การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2558
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2260 (MCS 2201) การรายงานข่าว
คําแนะนํา ข้อสอบมีทั้งหมด 8 ข้อ ให้นักศึกษาทําข้อสอบทุกข้อ

ข้อ 1. ถ้านักศึกษาเป็นผู้สื่อข่าวที่ได้รับมอบหมายให้ไปทําข่าวผลกระทบของพายุไต้ฝุ่นต่อประเทศไทย
จงวางแผนการทําข่าวดังกล่าว พร้อมทั้งระบุด้วยว่าจะรายงานสถานการณ์นี้ในแง่มุมหรือประเด็นใด
ได้บ้าง

Advertisement

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)
การวางแผนการทําข่าวดังกล่าว มีดังนี้

– สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อคิดหาแหล่งข่าวที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับ เรื่องนี้ได้ และเตรียมตั้งคําถามไว้ก่อนล่วงหน้า
– สัมภาษณ์แหล่งข่าว เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ สถาบัน สารสนเทศทรัพยากรน้ําและการเกษตร ฯลฯ
– ฟังและจับประเด็นสําคัญจากการสัมภาษณ์ให้ได้
– ตั้งคําถามในประเด็นที่อยากรู้เพิ่มเติม
– ผู้สื่อข่าวอาจต้องหาข้อมูลเสริมเกี่ยวกับพายุไต้ฝุ่นดังกล่าวจากเว็บไซต์ต่าง ๆ หรือ
ประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา
– เรียบเรียงข้อมูลมาเขียนเป็นข่าว

ประเด็น/แง่มุมที่ควรรายงานในเหตุการณ์ดังกล่าว มีดังนี้
– พายุไต้ฝุ่นดังกล่าวชื่ออะไร มีจุดศูนย์กลางและก่อตัวขึ้นที่ไหน มีทิศทางจะพัดผ่าน
ประเทศใดบ้าง
– ประกาศเตือนของกรมอุตุนิยมวิทยา และผลกระทบต่อประเทศไทย
– พื้นที่ที่ควรเฝ้าระวังปริมาณน้ําฝนและอุทกภัยมีจังหวัดใดบ้าง และจะได้รับผลกระทบ
ตั้งแต่วันที่เท่าใดถึงวันไหน รวมทั้งผลกระทบต่อการเดินเรือของชาวประมง
– สภาพความเสียหายที่เกิดขึ้นจากพายุไต้ฝุ่นดังกล่าว มีบ้านเรือนเสียหายกี่หลัง มีผู้เสียชีวิต สูญหาย และบาดเจ็บกี่คน
– ข้อมูลเสริมเกี่ยวกับพายุไต้ฝุ่นดังกล่าว มีความเร็วลมเท่าใด และได้สร้างความเสียหาย ที่ประเทศใดมาบ้างก่อนจะมาถึงประเทศไทย

ข้อ 2. ถ้านักศึกษาเป็นผู้สื่อข่าวที่ได้รับมอบหมายให้ไปทําข่าวเกี่ยวกับทางออกอินเทอร์เน็ตทางเดียว ทั่วประเทศ หรือซิงเกิล เกตเวย์ ควรสัมภาษณ์ใครบ้าง หรือหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลใด และควร
รายงานเนื้อหาอะไรบ้าง ไม่ต้องเขียนเนื้อข่าว

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 15 – 17), (คําบรรยาย)

การรายงานข่าวข้างต้นควรสัมภาษณ์ หรือหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูล ดังนี้

– นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี โฆษกรัฐบาล
– กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)
– บริษัท CAT และ TOT
– กลุ่มต่อต้านซิงเกิล เกตเวย์
– เว็บไซต์ที่รวบรวมรายชื่อผู้ต่อต้านซิงเกิล เกตเวย์
– เว็บไซต์รัฐบาลที่โดนกลุ่มต่อต้านถล่มจนใช้การไม่ได้
– เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบซิงเกิล เกตเวย์
– หนังสือ เอกสาร หรือข้อสั่งการของรัฐบาลที่มีเนื้อหาเร่งรัดการจัดตั้งระบบซิงเกิล เกตเวย์
– แถลงการณ์หรือคําชี้แจงจากฝ่ายรัฐบาล หลังจากเกิดกระแสต่อต้านอย่างรุนแรง และ มีการแสดงออกด้วยการเข้าไปถล่มหลายเว็บไซต์ของรัฐบาล

ข่าวข้างต้นควรรายงานเนื้อหาต่าง ๆ ดังนี้
– รัฐบาลมีแนวคิดที่จะจัดตั้งระบบซิงเกิล เกตเวย์ คืออะไร และให้หน่วยงานใดบ้างเป็น ผู้รับผิดชอบ โดยจะเร่งดําเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมภายในปีงบประมาณใด
– วัตถุประสงค์การจัดตั้งระบบซิงเกิล เกตเวย์ ของรัฐบาล
– กระแสต่อต้านจากผู้คัดค้าน และเหตุผลที่ต้องต่อต้านซิงเกิล เกตเวย์
– การรวบรวมรายชื่อผู้ต่อต้านซิงเกิล เกตเวย์
– วิธีดําเนินการต่อต้านซิงเกิล เกตเวย์ และการนัดรวมพลังกันไปถล่มเว็บไซต์ของรัฐบาล ได้แก่ เว็บไซต์ใดบ้าง และผลเป็นอย่างไร
– คําชี้แจงจากฝ่ายรัฐบาลหลังเกิดการต่อต้าน และมาตรการดําเนินการกับผู้ต่อต้านที่ ไปถล่มเว็บไซต์ของรัฐบาล
– ข้อมูลเสริมเกี่ยวกับระบบซิงเกิล เกตเวย์ หมายถึงอะไร ข้อดีและข้อเสีย รวมทั้งมี ประเทศไหนหรือไม่ที่ใช้ระบบนี้

ข้อ 3. ในการเขียนข่าวการก่อจลาจลหน้าสถานีตํารวจภูธรถลาง จ.ภูเก็ต ควรระบุถึงคุณลักษณะ/คุณสมบัติ (Identification) อะไรบ้างในข่าว ยกตัวอย่างประกอบพอเข้าใจ ไม่ต้องเขียนเนื้อข่าว
มีดังนี้

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 119 – 122), (คําบรรยาย)

คุณลักษณะที่ต้องระบุในการเขียนข่าวการก่อจลาจลหน้าสถานีตํารวจภูธรถลาง จ.ภูเก็ต

1. คุณลักษณะของบุคคล ได้แก่

– ชื่อ-นามสกุลของวัยรุ่น 2 คน ที่เป็นต้นเหตุและถูกตํารวจขับรถเฉี่ยวชนจนเสียชีวิต ชื่อ-นามสกุลของตํารวจที่มาตั้งด่านเพื่อสกัดจับวัยรุ่นดังกล่าว, ชื่อ-นามสกุล ของผู้บังคับการสถานีตํารวจภูธรถลาง จ.ภูเก็ต, ผู้ว่าราชการ จ.ภูเก็ต และ เจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มาช่วยเจรจากับชาวบ้านที่ก่อการจลาจล
– อายุของวัยรุ่นที่เสียชีวิต อาชีพของวัยรุ่นที่เสียชีวิต
– ยศหรือตําแหน่งของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
– ที่อยู่ของวัยรุ่นที่เสียชีวิต

2. คุณลักษณะของสถานที่ ได้แก่ เหตุการณ์การก่อจลาจลเกิดขึ้นที่หน้าสถานีตํารวจ อะไร ที่ไหน ซึ่งต้องระบุคุณลักษณะโดยการบอกที่ตั้ง เลขที่ ซอย ถนน ตําบล อําเภอ และจังหวัด หากสถานที่แห่งนั้น อยู่ใกล้กับสถานที่ราชการหรือสถานที่ที่เป็นที่รู้จักกันดีก็ต้องระบุลงไปด้วย

3. คุณลักษณะของเหตุการณ์ ได้แก่ ลําดับเหตุการณ์การก่อจลาจลตั้งแต่สาเหตุของการ ก่อเหตุ ชาวบ้านไม่พอใจตํารวจเรื่องอะไร จากนั้นชาวบ้านมารวมตัวกันที่ไหน และเหตุการณ์บานปลายไป อย่างไร จบลงอย่างไร ผลที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์จบลงแล้วมีสภาพความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร จํานวนผู้บาดเจ็บ คําพูดของผู้เห็นเหตุการณ์ และการดําเนินคดีของเจ้าหน้าที่ตํารวจ

ข้อ 4. ถ้านักศึกษาได้รับมอบหมายให้รายงานข่าวนักศึกษาหลายสิบคนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งป่วย
ด้วยโรคไข้เลือดออก

4.1 อยากทราบว่าจะหาข้อมูลได้จากแหล่งข่าวใด และควรนําเสนอประเด็นใดบ้าง
4.2 ควรนําเสนอข้อมูลใดหรือประเด็นใดบ้างในส่วนเชื่อมของข่าว ไม่ต้องเขียนเนื้อข่าว

แนวคําตอบ
(เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 15 – 17, 83 – 91), (คําบรรยาย)

4.1 แหล่งข่าวและประเด็นที่ควรนําเสนอ มีดังนี้

1. แหล่งข่าวจากข่าวข้างต้น ได้แก่

– โรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุขในเขตพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด
– อธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งนั้น
– นักศึกษาที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

– สํานักงานเขตในพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยแห่งนั้นตั้งอยู่
– สํานักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข
– เว็บไซต์ข้อมูลเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก

2. ประเด็นที่ควรนําเสนอในข่าวข้างต้น ได้แก่

– พบการระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มหาวิทยาลัยอะไร มีจํานวนนักศึกษาป่วย ทั้งหมดกี่คน รักษาตัวที่ไหน และอาการเป็นอย่างไร
– อธิการบดีได้ดําเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกในมหาวิทยาลัยอย่างไร และ
ด้วยวิธีการใด
– สํานักงานเขตในพื้นที่นั้น ๆ มีการรณรงค์ให้ความรู้ประชาชน เพื่อป้องกัน กําจัด และควบคุมโรคในพื้นที่นั้น ๆ อย่างไร
– ข้อมูลเสริมเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก การรักษา และการป้องกันโรค
– ข้อมูลเสริมเกี่ยวกับสถิติผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในปีนี้ของประเทศไทย มีผู้ป่วยที่คน
เสียชีวิตกี่คน

4.2 ข้อมูลหรือประเด็นที่ควรนําเสนอในส่วนเชื่อมของข่าว มีดังนี้
– อาจระบุคุณลักษณะของบุคคลในข่าว โดยบอกชื่อ-นามสกุล ตําแหน่งทางวิชาการ ชั้นปีที่นักศึกษากําลังศึกษาอยู่ ชื่อคณะ ชื่อมหาวิทยาลัย และที่อยู่
– อาจให้ภูมิหลังหรือความเป็นมาเกี่ยวกับสถิติจํานวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับปีนี้ มีจํานวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นหรือลดลง
– ให้ข้อมูลเสริมเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก อาการ แนวทางการรักษา สาเหตุการเกิดโรค การแพร่เชื้อ การป้องกัน และการกําจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลาย

ข้อ 5. เหตุใดสื่อมวลชนจึงให้ความสนใจรายงานข่าววางระเบิดศาลท้าวมหาพรหมย่านราชประสงค์
อธิบายโดยใช้หลักการด้านคุณค่าเชิงข่าว

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 2 – 6), (คําบรรยาย)
(News Values) ดังนี้

เหตุการณ์ดังกล่าวได้รับการรายงานเป็นข่าวในสื่อมวลชนไทย เนื่องจากมีคุณค่าเชิงข่าว

1. เร้าความสนใจของมนุษย์ คือ ทําให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ต่าง ๆ เช่น ตกใจ ตื่นตระหนก และหวาดกลัวต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรือรู้สึกสงสารผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตจากเหตุระเบิดดังกล่าว

2. ความเกี่ยวพันกับผู้รับสาร/ผลกระทบ คือ เป็นเหตุการณ์ที่มีความเกี่ยวพันกับผู้รับสาร ในแง่การเป็นอุทาหรณ์สอนใจ บอกให้คนระวังภัยจากการก่อวินาศภัย นอกจากนี้ยังเป็นเหตุการณ์ที่มีผลกระทบ ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนจํานวนมากที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเป้าหมายในการวางระเบิดครั้งนี้

3. ความเปลี่ยนแปลง คือ เป็นเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หรือเปลี่ยนแปลงไป
จากสภาพปกติที่เคยเป็น

4. ความใกล้ชิด คือ เป็นเรื่องราวที่ใกล้ตัว เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งเป็นความใกล้ชิดทาง
กายระหว่างผู้อ่านกับตัวเหตุการณ์

5. ความโดดเด่น ดัง ชื่อเสียง คือ เป็นเหตุการณ์ที่มีความโดดเด่นในตัวเหตุการณ์ และ ความมีชื่อเสียงของสถานที่เกิดเหตุ ซึ่งเป็นจุดท่องเที่ยวที่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

6. ความไม่คาดคิด เงื่อนงํา/ฉงนสนเท่ห์ คือ เป็นเรื่องที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น และยังเป็น เหตุการณ์ที่มีเงื่อนงําว่าเป็นการก่อการร้าย หรือเป็นเรื่องทางการเมือง หรือเป็นการแก้แค้นรัฐบาลไทย นอกจากนี้ คนร้ายเป็นใคร คนไทยหรือคนต่างชาติ จึงเป็นเรื่องที่ทําให้ผู้อ่านเกิดความฉงนสนเท่ห์ ทําให้ต้องติดตามเรื่องราวต่อไป

7. ความขัดแย้ง คือ เป็นเหตุการณ์ที่มีความขัดแย้งทางกายและความคิด

8. ความทันต่อกาลเวลา คือ เป็นเหตุการณ์ที่สดใหม่ หรือเพิ่งเกิดขึ้นสด ๆ ร้อน ๆ

ข้อ 6. จากหลักการเกี่ยวกับการรายงานข่าวอาชญากรรม
6.1 ประเด็นข่าวที่ควรรายงานมีอะไรบ้าง
6.2 แต่ละประเด็นในข้อ 6.1 มีแหล่งข่าวอะไรบ้าง

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 15 – 17, 167 – 173), (คําบรรยาย)

6.1 ประเด็นข่าวที่ควรรายงานในข่าวอาชญากรรม ได้แก่

1. นักเรียนเทคนิคดักยิงนักเรียนคู่อริบนรถเมล์
2. อุบัติเหตุรถบรรทุกแก๊สพลิกคว่ำ
3. นักร้องดังโดดคอนโดหรู ฆ่าตัวตายปริศนา

6.2 แหล่งข่าวในแต่ละประเด็นข้างต้น มีดังนี้

1. นักเรียนเทคนิคดักยิงนักเรียนคู่อริบนรถเมล์

– เจ้าหน้าที่ตํารวจในท้องที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่มูลนิธิการกุศลต่าง ๆ
– โรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล
– คนขับรถเมล์ กระเป๋ารถเมล์ ผู้โดยสารรถเมล์สายนั้น
– พยานแวดล้อมที่เห็นเหตุการณ์
– พ่อแม่ ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงของผู้เสียชีวิต
– ผู้บริหารโรงเรียนเทคนิค คณะกรรมการอาชีวศึกษา

2. อุบัติเหตุรถบรรทุกแก๊สพลิกคว่ำ
– เจ้าหน้าที่ตํารวจในท้องที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่มูลนิธิการกุศลต่าง ๆ
– เจ้าหน้าที่ดับเพลิง ผู้เชี่ยวชาญบริษัทขนส่งแก๊ส
– โรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล
– พยานแวดล้อมที่เห็นเหตุการณ์
– คนขับรถบรรทุกแก๊ส ผู้บริหารของบริษัทขนส่งแก๊ส
– ประชาชนและชาวบ้านในละแวกนั้นที่ได้รับผลกระทบ

3. นักร้องดังโดดคอนโดหรู ฆ่าตัวตายปริศนา
– เจ้าหน้าที่ตํารวจในท้องที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่มูลนิธิการกุศลต่าง ๆ
– โรงพยาบาล แพทย์ที่ชันสูตรพลิกศพ
– พยานแวดล้อมที่เห็นเหตุการณ์
– เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในคอนโด
– พ่อแม่ ญาติพี่น้อง คนรัก และเพื่อนฝูงของผู้เสียชีวิต
– กล้องวงจรปิดภายในและภายนอกคอนโด
– หลักฐานและวัตถุพยานในที่เกิดเหตุ

ข้อ 7. จากข้อมูลในเว็บไซต์เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย http://www.thaiplus.net/ node/201 ต่อไปนี้ จงเขียนเนื้อข่าวและหัวข่าวสําหรับหนังสือพิมพ์หรือหนังสือพิมพ์ออนไลน์

วันที่ 7 ตุลาคม 2558

ขอเรียกร้องให้ผู้จัดละคร “เพื่อนรักเพื่อนริษยา” และสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ให้ ข้อมูลที่ถูกต้องในเรื่องเอชไอวี/เอดส์

เรียน ผู้บริหารบริษัท บ้านละคอน จํากัด

สําเนา ผู้บริหารสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3

ตามที่ละครเรื่อง “เพื่อนรักเพื่อนริษยา” ของบริษัท บ้านละคอน จํากัด ที่ออกอากาศใน วันที่ 6 ตุลาคม ที่มีฉากหนึ่งของเรื่องเป็นฉากที่หนึ่งในตัวแสดงหลักติดเชื้อเอชไอวีเข้ารักษาตัวใน โรงพยาบาลและเสียชีวิตจากเอดส์นั้น ทางเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย และมูลนิธิ เข้าถึงเอดส์ เห็นว่า ฉากดังกล่าวเป็นการสร้างความเข้าใจผิดในเรื่องเอชไอวี/เอดส์ อย่างร้ายแรง ดังนี้

1. การสื่อสารว่าโรคเอดส์มีระยะสุดท้าย และระยะวิกฤติ รวมทั้งการให้ภาพผู้ป่วยที่มีแผล เหวอะหวะและมีเลือดออกทั้งร่างกาย จะทําให้สังคมเข้าใจผิด เกิดความกลัว รังเกียจ ไม่อยากเข้าใกล้ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี และ

2. การสื่อสารว่าเมื่อติดเชื้อเอชไอวีแล้วจะต้องเสียชีวิต

ทั้งนี้การสื่อสารดังกล่าวเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงในเรื่องเอชไอวี/เอดส์ที่ว่า โรคเอดส์ ไม่ได้แบ่งเป็นระยะดังกล่าว แต่แบ่งเป็น “ผู้ติดเชื้อเอชไอวี” กับ “ผู้ป่วยเอดส์” ซึ่งแตกต่างกันที่ผู้ติดเชื้อฯ คือ ผู้ที่ได้รับเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายแล้วยังไม่มีอาการป่วยใด ๆ ในขณะที่ผู้ป่วยเอดส์ คือ ผู้ที่ป่วย ด้วยโรคฉวยโอกาส อันเกิดจากภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งโรคฉวยโอกาสทุกโรคสามารถรักษาให้หายได้ ผู้ป่วยด้วยโรคฉวยโอกาสเมื่อได้รับการรักษาและหายป่วยแล้วก็จะกลับมาเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีตามเดิมซึ่งไม่มีโรคฉวยโอกาสที่ทําให้มีลักษณะเหมือนที่ละครได้สื่อสารออกไป

อย่างไรก็ตามผู้ติดเชื้อเอชไอวีเมื่อรู้ตัวว่ามีเชื้อฯ ไม่จําเป็นจะต้องป่วยเอดส์ เพราะปัจจุบัน มีการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี ซึ่งครอบคลุมอยู่ในสิทธิประโยชน์ของหลักประกันสุขภาพที่ทําให้ ผู้ติดเชื้อฯ ทุกคนได้รับยาต้านไวรัสฯ ทันที และเริ่มยาเร็วเท่าไหร่ยิ่งทําให้ภูมิคุ้มกันไม่ถูกทําลาย ทําให้ มีสุขภาพแข็งแรง เรียนได้ ทํางานได้ ไม่แตกต่างจากคนทั่วไป และดูไม่ออกจากรูปลักษณ์ภายนอก โดยเมื่อผู้ติดเชื้อฯ เข้าสู่การรักษาดังเช่นตัวละครในเรื่องเพื่อนรักเพื่อนริษยาแล้ว ผู้ติดเชื้อฯ คนดังกล่าว ก็จะไม่ได้มีสภาพป่วยโทรม และต้องเสียชีวิตในที่สุด

อนึ่งการสื่อสารที่บิดเบือนข้อเท็จจริง และผลิตซ้ําความเข้าใจผิดในเรื่องเอชไอวี/เอดส์นั้น จะส่งผลให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีอยู่ในสังคมได้อย่างยากลําบาก เกิดการรังเกียจ ไม่รับเข้าเรียน ไม่รับเข้า ทํางาน กีดกันไม่ให้อยู่ร่วมกันในสังคม เพราะเชื่อว่าติดเชื้อฯ แล้ว สุดท้ายจะเป็นดังภาพที่ละครได้ เสนอออกมา ทั้งที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีก็ไม่แตกต่างจากคนทั่ว ๆ ไป รวมทั้งยังส่งผลให้คนที่มีโอกาสเสี่ยง ในการติดเชื้อฯ ซึ่งหมายถึง ทุกคนที่มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน ไม่กล้าเข้ามารับการตรวจรักษา เพราะ เชื่อว่ารักษาไม่หาย เมื่อติดเชื้อเอชไอวีแล้วก็ต้องเสียชีวิตอย่างทรมาน

ยิ่งไปกว่านั้นก็จะส่งผลให้คนที่มีเพศสัมพันธ์มองความเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวีของตนเองพลาด และไม่ได้ป้องกัน เพราะคิดว่าคนที่ตัวเองมีเพศสัมพันธ์ด้วยไม่มีเชื้อเอชไอวีแน่นอน เพราะถ้ามีเชื้อฯ
ต้องแสดงอาการป่วยให้เห็นเหมือนในละคร

อย่างไรก็ดีผลกระทบทั้งหมดนี้จะเป็นการสร้างปัญหาในการทํางานป้องกันและแก้ไขปัญหา
ด้านเอดส์ให้กับสังคมและประเทศในระยะยาว

เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย และมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ซึ่งเป็นองค์กรสาธารณะ ประโยชน์ที่ทํางานในเรื่องเอชไอวี/เอดส์มากว่า 20 ปี ขอเรียกร้องให้ผู้จัดละคร “เพื่อนรักเพื่อนริษยา” และผู้บริหารสถานีวิทยุโทรทัศน์ฯ รับผิดชอบด้วยการแก้ไขข้อมูล และให้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและ รอบด้านแก่สังคม ผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่ทางสถานีมีโดยด่วน ไม่ว่าจะผ่านรายการข่าว สกู๊ป หรือ เว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องเอชไอวี/เอดส์ให้แก่สังคม โดยทางเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ ยินดีส่งตัวแทน “ผู้ติดเชื้อเอชไอวี” ที่พร้อมเปิดเผยตนเองเข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การอยู่ร่วมกับ เชื้อเอชไอวีและให้ข้อมูลข้อเท็จจริงแก่ผู้จัดละคร/ผู้บริหารสถานีฯ หรือเผยแพร่ให้ผู้ชมรับทราบจาก
กรณีดังกล่าว

หากทางผู้จัดละครหรือผู้บริหารสถานีวิทยุโทรทัศน์ฯ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องเอชไอวี/เอดส์ สามารถดูได้ที่ www.thaiplus.net หรือติดต่อคุณอภิวัฒน์ กวางแก้ว โทร. 086-8814699

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 29 – 31, 91 – 118), (คําบรรยาย)

หัวข่าว

องค์กรเอดส์ชี้ “เพื่อนรักเพื่อนริษยา” บิดเบือนข้อมูลเรื่อง HIV เนื้อข่าว

เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย และมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ซึ่งเป็นองค์กรสาธารณะ ประโยชน์ที่ทํางานในเรื่องเอชไอวี/เอดส์มากว่า 20 ปี ได้ทําหนังสือถึงผู้บริหารบริษัท บ้านละคอน จํากัด และผู้บริหาร สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 โดยเผยแพร่ในเว็บไซต์ http://www.thaiplus.net/node/201 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2558 ระบุว่า จากกรณีที่ละครเรื่อง “เพื่อนรักเพื่อนริษยา” ของบริษัท บ้านละคอน จํากัด ที่ออกอากาศ ในวันที่ 6 ตุลาคม มีฉากที่ตัวแสดงหลักติดเชื้อเอชไอวีเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและเสียชีวิต โดยมีการสื่อสารว่าผู้ป่วยเอดส์ก่อนตายจะมีแผลเหวอะหวะและมีเลือดออกทั้งร่างกาย รวมทั้งการสื่อสารว่าเมื่อติดเชื้อเอชไอวีแล้วจะต้องเสียชีวิตนั้น

การสื่อสารดังกล่าวเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง และสร้างความเข้าใจผิดในเรื่องเอชไอวี/เอดส์
ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีอยู่ในสังคมได้อย่างยากลําบาก เกิดการรังเกียจ ไม่รับเข้าเรียน ไม่รับเข้าทํางาน กีดกันไม่ให้ อยู่ร่วมกันในสังคม เพราะเชื่อว่าติดเชื้อเอชไอวีแล้ว สุดท้ายจะเป็นดังภาพที่ละครได้เสนอออกมา

ทางเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย และมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ จึงขอเรียกร้องให้ ผู้จัดละคร “เพื่อนรักเพื่อนริษยา” และผู้บริหารสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 รับผิดชอบด้วยการแก้ไขข้อมูล ให้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและรอบด้านแก่สังคม ผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่ทางสถานีมีโดยด่วน ทั้งนี้เพื่อสร้างความเข้าใจ ที่ถูกต้องในเรื่องเอชไอวี/เอดส์ให้แก่สังคม

ข้อ 8. หากนักศึกษาได้รับมอบหมายให้รายงานข่าวต่อเนื่องจากเหตุการณ์ในข้อ 7. ควรใช้แหล่งข่าวใด
และรายงานในประเด็นใดบ้าง

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MC 221 หน้า 15 – 17), (คําบรรยาย)

แหล่งข่าวในการรายงานข่าวต่อเนื่องจากเหตุการณ์ในข้อ 7. ได้แก่

– ผู้บริหารบริษัท บ้านละคอน จํากัด
– ผู้บริหารสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
– โรงพยาบาล หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเอชไอวี/เอดส์
– ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์
– เว็บไซต์ข้อมูลเกี่ยวกับโรคเอดส์และการดูแลรักษาผู้ป่วยเอดส์

ประเด็นที่ควรรายงานในเหตุการณ์ดังกล่าว ได้แก่

– ผู้บริหารบริษัท บ้านละคอน จํากัด ได้แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและดําเนินการ แก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องเรื่องโรคเอดส์อย่างไร ผ่านทางช่องทางใดของสถานี
– ผู้บริหารสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ได้มีมาตรการดูแลป้องกันอย่างไรต่อเนื้อหา ของละครที่มีข้อมูลบิดเบือนความเป็นจริง และอาจสร้างความเข้าใจผิดให้กับสังคม
– การรักษาและอาการของโรคเอดส์ตามข้อมูลที่ถูกต้องเป็นอย่างไร
– ข้อมูลเสริมจากผู้ติดเชื้อเอชไอวีและประสบการณ์การอยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีในสังคม

Advertisement