การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2005 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ
ข้อ 1 นายหนึ่งตกลงขายช้างพ่อแม่ลูกให้แก่นายสอง ช้างพ่อและช้างแม่เชือกละ 7 แสนบาท และช้างลูก ตัวละ 5 แสนบาท โดยนายสองชําระค่าลูกช้างครบถ้วนและรับมอบลูกช้างไปแล้ว ส่วนช้างพ่อและช้างแม่นั้นนายหนึ่งตกลงให้นายสองชําระราคาเป็นสองงวด งวดละ 7 แสนบาท เมื่อชําระแต่ละงวด นายหนึ่งจะส่งมอบข้างให้ทีละเชือก เมื่อนายสองชําระค่าช้างพ่อ นายหนึ่งก็ส่งมอบช้างพ่อให้และ ตกลงจะไปทําการโอนที่อําเภอให้ในวันรุ่งขึ้น ก่อนครบกําหนดงวด 2 นายสามมาขอซื้อช้างแม่ จากนายหนึ่งในราคา 9 แสนบาท โดยไม่ทราบว่านายหนึ่งตกลงขายให้นายสองแล้ว นายหนึ่ง ตกลงขายให้นายสามและมีการโอนทางทะเบียน ส่งมอบและชําระราคาช้างแม่เรียบร้อยแล้ว ดังนี้
(1) สัญญาซื้อขายช้างพอ ช้างแม่ และช้างลูกเป็นสัญญาซื้อขายประเภทไหน และมีผลในทาง กฎหมายอย่างไรระหว่างนายหนึ่ง นายสอง และนายสาม
(2) นายสองจะฟ้องให้นายหนึ่งรับผิดในการผิดสัญญาขายช้างแม่ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 456 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและ
สัตว์พาหนะด้วย
สัญญาจะขายหรือจะซื้อ หรือคํามั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสําคัญ หรือได้วางประจําไว้ หรือได้ชําระหนี้ บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
วินิจฉัย
“สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด” (หรือสัญญาซื้อขายสําเร็จบริบูรณ์) หมายถึง สัญญาซื้อขาย ที่คู่กรณีคือผู้ซื้อและผู้ขายได้ตกลงทําสัญญาซื้อขายกันเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยผู้ขายตกลงที่จะโอนกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อได้ตกลงที่จะชําระราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขายแล้ว โดยไม่ต้องคํานึงว่าในขณะที่ ตกลงทําสัญญาซื้อขายกันนั้น ได้มีการส่งมอบทรัพย์สินหรือได้มีการชําระราคากันแล้วหรือไม่
“สัญญาจะซื้อขาย” คือ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษที่ คู่กรณียังมิได้มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันในขณะที่ทําสัญญาซื้อขาย แต่มีข้อตกลงกันว่าจะมี การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันก็ต่อเมื่อได้ไปกระทําตามแบบพิธีที่กฎหมายได้กําหนดไว้ในภายหน้า คือ
เมื่อได้ไปทําสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วนั่นเอง
และสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษนั้น จะต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะตามมาตรา 456 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 455 ส่วนสัญญาจะซื้อขายทรัพย์สินดังกล่าวนั้นกฎหมายมิได้กําหนดแบบไว้แต่อย่างใด เพียงแต่ได้กําหนดไว้ว่า ในกรณีที่จะมีการฟ้องร้องบังคับคดีกัน จะต้องมีหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้คือ
1 จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสําคัญ
2 มีการวางประจํา (มัดจํา) ไว้ หรือ
3 มีการชําระหนี้บางส่วน
กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้
(1) สัญญาซื้อขายช้างพ่อ ช้างแม่ และช้างลูกเป็นสัญญาซื้อขายประเภทใด และมีผลในทางกฎหมาย อย่างไรระหว่างนายหนึ่ง นายสอง และนายสาม
1 สัญญาซื้อขายระหว่างนายหนึ่งและนายสอง
การที่นายหนึ่งตกลงขายช้างพ่อและช้างแม่ให้แก่นายสองในราคาเชือกละ 7 แสนบาท โดยนายหนึ่งตกลงให้นายสองชําระราคาเป็นสองงวด ๆ ละ 7 แสนบาท เมื่อชําระแต่ละงวดนายหนึ่งจะส่งมอบช้าง ให้ทีละเชือก และเมื่อนายสองชําระค่าช้างพ่อ นายหนึ่งก็ส่งมอบช้างพ่อให้และตกลงจะไปทําการโอนที่อําเภอ ให้ในวันรุ่งขึ้นนั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่า เมื่อนายสองชําระค่าข้างแม่ในงวดที่สอง นายหนึ่งก็จะส่งมอบช้างแม่ และจะไปทําการโอนให้แก่นายสองเช่นเดียวกัน กรณีเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าในขณะที่มีการทําสัญญาซื้อขายช้างพ่อ
และช้างแม่กันนั้น คู่สัญญายังไม่มีเจตนาที่จะให้กรรมสิทธิ์ในช้างพ่อและช้างแม่ซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ได้โอนไปในขณะทําสัญญาซื้อขายกัน แต่มีเจตนาที่จะไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อโอนกรรมสิทธิ์กันในภายหน้า ดังนั้น สัญญาซื้อขายช้างพ่อและช้างแม่ระหว่างนายหนึ่งและนายสอง จึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขายตามมาตรา 456 วรรคสอง
และเมื่อสัญญาซื้อขายช้างพ่อและช้างแม่ระหว่างนายหนึ่งและนายสองเป็นสัญญา จะซื้อจะขายในทรัพย์สินซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ จึงไม่ต้องทําตามแบบที่กฎหมายกําหนด คือไม่ต้องทํา เป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 456 วรรคหนึ่งแต่อย่างใด สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ส่วนการที่นายหนึ่งได้ตกลงขายช้างลูกให้แก่นายสองนั้น สัญญาซื้อขายช้างลูกระหว่าง นายหนึ่งและนายสองเป็นสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ธรรมดาทั่วไป มิใช่เป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ ชนิดพิเศษ ดังนั้น จึงถือเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และเป็นสัญญาซื้อขายที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 456 วรรคหนึ่ง กล่าวคือแม้จะไม่ได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาซื้อขายช้างลูกดังกล่าว ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
2 สัญญาซื้อขายช้างแม่ระหว่างนายหนึ่งและนายสาม
การที่นายหนึ่งได้ตกลงขายช้างแม่ให้แก่นายสามในราคา 9 แสนบาท โดยมีการโอน ทางทะเบียน ส่งมอบและชําระราคากันเรียบร้อยแล้วนั้น เมื่อทั้งสองได้ทําสัญญาซื้อขายช้างแม่ซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษกันเพียงครั้งเดียวและเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วโดยไม่มีข้อตกลงว่าจะไปกระทําตามแบบพิธีใด ๆ ในภายหน้า สัญญาซื้อขายระหว่างนายหนึ่งและนายสามจึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และเมื่อคู่กรณีได้ทําเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ เพราะได้ปฏิบัติถูกต้องตามมาตรา 456 วรรคหนึ่ง
(2) นายสองจะฟ้องให้นายหนึ่งรับผิดในการผิดสัญญาขายช้างแม่ได้หรือไม่
ตามอุทาหรณ์ แม้สัญญาซื้อขายช้างแม่ระหว่างนายหนึ่งและนายสอง จะเป็นสัญญาจะซื้อ จะขายและมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายก็ตาม แต่เมื่อตามข้อเท็จจริงปรากฏว่า สัญญาจะซื้อจะขายสังหาริมทรัพย์
ชนิดพิเศษระหว่างนายหนึ่งและนายสองนั้น มิได้มีหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีตามมาตรา 456 วรรคสอง แต่อย่างหนึ่งอย่างใดเลย คือไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อนายหนึ่งผู้ต้องรับผิดตามสัญญา ไม่มีการวาง ประจําหรือมัดจําไว้ และไม่มีการชําระหนี้บางส่วน ดังนั้น นายสองจึงไม่สามารถฟ้องให้นายหนึ่งรับผิดในการ ผิดสัญญาขายช้างแม่ได้
สรุป
(1) สัญญาซื้อขายช้างพ่อและช้างแม่ระหว่างนายหนึ่งและนายสองเป็นสัญญาจะซื้อ จะขายและมีผลสมบูรณ์, สัญญาซื้อขายข้างลูกระหว่างนายหนึ่งและนายสองเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดและ มีผลสมบูรณ์, สัญญาซื้อขายช้างแม่ระหว่างนายหนึ่งและนายสามเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดและมีผลสมบูรณ์
(2) นายสองจะฟ้องให้นายหนึ่งรับผิดในการผิดสัญญาขายช้างแม่ไม่ได้
ข้อ 2 นายห้าและนายหกเป็นพ่อลูกกัน นายห้าเป็นนักสะสมรถยนต์โบราณและพูดกับนายหกเสมอว่า รถยนต์ที่พ่อมีพ่อจะยกให้ลูกทั้งหมด แต่นายหกทําตัวเกเรไม่ยอมเรียนหนังสือ นายห้าเลยนํารถ 5 คันที่สะสมไว้มาขายทอดตลาด ทําให้นายหกโมโหเลยเอาไม้ทุบฝากระโปรงรถคันหนึ่งบุบและมีรอยถลอก ต่อมาหลังจากการขายทอดตลาด นายหกก็ไปรบกวนขัดสิทธินายเจ็ดซึ่งประมูล ได้รถยนต์คันที่นายหกรักมากไปโดยอ้างว่าตนเป็นเจ้าของและขอรถคืน นายแปดซึ่งประมูลรถไป 1 คัน ก็จะให้นายห้ารับผิดชอบว่ารถถูกทุบชํารุดบกพร่อง ดังนี้
(1) นายเจ็ดจะฟ้องให้นายห้ารับผิดชอบว่าตนถูกนายหูกรอนสิทธิได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
(2) นายแปดจะฟ้องนายห้าให้รับผิดชอบว่ารถยนต์คันที่ขายให้ตนชํารุดบกพร่องได้หรือไม่
เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 472 “ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชํารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใด อันเป็นเหตุให้ เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดี ท่านว่า
ผู้ขายต้องรับผิด
ความที่กล่าวมาในมาตรานี้ย่อมใช้ได้ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชํารุดบกพร่องมีอยู่
มาตรา 473 “ผู้ขายย่อมไม่ต้องรับผิดในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(3) ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด”
มาตรา 475 “หากว่ามีบุคคลผู้ใดมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สินโดยปกติสุข เพราะบุคคลผู้นั้นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้นอยู่ในเวลาซื้อขายก็ดี เพราะความผิดของ ผู้ขายก็ดี ท่านว่าผู้ขายจะต้องรับผิดในผลอันนั้น”
วินิจฉัย
ความรับผิดในความชํารุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ขายตามมาตรา 472 นั้น ผู้ขายต้องรับผิด ถ้าทรัพย์สินที่ขายชํารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมอย่างใดอย่างหนึ่ง
และต้องเกิดขึ้นก่อนที่กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ซื้อ
อย่างไรก็ดีผู้ขายก็ไม่จําต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องนั้น หากเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 473
เช่น ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด เป็นต้น
ส่วนการรอนสิทธินั้นเป็นกรณีที่บุคคลภายนอกมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันอยู่ในเวลาซื้อขายได้เข้ามาขัดสิทธิทําให้ผู้ซื้อไม่สามารถครองทรัพย์สินโดยปกติสุขได้ ซึ่งตามมาตรา 475 กําหนดให้ผู้ขายต้องรับผิดเพราะเหตุการรอนสิทธินั้น
กรณีตามอุทาหรณ์ แยกพิจารณาได้ดังนี้
(1) การที่นายห้าพูดกับนายหกเสมอว่ารถยนต์ที่พ่อมี พ่อจะยกให้ลูกทั้งหมดนั้น การให้รถยนต์ของนายห้าแก่นายหกยังไม่มีผลในทางกฎหมายแต่อย่างใด เพราะการให้รถยนต์ซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์นั้น จะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้แล้ว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายห้ายังมิได้ส่งมอบรถยนต์ ให้แก่นายหก นายหกจึงไม่มีสิทธิใด ๆ เหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันเลย การที่นายหกได้ไปรบกวนขัดสิทธิของนายเจ็ดซึ่งประมูลได้รถยนต์คันที่นายหก รักมากไปจึงเป็นเพียงการก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้อื่นอันเป็นการขัด ต่อกฎหมายเท่านั้น มิใช่เป็นการรอนสิทธิตามมาตรา 475 แต่อย่างใด เพราะกรณีที่จะถือว่าเป็นการรอนสิทธิ ตามมาตรา 475 ซึ่งทําให้นายห้าจะต้องรับผิดต่อนายเจ็ดผู้ซื้อนั้น จะต้องเป็นกรณีที่นายหกผู้ก่อการรบกวน ขัดสิทธิของผู้ซื้อนั้นเป็นผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ซื้อขายกันในเวลาซื้อขายด้วย ดังนั้น กรณีดังกล่าว นายเจ็ด จะฟ้องให้นายห้ารับผิดชอบโดยอ้างว่าตนถูกนายหกรอนสิทธิไม่ได้
(2) การที่นายแปดได้ซื้อรถยนต์มาจากการขายทอดตลาดของนายห้ามา 1 คัน และปรากฏว่า เป็นรถยนต์ที่มีความชํารุดบกพร่องเนื่องจากนายหกได้เอาไม้ทุบฝากระโปรงบุบและมีรอยถลอก เป็นเหตุให้ทรัพย์สินนั้น เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญา โดยหลักแล้วนายห้าผู้ขายจะต้องรับผิด ในความชํารุดบกพร่องนั้นตามมาตรา 472
แต่อย่างไรก็ดี ถึงแม้นายห้าจะต้องรับผิดต่อนายแปดเพื่อความชํารุดบกพร่องนั้น แต่เมื่อปรากฏว่ารถยนต์ที่นายแปดซื้อมานั้นเป็นการซื้อมาจากการขายทอดตลาด จึงเข้าข้อยกเว้นที่นายห้า ผู้ขายไม่ต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องตามมาตรา 473 (3) ดังนั้น นายแปดจะฟ้องนายห้าให้รับผิดในความชํารุดบกพร่องที่เกิดขึ้นไม่ได้
สรุป
(1) นายเจ็ดจะฟ้องให้นายห้ารับผิดชอบว่าตนถูกนายหกรอนสิทธิไม่ได้
(2) นายแปดจะฟ้องให้นายห้ารับผิดชอบว่ารถยนต์คันที่ขายให้ตนชํารุดบกพร่องไม่ได้
ข้อ 3 นายเก้านําวัวไปทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนขายฝากนายสิบไว้ในราคาตัวละ 4 หมื่นบาท เป็นจํานวน 5 ตัว ไถ่คืนภายใน 1 ปี ในราคาเดิม แต่หลังจากนั้นในตําบลที่นายสิบอาศัยอยู่เกิด โรคพิษสุนัขบ้าระบาด วัวที่นายสิบรับซื้อฝากไว้ถูกสุนัขบ้ากัด 2 ตัว และในที่สุดวัว 2 ตัวนี้ก็ตาย เมื่อใกล้ครบกําหนดนายเก้ามาไถ่ตัวคืน เหลือวัวเพียง 3 ตัว ดังนี้
(1) นายเก้าจะเรียกค่าเสียหายที่วัว 2 ตัวตายไปตัวละ 5 พันบาท ได้หรือไม่
(2) นายสิบจะให้นายเก้าไก่วัวที่เหลือ 3 ตัวคืนโดยต้องนําเงินมาไถ่ตัวละ 4 หมื่นบาท บวก ประโยชน์อีกตัวละ 15 เปอร์เซ็นต์ ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบาย
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 491 “อันว่าขายฝากนั้น คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้”
มาตรา 499 “สินไถ่นั้น ถ้าไม่ได้กําหนดกันไว้ว่าเท่าใดไซร้ ท่านให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝาก ถ้าปรากฏในเวลาไถ่ว่าสินไถ่หรือราคาขายฝากที่กําหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงเกินอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ให้ไม่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละสิบห้าต่อปี”
มาตรา 501 “ทรัพย์สินซึ่งไถ่นั้น ท่านว่าต้องส่งคืนตามสภาพที่เป็นอยู่ในเวลาไถ่ แต่ถ้าหากว่า ทรัพย์สินนั้นถูกทําลายหรือทําให้เสื่อมเสียไปเพราะความผิดของผู้ซื้อไซร้ ท่านว่าผู้ซื้อจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ วินิจฉัยได้ดังนี้ คือ
(1) ตามบทบัญญัติมาตรา 501 ได้กําหนดหน้าที่ของผู้ซื้อฝากเอาไว้ว่า ผู้ซื้อฝากจะต้อง สงวนรักษาทรัพย์สินที่ซื้อฝากอย่างวิญญูชนทั่วไปจะพึงสงวนรักษาและใช้ทรัพย์สินของตน และต้องส่งคืนตามสภาพ ที่เป็นอยู่ในเวลาไถ่ ถ้าหากว่าทรัพย์สินนั้นถูกทําลายหรือทําให้เสื่อมเสียไปเพราะความผิดของผู้ซื้อฝาก ผู้ซื้อฝาก ก็จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
ตามอุทาหรณ์ การที่นายเก้านําวัวไปทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนขายฝากนายสิบไว้ ในราคาตัวละ 4 หมื่นบาท เป็นจํานวน 5 ตัว ไถ่คืนภายใน 1 ปี ในราคาเดิม และหลังจากนั้นในตําบลที่นายสิบ อาศัยอยู่เกิดโรคพิษสุนัขบ้าระบาดทําให้วัวที่นายสิบรับซื้อฝากไว้ถูกสุนัขบ้ากัด 2 ตัว และตายไปนั้น ถือเป็น เหตุสุดวิสัย มิได้เกิดขึ้นเพราะความผิดของนายสิบผู้ซื้อแต่อย่างใด ดังนั้น นายเก้าจะฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายที่วัว 2 ตัวตายไปตัวละ 5 พันบาทตามมาตรา 501 ไม่ได้
(2) การที่นายเก้านําวัวไปขายฝากกับนายสิบไว้ในราคาตัวละ 4 หมื่นบาทโดยตกลงไถ่คืน ในราคาเดิมนั้น สามารถตกลงกันได้ ไม่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 499 และเมื่อตกลงกันไว้อย่างไรก็ต้องเป็นไปตามนั้น ดังนั้น เมื่อนายเก้าจะใช้สิทธิไถ่ตัวคืน นายเก้าสามารถไถ่ตัวที่เหลือ 3 ตัวได้ในราคาตัวละ 4 หมื่นบาทตามที่ได้ตกลงกัน นายสิบจะให้นายเก้าไก่วัวที่เหลือ 3 ตัวคืนในราคาตัวละ 4 หมื่นบาท บวกประโยชน์อีกตัวละ 15 เปอร์เซ็นต์ไม่ได้ เพราะกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 499 วรรคสอง
สรุป
(1) นายเก้าจะเรียกค่าเสียหายที่วัว 2 ตัวตายไปตัวละ 5 พันบาทไม่ได้
(2) นายสิบจะให้นายเก้าไก่วัวที่เหลือ 3 ตัวคืนในราคาตัวละ 4 หมื่นบาท บวกประโยชน์อีกตัวละ 15 เปอร์เซ็นต์ไม่ได้