) ได้จําแนกระดับสติปัญญา (IQ) ของบุคคลออกเป็น 7 ระดับ ดังนี้ ปัญญาอ่อน (Retarded) มีระดับ IQ, ต่ำกว่า 70, คาบเส้น (Bordertine) มีระดับ IQ, 71 – 80, ปัญญาทึบ (Dull) มีระดับ I.Q. 81 – 90, เกณฑ์ปกติ (Normal) มีระดับ I.Q. 91 – 110 ซึ่ง เป็นอัตราเฉลี่ย (Average), ค่อนข้างฉลาด (Superior) มีระดับ I.Q. 111 – 120, ฉลาดมาก (Very Superior) มีระดับ I.Q. 121 – 140 และอัจฉริยะ (Genius) มีระดับ IQ, 140 ขึ้นไป
91. ตัวประกอบทั่วไปที่เรียกว่า G-factor ของทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัยเน้นความสามารถเกี่ยวกับเรื่องใด
(1) การใช้เหตุผล
(2) ความเข้าใจภาษา
(3) การคํานวณ
(4) ความไวในการรับรู้
(5) ความสามารถในการจํา
ตอบ 1 หน้า 325 ชาร์ล สเปียร์แมน (Charles Spearman) เป็นผู้ที่คิดทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัย โดยอธิบายว่า สติปัญญาของคนเรานั้นจะมีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ
1. ตัวประกอบทั่วไป (General factor : G-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผล ทั่ว ๆ ไปของบุคคล และทุกคนมีเหมือนกันหมด
2. ตัวประกอบเฉพาะ (Specific factor : S-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับความสามารถ เฉพาะตัวของบุคคล เช่น ความสามารถพิเศษด้านศิลปะและดนตรี ความสามารถในการจํา ความเข้าใจภาษา การคํานวณ การใช้มือ การสังเกต การออกแบบ (Design) ฯลฯ
92. ข้อใดเป็นส่วนประกอบของสติปัญญาตามทฤษฎีตัวประกอบหลายปัจจัยของเทอร์สโตน
(1) ความสามารถในการช่างสังเกต
(2) ความสามารถในด้านศิลปะ
(3) ความสามารถใช้มือ
(4) ความสามารถใช้คําได้คล่องแคล่ว
(5) ความสามารถในการประสานกันระหว่างมือและตา
ตอบ 4 หน้า 325 – 326 เทอร์สโตนและกิลฟอร์ด (Thurstone and Guilford) เป็นผู้ที่แนะนําทฤษฎี ตัวประกอบหลายปัจจัย (Multiple Factor Theory) โดยเทอร์สโตนอธิบายว่า ความสามารถ ขั้นพื้นฐานที่เป็นส่วนประกอบของสติปัญญามี 7 ชนิด คือ ความเข้าใจภาษา, ความสามารถ ใช้คําได้คล่องแคล่ว, ความสามารถในการใช้ตัวเลข, ความสามารถในการมองเห็นภาพมิติ, ความสามารถในการจํา, ความไวในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ และความสามารถที่จะเข้าใจเหตุผล ส่วนกิลฟอร์ด เชื่อว่า ตัวประกอบของสติปัญญามีถึง 120 ตัวประกอบ ใน 3 มิติ คือ มิติด้าน เนื้อหา วิธีการ และผล โดยเขาเชื่อว่าบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงมักจะมีสติปัญญาสูงด้วย
93. ความเชื่อถือได้ของแบบทดสอบหมายถึงอะไร
(1) เป็นแบบทดสอบที่ให้ความคงที่ของคะแนน
(2) เป็นแบบทดสอบที่วัดในสิ่งที่ต้องการวัด
(3) ให้ผลเหมือนเดิมไม่ว่าใครเป็นคนตรวจให้คะแนน
(4) มีแบบแผนในการดําเนินการทดสอบ
(5) ทดสอบภายใต้สภาพการณ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ตอบ 1 หน้า 327 – 328 แบบทดสอบที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติที่สําคัญ 4 ประการ ดังนี้
1. ความเป็นปรนัย (Objectivity) จะต้องให้ผลเหมือนเดิมไม่ว่าใครเป็นคนตรวจให้คะแนน
2. ความเชื่อถือได้ (Reliability) จะต้องให้ความคงที่ของคะแนนในการวัดแต่ละครั้ง
3. ความเที่ยงตรง (Validity) จะต้องวัดในสิ่งที่ต้องการจะวัด (เป็นคุณสมบัติที่สําคัญที่สุด)
4. ความเป็นมาตรฐาน (Standardization) จะต้องมีแบบแผนในการดําเนินการทดสอบ
94. ความเป็นปรนัยของแบบทดสอบหมายถึงอะไร
(1) มีเกณฑ์ปกติหรือค่าเฉลี่ยของกลุ่มคนปกติ
(2) เป็นแบบทดสอบที่วัดในสิ่งที่ต้องการวัด
(3) เป็นแบบทดสอบที่ให้ความคงที่ของคะแนน
(4) มีแบบแผนในการดําเนินการทดสอบ
(5) ให้ผลเหมือนเดิมไม่ว่าใครเป็นคนตรวจให้คะแนน
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 93. ประกอบ
95. แบบทดสอบสติปัญญาของ Wechster แบ่งออกเป็น 2 หมวด ได้แก่อะไร
(1) ความสามารถเชิงภาษาและเชิงคํานวณ
(2) ความสามารถเชิงคํานวณและเชิงเหตุผล
(3) ความสามารถเชิงเหตุผลและเชิงภาษา
(4) ความสามารถเชิงภาษาและไม่ใช้ถ้อยคําภาษา
(5) ความสามารถเชิงภาษาและแบบประกอบการ
ตอบ 5 หน้า 330 องค์ประกอบของแบบทดสอบการวัดสติปัญญาของเวคสเลอร์ (Wechster) แบ่งข้อทดสอบออกเป็น 2 หมวด ดังนี้คือ
1. ข้อทดสอบเชิงภาษา ประกอบด้วยแบบทดสอบย่อย 6 ชุด ได้แก่ ความรู้ทั่วไป ความเข้าใจ
เลขคณิต (ความสามารถเชิงคํานวณ) ความคล้ายคลึงกัน การจําช่วงตัวเลข และคําศัพท์
2. ข้อทดสอบแบบประกอบการ ประกอบด้วยแบบทดสอบย่อย 5 ชุด ได้แก่ สัญลักษณ์ตัวเลข การเติมรูปภาพ การออกแบบก้อนสี่เหลี่ยม การลําดับภาพ และการประกอบชิ้นส่วน
96. ข้อใดเป็นองค์ประกอบของการทดสอบแบบประกอบการของแบบทดสอบสติปัญญาของ Wechster
(1) ความคล้ายคลึงกัน
(2) การจําช่วงตัวเลข
(3) การลําดับภาพ
(4) ความสามารถเชิงคํานวณ
(5) การทํางานประสานกันระหว่างมือและตา
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 95. ประกอบ
97. แบบทดสอบชนิดใดที่สร้างขึ้นมาเพื่อวัดความสามารถในการใช้เหตุผล
(1) WAIS
(2) TAT Test
(3) Stanford-Binet Test
(4) WPPSI
(5) Progressive Matrices Test
ตอบ 5 หน้า 331 แบบทดสอบโปรเกรสซีฟเมตรซีส (Progressive Matrices Tests) มีลักษณะเป็น แบบทดสอบที่ไม่ใช้ถ้อยคําภาษา (Nonverbal) สร้างขึ้นมาเพื่อใช้วัดความสามารถของบุคคล ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงเรขาคณิต และเพื่อวัดความสามารถในการใช้เหตุผล
98. ข้อใดไม่ใช่ข้อพึงระวังในการวัดสติปัญญา
(1) ผู้ใช้แบบทดสอบต้องปฏิบัติตามคําอธิบายในคู่มือ
(2) ผู้ทดสอบต้องมีความชํานาญเกี่ยวกับแบบทดสอบที่ใช้
(3) สภาพแวดล้อมขณะทําการทดสอบต้องปราศจากสิ่งรบกวน
(4) ผู้รับการทดสอบต้องให้ความร่วมมือและมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ
(5) แบบทดสอบสติปัญญาเป็นแบบทดสอบที่ไม่จําเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการทดสอบ
ตอบ 5 หน้า 331 – 332, (คําบรรยาย) ข้อควรคํานึงหรือข้อพึงระวังในการวัดสติปัญญา มีดังนี้
1. ผู้ทดสอบต้องมีความรู้และความชํานาญเกี่ยวกับแบบทดสอบที่ใช้ จะต้องเตรียมตัวและฝึกใช้เครื่องมือก่อนทําการทดสอบ หรือฝึกซ้อมใช้แบบทดสอบก่อนการใช้งานจริง
2. ผู้รับการทดสอบต้องให้ความร่วมมือ และมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ
3. สภาพแวดล้อมขณะทําการทดสอบต้องทําในสถานที่เงียบสงบปราศจากสิ่งรบกวน
4. การซื้อขายและการใช้แบบทดสอบต้องอยู่ในความควบคุมและมีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ซื้อหรือผู้นําแบบทดสอบไปใช้ และผู้ใช้แบบทดสอบต้องปฏิบัติตามคําอธิบายในคู่มือ
99. ผลการศึกษาวิจัยพบว่า เพศชายสามารถทําแบบทดสอบวัดระดับสติปัญญาด้านใดดีกว่าเพศหญิง
(1) ด้านภาษา
(2) ด้านเสมียน
(3) ด้านการวางแผน
(4) ด้านการบัญชี
(5) ด้านการแสดง
ตอบ 2 หน้า 333 จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า เด็กชายในระดับมัธยมศึกษาสามารถทําคะแนนแบบ
ทดสอบวัดระดับสติปัญญาได้ดีกว่าเด็กหญิงในแบบทดสอบย่อยด้านประกอบการที่ต้องอาศัยความคล่องแคล่วในเชิงเสมียนและความสามารถเชิงจักรกล ส่วนเด็กหญิงจะทําคะแนนได้ดีกว่าในแบบทดสอบย่อยด้านภาษา
100. การให้เหตุผลว่า “ผู้ที่ปรับตัวได้คือผู้ที่ก้าวข้ามความกลัว และยืนหยัดกับการเผชิญความเป็นจริงของชีวิตได้” เป็นแนวคิดทางจิตวิทยากลุ่มใด
(1) จิตวิเคราะห์
(2) พฤติกรรมนิยม
(3) กลุ่มนักทฤษฎีเพื่อการอยู่รอด
(4) มนุษยนิยม
(5) จิตวิทยาเกสตัลท์
ตอบ 3 หน้า 344 กลุ่มนักทฤษฎีเพื่อการอยู่รอด (Existentialist) มองว่า มนุษย์มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ ดังนั้นมนุษย์จึงต้องรับผิดชอบในการกระทําทุกอย่างของตนเอง โดยมนุษย์จะไม่สามารถโทษผู้อื่น หรือสิ่งแวดล้อมว่าทําให้เขาเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ได้เลย ใครก็ตามที่ก้าวพ้นออกมาจากความกลัว และยืนหยัดอยู่กับความเชื่อและเผชิญกับความเป็นจริงของชีวิตได้ จะเป็นผู้ที่ปรับตัวได้ดี
101. ข้อใดเกี่ยวข้องกับการปรับตัวที่ดีมากที่สุด
(1) ช่วยให้เชื่อมั่นในตนเองมากขึ้นได้
(2) ช่วยให้สามารถควบคุมผู้อื่นได้
(3) ช่วยให้มีความรู้และทักษะด้านต่าง ๆ สูงขึ้น
(4) ช่วยให้มีสติปัญญาสูงขึ้น
(5) ช่วยให้เป็นที่ยอมรับนับหน้าถือตาจากบุคคลอื่นได้
ตอบ 1 หน้า 345 การปรับตัวที่ดีและเหมาะสมเป็นการปรับตัวของบุคคลที่ทําให้ชีวิตของเขาดีขึ้น ทําให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ช่วยให้เชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น และ ช่วยให้สามารถเข้าสังคมที่มีความหลากหลายดีขึ้นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ต้องไม่ทําให้ผู้อื่นเดือดร้อน หรือต้องไม่ไปปิดกั้นสิทธิเสรีภาพและอิสรภาพของผู้อื่น
102. “การที่จะต้องทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งสําเร็จภายในเวลาที่จํากัด” เป็นความหมายของ
(1) ความคับข้องใจ
(2) ความก้าวร้าว
(3) ความกดดัน
(4) ความขัดแย้งใจ
(5) ความคาดหวัง
ตอบ 3 หน้า 347 ความกดดัน หมายถึง การที่จะต้องทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สําเร็จภายในเวลาที่จํากัด
โดยเฉพาะในภาวะหน้าสิ่วหน้าขวานที่จะต้องทํางานภายใต้เส้นตายที่ขีดไว้
103. ตามแนวคิดของไฟด์แมนและโรเซนแมน คนแบบใดมีความเครียดมากที่สุด
(1) คนที่ทําอะไรค่อยเป็นค่อยไป
(2) คนที่ไม่ชอบความเร่งรีบ
(3) คนที่เก็บกดไม่แสดงอารมณ์
(4) คนที่ไม่ชอบการแข่งขัน
(5) คนที่ไม่ชอบสร้างบรรทัดฐานให้กับตนเอง
ตอบ 3 หน้า 348, (คําบรรยาย) ไฟด์แมนและโรเซนแมน (Friedman & Rosenman) ได้แบ่ง กลุ่มคนตามลักษณะบุคลิกภาพออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. กลุ่ม A (Type A Personality) เป็นคนใจเร็ว ใจร้อน ชอบความก้าวหน้า การแข่งขันสูง เก็บกดไม่แสดงอารมณ์ มุ่งความสําเร็จหรือผลสัมฤทธิ์ ชอบสร้างมาตรฐานให้กับตัวเอง มักเป็นคนเข้มงวด และชอบความสมบูรณ์แบบ ซึ่งมีผลให้มีความเครียดมากที่สุด
2. กลุ่ม B (Type B Personality) เป็นคนที่ไม่เร่งรีบ ผ่อนคลาย ทําอะไรแบบค่อยเป็นค่อยไป ชอบทํางานทีละอย่าง ซึ่งมีผลให้มีความเครียดน้อยที่สุดและไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
104. อาการทางกายใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับความเครียดของบุคคล
(1) ท้องผูก
(2) ปัญญาอ่อน
(3) สมองเสื่อม
(4) ภาวะโรคจิต
(5) ภาวะตาบอดสี
ตอบ 1 หน้า 349 ไซโคโซมาติก (Psychosomatic Diseases) คือ อาการของความเจ็บป่วยหรือ โรคทางกายที่เกิดจากภาวะความเครียดที่สะสมเอาไว้นาน ๆ เช่น แผลในกระเพาะอาหารท้องร่วง ท้องผูก โรคหัวใจ นอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะข้างเดียว (ไมเกรน) ฯลฯ
105. ตามแนวคิดการปรับตัวทางร่างกายเมื่อเกิดความเครียดของเซลเย (Selye) “หากปล่อยให้เกิดขึ้นต่อเนื่อง ยาวนาน ไม่ปรับเปลี่ยนวิธีการดําเนินชีวิต อาจส่งผลให้สุขภาพทรุดหนักหรือพังได้” เกิดขึ้นในขั้นตอนใด
(1) ชั้นระยะตื่นตัว
(2) ขั้นปฏิกิริยาตื่นตระหนก
(3) ขั้นสร้างระบบต้านทานภัย
(4) ขั้นระยะเหนื่อยล้า
(5) ขั้นระยะถดถอย
ตอบ 4 หน้า 351 เซลเย (Selye) ได้ทําการศึกษาเกี่ยวกับสภาวะของร่างกายเมื่อเกิดความเครียด พบว่า เมื่อบุคคลเกิดความเครียด ร่างกายจะมีปฏิกิริยาต่อความเครียด 3 ขั้นตอน คือ
1. ปฏิกิริยาตื่นตระหนก เป็นช่วงที่ร่างกายมีพละกําลังมหาศาล เพื่อรับสภาพการจู่โจม
2. สร้างระบบต้านทานภัย ร่างกายจะสร้างระบบที่ปรับตัวต่อความเครียดในระยะยาวนานขึ้น
3. ระยะเหนื่อยล้า ในกรณีที่ความเครียดอยู่กับบุคคลนาน ๆ และไม่หมดสิ้นไป ก็อาจทําให้ร่างกาย เกิดโรคขึ้นหลายชนิด เช่น โรคกระเพาะ โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ ฯลฯ และถ้าเป็นนาน ๆ ร่างกายก็อาจไปถึงจุดที่เรียกว่า Burn-Out คือ ไปต่อไม่ได้
106. ข้อใดอธิบายไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ “กลไกป้องกันทางจิต” ที่ใช้ในการปรับตัว
(1) กลไกป้องกันทางจิตช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลให้ลดลงได้
(2) กลไกป้องกันทางจิตเป็นกลไกที่ใช้ในการจัดการกับความคับข้องใจของบุคคล
(3) การใช้กลไกป้องกันทางจิตไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะของโรคประสาท
(4) การใช้กลไกป้องกันทางจิตมากเกินไปอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคลิกภาพได้
(5) การใช้กลไกป้องกันทางจิตเป็นกลยุทธ์ที่ใช้บิดเบือนหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทําให้เกิดความวิตกกังวล
ตอบ 3 หน้า 357 กลไกป้องกันทางจิต (Defense Mechanism) เป็นกลไกที่ใช้ในการจัดการกับ ความคับข้องใจของบุคคล เป็นกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อบิดเบือนหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธสถานการณ์ที่ทําให้ เกิดความวิตกกังวล จะช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลให้ลดลงได้ แม้ว่าการใช้กลไก ป้องกันทางจิตจะสามารถรักษาความสมดุลของสภาพทางจิตใจไว้ได้ระดับหนึ่งก็ตาม แต่ถ้าใช้มากเกินไปอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคลิกภาพได้ ซึ่งจะนําไปสู่ภาวะของโรคประสาทได้ในที่สุด
107. การหาแพะรับบาป น่าจะเกี่ยวข้องกับการใช้กลไกทางจิตชนิดใด
(1) ปฏิกิริยากลบเกลื่อน
(2) การเก็บกด
(3) การเลียนแบบ
(4) การหาสิ่งทดแทน
(5) การไม่รับรู้ความจริง
ตอบ 4 หน้า 358 การหาสิ่งทดแทน (Displacement) เป็นกลไกป้องกันทางจิตเมื่อเกิดความคับข้องใจ กับบุคคลที่เป็นสาเหตุ แต่ถ้าไม่สามารถแสดงออกกับผู้นั้นได้โดยตรง ก็จะหาผู้อื่นหรือสิ่งอื่นมา เป็นแพะรับบาป เช่น โกรธเจ้านาย กลับบ้านก็มาด่าว่าภรรยาหรือเตะหมาแทน ฯลฯ
108. “หนีเสือปะจระเข้” เป็นความขัดแย้งใจชนิดใด
(1) Approach-Approach Conflicts
(2) Avoidance-Avoidance Conflicts
(3) Approach-Avoidance Conflicts
(4) Double Approach-Avoidance Conflicts
(5) Double Approach–Approach Conflicts
ตอบ 2 หน้า 361 – 364 ความขัดแย้งใจ (Conflict) มี 4 ประเภท คือ
1. อยากได้ทั้งคู่ (Approach-Approach Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ “รักพี่เสียดายน้อง” คือ ตัวเลือกทั้งสองเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาทั้งคู่ แต่หากเข้าใกล้ เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งแล้วจะทําให้อีกเป้าหมายหนึ่งลดความดึงดูดลงไปได้มาก
2. อยากหนีทั้งคู่ (Avoidance-Avoidance Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ “หนีเสือปะจระเข้” คือ เป็นความกดดันที่จะต้องเลือกตัวเลือกที่ไม่พึงปรารถนาทั้งคู่ ก่อให้เกิดพฤติกรรม “นิ่งเฉย ไม่ตัดสินใจ” เนื่องจากไม่กล้าตัดสินใจและทําอะไรไม่ถูก
3. ทั้งรักและชัง (Approach Avoidance Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ “กลืนไม่เข้าคายไม่ออก” คือ ตัวเลือกนั้นเป็นทั้งสิ่งที่ชอบและไม่ชอบในขณะเดียวกัน จึงทําให้เกิดความลังเลใจ เช่น อยากทานขนมหวานแต่กลัวฟันผุและกลัวอ้วน ฯลฯ
4. ทั้งชอบและชังในตัวเลือกทั้งคู่ (Double Approach Avoidance Conflicts) คือ ตัวเลือก ทั้ง 2 มีทั้งดีและไม่ดีในเวลาเดียวกัน เช่น ต้องเลือกระหว่างงานใหม่ 2 แห่ง แห่งแรกนั้นถูกใจ หมดทุกอย่างแต่เงินเดือนต่ํา แต่อีกแห่งไม่ถูกใจเลยแต่เงินเดือนสูง เราจะเลือกแห่งใด ฯลฯ
109. ความขัดแย้งใดที่ก่อให้เกิดภาวะ “เป้าหมายหนึ่งอาจลดความดึงดูดลงไปได้ หากเข้าใกล้อีกเป้าหมายหนึ่ง”
(1) อยากได้ทั้งคู่
(2) อยากหนีทั้งคู่
(3) ทั้งรักและชัง
(4) ทั้งชอบและยังในตัวเลือกทั้งคู่
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 108, ประกอบ
110. วิธีการใดเกี่ยวข้องกับการจัดการความขัดแย้งอย่างมีประสิทธิภาพ
(1) ควรรีบจัดการแก้ปัญหาที่เกิดความคับข้องใจให้เร็วที่สุด
(2) เมื่อแก้ไขความขัดแย้งแล้วต้องรับผิดชอบผลที่เกิดขึ้นด้วย
(3) ต้องตระหนักว่ามีทางที่ถูกต้องเพียงทางเดียวเท่านั้นในการแก้ปัญหา
(4) การตัดสินใจอาศัยการวิเคราะห์ ไม่จําเป็นต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์นั้นก่อน
(5) ปัญหาเป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวเราเองเท่านั้น ไม่ควรให้ผู้อื่นรู้ หรือไม่จําเป็นต้องสอบถามจากผู้อื่น
ตอบ 2 หน้า 364 – 365 วิธีการแก้ไขความขัดแย้งใจอย่างมีประสิทธิภาพ มีดังนี้
1. อย่ารีบร้อนในการตัดสินใจ เมื่อมีความคับข้องใจเกิดขึ้น
2. ก่อนการตัดสินใจสิ่งใดควรลองไป “สัมผัส” กับสถานการณ์นั้นเสียก่อน
3. พยายามหาทางเลือกอื่นเท่าที่จะหาได้เพื่อการตัดสินใจที่ดีที่สุด อาจถามจากผู้รู้แหล่งต่าง ๆ
4. ถ้าการเลือกของเรายังผิดพลาดก็ต้องทําใจยอมรับ และรับผิดชอบในสิ่งที่เราได้ทําลงไป
111. ข้อใดเป็นระยะห่างระหว่างบุคคลที่ใช้เมื่ออยู่กับเพื่อน
(1) ระยะสนิทสนม
(2) ระยะส่วนตัว
(3) ระยะสังคม
(4) ระยะห่างไกล
(5) ระยะสาธารณะ
ตอบ 2หน้า 378 – 379 ระยะห่างระหว่างบุคคล แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ
1. ระยะสนิทสนม (Intimate Distance) 0 – 18 นิ้ว เป็นระยะใกล้ชิดที่มักใช้สื่อสารเฉพาะ กับคนพิเศษ เช่น ใช้ระหว่างคู่รัก คนในครอบครัว ฯลฯ
2. ระยะส่วนตัว (Personal Distance) 1 – 4 ฟุต เป็นระยะที่ใช้เมื่ออยู่กับเพื่อน อาจารย์ ที่ปรึกษา ครูนั่งสอนนักเรียน ฯลฯ มักเอื้อมมือถึงกันได้ และใช้ระดับเสียงพูดปกติ
3. ระยะสังคม (Social Distance) 4 – 12 ฟุต เป็นระยะที่ใช้พูดคุยกันทางสังคมและธุรกิจ
4. ระยะสาธารณะ (Public Distance) 12 ฟุตขึ้นไป เป็นระยะที่เป็นทางการมากขึ้น เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ การบรรยาย การหาเสียงเลือกตั้ง การแสดงคอนเสิร์ต ฯลฯ
112. “นกปรึกษาคุณแม่เรื่องการเรียน” เป็นระยะห่างระหว่างบุคคลระยะใด
(1) ระยะสนิทสนม
(2) ระยะส่วนตัว
(3) ระยะสังคม
(4) ระยะห่างไกล
(5) ระยะสาธารณะ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 111. ประกอบ
113. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่ดึงดูดใจให้คนเป็นมิตรกัน
(1) ความสามารถ
(2) ความใกล้ชิดทางกาย
(3) ความมีเสน่ห์ดึงดูดทางกาย
(4) ความมีน้ำใจ
(5) ความคล้ายคลึงกัน
ตอบ 4 หน้า 380 – 381 ปัจจัยที่ดึงดูดใจให้คนเป็นมิตรกัน มีดังนี้
1. ความใกล้ชิดทางกาย
2. ความมีเสน่ห์ดึงดูดทางกาย
3. ความสามารถ
4. ความคล้ายคลึงกัน
114. “เป็นสถานการณ์ที่มีการสื่อสารซ้ำ ๆ โดยไม่มีการอธิบาย” จากข้อความดังกล่าวแสดงถึงสถานการณ์ใด
ที่ทําให้เกิดอิทธิพลทางสังคม
(1) สถานการณ์การเสนอแนะ
(2) การอภิปรายกลุ่ม
(3) สถานการณ์การคล้อยตาม
(4) การยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น
(5) สารชักจูง
ตอบ 1 หน้า 383 สถานการณ์ที่อาจทําให้เกิดอิทธิพลทางสังคมขึ้น มี 5 สถานการณ์ คือ
1. สถานการณ์การเสนอแนะ เป็นสถานการณ์ที่มีการสื่อสารซ้ํา ๆ โดยปราศจากการอธิบาย
2. สถานการณ์การคล้อยตาม เป็นสถานการณ์ซึ่งมีการสื่อสารที่แตกต่างกันระหว่างบุคคลกับ พฤติกรรมของกลุ่ม ปทัสถานของกลุ่ม หรือค่านิยมของกลุ่ม
3. การอภิปรายกลุ่ม เป็นสถานการณ์ที่มีการโต้แย้งเกิดขึ้น
4. สารชักจูง เป็นสารหรือข้อความที่ได้มีการพิจารณาและขัดเกลาคําพูดมาเป็นอย่างดีแล้ว
5. การยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น (การล้างสมอง) เป็นสถานการณ์ที่ใช้ทั้ง 4 ลักษณะข้างต้นพร้อมกัน
115. “คุณถูกนําเสนอนโยบายซึ่งได้ผ่านการขัดเกลาภาษามาเป็นอย่างดีเพื่อให้เพื่อน ๆ ประทับใจและเลือกเขาเป็นประธานนักเรียน” จากข้อความดังกล่าวแสดงถึงสถานการณ์ใดที่ทําให้เกิดอิทธิพลทางสังคม
(1) สถานการณ์การเสนอแนะ
(2) สถานการณ์การคล้อยตาม
(3) การอภิปรายกลุ่ม
(4) สารชักจูง
(5) การยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 114. ประกอบ
116. “เมื่อทําผิดต้องถูกลงโทษโดยการติดคุกตามความผิดของตน” ตรงกับอํานาจทางสังคมแบบใด
(1) อํานาจในการให้รางวัล
(2) อํานาจในการบังคับ
(3) อํานาจตามกฎหมาย
(4) อํานาจตามการอ้างอิง
(5) อํานาจตามความเชี่ยวชาญ
ตอบ 2 หน้า 385 – 386 อํานาจ (Power) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในสังคม อํานาจทางสังคมมี 5 ประเภท คือ
1. อํานาจในการให้รางวัล คือ การให้รางวัลแก่บุคคลที่แสดงพฤติกรรมตามที่ปรารถนาได้
2. อํานาจในการบังคับ โดยใช้การจําคุกและการปรับสินไหมเป็นเครื่องควบคุมพฤติกรรม
3. อํานาจตามกฎหมาย เกิดจากการยอมรับให้บุคคลเป็นตัวแทนของระเบียบทางสังคม
4. อํานาจตามการอ้างอิง เป็นอํานาจที่มาจากการที่บุคคลนั้นได้รับการเคารพนับถือ
5. อํานาจตามความเชี่ยวชาญ เป็นการยอมรับนับถือผู้ที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญ
117. “คุณหมอได้รับการยอมรับนับถือจากคนไข้” ตรงกับอํานาจทางสังคมแบบใด
(1) อํานาจในการให้รางวัล
(2) อํานาจในการบังคับ
(3) อํานาจตามกฎหมาย
(4) อํานาจตามการอ้างอิง
(5) อํานาจตามความเชี่ยวชาญ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 116. ประกอบ
118. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเจตคติและอคติ
(1) ประกอบด้วย ความเชื่อ การกระทํา และอารมณ์
(2) อคติเป็นเจตคติทางลบ
(3) สื่อมวลชนไม่มีส่วนในการสร้างเจตคติ
(4) การเกลี้ยกล่อมชักจูงเป็นการเปลี่ยนเจตคติโดยการให้ข้อมูล
(5) สถานภาพที่ไม่เท่าเทียมกันเป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดอคติระหว่างกลุ่ม
ตอบ 3 หน้า 389 – 393 เจตคติ มีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ ความเชื่อ อารมณ์ และการกระทําสื่อมวลชนทุกแขนงโดยเฉพาะโทรทัศน์มีผลหรือมีส่วนในการเกิดหรือสร้างเจตคติอย่างมาก การเกลี้ยกล่อมชักจูงเป็นการพยายามเปลี่ยนเจตคติโดยการให้ข้อมูล, อคติเป็นเจตคติทางลบ, สถานภาพที่ไม่เท่าเทียมกันก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดอคติระหว่างกลุ่มขึ้น
119. “คุณป้อมรู้สึกเสียหน้าและรู้สึกโกรธจากคําพูดของคุณ คุณป้อมมีความคิดว่าถ้ามีโอกาสจะหาทางเอาคืน คุณให้ได้” ลักษณะดังกล่าวเป็นลักษณะของผู้ที่ถูกกระทําจากพฤติกรรมในข้อใด
(1) พฤติกรรมเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
(2) พฤติกรรมไม่กล้าแสดงออก
(3) พฤติกรรมก้าวร้าว
(4) พฤติกรรมการช่วยเหลือ
(5) พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม
ตอบ 3 หน้า 397 ผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวมักจะมีความรู้สึกชอบความตรงไปตรงมาค่อนข้างมาก มีความรู้สึกเหยียดหยามเป็นบางครั้ง อาจรู้สึกผิดในเวลาต่อมา รู้สึกเจ็บปวด รู้สึกถูกทําร้าย จิตใจ รู้สึกเสียหน้า รู้สึกเสียศักดิ์ศรี รู้สึกโกรธ และจะหาทางแก้แค้นหรือเอาคืนถ้ามีโอกาส
120. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับพฤติกรรมไม่กล้าแสดงออก
(1) ผู้ถูกกระทํามีความรู้สึกถูกทําร้าย
(2) ผู้แสดงพฤติกรรมไม่กล้าแสดงออกมีพฤติกรรมปฏิเสธตนเอง
(3) ผู้แสดงพฤติกรรมไม่กล้าแสดงออกมีความรู้สึกเหยียดหยามผู้ถูกกระทํา
(4) ผู้แสดงพฤติกรรมไม่กล้าแสดงออกมีความรู้สึกชอบความตรงไปตรงมา
(5) บุคคลที่สามรู้สึกว่าผู้แสดงพฤติกรรมไม่กล้าแสดงออกเป็นผู้น่าศรัทธา
ตอบ 2 หน้า 397, (ดูคําอธิบายข้อ 119. ประกอบ) ผู้ที่มีพฤติกรรมไม่กล้าแสดงออกมักจะมีอารมณ์ ไม่เหมาะสม ซ่อนเร้นปิดบัง ปฏิเสธตนเอง มีการไตร่ตรอง และมีความรู้สึกเด่นกว่าเหนือกว่า