การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3001 กฎหมายอาญา 3
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. หนึ่งให้สองยืมเงิน 5,000 บาท หนี้ถึงกําหนดชําระแต่สองไม่ชําระหนี้ ถูกทวงถามหลายครั้งก็ยัง บิดพลิ้วไม่ยอมชําระ ทําให้หนึ่งโกรธชกสองล้มลง บังเอิญเท้าข้างซ้ายของสองถูกเศษแก้วบาด เลือดไหล แต่เนื่องจากสองป่วยเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้วแผลรักษาไม่หายจนแพทย์ต้องตัดเท้า ข้างซ้ายออกเพื่อรักษาชีวิต ดังนี้ หนึ่งจะมีความผิดต่อร่างกายฐานใด

Advertisement

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 63 “ถ้าผลของการกระทําความผิดใดทําให้ผู้กระทําต้องรับโทษหนักขึ้น ผลของการ กระทําความผิดนั้นต้องเป็นผลที่ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้”

มาตรา 295 “ผู้ใดทําร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้น กระทําความผิดฐานทําร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษ…”

มาตรา 297 “ผู้ใดกระทําความผิดฐานทําร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทําร้ายรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษ…

อันตรายสาหัสนั้น คือ

(3) เสียแขน ขา มือ เท้า ยิ้มหรืออวัยวะอื่นใด”

วินิจฉัย

ความผิดฐานทําร้ายร่างกายตามมาตรา 295 มีองค์ประกอบความผิดดังนี้ คือ
1. ทําร้าย
2. ผู้อื่น
3. จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น
4. โดยเจตนา

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่หนึ่งชกสองล้มลง บังเอิญเท้าข้างซ้ายของสองถูกเศษแก้วบาดเลือดไหล โดยเจตนานั้น การกระทําของหนึ่งครบองค์ประกอบของความผิดฐานทําร้ายร่างกายตามมาตรา 295 แล้ว ดังนั้น หนึ่งจึงมีความผิดฐานทําร้ายร่างกายตามมาตรา 295

ส่วนความผิดฐานทําร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตามมาตรา 297 ซึ่งผู้กระทํา จะต้องรับโทษหนักขึ้นนั้น ผลของการกระทําที่ทําให้ผู้ถูกกระทําร้ายได้รับอันตรายสาหัสนั้น จะต้องเป็นผลที่ตาม ธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้ตามมาตรา 63 แต่ข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ การที่แพทย์ต้องตัดเท้าข้างซ้ายของสองออกนั้น เป็นเพราะสองป่วยเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้วทําให้แผลรักษาไม่หาย ไม่ใช่เป็นผลที่ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้ เนื่องจากการถูกทําร้ายโดนเศษแก้วบาดที่เท้าแต่อย่างใด ดังนั้น แม้สองจะถูกหนึ่งทําร้ายจนได้รับอันตรายสาหัส หนึ่งก็มีความผิดฐานทําร้ายร่ายกายตามมาตรา 295 เท่านั้น ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 297

สรุป หนึ่งมีความผิดฐานทําร้ายร่างกายตามมาตรา 295 ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 297

 

ข้อ 2. นายเอกอยู่กินกับนางสาวจันทร์เป็นเวลา 3 ปี นางสาวจันทร์มีอาชีพเป็นหมอนวดในสถานบริการ อาบอบนวดแห่งหนึ่งและบางครั้งก็ขายบริการทางเพศด้วยเพื่อหาเงินมาใช้จ่ายในครอบครัว ซึ่งนายเอกก็ทราบดีและยอมรับมาโดยตลอด ต่อมานายเอกขอเลิกกับนางสาวจันทร์โดยไปเช่าบ้าน อยู่ที่อื่น วันหนึ่งนางสาวจันทร์ได้ไปหานายเอก ณ ที่ทํางานและขอร้องให้นายเอกกลับไปคืนดีกับตน แต่นายเอกไม่ยอม โดยไม่ให้นางสาวจันทร์ออกจากที่ทํางานพร้อมกับพูดด้วยเสียงอันดังต่อหน้า พนักงานคนอื่นในที่ทํางานว่า “กูไม่อยากมีเมียเป็นหญิงโสเภณี ถึงอย่ามาหากูอีก” ดังนี้ถ้านายเอก ถูกดําเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาท อยากทราบว่านายเอกจะขอพิสูจน์ความจริงได้หรือไม่ และ นายเอกมีความผิดหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 326 “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษ…

มาตรา 330 “ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทําความผิดพิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าหมิ่น ประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์ จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน”

วินิจฉัย

องค์ประกอบความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 ประกอบด้วย
1. ใส่ความผู้อื่น
2. ต่อบุคคลที่สาม
3. โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง
4. โดยเจตนา

คําว่า “ใส่ความ” ตามนัยมาตรา 326 หมายความว่า พูดหาเหตุร้าย หรือกล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย โดยเป็นการยืนยันข้อเท็จจริง ซึ่งกระทําต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอกอยู่กินกับนางสาวจันทร์เป็นเวลา 3 ปี นางสาวจันทร์มีอาชีพ เป็นหมอนวดในสถานบริการอาบอบนวดแห่งหนึ่งและบางครั้งก็ขายบริการทางเพศด้วยเพื่อหาเงินมาใช้จ่ายในครอบครัว ซึ่งนายเอกก็ทราบดีและยอมรับมาโดยตลอด ต่อมานายเอกขอเลิกกับนางสาวจันทร์โดยไปเช่าบ้าน อยู่ที่อื่น วันหนึ่งนางสาวจันทร์ได้ไปหานายเอก ณ ที่ทํางานและขอร้องให้นายเอกกลับไปคืนดีกับตน แต่นายเอก ไม่ยอม โดยไม่ให้นางสาวจันทร์ออกจากที่ทํางานพร้อมกับพูดด้วยเสียงอันดังต่อหน้าพนักงานคนอื่นในที่ทํางานว่า “กูไม่อยากมีเมียเป็นหญิงโสเภณี ถึงอย่ามาหากูอีก” การที่นายเอกพูดด้วยเสียงอันดังต่อหน้าพนักงานคนอื่น ในที่ทํางานด้วยข้อความดังกล่าวนั้น ถือเป็นการใส่ความนางสาวจันทร์ต่อบุคคลที่สามแล้ว และข้อความที่พูด ก็น่าจะทําให้นางสาวจันทร์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ดังนั้น นายเอกจึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326

และถ้านายเอกถูกดําเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาท และจะขอพิสูจน์ความจริงได้หรือไม่นั้น กรณีนี้ ถือว่าเข้าข้อห้ามพิสูจน์ตามมาตรา 330 วรรคสอง เพราะข้อหาที่ว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ความในเรื่อง ส่วนตัว และการพิสูจน์นั้นก็ไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ดังนั้น นายเอกจึงขอพิสูจน์ความจริงไม่ได้

สรุป นายเอกมีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 336 และจะขอพิสูจน์ความจริงไม่ได้

 

ข้อ 3. ขณะที่แดงกําลังเข้าคิวเพื่อซื้อตั๋วผ่านประตูเข้าชมฟุตบอลนัดสําคัญ ขาวได้ฝากเงินให้แดงซื้อตั๋ว ให้ด้วยเพราะคนเข้าคิวซื้อบัตรผ่านประตูเป็นจํานวนมาก ขาวมอบเงินให้แดง 2,000 บาท และได้ ยืนรอเอาบัตรผ่านประตูจากแดงอยู่ใกล้ ๆ บริเวณนั้นเอง แดงซื้อบัตรผ่านประตูเฉพาะของแดง และรีบเข้าประตูสนามฟุตบอลเข้าชมฟุตบอลทันที แต่แดงไม่ได้ซื้อตั๋วให้ขาว แดงเอาเงิน 2,000 บาท ที่ขาวมอบให้ไปใช้เสียเอง ดังนี้ แดงมีความผิดอาญาเกี่ยวกับทรัพย์ฐานใด จงวินิจฉัย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 334 “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้น กระทําความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษ…”

วินิจฉัย

องค์ประกอบของความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 ประกอบด้วย
1. เอาไป
2. ทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย
3. โดยเจตนา
4. โดยทุจริต

กรณีที่จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 นั้น จะต้องเป็นกรณีการเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปจากการครอบครองของผู้อื่นโดยทุจริต หรือเป็นการแย่งการครอบครองนั่นเอง ในกรณีที่เป็นการเอาทรัพย์สินของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ในขณะที่ผู้เอาทรัพย์สินนั้นไปได้ครอบครองทรัพย์สินนั้นอยู่ โดยอาจจะเป็นการครอบครองเพราะเจ้าของส่งมอบการครอบครองให้โดยชอบหรือ เพราะเจ้าของส่งมอบให้โดยสําคัญผิด หรือเป็นทรัพย์สินหายซึ่งผู้เอาไปนั้นเก็บได้ ย่อมไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แต่อาจเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์สินหายแล้วแต่กรณีตามมาตรา 352

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ขาวได้ฝากเงินให้แดงซื้อตั๋วให้โดยมอบเงินให้แดง 2,000 บาท และได้ ยืนรอเอาบัตรผ่านประตูจากแดงอยู่ใกล้ ๆ บริเวณนั้น แต่แดงซื้อบัตรผ่านประตูเฉพาะของแดงและรีบเข้าประตู สนามฟุตบอลโดยไม่ได้ซื้อตั๋วให้ขาว และแดงได้เอาเงิน 2,000 บาท ที่ขาวมอบให้ไปใช้เสียเองนั้น การกระทํา ของแดงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 เพราะการที่ขาวส่งมอบเงินให้แดง 2,000 บาท เพื่อให้แดง ซื้อตั๋วให้นั้น ถือว่าเงินนั้นยังคงอยู่ในความครอบครองของขาวอยู่โดยขาวไม่ได้เจตนาสละการครอบครองเมื่อแดงได้เอาเงินที่ขาวมอบให้ไปใช้เสียเอง จึงเป็นการแย่งการครอบครองโดยพาเอาทรัพย์เคลื่อนที่ไปในลักษณะตัดกรรมสิทธิ์ โดยมีเจตนาทุจริตเพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ครบองค์ประกอบ ความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว ดังนั้น แดงจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334

สรุป แดงมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334

 

ข้อ 4. นายหนึ่งซื้อที่ดินจากนายสองในราคา 1,000,000 บาท โดยให้นายสามเป็นผู้ทําสัญญาซื้อขายและ จดทะเบียนใส่ชื่อนายสามเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแทนนายหนึ่ง โดยนายหนึ่งให้ค่าตอบแทน แก่นายสามเป็นเงินจํานวน 10,000 บาท แล้วนายหนึ่งทําการปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ลงในที่ดิน แปลงดังกล่าวโดยที่นายสามไม่ได้เกี่ยวข้องแต่อย่างใด ต่อมานายสามร่วมกับนายสองทําสัญญา และจดทะเบียนโอนขายที่ดินแปลงดังกล่าวในราคา 500,000 บาท โดยไม่ได้รับความยินยอมจาก นายหนึ่ง แล้วนายสามเอาเงินที่ได้จากการขายที่ดินไป ให้วินิจฉัยว่า นายสามและนายสองมีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ฐานใดหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 352 วรรคหนึ่ง “ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทําความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษ….”

วินิจฉัย

องค์ประกอบความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย
1. ครอบครอง
2. ทรัพย์ของผู้อื่นหรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย
3. เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สาม
4. โดยเจตนา
5. โดยทุจริต

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายหนึ่งซื้อที่ดินจากนายสองในราคา 1,000,000 บาท โดยให้นายสาม เป็นผู้ทําสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนใส่ชื่อนายสามเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแทนนายหนึ่ง โดยนายหนึ่งให้ ค่าตอบแทนแก่นายสามเป็นเงินจํานวน 10,000 บาท แล้วนายหนึ่งทําการปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ลงในที่ดิน แปลงดังกล่าวโดยที่นายสามไม่ได้เกี่ยวข้องแต่อย่างใดนั้น เมื่อนายสามเป็นแต่เพียงมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน พิพาทแทนนายหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อันแท้จริง โดยไม่ปรากฏว่านายสามเข้าไปเกี่ยวข้องครอบครองที่ดินแต่อย่างใด จึงไม่ถือว่านายสามเป็นผู้ครอบครองทรัพย์ของผู้อื่นตามความหมายของมาตรา 352 ดังนั้น แม้นายสามกับนายสองจะร่วมกันทําสัญญาจดทะเบียนโอนขายที่ดินโดยไม่ได้รับความยินยอมจากนายหนึ่งและนายสามได้เอาเงินที่ได้จากการขายที่ดินพิพาทไป การกระทําของนายสามและนายสองก็ไม่เป็นความผิดฐาน ยักยอกตามมาตรา 352

สรุป นายสามและนายสองไม่มีความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352

Advertisement