การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่า จําเลยปลอมพินัยกรรมของนายเมฆผู้ตายซึ่งเป็นบิดาของโจทก์ โดยเขียน ข้อความให้ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 123 ราคา 200,000 บาทให้จําเลย จึงขอให้ศาลแสดงว่าพินัยกรรม ที่จําเลยอ้างเป็นโมฆะ จําเลยยื่นคําให้การอ้างว่าไม่เคยปลอมพินัยกรรมขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ต่อมาศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ไม่พอใจคําพิพากษาของศาลชั้นต้น จึงยื่น อุทธรณ์ว่า จําเลยปลอมพินัยกรรมของนายเมฆ ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคําพิพากษาว่าพินัยกรรม ที่จําเลยอ้างเป็นโมฆะ

Advertisement

ดังนี้ โจทก์จะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 224 วรรคหนึ่ง “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กําหนดไว้ว่า ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ ที่พิพาทกันไม่เกิน 50,000 บาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือ จํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันนี้ให้ถือเอาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เป็นหลักในการพิจารณา

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่า จําเลยปลอมพินัยกรรมของนายเมฆผู้ตายซึ่งเป็น บิดาของโจทก์ โดยเขียนข้อความให้ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 123 ราคา 200,000 บาทให้จําเลย จึงขอให้ศาลแสดงว่า พินัยกรรมที่จําเลยอ้างเป็นโมฆะ และจําเลยยื่นคําให้การอ้างว่าไม่เคยปลอมพินัยกรรมขอให้ศาลพิพากษายกฟ้องนั้น แสดงว่าในขณะที่โจทก์ฟ้อง พินัยกรรมยังมีผลสมบูรณ์อยู่ ทรัพย์ที่ระบุในพินัยกรรมจึงไม่ใช่ของโจทย์ การที่โจทก์ ฟ้องให้ศาลแสดงว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะ ย่อมเป็นการฟ้องเรียกร้องให้ได้ทรัพย์สินคืนมาเป็นมรดกเพื่อเป็นประโยชน์ แก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาท คดีนี้จึงเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ และทุนทรัพย์จึงต้องคิดตามราคาทรัพย์ที่ระบุไว้ในพินัยกรรม เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์ต้องการอุทธรณ์ว่าจําเลยปลอมพินัยกรรม ถือเป็นการอุทธรณ์ในการรับฟัง พยานหลักฐานของศาล ซึ่งเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง และเมื่อทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์เท่ากับ 200,000 บาท ซึ่งเกิน 50,000 บาท ดังนั้น โจทย์จึงสามารถอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้

สรุป โจทก์สามารถอุทธรณ์ได้

 

ข้อ 2. นางพิกุลฟ้องขอให้นางราตรีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจํานวนห้าแสนบาท นางราตรียื่นคําให้การว่า นางราตรีไม่ได้ทําละเมิดจึงไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ในวันสืบพยาน นางราตรียื่นคําร้องขอแก้ไขคําให้การ ศาลเห็นว่าพ้นกําหนดระยะเวลาที่กฎหมายกําหนดให้ยื่นคําร้อง ขอแก้ไขคําให้การแล้ว จึงมีคําสั่งไม่รับคําร้องขอแก้ไขคําให้การ นางราตรีไม่ได้โต้แย้งคําสั่งดังกล่าว ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้นางราตรีใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นางพิกุลจํานวนห้าแสนบาทตามฟ้อง
ให้วินิจฉัยว่า

(ก) นางราตรียื่นอุทธรณ์คําพิพากษาของศาลชั้นต้นว่าคดีขาดอายุความแล้ว ขอให้ศาลพิพากษา ยกฟ้อง เช่นนี้ ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของนางราตรีไว้พิจารณาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

(ข) นางราตรียื่นอุทธรณ์คําสั่งไม่รับคําร้องขอแก้ไขคําให้การได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 1 “ในประมวลกฎหมายนี้ ถ้าข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
(5) “คําคู่ความ” หมายความว่า บรรดาคําฟ้อง คําให้การหรือคําร้องทั้งหลายที่ยื่นต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ

มาตรา 18 วรรคท้าย “คําสั่งของศาลที่ไม่รับหรือให้คืนคําคู่ความตามมาตรานี้ ให้อุทธรณ์และ ฎีกาได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227, 228 และ 247”

มาตรา 225 “ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้อง กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระ แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย

ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าว ในศาลชั้นต้น หรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ ไม่เปิดช่องให้กระทําได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์
คู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้”

มาตรา 226 “ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลนั้นได้มีคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228

(1) ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา

(2) ถ้าคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคําสั่งใด ให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลงไว้ในรายงาน คู่ความที่โต้แย้ง ชอบที่จะอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้น
เป็นต้นไป

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคําสั่งให้รับคําฟ้องไว้แล้วหรือไม่ ให้ถือว่าคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งของศาลนับตั้งแต่มีการยื่นคําฟ้องต่อศาลนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 เป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา”

มาตรา 228 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคท้าย “ก่อนศาลชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลมีคําสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้คือ

(3) ไม่รับหรือคืนคําคู่ความตามมาตรา 18 หรือวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 ซึ่งมิได้ทําให้ คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากเสร็จไปเฉพาะแต่ประเด็นบางข้อ

คําสั่งเช่นว่านี้ คู่ความย่อมอุทธรณ์ได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันมีคําสั่งเป็นต้นไป

ถ้าคู่ความมิได้อุทธรณ์คําสั่งในระหว่างพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้ ก็ให้อุทธรณ์ได้ในเมื่อ
ศาลพิพากษาคดีแล้วตามความในมาตรา 223

วินิจฉัย

กรณีตามอุทธรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) การที่นางพิกุลฟ้องขอให้นางราตรีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจํานวน 5 แสนบาท นางราตรี ยื่นคําให้การว่านางราตรีไม่ได้ทําละเมิดจึงไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ต่อมาเมื่อ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นางราตรีใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นางพิกุลจํานวน 5 แสนบาทตามฟ้องนั้น การที่ นางราตรียื่นอุทธรณ์คําพิพากษาของศาลชั้นต้นว่าคดีขาดอายุความแล้ว ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้องนั้น เป็นการ
อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งเป็นข้อที่นางราตรีไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น
จึงต้องห้าม มิให้อุทธรณ์ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง อีกทั้งข้อที่นางราตรีจะยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่ออุทธรณ์นั้น ก็มิใช่ ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่นางราตรีจะมีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ ตามมาตรา 225 วรรคสอง ดังนั้น ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของนางราตรีไว้พิจารณาไม่ได้

(ข) ในวันสืบพยาน การที่นางราตรียื่นคําร้องขอแก้ไขคําให้การ แต่ศาลเห็นว่าพ้นกําหนดระยะเวลา ที่กฎหมายกําหนดให้ยื่นคําร้องขอแก้ไขคําให้การแล้ว จึงมีคําสั่งไม่รับคําร้องขอแก้ไขคําให้การ และนางราตรี ไม่ได้โต้แย้งคําสั่งดังกล่าวนั้น เมื่อคําให้การถือเป็นคําคู่ความอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 1 (5) การที่ศาลมีคําสั่ง ไม่รับคําร้องขอแก้ไขคําให้การ จึงถือเป็นคําสั่งไม่รับคําคู่ความตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 18 ซึ่งมิได้ทําให้คดีเสร็จ ไปทั้งเรื่อง หากแต่เสร็จไปเฉพาะประเด็นบางข้อ จึงเป็นคําสั่งตาม ป.วิแพ่ง มาตรา 228 (3) ซึ่งไม่ใช่คําสั่ง ระหว่างพิจารณา ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226 ที่คู่ความจะต้องโต้แย้งคัดค้านคําสั่งไว้ก่อนจึงจะเกิดสิทธิอุทธรณ์ คําสั่งนั้นได้ ดังนั้น นางราตรีจึงมีสิทธิอุทธรณ์คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับคําร้องขอแก้ไขคําให้การภายหลังศาล มีคําพิพากษาได้ แม้นางราตรีจะมิได้โต้แย้งคัดค้านคําสั่งดังกล่าวไว้ก่อนก็ตาม ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 228 วรรคท้าย

สรุป (ก) ศาลชั้นต้น จะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของนางราตรีไว้พิจารณาไม่ได้
(ข) นางราตรีสามารถยื่นอุทธรณ์คําสั่งไม่รับคําร้องขอแก้ไขคําให้การได้

 

ข้อ 3. (ก) โจทก์ฟ้องว่า จําเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในโฉนดที่ดินแทนโจทก์ ขอให้บังคับจําเลย ไปจดทะเบียนในโฉนดที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ ที่ดินพิพาทมีราคา 500,000 บาท จําเลยให้การ ต่อสู้คดีว่าที่ดินพิพาทเป็นของจําเลย จําเลยไม่ได้ถือกรรมสิทธิ์แทนโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง ระหว่าง การพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ยื่นคําร้องขอให้ห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยตัดฟันต้นไม้ยืนต้น ที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด จําเลยยื่นคําคัดค้าน

(ข) โจทก์ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการโอนให้ที่ดินพิพาทโดยเสน่หาจากจําเลยซึ่งเป็นบุตร โดยอ้างว่าจําเลยประพฤติเหตุเนรคุณไม่ยอมให้สิ่งของแก่โจทก์ในเวลาที่ยากไร้และจําเลยยัง สามารถจะให้ได้ จําเลยให้การต่อสู่ว่าโจทก์ให้อภัยแก่จําเลยแล้ว ขอให้ยกฟ้อง ระหว่างการ พิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ยื่นคําร้องขอให้ศาลมีคําสั่งให้จะเลยนําเงินที่ได้จากการขายผลไม้ ที่เก็บได้จากที่ดินพิพาทมาวางศาลจนกว่าคดีจะถึงที่สุด จําเลยยื่นคําคัดค้าน ให้วินิจฉัยว่า แต่ละกรณีตาม (ก) และ (ข) ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งอนุญาตตามคําร้องของโจทก์หรือไม่

ธงคําตอบ

(ก) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 254 “ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคําฟ้อง หรือ ในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ซึ่งคําขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าวต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้

(1) ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อนพิพากษา รวมทั้งจํานวนเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกําหนดชําระแก่จําเลย

(2) ให้ศาลมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยกระทําซ้ําหรือกระทําต่อไป ซึ่งการละเมิดหรือการผิด สัญญาหรือการกระทําที่ถูกฟ้องร้อง หรือมีคําสั่งอื่นใดในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์อาจได้รับ ต่อไปเนื่องจากการกระทําของจําเลยหรือมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยโอน ขาย ยักย้ายหรือจําหน่ายซึ่งทรัพย์สิน ที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลย หรือมีคําสั่งให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไปเปล่าหรือการบุบสลายซึ่งทรัพย์สิน ดังกล่าว ทั้งนี้ จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น

(3) ให้ศาลมีคําสั่งให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นผู้มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือการเพิกถอนการจดทะเบียนที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน
ที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยหรือที่เกี่ยวกับการกระทําที่ถูกฟ้องร้องไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือศาล จะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

(4) ให้จับกุมและกักขังจําเลยไว้ชั่วคราว”

วินิจฉัย

ตามอุทธรณ์ การที่โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทโดยอ้างว่า จําเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนโจทก์ แต่ จําเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจําเลย จําเลยไม่ได้ถือกรรมสิทธิ์แทนโจทก์นั้น คําฟ้องของโจทก์เป็นการ เรียกที่ดินพิพาทซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์จากจําเลยให้ส่งคืนแก่โจทก์ ไม้ยืนต้นที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทเมื่อจําเลย มิได้กล่าวอ้างเป็นอย่างอื่น จึงถือเป็นส่วนควบของที่ดิน ซึ่งหากฝ่ายใดชนะคดีเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทก็จะได้ไป ซึ่งส่วนควบนั้นด้วย ดังนั้น จึงถือได้ว่าไม้ยืนต้นที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่พิพาท และเมื่อคดีนี้ไม่ใช่ คดีมโนสาเร่ โจทก์จึงชอบที่จะขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาให้มีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยตัดฟันไม้ยืนต้น ที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาท อันเป็นการป้องกันการเปลืองไปเปล่าหรือการบุบสลายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทจนกว่าคดี จะถึงที่สุดตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 (2) ได้ ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะมีคําสั่งอนุญาตตามคําร้องขอของโจทก์

(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 254 “ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคําฟ้อง หรือ ในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ซึ่งคําขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าวต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้

(1) ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อนพิพากษา รวมทั้งจํานวนเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกําหนดชําระแก่จําเลย

(2) ให้ศาลมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยกระทําซ้ําหรือกระทําต่อไป ซึ่งการละเมิดหรือการผิด สัญญาหรือการกระทําที่ถูกฟ้องร้อง หรือมีคําสั่งอื่นใดในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์อาจได้รับ ต่อไปเนื่องจากการกระทําของจําเลยหรือมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยโอน ขาย ยักย้ายหรือจําหน่ายซึ่งทรัพย์สิน ที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลย หรือมีคําสั่งให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไปเปล่าหรือการบุบสลายซึ่งทรัพย์สิน ดังกล่าว ทั้งนี้ จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น

(3) ให้ศาลมีคําสั่งให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นผู้มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือการเพิกถอนการจดทะเบียนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยหรือที่เกี่ยวกับการกระทําที่ถูกฟ้องร้องไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

(4) ให้จับกุมและกักขังจําเลยไว้ชั่วคราว”

มาตรา 264 “นอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 253 และมาตรา 254 คู่ความชอบที่จะยื่นคําขอ ต่อศาล เพื่อให้มีคําสั่งกําหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตาม คําพิพากษา เช่น ให้นําทรัพย์สินหรือเงินที่พิพาทมาวางต่อศาลหรือต่อบุคคลภายนอก หรือให้ตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษา ทรัพย์สินของห้างร้านที่ทําการค้าที่พิพาท หรือให้จัดให้บุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่ในความปกครองของบุคคลภายนอก

คําขอตามวรรคหนึ่งให้บังคับตามมาตรา 21 มาตรา 25 มาตรา 227 มาตรา 228 มาตรา 260 และมาตรา 262”

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนให้ที่ดินพิพาทโดยเสน่หาจากจําเลย ซึ่งเป็นบุตร โดยอ้างว่าจําเลยประพฤติเหตุเนรคุณไม่ยอมให้สิ่งของแก่โจทก์ในเวลาที่ยากไร้และจําเลยยังสามารถ จะให้ได้ จําเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์ได้ให้อภัยแก่จําเลยแล้ว ขอให้ยกฟ้องนั้น หากศาลฟังได้ว่าจําเลยประพฤติ เนรคุณ และมีคําพิพากษาให้เพิกถอนคืนการให้ตามฟ้อง ที่ดินพิพาทก็จะกลับมาเป็นของโจทก์นับแต่วันที่ศาลมี คําพิพากษาเป็นต้นไป และตราบใดที่ยังมิได้มีคําพิพากษาที่ดินพิพาทก็ยังคงเป็นของจําเลย ดังนั้น ก่อนที่ศาลจะ มีคําพิพากษาให้เพิกถอนคืนการให้ จําเลยซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ก็ย่อมมีสิทธิใช้สอยและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอคุ้มครองประโยชน์โดย ขอให้ศาลมีคําสั่งให้จําเลยนําเงินที่ได้จากการขายผลไม้ที่เก็บได้จากที่ดินพิพาทมาวางศาลตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 อีกทั้งคําร้องขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาของโจทก์ก็มิใช่เป็นคําขอให้ศาลมีคําสั่งภายในบังคับแห่ง เงื่อนไขตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 254 แต่อย่างใด ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบที่จะมีคําสั่งอนุญาตตามคําร้องขอของโจทก์

สรุป กรณีตาม (ก) ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งอนุญาตตามคําร้องของโจทก์ กรณีตาม (ข) ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งไม่อนุญาตตามคําร้องของโจทก์

 

ข้อ 4. เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2552 ศาลพิพากษาให้จําเลยทั้งสองร่วมกันชําระเงิน 3,000,000 บาท แก่โจทก์ จําเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคําบังคับที่ออกตามคําพิพากษาของศาลแพ่ง ศาลชั้นต้นออกหมาย บังคับคดีตามคําขอของโจทก์ ชั้นบังคับคดีเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2555 โจทก์ยื่นคําแถลงขอให้ เจ้าหนักงานบังคับคดีอายัดเงินเดือนของจําเลยที่ 2 ที่มีสิทธิจะได้รับจากบริษัท นําโชค จํากัด เดือนละ 15,000 บาท จนกว่าจะครบชําระตามคําพิพากษา บริษัท นําโชค จํากัด ได้ส่งเงินเดือน ของจําเลยที่ 2 ตามคําสั่งอายัดของเข้าพนักงานบังคับคดี เดือนละ 3,000 บาท ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2555 ตลอดมา ต่อมาวันที่ 25 พฤษภาคม 2563 โจทก์แถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ยึดรถยนต์ราคาประมาณ 500,000 บาท ของจําเลยที่ 1 เจ้าหนักงานบังคับคดีมีคําสั่งไม่ดําเนินการ ยึดให้ และจําเลยที่ 2 ยื่นคําแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนคําสั่งอายัดเงินเดือนของจําเลย ที่ 2 โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีและจําเลยที่ 2 อ้างว่า โจทก์มิได้บังคับคดีหรือบังคับคดีให้เสร็จสิ้น ภายใน 10 ปี จึงหมดสิทธิบังคับคดีแล้ว

ให้วินิจฉัยว่า คําสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไม่ยึดรถยนต์ของจําเลยที่ 1 ตามคําแถลงของโจทก์ และข้ออ้างของจําเลยที่ 2 ขอให้ถอนคําสั่งอายัดชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 274 วรรคหนึ่ง “ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีหรือบุคคลที่ศาลมีคําพิพากษา หรือคําสั่งให้ชําระหนี้ (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตามคําบังคับที่ออกโดยคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาล ทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีหรือบุคคลที่ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้ได้รับชําระหนี้ (เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้มีการบังคับคดีโดยวิธียึดทรัพย์สิน อายัดสิทธิเรียกร้อง หรือบังคับคดี โดยวิธีอื่นตามบทบัญญัติแห่งภาคนี้ภายในสิบปีนับแต่วันที่มีคําพิพากษาหรือคําสั่ง และถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ได้ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องใดไว้ หรือได้ดําเนินการบังคับคดีโดยวิธีอื่นไว้บางส่วนแล้วภายในระยะเวลาดังกล่าว ก็ให้ดําเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้อง หรือบังคับคดี โดยวิธีอื่นนั้นต่อไปจนแล้วเสร็จได้”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 274 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้มี การบังคับคดีโดยวิธียึดทรัพย์สิน อายัดสิทธิเรียกร้อง หรือบังคับคดีโดยวิธีอื่นภายในกําหนด 10 ปีนับแต่วันที่มี คําพิพากษาหรือคําสั่ง ซึ่งคําว่า “นับแต่วันมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง” ตามมาตรา 274 ดังกล่าว หมายความว่า นับแต่วันที่มีคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลในชั้นที่สุดในคดีนั้น และถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้ร้องขอให้
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องใดไว้บางส่วนแล้วภายในระยะเวลาดังกล่าว ก็ให้
ดําเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องนั้นต่อไปจนแล้วเสร็จได้

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

กรณีของจําเลยที่ 1 คดีนี้ศาลแพ่งได้มีคําพิพากษาเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2552 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ตามคําพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้มีการบังคับคดีโดยวิธียึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องได้ภายใน 10 ปีนับแต่ วันที่มีคําพิพากษาของศาลแพ่ง ซึ่งกําหนดระยะเวลาในการบังคับคดีจะครบกําหนดในวันที่ 19 มีนาคม 2562

การที่โจทก์แถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดรถยนต์ของจําเลยที่ 1 ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2563 ซึ่งเป็น การยื่นคําร้องขอภายหลังเมื่อล่วงพ้นกําหนด 10 ปีนับแต่วันที่มีคําพิพากษาของศาลแพ่งแล้ว โจทก์ซึ่งเป็น เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 274 วรรคหนึ่ง ดังนั้น การที่เจ้าพนักงาน บังคับคดีมีคําสั่งไม่ดําเนินการยึดให้ คําสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไม่ยึดรถยนต์ของจําเลยที่ 1 ตามคําแถลง ของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย

กรณีของจําเลยที่ 2 การที่โจทก์ได้ยื่นคําแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินเดือนของ จําเลยที่ 2 ที่มีสิทธิจะได้รับจากบริษัท นําโชค จํากัด เดือนละ 15,000 บาท ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2555 ซึ่งอยู่ ภายในกําหนด 10 ปีนับแต่วันที่ศาลแพ่งมีคําพิพากษานั้น เมื่อปรากฏว่า บริษัท นําโชค จํากัด ได้ส่งเงินเดือนของ จําเลยที่ 2 ตามคําสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเดือนละ 3,000 บาท ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2555 ตลอดมา ซึ่งยังไม่ครบจํานวนหนี้ตามคําพิพากษา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะดําเนินการบังคับคดีแก่สิทธิเรียกร้องตามที่อายัดไว้นั้น ต่อไปจนแล้วเสร็จหรือครบถ้วนตามจํานวนหนี้ตามคําพิพากษาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 274 วรรคหนึ่งตอนท้าย ดังนั้น การที่จําเลยที่ 2 ยื่นคําแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนคําสั่งอายัดเงินเดือนของจําเลยที่ 2 โดยอ้างว่า โจทก์มิได้บังคับคดีหรือบังคับคดีให้เสร็จสิ้นภายใน 10 ปี จึงหมดสิทธิบังคับคดีแล้วนั้น ข้ออ้างของจําเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป คําสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไม่ยึดรถยนต์ของจําเลยที่ 1 ตามคําแถลงของโจทก์
ชอบด้วยกฎหมาย

ส่วนข้ออ้างของจําเลยที่ 2 ที่ขอให้ถอนอายัดไม่ชอบด้วยกฎหมาย

Advertisement