การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565

ข้อสอบกระบวนวิชา CDM 2403 (MCS 3151) การสื่อสารเพื่อการจัดการความสัมพันธ์

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ข้อใดไม่ใช่ความหมายทางวิชาการของคําว่า “มนุษยสัมพันธ์”
(1) การติดต่อเกี่ยวข้องกัน เพื่อเป็นสะพานทอดไปสู่ความเป็นมิตร
(2) การพัฒนาตนเองให้เป็นที่รักใคร่ชอบพอ และได้รับความร่วมมือ/สนับสนุนจากผู้อื่น
(3) กระบวนการปรับปรุงแก้ไขบุคคลอื่น เพื่อให้ได้มาซึ่งความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล
(4) ศาสตร์และศิลป์ในการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล
ตอบ 3 (PDF ครั้งที่ 1) ความหมายทางวิชาการของคําว่า “มนุษยสัมพันธ์” มีดังนี้
1 การติดต่อเกี่ยวข้องกัน เพื่อเป็นสะพานทอดไปสู่ความเป็นมิตร รวมทั้งพัฒนาตนเองให้เป็น ที่รักใคร่ชอบพอ และได้รับความร่วมมือ/สนับสนุนจากผู้อื่น
2 วิชาการว่าด้วยศาสตร์และศิลป์ในการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล เพื่อให้ ได้มาซึ่งความรักใคร่ นับถือ จงรักภักดี และความร่วมมือ ตลอดจนอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่าง มีความสุข
3 วิชาที่ว่าด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีของบุคคล เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจ เป็นอันหนึ่งเดียวกัน ฯลฯ

2 คําว่า “มนุษยสัมพันธ์” ในภาษาอังกฤษ คือคําใด
(1) Human Relations
(2) Human Relationship
(3) Human Resource
(4) Human Relevance
ตอบ 1 (PDF ครั้งที่ 1) มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) มาจากคําว่า Human + Relations คือ
1 Human หมายถึง มนุษย์
2 Relations หมายถึง ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน

3 ข้อใดคือคุณลักษณะของมนุษยสัมพันธ์
(1) เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ตามกลไกทางนิเวศชีววิทยา
(2) ไม่มีใครมีมนุษยสัมพันธ์ที่สมบูรณ์แบบ
(3) เป็นเรื่องเข้าใจง่าย และมีองค์ประกอบที่ไม่ซับซ้อน
(4) อธิบายได้จากแนวคิดทางวัฒนธรรมและความเป็นอยู่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ตอบ 2(PDF ครั้งที่ 1) คุณลักษณะของมนุษยสัมพันธ์ มีดังนี้
1 มนุษยสัมพันธ์เกิดจากการสร้างของบุคคล ไม่ใช่ทักษะความสามารถที่ติดตัวมาแต่กําเนิด ไม่ใช่คุณลักษณะที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ และไม่ใช่เป็นพรสวรรค์ของบุคคล
2 การสร้างมนุษยสัมพันธ์อาจสูญสลายไปได้ ถ้าหากไม่รู้จักพัฒนาความสัมพันธ์ให้คงอยู่กับ
ตัวเราตลอดไป
3 มนุษยสัมพันธ์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
4 แต่ละบุคคลมีลักษณะของมนุษยสัมพันธ์อยู่ในตนเอง แต่มีไม่เหมือนกันหรือไม่เท่าเทียมกัน 5. ไม่มีใครมีมนุษยสัมพันธ์ที่สมบูรณ์แบบ
*** หมายเหตุ PDF (Download : www.mac.ru.ac.th) (ข้อ 1. – 50.) ***
เอกสารประกอบการสอน โดย อ.วิชชุตา มังคะลี (ข้อ 51. – 100.)

4 ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของมนุษยสัมพันธ์
(1) เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ตามกลไกทางนิเวศชีววิทยา
(2) มนุษยสัมพันธ์เป็นสิ่งที่เกิดจากการสร้างของบุคคล
(3) เมื่อสร้างให้เกิดขึ้นได้แล้ว ต้องรู้จักพัฒนาให้มนุษย์สัมพันธ์คงอยู่กับตัวเราตลอดไป
(4) ข้อ 2 และ 3 กล่าวถูกต้อง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ

5 การสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ หรือการสื่อสารเพื่อมนุษยสัมพันธ์ จะต้องอาศัยกระบวนการสื่อสาร
แบบใดมากที่สุด
(1) กระบวนการสื่อสารเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Communication)
(2) กระบวนการสื่อสารแบบโน้มน้าวใจ (Persuasive Communication)
(3) กระบวนการสื่อสารแบบเอกวิธี (One-way Communication)
(4) กระบวนการสื่อสารแบบยุคลวิธี (Two-way Communication)
ตอบ 4 (PDF ครั้งที่ 1) รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคมเปลี่ยนแปลงไปจากกระบวนการ สื่อสารแบบเอกวิธี (One-way Communication) มาเป็นกระบวนการสื่อสารแบบยุคลวิธี (Two-way Communication) ทําให้มนุษย์ต้องเรียนรู้แนวคิดและหลักการสื่อสารเพื่อสร้าง ความสัมพันธ์ หรือการสื่อสารเพื่อมนุษยสัมพันธ์

6. แนวคิดในการทํางานเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องมนุษยสัมพันธ์อย่างไร
(1) การรวมตัวของผู้ใช้แรงงานที่เพิ่มมากขึ้น
(2) การให้ความสําคัญต่อแนวคิดการให้บริการลูกค้า
(3) การทํางานเป็นทีม (Teamwork) เพิ่มความจําเป็นให้ทุกฝ่ายต้องมีปฏิสัมพันธ์กัน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (PDF ครั้งที่ 1) แนวคิดในการทํางานที่เริ่มเปลี่ยนแปลงไป ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่อ มนุษยสัมพันธ์ ดังนี้
1 การรวมตัวของผู้ใช้แรงงานที่เพิ่มมากขึ้น
2 การให้ความสําคัญต่อแนวคิดการให้บริการลูกค้า (Customer Service)
3 การทํางานเป็นทีม (Teamwork) เพิ่มความจําเป็นให้ทุกฝ่ายต้องมีปฏิสัมพันธ์ที่สอดคล้อง กับหลักการของมนุษยสัมพันธ์

7 ข้อใดไม่ใช่ความจําเป็นในการศึกษาเรื่องมนุษยสัมพันธ์
(1) มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม
(2) ทําให้รู้จักและเข้าใจผู้อื่นรอบตัวเรา
(3) ทําให้สามารถปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมของผู้อื่นได้อย่างเป็นระบบ
(4) ทําให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจตนเอง ก่อนจะก้าวไปมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น
ตอบ 3 (PDF ครั้งที่ 1) ความจําเป็นในการศึกษาเรื่องมนุษยสัมพันธ์ มีดังนี้
1 มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม
2 ทําให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจตนเอง ซึ่งถือเป็นพื้นฐานสําคัญก่อนที่จะก้าวไปมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น
3 ทําให้รู้จักและเข้าใจผู้อื่นรอบตัวเรา

8 ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายในการศึกษามนุษยสัมพันธ์
(1) เพื่อสร้างเงื่อนไขในการดํารงชีวิตร่วมกัน
(2) เพื่อให้เกิดความรักใคร่ร่วมมือในการทํางาน
(3) เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ในองค์กรระหว่างผู้บริหารและบุคลากรทุกระดับ
(4) เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีซึ่งกันและกันในความเป็นมนุษย์ของตนเองและบุคคลอื่น
ตอบ 1 (PDF ครั้งที่ 1) จุดมุ่งหมายในการศึกษามนุษยสัมพันธ์ มีดังนี้
1 เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีซึ่งกันและกัน
2 เพื่อให้เกิดความเข้าใจในความเป็นมนุษย์ของตนเองและบุคคลอื่น
3 เพื่อให้เกิดความรักใคร่ร่วมมือในการทํางาน
4 เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธานิยมยกย่องบุคคลที่ติดต่อสัมพันธ์
5 เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ในองค์กรระหว่างผู้บริหารและบุคลากรทุกระดับ

9 ข้อใดคือประโยชน์ของมนุษยสัมพันธ์ที่มีต่อผู้บริหาร
(1) เป็นเครื่องช่วยแก้ปัญหา ลดการขัดแย้ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นในองค์กรได้
(2) เป็นเครื่องมือกระตุ้นให้บุคลากรมีความรัก ความภูมิใจที่เป็นสมาชิกในองค์กร
(3) เป็นเครื่องมือที่ทําให้ผู้บริหารสามารถเข้าถึงบุคลากรได้ทุกระดับ และสามารถครองใจบุคลากร เหล่านั้นได้
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (PDF ครั้งที่ 1) ประโยชน์ของมนุษยสัมพันธ์ที่มีต่อผู้บริหาร มีดังนี้
1 เป็นเครื่องมือที่ทําให้ผู้บริหารสามารถเข้าถึงบุคลากรได้ทุกระดับ และสามารถครองใจ บุคลากรเหล่านั้นได้ จึงส่งผลให้ผู้บริหารได้รับความรัก ความศรัทธา และความร่วมมือ ในการทํางานเป็นอย่างดี
2 เป็นเครื่องมือกระตุ้นให้บุคลากรมีความรัก ความภูมิใจที่เป็นสมาชิกในองค์กร ซึ่งก่อให้
เกิดความภักดีต่อองค์กร
3 เป็นการจูงใจและกระตุ้นให้คนร่วมมือในการทํางานอย่างมีความสุข มีความพอใจในการ ทํางาน ก่อให้เกิดผลงานอันมีประสิทธิภาพ
4 เป็นเครื่องช่วยแก้ปัญหา ลดการขัดแย้ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นในองค์กรได้ ฯลฯ

10 ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเกิดขึ้นในยุคใด
(1) ยุคล่าอาณานิคม
(2) ยุคเสรีทางการค้า
(3) ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม
(4) ยุคสังคมเกษตรกรรม
ตอบ 3(PDF ครั้งที่ 2) ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เครื่องจักรกลเข้ามาแทนที่แรงงานคน ทําให้คนงาน สูญเสียความสําคัญของตนเอง เพราะคนที่เคยภาคภูมิใจในผลงานของตนเองกลับลดคุณค่ามา นั่งเฝ้าเครื่องจักร อีกทั้งยังต้องทําตามความต้องการของนายจ้าง ทําให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างคนงาน และมีผลกระทบต่อการผลิต ดังนั้นจึงมีบุคคลหลายท่านได้ ริเริ่มในการนําหลักมนุษยสัมพันธ์มาใช้ในสังคม

ข้อ 11. – 14. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) Andrew Ure แอนดรู ยูรี
(2) Frederick Taylor เฟรเดอริก เทย์เลอร์
(3) Robert Owen โรเบิร์ต โอเวน
(4) Henry Laurence Gantt เฮนรี่ ลอเรนส์ แกนต์

11 นักคิดชาวตะวันตกคนใดเป็นผู้ให้ความสําคัญกับคนงาน โดยปรับปรุงสวัสดิการเป็นคนแรก และต่อต้าน
การใช้แรงงานเด็ก
ตอบ 3 (PDF ครั้งที่ 2) โรเบิร์ต โอเวน (Robert Owen) เป็นเจ้าของกิจการชาวเวลส์คนแรกตาม ประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมของอังกฤษที่มีความคิดริเริ่มเอาใจใส่ความเป็นอยู่ของคนงาน โดยยอมรับว่าต้องให้ความสําคัญกับจิตใจและความต้องการของคนงาน ซึ่งเขาได้พยายาม ปรับปรุงสวัสดิการต่าง ๆ ของลูกจ้าง เช่น ปรับปรุงสถานที่ทํางานและสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ปรับปรุงสภาพในการทํางานให้ดีกว่าที่เคยเป็นอยู่ และเป็นนายจ้างคนแรกที่ต่อต้านการใช้
แรงงานเด็ก ฯลฯ

12 นักคิดชาวตะวันตกคนใดเป็นผู้กําหนดให้มนุษย์เป็นองค์ประกอบสําคัญ 1 ใน 3 ของการผลิตสินค้า อุตสาหกรรม (Man, Machine, Management) และเสนอสวัสดิการรักษาพยาบาล
ตอบ 1 (PDF ครั้งที่ 2) แอนดรู ยูรี (Andrew Ure) ได้เขียนบทความเรื่อง “ปรัชญาแห่งการผลิต สินค้าอุตสาหกรรม” (The Philosophy of Manufactures) โดยเขาได้ให้ความสําคัญแก่ มนุษย์ว่าเป็น 1 ใน 3 องค์ประกอบสําคัญในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม (Man : คนงาน, Machine : เครื่องจักร, Management : การจัดการ) และยังเป็นผู้ที่ริเริ่มการให้สวัสดิการ รักษาพยาบาลแก่คนงานด้านต่าง ๆ ดังนี้
1 จัดให้มีชั่วโมงพักระหว่างการทํางาน
2 ปรับสถานที่ทํางานให้ถูกสุขลักษณะ
3 เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย คนงานจะต้องได้รับ
การดูแลรักษาพยาบาล และได้รับค่าจ้างระหว่างหยุดพักรักษาตัวด้วย
4 ส่งเสริมให้คนงานมีสุขภาพดี โดยจัดสนามและอุปกรณ์การออกกําลังกายแก่คนงาน

13 นักคิดชาวตะวันตกคนใดเป็นผู้เรียกร้องให้ผู้บริหารสนใจสภาพการทํางานของคนงาน และเสนอมาตรฐานเวลาในการทํางาน
ตอบ 2 (PDF ครั้งที่ 2) เฟรเดอริก เทย์เลอร์ (Frederick Taylor) เป็นผู้ทําการทดลองวิธีการทํางานที่ ถูกต้องกับคนกลุ่มหนึ่งแล้วพบว่า การทํางานที่ถูกวิธีจะทําให้ผลผลิตสูงขึ้น โดยเขาเป็นคนแรก ที่เรียกร้องให้ผู้บริหารสนใจสภาพการทํางานของคนงาน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสําคัญในการผลิต และเสนอมาตรฐานเวลาในการทํางาน ได้แก่
1 วางมาตรฐานเวลาที่ใช้ในการทํางานแต่ละอย่างที่ต้องใช้เครื่องจักรกล
2 ศึกษาว่าคนงานควรทํางานวันละกี่ชั่วโมงจึงจะเหมาะสม
3 ศึกษาระยะเวลาพักงาน ฯลฯ

14 นักคิดชาวตะวันตกคนใดเป็นผู้เพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานของคนงาน โดยการให้รางวัลหรือโบนัสพิเศษ
ตอบ 4 (PDF ครั้งที่ 2) ในปี ค.ศ. 1912 เฮนรี่ ลอเรนส์ แกนต์ (Henry Laurence Gantt) เป็นวิศวกร หนุ่มที่คิดหาวิธีจูงใจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานของคนงาน โดยเขาได้ขยายแนวคิดของ เฟรเดอริก เทย์เลอร์ (Frederick Taylor) มาผสมผสานกับของตัวเอง เช่น สนับสนุนให้เกิดการ ทํางานเป็นทีม โดยทดลองเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานของคนงานด้วยการให้เงินโบนัสหรือเงิน รางวัลพิเศษ เพื่อเป็นแรงจูงใจแก่คนงานที่สามารถทํางานเสร็จก่อนเวลาที่กําหนด

15 การศึกษาฮอร์ธอน (Hawthorne Experiment) เป็นผลการศึกษาของนักวิชาการท่านใด
(1) Henry Laurence Gantt เฮ็นรี่ ลอเรนส์ แกนต์
(2) Frederick Taylor เฟรเดอริก เทย์เลอร์
(3) George Elton Mayo จอร์จ เอลตัน เมโย
(4) Robert Owen โรเบิร์ต โอเวน

ตอบ 3 (PDF ครั้งที่ 2) ศาสตราจารย์เอลตัน เมโย (Elton Mayo) เป็นหัวหน้าคณะผู้ที่ศึกษากรณี ฮอร์ธอน (Hawthorne Experiment) หมายถึง การศึกษาสภาพแวดล้อมทางกายภาพในการ ทํางานของคนงาน เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตกับสภาพทางกายภาพของการทํางาน

16 การศึกษาฮอร์ธอน (Hawthorne Experiment) เบื้องต้นเป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นใด
(1) ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารกับสภาพจิตวิทยาของการทํางาน
(2) ความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตกับสภาพจิตวิทยาของการทํางาน
(3) ความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตกับสภาพทางกายภาพของการทํางาน
(4) ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารกับสภาพทางกายภาพของการทํางาน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 15 ประกอบ

17 ข้อใดไม่ใช่ผลการศึกษาฮอร์ธอน (Hawthorne Experiment)
(1) คนงานมีทัศนคติที่ดีต่อผู้บริหารที่ให้อิสระแก่คนงาน
(2) คนที่ได้หยุดระหว่างทํางานสร้างผลผลิตได้มากกว่าคนที่ไม่ได้หยุดพัก
(3) คนงานที่รวมตัวขึ้นมาอย่างไม่เป็นทางการมีข้อขัดแย้งกับกลุ่มทางการ
(4) ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นตามความเข้มของแสงสว่าง
ตอบ 2 (PDF ครั้งที่ 2) ผลการศึกษาฮอร์ธอน (Hawthorne Experiment) แบ่งเป็น 5 ประเด็น คือ
1 ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นตามความเข้มของแสงสว่าง แต่จะไม่ลดลงเมื่อความเข้มของแสงสว่างลดลง
2 ผลผลิตของคนงานที่ได้หยุดพักระหว่างการทํางานกับที่ไม่ได้หยุดพักไม่แตกต่างกัน
3 คนงานจะมีทัศนคติที่ดีต่อนายจ้างหรือผู้บริหารที่ให้อิสระในการทํางาน
4 มีการรวมกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการของคนงาน ซึ่งมีความสําคัญอย่างมากต่อการเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการทํางาน
5 กลุ่มคนงานที่รวมตัวอย่างไม่เป็นทางการมีความขัดแย้งกับกลุ่มที่เป็นทางการ ฯลฯ

18 การสรุปผลกรณีฮอร์ธอน (The Conclusion of Hawthorne Experiment) มีข้อสรุปอย่างไร
(1) การทํางานที่มีประสิทธิภาพไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางกายภาพเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับ
สภาพแวดล้อมในการทํางาน
(2) ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกที่มีการรวมตัว
แบบไม่เป็นทางการ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทํางาน
(3) ข้อ 1 และ 2 ถูกต้อง
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (PDF ครั้งที่ 2) การสรุปผลกรณีฮอร์ธอน (The Conclusion of Hawthorne Experiment) คือ การทํางานที่มีประสิทธิภาพไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางกายภาพเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อมในการทํางาน โดยความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกที่มีการรวมตัวแบบไม่เป็นทางการ จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทํางาน

19 ข้อใดไม่ใช่ข้อเสนอแนะจากกรณีศึกษาฮอร์ธอน (Hawthorne Experiment)
(1) การพัฒนาโครงสร้างทางกายภาพ และสิ่งแวดล้อมในการทํางานมีความสําคัญที่สุด
(2) เมื่อการสื่อสารดีขึ้น ผลผลิตของโรงงาน/ประสิทธิภาพในการทํางานจะสูงขึ้น
(3) คนนับเป็นปัจจัยสําคัญอย่างหนึ่งในการผลิตที่แตกต่างจากปัจจัยอื่น
(4) นายจ้างควรให้ความสําคัญแก่คนงานในด้านจิตใจและความต้องการ

ตอบ 1 (PDF ครั้งที่ 2) ข้อเสนอแนะจากกรณีศึกษาฮอร์ธอน (Hawthorne Experiment) มีดังนี้
1 นายจ้างควรให้ความสําคัญแก่คนงานในด้านจิตใจและความต้องการ ตลอดจนควรเข้าใจ คนงานว่า
คนนับเป็นปัจจัยสําคัญอย่างหนึ่งในการผลิตที่แตกต่างจากปัจจัยอื่น
2 ปรับปรุงวิธีการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างคนงาน ซึ่งผลที่ได้รับ คือ เมื่อการ สื่อสารดีขึ้น ผลผลิตของโรงงาน/ประสิทธิภาพในการทํางานจะสูงขึ้น

20 จากผลการศึกษาฮอร์ธอน (Hawthorne) ก่อให้เกิดผลสําคัญใดต่อแวดวงด้านมนุษยสัมพันธ์ คือ
(1) เกิดแนวคิดเรื่องการสื่อสารเพื่อมนุษยสัมพันธ์ขึ้นครั้งแรกของโลก
(2) เกิดเป็นกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และข้อกําหนดในสถานที่ทํางาน
(3) เกิดการรวมตัวของลูกจ้าง และการก่อตั้งสหภาพแรงงานขึ้น
(4) เกิดวิชามนุษยสัมพันธ์ และเปิดสอนเป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ตอบ 4 (PDF ครั้งที่ 2) จากผลการศึกษาฮอร์ธอน (Hawthorne) ก่อให้เกิดผลสําคัญต่อแวดวงด้าน มนุษยสัมพันธ์ คือ ศาสตราจารย์เอลตัน เมโย (Elton Mayo) ผู้เป็นบิดาแห่งวิชามนุษยสัมพันธ์ ได้ริเริ่มเปิดสอนวิชามนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) ขึ้นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1936 (พ.ศ. 2479) ซึ่งอีก 10 ปีต่อมาวิชานี้ก็กลายเป็นวิชา บังคับในหลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัย

21 ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์
(1) สภาพแวดล้อม
(2) การอบรมสั่งสอน
(3) ประสบการณ์
(4) สถานภาพ
ตอบ 4 (PDF ครั้งที่ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์ ได้แก่
1 สภาพแวดล้อม ถือเป็นปัจจัยเริ่มแรก เช่น สายใยรักในครอบครัว ความรักความเอาใจใส่ ในครอบครัว การเลี้ยงดูในวัยเด็ก ฯลฯ
2 การอบรมสั่งสอน เช่น การรับฟังความรู้หรือข้อแนะนําเกี่ยวกับพฤติกรรมการแสดงออก ที่เหมาะสมจากพ่อแม่ ครู และญาติพี่น้อง ฯลฯ
3 ประสบการณ์ที่ได้รับ เช่น ปฏิกิริยาตอบกลับ ปฏิกิริยาป้อนกลับ หรือปฏิกิริยาโต้ตอบ (Feedback) จากคู่สื่อสารหรือคนรอบตัว ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคู่สื่อสาร และคําวิพากษ์ วิจารณ์จากบุคคลอื่น

22 ข้อใดไม่ใช่อุปสรรคที่มีผลต่อความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์
(1) ผลประโยชน์ขัดกัน
(2) ผลประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ
(3) ความแตกต่างในด้านความคิดเห็น
(4) ความแตกต่างในด้านประสบการณ์/ภูมิหลัง
ตอบ 2(PDF ครั้งที่ 2) สาเหตุที่เป็นอุปสรรคต่อความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์ ได้แก่
1 ความแตกต่างด้านประสบการณ์และภูมิหลัง เช่น อายุ เพศ อาชีพ การศึกษา สถานภาพ ทางเศรษฐกิจและสังคม ฯลฯ
2 ความแตกต่างด้านความคิดเห็น เป็นความแตกต่างของสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาของ บุคคลในลักษณะที่เป็นนามธรรม เช่น ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม และรสนิยม ฯลฯ ซึ่งหากไม่ยอมรับกันแล้ว ความเข้าใจระหว่างกันก็จะเกิดขึ้นได้ยาก
3 ความแตกต่างด้านผลประโยชน์ คือ ผลประโยชน์ขัดกัน ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งในรูปของสิ่งของ วัตถุ เงินทอง ชื่อเสียง ลาภ ยศ ฯลฯ มักทําให้เกิดความไม่พอใจและความแตกแยกได้ง่าย เพราะธรรมชาติของมนุษย์จะไม่ยอมเสียเปรียบผู้อื่น

23 ข้อใดไม่นับว่าเป็นองค์ประกอบของมนุษยสัมพันธ์
(1) การติดต่อสื่อสารและการบริหารความขัดแย้ง
(3) การจูงใจและความไว้วางใจ
(2) การรู้จักตนเองและยอมรับตนเอง
(4) การเข้าใจตนเองและผู้อื่น
ตอบ 4 (PDF ครั้งที่ 2) องค์ประกอบสําคัญในการศึกษาวิชามนุษยสัมพันธ์
1 การติดต่อสื่อสาร (Communication)
2 การรู้ตนเอง หรือการรู้จักตนเอง (Self Awareness)
3 การยอมรับตนเอง (Self Acceptance)
4 การจูงใจ (Motivation)
5 ความไว้วางใจ (Trust)
6 การเปิดเผยตนเอง (Self Disclosure)
7 การบริหารจัดการความขัดแย้ง (Conflict Management)

24 ข้อใดคือความหมายของธรรมชาติของมนุษย์
(1) ลักษณะโดยรวมของมนุษย์ทั่วไปที่ส่วนใหญ่ทุกคนมี ทุกคนเป็น
(2) เป็นโครงสร้างในเชิงชีววิทยาและชีววิถีของมนุษย์ตามธรรมชาติ
(3) ภาพรวมของมนุษย์ทั้งในด้านบุคลิกภาพภายนอกและภายใน
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูกต้อง
ตอบ 4 (PDF ครั้งที่ 3) ธรรมชาติของมนุษย์ หมายถึง ลักษณะโดยรวมของมนุษย์ทั่วไปที่ส่วนใหญ่ ทุกคนมี ทุกคนเป็น ดังนั้นจึงเป็นภาพโดยรวมของมนุษย์ทั้งในด้านบุคลิกภาพภายนอกและบุคลิกภาพภายใน

25 ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบตามธรรมชาติของมนุษย์
(1) ส่วนประกอบทางร่างกาย
(3) อินทรียวัตถุ และอนินทรียวัตถุ
(2) นิสัยใจคอ มุมมอง อารมณ์ความรู้สึก
(4) พฤติกรรม และการแสดงออก
ตอบ 3 (PDF ครั้งที่ 3) องค์ประกอบตามธรรมชาติของมนุษย์ (An Elements of Human Nature)
มีดังต่อไปนี้
1 ส่วนประกอบทางร่างกาย
2 นิสัยใจคอ มุมมอง อารมณ์ความรู้สึก
3 พฤติกรรม และการแสดงออก

26 ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการศึกษาธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์
(1) เพื่อศึกษากลไกทางชีววิทยาที่ส่งผลต่อคุณสมบัติตามธรรมชาติของมนุษย์
(2) เพื่อศึกษาธรรมชาติความสัมพันธ์ระหว่างเรากับบุคคลอื่น
(3) เพื่อทําให้เข้าใจถึงลักษณะนิสัยใจคอและพฤติกรรมของมนุษย์ในภาพรวม
(4) เพื่อศึกษาถึงความคล้ายคลึงและความแตกต่างตามธรรมชาติของมนุษย์
ตอบ 1 (PDF ครั้งที่ 3) วัตถุประสงค์ของการศึกษาธรรมชาติของมนุษย์ในด้านมนุษยสัมพันธ์ มีดังนี้
1 เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ เนื่องจากมนุษยสัมพันธ์เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวเรากับบุคคลอื่น ซึ่งต่างก็เป็นมนุษย์ด้วยกัน
2 เพื่อทําให้เข้าใจถึงลักษณะนิสัยใจคอและพฤติกรรมของมนุษย์ในภาพรวม ซึ่งเป็นประโยชน์ ต่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลต่าง ๆ
3 เพื่อศึกษาถึงความคล้ายคลึงและความแตกต่างตามธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งสัดส่วนของความคล้ายคลึงจะมีน้อยกว่าความแตกต่าง ดังนั้นการเข้าใจในเรื่องความคล้ายคลึงและ ความแตกต่างของมนุษย์ จึงมีส่วนช่วยให้เรายอมรับบุคคลอื่นได้ง่ายขึ้น และลดปัญหา ในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ให้น้อยลง

27 การเข้าใจเรื่องความคล้ายคลึงและความแตกต่างของมนุษย์ มีส่วนช่วยในเรื่องใด
(1) ทําให้มองเห็นสัดส่วนของความแตกต่าง และช่วยให้เราหลีกเลี่ยงการเผชิญความต่างนั้น
(2) ทําให้เราเข้าถึงตัวตนของบุคคลอื่น แล้วช่วยให้เราสามารถปรับปรุงแก้ไขตัวตนผู้อื่นได้
(3) ทําให้เรายอมรับบุคคลอื่นได้ง่ายขึ้น และลดปัญหาในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ให้น้อยลง
(4) ทําให้เราสามารถเลือกสร้างความสัมพันธ์ โดยเฉพาะกับผู้ที่มีความคล้ายคลึงได้ง่ายมากขึ้น
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

28 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับความคล้ายคลึงและความแตกต่างของมนุษย์
(1) สัดส่วนความคล้ายคลึงมีน้อยกว่าความแตกต่าง
(2) สัดส่วนความคล้ายคลึงมีมากกว่าความแตกต่าง
(3) สัดส่วนความคล้ายคลึงมีเท่า ๆ กันกับความแตกต่าง
(4) สัดส่วนความคล้ายคลึงและความแตกต่าง ขึ้นอยู่กับบริบทแวดล้อม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

29 ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการเรียนรู้ธรรมชาติของมนุษย์ที่มีต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์
(1) ทําให้รู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่นในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง
(2) ทําให้สามารถควบคุมตนเองและควบคุมผู้อื่นได้ตามธรรมชาติ
(3) ทําให้รู้จักวิธีสร้างความสัมพันธ์ที่เหมาะสมตามหลักมนุษยสัมพันธ์
(4) ทําให้เกิดการยอมรับตนเองและยอมรับบุคคลอื่นตามธรรมชาติของแต่ละฝ่าย
ตอบ 2 (PDF ครั้งที่ 3) การเรียนรู้ธรรมชาติของมนุษย์เป็นประโยชน์ต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์ ดังนี้
1 ทําให้รู้จักและเข้าใจตนเองในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง
2 ทําให้รู้จักและเข้าใจผู้อื่นในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง
3 ทําให้เกิดการยอมรับตนเองและยอมรับบุคคลอื่นตามธรรมชาติของแต่ละฝ่าย
4 ทําให้รู้จักวิธีสร้างความสัมพันธ์ที่เหมาะสมตามหลักมนุษยสัมพันธ์

30 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะทั่วไปตามธรรมชาติของมนุษย์
(1) ชอบความสะดวกสบาย ไม่ขอบระเบียบข้อบังคับ
(2) ชอบการทําลาย โหดร้ายทารุณ ป่าเถื่อน ชอบซ้ําเติม
(3) ไม่ชอบเห็นใครดีกว่าตนเอง
(4) ไม่กังวลต่อความทุกข์ทรมาน ความลําบาก และไม่กลัวความตาย
ตอบ 4 (PDF ครั้งที่ 3) ลักษณะทั่วไปตามธรรมชาติของมนุษย์ มีดังนี้
1 ไม่ชอบเห็นคนอื่นดีกว่าตนเอง
2 ชอบการทําลายและความหายนะ
3 ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง
5 หวาดกลัวภัยอันตรายต่าง ๆและกลัวความตาย
4 มีความต้องการทางเพศ
6 กลัวความทุกข์ทรมาน ความลําบาก
7 โหดร้ายทารุณ ป่าเถื่อน ชอบซ้ําเติม
8 ชอบความสะดวกสบาย ไม่ชอบระเบียบข้อบังคับ
9 ชอบความตื่นเต้น การผจญภัย

31 ข้อใดไม่ใช่ชุดความเชื่อเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ตามหลักปรัชญาตะวันออก
(1) มนุษย์นั้นล้วนมีแต่ความว่างเปล่า
(3) มนุษย์มีความดีติดตัวมาตั้งแต่เกิด
(2) ธรรมชาติของมนุษย์ไม่ดีไม่ชั่ว
(4) ตามธรรมชาติแล้วมนุษย์ชั่วร้าย

ตอบ 1 (PDF ครั้งที่ 3) ธรรมชาติของมนุษย์ตามหลักปรัชญาตะวันออก มีดังนี้
1 เม่งจื้อ นักปรัชญาชาวจีน เชื่อว่า มนุษย์มีความดีที่ติดตัวมาแต่กําเนิด บริสุทธิ์เหมือนผ้าขาว
2 ซุ่นจื้อ นักปรัชญาชาวจีน เชื่อว่า ตามธรรมชาติแล้วมนุษย์ชั่วร้าย ดํามืด แต่เกิดมาพร้อมกับ สติปัญญา ซึ่งสติปัญญานี้ทําให้มนุษย์เปลี่ยนแปลงสภาพหยาบกระด้างที่เป็นธรรมชาติของ มนุษย์ให้มีบุคลิกภาพอันงดงามสมบูรณ์ได้ โดยการฝึกอบรม
3 เล่าจื้อ นักปรัชญาชาวจีน เชื่อว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นไม่ดีและไม่ชั่ว (เปรียบได้ดั่งสีเทา) ซึ่งเหมือนกับกระแสน้ำที่รวนเร ดังนั้นความดี ความเลว จึงเป็นสิ่งที่คู่กันในตัวมนุษย์
4 ท่านพุทธทาสภิกขุ เชื่อว่า คนหรือมนุษย์ยังเป็นผู้บกพร่อง เพราะต้องเรียนรู้แสวงหาหนทาง
ในการดําเนินชีวิต

32 ข้อใดไม่ใช่ชุดความเชื่อเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ตามหลักปรัชญาตะวันตก
(1) ธรรมชาติของมนุษย์เป็นคนดี
(2) ความไม่ดีในตัวมนุษย์เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อม
(3) ธรรมชาติของมนุษย์นั้นป่าเถื่อน เห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ หยาบคาย และอายุสั้น
(4) มนุษย์ยังเป็นผู้บกพร่อง เพราะต้องเรียนรู้แสวงหาหนทางในการดําเนินชีวิต
ตอบ 4 (PDF ครั้งที่ 3), (ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ) นักจิตวิทยาและนักปรัชญาชาวตะวันตก ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ไว้ ดังนี้
1 โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) เชื่อว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นป่าเถื่อน เห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ หยาบคาย และอายุสั้น
2 จอห์น ล็อก (John Locke) เชื่อว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นคนดี ไม่เห็นแก่ตัว หากมีความไม่ดีในตัวมนุษย์ก็เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อม
3 คาร์ล อาร์, โรเจอร์ (Carl Ransom Roger) เชื่อว่า ธรรมชาติของมนุษย์มีความคล้ายคลึงกัน

ข้อ 33 – 35. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
(3) กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)
(2) กลุ่มปัญญานิยม (Cognitivism)
(4) กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)

33 ความเชื่อที่ว่า “มนุษย์มีสติปัญญา มีการพัฒนาการตามวุฒิภาวะ มีความสามารถในการเรียนรู้ และ การปรับตัว” เป็นของสํานักใด
ตอบ 2 (PDF ครั้งที่ 3) กลุ่มปัญญานิยม (Cognitivism) ได้แก่ เลวิน (Lewin) พี่อาเจท์ (Piaget) และโคลเบิร์ก (Kolhberg) มีความเชื่อว่า ธรรมชาติของมนุษย์เกิดจากผลของการปรับตัว ในสภาพแวดล้อม ซึ่งมนุษย์มีสติปัญญา มีการพัฒนาการตามวุฒิภาวะ จึงมีความสามารถ ในการเรียนรู้ และการปรับตัว

34 ความเชื่อที่ว่า “การแสดงออกของมนุษย์เกิดจากสภาพแวดล้อม จึงสามารถกําหนดแนวทางการพัฒนา พฤติกรรมมนุษย์ได้ โดยการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม” เป็นของสํานักใด
ตอบ 1 (PDF ครั้งที่ 3) กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ได้แก่ กลุ่มฮัล (Hull) และสกินเนอร์ (Skinner) มีความเชื่อว่า พฤติกรรม (ที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์) เกิดจากจากสภาพแวดล้อม จึงสามารถกําหนดแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์ได้ โดยจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ดังนั้นมนุษย์จึงเป็นผลิตผลของสิ่งแวดล้อม

35 ความเชื่อที่ว่า “ธรรมชาติของมนุษย์นั้นดีด้วยตนเอง พฤติกรรมของมนุษย์เป็นผลจากการตอบสนอง ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์” เป็นของสํานักใด
ตอบ 3 (PDF ครั้งที่ 3) กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism) ได้แก่ โรเจอร์ (Roger) และมาสโลว์ (Maslow) มีความเชื่อว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นดีได้ด้วยตนเอง โดยพฤติกรรมของมนุษย์เป็นผลจากการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ และเชื่อว่ามนุษย์ดีโดยกําเนิด

36 ความเชื่อที่ว่า “ธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์นั้นมีความเลวมาแต่กําเนิด พฤติกรรมของมนุษย์มาจาก ความต้องการพื้นฐานของจิตใต้สํานึก” เป็นของสํานักใด
(1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
(2) กลุ่มปัญญานิยม (Cognitivism)
(3) กลุ่มมนุษยนิยม (Humanismn)
(4) กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)
ตอบ 4 (PDF ครั้งที่ 3) กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ซึ่งได้แก่ ฟรอยด์ (Freud) และฟรอม (Fromm) เชื่อในเรื่องจิตและพฤติกรรมภายในว่า พฤติกรรมของมนุษย์มาจากความต้องการ พื้นฐานของจิตใต้สํานึก และเชื่อว่าธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์นั้นมีความเลวมาแต่กําเนิด

ข้อ 37 – 39. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) คนเรามีนิสัยไม่ชอบทํางาน ถ้ามีโอกาสหลบหลีกการทํางานได้ก็จะหลีกเลี่ยงทันที
(2) การใช้สมองในการทํางานเป็นของธรรมดาเหมือนกับการเล่น หรือการพักผ่อน
(3) การศึกษามนุษย์นั้นต้องดูภาพรวมทั้งหมดในฐานะเป็นบุคคลหนึ่ง
(4) มนุษย์เป็นผู้ที่ตั้งใจทํางานที่ตนรับผิดชอบและประนีประนอมให้งานบรรลุเป้าหมาย

37 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับทฤษฎีการจูงใจในการบริหารของแมกเกรเกอร์ ตามหลักทฤษฎี X
ตอบ 1 (PDF ครั้งที่ 4) ทฤษฎีการจูงใจในการบริหารของแมกเกรเกอร์ กล่าวถึง ธรรมชาติของมนุษย์ ตามทฤษฎี X มีลักษณะทั่วไปดังนี้
1 คนเรามีนิสัยไม่ชอบทํางาน ถ้ามีโอกาสหลบหลีกการทํางานได้ก็จะหลีกเลี่ยงทันที หรือมักจะ ทํางานแบบ “เช้าชามเย็นชาม”
2 เพราะมีนิสัยไม่ชอบทํางาน จึงต้องใช้แรงเสริมทางลบเพื่อจูงใจให้ทํางาน คือ ใช้การบังคับ ควบคุม และมีบทลงโทษ เพื่อให้ทํางานจนบรรลุผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร
3 ชอบทํางานตามนายสั่ง ขาดความรับผิดชอบ และขาดความกระตือรือร้นในการปฏิบัติหน้าที่การงาน แต่ต้องการความมั่นคงและปลอดภัยเหนือสิ่งอื่นใด

38 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับทฤษฎีการจูงใจในการบริหารของแมกเกรเกอร์ ตามหลักทฤษฎี Y
ตอบ 2 (PDF ครั้งที่ 4) ทฤษฎีการจูงใจในการบริหารของแมกเกรเกอร์ กล่าวถึง ธรรมชาติของมนุษย์ ตามทฤษฎี Y มีลักษณะทั่วไปดังนี้
1 การออกแรงกายและการใช้สมองในการทํางาน เป็นของธรรมดาเหมือนกับการเล่นหรือ การพักผ่อน ซึ่งจะทําให้มนุษย์มีทัศนคติที่ดี เกิดความรักในงาน พึงพอใจและมีความสุข
ในการทํางาน
2 คนเราจะทํางานในหน้าที่ด้วยการสั่งงานและควบคุมตนเอง
3 ควรใช้แรงเสริมทางบวกเป็นสิ่งตอบแทนเพื่อจูงใจให้บุคคลทํางาน คือ การยกย่องชมเชย การให้รางวัลเพื่อเป็นกําลังใจกับผลสําเร็จของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้มีโอกาส แสดงผลงานและความสามารถในการทํางานตามที่เขาต้องการ ฯลฯ

39 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับทฤษฎีการจูงใจในการบริหารของแรดดิน ตามหลักทฤษฎี Z
ตอบ 4 (PDF ครั้งที่ 4) ทฤษฎีการจูงใจในการบริหารของแรดดิน กล่าวถึง ธรรมชาติของมนุษย์ตาม ทฤษฎี Y มีลักษณะทั่วไปดังนี้
1 มนุษย์เป็นผู้ที่ตั้งใจทํางานที่ตนรับผิดชอบและประนีประนอมให้งานบรรลุเป้าหมาย
2 มนุษย์มีสติปัญญา มีวุฒิภาวะ และมีเหตุผลของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นแรงจูงใจในการทํางาน
3 มนุษย์ยอมรับพฤติกรรมความไม่ดีที่เกิดจากการกระทําจากสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมที่
เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในชีวิต
4 มนุษย์ทุกคนจะต้องติดต่อเกี่ยวข้องและพึ่งพาอาศัยกัน โดยได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม

40 ข้อใดคือความหมายของความต้องการขั้นต้น (Primary Needs) ของมนุษย์
(1) เป็นความต้องการเชิงอารมณ์และจิตใจที่มีลักษณะไม่ชัดเจน
(2) เป็นความต้องการทางด้านร่างกายที่ต้องการให้ชีวิตอยู่รอดและดํารงเผ่าพันธุ์ต่อไป
(3) แต่ละบุคคลมีความต้องการในขั้นนี้ที่ไม่เหมือนกัน
(4) ข้อ 2 และ 3 ถูกต้อง
ตอบ 2 (PDF ครั้งที่ 4) ความต้องการทางสรีระ (Physiologicat Needs) หรือความต้องการขั้นต้น (Primary Needs) เป็นความต้องการด้านร่างกายที่ต้องการให้ชีวิตอยู่รอดและดํารงเผ่าพันธุ์ สืบต่อไป เช่น ความต้องการปัจจัยสี่ของมนุษย์ ซึ่งได้แก่ อาหาร/น้ํา ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ตลอดจนความต้องการทางเพศ ความต้องการพักผ่อน ความต้องการอุณหภูมิ ที่เหมาะสม ความต้องการขับถ่าย ฯลฯ

41 ข้อใดคือความหมายของความต้องการขั้นรอง (Secondary Needs) ของมนุษย์
(1) เป็นความต้องการเชิงอารมณ์และจิตใจที่มีลักษณะไม่ชัดเจน
(2) เป็นความต้องการทางด้านร่างกายที่ต้องการให้ชีวิตอยู่รอดและดํารงเผ่าพันธุ์ต่อไป
(3) แต่ละบุคคลมีความต้องการในขั้นนี้ที่ไม่เหมือนกัน
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูกต้อง
ตอบ – 4 (PDF ครั้งที่ 4) ความต้องการทางด้านสังคม หรือด้านจิตวิทยา หรือความต้องการขั้นรอง (Secondary Needs) เป็นความต้องการเชิงอารมณ์และจิตใจที่มีลักษณะไม่ชัดเจน เช่น ความต้องการมีศักดิ์ศรี ความต้องการการยอมรับ การยกย่อง ความรัก ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะที่สามารถสรุปได้ดังนี้
1 มักเกิดจากประสบการณ์ของแต่ละบุคคล
2 แต่ละบุคคลมีความต้องการขั้นรองแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน
3 เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ แม้แต่ในบุคคลคนเดียวกัน
4 มักเกิดขึ้นเมื่อบุคคลอยู่ในกลุ่มสังคมมากกว่าอยู่คนเดียว
5 บุคคลมักไม่แสดงออกอย่างเปิดเผยและซ่อนเร้นความต้องการในขั้นนี้ไว้
6 บางครั้งมีลักษณะเป็นนามธรรมและไม่ชัดเจน ไม่เหมือนความต้องการขั้นต้น
7 มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์

42 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์
(1) มีปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงและส่งอิทธิพลต่อกันมากมาย
(2) พฤติกรรมของมนุษย์ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจ
(3) ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์มีอยู่ 2 ปัจจัย
(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พฤติกรรม (Behaviors) หมายถึง การกระทําต่าง ๆ ของมนุษย์ทั้งด้านจิตใจ (ไม่สามารถสังเกตได้) และด้านการแสดงออก (สามารถสังเกตได้) ซึ่งการกระทําทั้ง 2 ด้านนี้ เกิดจากการควบคุมสั่งการของระบบประสาทส่วนกลาง เพื่อให้เกิดความรู้สึก เกิดการรับรู้ คิด และตัดสินใจกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยมีปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงและส่ง อิทธิพลต่อกันมากมาย แต่ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์มีอยู่ 2 ปัจจัย ได้แก่
1 ปัจจัยภายนอก
2 ปัจจัยภายใน

ข้อ 43 – 46. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) เม่งจื้อ
(2) ซุ่นจื้อ
(3) เล่าจื้อ
(4) ขงจอ

43 ตามธรรมชาติแล้วมนุษย์ชั่วร้าย ดํามืด แต่เกิดมาพร้อมกับสติปัญญา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

44 มนุษย์นั้นเหมือนสายน้ำที่รวนเร ความดี ความเลวนั้น เป็นสิ่งที่คู่กันในตัวมนุษย์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

45 มนุษย์นั้นมีความดีติดตัวแต่กําเนิด บริสุทธิ์เหมือนผ้าขาว
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

46 ธรรมชาติของมนุษย์ไม่ดี ไม่ชั่ว (เปรียบได้กับสีเทา
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

ข้อ 47. – 50. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) ความต้องการด้านร่างกาย
(2) ความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง
(3) ความต้องการด้านความรักและการยอมรับ
(4) ความต้องการการยกย่องสรรเสริญ

47 ต้องการมิตรภาพ ความสัมพันธ์แบบลึกซึ้ง ความสัมพันธ์ในครอบครัว
ตอบ 3 (PDF ครั้งที่ 5) ความต้องการความรักและร่วมกิจกรรมในสังคม (Belonging and Social Activity Needs) คือ ความต้องการความรักและการยอมรับ ต้องการมิตรภาพ ความสัมพันธ์ แบบลึกซึ้ง ความสัมพันธ์ในครอบครัว รวมถึงความต้องการแสดงตัวและมีส่วนร่วมในกิจกรรม ของสังคม โดยจะเกิดขึ้นในลักษณะของการยอมปฏิบัติตนตามกรอบกติกามารยาทของสังคมหรือการมีพฤติกรรมตามกฎเกณฑ์ที่สังคมกําหนด ทั้งนี้การสร้างมนุษยสัมพันธ์ของบุคคลก็เป็น การตอบสนองความต้องการในลําดับขั้นนี้

48 ต้องการปัจจัยสี่ (น้ํา อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค) เพื่อการดํารงชีพ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 40 ประกอบ

49 ต้องการมีสถานะทางสังคม การได้รับเกียรติยศ ศักดิ์ศรี การนับหน้าถือตา
ตอบ 4 (PDF ครั้งที่ 5) ความต้องการเกียรติยศ ชื่อเสียง และตําแหน่งหน้าที่ (Esteem and Status Needs) คือ ความต้องการการยกย่องสรรเสริญ ต้องการมีสถานะทางสังคม การได้รับเกียรติยศ ศักดิ์ศรี การนับหน้าถือตา และยอมรับตนว่าเป็นคนสําคัญของกลุ่มสมาชิก มนุษย์จึงพยายาม พัฒนาศักยภาพของตนให้เหนือกว่าคนอื่น โดยการสร้างสมความรู้ความสามารถ ทําตนให้เป็นที่รู้จัก และแก่งแย่งแข่งขันกันเพื่อให้ได้รับความต้องการในขั้นนี้

50 ต้องการสุขภาพที่ดี การมีเสถียรภาพทางการเงิน การงานอาชีพ
ตอบ 2 (PDF ครั้งที่ 5) ความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง (Safety and Security Needs) คือ ความต้องการความปลอดภัย หรือความรู้สึกมั่นคงในชีวิตด้านต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่ บุคคลมีปัจจัยสี่เพียงพอในระดับหนึ่งแล้ว เขาจะพัฒนาขึ้นไปต้องการมีความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน เช่น ต้องการมีสุขภาพที่ดี การมีเสถียรภาพทางการเงิน มีหน้าที่การงาน อาชีพที่มั่นคง ฯลฯ

51 “เราไม่สามารถแก้ปัญหาที่เราสร้างขึ้นด้วยความคิดแบบเดิม เมื่อเราต้องการผลลัพธ์ใหม่” เป็นคํากล่าว
ของใคร
(1) เดวิด โบห์ม
(2) อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
(3) แมคลูฮัน
(4) ปีเตอร์ รัสเซลล์
ตอบ 2 (เอกสาร หน้า 13) ในหัวข้อเรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในที่นําไปสู่การเปลี่ยนแปลง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้กล่าวไว้ว่า “เราไม่สามารถแก้ปัญหาที่เราสร้างขึ้นด้วยความคิดแบบเดิม เมื่อเราต้องการผลลัพธ์ที่ต่างออกไป”

52 เป้าหมายของทฤษฎีตัวยู (U-Theory) คืออะไร
(1) การยอมรับเชิงประจักษ์
(2) การสนับสนุนความเชื่อเดิม
(3) การอธิบายระดับการรับรู้ความจริง
(4) การสร้างความน่าเชื่อถือผ่านแรงกระตุ้น
ตอบ 3 (เอกสาร หน้า 13) การเกิดกระบวนทัศน์ใหม่หรือโลกทัศน์ใหม่ เกิดจากกระบวนการที่ทําให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในระดับลึก ซึ่งออตโต ชาร์เมอร์ (Otto Scharmer) ได้พัฒนาทฤษฎี ตัวยู (U-Theory) เพื่ออธิบายถึงระดับของการรับรู้และการเปลี่ยนแปลง โดยใช้ลักษณะของ ตัวยูมาอธิบายความลึกของระดับการรับรู้ความจริงและระดับการกระทําที่เกิดจากการรับรู้นั้น

53 ทฤษฎีตัวยู (U-Theory) เป็นของใคร
(1) Otto Scharmer
(2) Ken Willber
(3) Peter Russell
(4) David Bohm
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 52 ประกอบ

54 Observing ต่างจาก Suspending อย่างไร
(1) การห้อยแขวนอคติ
(2) สังเกตการณ์โดยไม่ตัดสินสิ่งต่าง
(3) การตัดสินสิ่งต่าง ๆ จากข้อมูลเดิม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (เอกสาร หน้า 14) ตามทฤษฎีรูปตัวยู (U-Theory) นั้น อธิบายว่า การที่เราเฝ้าสังเกต (Observing) สถานการณ์ใด ๆ หรือเรื่องใดโดยรู้ตัว โดยวางไว้ไม่ตัดสิน (Suspending) มองด้วยสายตาใหม่สดและลงไปสัมผัสกับเรื่องนั้น ๆ อย่างลึกซึ้ง (Deep Dive) ทําให้เรา มีการปรับเปลี่ยนแบบแผนของพฤติกรรม(Redesign) ของตัวเองจากความคุ้นชินเดิม ๆ และนําไปสู่การเปลี่ยนกรอบของตัวเองที่เคยมีมาแต่เดิม (Reframe)

55 “Open Will” คือกระบวนการใด
(1) สภาวะการแสดงออกด้วยการกระทําหรือคําพูด
(2) สภาวะยูขาลง
(3) การปรับเปลี่ยนแบบแผนของพฤติกรรม
(4) สภาวะยูขาขึ้น
ตอบ 2 (เอกสาร หน้า 13), (คําบรรยาย) จากภาพทฤษฎีรูปตัวยู (U-Theory) อธิบายได้ว่า สภาวะ ยูขาลงในขั้นตอนที่ 4 “Open Will” หรือ “Presencing” คือ การอยู่กับปัจจุบันที่สุด เราจะ เห็นคําตอบมากมาย ทางเลือกหลากหลาย และความเป็นได้ทุกทางในอนาคต

56 ข้อใดคือส่วนที่สําคัญของการคิด วิเคราะห์ แยกแยะในการฟัง
(1) Suspending
(2) Bias
(3) Information
(4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (เอกสาร หน้า 16), (คําบรรยาย) การห้อยแขวน (Suspending) คือ งดเว้นจากการตัดสิน ให้คุณค่าเรื่องที่ฟัง เว้นจากการประเมินหรือตัดสินเรื่องของคู่สนทนา รวมทั้งการไม่ใช้ทัศนะ ขั้วตรงข้าม กล่าวคือ การมองและเข้าใจว่าสิ่งต่าง ๆ นั้นแบ่งออกเป็นสองด้านที่ตรงข้ามกัน เมื่อเกิดการห้อยแขวนจะทําให้เกิดปัญญา ซึ่งถือเป็นส่วนที่สําคัญของการคิด วิเคราะห์ และแยกแยะในการฟัง

57 ข้อใดคือปัญหาของการสื่อสารเพื่อมนุษยสัมพันธ์ในกระแสทุนนิยม
(1) สังคมมีการแข่งขันจนยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
(2) สังคมออกแบบเน้นการเรียนรู้เพื่อนําไปประกอบอาชีพ
(3) ปัจเจกบุคคลเห็นแก่ประโยชน์ตนเอง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (เอกสาร หน้า 4), (คําบรรยาย) ปัญหาของการสื่อสารเพื่อมนุษยสัมพันธ์ในกระแสทุนนิยม และกระแสโลกาภิวัตน์ ได้แก่
1 สังคมออกแบบเน้นการเรียนรู้เพื่อนําไปประกอบอาชีพ
2 สังคมมีการแข่งขันจนยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
3 ปัจเจกบุคคลเห็นแก่ประโยชน์ตนเอง ไม่เห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวม
4 ให้ความสําคัญกับการพัฒนาวัตถุ แต่ลดทอนความสําคัญเรื่องคุณธรรม ฯลฯ

58 เคน วิลเบอร์ (Ken Willber) อธิบายการพัฒนาระดับจิตของมนุษย์ว่าอย่างไร
(1) มนุษย์ควรเริ่มจากจิตภายในตน สังคม และวัฒนธรรม
(2) มนุษย์ควรเริ่มจากสังคม วัฒนธรรม และจิตภายในตน
(3) มนุษย์ควรเริ่มจากจิตภายในตน วัฒนธรรม และสังคม
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 (เอกสาร หน้า 4) เคน วิลเบอร์ (Ken Wilber) ผู้เขียนหนังสือเรื่อง “จิตวิทยาบูรณาการ” อธิบายว่า การพัฒนาระดับจิตของมนุษย์ไม่อาจมองข้ามบริบทต่าง ๆ ทางสังคม วัฒนธรรม และระบบสมองของมนุษย์ไปได้ ดังนั้นวิธีการส่งเสริมการพัฒนาจิตภายในของมนุษย์ จึงควร กระทําจากทั้งระดับจิตมนุษย์ การพัฒนาสมอง รวมถึงสังคม และวัฒนธรรมร่วมกันไป

59 ข้อใดคือปรากฏการณ์ที่ทําให้เกิดการมองโลกใหม่ของปีเตอร์ รัสเซลล์ (Peter Russell)
(1) การใช้ชีวิตของมนุษย์หมุนช้าขึ้น
(2) การมีจิตสํานึกไม่ถูกต้อง
(3) การเปลี่ยนแปลงทางวัตถุและจิตสํานึกพร้อมกัน
(4) นําเสนอนามธรรมของจิตวิวัฒน์
ตอบ 2 (เอกสาร หน้า 4 – 5) ปรากฏการณ์ปัจจุบันที่ทําให้เกิดการมองโลกในแง่มุมใหม่ ๆ ของปีเตอร์ รัสเซลล์ (Peter Russell) นักฟิสิกส์และจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้แก่
1 วิถีการดําเนินชีวิตของมนุษย์ที่นับวันจะดูเหมือนหมุนเร็วขึ้นไปทุกที ทําให้เกิดผลกระทบ อันไม่พึงปรารถนาในทุกระบบของสังคมและสิ่งแวดล้อม
2 วิเคราะห์ว่ารากเหง้าของปัญหาที่แท้จริง คือ การมีจิตสํานึกไม่ถูกต้อง
3 ทางออกของปรากฏการณ์นั้นไม่ได้อยู่ที่การเปลี่ยนแปลงทางวัตถุกลไกภายนอก แต่ต้องเปลี่ยนแปลงจากภายใน เป็นการเปลี่ยนจิตสํานึกอย่างลุ่มลึก
4 นําเสนอแนวทางรูปธรรมของการขยายจิตสํานึกจากจิตอันคับแคบส่วนตัวไปสู่การมีจิตเผื่อแผ่กว้างใหญ่มีจิตวิวัฒน์

60 ข้อใดคือวัตถุประสงค์สําคัญในการปรับค่านิยม อุดมการณ์ในสังคมไทย
(1) การอยู่ร่วมกันกับความแตกต่างอย่างเป็นปึกแผ่น
(2) การปรับทัศนคติให้กลมกลืนได้อย่างเปิดกว้าง
(3) มีความเป็นเอกภาพท่ามกลางความขัดแย้ง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (เอกสาร หน้า 5) ระบบการศึกษา ตลอดจนการจัดระบบการเรียนรู้ในสังคมถือเป็นเรื่องใหญ่ และมีความสําคัญอย่างมีนัยในการปรับค่านิยม วัฒนธรรม แนวคิด และอุดมการณ์ของคนไทย ให้สามารถผสมกลมกลืนกันได้ ทั้งนี้เพื่อความเป็นปึกแผ่นท่ามกลางแนวคิดที่หลากหลาย และ มีความเป็นเอกภาพท่ามกลางความขัดแย้งที่แตกต่างในปัจจัยต่าง ๆ

61 แนวคิดแบบจิตตปัญญาศึกษา ต้องการพัฒนาด้านใดของมนุษย์
(1) สามารถประกอบอาชีพที่หลากหลาย
(2) สามารถพัฒนาความสมดุลด้านความรู้และจิตใจ
(3) สามารถสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา
(4) สามารถพัฒนาทักษะวิชาชีพได้ดี
ตอบ 2 (เอกสาร หน้า 5) แนวคิดแบบจิตตปัญญาศึกษา เป็นความพยายามที่จะพลิกฟื้นการศึกษาให้ สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุลทั้งด้านความรู้และจิตใจอย่างที่ควรจะเป็น เพื่อให้เป็น ผู้ที่มีคุณธรรมความดีงาม รู้จักตนเอง เข้าใจผู้อื่น สามารถอยู่ร่วมกันและมีชีวิตที่ก่อประโยชน์ เกื้อกูลกับสังคมได้อย่างมีความสุข ย่อมก่อให้เกิดผลการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ที่จะนําไปสู่สังคม ที่มีดุลยภาพต่อไป

62 ข้อใดคือลักษณะเรื่องกระบวนการเรียนรู้ของวิจักษณ์ พานิช
(1) การฟังโดยใช้ประสบการณ์ตนเองในการตัดสิน
(2) การใคร่ครวญด้วยการเปิดใจฟังอย่างยืดหยุ่น
(3) กระบวนการเรียนรู้เกิดจากการได้ยินผ่านหู
(4) การดูเหตุการณ์โดยไม่ต้องเชื่อมโยง
ตอบ 2 (เอกสาร หน้า 6) วิจักขณ์ พานิช อธิบายว่า การเอาใจใส่จิตใจในกระบวนการเรียนรู้สามารถ
ทําได้ 3 ลักษณะ ดังนี้
1 การฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) คือ การฟังด้วยหัวใจ ด้วยความตั้งใจอย่างสัมผัสได้ถึง รายละเอียดของสิ่งที่เราฟังอย่างลึกซึ้งด้วยจิตที่ตั้งมั่น ด้วยการเปิดใจฟังอย่างยืดหยุ่น ในที่นี้ ยังหมายถึง การรับรู้ในทางอื่น ๆ ด้วย เช่น การมองเห็น การอ่าน การสัมผัส ฯลฯ
2 การน้อมสู่ใจอย่างใคร่ครวญ (Contemplation) เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการฟังอย่าง ลึกซึ้ง ร่วมกับประสบการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตทางอื่น ๆ เมื่อเข้ามาสู่ใจแล้วมีการน้อมนํามา คิดใคร่ครวญอย่างลึกซึ้ง ซึ่งต้องอาศัยความสงบเย็นของจิตใจเป็นพื้นฐาน จากนั้นก็ลองนําไป ปฏิบัติเพื่อให้เห็นผลจริง
3 การเฝ้ามองเห็นตามที่เป็นจริง (Meditation) การปฏิบัติธรรมหรือการภาวนา คือ การเฝ้าดู ธรรมชาติที่แท้ของจิต คือ การเปลี่ยนแปลงไม่คงที่

63 ข้อใดคือ Action-Oriented
(1) การเขียนให้เฉพาะเจาะจง แคบลงชัดเจนขึ้น
(2) สามารถวัดได้ แจกแจง ระบุการบรรลุได้
(3) ยึดการกระทําเป็นหลัก
(4) เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้จริง
ตอบ 3 (เอกสาร หน้า 42) ลักษณะของเป้าหมายที่ดี (SMART) ควรมีองค์ประกอบดังนี้
1 Specific (เฉพาะเจาะจง)
2 Measurable (สามารถวัดได้)
3 Action-Oriented (ยึดการกระทําเป็นหลัก)
4 Realistic (เป็นจริง)
5 Time and resource constrained (เวลาและข้อจํากัดด้านทรัพยากร)

64 การกําหนดเป้าหมายแบบกว้างและแบบเจาะจง เป็นการยกตัวอย่างของใคร
(1) Wallace & Master
(2) David Bohm
(3) Habermas
(4) Peter Russelle
ตอบ 1 (เอกสาร หน้า 43) Wallace & Masters ได้ยกตัวอย่างเกี่ยวกับการกําหนดเป้าหมายที่มี ลักษณะกว้างกับเป้าหมายที่มีลักษณะเจาะจง ดังนี้
1 แบบกว้าง : เป็นคนมีการศึกษาดี, แบบเจาะจง : ได้รับปริญญาโททางการสื่อสารมวลชน
2 แบบกว้าง : มีความสามารถทางการเป็นผู้นํา, แบบเจาะจง : ได้รับตําแหน่งเป็นหัวหน้างาน

65 การวางเป้าหมายช่วยให้บรรลุดุลยภาพแห่งชีวิตอย่างไร
(1) สามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรู้เท่าทัน
(2) ทําให้รู้ว่าเดินถูกทางตามที่คิดไว้
(3) ชีวิตได้ความสมดุลในด้านต่าง ๆ ของชีวิต
(4) รู้ถึงความต้องการของชีวิต
ตอบ 3 (เอกสาร หน้า 37 – 38) ความสําคัญของเป้าหมายประการหนึ่ง ได้แก่ การวางเป้าหมาย ช่วยให้บรรลุดุลยภาพแห่งชีวิต คือ ชีวิตมีเป้าหมายหลายอย่างที่ต้องทําให้สําเร็จ ซึ่งการตั้ง เป้าหมายที่ครอบคลุมทุกด้านของชีวิต ทําให้ชีวิตได้ความสมดุลในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ชีวิตจะ ประสบความสําเร็จอย่างแท้จริงต่อเมื่อบรรลุเป้าหมายด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีดุลยภาพ และนั่นอาจเรียกว่า เป็นคนเก่ง

66 อุปสรรคใดที่ทําให้เป้าหมายไม่สําเร็จ
(1) ไม่ตั้งเป้าหมาย
(2) ไม่รู้วิธีการตั้งเป้าหมาย
(3) ขาดความเชื่อมั่น
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (เอกสาร หน้า 38 – 39) อุปสรรคขวางการบรรลุเป้าหมาย มีดังนี้
1 ไม่ตั้งเป้าหมาย
2 ไม่รู้วิธีการตั้งเป้าหมาย
3 เคยลองแล้วพลาด
4 ความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
5 ชีวิตนี้คงไม่มีหวัง
6 ปฏิเสธทุกอย่างที่เข้ามาในชีวิต ฯลฯ

67 ข้อใดไม่ใช่กระบวนการในการบรรลุเป้าหมาย
(1) นึกถึงสิ่งที่อยากมีในอนาคต
(2) ระบุความต้องการให้ชัดเจนว่า จะสําเร็จได้อย่างไร
(3) เขียนสิ่งที่อยากทํา
(4) เขียนแผนปฏิบัติหลังสํารวจความเป็นไปได้ของเป้าหมาย
ตอบ 4 (เอกสาร หน้า 40) Rouillard ได้ให้หลักการบรรลุเป้าหมาย ซึ่งมีกระบวนการตามลําดับดังนี้
1 เขียนรายการของสิ่งที่อยากทํา หรือสิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจ เช่น ต้องการรวย มีเงินเยอะ ๆ
2 นําสิ่งที่เขียนเป็นเป้าหมาย เช่น ต้องการมีเงินล้าน
3 ขยายเนื้อความของเป้าหมาย โดยระบุความต้องการให้ชัดเจนว่า จะสําเร็จได้อย่างไร เมื่อไร
4 แปลงเป็นแผน ปฏิบัติตามแผน หลังจากนั้นสํารวจทรัพยากรต่าง ๆ ว่า เป็นไปตามเป้าหมาย ที่กําหนดไว้หรือไม่เพียงใด

68 Action Plan ของ Wallace & Master อธิบายอย่างไร
(1) ตั้งวัตถุประสงค์, กําหนดเป้าหมาย, สภาพแห่งความสําเร็จ แผนปฏิบัติการ
(2) กําหนดเป้าหมาย, แผนปฏิบัติการ, สภาพแห่งความสําเร็จ, ตั้งวัตถุประสงค์
(3) ตั้งวัตถุประสงค์, กําหนดเป้าหมาย, แผนปฏิบัติการ สภาพแห่งความสําเร็จ
(4) กําหนดเป้าหมาย, แผนปฏิบัติการ, ตั้งวัตถุประสงค์ สภาพแห่งความสําเร็จ

ตอบ 3 (เอกสาร หน้า 40) Action Plan หรือ Plan of Action ของ Wallace & Master มีขั้นตอน
ประกอบด้วย
1 ตั้งวัตถุประสงค์
2 กําหนดเป้าหมาย
3 แผนปฏิบัติการ
4 สภาพแห่งความสําเร็จ

69 ข้อใดคือลักษณะของเป้าหมายที่ดี
(1) SMART
(2) SMILE
(3) SMOCK
(4) SMACT
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 63 ประกอบ

70 เป้าหมายในการสื่อสารมีความสําคัญอย่างไร
(1) แผนที่การดําเนินชีวิต
(2) การเชื่อมโยงโลกภายในสู่โลกภายนอก
(3) การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (เอกสาร หน้า 36 – 37) เป้าหมายทางการสื่อสารในที่นี้จะกล่าวเน้นถึงการตั้งเป้าหมายของ ชีวิตและการทํางานเป็นหลัก โดยความสําคัญของเป้าหมาย คือ เป้าหมายให้ทิศทางหรือแผนที่ ในการดําเนินชีวิตและการปฏิบัติงาน ทําให้รู้ว่าต้องเดินทางไปถึงจุดใด ชี้ให้เห็นระดับวุฒิภาวะ และปรับดุลยภาพของชีวิต

71 Aldag & Kazuhara นิยาม “เป้าหมาย” ไว้อย่างไร
(1) ความฝันที่มีเส้นตาย
(2) ข้อความที่แสดงความปรารถนา
(3) ผลลัพธ์สุดท้ายจากการทุ่มเท
(4) จุดหมายปลายทาง
ตอบ 3 (เอกสาร หน้า 36) Aldag & Kazuhara ได้นิยาม “เป้าหมาย” ไว้ว่า หมายถึง ผลตอนสุดท้าย ที่ต้องการจากการทุ่มเทพลังบวกบางอย่างไป

72 คํานิยามที่มีความหมายใกล้เคียงกับ “เป้าหมาย” คือข้อใด
(1) Purpose
(2) Objective
(3) Target
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (เอกสาร หน้า 36 – 37) คํานิยามที่มีความหมายใกล้เคียงกับ “เป้าหมาย” เช่น เป้าประสงค์(Purpose), วัตถุประสงค์ (Objective), เป้าหมาย (Goal), จุดมุ่งหมาย (Aim) และจุดหมาย (Target) เป็นต้น

73 เป้าหมายเป็นป้ายบอกทางชีวิตอย่างไร
(1) ทําให้รู้ว่าเดินไปถูกทาง
(2) บรรลุเป้าหมายอย่างมีดุลยภาพ
(3) รู้ว่ามีความเป็นผู้ใหญ่เพียงใด
(4) การปรับชีวิตให้เหมาะกับเหตุการณ์อย่างรู้เท่าทัน
ตอบ 1 (เอกสาร หน้า 37) ความสําคัญของเป้าหมายประการหนึ่ง ได้แก่ เป้าหมายเป็นป้ายบอกทาง ให้ชีวิต คือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าชีวิตของตนเดินได้ถูกทางที่ต้องการ ดังนั้นการทําเป้าหมายให้ สําเร็จไปเรื่อย ๆ ตลอดทาง จึงทําให้รู้ว่าเดินไปได้ถูกทาง เพื่อเป้าหมายที่ใหญ่กว่าหรือสําคัญ มากกว่า ซึ่งอยู่ข้างหน้า

74 สิ่งซ่อนเร้น (Tactice) หมายถึงข้อใด
(1) สิ่งที่ไม่ได้เอ่ยเป็นคําพูด
(2) การแสดงออกจากการพูด
(3) การโต้แย้ง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (เอกสาร หน้า 19) สิ่งซ่อนเร้น (Tactice) หมายถึง สิ่งที่ไม่ได้เอ่ยเป็นคําพูด ไม่อาจอธิบายได้
เหมือนความรู้ที่จะใช้ขี่จักรยานเป็นตัวความรู้ที่แท้จริง แต่อาจกลมกลืนหรือไม่ก็ได้

75 ข้อใดคือต้นตอของปัญหาของความคิด
(1) ขาดการตระหนักรู้ในความคิด
(2) ความคิดเกิดขึ้นตามธรรมชาติ
(3) ถูกทั้ง 2 ข้อ
(4) ผิดทั้ง 2 ข้อ
ตอบ 1 (เอกสาร หน้า 20) ต้นตอของปัญหาของความคิด เกิดขึ้นเพราะเราขาดการตระหนักรู้ใน ความคิด การที่เรายับยั้งมันไว้จึงเป็นโอกาสให้เราได้เกิดการตระหนักรู้ในความคิด เป็นการ สร้างกระจกเงา เพื่อสะท้อนให้เห็นผลที่เกิดจากความคิดของเราเอง

76 ข้อใดคือผลกระทบเมื่อเราไม่รับรู้สาเหตุการเกิดของความคิด
(1) เราจะกลับเข้าไปในวังวนของความคิด
(2) ความคิดจะคอยสร้างปัญหา
(3) จะเกิดการแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4(เอกสาร หน้า 20 – 21) ผลกระทบเมื่อเราไม่รับรู้สาเหตุการเกิดของความคิด มีดังนี้
1 ความคิดจะคอยสร้างปัญหาอยู่เสมอ
2 เราจะกลับเข้าไปในวังวนของความคิดที่มักชักนําไป นั่นคือ การไม่รับรู้ตนเอง
3 เกิดการแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด เพราะไม่ตระหนักว่าความคิด คือ ผู้สร้างปัญหา

77 ข้อใดคือปัญหาในวงสุนทรียสนทนา
(1) บทบาทต่าง ๆ ของสมาชิกในกลุ่มสนทนา
(2) การพูดคุยแลกเปลี่ยนอย่างไหลลื่น
(3) การฟังโดยปราศจากอคติ
(4) ช่วงเงียบคิดของกลุ่มสนทนา
ตอบ 1 (เอกสาร หน้า 21 – 22) ปัญหาในวงสุนทรียสนทนา คือ บทบาทต่าง ๆ ของสมาชิกในกลุ่ม สนทนา ซึ่งมาจากรากฐานความคิดเห็นและสมมุติฐานต่าง ๆ ที่จะไปขัดขวางการดําเนินของ สุนทรียสนทนา อันเป็นสาเหตุที่ทําให้การสื่อสารล่มสลายได้ ดังนั้นการลดบทบาทผู้เล่าเรื่อง หรือการเว้นพื้นที่ว่างให้ทุกคนได้มีโอกาสพูด จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยลดความยุ่งยากในการใช้ สุนทรียสนทนา เพื่อให้สามารถดําเนินต่อไปได้

78 ข้อใดคือเครื่องมือลดความยุ่งยากในการใช้สุนทรียสนทนา
(1) การฟังอย่างลึกซึ้ง
(2) การใช้ประสบการณ์ของสมาชิกในกลุ่มมาแก้ไขปัญหา
(3) การลดบทบาทผู้เล่าเรื่อง
(4) การสรุปเล่าเรื่องจากสมาชิกกลุ่ม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 77. ประกอบ

79 ข้อใดไม่ใช่ความละเอียดอ่อนในสุนทรียสนทนา
(1) เฝ้าสังเกตการณ์ความรู้สึกอย่างละเอียด
(2) การเชื่อมโยงภาษาพูดกับภาษากาย
(3) รับรู้ได้ว่าเราได้รับข้อมูลได้จากการฟัง
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3(เอกสาร หน้า 22 – 23) ความละเอียดอ่อนในสุนทรียสนทนา มีดังนี้
1 อาการที่รู้ว่าเมื่อใดควรพูดหรือไม่ควรพูด เป็นเฝ้าสังเกตการณ์ความรู้สึกอย่างละเอียด
2 การเชื่อมโยงภาษาพูดกับภาษากาย
3 เรื่องราวเป็นตัวเชื่อมให้ผู้ฟังรับรู้ความหมาย

80 ข้อใดคือความละเอียดอ่อนของสุนทรียสนทนา
(1) การเล่าเรื่องทําให้เราเดาเหตุการณ์ได้
(2) ผู้ฟังสามารถปะติดปะต่อเรื่องราวของผู้เล่าได้
(3) เรื่องราวเป็นตัวเชื่อมให้ผู้ฟังรับรู้
(4) ผู้ฟังซาบซึ้งจนน้ําตาไหล
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 79 ประกอบ

81 ข้อใดคือสุนทรียสนทนาแบบจํากัด
(1) การใช้อํานาจเชิงกายภาพ
(2) การใช้อํานาจเชิงโครงสร้างครอบครัว
(3) การใช้อํานาจเชิงการสื่อสาร
(4) การใช้อํานาจเชิงวิทยาศาสตร์
ตอบ 2 (เอกสาร หน้า 23) สุนทรียสนทนาแบบจํากัดจะเกิดขึ้นตามกลุ่มในลักษณะเชิงลําดับ
อํานาจ เช่น การใช้อํานาจเชิงโครงสร้างครอบครัว เพราะตามปกติครอบครัวจะมีลักษณะของ
การบังคับบัญชาตามลําดับชั้นที่อยู่บนหลักการของการใช้อํานาจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับ
สุนทรียสนทนา ดังนั้นครอบครัวจึงเป็นโครงสร้างที่อาจยากจะทําให้เกิดสุนทรียสนทนาได้

82 ข้อใดคือแนวทางการแก้ปัญหาสุนทรียสนทนาแบบจํากัด
(1) รับฟังความคิดเห็นของแต่ละคนอย่างให้คุณค่า
(2) จิตที่ผ่อนคลายและเปิดกว้าง
(3) การแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ความคิดเห็นระหว่างกัน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (เอกสาร หน้า 24) แนวทางการแก้ปัญหาสุนทรียสนทนาแบบจํากัด มีดังนี้
1 รับฟังความคิดเห็นของแต่ละคนอย่างให้คุณค่า
2 มีจิตที่ผ่อนคลายและเปิดกว้างมากขึ้น พร้อมที่จะมองดูทุก ๆ ความคิดเห็น
3 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็นระหว่างกัน และรับฟังสมมุติฐานต่าง ๆ ของกันและกัน

83 ข้อใดคือความหมายของคําว่า “สังเกต” ในสุนทรียสนทนา
(1) การเก็บรวบรวมจากประสาทสัมผัสต่าง ๆ สู่สมอง โดยค่อยเป็นค่อยไป
(2) การเก็บรวบรวมจากประสาทสัมผัสต่าง ๆ สู่สมอง โดยสรุปข้อมูล
(3) การเก็บรวบรวมจากประสาทสัมผัสต่าง ๆ สู่สมอง โดยกระชับเวลา
(4) การเก็บรวบรวมจากประสาทสัมผัสต่าง ๆ สู่สมอง โดยใช้ประสบการณ์ตนเอง
ตอบ 2 (เอกสาร หน้า 24 – 25) คําว่า “สังเกต” ในสุนทรียสนทนา หมายถึง การเก็บรวบรวมจาก ประสาทสัมผัสต่าง ๆ สู่สมอง จากนั้นนํามารวมกันโดยการสรุปข้อมูลและประสานจัดการให้ เกิดความหมาย โดยคุณลักษณะที่ดีของผู้สังเกต คือ การเป็นคนขี้สงสัย

84 ข้อใดคือคุณลักษณะที่ดีของผู้สังเกต
(1) คนขี้ระแวง
(2) คนขี้สงสัย
(3) คนประนีประนอม
(4) คนชอบแสดงความคิดเห็น
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 83 ประกอบ

85 ข้อใดคือปฏิกิริยาของมนุษย์ที่แสดงขั้นตอนของอาการที่จะก่อให้เกิดระดับความรุนแรงของความรู้สึก
(1) หัวใจเต้นเร็ว
(2) จามมีน้ำมูก
(3) อาการคันตามร่างกาย
(4) ปวดหัวตึ๊บ ๆ
ตอบ 1 (เอกสาร หน้า 26) ปฏิกิริยาทางร่างกายของมนุษย์ที่แสดงขั้นตอนของอาการที่จะก่อให้เกิด ระดับความรุนแรงของความรู้สึก เช่น หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดสูง อาการหายใจถี่ ร่างกาย เกร็งเครียด เป็นต้น

86 “Proprioception” ในความหมายของเดวิด โบห์ม คือข้อใด
(1) ต้องสามารถรับรู้การเคลื่อนไหวของความคิดตนเองได้
(2) การรับรู้ความคิดด้วยตนเอง
(3) ความคิดที่รับรู้การกระทําของตนเอง
(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (เอกสาร หน้า 27) คําว่า “Proprioception” เป็นศัพท์เฉพาะ หมายถึง การรับรู้ความคิด ด้วยตนเอง การตระหนักรู้ในความคิดแห่งตน หรือความคิดที่รับรู้การกระทําของตนเอง แต่ใน ความหมายของเดวิด โบห์ม (David Bohm) คือ ไม่ว่าเราจะใช้คําใด เราต้องสามารถรับรู้การ เคลื่อนไหวของความคิดตนเองได้ ตระหนักถึงการเคลื่อนไหวของความคิดตนเองได้

87 ข้อใดคือลักษณะพิเศษของสื่อบุคคลที่แตกต่างจากสื่ออื่น ๆ
(1) สื่อสารแบบสองทิศทาง มีความยืดหยุ่นสูง
(2) แพร่กระจายข่าวสารได้กว้าง
(3) สามารถเป็นตัวแทนจําหน่ายผลิตภัณฑ์ได้
(4) สื่อสารโดยไม่รู้จักผู้รับสารได้
ตอบ 1 (เอกสาร หน้า 68) สื่อบุคคลมีลักษณะที่พิเศษเมื่อเทียบกับสื่ออื่น ๆ โดยเฉพาะสื่อมวลชน คือ ความเป็นมนุษย์ เพราะสื่อบุคคลมีคุณลักษณะที่มีความยืดหยุ่นสูง สื่อสารกันแบบเห็นหน้ากัน และสองทิศทาง จึงทําให้เหมาะกับการพัฒนาบนกระบวนทัศน์กระแสทางเลือก

ข้อ 88 – 91. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) สื่อบุคคลยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์
(2) สื่อบุคคลสื่อสารแนวตั้ง แนวระนาบ และ 2 ทิศทาง
(3) สื่อบุคคลเหมาะกับการพัฒนาตามแบบกระบวนทัศน์ทางเลือก
(4) สื่อบุคคลเป็นสื่อที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาได้

88 การถ่ายทอดและกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ดี
ตอบ 3 (เอกสาร หน้า 68) สื่อบุคคลเป็นสื่อที่เหมาะกับการพัฒนาตามแบบกระบวนทัศน์ทางเลือก คือ
สื่อบุคคลได้รับการหยิบมาใช้ตั้งแต่ยุคแรกของการพัฒนา แต่เน้นการถ่ายทอดข่าวสารเท่านั้น หมายถึง การถ่ายทอดเพียงความรู้และอาจปรับเปลี่ยนทัศนคติ แต่การพัฒนาบนกระบวนทัศน์ กระแสทางเลือกที่มุ่งเน้นให้กลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้น สื่อบุคคลได้รับยกย่องว่า เป็นสื่อที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้อย่างดีอีกด้วย

89 สามารถปรับเนื้อหาและกระบวนการสื่อสารได้ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
ตอบ 1 (เอกสาร หน้า 68) สื่อบุคคลมีลักษณะยืดหยุ่น สร้างสรรค์ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ คือ สื่อบุคคลมีลักษณะเป็นมนุษย์ จึงมีความยืดหยุ่นสูง ซึ่งเมื่อเทียบกับสื่อมวลชนแล้ว สื่อบุคคลจะ สามารถปรับเปลี่ยนเนื้อหากระบวนการสื่อสารได้ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง

90 ทําหน้าที่สร้างการมีส่วนร่วมในชุมชนได้อย่างดี
ตอบ 4 (เอกสาร หน้า 68) สื่อบุคคลเป็นสื่อที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาได้ คือ จากทัศนะที่มองว่า มนุษย์สามารถพัฒนาทําให้เกิดการมองว่า หากมีการเสริมพลัง (Empowerment) ก็ย่อม ทําให้มนุษย์พัฒนาขึ้น ดังนั้นมนุษย์ธรรมดาก็สามารถเสริมพลังให้กลายเป็น “สื่อบุคคล” ที่ทําหน้าที่เป็นผู้สื่อสารการสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชนได้อย่างดี

91 ทําหน้าที่เป็นตัวเชื่อมในบริบทต่าง ๆ ทําให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้ดีกว่าการสื่อสารทางเดียว
ตอบ 2 (เอกสาร หน้า 68) สื่อบุคคลใช้ในการสื่อสารแนวตั้ง แนวระนาบ และการสื่อสารสองทิศทาง คือ สื่อบุคคลมีทิศทางการสื่อสารได้ทั้งแนวตั้งและแนวระนาบ หากเป็นกระบวนทัศน์ทางเลือก สื่อบุคคลจะเริ่มทําหน้าที่เป็นตัวเชื่อมในบริบทต่าง ๆ และสื่อบุคคลยังมีการสื่อสารสองทิศทาง ทําให้การเปิดโอกาสรับฟังปัญหาจากชุมชนเกิดผลสัมฤทธิ์ได้ดีกว่าการสื่อสารทิศทางเดียว

92 ข้อใดคือการพัฒนาของสื่อบุคคลที่ทําให้ผู้รับสารเข้าใจเป้าหมายการทํางาน ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพ
การสื่อสารได้
(1) สื่อบุคคลมีเจตนา มีแรงจูงใจ
(2) สื่อบุคคลมีลักษณะหลายโฉมหน้า
(3) สื่อบุคคลยืดหยุ่น สร้างสรรค์
(4) สื่อบุคคลเป็นสื่อที่มีศักยภาพ
ตอบ 1 (เอกสาร หน้า 70) สื่อบุคคลมีคุณลักษณะที่มีเจตนา มีแรงจูงใจ ด้วยความเป็นมนุษย์ ดังนั้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่สื่อบุคคลจะมีเจตนา มีแรงจูงใจที่อยู่เบื้องหลัง ซึ่งด้านหนึ่งหากมีแรงจูงใจ เจตนาที่ดีก็จะทําให้สามารถใช้การสื่อสารเพื่อการพัฒนาได้เป็นอย่างดี รวมถึงหากสื่อบุคคล สามารถระบุเจตนาของตนออกไปได้ก็จะช่วยทําให้ผู้รับสารได้เข้าใจเป้าหมายการทํางาน และ
จะส่งผลทําให้เกิดประสิทธิภาพในการสื่อสารได้ในอีกทางหนึ่ง

93 สื่อบุคคลมีคุณสมบัติในการมีสติ สมาธิ การไตร่ตรองประเด็น เป็นคุณลักษณะระดับใดของการสื่อสาร
(1) ระดับการสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) ระดับการสื่อสารภายในตนเอง
(3) ระดับการสื่อสารสาธารณะ
(4) ระดับการสื่อสารผ่านสื่อมวลชน
ตอบ 2 (เอกสาร หน้า 69) ในระดับการสื่อสารภายในตนเอง สื่อบุคคลจะมีคุณสมบัติสําคัญในการ มีสติ สมาธิ การไตร่ตรองประเด็นต่าง ๆ ก่อนที่จะสื่อสาร ในส่วนนี้เป็นสิ่งที่สื่อบุคคลเท่านั้นจึงจะทําได้

94 ข้อใดคือปัจจัยเสริมและอุปสรรคต่อการทําหน้าที่ของสื่อบุคคล
(1) ชุมชนและสังคม
(2) การสื่อสารแนวตั้ง
(3) ชีวิตส่วนตัวและชีวิตการงาน
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 (เอกสาร หน้า 70) สื่อบุคคลมีทั้งชีวิตส่วนตัวและชีวิตการงาน คือ การใช้สื่อบุคคลอาจต้อง พิจารณาถึงลักษณะของชีวิตส่วนตัวและชีวิตการงานควบคู่กันไป เพื่อจะพิจารณาว่าอะไร คือ ปัจจัยเสริมและอะไรเป็นอุปสรรคขวางกั้นการทําหน้าที่ของสื่อบุคคล เพราะในหลายครั้งชีวิตการงานและชีวิตส่วนตัวก็อาจมีความขัดแย้งกัน

95 ข้อใดคือ ความหมายคําว่า “สื่อบุคคล” ตามกระบวนทัศน์การพัฒนากระแสหลัก (Dominant Paradigm) (1) บุคคลที่สามารถถ่ายทอดข้อมูลระหว่างกัน
(2) บุคคลที่ทําหน้าที่สื่อสารเป็นตัวกลางระหว่างรัฐกับชุมชน
(3) บุคคลที่ถ่ายทอดความรู้ภายในตนต่อบุคคลอื่นได้โดยอิสระ
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 (เอกสาร หน้า 65) คําว่า “สื่อบุคคล” ตามกระบวนทัศน์การพัฒนากระแสหลัก (Dominant Paradigm) ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาจากรัฐส่วนกลาง และเน้นความทันสมัย จะหมายถึง “บุคคล ที่ทําหน้าที่สื่อสาร ถ่ายทอดข่าวสารความรู้จากส่วนกลาง” หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ “การเป็นตัวกลางหรือสะพานเชื่อมระหว่างรัฐกับชุมชน”

96 ข้อใดคือความหมายของ “สื่อบุคคล” ในทางปฏิบัติ ตามทัศนะของกาญจนา แก้วเทพ และอมรรัตน์ ทิพย์เลิศ
(1) บุคคลที่มีศักยภาพเป็นนักสื่อสารได้
(2) บุคคลที่ถ่ายทอดข่าวสารความรู้จากส่วนกลาง
(3) บุคคลที่เป็นทั้งผู้ส่งสาร เนื้อหา สื่อ/ช่องทาง และผู้รับสาร
(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 (เอกสาร หน้า 66) ความหมายของ “สื่อบุคคล” ในทางปฏิบัติ ตามทัศนะของกาญจนา แก้วเทพ และอมรรัตน์ ทิพย์เลิศ ได้ขยายความว่า สื่อบุคคลยังเป็นไปได้มากกว่าเป็นแค่ “สื่อ” แต่สามารถแสดงบทบาทได้มากขึ้น กล่าวคือ บุคคลที่เป็นทั้งผู้ส่งสาร เนื้อหา สื่อ/ ช่องทาง และผู้รับสาร

97 ข้อใดคือเครื่องมือที่สําคัญที่สุดในการสร้างความน่าสนใจของผู้สื่อสาร
(1) เนื้อหา
(2) ภาษาพูด
(3) ภาษากาย
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3(เอกสาร หน้า 82) สิ่งที่สร้างความน่าสนใจในนักนําเสนอ มีดังนี้
1 ภาษากาย 55% (ถือเป็นเครื่องมือที่สําคัญที่สุดในการสร้างความน่าสนใจของผู้สื่อสาร)
2 ภาษาพูด 38%
3 เนื้อหา 7%

98 ข้อใดไม่ใช่การนําเสนอที่ดี
(1) สั้นและสื่อความหมายไม่ชัดเจน
(2) กระชับและเชื่อมโยง
(3) เข้าใจง่ายและอยู่ในความทรงจํา
(4) สื่อสารให้ผู้ฟังเชื่อตามได้
ตอบ 1 (เอกสาร หน้า 82) การนําเสนอที่ดีจะต้องมีลักษณะดังนี้
1 สั้นและสื่อความหมายชัดเจน
2 กระชับและเชื่อมโยง
3 เข้าใจง่าย
4 อยู่ในความทรงจํา
5 โน้มน้าวจิตใจหรือสื่อสารให้ผู้ฟังเชื่อตามได้

99 ผู้สื่อสารไม่ควรใช้สายตาแบบใด
(1) มองผู้ฟังเพียงคนเดียว
(2) มองเป็นแบบแผน
(3) มองสื่ออื่นหรือมองแบบผ่าน ๆ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (เอกสาร หน้า 83) ทักษะการใช้สายตาในการพูดนําเสนอ มีดังนี้
1 มองไปยังผู้ฟังให้ทั่วถึง แต่ไม่ควรมองผู้ฟังเพียงคนเดียว มองเป็นแบบแผน และมองสื่ออื่น
หรือมองแบบผ่าน ๆ
2 หยุดคิด
3 พูดกับผู้ฟัง (3 – 5 วินาที)

100 ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการใช้สายตา
(1) สามารถควบคุมพฤติกรรมผู้ฟังได้
(2) ส่งสารได้อย่างชัดเจน
(3) ลําดับขั้นตอนการคิด
(4) ควบคุมความประหม่า
ตอบ 1 (เอกสาร หน้า 82) ประโยชน์ของการใช้สายตา มีดังนี้
1 ควบคุมความประหม่า
2 ส่งสารได้อย่างชัดเจน
3 เข้าใจถึงความรู้สึกของผู้ฟัง
4 ลําดับขั้นตอนการคิด

Advertisement