การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1250 (MCS 2200) การหนังสือพิมพ์เบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1 ผู้สื่อข่าวที่ได้รับมอบหมายให้ไปประจําที่ทําเนียบรัฐบาล เรียกว่า
(1) ผู้สื่อข่าวประจํา
(2) ผู้สื่อข่าวทั่วไป
(3) ผู้สื่อข่าวพิเศษ
(4) บรรณาธิการ
ตอบ 1 หน้า 130 ผู้สื่อข่าวประจํา (Beat Reporter) หมายถึง ผู้สื่อข่าวที่ได้รับมอบหมายให้ทําข่าว ประเภทใดประเภทหนึ่ง เช่น ข่าวการศึกษา ข่าวอาชญากรรม ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้สื่อข่าวที่เพิ่ง เข้ามาทํางานใหม่และมีประสบการณ์น้อยจะได้รับมอบหมายให้สื่อข่าวแต่ละประเภทหมุนเวียน กันไป โดยจะอยู่ประจําตามแหล่งข่าวต่าง ๆ เช่น ผู้สื่อข่าวประจําที่ทําเนียบรัฐบาล กระทรวง
สถานีตํารวจ เป็นต้น
2 หนังสือพิมพ์ฉบับใดเป็น Regional Newspaper
(1) กรุงเทพธุรกิจ
(2) ไทยนิวส์
(3) สยามรัฐ
(4) มติชน
ตอบ 2 หน้า 7 หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นจะมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไปตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ ซึ่งบางครั้ง อาจเรียกว่า “หนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาค” (Regional Newspaper) เช่น หนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ จ.เชียงใหม่ เป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นทางภาคเหนือ เป็นต้น
3 องค์ประกอบปุถุชนวิสัย (Human Interest) อยู่ในคุณลักษณะเนื้อหาประเภทใด
(1) ข่าวหนัก
(2) ขาวเบา
(3) ข่าวกึ่งหนัก
(4) ขาวเนื้อหาเฉพาะด้าน
ตอบ 2 หน้า 39, 41, (คําบรรยาย) ข่าวสาระเบา (Soft News) จะมีองค์ประกอบในคุณค่าด้าน
ความน่าสนใจ (Interest) ซึ่งประกอบด้วย
1 ความสนใจของปุถุชน หรือปุถุชนวิสัย (Human Interest)
2 ความขัดแย้ง (Conflict)
3 ความผิดปกติ (Unusualness)
4 ความเด่น (Prominence)
5 ความใกล้ชิด (Proximity)
6 เพศ (Sex)
4 สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทใดที่ทําหน้าที่เชื่อมช่องว่างด้านความรู้ (Knowledge Based Society)
(1) หนังสือพิมพ์
(2) หนังสือเล่ม
(3) นิตยสาร
(4) นวนิยาย วรรณกรรม
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์เป็นสื่อที่ทําหน้าที่เชื่อมช่องว่างด้านความรู้ (Knowledge Based Society) ให้แก่ผู้อ่าน เนื่องจากการเสนอเรื่องราวต่าง ๆ ของหนังสือพิมพ์จะเป็นการถ่ายทอด วิทยาการจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง ซึ่งถ้าเราย้อนไปศึกษาเนื้อหาหนังสือพิมพ์ในอดีต เราจะพบประวัติศาสตร์ทางความคิดของสังคมในยุคที่ผ่าน ๆ มาเป็นจํานวนมาก ดังคํากล่าว ที่ว่า “หนังสือพิมพ์เป็นกระจกสะท้อนภาพสังคม”
5 ข้อจํากัดของสื่อใหม่ คือ
(1) ความรวดเร็ว
(2) คลังข้อมูล
(3) ความรู้
(4) ความถูกต้อง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ข้อจํากัดของสื่อใหม่ คือ ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสาร เพราะสื่อใหม่เป็นการนําเสนอข้อมูลข่าวสารโดยไม่ผ่านกระบวนการตรวจสอบ คัดเลือก และคัดกรองจากบรรณาธิการ ดังนั้นสิ่งที่นักวารสารศาสตร์ต้องทําอย่างมากเมื่อมาทําข่าวออนไลน์ก็คือ ต้องไม่ลืมกลั่นกรองคุณภาพข้อมูลตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดของข้อมูลที่ นําเสนอ อันจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่สู่สาธารณชน
6 ข้อจํากัดของการแสวงหาความจริง (Search for Truth)
(1) การนําเสนอด้วยความรวดเร็ว
(2) การกระตุ้นสถานะการเงินหนังสือพิมพ์
(3) ข้อมูลข่าวสารไม่มีประโยชน์ต่อสังคม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ข้อจํากัดของการแสวงหาความจริง (Search for Truth) คือ การที่สื่อมวลชน นําเสนอข่าวด้วยความรวดเร็วในลักษณะวันต่อวัน และต้องทํางานแข่งกับเวลาเพื่อให้ทันเวลาปิดข่าว ทําให้อาจเกิดอุปสรรคต่อการแสวงหาข้อเท็จจริงได้อย่างครบถ้วนรอบด้าน
7 อุดมการณ์ข่าว (News Ideology) คือ
(1) ความสําคัญ
(2) ความน่าสนใจ
(3) การแสวงหาความจริง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3(คําบรรยาย) อุดมการณ์ข่าว (News Ideology) คือ การตัดสินใจกลั่นกรอง เริ่มตั้งแต่การที่ สื่อแสวงหาหรือรวบรวมข้อมูล/ข้อเท็จจริง (Researching) การวินิจฉัยคุณค่า (Judgment) และการนําเสนอ (Presentation) ข้อเท็จจริงของบุคลากรข่าว ซึ่งตามทัศนะของคาร์ล มาร์ก (Karl Marx) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของนักวารสารศาสตร์ คือ การแสวงหาความจริง (Search for Truth) ให้ปรากฏ
8 การจัดวางภาพไว้ส่วนล่างของหน้าพิมพ์มีประโยชน์อย่างไร
(1) เปิดโอกาสให้วางโฆษณาบริเวณส่วนบนของหน้าพิมพ์ได้
(2) จัดหน้าง่าย
(3) เป็นการเฉลี่ยความสนใจไปทั่วหน้าพิมพ์
(4) เหมาะกับการจัดหน้า ซึ่งมีภาพจํานวนน้อย
ตอบ 3 หน้า 160 การจัดวางภาพไว้ตรงส่วนล่างของหน้าพิมพ์จะทําให้เกิดความสมดุล เป็นการเฉลี่ย ความสนใจไปทั่วหน้าพิมพ์ และยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงโฆษณาอีกด้วย เพราะภาพจะช่วยดึง สายตาของผู้อ่านไปยังโฆษณาหรือบริเวณใกล้เคียงกับโฆษณาตรงส่วนล่างได้เป็นอย่างดี
9 ข้อใดสามารถสร้างเอกลักษณ์ของหนังสือพิมพ์ได้ดีที่สุด
(1) วิธีการจัดหน้า
(2) ขนาดของหนังสือพิมพ์
(3) คําขวัญของหนังสือพิมพ์
(4) ชื่อหนังสือพิมพ์
ตอบ 1หน้า 141 เอกลักษณ์ของหนังสือพิมพ์จะเกิดขึ้นจากทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏบนหน้าพิมพ์
เพื่อให้ผู้อ่านเคยชินและจําหนังสือพิมพ์ได้ โดยที่ผู้อ่านไม่จําเป็นต้องดูชื่อหนังสือพิมพ์ ได้แก่ ขนาดของหนังสือพิมพ์ (มีผลต่อเอกลักษณ์ของหนังสือพิมพ์น้อยที่สุด) จํานวนหน้า รูปแบบ ของตัวอักษร สี แนวของภาพที่เสนอ แนวของถ้อยคําที่ใช้พาดหัวข่าว และที่สําคัญที่สุดก็คือ รูปแบบหรือวิธีการจัดหน้า ซึ่งสามารถสร้างเอกลักษณ์ได้ดีที่สุด ทั้งนี้เพราะว่าหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับจะมีแนวการจัดหน้าของตนเองโดยเฉพาะ
10 ข้อใดคือแนวทางรายงานข่าวแบบพีระมิดหัวกลับ (Inverted Pyramid)
(1) สนองความอยากรู้ของผู้อ่าน
(2) จัดหน้าหนังสือพิมพ์ได้สะดวก
(3) สะดวกต่อการบรรณาธิการและพาดหัวข่าว
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แนวทางการรายงานข่าวแบบพีระมิดหัวกลับ (Inverted Pyramid) ประกอบด้วย
1 การให้ความสะดวกแก่ผู้อ่าน
2 สนองความอยากรู้ของผู้อ่าน
3 อํานวยความสะดวกสําหรับการจัดหน้าหนังสือพิมพ์
4 สะดวกต่อการบรรณาธิการและพาดหัวข่าว
11. “ความเป็นกลาง” ที่ประกอบด้วย การนําเสนอเนื้อหาเฉพาะข้อเท็จจริง และความไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดเป็นทัศนะบางส่วนของใคร
(1) เบน แบ็กดีเกียน
(2) คอนราด ฟังก์
(3) เฮมานุส
(4) คาร์ล มาร์ก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) เฮมานุส (Pertti Hemanus) ศาสตราจารย์ประจําคณะวารสารศาสตร์ และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยแทมแพร์ (Tampere) ประเทศฟินแลนด์ ได้กล่าวว่า “ความเป็นกลาง” ประกอบด้วย คุณลักษณะสําคัญ 2 ประการ ดังนี้
1 เนื้อหาที่เป็นข้อเท็จจริง (Matter of Fact Character)
2 ความไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Impartiality)
12 Interactive Media คือสื่อประเภทไหน
(1) วิทยุกระจายเสียง
(2) วิทยุโทรทัศน์
(3) ภาพยนตร์
(4) อินเทอร์เน็ต
ตอบ 4(คําบรรยาย) อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อประเภท Interactive Media คือ เอื้อต่อการมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร เพราะเป็นสื่อที่ผู้ส่งสารกับผู้รับสารสามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้โดยผ่านช่องทางการสื่อสารตอบกลับทั้งแบบทันทีทันใด และไม่ใช่ลักษณะทันทีทันใด ดังนั้น อินเทอร์เน็ตจึงเป็นสื่อที่เอื้อต่อการสื่อสารแบบสองทาง (Two Way Communication)
13 การดําเนินธุรกิจหนังสือพิมพ์รูปแบบใดมีอิทธิพลของกระแสทุนเป็นแรงผลักดัน
(1) รูปแบบธุรกิจร่วมทุน
(2) รูปแบบธุรกิจหลายกิจการ
(3) รูปแบบบริษัท จํากัด
(4) รูปแบบธุรกิจข้ามสื่อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รูปแบบธุรกิจหลายกิจการ (Conglomerate Ownership) เป็นรูปแบบการ เป็นเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ที่มีอิทธิพลของกระแสทุนเป็นแรงผลักดัน เช่น กลุ่มทรูวิชั่น (True Vision Group) เป็นต้น
14 ข้อใดเป็นความสัมพันธ์กับแหล่งข่าวที่ไม่เหมาะสม
(1) นักข่าวเป็นญาติกับแหล่งข่าว
(2) นักข่าวให้แหล่งข่าวเป็นเจ้าภาพแต่งงาน
(3) นักข่าวแต่งงานกับแหล่งข่าว
(4) นักข่าวกินเหล้ากับแหล่งข่าว
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความสัมพันธ์กับแหล่งข่าวที่ไม่เหมาะสม คือ นักข่าวกินเหล้ากับแหล่งข่าว เพราะตามประมวลจรรยามารยาท นักหนังสือพิมพ์ต้องบําเพ็ญตนให้สมเกียรติแก่วิชาชีพและต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณอันสุภาพให้สมเกียรติแก่ฐานะของตนในสังคม
15 ข้อใดถือว่าเป็นการร่วมกิจกรรมทางการเมืองที่ขัดจริยธรรม
(1) จัดสัมมนาชําแหละ คสช.
(2) วิพากษ์วิจารณ์การเมืองในโทรทัศน์
(3) รับโฆษณาพรรคการเมือง
(4) รับจ้างทําประชาสัมพันธ์ให้นักการเมือง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การร่วมกิจกรรมทางการเมืองที่ขัดจริยธรรม คือ รับจ้างทําประชาสัมพันธ์ ให้นักการเมือง ซึ่งสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ออกข้อพึงระวังของ สื่อมวลชน อาทิ ห้ามรับเงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้มุ่งรายงาน ข่าวด้านดีแก่พรรคหรือผู้สมัคร หรือมุ่งรายงานข่าวแง่ร้ายแก่คู่แข่ง (ส่วนการรับโฆษณา พรรคการเมืองสามารถทําได้ตามหลักเกณฑ์ที่ กกต. กําหนด)
16 “สินค้า” ของหนังสือพิมพ์มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
(1) สด รวดเร็ว
(2) เนื้อหาสาระ
(3) ยกระดับคุณภาพของสาธารณชน
(4) เสรีภาพในการนําเสนอ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ข่าวเปรียบเสมือน “สินค้า” ของหนังสือพิมพ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรายงาน เหตุการณ์/ข้อเท็จจริงที่มีความสําคัญและน่าสนใจ โดยมีเสรีภาพในการแสวงหาและนําเสนอ
ข่าวสารไปสู่สาธารณชน
17 จากรูปข้างล่างเป็นโครงสร้างกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์อะไร
(1) มติชน
(2) ไทยรัฐ
(3) เดลินิวส์
(4) The Nation
ตอบ 1 (คําบรรยาย) จากรูปเป็นโครงสร้างของกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์มติชน
18 การเกิดขึ้นของ Social Media ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทําข่าวสําคัญข้อใด
(1) ผู้สื่อข่าวต้องเป็นนายทวารข่าวสารด้วยตัวเอง
(2) ผู้สื่อข่าวไม่ต้องทําข่าวเอง
(3) ผู้สื่อข่าวรายงานข่าวได้ทันที
(4) มีการจ้างผู้สื่อข่าวน้อยลง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การเกิดขึ้นของ Social Media ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทําข่าว ที่สําคัญ คือ ผู้สื่อข่าวจะต้องเป็นนายทวารข่าวสาร (Gatekeeper) ด้วยตัวเอง โดยทําหน้าที่ คัดเลือก คัดกรอง และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลข่าวก่อนที่จะนําเสนอไปสู่สาธารณชน ดังนั้นสื่อใหม่จึงลดบทบาทการทําหน้าที่ของบรรณาธิการข่าวหรือหัวหน้าข่าว (News Editor) ซึ่งเคยเป็นนายทวารข่าวสารในองค์กรสื่อแบบดั้งเดิม
19 ผู้นําหนังสือข่าวมาเผยแพร่ในประเทศไทยครั้งแรก คือ
(1) Fred S. Siebert
(2) Dan Beach Bradley
(3) Mark Zuckerberg
(4) Bill Gates
ตอบ 2 หน้า 2, 100, (คําบรรยาย) ตามประวัติการหนังสือพิมพ์นั้น หนังสือข่าวเกิดขึ้นเพื่อประกาศ ข่าวการเดินเรือและขนส่งสินค้า โดยหมอสอนศาสนาบรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) เป็น ผู้นําหนังสือข่าวมาเผยแพร่ในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2437 คือ หนังสือจดหมายเหตุ กรุงเทพ หรือบางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder)
20 องค์ประกอบของข่าว คือ
(1) ความสําคัญ/ความน่าสนใจ
(2) ความใกล้ชิด/ความเด่น
(3) ข้อเท็จจริง/ประเด็นซับซ้อน
(4) ความผิดปกติ/ความสนใจตามปุถุชนวิสัย
ตอบ 1 หน้า 39 – 40, (คําบรรยาย) องค์ประกอบของข่าวที่ควรพิจารณา คือ ข่าวนั้นต้องเป็นสิ่งที่ ประชาชนอยากรู้ (Want to know) เป็นเรื่องที่ประชาชนควรรู้ (Ought to know) และเป็น สิ่งที่ประชาชนต้องรู้ (Have to know) ดังนั้นข่าวที่มีคุณค่าสูงจึงมักมีองค์ประกอบของข่าว คือ ความสําคัญ (Significance) และความน่าสนใจ (Interest) ในตัวเอง
21 หนังสือพิมพ์ประเภทไหนเน้น News Value เป็นอันดับแรก
(1) ข่าวประเด็นซับซ้อน
(2) ข่าวสืบสวน
(3) ข่าวสาระหนัก
(4) ข่าวประเด็นเดียว
ตอบ 3 หน้า 41, (คําบรรยาย, หนังสือพิมพ์ประเภทข่าวสาระหนัก (Hard News) เน้นองค์ประกอบ ของคุณค่าข่าว (News Value) ด้านความสําคัญ (Significance) เป็นอันดับแรก ประกอบด้วย
1 ผลกระทบ (Consequence)
2 ความขัดแย้ง (Conflict)
3 ความลึกลับซับซ้อน (Suspense)
22 วารสารศาสตร์ที่ได้รับความสนใจ เพื่อนํามาใช้พัฒนาคุณภาพในสังคมโลกาภิวัตน์ คือ
(1) วารสารศาสตร์แนวใหม่ (New Journalism)
(2) วารสารศาสตร์เพื่อสังคม (Advocacy Journalism)
(3) วารสารศาสตร์เชิงวิจัย (Precision Journalism)
(4) วารสารศาสตร์เชิงบริการ (Service Journalism or Marketing Approach to News)
ตอบ 3 (คําบรรยาย) วารสารศาสตร์เชิงวิจัย (Precision Journalism) ถือเป็นวารสารศาสตร์ที่ได้รับ ความสนใจ เพื่อนํามาใช้พัฒนาคุณภาพในสังคมโลกาภิวัตน์ เพราะเป็นวารสารศาสตร์ที่สามารถ เข้าสู่ความเป็นกลางได้มากที่สุดกว่าวารสารศาสตร์แบบอื่น
23 คอลัมน์ใดที่เป็นพื้นที่แสดงความคิดและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมเป็นอย่างมาก
(1) คอลัมน์แนะนํา
(2) คอลัมน์จดหมายจากผู้อ่าน
(3) คอลัมน์จิปาถะ
(4) คอลัมน์บทความทั่วไป
ตอบ 4 หน้า 161, (คําบรรยาย) คอลัมน์บทความทั่วไป เป็นคอลัมน์ที่เปิดโอกาสให้ผู้อ่าน นักวิชาการ หรือผู้เชี่ยวชาญส่งข้อเขียนมาร่วมแสดงความรู้ ความคิดเห็นในเรื่องที่สนใจ จึงถือเป็นคอลัมน์ที่เปิดพื้นที่แสดงความคิดและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมเป็นอย่างมาก
24 บทวิจารณ์ที่เรียกว่า “พินิจ” (Review) คือ
(1) สรุปสาระใจความของเนื้อหา
(2) แสดงความคิดเห็น
(3) ชี้แนะเชิงเปรียบเทียบ
(4) ไม่มีเงื่อนไขเรื่องเวลา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) สุภา ศิริมานนท์ ได้ให้ทัศนะต่อบทวิจารณ์ที่เรียกว่า “พินิจ” (Review) คือ การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลงานที่เขียนถึงด้วยการสรุปสาระใจความของเนื้อหา/ผลงานชิ้นนั้น
25 จุดเปลี่ยนสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อหนังสือพิมพ์ภายหลังของการเกิดสื่อใหม่ คือ
(1) คนอ่านหนังสือพิมพ์น้อยลง
(2) ยอดโฆษณาลดลง
(3) หนังสือพิมพ์พิมพ์ได้รวดเร็วขึ้น
(4) เกิดหนังสือพิมพ์เฉพาะมากขึ้น
ตอบ 1(คําบรรยาย) จุดเปลี่ยนสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อหนังสือพิมพ์ภายหลังของการเกิดสื่อใหม่ คือ คนอ่านหนังสือพิมพ์กระดาษน้อยลง เพราะการเกิดขึ้นของสื่อใหม่โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต ทําให้ คนหันไปอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ หรือรับข่าวสารจากเครือข่ายสังคมออนไลน์อื่น ๆ มากขึ้น เช่น Facebook, Line, Twitter ฯลฯ
26 การเสนอข่าวลําเอียงเพราะกลัวอิทธิพล ผิดจรรยาบรรณข้อใด
(1) ขาดความมีเสรีภาพ
(2) ขาดความเป็นไท
(3) ขาดความจริงใจ
(4) ขาดความเที่ยงธรรม
ตอบ 4 หน้า 227 สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้กําหนดจริยธรรมของนักหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2510 ข้อ 5 ความเที่ยงธรรม ได้แก่ ความไม่ลําเอียงหรือความไม่เข้าใครออกใคร ตรงกับ หลักธรรมในพุทธศาสนา คือ ความไม่มีอคติ 4 ประการ ดังนี้
1 ฉันทาคติ ลําเอียงเพราะรัก)
2 โทสาคติ ลําเอียงเพราะซัง)
3 โมหาคติ ลําเอียงเพราะหลง)
4 ภยาคติ ลําเอียงเพราะกลัว)
27 ข้อใดไม่ใช่สิทธินามธรรม
(1) เกียรติยศชื่อเสียง
(2) ความยอมรับนับถือ
(3) สิทธิการเป็นข้าราชการ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สิทธิ หมายถึง หลักเสรีภาพหรือการให้สิทธิทางกฎหมาย สังคม หรือจริยศาสตร์ แบ่งออกเป็น
1 สิทธินามธรรม (จับต้องหรือสัมผัสไม่ได้) เช่น ความยอมรับนับถือ เกียรติยศ ชื่อเสียง ฯลฯ
2 สิทธิรูปธรรม (จับต้องหรือสัมผัสได้) เช่น สิทธิการเป็นข้าราชการ ฯลฯ
28 การพัฒนาบทบาทหนังสือพิมพ์เริ่มในยุคใด
(1) รัชกาลที่ 4
(2) รัชกาลที่ 5
(3) รัชกาลที่ 6
(4) รัชกาลที่ 7
ตอบ 3 หน้า 106 – 109, (คําบรรยาย) การพัฒนาบทบาทหนังสือพิมพ์เริ่มขึ้นในยุครัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นยุคที่รากฐานเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ได้เริ่มขึ้นในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กล่าวคือ เป็นยุคที่นักหนังสือพิมพ์กล้าแสดงออกทางความคิด และกล้าคัดค้านในเรื่องที่ ตนเองไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับการบริหารบ้านเมือง รวมทั้งยังสามารถตรวจสอบข้าราชการ เป็นหูเป็นตาแทนรัฐบาลด้วยการเสนอข่าวสารข้อมูล
29 ส่วนประกอบการเขียนข่าวแบบพีระมิดหัวกลับ คือ
(1) ส่วนนํา, ส่วนเชื่อม, เนื้อหา
(2) ส่วนเชื่อม, เนื้อหา, ส่วนสรุป
(3) ส่วนนํา, เนื้อหา, ส่วนสรุป
(4) ส่วนภาพ, เนื้อหา, ส่วนสรุป
ตอบ 1(คําบรรยาย) ส่วนประกอบของการเขียนข่าวแบบพีระมิดหัวกลับ (Inverted Pyramid)
มีดังนี้
1 ความนําหรือส่วนนํา (Lead)
2 ส่วนเชื่อม (Bridge)
3 เนื้อหา (Body)
30 ต.ว.ส.วัณณาโกหรือเทียนวรรณ ได้ออกหนังสือพิมพ์เพื่อพัฒนาท้องถิ่นและให้ความรู้ทางการเมืองชื่ออะไร
(1) สยามประเภท
(2) ตุลยวิภาคพจนกิจ
(3) ศิริพจนรายเดือน
(4) บางกอกรีคอร์เดอร์
ตอบ 2 หน้า 104 – 105, (คําบรรยาย) ต.ว.ส.วัณณาโกหรือเทียนวรรณ ได้ออกหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อว่า “ตุลยวิภาคพจนกิจ” เป็นหนังสือพิมพ์รายเดือนเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและให้ความรู้ทางการเมือง ซึ่งชื่อหนังสือพิมพ์มีความหมายว่า การเสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมาดุจตาชั่ง
31 “ยุคมืดแห่งวงการหนังสือพิมพ์” อยู่ในสมัยนายกรัฐมนตรีท่านใด
(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(2) จอมพลถนอม กิตติขจร
(3) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
(4) นายสัญญา ธรรมศักดิ์
ตอบ 3 หน้า 114 ยุคมืดแห่งวงการหนังสือพิมพ์ไทยอย่างแท้จริง คือ ยุคที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2501 – 2506) เนื่องจากมีการใช้อํานาจด้านกฎหมายของประกาศ คณะปฏิวัติฉบับที่ 17 (ปว. 17) และใช้อิทธิพลบีบบังคับหนังสือพิมพ์ไม่ให้แสดงความคิดเห็น ได้อย่างเสรี รวมทั้งยังมีการใช้กําลังคุกคาม จับกุม กักขังนักหนังสือพิมพ์และประชาชนทั่วไป ในข้อหามีการกระทําอันเป็นคอมมิวนิสต์
32 จุดด่างทางการเมือง คือเหตุการณ์ใด
(1) “ไฮด์ปาร์ค”
(2) “วันมหาวิปโยค”
(3) “สําลักประชาธิปไตย”
(4) “พฤษภาทมิฬ”
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” ระหว่าง 17 – 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ในยุค รัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร ถือเป็นโศกนาฏกรรมทางการเมือง และเป็นจุดด่างดําของ ประวัติศาสตร์การเมืองไทย เพราะหากสื่อมวลชนในยุคนั้นมีเสรีภาพในการรายงานข่าวสาร ก็จะไม่เกิดความรุนแรงจนทําให้ประชาชนเสียชีวิตเป็นจํานวนมากได้อย่างอิสระและโปร่งใส
33 ข้อใดเป็นจริยธรรมของหนังสือพิมพ์
(2) ไม่ลอกข่าวหนังสือพิมพ์อื่น
(1) ไม่สอดแทรกความคิดเห็นนักข่าว
(3) เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงข่าว
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ. 2559 ได้มีมติให้ยกเลิก ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2541 เนื่องจากประกาศใช้มานาน ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง จึงให้ใช้ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2559 แทน เช่น ข้อ 11 หนังสือพิมพ์ต้องเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่ถูกกล่าวหาแสดงข้อเท็จจริง…. ข้อ 22 หนังสือพิมพ์ต้องไม่สอดแทรกความคิดเห็นลงในข่าว, ข้อ 26 หนังสือพิมพ์ต้องบอก ที่มาของข้อความที่คัดลอกมาจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ นอกเหนือไปจากการขออนุญาตจาก แหล่งข้อมูลนั้นแล้ว เป็นต้น
34 ข้อใดไม่ใช่บทบาทหนังสือพิมพ์ของระบบสังคมประชาธิปไตย
(1) การเป็นกระบอกเสียงให้รัฐบาล
(2) การเป็นนายทวารข่าวสาร
(3) การเป็นสุนัขยาม
(4) การเป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลง
ตอบ 1 หน้า 16 หนังสือพิมพ์จะมีบทบาทในระบบสังคมประชาธิปไตย ดังนี้
1 การเป็นนายทวารข่าวสาร หรือนายด่านข่าวสาร
2 การเป็นผู้แจ้งข่าวสาร
3 การเป็นสุนัขยาม หรือสุนัขเฝ้าบ้าน
4 การรับเรื่องราวร้องทุกข์
5 การเป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลง
35 ต้นแบบของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติมาจากประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) ฟินแลนด์
(3) สวีเดน
(4) ญี่ปุ่น
ตอบ 3 หน้า 229, (คําบรรยาย) สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เป็นองค์กรอิสระที่ทําหน้าที่ควบคุม กันเอง เพื่อส่งเสริมเสรีภาพ ความรับผิดชอบ สถานภาพของผู้ประกอบวิชาชีพ และกิจการ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ โดยมีต้นแบบมาจากประเทศสวีเดน ซึ่งมีสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ทําหน้าที่ควบคุมกันเองมากว่า 250
36 เทคโนโลยีข่าวสารยุคโลกาภิวัตน์ คือ
(1) อํานาจ
(2) คลังข้อมูล
(3) รายได้
(4) การสื่อสารไร้พรมแดน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เทคโนโลยีข่าวสารยุคโลกาภิวัตน์ คือ การสื่อสารไร้พรมแดน เนื่องจากสื่อใหม่
โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต เป็นสื่อที่เชื่อมต่อข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้ใช้งานในลักษณะเครือข่ายที่ครอบคลุมถึงกันทั่วโลก ส่งผลให้ผู้ใช้งานสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดยไม่มีพรมแดนทางภูมิศาสตร์ขวางกั้น
37 ข้ออ้างที่เป็นตัวแปรของปัญหาในทางปฏิบัติเรื่องจริยธรรม คือ
(1) ความเป็นกลาง
(2) ความถูกต้อง
(3) ความเที่ยงธรรม
(4) ความอยู่รอด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ข้ออ้างที่เป็นตัวแปรของปัญหาในทางปฏิบัติเรื่องจริยธรรม คือ ระดับของ ความตระหนักถึงจริยธรรมจะลดลงเมื่อต้องตัดสินใจนําเสนอข่าวที่มีลักษณะคาบเกี่ยวกับ จริยธรรม โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับความถูกต้องตามความเป็นจริง และความเชื่อถือได้
38 การควบคุมหนังสือพิมพ์แนวทางใดมีประสิทธิภาพมากที่สุด
(1) การควบคุมโดยกฎหมาย
(2) การควบคุมโดยผู้บริโภค
(3) การควบคุมกันเอง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) แนวทางการควบคุมหนังสือพิมพ์มีอยู่ 3 ประเภท ดังนี้
1 การควบคุมโดยกฎหมาย
2 การควบคุมกันเอง
3 การควบคุมโดยผู้บริโภค (เป็นการควบคุมหนังสือพิมพ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด)
39 หลัก 3 R อยู่ในกระบวนการรายงานข่าวข้อใด
(1) ความไม่ลําเอียง
(2) การใช้ภาษา
(3) การเสนอข่าวแบบไม่มีอคติ
(4) การไม่ใส่ความเห็นในข่าว
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สิ่งที่ควรคํานึงในเรื่องกระบวนการรายงานข่าวประการหนึ่ง คือ การเสนอข่าว แบบไม่มีอคติ ได้แก่ ไม่ควรมีอคติส่วนตัวต่อบุคคลในข่าวที่เกิดจากเชื้อชาติ (Race) ศาสนา (Religion) และสถาบันกษัตริย์ (Royal) ซึ่งเรียกว่า “หลัก 3 R”
40 “Shovelware” คือ
(1) Line TV
(2) Netflix
(3) Thairath Online
(4) YouTube
ตอบ 3 (คําบรรยาย) Shovelware คือ รูปแบบจากหนังสือพิมพ์กระดาษลงสู่เว็บไซต์โดยไม่ได้ปรับ เนื้อหา หรือหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่นําเสนอเนื้อหาข่าวในเว็บไซต์ด้วยการคัดลอกจากเนื้อหา ในกระดาษ เช่น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ (Thairath Online) เป็นต้น
41 สื่อมวลชนประเภทใดที่ใช้ทรัพยากรของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะที่มีอยู่อย่างจํากัด
(1) หนังสือพิมพ์
(2) วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
(3) สื่อออนไลน์
(4) เรด้า
ตอบ 2 (คําบรรยาย) วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เป็นสื่อมวลชนที่อาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะที่มีอยู่อย่างจํากัด เพื่อใช้ในการส่งสัญญาณ ภาพและเสียงออกไปสู่เครื่องรับที่กระจายอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ
42 สังคมต้องการอะไรจากสื่อมวลชน
(1) ความรับผิดชอบ
(2) ข้อเท็จจริง
(3) ความเป็นกลาง
(4) โปร่งใส
ตอบ 1(คําบรรยาย) ความรับผิดชอบ เป็นเงื่อนไขสําคัญที่สังคมคาดหวังจากนักวิชาชีพสื่อมวลชน และหนังสือพิมพ์ ดังนั้นความรับผิดชอบต่อข้อเท็จจริงของสื่อมวลชนจึงถือเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่มีบทบาทสําคัญต่อคุณภาพการผลิตข่าว
43 สื่อใหม่ลดบทบาทการทําหน้าที่ใดในกองบรรณาธิการ
(1) ผู้สื่อข่าว
(2) หัวหน้าข่าว
(3) ช่างภาพ
(4) คอลัมน์นิสต์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18 ประกอบ
44 บุคคลที่ถูกสมมุติขึ้นตามกฎหมาย หมายถึง
(1) บุคคลธรรมดา
(2) นิติบุคคล
(3) นายกรัฐมนตรี
(4) รัฐมนตรี
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คําว่า “บุคคลธรรมดา” หมายถึง บุคคลที่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ส่วนคําว่า “นิติบุคคล” หมายถึง บุคคลที่ถูกสมมุติขึ้นตามกฎหมาย โดยกฎหมายรับรอง ให้มีสิทธิและหน้าที่ได้เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา
45 ข้อมูลข่าวสารใดที่รัฐต้องเปิดเผย
(1) แผนงานและงบประมาณประจําปี
(2) สัมปทานที่มีลักษณะผูกขาดตัดตอน
(3) ผลการพิจารณาคําวินิจฉัยเกี่ยวกับการประมูลโครงการ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 188, 190 ข้อมูลข่าวสารที่รัฐต้องเปิดเผย (ต้องจัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้) ตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 9 มีดังนี้
1 ผลการพิจารณาหรือคําวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน (เช่น ผลการประมูลโครงการ)
2 แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจําปี
3 คู่มือหรือคําสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ
4 สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน หรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชน ในการจัดทําบริการสาธารณะ
5 มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน ฯลฯ
46 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่บุคคลอื่น อันมีลักษณะที่เป็นการก่อให้เกิด ความเดือดร้อนรําคาญ จะมีความผิดถูกลงโทษอย่างไร
(1) ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 11 วรรค 2 ระบุว่า ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นอันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการ ตอบรับได้โดยง่าย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
47 ผู้ใดฝากร้านใน Facebook หรือ IG จะมีความผิดอย่างไร
(1) ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ
48 ผู้ที่นําข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ มีความผิดตามมาตรา 14 ต้องระวางโทษอย่างไร
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 14 ได้ระบุเอาไว้ว่า ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา…
49 ถ้าใครโพสภาพ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ทําให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียง จะมีความผิดอย่างไร
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 16 ระบุว่า ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจจะเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท ถ้าการกระทําตามวรรค 1 เป็นการกระทําต่อภาพของผู้ตาย และการกระทํานั้น น่าจะทําให้บิดามารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง หรือ ได้รับความอับอาย ผู้กระทําต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในวรรค 1…
50 นําภาพผู้อื่นมาตัดต่อแล้วโพสลง Facebook ทําให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ
51 สื่อมวลชนเก่าแก่ที่สุด คือ
(1) หลักศิลาจารึก
(2) หนังสือพิมพ์
(3) นิตยสาร
(4) วารสาร
ตอบ 2 หน้า 1, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เกิดขึ้นก่อนสื่อชนิดอื่น ๆ และได้ชื่อว่า เป็นสื่อมวลชนที่เก่าแก่ที่สุด กําเนิดขึ้นเพื่อสนองเนื้อหาด้วยวิธีการพิมพ์ตัวอักษรบนกระดาษหรือวัสดุชนิดใดชนิดหนึ่งที่เอื้อให้ผู้อ่านเปิดและพกพาได้สะดวก
52 วารสารศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยอะไร
(1) หลักการทําวารสาร
(2) หลักการทําหนังสือพิมพ์
(3) หลักการเสนอข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบัน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แต่เดิมคําว่า “วารสารศาสตร์” (Journalism) หมายถึง วิชาการเกี่ยวกับการ ทําหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และวารสาร แต่ภายหลังงานวารสารศาสตร์มีความหมายครอบคลุมไปถึงกระบวนการรายงานข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบันของสื่อมวลชนทุกแขนง นอกเหนือไปจาก แค่สื่อสิ่งพิมพ์ ดังนั้นวารสารศาสตร์จึงได้แตกแขนงออกเป็นสาขาต่าง ๆ ตามสื่อมวลชนนั้น ๆ Oulun Print Journalism, Broadcast Journalism, Online Journalism, Political Journalism ฯลฯ
53 ข้อใดเป็นสาขาของวารสารศาสตร์
(1) Print Journalism
(2) Online Journalism
(3) Broadcast Journalism
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 52 ประกอบ
54. ใครคือนักวารสารศาสตร์
(1) นักเขียนเรื่องสั้น นวนิยาย
(2) นักข่าว
(3) นักแต่งเพลง
(4) นักเขียนบทละครโทรทัศน์
ตอบ 2 (คําบรรยาย) นักวารสารศาสตร์ (Journalist) คือ นักข่าว (Reporter) หรือนักหนังสือพิมพ์ ซึ่งทําหน้าที่สื่อข่าวหรือรายงานข่าวที่อยู่ในความสนใจของประชาชน (ส่วนนักเขียนเรื่องสั้น นวนิยาย บทละคร หรือบันเทิงคดีอื่น ๆ ไม่ถือว่าเป็นนักวารสารศาสตร์)
55 สื่อมวลชนในระบบใดที่ปราศจากการแทรกแซงจากรัฐบาล
(1) Soviet – Communist
(2) Libertarian
(3) Authoritarian
(4) Social Responsibility
ตอบ 2
(คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีอิสรภาพนิยม (Libertarian) มีลักษณะดังนี้
1 การควบคุม คือ รัฐบาลไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือปราศจากการแทรกแซงจากรัฐบาล
2 นโยบายการใช้สื่อ คือ เน้นเสรีภาพทางความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ
3 ประเทศ “โลกที่ 1” (Free World) ที่ใช้ระบบนี้ คือ ประเทศในยุโรปตะวันตกและในทวีปอเมริกาเหนือบางประเทศ
56 วารสารศาสตร์เปรียบเสมือนกระบอกเสียงในการถ่ายทอดอุดมการณ์ของผู้ปกครอง และสร้าง
ความน่าเชื่อถือศรัทธาในรัฐบาลและผู้นํา เป็นวารสารศาสตร์ของประเทศใด
(1) วารสารศาสตร์ของประเทศโลกที่ 1
(2) วารสารศาสตร์ของประเทศโลกที่ 2
(3) วารสารศาสตร์ของประเทศโลกที่ 3
(4) วารสารศาสตร์ของประเทศโลกที่ 4
ตอบ 2 (คําบรรยาย) วารสารศาสตร์ของประเทศโลกที่ 2 (Second World) ได้แก่ โซเวียตและ ประเทศคอมมิวนิสต์ จะมีนโยบายการใช้สื่อในลักษณะเป็นกระบอกเสียงในการถ่ายทอด อุดมการณ์ของผู้ปกครอง (ลัทธิคอมมิวนิสต์) และสร้างความน่าเชื่อถือศรัทธาในรัฐบาลและ ผู้นํา ตลอดจนสร้างเสริมรสนิยมทางวัฒนธรรมของมวลชน
57 ปัญหายาเสพติดในวัยรุ่น เป็นการทําหน้าที่ด้านใดของหนังสือพิมพ์
(1) เฝ้าระวัง/สังเกตการณ์สังคม
(2) เชื่อมโยงหน่วยต่าง ๆ ในสังคม
(3) ถ่ายทอดมรดกของสังคมจากรุ่นสู่รุ่น
(4) คลายความเครียด ให้ความบันเทิง
ตอบ 1(คําบรรยาย) บทบาทการเฝ้าระวัง/สังเกตการณ์สังคม (Social Surveillance) ของฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold Lasswell) คือ การแสวงหาและเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกสังคม โดยจะทําหน้าที่เฝ้าระวังหรือคอยสังเกตการณ์ปัญหา ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในสังคม และรายงานให้ประชาชนรับรู้ เช่น ปัญหายาเสพติดในวัยรุ่น ฯลฯ
58 ข้อใดเป็นบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในสังคมประชาธิปไตย
(1) รายงานข่าวสารความเคลื่อนไหวของสังคม
(2) เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ในสังคม
(3) ให้ความผ่อนคลายด้วยสาระบันเทิงแก่ผู้อ่าน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 14 – 15, (คําบรรยาย) บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในสังคมประชาธิปไตย มีดังนี้
1 รายงานข่าวสารความเคลื่อนไหวในสังคม (To Inform)
2 เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ในสังคม (To Give Opinion)
3 ให้ความผ่อนคลายด้วยสาระบันเทิงแก่ผู้อ่าน (To Entertain)
4 เป็นสื่อกลางโฆษณาสินค้าให้ผู้บริโภคมีทางเลือก (To Advertise)
59 เหตุผลสําคัญที่มีโฆษณาของหนังสือพิมพ์ในสังคมระบบทุนนิยมเสรีประชาธิปไตย
(1) ปลอดจากการควบคุมสั่งการโดยรัฐหรือกลุ่มบุคคลใดโดยเฉพาะ
(2) แสวงหากําไร
(3) ให้ผู้อ่านได้มีทางเลือกในการบริโภคสินค้า
(4) ใช้เป็นต้นทุนในการผลิตหนังสือพิมพ์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 58 ประกอบ
60. หนังสือพิมพ์เป็นธุรกิจประเภทใด
(1) ธุรกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะ
(2) ธุรกิจกึ่งสาธารณะ
(3) ธุรกิจเพื่อประโยชน์ของนายทุน
(4) ธุรกิจของบรรณาธิการและนักข่าว
ตอบ 2 หน้า 11, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์เป็นธุรกิจประเภทหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษ คือ เป็นสถาบัน สาธารณะ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็น “ธุรกิจกึ่งสถาบันสาธารณะ” (Quasi Public Institution)
ดังนั้นจึงต้องดําเนินกิจการเพื่อความอยู่รอดควบคู่กันไปกับการรับใช้สังคม
61 การติดตามรายงานข่าวคดีล่าเสือดําของเจ้าของบริษัทใหญ่อย่างไม่ลดละ เป็นการทําหน้าที่ใด
(1) Gatekeeper
(2) Agenda Setter
(3) Nose for News
(4) Social Watchdog
ตอบ 4 หน้า 17, (คําบรรยาย) บทบาทการเป็นสุนัขเฝ้าบ้าน (Social Watchdog) คือ การพิทักษ์ ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน โดยเฝ้าจับตาดูแลสอดส่องหรือติดตามการปฏิบัติงานของ รัฐบาล เจ้าหน้าที่ และกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดทุจริตคอร์รัปชั่น การเลี่ยงภาษี หรือการกระทําที่ไม่ถูกต้องต่าง ๆ จึงถือเป็นบทบาทที่มีผลต่อการทํางานของนักข่าวมากที่สุด เพราะต้องทําหน้าที่เสมือนกับการเป็นหมาเฝ้าบ้านที่คอยจับตาและส่งเสียงเตือนภัยเมื่อเกิด เหตุการณ์ผิดปกติที่จะส่งผลกระทบต่อสังคม เช่น เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น ภาวะเศรษฐกิจ ถดถอย คลื่นยักษ์สึนามิแผ่นดินไหว พายุรุนแรง น้ําท่วม โรคระบาด ฯลฯ
62 หนังสือพิมพ์เปรียบเหมือนมหาวิทยาลัยของประชาชน เป็นคํากล่าวของใคร
(1) พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
(2) อิศรา อมันตกุล
(3) ศ.พิเศษ เสถียร พันธรังษี
(4) สุภา ศิริมานนท์
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ศ.พิเศษ เสถียร พันธรังษี กล่าวถึงหนังสือพิมพ์ในฐานะเป็นสื่อมวลชนสําคัญ ในการให้ความรู้แก่ประชาชนไว้ว่า “หนังสือพิมพ์เปรียบเหมือนมหาวิทยาลัยของประชาชน” คือ เป็นแหล่งให้ความรู้ทั่วไป ซึ่งหนังสือพิมพ์ต้องปฏิบัติตามเสมือนหนึ่งว่า เป็นครูบาอาจารย์ ของศิษย์ทั้งหลาย ในที่นี้ก็คือ ผู้อ่านหนังสือพิมพ์
63 หนังสือพิมพ์ที่เสนอข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ เป็นหนังสือพิมพ์ประเภทใด
(1) Soft News Newspaper
(2) Hard News Newspaper
(3) Combination Newspaper
(4) Specialized Newspaper
ตอบ 2 หน้า 41, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ประเภทเน้นข่าวหนัก (Hard News Newspaper) คือ หนังสือพิมพ์ที่เสนอข่าวที่ให้น้ําหนักต่อความสําคัญของเรื่องมากกว่าอย่างอื่น ซึ่งผู้อ่านจะต้อง ใช้ความรู้ความเข้าใจในการอ่านพอสมควร เช่น ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ ฯลฯ
64 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เป็นหนังสือพิมพ์ประเภทใด
(1) หนังสือพิมพ์ระดับชาติ
(2) หนังสือพิมพ์ชุมชน
(3) หนังสือพิมพ์ภูมิภาค
(4) หนังสือพิมพ์ระดับท้องถิ่น
ตอบ 1 หน้า 7, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ระดับชาติ (National Newspaper) หรือที่บางคนเรียกว่า “หนังสือพิมพ์ส่วนกลาง” หมายถึง หนังสือพิมพ์ที่ออกในเขตเมืองหลวงหรือส่วนกลาง โดยมี ตลาดการจําหน่ายไปทั่วประเทศ และมียอดจํานวนจําหน่ายสูง เช่น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ มติชน ข่าวสด เดลินิวส์ ฯลฯ
65 หนังสือพิมพ์ข่าวรามคําแหง เป็นหนังสือพิมพ์ประเภทใด
(1) หนังสือพิมพ์ระดับชาติ
(2) หนังสือพิมพ์ระดับท้องถิ่น
(3) หนังสือพิมพ์ภูมิภาค
(4) หนังสือพิมพ์ในสถานศึกษา
ตอบ 4 หน้า 8, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ในสถานศึกษา (School Newspaper) คือ หนังสือพิมพ์ ที่จัดทําขึ้นเพื่อเผยแพร่ข่าวสารในสถานศึกษานั้น ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ข่าวรามคําแหง เป็นต้น หรือหนังสือพิมพ์ที่จัดทําขึ้นโดยนิสิต นักศึกษา และมีอาจารย์เป็นผู้ควบคุมดูแล ซึ่งสถาบันที่มี การเรียนการสอนด้านนิเทศศาสตร์และวารสารศาสตร์ มักมีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษาได้ลงมือฝึกปฏิบัติผลิตหนังสือพิมพ์จริง นอกเหนือไปจากการเรียนภาคทฤษฎีแต่เพียงอย่างเดียว เช่น หนังสือพิมพ์ฝึกหัดอาร์ยูนิวส์ (RU News) ของ ม.รามคําแหง เป็นต้น
66 หนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ (Broadsheet Newspaper) มีความกว้างยาวกี่นิ้ว
(1) กว้าง 20 นิ้ว ยาว 30 นิ้ว
(2) กว้าง 14 นิ้ว ยาว 23 นิ้ว
(3) กว้าง 111/2 นิ้ว ยาว 141/2 นิ้ว
(4) กว้าง 14 นิ้ว ยาว 23 นิ้ว
ตอบ 2 หน้า 7 – 8 (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์แบ่งตามรูปแบบออกได้เป็น 2 ขนาด ดังนี้
1 หนังสือพิมพ์ขนาดมาตรฐาน (Standard Size) หรือหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ (Broadsheet Newspaper) จะมีความกว้าง 14 นิ้ว ยาว 23 นิ้ว
2 หนังสือพิมพ์ขนาดแท็บลอยด์ (Tabloid Newspaper) หรือหนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก มักจะ มีขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ คือ กว้าง 111/2 นิ้ว ยาว 141/2 นิ้ว
67 หนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก (Tabloid Newspaper) มีความกว้างยาวกี่นิ้ว
(1) กว้าง 20 นิ้ว ยาว 30 นิ้ว
(2) กว้าง 14 นิ้ว ยาว 23 นิ้ว
(3) กว้าง 111/2 นิ้ว ยาว 141/2 นิ้ว
(4) กว้าง 14 นิ้ว ยาว 23 1/2 นิ้
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 66 ประกอบ
68 ต่อไปนี้เรื่องใดปกติไม่ปรากฏที่หน้า 1 ของหนังสือพิมพ์รายวัน
(1) ชื่อหนังสือพิมพ์ พร้อมสัญลักษณ์
(2) ปีที่ ฉบับที่ วันที่ เดือน ปี
(3) บทนํา
(4) ภาพประกอบข่าวและภาพข่าว
ตอบ 3 หน้า 145 – 148 หน้าแรกหรือหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์ (เปรียบเสมือนปก) เป็นหน้าสําคัญ ที่มีผลต่อความอยู่รอดของหนังสือพิมพ์มากที่สุด ประกอบด้วย
1 ชื่อหนังสือพิมพ์ พร้อมทั้งสัญลักษณ์ (Logo) คําขวัญ (Slogan) และอาจมีข้อมูลต่าง ๆ ใต้ตัวอักษรชื่อหนังสือพิมพ์ เช่น ปีที่ ฉบับที่ วันที่ เดือน ปี ฯลฯ
2 ส่วนข้างหัวหนังสือพิมพ์ (Ears)
3 ข่าว (ถือเป็นองค์ประกอบที่สําคัญที่สุด)
4 ภาพประกอบข่าวและภาพข่าว
5 สารบัญข่าว
6 โฆษณา
7 คอลัมน์ประจํา (อาจมีหรือไม่มีก็ได้) เช่น จดหมายเปิดผนึก ตอบปัญหา หรือคอลัมน์ส่วนตัว
ของบรรณาธิการ ฯลฯ
69 ฉบับแยกส่วน (Section) ของหนังสือพิมพ์ จัดทําเพื่อประโยชน์ใด
(1) แจกฟรีผู้อ่าน
(2) จัดสัดส่วนเพื่อความสะดวกแก่ผู้อ่าน
(3) แบ่งข่าวหนักกับข่าวเบาออกจากกัน
(4) สะดวกในการโฆษณาสินค้าต่าง ๆ
ตอบ 2 หน้า 31 – 32 การที่ธุรกิจหนังสือพิมพ์ขยายตัวและมีการแข่งขันสูงขึ้น ประกอบกับผู้บริโภค ต้องการข่าวสารมากขึ้น ทําให้หนังสือพิมพ์มีเนื้อหาและมีความหนามากเกินไป ดังนั้นจึงมีฉบับ แยกส่วน (Section) ของหนังสือพิมพ์ ซึ่งจัดสัดส่วนของเรื่องให้เป็นหมวดหมู่เพื่อความสะดวก ของผู้อ่าน ทําให้อ่านได้ง่าย ไม่สับสน และรู้สึกว่าหนังสือพิมพ์มีจํานวนหน้ามากขึ้นจนคุ้มค่า ต่อการซื้อหามาอ่าน
70 ข้อใดไม่ใช่บุคคลสาธารณะ (Public Figure)
(1) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
(2) แจ็ค หม่า
(3) โดนัลด์ ทรัมป์
(4) แดจังกึม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) บุคคลสาธารณะ (Public Figure) คือ บุคคลที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชน ทั่วไป ซึ่งบุคคลประเภทนี้ถือว่าได้สละสิทธิ์ที่จะดําเนินชีวิตโดยปราศจากการสังเกตจับตามอง และจะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายในความเป็นส่วนตัวที่น้อยกว่าบุคคลทั่วไป เช่น ดารา นักแสดง ผู้นําประเทศ นักการเมือง นักธุรกิจชั้นนําของโลก ฯลฯ
71 หลักคิดในการกํากับดูแลสื่อของประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย คือ
(1) รัฐกํากับดูแลสื่อ
(2) รัฐให้เสรีภาพ ไม่มีการกํากับใด ๆ
(3) สื่อมวลชนกํากับดูแลกันเอง
(4) รัฐออกกฎหมายบังคับ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สิ่งที่แสดงถึงธรรมาภิบาลจากภาครัฐ คือ การไม่ออกกฎหมายควบคุมสื่อ ดังนั้น หลักคิดในการกํากับดูแลสื่อของประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยก็คือสื่อมวลชนกํากับดูแลกันเอง ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างเกณฑ์กํากับนักหนังสือพิมพ์ให้ทําหน้าที่สื่อข่าวอย่าง อิสระ เป็นธรรม และเป็นกลาง โดยมีความรับผิดชอบเป็นตัวชี้วัดคุณภาพและประสิทธิภาพ ของสื่อมวลชน
72 หลักการข้อใดไม่ใช่หลักการพิจารณาว่า อาชีพใดควรจัดเป็นวิชาชีพวารสารศาสตร์
(1) มีองค์ความรู้เฉพาะของตน
(2) มีความอิสระในการประกอบวิชาชีพ
(3) มีการกําหนดรายได้สูงต่ำตามตําแหน่ง
(4) มีจรรยาบรรณที่ตราไว้เพื่อประพฤติตน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักการที่ใช้ในการพิจารณาอาชีพที่ควรจัดเป็นวิชาชีพวารสารศาสตร์ ได้แก่
1 มีองค์ความรู้เฉพาะของตน
2 มีอิสระในการประกอบวิชาชีพ
3 มีจรรยาบรรณที่ตราไว้เพื่อประพฤติปฏิบัติตน ฯลฯ
73 ตัวแปรสําคัญที่ผลักดันให้หนังสือพิมพ์ควบคุมดูแลกันเอง คือ
(1) มุ่งแสวงหาผลกําไร
(3) อํานาจรัฐ
(2) แรงกดดันจากสังคม
(4) เสรีภาพที่ไม่มีข้อจํากัด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตัวแปรสําคัญที่เป็นแรงผลักดันให้หนังสือพิมพ์ควบคุมดูแลกันเองได้ คือ
พลังประชาชน สภาพแวดล้อมทางการเมือง และแรงกดดันจากสังคม
74 สภาวิชาชีพสื่อสารมวลชน แตกต่างจากสภาวิชาชีพอื่นอย่างไร
(1) ผู้ประกอบวิชาชีพต้องสําเร็จการศึกษาสื่อสารมวลชน
(2) เป็นองค์กรวิชาชีพที่ไม่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของฝ่ายปกครอง
(3) มีผู้แทนผู้ประกอบการและผู้แทนนักข่าวในสภาวิชาชีพ
(4) ไม่อนุญาตให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาอื่นเข้ามามีส่วนร่วมในสภาวิชาชีพ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) สิ่งที่ทําให้สภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติแตกต่างจากสภาวิชาชีพอื่น คือ การกําหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพต้องสําเร็จการศึกษาสื่อสารมวลชน โดยต้องมาขึ้นทะเบียน และขอใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ จึงจะมีคุณสมบัติประกอบวิชาชีพได้
75 ข้อดีของการมีสภาวิชาชีพสื่อสารมวลชน คือ
(1) การทําข่าวเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
(2) ไม่ต้องจดทะเบียนเป็นนักข่าวก็ได้
(3) ป้องกันการแทรกแซงจากรัฐ ทุน การเมือง
(4) สามารถโต้แย้งรัฐได้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ข้อดีของการมีสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ คือ ทําให้สื่อมวลชนทําข่าว เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพราะสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติมีอํานาจหน้าที่ในการออกใบอนุญาตและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จึงอาจทําให้สื่อมวลชนที่กลัวเดือดร้อน หรือถูกกระทบจากผู้มีอํานาจออกใบอนุญาต นําเสนอข่าวที่ปลอดภัยแบบเดียวกันทุกสื่อ
76 สมาชิกสภาวิชาชีพใดที่ต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ
(1) สื่อออนไลน์
(2) นิตยสาร
(3) วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
(4) ภาพยนตร์
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลังจากที่ประชุมสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ผ่านร่าง กฎหมายควบคุมสื่อฉบับล่าสุด ได้มีเนื้อหาให้สมาชิกสภาวิชาชีพสื่อออนไลน์ต้องมีใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพ และต้องมาขึ้นทะเบียนเหมือนกับสื่อประเภทอื่น
77 กลไกการกํากับดูแลร่วม หมายถึงอะไร
(1) ออกแบบให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วม
(2) ออกแบบให้รัฐเข้ามามีส่วนร่วม
(3) ออกแบบให้เอกชนและรัฐเข้ามามีส่วนร่วม
(4) ออกแบบให้นักวิชาการเข้ามามีส่วนร่วม
ตอบ 3 (คําบรรยาย) กลไกการกํากับดูแลร่วม (Co – regulation) หมายถึง กลไกที่ออกแบบให้ เอกชนและรัฐเข้ามามีส่วนร่วมในการทําหน้าที่กํากับดูแลวิชาชีพสื่อ โดยให้องค์กรสื่อมวลชน กํากับดูแลในชั้นที่ 1, องค์การวิชาชีพสื่อมวลชนกํากับดูแลในชั้นที่ 2 และให้ “สภาวิชาชีพ สื่อมวลชนแห่งชาติ” เป็นกลไกการกํากับดูแลร่วมในชั้นที่ 3
78 สื่อมวลชนประเภทใดที่สามารถเข้าถึงประชาชนได้วงกว้างที่สุด ข้อจํากัดน้อยที่สุด
(1) หนังสือพิมพ์
(2) สื่อออนไลน์
(3) วิทยุโทรทัศน์
(4) วิทยุกระจายเสียง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) วิทยุโทรทัศน์ เป็นสื่อมวลชนที่มีจุดเด่นในการแพร่กระจายข่าวและภาพอย่าง ไม่มีขอบเขตจํากัด และมีศักยภาพในการส่งสารเข้าถึงผู้ชมได้ทันทีทันใดในวงกว้าง ตราบเท่าที่รัศมีคลื่นไฟฟ้าสามารถส่งผ่านไปถึงผู้รับ
79 ข้อใดแสดงถึงธรรมาภิบาลจากภาครัฐ
(1) ไม่ออกกฎหมายควบคุมสื่อ
(2) ป้องกันแทรกแซงด้วยวิธีการซื้อสื่อ
(3) จัดห้องพักนักข่าวที่ทําเนียบรัฐบาล
(4) แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรีทุกสัปดาห์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ
80 พฤติกรรมใดต่อไปนี้ถือว่าผิดจริยธรรม
(1) กินเหล้าหลังเลิกงาน
(2) แสดงบัตรนักข่าวเมื่อจราจรเรียก
(3) ไม่แสดงตัวว่าเป็นนักข่าวขณะทําข่าว
(4) ทะเลาะวิวาทกับเพื่อนร่วมงาน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ. 2559 ข้อ 23 ได้ระบุว่า ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ต้องไม่อวดอ้างหรืออาศัยตําแหน่ง หน้าที่เพื่อเรียกร้องสิทธิหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ไม่ชอบ
81 กรณีใดถือว่าเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน
(1) นักข่าวบันเทิงแสดงภาพยนตร์
(2) นักข่าวอาชญากรรมค้ายาบ้า
(3) นักข่าวหุ้นรับหุ้นราคาพาร์
(4) นักข่าวอาหารรับประทานอาหารฟรี
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ. 2559 ข้อ 24 ระบุว่า ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ต้องละเว้นการรับอามิสสินจ้างอันมีค่า หรือผลประโยชน์ใด ๆ เพื่อให้กระทําการหรือไม่กระทําการใดอันจะขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้องรอบด้าน
82 กรณีใดถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
(1) แอบถ่ายหรือสะกดรอยตาม
(2) วิพากษ์วิจารณ์เรื่องส่วนตัวดารานักแสดง
(3) เข้าไปในเคหสถานของผู้ต้องสงสัย
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล (Privacy) ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 มาตรา 34 ได้ระบุว่า สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว ย่อมได้รับ ความคุ้มครอง การกล่าวหรือทําให้ข้อความหรือภาพเผยแพร่อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าด้วยวิธีใด ไปยังสาธารณชน เป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวจะกระทํามิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
83 * * * สามดาวของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ หมายถึงหนังสือพิมพ์ที่วางจําหน่ายภาคใด
(1) ภาคใต้
(2) ภาคเหนือ
(3) ภาคกลาง
(4) กรุงเทพมหานคร
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ไทยรัฐพิมพ์วันละ 6 กรอบ ตามจํานวนดาว ดังนี้
1 หนึ่งดาว คือ กรอบจําหน่ายในเขตภาคอีสานและภาคตะวันออก
2 สองดาว คือ กรอบจําหน่ายในเขตภาคเหนือ
3 สามดาว คือ กรอบจําหน่ายในเขตภาคใต้
4 สี่ดาว คือ กรอบจําหน่ายในเขตจังหวัดห่างไกล และเป็นกรอบบ่ายของกรุงเทพฯ
5 ห้าดาว คือ กรอบจําหน่ายในเขตภาคกลาง
6 หกดาว คือ กรอบจําหน่ายในเขตกรุงเทพฯ และเขตปริมณฑล
84 หนังสือพิมพ์ที่นําเสนอเนื้อหาข่าวในเว็บไซต์ด้วยการคัดลอกจากเนื้อหาในกระดาษ เรียกว่า
(1) Sidebars
(2) Shovelware
(3) Online Newspaper
(4) Cyber Society
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 40 ประกอบ
85 หนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ เน้นเสนอข่าวประเภทใด
(1) ข่าวชาวบ้าน
(2) ข่าวส่วนตัวของบุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคม
(3) ข่าวนักการเมือง
(4) ข่าวในสถาบันการศึกษา
ตอบ 2 หน้า 8 (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก (Tabloid Newspaper) เน้นเสนอข่าวส่วนตัว ของบุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคมมากกว่าหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ ส่วนหนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ใน บ้านเราจะมีบุคลิกและเนื้อหาต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะเน้นนําเสนอเนื้อหาที่ลึกซึ้ง ค่อนข้างเป็นทางการ และไม่เร้าใจเท่าหนังสือพิมพ์ประเภทเน้นข่าวเบา
86 การแสวงหาวัตถุดิบ รวบรวม ตระเตรียม ตรวจสอบ ตลอดจนปรับปรุงต้นฉบับสําหรับพิมพ์ เป็นหน้าที่
ของฝ่ายใด
(1) ฝ่ายบรรณาธิการ
(2) ฝ่ายบริหารจัดการ
(3) ฝ่ายบริหารการผลิต
(4) ฝ่ายประสานงาน
ตอบ 1หน้า 120 – 121, 124 – 125, (คําบรรยาย) ฝ่ายบรรณาธิการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ เรื่องราวสําหรับอ่าน ซึ่งปรากฏตีพิมพ์บนหน้าหนังสือพิมพ์ทั้งฉบับ โดยจะทําหน้าที่แสวงหา วัตถุดิบ รวบรวม ตระเตรียม ตรวจสอบ ตลอดจนปรับปรุงต้นฉบับสําหรับพิมพ์ นอกจากนี้ ยังดูแลเรื่องการใช้ภาพ การถ่ายภาพข่าว การใช้ขนาดและแบบของตัวอักษร การจัดหน้า การพาดหัวข่าว การพิสูจน์อักษรหรือตรวจปรู๊ฟ ฯลฯ
87 Deadline หมายถึง
(1) แหล่งข่าวถึงแก่ชีวิตอย่างกะทันหัน
(2) งานทุกชิ้นต้องเสร็จภายในเวลาที่กําหนด
(3) เหตุการณ์เสียชีวิตที่ไม่มีใครคาดคิด
(4) เวลาวางจําหน่ายหนังสือพิมพ์แต่ละกรอบ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คําว่า “Deadline” แปลว่า เส้นตาย ซึ่งหมายถึง งานทุกชิ้นทุกขั้นตอนต้อง ทําให้เสร็จภายใต้เงื่อนเวลาที่กําหนดไว้ เพราะหนังสือพิมพ์เป็นงานที่ทํากันเป็นทีม (Team Work) ต้องการความรวดเร็วและเที่ยงตรง เพื่อแข่งกับเวลาให้ทันต่อการรายงานเหตุการณ์ ชนิดวันต่อวัน หรือชั่วโมงต่อชั่วโมง
88 หน้าที่ของ Copy Desk คือ
(1) ค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต
(2) พิจารณาความถูกต้องของภาษาและไวยากรณ์
(3) ถ่ายเอกสารจากศูนย์ข้อมูล
(4) จัดทําสําเนาต้นฉบับให้บรรณาธิการ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ฝ่ายบรรณาธิกร (Copy Desk) ทําหน้าที่จัดการต้นฉบับให้เสร็จเรียบร้อย ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการผลิต ซึ่งประกอบด้วย การตรวจสอบข้อเท็จจริงต่าง ๆ ของต้นฉบับ การพิจารณาความถูกต้องของภาษา ไวยากรณ์ ตัวสะกด/ตัวการันต์ และลีลาการเขียน การปรับปรุงเนื้อหาให้กระชับชัดเจน ฯลฯ
89 Clipping หมายถึง
(1) การเรียบเรียงข้อมูลข่าว
(2) การนําภาพและข่าวมาตัดต่อเผยแพร่ออนไลน์
(3) การถอดเทปเสียงสัมภาษณ์แหล่งข่าว
(4) ข่าวตัดที่เคยนําเสนอในหนังสือพิมพ์แล้ว
ตอบ 4 หน้า 125, (คําบรรยาย) Clipping หมายถึง ชิ้นข่าวตัดที่เคยนําเสนอในหนังสือพิมพ์ไปแล้ว ซึ่งบรรณารักษ์ของห้องสมุดหนังสือพิมพ์ได้ตัดมาจากหนังสือพิมพ์เก่า ๆ แล้วเก็บเข้าแฟ้มเป็นเรื่อง ๆ เพื่อรวบรวมไว้เป็นข้อมูลที่สามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้อีกในภายหลังเมื่อมีการอ้างอิงหรือนํามาประกอบการเขียนข่าวเพื่อให้ภูมิหลังกับข่าวที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
90 ฝ่ายใดถือเป็นเส้นเลือดหลักขององค์กรหนังสือพิมพ์
(1) ฝ่ายบรรณาธิการ
(2) ฝ่ายบริหารจัดการ
(3) ฝ่ายโฆษณา
(4) ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์
ตอบ 3 หน้า 15, 123, 159 – 160, (คําบรรยาย) ฝ่ายโฆษณา (Advertising Department) ถือเป็น เส้นเลือดหลักขององค์กรหนังสือพิมพ์ เพราะการที่หนังสือพิมพ์จะดําเนินธุรกิจอยู่ได้ย่อมต้อง อาศัยเงินจากค่าโฆษณา ซึ่งมีจํานวนประมาณ 2 ใน 3 ของรายได้ทั้งหมด ดังนั้นโฆษณาจึงเป็น
แหล่งรายได้หลักที่สําคัญที่สุดของหนังสือพิมพ์
91 Citizen Journalism คือ
(1) ผู้สื่อข่าวพิเศษ
(2) ประชาชนมีส่วนร่วมในการรายงานข่าว
(3) ผู้สื่อข่าวภาคสนาม
(4) การใช้สื่อใหม่ในการรายงานข่าว
ตอบ 2 (คําบรรยาย) วารสารศาสตร์พลเมือง (Citizen Journalism) คือ ประชาชนมีส่วนร่วมในการ รายงานข่าว โดยใช้สื่อพลเมือง (Citizen Media) เป็นช่องทางให้ประชาชนเป็นผู้รายงานข่าว แสดงความคิดเห็น และโต้ตอบบนเว็บเพจในอินเทอร์เน็ตได้ในลักษณะ Online Journalism เช่น Ohmynews เป็นลักษณะการทําข่าวของผู้สื่อข่าวพลเมืองในประเทศเกาหลีใต้ที่ประสบ ความสําเร็จเป็นอย่างมาก เป็นต้น
92 ลักษณะเด่นของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ คือ
(1) ทันเหตุการณ์
(2) ไม่ต้องเสียเงินอ่าน
(3) มีข่าวหลากหลาย
(4) เข้าถึงผู้อ่านจํานวนมาก
ตอบ 1(คําบรรยาย) ข้อสรุปลักษณะเด่นของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ มีดังนี้
1 ทันเหตุการณ์
2 โต้ตอบได้
3 ใช้ง่ายและสะดวก
4 ไม่จํากัดพื้นที่
5 สร้างสํานึกการมีส่วนร่วม
6 ขยายเป้าหมายองค์กร
7 สร้างความเชื่อถือ
8 รวดเร็วทันใจ
93 สิ่งที่นักวารสารศาสตร์ต้องทําอย่างมากเมื่อมาทําข่าวออนไลน์
(1) ต้องทําข่าวตลอด 24 ชั่วโมง
(2) ต้องไม่ลืมกลั่นกรองคุณภาพข้อมูลตลอดเวลา
(3) ต้องทําตัวเป็นกลาง
(4) ต้องทําข่าวทุกขั้นตอนด้วยตัวคนเดียว
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ
94 Ohmynews เป็นการทําข่าวของผู้สื่อข่าวพลเมืองในประเทศใด
(1) ประเทศสิงคโปร์
(2) ประเทศญี่ปุ่น
(3) ประเทศจีน
(4) ประเทศเกาหลีใต้
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ
95 การใช้วิจารณญาณในการคัดเลือกข่าว เป็นการทําหน้าที่ใดของหนังสือพิมพ์
(1) Informer
(2) Watchdog
(3) Gatekeeper
(4) Changing Agent
ตอบ 3หน้า 16 บทบาทการเป็นนายทวารข่าวสาร (Gatekeeper) คือ การควบคุมการไหลของ ข่าวสารไปสู่สาธารณชน โดยหนังสือพิมพ์จะมีนายทวารประจําด่านอยู่เป็นจํานวนมาก เช่น นักข่าว ช่างภาพ บรรณาธิการ ฯลฯ ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองข่าว ประเมินคุณค่า และตรวจเนื้อหาของข่าวสารก่อนที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านทางหนังสือพิมพ์ นอกจากนี้ยังทําหน้าที่ตัดสินใจว่าจะเลือกทําข่าวใด หรือจะคัดเลือกข่าวนั้น ๆ เพื่อตีพิมพ์ หรือไม่ โดยคํานึงถึงพื้นฐานของความถูกต้องเที่ยงตรงของข่าวสาร
96. บทความที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงทัศนะของหนังสือพิมพ์ เรียกว่า
(1) บทปริทัศน์
(3) บทบรรณาธิการ
(2) บทวิจารณ์
(4) บทวิเคราะห์ข่าว
ตอบ 3 หน้า 42 – 43, 168, คําบรรยาย) บทบรรณาธิการ (Editorial) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “บทนํา” เป็นบทความที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงทัศนะ ความเชื่อ หรือนโยบายของหนังสือพิมพ์ ทั้งฉบับ มิใช่เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จําเป็นต้องลงชื่อผู้เขียนประจํา อีกทั้งยังเป็น บทความที่มีความสําคัญที่สุดของหนังสือพิมพ์ ซึ่งทําหน้าที่ในการให้ความรู้และความคิดเห็น ในเรื่องสําคัญ ๆ ต่อสาธารณชน เพื่อสะท้อนถึงจุดยืนของหนังสือพิมพ์ที่มีต่อเรื่องที่เขียน
97 คอลัมน์นิสต์ท่านใดเป็นผู้เขียนคอลัมน์ “เหะหะพาที” ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
(1) สํานักข่าวหัวเขียว
(2) ซูม
(3) ลมเปลี่ยนทิศ
(4) ธนูเทพ
ตอบ 2 หน้า 47, 147, 161, คําบรรยาย) คอลัมน์ประจํา คือ ข้อเขียนที่ตีพิมพ์ทุกวัน หรือตีพิมพ์ เป็นประจําในบางวันของสัปดาห์ก็ได้ เช่น ทุกวันอาทิตย์ ฯลฯ ซึ่งข้อเขียนประเภทนี้มักจะมี ผู้เขียนประจํา เรียกว่า “คอลัมน์นิสต์” (Columnist) หมายถึง ผู้เขียนบทความในคอลัมน์ หนังสือพิมพ์เป็นประจํา โดยลงชื่อผู้เขียนไว้ (อาจใช้นามจริงหรือนามแฝงก็ได้) เช่น คอลัมน์ “เหะหะพาที” เขียนโดยซูม ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เป็นคอลัมน์ที่เขียนแบบมีลีลาเฉพาะตัว และใช้สํานวนคมคาย เป็นต้น
98 สารคดีแตกต่างจากบทความในเรื่องใด
(1) สารคดีเขียนจากความคิดเห็นของผู้เขียน
(2) สารคดีเขียนจากความจริง
(3) สารคดีเขียนจากความทรงจําของผู้เขียน
(4) สารคดีเขียนจากจินตนาการ
ตอบ 2 หน้า 45 สิ่งที่สารคดีแตกต่างจากบทความ คือ สารคดีเขียนจากความจริง มิใช่เกิดจาก จินตนาการ จึงต่างจากบทความตรงที่ว่า บทความเน้นการแสดงความคิดเห็น แต่สารคดี เน้นการให้ความรู้ให้ข้อมูลที่เป็นสาระของเรื่อง
99 เลือกวิธีการศึกษาบทเรียนวิชานี้มากที่สุดของท่านเพียงข้อเดียว (คะแนนฟรี)
(1) ฟังบรรยายในชั้นเรียน
(2) ฟังบรรยายทางเน็ต
(3) อ่านหนังสือ
(4) ชีทหน้าราม
ตอบ ข้อใดก็ได้ นักศึกษาเลือกตอบข้อใดก็ได้ (เอาที่สบายใจ)
100 จํานวนครั้งในการเข้าฟังบรรยายวิชานี้ MCS 1250 (MCS 2200) วารสารศาสตร์เบื้องต้นคือ (คะแนนฟรี)
(1) ทุกครั้งที่มีบรรยาย
(2) 1 ครั้ง – 5 ครั้ง
(3) 6 ครั้ง – 11 ครั้ง
(4) ไม่เคยเข้าฟังบรรยาย
ตอบ ข้อใดก็ได้ นักศึกษาเลือกตอบข้อใดก็ได้ (เอาที่สบายใจ)