การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3101 (LAW 3001) กฎหมายอาญา 3
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. เอคนร้ายเดินผ่านบ้านที่เห็นประตูเปิดอยู่จึงแอบเข้าไปเพื่อจะลักทรัพย์ เมื่อเข้าไปในห้องเห็นปี นั่งฟุบอยู่ที่โต๊ะทํางานเข้าใจว่ามีหลับเกรงว่าจะตื่นมาขัดขวางตน เอจึงคว้าแจกันดอกไม้ตีศีรษะบีเพื่อให้หมดสติ แต่ความจริงที่หัวใจวายถึงแก่ความตายก่อนหน้าที่เอจะเข้ามาลักทรัพย์นานกว่า 2 ชั่วโมงแล้ว ดังนี้ เอจะมีความผิดต่อชีวิตและร่างกายฐานใดหรือไม่

Advertisement

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 295 “ผู้ใดทําร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้น กระทําความผิดฐานทําร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษ…”

วินิจฉัย

ความผิดฐานทําร้ายร่างกายตามมาตรา 295 มีองค์ประกอบความผิด ดังนี้คือ
1. ทําร้าย
2. ผู้อื่น
3. จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น
4. โดยเจตนา

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่เอได้ใช้แจกันตีศีรษะของบีโดยมีเจตนาทําร้ายปีนั้น เมื่อข้อเท็จจริง ปรากฏว่า ในขณะที่เอทําร้ายปีนั้น ได้ถึงแก่ความตายไปก่อนแล้วนานกว่า 2 ชั่วโมง การกระทําความผิดฐาน ทําร้ายร่างกายของเอจึงขาดองค์ประกอบของความผิดฐานทําร้ายร่างกายผู้อื่นตามมาตรา 295 เนื่องจากไม่มี “ผู้อื่น” ที่จะถูกทําร้าย ดังนั้น เอจึงไม่มีความผิดต่อชีวิตและร่างกาย

สรุป เอไม่มีความผิดต่อชีวิตและร่างกาย

 

ข้อ 2. นางเดือนมอบให้นายอาทิตย์เป็นนายหน้าหาคนมาซื้อที่ดินโดยตกลงจะให้ค่านายหน้าร้อยละ 3 ของราคาที่ดินที่ขายได้ ต่อมานายอาทิตย์ได้พานางจันทร์มาติดต่อซื้อที่ดินจากนางเดือน หลังจาก ที่ได้จดทะเบียนซื้อขายและชําระราคาที่ดินกันแล้วนายอาทิตย์ได้มาขอรับค่านายหน้า แต่นางเดือน บ่ายเบี่ยงเรื่อยมาด้วยเจตนา จะไม่จ่ายค่านายหน้า วันเกิดเหตุนายอาทิตย์ได้จับตัวนางเดือน ไปกักขังไว้แล้วเรียกให้สามีของนางเดือนนําเงินไปให้ตามจํานวนค่านายหน้าที่ตกลงกัน สามีของ นางเดือนยังไม่ได้มอบเงินตามที่นายอาทิตย์เรียกร้อง นายอาทิตย์ก็ถูกจับดําเนินคดีเสียก่อน ดังนี้

อยากทราบว่าการกระทําของนายอาทิตย์เป็นความผิดฐานเรียกค่าไถ่หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 313 “ผู้ใดเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่

(1) เอาตัวเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีไป
(2) เอาตัวบุคคลอายุกว่าสิบห้าปีไปโดยใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กําลังประทุษร้าย ใช้อํานาจ ครอบงําผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด หรือ
(3) หน่วงเหนี่ยว หรือกักขังบุคคลใด ต้องระวางโทษ…”

วินิจฉัย

องค์ประกอบความผิดฐานเอา ตัวบุคคลไปหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ตามมาตรา
313 วรรคหนึ่ง (3) ประกอบด้วย

1. หน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้ใด
2. โดยเจตนา
3. เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่

“ค่าไถ่” หมายความว่า ทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่เรียกเอา หรือให้เพื่อแลกเปลี่ยนเสรีภาพของ ผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือผู้ถูกกักขัง (ป.อาญา มาตรา 1 (13))

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายอาทิตย์ได้จับตัวนางเดือนไปกักขังไว้แล้วเรียกให้สามีของนางเดือน นําเงินไปให้ตามจํานวนค่านายหน้าที่ตกลงกันนั้น ถือเป็นการเจตนาเอาตัวบุคคลไปเพื่อหน่วงเหนี่ยวกักขังแล้ว
แต่อย่างไรก็ตามการกระทําของนายอาทิตย์มิได้มีเจตนาเพื่อที่จะให้ได้มาซื้อค่าไถ่ เพราะเงินที่นายอาทิตย์ เรียกเอานั้นเป็นเงินที่นายอาทิตย์มีสิทธิที่จะได้เงินดังกล่าว จึงไม่ถือว่าเป็นค่าไถ่ตามกฎหมาย ดังนั้น นายอาทิตย์ จึงไม่มีความผิดฐานเรียกค่าไถ่ตามมาตรา 313

สรุป การกระทําของนายอาทิตย์ไม่เป็นความผิดฐานเรียกค่าไถ่ตามมาตรา 313

 

ข้อ 3. (ก) แดงขอยืมรถจักรยานยนต์ของขาวขี่เพื่อไปเยี่ยมพ่อของแดงที่นอนป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล
แต่ความจริงพ่อของแดงสบายดีและอยู่ในประเทศลาว ขาวมอบรถจักรยานยนต์ให้แดงยืม แดงขับรถจักรยานยนต์ไปขายให้กับเขียวทันที หลังจากนั้นแดงกลับมาบอกขาวว่ารถถูกขโมย
ดังนี้ แดงมีความผิดตามกฎหมายอาญาเกี่ยวกับทรัพย์ต่อขาวฐานใด จงวินิจฉัย

(ข) นายอาทิตย์ลักเอารถจักรยานยนต์ของนายอังคารไป แล้วนายอาทิตย์เรียกเอาเงินจํานวน 10,000 บาท จากนายอังคารเพื่อแลกกับการนํารถกลับมาคืน นายอังคารจึงจ่ายเงินให้กับ นายอาทิตย์ตามข้อตกลง หลังจากนั้นมีการนัดหมายวันเวลาที่จะนํารถมาคืน เมื่อถึงเวลานัด นายอาทิตย์ทราบว่านายอังคารนําตํารวจมาดักซุ่มคอยจับกุมอยู่จึงไม่นํารถจักรยานยนต์มาคืนให้กับนายอังคาร ให้วินิจฉัยว่านายอาทิตย์มีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ฐานฉ้อโกงหรือไม่

ธงคําตอบ

(ก) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 334 “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทํา ความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษ….”

วินิจฉัย

องค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 ประกอบด้วย
1. เอาไป
2. ทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย
3. โดยเจตนา
4. โดยทุจริต

กรณีที่จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 นั้น จะต้องเป็นกรณีการเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปจากการครอบครองของผู้อื่นโดยทุจริต หรือเป็นการแย่งการครอบครองนั่นเอง ในกรณีที่เป็นการเอาทรัพย์สินของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตในขณะที่ผู้เอาทรัพย์สินนั้น ครอบครองทรัพย์สินนั้นอยู่ย่อมไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แต่อาจเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ (ตามมาตรา 352 วรรคหนึ่ง)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่แดงไปขอยืมรถจักรยานยนต์ของขาวขี่เพื่อไปเยี่ยมพ่อของแดงที่นอนป่วย อยู่ที่โรงพยาบาล แต่ความจริงพ่อของแดงสบายดีและอยู่ในประเทศลาวนั้น การกระทําของแดงเป็นเพียงการใช้ กลอุบายเพื่อเอารถจักรยานยนต์ของขาวไปเท่านั้น ดังนั้น สัญญายืมย่อมไม่เกิดขึ้น และการที่ขาวได้ส่งมอบ การครอบครองรถจักรยานยนต์ให้แก่แดงจึงมิใช่การส่งมอบตามสัญญายืมที่จะทําให้การครอบครองรถจักรยานยนต์ตกไปอยู่กับแดง แต่เป็นการส่งมอบให้เพราะถูกหลอกลวง กรณีดังกล่าว จึงถือว่าเป็นกรณีที่แดงได้แย่งการ ครอบครองรถจักรยานยนต์ไปจากขาวซึ่งเป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์ของผู้อื่น และเมื่อเป็นการเอาไปโดยเจตนา และโดยทุจริต จึงครบองค์ประกอบของความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 ทุกประการ ดังนั้น แดงจึงมี ความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 และเป็นการลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย

สรุป แดงมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334

(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 341 “ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทําให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทํา ถอน หรือทําลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทําความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษ…”

วินิจฉัย

องค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 ประกอบด้วย

1. หลอกลวงผู้อื่นด้วยการ
(ก) แสดงข้อความเป็นเท็จ หรือ
(ข) ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง

2. โดยการหลอกลวงนั้น
(ก) ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือ
(ข) ทําให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทํา ถอน หรือทําลายเอกสารสิทธิ

3. โดยเจตนา

4. โดยทุจริต

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายอาทิตย์ลักเอารถจักรยานยนต์ของนายอังคารไป แล้วนายอาทิตย์ เรียกเอาเงินจํานวน 10,000 บาท จากนายยังคารเพื่อแลกกับการนํารถกลับมาคืน นายอังคารจึงจ่ายเงินให้กับ นายอาทิตย์ตามข้อตกลง หลังจากนั้นมีการนัดหมายวันเวลาที่จะนํารถมาคืน เมื่อถึงเวลานัดนายอาทิตย์ทราบว่า นายอังคารนําตํารวจมาดักซุ่มคอยจับกุมอยู่ จึงไม่นํารถจักรยานยนต์มาคืนให้กับนายอังคารนั้น การที่นายอาทิตย์ ไม่นํารถจักรยานยนต์มาคืนนั้นเกิดจากการที่นายอังคารนําตํารวจมาดักซุ่มคอยจับกุมอยู่ในขณะที่นายอาทิตย์ จะนํารถมาคืนให้ จึงถือว่านายอาทิตย์มิได้มีเจตนาที่จะหลอกลวงนายอังคารมาตั้งแต่ต้น ดังนั้น นายอาทิตย์จึงไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341

สรุป นายอาทิตย์ไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341

 

Advertisement