การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2390 (MCS 2108) เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารมวลชน
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
ข้อ 1. – 10. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) News Letter
(2) www.kapook.com
(3) Digital Language
(4) Spoken Language
1 ภาษาแรกเริ่มของมนุษยชาติ
ตอบ 4 หน้า 1, 6 – 7 เทคโนโลยีทางการสื่อสารพื้นฐานของมนุษยชาติ คือ การเรียนรู้การใช้อวัยวะ ที่ติดตัวมาตั้งแต่กําเนิดเป็นเครื่องมือหรือช่องทางในการสื่อสารระหว่างกัน อันได้แก่ ภาษากาย (Body Language) และภาษาพูด (Spoken Language) ซึ่งเกิดขึ้นในลําดับเวลาใกล้เคียงกัน แต่อย่างไรก็ดีภาษาพูด (Spoken Language) ที่ถือเป็นวัจนภาษา (Verbal Language) ได้ถูก บันทึกว่าเป็นภาษาแรกเริ่มของมนุษยชาติ
2 จัดเป็น New Media
ตอบ 2 หน้า 35 – 50, 109, (คําบรรยาย) สื่อใหม่ (New Media) ได้แก่ อินเทอร์เน็ต, สื่อออนไลน์, เว็บไซต์ (เช่น www.kapook.com), อีเมล (E-mail) ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะสําคัญดังนี้
1 มีการใช้ภาษาระบบตัวเลขหรือภาษาดิจิทัล (Digital Language) เป็นกลไกในการสื่อสาร ข้อมูลและกระบวนการทํางานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2 ผู้รับสารมีลักษณะ Active Seeker คือ ผู้รับสารกระตือรือร้นเสาะแสวงหาข้อมูลข่าวสาร ด้วยตัวเองตามความสนใจและความอยากรู้อยากเห็นของตัวเองอย่างอิสรเสรี
3 มีช่องทางการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารในลักษณะของการสื่อสารแบบ
สองทาง (Two-way Communication) ฯลฯ
3 เทคโนโลยีทางการสื่อสารพื้นฐานของมนุษยชาติ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ
4 ผู้รับสารมีลักษณะเป็น Active Seeker
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ
5 ผู้รับสารมีลักษณะเป็น Passive Audience
ตอบ 1 หน้า 17, 27, 32 – 33 สื่อดั้งเดิม (Traditional Media) ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ (เช่น หนังสือพิมพ์ จดหมายข่าว (News Letter), นิตยสาร, วารสาร ฯลฯ) สื่อวิทยุโทรทัศน์ สื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อภาพยนตร์ ฯลฯ มีลักษณะของผู้รับสารดังนี้
1 ผู้รับสารในสังคมคุ้นเคยและมีทัศนคติเชิงบวกต่อการเปิดรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อดั้งเดิม
2 ผู้รับสารมีลักษณะ Passive Audience คือ มีหน้าที่เปิดรับข้อมูลข่าวสาร และจะได้รับข้อมูล ข่าวสารก็ต่อเมื่อผู้ส่งสารนําเสนอหรือส่งสารผ่านสื่อหรือช่องทางการสื่อสารมาสู่ผู้รับสารเท่านั้น
3 มีลักษณะการสื่อสารไปยังผู้รับสารแบบทางเดียว (One-way Communication) ดังนั้น จึงแทบไม่มีช่องทางในการรับรู้ปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) ของผู้รับสาร ฯลฯ
6 กลไกในการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ
7 นําเสนอเนื้อหาสารในรูปภาษาเขียน
ตอบ 1 หน้า 17, 27 – 28, 33 คุณลักษณะของสื่อสิ่งพิมพ์ (Printed Media) เช่น วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร จดหมายข่าว (News Letter) ฯลฯ ซึ่งจัดเป็นสื่อแบบดั้งเดิม มีดังนี้
1 เข้าถึงกลุ่มผู้รับสารได้อย่างกว้างขวาง
2 นําเสนอเนื้อหาสารในรูปภาษาเขียน (ตัวอักษร) และภาพ
3 มีความน่าเชื่อถือสูง จึงมักถูกใช้เป็นสื่อเพื่อการอ้างอิง (Referenced Media)
4 มีความคงทนสูง คือ ผู้รับสารสามารถย้อนกลับไปเปิดรับเนื้อหาสารจากสื่อได้ซ้ำครั้งตามที่ตนต้องการ
5 จัดเป็นสื่อสารมวลชนสื่อแรกที่มีความเก่าแก่ที่สุด ฯลฯ
8 มีช่องทางในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ
9 สื่อแบบดั้งเดิม มีความคงทนสูง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ
10 ภาษาระบบตัวเลข
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ
11 ในยุคแรกเริ่ม มนุษย์เรียนรู้ที่จะใช้เสียงในการสร้างภาษาพูด มนุษย์ยังเรียนรู้ที่จะ………..ในการ
สื่อความหมายด้วย (เติมคําในช่องว่าง)
(1) ภาษาเขียน
(4) ภาษาสัญลักษณ์
(2) ภาษาปาก
(5) ภาษาระบบตัวเลข
(3) ภาษากาย
ตอบ 3 หน้า 6 – 7 ในยุคแรกเริ่ม มนุษย์เรียนรู้ที่จะใช้เสียงในการสร้างภาษาพูด มนุษย์ยังเรียนรู้ที่ จะใช้ภาษากายในการสื่อความหมายด้วย ได้แก่ ภาษาท่าทาง เช่น การแสดงออกทางสีห การใช้มือสื่อความหมาย เป็นต้น
12 นับตั้งแต่มนุษย์มีที่อยู่อาศัยรวมกันเป็นหลักแหล่ง มนุษย์ก็ได้เรียนรู้ที่จะสื่อสารกันในลักษณะใด
(1) สื่อสารระหว่างบุคคล
(2) สื่อสารด้วยภาษากาย
(3) สื่อสารมวลชน
(4) สื่อสารด้วยภาษาเขียน
(5) สื่อสารด้วยภาษาพูด
ตอบ 1หน้า 7 การสื่อสารระหว่างบุคคล ถือเป็นรูปแบบการสื่อสารพื้นฐานของมนุษย์ นับตั้งแต่ มนุษย์ถือกําเนิดขึ้นบนโลก เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องมีที่อยู่อาศัย รวมกันเป็นหลักแหล่ง ดังนั้นการสื่อสารจึงเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ในการ ถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้สึก ความต้องการ ความรู้ และประสบการณ์ต่าง ๆ เพื่อดํารงชีวิตอยู่ร่วมกันในชุมชนหรือสังคม
13 ข้อใดคือความหมายที่ถูกต้องที่สุดของคําว่า สื่อแบบดั้งเดิม (Traditional Media)
(1) สื่อที่เกิดขึ้นและมีบทบาทในสังคมมนุษย์มาเนิ่นนาน
(2) สื่อที่มนุษย์ในสังคมส่วนใหญ่มีความคุ้นเคย
(3) สื่อที่เคยมีบทบาทในสังคมมนุษย์ แต่ปัจจุบันกําลังลดบทบาทลง
(4) สื่อที่ทําหน้าที่ส่งสารตัวหนังสือหรือเสียงหรือภาพเพียงอย่างเดียวผ่านช่องทางการสื่อสาร
(5) สื่อที่มีรูปแบบการส่งสารผ่านช่องทางการสื่อสารแบบแอนะล็อก
ตอบ 4 หน้า 14 นิยามของสื่อแบบดั้งเดิม (Traditional Media) ประกอบด้วย
1 สื่อที่ทําหน้าที่ส่งสารเพียงอย่างเดียว หมายถึง สื่อที่ทําหน้าที่ส่งสารในรูปตัวหนังสือ หรือเสียงหรือภาพเพียงอย่างเดียวผ่านช่องทางการสื่อสาร ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อวิทยุกระจายเสียง
2 สื่อที่ทําหน้าที่ส่งสารสองอย่าง หมายถึง สื่อที่ทําหน้าที่ส่งสารทั้งในรูปภาพและเสียง พร้อมกันผ่านช่องทางการสื่อสาร ได้แก่ สื่อวิทยุโทรทัศน์ และสื่อภาพยนตร์
14 ไอโคโนสโคป (Iconoscope) เป็นอุปกรณ์ในระบบการทํางานของสื่อใด
(1) โทรทัศน์จักรกล
(2) โทรทัศน์อิเล็กทรอนิกส์
(3) โทรทัศน์ระบบดิจิทัล
(4) สื่อวิทยุกระจายเสียง
(5) สื่อภาพยนตร์
ตอบ 2 หน้า 23 – 24 นักประดิษฐ์ที่มีบทบาทสําคัญในการพัฒนาระบบโทรทัศน์อิเล็กทรอนิกส์ คือ วลาดิเมียร์ คอสมิช ซวอริกิน (Vladimir Kozmich Zworykin) ผู้ค้นพบหลอดจับภาพ ที่เรียกว่า “ไอโคโนสโคป” (Iconoscope) และได้จดทะเบียนใน ค.ศ. 1923 จึงนับเป็นผู้ที่ คิดค้นอุปกรณ์ในระบบโทรทัศน์ที่เป็นต้นแบบการพัฒนาโทรทัศน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
15 Hertzian Wave เป็นการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่นําสู่การประดิษฐ์สื่อใด
(1) สื่อวิทยุกระจายเสียง
(2) สื่อสิ่งพิมพ์
(3) สื่อภาพยนตร์
(4) สื่ออินเทอร์เน็ต
(5) สื่อคอมพิวเตอร์
ตอบ 1 หน้า 20 ในปี ค.ศ. 1887 Henrich Rudolf Hertz ได้ค้นคว้าทดลองตามหลักการของ Maxwell โดยออกแบบการทดลองแพร่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือคลื่นวิทยุด้วยการใช้ไฟฟ้า กระแสสลับ ความถี่สูง และในปี ค.ศ. 1888 เขาได้ตั้งชื่อว่า “Hertzian Wave” ซึ่งก็คือ คลื่นวิทยุ อันจะนําไปสู่การประดิษฐ์สื่อวิทยุกระจายเสียงในเวลาต่อมา
16 ข้อใดคือคุณลักษณะของสื่อวิทยุกระจายเสียง (Radio)
(1) มีความคงทนสูง
(2) สามารถนําเสนอเนื้อหาสารในลักษณะ Shifted Time
(3) ผู้รับสารต้องอาศัยทักษะในการอ่านออกเขียนได้ในการเปิดรับสาร
(4) สามารถนําเสนอเนื้อหาสารในลักษณะ Multimedia
(5) ทําลายข้อจํากัดในการอ่านออกเขียนได้ของผู้รับสาร
ตอบ 5 หน้า 30 (คําบรรยาย) คุณลักษณะของสื่อวิทยุกระจายเสียง (Radio) มีดังนี้
1 ครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างขวาง เข้าถึงผู้รับสารได้อย่างครอบคลุม
2 มีความรวดเร็ว ทําให้ผู้ฟังได้รับข่าวสารทันต่อเวลาที่เกิดขึ้นจริง (Real Time)
3 เป็นสื่อที่ทําลายข้อจํากัดในการอ่านออกเขียนได้ของผู้รับสาร
4 เป็นสื่อที่มีความคงทนต่ํา คือ ผู้รับสารไม่สามารถย้อนกลับไปเปิดรับเนื้อหาสารได้ซ้ำครั้ง ตามที่ตนต้องการ ฯลฯ
17 มีรูปแบบการสื่อสารในลักษณะ One-way Communication คือลักษณะของสื่อใด
(1) Local Media
(2) New Media
(3) Traditional Media
(4) Alternative Media
(5) Social Media
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ
18 ลักษณะของผู้รับสารในข้อ 17 ตรงกับคําใด
(1) Active Seeker
(2) Active Receiver
(3) Passive Audience
(4) Passive Seeker
(5) Negative Audience
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ
19 สื่อนิตยสารเป็นสื่อที่มีความคงทนสูง หมายความว่าอย่างไร
(1) เป็นสื่อที่มีอายุการใช้งานยาวนาน
(2) เป็นสื่อที่มีเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีความเสถียรสูง
(3) เป็นสื่อที่ผู้รับสารสามารถเปิดรับสารได้ซ้ําครั้ง
(4) เป็นสื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีน้อยมาก
(5) เป็นสื่อที่ไม่ถูกคุกคามจากปัจจัยภายนอกได้อย่างง่ายดาย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 7 ประกอบ
20 ข้อใดคือความหมายของคําว่า การปฏิวัติแห่งระบบดิจิทัล (Digital Revolution)
(1) ข้อมูลข่าวสารในรูปข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ถูกแปลงให้เป็นภาษาดิจิทัล
(2) ข้อมูลข่าวสารในรูปภาษาดิจิทัล ถูกแปลงให้อยู่ในรูปข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
(3) ข้อมูลข่าวสารในรูปข้อความ ถูกแปลงให้เป็นสัญญาณเสียง
(4) ข้อมูลข่าวสารในรูปสัญญาณเสียง ถูกแปลงให้อยู่ในรูปข้อความ
(5) ข้อมูลข่าวสารในรูปข้อความ ถูกแปลงให้อยู่ในรูปสัญญาณภาพเคลื่อนไหว
ตอบ 1 หน้า 36 การปฏิวัติแห่งระบบดิจิทัล หรือการปฏิวัติแห่งระบบตัวเลข (Digital Revolution) หมายถึง ข้อมูลข่าวสารไม่ว่าจะอยู่ในรูปของข้อความ เสียง รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว ถูกแปลง ให้เป็นภาษารูปแบบเดียวกัน คือ ภาษาดิจิทัล (Digital Language) ทั้งนี้รูปแบบของการแปลง ข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปภาษาดิจิทัล อาจจะเรียกอีกอย่างได้ว่า “การทําให้เป็น ภาษาระบบตัวเลข” (Digitization)
21 การทําให้เป็นภาษาระบบตัวเลข (Digitization) หมายถึงข้อใด
(1) การแปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้อยู่ในระบบแอนะล็อก
(2) การแปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสื่อแอนะล็อก
(3) การแปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปภาษาดิจิทัล
(4) การแปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสื่อดิจิทัล
(5) การแปลงข้อมูลข่าวสารจากระบบดิจิทัลให้อยู่ในระบบแอนะล็อก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ
22 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของ New Media
(1) เป็นสื่อที่เอื้อให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารทําหน้าที่ส่งสารและรับสารได้พร้อมกัน
(2) มีรูปแบบการสื่อสารแบบทางเดียว
(4) มีศักยภาพเป็นสื่อแบบประสม
(3) มีรูปแบบการสื่อสารแบบสองทาง
(5) ส่งสารผ่านช่องทางสื่อสารได้หลายอย่างพร้อมกัน
ตอบ 2 หน้า 38 Burnett, P. and Marshalt (2003) ได้นิยามสื่อใหม่ (New Media) ว่า เป็นสื่อที่
เอื้อให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารทําหน้าที่ส่งสารและรับสารได้พร้อมกัน และสื่อยังทําหน้าที่ส่งสาร ผ่านช่องทางการสื่อสารได้หลาย ๆ อย่างพร้อมกัน คือ ภาพ เสียง และข้อความ โดยการรวมเทคโนโลยีของสื่อดั้งเดิมเข้ากับความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยีสัมพันธ์ ทําให้มีรูปแบบการ สื่อสารแบบสองทางผ่านทางระบบเครือข่ายและมีศักยภาพเป็นสื่อแบบประสม (Multimedia)
23 Freedom from geological boundaries หมายถึง ความเป็นอิสระด้านใดของสื่อใหม่
(1) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านรูปแบบ
(2) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านขนาด
(3) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านเวลา
(4) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านพรมแดน
(5) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านพื้นที่
ตอบ 4 หน้า 38 ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดทางด้านพรมแดน (Freedom from geological boundaries) คือ เนื้อหาในรูปแบบดิจิทัลเป็นเนื้อหาที่รับข้อมูลข่าวสารได้ทั่วโลกในเวลาอันรวดเร็ว จึงทําให้ผู้บริโภคสามารถเลือกรับหรือค้นหาข้อมูลข่าวสารจากประเทศใดก็ได้แล้วแต่ความต้องการของบุคคลแต่ละคน
24 ด้วยคุณลักษณะข้อใดที่ส่งผลให้อินเทอร์เน็ต (Internet) ถูกจัดเป็นสื่อสารมวลชน
(1) เป็นสื่อที่สามารถส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วไปสู่ผู้รับสารในวงกว้าง
(2) เป็นสื่อที่มีช่องทางให้ผู้รับสารสามารถสื่อสารตอบกลับแบบสองทาง
(3) เป็นสื่อที่นําเสนอเนื้อหาสารได้ในลักษณะเดียวกันกับสื่อแบบดั้งเดิมทุกประเภท
(4) เป็นสื่อที่ใช้ภาษาดิจิทัลเป็นกลไกในกระบวนการทํางาน
(5) เป็นสื่อที่มีการส่งเนื้อหาสารผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันในลักษณะเครือข่าย
ตอบ 3 หน้า 40, 55, (คําบรรยาย) สื่ออินเทอร์เน็ตถูกจัดเป็นสื่อสารมวลชนหรือสื่อมวลชน (Mass Communication/Mass Media) ด้วยศักยภาพทางเทคโนโลยีที่สามารถนําเสนอเนื้อหาสาร ได้ในลักษณะเดียวกันกับสื่อมวลชนแบบดั้งเดิมทุกประเภททั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และภาพยนตร์
25 Android จัดเป็นระบบปฏิบัติการในข้อใด
(1) Mobile Telephone
(2) Mobile Platform
(3) Mobile Game
(4) Mobile Computing
(5) Mobile Network
ตอบ 2 หน้า 41 แพลตฟอร์มเคลื่อนที่ (Mobile Platform) หมายถึง ระบบปฏิบัติการสําหรับอุปกรณ์ พกพา ประกอบด้วย ระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์เคลื่อนที่หรืออุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่อื่น ๆ โดยมีผู้ให้บริการเทคโนโลยีในระบบปฏิบัติการดังกล่าวหลากหลายเครือข่ายการสื่อสาร เช่น ระบบปฏิบัติการ IOS), ระบบปฏิบัติการ Android, ระบบปฏิบัติการ Windows Phone 7 ฯลฯ
26 การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จัดเป็น New Media ตรงกับคําในข้อใด
(1) E-business
(2) E-marketing
(3) E-commercial
(4) E-banking
(5) E-commerce
ตอบ 5 หน้า 66 สื่ออินเทอร์เน็ตมักถูกใช้เป็นช่องทางประกอบธุรกรรมทางธุรกิจทั้งการซื้อขายสินค้า ออนไลน์ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ออนไลน์ การโอนเงินออนไลน์ การจองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ และยังเป็นช่องทางสําคัญที่ผู้ประกอบการใช้ส่งเสริมการตลาดออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงเป็นที่มาของคําว่า “E-commerce” (Electronic Commerce) หรือที่เราเรียกกันใน ภาษาไทยว่า “การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” เช่น www.lazada.com, www.alibaba.com, www.shopee.co.th, www.tarad.com ฯลฯ
27 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บไซต์
ที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ ตรงกับคําว่า
(1) Upload
(2) Download
(3) Streaming
(4) Link
(5) Web browser
ตอบ 5 หน้า 41, (คําบรรยาย) โปรแกรมค้นดูเว็บ (Web browser) คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้ สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บไซต์ที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษา HTML เป็นต้น ทั้งนี้โปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือในการติดต่อกับ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า World Wide Web ตัวอย่างของเว็บบราวเซอร์ เช่น Internet Explorer, Mozilla Firefox, Google Chrome เป็นต้น
ข้อ 28 – 30. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Cinematograph
(2) Radio Telephony
(3) Podcast
28 เนื้อหาในรูปของข้อมูลเสียง (Content Audio) ที่จัดทําขึ้นและเผยแพร่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตอบ 3 หน้า 44 พอดแคสต์ (Podcast) หมายถึง เนื้อหาที่อยู่ในรูปของข้อมูลที่เป็นเสียง (Content Audio) ซึ่งจัดทําขึ้นและเผยแพร่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
29 เครื่องฉายภาพยนตร์ให้ปรากฏบนจอขนาดใหญ่ เพื่อให้ชมได้พร้อมกันหลาย ๆ คน ตอบ 1 หน้า 19 ซีเนมาโตกราฟ (Cinematograph) คือ เครื่องฉายภาพยนตร์ให้ปรากฏขึ้นบน จอขนาดใหญ่ เพื่อให้ชมได้พร้อมกันหลาย ๆ คน ซึ่งเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 1895 โดยพี่น้องตระกูลลูมิแอร์ (Lumiere) ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้พัฒนาขึ้นมา ทําให้คําว่า “ซีเนมา” (Cinema) กลายเป็นคําที่สื่อความหมายเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่อยมา จวบจนถึงปัจจุบัน
30 วิทยุโทรศัพท์
ตอบ 2 หน้า 20 เรจินัลด์ เอ. เฟสเซนเดน (Riginald A. Fessenden) และลี เดอ ฟอเรสต์ (Lee de Forest) ชาวอเมริกัน ประสบผลสําเร็จในการส่งสัญญาณเสียงพูดจากเครื่องส่งไปยังเครื่องรับ เครื่องหนึ่งในระยะไกล เรียกว่า “วิทยุโทรศัพท์” (Radio Telephony)
ข้อ 31. – 35. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Virtual Room
(2) Virtual World
(3) System Software
(4) Application Software
(5) Connectivity
31 ซอฟต์แวร์ระบบ
ตอบ 3 หน้า 42 ซอฟต์แวร์ (Software) เป็นชุดคําสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ ทํางาน ซึ่งจะทําหน้าที่เสมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ให้สามารถเข้าใจกันได้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software, Operating Software : OS) 2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
32 โลกเสมือนจริง
ตอบ 2 หน้า 41 – 42 โลกเสมือนจริง (Virtual World) หมายถึง โลกเสมือนสามมิติที่ถูกสร้างขึ้น ใน Cyber Space โดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูปผ่านการเชื่อมโยงทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต่าง ๆ เพื่อมุ่งให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้งานทั่วโลกสามารถติดต่อสัมพันธ์ซึ่งกันและกันได้หลายรูปแบบ ได้แก่
1 เครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น Hi5, Facebook ฯลฯ
2 เครือข่ายฝูงชน เช่น Crowd Source, Wikipedia ฯลฯ
3 เครือข่ายแบ่งปันข้อมูล เช่น YouTube, Flickr ฯลฯ
4 เครือข่ายสร้างห้องเสมือน (Virtual Room) เช่น Camfrog, Video Conference ฯลฯ
33 ซอฟต์แวร์ประยุกต์
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ
34 สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยง่าย
ตอบ 5 หน้า 47 กาญจนา แก้วเทพ (2555) นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ได้กล่าวถึงคุณลักษณะ สําคัญของสื่อใหม่ (New Media) ว่ามีคุณสมบัติในเชิงเทคนิค เชิงสังคม และคุณสมบัติอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
1 การมีปฏิสัมพันธ์ได้ง่าย (Interactivity) เพราะเป็นสื่อที่มีรูปแบบการ สื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication)
2 มีความสามารถเคลื่อนที่ได้สูง (Mobility)
3 สามารถดัดแปลงเปลี่ยนรูปได้ (Convertibility)
4 สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยง่าย (Connectivity)
5 สามารถหาได้หรือใช้ประโยชน์ในทุกที่ (Ubiquity)
6 มีความรวดเร็วในการสื่อสาร (Speed of Communication)
7 มีลักษณะที่ไร้พรมแดน (Absence of Boundaries)
8 มีความเป็นดิจิทัล (Digitization)
35 เครือข่ายห้องเสมือน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ
36 ต่อไปนี้คือนิยามของคําว่า Media Convergence ยกเว้นข้อใด
(1) การบรรจบกันของเทคโนโลยีสื่อแบบดั้งเดิมกับสื่อใหม่
(2) การแปลงเนื้อหาจากแหล่งสารต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปภาษาดิจิทัล พร้อมกับแปลงข้อมูลดิจิทัล ให้ปรากฏในลักษณะเดียวกันกับสารจากแหล่งสาร
(3) การหลอมรวมระหว่างสื่อ
(4) การรวมเทคโนโลยีสื่อที่แตกต่างกันเข้าไว้ด้วยกันในศูนย์เดียว
(5) การหลอมรวมเนื้อหาดิจิทัลผ่านสื่อระบบเครือข่าย
ตอบ 5 หน้า 50 – 51 Media Convergence หมายถึง การบรรจบกันของเทคโนโลยีสื่อแบบดั้งเดิม กับสื่อใหม่ หรือเป็นการรวมเทคโนโลยีสื่อที่แตกต่างกันเข้าไว้ด้วยกันในศูนย์เดียว จนต่อมาได้มี ผู้นิยามศัพท์ว่า “การหลอมรวมระหว่างสื่อ หรือการหลอมรวมสื่อ” อันเป็นผลมาจากศักยภาพ ในการแปลงเนื้อหาจากแหล่งสารต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปข้อมูลดิจิทัลหรือภาษาดิจิทัล พร้อมกับการ แปลงข้อมูลดิจิทัลให้ปรากฏในลักษณะเดียวกันกับสารจากแหล่งสาร
37 จางซิยี่ ดาราชาวจีนถูกทาบทามให้ร่วมแสดงในภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด เป็นปรากฏการณ์ข้อใด
(1) Global Corvergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Functional Convergence
(5) Cultural Convergence
ตอบ 1 หน้า 54 Global Convergence หมายถึง ปรากฏการณ์การหลอมรวมระดับโลกจนส่งผล ให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม อันเป็นผลมาจากการเผยแพร่เนื้อหาสื่อระหว่างกันของ ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น การนําดาราชาวเอเชียมาร่วมแสดงอยู่ในภาพยนตร์ของฮอลลีวู้ด ซึ่งเป็นผลมาจากการเผยแพร่ผลงานภาพยนตร์เอเชียไปทั่วโลก เป็นต้น
38 การนํานวนิยายเรื่อง A Jungle Book ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ หนังสือการ์ตูน และเกมออนไลน์ เพื่อขยายฐานลูกค้าให้กว้างกว่าเดิม เป็นปรากฏการณ์ที่ตรงกับข้อใด
(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Economic Convergence
(5) Cultural Convergence
ตอบ 4 หน้า 53 Economic Convergence หมายถึง ปรากฏการณ์ในการหลอมรวมธุรกิจสื่อ เพื่อขยายพื้นที่หรือฐานทางการตลาดให้กว้างขวางขึ้นกว่าเดิม เช่น การนํานวนิยายเรื่อง A Jungle Book ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ หนังสือการ์ตูน และเกมออนไลน์ เพื่อขยายฐาน ลูกค้าให้กว้างกว่าเดิม เป็นต้น
39 ไทยรัฐรวมศูนย์ข่าวไว้ที่เดียวเพื่อให้บริการข้อมูลข่าวผ่านทุกสื่อในเครือ ลักษณะนี้ตรงกับคําว่า
(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Social Convergence
(5) Cultural Convergence
ตอบ 1 หน้า 52 Operational Convergence หมายถึง การรวมศูนย์การปฏิบัติงานไว้ในที่เดียว หรือศูนย์เดียว โดยผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจสื่อหลากหลายประเภทพยายามรวมศูนย์การ ปฏิบัติงานไว้ที่เดียวกัน เช่น ไทยรัฐและเนชั่นรวมศูนย์ข่าวไว้ที่เดียวเพื่อให้บริการข้อมูลข่าว ผ่านทุกสื่อในเครือ เป็นต้น
40 สมาร์ทโฟนเครื่องเดียวรวมรูปแบบการใช้งานของสื่อต่าง ๆ ทั้งกล้องถ่ายภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว โปรแกรมเล่นเกม โปรแกรมการใช้งานอินเทอร์เน็ต สิ่งนี้ตรงกับคําว่า
(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Social Convergence
(5) Cultural Convergence
ตอบ 3 หน้า 51 Technological or Device Convergence หมายถึง การแปลงเนื้อหาของสื่อ ทุกประเภททั้งตัวอักษร ภาพ เสียง ให้อยู่ในรูปภาษาดิจิทัล และนําเทคโนโลยีของสื่อแต่ละ ประเภทมารวมเอาไว้ในสื่อหรืออุปกรณ์เดียว เช่น สมาร์ทโฟนเครื่องเดียวหลอมรวมรูปแบบ การใช้งานของสื่อต่าง ๆ ทั้งกล้องถ่ายภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว โปรแกรมอัดวิดีโอ โปรแกรม เล่นเกม โปรแกรมการใช้งานอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
41 อรจิราเป็นผู้สื่อข่าวที่สามารถทําข่าวเพื่อเผยแพร่ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง สื่อออนไลน์ ในองค์กรสื่อ ที่เธอสังกัด ลักษณะการทํางานของอรจิราตรงกับข้อใด
(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Functional Convergence
(5) Cultural Convergence
ตอบ 4 หน้า 53: Functional Convergence หมายถึง การหลอมรวมหลากหลายหน้าที่เอาไว้ ในบุคคลเดียว เช่น ผู้สื่อข่าวคนเดียวจัดทําเนื้อหาข่าวสารเพื่อเผยแพร่ทั้งบนสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง สื่อออนไลน์ เป็นต้น
42 ARPANET เป็นองค์กรผู้พัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อยู่ในสังกัดหน่วยงานใดของสหรัฐอเมริกา
(1) กระทรวงมหาดไทย
(2) กระทรวงการต่างประเทศ
(3) กระทรวงกลาโหม
(4) กระทรวงศึกษาธิการ
(5) กระทรวงวิทยาศาสตร์
ตอบ 3 หน้า 55 สื่ออินเทอร์เน็ตเริ่มใช้งานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2511 โดยองค์กรที่มีชื่อว่า ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งอยู่ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของ สหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเพื่อใช้ทางการทหาร และสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ได้อย่างไม่ผิดพลาด
43 อินเทอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อครอบคลุมระหว่างกันทั่วโลก ด้วยโปรโตคอล TCP/IP คําว่า “โปรโตคอล” หมายถึง
(1) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านสื่อดิจิทัล
(2) ข้อกําหนดด้านรูปแบบการสื่อสารเฉพาะเพื่อให้การสื่อสารในระบบเครือข่ายทํางานด้วยกันทั้งระบบ
(3) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านสื่อสารสนเทศ
(4) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านระบบเครือข่าย
(5) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านระบบการสื่อสารสากล
ตอบ 2 หน้า 40, 55, (คําบรรยาย) โปรโตคอล (Protocol) หมายถึง ข้อกําหนดด้านรูปแบบการ สื่อสารเฉพาะระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ทั้งวิธีการส่งและรับข้อมูล วิธีการตรวจสอบ ข้อผิดพลาดของการส่งและรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลเมื่อส่งและรับกันระหว่างเครื่องทั้ง 2 เครื่อง ทั้งนี้เพื่อให้การสื่อสารในระบบเครือข่ายทํางานได้ด้วยกันทั้งระบบ และมีมาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลระหว่างกันที่เป็นสากลหนึ่งเดียวทั่วโลก ซึ่งนั่นก็คือ โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
44 รูปแบบการสื่อสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตที่นํามาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ กับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย คือ
(1) การจัดทําเว็บไซต์
(2) การสื่อสารผ่านเว็บบล็อก
(3) การส่งและรับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
(4) การสนทนาออนไลน์
(5) เว็บบอร์ด
ตอบ 3หน้า 57 อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (PSU) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ได้ใช้บริการส่งและรับจดหมายหรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail) เป็นครั้งแรก โดยได้รับความร่วมมือจากประเทศออสเตรเลีย
45 รูปแบบการสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สถาบันอุดมศึกษาทั้งสองแห่งเป็นผู้เริ่มนํามาใช้งานใน ประเทศไทย (ตามข้อ 44.) ได้รับความร่วมมือจากประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) ญี่ปุ่น
(3) เอสเตรเลีย
(4) เยอรมนี
(5) แคนาดา
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 44. ประกอบ
46 เครือข่ายการสื่อสารใดที่เป็นประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Gateway) แห่งที่สองของประเทศไทย
(1) เครือข่ายยูเน็ต
(2) เครือข่ายไทยสาร
(3) เครือข่ายไทยเน็ต
(4) เครือข่ายจุฬาเน็ต
(5) เครือข่ายอาร์พาเน็ต
ตอบ 2 หน้า 58 ในปี พ.ศ. 2535 เครือข่ายไทยเน็ตถือเป็นเครือข่ายที่มีเกตเวย์ (Gateway) หรือ ประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย โดยมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศูนย์กลาง ต่อมาในปีเดียวกัน NECTEC ได้จัดตั้งเครือข่ายไทยสารเป็นเกตเวย์สู่เครือข่าย อินเทอร์เน็ตแห่งที่ 2 ของประเทศไทย
47 IP Address มีความสําคัญต่อการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างไร
(1) เป็นข้อมูลบ่งชี้ประเภทคอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน
(2) เป็นข้อมูลบ่งชี้ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของผู้ใช้งาน
(3) เป็นข้อมูลอ้างอิงเพื่อใช้ติดต่อกับผู้ใช้งานอื่น ๆ ในเครือข่าย
(4) เป็นข้อมูลบ่งชี้ประเภทองค์กรผู้ใช้งาน
(5) เป็นข้อมูลบ่งชี้ระบบเครือข่ายของผู้ใช้งาน
ตอบ 3 หน้า 59 เครื่องคอมพิวเตอร์ทุก ๆ เครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น จะต้อง มีหมายเลขประจําเครื่อง เรียกว่า “IP Address” (Internet Protocol Address) เป็นข้อมูล อ้างอิงเพื่อที่จะใช้ติดต่อกับผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่าย ซึ่งในช่วงแรกเริ่มนั้น IP Address จะถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่ง มีขนาด 32 บิต (Bit)
48 ในช่วงแรกเริ่ม IP Address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่ง มีขนาดกี่บิต
(1) 32 บิต
(2) 36 บิต
(3) 40 บิต
(4) 44 บิต
(5) 48 บิต
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 47 ประกอบ
49. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้เชื่อมโยงในพื้นที่นครหลวง คือข้อใด
(1) MAN
(2) LAN
(3) CAN
(4) WAN
(5) PAN
ตอบ 1 หน้า 61, (คําบรรยาย) ระบบเครือข่ายงานบริเวณนครหลวงหรือมหานคร (Metropolitan Area Network : MAN) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีระยะทางการเชื่อมต่อไกล กว่าระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) แต่ระยะทางยังคงใกล้กว่าระบบเครือข่ายวงกว้าง (WAN) เช่น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันภายในเมืองหรือเขตพื้นที่มหานคร หรือภายในจังหวัด เดียวกัน หรือในเขตเดียวกัน เป็นต้น
50 ระบบส่งข้อความทันที เป็นรูปแบบการให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตรงกับคําใด
(1) web board
(2) Web Chat
(3) Telnet
(4) Instant Messaging ตอบ 4
(5) Bulletin Board
หน้า 63 การสนทนาออนไลน์โดยตรงระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เป็นรูปแบบของการสนทนา ออนไลน์ในลักษณะที่ไม่ต้องผ่านเครื่องเซิร์ฟเวอร์กลาง ซึ่งเรียกว่า “การรับส่งสารแบบต้นต ทันใด” (Instant Messaging) เช่น โปรแกรม ICQ, MSN Messenger, Yahoo Messenger, Windows Messenger เป็นต้น
51 บริการขอเข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จากระยะไกล โดยผู้ใช้บริการต้องติดต่อผ่านเครือข่ายที่ได้รับอนุญาต
คือข้อใด
(1) Web board
(2) Web Chat
(3) Telnet
(4) Instant Messaging
(5) Bulletin Board
ตอบ 3 หน้า 64 บริการเข้าระบบระยะไกล (Telnet) เป็นการให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อขอเข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จากระยะไกล โดยผู้ใช้บริการต้องติดต่อผ่านเครือข่ายที่ได้รับอนุญาต และไม่จําเป็นที่ผู้ใช้บริการต้องนั่งอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น
52 ผู้ใช้บริการคัดลอกข้อมูลข้ามเครือข่าย (File Transfer Protocol) ประเภท Anonymous คือ
(1) ผู้ใช้บริการแบบไม่ระบุตัวตน
(2) ผู้ใช้บริการแบบระบุตัวตน
(3) ผู้ใช้บริการแบบไม่มีตัวตน
(4) ผู้ใช้บริการแบบปรากฏตัวตน
(5) ผู้ใช้บริการแบบอ้างตัวตน
ตอบ 1 หน้า 65 ผู้ใช้บริการคัดลอกข้อมูลข้ามเครือข่าย (File Transfer Protocol : FTP) สามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ ได้แก่
1 ผู้ใช้บริการแบบไม่ระบุตัวตน (Anonymous)
2 ผู้ใช้บริการแบบระบุตัวตน ซึ่งต้องมี User Name และ Password ในการเข้าใช้บริการ
53 ข้อใดต่อไปนี้ไม่นับเป็นรูปแบบการให้บริการ E-Commerce บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(1) การซื้อขายสินค้าออนไลน์
(2) การโอนเงินออนไลน์
(3) พนันฟุตบอลออนไลน์
(4) การโฆษณาออนไลน์
(5) การจองตั๋วเครื่องบินออนไลน์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ
54 ข้อใดไม่ใช่เหตุผลในการให้บริการข้อมูลข่าวสารบน Online Newspaper
(1) เพื่อเพิ่มช่องทางในการสื่อสารกับผู้รับสาร
(2) เพื่อเพิ่มช่องทางในการแสวงหารายได้จากค่าโฆษณา
(3) เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ความทันสมัยทางเทคโนโลยีแก่องค์กร
(4) เพื่อเพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
(5) เพื่อเป็นช่องทางนําเสนอข่าวสารของผู้นําประเทศ
ตอบ 5 หน้า 69 – 70 เหตุผลในการให้บริการข้อมูลข่าวสารในรูปของหนังสือพิมพ์ออนไลน์
(Online Newspaper) มีดังนี้
1 เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ความทันสมัยทางเทคโนโลยีแก่องค์กร
2 เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการเสนอข่าว
3 เพื่อเพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
4 เพื่อเพิ่มช่องทางติดต่อสื่อสารกับผู้รับสาร
5 เพื่อเพิ่มช่องทางด้านการตลาด เช่น การขายพื้นที่โฆษณาบนเว็บไซต์, การหารายได้เสริมจากค่าสมาชิก ค่าธรรมเนียม ฯลฯ
55 ผู้ให้บริการในข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ผู้ให้บริการข้อมูลข่าวสารที่มีฐานมาจากการเป็นผู้ประกอบการสิ่งพิมพ์
แบบดั้งเดิมมาก่อน
(1) www.thairath.co.th
(2) www.dailynews.co.th
(3) www.matichon.co.th
(4) www.prachathai.com
(5) www.bangsaenpost.com
ตอบ 4 หน้า 71 – 72 ผู้ให้บริการหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่มีฐานมาจากผู้ประกอบการหนังสือพิมพ์ แบบกระดาษ (แบบดั้งเดิม) มีดังนี้
1 เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ส่วนกลาง เช่น www.thairath.co.th, www.dailynews.co.th, www.matichon.co.th ฯลฯ
2 เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาค เช่น www.bangsaenpost.com, wwwww.koratdaily.corn ฯลฯ
3 เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ไทยในต่างประเทศ เช่น www.sereechai.com ฯลฯ
ส่วน www.prachathai.com, www.andamannews.com เป็นเว็บไซต์ของผู้ให้บริการ
หนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่ให้บริการเฉพาะบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต)
56 ข้อใดเป็นเว็บไซต์ของผู้ให้บริการหนังสือพิมพ์ไทยในต่างประเทศ
(1) www.thairath.co.th
(2) www.sereechai.com
(3) www.matichon.co.th
(4) www.andamannews.corn
(5) www.bangsaenpost.com
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ
57 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะการส่งสัญญาณเสียงและภาพเคลื่อนไหวผ่าน Streaming Server
(1) ต้องคัดลอกแฟ้มข้อมูลผ่านเครือข่ายมายังผู้ใช้งานให้ครบก่อนจึงเริ่มแสดงผล
(2) ข้อมูลถูกส่งมายังเครื่องลูกข่ายอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องรอให้ดาวน์โหลดไฟล์จากเซิร์ฟเวอร์จนครบ
(3) เป็นการส่งสัญญาณในลักษณะ Real Time จากเครื่องเซิร์ฟเวอร์มายังเครื่องลูกข่าย
(4) เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการข้อมูลในลักษณะประสานสื่อ
(5) เป็นการส่งสัญญาณที่ถูกเรียกขานว่า เป็นการส่งสัญญาณแบบสายธาร
ตอบ 1 หน้า 76 – 77 Streaming Server คือ เครื่องให้บริการกระจายสัญญาณแบบสายธาร ซึ่งเป็น เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่บริการข้อมูลในลักษณะสื่อประสมหรือประสานสื่อ (Multimedia) โดยข้อมูล จะถูกส่งมายังเครื่องลูกข่ายอย่างต่อเนื่อง และไม่ต้องรอให้ดาวน์โหลด (Download) ไฟล์จาก เซิร์ฟเวอร์จนครบแล้วจึงเริ่มแสดงผล ดังนั้นจึงเป็นการส่งสัญญาณเสียงและภาพเคลื่อนไหวใน ลักษณะทันต่อเวลา (Real Time) จากเครื่องเซิร์ฟเวอร์มายังเครื่องลูกข่ายที่ได้รับความนิยมอยู่ ในปัจจุบัน นอกจากนี้ Streaming Server ยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งาน (User) สามารถทําหน้าที่ เป็นผู้ผลิตรายการวิทยุหรือโทรทัศน์ออนไลน์ได้อีกด้วย
58 ข้อใดคือความหมายของสื่อออนไลน์
(1) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารรูปแบบต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(2) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารรูปแบบต่าง ๆ ผ่านสื่อแบบประสม
(3) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารรูปแบบต่าง ๆ ผ่านสื่อดิจิทัล
(4) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและเปิดรับข้อมูลข่าวสารแบบสองทาง
(5) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารรูปแบบต่าง ๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ตอบ 1 หน้า 81 สื่อออนไลน์ หมายถึง ช่องทางของการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ส่งสารใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลและ ข่าวสาร ส่วนผู้รับสารก็จะใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารเช่นกัน
59 ข้อใดคือสํานักข่าวที่จัดทําขึ้นเพื่อให้บริการเฉพาะบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(1) เว็บไซต์สํานักข่าวไอเอ็นเอ็น
(2) เว็บไซต์สํานักข่าวไทย
(3) เว็บไซต์สํานักข่าวซีเอ็นเอ็น
(4) เว็บไซต์สํานักข่าวพีเพิลยูนิตี้
(5) เว็บไซต์สํานักข่าวอิศรา
ตอบ 4 หน้า 83 สํานักข่าวออนไลน์ที่จัดทําขึ้นเพื่อให้บริการเฉพาะบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่
1 เว็บไซต์สํานักข่าว พีเพิลยูนิตี้ (People Unity News Agency)
2 เว็บไซต์เฟซบุ๊ก นิวส์ไวร์ (FB Newswire)
3 เว็บไซต์สํานักข่าวทีนิวส์
4 เว็บไซต์สํานักข่าวอาร์วายที่ไนน์ ฯลฯ
(ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นสํานักข่าวออนไลน์ที่มีฐานจากสํานักข่าวแบบดั้งเดิม)
60 รูปแบบของเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนบทสนทนา อภิปรายในสังคมออนไลน์ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานเลือกเข้าสังกัดกลุ่มคนที่มีพื้นฐานความสนใจร่วมกัน คือ
(1) News Group
(2) web board
(3) Online News Clipping
(4) Social Network
(5) Online News Agency
ตอบ 2หน้า 63, 83 – 85 กระดานข่าว (web board) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนบทสนทนา พูดคุย อภิปรายในสังคมออนไลน์ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งาน (User) เลือกเข้าสังกัดกลุ่มคนที่มีพื้นฐานความสนใจร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องราวหรือประเด็น ทางสังคม อันนําไปสู่การรวมกลุ่มกันในลักษณะชุมชนออนไลน์ (Online Communities) เช่น www.pantip.com, MThai Talk ฯลฯ
61 รูปแบบของเว็บไซต์ที่จัดทําในรูปกลุ่มสนทนา แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในหัวข้อต่าง ๆ โดยแบ่งหมวดหมู่ และกําหนดชื่อของกลุ่มตามประเภทของกลุ่มข่าว คือข้อใด
(1) web board
(2) Online News Clipping
(3) News Group
(4) Social Network
(5) Online News Agency
ตอบ 3 หน้า 85 – 86 กลุ่มข่าวสาร (News Group) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ที่จัดทําขึ้นในรูปของ กลุ่มสนทนา เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในหัวข้อต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานทุกคน มีส่วนร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้อย่างอิสระ โดยมีการแบ่งหมวดหมู่ และกําหนดชื่อของกลุ่มตามประเภทของกลุ่มข่าว ทั้งนี้กลุ่มข่าวต่าง ๆ จะถูกแบ่งหมวดหมู่ และเก็บไว้ในบอร์ดข่าวสารขนาดใหญ่ เรียกว่า “User’s Network” (Usenet) และข่าวใน กลุ่มข่าวทั้งหมดจะถูกเก็บไว้บน Usenet Server
62 Online News Clipping เป็นรูปแบบการให้บริการข้อมูลข่าวสารผ่านอินเทอร์เน็ต ตรงกับคําใด
(1) สํานักข่าวออนไลน์
(2) กฤตภาคข่าวออนไลน์
(3) กระดานข่าว
(4) เครือข่ายสังคมออนไลน์
(5) ข่าวแจกออนไลน์
ตอบ 2หน้า 86 – 87 กฤตภาคข่าวออนไลน์ (Online News Clipping) คือ บริการข่าวตัดออนไลน์ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยตัดข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ พร้อมกับระบุแหล่งที่มา ของหนังสือพิมพ์ ซึ่งตัวอย่างของเว็บไซต์กฤตภาคข่าวออนไลน์ในประเทศไทยที่เปิดให้บริการ อยู่ในปัจจุบัน เช่น ห้องสมุดข่าวมติชน (Matichon E-library), iQNewsClip, นิวส์เซ็นเตอร์ (News center) เป็นต้น
ข้อ 63. – 66. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Identity Network
(2) Creative Network
(3) Peer to Peer
(4) Virtual Reality
63 www.youtube.com
ตอบ 2 หน้า 88 – 90 ประเภทของเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีดังนี้
1 สร้างและประกาศตัวตน (Identity Network) เช่น Web Blog, www.twitter.com ซึ่งนําเสนอเนื้อหาในลักษณะ Micro Blog โดยมุ่งให้ผู้ใช้โพสต์ข้อความสั้น ๆ ไม่เกิน 140 ตัวอักษร ฯลฯ
2 สร้างและประกาศผลงาน (Creative Network) เช่น www.youtube.com, Flickr, Multiply, Photobucket, Slideshare a
3 ความชอบในสิ่งเดียวกัน (Passion Network) เช่น Digg, Zickr, Catch, Reddit ฯลฯ
4 เวทีทํางานร่วมกัน (Collaboration Network) เช่น Google Earth, Gocgle Maps ฯลฯ
5 ประสบการณ์เสมือนจริง (Virtual Reality) ซึ่งมีลักษณะเป็นเกมออนไลน์ เช่น Audition, Second Life, Ragnarok, Pangya, World of Warcraft ฯลฯ
6 เครือข่ายเพื่อการประกอบอาชีพ (Professional Network) เช่น Linkedin ฯลฯ
7 เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันระหว่างผู้ใช้ (Peer to Peer : P2P) เช่น Skype, BitTorrent ฯลฯ 8. เว็บท่า (Portal Website) ที่รวบรวมลิงค์ของสื่อออนไลน์ประเภทต่าง ๆ เช่น www.sanook.com, www.kapook.com ฯลฯ
64 Skype
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 63. ประกอบ
65 Pangya
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 63, ประกอบ
66 www.twitter.com
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 63. ประกอบ
ข้อ 67. – 70. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Web 1.0
(2) Web 2.0
(3) web board
(4) User-Generated Content
67 เนื้อหาที่ผู้ใช้งานสื่อเป็นผู้ผลิตเอง
ตอบ 4 หน้า 88, 90 พื้นที่ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่จะมุ่งนําเสนอเนื้อหาในลักษณะที่ เรียกว่า “User-Generated Content” (UGC) กล่าวคือ ผู้ใช้งานสื่อเป็นผู้ผลิตเนื้อหาเอง เช่น Myspace เป็นเว็บไซต์ที่บริษัท นิวส์คอร์ปอเรชั่น ซื้อกิจการมาดําเนินการในราคา 580 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ยังมี Flickr ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ Yahoo ซื้อกิจการมาดําเนินการ ในราคา 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นต้น
68 เว็บไซต์ที่แสดงเนื้อหามุ่งให้ผู้ใช้งานอ่านแต่เพียงอย่างเดียว
ตอบ 1 หน้า 88 การกําเนิดขึ้นและการเติบโตของเครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นผลมาจากการพัฒนา ทางเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตจาก Web 1.0 คือ เว็บไซต์ที่แสดงเนื้อหามุ่งให้ผู้ใช้งานอ่านแต่เพียง อย่างเดียว มาสู่ Web 2.0 ซึ่งก็คือ เว็บไซต์เชิงสังคมที่มุ่งให้ผู้ใช้งานสร้างเนื้อหาเองได้ แบ่งปัน เนื้อหาให้กัน และมีส่วนร่วมระหว่างกัน
69 เว็บไซต์เชิงสังคมที่มุ่งให้ผู้ใช้งานสร้างเนื้อหาเองได้ แบ่งปันเนื้อหา และมีส่วนร่วมระหว่างกัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 68. ประกอบ
70 MThai Talk
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 60. ประกอบ
ข้อ 71 – 80. ข้อใดที่กล่าวไว้ถูกต้องให้ระบายตัวเลือก 1 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องให้ระบายตัวเลือก 2
71 www.amazon.com เป็นเว็บไซต์ประเภทเครือข่ายทางสังคมที่นําเสนอเนื้อหาในลักษณะ Micro Blog ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 63. ประกอบ
72 พื้นที่ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่มุ่งนําเสนอเนื้อหาในลักษณะ User-Generated Content ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 67. ประกอบ
73 Youtube เป็นเว็บไซต์ที่บริษัท นิวส์คอร์ปอเรชั่น ซื้อกิจการมาดําเนินการด้วยราคา 580 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 67. ประกอบ
74. การนําเสนอข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์สามารถนําเสนอเนื้อหาข้อมูลข่าวสารได้ในลักษณะ Shifted Time หมายถึง นําเสนอเนื้อหาข้อมูลข่าวสารได้ในลักษณะทันต่อเวลาที่เกิดขึ้นจริง
ตอบ 2 หน้า 91 คุณลักษณะของข้อมูลข่าวสารที่นําเสนอผ่านสื่อออนไลน์ประการหนึ่ง ได้แก่ ไร้กาล (Shifted Time) กล่าวคือ อยู่เหนือข้อจํากัดด้านเวลาในการนําเสนอเนื้อหาสาร โดยผู้จัดทํา นําเสนอเนื้อหาสารทั้งในลักษณะทันกาล และจัดเก็บเนื้อหาสารเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถสืบค้น
ย้อนหลังได้ด้วย
75 การสื่อสารบน Instagram จัดเป็นรูปแบบการสื่อสารที่เปิดให้ผู้ใช้งานรวมกลุ่มกันในลักษณะชุมชนออนไลน์ (Online Communities)
ตอบ 1 หน้า 85 การรวมกลุ่มกันในลักษณะ “ชุมชนออนไลน์” (Online Communities) เช่น web board, Facebook, Instagram ฯลฯ จัดเป็นรูปแบบของสัมพันธภาพของผู้ใช้งาน เครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยที่สมาชิกของชุมชนออนไลน์มีคุณลักษณะสําคัญ ดังนี้
1 มีความสัมพันธ์ทางสังคม (Social Relationship) เช่น มีความสนใจเกี่ยวกับข่าว เรื่องราว หรือประเด็นทางสังคมในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน
2 มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยที่ในโลกความเป็นจริง ผู้ใช้งาน (User) อาจไม่ได้อาศัยอยู่ใกล้กันทางกายภาพ แต่อาจเป็นคนหลายเชื้อชาติ และมีภูมิลําเนาในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
76 สื่อออนไลน์เป็นสื่อใหม่ และเป็นสื่อที่มีความคงทนต่ํา ส่วนสื่อหนังสือพิมพ์เป็นสื่อแบบดั้งเดิม และเป็น สื่อที่มีความคงทนสูง
ตอบ 2 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 2. และ 7. ประกอบ) สื่อออนไลน์เป็นสื่อใหม่ที่ไม่มีข้อจํากัด ด้านเวลาในการเข้าถึง ทําให้ผู้ใช้งานสามารถเปิดรับข้อมูลข่าวสารได้ซ้ําครั้งตามที่ตนต้องการ ในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นสื่อออนไลน์จึงนับเป็นสื่อที่มีความคงทนสูงพอ ๆ ซึ่งเป็นสื่อแบบดั้งเดิม
77 Online News Clipping คือ การให้บริการข่าวตัดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 62
78 การให้บริการในรูปกลุ่มข่าวสาร (News Group) กลุ่มข่าวต่าง ๆ จะถูกแบ่งหมวดหมู่และเก็บไว้ในบอร์ด ข่าวสารขนาดใหญ่ เรียกว่า User’s Network (Usenet)
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ
79 Electronic Journal คือ การให้บริการเนื้อหาวารสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ 1 หน้า 73 วารสารออนไลน์ (Online journal) หรือวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Journal) คือ การให้บริการเนื้อหาวารสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งถือว่าเป็นวารสาร รูปแบบใหม่ที่มีการจัดเก็บ บันทึก และพิมพ์เผยแพร่สารสนเทศทางวิชาการไว้ในรูปของ แฟ้มคอมพิวเตอร์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีกําหนดออกแน่นอนสม่ำเสมอ
80 สื่อวิทยุออนไลน์เข้ามาแทนที่สื่อวิทยุกระจายเสียงแบบดั้งเดิมแล้วอย่างสิ้นเชิง
ตอบ 2 หน้า 74 – 77, (คําบรรยาย) ในปัจจุบันผู้ประกอบการสื่อวิทยุกระจายเสียงแบบดั้งเดิมได้ จัดทําเว็บไซต์ให้บริการข้อมูลข่าวสาร และรายการวิทยุออนไลน์ควบคู่กันไปกับช่องทางเดิม เพื่อให้ผู้ฟังมีทางเลือกในการรับฟังที่หลากหลาย ซึ่งถึงแม้สื่อวิทยุออนไลน์จะได้รับความนิยมมากขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถเข้ามาแทนที่สื่อวิทยุกระจายเสียงแบบดั้งเดิมได้อย่างสิ้นเชิง
81 อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่สามารถตอบสนองการทํางานของทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ ด้วยศักยภาพในการนําเสนอเนื้อหาสารในลักษณะใด
(1) Mega Media
(2) Multimedia
(3) Trans media
(4) Social Media
(5) Virtual Media
ตอบ 2 หน้า 81 – 82 ด้วยศักยภาพในการนําเสนอเนื้อหาสารในลักษณะประสานสื่อ (Multimedia) ซึ่งมีทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ส่งผลให้อินเทอร์เน็ตสามารถตอบสนอง การทํางานของสื่อแบบดั้งเดิมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และภาพยนตร์
82 ด้วยข้อจํากัดทางเทคโนโลยีการสื่อสารของสื่อแบบดั้งเดิมข้อใด ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ประกอบวิชาชีพ สื่อสารมวลชนมีอํานาจผูกขาดในการทําหน้าที่ผู้ส่งสาร
(1) ความรวดเร็วในการนําเสนอข้อมูลข่าวสาร
(2) ช่องทางการสื่อสารตอบกลับ
(3) ความหลากหลายในการนําเสนอเนื้อหาสารของสื่อแต่ละประเภท
(4) ขอบเขตทางภูมิศาสตร์ในการกระจายเนื้อหาสาร
(5) การเชื่อมต่อการสื่อสารในลักษณะเครือข่าย
ตอบ 4 หน้า 93, 98, (คําบรรยาย) ในอดีตผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนแบบดั้งเดิมมีอํานาจผูกขาด ในการทําหน้าที่ผู้ส่งสาร เพราะขอบเขตทางภูมิศาสตร์ในการกระจายเนื้อหาสารแบบทางเดียว (One-way Communication) ในลักษณะจากบนลงล่าง (Top-Down Communication) กล่าวคือ ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนในฐานะผู้ส่งสารจะมีอํานาจเบ็ดเสร็จในการจัดทําและนําเสนอข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในสังคม โดยที่ผู้รับสารจะได้รับข่าวสารก็ต่อเมื่อผู้ส่งสาร ส่งข่าวสารผ่านสื่อมาสู่ผู้รับสารปลายทางเท่านั้น
83 ข้อใดไม่ใช่ผลจากการที่อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของตนเองสู่สาธารณะ
(1) เปิดโอกาสให้ผู้รับสารมีทางเลือกเปิดรับข้อมูลข่าวสารในประเด็นที่สื่อแบบดั้งเดิมไม่ได้นําเสนอ
(2) เป็นแหล่งสารของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อแบบดั้งเดิม
(3) ผู้ใช้งานเข้มงวดในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลข่าวสารก่อนเผยแพร่
(4) ผู้ใช้งานสามารถส่งผ่านข้อมูลจากระดับบุคคลไปสู่กลุ่มคนต่างเครือข่าย
(5) ทุกคนทําหน้าที่นําเสนอข้อมูลข่าวสารไปสู่สาธารณะอย่างเสรี
ตอบ 3 หน้า 95, 99 – 100 ผลกระทบด้านลบจากการที่อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของตนเองสู่สาธารณะ คือ ผู้ใช้งานนําเสนอข้อมูลข่าวสารได้โดยไม่ต้องผ่าน กระบวนการตรวจสอบ คัดเลือก คัดกรอง จากบรรณาธิการ จึงทําให้ข้อมูลข่าวสารผิดพลาด ได้ง่าย จนอาจจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่สู่สาธารณชน (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นผลกระทบด้านบวก)
84 เหตุผลข้อใดที่ทําให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนยุคปัจจุบันจําเป็นต้องมีทักษะทางเทคโนโลยี
(1) เพื่อจะได้รู้เท่าทันเทคโนโลยีการสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต
(2) เพื่อจะได้เข้าใจสถานการณ์การแข่งขันระหว่างสื่อใหม่และสื่อแบบดั้งเดิม
(3) เพื่อจะได้สามารถใช้งานสื่อใหม่ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่องทาง
(4) เพื่อจะได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีการสื่อสาร
(5) เพื่อประโยชน์ต่อการกําหนดมาตรฐานจริยธรรมการสื่อสารให้ทันสมัยยิ่งขึ้น
ตอบ 3 หน้า 94 – 95 ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนในยุคปัจจุบัน จําเป็นต้องมีทักษะทางด้าน เทคโนโลยีควบคู่กับทักษะด้านวิชาชีพสื่อสารมวลชน เพื่อจะได้สามารถใช้งานสื่อใหม่ในการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่องทาง เช่น ต้องมีความรู้เรื่องการอัปโหลด (Upload) ข้อมูลข่าวสารให้ปรากฏบนเว็บไซต์ขององค์กร, มีความรู้เรื่องโปรแกรมการใช้งานเพื่อเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลอื่น ๆ ฯลฯ
85 จากการที่สื่ออินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในฐานะช่องทางหนึ่งขององค์กรสื่อแบบดั้งเดิม ส่งผลให้
ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อแบบดั้งเดิมต้องปรับตัวในการทํางาน ยกเว้นข้อใด
(1) ผู้ประกอบวิชาชีพจําเป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตในการทํางาน
(2) ผู้ประกอบวิชาชีพจําเป็นต้องยอมรับอินเทอร์เน็ตเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสาร
(3) ผู้ประกอบวิชาชีพจําเป็นต้องฝึกทักษะในการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยตนเอง
(4) ผู้ประกอบวิชาชีพในองค์กรจําเป็นต้องปรับโครงสร้างการทํางานในองค์กรที่แตกต่างจากเดิม
(5) ผู้ประกอบวิชาชีพจําเป็นต้องนําเสนอข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ แบบบูรณาการ
ตอบ 3 หน้า 105 – 106 การปรับตัวของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนแบบดั้งเดิม มีดังนี้
1 ยอมรับสื่ออินเทอร์เน็ตเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสาร
2 ปรับโครงสร้างการทํางานภายในองค์กรที่ต่างจากเดิม โดยจัดให้มีฝ่ายจัดทําและเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะ หรืออาจใช้บุคลากรร่วมกับสื่อแบบดั้งเดิม
3 เรียนรู้และฝึกฝนทักษะการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตในการทํางาน
4 นําเสนอข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ แบบบูรณาการ ฯลฯ
86 การพยายามเข้าไปอ่านอีเมลในเมลบอกซ์ของผู้อื่น ขัดกับจริยธรรมการสื่อสารข้อใด
(1) Information Privacy
(2) Information Accuracy
(3) Information Property
(4) Data Accessibility
(5) จริยธรรมของผู้จัดทําสื่อ
ตอบ 1 หน้า 115 – 116 ประเด็นปัญหาที่ขัดกับจริยธรรมความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) เช่น การลักลอบเข้าไปเปิดอ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ของผู้อื่น, การใช้ข้อมูลของ ลูกค้าจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด, การรวบรวมหมายเลขบัตรเครดิต หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่ของอีเมล และข้อมูลส่วนตัว เพื่อนําไปใช้สร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้า ขึ้นใหม่ แล้วนําไปขายให้แก่บริษัทอื่น ฯลฯ
87 การนําข้อมูลลงสู่ระบบฐานข้อมูลโดยไม่ตรวจตราความถูกต้องอย่างเข้มงวด ส่งผลให้สารสนเทศบน
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่ถูกต้อง กล่าวได้ว่าสิ่งนี้ขัดกับจริยธรรมการสื่อสารข้อใด
(1) Information Privacy
(2) Information Accuracy
(3) Information Property
(4) Data Accessibility.
(5) จริยธรรมของผู้จัดทําสื่อ
ตอบ 2 หน้า 116 ประเด็นปัญหาที่ขัดกับจริยธรรมครามถูกต้อง (Information Accuracy) คือ ความผิดพลาดของข้อมูลที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง อันเป็นผลมาจากการไม่มีผู้ทําหน้าที่ตรวจสอบหรือคัดกรองความถูกต้องของข้อมูลก่อนจัดเก็บเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล ส่งผลให้สารสนเทศ ที่จัดเก็บและเผยแพร่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่ถูกต้อง
88 กรณี User จัดทําและให้บริการเนื้อหาลามกอนาจารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กล่าวได้ว่าสิ่งนี้ขัดกับ จริยธรรมข้อใด
(1) Information Privacy
(2) Information Accuracy
(3) Information Property
(4) จริยธรรมของผู้ใช้สื่อ
(5) จริยธรรมของผู้จัดทําสื่อ
ตอบ 4 หน้า 119 – 120 ประเด็นปัญหาที่ขัดกับจริยธรรมของผู้ใช้สื่อ เช่น ผู้ใช้งาน (User) หรือ ผู้เปิดรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อ ได้นําเสนอเนื้อหาหรือข้อความในลักษณะหมิ่นประมาทบน พื้นที่การใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต, การใช้โปรแกรม Camfrog ซึ่งผู้ใช้งานสามารถ เห็นหน้าค่าตากันในระหว่างพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อมุ่งสร้างความรู้สึกเสมือนอยู่ใกล้ชิดกัน แต่ผู้ใช้งานบางคนกลับใช้เป็นช่องทางในการจัดทําและให้บริการเนื้อหาหรือ ภาพลามกอนาจารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ฯลฯ
89 การทําซ้ำหรือเผยแพร่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภท Copyright ขัดกับจริยธรรมข้อใด
(1) Information Privacy
(2) Information Accuracy
(3) Information Property
(4) Data Accessibility
(5) จริยธรรมของผู้จัดทําสื่อ
ตอบ 3 หน้า 117 – 118 ประเด็นปัญหาที่ขัดกับจริยธรรมเรื่องความเป็นเจ้าของ (Information Property) คือ การละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (ซอฟต์แวร์) ดังนี้
1 Copyright or Software License คือ ซอฟต์แวร์ที่ซื้อลิขสิทธิ์มาแล้วมีสิทธิใช้งานเท่านั้น ห้ามทําซ้ําหรือเผยแพร่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ลิขสิทธิ์ทุกกรณี
2 Shareware คือ ซอฟต์แวร์ที่ให้ทดลองใช้ได้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ซึ่งมีสิทธิใช้ในระยะเวลา ที่กําหนดเท่านั้น เป็นต้น
3 Freeware คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้ฟรี คัดลอก และเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้
90 เพราะเหตุใดอินเทอร์เน็ตจึงก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิชาชีพวารสารศาสตร์ของสื่อแบบดั้งเดิม ที่ให้ความสําคัญต่อผู้เฝ้าประตูข้อมูลข่าวสาร (Gatekeeper)
(1) เพราะอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารโดยเท่าเทียม
(2) เพราะอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนมีโอกาสสื่อสารตอบกลับในลักษณะการสื่อสารสองทาง
(3) เพราะอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของตนเองสู่สาธารณะ
(4) เพราะอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้โดยไม่จํากัด
(5) เพราะอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถสื่อสารผ่านเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก
ตอบ 3 หน้า 100, 110 ด้วยเหตุที่อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของ ตนเองสู่สาธารณะ โดยไม่มีผู้ทําหน้าที่เฝ้าประตูข้อมูลข่าวสาร (Gatekeeper) ส่งผลให้เกิด ผลกระทบต่อวิชาชีพวารสารศาสตร์ของสื่อแบบดั้งเดิมที่ให้ความสําคัญกับผู้เฝ้าประตูข้อมูล ข่าวสาร (Gatekeeper) ซึ่งก็คือ บรรณาธิการผู้ทําหน้าที่คัดเลือก คัดกรอง และตรวจสอบ ความถูกต้องของเนื้อหาสารก่อนนําาเสนอสู่ผู้รับสารในสังคม
91 ข้อใดคือความหมายของ Citizen Reporter
(1) ผู้ใช้งานสื่ออินเทอร์เน็ตทุกคน ซึ่งมีบทบาทเป็นผู้ส่งสารผ่านพื้นที่ของตนเองสู่สาธารณะ
(2) ผู้สื่อข่าวสื่อแบบดั้งเดิมที่ใช้สื่อใหม่เป็นช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสาร
(3) ประชาชนทั่วไปที่ทําหน้าที่รายงานข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อแบบดั้งเดิม
(4) ผู้สื่อข่าวผ่านสื่อใหม่ที่ทําหน้าที่รายงานข่าวผ่านสื่อแบบดั้งเดิมด้วย
(5) ผู้สื่อข่าวของสื่อแบบดั้งเดิมที่ทํางานร่วมกับประชาชนในสังคม
ตอบ 1 หน้า 95, 104 ผู้สื่อข่าวภาคพลเมือง (Citizen Reporter) หรือผู้สื่อข่าวภาคประชาชน หมายถึง ผู้ใช้งานสื่ออินเทอร์เน็ตทุกคน ซึ่งมีบทบาทเป็นผู้ส่งสารผ่านพื้นที่ของตนเองไปสู่ สาธารณะได้อย่างเขาเทียมกัน โดยจะมีบทบาทเป็นผู้รายงานข่าวสารคล้ายกับบทบาทของ ผู้สื่อข่าว (News Reporter) ในองค์กรสื่อสารมวลชนแบบดั้งเดิม เช่น อาณัติมีอาชีพครูและ นําเสนอข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมชุมชนผ่านทางเว็บบล็อก (Web Blog) เป็นต้น
92 จากความหมายในข้อ 91. บุคคลในข้อใดต่อไปนี้จัดเป็น Citizen Reporter
(1) อารีเป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ที่เผยแพร่ข่าวผ่านสื่อออนไลน์อีกทางหนึ่งด้วย
(2) อาจินต์เป็นผู้สื่อข่าวที่มุ่งเข้าถึงแหล่งข่าวที่เป็นประชาชนทั่วไป
(3) อาณัติมีอาชีพครูและนําเสนอข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมชุมชนผ่านเว็บบล็อก
(4) อากรเป็นผู้สื่อข่าวที่มุ่งรายงานข่าวสารด้านสํามะโนประชากร
(5) อารัญเป็นผู้สื่อข่าวผ่านเว็บไซต์และรายงานข่าวผ่านสิ่งพิมพ์แบบกระดาษด้วย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ
93 Gatekeeper หมายถึงผู้ทําหน้าที่ใดในองค์กรสื่อสารมวลชน
(1) จัดเก็บข้อมูลที่ถูกต้องหลังจากเผยแพร่
(2) คัดกรองความถูกต้องของข่าวสารก่อนเผยแพร่
(3) ตกแต่งข่าวสารให้สละสลวยก่อนเผยแพร่
(4) ติดตามผลกระทบของข่าวสารหลังจากเผยแพร่
(5) แก้ไขข่าวสารที่ผิด ๆ ซึ่งเผยแพร่ไปแล้วให้ถูกต้อง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 90 ประกอบ
94 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ถูกยกเลิกตามประกาศ พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2559 โดยจัดตั้งกระทรวงใดขึ้นมาแทน
(1) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(2) กระทรวงดิจิทัลเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
(3) กระทรวงดิจิทัลเพื่อสังคมและเศรษฐกิจ
(4) กระทรวงดิจิทัลเพื่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ
(5) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ตามประกาศ พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2559 ระบุว่า ให้ยกเลิกกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และจัดตั้งกระทรวง ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมีหน้าที่ในการวางแผน ส่งเสริม และพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล
95 ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ข้อใดไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์
(1) งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม
(2) กฎหมาย
(3) งานสร้างสรรค์ประเภทดนตรีกรรม
(4) โปรแกรมคอมพิวเตอร์
(5) งานสร้างสรรค์ประเภทสิ่งบันทึกเสียง
ตอบ 2 หน้า 127, 129 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 7 ระบุว่า สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงาน อันมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. นี้
1 ข่าวประจําวันและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนก วรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
2 รัฐธรรมนูญและกฎหมาย
3 ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง คําชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
4 คําพิพากษา คําสั่ง คําวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
5 คําแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม 1. – 4. ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงาน อื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทําขึ้น
96 ลายน้ำบนรูปภาพดิจิทัล ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 จัดเป็นข้อใด
(1) ข้อมูลการบริหารสิทธิ
(2) มาตรการทางเทคโนโลยี
(3) มาตรการการบริหารสิทธิ
(4) ข้อมูลทางเทคโนโลยี
(5) มาตรการทางข้อมูลการบริหารสิทธิ
ตอบ 1 หน้า 136 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 มาตรา 3 (2) ระบุไว้ว่า “ข้อมูลการบริหาร สิทธิ” หมายความว่า ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงผู้สร้างสรรค์ งานสร้างสรรค์ นักแสดง การแสดง เจ้าของ ลิขสิทธิ์ หรือระยะเวลาและเงื่อนไขในการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ ตลอดจนตัวเลขหรือรหัสแทน ข้อมูลดังกล่าว โดยข้อมูลเช่นว่านี้ติดอยู่หรือปรากฏเกี่ยวข้องกับงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึก การแสดง (เช่น การจัดทําลายน้ําบนรูปภาพ ธนบัตร, เลขมาตรฐานสากลประจําหนังสือ หรือ International Standard Book Number : ISBN เป็นต้น)
97 โปรแกรมเกมออนไลน์ Magic Tank มีระบบป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ระบบป้องกันดังกล่าวตรงกับข้อใด
(1) ข้อมูลการบริหารสิทธิ
(2) มาตรการทางเทคโนโลยี
(3) มาตรการการบริหารสิทธิ
(4) ข้อมูลทางเทคโนโลยี
(5) ข้อมูลบ่ง กรรมสิทธิ์
ตอบ 2 หน้า 136 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 มาตรา 3 (3) ระบุไว้ว่า “มาตรการทาง เทคโนโลยี” หมายความว่า เทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการทําซ้ําหรือควบคุมการ เข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดง โดยเทคโนโลยีเช่นว่านี้ได้นํามาใช้กับงานอัน มีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดงนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ
98 จากข้อ 97. หากนายสามารถกระทําการเพื่อทําให้ระบบป้องกันการเข้าถึงของโปรแกรมเกม Magic Tank ใช้การไม่ได้ กล่าวได้ว่าการกระทําของนายสามารถเข้าข่ายข้อใด
(1) การละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ
(2) การหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยี
(3) การหลบเลี่ยงมาตรการการบริหารสิทธิ
(4) การละเมิดข้อมูลทางเทคโนโลยี
(5) การละเมิดข้อมูลบ่งชี้กรรมสิทธิ์
ตอบ 2 หน้า 136 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 มาตรา 3 (4) ระบุว่า “การหลบเลี่ยง มาตรการทางเทคโนโลยี” หมายความว่า การกระทําด้วยประการใด ๆ ที่ทําให้มาตรการ ทางเทคโนโลยีไม่เกิดผล (ดูคําอธิบายข้อ 97. ประกอบ)
99 มาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ระบุว่า “ผู้ใดล่วงรู้ มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านํามาตรการดังกล่าว ไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น” กําหนดโทษเช่นไร
(1) จําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(2) จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(3) จําคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(4) จําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(5) จําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ตอบ 4 หน้า 158, 160 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 6 ระบุว่า ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านํามาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นต้อง ระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
100 มาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ระบุว่า “ผู้ใดเข้าถึงโดย มิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตนกําหนดโทษเช่นไร
(1) จําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(2) จําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(4) จําคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(5) จําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ตอบ 2 หน้า 158, 160 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 7 ระบุว่า ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตนจะต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ