การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 1001 หลักกฎหมายมหาชน
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ
ข้อ 1 ให้อธิบายความหมายของหลักประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) และหลักการที่เป็นสาระสําคัญ ในการบริการสาธารณะ (Public Service) มีหลักการสําคัญอะไรบ้าง และภายใต้หลักการดังกล่าว ในการบังคับอํานาจรัฐ เป็นการกระทําผ่านการใช้อํานาจรัฐขององค์กรใดบ้าง (อธิบายมาให้เข้าใจอย่างชัดเจนถึงการใช้อํานาจในการบริการสาธารณะของแต่ละองค์กร)
ธงคําตอบ
หลักประโยชน์สาธารณะ หมายถึง หลักการใช้อํานาจรัฐเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ มิใช่การตอบสนองต่อความต้องการของปัจเจกบุคคลเพียงคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม และมิใช่การตอบสนองต่อความต้องการของรัฐหรือผู้ดําเนินการนั้นเอง หรืออาจกล่าวได้ว่าประโยชน์สาธารณะ คือความต้องการของปัจเจกบุคคลแต่ละคนที่ตรงกัน และเป็นความต้องการที่ตรงกันจํานวนมากจน เป็นความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ในสังคม มีผลทําให้ความต้องการในลักษณะดังกล่าวเป็นประโยชน์สาธารณะ ซึ่งจะมีความแตกต่างจากประโยชน์ส่วนบุคคลของปัจเจกบุคคลหรือเอกชนแต่ละคนดังต่อไปนี้ คือ
หลักการที่เป็นสาระสําคัญในการบริการสาธารณะนั้น อย่างน้อยต้องมีหลักการที่สําคัญ
1 หลักความต่อเนื่องในการบริการสาธารณะ หมายถึง การจัดทําบริการสาธารณะ จะต้องมีความสม่ำเสมอและต่อเนื่องตลอดเวลา
2 หลักความเสมอภาคในการบริการสาธารณะ หมายถึง การไม่เลือกปฏิบัติ ต้องให้ ความเสมอภาคทั้งในด้านการให้บริการและการรับบุคคลเข้าทํางานในหน่วยงานของรัฐ
3 หลักการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการบริการสาธารณะ คือ จะต้องมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้เกิดความทันสมัยนั่นเอง
4 หลักการกํากับดูแลการบริการสาธารณะโดยรัฐ หมายถึง ในการดําเนินการจัดทําบริการ สาธารณะต่าง ๆ โดยหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของรัฐ ทั้งนี้ก็เพื่อให้การจัดทําบริการสาธารณะบรรลุผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์
การใช้อํานาจรัฐในการจัดทําบริการสาธารณะ เป็นการกระทําผ่านการใช้อํานาจรัฐโดยองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ องค์กรฝ่ายบริหาร และองค์กรฝ่ายตุลาการ
1 การบริการสาธารณะโดยองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ซึ่งมีอํานาจและหน้าที่ใน การบัญญัติหรือออกกฎหมายที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไปและใช้บังคับกับประชาชน ตลอดจนมีอํานาจและหน้าที่ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน การใช้อํานาจทางปกครองและการบริการสาธารณะขององค์กรฝ่ายบริหาร
2 การบริการสาธารณะโดยองค์กรฝ่ายบริหาร (คณะรัฐมนตรี) ซึ่งมีอํานาจและหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน การใช้อํานาจทางปกครอง และการจัดทําบริการสาธารณะ เพื่อตอบสนองความต้องการตลอดจนเพื่อใช้อํานาจรัฐในการพัฒนาประเทศภายใต้นโยบายของรัฐบาลของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ที่ได้แถลงต่อรัฐสภา ซึ่งเป็นการใช้อํานาจเพื่อประโยชน์สาธารณะ
3 การบริการสาธารณะโดยองค์กรฝ่ายตุลาการ (ศาล) ปัจจุบันได้แก่ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร และศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีอํานาจและหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีและอํานวยความยุติธรรมตามที่กฎหมายบัญญัติและกําหนดขอบเขตอํานาจของแต่ละศาลไว้ซึ่งจะแตกต่างกัน ซึ่งเป็นการ ใช้อํานาจหน้าที่เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตลอดจนการอํานวย ความยุติธรรมให้แก่ประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งเป็นการใช้อํานาจเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ข้อ 2 จงอธิบายว่ากฎหมายมหาชนและหลักกฎหมายมหาชนมีความสําคัญต่อการบริหารราชการแผ่นดินหรือไม่อย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ธงคําตอบ
“กฎหมายมหาชน” คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อํานาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานทางปกครอง หรือหน่วยงานของรัฐและแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในทางปกครองและการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชน ส่วนใหญ่ ในฐานะที่ฝ่ายปกครองมีอํานาจเหนือผู้ใต้ปกครอง
กฎหมายมหาชน ปัจจุบันได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง ซึ่งกฎหมายปกครอง นั้นอาจจะอยู่ในชื่อของ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกําหนด ประมวลกฎหมายหรืออาจจะอยู่ในชื่อของประกาศคณะปฏิวัติก็ได้
กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการวางระเบียบการปกครองของรัฐในทาง การเมืองโดยกําหนดโครงสร้างของรัฐ ระบอบการปกครอง การใช้อํานาจอธิปไตยและการดําเนินงานของสถาบันสูงสุด ของรัฐที่ใช้อํานาจอธิปไตย กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงอํานาจในการปกครองประเทศ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 อำนาจ คือ
1 อํานาจนิติบัญญัติ เป็นอํานาจในการออกกฎหมายมาใช้บังคับกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของ อํานาจอธิปไตย ซึ่งมีรัฐสภาเป็นผู้ใช้อํานาจนี้
2 อํานาจบริหาร เป็นอํานาจที่จะจัดให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย มีรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี เป็นผู้ใช้อํานาจนี้
3 อํานาจตุลาการ เป็นอํานาจในการตัดสินและพิพากษาอรรถคดี ซึ่งองค์กรสําคัญที่ใช้ อํานาจนี้ คือ ศาล
กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองของรัฐในทาง ปกครองหรือที่เรียกว่า “การจัดระเบียบราชการบริหาร” รวมทั้งการวางระเบียบเกี่ยวกับกิจกรรมของฝ่ายปกครอง ที่เรียกว่า “บริการสาธารณะ” ซึ่งฝ่ายปกครองจัดทําเพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชน
ราชการแผ่นดินของไทยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหาร ส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นผลมาจากกฎหมายปกครองดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น
นอกจากนี้ยังกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อํานาจหน้าที่ ในทางปกครองแก่หน่วยงานทางปกครอง และเจ้าหน้าที่ของรัฐในการออกคําสั่งทางปกครอง ให้อํานาจในการออกกฎ ให้อํานาจในการกระทําทางปกครองและสัญญาทางปกครอง
จากหลักการต่าง ๆ ที่ได้อธิบายมาแล้วทั้งหมด จึงเห็นได้ว่า กฎหมายมหาชนไม่ว่าจะเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายปกครองซึ่งอาจจะอยู่ในชื่อของกฎหมายใด ๆ ก็ตาม มีความสําคัญต่อการเมือง การปกครองและการบริหารราชการแผ่นดินของไทยเป็นอย่างมาก เพราะเป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการวาง หล้าเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองของรัฐ รวมทั้งการบัญญัติถึงอํานาจหน้าที่ขององค์กรของรัฐทั้งองค์กร ฝ่ายนิติบัญญัติ องค์กรฝ่ายบริหาร และองค์กรฝ่ายตุลาการ และยังได้บัญญัติถึงอํานาจหน้าที่ในทางปกครองของ ฝ่ายปกครอง ได้แก่ อํานาจหน้าที่ในการดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะ อํานาจในการออกกฎหรือคําสั่ง อํานาจ ในการกระทําทางปกครองและอํานาจในการทําสัญญาทางปกครอง ซึ่งกรณีดังกล่าวหากไม่มีกฎหมายมหาชน บัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ไว้ องค์กรของรัฐและฝ่ายปกครองก็จะไม่สามารถที่จะดําเนินการใด ๆ ได้ ทั้งนี้เพราะ ตามหลักของกฎหมายมหาชน องค์กรของรัฐและฝ่ายปกครองจะกระทําการใด ๆ ได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติ ให้อํานาจและหน้าที่ไว้เท่านั้น
ส่วนหลักกฎหมายมหาชนที่มีความสําคัญต่อการเมืองการปกครอง และการบริหารราชการแผ่นดินนั้นมีหลักการที่สําคัญ ๆ หลายประการ เช่น
1 หลักความชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง การใช้อํานาจหน้าที่ขององค์กรของรัฐ ไม่ว่า จะเป็นองค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ องค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร และองค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ จะต้องเป็นการใช้ อํานาจหน้าที่ตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้เท่านั้น จะใช้อํานาจหน้าที่นอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้มิได้
2 หลักประโยชน์สาธารณะ หมายถึง การใช้อํานาจหน้าที่ขององค์กรของรัฐฝ่ายต่าง ๆ จะต้องเป็นการใช้อํานาจหน้าที่เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของคนส่วนใหญ่ในสังคม ไม่ใช่เป็นการสนองตอบ ต่อความต้องการของคนบางกลุ่มบางพวกหรือเพื่อใครคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ
3 หลักความยุติธรรม หมายถึง การใช้อํานาจหน้าที่ขององค์กรของรัฐฝ่ายต่าง ๆ จะต้อง เป็นการใช้อํานาจหน้าที่กับบุคคลทุกคนในสังคมอย่างเสมอภาคกัน และจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม และนอกจากนั้นยังมีหลักกฎหมายมหาชนที่มีความสําคัญต่อการเมืองการปกครอง และการ บริหารราชการแผ่นดินอีกหลายประการ เช่น หลักความซื่อสัตย์สุจริต หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น นายกรัฐมนตรีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดจะออกกฎ ระเบียบ หรือคําสั่งใด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน ก็จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายมหาชน ซึ่งได้แก่ พ.ร.บ. ระเบียบ บริหารราชการแผ่นดินได้กําหนดไว้ด้วย และนอกจากนั้นในการออกกฎ ระเบียบ หรือคําสั่งใด ๆ ดังกล่าวก็จะต้อง คํานึงถึงหลักกฎหมายมหาชนต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นด้วย
ข้อ 3 การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทยมีความเกี่ยวข้องกับหลักกฎหมายมหาชนในเรื่องใดบ้าง ให้นักศึกษาระบุหลักกฎหมายมหาชนเหล่านั้นมาสัก 4 – 5 หลักการ พร้อมให้เหตุผลประกอบโดยละเอียด
ธงคําตอบ
ในการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค และระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นนั้น เพื่อให้การบริหาร ราชการแผ่นดินและการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนส่วนรวมบรรลุวัตถุประสงค์ นอกจากเจ้าหน้าที่ ของรัฐและองค์กรของรัฐจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่กฎหมายมหาชนได้กําหนดไว้แล้ว เจ้าหน้าที่ของรัฐและ องค์กรของรัฐก็จะต้องได้ใช้อํานาจหน้าที่ในการดําเนินการในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ ระเบียบ หรือคําสั่งเพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินและเพื่อการจัดทําบริการสาธารณะให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายมหาชนด้วย เพราะถ้าหากการใช้อํานาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือองค์กรของรัฐไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมายมหาชนแล้ว นอกจากจะทําให้การบริหารราชการแผ่นดินและการจัดทําบริการสาธารณะไม่บรรลุวัตถุประสงค์แล้ว ยังอาจจะก่อให้เกิดปัญหาและข้อพิพาททางปกครองขึ้นมาก็ได้
ซึ่งหลักกฎหมายมหาชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทยที่สําคัญ ๆได้แก่
1 หลักความชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง การใช้อํานาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่และองค์กร ของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ องค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร และองค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ จะต้อง เป็นการใช้อํานาจหน้าที่ตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้เท่านั้น จะใช้อํานาจหน้าที่นอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้มิได้
2 หลักประโยชน์สาธารณะ หมายถึง การใช้อํานาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่และองค์กร ของรัฐฝ่ายต่าง ๆ จะต้องเป็นการใช้อํานาจหน้าที่เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของคนส่วนใหญ่ในสังคม ไม่ใช่เป็นการสนองตอบต่อความต้องการของคนบางกลุ่มบางพวกหรือเพื่อใครคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ
3 หลักความยุติธรรม หมายถึง การใช้อํานาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่และองค์กรของรัฐ ฝ่ายต่าง ๆ จะต้องเป็นการใช้อํานาจหน้าที่กับบุคคลทุกคนในสังคมอย่างเสมอภาคกัน และจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม
4 หลักความสุจริต หมายถึง การใช้อํานาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่และองค์กรของรัฐจะต้อง กระทําด้วยความเหมาะสมและตามสมควร โดยมีจุดประสงค์เพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ และจะต้องกระทําต่อ บุคคลทุกคนโดยเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
5 หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หมายถึง การใช้อํานาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่และ องค์กรของรัฐจะต้องกระทําเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มีประสิทธิภาพและ คุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ อํานวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน และมีผู้รับผิดชอบต่อ ผลงานของงาน เป็นต้น