การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2555
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2032 ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. กฎหมายตราสามดวงคืออะไร เพราะเหตุใดจึงมีการบัญญัติกฎหมายตราสามดวงขึ้นมา จงอธิบาย

Advertisement

ธงคําตอบ

กฎหมายตราสามดวง คือ กฎหมายที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงให้บัญญัติมา เพื่อใช้ปกครองบ้านเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2347 (จ.ศ. 1166) เหตุที่มีการบัญญัติกฎหมายตราสามดวงขึ้นมาก็เนื่อ มีการร้องทุกข์ของนายบุญศรี ช่างเหล็กหลวง ว่าภรรยาของตนเองซึ่งมีชื่อว่าอําแดงป้อม ไปทําชู้กับราชาอรรถ แล้วมาฟ้องหย่านายบุญศรี นายบุญศรีไม่ยอมหย่า แต่ศาลตัดรับให้หย่ากันได้ เพราะตามกฎหมายในขณะนั้น บัญญัติว่า เป็นหญิงหย่าชายหย่าได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเห็นว่า หญิงนอกใจชายแล้วมา ฟ้องหย่า ลูกขุนปรึกษาให้หย่ากันนั้นหายุติธรรมไม่ จึงทรงให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งรวม 11 คน ให้ จัดการชําระบทกฎหมายทั้งหมด ตั้งแต่พระธรรมศาสตร์เป็นต้นมาให้ถูกต้องตามความยุติธรรม และให้อาลักษณ์ เขียนเป็นฉบับหลวงจํานวน 3 ชุด ประทับตราคชสีห์ ราชสีห์ และบัวแก้ว อันตราของสมุหพระกลาโหม สมุหนายก และเจ้าพระยาพระคลังไว้เป็นสําคัญ จึงได้เรียกในภายหลังว่ากฎหมายตราสามดวง

 

ข้อ 2. ในมังรายศาสตร์หรือกฎหมายพระเจ้ามังราย มีการแบ่งแยกทรัพย์ออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง ซึ่งต่างกับการแบ่งแยกประเภทของทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อย่างไรบ้าง อธิบาย

ธงคําตอบ

1. ทรัพย์มีวิญญาณ (วิญญาณกทรัพย์) ซึ่งได้แก่ ข้าง ม้า วัว ควาย เป็ด ไก่ ฯลฯ ประเด็นที่น่าสนใจ คนที่เป็นลูกหรือเมียของผู้อื่น ข้าทาส ถือว่าเป็นทรัพย์หรือไม่ ในลักษณะหนี้ของกฎหมายพระเจ้ามังรายบัญญัติ เกี่ยวกับการที่ไพร่คนประจําหอกหรือเครื่อง (อาวุธ) เป็นหนี้ค้างชําระดอกเบี้ยมากมาย ถ้าไม่มีเงินใช้ และมีลูกให้ ขายลูกใช้หนี้หรือให้ขายตัวลูกเมียใช้หนี้ หรือที่อีกบทหนึ่งบัญญัติว่า “หากเป็นของมีวิญญาณ เช่น คน และงัวควาย ถ้าผู้ร้ายลักไปขายยังตลาด” หรือผู้ที่เป็นข้าทาส ผู้เป็นนายเงินย่อมจะขายได้ ดังนั้นบางครั้งคนก็จัดว่าเป็นทรัพย์ ประเภททรัพย์มีวิญญาณได้เหมือนกัน แต่คนในฐานะที่เป็นทรัพย์มีลักษณะแตกต่างจากทรัพย์มีวิญญาณอื่น เช่น พวกสัตว์ต่าง ๆ ที่บางครั้งคนก็เป็นทรัพย์บางครั้งก็ไม่เป็นทรัพย์ หากคนนั้นไม่ได้อยู่ในอํานาจอิสระ (อํานาจปกครอง) ของใครหรือเป็นไทแก่ตนเองในขณะที่สัตว์ต่าง ๆ จะเป็นทรัพย์ตลอดกาล ไม่มีการเปลี่ยนสถานะ

2. ทรัพย์ไม่มีวิญญาณ (อวิญญาณกทรัพย์) ได้แก่ แก้ว แหวน เงิน ทอง ผ้าผ่อนแพรพรรณ ใน ลักษณะซ่อน อํา และลัก มีกฎหมายอยู่บทหนึ่งบัญญัติว่า “ของไม่มีวิญญาณ เช่น เงินและทองตกหาย…” หรือ “…ผู้ยืมของไม่มีวิญญาณ เช่น ผ้าเสื้อไปนุ่งห่ม แล้วเสียหายไปให้ผู้ยืมใช้…ผีเสื้อผ้าขาดหรือไฟไหม้ ให้ผู้ยืมชดใช้ ค่าทั้งสิ้น แล้วมอบเสื้อผ้าให้ผู้ยืมไป” ดังนั้นทรัพย์ไม่มีวิญญาณ คือ ทรัพย์ที่ไม่ใช่คนหรือสัตว์ชนิดต่าง ๆ นั่นเอง

การแบ่งทรัพย์เป็นทรัพย์มีวิญญาณและทรัพย์ไม่มีวิญญาณ ไม่มีผลอย่างไรในกฎหมายพระเจ้ามังราย ซึ่งแตกต่างจากการแบ่งประเภทของทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแบ่งออกเป็นทรัพย์มีรูปร่าง และไม่มีรูปร่าง โดยทรัพย์มีรูปร่างเป็นทรัพย์ที่ลักได้ ส่วนทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่างนั้นลักไม่ได้ และการแบ่งทรัพย์

ออกเป็นสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ มีผลว่า ถ้าเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทําเป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นจะเป็นโมฆะ ส่วนการซื้อขายสังหาริทรัพย์ทั่ว ๆ ไปนั้น ไม่ต้องทําเป็น หนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เว้นแต่สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ เช่น เรือแพ สัตว์พาหนะ เป็นต้น

 

ข้อ 3. ระบบกฎหมายหลักมีกระบบ อะไรบ้าง จงอธิบายแต่ละระบบโดยย่อ

ธงคําตอบ

ระบบกฎหมายหลักของโลก มี 4 ระบบ คือ

(1) ระบบกฎหมายโรมาโน-เยอรมันนิค โรมาโนเป็นภาษาของชนเผ่าอีทรัสคัน หมายความว่า กรุงโรม เมืองหลวงของประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นต้นกําเนิดของประมวลกฎหมายแพ่ง

เยอรมันนิค หมายความว่า ชื่อชนเผ่าหนึ่ง ปัจจุบันคือชาวเยอรมัน ซึ่งเป็นชนเผ่าที่นําเอา ประมวลกฎหมายแพ่งไปใช้กับชนเผ่าของตน

เนื่องจากกฎหมายโรมันเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร จึงมีผู้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Written Law การที่กฎหมายโรมันจัดทําเป็นประมวลกฎหมาย จึงมีผู้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Code Law ประเทศที่อยู่ในระบบกฎหมายนี้คือ อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส สเปน สวิส ญี่ปุ่น ไทย ฯลฯ

(2) ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ คือ ระบบกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ศาลนําเอา จารีตประเพณีมาใช้ในการตัดสินคดี ต้นกําเนิดหรือแม่แบบเกิดขึ้นในประเทศแรกคือ อังกฤษ ระยะแรกมีชนเผ่า ต่าง ๆ ที่อพยพไปตั้งถิ่นฐานบนเกาะอังกฤษ ศาลท้องถิ่นได้นําเอาจารีตประเพณีของชนเผ่ามาตัดสิน ทําให้ผล ของคําพิพากษาแต่ละท้องถิ่นไม่เหมือนกัน จนกระทั่งชนเผ่าสุดท้ายคือพวกนอร์แมนพิชิตเกาะอังกฤษ ในสมัย พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 จึงส่งศาลเคลื่อนที่ออกไปวางหลักเกณฑ์ ทําให้จารีตประเพณีเหมือนกันทุกท้องถิ่น มีลักษณะ เป็นสามัญ (Common) และใช้กันทั่วไป จึงเรียกว่า คอมมอนลอว์ ตัวอย่างเช่น แคนาดา อเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหภาพแอฟริกาใต้ เป็นต้น

(3) ระบบกฎหมายสังคมนิยม หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าระบบกฎหมายคอมมิวนิสต์ เกิดขึ้นใน ประเทศแรกคือ รัสเซีย หลังจากมีการปฏิวัติเมื่อ ค.ศ. 1917 โดยนําเอาแนวความคิดของนักปราชญ์ 2 ท่าน คือ คาร์ล มาร์กซ์ และเลนิน ซึ่งถือว่ากฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือเพื่อให้การปกครองของประเทศยึดหลักผลประโยชน์ ของส่วนรวมหรือของชุมชนหรือสังคม ประเทศใดที่มีการปกครองในระบอบสังคมนิยมตามแนวคิดของนักปราชญ์ ทั้งสอง ประเทศนั้นจัดอยู่ในระบบกฎหมายสังคมนิยม เช่น เวียดนาม ลาว เกาหลีเหนือ จีนแผ่นดินใหญ่ เป็นต้น

(4) ระบบกฎหมายศาสนาและประเพณีนิยม ในปัจจุบันมีบางประเทศที่ได้นําเอาคําสอนของ พระผู้เป็นเจ้ามาบัญญัติเป็นกฎหมาย จึงกล่าวกันว่าศาสนาเป็นที่มาของบ่อเกิดของกฎหมาย มี 3 กลุ่ม คือ

(ก) ศาสนาอิสลาม ต้นกําเนิดประเทศแรกคือ ประเทศซาอุดิอาระเบีย คําสอนของพระเจ้า คือ อัลลอฮ์ ปรากฏอยู่ในกฎหมาย เช่น กฎหมายครอบครัวและมรดก เป็นต้น

(ข) ศาสนาคริสต์ แนวความคิดของศาสนาคริสต์ ใช้เป็นแนวทางในการร่างกฎหมายของ ประเทศที่นับถือคริสต์ศาสนา เช่น ข้อกําหนดห้ามหย่า การห้ามคุมกําเนิด การห้ามทําแท้ง และการห้ามสมรสซ้อน (Bigamy) เป็นต้น

(ค) ศาสนาฮินดู ต้นกําเนิดประเทศแรกคือ ประเทศอินเดีย ตัวอย่างปรากฏอยู่ในตํารา กฎหมาย คือ พระธรรมศาสตร์ หรือของไทยเรียกคัมภีร์ธรรมศาสตร์ของมโนสาราจารย์

ส่วนประเพณีนิยม เกิดจากคําสอนของนักปราชญ์ ไม่ใช่พระผู้เป็นเจ้า เช่น ชาวจีนในสมัย ขงจื้อที่นําเอาความเชื่อของนักปราชญ์ท่านนี้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายในชีวิตประจําวัน หรือลัทธิชินโตของประเทศญี่ปุ่นก็มีอิทธิพลต่อการจัดทํากฎหมายของญี่ปุ่นเช่นกัน

หมายเหตุ คําตอบของนักศึกษาถ้าอยู่ในหน้า 91 ถึง 101 ก็ให้คะแนน

 

ข้อ 4. คอมมอนลอว์ และชีวิลลอว์ มีความแตกต่างในเรื่องการแยกประเภทกฎหมายอย่างไร จงอธิบาย

ธงคําตอบ

ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ ไม่นิยมแบ่งแยกประเภทกฎหมายออกเป็นประเภทต่าง ๆ เช่น กฎหมายเอกชน กฎหมายมหาชน แต่มีการแบ่งแยกออกเป็นกฎหมายคอมมอนลอว์ และหลักความยุติธรรม (Equity) คดีที่เกิดขึ้นตามกฎหมายคอมมอนลอว์ ก็นํามาฟ้องยังศาลคอมมอนลอว์ ส่วนคดีที่จําเป็นต้องใช้หลัก ความยุติธรรมจะต้องขึ้นศาลที่มีเขตอํานาจโดยเฉพาะ เช่น Chancery Court ในประเทศอังกฤษ ฯลฯ (ในปัจจุบัน ได้มีการเปลี่ยนแปลงให้ศาลทั้งหมดของอังกฤษสามารถใช้กฎหมายคอมมอนลอว์ควบคู่ไปกับหลักความยุติธรรมได้)

ส่วนประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายชีวิลลอว์ ได้มีการแบ่งแยกประเภทของกฎหมายออกเป็น กฎหมายเอกชน (Private Law) และกฎหมายมหาชน (Public Law) คดีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายมหาชน เช่น คดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างราษฎรกับเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง ตามกฎหมายปกครองจะต้องขึ้นศาลที่มีเขตอํานาจ พิจารณาคดีประเภทนี้โดยเฉพาะ คือ ศาลปกครอง ส่วนคดีธรรมดาก็ฟ้องยังศาลที่มีขอบอํานาจในการพิจารณา คดีทั่ว ๆ ไป

ระบบกฎหมายอังกฤษหรือคอมมอนลอว์ ไม่มีศาลปกครอง เนื่องจากวิวัฒนาการระบบกฎหมาย คอมมอนลอว์ ไม่แบ่งแยกกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนออกจากกัน ดังนั้น ไม่ว่าคดีธรรมดาระหว่าง เอกชนกับเอกชนด้วยกันที่เรียกว่า คดีแพ่ง หรือคดีที่ฟ้องเป็นคดีอาญา หรือแม้เป็นคดีปกครอง ก็อยู่ในอํานาจ ของศาลยุติธรรมเพียงศาลเดียว ไม่แยกศาล ดังที่นักกฎหมายของอังกฤษชื่อ อัลเบิร์ตเวนน์ ไดซีย์ กล่าวไว้ว่า “บุคคลทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน และศาลเดียวกันเป็นผู้พิจารณาพิพากษา” จึงมีผู้เรียกศาลของอังกฤษว่า “ระบบศาลเดี่ยว” คือ ศาลยุติธรรมเพียงศาลเดียวพิจารณาคดีได้ทุกประเภท ไม่ว่าคดีข้อพิพาทระหว่างราษฎร กับเจ้าพนักงานของรัฐหรือฝ่ายปกครองที่เรียกว่าคดีปกครองก็ต้องขึ้นศาลยุติธรรม เมื่อไม่แบ่งแยกประเภท กฎหมาย จึงไม่แยกศาล ซึ่งต่างกับระบบกฎหมายซีวิลลอว์ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน มีการแยกประเภทกฎหมาย ออกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน ดังนั้น ข้อพิพาทระหว่างราษฎรกับเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง ตามกฎหมายปกครองจะต้องขึ้นศาลที่มีเขตอํานาจพิจารณาคดีประเภทนี้โดยเฉพาะ คือ ศาลปกครอง ส่วน คดีธรรมดา คือ คดีแพ่ง หรือคดีอาญา ก็ฟ้องไปยังศาลที่มีขอบอํานาจในการพิจารณาคดีทั่วไป คือ ศาลยุติธรรม จึงมีผู้กล่าวว่าศาลในประเทศฝรั่งเศสเป็น “ระบบศาลคู่” มีทั้งศาลยุติธรรมและศาลปกครองนั่นเอง

 

Advertisement