การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3005 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 1
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายปรัชยื่นฟ้องนายสืบเนื่องจากนายสืบเป็นผู้สั่งจ่ายเช็ค แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินในเช็ค ดังกล่าว ขอให้นายสืบรับผิด ในระหว่างพิจารณานายสืบยื่นคําร้องต่อศาลกล่าวว่า นายสืบได้สั่งจ่ายเช็คให้กับนายวิทไปและนายวิทได้สลักหลังต่อในเช็คดังกล่าวไปให้แก่นายปรัชจึงขอเรียกตัวนายวิทเข้ามาเป็นคู่ความในคดี อีกทั้งเช็คฉบับดังกล่าวได้มีการลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายร่วมกัน 2 คน คือตนกับนายมาร์ค จึงขอเรียกนายมาร์คเข้ามาในคดีด้วย

Advertisement

ให้ท่านวินิจฉัยว่า ศาลจะเรียกนายวิทและนายมาร์คเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 57 “บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความอาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอด

(3) ด้วยถูกหมายเรียกให้เข้ามาในคดี (ก) ตามคําขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทําเป็นคําร้อง แสดงเหตุว่าตนอาจฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้ เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเพื่อใช้ค่าทดแทน ถ้าหาก ศาลพิจารณาให้คู่ความเช่นว่านั้นแพ้คดี หรือ (ข) โดยคําสั่งของศาล เมื่อศาลนั้นเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคําขอในกรณีที่กฎหมายบังคับให้บุคคลภายนอกเข้ามาในคดี หรือศาลเห็นจําเป็นที่จะเรียก บุคคลภายนอกเข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม….”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 57 (3) (ก) บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความอาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการ ร้องสอดด้วยถูกหมายเรียกให้เข้ามาในคดีตามคําขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทําเป็นคําร้องแสดงเหตุผลว่าตน อาจฟ้องบุคคลภายนอกหรือถูกบุคคลภายนอกพ้องเพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเพื่อใช้ค่าทดแทนถ้าศาลพิจารณา
ให้ตนแพ้คดี

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายปรัชยื่นฟ้องนายสืบเนื่องจากนายสืบเป็นผู้สั่งจ่ายเช็ค แต่ธนาคาร ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าว จึงขอให้นายสืบรับผิด ในระหว่างการพิจารณานายสืบยื่นคําร้องต่อศาลว่า นายสืบได้สั่งจ่ายเช็คให้กับนายวิทไปและนายวิทได้สลักหลังเช็คต่อไปให้แก่นายปรัช อีกทั้งเช็คฉบับดังกล่าว ได้มีการลงลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายร่วมกัน 2 คน คือตนกับนายมาร์ค จึงขอเรียกตัวนายวิทและนายมาร์คเข้ามาเป็น คู่ความในคดีด้วยนั้น ศาลจะเรียกนายวิทและนายมาร์คเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้หรือไม่นั้น แยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีของนายวิท การที่นายวิทได้สลักหลังโอนเช็คให้แก่นายปรัชนั้น หากศาลพิพากษาให้นายสืบ จําเลยชําระหนี้ตามเช็คพิพาทให้แก่นายปรัช นายสืบซึ่งลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คในฐานะผู้สั่งจ่ายก็ไม่มีสิทธิที่จะไป ไล่เบี้ยเอาจากนายวิทผู้สลักหลัง ดังนั้น ศาลจะเรียกนายวิทบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตามคําขอของ นายสืบตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 57 (3) ไม่ได้

กรณีของนายมาร์ค แม้นายมาร์คจะได้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทในฐานะผู้สั่งจ่ายร่วมกับนายสืบ นายมาร์คก็อยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับนายสืบเท่านั้น หากศาลพิพากษาให้นายสืบลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งชําระหนี้

นายสืบก็มีสิทธิรับช่วงสิทธิไปเอาคืนจากนายมาร์คลูกหนี้ร่วมอีกคนหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 229 (3) ซึ่งมิใช่เป็น การไล่เบี้ยแต่อย่างใด ดังนั้น ศาลจะเรียกนายมาร์คบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตามคําขอของนายสืบตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 57 (3) ไม่ได้

สรุป ศาลจะเรียกนายวิทและนายมาร์คเข้ามาเป็นคู่ความในคดีไม่ได้

 

ข้อ 2. นายสมบูรณ์มีภูมิลําเนาอยู่ในเขตอํานาจศาลจังหวัดแพร่ ได้ทําสัญญากู้เงินกับนายส่องแสง ซึ่งมี ภูมิลําเนาอยู่ที่เขตอํานาจศาลจังหวัดน่าน โดยทําสัญญากู้กันมูลค่า 500,000 บาท ที่บ้านของ นายส่องแสง โดยหนี้ดังกล่าวมีนายสินนําที่ดินมาจํานองเป็นประกันเงินกู้ โดยที่ดินรวมถึงภูมิลําเนา ของนายสินนั้นอยู่ในเขตอํานาจศาลจังหวัดฝาง ต่อมาเมื่อครบสัญญา นายสมบูรณ์ไม่ชําระเงินกู้ นายส่องแสงจึงทําหนังสือบอกกล่าวทวงถาม และบอกกล่าวว่าจะบังคับจํานองไปยังนายสมบูรณ์ และนายสิน ในกรณีดังกล่าวนี้ ถ้าลูกหนี้ไม่ชําระแล้วนายส่องแสงต้องการฟ้องบังคับจํานอง ศาลจังหวัดฝางจะมีอํานาจพิจารณาคดีนี้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 4 ทวิ “คําฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิหรือประโยชน์อันเกี่ยวด้วยอสังหา ริมทรัพย์ ให้เสนอต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาล ไม่ว่าจําเลยจะมีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักร หรือไม่ หรือต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาล”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 ทวิ ได้วางหลักไว้ว่า คําฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิหรือ ประโยชน์อันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ ให้เสนอต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่จําเลย มีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาล

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสมบูรณ์มีภูมิลําเนาอยู่ในเขตอํานาจศาลจังหวัดแพร่ ได้ทําสัญญากู้เงิน กับนายส่องแสงซึ่งมีภูมิลําเนาอยู่ที่เขตอํานาจศาลจังหวัดน่านโดยทําสัญญากู้กันที่บ้านของนายส่องแสง โดยมี นายสินนําที่ดินมาจํานองเป็นประกันเงินกู้โดยที่ดินรวมถึงภูมิลําเนาของนายสินนั้นอยู่ในเขตอํานาจศาลจังหวัดฝาง ต่อมาเมื่อครบสัญญา นายสมบูรณ์ไม่ชําระเงินกู้ นายส่องแสงจึงทําหนังสือบอกกล่าวทวงถามและบอกกล่าวว่า จะบังคับจํานองไปยังนายสมบูรณ์และนายสินนั้น กรณีดังกล่าวนี้ ถ้าหากลูกหนี้ไม่ชําระหนี้และนายส่องแสง ต้องการบังคับจํานองเอากับที่ดินที่นายสินนํามาจํานองเป็นประกันเงินกู้นั้น เมื่อการฟ้องขอให้บังคับจํานองแก่ ที่ดินที่จํานอง เป็นคําฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ เพราะต้องมีการบังคับแก่ตัวทรัพย์สินนั้น ดังนั้น นายส่องแสง จึงมีสิทธิเสนอคําฟ้องต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่ในเขตศาลหรือศาลจังหวัดฝางได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 ทวิศาลจังหวัดฝางจึงมีอํานาจพิจารณาคดีนี้

สรุป ศาลจังหวัดฝางมีอํานาจพิจารณาคดีนี้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 ทวิ

 

ข้อ 3. นายมิตรยื่นฟ้องห้างหุ้นส่วนเอกโทตรี เป็นจําเลยที่ 1 และนายเขียว เป็นจําเลยที่ 2 โดยบรรยาย ฟ้องว่า นายเขียวเป็นลูกจ้างของห้างหุ้นส่วนเอกโทตรี ขับรถในทางการที่จ้างด้วยความประมาท ชนนายมิตรเสียหาย ทําให้จําเลยที่ 1 และที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมด 500,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ต่อมาในระหว่างพิจารณานายมิตรยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องก่อนวันชี้สองสถานว่า ขอแก้ไขชื่อจากห้างหุ้นส่วนเอกโทตรีเป็น นายเอก (ในฐานะบุคคลธรรมดา) เพราะห้างฯ ดังกล่าว มิได้จดทะเบียน อีกทั้งขอแก้ไขชื่อนายเขียวเป็นนายเขียวขจี เนื่องจากนายเขียวได้ไปเปลี่ยนชื่อมา ให้ท่านวินิจฉัยว่า ศาลจะอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องของนายมิตรได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 179 “โจทก์หรือจําเลยจะแก้ไขข้อหา ข้อต่อสู้ ข้ออ้าง หรือข้อเถียงอันกล่าวไว้ในคําฟ้อง หรือคําให้การที่เสนอต่อศาลแต่แรกก็ได้

การแก้ไขนั้น โดยเฉพาะอาจเป็นการแก้ไขในข้อต่อไปนี้

(1) เพิ่ม หรือลด จํานวนทุนทรัพย์ หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิม หรือ

(2) สละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์โดยวิธีเสนอคําฟ้องเพิ่มเติม หรือเสนอคําฟ้อง เพื่อคุ้มครองสิทธิของตนในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง หรือ
(3) ยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ เป็นข้อแก้ข้อหาเดิม หรือที่ยื่นภายหลัง หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้ออ้าง หรือข้อเถียงเพื่อสนับสนุนข้อหา หรือเพื่อหักล้างข้อหาของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง

แต่ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายใดเสนอคําฟ้องใดต่อศาล ไม่ว่าโดยวิธีฟ้องเพิ่มเติมหรือฟ้องแย้ง ภายหลัง
ที่ได้ยื่นคําฟ้องเดิมต่อศาลแล้ว เว้นแต่คําฟ้องเดิมและคําฟ้องภายหลังนี้จะเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณา และชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้”

มาตรา 180 “การแก้ไขคําฟ้องหรือคําให้การที่คู่ความเสนอต่อศาลไว้แล้ว ให้ทําเป็นคําร้องยื่น ต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่มีเหตุ อันสมควรที่ไม่อาจยื่นคําร้องได้ก่อนนั้นหรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
หรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1. การที่นายมิตรยื่นฟ้องห้างหุ้นส่วนเอกโทตรีเป็นจําเลยที่ 1 แล้วต่อมาในระหว่างพิจารณา นายมิตรได้ยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องก่อนวันชี้สองสถานว่า ขอแก้ไขชื่อจากห้างหุ้นส่วนเอกโทตรีเป็นนายเอก (ในฐานะบุคคลธรรมดา) เพราะห้างฯ ดังกล่าวมิได้จดทะเบียนนั้น แม้นายมิตรจะได้ยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติม คําฟ้องก่อนวันชี้สองสถานตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 180 ก็ตาม แต่การขอแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องของนายมิตรดังกล่าวนั้น มิใช่เป็นการแก้ไขโดยการเพิ่มหรือลดจํานวนทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิม หรือสละข้อหาใน ฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 179 แต่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้อง โดยเปลี่ยนตัวจําเลย การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวจึงไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม นายมิตรจึงไม่อาจขอแก้ไขเพิ่มเติม

คําฟ้องกรณีดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 179 วรรคสาม

2. การที่นายมิตรยื่นฟ้องนายเขียวเป็นจําเลยที่ 2 แล้วต่อมาในระหว่างพิจารณานายมิตรได้ยื่น คําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องก่อนวันที่สองสถานว่าขอแก้ไขชื่อนายเขียวเป็นนายเขียวขจี เนื่องจากนายเขียว ได้ไปเปลี่ยนชื่อมานั้น ถือเป็นการแก้ไขฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 179 วรรคสอง (2) ประกอบ มาตรา 180 ดังนั้น นายมิตรจึงสามารถขอแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องในกรณีนี้ได้

สรุป ศาลจะอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องของนายมิตรกรณีขอแก้ไขชื่อจากห้างหุ้นส่วนเอกโทตรี เป็นนายเอก (ในฐานะบุคคลธรรมดา) ไม่ได้ แต่อนุญาตให้นายมิตรขอแก้ไขชื่อนายเขียวเป็นนายเขียวขจีได้

 

ข้อ 4. โจทก์ยื่นคําฟ้องขอให้จําเลยชําระหนี้เงินกู้เป็นคดีดําที่ 123/2563 ต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ ภายหลัง จากจําเลยยื่นคําให้การแล้ว โจทก์มายื่นคําร้องขอถอนฟ้องเนื่องจากฟ้องผิดเขตอํานาจศาล จําเลย คัดค้านการถอนฟ้องดังกล่าว แต่ศาลมีคําสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง จําเลยไม่พอใจจึงโต้แย้งว่า กรณีนี้ จําเลยคัดค้านแล้ว การที่ศาลอนุญาตนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงได้ยื่นอุทธรณ์และศาลรับอุทธรณ์ ไว้แล้ว ก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษา โจทก์ก็ได้นําคดีเรื่องดังกล่าวไปฟ้องต่อศาลจังหวัดแม่สะเรียง เป็นคดีดําที่ 112/2563

ให้ท่านวินิจฉัยว่า คําสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องของศาลชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และการที่โจทก์ นําคดีไปฟ้องเป็นคดีดําที่ 112/2563 นั้น จะสามารถทําได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 173 วรรคสอง “นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคําฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณา และผลแห่งการนี้

(1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคําฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น และ….

มาตรา 175 “ก่อนจําเลยยื่นคําให้การ โจทก์อาจถอนคําฟ้องได้โดยยื่นคําบอกกล่าวเป็นหนังสือต่อศาล

ภายหลังจําเลยยื่นคําให้การแล้ว โจทก์อาจยื่นคําขอโดยทําเป็นคําร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่ออนุญาตให้โจทก์ถอนคําฟ้องได้ ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตหรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่

(1) ห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาต โดยมิได้ฟังจําเลยหรือผู้ร้องสอด ถ้าหากมีก่อน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1. การที่โจทก์ยื่นคําฟ้องขอให้ชําระหนี้เงินกู้เป็นคดีดําที่ 123/2563 ต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ ภายหลังจากจําเลยยื่นคําให้การแล้ว โจทก์มายื่นคําร้องขอถอนฟ้องเนื่องจากฟ้องผิดเขตอํานาจศาล และจําเลย ได้คัดค้านการถอนฟ้องดังกล่าว แต่ศาลมีคําสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องนั้น คําสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องของศาลย่อม ชอบด้วยกฎหมาย เพราะตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 175 วรรคสองนั้น กฎหมายได้กําหนดไว้ว่า ภายหลังที่จําเลยยื่น คําให้การแล้ว ถ้าหากโจทก์ยื่นคําร้องขอถอนฟ้อง ถ้าศาลจะอนุญาตจะต้องฟังจําเลยก่อนเท่านั้น มิได้หมายความว่า ถ้าจําเลยคัดค้านแล้ว ศาลจะอนุญาตให้ถอนฟ้องไม่ได้ เพราะการที่ศาลจะอนุญาตให้ถอนฟ้องตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 175 วรรคสองนั้น เป็นดุลพินิจของศาล ดังนั้น เมื่อศาลได้ฟังจําเลยแล้ว แม้จําเลยจะคัดค้านก็เป็น ดุลพินิจของศาลที่จะอนุญาตให้ถอนฟ้องได้

2. การที่จําเลยไม่พอใจคําสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องของศาล จึงได้ยื่นอุทธรณ์และศาลรับอุทธรณ์ ไว้แล้วนั้น เมื่อคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่โจทก์นําคดีนี้ไปฟ้องต่อศาลจังหวัดแม่สะเรียง เป็นคดีดําที่ 112/2563 อีก จึงเป็นการฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)

สรุป คําสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องของศาลชอบด้วยกฎหมาย แต่การที่โจทก์นําคดีเรื่องเดิมไปฟ้อง เป็นคดีดําที่ 112/2563 นั้น โจทก์ไม่สามารถทําได้เพราะจะเป็นฟ้องซ้อน

Advertisement