การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2558
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2160 (MCS 2106) ภาษาเพื่อการสื่อสารมวลชน
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.ที่กล่าวว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” หมายความว่าอย่างไร
(1) พฤติกรรมของมนุษย์เป็นไปตามสัญชาตญาณเช่นเดียวกับสัตว์ชนิดอื่น ๆ
(2) ธรรมชาติของมนุษย์ คือ การแก่งแย่งและช่วงชิงผลประโยชน์ด้วยวิธีการต่าง ๆ
(3) ธรรมชาติของมนุษย์ คือ การอยู่ร่วมกันและพึ่งพาอาศัยกัน
(4) ธรรมชาติของมนุษย์ คือ การทําลายผู้อื่นเพื่อตนจะได้ครองอํานาจและเป็นใหญ่แต่ผู้เดียว
ตอบ 3 หน้า 1 มนุษย์เป็นสัตว์สังคม หมายถึง ธรรมชาติของมนุษย์ คือ การอยู่ร่วมกันและพึ่งพาอาศัยกัน โดยมีการปฏิสัมพันธ์หรือการกระทําระหว่างกัน (Interaction) เพื่อการแลกเปลี่ยนสิ่งของจําเป็น ในการดํารงชีวิต แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ตลอดจนสร้างความเข้าใจ ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

Advertisement

2. มนุษย์ใช้อะไรในการส่งความหมายไปให้อีกฝ่ายรับรู้ผ่านประสาทสัมผัส เพื่อให้สามารถเข้าใจความหมาย
ร่วมกันได้
(1) ช่องทางการสื่อสาร
(2) ภาษา
(3) ผู้ส่งสาร
(4) ปทัสถานทางสังคม
ตอบ 2 หน้า 1 ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แทนความหมาย และเป็นเครื่องมือที่ใช้ส่งความหมายออกไป ให้อีกฝ่ายรับรู้ผ่านประสาทสัมผัส เพื่อให้สามารถเข้าใจความหมายร่วมกันได้ ดังนั้นการสื่อสาร ของมนุษย์จําเป็นต้องใช้ภาษา หากไม่มีภาษามนุษย์ย่อมไม่สามารถสื่อสารกันได้

3.ปทัสถานทางสังคม เป็นบริบทการสื่อสารในมิติใด
(1) กายภาพ
(2) วัฒนธรรม
(3) จิตวิทยาสังคม
(4) เวลา
ตอบ 2 หน้า 10, (คําบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางวัฒนธรรม (The Cultural Context) หมายถึง กฎหรือปทัสถานทางสังคมของทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร อันประกอบด้วย ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ อุดมการณ์ อัตลักษณ์ และแบบแผนวิถีการดําเนินชีวิตที่ถูกส่งผ่านจากคนรุ่นหนึ่ง มาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง เช่น ในบางวัฒนธรรมอาจมองว่าเป็นการสุภาพที่จะต้องพูดกับคนแปลกหน้าแต่อีกวัฒนธรรมหนึ่งอาจเห็นว่าการพูดกับคนแปลกหน้าเป็นสิ่งที่พึงหลีกเลี่ยง ฯลฯ

4. “กระบี่ : จับ 3 หนุ่มตระเวนพาชะนีให้นักท่องเที่ยวถ่ายภาพ” คําว่า ชะนี ในที่นี้ใช้ในความหมายแบบใด
(1) Semantic
(2) Denotation
(3) Connotation
(4) Discourse
ตอบ 2 หน้า 13, (คําบรรยาย) ภาษาประกอบด้วยความหมายใน 2 ลักษณะ คือ 1. ความหมายโดยตรง (Denotation) หมายถึง ความหมายจากสัญลักษณ์ที่เด่นชัด ความหมายที่เชื่อมโยงกับสัตภาพอันเป็นสิ่งที่มีตัวตนอ้างถึงได้ หรือความหมายที่เจ้าของภาษา รู้และใช้กันทั่วไป ดังนั้นจึงเป็นความหมายของคําตามที่ปรากฏในพจนานุกรม เช่น คําว่า “ชะนี” หมายถึง ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งในวงศ์ Hylobatidae เป็นต้น 2. ความหมายโดยนัย (Connotation) หมายถึง การให้ความหมายเพิ่มเติมหรือความหมายรอง นอกเหนือจากความหมายโดยตรง ซึ่งจะมีความเกี่ยวข้องกับวัตถุน้อยกว่าความหมายโดยตรง เช่น คําว่า “ชะนี” เป็นคําที่ใช้เรียกผู้หญิง ซึ่งเป็นคําสแลงที่ใช้กันเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น

5.ข้อใดเรียงลําดับวิวัฒนาการของภาษาได้ถูกต้อง
(1) ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง
(2) ภาษาภาพ ภาษาพูด ภาษาเขียน
(3) ภาษาลิม ภาษาภาพ ภาษาเขียน
(4) ภาษาท่าทาง ภาษาพูด ภาษาเขียน
ตอบ 4 หน้า 18 – 19, 21 ประวัติศาสตร์การสื่อสารของมนุษย์เริ่มจากการที่มนุษย์พยายามสื่อสารกัน โดยมีวิวัฒนาการของภาษาเรียงตามลําดับได้ ดังนี้
1. การใช้ภาษาท่าทาง (Gesture Language) และการเคลื่อนไหวร่างกาย (Body Movement)
2. การใช้ภาษาพูด
3. การใช้ภาษาเขียน
4. การพิมพ์

6.“การที่ผู้รับสารทําความเข้าใจความหมายของภาษา” หมายถึงข้อใด
(1) การใช้สัญชาตญาณ
(2) สัญลักษณ์ และภาษา
(3) การเข้ารหัส
(4) การถอดรหัส
ตอบ 4 หน้า 7 – 8 (คําบรรยาย) การถอดรหัส (Decoding) หมายถึง การแปลหรือตีความสารให้เป็น ความหมายสําหรับผู้รับสาร หรือการที่ผู้รับสารทําความเข้าใจความหมายของภาษา เช่น การที่นักศึกษาฟังและคิดตามเพื่อพยายามทําความเข้าใจสิ่งที่อาจารย์กําลังบรรยาย ฯลฯ นอกจากนี้เครื่องยนต์กลไกก็สามารถเป็นผู้ถอดรหัสได้ เช่น เครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ ฯลฯ

7.ข้อใดหมายถึง อุปสรรคของการสื่อสารที่เกิดจากเครื่องมือสื่อสารขัดข้อง
(1) Semantic Noise
(2) Mechanical Noise
(3) Environmental Noise
(4) Ambiguous Noise.
ตอบ 2 หน้า 9, (คําบรรยาย) อุปสรรคทางด้านเทคนิค (Mechanical Noise) หมายถึง อุปสรรค ของการสื่อสารที่เกิดจากเครื่องมือสื่อสารขัดข้อง หรือเกิดปัญหากับอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการ สื่อสาร เช่น เครื่องรับโทรทัศน์ที่ตั้งสัญญาณรับภาพไม่ถูกต้อง หรือหันเสาอากาศไม่ถูกทิศทาง ทําให้ได้รับสัญญาณภาพและเสียงขัดข้องไม่ชัดเจน, วิทยุที่มีเสียงคลื่นแทรก, ไมโครโฟนไม่ดัง หรือมีการดูดเสียง, ไฟฟ้าดับหรือลัดวงจร เป็นต้น

8. การที่นักศึกษานั่งฟังการบรรยายในห้องที่มีนักศึกษาคนอื่นคุยเสียงดัง แสดงว่าขณะที่ฟังการบรรยายนั้น
มีอุปสรรคการสื่อสารประเภทใด
(1) Semantic Noise
(2) Mechanical Noise
(3) Environmental Noise
(4) Ambiguous Noise
ตอบ 3 หน้า 9 อุปสรรคจากสภาพแวดล้อม (Environmental Noise) หมายถึง แหล่งที่มาของเสียง ที่เกิดขึ้นนอกกระบวนการสื่อสาร แต่เข้ามาแทรกทําให้กระบวนการสื่อสารขัดข้องไม่ชัดเจน หรืออาจจะเป็นสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่ทําให้การสื่อสารไม่ราบรื่น เช่น การสนทนาในสถานที่ ที่มีเสียงอึกทึก, การรายงานข่าวเหตุการณ์จากสถานที่เกิดเหตุที่เต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวาย,การฟังการบรรยายในห้องเรียนที่มีอากาศร้อนจัดและมีเสียงดัง เป็นต้น

9.ความหมายของภาษานอกจากพิจารณาจากถ้อยคําแล้ว ยังพิจารณาจากอะไร
(1) บริบทของการสื่อสาร
(2) การสื่อสารกลับ
(3) การเข้ารหัส
(4) ผู้ส่งสาร
ตอบ 1 หน้า 9 – 10, (คําบรรยาย) ความหมายของภาษานอกจากจะพิจารณาจากถ้อยคําแล้ว ยังพิจารณา จากบริบทของการสื่อสาร (Communication Context) ซึ่งหมายถึง สภาวะแวดล้อมที่มีอิทธิพล กํากับความหมายและพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์ ประกอบด้วย 4 มิติ ได้แก่
1. มิติทางกายภาพ 2. มิติทางวัฒนธรรม 3. มิติทางจิตวิทยาสังคม 4. มิติทางด้านเวลา

ข้อ 10. – 12. จงใช้แบบจําลองต่อไปนี้ตอบคําถาม

10. จากแบบจําลองข้างต้น ค คืออะไร
(1) สาร
(2) เครื่องส่ง
(3) สัญญาณ
(4) ช่องทางการสื่อสาร
ตอบ 4 หน้า 5 จากแบบจําลองการสื่อสารข้างต้น ประกอบด้วย
1. ก คือ แหล่งสาร ผู้ส่งสาร
2. ข คือ การเข้ารหัส
3. ค คือ ช่องทางการสื่อสาร
4. ง คือ สาร
5. จ คือ การถอดรหัส
6. ฉ คือ ผู้รับสาร

11. จากแบบจําลองข้างต้น ง คืออะไร
(1) การเข้ารหัส
(2) ช่องทางการสื่อสาร
(3) สาร
(4) การถอดรหัส
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ

12.จากแบบจําลองข้างต้น จ คืออะไร
(1) เครื่องรับ
(2) ช่องทางการสื่อสาร
(3) สัญญาณ
(4) การถอดรหัส
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ

ข้อ 13. – 15. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) บริบททางกายภาพ (The Physical Context)
(2) บริบททางวัฒนธรรม (The Cultural Context)
(3) บริบททางจิตวิทยาสังคม (The Social-psychological Context)
(4) บริบทด้านเวลา (The Temporal or Time Context)

13. “ตําแหน่งนายกรัฐมนตรี” เป็นบริบทการสื่อสารในมิติใด
ตอบ 3 หน้า 10, (คําบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางจิตวิทยาสังคม (The Social- psychological Context) หมายถึง ความสัมพันธ์ทางสถานภาพหรือฐานะชนชั้นของ ผู้ร่วมสื่อสาร บทบาท ตําแหน่งหน้าที่ ความรับผิดชอบ กฎกติกา ระเบียบวินัย และเกมที่ ทั้ง 2 ฝ่ายเล่น เช่น การที่นักการเมืองอภิปรายในสภา ซึ่งบางครั้งก็เป็นไปตามสถานภาพ ของแต่ละฝ่ายและเกมทางการเมือง เป็นต้น

14.“ความเชื่อ ค่านิยม” เป็นบริบทการสื่อสารในมิติใด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

15. “การรู้จักกาลเทศะ” เป็นบริบทการสื่อสารในมิติใด
ตอบ 4 หน้า 10, (คําบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางด้านเวลา (The Temporal or Time Context) หมายถึง บริบทที่ครอบคลุมมิติด้านเวลาตั้งแต่ช่วงเวลาของแต่ละวัน จนกระทั่งถึง ช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ขณะที่การสื่อสารนั้นเกิดขึ้น รวมไปถึงการรู้จักกาลเทศะเกี่ยวกับ การประพฤติปฏิบัติตัวในช่วงเวลาต่าง ๆ เช่น ช่วงเวลาเช้า (8.30 – 9.00 น.) ตอนใกล้พักเที่ยง (11.30 – 13.30 น.) และช่วงเย็นใกล้เวลาเลิกงาน (16.00 น.) อาจไม่ใช่เวลาอันเหมาะสม ที่จะติดต่อราชการ เป็นต้น

16. ข้อใดเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการรับรู้สาร
(1) Stimulation
(2) Denotation
(3) Connotation
(4) Conception
ตอบ 1หน้า 11 เดอวิโต (Devito) ได้อธิบายกระบวนการรับรู้สารว่าประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ที่ต่อเนื่องกัน ดังนี้
1. สิ่งเร้ากระทบกับประสาทสัมผัส (Sensory Stimulation)
2. สิ่งเร้าที่ผ่านประสาทสัมผัสถูกจัดการหรือจัดหมวดหมู่ (Sensory Stimulation is Organized)
3. สิ่งเร้าที่ผ่านประสาทสัมผัสถูกตีความและประเมินค่า (Sensory Stimulation is
Interpreted-Evaluated)

17.ภาษาภาพ ภาษาอียิปต์โบราณ ได้แก่ภาษาในระบบใด
(1) Sign Writing
(2) Alphabet
(3) Semiotic
(4) Signified
ตอบ 1 หน้า 19 ภาษาภาพ เป็นการใช้ระบบสัญลักษณ์เขียนเป็นสัญญาณ (Sign Writing) โดยที่ แต่ละสัญลักษณ์มีพื้นฐานมาจากรูปภาพที่เป็นตัวแทนสิ่งของ ซึ่งภาษาในลักษณะนี้ได้รับการพัฒนา ในอาณาจักรสุเมเรียน (ประเทศอิรักในปัจจุบัน) เมื่อประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสตกาล เช่น ภาษาไฮโรกลิฟิก (Hieroglyphics) ของอียิปต์โบราณ ซึ่งเริ่มใช้เมื่อประมาณ 2 – 3 ร้อยปี ภายหลังชาวสุเมเรียน ส่วนรูปแบบของภาษาภาพที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมากที่สุด ได้แก่ ภาษาจีน ซึ่งเริ่มใช้เมื่อประมาณ 2,000 – 1,500 ปีก่อนคริสตกาล

18. การที่สื่อมวลชนรายงานข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์น้ําท่วม เป็นการทําหน้าที่ในข้อใด
(1) สอดส่องดูแลความเป็นไปในสังคม
(2) ตีความหมาย
(3) ส่งผ่านค่านิยม
(4) การโน้มน้าวใจ
ตอบ 1 หน้า 27 (คําบรรยาย) บทบาทหน้าที่ในการสอดส่องดูแลความเป็นไปในสังคม (Surveillance)
คือ การแจ้งข่าวสารให้ประชาชนได้รับทราบถึงความเป็นไปในสังคม รวมถึงตรวจสอบการทํางาน ของรัฐบาลหรือฝ่ายปกครองที่คาดว่าจะมีการทุจริตคอร์รัปชั่น ดังนั้นสื่อมวลชนจึงเป็นเสมือน ผู้ส่งสัญญาณเตือนภัยหากเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ที่จะส่งผลกระทบในทางที่เป็นอันตรายต่อสังคม

19. Mass Culture หมายถึงอะไร
(1) บริโภคนิยม
(2) วัฒนธรรมสื่อสารมวลชน
(3) วัฒนธรรมมวลชน
(4) วัฒนธรรมท้องถิ่น
ตอบ 3 หน้า 32 เมื่อมีการสื่อสารมวลชนเกิดขึ้นได้ทําให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า วัฒนธรรมมวลชน (Mass Culture) และวัฒนธรรมประชานิยม (Popular Culture) หมายถึง รูปแบบการดํารงชีวิตและสิ่งอันเป็น ที่นิยมชมชอบของคนต่างสังคม ต่างถิ่น ต่างฐานะ ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบเดียวกันหรือเหมือนกัน

20. ตามแนวคิด Cultivation Theory สื่อมวลชนทําหน้าที่อย่างไร
(1) ปลูกฝัง “วัฒนธรรมร่วม” ให้สมาชิกส่วนใหญ่ของสังคม
(2) ปลูกฝัง “วัฒนธรรมร่วม” ให้สื่อมวลชนโทรทัศน์
(3) ให้ข่าวสาร ความรู้ และความบันเทิง
(4) โน้มน้าวใจให้ซื้อสินค้า
ตอบ 1 หน้า 32, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการอบรมบ่มเพาะ (Cultivation Theory) เป็นทฤษฎีที่พัฒนา มาจากงานวิจัยของจอร์จ เกิร์บเนอร์ (George Gerbner) ซึ่งได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทําหน้าที่ อบรมบ่มเพาะ (Cultivation) ของโทรทัศน์ในสังคมอเมริกัน โดยใช้เวลาในการวิจัยนานถึง 10 ปี และได้ข้อสรุปเบื้องต้นประการหนึ่ง คือ เนื้อหาข่าวสารของสื่อมวลชนโทรทัศน์ทําหน้าที่เป็น ตัวสร้าง “วัฒนธรรมร่วม” ที่ชุมชน/สังคมได้ปลูกฝังให้สมาชิกส่วนใหญ่ของสังคมได้รับข้อเท็จจริง ค่านิยม และความคิดเกี่ยวกับการดํารงอยู่ร่วมกันของมนุษย์

21. ตามแนวคิด Cultivation Theory เนื้อ เนื้อหาของรายการโทรทัศน์มีลักษณะเป็นอย่างไร
(1) สร้างสรรค์ แปลกใหม่ ดึงดูดใจ
(2) เป็นเรื่องจริง น่าเชื่อถือ สะท้อนความจริง
(3) สะท้อนโลกของความเป็นจริง
(4) เลือกสรรสูง เป็นแบบฉบับตายตัว บิดเบือน
ตอบ 4 หน้า 32 ผลจากการวิจัยตามแนวคิด Cultivation Theory ของเกิร์บเนอร์ได้ให้ข้อสรุปว่า เนื้อหาของรายการโทรทัศน์ได้ผ่านการเลือกสรรสูง โดยเลือกเพียงบางส่วนเสี้ยวของโลกมานําเสนอ มีลักษณะเป็นภาพแบบฉบับตายตัว (Stereotyped) และเป็นภาพที่บิดเบือนไปจากโลกที่เป็นจริง โดยเฉพาะเนื้อหาที่มีอิทธิพลต่อผู้คนอย่างมากในรายการประเภทละครโทรทัศน์

22. เนื้อหาข่าวสารของโทรทัศน์ ทําหน้าที่เป็นตัวสร้างวัฒนธรรมลักษณะใด
(1) วัฒนธรรมชุมชน
(2) วัฒนธรรมย่อย
(3) วัฒนธรรมท้องถิ่น
(4) วัฒนธรรมร่วม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ

23. เนื้อหาที่มีอิทธิพลต่อผู้คนอย่างมาก ได้แก่รายการประเภทใด
(1) ข่าว
(2) วาไรตี้
(3) เกมโชว์
(4) ละครโทรทัศน์
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

24.รายการ Variety ได้แก่ รายการรูปแบบใด
(1) นิตยสาร
(2) สนทนา
(3) สารคดี
(4) ปกิณกะ
ตอบ 4 หน้า 98 รายการปกิณกะ (Variety) คือ รายการที่มุ่งเน้นความบันเทิงหลาย ๆ เรื่อง หลาย ๆ รูปแบบ ในทํานองเรื่องเบ็ดเตล็ด เบาสมอง ฟังแล้วไม่ต้องคิดอะไรมาก เกิดความสบายใจ ซึ่งบางคนเรียกรายการลักษณะนี้ว่าปกิณกะบันเทิง

25. โลกทางสังคม (Social World) เกิดจากอะไร
(1) เกิดจากการคิดพิจารณาด้วยเหตุผล
(2) เกิดจากการขัดเกลาทางสังคม
(3) เกิดจากการค้นคว้าทดลองและพิสูจน์
(4) เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
ตอบ 2หน้า 33 โลกทางสังคม (Social World) หรือความเป็นจริงทางสังคม (Social Reality) เป็นโลกที่เกิดจากการกล่อมเกลาหรือขัดเกลาของสถาบันทางสังคม เช่น ครอบครัว โรงเรียน ที่ทํางาน ศาสนา สื่อมวลชน ฯลฯ ดังนั้นโลกทางสังคมของมนุษย์แต่ละคนจึงเป็นโลกที่เกิดขึ้น จากสิ่งแวดล้อมเชิงสัญลักษณ์ที่แวดล้อมบุคคลเหล่านั้น หรือเป็นโลกที่เกิดจากการรับรู้ ซึ่งมี ลักษณะแตกต่างกัน เช่น คํากล่าวที่ว่า “โกงไม่เป็นไร ขอให้มีผลงาน” ไม่ใช่ความจริงที่เป็น กฎธรรมชาติ แต่เป็นความจริงที่เกิดจากการประกอบสร้างของสังคม

26. “โกงไม่เป็นไร ขอให้มีผลงาน” เป็นตัวอย่างของความจริงลักษณะใด
(1) ความจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
(2) ความจริงที่แท้จริง
(3) ความจริงตามโลกกายภาพ
(4) ความจริงที่เกิดจากการสร้างของสังคม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

27. “การสร้างความหมาย” ในการโฆษณา หมายถึงอะไร
(1) การดึงดูดใจด้วยภาพและคําพูด
(2) การทําให้ใส่ใจ
(3) ทําให้รับรู้และจดจําแนวคิดหลัก
(4) รูปแบบของการโฆษณา
ตอบ 3 หน้า 40 – 43, (คําบรรยาย) การสร้างความหมายในการโฆษณา หมายถึง การทําให้ผู้บริโภค กลุ่มเป้าหมายเกิดการรับรู้และจดจําแนวคิดหลักของการโฆษณา โดยมีกระบวนการสร้างความหมาย ดังนี้
1. กําหนดกลุ่มเป้าหมาย
2. กําหนดแนวคิดการโฆษณา (Advertising Concept)
3. ออกแบบโฆษณาโดยอาศัยข้อความ ภาพ และสัญลักษณ์ต่าง ๆ
4. นําเสนอซ้ํา ๆ เพื่อให้ผู้รับสารจดจําได้

28. การโฆษณาแชมพูแพนทีน ใช้ลีลาการโฆษณาแบบใด
(1) Lifestyle
(2) Slice–of-life
(3) Fantasy
(4) Presenter
ตอบ 4 หน้า 44 ลีลาบุคลิกภาพ (Personality Symbol) เป็นการนําเสนอที่ใช้ดาราหรือผู้แสดง (Presenter) ซึ่งเป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพเด่นชัดและเป็นที่ต้องตาต้องใจกลุ่มเป้าหมายมาเป็นผู้นําเสนอสินค้าในฐานะตัวแทนของสินค้า ทั้งนี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงบุคลิกตราสินค้า เช่น การโฆษณาแชมพูแพนทีน เป็นต้น

29. การโฆษณาเป็นการสื่อสารที่มีจุดมุ่งหมายข้อใด
(1) ให้ข่าวสาร
(2) ให้ความรู้
(3) ให้ความบันเทิง
(4) โน้มน้าวใจ
ตอบ 4 หน้า 38 การโฆษณาเป็นการสื่อสารที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการโน้มน้าวใจ โดยมุ่งสร้างผลกระทบ ในด้านความรู้ความเข้าใจ (Cognition) ทัศนคติ (Attitude) และพฤติกรรม (Behavior) ที่ผู้รับสารมีต่อสินค้า บริการ หรือความคิด อันจะเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของบริษัทที่โฆษณา

30. “สู้น้ำ สู้แดด” ข้อความพาดหัวโฆษณานี้ใช้วิธีการเขียนแบบใด
(1) ประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(2) พาดหัวข่าว
(3) การให้คําแนะนํา
(4) ชวนให้สนใจใคร่รู้
ตอบ 4หน้า 47 – 48 การชวนให้สนใจใคร่รู้ (Curiosity) คือ การเขียนข้อความพาดหัวโฆษณา ด้วยการทําให้ผู้รับสารเกิดความรู้สึกอยากรู้อยากเห็น เพื่อดึงดูดใจให้ติดตามหาค่าตอบหรือ แก้ข้อสงสัยนั้นด้วยการอ่านข้อความโฆษณาในส่วนที่เหลือ จึงเหมาะกับสินค้าที่มีคุณสมบัติ หรือข้อมูลใหม่ ๆ ที่น่าสนใจจริง ๆ เพราะหากข้อความที่ตามมาไม่ได้เสนอข้อมูลที่มีคุณค่า หรือเสนอคุณประโยชน์ของสินค้าที่สมกับความสนใจใคร่รู้ของผู้อ่านแล้ว อาจทําให้โฆษณานั้นขาดความน่าเชื่อถือได้

31. “กล้าเปลี่ยนสิ่งเดิม ๆ เพื่อเริ่มต้นสิ่งใหม่” ใช้วิธีการเขียนแบบใด
(1) ประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(2) พาดหัวข่าว
(3) การให้คําแนะนํา
(4) เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย
ตอบ 3 หน้า 47 การให้คําแนะนํา (Advice) คือ การเขียนข้อความพาดหัวโฆษณาด้วยการแนะนํา ให้ผู้อ่านกระทําอย่างใดอย่างหนึ่ง และตามด้วยคํามั่นสัญญาเกี่ยวกับผลที่ได้รับจากการทําตาม คําแนะนํานั้น จึงเป็นวิธีที่ดึงดูดความสนใจได้ดี เพราะเป็นการเจาะจงลงไปที่การป้องกันหรือ แก้ไขปัญหาที่ผู้บริโภคอาจจะประสบหรือกําลังประสบอยู่

32. “ใหม่! กระทะนอนสติ๊ก หัวม้าลาย” ช้วิธีการเขียนแบบใด
(1) ประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(2) พาดหัวข่าว
(3) การให้คําแนะนํา
(4) ใช้ชื่อสินค้าพาดหัว
ตอบ 2หน้า 47 การพาดหัวข่าว (News) คือ การเขียนข้อความพาดหัวโฆษณาที่ใช้วิธีการเขียนแบบ พาดหัวข่าว กล่าวคือ เป็นการสรุปสาระสําคัญ ซึ่งเป็นจุดที่น่าสนใจมากที่สุดในข้อความโฆษณา เช่น เน้นเรื่องความใหม่ ความแปลก ความสวยงาม ฯลฯ

33. “ครัวความสุขของคนรักอาหาร” ใช้วิธีการเขียนแบบใด
(1) ชวนให้สนใจใคร่รู้
(2) พาดหัวข่าว
(3) การให้คําแนะนํา
(4) เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย
ตอบ 4 หน้า 47 การเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย (Prospect Selection) คือ การเขียนข้อความพาดหัวโฆษณา ที่สื่อความหมายให้ผู้รับสารเข้าใจว่าข้อความนั้นเจาะจงไปที่คนกลุ่มใด จึงมีการใช้ถ้อยคํา ที่ทําให้กลุ่มเป้าหมายทราบได้ทันทีว่าข้อความนั้นเจาะจงที่จะสื่อสารกับตนเองโดยตรง ไม่ใช่เป็นการสื่อสารกับผู้อ่านทั่ว ๆ ไป ๆ

34. “พลังซีเมนต์ ฟลูออไรด์ ป้องกันฟันผุ” ข้อความพาดหัวนี้ใช้วิธีการเขียนแบบใด
(1) ประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(2) พาดหัวข่าว
(3) การให้คําแนะนํา
(4) เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย
ตอบ 1หน้า 47 การกล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ (Product Claim) คือ การเขียนข้อความ พาดหัวโฆษณาที่แสดงถึงข้อยืนยันเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้สินค้า ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้ดี เพราะเป็นการกล่าวถึงสิ่งที่อยู่ในความสนใจของผู้บริโภค และสิ่งสําคัญที่ควรคํานึงถึงคือ ข้อเสนอนั้นควรเป็นข้อเสนอที่เด่นชัดจริง ๆ และเชื่อถือได้ โดยข้อความโฆษณาส่วนอื่น ๆ ต้องให้ข้อมูลหลักฐานเพื่อพิสูจน์หรือสนับสนุนข้อเสนอนั้น ๆ

35. “กิจกรรมสื่อสารมวลชนที่เกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมสินค้า บริการ หรือความคิด โดยต้องระบุผู้อุปถัมภ์ และ เสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าเวลาและเนื้อที่ในสื่อ” เป็นความหมายของอะไร
(1) การประชาสัมพันธ์
(2) การโฆษณา
(3) การส่งเสริมการขาย
(4) การสื่อสารมวลชน
ตอบ 2 หน้า 38, (คําบรรยาย) การโฆษณา (Advertising) เป็นกิจกรรมการสื่อสารทางสื่อมวลชน ที่เกิดขึ้นเพื่อนําเสนอ (Presentation) และส่งเสริมใด ๆ (Promotion) ในลักษณะที่ไม่เป็น ๆ ส่วนบุคคลซึ่งความคิด สินค้า และบริการ โดยต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าเวลาและเนื้อที่ในสื่อ และมีการระบุชื่อผู้อุปถัมภ์

36. ข้อใดไม่ใช่หลักการเขียนข้อความพาดหัวโฆษณาที่ดี
(1) ควรขายสินค้าได้ ไม่ว่าจะอ่านข้อความส่วนที่เหลือหรือไม่
(2) สอดแทรกข้อมูลใหม่ ๆ เกี่ยวกับสินค้า
(3) เชิญชวนให้อ่านข้อความในส่วนอื่น ๆ
(4) เขียนเหมือนพาดหัวข่าว
ตอบ 4 หน้า 48 หลักการเขียนข้อความพาดหัวโฆษณา (Headline) ที่ดี มีดังนี้
1. ควรขายสินค้าได้ ไม่ว่าผู้อ่านจะอ่านข้อความส่วนที่เหลือหรือไม่
2. ดึงดูดใจผู้อ่านด้วยการชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
3. สอดแทรกข้อมูลใหม่ ๆ เกี่ยวกับสินค้า
4. ควรระบุชื่อสินค้าไว้ในข้อความพาดหัว
5. ควรเชิญชวนให้อ่านข้อความในส่วนอื่น ๆ ของสิ่งโฆษณา
6. ควรให้ความสําคัญกับการขายสินค้ามากกว่าการเล่นคํา ฯลฯ

37. ข้อใดไม่ใช่หลักการเขียนข้อความโฆษณาที่ดี
(1) ดึงดูดความสนใจ
(2) บอกประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(3) แจ้งข่าวสารข้อเท็จจริงทุกด้าน
(4) สร้างความมั่นใจ
ตอบ 3 หน้า 48 – 50, (คําบรรยาย)หลักการเขียนข้อความโฆษณา (Copy) ที่ดี มีดังนี้
1. ดึงดูดความสนใจ
2. กล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
3. ทําให้เกิดความต้องการ
4. สร้างความมั่นใจ
5. กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม

38. ส่วนลงท้ายของข้อความโฆษณาทําหน้าที่อะไร
(1) ดึงดูดความสนใจ
(2) สร้างความต้องการ
(3) ยืนยันข้อเท็จจริง
(4) กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม
ตอบ 4 หน้า 50, 55 ข้อความโฆษณาในส่วนลงท้าย จะทําหน้าที่กระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดพฤติกรรม บางอย่างเพื่อตอบสนองความปรารถนาของตน หรือกระตุ้นให้เกิดการกระทํา (Action) ได้แก่ คําขวัญและชื่อสินค้า หรืออาจลงท้ายด้วยข้อความที่นําไปสู่การปฏิบัติ เช่น หาซื้อได้ตาม ซูเปอร์มาร์เก็ตในห้างสรรพสินค้าชั้นนําทั่วไป เป็นต้น

39. “ข้อความสั้น ๆ ที่สื่อถึงความคิดรวบยอด หรือแนวคิดหลักของการโฆษณา” เป็นความหมายของข้อใด (1) ข้อความพาดหัว
(2) ข้อความเนื้อเรื่อง
(3) คําขวัญ
(4) ส่วนลงท้าย
ตอบ 3 หน้า 50, (คําบรรยาย) คําขวัญโฆษณา หมายถึง ข้อความสั้น ๆ ที่บ่งบอกหรือสื่อถึง ความคิดรวบยอดหรือแนวคิดหลัก (Theme) ของการโฆษณาสินค้าหรือบริการ เพื่อให้ผู้รับสาร จดจําได้ด้วยการกล่าวซ้ำๆทุกครั้งของการโฆษณา ซึ่งคําขวัญโฆษณาที่ดีนั้นต้องสั้น กระชับ ชัดเจน และจดจําง่าย โดยต้องชี้ให้เห็นถึงลักษณะเด่นของสินค้าและบ่งบอกชื่อสินค้า

40. หากวัตถุประสงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อการบอกกล่าวเผยแพร่ ควรใช้กิจกรรมข้อใด
(1) ทําข่าวแจก
(2) จัดประชุมโต๊ะกลม
(3) ทําโฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์
(4) ใช้คําขวัญประชาสัมพันธ์
ตอบ 1 หน้า 59, 71, (คําบรรยาย) ข่าวประชาสัมพันธ์ (News Release) หรือข่าวแจก (Press Release) หมายถึง ข่าวที่หน่วยงานประชาสัมพันธ์ผลิตและแจกจ่ายไปยังสื่อมวลชน เพื่อให้บรรณาธิการ
ขององค์การสื่อมวลชนพิจารณาลงเผยแพร่ตามสื่อต่าง ๆ ซึ่งวัตถุประสงค์ของข่าวประชาสัมพันธ์ คือ เพื่อบอกกล่าวเผยแพร่ โดยจะเน้นเนื้อหาเกี่ยวกับความก้าวหน้า นโยบาย หรือผลงานของ สถาบันในด้านบวกเพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อสถาบัน และใช้ภาษาเขียนอย่างเป็นทางการ

41. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์การประชาสัมพันธ์
(1) โน้มน้าวใจให้ซื้อสินค้า
(2) บอกกล่าวเผยแพร่
(3) ป้องกันความเข้าใจผิด
(4) สนับสนุนกิจกรรมการตลาด
ตอบ 1หน้า 59 – 60 วัตถุประสงค์การประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1. เพื่อการบอกกล่าวเผยแพร่
2. เพื่อให้ประชาชนยอมรับ
3. เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี
4. เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเข้าใจผิด
5. เพื่อแก้ไขความเข้าใจผิด
6. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
7. เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางการตลาด

42. “การประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อหาข้อสรุปหรือแนวทางปฏิบัติ” เป็นการพูดแบบใด
(1) Formal Speech
(2) Demonstration
(3) Group Discussion
(4) Workshop
ตอบ 4 หน้า 68, (คําบรรยาย) การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เป็นการประชุมของคณะกรรมการ ที่ปฏิบัติการประเภทเดียวกัน เพื่อต้องการความรู้และความเข้าใจที่แท้จริงในสิ่งที่ตนต้องปฏิบัติ
ดังนั้นจึงเป็นการประชุมของผู้เกี่ยวข้องเพื่อหาข้อสรุปหรือแนวทางปฏิบัติ โดยจะฟังคําบรรยาย
จากวิทยากรหรือผู้รู้ในงานประเภทนั้นออกไปว่าอาจนําาไปปฏิบัติได้จริงแค่ไหนแล้วจึงแยกกลุ่มพิจารณาความรู้ที่ได้รับให้กว้างขวาง

43. ข้อใดไม่ใช่หลัก 7 C ของการสื่อสาร
(1) Context
(2) Content
(3) Clarity
(4) Community
ตอบ 4 หน้า 74 – 75, (คําบรรยาย) เกณฑ์การพิจารณาเนื้อหาและตรวจสอบการใช้ภาษา
ก่อนส่งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ต้องใช้หลัก 7 C ของการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วย
1. ความน่าเชื่อถือ (Credibility)
2. บริบท (Context)
3. เนื้อหาสาระ (Content)
4. ความชัดเจน (Clarity)
5. ความต่อเนื่องและความแน่นอน (Continuity & Consistency)
6. ช่องทางการสื่อสาร (Channel)
7. ความสามารถของผู้รับสาร (Capability of Audience)

44. วัตถุประสงค์ของการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ คืออะไร
(1) แจ้งข่าวสาร
(2) ให้ความรู้
(3) ให้ความบันเทิง
(4) โน้มน้าวใจ
ตอบ 4 หน้า 69 – 70, (คําบรรยาย) การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์จะมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับ
วัตถุประสงค์การประชาสัมพันธ์ขององค์กรที่ต้องการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ดังนั้นวัตถุประสงค์การสื่อสารจึงไม่มีลักษณะเป็นกลางอย่างแท้จริง และมิใช่มีเป้าหมายเพื่อการแจ้งข่าวสารเพียงประการเดียว แต่ข่าวสารนั้นจะเป็นข่าวสารที่เลือกสรรแล้วว่าจะมีส่วนโน้มน้าวใจให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเกิดทัศนคติที่ดีต่อองค์กร/สถาบัน

45. ผู้นําความคิดเป็นกลุ่มเป้าหมายการประชาสัมพันธ์ข้อใด
(1) การประชาสัมพันธ์ทางการตลาด
(2) การประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการเกษตร
(3) การประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ
(4) การประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร
ตอบ 2 หน้า 61, (คําบรรยาย) กลุ่มเป้าหมายของการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการเกษตร คือ กลุ่มผู้นํา ความคิด ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายภายนอก ได้แก่ บุคคลหรือกลุ่มคนที่คําพูดหรือความคิดเห็น ของเขามีอิทธิพลต่อคนอีกกลุ่มหนึ่งหรือหลายกลุ่ม ซึ่งพร้อมที่จะเชื่อและปฏิบัติตามแนวทาง ที่ผู้นําความคิดแนะนํา เช่น พระ ครู กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน แกนนํากลุ่มเอ็นจีโอ

46. ข้อใดเป็นหลักการเลือกผู้พูดในการชี้แจงแก้ไขความเข้าใจผิด
(1) เลือกผู้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่พูด
(2) เลือกผู้มีชื่อเสียง
(3) เลือกผู้มีวาทศิลป์
(4) เลือกโฆษกประจําตัวผู้บริหาร
ตอบ 1 หน้า 60, 62 – 63 การดําเนินการขององค์การ/สถาบันอาจมีกระแสข่าวลือหรือข่าวสาร ที่ผิดพลาด ทําให้องค์กรต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงหรือประชาชนเกิดความเข้าใจผิดขึ้นได้ ดังนั้น องค์กรจึงต้องใช้การประชาสัมพันธ์เพื่อชี้แจงแถลงข้อเท็จจริง แก้ไขความเข้าใจผิด และ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยเลือกผู้พูดที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่พูด และสามารถตอบคํา ได้อย่างกระจ่างชัดเจนเมื่อมีผู้ฟังซักถาม

47. ข้อใดไม่ใช่หลักการพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์
(1) พูดเนื้อหาสาระตรงกับความต้องการของผู้ฟัง
(2) สังเกตปฏิกิริยาของผู้ฟัง
(3) มีหลักฐานอ้างอิง
(4) หัวใจสําคัญอยู่ที่ความสามารถเฉพาะตัวของผู้พูด
ตอบ 4 หน้า 64 – 66 หลักการพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1. การปรับตนเองให้พูด เนื้อหาสาระสอดคล้องกับความต้องการของผู้ฟังและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง
2. การสังเกตปฏิกิริยาของผู้ฟัง
3. การปรับระดับของภาษาให้เหมาะกับโอกาส สถานการณ์ และผู้รับสาร
4. การใช้ลีลาน้ำเสียงของการสื่อสารอย่างเหมาะสม
5. มีมารยาทและจริยธรรม
6. รับผิดชอบคําพูดทุกคําที่กล่าวออกไป
7. นําเสนอข้อมูลข้อเท็จจริง มีหลักฐานอ้างอิงน่าเชื่อถือ

48. การอภิปรายกลุ่ม เป็นการพูดรูปแบบใด
(1) Formal Speech
(2) Round Table Conference
(3) Group Discussion
(4) QA Discussion
ตอบ 3 หน้า 66 – 67 รูปแบบการพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1. การพูดชี้แจงอย่างเป็นทางการ (Formal Speech)
2. การประชุมโต๊ะกลม (Round Table Conference)
3. การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion)
4. การอภิปรายถามตอบปัญหา (Question Answer Discussion) ฯลฯ

49. หากองค์กรจะเปิดให้ประชาชนเยี่ยมชมกิจการ ต้องใช้การพูดรูปแบบใด
(1) สนทนาอย่างไม่เป็นทางการ
(2) การประชุมเชิงปฏิบัติการ
(3) การประชุม
(4) การบรรยายสรุป
ตอบ 4 หน้า 67 – 68 การประชุมบรรยายสรุป (Brief Session) เป็นการสื่อสารด้วยวาจาในรูปแบบ ของการประชุม เพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจในสาระสําคัญของเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่กว้างขวางซับซ้อน ให้แก่ผู้ฟังภายในเวลาอันจํากัด ดังนั้นจึงมักนิยมใช้เมื่อองค์กรเปิดให้ประชาชนเข้าเยี่ยมชม กิจการ เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจแก่ผู้เยี่ยมชม เช่น การบรรยายสรุปของโรงพิมพ์ของ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐให้กับคณะนักศึกษาที่มาเยี่ยมชมกิจการ ฯลฯ

50. ข้อใดหมายถึง ความเรียงประเภทร้อยแก้ว ซึ่งเขียนขึ้นจากเรื่องจริงเพื่อให้ความรู้
(1) ข่าว
(2) บทความ
(3) สารคดี
(4) บันเทิงคดี
ตอบ 3 หน้า 78 สารคดี (Feature) หมายถึง ความเรียงประเภทร้อยแก้ว ซึ่งเขียนขึ้นจากเรื่องจริง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่านเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งในประเทศ(Non-fiction)และต่างประเทศ

51. ข้อใดหมายถึง ข้อเขียนที่ลงพิมพ์เป็นประจําในหนังสือพิมพ์
(1) เรื่องเล่า
(2) เรื่องแต่ง
(3) คอลัมน์
(4) บทความ
ตอบ 3หน้า 78 คอลัมน์ (Column) เป็นข้อเขียนหรือเนื้อหาที่ลงพิมพ์เป็นประจําในหนังสือพิมพ์ อาจเป็นข้อเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางการเมือง ความรู้ด้านสุขภาพอนามัย วิจารณ์กีฬา ภาพยนตร์ ดนตรี ข่าวสังคมซุบซิบ คอลัมน์เด็กและเยาวชน ฯลฯ ซึ่งรับผิดชอบ โดยคอลัมนิสต์ หรือนักเขียนประจําคอลัมน์ที่เป็นผู้กําหนดเนื้อหา เช่น คอลัมน์ที่มีชื่อว่า “กระดานความคิด” ในหนังสือพิมพ์คมชัดลึก เป็นต้น

52. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาของหนังสือพิมพ์ ได้แก่อะไรบ้าง
(1) ขนาดรูปเล่ม กําหนดออก บริบททางสังคม
(2) ประเภทเนื้อหา กําหนดออก การแข่งขัน
(3) การดึงดูดความสนใจและการขายสินค้า
(4) ประเภทเนื้อหา ขนาดรูปเล่ม กําหนดออก
ตอบ 2 หน้า 78 – 79, (คําบรรยาย) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาของหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ
ซึ่งอาจมีลักษณะแตกต่างกันไป มีดังนี้
1. ประเภทเนื้อหาของหนังสือพิมพ์
2. กําหนด ระยะเวลาการออกเผยแพร่
3. คุณภาพเนื้อหาและการแข่งขันกันดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน

53.“ประชาชนแห่ลงทะเบียนสมัครขายสลากวันแรก หลังเปิดเสรีทุ่ง 4.2 หมื่นราย” เป็นการเขียนความนําประเภทใด
(1) The What Lead
(2) The Why Lead
(3) The When Lead
(4) The How Lead
ตอบ 1 หน้า 83 ความนําแบบสรุป (Summary Lead) แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้
1. The Who Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยบุคคล องค์การหรือสถาบันที่เป็นข่าว
2. The What Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยเหตุการณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้น
3. The Where Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยสถานที่ที่เกิดเหตุ
4. The When Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยวันเวลาที่เกิดเหตุ
5. The Why Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยสาเหตุหรือเหตุผลของเรื่องนั้น ๆ
6. The How Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยการอธิบายความถึงวิธีการแห่งเหตุการณ์ที่เป็นข่าว

54. “คู่อริยกพวกพร้อมอาวุธครบมือ บังคับกลุ่มวัยรุ่นเลี้ยงวัวชนเข้าแถวก่อนถาม ชักปืนจ่อหัวดับ 2 วิ่งหนีรอดชีวิต 4 ตํารวจรู้ตัวแล้วคนลงมือ เร่งไล่ล่า” เป็นการเขียนความนําประเภทใด
(1) Punch Lead
(2) Contrast Lead
(3) Colorful Lead
(4) Background Lead
ตอบ 3 หน้า 83, (คําบรรยาย) ความนําแบบสร้างภาพพจน์ (Picture or Colorful Lead) คือ การเขียนความนําด้วยการแสวงหาถ้อยคํามาอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อทําให้ผู้อ่านมองเห็น ภาพเหตุการณ์นั้น ๆ เสมือนว่าได้เห็นมาด้วยตนเอง โดยภาษาที่ใช้จะเต็มไปด้วยชีวิตชีวา มีสีสัน มีความเคลื่อนไหว จึงมักใช้เขียนข่าวประเภท Human Interest ข่าวอาชญากรรม ข่าวอุบัติเหตุ ข่าวการเมืองที่เน้นสีสัน ฯลฯ

55. “กรุงเก่ายังไม่พ้นวิกฤติ ประกาศให้พื้นที่ 13 อําเภอเป็นเขตภัยพิบัติ” เป็นการเขียนความนําประเภทใด
(1) The Who Lead
(2) The What Lead
(3) The Where Lead
(4) The When Lead
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 53. ประกอบ

56. “พายุหว่ามก๋อเคลื่อนจากเวียดนามไปลาว ทําไทยฝนตกหนัก ศูนย์เตือนภัยพิบัติฯ เตือน 14 จังหวัด เตรียมรับมือน้ําท่วม ดินโคลนถล่ม” เป็นการเขียนความนําประเภทใด
(1) The What Lead
(2) The Why Lead
(3) The When Lead
(4) The How Lead
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 53. ประกอบ

57. “บิ๊กตู่ รุ่นโรดแมป” พาดหัวข่าวนี้มีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร
(1) ใช้ชื่อเล่นหรือฉายา ใช้คําที่ควรสงสัย
(2) ละประธานของประโยค ตัดคําสั้น ใช้คําสร้างภาพพจน์
(3) ตัดคําสั้น ใช้คําย่อ ใช้คําสร้างภาพพจน์
(4) ใช้ชื่อเล่นหรือฉายา ตัดคําสั้น ใช้คําภาษาต่างประเทศ
ตอบ 4 หน้า 81 – 82 พาดหัวข่าวข้างต้นมีลักษณะการใช้ภาษา ดังนี้
1. การเรียกชื่อบุคคลโดยใช้ชื่อเล่นหรือฉายา เช่น บิ๊กตู่ (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) ฯลฯ
2. การตัดคําให้สั้นลง เนื่องจากเนื้อที่มีจํากัด เช่น รุ่น (รุ่นเวลา) ฯลฯ
3. ใช้คําภาษาต่างประเทศ เช่น โรดแมป (Road Map) ฯลฯ

58.“ลงทะเบียนวันแรกคึก หวยเสรี” พาดหัวข่าวนี้มีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร
(1) ใช้คําที่ชวนสงสัย
(2) ใช้คําย่อ
(3) ละประธานของประโยค
(4) ใช้คําสร้างภาพพจน์
ตอบ 3 หน้า 81 – 82 การละประธานของประโยค บางครั้งการเขียนพาดหัวข่าวอาจจะขึ้นต้นด้วยคํากริยาเพื่อชี้ให้เห็นความสําคัญของเหตุการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้น เช่น ลงทะเบียนวันแรกคึก หวยเสรี ไล่ยิงน้ององอาจ เมียลูกรับเคราะห์ ฯลฯ

59. “จิ๋วเปิดทางโกวิทนั่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เนวินเตือนระวังมีจุดจบเดียวกับสมัคร ด้านแม้วแบ่งรับแบ่งสู้ โกวิทคุมพรรค ปัดเพื่อไทยสาละวันเตี้ยลง” เป็นการเขียนความนําประเภทใด
(1) Punch Lead
(2) Contrast Lead
(3) Colorful Lead
(4) Background Lead
ตอบ 2 หน้า 83, (คําบรรยาย) ความนําแบบเปรียบเทียบ (Contrast Lead) คือ การเขียนความนํา ที่รายงานเหตุการณ์ในลักษณะเชื่อมเนื้อหา 2 ประเด็นที่ขัดแย้งกัน แล้วนํามาสรุปเข้าด้วยกันในการเขียนความนํา

60. “หัวหินแตกตื่นสึนามิ น้ําทะเลลดเห็นโขดหิน รองนายกเล็กยันไม่มีรายงาน พร้อมสั่งเช็กข่าวทุก 20 นาที
เป็นการเขียนความนําประเภทใด
(1) Punch Lead
(2) Contrast Lead
(3) Colorful Lead
(4) Background Lead
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ

61. เนื้อข่าวหน้าในของหนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพมักใช้ภาษาระดับใด
(1) ลีลาคุ้นเคย
(2) ภาษาปาก
(3) กึ่งทางการ
(4) ทางการ
ตอบ 4 หน้า 76 – 77, 79 หนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพ (Quality Newspaper) หมายถึง หนังสือพิมพ์ ที่นําเสนอข่าวสารข้อมูลที่มีสาระ ซึ่งผู้อ่านต้องใช้ความรู้ความคิดติดตามเรื่องราวต่าง ๆ เหล่านั้น จึงจะเข้าใจ โดยข่าวที่นําเสนอจะมีลักษณะการใช้ภาษาเป็นภาษาระดับทางการ (เนื้อข่าวหน้าใน) และกึ่งทางการ (พาดหัวข่าว) ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข่าวหนัก (Hard News) เช่น ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวการศึกษา ข่าวสิ่งแวดล้อม ข่าวศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น

62. “ทั้งหมดนี้ควรมีความชัดเจนก่อนประชาคมอาเซียนจะมีผล ในระเบียบหรือข้อตกลงบางอย่างประชาชน คนไทยต้องรับรู้เป็นแนวทาง เช่น หากมีชาวต่างชาติเข้ามาพักพิงในพื้นที่ไม่ว่าการเช่าที่พัก การซื้ออาคาร บ้านเรือนควรมีข้อสังเกตอย่างไร นี่ยังไม่นับถึงเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีหลักปฏิบัติไปจนถึงเรื่องศาสนา ล้วนต้องมีความชัดเจนด้วย” เป็นการเขียนที่มีวัตถุประสงค์อะไร
(1) ให้ข่าวสาร
(2) อธิบายความ
(3) วิพากษ์วิจารณ์
(4) เสนอแนวทางแก้ไข
ตอบ 4 หน้า 87 – 89, (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์ของการแสดงความคิดเห็นในบทความ บทวิเคราะห์ และบทบรรณาธิการ อาจแบ่งตามระดับจากง่ายไปยากที่สุดได้ ดังนี้
1. ระดับอธิบายความ คือ ผู้เขียนตีความเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบ ที่เกิดขึ้น และคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะตามมา
2. ระดับวิพากษ์วิจารณ์ คือ ผู้เขียนประเมินค่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าดีหรือไม่ดี เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย ใครถูกใครผิด ฯลฯ โดยแจกแจงให้เห็นข้อดีข้อด้อยในเรื่องนั้น ๆ
3. ระดับเสนอทางแก้ปัญหา คือ ผู้เขียนให้คําแนะนําหรือให้ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา แก่ผู้รับผิดชอบ จึงจัดเป็นการเขียนในเชิงวิเคราะห์ที่กล่าวถึงสาเหตุและเสนอทางออกไปพร้อมกัน

63. “ในด้านการเมืองไม่ต้องพูดถึง แทบจะไม่มีการริเริ่มหรือการรุกทางการเมืองใหม่ ๆ นอกจากการ ทุ่มงบประมาณเพื่อการพัฒนาเสมือนหนึ่งว่าไม่มีนโยบาย ไม่มีแนวทางที่ชัดเจน แต่ปล่อยให้ทหาร ตํารวจ และข้าราชการพลเรือนต่างคนต่างทําไปตามที่เห็นดีเห็นงาม” เป็นการแสดงความคิดเห็นระดับใด
(1) ให้ข่าวสาร
(2) อธิบายความ
(3) วิพากษ์วิจารณ์
(4) เสนอแนวทางแก้ไข
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

64. “ภารกิจเช่นนี้เหลือกําลังของฝ่ายรัฐบาล หรือเจ้าหน้าที่ทหารตํารวจแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่ต้องการ ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาจากทุกฝ่ายอย่างเต็มกําลัง” เป็นการแสดงความคิดเห็นระดับใด
(1) ให้ข่าวสาร
(2) อธิบายความ
(3) วิพากษ์วิจารณ์
(4) เสนอแนวทางแก้ไข
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

65.“กระดานความคิด” ข้อความนี้น่าจะเป็นเนื้อหาส่วนใด
(1) เนื้อข่าวหนังสือพิมพ์
(2) ชื่อเรื่องของบทวิเคราะห์
(3) นามปากกาผู้เขียนบทความ
(4) ชื่อคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

66. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของบทความและบทวิเคราะห์
(1) อธิบายความ
(2) วิจารณ์
(3) ให้ข้อเสนอแนะ
(4) แจ้งข้อเท็จจริงใหม่ ๆ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

67. คําว่า “ล็อบบี้ยิสต์” ที่ปรากฏในข่าวหนังสือพิมพ์ หมายถึงอะไร
(1) ห้องโถงในโรงแรม
(3) นักวิ่งเต้นเจรจานอกรอบ
(2) ทนายหน้าหอ
(4) นักประชาสัมพันธ์
ตอบ 3 (คําบรรยาย) คําว่า “ล็อบบี้ยิสต์” (Lobbyist) หมายถึง นักวิ่งเต้นเจรจานอกรอบ หรือ
กลุ่มคนที่เชี่ยวชาญในการวิ่งเต้นให้กับบรรดานักการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ทางธุรกิจ

68.“มือมืดหยาม คสช. ตัดไฟบ้านมีชัย” พาดหัวข่าวนี้ใช้ภาษาลักษณะใด
(1) ละประธานของประโยค
(2) ใช้คําสร้างภาพพจน์
(3) ใช้คําย่อ
(4) ใช้คํา Vivid
ตอบ 3 หน้า 82 การใช้คําย่อในพาดหัวข่าวมีอยู่ 2 ลักษณะ ดังนี้
1. คําย่อที่ใช้กันโดยทั่วไป เช่น คสช. (คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) ฯลฯ (คําย่อในพาดหัวข่าว หนังสือพิมพ์จะจุดลงท้ายตัวอักษรหลังสุดเพียงจุดเดียว ซึ่งจะต่างจากการเขียนคําย่อ ตามแบบแผนที่เขียนโดยใช้จุดคั่น เช่น ค.ส.ช. เป็นต้น)
2. คําย่อที่ไม่เป็นไปตามแบบแผน แต่เขียนย่อเองเพื่อให้ลงในเนื้อที่ที่กําหนดไว้ เช่น รบ. (รัฐบาล), ล. (ล้าน) เป็นต้น

69. “วงประชุมสภาปฏิรูปฯ ราบรื่นฉลุย เลือก “ทินพันธุ์” นั่งประธาน” เป็นการเขียนความนําแบบใด
(1) Background Lead
(2) Colorful Lead
(3) Punch Lead
(4) Contrast Lead
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 54. ประกอบ

70. บทบรรณาธิการเป็นความเรียงประเภทใด
(1) ร้อยแก้ว
(2) ร้อยกรอง
(3) ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง
(4) สารคดี
ตอบ 1 หน้า 77 – 78, 89 บทบรรณาธิการหรือบทนํา (Editorial) คือ ความเรียงประเภทร้อยแก้ว
โดยมีจุดมุ่งหมายหลักของการเขียนเพื่อแสดงถึงทัศนะหรือความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ฉบับนั้น ซึ่งมีต่อสถานการณ์ที่กําลังอยู่ในความสนใจของสาธารณชน ดังนั้น บทบรรณาธิการจึงมีความสําคัญในการเป็นข้อเขียนที่แสดงถึงจุดยืนหรือทิศทางของหนังสือพิมพ์ทั้งฉบับต่อสถานการณ์ที่กําลังอยู่ในกระแสสังคม

71. บทบรรณาธิการมีความสําคัญอย่างไร
(1) เป็นข้อเขียนประเภทแสดงความคิดเห็น
(2) เป็นการนําเสนอข้อมูลใหม่ ๆ
(3) แสดงถึงจุดยืนของหนังสือพิมพ์ต่อสถานการณ์ที่อยู่ในกระแสสังคม
(4) แสดงความคิดเห็นของบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ที่มีต่อเรื่องทั่วไป
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 70. ประกอบ

72. หนังสือพิมพ์เชิงปริมาณมีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร
(1) ใช้ภาษาทางการและภาษาปาก
(2) ใช้ภาษาทางการและกึ่งทางการ
(3) ใช้ภาษาปาก
(4) ใช้ภาษากึ่งทางการและภาษาปาก
ตอบ 4 หน้า 77, 79 หนังสือพิมพ์เชิงปริมาณ (Popular Newspaper) หมายถึง หนังสือพิมพ์ที่เสนอ ข่าวสารที่เน้นเรื่องราวที่มีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้อ่าน โดยข่าวที่นําเสนอจะมีลักษณะ การใช้ภาษาเป็นภาษาระดับกึ่งทางการและภาษาปาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข่าวเบา (Soft News) คือ ข่าวที่ผู้อ่านไม่ต้องใช้ความรู้ความคิดในการวิเคราะห์ก็สามารถเข้าใจเรื่องราวได้ เช่น ข่าวอาชญากรรม ข่าวอุบัติเหตุ ข่าวชีวิตส่วนตัวของคนดัง เป็นต้น

73. การเขียนข่าวหนังสือพิมพ์นิยมใช้รูปแบบการเขียนแบบใด
(1) Inverted Pyramid
(2) Upright Pyramid
(3) Combination
(4) Article
ตอบ 1 หน้า 80, (คําบรรยาย) รูปแบบการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์ มีดังนี้
1. แบบพีระมิดหัวกลับ (Inverted Pyramid) คือ การเสนอประเด็นสําคัญของข่าวก่อน รายละเอียด ถือเป็นรูปแบบที่นิยมใช้มากกว่าร้อยละ 85 – 90 ในการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์
2. แบบพีระมิดหัวตั้ง (Upright Pyramid) คือ การเสนอรายละเอียดของข่าวก่อน ประเด็นสําคัญ นิยมใช้ในการเขียนบทความ บทบรรณาธิการ สารคดีเชิงข่าว ฯลฯ
3. แบบผสม (Combination) คือ การเสนอประเด็นสําคัญทั้งในตอนต้นและตอนท้าย มักใช้ในการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์

74. หนังสือพิมพ์มีวิธีการบอกลําดับความสําคัญของข่าวอย่างไร
(1) ขนาดตัวอักษร
(2) สีของตัวอักษร
(3) ตําแหน่งการวางพาดหัว
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 81, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์มีวิธีการบอกลําดับความสําคัญของข่าวได้ ดังนี้
1. การใช้ขนาดตัวอักษร
2. สีสัน
3. ตําแหน่งการจัดวางพาดหัวข่าว (ข่าวสําคัญจะอยู่ด้านบนของหน้าพิมพ์)
4. ขนาดพื้นที่

75. “โดมขอโทษ ยันไม่เจตนาโพสต์ภาพเบียร์” ข้อความพาดหัวข่าวนี้มีการใช้ภาษาอย่างไร
(1) ละประธานของประโยค
(2) ตัดคําให้สั้นลง
(3) ใช้คําสแลง
(4) ใช้สํานวนสร้างอารมณ์ความรู้สึก
ตอบ 2 หน้า 81 การตัดคําให้สั้นลง เนื่องจากเนื้อที่มีจํากัด ทําให้ผู้เขียนพาดหัวข่าวนอกจากจะต้อง เขียนให้ได้ใจความสําคัญแล้ว ยังต้องคํานึงถึงจํานวนตัวอักษรที่ใช้ไม่ให้เกินกว่าเนื้อที่ที่มีอยู่ บางครั้งจึงจําเป็นต้องตัดคําให้สั้นลง แต่ต้องไม่ตัดจนเสียความหมายไป เช่น ยัน (ยืนยัน),หนุน (สนับสนุน), สน (สนใจ) ฯลฯ

76. “ไล่ยิงน้ององอาจ เมียลูกรับเคราะห์” ข้อความพาดหัวข่าวนี้มีการใช้ภาษาอย่างไร
(1) ละประธานของประโยค
(2) ตัดคําให้สั้นลง
(3) ใช้คําสแลง
(4) ใช้สํานวนสร้างอารมณ์ความรู้สึก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 58. ประกอบ

77.รายการสารคดี เป็นรายการประเภทใด
(1) ข่าวสาร
(2) ความรู้
(3) ความบันเทิง
(4) โน้มน้าวใจ
ตอบ 2 หน้า 95, (คําบรรยาย) รายการประเภทความรู้ หมายถึง รายการที่มุ่งให้ความรู้หรือการศึกษา ซึ่งจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมวิชาการ อาชีพ วัฒนธรรม และแนวทางการดําเนินชีวิตที่ดีของประชาชน เช่น รายการสารคดี รายการธรรมะ รายการศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ

78. ข้อใดหมายถึง ผู้จัดรายการสนทนา
(1) Producer
(2) Director
(3) Host
(4) Announcer
ตอบ 3 หน้า 96, (คําบรรยาย) Host หมายถึง ผู้จัดรายการหรือผู้ดําเนินรายการสนทนา มีหน้าที่ กล่าวเปิดรายการ นําเข้าสู่ประเด็นที่จะสนทนา แนะนําผู้ร่วมสนทนาหรือแขกรับเชิญ (Guest) โดยอาจคอยพูดเชื่อมโยงให้การสนทนาอยู่ในประเด็น และสรุปใจความสําคัญของการสนทนาอีกครั้งหนึ่ง

79.“เวลา 13.45 น.” อ่านอย่างไร
(1) เวลาสิบสามจุดสี่ห้านอ
(2) เวลาบ่ายโมงสี่สิบห้านาที
(3) เวลาสิบสามนาฬิกาสี่สิบห้านาที
(4) เวลาหนึ่งสามจุดสี่ห้านาฬิกา
ตอบ 3 หน้า 100, (คําบรรยาย) ในการอ่านหรือพูดทางวิทยุกระจายเสียงนั้น ผู้พูดต้องออกเสียง ภาษาไทยให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การออกเสียงภาษาไทย โดยต้องพยายามศึกษาค้นคว้าหลักภาษา และการออกเสียงให้ถูกอักขรวิธี เช่น เวลา 13.45 น. อ่านว่า เวลาสิบสามนาฬิกาสี่สิบห้านาที เป็นต้น นอกจากนี้คําในภาษาเขียนที่เป็นคําย่อ เวลาอ่านต้องอ่านเป็นคําเต็มให้ครบและถูกต้อง เช่น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อ่านว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เป็นต้น

80. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ” ในเครื่องหมายคําพูดอ่านอย่างไร
(1) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า
(2) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
(3) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมขอเดชะ
(4) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าทรงโปรดกระหม่อมขอเดชะ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 79. ประกอบ

81. การเขียนบทสําหรับรายการสารคดีทางวิทยุกระจายเสียง มีแนวทางการใช้ภาษาอย่างไร
(1) เขียนประโยคสั้น ๆ
(2) เร้าอารมณ์ผู้ฟัง
(3) ขึงขัง หนักแน่น เป็นทางการ
(4) เหมือนการพูดตัวต่อตัว
ตอบ 4 หน้า 103 แนวทางการใช้ภาษาในการเขียนบทวิทยุกระจายเสียงสําหรับรายการการศึกษา เช่น รายการสารคดี รายการธรรมะ ฯลฯ มีดังนี้
1. เขียนให้เหมือนการพูดแบบตัวต่อตัว
2. ใช้ภาษาที่ทําให้เกิดภาพพจน์
3. อธิบายหรือบรรยายให้เห็นภาพ
4. เขียนให้สัมพันธ์กับ ประเด็นของเรื่อง และเนื้อหาต้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและช่วงเวลาที่นําเสนอรายการ

82. ส่วนปิดท้ายของบทวิทยุกระจายเสียง ประกอบด้วยอะไรบ้าง
(1) ชื่อรายการ และชื่อเรื่อง
(2) ชื่อสถานีวิทยุ และวันเวลาที่ออกอากาศ
(3) ชื่อผู้แสดงและผู้ที่ทํางานเกี่ยวข้องกับรายการ
(4) สรุปและประกาศขอบคุณผู้ร่วมรายการทุกคน
ตอบ 4 หน้า 102 – 103 ส่วนประกอบของบทวิทยุกระจายเสียงมี 4 ส่วน ดังนี้
1. ส่วนหัว
2. ส่วนที่บอกหน้าที่ของผู้ร่วมงาน และสิ่งจําเป็นที่ใช้ในรายการ
3. ส่วนเนื้อหาหรือส่วนที่เป็นตัวบทวิทยุกระจายเสียง เป็นส่วนที่บอกผู้เกี่ยวข้องและ สิ่งที่กําหนดให้ทํา ได้แก่ ใครพูด พูดอะไร ฯลฯ
4. ส่วนปิดท้าย เป็นส่วนสรุปและประกาศขอบคุณผู้ร่วมรายการทุกคน

83. การเขียนบทสําหรับรายการข่าวทางวิทยุกระจายเสียง มีแนวทางการใช้ภาษาอย่างไร
(1) เขียนประโยคสั้นๆ
(2) เร้าอารมณ์ผู้ฟัง
(3) ขึงขัง เป็นทางการ
(4) บรรยายให้เกิดภาพพจน์
ตอบ 1 หน้า 103, (คําบรรยาย) แนวทางการใช้ภาษาในการเขียนบทวิทยุกระจายเสียงสําหรับ รายการข่าว มีดังนี้
1. เขียนประโยคสั้น ๆ แต่ละประโยคมีแนวคิดเดียว
2. ไม่เขียนคําย่อ
3. การยกคําพูดผู้อื่นมากล่าวอ้างต้องเรียบเรียงขึ้นใหม่ โดยอ้างถึง คําพูดของแหล่งข่าวแต่เปลี่ยนคําสรรพนามเป็นบุรุษที่ 3
4. ศัพท์เฉพาะหรือคําอ่านยาก ต้องวงเล็บคําอ่านไว้
5. กรณีที่เป็นตัวเลขจํานวนมากต้องเขียนด้วยตัวหนังสือ

84. การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงสําหรับรายการละคร ควรเขียนแบบใด
(1) วางโครงร่างคร่าว ๆ
(3) ประเภทสมบูรณ์
(2) ประเภทกึ่งสมบูรณ์
(4) ประเภทแสดงเค้าโครง
ตอบ 3 หน้า 105, (คําบรรยาย) การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่
1. บทที่วางโครงร่างคร่าว ๆ (Run-down Sheet) คือ บทที่ร่างลําดับเนื้อหาหรือ ลําดับการทํางานไว้สําหรับผู้ร่วมงาน ซึ่งมักใช้กับรายการเพลง
2. บทกึ่งสมบูรณ์ (Semi Script) คือ บทที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ในบางส่วนและละไว้บางส่วน มักใช้กับรายการสัมภาษณ์ สนทนา ฯลฯ
3. บทสมบูรณ์ (Complete Script) คือ บทที่มีรายละเอียดทุกอย่างกําหนดไว้ชัดเจน มักใช้ กับรายการละครวิทยุ ข่าว บทความ สปอตโฆษณา ฯลฯ

85.Back Light หมายถึงอะไร
(1) แสงไฟหลัก
(2) แสงไฟที่ใช้เพิ่มความสว่าง
(3) แสงไฟที่ใช้ลบเงา
(4) แสงไฟที่ใช้ส่องฉากหลัง
ตอบ 4 หน้า 115 แสงประดิษฐ์ที่ใช้ในการผลิตรายการโทรทัศน์ จะต้องประกอบด้วยไฟมาตรฐาน อย่างน้อย 3 ดวง ได้แก่
1. แสงไฟหลัก (Key Light)
2. แสงไฟลบเงา (Fill Light)
3. แสงไฟที่ใช้ส่องฉากหลัง (Back Light)

86. หากต้องการให้มีคําบรรยายภาพปรากฏในรายการโทรทัศน์ ต้องใช้เทคนิคใด
(1) Freeze Frame
(2) Superimpose
(3) Split Screen
(4) Fast Motion
ตอบ 2 หน้า 106 – 107, 114, (คําบรรยาย) ซูเปอร์อิมโพส (Superimpose) คือ เทคนิคการใช้ ตัวหนังสือหรือภาพ ๆ หนึ่งซ้อนทับลงบนอีกภาพหนึ่ง ซึ่งมักใช้ในการทําคําบรรยายที่เป็นตัวอักษร ซ้อนลงบนภาพที่อยู่นิ่งหรือเคลื่อนไหว เช่น การทําไตเติ้ลรายการ และ Sub-title เป็นต้น

87. ภาพในลักษณะ Medium Close Up จะมีลักษณะเป็นอย่างไร
(1) เป็นภาพระยะใกล้มาก หากเป็นภาพคนจะเห็นเพียงระดับไหล่
(2) ภาพในระยะใกล้ หากเป็นภาพคนจะเห็นใบหน้าและไหล่
(3) ภาพระยะใกล้มาก หากเป็นภาพคนจะเห็นเฉพาะส่วนใบหน้า
(4) ภาพระยะปานกลางค่อนข้างใกล้ หากเป็นภาพคนจะเห็นในระดับเหนือเอว
ตอบ 4 หน้า 109, (คําบรรยาย) ภาพระยะปานกลางค่อนข้างใกล้ (Medium Close Up : MCU) เป็นการถ่ายภาพในระยะปานกลางค่อนข้างใกล้ หากเป็นภาพบุคคลจะเห็นในระดับเหนือเอว (กึ่งกลางระหว่างไหล่กับเอว) มักใช้ในกรณีที่ต้องการถ่ายผู้แสดงขณะสนทนา โดยกล้องจะพยายาม จับภาพของทั้งสองฝ่ายที่อาจอยู่ห่างกันไม่มากนัก หรือหากเป็นการถ่ายภาพผู้แสดงเพียง คนเดียวก็เป็นการนําเสนออากัปกิริยาของผู้แสดง

88.ภาพ Knees Shot ได้แก่ภาพขนาดใด
(1) MS
(2) MLS
(3) LS
(4) ELS
ตอบ 2 หน้า 109 ภาพระยะปานกลางค่อนข้างไกล (Medium Long Shot : MLS) เป็นภาพถ่าย ในระยะที่เห็นรายละเอียดของจุดเด่นในภาพไม่มากนัก แต่จะเห็นองค์ประกอบอื่น ๆ ในภาพ มากขึ้น ซึ่งหากเป็นการถ่ายภาพบุคคลก็จะเห็นในระดับหัวเข่า ดังนั้นบางครั้งจึงเรียกภาพระยะนี้ว่า Knees Shot

89. หากต้องการนําเสนอภาพตึกสูงในแนวตั้ง ควรใช้เทคนิคการเคลื่อนกล้องแบบใด
(1) Tilt Up
(2) Tilt Down
(3) Dolly In
(4) Dolly Out
ตอบ 1 หน้า 112, (คําบรรยาย) ทิลท์ (Tilt) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องโดยการเงยกล้อง (Tilt Up) หรือก้มกล้อง (Tilt Down) ในลักษณะแนวตั้ง เพื่อให้ผู้ชมสามารถเห็นภาพมุมสูงและภาพมุมต่ํา ได้มากขึ้น เช่น การนําเสนอภาพตึกสูงในแนวตั้งโดยการเงยกล้อง (Tilt Up) เพื่อให้ผู้ชมได้เห็น ภาพของตึกไล่ขึ้นไปจนถึงยอดตึก เป็นต้น

90. หากถ่ายฉากพระเอกสวมแหวนหมั้นให้นางเอก และต้องการเน้นเฉพาะมือที่สวมแหวนต้องใช้ภาพขนาดใด
(1) CS
(2) CU
(3) ECU
(4) ELS
ตอบ 3 หน้า 109, (คําบรรยาย) ภาพระยะใกล้มาก (Extreme Close Up : ECU) เป็นการถ่ายภาพ ในระยะใกล้มากเพื่อต้องการเน้นรายละเอียดเฉพาะส่วน เช่น การเน้นถ่ายเฉพาะมือของนางเอก ที่สวมแหวนหมั้น, การถ่ายอวัยวะเฉพาะส่วนของแมลง ฯลฯ หรือถ้าหากเป็นภาพบุคคลจะเห็น เฉพาะส่วนใบหน้าเพื่อต้องการเน้นอารมณ์ความรู้สึกของผู้แสดง เช่น การเน้นถ่ายเฉพาะดวงตา ขณะผู้แสดงกําลังร้องไห้ ฯลฯ

91. คําสนทนาที่มีผู้พูดเพียงคนเดียว เรียกว่าอะไร
(1) Narration
(2) Commentary
(3) Monologue
(4) Dialogue
ตอบ 3 หน้า 106, (คําบรรยาย) คําสนทนาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. Monologue คือ คําสนทนาที่เป็นบทพูดของผู้พูดเพียงคนเดียวในลักษณะที่เป็นการสื่อสาร กับผู้ชมรายการโดยตรง
2. Dialogue คือ คําสนทนาที่เป็นบทพูดโต้ตอบกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งมักพบในรายการ สัมภาษณ์ ละครโทรทัศน์ ฯลฯ

92. ภาพแต่ละภาพที่ปรากฏในรายการโทรทัศน์ เรียกว่าอะไร
(1) Frame
(2) Image
(3) Shot
(4) Photo
ตอบ 3 หน้า 108 ในภาษาโทรทัศน์นั้น คําว่า “Image” หมายถึง ภาพ ซึ่งภาพที่ปรากฏทางจอโทรทัศน์ จะเกิดจากภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพเรียงลําดับต่อเนื่องกันจนกลายเป็นภาพเคลื่อนไหว โดยภาพ แต่ละภาพที่ปรากฏในรายการโทรทัศน์จะเรียกว่า ชอต (Shot) และเมื่อเรานําภาพแต่ละชอตมาลําดับให้ถูกช่วงถูกตอนตามที่ควรจะเป็นก็จะได้ลําดับเรื่องราวตามต้องการ

93. ข้อใดหมายถึง การเคลื่อนไหวกล้องโดยการเปลี่ยนแปลงระยะของกล้อง
(1) Zoom
(2) Dolly
(3) Boom
(4) Pan
ตอบ 2 หน้า 113, (คําบรรยาย) ดอลลี่ (Dolly) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องโดยการเปลี่ยนแปลง ระยะของกล้อง หากเคลื่อนกล้องเข้าหาวัตถุที่ถ่ายซึ่งอยู่กับที่จะทําให้ได้ภาพโตขึ้น (Dolly In)
แต่ถ้าเคลื่อนกล้องถอยห่างจากวัตถุที่ถ่ายจะทําให้ได้ภาพเล็กลง (Dolly Out)

94. Vox-pop หมายถึงอะไร
(1) การสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ
(2) การสัมภาษณ์บุคคลสําคัญ (VIP)
(3) การสัมภาษณ์เสียงของประชาชน
(4) สถานีวิทยุทางการของประเทศใดประเทศหนึ่ง
ตอบ 3หน้า 96 รายการสัมภาษณ์ (Interview Programme) คือ รายการที่มีบุคคล 2 ฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่ง เป็นผู้ซักถามหรือผู้สัมภาษณ์ (Interviewer) และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ให้สัมภาษณ์ (Interviewee) ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
1. รายการสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ (Formal Interview)
2. รายการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ (Informat Interview)
3. การสัมภาษณ์เสียงของประชาชนทั่วไป (Vox-pop)

95. หากต้องการนําเสนอภาพทิวทัศน์โดยให้ผู้ชมได้ชื่นชมทิวทัศน์ในมุมกว้าง โดยการหันกล้องจากซ้ายไปขวา หรือขวามาซ้าย เป็นการใช้เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องข้อใด
(1) แพน
(2) ดอลลี่
(3) ซูม
(4) ทรัค
ตอบ 1 หน้า 112, (คําบรรยาย) แพน (Pan) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องในลักษณะแนวนอน จากขวามาซ้าย หรือซ้ายมาขวา เพื่อให้ผู้ชมเห็นภาพทางกว้างได้มากขึ้น เช่น การถ่ายภาพ ทิวทัศน์แบบพาโนรามา (Panorama) โดยการหมุนกล้อง เพื่อให้เห็นภาพวิวทิวทัศน์ในมุมกว้าง ได้สมบูรณ์เต็มตา

96. ข้อใดเป็นเทคนิคการหยุดภาพไว้ให้ผู้ชมได้เห็นเป็นภาพนิ่ง
(1) Cut
(2) Wipe
(3) Freeze Frame
(4) Split Screen
ตอบ 3 หน้า 114, (คําบรรยาย) ฟรีซเฟรม (Freeze Frame) คือ เทคนิคการหยุดภาพหรือแช่ภาพไว้ ให้ผู้ชมได้เห็นภาพนั้นนิ่ง ๆ อยู่ชั่วขณะหนึ่ง ส่วนมากจะใช้ในฉากจบของละครโทรทัศน์แต่ละตอน ก่อนที่ไตเติ้ลตอนจบจะขึ้น

97. ข้อใดเป็นวิธีการที่ใช้เมื่อต้องการเสนอภาพหลาย ๆ ภาพพร้อม ๆ กัน
(1) Cut
(2) Wipe
(3) Freeze Frame
(4) Split Screen
ตอบ 4 หน้า 114 สปลิตสกรีน (Split Screen) คือ เทคนิคการแบ่งกรอบภาพ (Frame) ออกเป็น ส่วน ๆ เพื่อนําเสนอภาพหลาย ๆ ภาพลงในหน้าจอเดียวกัน เช่น การเสนอภาพการถ่ายทอดสด ฟุตบอลและโฆษณาไปพร้อม ๆ กัน เป็นต้น

98. ส่วนประกอบใดในรายการโทรทัศน์ที่ใช้บอกเรื่องราวและสื่อความหมายได้ดีที่สุด
(1) คําพูด
(2) เสียงประกอบ
(3) แสง
(4) ภาพ
ตอบ 4 หน้า 106, 108, 117, (คําบรรยาย) ในการผลิตรายการทางสื่อวิทยุโทรทัศน์จะถือว่าภาพ (Image) เป็นอวัจนภาษาที่เป็นภาษาหลักและมีความสําคัญที่สุดในโทรทัศน์ เพราะภาพจะช่วย บอกเรื่องราวและสื่อความหมายได้ดีที่สุด ส่วนคําบรรยาย (Narrative or Commentary) เป็นวัจนภาษาที่เป็นภาษารอง ซึ่งจะช่วยเสริมความเข้าใจให้ผู้ชมเมื่อดูภาพอย่างเดียวแล้ว ไม่สามารถเข้าใจได้ นอกจากนี้อวัจนภาษาประเภทอื่น เช่น ดนตรี แสง สี เสียง ขนาด และ มุมกล้องจะเป็นตัวช่วยเสริมเพื่อสื่อเรื่องราวในภาพให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

99. หากต้องการนําเสนอภาพมุมกว้าง ควรใช้เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องข้อใด
(1) แพน
(2) ดอลลี่
(3) ทิลท์
(4) ทรัค
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 95. ประกอบ

100. คําสนทนาในรายการโทรทัศน์มีหน้าที่อะไร
(1) บอกเล่าเรื่องราว
(2) เน้นจังหวะลีลาตามเนื้อเรื่อง
(3) สร้างบรรยากาศ
(4) เสริมความหมาย
ตอบ 1หน้า 106, (คําบรรยาย) คําสนทนา (Dialogue) เป็นรูปแบบหนึ่งของวัจนภาษาซึ่งผู้ชมคุ้นหู มากที่สุดในบรรดาเสียงที่ปรากฏทางรายการโทรทัศน์ โดยมักเป็นส่วนที่บอกเล่าเรื่องราวเนื้อหา บอกบุคลิกของผู้แสดง บอกช่วงเวลาของเหตุการณ์ และบอกสถานที่ ดังนั้นผู้ผลิตรายการ จึงมักใช้เพื่อให้ความหมายแก่ภาพใน 4 ลักษณะ คือ
1. เพื่อให้ข้อมูลรายละเอียด
2. เพื่อบอกบุคลิกลักษณะของผู้แสดง
3. เพื่อดําเนินเรื่องหรือเชื่อมฉาก 2 ฉากเข้าด้วยกัน
4. เพื่อแสดงอารมณ์ให้สอดคล้องกับภาพ

 

Advertisement