การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา RAM 1000 (RU 100) ความรู้คู่คุณธรรม
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
ในกรณีที่ไม่มีตัวเลือกใดถูกต้องให้นักศึกษาตอบตัวเลือกที่ 5 (แต่ละข้อมี 4 ตัวเลือก)
1.“อัตตาหิ อัตตโน นาโถ” คล้องจองกับสุภาษิตข้อใด
(1) ตนเป็นที่พึ่งของคนอื่น
(3) ตนเป็นที่พึ่งของตน
(2) ตนเป็นที่พึ่งของพ่อแม่
(4) คนอื่นเป็นที่พึ่งของเรา
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) คําขวัญมหาวิทยาลัยรามคําแหงได้มีขึ้นตั้งแต่ระยะแรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย
1. รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ
จวบจนปัจจุบัน ตามลําดับดังนี้
2. เปลวเทียนให้แสง รามคําแหงให้ทาง
3. สร้างความรู้สู่สากล สร้างคนคู่คุณธรรม
4. ตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งแห่งตน (อัตตาหิ อัตตโน นาโถ) ฯลฯ
2.วันที่ 17 มกราคม เป็นวันสําคัญของมหาวิทยาลัยรามคําแหง ที่มหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการได้จัด งานรัฐพิธีขึ้นพร้อมกันทุกปี ได้แก่
(1) วันพ่อขุนรามคําแหงมหาราช
(2) วันสถาปนามหาวิทยาลัย
(3) วันพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคําแหงมหาราช
(4) วันรพี
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 รัฐบาลไทยได้มีมติอนุมัติและประกาศให้ วันที่ 17 มกราคมของทุกปี เป็นวันพ่อขุนรามคําแหงมหาราช ทั้งนี้เพราะเป็นวันที่รัชกาลที่ 4 ทรงค้นพบหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคําแหงเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2376
3. วันสถาปนามหาวิทยาลัยรามคําแหงได้จัดขึ้นทุกปีในวันใด
(1) 17 มกราคมของทุกปี
(2) 17 กรกฎาคมของทุกปี
(3) 26 พฤศจิกายนของทุกปี
(4) 7 สิงหาคมของทุกปี
ตอบ 3 หน้า 32 รัชกาลที่ 9 และสมเด็จฯ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดําเนิน ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคําแหงมหาราชที่มหาวิทยาลัยรามคําแหง (หัวหมาก) เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 พร้อมทั้งพระราชทานปริญญาบัตรให้แก่บัณฑิตรุ่นแรก ของมหาวิทยาลัยรามคําแหงเป็นเวลารวม 2 วัน ได้แก่ วันที่ 26 – 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ดังนั้นในวโรกาสมหามงคลยิ่งนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหงจึงได้ถือเอาวันที่ 26 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
4.สีประจําคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) แดง
(2) เหลือง
(3) สีน้ำเงิน – ทอง
(4) ฟ้า
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) สีประจําคณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยรามคําแหง มีดังนี้
1. คณะนิติศาสตร์ (สีขาว)
2. คณะบริหารธุรกิจ (สีฟ้า)
3. คณะมนุษยศาสตร์ (สีแสด)
4. คณะศึกษาศาสตร์ (สีชมพู)
5. คณะวิทยาศาสตร์ (สีเหลือง)
6. คณะรัฐศาสตร์ (สีแดงเข้ม) ฯลฯ
5. สุพรรณิการ์ เป็นต้นไม้ประจํามหาวิทยาลัยใด
(1) ศรีนครินทรวิโรฒ
(2) รามคําแหง
(3) ธรรมศาสตร์
(4) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พระราชทานต้นสุพรรณิการ์ หรือฝ้ายคํา เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจํามหาวิทยาลัยรามคําแหง ซึ่งขณะนี้ปลูกไว้บริเวณหน้าอาคาร หอประชุมพ่อขุนรามคําแหงมหาราช เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2542
6.อักษรย่อ (ภาษาไทย) ของมหาวิทยาลัยรามคําแหงที่เขียนถูกต้องที่สุด
(1) มร.
(2) ม.รามคําแหง
(3) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
(4) ม.ร.
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) อักษรย่อภาษาไทยของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ มร.
7. มหาวิทยาลัยรามคําแหงก่อตั้งและเปิดการเรียนการสอนขึ้นในปี พ.ศ.
(1) 2514
(2) 2515
(3) 2516
(4) 2517
ตอบ 1 หน้า 11, 31, (คําบรรยาย) มหาวิทยาลัยรามคําแหงเป็นสถาบันการศึกษาของรัฐ ดําเนินการ แบบตลาดวิชา โดยมีการก่อตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยรามคําแหง พ.ศ. 2514 และได้เปิด การเรียนการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2514
8.อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) รศ.สุขุม นวลสกุล
(2) รศ.รังสรรค์ แสงสุข
(3) ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์
(4) รศ.คิม ไชยแสนสุข
ตอบ 3 หน้า 2. 21 – 22, 116 ประวัติของศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ มีดังนี้
1. สําเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ก่อนที่จะไป ศึกษาปริญญาเอก ณ ต่างประเทศ
2. เคยดํารงตําแหน่งทางการบริหารโดยเป็นอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. ทํางานด้านการเมืองในตําแหน่งรองโฆษกรัฐบาลในรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร
4. เป็นประธานกรรมการเตรียมการเปิดมหาวิทยาลัยรามคําแหง
5. ดํารงตําแหน่งอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยรามคําแหง
9. บุคคลสี่เหล่า เปรียบเหมือนดอกไม้ชนิดใด
(1) ดอกเบญจมาศ
(2) ดอกดาวเรือง
(3) ดอกบัว
(4) ดอกลั่นทม
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พระพุทธศาสนาได้เปรียบเทียบสติปัญญาของบุคคลไว้กับดอกบัว 4 เหล่า ดังนี้
1.ดอกบัวโผล่พ้นน้ําพร้อมที่จะบาน เปรียบได้กับคนฉลาดมาก
2. ดอกบัวที่กําลังโผล่พ้นน้ํา เปรียบได้กับคนฉลาดปานกลาง
3. ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ํา เปรียบได้กับคนฉลาดน้อย
4. ดอกบัวที่อยู่ในโคลนตม เปรียบได้กับคนโง่ทึบ ไม่สามารถพัฒนาได้
10. “กินน้ำในบ่อ อย่าลืมคนขุดบ่อ” เป็นข้อความที่แสดงถึงคุณธรรมในข้อใด
(1) อุเบกขา
(2) มุทิตา
(3) กตัญญูกตเวทิตา
(4) เมตตาปราณี
ตอบ 3 (คําบรรยาย) คําว่า “กตัญญู” แปลว่า รู้คุณท่าน รู้ว่าใครมีบุญคุณต่อตน โดยเป็นความรู้สึก ในการอุปการคุณหรือบุญคุณที่ผู้อื่นหรือสิ่งอื่นมีต่อเรา ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของความเป็นคนดี จึงมักใช้คู่กับคําว่า “กตเวที” (กตเวทิตา) แปลว่า สนองคุณท่านหรือการแสดงออกและรู้จัก ตอบแทนบุญคุณต่อผู้มีพระคุณนั้น ดังสํานวนไทยที่กล่าวว่า “กินน้ําในบ่อ อย่าลืมคนขุดบ่อ” (ให้มีความกตัญญูกตเวทิตา อย่าลืมผู้ที่เลี้ยงดูเรามา)
11. ข้อใดที่เป็นธรรมะในพรหมวิหาร 4
(1) เมตตา กรุณา
(2) สติสัมปชัญญะ
(3) สัจจะบารมี
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 41, (คําบรรยาย) พรหมวิหาร 4 หรือเรียกกันว่า “พรหมวิหารธรรม” ถือเป็นหลักธรรม ประจําใจ เพื่อให้ตนดํารงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์เฉกเช่น “พรหม” ซึ่งประกอบด้วย
1. เมตตา คือ ความรักปรารถนาดีเป็นมิตร อยากให้ผู้อื่นพบความสุข
2. กรุณา คือ ความสงสารอยากช่วยเหลือให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
3. มุทิตา คือ ความพลอยยินดีพร้อมที่จะส่งเสริมสนับสนุนผู้ที่ประสบความสําเร็จให้มีความสุข ไม่คิดอิจฉาริษยาในความดีของผู้อื่น
4. อุเบกขา คือ การวางตัว การวางใจเป็นกลางเพื่อรักษาธรรม
12. ข้อใดเป็นเป้าหมายที่ให้คุณค่าของจิตสํานึกน้อยที่สุด
(1) เรียนเพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่เพื่อนําไปพัฒนา
(2) เรียนเพื่อไปประกอบอาชีพ
(3) เรียนเพื่อทดแทนพระคุณบิดามารดา
(4) เรียนเพื่อให้ได้มาซึ่งปริญญา
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เป้าหมายการเรียนที่มีคุณค่าของการรู้สํานึกนั้น มิใช่เรียนเพื่อให้ได้ปริญญาหรือ วิทยฐานะเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเป็นการเรียนให้ได้องค์ความรู้ใหม่เพื่อนําไปพัฒนาศักยภาพ และขีดความสามารถทางด้านต่าง ๆ ที่จะดํารงชีพและประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุข และ ที่สําคัญ คือ การเรียนเพื่อพ่อแม่ผู้มีอุปการคุณที่ได้ส่งเสียและเลี้ยงดูเรามา อันเป็นการแสดงถึง ความกตัญญูกตเวที
13. อวิชชา มีความหมายสมบูรณ์ตามข้อใด
(1) ได้ทั้ง 2 ทาง คือ รู้กับไม่รู้
(2) ไม่รู้ในสิ่งที่ควรรู้
(3) รู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้
(4) ไม่ควรรู้ในสิ่งที่ควรรู้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) อวิชชา หมายถึง ความไม่รู้แจ้ง ความไม่รู้ความเป็นจริงของสิ่งต่าง ๆ โดยถูกต้อง และแจ่มแจ้ง ความไม่รู้ในอริยสัจ หรือความไม่รู้สึกตัวทั่วพร้อมโดยสมบูรณ์ในความเป็นจริงของ สิ่งต่าง ๆ ในขณะที่กําลังเผชิญหน้ากับมัน นอกจากนี้อดีตอธิการบดี รองศาสตราจารย์รังสรรค์ แสงสุข ได้ให้ความหมายว่า อวิชชาแปลได้ทั้ง 2 ทาง คือ รู้และไม่รู้ กล่าวคือ ไม่รู้ในสิ่งที่ควรรู้ แล้วไปรู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้นั่นเอง เรียกว่า รู้ไม่ถูกทาง
14. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ หมายถึงข้อใด
(1) จริยธรรม
(2) ศีลธรรม
(3) คุณธรรม
(4) เมตตาธรรม
ตอบ 1 หน้า 42, (คําบรรยาย) คําว่า “จริยธรรม” ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม, กฎศีลธรรม
15. แหล่งที่มาของคุณธรรมจริยธรรม คือข้อใด
(1) วิชาปรัชญา เป็นวิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง, ศาสนา, วรรณคดี
(2) พันธสัญญาประชาคม
(3) เกิดจากการสร้างตนเอง
(4) โลก Online
ตอบ 1 – หน้า 46 – 47 แหล่งที่มาของคุณธรรมและจริยธรรม ได้แก่
1. วิชาปรัชญา คือ วิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง
2. ศาสนาต่าง ๆ
3. วรรณคดี ซึ่งจะมีแนวคิดคําสอนที่เป็นแนวปฏิบัติได้ เช่น สุภาษิตพระร่วง โคลงโลกนิติ และ สุภาษิตสอนหญิง
4. สังคม ได้แก่ ขนบธรรมเนียมประเพณี
5. การเมืองการปกครอง
16. “ใช้เงินเป็นเบี้ย” สอดคล้องกับข้อใดมากที่สุด
(1) ใช้เงินของเพื่อน
(2) ใช้เงินฟุ่มเฟือย
(3) ใช้เงินอย่างประหยัด
(4) ใช้เงินอย่างอดทน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) “ใช้เงินเป็นเบี้ย” หมายถึง จับจ่ายใช้สอยอย่างฟุ่มเฟือยโดยไม่รู้คุณค่าของเงิน
17. ข้อใดคือความหมายของจรรยาบรรณ
(1) การประพฤติดี ประพฤติชอบในสายอาชีพของตน
(2) การพัฒนาคนในวิชาชีพของตน
(3) การพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งด้วยการกําหนดหลักความประพฤติเพื่อใช้ในชุมชนของตน
(4) ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบวิชาชีพแต่ละแห่งกําหนด เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติ
ในวิชาชีพของตน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) จรรยาบรรณ หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงาน แต่ละอย่างได้กําหนดขึ้นมา เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก ในวิชาชีพของตน ซึ่งอาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้
18. สีประจํามหาวิทยาลัยรามคําแหง ข้อใดถูกต้องที่สุด
(1) “สีน้ําเงิน – ทอง
(2) “สีทองน้ำเงิน”
(3) “สีน้ําเงิน – เหลืองทอง”
(4) “สีฟ้าน้ําเงินทอง”
ตอบ 1 หน้า 18 (ความรู้ทั่วไป) สีประจํามหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ “สีน้ําเงิน – ทอง
19. ศูนย์กลางแหล่งสืบค้นข้อมูลแห่งใหญ่ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) สํานักบริการข้อมูลและสารสนเทศ
(2) สํานักหอสมุดกลาง
(3) สํานักเทคโนโลยีการศึกษา
(4) สํานักบริการการศึกษาสื่อการเรียนรู้
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ศูนย์กลางแหล่งสืบค้นข้อมูลแห่งใหญ่ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ สํานัก เทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งเป็นองค์กรแห่งการผลิต พัฒนา และบริการสื่อการศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยทุกแขนงวิชา ดังนั้นสํานักเทคโนโลยีการศึกษา จึงถือเป็นแหล่งรวมสื่อการศึกษาที่มีความหลากหลายในทุกสาขาวิชาและทุกชั้นปี
20. พลเมือง หมายถึงข้อใด
(1) คนที่มีสิทธิและหน้าที่ในฐานะประชาชนของประเทศใดประเทศหนึ่ง
(2) ประชาชนที่อยู่ภายใต้ผู้ปกครองเดียวกัน มักมีวัฒนธรรมเดียวกัน
(3) ชาวเมือง ชาวประเทศ ประชาชน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) คําว่า “พลเมือง” ในประเทศไทย น่าจะถูกนํามาใช้ในสมัยหลังเปลี่ยนแปลง การปกครอง พ.ศ. 2475 โดยพจนานุกรมนักเรียนฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมาย ของคําว่า “พลเมือง” หมายถึง ชาวเมือง ชาวประเทศ ประชาชน
21. ความหมายของจรรยาบรรณและวิชาชีพสําหรับนักกฎหมาย ข้อใดถูกต้องที่สุด
(1) ความยุติธรรม และรับใช้สังคม
(2) รักศักดิ์ศรีของความเป็นนักกฎหมาย
(3) มีความเชื่อมั่นต่อตนเอง
(4) ส่งเสริมคนดีไม่ให้โกงประเทศชาติ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) จรรยาบรรณวิชาชีพ หมายถึง ประมวลมาตรฐานความประพฤติที่ผู้ประกอบ อาชีพจะต้องประพฤติปฏิบัติ ซึ่งถือเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบอาชีพปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม โดยจรรยาบรรณและวิชาชีพสําหรับนักกฎหมายที่สําคัญที่สุด คือ ความยุติธรรมและการรับใช้สังคมส่วนรวม
22. ปัจจุบันตําราวิชาความรู้คู่คุณธรรม ราคาเล่มละเท่าไร
(1) 26 บาท
(2) 25 บาท
(3) 23 บาท
(4) 24 บาท
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันตําราวิชาความรู้คู่คุณธรรม (RAM 1000) ราคาเล่มละ 23 บาท
23. ผู้มีหน้าที่ออกข้อบังคับด้านจรรยาบรรณของครู 10 ประการ
(1) สภาผู้แทนราษฎร
(2) คุรุสภา
(3) คณะผู้แทนองค์กรวิชาชีพครู
(4) คณะครูอาวุโส
ตอบ 2 (คําบรรยาย) จรรยาบรรณวิชาชีพครู คือ กฎแห่งความประพฤติสําหรับสมาชิกวิชาชีพครู ซึ่งองค์กรวิชาชีพครู (คุรุสภา) เป็นผู้กําหนด และสมาชิกในวิชาชีพทุกคนจะต้องถือปฏิบัติ โดยเคร่งครัด ซึ่งจรรยาบรรณครูฉบับแรก เรียกว่า “ระเบียบว่าด้วยจรรยามารยาทอันดีงาม ตามประเพณีของครู” พ.ศ. 2506 มี 10 ประการ
24. ความหมายของจรรยาบรรณและวิชาชีพสําหรับนักกฎหมาย ข้อใดถูกต้องที่สุด
(1) ส่งเสริมคนดีไม่ให้โกงประเทศชาติ
(2) รักศักดิ์ศรีของความเป็นนักกฎหมาย
(3) มีความเชื่อมั่นต่อตนเอง
(4) ความยุติธรรม และรับใช้สังคม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ
25. ต้นไม้สัญลักษณ์ประจํามหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) สุพรรณิการ์
(2) ฝ้ายคํา
(3) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ
26. มนุษย์ควรมีการพัฒนาตนเองโดยต้องได้รับการศึกษาอย่างไร
(1) ศึกษาอย่างต่อเนื่องและตลอดชีพ
(3) ศึกษาสาขาวิชาที่ต้องการเรียนรู้
(2) ศึกษาตามอัธยาศัย
(4) พื้นฐานและอุดมศึกษา
ตอบ 2 หน้า 38 – 39 การศึกษาที่กําหนดไว้ในยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศมีหลักการพื้นฐานว่า มนุษย์ที่มีคุณภาพต้องได้รับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้ สามารถพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและตลอดชีวิต
27. ข้อใดคือการเกิดคุณธรรมและจริยธรรมในมนุษย์
(1) เกิดจากการพึ่งพาผู้อื่น
(2) เกิดจากการเลียนแบบ
(3) เกิดจากการกระทํา
(4) เกิดได้ทุกเวลา
ตอบ 2 หน้า 47 คุณธรรมจริยธรรมในมนุษย์แต่ละคน อาจเกิดจากสาเหตุดังนี้
1. เกิดจากการเลียนแบบ
2. เกิดจากการสร้างในตนเอง
3. เกิดจากการบําเพ็ญประโยชน์และพันธสัญญาประชาคม (Utility and Social Contract)
28. คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ได้แก่
(1) สามัคคี ประหยัด ซื่อสัตย์
(2) รับผิดชอบ มีน้ําใจ มีวินัย
(3) รับผิดชอบ สามัคคี ตรงต่อเวลา
(4) สามัคคี สุภาพ ตรงต่อเวลา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) กระทรวงศึกษาธิการได้กําหนดคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ให้แก่ เยาวชนไทย โดยมีจุดเน้นเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข ดังนี้
1. ขยัน
2. ประหยัด
3. ซื่อสัตย์
4. มีวินัย
5. สุภาพ
6. สะอาด
7. สามัคคี
8. มีน้ำใจ
29. แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 มีคุณธรรมสําคัญนําสังคมไทยในข้อใด
(1) พอเพียง, วินัย, สุจริต, จิตอาสา
(3) พอเพียง, ซื่อสัตย์, ขยัน, สามัคคี
(2) พอเพียง, วินัย, จิตอาสา, ซื่อสัตย์
(4) พอเพียง, สามัคคี, จิตอาสา, วินัย
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม กรมการศาสนา ซึ่งเป็นผู้ร่างหลักการนําเสนอ “แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1” (พ.ศ. 2559 – พ.ศ. 2564) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ได้กําหนดคุณธรรม ที่พึงประสงค์สําหรับสังคมไทย เพื่อนําไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ 4 ประการ ได้แก่
1. พอเพียง
2. วินัย
3. สุจริต
4. จิตอาสา
30. แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 หน่วยงานใดเป็นผู้ร่างหลักการขึ้นมา
(1) กระทรวงวัฒนธรรม
(2) สํานักพระพุทธศาสนา
(3) กระทรวงมหาดไทย
(4) กระทรวงศึกษาธิการ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ
31.ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ทุกข์ อาจมีสิ่งจูงใจให้จิตใจอ่อนไหวไปตามโลกธรรม เพราะเกิดสิ่งใด
(1) ความต้องการ
(2) ตัณหา
(3) โลกธรรม 8
(4) ความหลง
ตอบ 2 หน้า 51 เมื่อพิจารณาให้ลึกลงไปแล้ว จิตใจของคนเราย่อมอ่อนไหวผันแปรได้ง่าย หากไม่มี ปัญญาเป็นตัวกํากับ อาจมีสิ่งจูงใจให้จิตใจอ่อนไหวไปตามโลกธรรม คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ทุกข์ และเมื่อจิตใจผันผวนปรวนแปร พฤติกรรมของคนก็จะเปลี่ยนแปลงไป เพราะเกิดตัณหา เป็นตัวนําจิตใจ
32. แหล่งที่มาของคุณธรรม มาจากที่ใด
(1) ศาสนา
(2) การเลียนแบบ
(3) การดําเนินชีวิต
(4) การจินตนาการ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ
33. ข้อใดเป็นแหล่งเรียนรู้ใกล้ตัวนักศึกษาในขณะนี้
(1) แหล่งท่องเที่ยวในประเทศ
(2) ชุมชนชาวดอยภาคเหนือ
(3) มหาวิทยาลัยรามคําแหง
(4) การชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย
ตอบ 3 (คําบรรยาย) แหล่งเรียนรู้ตามมาตรา 25 ใน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุดประชาชน หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ แหล่งข้อมูลและแหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ (เช่น มหาวิทยาลัยรามคําแหง ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ใกล้ตัวนักศึกษาในขณะนี้
34. การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาบ้านเมือง ควรให้มีการพัฒนาในด้านใดก่อน
(1) พัฒนาจิตใจคน
(2) พัฒนาการศึกษา
(3) พัฒนาสติปัญญา
(4) พัฒนาคุณภาพชีวิต
ตอบ 1 หน้า 44 – 45 วศิน อินทสระ ได้กล่าวว่า การพัฒนาบ้านเมืองต้องพัฒนาจิตใจคนก่อน หรือ อย่างน้อยก็ให้พร้อม ๆ ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การศึกษาวิชาการอื่น ๆ เพราะการ พัฒนาที่ไม่มีจริยธรรมเป็นแกนนําจะสูญเปล่า และเกิดผลเสียเป็นอันมาก ทําให้บุคคลลุ่มหลง ในวัตถุและอบายมุข ซึ่งการที่เศรษฐกิจต้องเสื่อมโทรม ประชาชนทุกข์ยาก เพราะคนในสังคม ละเลยจริยธรรม กอบโกยทรัพย์สินเป็นประโยชน์ส่วนตัวมากเกินไป ขาดความเมตตาปราณี แล้งน้ําใจในการดําเนินชีวิต
35. ข้อใดคือความหมายของจิตสาธารณะ
(1) ความรู้สึกตระหนักถึงส่วนรวม
(2) ความคิดถึงส่วนรวม
(3) การคํานึงถึงความต้องการของส่วนรวม
(4) ความรักชาติ
ตอบ 1 หน้า 79 – 81, 93 จิตสาธารณะ (Public Mind) คือ ความรู้สึกตระหนักถึงส่วนรวม หรือ เป็นการตระหนักรู้ตนที่จะกระทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ดังนั้นจึงเป็นคําที่ มีความหมายตรงข้ามกับคําว่า “เห็นแก่ตัว” หรือเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน
36. ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องเกี่ยวกับความสําคัญของจิตสาธารณะ
(1) จิตสาธารณะจะช่วยลดปัญหาทางสังคม
(2) จิตสาธารณะจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(3) จิตสาธารณะจะช่วยทําให้ครอบครัวประหยัด
(4) ผู้ที่มีจิตสาธารณะ สังคมจะชื่นชม
ตอบ 1 หน้า 77, 81 จิตสาธารณะมีความสําคัญเป็นอย่างมากต่อสังคม เมื่อบุคคลมีจิตสาธารณะ จะช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อสังคม และประเทศชาติต่อไป
37. ปัจจัยภายในใดที่ทําให้เกิดจิตสาธารณะ
(1) การแยกแยะความดี ความชั่ว
(2) การประเมินพฤติกรรมที่เหมาะสมทางสังคม
(3) การตระหนักถึงส่วนรวม
(4) การคิดวิเคราะห์ พิจารณาตัดสินคุณค่าและความดีงาม
ตอบ 4 หน้า 85 – 86 ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และสังคม สัญจน กล่าวถึงปัจจัยแวดล้อมทั้งภายในและ ภายนอกที่ก่อให้เกิดจิตสาธารณะไว้ดังนี้
1. ปัจจัยภายนอก หมายถึง ปัจจัยที่เกี่ยวกับภาวะทางสัมพันธภาพของมนุษย์ ภาวะทางสังคม ซึ่งเป็นภาวะที่ลึกซึ้งกว่าภาวะทางกายภาพเพียงประการเดียว เป็นภาวะที่ได้รับการฝึกอบรม กล่อมเกลา และสะสมอยู่ในส่วนของการรับรู้ที่ละน้อย
2. ปัจจัยภายใน หมายถึง การคิดวิเคราะห์ของแต่ละบุคคลในการพิจารณาตัดสินคุณค่าและ ความดีงาม ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมและการประพฤติปฏิบัติ โดยเฉพาะการปฏิบัติทางจิตใจ
38. ปัจจัยภายนอกใดที่ทําให้เกิดจิตสาธารณะ
(1) การเลียนแบบ
(2) การฝึกอบรม
(3) การตระหนักถึงส่วนรวม
(4) การคิดวิเคราะห์ พิจารณาตัดสินคุณค่าและความดีงาม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 37. ประกอบ
39. แนวคิดใดเป็นพื้นฐานในการพัฒนาจิตสาธารณะ
(1) แนวคิดการพัฒนาคุณธรรม
(2) แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(3) แนวคิดการพัฒนาจริยธรรม
(4) เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริ
ตอบ 2 หน้า 77, 81 แนวคิดที่ใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาจิตสาธารณะที่ดีที่สุด คือ หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นแนวทางการปฏิบัติตนเองของผู้มีจิตสาธารณะอย่างแท้จริง
40. การปลูกฝังจิตสาธารณะควรเริ่มทําในวัยใด
(1) ก่อนอายุ 6 ปี
(2) อายุ 2 – 3 ปี
(3 อายุ 3 – 6 ปี
(4) อายุ 7 – 14 ปี
ตอบ 1 หน้า 85 การปลูกฝังจิตสาธารณะควรเริ่มทําก่อนอายุ 6 ปี เพราะตามหลักการทางจิตวิทยา การเกิดจิตสํานึกของเด็กจะถูกพัฒนามาจากการอบรมเลี้ยงดูในช่วงแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 6 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่การเลี้ยงดูเด็กได้ผลอย่างสูง โดยพ่อแม่และบุคคลในครอบครัวจะเป็นตัวแบบ ในการดําเนินชีวิตตามหลักศีลธรรม เพราะหากเด็ก ๆ ได้รับรู้ตั้งแต่ต้นจะได้แบบพิมพ์ที่ดีและยั่งยืน ส่วนผู้นําในสังคมเองก็ควรเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อให้เด็กและเยาวชนเลียนแบบคนดี
41. การเกิดจิตสํานึก ตามหลักการทางจิตวิทยาจะถูกพัฒนามาจากสิ่งใด
(1) การฝึกอบรม
(2) ประสบการณ์ในกลุ่มเพื่อน
(3) การอบรมเลี้ยงดู
(4) ประสบการณ์ในการทํางาน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ
42. ข้อใดคือปัจจัยทางจิตที่ก่อให้เกิดจิตสาธารณะ
(1) ความสัมพันธ์ในครอบครัว
(2) เอกลักษณ์แห่งตน
(3) ความสัมพันธ์กับเพื่อน
(4) การเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย
ตอบ 2 หน้า 86 เรียม นมรักษ์ ได้ศึกษาปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะว่าเกิดจาก 2 ปัจจัย ดังนี้
1. ปัจจัยทางจิต ได้แก่ เอกลักษณ์แห่งตน, ลักษณะการมุ่งอนาคต, การสนับสนุนจากประชาชน การรับรู้ความสามารถของตน, การคล้อยตามผู้อื่น, คุณธรรม จริยธรรม, ความตระหนักใน ปัญหาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
2. ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู, สัมพันธภาพระหว่างนักเรียน กับเพื่อน และการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย
43. ข้อใดคือปัจจัยทางสังคมที่ก่อให้เกิดจิตสาธารณะ
(1) ความสัมพันธ์ในครอบครัว
(2) เอกลักษณ์แห่งตน
(3) ความสัมพันธ์กับเพื่อน
(4) คุณธรรม จริยธรรม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ
44. ข้อใดไม่ใช่กลยุทธ์ในการปลูกฝังจิตสาธารณะ โดยประเวศ วะสี
(1) ความรัก
(2) ความรู้
(3) ความเป็นธรรมชาติ
(4) ความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม
ตอบ 4หน้า 87 นายประเวศ วะสี ได้เสนอกลยุทธ์ในการปลูกจิตสาธารณะ โดยใช้หลักของ การสร้างประชาคม เพราะประชาคมต้องขับเคลื่อนด้วยความร่วมมือร่วมใจเชื่อมโยง เป็นเครือข่าย ซึ่งอาศัยเทคนิค 3 ปัจจัย ได้แก่
1. ความรัก
2. ความรู้
3. ความเป็นธรรมชาติ
45. จิตสาธารณะเกิดจากสิ่งใด
(1) พันธุกรรม
(2) ประสบการณ์ในวัยเด็ก
(3) การทําวิจัย
(4) ละคร
ตอบ 1 หน้า 87 จิตสาธารณะเป็นสิ่งที่เกิดจากการสะสมของประสบการณ์ในวัยเด็ก และจะพัฒนา ไปอย่างช้า ๆ ในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ โดยเกิดจากการสั่งสอนฝึกฝนจากบุคคล สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมของสังคมนั้น ๆ ดังนั้นการพัฒนาจิตสาธารณะจึงจําเป็นต้องอาศัยกิจกรรมการ เรียนรู้ร่วมกันในสังคม
46. การพัฒนาจิตใจของบุคคลในสังคมให้อยู่ในความถูกต้อง เป็นบทบาทของสถาบันใดในการพัฒนา
จิตสาธารณะ
(1) สถาบันครอบครัว
(2) สถาบันการศึกษา
(3) สถาบันศาสนา
(4) สื่อมวลชน
ตอบ 3 หน้า 88 – 89, (คําบรรยาย) สถาบันศาสนา ถือเป็นสถาบันที่มีบทบาทและอิทธิพลอย่างมาก ต่อการปลูกฝังและพัฒนาจิตสาธารณะให้กับผู้คนในสังคม ซึ่งสถาบันศาสนาอยู่ในฐานะที่จะช่วยสร้างสรรค์และพัฒนาจิตใจของบุคคลในสังคมให้หันเข้ามาอยู่ในความถูกต้องตามทํานองคลองธรรม โดยเฉพาะวัดนับว่ามีอิทธิพลสูงต่อการอบรมขัดเกลานิสัยใจคอให้คนมีความรักใน ชุมชน รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น มีเมตตาอาทรต่อกัน เห็นแก่ผู้อื่นเสมือนเห็นแก่ตนเอง
47. การพัฒนาจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพ เป็นบทบาทของสถาบันใดในการพัฒนาจิตสาธารณะ
(1) สถาบันครอบครัว
(2) สถาบันการศึกษา
(3) สถาบันศาสนา
(4) สื่อมวลชน
ตอบ 2 หน้า 88, (คําบรรยาย) สถาบันการศึกษา เป็นรากฐานของการพัฒนาจิตสาธารณะให้กับสังคม โดยจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้มีจิตสํานึกความเป็นมนุษย์ที่เต็มที่ มุ่งเน้นการสร้างจิตสํานึก ภายใน อันเป็นการพัฒนาจิตใจที่เป็นรากฐานของความเป็นมนุษย์ รวมทั้งเน้นไปที่การพัฒนา จริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพ มากกว่าการพัฒนาเพื่อความสําเร็จในวิชาชีพโดยปราศจากพื้นฐานทางด้านจริยธรรม
48. การยกย่องชมเชยแก่เด็กและเยาวชนที่เป็นตัวอย่างในด้านต่าง ๆ เป็นบทบาทของสถาบันใดในการพัฒนาจิตสาธารณะ
(1) สถาบันครอบครัว
(2) สถาบันการศึกษา
(3) สถาบันศาสนา
(4) สื่อมวลชน
ตอบ 4 หน้า 89 – 90 บทบาทของสถาบันสื่อมวลชนในการพัฒนาจิตสาธารณะให้แก่เด็กและเยาวชน ได้แก่ สื่อควรส่งเสริมและเพิ่มการพัฒนาสื่อสร้างสรรค์ โดยสร้างสื่อการ์ตูนที่เป็นแบบอย่างที่ดี ส่งเสริมรายการเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนให้มากขึ้น มีรายการบันเทิงที่แฝงไปด้วยสาระความรู้ มีเวทีให้เด็กได้แสดงออกซึ่งความสามารถอย่างสร้างสรรค์ ตลอดจนมีเวทีให้รางวัลหรือยกย่อง ชมเชยแก่เด็กและเยาวชนที่เป็นตัวอย่างในด้านต่าง ๆ
49. ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง
(1) ปัจจัยทางจิตมีอิทธิพลมากกว่าปัจจัยด้านสังคมในการพัฒนาจิตสาธารณะ
(2) ปัจจัยทางสังคมมีอิทธิพลมากกว่าปัจจัยทางจิตในการพัฒนาจิตสาธารณะ
(3) จิตสาธารณะเกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกตัวบุคคล
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 86 จิตสาธารณะเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ที่มีความต่อเนื่องกันระหว่างปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกตัวบุคคล ดังนั้นการพัฒนาจิตสํานึกสาธารณะจึงต้องกระทําควบคู่กันทั้งปัจจัย ภายในและปัจจัยภายนอก เพราะถ้าหากคน ๆ หนึ่งเข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่คนรอบข้าง มีจิตสาธารณะ แต่ตัวเขาเองขาดปัจจัยภายใน คือ ขาดการคิดวิเคราะห์ที่เหมาะสม เขาก็จะ ไม่นําเอาแบบอย่างที่ดีในสังคมมาปฏิบัติ ในทางตรงกันข้าม หากคน ๆ หนึ่งมีจิตใจที่เสียสละ เพื่อส่วนรวม แต่ปัจจัยภายนอกเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในสังคมที่เขามักจะถูกเอาเปรียบอยู่เสมอในที่สุดเขาอาจจะกลายเป็นคนที่เห็นแก่ตัวได้
50. ข้อใดคือคุณลักษณะของผู้มีจิตสาธารณะ
(1) มีความเชื่อใจ ไว้ใจผู้อื่น
(2) มีความรักในชาติ
(3) มีประชาคมคอยช่วยเหลือ
(4) มีความพอประมาณ
ตอบ 1 หน้า 83 – 84 วิรัตน์ คําศรีจันทร์ ได้ศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ทางสังคมภาคประชาชน พบว่า ผู้ที่มีจิตสํานึกสาธารณะมีคุณลักษณะที่สําคัญ ดังนี้
1. มีความรัก ความเอื้ออาทร
2. มีความเชื่อใจ ไว้ใจผู้อื่น
3. มีการเรียนรู้ร่วมกันและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
4. สามารถยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล
5. มีปฏิสัมพันธ์ผ่านทางเครือข่ายและการมีส่วนร่วม
51. ในฐานะนักศึกษา จะสามารถนําเอาหลักการของจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่างไร
(1) การเข้าร่วมกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์
(2) การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุตรหลาน
(3) การจัดโครงการจิตสาธารณะ
(4) การใช้น้ำอย่างประหยัด
ตอบ 1 หน้า 92 ในฐานะนักศึกษา สามารถนําจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวันได้ คือ การออก ค่ายอาสาพัฒนา การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา และการเข้าร่วมกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์ ต่าง ๆ ที่ทางกลุ่มเพื่อน ชมรมวิชาการ หรือทางมหาวิทยาลัยจัดให้ เช่น กิจกรรมการรณรงค์ “รวมพลังชาวรามคําแหงงดใช้ งดให้ งดรับถุงพลาสติก” เป็นต้น
52. ในฐานะผู้ปกครอง จะสามารถนําเอาหลักการของจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่างไร
(1) การเข้าร่วมกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์
(2) การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุตรหลาน
(3) การจัดโครงการจิตสาธารณะ
(4) การใช้น้ำอย่างประหยัด
ตอบ 2 หน้า 92 ในฐานะพ่อแม่หรือผู้ปกครอง สามารถนําจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวันได้ คือ การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุตรหลาน โดยรักษาวินัยทางสังคม การเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะ การยกย่องชมเชยหรือให้กําลังใจเด็ก ๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะ รวมทั้งแสดงพฤติกรรมที่ เหมาะสมในการทําเพื่อสังคม ซึ่งนับเป็นการกระทําที่ได้ช่วยเหลือสังคมทางอ้อม เพราะเป็นการ สร้างให้คนมีจิตสาธารณะเพิ่มมากขึ้น
53. ในฐานะครูอาจารย์ จะสามารถนําเอาหลักการของจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่างไร
(1) การเข้าร่วมกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์
(2) การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุตรหลาน
(3) การจัดโครงการจิตสาธารณะ
(4) การใช้น้ำอย่างประหยัด
ตอบ 3 หน้า 92 ในฐานะครูอาจารย์ สามารถนําเอาหลักการของจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวัน คือ การจัดกิจกรรมให้นักเรียน/นักศึกษาได้ทํางานร่วมกัน การฝึกวินัยในการอยู่ร่วมกันในสังคม การสร้างโครงการจิตสาธารณะหรือกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์ต่าง ๆ การจัดการเรียนการสอน โดยการแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวกับจิตสาธารณะลงไปในบทเรียน ฯลฯ
54. ในฐานะสมาชิกของสังคม จะสามารถนําเอาหลักการของจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่างไร (1) การเข้าร่วมกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์
(2) การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุตรหลาน
(3) การจัดโครงการจิตสาธารณะ
(4) การใช้น้ำอย่างประหยัด
ตอบ 4 หน้า 92 ในฐานะสมาชิกของสังคมไทย สามารถนําเอาจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวันได้ โดยเริ่มจากตนเองในกิจกรรมเล็ก ๆ ได้แก่ การใช้ทรัพยากรน้ํา น้ำมัน หรือไฟฟ้าอย่างประหยัด และคุ้มค่า ฯลฯ จนไปถึงกิจกรรมใหญ่ ๆ ในระดับชุมชน ได้แก่ การพัฒนาชุมชน, การรักษา สิ่งแวดล้อมในชุมชน (เช่น การไม่ทิ้งขยะลงแม่น้ำลําคลอง) ฯลฯ หรือจนถึงระดับประเทศชาติ เช่น การสร้างเครือข่ายอนุรักษ์ต่าง ๆ ฯลฯ
55. วิกฤติการณ์การเงินในเอเชีย รวมทั้งประเทศไทยที่เรียกว่า วิกฤติต้มยํากุ้ง เกิดขึ้นเมื่อใด
(1) พ.ศ. 2539
(2) พ.ศ. 2540
(3) พ.ศ. 2542
(4) พ.ศ. 2543
ตอบ 2 หน้า 59 – 60 เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ําหรือวิกฤติการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 เรียกว่า “วิกฤติต้มยํากุ้ง” เป็นช่วงเวลาที่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสําคัญอย่างเด่นชัดและถูกนํามาพิจารณาเป็นแนวทางในการใช้ชีวิตให้สามารถดํารงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์
56. ปัจจุบันประเทศไทยใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด
(1) ฉบับที่ 9
(2) ฉบับที่ 10
(3) ฉบับที่ 11
(4) ฉบับที่ 12
ตอบ 4 หน้า 62 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน คือ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ซึ่งได้อัญเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานําทางในการจัดทําแผน ตั้งแต่ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549) จนถึงฉบับที่ 12 เพื่อนําสู่ “การพัฒนาที่ยั่งยืน”
57. องค์ประกอบหลักตามหลักแนวคิดการพัฒนาประเทศตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 จําแนกได้กี่องค์ประกอบ
(1) 2
(2) 3
(3) 4
(4) 5
ตอบ 3 หน้า 63 – 66 สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ประมวล
หลักแนวคิดการพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 โดยจําแนกออกเป็น 4 องค์ประกอบหลัก ดังนี้
1. แนวคิดหลัก
2. เป้าประสงค์
3. หลักการ
4. เงื่อนไขพื้นฐาน
58. การปฏิบัติตนตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับรัฐในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดําเนินการ
ไปในทางสายกลาง เกี่ยวกับองค์ประกอบหลักข้อใด
(1) แนวคิดหลัก
(2) เป้าประสงค์
(3) หลักการ
(4) เงื่อนไขพื้นฐาน
ตาม 1 หน้า 63, 67 แนวคิดหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ทางสายกลาง หมายความว่า แนวทางการดํารงอยู่และการปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดําเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
59. ข้อใดที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสมดุลในการรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม
สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
(1) แนวคิดหลัก
(2) เป้าประสงค์
(3) หลักการ
(4) เงื่อนไขพื้นฐาน
ตอบ 2 หน้า 64 เป้าประสงค์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับ การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจาก โลกภายนอกได้เป็นอย่างดี โดยเป้าประสงค์ในการพัฒนาตนเองต้องสามารถสร้างความสมดุล ให้เกิดขึ้นในวิถีของการพัฒนาได้อย่างครอบคลุมทุกมิติ เช่น เมื่อนักศึกษามีความสามารถใน การหารายได้ด้วยตนเองจากงานพิเศษก็ต้องรู้จักเก็บออมและจัดสรรทั้งเงินและเวลาให้สมดุล
60. ความสามารถในการหารายได้ด้วยตนเอง รู้จักเก็บออมและจัดสรรทั้งเงินและเวลาให้สมดุล เกี่ยวกับข้อใด
(1) แนวคิดหลัก
(2) เป้าประสงค์
(3) หลักการ
(4) เงื่อนไขพื้นฐาน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ
61.”พอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจําเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร” เกี่ยวกับองค์ประกอบหลักข้อใด
(1) แนวคิดหลัก
(2) เป้าประสงค์
(3) หลักการ
(4) เงื่อนไขพื้นฐาน
ตอบ 3 หน้า 64 หลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมไปถึงความจําเป็นที่เราจะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมี ผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก
62. ข้อใดเป็นคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยคํานึงถึงระดับความพอเพียง อย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักจริยธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม
(1) ความพอประมาณ
(2) ความมีเหตุผล
(3) การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
(4) ความไม่ประมาท
ตอบ 2 หน้า 65 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยคํานึงถึงระดับความพอเพียงอย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักจริยธรรม และวัฒนธรรม อันดีงามของท้องถิ่น โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องตระหนักถึงผลที่ จะเกิดขึ้นจากการดําเนินการดังกล่าวอย่างรอบคอบ
63. การอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนําวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการ ดําเนินการทุกขั้นตอน และการเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติให้มีจิตสํานึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต และให้มีความรู้ที่เหมาะสม ดําเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) แนวคิดหลัก
(2) เป้าประสงค์
(3) หลักการ
(4) เงื่อนไขพื้นฐาน
ตอบ 4 หน้า 66 เงื่อนไขพื้นฐานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนําวิชาการต่าง ๆ มาใช้วางแผนและดําเนินการทุกขั้นตอนและต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติทุกระดับให้มีจิตสํานึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดําเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ
64. การดําเนินกิจกรรมที่ต้องอาศัยความรอบรู้ที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาวางแผนและปฏิบัติการ
ตามแผนด้วยความรอบคอบและระมัดระวังอย่างยิ่ง เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) เงื่อนไขคุณธรรม
(2) เป้าประสงค์
(3) เงื่อนไขหลักวิชา
(4) เงื่อนไขชีวิต
ตอบ 3 หน้า 66 เงื่อนไขหลักวิชาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การดําเนินกิจกรรมใดต้องอาศัยความรอบรู้เชิงวิชาการที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาวางแผนและปฏิบัติการตามแผนด้วยความรอบคอบและระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการดําเนินการ เพราะ การวางแผนที่อาศัยความรู้ที่เป็นหลักวิชาย่อมมีโอกาสประสบความสําเร็จสูง และถ้าได้ปฏิบัติ ตามแผนอย่างระมัดระวัง โอกาสผิดพลาดก็จะเกิดขึ้นน้อยมาก
65. การที่บุคคลมีความรับผิดชอบดูแลครอบครัวด้วยการประกอบอาชีพสุจริต บริหารรายรับและรายจ่ายให้เกิด ความสมดุล รู้จักประหยัดด้วยการใช้สิ่งของอย่างมีคุณค่า เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว
(2) ความพอเพียงระดับชุมชน
(3) ความพอเพียงระดับธุรกิจ
(4) ความพอเพียงระดับประเทศ
ตอบ 1 หน้า 68 ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว คือ ครอบครัวเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของ สังคม แต่เป็นหน่วยที่สําคัญที่สุดในการสร้างคนที่มีคุณภาพ ดังนั้นหัวหน้าครอบครัวจึงต้อง มีคุณสมบัติ ดังนี้
1. รับผิดชอบดูแลครอบครัวด้วยการประกอบอาชีพสุจริต
2. บริหารจัดการรายรับและรายจ่ายให้เกิดความสมดุล
3. รู้จักประหยัดด้วยการใช้สิ่งของอย่างรู้คุณค่า
4. มีการออมเงิน แต่ไม่ตระหนี่
5. มีการแบ่งปันตามสมควร
6. ลดละเลิกอบายมุข
7. รักษาวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม ฯลฯ
66. การมองถึงผลในระยะยาวมากกว่าระยะสั้น แสวงหาผลกําไรบนพื้นฐานของการแบ่งปันผลประโยชน์แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม รวมทั้งการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว
(2) ความพอเพียงระดับชุมชน
(3) ความพอเพียงระดับธุรกิจ
(4) ความพอเพียงระดับประเทศ
ตอบ 3 หน้า 69, (คําบรรยาย) ความพอเพียงระดับธุรกิจ คือ ธุรกิจเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมที่สําคัญ ต่อระบบเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงต้องคํานึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. ธุรกิจควรมองถึงผลในระยะยาวมากกว่าระยะสั้น
2. แสวงหาผลกําไรบนพื้นฐานของการแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม
3. พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และสร้างคุณค่าตราสินค้าให้มีความน่าเชื่อถือ
4. ต้องรู้จักลูกค้า รู้จักตลาด รู้จักคู่แข่ง และรู้จักตัวเอง
5. ซื่อสัตย์รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
67. การสร้างงบประมาณให้สมดุล ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่ลงทุนเกินขนาด มีความรู้ในการบริหารจัดการ วางแผน ด้วยความรอบคอบ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีด้านการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และสามารถรับได้ เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ด้านเศรษฐกิจ
(2) ด้านจิตใจ
(3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม
(4) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตอบ 1 หน้า 70, (คําบรรยาย) การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงทางด้านเศรษฐกิจ คือ การสร้าง งบประมาณให้สมดุล สร้างลักษณะนิสัยอุปโภคบริโภคแต่พอควร ไม่ใช้จ่ายเกินตัวเกินฐานะ ไม่ลงทุนเกินขนาด มีความรู้ในการบริหารจัดการ วางแผนด้วยความรอบคอบ มีภูมิคุ้มกันในตัว ที่ดีด้านการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสามารถรับได้
68. การมีน้ำใจต่อกัน รู้รักสามัคคี ช่วยเหลือแบ่งปันตามความเหมาะสม ช่วยกันรักษาและสืบสานวัฒนธรรม อันดีงามของชาติให้คงอยู่ เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ด้านเศรษฐกิจ
(2) ด้านจิตใจ
(3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม
(4) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตอบ 3 หน้า 70 การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงทางด้านสังคมและวัฒนธรรม คือ การอยู่ร่วมกัน ในสังคมด้วยความมีน้ำใจต่อกัน รู้รักสามัคคี ช่วยเหลือแบ่งปันตามความเหมาะสม ช่วยกันรักษาและสืบสานวัฒนธรรมอันดีงามของชาติไทยให้คงอยู่ โดยหาโอกาสขยายผลงานด้านวัฒนธรรม และภูมิปัญญาให้เกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่น อีกทั้งจะต้องมีภูมิคุ้มกันในการรับวัฒนธรรมต่างชาติ ด้วยการเลือกรับแต่สิ่งที่เกิดผลดี และสอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย
69. การบริหารจัดการที่ดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ซึ่งพื้นที่ส่วนที่สี่ประมาณ ร้อยละ 10 ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และโรงเรือนอื่น ๆ เป็นทฤษฎีใหม่ขั้นใด
(1) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่หนึ่ง
(3) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม
(2) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
(4) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สี่
ตอบ 1 หน้า 72 ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริขั้นที่ 1 คือ การแบ่งพื้นที่ทั้งหมดออกเป็น 4 ส่วน ด้วยอัตรา 30 : 30 : 30 : 10 โดยมีการบริหารจัดการดังนี้
1. ชุดเป็นสระสําหรับใช้เก็บกักน้ําฝนในฤดูฝน เพื่อใช้ปลูกพืชในฤดูแล้ง รวมทั้งเลี้ยงปลาและ พืชน้ำต่าง ๆ 30%
2. ปลูกข้าวในฤดูฝน 30%
3. ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ 30%
4. ปลูกเป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ (เช่น เป็ด ไก่ ฯลฯ) ถนน ทางเดิน และโรงเรือนอื่น ๆ 10%
70. การตระหนักถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากภายนอกชุมชน ด้วยการติดต่อหน่วยงานที่สามารถ สนับสนุนด้านการลงทุนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร เป็นทฤษฎีใหม่ขั้นใด
(1) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่หนึ่ง
(3) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม
(2) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
(4) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สี่
ตอบ 3 หน้า 73 – 74 ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริขั้นที่ 3 คือ การตระหนักถึงการสร้างเครือข่าย ความร่วมมือจากภายนอกชุมชน โดยการติดต่อหน่วยงานที่สามารถสนับสนุนด้านการลงทุนและ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ได้แก่
1. หน่วยงานที่สนับสนุนด้านการวิจัย เพื่อการพัฒนาผลผลิตให้ได้คุณภาพดีขึ้น ต้นทุนต่ำลง
2. ธนาคารที่จะให้การสนับสนุนเงินทุนด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ไม่สูงเกินไปนัก
3. บริษัทเอกชนที่รับซื้อผลผลิตโดยตรง ไม่ต้องผ่านคนกลาง
71. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทางสายกลาง หมายถึง
(1) พัฒนาปัญญาและความรู้อย่างต่อเนื่อง
(2) ทําทุกอย่างแบบกลาง ๆ ไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง
(3) ความพอดีพอเหมาะ มีความหลากหลาย และกลมกลืน
(4) การตั้งอยู่ในความไม่ประมาท พึ่งตนเองให้มากขึ้นในทุกระดับ
ตอบ 4 หน้า 62 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสําคัญเด่นชัดในช่วงปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา เพราะเป็นแนวคิดเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ ซึ่งคนไทยสามารถเลี้ยงชีพด้วยแนวคิดเศรษฐกิจ ในการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่ง “ทางสายกลาง และความไม่ประมาท
72. การศึกษาแบบเปิด หมายถึงข้อใด
(1) การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย
(2) การขยายโอกาสการเข้าถึงการศึกษาและความรู้แก่ทุกคน
(3) การจัดศึกษาแบบสหวิทยาการ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การศึกษาแบบเปิด (Open Education) หมายถึง การขยายโอกาสการเข้าถึง การศึกษาและความรู้แก่ทุกคน โดยไม่มีข้อกําหนดเรื่องการรับเข้าศึกษาตามระบบการศึกษา แบบดั้งเดิมหรือแบบที่เป็นทางการ ทั้งนี้จะมีการพัฒนาและเข้าใช้แหล่งทรัพยากรการศึกษา แบบเปิด (Open Educational Resources : OER) ซึ่งผู้เรียนสามารถเข้าถึงการศึกษาและ ความรู้ที่ต้องการได้ทุกที่และทุกเวลา โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
73. การปฏิบัติตามหลักความพอเพียง ควรเริ่มจากที่ใด
(1) ตนเอง
(2) เพื่อน
(3) ครอบครัว
(4) ประเทศ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การปฏิบัติตนหรือดํารงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ควรเริ่มจากตนเองก่อน เป็นลําดับแรก เมื่อตนเองสามารถยืนหยัดอยู่ได้แล้ว ก็ย่อมจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้ผู้อื่นนําไป ประพฤติปฏิบัติตาม จากนั้นจึงเป็นครอบครัว ชุมชน รัฐหรือประเทศชาติ
74. แหล่งเรียนรู้ หมายถึงข้อใด
(1) เป็นแหล่งความรู้ทางวิชาการ
(2) เป็นแหล่งสารสนเทศให้ความรู้อย่างกว้างขวาง
(3) เป็นแหล่งรวมภูมิปัญญาชาวบ้านให้ศึกษาค้นคว้า
(4) เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แหล่งเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัยอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้
75. องค์ประกอบของการเรียนรู้ในข้อใดถูกต้อง
(1) ผู้เรียน ผู้สอน แหล่งเรียนรู้
(2) ผู้เรียน สภาพแวดล้อม ผู้สอน
(3) ผู้สอน ผู้สนับสนุน สื่อมวลชน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) องค์ประกอบของการเรียนรู้ มีดังนี้
1. ผู้สอน
2. ผู้เรียน
3. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
76. ข้อใดคือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศ
(1) ห้องสมุด
(2) พิพิธภัณฑ์
(3) บทเรียนออนไลน์
(4) อาจารย์ที่ปรึกษา
ตอบ 3 (คําบรรยาย) แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสื่อสารสนเทศ เช่น สื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ สื่ออินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์ ผลงานประดิษฐ์คิดค้น และนวัตกรรมต่าง ๆ
77. ข้อใดไม่ใช่แหล่งเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) คณะวิทยาศาสตร์
(2) สํานักเทคโนโลยีการศึกษา
(3) สถาบันคอมพิวเตอร์
(4) คณะเทคนิคทางการแพทย์
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แหล่งเรียนรู้ภายในมหาวิทยาลัยรามคําแหง นอกจากจะประกอบไปด้วยคณะ ต่าง ๆ ที่ให้ความรู้ในแต่ละสาขาวิชา เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะรัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ฯลฯ ยังมีแหล่งความรู้อื่น ๆ อีก เช่น สถาบันวิจัยและ พัฒนา สํานักหอสมุดกลาง สถาบันคอมพิวเตอร์ สํานักเทคโนโลยีการศึกษา ฯลฯ
78. “การประมวลผลหรือวิเคราะห์สรุปผลข้อมูลด้วยวิธีการต่าง ๆ แล้วเก็บรวบรวมไว้ เพื่อนํามาใช้ประโยชน์ ในรูปแบบที่ต้องการ” จากข้อความข้างต้นหมายถึง
(1) ความรู้
(2) แหล่งการเรียนรู้
(3) ข้อมูล
(4) สารสนเทศ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่า จะเป็นตัวอักษร รูปภาพ สัญลักษณ์ หรือเสียงที่ล้วนแล้วแต่ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมีการ ประมวลผลหรือวิเคราะห์สรุปผลข้อมูลด้วยวิธีการต่าง ๆ แล้วเก็บรวบรวมไว้ เพื่อนํามาใช้ประโยชน์ในรูปแบบที่ต้องการ
79. แหล่งเรียนรู้มีความสําคัญอย่างไร
(1) แสดงถึงความก้าวหน้าทางวัฒนธรรม
(2) ช่วยพัฒนาสถาบันการศึกษา
(4) บ่งบอกถึงวัฒนธรรมของมนุษย์
(3) สามารถถ่ายทอดความรู้แบบวิธีต่าง ๆ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความสําคัญของแหล่งเรียนรู้ มีดังนี้
1. เป็นแหล่งการศึกษาตามอัธยาศัย
2. เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3. เป็นแหล่งปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การศึกษาค้นคว้า และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
4. เป็นแหล่งที่ใช้สร้างเสริมความรู้ความคิด วิทยาการ และประสบการณ์ ผ่านการถ่ายทอด ความรู้ในแบบวิธีต่าง ๆ
5. เป็นแหล่งสร้างเสริมประสบการณ์ภาคปฏิบัติ
80. ข้อใดคือการเรียนรู้แบบออฟไลน์
(1) การเรียนผ่านเว็บไซต์
(2) การสอบแบบอิเล็กทรอนิกส์
(3) การลงทะเบียนทางอินเทอร์เน็ต
(4) การฟังบรรยายในชั้นเรียน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การเรียนรู้แบบออฟไลน์ หมายถึง การเรียนรู้ที่ไม่มีการใช้อินเทอร์เน็ตเข้ามา มีส่วนร่วม เช่น การฟังบรรยายในห้องเรียน, การพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อน การเรียนจากหนังสือ, การหาข้อมูลจากห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ศูนย์เรียนรู้, การฝึกงาน ฯลฯ
81. ข้อใดเป็นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
(1) นายเอไปอ่านหนังสือคู่มือชีววิทยาที่ศูนย์วิชาวิทยาศาสตร์
(2) นายปีไปเรียนวิธีทําขนมไทยจากกลุ่มแม่บ้าน
(3) นายซีและเพื่อนไปศูนย์สารสนเทศเพื่อสืบค้นข้อมูลมาทํารายงาน
(4) นายดีไปศึกษาค้นคว้าเรื่องประโยชน์ของพืชสมุนไพรที่สวนสมุนไพรของโรงเรียน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นหรือชุมชน จะครอบคลุมทั้งด้านสถานที่และบุคคล ซึ่งอาจอยู่ในชุมชนใกล้เคียงโรงเรียน และชุมชนที่โรงเรียนพานักเรียนไปศึกษาหาความรู้ เช่น นายบีไปเรียนวิธีทําขนมไทยจากกลุ่มแม่บ้าน เป็นต้น
82. พรรคการเมือง เป็นแหล่งเรียนรู้ประเภทใด
(1) แหล่งเรียนรู้ประเภทสื่อ
(2) แหล่งเรียนรู้ประเภทสถานที่
(3) แหล่งเรียนรู้ประเภทกิจกรรม
(4) แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคล
ตอบ 2(คําบรรยาย) แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสถานที่ เช่น โรงเรียน ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ภูเขา แม่น้ำ ทะเล สถานประกอบการ แปลงเกษตร ศาสนสถาน ศูนย์ราชการ ศาล พรรคการเมือง รัฐสภา สถานีตํารวจ ศูนย์ฝึกอาชีพ ฯลฯ
83. การนําแหล่งเรียนรู้มาใช้เป็นสื่อการสอน จะต้องพิจารณาเลือกจากข้อใดเป็นหลัก
(1) วัตถุประสงค์บทเรียน
(2) ผู้เรียน
(3) ผู้สอน
(4) งบประมาณ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การนําแหล่งเรียนรู้มาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน จะต้องพิจารณาเลือกใช้หรือ สร้างสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในขั้นต้น โดยพิจารณาจากเป้าหมายของ วัตถุประสงค์บทเรียนเป็นหลัก และวิเคราะห์เนื้อหาของวัตถุประสงค์นั้น ๆ ว่า มีจุดสําคัญอะไร และควรสื่อความหมายในลักษณะใด
84. ข้อใดกล่าวถึงความสําคัญของแหล่งเรียนรู้ได้ถูกต้อง
(1) แสดงถึงวิวัฒนาการการเรียนรู้
(2) ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์
(3) บ่งบอกถึงวัฒนธรรมการดําเนินชีวิตของมนุษย์
(4) สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้อย่างรอบด้าน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พันธ์ประภา พูนสิน ได้กล่าวว่า ในการดําเนินชีวิตปัจจุบันนั้น แหล่งการเรียนรู้ มีความสําคัญสําหรับผู้เรียน ดังนี้
1. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสภาพชีวิตจริง สามารถนําความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจําวันได้ ช่วยให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน ครอบครัว และท้องถิ่น
2. ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่มีคุณค่า มีความหมายต่อชีวิต
3. ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ท้องถิ่นสุความรู้สากล
4. ผู้เรียนเห็นความสําคัญของการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น
5. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย สร้างเสริมประสบการณ์ในการลงมือ ปฏิบัติจริง ทําให้เกิดทักษะการแสวงหาความรู้ เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ฯลฯ
85. เครื่องหมายสัญญาอนุญาต CC ดังกล่าว หมายถึงข้อใด
(1) ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุที่มา
(2) ต้องเผยแพร่งานดัดแปลงโดยใช้สัญญาอนุญาตเดียวกัน
(3) ห้ามใช้เพื่อการค้าและต้องเผยแพร่งานดัดแปลงโดยใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกัน
(4) ให้เผยแพร่ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามดัดแปลง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เครื่องหมายสัญญาอนุญาต CC ดังกล่าว เป็นการกําหนดสัญญาอนุญาตโดยการ ระบุเงื่อนไขร่วมกัน คือ Attribution CC – BY – ND หมายถึง ให้เผยแพร่ โดยต้องระบุที่มา
แต่ห้ามดัดแปลง
86. แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนที่ไม่ได้ให้ความรู้ข้อมูลเฉพาะวิชา คือข้อใด
(1) แปลงปลูกผักในโรงเรียน
(2) ศูนย์คอมพิวเตอร์
(3) ศูนย์วิชาวิทยาศาสตร์
(4) ห้องสมุดโรงเรียน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน เดิมจะมีแหล่งเรียนรู้ที่เป็นหลัก คือ ห้องเรียน ห้องสมุด และครูอาจารย์ ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นห้องปฏิบัติการเฉพาะวิชาต่าง ๆ เช่น ห้องปฏิบัติการ ทางภาษา ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องโสตทัศนศึกษา ฯลฯ ตลอดจนการใช้อาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ เช่น แปลงปลูกผัก สวนดอกไม้ สวนสมุนไพร ห้องอาหาร ฯลฯ (ส่วนห้องสมุดโรงเรียน เป็นแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ที่ให้ข้อมูลความรู้ทุกสาขาวิชา)
87.Creative Commons หมายถึงข้อใด
(1) สัญญาอนุญาตประเภทสื่อ
(2) สัญญาอนุญาตทางการค้า
(3) สัญญาอนุญาตทางลิขสิทธิ์
(4) สัญญาอนุญาตทางการศึกษา
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons License : CC) เป็นสัญญาอนุญาตทางลิขสิทธิ์ประเภทหนึ่ง ประกาศใช้เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2002 โดยครีเอทีฟคอมมอนส์ ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกําไรในสหรัฐฯ ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 2001
88. เครื่องหมายสัญญาอนุญาต CC ดังกล่าว หมายถึงข้อใด
(1) แสดงที่มา/อ้างอิงที่มา
(2) ไม่ใช้เพื่อการค้า
(3) อนุญาตแบบเดียวกัน
(4) อนุญาตให้ดัดแปลง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) เครื่องหมายสัญญาอนุญาต CC ดังกล่าว หมายถึง ไม่ใช้เพื่อการค้า (Non Commercial – NC) คือ อนุญาตให้ผู้อื่นทําซ้ํา แจกจ่าย หรือแสดงและนําเสนอชิ้นงาน ดังกล่าว ตลอดจนสร้างงานดัดแปลงจากชิ้นงานดังกล่าวได้เฉพาะกรณีที่ไม่นําไปใช้ในทาง การค้าเท่านั้น
89. การใช้บทเรียนแบบ MOOC เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ในด้านใด
(1) เรียนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
(2) ไม่จํากัดเวลาและสถานที่เรียน
(3) ทุกคนสามารถเรียนได้ตามความชอบ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) MOOC (Massive Open Online Courses) คือ การเรียนคอร์สออนไลน์กับ มหาวิทยาลัยทั่วโลก เพียงปลายนิ้วคลิก ซึ่งมีความต่างจากบทเรียน E-learning เพราะมีข้อดี ตรงที่เรียนฟรี ไม่จํากัดเพศ วัย การศึกษา สามารถรองรับผู้เรียนได้เป็นจํานวนมาก มีเนื้อหา วิชาที่หลากหลาย ทุกคนสามารถเรียนได้ตามความชอบ และยังเป็นการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านทางสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์
90.RU. Cyber Classroom ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือแหล่งเรียนรู้ในลักษณะใด
(1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์
(2) การถ่ายทอดสดการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
(3) การเรียกดูบทเรียนย้อนหลัง
(4) การถ่ายทอดบทเรียนผ่านระบบโทรทัศน์วงจรปิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) RU. Cyber Classroom หมายถึง การถ่ายทอดสดการเรียนการสอนจาก ห้องเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีการเรียนการสอนชนิดหนึ่งของ มหาวิทยาลัยรามคําแหง ทั้งนี้นักศึกษาสามารถเข้าฟังการบรรยายผ่าน www.ru.ac.th โดยเข้าไปที่สื่อการเรียนการสอน
91. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นหลักแห่งการพึ่งพาตนเอง
(1) หลักด้านจิตใจ
(2) หลักด้านเกษตรกรรม
(3) หลักด้านเทคโนโลยี
(4) หลักด้านเศรษฐกิจ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) หลักการพึ่งตนเองต้องมีความพอดี 5 ประการ ได้แก่
1. ความพอดีด้านจิตใจ
2. ความพอดีด้านสังคม
3. ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. ความพอดีด้านเทคโนโลยี
5. ความพอดีด้านเศรษฐกิจ
92. ข้อใดต่อไปนี้คือแนวทางการดําเนินการในหลักแห่งการพึ่งพาตนเองด้านเศรษฐกิจ
(1) เพิ่มรายได้ รักษารายจ่าย
(2) เพิ่มรายได้ กําจัดรายจ่าย
(3) เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย
(4) ลดรายได้ ลดรายจ่าย
ตอบ 3 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ) ความพอดีด้านเศรษฐกิจ คือ การเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดํารงชีวิตอย่างพอควร พออยู่พอกิน สมควรตามอัตภาพ โดยแต่ละคนจะต้องทําตามฐานะของตนเอง
93. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(1) สร้างความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
(2) สร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
(3) สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
(4) สร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์ของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การมุ่งสร้างความก้าวหน้า สมดุล มัน มั่นคง และยั่งยืน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทุกด้านทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม
94. หลักสัปปุริสธรรม 7 ข้อใดสอดคล้องกับความมีภูมิคุ้มกันที่ดีของหลักเศรษฐกิจพอเพียง
(1) รู้เหตุ รู้ผล
(2) รู้ตน รู้ประมาณ
(3) รู้กาล รู้บุคคล
(4) รู้ชุมชน รู้ประมาณ
ตอบ 3(คําบรรยาย) การวิเคราะห์หลักความพอเพียงโดยใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 มีดังนี้
1. หลักของความมีเหตุผล ได้แก่ รู้จักเหตุ (ธัมมัญญุตา) และรู้จักผล (อัตถัญญุตา)
2. หลักของความพอประมาณ ได้แก่ รู้จักตนเอง (อัตตัญญุตา) และรู้จักประมาณ (มัตตัญญุตา)
3. หลักของความมีภูมิคุ้มกันที่ดี ได้แก่ รู้จักกาล (กาลัญญุตา), รู้จักบุคคล (บุคคลัญญุตา) และ รู้จักชุมชน (ปริสัญญุตา)
95. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นมิติ 4 ด้าน ของเศรษฐกิจพอเพียง
(1) มิติด้านเศรษฐกิจ
(2) มิติด้านจิตใจ
(3) มิติด้านสังคม
(4) มิติด้านวัฒนธรรม ความเชื่อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดําริ อยู่เหนือกว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ของตะวันตก ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องวัตถุที่เป็นรูปธรรม เช่น เงิน ทรัพย์สิน กําไร ฯลฯ ไม่เกี่ยวกับ เรื่องจิตใจอันเป็นนามธรรม แต่เศรษฐกิจพอเพียงมีขอบเขตกว้างกว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เพราะครอบคลุมมิติ 4 ด้าน ดังนี้
1. มิติด้านเศรษฐกิจ
2. มิติด้านจิตใจ
3. มิติด้านสังคม
4. มิติด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิต (Way of Life) ของประชาชน
96. การรวมพลังกันในรูปกลุ่ม เพื่อทําการผลิต การตลาด การจัดการ รวมทั้งด้านสวัสดิการ การศึกษา การพัฒนาสังคม ถือเป็นหลักการทฤษฎีใหม่ขั้นที่เท่าใด
(1) ขั้นที่ 1
(2) ขั้นที่ 2
(3) ขั้นที่ 3
(4) ขั้นที่ 4
ตอบ 2 หน้า 72 – 73 ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริขั้นที่ 2 หลังจากที่เกษตรกรได้ปฏิบัติตาม หลักการในขั้นที่ 1 จนได้ผลแล้ว ก็จะเริ่มพัฒนาไปสู่ขั้นของการรวมพลังเกษตรกรในชุมชน ให้เป็นกลุ่มหรือสหกรณ์ เพื่อร่วมแรงร่วมใจกันดําเนินกิจกรรมด้านต่าง ๆ ได้แก่
1. การผลิต
2. การตลาด หรือการจัดการจําหน่ายผลผลิต
3. ความเป็นอยู่ของครอบครัว
4. สวัสดิการชุมชน
5. การศึกษา
6. การพัฒนาสังคม และศาสนา
97. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นการปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
(1) ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการดํารงชีพอย่างจริงจัง
(2) ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องสุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดํารงชีพ
(3) ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าขาย เลิกประกอบอาชีพแบบต่อสู้กัน
(4) หยุดที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ โดยต้องขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิดมีรายได้
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มีดังนี้
1. ยึดความประหยัด ด้วยการตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดความฟุ่มเฟือยในการดํารงชีพ
2. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องสุจริต
3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์ ไม่แข่งขันกันในทางการค้าขาย ไม่ประกอบอาชีพแบบ ต่อสู้กันอย่างรุนแรง
4. ขวนขวายใฝ่หาความรู้ ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ ความลําบาก
5. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งยั่วกิเลสให้หมดสิ้น
98. ข้อใดต่อไปนี้ถือเป็นแนวปฏิบัติของความพอเพียงระดับธุรกิจเอกชน ยกเว้นข้อใด
(1) ทําธุรกิจหวังประโยชน์ทั้งระยะสั้นและระยะยาว
(2) ไม่ลงทุนธุรกิจเกินตัว
(3) รู้จักลูกค้า ศึกษาคู่แข่ง
(4) ซื่อสัตย์รับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ
99. การคอร์รัปชั่นตามน้ํา เป็นรูปแบบการทุจริตที่กระทําโดยใคร
(1) พ่อค้า
(2) ข้าราชการ
(3) นักการเมือง
(4) นายทุน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การทุจริตโดยข้าราชการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. การคอร์รัปชั่นตามน้ํา (Corruption without Theft)
2. การคอร์รัปชั่นทวนน้ํา (Corruption with Theft)
100. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ประเภทของรูปแบบการทุจริตคอร์รัปชั่นที่กําหนดโดยคณะกรรมการวิสามัญพิจารณา สอบสวน และศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตของวุฒิสภา
(1) การทุจริตเชิงปฏิบัติการ
(2) การทุจริตต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ
(3) การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง
(4) การทุจริตในการให้สัมปทาน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมการวิสามัญพิจารณาสอบสวน และศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริต ของวุฒิสภา ได้แบ่งรูปแบบการทุจริตคอร์รัปชั่นออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
1. การทุจริตเชิงนโยบาย
2. การทุจริตต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ
3. การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง
4. การทุจริตในการให้สัมปทาน
5. การทุจริตโดยการทําลายระบบตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ
101. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นเงื่อนไข/สาเหตุที่ทําให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่ได้ จากการศึกษาวิจัยโครงการประเมินสถานการณ์ด้านการทุจริตในประเทศไทยของเสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์
(1) ด้านเศรษฐกิจ
(2) ด้านสังคม
(3) ด้านคุณธรรม
(4) ด้านการเมือง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) จากการศึกษาวิจัยโครงการประเมินสถานการณ์ด้านการทุจริตในประเทศไทย ของเสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์ ได้ระบุถึงเงื่อนไข/สาเหตุที่ทําให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งเกิดจาก
ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย
1. ด้านเศรษฐกิจ
2. ด้านสังคม
3. ด้านวัฒนธรรม
4. ด้านการเมือง
5. ด้านระบบราชการ
6. กฎหมายและระเบียบ
7. การตรวจสอบ
8. สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ อิทธิพลของภรรยาหรือผู้หญิง และการพนัน
102. การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม ตรงกับคําในภาษาอังกฤษว่าอะไร
(1) Conflict of Common
(2) Conflict of Personal
(3) Conflict of Advantage
(4) Conflict of Interest
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม หรือที่เรียกว่า “Conflict of Interest” นั้น จะมีลักษณะทํานองเดียวกันกับกฎศีลธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี หลักคุณธรรม จริยธรรม กล่าวคือ การกระทําใด ๆ ที่เป็นการขัดกันระหว่าง ประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงไม่ควรจะกระทํา แต่บุคคล แต่ละคน แต่ละกลุ่มสังคมอาจเห็นว่า เรื่องใดเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับ ประโยชน์ส่วนรวมแตกต่างกันออกไป
103. ต่อไปนี้คือลักษณะของคนที่มีระบบความคิดที่ไม่ถูกต้อง ยกเว้นข้อใด
(1) ไม่แยกแยะตําแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตัวออกจากกัน
(2) เอาประโยชน์ส่วนรวมไปตอบแทนบุญคุณองค์กร
(3) เอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นประโยชน์ส่วนตน
(4) เห็นประโยชน์ส่วนตนสําคัญกว่าประโยชน์ส่วนรวม
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ลักษณะของคนที่มีระบบความคิดที่ไม่ถูกต้อง มีดังนี้
1. ไม่สามารถแยกแยะประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมได้
2. ไม่แยกแยะตําแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตัวออกจากกัน
3. เอาประโยชน์ส่วนรวมไปตอบแทนบุญคุณส่วนตน
4. เอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นประโยชน์ส่วนตน
5. เห็นประโยชน์ส่วนตนสําคัญกว่าประโยชน์ส่วนรวม หรือเห็นประโยชน์เครือญาติพวกพ้อง สําคัญกว่าประโยชน์ของประเทศชาติ
104. ข้อใดไม่ถือว่าเป็นการคิดแบบ Analog
(1) ทุจริตบ้างไม่เป็นไร ถ้าเกิดประโยชน์
(2) ยอมรับการมีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะไม่ทําให้ใครเสียหาย
(3) ติดสินบนเพื่อนําเงินเข้ารัฐ
(4) เห็นประโยชน์ส่วนตนมาหลังประโยชน์ส่วนรวม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ระบบคิดฐานสิบ (Analog) เป็นระบบการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่มีตัวเลขหลายตัว หรือโอกาสที่จะเลือกได้หลายทาง จึงเป็นระบบการคิดที่แยกประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ ส่วนรวมออกจากกันไม่ได้ โดยมีลักษณะการคิดดังนี้
1. ยอมรับกับคําพูดที่ว่า “ทุจริตบ้างไม่เป็นไร ถ้าเราได้ประโยชน์”
2. ยอมรับการมีผลประโยชน์ทับซ้อน การติดสินบน และการทุจริตคอร์รัปชัน
3. ยอมรับระบบอุปถัมภ์ ชอบนําความสัมพันธ์ส่วนตัวมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง
4. เห็นประโยชน์ส่วนตนมาก่อนประโยชน์ส่วนรวม ฯลฯ
105. ดัชนีการรับรู้การทุจริต หรือ CPI ซึ่งย่อมาจากคําว่าอะไร
(1) Corruption Period Indicator
(2) Corruption Perceptions Index
(3) Corruption Perceptions Indicator
(4) Cooperation Perceptions Index
ตอบ 2(คําบรรยาย) องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (TI) ทําการจัดอันดับดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) ประจําปี 2562 พบว่า ประเทศไทยได้ 36 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน และอยู่อันดับที่ 101 จากการจัดอันดับทั้งหมด 180 ประเทศ ซึ่งค่า CPI จะมีค่าคะแนนตั้งแต่ 0 (คอร์รัปชั่นมากที่สุด) – 100 (คอร์รัปชันน้อยที่สุด)
106. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะของการคิดดี
(1) คิดแบบพอเพียงไม่เบียดเบียนผู้อื่น
(2) คิดอย่างรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่
(3) ยึดหลักคุณธรรม “กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นตามสนอง
(4) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลักษณะของการ “คิดดี” มีดังนี้
1. คิดแบบพอเพียงไม่เบียดเบียนตนเอง ผู้อื่น และประเทศชาติ
2. คิดอย่างรับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ และกฎระเบียบ
3. คิดตามคุณธรรมว่า “ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว”, “กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นตาม
107. พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยาฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2532 : 361 – 362) ได้ให้ความหมายของคําว่า “Social Sanctions” เป็นภาษาไทยว่าอะไร
(1) สิทธานุมัติทางสังคม
(2) ฉันทานุมัติทางสังคม
(3) อนุมัติทางสังคม
(4) ประชานุมัติทางสังคม
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยาฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2532 : 361 – 362) ให้ความหมายของคําว่า “Social Sanctions” เป็นภาษาไทยว่า “สิทธานุมัติทางสังคม” หมายถึง การขู่ว่าจะลงโทษหรือการสัญญาว่าจะให้รางวัลตามที่กลุ่มกําหนดไว้สําหรับการ ประพฤติปฏิบัติของสมาชิก เพื่อชักนําให้สมาชิกกระทําตามข้อบังคับและกฎเกณฑ์
108. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นหลักการทํางานของ ป.ป.ช. ภาคประชาชน
(1) มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะอาสาเข้ามาทํางานเพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง
(2) การเฝ้าระวังพื้นที่ที่เห็นว่าสุ่มเสี่ยงต่อการแสวงหาผลประโยชน์
(3) ดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อรณรงค์ต่อต้านการทุจริตอย่างต่อเนื่อง
(4) ส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้าไปต่อต้านการเลือกตั้งทุกระดับ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลักการทํางานของ ป.ป.ช. ภาคประชาชน มีดังนี้
1. มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะอาสาเข้ามาทํางานเพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง
2. ติดอาวุธทางปัญญาให้กับตัวเอง
3. ต้องสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน
4. การเฝ้าระวังพื้นที่ที่เห็นว่าสุ่มเสี่ยงต่อการแสวงหาผลประโยชน์
5. ดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อรณรงค์ต่อต้านการทุจริตอย่างต่อเนื่องในชุมชน
6. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าไปมีบทบาทในการป้องกันการทุจริตการเลือกตั้งทุกระดับ ฯลฯ
109. ความละอายสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระดับ คืออะไร
(1) ความละอายระดับต่ำ และความละอายระดับที่สูง
(2) ความละอายระดับต้น และความละอายระดับที่สูง
(3) ความละอายระดับต้น และความละอายระดับปลาย
(4) ความละอายระดับภายนอก และความละอายระดับภายใน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ลักษณะของความละอายสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ ได้แก่
1. ความละอายระดับต้น หมายถึง ความละอายไม่กล้าที่จะทําในสิ่งที่ผิด เพราะกลัวว่า เมื่อตนได้ทําลงไปแล้วจะมีคนรับรู้ หากถูกจับได้จะได้รับการลงโทษ
2. ความละอายระดับที่สูง หมายถึง แม้ว่าจะไม่มีใครรับรู้หรือเห็นในสิ่งที่ตนได้ทําลงไป ก็ไม่กล้าที่จะทําผิด เพราะนอกจากตนจะได้รับผลกระทบแล้ว ครอบครัว สังคมก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย
110. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง
(1) คําว่า “คุณ” แปลว่า ความเหมาะ เป็นคําที่มีความหมายทางนามธรรม
(2) คําว่า “จริย” แปลว่า ความประพฤติทางกิริยาที่ควรประพฤติ เป็นคําที่มีความหมายทางนามธรรม
(3) คําว่า “คุณ” แปลว่า ความเหมาะสม เป็นคําที่มีความหมายทางรูปธรรม
(4) คําว่า “จริย” แปลว่า ความประพฤติทางกิริยาที่ควรประพฤติ เป็นคําที่มีความหมายทางรูปธรรม
ตอบ 4 หน้า 40, 42 – 43 (คําบรรยาย) คําว่า “คุณ” (คณะ) แปลว่า ความดี เป็นความหมายทาง นามธรรมและเป็นเรื่องของจิตใจ ส่วนคําว่า “จริย” (จริยะ) แปลว่า ข้อกําหนดเพื่อบ่งบอกถึง ลักษณะความประพฤติ กริยาที่ควรประพฤติ ซึ่งเป็นความหมายทางรูปธรรมและเป็นเรื่องของ การแสดงออกให้เห็นเป็นประจักษ์ อันเป็นพฤติกรรมภายนอก
111. สัจจะเป็นหนึ่งในฆราวาสธรรม 4 ประการ หมายถึงตามข้อใด
(1) ความจริง คือ ดํารงมั่นในสัจจะ ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทําจริง จะทําอะไรก็ให้เป็นที่เชื่อถือ ไว้วางใจได้
(2) การข่มใจ คือ บังคับควบคุมตนเองได้ รู้จักปรับตัวและแก้ไขปรับปรุงตนให้ก้าวหน้าดีงามยิ่งขึ้นอยู่เสมอ (3) อดทน คือ มุ่งหน้าทําหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง อดทนไม่หวั่นไหว ไม่ท้อถอย มั่นคงในจุดหมาย
(4) เสียสละ คือ มีน้ําใจเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน บําเพ็ญประโยชน์ สละโลภ ละทิฐิมานะได้ ร่วมงานกับ ผู้อื่นได้ ไม่ใจแคบเห็นแก่ตัวหรือเอาแต่ใจตน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ฆราวาสธรรม 4 เป็นหลักคุณธรรมสําหรับฆราวาส หรือหลักการครองชีวิต ให้มีความสุข ถูกต้องและเหมาะสม ประกอบด้วย
1. สัจจะ (ความจริง) คือ ดํารงมั่นในสัจจะ ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทําจริง จะทําอะไร ก็ให้เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจได้
2. ทมะ (การข่มใจ) คือ บังคับควบคุมตนเองได้ รู้จักปรับตัวและแก้ไขปรับปรุงตนให้ก้าวหน้า ดีงามยิ่งขึ้นอยู่เสมอ
3. ขันติ (อดทน) คือ มุ่งหน้าทําหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง อดทน ไม่หวั่นไหว มั่นคงในจุดหมาย ไม่ท้อถอย
4. จาคะ (เสียสละ) คือ มีน้ําใจเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน บําเพ็ญประโยชน์ สละโลภ ละทิฐิมานะได้ ร่วมงานกับผู้อื่นได้ ไม่ใจแคบเห็นแก่ตัวหรือเอาแต่ใจตน
112. ข้อใดไม่ใช่การฝึกตนให้มีความพอเพียง ซึ่งถือเป็นวิธีการพัฒนาตนด้านคุณธรรมจริยธรรมด้วยตนเองขั้นสูง
(1) การฝึกวินัยขั้นพื้นฐาน
(2) การรักษาศีลตามความเชื่อในศาสนาพุทธ
(3) การทําสมาธิ
(4) ฝึกการเป็นผู้ให้
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การฝึกตนให้มีความพอเพียง เป็นวิธีการพัฒนาตนในด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้วยตนเองขั้นสูงสุด ซึ่งประกอบด้วย
1. การฝึกวินัยขั้นพื้นฐาน เช่น ความขยันหมั่นเพียร การพึ่งตนเอง ฯลฯ
2. การรักษาศีลตามความเชื่อในศาสนาของตน
3. การทําสมาธิ
4. ฝึกการเป็นผู้ให้ เช่น การรู้จักให้อภัย รู้จักการแบ่งปันความรู้ ฯลฯ
113. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นหนึ่งใน 7 หลักการของหลักนิติธรรม
(1) หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
(2) หลักความชอบด้วยกฎหมายในทางเนื้อหา
(3) หลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา
(4) หลัก “มีความผิด และมีโทษโดยตามกฎหมาย”
ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลักนิติธรรม (The Rule of Law) ประกอบด้วย 7 หลักการ ได้แก่
1. หลักการแบ่งแยกอํานาจ
2. หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
3. หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง
4. หลักความชอบด้วยกฎหมายในทางเนื้อหา
5. หลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา
6. หลัก “ไม่มีความผิด และไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย”
7. หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ
114. หลักการมีส่วนร่วมประกอบไปด้วยหลักการสําคัญ 4 หลักการต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
(1) ระดับการให้ข้อมูล
(2) ระดับการเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชน
(3) ระดับการวางแผนของผู้บริหาร และการตัดสินใจ
(4) ระดับการพัฒนาศักยภาพในการมีส่วนร่วม สร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) ประกอบด้วย 4 หลักการสําคัญ ดังนี้
1. ระดับการให้ข้อมูล เป็นระดับต่ำที่สุดและเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดของการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้วางแผนโครงการกับประชาชน
2. ระดับการเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชน เป็นระดับขั้นที่สูงกว่าระดับแรก
3. ระดับการวางแผนร่วมกัน และการตัดสินใจ เป็นระดับขั้นที่สูงกว่าการปรึกษาหารือ
4. ระดับการพัฒนาศักยภาพในการมีส่วนร่วม สร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชน จัดเป็น ระดับขั้นสูงที่สุดของการมีส่วนร่วม
115. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นหลักในการพึ่งตนเอง 5 ประการ สําหรับประชาชนทั่วไป
(1) หลักด้านจิตใจ
(2) หลักด้านครอบครัว
(3) หลักด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(4) หลักด้านเทคโนโลยี
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ
116. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นหลักการย่อยของหลักความรับผิดชอบ
(1) การมีเป้าหมายที่ชัดเจน
(2) การปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพ
(3) การจัดการพฤติกรรมที่เอื้อต่อการทํางานอย่างไม่หยุดยั้ง
(4) การติดตามและประเมินผลการทํางาน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักความรับผิดชอบ (Responsibility) ประกอบด้วยหลักการย่อย ดังนี้ 1. การมีเป้าหมายที่ชัดเจน
2. ทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกันจากเป้าหมายที่ได้กําหนดเอาไว้
3. การปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพ
4. การจัดการพฤติกรรมที่ไม่เอื้อต่อการทํางานอย่างไม่หยุดยั้ง
5. การมีแผนการสํารอง
6. การติดตามและประเมินผลการทํางาน
117. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็น 1 ใน 6 ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3
(พ.ศ. 2560 – 2564)
(1) สร้างสังคมที่ทนต่อการทุจริต
(2) ยกระดับเจตจํานงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริต
(3) สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย
(4) พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์ชาติที่ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) กําหนดวิสัยทัศน์ว่า “ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต” (Zero Tolerance & Clean Thailand) แบ่งออกเป็น 6 ยุทธศาสตร์หลัก ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้น กระบวนการปรับสภาพทางสังคมให้เกิดภาวะ “ไม่ทนต่อการทุจริต” ได้แก่
1. สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต
2. ยกระดับเจตจํานงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริต
3. สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย
4. พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก
5. ปฏิรูปกลไกและกระบวนการปราบปรามการทุจริต
6. ยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต
118. คุณลักษณะที่สําคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่า เป็นส่วนประกอบที่เป็น 3 ห่วง
(1) ความพอประมาณ
(3) ความมีวินัย
(2) ความมีเหตุผล
(4) มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข คือ ความพอเพียง
จะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ (3 ห่วง) ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง นอกจากนี้การตัดสินใจและการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงจะต้องอาศัย 2 เงื่อนไข คือ
1. เงื่อนไขความรู้
2. เงื่อนไขคุณธรรม
119. นายโคฟี อันนัน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลความสําเร็จสูงสุด ด้านการพัฒนามนุษย์ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (The Human Development Lifetime Achievement Award) แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เพื่อเทิด พระเกียรติเป็นกรณีพิเศษในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อวันเดือนปีใด
(1) 26 พฤษภาคม 2549
(3) 26 พฤษภาคม 2550
(2) 5 ธันวาคม 2550
(4) 5 ธันวาคม 2549
ตอบ 1 หน้า 62 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 นายโคฟี อันนั้น ซึ่งเป็นเลขาธิการองค์การ สหประชาชาติ (UN) ในขณะนั้น ได้ขอพระราชทานพระราชวโรกาสเข้าเฝ้าทูลเกล้าฯ ถวาย รางวัลความสําเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP : The Human Development Lifetime Achievement Award) แด่ในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อเทิดพระเกียรติเป็นกรณีพิเศษในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
120. คุณธรรมพื้นฐานที่ป้องกันมิให้กระทําการเบียดเบียนที่สําคัญในทางพุทธศาสนา คือ หิริโอตตัปปะ อยากทราบว่า คําว่า “หิริ” มีความหมายว่าอย่างไร
(1) ความกล้าที่จะทําความดี
(2) ความละอายต่อบาปทุกชนิด
(3) ความเกรงกลัวต่อผลของบาป
(4) ความยินดีต่อผลของการกระทํา
ตอบ 2 (คําบรรยาย) โลกบาลธรรม หรือธรรมโลกบาล คือ คุณธรรมสําหรับคุ้มครองโลก หรือทําให้ โลกดํารงอยู่ได้ เพราะจะเป็นแนวทางปฏิบัติที่ช่วยควบคุมจิตใจของมนุษย์ให้อยู่ในความดี ทําให้ มนุษย์ดําเนินชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสงบสุข มีระเบียบไม่สับสน และไม่กระทําการ เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ดังนั้นหากคนในสังคมใดขาดหลักธรรมนี้จะสามารถทําชั่วได้ทุกอย่าง ซึ่งย่อมส่งผลเสียหายต่อสังคมมากที่สุด ได้แก่
1. หิริ หมายถึง ความละอายแก่ใจต่อการที่จะทําความชั่วหรือบาปทุกชนิด เมื่อคิดจะทํา ความชั่วแล้วไม่กล้าทํา
2. โอตตัปปะ หมายถึง ความเกรงกลัวต่อผลของบาป เกรงกลัวต่อผลจากการทําชั่ว