การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2101 ทฤษฎีการเมืองสมัยโบราณและสมัยกลาง
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
– ทฤษฎีการเมือง
ตั้งแต่ข้อ 1. – 10. จงเลือกคําตอบดังต่อไปนี้ให้สัมพันธ์กับโจทย์หรือข้อความ (1) Theory of Knowledge
(2) Empirical Political Theory
(3) Political Philosophy
(4) Political Thought
(5) Political Ideology
1 “ความคิดความเข้าใจในเรื่องการเมืองของบุคคลหนึ่งหรือหลายคนที่แสดงออกมาเพื่อทําความเข้าใจว่าสิ่งต่าง ๆ ในทางการเมืองนั้นคืออะไร และควรเป็นไปอย่างไร”
ตอบ 4 หน้า 1 – 2, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 1) ความคิดทางการเมือง (Political Thought) คือ ความคิดความเข้าใจเรื่องการเมืองของบุคคลหนึ่งหรือหลายคนที่แสดงออกมาเพื่อทําความ เข้าใจว่าสิ่งต่าง ๆ ในทางการเมืองนั้นคืออะไร และควรเป็นไปอย่างไร หรือเป็นความคิดที่เกี่ยวกับ เรื่องการเมืองอย่างกว้าง ๆ โดยมีแนวโน้มหนักไปในทางด้านการพรรณนาและความคิดเชิงประวัติศาสตร์ ซึ่งมักทําให้ไม่มีความเป็นระบบระเบียบ เช่น ความคิดทางการเมืองของโสเครติส เพลโต และอริสโตเติล เป็นต้น
2 “เป็นสาขาความรู้ย่อยสาขาหนึ่งที่อยู่ในองค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาถึงสิ่งใดเรียกว่าการกระทําดีของมนุษย์ สิ่งใดที่เรียกว่าการกระทําชั่วของมนุษย์”
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4) ปรัชญาการเมือง (Political Philosophy) เป็นสาขาย่อยของปรัชญาสาขาจริยศาสตร์ที่มุ่งศึกษาถึงสิ่งที่ควรจะเป็น สิ่งที่ดี สิ่งที่ผิด สิ่งที่ถูก อะไรที่ควรจะทําหรือไม่ควรจะทํา
3 ในภาษาไทยบางที่เรียกว่า ญาณวิทยา
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 2 – 3) ญาณวิทยา (Epistemology) หรือบางครั้งอาจเรียกว่า ทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge) ในสาขาย่อยของความรู้ทางปรัชญานี้จะมุ่งศึกษาใน ประเด็นเกี่ยวกับว่ามนุษย์นั้นรู้ถึงสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างไร เช่น คุณเห็นตัวหนังสือในหนังสือเล่มนี้ได้อย่างไร (ซึ่งอาจจะตอบว่า “ตาผมไม่บอด ผมก็ย่อมมองเห็นน่ะซิ”) เป็นต้น
4 ทฤษฎีระบบของ David Easton ที่มีสมมุติฐานในการอธิบายว่า ปรากฏการณ์นั้นเกิดขึ้นจากการทํางานที่ถูกต้องของระบบหรือการทํางานที่ผิดปกติของระบบ
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9), (คําบรรยาย) ทฤษฎีการเมืองแบบเชิงประจักษ์ (Empirical Political Theory) เป็นการใช้วิธีการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองของนักรัฐศาสตร์ กระแสหลักที่เรียกว่า การศึกษาแบบปฏิฐานนิยม (Positivism) ซึ่งเป็นการดําเนินการตาม แนวทางวิทยาศาสตร์ อาศัยการพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างเป็นระบบ โดยนักทฤษฎีสําคัญที่ใช้ แนวทางนี้ในการอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ คือ David Easton
5 เป็นวิชาที่พยายามมุ่งค้นหาคําตอบอมตะในทางการเมือง (Philosophia Perennis)
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 6) ปรัชญาการเมือง (Political Philosophy) จะมุ่งเน้นเรื่องการตั้งคําถามอมตะ (Philosophia Perennis) เพื่อหาคําตอบที่เป็นองค์ความรู้อันแท้จริงและไม่เปลี่ยนแปลงแม้โลกจะเปลี่ยนแปลงไปเท่าใด
6 คําอธิบายทางการเมืองของนักรัฐศาสตร์กระแสหลักในยุค Positivism
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ
7 วิชาที่ศึกษาถึงคําอธิบายเรื่องผู้ปกครองของ Plato ที่ว่าผู้ปกครองนั้นจะต้องมาจากการคัดสรรไม่ใช่ประชาชนที่ไหนก็ได้จะสามารถมาเป็นผู้ปกครอง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ
8 คําศัพท์ใดในตัวเลือกข้างต้นเป็นคําที่ Antoine Destutt de Tracy ประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นครั้งแรก
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 11) อุดมการณ์ (Ideology) เป็นคําใหม่ที่เกิดขึ้นโดย Antoine Destutt de Tracy ในช่วง ค.ศ. 1796 – 1798 ซึ่งเขาได้เขียนงานออกมาชิ้นหนึ่งเพื่อส่งไปยัง สถาบันแห่งชาติในปารีส และภายหลังได้ถูกนําไปตีพิมพ์เป็นหนังสือ The Elements of Ideology จนถูกนํามาใช้ประกอบคําว่า Political Ideology ในเวลาต่อมา
9 ไม่ศึกษาสิ่งที่เรียกว่าปรากฏการณ์ทางการเมือง (Political Phenomenon) แต่เน้นศึกษาไปที่ธรรมชาติของการเมือง
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 8) ปรัชญาการเมือง (Political Philosophy) เป็นวิชาหนึ่งที่เก่าแก่ที่สุดของวิชารัฐศาสตร์ที่มุ่งศึกษาสิ่งที่เป็นพื้นฐานทางการเมืองหรือธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ ในทางการเมือง (Nature of Politics) แต่ไม่ศึกษาสิ่งที่เรียกว่าปรากฏการณ์ทางการเมือง (Political Phenomenon)
10 คําศัพท์ใดในข้างต้นสามารถใช้สลับไปมา หรือทดแทนกับคําว่า “ลัทธิทางการเมือง” ได้มากที่สุด
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 10) อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology) และลัทธิทางการเมือง (Political Doctrine) ในทางทฤษฎีมีความใกล้เคียงกันแต่ก็มี ข้อแตกต่างกันอยู่ คือ อุดมการณ์ทางการเมืองจะมีลักษณะเป็นคําสอนกว้าง ๆ ไม่ได้ เฉพาะเจาะจงวิธีการเฉพาะไว้ ส่วนลัทธิทางการเมืองจะมีสูตรสําเร็จวิธีการดําเนินการทางการเมืองที่แน่ชัดระบุไว้อย่างชัดเจน
– นครรัฐกรีก
ตั้งแต่ข้อ 11 – 15 จงเลือกคําตอบดังต่อไปนี้ให้สัมพันธ์กับโจทย์หรือข้อความ (1) Corinth
(2). Tyranny
(3) Democracy
(4) Isagoras
(5) Solon
11 Aristotle เรียกการปกครองของคนส่วนใหญ่ในสังคมที่เต็มไปด้วยคนไร้การศึกษาและยากจน
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 20 – 21, 62) อริสโตเติล (Aristotle) เห็นว่า การปกครองแบบ Democracy เป็นการปกครองของพวกชนชั้นต่ำ คนจนที่ไร้การศึกษา ซึ่งจะทําให้รัฐ ล่มสลายลงในที่สุดเพราะไม่มีเงินมาใช้จ่ายเพื่อกิจการสาธารณะ
12 บุคคลใดที่เป็นบุคคลที่เข้ามาปฏิรูปการเมืองโดยออกกฏว่า ประชาชนสามารถอุทธรณ์ต่อศาลประชาชนได้ ซึ่งศาลประชาชนนี้เองเป็นการแผ้วถางไปสู่หลักการของประชาธิปไตยแบบเอเธนส์ในอนาคต
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 20) เมื่อปี 594 ก่อนคริสตกาล ได้มีชนชั้นสูงคนหนึ่งของเอเธนส์ชื่อว่า โซลอน (Solon) ได้เข้ามาปฏิรูปการศาลและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในเอเธนส์ โดยเขาได้เปลี่ยนกฎเกณฑ์ให้ประชาชนที่ไม่พอใจการตัดสินของศาลสามารถอุทธรณ์ต่อ ศาลประชาชนได้ ซึ่งการปฏิรูปครั้งนี้ได้นําไปสู่หลักการของประชาธิปไตยแบบเอเธนส์ในอนาคต
13 ช่วง 500 ปีก่อนคริสตกาล เอเธนส์ได้เกิดวิกฤติการณ์ทางการเมืองอย่างรุนแรงอีก โดยในเอเธนส์ได้แบ่งออกเป็นสองฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งคือ “ไคลอิสธีเนส” (Kleisthenes) และอีกฝ่ายหนึ่งคือฝ่ายของใคร
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 20) ช่วง 500 ปีก่อนคริสตกาล เอเธนส์ได้เกิดวิกฤติการณ์ทางการเมืองอย่างรุนแรง โดยในเอเธนส์ได้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายชนชั้นสูงนําโดย . อิซาโกรัส (Isagoras) และฝ่ายชนชั้นล่างที่นําโดยไคลอิสธีเนส (Kleisthenes) ซึ่งผลสุดท้ายฝ่ายไคลอิสรีเนสเป็นผู้ชนะและสถาปนาการปกครองของพวกชนชั้นต่ำ(Democracy) ขึ้นมา
14 เป็นนครรัฐหนึ่งที่สําคัญในยุคกรีกโบราณ
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 19) ในยุคโบราณจะเรียกนครรัฐต่าง ๆ ที่อยู่บริเวณทะเลอีเจียน ทะเลครีต และทะเลไอโอเนียนว่า กรีก โดยนครรัฐที่สําคัญในยุคนี้ ได้แก่ นครรัฐเอเธนส์ (Athens) นครรัฐรัฐสปาร์ต้า (Sparta) นครรัฐโครินทร์ (Corinth)
15 การปกครองโดยคน ๆ เดียวที่ทําไปเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 60) ทรราช (Tyranny) เป็นรูปแบบการปกครองที่อํานาจอยู่ในมือคน ๆ เดียว โดยผู้ปกครองในรูปแบบการปกครองลักษณะนี้จะใช้อํานาจไปเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวของตนเอง
16 ใครเป็นคนที่น่าจะกล่าวว่า “ในแต่ละสังคมนั้นก็มีความจริงกันคนละอย่าง เพราะความจริงเป็นเรื่องของ การให้คุณค่าของคนแต่ละคน”
(1) Socrates
(2) Pairus
(3) Plato
(4) Pythagoras
(5) Protagoras
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 25), (คําบรรยาย) โปรทากอรัส (Protagoras) เป็นโซฟิสท์คนหนึ่งที่เชื่อมั่นในวิธีการคิดแบบปัจเจกบุคคล และสัมพัทธนิยมที่ว่าคนแต่ละคนมีอิสระที่จะ ทําตามสิ่งที่ตนเองคิด โดยในแต่ละสังคมนั้นก็มีความจริงกันคนละอย่างเพราะความจริงเป็น เรื่องของการให้คุณค่าของแต่ละคน ซึ่งสิ่งที่เห็นว่าเป็นความยุติธรรมของเมืองหนึ่งมันก็เป็นความยุติธรรมเฉพาะของเมืองนั้น
17 ใครเป็นคนกล่าวว่า “สิ่งที่เห็นว่าเป็นความยุติธรรมของเมืองหนึ่งมันก็เป็นความยุติธรรมเฉพาะ ของเมืองนั้น”
(1) Pithagorus
(2) Pairus
(3) Plato
(4) Pythagoras
(5) Protagoras
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ
18 บุคคลใดต่อไปนี้เชื่อว่าความรู้ทางการเมืองหรือศิลปะทางการเมือง เป็นสิ่งที่สามารถสอนและถ่ายทอด ให้ใครก็ได้
(1) Socrates
(2) Aristotle
(3) Plato
(4) Sophists
(5) พวก Philosopher
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 24) โซฟิสท์ (Sophists) เชื่อว่า ความรู้ความสามารถทางการเมืองเป็นสิ่งที่สามารถสอนหรือถ่ายโอนกันได้ และสามารถสอนให้ใครก็ได้หรือฝึกฝนให้ใครก็ตามมีความรู้ได้ด้วย
19 การปกครองของเอเธนส์ด้วยวิธีการ “By Lot” เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความสําคัญของเรื่องใดต่อไปนี้ มากที่สุด
(1) ความเสมอภาค
(2) ความเมตตา
(3) ความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน
(4) เสรีภาพ
(5) ชนชั้นที่แตกต่างกัน
ตอบ 1 หน้า 19 – 20, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 21) ชนชั้นในสังคมของเอเธนส์แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ
1 พลเมือง (Citizen)
2 ต่างด้าว (Metics)
3 ทาส (Slaves) ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มจะมีสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ที่แตกต่างกัน แต่ไม่มีกลุ่มใดที่มีอํานาจเหนือกว่ากัน เนื่องจากเอเธนส์ใช้วิธีการแบบประชาธิปไตยที่เน้นความเสมอภาคเท่าเทียมกัน หรือใช้วิธีการ
จับฉลาก (By Lot) ในการตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
20 ชนชั้นใดในเอเธนส์ที่ต้องทํางานหนักมากที่สุด
(1) Citizen
(2) Metics
(3) Slaves
(4) Ecclesia
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 19 ประกอบ
ตั้งแต่ข้อ 21 – 27 จงเลือกคําตอบดังต่อไปนี้ให้สัมพันธ์กับโจทย์หรือข้อความ (1) Athens
(2) Sparta
(3) Melos
(4) Crete
(5) ในบรรดาตัวเลือกต่อไปนี้ไม่มีข้อใดถูกต้องเลย
21 เป็นนครรัฐที่ยึดถือความเป็นกลาง
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27 – 28) ชาวเมเลียน (Melian) เป็นอาณานิคมของสปาร์ต้าที่อาศัยอยู่บนเกาะเมลอส (Melos) ซึ่งยึดถือหลักความเป็นกลางเพราะรบไม่เก่ง แต่เนื่องจาก เมืองนี้ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ นครรัฐเอเธนส์จําเป็นต้องยึดเมืองนี้เอาไว้ โดยให้ทางเลือกแก่ ชาวเมเลียนให้ยอมแพ้ แต่ชาวเมเลียนไม่ยอมแพ้จึงถูกบุกทําลายจากฝ่ายเอเธนส์ จนในที่สุดก็ตกเป็นทาส และเป็นเมืองขึ้น
22 นครรัฐใดก่อตั้ง “สมาพันธ์เพโลพอลนีเซียน” (Peloponnesian) ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27) หลังจากที่กรีกชนะเปอร์เซียแล้ว นครรัฐเอเธนส์ (Athens) ได้ก่อตั้งพันธมิตรที่ชื่อว่า สมาพันธ์เดลอส (Confederacy of Delos) ส่วนนครรัฐสปาร์ต้า (Sparta) ก็ได้ก่อตั้งสมาพันธ์เพโลพอลนีเชียน (Peloponnesian) ขึ้นเพื่อแข่งขันกัน จนในท้ายที่สุดก็ได้ลุกลามเป็นสงครามเพโลพอลนีเชียน
23 นครรัฐใดเป็นผู้ก่อตั้งพันธมิตรที่ชื่อว่า สมาพันธ์เดลอส (Confederacy of Delos)
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 22 ประกอบ
24 “คนที่แพ้ก็จําต้องยอมรับความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้น นี่คือหลักความยุติธรรม” เป็นความคิดของนครรัฐใดในบทสนทนาของชาวเมเลียน
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 37), (คําบรรยาย) ทราไซมาคุส (Thrasymachus) นักคิดชาวเอเธนส์ (Athens) เชื่อว่า คนที่มีกําลังมากกว่าจะทําอะไรก็ได้ และคนที่แพ้ก็จําต้องยอมรับ ความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้น นี่คือหลักความยุติธรรม
25 “คนฉลาดคือคนที่รักษาตัวรอด ไม่ใช่คนที่มัวแต่ห่วงเกียรติยศ” เป็นความคิดของนครรัฐใดในบทสนทนาของชาวเมเลียน
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 37) ชาวเอเธนส์ (Athens) เชื่อว่า ธรรมชาติของคนทุกคนจะต้องรักษาตัวเอง ดังนั้นคนฉลาดคือคนที่รักษาตัวรอด ไม่ใช่คนที่ห่วงเรื่องเกียรติยศศักดิ์ศรีอะไรทั้งสิ้น
26 ในบทสนทนาของชาวเมเลียนได้กล่าวว่า ทราไซมาคุส (Thrasymachus) มาจากนครรัฐใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 24 ประกอบ
27 นครรัฐใดเลือกที่จะไม่ยอมแพ้ ยอมต่อสู้ดีกว่าตกเป็นทาส หรือเป็นเมืองขึ้น
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ
โรมัน
ตั้งแต่ข้อ 28 – 32 จงเลือกคําตอบดังต่อไปนี้ให้สัมพันธ์กับโจทย์หรือข้อความ (1) Polis
(2) Cosmopolitanism
(3) Alexander The Great
(4) Hellenic
(5) Hellenistic
28 ลักษณะร่วมที่สําคัญประการหนึ่งของความคิดทางการเมืองในยุคโรมัน ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 76, 82) แนวคิดแบบพลเมืองโลก (Cosmopolitanism) ถือเป็นแนวคิดหลักในช่วงต้นของยุคอาณาจักรโรมันหรือในช่วง 300 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งได้ เปลี่ยนมุมมองทางการเมืองจากการถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องราวสาธารณะหรือความเป็นนครรัฐ (Polis) ตามแนวความคิดของชาวกรีกโบราณ มาเป็นวิธีคิดเกี่ยวกับการแสวงหาความสุขใส่ตัว โดยเห็นว่า รัฐไม่ใช่สิ่งที่ดีที่ทําให้บุคคลบรรลุความสุขได้ และมนุษย์ไม่ควรที่จะเป็นพลเมืองของชาติหรือรัฐใดรัฐหนึ่ง แต่มนุษย์ทุกคนควรจะเป็นพลเมืองของโลก
29 ยุคที่กรีกเรืองอํานาจ ก่อนที่จะตกเป็นเมืองขึ้น และอารยธรรมเจริญถึงขีดสุด
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 76) ยุคเฮลเลนนิก (Hellenic) หมายถึง ยุคที่กรีกเรืองอํานาจก่อนที่จะตกเป็นเมืองขึ้นของมาซิโดเนีย ส่วนยุคที่เกิดหลังยุคนี้เรียกว่า ยุคเฮลเลนนิสติก (Hellenistic) ซึ่งหมายถึง ยุคที่ใช้วัฒนธรรมเหมือนกรีก แต่กรีกไม่ได้เรืองอํานาจอีกต่อไปโดยยุคนี้จะเป็นเพียงแค่สืบวัฒนธรรมมาจากกรีก หรือวัฒนธรรมกรีกมีอิทธิพลเท่านั้น
30 นครรัฐของพวกกรีกโบราณ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 28 ประกอบ
31 ยุคที่ใช้วัฒนธรรมเหมือนกรีก แต่กรีกไม่ได้เรื่องอํานาจอีกต่อไป
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ
32 ลูกศิษย์คนหนึ่งของ Aristotle เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของมาซิโดเนีย
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 76) กษัตริย์อเล็กซานเดอร์แห่งมาซิโดเนีย (Alexander The Great) เป็นลูกศิษย์คนหนึ่งของอริสโตเติล ซึ่งได้บุกทําลายนครรัฐเอเธนส์จนล่มสลายลงซึ่งมีผลทําให้อารยธรรมทางการเมืองของกรีกโบราณสูญสลายไปเช่นกัน
33 “Kratia” หมายถึงอะไร
(1) กษัตริย์ของชาวกรีก
(2) อุดมการณ์หนึ่งของกรีก
(3) สํานักคิดสกุลหนึ่งของกรีก
(4) เผ่าหนึ่งของกรีก
(5) ระบอบการปกครอง
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 21, 62) Democracy มาจากภาษากรีกคําว่า Demokratia ซึ่งเป็นการผสมกันของรากศัพท์ 2 คํา คือ “Demos” (ชนชั้นต่ำ ชนชั้นล่าง คนจน ฝูงชน) และคําว่า “Kratia” (รูปแบบการปกครองหรือระบอบการปกครอง)
34 เราสามารถทราบเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของ Socrates ได้จากแหล่งใดต่อไปนี้
(1) บทละครของ Aristophanes
(2) จดหมายเหตุของพวก Sophists
(3) ข้อเขียนชิ้นต่าง ๆ ของตัว Socrates เอง
(4) บันทึกส่วนตัวของ Aristotle
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 39) เราสามารถทราบเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของซอคราตีส (Socrates) ได้จากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้
1 งานเขียนของเพลโต (Plato)
2 บทละครของอริสโตฟาเนส (Aristophanes)
3 งานเขียนของเซโนฟอน (Xenophon)
35 ในบทสนทนา Crito สะท้อนให้เห็นว่า Socrates มีมุมมองเกี่ยวกับกฎหมายอย่างไร
(1) กฎหมายที่ยุติธรรม คือ กฎหมายในระบอบ Democracy เท่านั้น
(2) ถ้าเห็นว่ากฎหมายไม่ยุติธรรมก็ให้ฆ่าตนเองตายเสียดีกว่าที่จะถูกประหารชีวิต
(3) กฎหมายทุกฉบับล้วนยุติธรรม มีแต่คนชั่วและคนที่เห็นแก่ตัวเท่านั้นที่อ้างว่ากฎหมายไม่เป็นธรรม
(4) ไม่ต้องเชื่อฟังกฎหมายที่ไม่ยุติธรรม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 42 – 43, 51) ในบทสนทนาไครโต (Crito) นั้น Socrates ได้กล่าวไว้ว่า “แต่เมื่อท่านตัดสินใจเลือกที่จะอยู่ในรัฐ เมื่อนั้นเองมันก็คือ ข้อตกลงที่ว่าประชาชน “ทุกคนจะปฏิบัติตามคําสั่งของรัฐ” ซึ่ง Socrates พยายามอธิบายว่า มนุษย์ต้องเชื่อฟังกฎหมายของรัฐที่ตนอาศัยอยู่ เพราะว่าเราได้ตกลงทําสัญญากับรัฐไปแล้วจากการที่เราได้ใช้ประโยชน์ จากสิ่งต่าง ๆ ภายในรัฐ เมื่อใดก็ตามที่เราจะต้องถูกลงโทษจากรัฐ เราก็จําเป็นจะต้องเชื่อฟังแม้ว่าเราจะคิดว่ามันไม่เป็นธรรมก็ตาม
ตั้งแต่ข้อ 36 – 40 จงเลือกคําตอบดังต่อไปนี้ให้สัมพันธ์กับโจทย์หรือข้อความ
(1) Aristotle
(2) Diogenes
(3) Epicurus
(4) Marcus Tullius Cicero
(5) Plato
36 “มนุษย์จําเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์คนอื่น ๆ ในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสาธารณะ เพราะมิฉะนั้นมนุษย์จะไม่สามารถบรรลุความเป็นมนุษย์ได้เลย” ความคิดลักษณะดังกล่าวน่าจะเป็นความคิดของ นักคิดคนใดมากที่สุด ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 57) Aristotle เห็นว่า “มนุษย์จะไม่สามารถบรรลุศักยภาพของตนได้เลย ถ้าเขาอยู่คนเดียว เพราะการมีปฏิสัมพันธ์เช่นนี้ทําให้มนุษย์มีความคิดอ่านที่กว้างไกลขึ้น จิตใจและร่างกายก็พัฒนาขึ้นด้วย”
37 นักคิดคนใดน่าจะมีความคิดในลักษณะดังต่อไปนี้ “จุดมุ่งหมายปลายทางในชีวิตมนุษย์ก็คือ การแสวงหาความสุขเฉพาะตัวตามที่แต่ละคนต้องการ (Pleasure/Eudemonia)”
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 78 – 79) Epicurus เชื่อว่า จุดมุ่งหมายปลายทางในชีวิตมนุษย์ก็คือการแสวงหาความสุขเฉพาะตัวตามที่แต่ละคนต้องการ (Pleasure/Eudemonia) ซึ่งความสุขในความหมายของ Epicurus นั้นไม่ใช่การแสวงหาความสุขอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่เป็น การหลีกเลี่ยงจากความเจ็บปวด (Aponia) หรืออยู่อย่างมีความสงบ (Ataraxia)
38 นักคิดคนใดน่าจะมีความคิดในลักษณะดังต่อไปนี้ “เป็นพวกนิยมอนาธิปไตย (Anarchism) คือ ประสงค์จะไม่ให้มีรัฐบาลหรือสถาบันการเมืองใด ๆ ให้คนอยู่กันเองตามสภาพที่ธรรมชาติให้มา เพราะว่าสิ่งเหล่านั้น ทําให้คนไม่สามารถบรรลุถึงคุณธรรม สติปัญญา ความสมบูรณ์ในตัวเอง และความเป็นอิสระอันเป็นไปตาม ธรรมชาติ นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งที่ทําให้คนมีสถานะแตกต่างกันเป็นคนจน คนรวย ทาส ทั้ง ๆ ที่ในความ เป็นจริงแล้ว คนเราไม่ว่าจะรวยหรือจนก็มีความเท่าเทียมกันทั้งนั้น”
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 80 – 81) Diogenes นักคิดคนสําคัญของลัทธิ Cynics เป็นผู้มีมุมมองทางการเมืองที่ปฏิเสธรัฐหรือสังคม ตลอดจนสถาบันทางปกครอง จึงประสงค์ จะไม่ให้มีรัฐบาลหรือสถาบันการเมืองใด ๆ ให้คนอยู่กันเองตามสภาพที่ธรรมชาติให้มา ซึ่งเป็นแนวคิดของพวกนิยมอนาธิปไตย (Anarchism) นั้นเอง
39 ใครเป็นผู้กล่าวคําพูดดังต่อไปนี้ “กฎที่แท้จริง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เหตุผลที่ถูกต้องอันสอดคล้องกับธรรมชาติ มนุษย์ทุกคนต่างก็อยู่ภายใต้กฏนี้ และกฎนี้เป็นกฎนิรันดรและไม่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้ กฎที่ว่านี้มันได้สั่งให้มนุษย์ทุกคนปฏิบัติหน้าที่ของตน และมันยังสั่งให้พวกเขาละเว้นหรือไม่ไปกระทํา สิ่งที่ผิด ซึ่งคําสั่งและข้อห้ามของกฎธรรมชาตินี้จะมีอิทธิพลต่อคนดีอยู่เสมอ และมันแทบจะไม่มีอิทธิพลต่อ บรรดาคนชั่วช้าเลย…”
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 84 – 85) Marcus Tullius Cicero มีความเชื่อมั่นในกฎธรรมชาติเป็นอย่างมาก โดยเขาได้กล่าวว่า “กฏที่แท้จริง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เหตุผลที่ ถูกต้องอันสอดคล้องกับธรรมชาติ มนุษย์ทุกคนต่างก็อยู่ภายใต้กฎนี้ และกฎนี้เป็นกฎนิรันดร และไม่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้ กฎที่ว่านี้มันได้สั่งให้มนุษย์ทุกคนปฏิบัติหน้าที่ของตน และมันยังสั่งให้พวกเขาละเว้นหรือ ไม่ไปกระทําสิ่งที่ผิด”
40 ใครเป็นคนกล่าวคําพูดดังต่อไปนี้ “โดยธรรมชาติแล้วมันเป็นสิ่งที่บังคับให้มนุษย์ทําสิ่งที่ดี โดยที่ความต้องการดังกล่าวนั้นเปรียบได้กับเกราะที่คอยป้องกันคุ้มกันความเจริญรุ่งเรืองของชุมชน ซึ่งพลังดังกล่าวมีอยู่เหนือ ความอยากที่จะใช้ชีวิตแค่สําราญและสะดวกสบาย”
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 87) Marcus Tullius Cicero ได้กล่าวไว้ในงานชิ้นสําคัญเรื่อง The Republic ว่า “โดยธรรมชาติแล้วมันเป็นสิ่งที่บังคับให้มนุษย์ทําสิ่งที่ดี โดยที่ความต้องการดังกล่าวนั้นเปรียบได้กับเกราะที่คอยป้องกันคุ้มกันความเจริญรุ่งเรืองของชุมชน…”
ยุคกลางและคริสต์ศาสนา
ตั้งแต่ข้อ 41 – 45 จงเลือกคําตอบดังต่อไปนี้ให้สัมพันธ์กับโจทย์หรือข้อความ (1) John
(2) Peter
(3) Paul
(4) Sir Robert Filmer
(5) Augustine of Hippo
41 นักคิดคนใดที่มองว่า การปกครองของกษัตริย์มีลักษณะเป็นการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ซึ่งเป็นการปกครองที่เป็นธรรมชาติที่สุด และการปกครองแบบนี้เป็นการปกครองที่พระเจ้าทรงแต่งตั้งไว้ ตั้งแต่สร้างโลก โดยเขาได้อ้างเหตุผลมาจากคัมภีร์ปฐมกาล (Genesis) ในไบเบิ้ล
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 96) Sir Robert Filmer เห็นว่า การปกครองของกษัตริย์ในลักษณะพ่อปกครองลูก คือ การปกครองที่เป็นธรรมชาติที่สุด และการปกครองแบบนี้ เป็นการปกครองที่พระเจ้าทรงแต่งตั้งไว้ตั้งแต่สร้างโลก โดยเขาได้อ้างเหตุผลมาจากคัมภีร์ ปฐมกาลในไบเบิ้ล
42 ผู้นําในศาสนาคริสต์คนใดที่มีสัญลักษณ์หรือตราประจําตัวเป็นรูปกุญแจ
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 89, 103) สันตะปาปา (Pope) มาจากภาษาละตินคําว่า “Papa” และภาษากรีกคําว่า “Pappas” ที่แปลว่า บิดา โดยสันตะปาปานั้นคือผู้นําของคริสตจักร และ ตราสัญลักษณ์ประจําตัวของสันตะปาปาทุกพระองค์จะเป็นรูปกุญแจ ซึ่งในทางคริสต์ศาสนา จะถือว่า Saint Peter เป็นสันตะปาปาองค์แรกหรือผู้นําคริสตจักรคนแรกของโลกที่ได้รับมอบกุญแจแห่งสวรรค์จากพระเยซู และนําศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ในกรุงโรม
43 ผู้ที่นําศาสนาคริสต์เข้าไปเผยแพร่ในกรุงโรม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 42 ประกอบ
44 “ทุกคนจงยอมอยู่ใต้บังคับของผู้ที่มีอํานาจปกครองเพราะว่าไม่มีอํานาจใดเลยที่มิได้มาจากพระเจ้าและผู้ที่ทรงอํานาจนั้นพระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น เหตุฉะนั้นผู้ที่ขัดขืนอํานาจนั้น ก็ขัดขืนผู้ที่พระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น และผู้ที่ขัดขืนนั้นจะต้องถูกพิพากษาลงโทษเพราะว่าผู้ครอบครองนั้นไม่น่ากลัวเลยสําหรับคนที่ทําความดี” เป็นคํากล่าวของนักคิดคนใด
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 92 – 93) พระคัมภีร์โรม บทที่ 13 วรรคที่ 1 – 7 ของ Saint Paul ได้เขียนไว้ว่า “ทุกคนจงยอมอยู่ใต้บังคับของผู้ที่มีอํานาจปกครองเพราะว่าไม่มีอํานาจใดเลย ที่มิได้มาจากพระเจ้า และผู้ที่ทรงอํานาจนั้นพระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น เหตุฉะนั้นผู้ที่ขัดขืนอํานาจนั้นก็ขัดขืนผู้ที่พระเจ้าทรงแต่งตั้ง และผู้ที่ขัดขืนนั้นจะต้องถูกพิพากษาลงโทษ”
45 “ประชาชนแห่งรัฐใด ๆ ไม่มีสิทธิที่จะสถาปนาตัวเองเป็นผู้พิพากษาตัดสินการกระทําของผู้ปกครอง เพราะบรรดาผู้ปกครองทุกคนต่างได้รับอํานาจหน้าที่ของเขามาจากพระเจ้าทั้งสิ้น และไม่ว่าเขาจะใช้ อํานาจไปในแบบใด ประชาชนก็ไม่มีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจารณ์ เพราะในบางครั้ง พระเจ้าทรงประทาน กษัตริย์ที่ชั่วร้ายมาให้กับประชาชนเพื่อเป็นการลงโทษในบาปของประชาชนเหล่านั้น” เป็นคํากล่าว ของนักคิดคนใด
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 100) Augustine เห็นว่า สถาบันทางการเมือง หรือผู้ปกครองเกิดขึ้นมาจากพระเจ้าทั้งสิ้น โดยกล่าวว่า “พระเจ้าคือผู้ประทานสถาบันการปกครองต่าง ๆ ให้แก่มนุษย์ เพื่อที่จะให้ประชาชนสามารถดํารงชีวิตอยู่ในโลกซึ่งความเสมอภาคและสันติภาพ ไม่ใช่สิ่งหาง่ายอีกต่อไป ดังนั้นประชาชนแห่งรัฐใด ๆ จึงไม่มีสิทธิที่จะสถาปนาตัวเองเป็น ผู้พิพากษาตัดสินการกระทําของผู้ปกครอง เพราะบรรดาผู้ปกครองทุกคนต่างได้รับอํานาจหน้าที่ ของเขามาจากพระเจ้าทั้งสิ้น และไม่ว่าเขาจะใช้อํานาจไปในแบบใด ประชาชนก็ไม่มีสิทธิที่จะ วิพากษ์วิจารณ์ เพราะในบางครั้ง พระเจ้าทรงประทานกษัตริย์ที่ชั่วร้ายมาให้กับประชาชนเพื่อเป็นการลงโทษในบาปของประชาชนเหล่านั้น”
ตั้งแต่ข้อ 46 – 50 จงเลือกคําตอบดังต่อไปนี้ให้สัมพันธ์กับโจทย์หรือข้อความ
(1) Gregory VII
(2) Marsiglio da Padova
(3) Thomas Aquinas
(4) Gelasius I.
(5) Boniface VIII
46 นักคิดในตัวเลือกใดได้รับอิทธิพลทางความคิดอย่างมหาศาลมาจาก Aristotle
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 113) แนวความคิดทางการเมืองของ Thomas Aquinas นั้น ได้พยายามเอาความคิดของอริสโตเติลมาใช้และอธิบายสร้างความชอบธรรมให้กับศาสนาคริสต์ ที่เป็นกระแสหลักของยุค
47 “มีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ. 1270 – 1342 ซึ่งเขาได้เขียนงานที่มีชื่อว่า “ผู้พิทักษ์สันติภาพ” (Defensor Pacis/The Defender of Peace) ตีพิมพ์ออกมาในช่วงปี ค.ศ. 1324 ในงานชิ้นนี้เขาเขียนขึ้นมาเพื่อสนับสนุน จักรพรรดิหลุยส์ที่ 4 แห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หรือหลุยส์แห่งบาวาเรีย (Louis IV, Holy Roman Emperor/Louis of Bavaria) ที่มีปัญหาขัดแย้งกับสันตะปาปาจอห์นที่ 22” ข้อความดังกล่าวหมายถึง นักคิดคนใด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 128 – 129) Marsiglio da Padova ได้เขียนงานที่มีชื่อว่า “ผู้พิทักษ์สันติภาพ” ตีพิมพ์ออกมาในช่วงปี ค.ศ. 1324 โดยมีเนื้อหายืนยันว่า อํานาจในการ ปกครองมาจากประชาชน และประชาชนมีสิทธิอันชอบธรรมในการแต่งตั้งกษัตริย์ มากไปกว่านั้นเขายังสนับสนุนให้กษัตริย์นั้นยึดที่ดินทรัพย์สมบัติของศาสนามาเป็นของอาณาจักรด้วย
48 “อํานาจในการปกครองมาจากประชาชน และประชาชนมีสิทธิอันชอบธรรมในการแต่งตั้งกษัตริย์มากไปกว่านั้น เขายังสนับสนุนให้กษัตริย์นั้นยึดที่ดิน ทรัพย์สมบัติของศาสนามาเป็นของอาณาจักร เป็นความคิดของนักคิดคนใด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 47 ประกอบ
49 ยกเลิกธรรมเนียมของกษัตริย์ที่จะเข้ามาแทรกแซงการแต่งตั้งสังฆราช (Bishop)
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 108) ในปี ค.ศ. 1976 จักรพรรดิเฮนรี่ที่ 4 ได้พยายามที่จะตั้งสังฆราชด้วยพระองค์เอง โดยขัดกับคําสั่งของสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 7 (Gregory VII) ที่ทรง ยกเลิกธรรมเนียมของกษัตริย์ที่จะเข้าแทรกแซงการแต่งตั้งสังฆราช ผลสุดท้ายจักรพรรดิเฮนรี่ที่ 4 ถูกขับออกจากศาสนา และประชาชนก่อการจลาจลขึ้น
50 “แต่เดิมอํานาจทั้งหมดเป็นของพระเจ้าแต่พระเจ้าทรงมอบอํานาจหรือดาบให้กับสันตะปาปาทั้งสองเล่ม และภายหลังสันตะปาปาถือดาบแห่งจิตวิญญาณไว้ และมอบดาบที่ใช้ปกครองทางโลกให้กับกษัตริย์ใช้ปกครอง ประชาชน แต่กระนั้นอํานาจดังกล่าวที่มอบให้กษัตริย์ก็ยังเป็นของสันตะปาปาอยู่ เพราะการมอบดาบนี้ เป็นเพียงการมอบหมายหน้าที่ให้กษัตริย์เท่านั้น ด้วยเหตุนี้อํานาจของกษัตริย์จึงไม่มีทางใหญ่กว่าอํานาจ ของสันตะปาปาที่เป็นเจ้าของดาบที่แท้จริง เพราะได้รับอํานาจนั้นมาจากพระเจ้าโดยตรง”
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 109 – 110) สันตะปาปาโบนิเฟสที่ 8 (Boniface VII) กล่าวว่า “พวกเราถูกสั่งสอนโดยถ้อยคําจากพระคัมภีร์ว่า ภายใต้ศาสนจักรนี้ และภายใต้การควบคุมของ ศาสนจักร มันมีดาบอยู่สองเล่ม คือ ดาบที่ใช้ปกครองจิตวิญญาณ และดาบที่ใช้ปกครองทางโลก ซึ่งดาบสองเล่มนี้ต่างก็อยู่ภายใต้การควบคุมของศาสนจักร โดยดาบเล่มแรกนั้นถูกใช้ด้วยมือ ของนักบวช ส่วนเล่มที่สองถูกใช้ด้วยมือของกษัตริย์และนักรบ แต่ดาบเล่มที่สองนี้จะต้องอยู่ ภายใต้ดาบเล่มแรก”
– ซอคราตีส
51 ผลงานชิ้นสําคัญของเขาคือ
(1) The Republic
(2) The Laws
(3) The Prince
(4) ถูกข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 39) ซอคราตีส (Socrates) เป็นนักคิดชาวเอเธนส์ และเป็นอาจารย์ของเพลโต ซึ่งมีชีวิตอยู่ประมาณ 469 – 399 ปีก่อนคริสตกาล โดยซอคราตีสไม่เคย เขียนหนังสือทิ้งไว้ให้ได้ศึกษาเลย แต่คนรุ่นหลังสามารถทราบเรื่องราวต่าง ๆ ของเขาได้ผ่านทาง งานเขียนของเพลโต
52 ข้อหาที่ซอคราติสถูกกล่าวหาในศาลประชาชนเอเธนส์ตรงกับข้อใดมากที่สุด
(1) สร้างความแตกแยก
(2) ชักจูงเยาวชนไปในทางที่ผิด
(3) วางแผนการก่อจารกรรม
(4) กบฏ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 22, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 40 – 41) เพลโตได้เล่าเรื่องของซอคราตีสไว้ในหนังสือที่ชื่อว่า ยูไธโฟร (Euthiphro) โดยเล่าถึงสาเหตุที่ซอคราสโดนฟ้องต่อศาลเอเธนส์ ในข้อหาสร้างลัทธิศาสนาของตนเอง และชักจูงเยาวชนไปในทางที่ผิด ส่วนในหนังสือเรื่อง อโพโลจี (Apology) เป็นเล่มที่เล่าว่า ซอคราตีสพยายามแก้ข้อกล่าวหาในศาลด้วยตัวเองและสุดท้ายถูกศาลตัดสินพิพากษาประหารชีวิตด้วยการกินยาพิษ
53 ระบอบการปกครองที่เขาต่อต้านมากที่สุดคือ
(1) Aristocracy
(2) Monarchy
(3) Democracy
(4) Polity
(5) Oligarchy
ตอบ 3 หน้า 23 – 24 ซอคราตีส โจมตีระบอบประชาธิปไตย (Democracy) ของนครรัฐเอเธนส์เป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะเขาเห็นว่าการปกครองโดยเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนแบบกรีกนั้น เป็นการปกครองโดยรัฐบาลที่ปราศจากคุณธรรมและความยุติธรรม และไม่อาจเชื่อได้ว่าจะสามารถนําคนไปสู่ชีวิตที่ถูกต้องได้
54 ระบอบการปกครองที่เขาสนับสนุนมากที่สุดคือ
(1) Aristocracy
(2) Monarchy
(3) Democracy
(4) Polity
(5) Oligarchy
ตอบ 1 หน้า 24 ซอคราตีส สนับสนุนรูปการปกครองแบบอภิชนาธิปไตย (Aristocracy) คือ อํานาจในการปกครองเหนือกว่าคนส่วนใหญ่ในสังคม
55 ซอคราตีสถูกประหารชีวิตนั้นปรากฏอยู่ในบทสนทนาเรื่องใด
(1) The Laws
(2) Apology
(3) Crito
(4) Euthyphro
(5) The Republic
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 52 ประกอบ
เพลโต
56 ผลงานชิ้นสําคัญของเขาคือ
(1) Politics
(2) The Laws
(3) The Prince
(4) Ethics
(5) Leviathan
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 40) หนังสือเล่มสําคัญและได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมทางการเมืองชิ้นเอกของเพลโต มีอยู่ 3 เล่ม คือ อุตมรัฐ (The Republic) รัฐบุรุษ (The Statesman) และกฎหมาย (The Laws)
57 สํานักที่เขาก่อตั้งมีชื่อว่า
(1) Athens
(2) University
(3) Lyceum
(4) Academy
(5) Apology
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 40) สํานักอคาเดมี (Academy) ของเพลโตได้ก่อตั้งขึ้นในปี 387 ก่อนคริสตกาล และเปิดยาวนานกว่า 900 ปี ก่อนที่จะถูกปิดโดยจักรพรรดิจัสติเนียนในปี ค.ศ. 529 ด้วยข้อหาว่าต่อต้านศาสนาคริสต์
58 ความยุติธรรมของเขาเป็นผลมาจากอะไร
(1) ปกครองแบบประชาธิปไตย
(2) การบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอหน้า
(3) การแบ่งชนชั้นและหน้าที่
(4) ถูกข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 35 ความยุติธรรมตามทัศนะของเพลโต คือ ผลของการแบ่งแยกชนชั้นและการแบ่งหน้าที่ซึ่งทําให้เกิดความกลมกลืนในการรวมกลุ่มกันอยู่ของมนุษย์ในสังคม โดยที่แต่ละคนได้ปฏิบัติภารกิจที่สอดคล้องกับความสามารถตามธรรมชาติของเขาหรือที่เขาได้รับการอบรมมา
59 ข้อใดไม่ใช่คุณธรรมในทัศนะของเพลโต
(1) ความฉลาดรอบรู้
(2) ความยุติธรรม
(3) ความกล้าหาญ
(4) ความรอบคอบ
(5) ความรู้จักประมาณ
ตอบ 4 หน้า 35 เพลโต เห็นว่า คุณความดีที่สําคัญมี 4 ประการ คือ ความฉลาดรอบรู้ ความยุติธรรมความกล้าหาญ และความรู้จักประมาณ ซึ่งคุณสมบัติทั้ง 4 ประการนี้ ถ้าหากมีในบุคคลใดแล้วย่อมทําให้บุคคลนั้นประสบผลสําเร็จในการทําหน้าที่การงานและจะมีความสุขเป็น “คนดีที่แท้จริง”
60 Common Good (สัมมาร่วม) ตามความหมายของเขาคือ
(1) ความเท่าเทียม
(2) ความสามัคคี
(3) ความเสมอภาค
(4) ความยุติธรรม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 35 ความยุติธรรม (Justice) ตามหนังสือ The Republic ของเพลโต ไม่ได้มีความหมายแคบ ๆ ว่าความเที่ยงธรรมหรือการไม่ลําเอียงตามความเข้าใจทั่วไปเมื่อเอ่ยถึงคําว่ายุติธรรมแต่หมายถึงสิ่งที่เป็น “สัมมาร่วม” (Common Good) ที่จะบันดาลความสุขให้กับคนและรัฐ
ตั้งแต่ข้อ 61 – 65 จงนําตัวเลือกดังต่อไปนี้ไปตอบคําถาม
(1) ตัณหา
(2) เหตุผล
(3) ความกล้าหาญ
(4) ความอดกลั้น
(5) ความรอบคอบ
61 คุณธรรมที่จะทําให้เหมาะสมกับการเป็นผู้ผลิต
ตอบ 1 หน้า 36 เพลโต กําหนดหรือจําแนกความยุติธรรมของบุคคลโดยใช้คุณธรรมประจําจิต โดยเขาเห็นว่าการที่ผู้ใดจะเป็นชนชั้นใดในสังคมนั้นขึ้นอยู่กับคุณธรรมประจําจิตของแต่ละคน ถ้าจิตของ ผู้ใดถูกครอบงําด้วยตัณหาหรือความอยากก็ควรจะทําหน้าที่เป็นผู้ผลิต (ชาวนา พ่อค้า ช่างฝีมือ) ถ้าจิตของผู้ใดถูกครอบงําด้วยความกล้าหาญ หน้าที่ของเขาก็ควรจะเป็นทหาร และถ้าจิตของ ผู้ใดถูกครอบงําด้วยเหตุผล ซึ่งเป็นคุณธรรมที่อยู่ในชนส่วนน้อยของรัฐ เขาผู้นั้นก็เหมาะสมที่จะ เป็นผู้ปกครอง ทั้งนี้ความยุติธรรมจะปรากฏขึ้นก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นรู้จักขันติหรือความอดกลั้นที่ยอมรับความสามารถของตนและไม่ก้าวก่ายงานของคนอื่น
62 คุณธรรมที่จะทําให้เหมาะสมกับการเป็นผู้พิทักษ์หรือทหาร
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ
63 คุณธรรมที่เหมาะสมที่จะเป็นผู้ปกครอง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ
64 คุณธรรมที่จะทําให้ไม่มีการก้าวก่ายหน้าที่กัน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ
65 คุณธรรมที่อยู่ในชนส่วนน้อยของรัฐ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ
66 รัฐที่ดีที่สุดในทัศนะของเขาคือรัฐที่มีใครเป็นผู้ปกครอง
(1) นักรบ
(2) ประชาชน
(3) ชนชั้นสูง
(4) คนที่มีความรู้
(5) ตัวแทนของประชาชน
ตอบ 4 หน้า 37, (คําบรรยาย) ในอุตมรัฐหรือรัฐในอุดมคติ (Ideal State) เพลโตกําหนดให้ราชาปราชญ์ผู้ทรงปัญญาสามารถรู้ซึ้งถึงความจริงเป็นผู้ปกครอง เพราะเขาถือว่าการเมืองเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง คนมีความสามารถเรียนรู้ไม่เท่ากัน ผู้ที่จะรู้ซึ้งถึงศิลปะแห่งการเมืองการปกครองจึงมีอยู่น้อยคน ที่มีความรอบรู้อย่างดีเลิศ โดยเฉพาะความรู้ในหลักการปกครอง ซึ่งผู้ทรงปัญญาจะค้นพบด้วยวิธีการใช้เหตุผล และสามารถทําให้คุณธรรมแห่งการเป็นผู้ปกครองปรากฏขึ้นในตน
67 สิ่งที่เพลโตใช้คัดเลือกคนมาเป็นผู้ปกครองคือ
(1) รัฐธรรมนูญ
(2) การเลือกตั้ง
(3) การศึกษา
(4) การสืบทายาท
(5) ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 3 หน้า 37 ใน The Republic เพลโตได้วางหลักเกี่ยวกับการศึกษาในรัฐในอุดมคติของเขา โดยใช้ระบบการศึกษาเป็นเครื่องมือในการอบรมและเลือกเฟ้นคนในรัฐว่าเหมาะสมกับหน้าที่อะไร
68 ตอนหนึ่งในบทสนทนาเรื่อง Republic เพลโตใช้คําอุปมาเปรียบเทียบรัฐกับอะไร
(1) ครอบครัว
(2) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
(3) รถม้า
(4) เรือ
(5) อากาศยาน
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 45 – 46) หนังสือ The Republic ของเพลโตได้อุปมาเปรียบเทียบรัฐว่าเหมือนกับเรือ โดยการเดินเรือหรือการนํารัฐให้เดินหน้าหรือไปในทิศทางที่ต้องการนั้น จะต้องมีผู้ควบคุมเรือหรือผู้ควบคุมรัฐที่มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสม
69 รูปแบบการปกครองที่จะมาหลังจากระบอบประชาธิปไตยได้เสื่อมลงคือ (1) Monarchy
(2) Aristocracy
(3) Oligarchy
(4) Tyranny
(5) Democracy
ตอบ 4 หน้า 42, (คําบรรยาย) ระบอบการปกครองใน The Republic นั้น เพลโตได้เรียกชื่อตามวิธีการปกครอง โดยเขาเห็นว่ารัฐสมบูรณ์แบบหรือรัฐในอุดมคติที่ปกครองโดยราชาปราชญ์นั้น หากก้าวไปสู่ความเสื่อมแล้วก็จะเสื่อมลงเป็นขั้น ๆ โดยในขั้นแรกจะเสื่อมลงไปเป็นระบอบ วีรชนาธิปไตย (Timocracy) หรือการปกครองโดยทหาร ต่อมาจะเสื่อมเป็นระบอบคณาธิปไตย (Oligarchy) ที่ผู้ปกครองที่เคยเป็นทหารหันไปปกครองเพื่อความสมบูรณ์พูนสุขของตน ชนชั้นที่ยากจนก็จะรวมตัวกันเป็นพลังทําการปฏิวัติไปสู่ระบอบประชาธิปไตย (Democracy) ซึ่งจะอยู่ได้ไม่นาน เนื่องจากมีนักการเมืองบางคนฉวยโอกาสหากําลังสนับสนุนจากประชาชนสถาปนา ตนเองเป็นผู้ปกครอง และเมื่อใดที่ได้รับการต่อต้านก็จะกลายเป็นทรราชปกครองในระบอบทุชนาธิปไตย (Tyranny) ในท้ายที่สุด
70 การจําแนกรูปแบบการปกครองใน The Statesman ใช้หลักเกณฑ์ใดในการจําแนก
(1) กฎหมาย
(2) จุดมุ่งหมายในการปกครอง
(3) จํานวน
(4) ถูกข้อ 1 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 43, (คําบรรยาย) ในหนังสือ The Statesman นั้น เพลโตได้กําหนดคํานิยามประเภทหรือรูปแบบการปกครองแบบต่าง ๆ โดยใช้หลักเกณฑ์ 2 ปัจจัย คือ
1 จํานวนผู้ปกครอง ประกอบด้วย คนเดียว คนส่วนน้อย และคนส่วนมาก
2 กฎหมาย ประกอบด้วย รัฐที่มีกฎหมาย และรัฐที่ไม่มีกฎหมาย
อริสโตเติล
71 เขามีพื้นเพเป็นคนรัฐใด
(2) สปาร์ต้า
(3) คอรินธ์
(4) คาร์เธจ
(5) มาซิโดเนีย
ตอบ 5 หน้า 45 อริสโตเติลเกิดเมื่อปี 384 ก่อนคริสตกาลที่เมืองสตากรัสทางชายฝั่งของมาซิโดเนีย”และได้เดินทางมาศึกษาที่สํานักอคาเดมีของเพลโตที่กรุงเอเธนส์ หลังจากที่เพลโตเสียชีวิต เขาได้ไปศึกษาเพิ่มเติมอีกหลายสํานัก จนถูกพระเจ้าฟิลลิปเรียกตัวให้ไปเป็นครูสอนหนังสือแก่เจ้าชายอเล็กซานเดอร์
72 เขามีโอกาสเป็นครูสอนหนังสือให้กับ
(1) เฮอร์เมียส
(2) ไดโอนิซุส
(3) อเล็กซานเดอร์
(4) อคิลิส
(5) ฟิลลิป
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ
73 สํานักที่เขาก่อตั้งขึ้นมีชื่อว่า
(1) Athens
(2) University
(3) Lyceum
(4) Academy
(5) Apology
ตอบ 3 หน้า 45 อริสโตเติลได้เปิดสํานักศึกษาชื่อว่า สีเซียม (Lyceum) ขึ้นในกรุงเอเธนส์ (Athens)ภายหลังที่ถูกยึดครองจากอาณาจักรมาซิโดเนีย โดยผลงานสําคัญและหนังสือของเขาได้รับ การจัดพิมพ์ขึ้นภายหลังที่เขาเสียชีวิตไปแล้วประมาณ 400 ปี คือ รัฐธรรมนูญของกรุงเอเธนส์(The Constitution of Athens) และการเมือง (Politics)
74 ผลงานชิ้นสําคัญของเขาคือ
(1) Social Contract
(2) The laws
(3) Politics
(4) The Prince
(5) The Leviathan
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 73 ประกอบ
75 เหตุที่เขาได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของวิชารัฐศาสตร์คือ
(1) ความคิดของเขาถูกนําไปปฏิบัติ
(2) เขียนตําราทางการเมืองคนแรกของโลก
(3) ใช้วิธีการสังเกตและตรวจสอบ
(4) เป็นผู้ก่อตั้งสถาบันรัฐศาสตร์แห่งแรกของโลก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 46 อริสโตเติลได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของวิชารัฐศาสตร์ หรือนักรัฐศาสตร์คนแรกเนื่องจากเขาใช้และสนับสนุนวิธีการศึกษาแบบศาสตร์ คือ การตรวจสอบ (Investigation) และการสังเกตการณ์ (Observation) เมื่อจะศึกษาสิ่งใดก่อนอื่นจําเป็นต้องย้อนไปตรวจสอบความเป็นมาของสิ่งนั้นเสียก่อน
76 “Telos” มีความหมายถึง
(1) จุดมุ่งหมายปลายทาง
(2) เป้าประสงค์
(3) จุดประสงค์
(4) จุดมุ่งหมายสูงสุด
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 55) คําว่า เทลอส (Telos) ในภาษากรีก แปลว่าจุดมุ่งหมายปลายทาง จุดมุ่งหมาย เป้าประสงค์ หรือจุดประสงค์ ส่วนคําว่า Arete หรือ Virtue ที่แปลว่า ความประเสริฐเฉพาะ หรือคุณธรรมนั้น เมื่อนํามาเกี่ยวข้องกับ Telosจะหมายความว่า การเป็นสิ่งที่ทําให้บรรลุถึง Telos นั่นเอง
77 “Arete” มีความหมายเกี่ยวข้องกับ “Telos” อย่างไร
(1) เป็นจุดมุ่งหมายของ Telos
(2) เป็นสิ่งที่ทําให้บรรลุถึง Telos
(3) เป็นสิ่งที่อยู่ภายใต้ Telos
(4) เป็นผลลัพธ์จากการที่มนุษย์มี Telos
(5) เป็นสิ่งที่ควบคุม Telos
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ
78 “Arete” มีการแปลเป็นภาษาไทยว่า
(1) ความรอบรู้
(2) ความอดทนอดกลั้น
(3) จุดมุ่งหมายปลายทาง
(4) ความมุ่งมั่น
(5) ความประเสริฐเฉพาะ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ
79 เหตุที่มนุษย์ต้องเข้ามาอยู่ในรัฐคือ
(1) ป้องกันตัวมนุษย์จากสัตว์ร้าย
(2) ป้องกันตัวจากมนุษย์ด้วยกันเอง
(3) พัฒนาจิตใจมนุษย์
(4) มนุษย์สามารถช่วยเหลือกันได้
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 47 อริสโตเติล เห็นว่า รัฐเปรียบเสมือนแหล่งพํานักตามธรรมชาติซึ่งคนมุ่งหวังที่จะพบกับชีวิตที่สมบูรณ์ โดยคนกับรัฐเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออกเพราะต่างก็มีจุดหมายปลายทางเดียวกัน คือ ต้องมีวิถีชีวิตเป็นไปเพื่อความสูงส่งทางจริยธรรมด้วยการพัฒนาจิตใจเมื่ออยู่ร่วมกันภายในรัฐ
80 สิ่งที่จะสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในรัฐคือ
(1) ผู้ปกครอง
(2) พลเมือง
(3) ศาล
(4) ประชาชน
ตอบ 5 หน้า 47 อริสโตเติล เห็นว่า กฎหมายเป็นสิ่งจําเป็น และเป็นสถาบันที่จะขาดเสียไม่ได้ในการรวมกันอยู่เป็นรัฐ เพราะกฎหมายเป็นสิ่งที่บันดาลให้เกิดความยุติธรรมในรัฐ และสร้างสรรค์สันติสุขให้กับชนในรัฐ
ตั้งแต่ข้อ 81 – 85 จงนําตัวเลือกดังต่อไปนี้ไปตอบคําถาม
(1) Aristocracy
(2) Monarchy
(3) Oligarchy
(4) Polity
(5) Tyranny
81 เป็นการปกครองโดยคน ๆ เดียวเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
ตอบ 2
82 เป็นการปกครองโดยคน ๆ เดียวเพื่อประโยชน์ของผู้ปกครอง
ตอบ 5
83 เป็นการปกครองโดยคณะบุคคลเพื่อประโยชน์ของผู้ปกครอง
ตอบ 3
84 เป็นการปกครองโดยมหาชนเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
ตอบ 4
85 เป็นการปกครองโดยคณะบุคคลเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
ตอบ 1
พุทธศาสนา
86 ภูมิหลังของศาสนาพุทธเกิดมาจากอารยธรรมใด
(1) เมโสโปเตเมีย
(2) บาบิโลเนีย
(3) สินธุ
(4) อัลไต
(5) ชมพูทวีป
ตอบ 3 หน้า 99 ศาสนาพุทธเกิดขึ้นมาจากอารยธรรมสินธุที่ตั้งอยู่บริเวณอินเดียตอนเหนือและตอนกลาง โดยกษัตริย์ในยุคพุทธกาลจะครองราชย์ด้วยวิธีการสืบสันตติวงศ์และการได้รับเลือก แต่มิได้มีอํานาจเด็ดขาด จะมีระบบสภาคอยควบคุมหรือเลือกกษัตริย์ด้วย
87 ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท เรียกรวมกันว่า
(1) ไตรสิกขา
(2) ไตรสรณาคมน์
(3) ไตรปิฎก
(4) ไตรเพท
(5) ไตรลักษณ์
ตอบ 4 หน้า 95 – 96 ในสมัยไตรเพทนั้น พวกพราหมณ์ได้มีการจัดหมวดหมู่คัมภีร์ฤคเวทใหม่โดยคัดบทที่เป็นมนต์สวดขับเพื่อใช้ในการสวดในพิธีพลีบูชาน้ําโสมแก่เทวะ เรียกว่า สามเวท คัดเอามนต์โศลกและร้อยแก้วที่ว่าด้วยพิธีพลีกรรมออกมา เรียกว่า ยชุรเวท แล้วจึงรวมฤคเวท สามเวท และยชุรเวทเข้าด้วยกันเป็นคัมภีร์ทางศาสนาที่เรียกว่า “ไตรเพท”
88 จุดมุ่งหมายสูงสุดในศาสนาฮินดูคือ
(1) ไปอยู่กับพรหม
(2) จุติเป็นเทพ
(3) ทําพลีกรรม
(4) บําเพ็ญตบะ
(5) รวมกับพรหม
ตอบ 5 หน้า 96 – 97, (คําบรรยาย) ในสมัยฮินดูแท้มีความเชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดโดยเชื่อว่า วิญญาณทั้งหลายย่อมออกจากพรหม (ปฐมวิญญาณ) และจะเวียนว่ายตายเกิด ในสังสาระหรือภพชาติต่าง ๆ ตามแต่กรรมที่ได้กระทําไว้จนกว่าจะพบความหลุดพ้น (โมกษะ) จากการเกิดรวมเข้าสู่พรหมเช่นเดิม ดังนั้นผู้ที่แสวงหาทางหลุดพ้นจึงต้องออกจากโลกียธรรมถือเพศเป็นวานปรัสถ์ (ผู้อยู่ป่า) ก่อนถึงจะสามารถเข้ารวมกับพรหมได้
89 ปริพาชก เป็นนักบวชในศาสนาใด
(1) พราหมณ์
(2) ซิกข์
(3) เชน
(4) ฮินดู
(5) ศาสนาพื้นถิ่น
ตอบ 4 หน้า 97 ศาสนาฮินดูในยุคพุทธกาลนั้น แนวความคิดเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิดในสังสาระยังคงมีอิทธิพลอยู่ จึงมีผู้พยายามแสวงหาความหลุดพ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยหลีกออกจากชีวิตทางโลก เช่น ปริพาชก (ผู้เร่ร่อน) ภิกขุ (ผู้ขอ) สันนยาสี (ผู้สละ) เป็นต้น
90 วานปรัสถ์ คือ
(1) นักบวชในศาสนาฮินดู
(2) ผู้ขอ
(3) ผู้อยู่ป่า
(4) ผู้บําเพ็ญตบะ
(5) ผู้เร่ร่อน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 88 ประกอบ
ตั้งแต่ข้อ 91 – 97 จงนําตัวเลือกดังต่อไปนี้ไปตอบคําถาม
(1) เถรวาท
(2) มหายาน
(3) ไม่ตรงกับตัวเลือก 1 หรือ 2
91 ญาณที่ทําให้บรรลุธรรมก็คือ เกวลัชญาณ
ตอบ 3 หน้า 98 หลักความเชื่อที่สําคัญของศาสนาเชน ก็คือ ต้องการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดหรือสังสาระหรือวัฏสงสารไปสู่โมกษะ (ความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด) ซึ่งการที่จะบรรลุโมกษะได้นั้นต้องได้ญาณที่เรียกว่า “เกวลัชญาณ” และผู้ได้ญาณนี้เรียกว่า “เกวลิน”
92 พระพุทธเจ้ามีฐานะเป็นมนุษย์ธรรมดาที่ตรัสรู้ธรรมด้วยตนเอง
ตอบ 1 หน้า 102 นิกายหินยานหรือเถรวาท มีความเชื่อที่สําคัญดังนี้
1 พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทุกประเภท เป็นมนุษย์ธรรมดาที่ตรัสรู้ธรรมด้วยตนเอง
2 บุคคลที่บรรลุธรรมและเข้าถึงภาวะโมกษะด้วยการสดับคําสอนของพระพุทธเจ้าและปฏิบัติด้วยตนเองจะเป็นได้สูงสุดแค่พระอรหันต์เท่านั้น
3 แนวคิดของเถรวาทนี้จะสามารถช่วยให้ผู้คนและสรรพสัตว์ก้าวข้ามจากวัฏสงสารได้น้อยเพราะต้องปฏิบัติเอง
93 ที่ที่พระพุทธเจ้าสถิตอยู่ก็คือ พุทธเกษตร
ตอบ 2 หน้า 103 นิกายมหายาน มีความเชื่อที่สําคัญดังนี้
1 พระพุทธเจ้ามีอยู่มากมายทั้งในอดีตและปัจจุบันนับไม่ถ้วน สถิตอยู่ในที่ที่เรียกว่าพุทธเกษตรตามทิศและแดนต่าง ๆ
2 พระพุทธเจ้าที่มนุษย์เห็นและรู้จัก ล้วนแต่เป็นการทําให้ปรากฏขึ้นโดยพระศาสดาเจ้า(พระอาทิพุทธ) ทั้งสิ้น
3 แนวคิดของมหายานนี้จะสามารถช่วยนําพาผู้คนและสรรพสัตว์ก้าวข้ามจากวัฏสงสารได้เป็นจํานวนมาก
94 การบรรลุธรรมคือการบรรลุอรหันต์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 92 ประกอบ
95 นับถือพระอาทิพุทธ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 93 ประกอบ
96 ขนสัตว์ออกจากวัฏสงสารได้น้อย
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 92 ประกอบ
97 ขนสัตว์ออกจากวัฏสงสารได้มาก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 93 ประกอบ
98 อัคคัญญสูตร คือพระสูตรที่อธิบายเรื่องใด
(1) กําเนิดรัฐ
(2) รูปแบบของรัฐ
(3) คุณธรรมของผู้ปกครอง
(4) การดับทุกข์
(5) ธรรมชาติมนุษย์
ตอบ 1 หน้า 113, (คําบรรยาย) อัคคัญญสูตร คือ พระสูตรที่ว่าด้วยการกําเนิดจักรวาล โลก สังคม วรรณะ และมนุษย์ ว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
99 คุณธรรมของผู้ปกครองของศาสนาพุทธ ได้แก่
(1) อรรถศาสตร์
(2) ราชนิติ
(3) ทศพิธราชธรรม
(4) กุศลกรรมบท
(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก
ตอบ 5 หน้า 116 ศาสนาพุทธ ได้กล่าวถึงคุณธรรมของกษัตริย์ไว้ดังนี้
1 ต้องไม่มีอคติในการวินิจฉัยอรรถคดี
2 อยู่ในทศพิธราชธรรม
3 ถือกุศลกรรมบท
100 แนวคิดของศาสนาพุทธที่มีอิทธิพลต่อการปกครองของไทยปรากฏในแนวคิดใด
(1) จักรพรรดิ
(2) ธรรมราชา
(3) เทวสิทธิ์
(4) ราชาภิเษก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) แนวคิดเรื่องธรรมราชาตามหลักทางพระพุทธศาสนาได้มีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครองของไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยกษัตริย์ทุกพระองค์ทรงยึดหลักธรรมคําสอน ของพระพุทธเจ้าใช้ปกครองบ้านเมืองเสมอมา