การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW2110 (LAW2010) ป.พ.พ.ว่าด้วยค้ําประกัน จํานอง จํานํา
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ
ข้อ 1 นายแดงทําสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากนายต่า โดยมีนายชาวตกลงเป็นผู้ค้ําประกันในการทําสัญญา ดังกล่าว ในขณะอายุสัญญานายแดงผิดนัดชําระค่างวด จํานวน 3 งวดติดต่อกัน นายดําจึงมี หนังสือแจ้งไปยังนายแดงและเพื่อนยกเลิกสัญญา และเรียกให้นายแดงรับผิดในกรณีผิดสัญญาเช่า ซื้อ และหนังสือไปยังนายขาว เพื่อให้รับผิดในฐานะผู้ค้ําประกัน นายขาวจึงมาปรึกษาท่านในฐานะ ผู้ที่มีความเข้าใจในสัญญาค้ําประกันว่านายขาวจะต้องรับผิดต่อกรณีดังกล่าวนี้หรือไม่ อย่างไร
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 680 “อันว่าค้้ำประกันนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชําระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชําระหนี้นั้น
อนึ่งสัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสําคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่”
มาตรา 686 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “เมื่อลูกหนี้ผิดนัด ให้เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวไปยัง ผู้ค้ำประกันภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใดเจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำประกัน ชําระหนี้ก่อนที่หนังสือบอกกล่าวจะไปถึงผู้ค้ําประกันมิได้ แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ค้ําประกันที่จะชําระหนี้เมื่อหนี้ถึงกําหนด
ชําระ”
ในกรณีที่เจ้าหนี้มิได้มีหนังสือบอกกล่าวภายในกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ค้ําประกันหลุดพ้น
จากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นบรรดา ที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายแดงทําสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากนายดํา โดยมีนายขาวตกลงเป็น ผู้ค้ําประกันในการทําสัญญาดังกล่าว และในขณะอายุสัญญานายแดงผิดนัดชําระค่างวดจํานวน 3 งวดติดกัน นายดําจึงมีหนังสือแจ้งไปยังนายแดงเพื่อยกเลิกสัญญา และเรียกให้นายแดงรับผิดในกรณีผิดสัญญาเช่าซื้อนั้น กรณีดังกล่าวหากนายดําเจ้าหนี้ต้องการให้นายขาวผู้ค้ําประกันรับผิดชําระหนี้ มาตรา 686 วรรคหนึ่ง ได้กําหนดไว้ว่า นายดําเจ้าหนี้จะต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังนายขาวผู้ค้ําประกันภายใน 60 วันนับแต่วันที่นายแดงลูกหนี้ผิดนัด (ซึ่งในกรณีเช่าซื้อรถยนต์ให้ถือว่าลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่งวดแรก) ถ้าหากเจ้าหนี้มิได้มีหนังสือบอกกล่าว ภายใน 60 วันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด ให้ผู้ค้ําประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นบรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง (มาตรา 686 วรรคสอง)
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อนายแดงได้ผิดนัดไม่ชําระหนี้ค่าเช่าซื้อรถยนต์ดังกล่าว นายดําเจ้าหนี้ มิได้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังนายขาวผู้ค้ําประกันภายใน 60 วันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัดแต่อย่างใด ดังนั้น นายขาว ผู้ค้ําประกันจึงหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน รวมทั้งค่าเสียหายที่เกิดหรือมีขึ้น ภายหลังจากพ้นกําหนด 60 วันดังกล่าว ตามมาตรา 686 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แต่ผู้ค้ําประกันยังคงต้องรับผิด ในหนี้หรือค่าเสียหายที่มีหรือเกิดขึ้นแล้วก่อนครบกําหนด 60 วันนั้น
สรุป นายขาวจะหลุดพ้นจากความผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน รวมทั้งค่าเสียหาย ที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกําหนด 60 วันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด โดยให้นับตั้งแต่ลูกหนี้ผิดนัดงวดแรก
ข้อ 2 นายไก่นําที่ดินของตนไปจดทะเบียนจํานองเพื่อประกันการกู้ยืมเงินจากนายไข่ เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 โดยในสัญญาระบุว่า “ทรัพย์สินในที่ดินแปลงนี้ไม่ว่าจะปลูกสร้างขึ้นภายหลังสัญญาจํานอง ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจํานองนี้” หลังจากจํานองได้ 2 เดือน นายไก่อนุญาตให้นายแดง ญาติของตนปลูกสร้างบ้านลงในที่ดินแปลงดังกล่าว โดยทําสัญญาเช่าที่ดินเพื่อปลูกสร้างบ้านนายไก่ผิดนัดชําระหนี้กับนายไข่ นายไข่จะบังคับจํานองเอากับบ้านของนายแดงได้หรือไม่ อย่างไร
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 718 “จํานองย่อมครอบไปถึงทรัพย์ทั้งปวงอันติดพันอยู่กับทรัพย์สินซึ่งจํานอง แต่ต้อง อยู่ภายในบังคับซึ่งท่านจํากัดไว้ในสามมาตราต่อไปนี้”
มาตรา 719 วรรคหนึ่ง “จํานองที่ดินไม่ครอบไปถึงเรือนโรงอันผู้จํานองปลูกสร้างลงในที่ดิน ภายหลังวันจํานอง เว้นแต่จะมีข้อความกล่าวไว้โดยเฉพาะในสัญญาว่าให้ครอบไปถึง”
วินิจฉัย
ตามมาตรา 718 ได้กําหนดไว้ว่าสิทธิของผู้รับจํานองย่อมครอบไปถึงทรัพย์ทั้งปวงอันติดพันอยู่กับ ทรัพย์สินซึ่งจํานอง แต่ต้องอยู่ภายในบังคับของมาตรา 719, 720 และ 721 โดยมาตรา 719 วรรคหนึ่งนั้นได้ กําหนดไว้ว่าสิทธิของผู้รับจํานองที่ดินไม่ครอบไปถึงเรือนโรงอันผู้จํานองปลูกสร้างลงในที่ดินภายหลังวันจํานอง
เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้ในสัญญาว่าให้ครอบไปถึง
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายไก่นําที่ดินของตนไปจดทะเบียนจํานองเพื่อประกันการกู้ยืมเงินจาก นายไข่ โดยในสัญญาระบุว่า “ทรัพย์สินในที่ดินแปลงนี้ไม่ว่าจะปลูกสร้างขึ้นภายหลังสัญญาจํานอง ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจํานองนี้” หลังจากจํานองได้ 2 เดือน นายไก่อนุญาตให้นายแดงญาติของตนปลูกสร้างบ้าน ลงในที่ดินแปลงดังกล่าวนั้น เมื่อนายไก่ผิดนัดชําระหนี้กับนายไข่ นายไข่ย่อมสามารถบังคับจํานองเอากับที่ดิน ของนายไก่และบ้านของนายแดงได้ ทั้งนี้เพราะบ้านของนายแดงแม้เป็นเรือนโรงที่ปลูกสร้างลงในที่ดินที่จํานอง ภายหลังจํานองก็ตาม แต่เมื่อในสัญญาจํานองนั้นได้ระบุให้ทรัพย์สินที่ปลูกสร้างภายหลังเป็นทรัพย์สินที่ติดจํานอง ตามไปด้วยตามมาตรา 719 วรรคหนึ่ง ดังนั้น นายไข่จึงสามารถบังคับจํานองเอากับบ้านของนายแดงได้
สรุป นายไข่สามารถบังคับจํานองเอากับบ้านของนายแดงได้
ข้อ 3 นายสมหวังไปกู้ยืมเงินจากนายสมใจ โดยนายสมใจได้ให้นายสมหวังหาทรัพย์สินมาวางเพื่อเป็น หลักประกันการกู้ยืมเงิน โดยนายสมหวังได้ไปขอให้นางสาวสวยแฟนสาวของตนเอาแหวนเพชร มาส่งมอบไว้กับนายสมใจเพื่อประกันการกู้ยืมเงิน ผ่านไป 1 เดือน นางสาวสวยต้องไปร่วมงานเลี้ยง ต้อนรับทูตจากประเทศญี่ปุ่น จึงไปขอแหวนเพชรคืนจากนายสมใจเพื่อนํามาใส่ไปร่วมงานดังกล่าวก่อน ซึ่งนายสมใจก็คืนให้โดยไม่มีเงื่อนไขแต่อย่างใด ในระหว่างนั้นนายสมหวังผิดนัดชําระหนี้ นายสมใจจึงเรียกให้นายสมหวังชําระหนี้และเรียกให้นางสาวสวยนําแหวนเพชรส่งมอบให้แก่ตน เพื่อบังคับขายทอดตลาด กรณีดังกล่าวนางสาวสวยต้องรับผิดในฐานะผู้จํานําหรือไม่ อย่างไร
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 747 “อันว่าจํานํานั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จํานํา ส่งมอบสังหาริมทรัพย์ สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจํานํา เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้”
มาตรา 769 “อันจํานําย่อมระงับสิ้นไป
(1) เมื่อหนี้ซึ่งจํานําเป็นประกันอยู่นั้นระงับสิ้นไปเพราะเหตุประการอื่นมิใช่เพราะอายุความ หรือ
(2) เมื่อผู้รับจํานํายอมให้ทรัพย์สินจํานํากลับคืนไปสู่ครอบครองของผู้จํานํา”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสมหวังไปกู้ยืมเงินจากนายสมใจ และให้นางสาวสวยแฟนสาวของตน เอาแหวนเพชรมาส่งมอบไว้ให้กับนายสมใจเพื่อประกันการชําระหนี้ของนายสมหวังนั้น ถือเป็นสัญญาจํานํา ตามมาตรา 747 และต่อมาอีก 1 เดือน นางสาวสวยต้องไปร่วมงานเลี้ยงต้อนรับทูตจากประเทศญี่ปุ่น จึงไปขอ แหวนเพชรคืนจากนายสมใจเพื่อนํามาใส่ไปร่วมงานดังกล่าวก่อน ซึ่งนายสมใจก็คืนให้โดยไม่มีเงื่อนไขแต่อย่างใดนั้นย่อมถือว่านายสมใจผู้รับจํานําได้ยอมคืนทรัพย์สินที่จํานํากลับไปสู่การครอบครองของผู้จํานํา จึงมีผลทําให้ สัญญาจํานําระงับสิ้นไปตามมาตรา 769 (2)
ดังนั้น เมื่อนายสมหวังผิดนัดชําระหนี้ นายสมใจเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้นายสมหวังชําระหนี้ได้ แต่จะบังคับให้นางสาวสวยส่งมอบแหวนเพชรคืนให้แก่ตนเพื่อบังคับขายทอดตลาดไม่ได้ เพราะถือว่าสัญญาจํานํา ได้ระงับไปแล้ว นางสาวสวยจึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้จํานํา
สรุป นางสาวสวยไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้รับจํานํา