การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2005 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ
ข้อ 1 นายหนึ่งตกลงขายบ้านเรือนแพให้แก่นายสองในราคา 8 แสนบาท และเรือแจว 2 ลํา ในราคาลําละ 5 พันบาท เรือสองลํานั้น นายหนึ่งส่งมอบและนายสองชําระราคาครบถ้วน ส่วนบ้านเรือนแพนั้น นายสองขอผ่อนชําระเป็นสองงวด ๆ ละ 4 แสนบาท เมื่อผ่อนครบนายหนึ่งก็จะไปโอนบ้านเรือนแพให้แก่นายสอง
(1) สัญญาซื้อขายเรือนแพและเรือแจวระหว่างนายหนึ่งและนายสองเป็นสัญญาซื้อขายประเภทไหน
และมีผลในทางกฎหมายอย่างไร
(2) หากนายสองผ่อนไป 4 แสนบาท อีก 4 แสนบาทผลัดวันหลายครั้งผิดนัดหลายครา นายหนึ่ง จะฟ้องนายสองให้รับผิดตามสัญญาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 453 “อันว่าซื้อขายนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่ง ทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย”
มาตรา 456 “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน
เจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าต้นขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย
สัญญาจะขายหรือจะซื้อหรือคํามั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้มีหลักฐาน
เป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสําคัญ หรือได้วางประจําไว้ หรือได้ชําระหนี้
บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับถึงสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกัน เป็นราคาสองหมื่นบาท หรือกว่านั้นขึ้นไปด้วย”
วินิจฉัย
จากบทบัญญัติมาตรา 46 วรรคหนึ่ง จะเห็นได้ว่า การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ ชนิดพิเศษ ได้แก่ เรือมีระวางตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป แพ และสัตว์พาหนะ จะต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นตกเป็นโมฆะ
แต่ถ้าเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์สินตามมาตรา 456 วรรคหนึ่ง หรือเป็นสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ทั่ว ๆ ไป ไม่ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด เพียงแต่ถ้าจะ ฟ้องร้องบังคับคดีกันเกี่ยวกับสัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาตั้งแต่ 20,000 บาท ขึ้นไป จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่า หนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสําคัญ หรือมีการวางประจํา (มัดจํา) ไว้ หรือได้มีการชําระหนี้กันบางส่วนแล้ว (มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม)
กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้
(1) สัญญาซื้อขายเรือแจว 2 ลําระหว่างนายหนึ่งและนายสองซึ่งได้มีการส่งมอบและชําระราคากัน ครบถ้วนแล้วนั้น เป็นการซื้อขายทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ทั่วไป มิใช่เป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ
แต่อย่างใด ดังนั้นสัญญาซื้อขายเรือแจว 2 ลําระหว่างนายหนึ่งและนายสอง จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด หรือสัญญาซื้อขายสําเร็จบริบูรณ์ และเมื่อเป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ทั่วไปจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับที่จะต้องทํา เป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 453 ประกอบมาตรา 456 วรรคหนึ่ง สัญญาซื้อขาย เรือแจว 2 ลําดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ส่วนสัญญาซื้อขาย เรือนแพระหว่างนายหนึ่งและนายสองราคา 8 แสนบาทนั้น เมื่อมีการ ตกลงกันว่านายสองผู้ซื้อจะขอผ่อนชําระราคาเป็น 2 งวด ๆ ละ 4 แสนบาท และเมื่อผ่อนครบนายหนึ่งจะไปโอน เรือนแพให้แก่นายสองนั้น สัญญาซื้อขายเรือนแพระหว่างนายหนึ่งและนายสองย่อมเป็นสัญญาจะซื้อขาย (จะซื้อจะขาย) เพราะเป็นสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษที่คู่สัญญายังมิได้มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์
ในทรัพย์สินให้แก่กันในขณะทําสัญญาซื้อขาย แต่มีข้อตกลงกันว่าจะไปโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กัน เมื่อได้ไปกระทําตามแบบที่กฎหมายได้กําหนดไว้ในภายหน้า
และเมื่อสัญญาซื้อขายเรือนแพระหว่างนายหนึ่งและนายสองเป็นสัญญาจะซื้อขาย จึงไม่อยู่
ในบังคับของมาตรา 456 วรรคหนึ่งที่จะต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้นสัญญา จะซื้อขายเรือนแพดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
(2) การที่นายสองได้ผ่อนชําระราคาไป 4 แสนบาท ส่วนอีก 4 แสนบาทนายสองได้ผลัดวันหลายครั้ง ผิดนัดหลายครานั้น นายหนึ่งย่อมสามารถฟ้องให้นายสองรับผิดตามสัญญาจะซื้อจะขายได้ เพราะสัญญาจะซื้อจะขาย เรือนแพดังกล่าวนั้น มีหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีตามมาตรา 456 วรรคสอง คือ ได้มีการชําระหนี้กันแล้ว บางส่วน คือการที่นายสองได้ชําระราคาแล้ว 4 แสนบาทนั่นเอง
สรุป
(1) สัญญาซื้อขายเรือแจว 2 ลําระหว่างนายหนึ่งและนายสองเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จ เด็ดขาดและมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ส่วนสัญญาซื้อขายเรือนแพนั้นเป็นสัญญา จะซื้อจะขายและมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายเช่นเดียวกัน
(2) นายหนึ่งสามารถฟ้องให้นายสองรับผิดตามสัญญาจะซื้อจะขายได้
ข้อ 2 นายสามเปิดร้านขายเครื่องใช้สํานักงานมือสองจะเลิกกิจการจึงประกาศขายของทั้งร้านโดยวิธีการขายทอดตลาด นายสีประมูลได้โต๊ะทํางานไป 3 ตัว เมื่อชําระราคาส่งมอบกันเรียบร้อยแล้วนาย สํารวจโดยละเอียดอีกรอบปรากฏว่าขาโต๊ะ 2 ตัวคลอนแคลนมาบอกให้นายสามเปลี่ยนให้ใหม่ หรือไม่ก็คืนเงินบางส่วน เพราะของชํารุดบกพร่อง แต่นายสามปฏิเสธ คําปฏิเสธของนายสาม รับฟังได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 472 “ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชํารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใด อันเป็นเหตุให้ เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดีท่านว่าผู้ขายต้องรับผิด
ความที่กล่าวมาในมาตร นี้ย่อมใช้ได้ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชํารุดบกพร่องมีอยู่”
มาตรา 473 “ผู้ขายย่อมไม่ต้องรับผิดในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(3) ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด”
วินิจฉัย
ความรับผิดในความชํารุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ขายตามมาตรา 472 นั้น ผู้ขายต้องรับผิด ถ้าทรัพย์สินที่ขายชํารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมอย่างใดอย่างหนึ่ง
และต้องเกิดขึ้นก่อนที่กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ซื้อ
อย่างไรก็ดีผู้ขายก็ไม่จําต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องนั้น หากเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 473
เช่น ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด เป็นต้น
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสีได้ประมูลโต๊ะทํางานจากการขายทอดตลาดเครื่องใช้สํานักงาน มือสองจากร้านของนายสามไป 3 ตัว และเมื่อชําระราคาส่งมอบกันเรียบร้อยแล้วปรากฏว่าขาโต๊ะทํางาน 2 ตัว คลอนแคลนนั้น ย่อมถือว่ามีความชํารุดบกพร่องเกิดขึ้นกับทรัพย์สินที่นายสี่ได้ซื้อมาจากนายสามอันเป็นเหตุให้ทรัพย์สินนั้นเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันจะมุ่งใช้เป็นปกติ ซึ่งโดยหลักแล้วนายสามผู้ขายจะต้องรับผิด ในความชํารุดบกพร่องนั้น ไม่ว่านายสาร จะได้รู้ถึงความชํารุดบกพร่องนั้นหรือไม่ก็ตาม ตามมาตรา 472
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโต๊ะทํางานที่นายสี่ซื้อมาจากนายสามทั้ง 3 ตัวนั้น เป็นการ ซื้อมาจากการขายทอดตลาด จึงเข้าข้อยกเว้นที่นายสามผู้ขายไม่ต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องที่เกิดขึ้นนั้น ตามมาตรา 473 (3) ดังนั้น การที่นายสาม ได้ปฏิเสธไม่รับผิดในความชํารุดบกพร่องดังกล่าว คําปฏิเสธของนายสามจึงรับฟังได้
สรุป คําปฏิเสธของนายสามรับฟังได้
ข้อ 3 นายห้านําบ้านและที่ดินไปทําเป็นหนังสือจดทะเบียนขายฝากนายหกไว้เป็นเวลา 1 ปี ในราคา 1 ล้านบาท ไถ่คืนในราคา 2 ล้านบาท ต่อมานายหกถึงแก่ความตาย บ้านและที่ดินที่ติดสัญญา ขายฝากตกเป็นของนาย จัดทายาท ก่อนครบ 1 ปี นายห้าไปขอไถ่คืน พร้อมเงิน 1 ล้าน 1 แสน 5 หมื่นบาทถ้วน นายเจ็ดปฏิเสธไม่ให้ไปโดยอ้างว่า
(1) ยังไม่ครบ 1 ปี
(2) สินไถ่ไม่ครบต้อง 2 ล้านบาท
(3) นายเจ็ดไม่ใช่คู่สัญญากับนายห้าจึงไม่มีหน้าที่รับไถ่
คําปฏิเสธทั้ง 3 ประการของนายเจ็ดรับฟังได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 491 “อันว่าขายฝากนั้น คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้”
มาตรา 494 “ท่านห้ามมิให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากเมื่อพ้นเวลาดังจะกล่าวต่อไปนี้
(1) ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ กําหนดสิบปีนับแต่เวลาซื้อขาย
(2) ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ กําหนดสามปีนับแต่เวลาซื้อขาย
มาตรา 498 “สิทธิในการไถ่ทรัพย์สินนั้นจะพึงใช้ได้เฉพาะต่อบุคคลเหล่านี้ คือ
(2) ผู้รับโอนทรัพย์สิน หรือรับโอนสิทธิเหนือทรัพย์สินนั้น แต่ในข้อนี้ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ จะใช้สิทธิได้ต่อเมื่อผู้รับโอนได้รู้ในเวลาโกนว่าทรัพย์สินตกอยู่ในบังคับแห่งสิทธิไถ่คืน”
มาตรา 499 “สินไถ่นั้น ถ้าไม่ได้กําหนดกันไว้ว่าเท่าใดไซร้ ท่านให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝาก ถ้าปรากฏในเวลาไถ่ว่าสิน ไก่หรือราคาขายฝากที่กําหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงเกินอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ให้ไม่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละสิบห้าต่อปี”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายห้านําบ้านและที่ดินไปทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนขายฝากนายหก ไว้ในราคา 1 ล้านบาท และกําหนดไถ่คืนภายในหนึ่งปีในราคา 2 ล้านบาทนั้น
(1) เมื่อสัญญาขายฝากดังกล่าวได้กําหนดเวลาไถ่คืนไว้ 1 ปี ซึ่งไม่เกินกําหนดเวลาตามที่กฎหมาย ได้กําหนดไว้ (มาตรา 494) จึงต้องเป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ และเมื่อก่อนครบกําหนด 1 ปี การที่นายห้าได้ใช้สิทธิ ในการขอไถ่บ้านและที่ดินคืน นายห้าย่อมสามารถทําได้ เพราะเป็นสิทธิของนายห้าผู้ขายฝากแต่เพียงฝ่ายเดียว ที่จะเลือกไถ่เมื่อใดก็ได้ภายในกําหนด 1 ปีตามมาตรา 491 และ 494 ดังนั้น การที่นายเจ็ดปฏิเสธโดยอ้างว่า ยังไม่ครบ 1 ปีนั้น คําปฏิเสธของนายเจ็ดจึงรับฟังไม่ได้
(2) การที่นายห้าขายฝากบ้านและที่ดินไว้ในราคา 1 ล้านบาท และตกลงว่าจะไม่คืนในราคา 2 ล้านบาทนั้น จะเห็นได้ว่าสินไถ่ที่กําหนดไว้นั้นสูงกว่าที่กฎหมายกําหนดไว้ ดังนั้น นายห้าสามารถใช้สิทธิไถ่คืน ทรัพย์สินนั้นได้ในราคา 1 ล้านบาทบวกประโยชน์ตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปีตามมาตรา 499 กล่าวคือนายห้า สามารถไถ่คืนบ้านและที่ดินได้ในราคา 1,150,000 บาท ดังนั้น การที่นายเจ็ดปฏิเสธโดยอ้างว่าสินไถ่ไม่ครบ 2 ล้านบาทตามสัญญานั้น คําปฏิเสธของนายเจ็ดจึงรับฟังไม่ได้
(3) เมื่อต่อมานายหกผู้รับซื้อฝากถึงแก่ความตาย ทําให้บ้านและที่ดินที่ติดสัญญาขายฝาก ตกเป็นของนายเจ็ดทายาทนั้น ย่อมถือว่านายเจ็ดอยู่ในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินตามมาตรา 498 (2) ดังนั้น ถ้านายห้าไปขอไถ่บ้านและที่ดินคืน นาย ห้าย่อมใช้สิทธิไถ่คืนกับนายเจ็ดซึ่งเป็นทายาทของนายหกได้ตามมาตรา 498 (2) นายเจ็ดจะปฏิเสธว่าตนไม่ใช่คู่สัญญาไม่มีหน้าที่รับไถ่ไม่ได้ ดังนั้น การที่นายเจ็ดปฏิเสธว่าตนไม่ใช่คู่สัญญา ไม่มีหน้าที่รับไถ่ จึงรับฟังไม่ได้
สรุป คําปฏิเสธของนายเจ็ดทั้ง 3 ประการรับฟังไม่ได้